classification of plant kingdom - · pdf fileclassification of plant kingdom plants vascular...

13
Structure and Function of Flowering Plant 1 พืช (plant) คือสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ยูคาริโอต มีผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส มี คลอโรฟิลล์ที่เป็นสารสีเขียว สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีช่วงชีวิตที่เป็นระยะเอ็มบริโอ ตลอดจนมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) Classification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering Bryophytes Mosses Liverworts Seedless Psilophyta Lycophyta Sphenophyta Hornworts Pterophyta เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue) เนื้อเยื่อพืช คือ กลุ่มของเซลล์พืชชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันที่มาทางานร่วมกันภายใต้โครงสร้างหรืออวัยวะต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลาต้น ใบ เป็นต้น ในกลุ่มพืชดอก (Angiosperm) มีการจัดจาแนกเนื้อเยื่อพืชออกเป็นหลายชนิด โดยมีการกาหนดเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา เพื่อใช้ในการจัดจาแนก เนื้อเยื่อพืชสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ เนื้อเยื่อเจริญ ( meristematic tissue) และ เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) โดยใช้เกณฑ์การแบ่งเซลล์ในการจัดจาแนก คือ - ถ้าเนื้อเยื่อใดมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้ตลอดเวลา จัดเป็นเนื้อเยื่อเจริญ - แต่ถ้าเนื้อเยื่อใดหยุดการแบ่งเซลล์ จัดเป็นเนื้อเยื่อถาวร 1. เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic Tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิสอยู่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์ในเนื้อเยื่อนี้เรียกว่า เซลล์ เริ่มต้น (initial cell) มักพบที่บริเวณปลายยอด และปลายรากของพืช ลักษณะของเซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญ 1. เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ มีโพรโทพลาสซึมข้น 2. ผนังเซลล์บาง มีความยืดหยุ่นสูง มีแวคิวโอลขนาดเล็กหรือไม่มีเลย 3. เซลล์เรียงชิดติดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ 4. เซลล์ที่เกิดขึ้นจากการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเจริญจะยังคงรักษาลักษณะความเป็นเนื้อเยื่อเจริญเอาไว้ **** ในการจาแนกชนิดของเนื้อเยื่อเจริญ นักพฤกษศาสตร์จัดจาแนกชนิดของเนื้อเยื่อเจริญ โดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี1. เนื้อเยื่อเจริญจาแนกตามบริเวณที่พบ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 1. Apical meristem 2. Lateral meristem 3. Intercalary meristem 2. เนื้อเยื่อเจริญจาแนกตามการเกิดและการเจริญเติบโต แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 1. Promeristem 2. Primary meristem 3. Secondary meristem โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก (Structure and Function of Flowering Plant)

Upload: duongxuyen

Post on 13-Mar-2018

225 views

Category:

Documents


7 download

TRANSCRIPT

Page 1: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 1

พืช (plant) คือสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ยูคาริโอต มีผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส มี

คลอโรฟิลล์ที่เป็นสารสีเขียว สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ มีช่วงชีวิตที่เป็นระยะเอ็มบริโอ ตลอดจนมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation)

Classification of Plant Kingdom

Plants

Vascular

Non-vascular

SeedMonocotyledonDicotyledon

CycadophytaConiferophyta

Flowering

Nonflowering

Bryophytes MossesLiverworts

Seedless

PsilophytaLycophytaSphenophyta

Hornworts

Pterophyta

เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)

เนื้อเยื่อพืช คือ กลุ่มของเซลล์พืชชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันที่มาท างานร่วมกันภายใต้โครงสร้างหรืออวัยวะต่างๆ ของพืช เช่น ราก ล าต้น ใบ เป็นต้น

ในกลุ่มพืชดอก (Angiosperm) มีการจัดจ าแนกเนื้อเยื่อพืชออกเป็นหลายชนิด โดยมีการก าหนดเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดจ าแนก เนื้อเยื่อพืชสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) และเนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) โดยใช้เกณฑ์การแบ่งเซลล์ในการจัดจ าแนก คือ

- ถ้าเนื้อเยื่อใดมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสได้ตลอดเวลา จัดเป็นเนื้อเยื่อเจริญ - แต่ถ้าเนื้อเยื่อใดหยุดการแบ่งเซลล์ จัดเป็นเนื้อเยื่อถาวร

1. เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic Tissue) เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิสอยู่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์ในเนื้อเยื่อนี้เรียกว่า เซลล์เริ่มต้น (initial cell) มักพบท่ีบริเวณปลายยอด และปลายรากของพืช ลักษณะของเซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญ

1. เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ มีโพรโทพลาสซึมข้น 2. ผนังเซลล์บาง มีความยืดหยุ่นสูง มีแวคิวโอลขนาดเล็กหรือไม่มีเลย 3. เซลล์เรียงชิดติดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ 4. เซลล์ที่เกดิขึ้นจากการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเจริญจะยังคงรักษาลักษณะความเป็นเนื้อเยื่อเจรญิเอาไว้ **** ในการจ าแนกชนิดของเนื้อเยื่อเจริญ นักพฤกษศาสตรจ์ัดจ าแนกชนิดของเนื้อเยื่อเจริญ โดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ดังนี ้1. เนื้อเยื่อเจริญจ าแนกตามบริเวณที่พบ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 1. Apical meristem 2. Lateral meristem 3. Intercalary meristem 2. เนื้อเยื่อเจริญจ าแนกตามการเกิดและการเจริญเติบโต แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 1. Promeristem 2. Primary meristem 3. Secondary meristem

