department of fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย...

23

Upload: others

Post on 25-Aug-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น
Page 2: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น
Page 3: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น
Page 4: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

เอกสารหมายเลข ๓ โครงรางการเสนอผลงาน

๑. ชื่อผลงาน ความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g ท่ีใชตรวจวิเคราะห

Staphylococcus aureus ในผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง ๒. ระยะเวลาท่ีดําเนินการ ตุลาคม 2555 – ตุลาคม 2557 ๓. ความรูทางวิชาการหรือแนวคิดท่ีใชในการดําเนินการ

ปจจุบันผลิตภัณฑสัตวน้ํามีการสงออกและสรางรายไดใหกับประเทศไทยเปนจํานวนมาก ซ่ึงขอมูลจากสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานวาในป 2554 สินคาสัตวน้ําท่ีมีการสงออกปริมาณมาก 3 อันดับแรก ไดแก กุงสดแชเยือกแข็งมีปริมาณการสงออก 200,386,412 ตัน ซ่ึงมีมูลคา 52,048,263,889 ลานบาท หมึกและผลิตภัณฑ มีปริมาณการสงออก 67,269,437 ตัน ซ่ึงมีมูลคา 13,420,235,076.0 ลานบาท สวนปลาและผลิตภัณฑมีปริมาณการ สงออก 1,167,081,956 ซ่ึงมีมูลคา 112,150,012,518 ลานบาท (สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555) กอนท่ีจะสงออกสินคาสัตวน้ําไปขายยังตางประเทศตองมีการตรวจสอบคุณภาพของสินคา เพ่ือใหม่ันใจวาสินคานั้นมีความปลอดภัยไมกอใหเกิดอันตรายตอผูบริโภค Staphylococcus aureus เปนดัชนีบงชี้ถึงการจัดการระบบคุณภาพของผูประกอบการดาน สุขลกัษณะในกระบวนการผลิตอาหารและความปลอดภัยของอาหารท่ีแสดงถึงการปนเปอนขามจากมนุษย

ประเทศผูนําเขามีการกําหนดมาตรฐานในการตรวจสินคาท่ีแตกตางกัน เชน ปริมาณ S. aureus ในสินคากุงแชเยือกแข็งพรอมบริโภค ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด กําหนดมาตรฐานพบไดไมเกิน 1,000 MPN/g ประเทศแคนาดาและประเทศสหรัฐอเมริกา กําหนดมาตรฐานพบไดไมเกิน 10,000 MPN/g และประเทศในกลุมสหภาพยุโรป กําหนดมาตรฐานพบไดไมเกิน 1,000 CFU/g และในสินคาหมึกแชเยือกแข็งพรอมบริโภค ประเทศนิวซีแลนด กําหนดมาตรฐานพบไดไมเกิน 1,000 MPN/g ประเทศแคนาดา กําหนดมาตรฐานพบไดไมเกิน 10,000 MPN/g และประเทศในกลุมสหภาพยุโรป กําหนดมาตรฐานพบไดไมเกิน 1,000 CFU/g เปนตน จากมาตรฐานการนําเขาจะเห็นไดวา ประเทศผูนําเขามีการกําหนดมาตรฐาน S. aureus โดยระบุหนวยในการนับของเกณฑการยอมรับสินคาท่ีแตกตางกัน 2 หนวย ไดแก MPN/g และ CFU/g ท้ังนี้ความแตกตางของหนวยนับดังกลาว ทําใหเกิดขอสงสัยและคําถามจากโรงงานผลิตผลิตภัณฑสัตวน้ําสงออกถึงความสัมพันธระหวางปริมาณท่ียอมรับและหนวยของการทดสอบของวิธี MPN/g และ CFU/g อยูเสมอ กรณีโรงงานมีความประสงคจะสงออกผลิตภัณฑกุงแชเยือกแข็งพรอมบริโภคในรุนการผลิตเดียวกันไปยังประเทศในกลุมสหภาพยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสหภาพยุโรปกําหนดมาตรฐานและหนวยนับเปน CFU/g แตประเทศสหรัฐอเมริกากําหนดมาตรฐานและหนวยนับเปน MPN/g โรงงานตองทําการทดสอบตัวอยางในรุนการผลิตเดียวกัน 2 วิธี ทําใหเพ่ิมคาใชจายในการตรวจวิเคราะหเปน 2 เทา เพ่ือใหไดผลการทดสอบท้ัง 2 หนวยนับ ถึงจะทราบไดวาสินคารุนนั้นอยูในเกณฑท่ีกําหนดของท้ังสองประเทศและสามารถสงออกไดหรือไม

ปจจุบันวิธีการตรวจหาปริมาณ S. aureus ในตัวอยางอาหารท่ีเปนวิธีมาตรฐานมี 2 วิธี คือ 1. วิธี Most Probable Number (MPN) เปนวิธีทดสอบหาปริมาณ S. aureus ท่ีไดจากการ

ประเมินโดยใชหลักการทางสถิติมีความแมนยํารอยละ 95 ซ่ึงวิธีนี้ไมไดนับจํานวนเชื้อท่ีปรากฏ แตมาจากการคํานวณจํานวนหลอดทดลองท่ีบรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อท่ีเหมาะสม ไดแก Trypticase (tryptic) soy broth (TSB) containing 10% NaCl and 1% Sodium pyruvate เปน Enrichment medium หลังจากบมนํามา Streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Baird-Parker medium agar จากนั้นทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี Coagulase