โครงสร้างและหน้าทีข่องพชืดอก (Structure and Function of Flowering Plant)

Page 2: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 2

เนื้อเยื่อเจริญจ าแนกตามบริเวณที่พบ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี ้1. เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)

เป็นเนื้อเยื่อที่พบได้ที่บริเวณปลายยอด หรือปลายกิ่งของพืช เรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (shoot apical meristem; SAM) และเนื้อเยื่อเจริญที่พบที่ปลายราก เรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญปลายราก (root apical meristem; RAM) โดยเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายเป็นเนื้อเยื่อที่ท าหน้าที่ในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจ านวนเซลล์ท าให้ส่วนปลายยอดและปลายรากของพืชมีการยืดยาว

รูปที่ 1 แสดงเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายที่พบได้บริเวณปลายยอดและปลายรากของพืชดอกทุกชนิด

2. เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem) เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด แต่ถูกแยกออกในระหว่างการเจริญเติบโต เนื่องจากมีเนื้อเยื่อถาวรมาคั่น เพราะที่ปลายยอดของล าต้นมีเนื้อเยื่อเจริญที่มีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน ส่วนท่ีเจริญเร็วจะพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรได้ก่อน ส่วนเนื้อเยื่อที่เจริญช้าก็จะยังคงเป็นเนื้อเยื่อเจริญอยู่ โดยทั่วไปเนื้อเยื่อที่บริเวณข้อ (node) มีการเจริญเติบโตเร็วจึงพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรได้ดีกว่าบริเวณปล้อง (internode) จึงท าให้ข้อมีความแข็งกว่าปล้อง และเนื้อเยื่อที่อยู่ในปล้องเดียวกันก็มีการอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน โดยบริเวณโคนปล้องจะเจริญช้ากว่าบริเวณปลายปล้อง จึงท าให้โคนปล้องยังคงคุณสมบัติเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้นานกว่า เรียกเนื้อเยื่อเจริญนี้ว่า เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ สามารถแบ่งเซลล์ให้ปล้องยาวขึ้นได้อีก ส่วนใหญ่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะพืชตระกูลหญ้า เช่น ไผ่ ข้าว หญ้าคมบางกลม เป็นต้น รูปที่ 2 แสดงเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อของไผ่

Shoot

apical

meristem

(SAM)

Root

apical

meristem

(RAM)

Page 3: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 3

3. เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของล าต้นและราก มีการแบ่งเซลล์ออกทางด้านข้างท าให้เกิด การ

เจริญเติบโตทุติยภูมิ (secondary growth) ซึ่งเป็นการเติบโตที่ท าให้พืชมีการขยายขนาดออกทางด้านข้าง หรือมีเส้นรอบวงของล าต้น กิ่งก้าน และรากเพิ่มมากขึ้น เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

***3.1 แคมเบียมท่อล าเลียง (vascular cambium) ***3.2 คอร์กแคมเบียม (cork cambium) ***รายละเอียดของเนื้อเยื่อเหล่านี้อยู่ในหัวข้อ เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ หน้าที่ 4 และ 5 เนื้อเยื่อเจริญจ าแนกตามการเกิดและการเจริญเติบโต แบ่งเป็น 3 ชนดิคือ 1. Promeristem

เป็นเนื้อเยื่อท่ีประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกัน เรียงชิดติดกันไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว มีผนังเซลล์บาง มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ไม่มีแวคิวโอล พบบริเวณปลายราก ปลายยอด ปลายกิ่ง และตา (bud) ของพืช ภายหลังจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อบริเวณนี้จะช่วยให้อวัยวะนั้นๆ ของพืชยืดยาว เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นแรก และการเจริญเติบโตในข้ันนี้จัดว่า เป็นการเจริญเติบโตขั้นแรก (primary growth)

รูปที่ 3 แสดงส่วนของเนื้อเยื่อเจริญ Promeristem (ก) บริเวณปลายยอด และ (ข) บริเวณปลายรากของพืช เนื้อเยื่อท่ีอยู่ในวงของเส้นประคือส่วนของเนื้อเยื่อเจริญ promeristem 2. เนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ (Primary meristem)

เป็นเนื้อเยื่อท่ีเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากการแบ่งเซลล์ของ promeristem พบในบริเวณที่ถัดลงมาจากยอด และบริเวณที่เซลล์มีการยืดยาว (zone of cell elongation) ในปลายราก เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้ยังคงแบ่งเซลล์ต่อไปได้อีก และสุดท้ายกลายเป็นเนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (primary permanent tissue) ท าให้ส่วนของปลายยอด ปลายราก ของพืชเกิดการยืดยาวออก เนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ส่วนได้เแก่

2.1 เนื้อเยื่อเจริญก าเนิดผิว (Protoderm) เป็นเนื้อเยื่อท่ีพบอยู่ช้ันนอกสุดเรียงเป็นแถวเดียว แบ่งเซลล์เพียงด้านเดียวและพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวร

ช้ันผิว (epidermis) 2.2 เนื้อเยื่อเจริญพ้ืน (Ground meristem)

เป็นเนื้อเยื่อท่ีอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อช้ันผิวเข้ามาซึ่งจะเจริญและพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรช้ันต่างๆ ได้แก่ ช้ันคอร์เทกซ์ (cortex) ไส้ไม้ (pith) รัศมีเนื้อไม้ (pith ray) และช้ันมีโซฟิลล์ (mesophyll) ของใบ 2.3 โพรแคมเบียม (Procambium)