Page 5: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

2. วิธี Colony Count เปนการนับจํานวนโคโลนีท่ีปรากฏบนอาหารเลี้ยงเชื้อท่ีจําเพาะและเหมาะสมในการเจริญ หนวยในการรายงานผลเปน Colonies Forming Unit (CFU/ml หรือ CFU/g) ซ่ึงวิธีท่ีหองปฏิบัติการโรงงานนิยมใชมี 2 วิธี ไดแก

2.1 วิธีมาตรฐาน (Bacteriological Analytical Manual, 2001) ใชอาหารเลี้ยงเชื้อ Baird-Parker medium agar บมท่ี 35 ๐C นาน 48 + 2 ชั่วโมง จากนั้นนับจํานวนโคโลนีท่ีมีลักษณะกลมนูน ขอบเรียบ ขนาดเสนผานศูนยกลางประมาณ 2 - 3 mm. มีสีเทาถึงดํา อาจมีขอบสีขาวหรือไมมีก็ได อาจจะมีโซนทึบรอบ ๆ โคโลนีหรือไมมีก็ได จากนั้นทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมี Coagulase

2.2 วิธีรวดเร็ว หรือ Rapid Method (AOAC, 2007) ปจจุบัน Rapid Method มีหลากหลายวิธีใหเลือกใชตามความเหมาะสมของแตละหองปฏิบัติการ ซ่ึงวิธีเหลานี้ไดผานการทดสอบความใชไดของวิธีแลว รวมถึงจัดเปน วิธีทางเลือกหรือ Alternative Method ท่ีมีความสะดวกและรวดเร็ว วิธีท่ีเลือกใชในการศึกษาในครั้งนี้เปนวิธีนับจํานวนโคโลนี S. aureus โดยใชแผนฟลมพลาสติ ก (Dry Rehydratable Film Method ยี่หอ 3M Petrifilm™) ประกอบดวยอาหารเลี้ยงเชื้อสําเร็จรูป อานผลโดย นับจํานวน S. aureus ท่ีมีลักษณะโคโลนีสีมวงแดง

จากการท่ีกรมประมงไดตรวจประเมินหองปฏิบัติการของโรงงานท่ีจัดทําระบบ HACCP พบวาโรงงานมีการตรวจหาปริมาณ S. aureus ท้ังในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ โดยเลือกใชวิธีทดสอบเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งเทานั้นทําใหทราบผลการทดสอบเพียงหนวยนับชนิดเดียว ทําใหโรงงานเกิดปญหาและตั้งคําถามวาจะทราบไดอยางไรวาสินคาผานมาตรฐานและสามารถสงออกไดทุกประเทศ และโรงงานไมสามารถท่ีจะตรวจสอบใหครอบคลุมทุกวิธีของประเทศผูนําเขาไดเนื่องจากแตละวิธีทดสอบจะมีข้ันตอนท่ีแตกตางกัน ตองใชทรัพยากรและบุคลากรท่ีมีความชํานาญในการทดสอบเปนการเพ่ิมคาใชจายในการดําเนินงาน จากขอมูลดังกลาวจึงเห็นถึงความจําเปนในการศึกษาถึงความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g ท่ีใชทดสอบหา S. aureus จากผลิตภัณฑสัตวน้ําชนิดตางๆ เพ่ือโรงงานจะไดนําผลท่ีไดจากการศึกษาไปใชในการรายงานผลการทดสอบในรุนการผลิตเดียวกัน และสามารถเปรียบเทียบผลการทดสอบกับมาตรฐานและหนวยนับของประเทศท่ีตองการสงออกได โดยไมตองเสียคาใชจายในการตรวจวิเคราะหเพ่ิม ๔. สรุปสาระและข้ันตอนการดําเนินการ

วัตถุประสงค เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g ท่ีใชตรวจ

วิเคราะห S. aureus ในตัวอยางกุง หมึก และ ปลาแชเยือกแข็ง

วิธีดําเนินการ 1. การเตรียมตัวอยาง

1.1 แบงกลุมตัวอยางผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง เปน 3 กลุม กลุมตัวอยางละ 90 ตัวอยาง ดังนี้

กลุมท่ี 1 ผลิตภัณฑกุง ไดแก กุงขาว (Litopenaeus vannamei) กลุมท่ี 2 ผลิตภัณฑหมึก ไดแก หมึกกลวย (Loligo spp.) หมึกกระดอง (Sepia spp.) และหมึกหอม (Sepistenthis lessoniana) กลุมท่ี 3 ผลิตภัณฑปลา ไดแก ปลานิล (17Alutera moncero) ปลาชอน (Channa spp.), ปลาดุก (Clarias spp.) และปลาสวาย (17Pangasius sutchi)

Page 6: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

1.2 แบงกลุมยอยของแตละตัวอยางผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง เปน 3 กลุมยอย ดังนี้ กลุมยอยท่ี 1 ตัวอยางควบคุม เปนตัวอยางท่ีไมพบกา รปนเปอน S. aureus

กลุมยอย ท่ี 2 ตัวอยางท่ีใสเชื้อ S. aureus ระดับต่ํา เปนตัวอยางควบคุมท่ีใส S. aureus ใหมีจํานวนเชื้อระหวาง 10-100 CFU/g กลุมยอย ท่ี 3 ตัวอยางท่ีใสเชื้อ S. aureus ระดับกลาง เปนตัวอยางควบคุมท่ีใส S. aureus ใหมีจํานวนเชื้อระหวาง >100-1,000 CFU/g