เป็นเนื้อเยื่อท่ีแบ่งเซลล์และพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อถาวรในช้ันของเนื้อเยื่อล าเลียงปฐมภูมิ (primary vascular tissue)

ข ก

Page 4: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 4

รูปที่ 4 แสดงส่วนของเนื้อเยื่อเจริญปฐมภูม ิ (ก) แสดงส่วนของปลายยอด (ข) แสดงส่วนของปลายรากซ่ึงเนื้อเยื่อเจริญก าเนิดผิวจะเรียงตัวเพียงชั้นเดียวอยู่นอกสุดของปลายยอดและปลายราก โดยจะเจริญและพัฒนาต่อไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชั้นผิว และ

เนื้อเยื่อที่อยู่ถัดเข้ามาจะเป็นเนื้อเยื่อเจริญพ้ืน ซ่ึงจะพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรในชั้นคอร์เท็กซ์ ไส้ไม้ มีโซฟิลล์ โดยส่วนใหญ่ชั้นต่างๆ เหล่านี้มักจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ส่วนเนื้อเยื่อเจริญโพรแคมเบียม จะเรียงตัวอยู่ทางด้านข้างของปลายยอด และตรงกลางของปลายรากโดยจะเจริญและพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรในมัดท่อล าเลียง 3. เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ (Secondary meristem)

เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่สามารถแบ่งเซลล์ต่อมาจากการเจริญในขั้นปฐมภูมิ และเป็นเซลล์เริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง เจริญเติบโตออกทางด้านข้าง เรียก การเจริญเติบโตทุติยภูมิ (secondary growth) มีผลให้เกิดการเพิ่มความหนา เพิ่มขนาดของล าต้นและราก เช่น เนื้อไม้ของไม้ยืนต้นเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ เนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิดคือ

3.1 แคมเบียมท่อล าเลียง (Vascular cambium) แคมเบียมท่อล าเลียงที่พบในล าต้น มีการเจริญและพัฒนามาจากโพรแคมเบียมเซลล์บางเซลล์ เรียก

เนื้อเยื่อนี้ว่า แคมเบียมในมัดท่อล าเลียง (fascicular cambium) ซึ่งอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อล าเลียงอาหารปฐมภูมิ (primary phloem) และเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าปฐมภูมิ (primary xylem) ส่วนแคมเบียมท่อล าเลียงอีกชุดจะเกิดขึ้นระหว่างมัดของท่อล าเลียง เรียกว่า แคมเบียมระหว่างมัดท่อล าเลียง (interfascicular cambium) โดยจะเกิดขึ้นในแนวเดียวกับแคมเบียมในมัดท่อล าเลียง ซึ่งเจริญและพัฒนาจากเซลล์พาเรงคิมาทีเ่กิดการเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญ (dedifferentiation)

ส่วนแคมเบียมท่อล าเลียงในราก มักเกิดขึ้นระหว่างเนื้อเยื่อล าเลียงอาหารปฐมภูมิ และเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าปฐมภูมิ เช่นเดียวกับในล าต้น และในพืชบางชนิดอาจมีจุดก าเนิดมาจากเซลล์ในช้ันเพอริไซเคิล (pericycle)

เนื้อเยื่อที่ได้จากการแบ่งเซลล์ของแคมเบียมท่อล าเลียง ที่มีต าแหน่งอยู่ทางด้านนอกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น เนื้อเยื่อล าเลียงอาหารทุติยภูมิ (secondary phloem) ส่วนเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นด้านในจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น เนื้อเยื่อล าเลียงน้ าทุติยภูมิ (secondary xylem)

Protoderm

Ground meristem

Procambium

Ground meristem

Procambium

Protoderm

Page 5: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 5

รูปที่ 5 เนื้อเยื่อเจริญแคมเบียมท่อล าเลียง ภาพด้านซ้ายเป็นโครงสร้างของล าต้นพืชใบเลี้ยงคู่ โดยมีแคมเบียมใน

มัดท่อล าเลียง ซึ่งเจริญมาจากโพรแคมเบียมและยังคงความเป็นเนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งเซลล์สร้างเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าทุติยภูมิ และเนื้อเยื่อล าเลียงอาหารทุติยภูมิได้ ส่วนแคมเบียมระหว่างมัดท่อล าเลียง ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อถาวรชั้นคอร์เท็กซ์มาเป็นเนื้อเยื่อเจริญอีกครั้ง ท าหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าทุติยภูมิ และเนื้อเยื่อล าเลียงอาหารทุติยภูมิได้เช่นกัน ภาพด้านขวาเป็นส่วนของรากพืชใบเลี้ยงคู่ ที่มีมัดท่อล าเลียง 1 มัด แยกเป็น 4 แฉกโดยแต่ละแฉกจะมีแคมเบียมในมัดท่อล าเลียงเรียงตัวอยู่ ซึ่งเจริญมาจากโพรแคมเบียมเช่นเดียวกับส่วนของล าต้นและท าหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อล าเลียงทุติยภูมิเช่นเดียวกัน แต่ระยะนี้รากยังไม่มีแคมเบียมระหว่างมัดท่อล าเลียงเนื่องจากยังไม่มีการเจริญเติบโตขั้นท่ี 2

3.2 คอร์กแคมเบียม (Cork cambium)