ตารางท่ี ตัวอยางท่ีใชในการศึกษาความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g ท่ีใชตรวจวิเคราะห S. aureus ในผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง

ชนิดสัตวน้ํา ปริมาณเช้ือ จํานวนตัวอยาง

กุง

ตัวอยางควบคุม 30 ตัวอยาง

ระดับต่ํา 30 ตัวอยาง

ระดับกลาง 30 ตัวอยาง

หมึก

ตัวอยางควบคุม 30 ตัวอยาง

ระดับต่ํา 30 ตัวอยาง

ระดับกลาง 30 ตัวอยาง

ปลา

ตัวอยางควบคุม 30 ตัวอยาง

ระดับต่ํา 30 ตัวอยาง

ระดับกลาง 30 ตัวอยาง

2. วัสดุอุปกรณท่ีใชในการศึกษา

2.1 ตูนึ่งฆาเชื้อ ชวงใชงานอุณหภูมิ 121 + 3 ๐C ความดัน 1 บาร 2.2 ตูอบฆาเชื้อ ชวงใชงานอุณหภูมิ 180 + 10 ๐C 2.3 ตูบมเชื้อ ชวงใชงานอุณหภูมิ 35 + 1 ๐C 2.4 ตูปลอดเชื้อ 2.5 เครื่องชั่ง 1 ตําแหนง และเครื่องชั่ง 2 ตําแหนง 2.6 เครื่องตีตัวอยาง 2.7 จานเลี้ยงเชื้อ 2.8 ออโตปเปต 1 และ 5 มิลลิลิตร 2.9 แอลกอฮอล (70% v/v) 2.10 ตะเกียงแกส

3. วิธีการทดลอง

3.1 เตรียม S. aureus โดยใช S. aureus ATCC 25923 ปริมาณเชื้อท่ีทดสอบ 2 ระดับ คือ ระดับต่ํา (10-100 CFU/g) และระดับกลาง ( >100-1,000 CFU/g) สวนเชื้อในระดับสูงไมได ทําการศึกษาในครั้งนี้ เนื่องจากในผลิตภัณฑสัตวน้ําสงออกไมพบการปนเปอนท่ีระดับดังกลาว อีกท้ังเปนระดับท่ี

Page 7: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

เกินมาตรฐานการสงออก โดยระดับท่ีหนึ่งเปนระดับต่ําท่ีวิธีทดสอบสามารถตรวจพบได ระดับท่ีสองเปนเปนระดับท่ีมากกวาระดับท่ีหนึ่ง 1 log และตัวอยางควบคุม ( uninoculated control) โดยดําเนินการเลี้ยงเชื้อดังนี้

3.1.1 นํา S. aureus จํานวน 1 โคโลนี ใสใน Tryptic Soy Broth นําไปบมท่ี 35 + 1 ๐C เปนเวลา นาน 24 ± 2 ชั่วโมง

3.1.2 เจือจาง S. aureus ท่ีไดจากขอ 3.1.1 ใหอยูในระดับท่ีตองการทดสอบ 3.2 ชั่งตัวอยางผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็งท่ีผานการฆาเชื้อ 50 กรัม เติม Butterfield's

Phosphate-Buffered Dilution Water 450 มิลลิลิตร 3.3 ใส S. aureus ในระดับท่ีตองการทดสอบ จากนั้นผสมตัวอยางโดยใชเครื่องตีตัวอยางเปน

เวลา 1-2 นาที 3.4 ดูดตัวอยางจากขอ 3.3 โดยใชวิธีวิเคราะห 3 วิธี ดังนี้

3.4.1 วิธีมาตรฐานของ Bacteriological Analytical Manual (BAM) Online 2001, Chapter 12 part : Most Probable Number Method รายงานหนวยเปน MPN/g

3.4.2 วิธีมาตรฐานของ Bacteriological Analytical Manual (BAM) Online 2001, Chapter 12 part : Isolation and enumeration รายงานหนวยเปน CFU/g

3.4.3 Official Method of Analytical of AOAC International, 2007 sec.2003.11 รายงานหนวยเปน CFU/g

4. การวิเคราะหขอมูล 4.1 นําขอมูลผลการทดสอบของหนวยนับระหวาง MPN และ CFU ท่ีวิเคราะหของท้ัง 3 วิธี มา

แปลงเปนคา log 4.2 นําขอมูลขอ 4.1 มาเปรียบเทียบผลการทดสอบท่ีไดจากตรวจวิเคราะห S. aureus โดย

ใชสถิติคาเฉลี่ย คาความแปรปรวน และ ANOVA 4.3 นําขอมูลขอ 4.1 หาความสัมพันธเชิงเสนแบบถดถอย ( Regression line) ของหนวยนับ

ระหวาง MPN และ CFU ท่ีใชตรวจวิเคราะห S. aureus โดยใชสถิติการวิเคราะหความถดถอยอยางงาย (Simple linear regression analysis) และสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (Coefficient of Determination : r2)

4.4 นําขอมูลขอ 4.1 หาสมการความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN และ CFU ท่ีใชตรวจวิเคราะห S. aureus โดยใชสถิติการวิเคราะหความถดถอยอยางงาย ( Simple linear regression analysis) และสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (Coefficient of Determination : r 2)

5. การทวนสอบสมการความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN และ CFU

การทวนสอบสมการความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN และ CFU ทวนสอบโดยทดสอบตัวอยางท่ีไมทราบคา ( Unknown Sample) จากหนวยงาน 16 ผูจัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญหองปฏิบัติการท่ีไดรับการรับรองความสามารถหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 โดยมีข้ันตอนดังนี้ 5.1 ข้ันตอนการเตรียมตัวอยาง

5.1.1 เตรียม 0.85 % NaCl ท่ีปราศจากเชื้อ จํานวน 100 มิลลิลิตร 5.1.2 เปดจุกขวดตัวอยางโดยเช็ดบริเวณรอบปากขวดดวยแอลกอฮอล 70 % ตั้งท้ิงไว ประมาณ 1 นาที

Page 8: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

5.1.3 ปเปต 0.85 % NaCl จํานวน 2 มิลลิลิตร จากขอ 5.1.1 ลงในขวดตัวอยาง ตั้งท้ิงไว ประมาณ 1-2 นาที เพ่ือใหตัวอยางละลาย 5.1.4 เทตัวอยางจากขอ 5.1.3 ลงใน 0.85 % NaCl ท่ีเหลือ (98 มิลลิลิตร) และ Rinse ขวดตัวอยางประมาณ 4-5 ครั้ง 5.1.5 เขยาตัวอยางท่ีเตรียมไดใหเขากันกอนนําไปวิเคราะห ตัวอยางถือเปนตัวอยางทดสอบ จํานวน 100 กรัม

5.2 ข้ันตอนการวิเคราะห 5.2.1 ดูดตัวอยางจากขอ 5.1.5 จํานวน 50+1 มิลลิลิตร ลงในขวดท่ีบรรจุ Butterfield's phosphate-buffered dilution water จํานวน 450 มิลลิลิตร 5.2.2 ทําการวิเคราะหโดยวิธีมาตรฐานท้ัง 3 วิธี ตามขอ 3.4

5.3 นําผลท่ีไดไปทวนสอบสมการความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN และ CFU โดยแทนคาจากผลการวิเคราะหในสมการท่ีไดจากการศึกษาเทียบกับผลการทดสอบความชํานาญ

๕. ผูรวมดําเนินการ (ถามี) ๑. นางเรณุกา นิธิบุณยบดี สัดสวนงาน 70% (หัวหนาโครงการ) ๒. นางกนกพรรณ ศรีมโนภาษ สัดสวนงาน 30% . ๖. สวนของงานท่ีผูเสนอเปนผูปฏิบัติ

1. วางแผน จัดเตรียมตัวอยาง อุปกรณและอาหารเลี้ยงเชื้อ สัดสวนงาน 10 % 2. ดําเนินวิเคราะห S. aureus ในตัวอยางผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง สัดสวนงาน 40 % 3. วิเคราะหเปรียบเทียบผลหาความสัมพันธและสมการความสัมพันธ สัดสวนงาน 10 %

ของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g

4. สรุปผลการวิจัยและจัดทํารายงาน สัดสวนงาน 10 % รวมสัดสวนงาน 70 %

๗. ผลสําเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ) เชิงปริมาณ

ไดสมการความสัมพันธท้ังสิ้น 8 สมการ ของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g ท่ีใชตรวจวิเคราะห Staphylococcus aureus ในผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง และพบวาตัวอยาง ท่ีใสเชื้อในระดับต่ําท่ีวิเคราะหโดยวิธี BAM รายงานหนวยนับเปน MPN/g และ CFU/g และวิธี AOAC รายงานหนวยนบัเปน CFU/g คาเฉลี่ยมีความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ( P < 0.05) แตตัวอยางท่ีใสเชื้อในระดับกลาง พบวาวิธ ี BAM รายงานหนวยนับเปน MPN/g และวิธี AOAC รายงานหนวยนับเปน CFU/g มีความแตกตางกันอยางไมมีนัยสําคัญ (P > 0.05)

เชิงคุณภาพ

สมการความสัมพันธท้ังสิ้น 8 สมการ ของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g ท่ีใชตรวจวิเคราะห Staphylococcus aureus ในผลิตภัณฑสัตวน้ําแชเยือกแข็ง มีคา r2 อยูระหวาง 0.891-0.986 แสดงใหเห็นวาสมการดังกลาวสามารถทํานายคาไดถูกตองถึงรอยละ 89.1- 96.6 ท่ีระดับความเชื่อม่ันรอยละ 95

Page 9: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

๘. การนําไปใชประโยชน ไดสมการความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN/g และ CFU/g เพ่ือเปนแนวทางในการรายงานผล

การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑสัตวน้ําสงออกรายการวิเคราะห S. aureus ตามประเทศผูนําเขารองขอ โดยนําไปใชกับกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตวน้ําและผลิตภัณฑสัตวน้ํา กรมประมง หนวยงานภาครัฐท่ีเก่ียวของ และภาคเอกชน ซ่ึงชวยประหยัดเวลาและลดตนทุนในการตรวจวิเคราะหกรณีตองการสงออกสินคาสัตวน้ําแชเยือกแข็ง 1 รายการ ไปหลายประเทศเนื่องจากหองปฏิบัติการสามารถเลือกใชวิธีมาตรฐานเพียงวิธีเดียวในการทดสอบตัวอยางไดและนําผลการทดสอบมาแทนคาในสมการความสัมพันธ