เป็นเนื้อเยื่อเจริญทางด้านข้างที่เกิดจากการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ที่ยังมีชีวิตในเนื้อเยื่อถาวร เช่น เซลล์พาเรงคิมาในช้ันคอร์เทกซ์ของล าต้น หรือในช้ันเพอริไซเคิลของราก คอร์กแคมเบียมมีหน้าที่ในการสร้างเนื้อเยื่อ 2 กลุ่ม คือ คอร์ก (cork) หรือเฟลเลม (phellem) ที่อยู่ทางด้านนอก ติดกับเนื้อเยื่อช้ันผิว และดันเนื้อเยื่อช้ันผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกไป อีกกลุ่มคือเนื้อเยื่อที่อยู่ทางด้านใน เรียกว่า เฟลโลเดิร์ม (phelloderm) ซึ่งมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อพาเรงคิมา (parenchyma)

ช้ันของคอร์ก คอร์กแคมเบียม และเฟลโลเดิร์ม มีช่ือเรียกรวมกันว่า เพอริเดิร์ม (periderm)

รูปที่ 6 คอร์กแคมเบียม เป็นเนื้อเยื่อที่เกิดจากการเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญของเซลล์พาเรงคิมา ท าหน้าที่สร้างคอร์ก ซึ่งเป็นช้ันที่ประกอบด้วยเซลล์คอร์ก เพื่อทดแทนเนื้อเยื่อช้ันผิวที่สลายตัวไป นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการสูญเสียน้ า และอันตรายต่างๆ ให้แก่พืชด้วย การเกิดคอร์กแคมเบี ยม เป็นการบ่ งบอกว่ าพืช ได้ เ ข้ าสู่ ก ารเจริญเติบโตขั้นท่ีสอง

fascicular cambium

interfascicular cambium

Epidermis Epidermis

Cork

Cork cambium

Page 6: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 6

2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อท่ีเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ หยุดการแบ่งตัว จึงท าให้เซลล์มีรูปร่างคงที่ แต่ละเซลล์ท าหน้าที่เฉพาะอย่าง จึงท าให้ ลักษณะ รูปร่างของเซลล์ และองค์ประกอบภายในเซลล์แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้นๆ เนื้อเยื่อถาวรบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงสภาพและสามารถกลับมาแบ่งเซลล์เหมือนเนื้อเยื่อเจริญได้อีกครั้ง เรียกว่า การเปลี่ยนกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญ (dedifferentiation) เมื่อสภาวะบางอย่างเปลี่ยนไป เช่น เมื่อเกิดบาดแผลที่ล าต้น เซลล์พาเรงคิมาในช้ันคอร์เทกซ์ก็จะแบ่งตัวเพื่อสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทน จากนั้นก็กลายเป็นเนื้อเยื่อถาวรเหมือนเดิม

ลักษณะท่ีส าคัญของเนื้อเยื่อถาวร - ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และหยุดการแบ่งเซลล์ - เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อท าหน้าท่ีเฉพาะ ท่ีแตกต่างกันออกไป - มีการสะสมสารต่างๆภายในเซลล์ และเพิ่มความหนาให้แก่ผนังเซลล์

ปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์ได้มีการจัดจ าแนกชนิดของเนื้อเยื่อถาวรออกเป็น 2 กลุ่มดังนี ้

1. เนื้อเยื่อถาวรที่จ าแนกตามการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1 เนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (Primary permanent tissue)

เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ ได้แก่ เนื้อเยื่อช้ันผิว เนื้อเยื่อช้ันเอนโดเดอร์มิส เนื้อเยื่อช้ันเพอริไซเคิล (pericycle) ไซเล็มปฐมภูมิ (primary xylem) โฟลเอ็มปฐมภูมิ (primary phloem)

1.2 เนื้อเยื่อถาวรทุติยภูมิ (Secondary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ เนื้อเยื่อช้ันคอร์ก (cork) เฟลโลเดิร์ม

(phelloderm) ไซเล็มทุติยภูมิ (secondary xylem) และโฟลเอ็มทุติยภูมิ (secondary phloem) ***** รายละเอียดของเนื้อเยื่อถาวรที่จ าแนกตามการเจริญเติบโตชนิดต่างๆ จะอธิบายอยู่ในส่วนของเนื้อเยื่อถาวรเชิงเด่ียว และเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน 2. เนื้อเยื่อถาวรที่จ าแนกตามชนิดของเซลล์ที่มาประกอบกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรเชิงเด่ียว (simple permanent tissue) 2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (complex permanent tissue) เนื้อเยื่อถาวรเชิงเด่ียว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกันล้วนๆ ได้แก่ เนื้อเยื่อช้ันผิว (epidermis) พาเรงคิมา (parenchyma) คอลเลงคิมา (collenchyma) และสเกลอเลงคิมา (sclerenchyma) 1. เนื้อเยื่อชั้นผิว (Epidermis)

เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ที่อยู่ด้านนอกสุดของอวัยวะต่างๆ ของพืช เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญก าเนิดผิว ประกอบด้วยเซลล์เอพิเดอร์มิส (epidermal cell) เรียงตัวเบียดกันแน่นแถวเดียว จนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ในพืชบางชนิดอาจมีเนื้อเยื่อช้ันผิวที่เรียงตัวมากกว่าหนึ่งช้ัน (multiple epidermis) ก็ได้ เช่น มะเดื่อ บีโกเนีย เป็นต้น

เนื้อเยื่อช้ันผิวประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อเซลล์โตเต็มที่จะมีแวคิวโอลขนาดใหญ่ดันส่วนต่างๆ ภายในเซลล์ไปอยู่ที่ขอบเซลล์ ผนังเซลล์บางเป็นผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary wall) ช้ันนอกสุดของเนื้อเยื่อช้ันผิวจะมีสารคิวทิน (cutin) เคลือบอยู่