๙. ความยุงยากในการดําเนินการ/ปญหา/อุปสรรค

การควบคุมปริมาณเชื้อใหอยูในชวงท่ีตองการทําไดยาก เนื่องจากเชื้อจุลินทรียมีการเจริญเติมโตท่ีแตกตางกันข้ึนอยูกับตัวอยางและความแข็งแรงของเชื้อท่ีนํามาใชงาน

๑๐. ขอเสนอแนะ

หองปฏิบัติการ ควรใชวิธีทดสอบท่ีระบุตามมาตรฐานหรือขอกําหนด และไมควรเปลี่ยนแปลงหนวยโดยตรง เพ่ือไดผลการทดสอบท่ีมีความถูกตอง แตกรณีท่ีไมสามารถวิเคราะหดวยวิธีทดสอบท่ีระบุตามมาตรฐาน หรือขอกําหนด สมการความสัมพันธของหนวยนับระหวาง MPN และ CFU ก็เปนทาง เลือกหนึ่ง ท้ังนี้ควรเลือก สมการ ความสัมพันธท่ีตรงกับชนิดตัวอยางสัตวน้ํา และกอนนํามาใชงานควรทวนสอบสมการความสัมพันธ เนื่องจากตัวอยางท่ีนํามาศึกษาเปนตัวอยางท่ีเติมเชื้อ ( Artificial Sample) ไมใชเปนตัวอยางท่ีมีการปนเปอนตามธรรมชาติ ( Natural Sample) อยางไรก็ตาม การ แทนคาในสมการถดถอยจากการศึกษาในครั้งนี้จะใหผลท่ีนาเชื่อถือ เม่ือตัวอยางผลิตภัณฑสัตวน้ําท่ีทดสอบมีระดับการปนเปอนไมเกิน 1,000 CFU/g

ขอรับรองวาผลงานดังกลาวขางตนเปนความจริงทุกประการ

ลงชื่อ………………….…………… (นางเรณุกา นิธิบุณยบดี) ผูเสนอผลงาน ..……../………./…………..

ขอรับรองวาสัดสวนหรือลักษณะงานในการดําเนินการของผูเสนอขางตนถูกตองตรงกับความเปนจริงทุกประการ ลงชื่อ…………………..………………. (นางกนกพรรณ ศรีมโนภาษ) ผูรวมดําเนินการ . ……….../………./…………..

Page 10: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

ไดตรวจสอบแลวขอรับรองวาผลงานดังกลาวขางตนถูกตองตรงกับความเปนจริงทุกประการ ลงชื่อ…………………..….……………. ลงชื่อ………………………..…………………. (นางกนกพรรณ ศรีมโนภาษ) (นางสาวสุวิมล กีรติวิริยาภรณ) หัวหนากลุม ผูอํานวยการเฉพาะดาน (วิชาการผลิตภัณฑอาหาร) ระดับสูง พัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย รักษาราชการผูอํานวยการกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง

…….…../………./………….. ………../………./………….. (ผูบังคับบัญชาท่ีตามควบคุมดูแลการดําเนินการ)

Page 11: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

เอกสารหมายเลข ๓ โครงรางการเสนอผลงาน

๑. ชื่อผลงาน ชนิดและปริมาณสารคงตัวท่ีเหมาะสมสําหรับเตรียมตัวอยาง Escherichia coli ในกุงท่ีใชเพ่ือ

การทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ ๒. ระยะเวลาท่ีดําเนินการ ตุลาคม 2555 – ตุลาคม 2557 ๓. ความรูทางวิชาการหรือแนวคิดท่ีใชในการดําเนินการ

ในการทดสอบทางจุลชีววิทยาทางอาหาร เชื้อจุลินทรียสําคัญท่ีนิยมใชเปนดัชนีบงชี้ถึงสุขลักษณะของน้ําและอาหาร ไดแก Escherichia coli ซ่ึงเปนแบคทีเรีย Family Enterobacteriacea และเปนเชื้อประจําถ่ิน (Normal Flora) พบบริเวณลําไส ของท้ังคนและสัตวเลือดอุน เจริญไดท่ีอุณหภูมิ 8 ถึง 44 ๐C อุณหภูมิท่ีเหมาะสม คือ 37 ๐C หากตรวจพบ E. coli แสดงวามีการปนเปอนจากอุจจาระของคนและสัตวท่ีปนเปอนมากับน้ําหรือสิ่งแวดลอม รวมท้ังอาจมีเชื้อโรคตางๆ ท่ีคนและสัตวขับออกมาจากอุจจาระปนอยูในน้ําดวย จึงมีขอกําหนดตรวจสอบหาการปนเปอน E. coli ในน้ําและอาหาร เพ่ือยืนยันวาน้ําและอาหารมีความปลอดภัยเหมาะสมแกการบริโภค ซ่ึงผลการทดสอบเชื้อ E. coli จะตองมีความถูกตอง แมนยํา เพราะหากผลผิดพลาดจะสงผลกระทบตอความปลอดภัยของผูบริโภค ดังนั้นการ ประกันคุณภาพผลการทดสอบเปน

กระบวนการเฝ�าระวังคุณภาพหองปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 เพ่ือใหเกิดความเชื่อม่ันวาผล

การทดสอบมีความเท่ียงตรง (precision) แมนยํา (accuracy) และนาเชื่อถือ ซ่ึงการทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการหรือการทดสอบความชํานาญเปนการประกันคุณภาพผลการทดสอบท่ีไดรับการยอมรับ โดยตัวอยางท่ีใชในการประกันคุณภาพตองมีการทดสอบลักษณะท่ีสําคัญ 2 ประการ ไดแก 1) การทดสอบความเปนเนื้อเดียวกัน ( homogeneity testing) คือ ตัวอยางตองมีลักษณะผสมเปนเนื้อเดียวและมีอัตราสวนของผสมเทากัน เม่ือนําสวนใดสวนหนึ่งของตัวอยางไปทดสอบจะใหผลการทดสอบท่ีไมแตกตางกันทางสถิติ และ 2) ตองทดสอบความความคงตัว ( stability testing) คือ เม่ือเวลาผานไปจนถึงวันท่ีทดสอบจะ ใหผลการทดสอบท่ีไมแตกตางกันทางสถิต ิ

ปจจุบันประเทศไทยมีหนวยงานท้ังภาครัฐและภาคเอกชนท่ีจัดทําตัวอยางทดสอบความชํานาญหลายหนวยงานดวยกัน สวนมากเปนตัวอยาง Liophilized culture ท่ีตองใชเครื่องมือเฉพาะเจาะจงและมีราคาแพงซ่ึงการเตรียมตัวอยางลักษณะดังกลาวเปนการนําจุลินทรียเปาหมายไปผานกระบวนการทําใหแหง แบบเยือกแข็ง (Freeze Drying) ภายใตสภาวะท่ีอุณหภูมิและความดันต่ํา แตขณะนี้ยังไมมีหนวยงานใดท่ีจัดทําตัวอยางในขอบขายสัตวน้ํา เชน กุง ปลา หอย ในรายการทดสอบ E. coli โดยผูวิจัยไดศึกษาการเตรียมตัวอยางทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการทางจุลชีววิทยามีการเติมจุลินทรียเปาหมายลงในตัวอยางสัตวน้ําและเก็บท่ีอุณหภูมิ 2-8 ºC พบวาตัวอยางดังกลาวมีคาความความคงตัวของตัวอยางไมเกิน 24 ชั่วโมง จึงจําเปนตองศึกษาวิธีท่ีจะทําใหจุลินทรียเปาหมายมีปริมาณคงท่ี โดยการเติมสารบางชนิดเพ่ือเพ่ิมอัตราการรอดของจุลินทรียในตัวอยาง ท้ังนี้มีแนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหารท่ีนิยมเติมสารคงตัว (Stabilizing agent อาจเรียกวา stabilizer หรือ stabiliser) ชวยทําใหอาหารมีความคงตัว เพ่ิมความขนหนืด ลดการแยกชั้นของเหลวและคุณคาทางโภชนาการ ซ่ึงสารคงตัวสวนใหญเปน ไฮโดรคอลลอยด (hydrocolloid) มีขนาดของโมเลกุลใหญมากเม่ือเปรียบเทียบกับโมเลกุลของน้ํา สารกลุมนี้ไมละลายในน้ําแตจะแขวนลอยอยูในน้ําโดยจับกับโมเลกุลของน้ําไดดี สารคงตัวท่ีนิยมใชในอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากหาซ้ือไดงายและราคาถูก ไดแก 1) กัวกัม เปนพอลิแซ็กคาไรด ( Polysaccharide) ท่ีสกัดไดจากเนื้อในเมล็ด ( endosperm) ของเมล็ดกัว ( 16 Cyamopsis tetragonolobus) มีถ่ินกําเนิดในประเทศอินเดียและปากีสถาน 2) หางนม 0เปน 0ของแข็งท่ีเหลือจากการแยก

Page 12: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

เอาไขมันเนย (butter fat) ออกจากน้ํานมเกือบท้ังหมด ซ่ึงประกอบดวยโปรตีนนมและน้ําตาลแล็กโทส และ 3) คาราจีแนน อาการ เปนพอลิแซ็กคาไรดท่ีมีน้ําหนักโมเลกุลสูง สกัดไดจากสาหรายทะเลสีแดง (16Rhodophyceae) โดยสารคงตัวท้ังสามชนิดนิยมใช เปนสวนผสมของไอศกรีม 0 น้ําสลัด และอาหารแชแข็ง ในปริมาณรอยละ 1-3 ซ่ึงชวยใหอาหารมีลักษณะเปนเนื้อเดียวกันปองกันการแยกชั้นของเหลวและทําใหอาหารมีความคงตัวดวยการลดแรงตึงผิวของอาหาร (ศูนยเครือขายขอมูลอาหารครบวงจร, 2013)

ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงเล็งเห็นความสําคัญท่ีจะตองศึกษาการเตรียมตัวอยางกุงซ่ึงเปนสัตวน้ําท่ีมีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพ่ือใชเปนตัวอยางเปรียบเทียบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการโดยศึกษาสารคงตัวท่ีเหมาะสมในการเตรียมตัวอยาง E. coli ในกุง เพ่ือใหไดตัวอยางท่ีมีความเปนเนื้อเดียวกันและความคงตัวท่ีดี สําหรับทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการของหองปฏิบัติการกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมงและหองปฏิบัติการของผูประกอบการผลิตและสงออกสินคาสัตวน้ํา อีกท้ังใชทดสอบความสามารถของหองปฏิบัติการนอกสังกัดกรมประมงท่ีจะข้ึนทะเบียนเปนหองปฏิบัติการท่ีสามารถทดสอบสินคาประมงตามนโยบายกรมประมงในภารกิจการถายโอนภารกิจการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานดานการประมงใหกับหองปฏิบัติการนอกสังกัด ซ่ึงผลการทดสอบความสามารถของหองปฏิบัติการจะเปนสวนท่ีชวยเพ่ิมความเชื่อม่ันในผลการทดสอบของหองปฏิบัติการ และชวยลดคาใชจายของกรมประมงในการรักษาระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025

๔. สรุปสาระและข้ันตอนการดําเนินการ

วัตถุประสงค ศึกษาชนิดและปริมาณสารคงตัวท่ีเหมาะสมในการเตรียมตัวอยาง E. coli ในกุงท่ีใชสําหรับ

ทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ วิธีดําเนินการ

1. การวางแผนการทดลอง ศึกษาสารคงตัว 3 ชนิด ไดแก กัวกัม คารราจีแนนอะการ และหางนมผง ชนิดละ 3 ระดับ คือรอยละ 1, 2 และ 3 ซ่ึงเปนการทดลองแบบ 3 x 3 แฟคทอเรียล (Factorial Experiments)

2. วัสดุอุปกรณท่ีใชในการศึกษา 2.1 ตูนึ่งฆาเชื้อ ชวงใชงานอุณหภูมิ 121 + 3 ๐C ความดัน 1 บาร 2.2 ตูอบฆาเชื้อ ชวงใชงานอุณหภูมิ 180 + 10 ๐C 2.3 ตูบมเชื้อ ชวงใชงานอุณหภูมิ 35 + 1 ๐C 2.4 ตูปลอดเชื้อ 2.5 เครื่องชั่ง 1 ตําแหนง และเครื่องชั่ง 2 ตําแหนง 2.6 เครื่องตีตัวอยาง 2.7 เครื่องปนตัวอยาง 2.8 ออโตปเปต 1 และ 5 มิลลิลิตร 2.9 แอลกอฮอล (70% v/v) 2.10 ตะเกียงแกส 2.11 หลอดใสอาหารเลี้ยงเชื้อขนาด 16x150 mm และ 20 x 150 mm

Page 13: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

3. วิธีการทดลอง 3.1 เตรียมตัวอยางกุงขาว (Litopenaeus vannamei) เชื้ออางอิง สารคงตัวและน้ํากลั่น 3.1.1 เตรียมตัวอยางกุง

3.1.1.1 นํากุงตมท้ังตัวมาแกะเปลือก ตัดหัวและหาง 3.1.1.2 หั่นกุงเปนชิ้นเล็กๆ และปนตัวอยางกุงใหละเอียดดวยเครื่องปนตัวอยาง

3.1.1.3 นําไปฆาเชื้อท่ีอุณหภูมิ 121 ๐C นาน 15 นาที 3.1.1.4 เก็บรักษาท่ีอุณหภูมิ 2-8 ๐C

3.1.2 เตรียม E. coli ATCC 25922 3.1.2.1 นํา E. coli ท่ีเปน Stock Culture ในรูปเม็ดลูกปด (beads) ท่ีเก็บรักษาท่ี อุณหภูมิ -20 ๐C มาใสใน Tryptone Soya Broth บมท่ีอุณหภูมิ 35 + 1 ๐C นาน 18-24 ชั่วโมง 3.1.2.2 Streak ลงบน Plate Count Agar นําไปบมท่ีอุณหภูมิ 35 + 1 ๐C นาน 18-24 ชั่วโมง และนําไปเก็บไวท่ีอุณหภูมิ 2-8 ๐C เพ่ือใชงานเปน Working Culture 3.1.2.3 เม่ือจะเตรียม E. coli นํา Working Culture จํานวน 1 โคโลนี ใสใน Nutrient

broth นําไปบมท่ีอุณหภูมิ 35 + 1 ๐C นาน 18-24 ชั่วโมง 3.1.3 ใชสารคงตัว 3 ชนิด ไดแก กัวกัม คารราจีแนนอะการ และหางนมผง ท่ีระดับความ

เขมขน 3 ระดับ คือ รอยละ 1, 2 และ 3 แสดงดังแผนภูมิผนวกท่ี 3 3.1.4 เตรียมน้ํากลั่นท่ีปราศจากเชื้อ เพ่ือใชเปนตัวทําละลายสารคงตัว โดยนําน้ํากลั่น

ปริมาตร 240 มิลลิลิตร ไปฆาเชื้อท่ีอุณหภูมิ 121 ๐C นาน 15 นาที เก็บรักษาท่ีอุณหภูมิ 2-8 ๐C

3.2 ข้ันตอนการผสมตัวอยางกุง เชื้ออางอิง สารคงตัวและน้ํากลั่น จะไดน้ําหนักตัวอยางทดสอบ ประมาณ 800 กรัม

3.2.1 ชั่งตัวอยางกุงบดขอ 3.1.1 จํานวน 560 กรัม 3.2.2 นํา E. coli จากขอ 3.1.2.3 มาเจือจางเชื้อดวยสารละลาย Butterfield's phosphate-

buffered dilution water จนถึงระดับการเจือจางท่ี 10-4 3.2.3 ชั่งสารคงตัวขอ 3.1.3 ตามระดับความเขมขนตอตัวอยาง 800 กรัม ดังนี้