Page 7: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 7

เป็นช้ัน เรียกว่า ช้ันคิวติเคิล (cuticle) โดยสารคิวทินย้อมติดสีซูดาน 4 (sudan IV) ท าให้เห็นเป็นสีแดง นอกจากนี้ยังพบสารอื่นสะสมอยู่ด้วย เช่น ซิลิกา

เซลล์เอพิเดอร์มิสบางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เพื่อท าหน้าที่เฉพาะ เช่น ในรากมีการยืดยาวและยื่นส่วนของผนังเซลล์ออกไปเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ขนราก (root hair) ท าหน้าที่ดูดซึมน้ าและแร่ธาตุเข้าสู่ราก ส่วนที่ล าต้นหรือใบมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นขน (trichome) หรือต่อม (gland) เพื่อป้องกันอันตรายแก่พืช เซลล์เอพิเดอร์มิสที่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง 2 เซลล์มาประกบกัน เรียก เซลล์คุม (guard cell) บริเวณตรงกลางของรอยต่อระหว่างเซลล์คุม 2 เซลล์สามารถแยกออกจากกันเกิดช่องว่างเกิดขึ้นได้ เรียกว่า ปากใบ (stoma) เป็นส่วนท่ีท าหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส และคายน้ าของพืช เราสามารถพบปากใบได้ทั้งด้านหลังใบและท้องใบ บางส่วนของกิ่ง หรือล าต้น แต่จะไม่พบปากใบที่ราก นอกจากนี้ยังพบปากใบได้ที่กลีบดอก ก้านชูอับเรณู และเมล็ดในพืชบางชนิด แต่ปากใบเหล่านี้ไม่สามารถท าหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส และคายน้ า ได้เหมือนปากใบทั่วๆไป ภายในเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ ที่สามารถเกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ นอกจากน้ียังมีเซลล์เอพิเดอร์มิสเรียงตัวล้อมรอบเซลล์คุม เรียกว่า เซลล์ข้างเซลล์คุม (subsidiary cell)

รูปที่ 7 เนื้อเยื่อช้ันผิว (ก) ขน (trichome) เป็นเซลล์เอพิเดอร์มิสที่มีการเปลี่ยนแปลงมา มีลักษณะเป็นเส้นยื่นออกมา ท าหน้าที่ป้องกันอันตราย และมีต่อม (gland) ที่สร้างสารเมือกเหนียวได้ (ข) เซลล์คุมและเซลล์ข้างเซลล์คุม ตลอดจนปากใบซึ่งปากใบปิดอยู ่หน้าท่ีของเนื้อเยื่อชั้นผิว 1. ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อท่ีอยู่ข้างในและช่วยเสริมความแข็งแรง

2. ป้องกันการระเหยของน้ า และช่วยป้องกันไม่ให้น้ าซึมเข้าไปข้างใน 3. เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊ซ การคายน้ า ท่ีบริเวณปากใบ 4. ดูดน้ าและเกลืแร่เข้าสู่ราก โดยเฉพาะที่ขนราก

2. เนื้อเยื่อพาเรงคิมา (Parenchyma)

เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ท่ีประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (parenchyma cell) จ านวนมาก สามารถพบได้แทบทุกส่วนของพืช โดยเฉพาะที่ช้ันคอร์เทกซ์ ไส้ไม้ (pith) ของรากและล าต้น และในแพลิเซด มีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) กับสปองจี มีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) ของใบ เซลล์พาเรงคิมาเป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ผนังเซลล์บาง ส่วนใหญ่เป็นผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary cell wall) มีรูปร่างหลายแบบ มีลักษณะหลายเหลี่ยม หรือกลมรี เซลล์อยู่กันแบบหลวมๆ มีช่องว่างระหว่างเซลล์ ภายในเซลล์มีแวคิวโอลใหญ่เกือบเต็มเซลล์ ถึงแม้พาเรงคิมาจะเป็นเนื้อเยื่อถาวรแต่ยังสามารถกลับมาแบ่งเซลล์ได้เหมือนเนื้อเยื่อเจริญอีก ส่วนมากพบตรงบริเวณที่มีรอยแผล

ก ข

Page 8: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 8

ก ข ค ง จ

รูปที่ 8 เนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่พบตามโครงสร้างต่างๆ ของพืช (ก) และ (ข) ลักษณะของเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่พบเป็น

ส่วนใหญ่ มีผนังเซลล์บาง รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ท าให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ที่เห็นได้ชัดเจน มีการสะสมสารต่างๆ ไว้ในแวคิวโอล (ค) เนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อก่อให้เกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่และมีอากาศแทรกตัวอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อ เรียกว่า แอเรงคิมา (aerenchyma) พบได้ในก้านใบของผักตบชวา (ง) เนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน เรียกอีกอย่างว่า เนื้อเยื่อคลอเรงคิมา (chlorenchyma) สามารถเกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ (จ) เนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่ใบ มีการเรียงตัวเป็นแถวเบียดกันแน่นติดกับด้านหลังใบ เรียกว่าช้ันพาลิเสด มีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) ส่วนเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่เรียงตัวอย่างหลวมๆ ทางด้านท้องใบ เรียกว่า ช้ันสปองจี มีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) หน้าท่ีของเนื้อเยื่อพาเรงคิมา 1. สะสมสารภายในเซลล์ เช่น น้ า แป้ง โปรตีน และไขมัน เป็นต้น 2. เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ (chlorenchyma) 3. ช่วยในการหายใจ (aerenchyma) 4. เป็นต่อมสร้างสารบางอย่าง เช่น น้ ามันหอมระเหย 5. สามารถเปลี่ยนสภาพกลับมาเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้ง่ายที่สุดในบรรดาเนื้อเยื่อถาวร 3. เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา (Collenchyma)

เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวท่ีพบในช้ันคอร์เท็กซ์ของล าต้น และใบ มีลักษณะเป็นแถบต่อเนื่องกันในแนววงกลม หรืออยู่เป็นหย่อมๆ ถัดจากเนื้อเยื่อช้ันผิวเข้ามา เช่น ที่ก้านใบ เส้นกลางใบ ล าต้น ส่วนในรากไม่ค่อยพบ เนื้อเยื่อนี้ประกอบด้วยเซลล์คอลเลงคิมา (collenchyma cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีรูปร่างคล้ายเซลล์พาเรงคิมา ผนังเซลล์มีความหนาไม่สม่ าเสมอ เนื่องจากมีการสะสมสารเพคติน (pectin) บริเวณเหลี่ยมหรือมุมของเซลล์ ภายในเซลล์อาจมีคลอโรพลาสต์ เป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ในบางสภาวะ เช่น เมื่อเกิดบาดแผลที่ล าต้น เนื้อเยื่อนี้สามารถแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ขึ้นมาสมานแผลให้กับล าต้นได้ เนื้อเยื่อคอลเลงคิมาแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1. Lamellar collenchyma ผนังเซลล์หนาทางด้าน tangential wall ซึ่งจะมีความหนาทั้งด้านนอกและด้านใน 2. Angular collenchyma เซลลจ์ะมีผนังเซลล์หนาบริเวณมุม 3. Lacunar collenchyma เซลล์มีผนังหนังหนาด้านที่ติดกับช่องวา่งระหว่างเซลล์และมีช่องว่างระหว่างเซลล ์

Page 9: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 9

รูปที่ 9 เนื้อเยื่อคอลเลงคิมาชนิดต่างๆ หน้าท่ีของเนื้อเยื่อคอลเลงคิมา ช่วยท าให้ส่วนต่างๆ ของพืชเหนียวและมีความแข็งแรงสามารถคงรปูอยู่ได้ และสามารถป้องกันแรงเสยีดทานได้ด้วย ตลอดจนสามารถกลับมาเป็นเนื้อเยื่อเจริญได้อีกด้วย 4. เนื้อเยื่อสเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ที่ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว คือเมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ไซโทพลาสซึม และนิวเคลียสจะสลายไป ผนังเซลล์หนามาก มีทั้งผนังเซลล์ปฐมภูมิ และผนังเซลล์ทุติยภูมิ ซึ่งผนังเซลล์ทุติยภูมิที่หนาตัวขึ้นมาเนื่องมาจากมีการสะสมสารลิกนิน (lignin) จนท าให้ช่องในเซลล์ (lumen) แคบลงจนเกือบมองไม่เห็น นอกจากนี้ผนังเซลล์ด้านข้างของสเกลอเรงคิมาเซลล์มีรู (pit) ที่ใช้ติดต่อหรือแลกเปลี่ยนสารกับเซลล์ข้างเคียง โดยมีการจ าแนกสเกลอเรงคิมาเซลล์ออกเป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ เซลล์เส้นใย (fiber) และ สเกลอรีด (sclereid)

1. เซลล์เส้นใย (Fiber) เป็นเซลล์ที่มรีูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม มีช่องในเซลล์ขนาดเล็ก ผนังเซลล์หนาเพราะว่ามสีารลิกนิน

สะสมอยู่มาก เซลล์มีความเหนียว และยดืหยุ่นได้ (elasticity) มักรวมกันอยู่เป็นกระจุกๆ ไม่ค่อยพบอยู่แบบโดดๆ สามารถพบได้ในช้ันคอร์เท็กซ์ ไซเลม และโฟลเอ็ม ของทั้งในล าต้นและราก เมื่อย้อมด้วยสีย้อมซาฟรานีน สีย้อมจะท าปฏิกิริยากับสารลิกนิน ท าให้เหน็เป็นสีแดง หน้าท่ีของเซลล์เซลล์เสน้ใย

เซลล์เซลลเ์ส้นใยมหีน้าท่ีช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช ช่วยพยุงล าต้นให้ตั้งตรงแข็งแรง และมีประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ คือ การน าเส้นใยมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม เช่น การผลิตกระดาษ เสื้อผ้า เส้นเชือก เป็นต้น

รูปที่ 10 (ก) รูปร่างของเซลล์เซลล์เส้นใย เป็นเซลล์ที่มรีูปร่างเรียวและยาวมาก (ข) เมื่อย้อมด้วยซาฟรานีนจะเห็นเป็นสีแดง โดยพบว่าเซลล์เส้นใยมักอยู่รวมกันเปน็กลุ่มรอบมัดท่อล าเลียง

ก ข

Page 10: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 10

2. สเกลอรีด (Sclereid) หรือ เซลล์สโตน (stone cell) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างหลายเหลี่ยม สั้นกว่าเซลล์เส้นใย ผนังหนากว่าเซลล์เส้นใยมาก เพราะผนังเซลล์มีลิกนิน

สะสมอยู่จ านวนมาก มีรู (pit) ที่ผนังเซลล์จ านวนมาก ท าให้เห็นเป็นรอยแตกแยกเป็นสาขามากมาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสเกลอรีด มีช่องในเซลล์แคบ พบสเกลอรีดตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น บริเวณคอร์เท็กซ์ของล าต้น บริเวณใจกลางของล าต้น (pith) ปนอยู่ในเนื้อผลไม้ เช่น ผลสาลี่ ฝรั่ง น้อยหน่า อยู่ท่ีเปลือกของเมล็ด เช่น เปลือกถั่ว กะลามะพร้าว เม็ดพุทรา

รูปที่ 11 สเกลอรีด (ก) เซลล์สเกลอรีดมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อเพ่ิมความแข็งแรงให้แก่อวัยวะของพืช (ข) และ (ค) เป็นเซลล์สเกลอรดีที่แยกออกมาให้เหน็เป็นเซลล์เดียวๆ มีช่องในเซลล์ (lumen) ขนาดเล็กลงเนื่องจากผนงัเซลลม์ีการสะสมสารลิกนินจ านวนมาก และยังเห็นรอยแตกที่แยกออกเป็นเส้นๆ นั่นก็คือ รู (pit) ที่มีไว้เพื่อแลกเปลีย่นสารกับเซลล์ข้างเคียง เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ท่ีเรียกว่า มัดท่อล าเลียง (vascular bundle) ซึ่งประกอบด้วยไซเล็ม (xylem) และโฟลเอ็ม (phloem) 1. ไซเล็ม (xylem)

เป็นเนื้อเยื่อทีท่ าหน้าที่ล าเลยีงน้ า และแร่ธาตุ จากรากไปยังส่วนต่างๆของพืช มีความซับซ้อนท้ังในด้านโครงสร้างและชนิดของเซลล์ที่พบ ในการเจริญเติบโตขั้นปฐมภูมิ (primary growth) เนื้อเยื่อนี้เปลีย่นแปลงมาจากโพรแคมเบียม เรียกว่าเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าปฐมภูม ิ(primary xylem) แต่ในโครงสรา้งของพืชที่มีการเจริญเติบโตขั้นทุติยภูมิ ไซเล็มจะถูกสรา้งมาจากแคมเบียมท่อล าเลยีง (vascular cambium) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เรียกว่าเนื้อเยื่อล าเลียงน้ าทุติยภมูิ (secondary xylem)

เซลล์ที่พบได้ปกติในเนื้อเยื่อล าเลยีงน้ า แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี ้1. เซลล์ท่อล าเลียงน้ า (tracheary element) ท าหน้าที่หลักในการล าเลียงน้ า และช่วยใหค้วามแขง็แรงกับ

โครงสร้างของพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เทรคีด (tracheid) และเซลล์เวสเซล (vessel member) 1.1 เทรคีด (tracheid) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว ปลายแหลม เมื่อเซลลเ์จรญิเตม็ที่แล้วจะตาย ท าให้เกิด

ช่องว่างขนาดใหญ่ตรงกลางเซลล์ ผนังเซลล์หนา มีทั้งผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary wall) และผนังเซลล์ทุติยภมูิ (secondary wall) ซึ่งผนังเซลล์ทตุิยภูมเิกิดจากสารลิกนินมาเกาะหรือพอกตัวท าให้ผนังหนาขึ้น พบในพืชพวก เฟิร์น และกลุ่มจมิโนสเปิรม์ สว่นพืชดอกพบน้อยหรือไม่พบเลย หน้าท่ีของเทรคีด

เป็นเซลล์ที่ท าหน้าท่ีล าเลยีงน้ า โดยมีทิศทางการล าเลยีงไปทางด้านข้างของเซลล์ เนื่องจากปลายเซลล์ไมม่ีรูทะลุ จึงอาศัยการล าเลยีงออกททางด้านข้างของเซลล์เพื่อให้เซลลท์ี่อยู่ติดกันล าเลียงต่อขึ้นสู่ด้านบนต่อไป นอกจากน้ีเทรคีดยังช่วยในการค้ าจุนให้ความแข็งแรงแก่พืชอีกด้วย

ข ก ค

Page 11: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 11

1.2 เซลล์เวสเซล (Vessel member) เป็นเซลล์ที่มเีส้นผ่านศูนยก์ลางกว้าง แต่ขนาดสั้นกว่าเซลล์เทรคีด

เมื่อเจรญิเติบโตเต็มที่แล้วเซลล์จะตาย ตรงกลางเซลล์มีช่องภายในเซลล์ขนาดใหญ่ ผนังเซลล์มีทั้งผนังเซลล์ปฐมภมูิ และผนังเซลล์ทุติยภูมิ มสีารลิกนนิพอกตัวที่ผนังเซลล์ทุติยภูมิ ปลายเซลล์ค่อนข้างตัดตรงเป็นแผ่นมรี ู(perforation plate) พบในพืชดอกเท่าน้ัน เซลล์เวสเซลหลายๆ เซลลม์าเรียงต่อกันกลายเป็นท่อ เรยีกว่า “เวสเซล” (vessel) ท าหน้าท่ีหลักในการล าเลียงน้ าให้กับพืชช้ันสูง

หน้าท่ีของเวสเซล เป็นท่อที่ท าหน้าท่ีหลักในการล าเลียงน้ าของพืชดอก โดยมีทิศทางการล าเลียงไปตามท่อนี้ คือ

สามารถล าเลียงข้ึนไปตามท่อได้โดยตรงเนื่องจากแตล่ะเซลล์เชื่อมต่อกันโดยมีแผ่นมรีู (perforation plate) ที่น้ าสามารถเคลื่อนทีผ่่านได้เลย 2. เซลล์เส้นใย (xylem fiber) เป็นเซลล์ที่ผนังเซลลห์นา และหนากว่าเซลล์เส้นใยทั่วไป รูปร่างยาว ปลายเซลล์

เรียวแหลม เมื่อเจรญิเติบโตเต็มที่เซลล์จะตาย เป็นเซลล์ที่ท าหน้าท่ีช่วยเสรมิความแข็งแรงให้กับเนื้อเยือ่ไซเลม็

3. เซลล์พาเรงคิมา (xylem parenchyma) เป็นเซลล์ทีม่ีชีวิต รูปร่างคล้ายเซลล์พาเรงคิมาทั่วๆ ไป เรียงตัวกันตามยาวของต้นพืช เมื่ออายุมากข้ึน ผนังเซลล์ก็จะหนาขึ้น และเป็นผนังเซลล์แบบทุติยภูมิ เป็นเซลล์ทีท่ าหน้าที่สะสม แป้ง น้ าตาล และสารอื่นๆ

Page 12: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 12

2. โฟลเอ็ม (Phloem) เป็นเนื้อเยื่อทีท่ าหน้าท่ีล าเลียงอาหารทีไ่ดจ้ากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือจากการสลายอาหารที่สะสม

ส่งไปยังส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ล าต้น เพื่อเก็บหรือน าไปใช้ในสว่นของปลายยอดและปลายราก ทีก่ าลังเจรญิเติบโต เซลล์ที่พบได้ปกติในเนื้อเยื่อล าเลยีงอาหาร แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี ้1. เซลล์ล าเลียงอาหาร (sieve element) เป็นเซลล์ที่ท าหน้าท่ีในการล าเลียงอาหารที่ไดจ้ากการสงัเคราะหด์้วย

แสง หรือจากแหล่งสะสมไปยังส่วนต่างๆ ของพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 เซลล์ตะแกรง (sieve cell) เป็นเซลล์เดี่ยวๆ รูปร่างเรียวยาว ปลายทั้งสองด้านโค้งมน มีขนาดยาว

มาก ผนังเซลล์มรีูพรุน เรียกว่า “sieve area” กระจายอยู่ทั่วไปตามผนังด้านข้างของเซลล์ มีหน้าท่ีเปน็ทางผ่านของสารต่างๆ ในการล าเลียงอาหาร เพื่อส่งต่อให้กับเซลล์อื่นๆ ต่อไป เซลลต์ะแกรงนี้สามารถพบได้ในพืชที่มีท่อล าเลียงช้ันต่ า เช่น เฟิร์น และพืชเมล็ดเปลือย ไม่พบในพืชดอก

1.2 เซลล์ท่อล าเลียงอาหาร (sieve tube member) เป็นเซลล์ทีม่ีชีวิตอยู่ รูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ปลายเซลล์ทั้งสองด้านเสี้ยมและมลีักษณะเป็นแผ่นเรียก “แผ่นตะแกรง” (sieve plate) ซึ่งเป็นแผ่นที่มีรูพรุนท าให้ไซโทพลาสซึมภายในผ่านไปมาระหว่างเซลลท์ี่อยู่ติดกันได้ เมื่อเจริญเติบโตเตม็ที่ นิวเคลียสกส็ลายไป โดยที่เซลลย์ังคงมีชีวิตอยู่ ผนังเซลล์บาง ท าหน้าที่ล าเลยีงอาหารให้กับพืช เมื่อเซลล์ท่อล าเลียงอาหารหลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็น เรยีกว่า ท่อล าเลียงอาหาร (sieve tube) โดยจะพบท่อล าเลยีงอาหารในพืชดอกเท่าน้ัน

2. เซลล์ประกบ (companion cell) เป็นเซลล์ที่อยู่ข้างเซลล์ท่อล าเลียงอาหาร โดยมีต้นก าเนิดมาจากเซลล์แม่เดียวกัน เป็นเซลล์ที่มีชีวิตและมียวิเคลียส รูปรา่งผอมยาว เป็นเหลีย่มและมีขนาดเล็ก ท าหน้าทีส่ร้างพลังงานใหก้ับเซลล์ท่อล าเลียงที่ตายแล้วและทีต่้องการพลังงาน ในพืชเมล็ดเปลือยและพืชที่มีท่อล าเลยีงอาหารกลุ่มอื่นๆ จะไม่พบเซลล์ประกบ แต่พืชเมล็ดเปลือยกลุ่มสน อาจพบเซลล์ที่มลีักษณะคล้ายเซลล์ประกบ เรียกว่า albuminous cell

3. เซลล์พาเรงคิมา (Phloem parenchyma) เป็นเซลล์มีชีวิต เซลล์เรียงตัวตามยาว ผนังเซลล์บางและม ีsimple pit ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับพาเรงคิมาเซลล์ทั่วไป ภายในเซลลม์ักพบว่ามีการสะสมผลึก แทนนิน เมล็ดแป้ง หรือน้ ายางต่างๆ เอาไว้ 4. เซลล์เส้นใย (Phloem fiber) มีรูปร่างยาว หัวท้ายแหลม ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน และมี simple pit มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ท าหน้าที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อล าเลียงอาหาร

Page 13: Classification of Plant Kingdom - · PDF fileClassification of Plant Kingdom Plants Vascular Non-vascular Seed Monocotyledon Dicotyledon Cycadophyta Coniferophyta Flowering Nonflowering

Structure and Function of Flowering Plant 13

การเจริญเปลี่ยนแปลงของเนือ้เยื่อพืช Protoderm Epidermis Pith SAM Ground Meristem Cortex Cork cambium Cork, Phelloderm Mesophyll

Primary Xylem Secondary xylem Procambium Vascular cambium Primary Phloem Secondary Phloem

Meristem

Primary Meristem

Primary Permanent

Tissue

Secondary Meristem

Secondary Permanent

Tissue