3.1.3.1 ระดับความเขมขนท่ี 1 ใชสารคงตัวรอยละ 1 โดยชั่งสารคงตัว 8 กรัม 3.1.3.2 ระดับความเขมขนท่ี 2 ใชสารคงตัวรอยละ 2 โดยชั่งสารคงตัว 16 กรัม 3.1.3.3 ระดับความเขมขนท่ี 3 ใชสารคงตัวรอยละ 3 โดยชั่งสารคงตัว 24 กรัม

3.2.4 ดูด E. coli ขอ 3.2.2 จํานวน 2 มิลลิลิตร ลงในน้ํากลั่นท่ีปราศจากเชื้อ (ขอ 3.1.4) ปริมาตร 240 มิลลิลิตร ผสมใหเขากัน

3.2.5 ใสสารคงตัวท่ีเตรียมไดจากขอ 3.2.3 ใสในขวดน้ํากลั่นท่ีเติมเชื้อในขอ 3.2.4 ผสมจนสารคงตัวละลาย

3.2.6 เทสารละลายคงตัวจากขอ 3.2.5 ลงในตัวอยางกุงขอ 3.2.1 ผสมใหเปน เนื้อเดียวกัน

3.3 บรรจุตัวอยางทดสอบ 3.3.1 ชั่งตัวอยางขอ 3.2.6 ลงในขวดพลาสติกท่ีปลอดเชื้อ ขวดละ 10 ± 0.1 กรัม

Page 14: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

3.3.2 ปดฝาขวดและปดผนึกดวยพลาสติก 3.3.3 ระบุรหัสตัวอยางทดสอบ ซ่ึงจะไดตัวอยางทดสอบ 80 ขวด

3.4 ทดสอบความเปนเนื้อเดียวกัน 3.4.1 สุมตัวอยางทดสอบจากขอ 3.3 จํานวน 10 ตัวอยาง โดยใชโปรแกรมสุมตัวอยางใน

เว็บไซต http://random.org 3.4.2 ทําการตรวจวิเคราะห E. coli ดวยวิธี ISO/TS 16649-3 : 2005 ตัวอยางละ

2 ซํ้า 3.5 ทดลองจัดสงตัวอยางทดสอบและการเก็บรักษาตัวอยางทดสอบระหวางรอการทดสอบ

3.5.1 ทดลองจัดสงตัวอยางทดสอบ โดยเก็บตัวอยางทดสอบท่ีเหลือจากการสุมในขอ 3.4.1 จํานวน 70 ขวด ไวในกลองโฟมท่ีบรรจุเจลน้ําแข็ง เปนเวลา 24 ชั่วโมง ท่ีอุณหภูมิหอง

3.5.2 ทดลองเก็บรักษาตัวอยางทดสอบระหวางรอการทดสอบ โดยนําตัวอยางทดสอบจากขอ 3.5.1 ออกจากกลองโฟมไปเก็บในตูเย็นท่ีมีอุณหภูมิ 2-8 ๐C

3.6 ทดสอบความคงตัว 3.6.1 สุมตัวอยางทดสอบแบบงาย จากขอ 3.5.2 จํานวน 5 ตัวอยางตอวันตอเนื่องกันเปน

เวลา 7 วัน รวมเปนจํานวนตัวอยางทดสอบ 35 ตัวอยาง 3.6.2 ทําการวิเคราะห E. coli โดยวิธี ISO/TS 16649-3 : 2005 ตัวอยางทดสอบละ

2 ซํ้า 3.7 วิเคราะหผลทางสถิติ

3.7.1 นําผลการวิเคราะหจากขอ 3.4 และ 3.6 มาแปลงเปนคา log 3.7.2 นําขอมูลท่ีไดจากการแปลงคา log มาคํานวณเพ่ือประเมินความเปนเนื้อเดียวกัน

และความคงตัวของ ตัวอยางทดสอบ โดยใชสถิติ Analysis of Variance (ANOVA) ตาม ISO 13528 : 2005

3.8 แปลผลเพ่ือคัดเลือกสารคงตัว 3.8.1 แปลผลขอมูลจากขอ 3.7 โดยคัดเลือกตัวอยางทดสอบท่ีใหผลการทดสอบ ดังนี้

3.8.1.1 ตัวอยางทดสอบท่ีมีผลการทดสอบวามีความเปนเนื้อเดียวกัน โดยมีเกณฑการ ประเมินดังนี้

P-value ≥ 0.05 แสดงวา ปริมาณ E. coli ท่ีพบไมแตกตางทางสถิติ P-value < 0.05 แสดงวา ปริมาณ E. coli ท่ีพบแตกตางทางสถิติ

3.8.1.2 ตัวอยางทดสอบท่ีมีผลความคงตัวดีท่ีสุด โดยดูจากตัวอยางทดสอบท่ีสามารถเก็บรักษาไดนานท่ีสุด โดยมีเกณฑการประเมินดังนี้

P-value ≥ 0.05 แสดงวา ปริมาณ E. coli ท่ีพบไมแตกตางทางสถิติ P-value < 0.05 แสดงวา ปริมาณ E. coli ท่ีพบแตกตางทางสถิติ

3.9 นําสารคงตัวท่ีดีท่ีสุดจากขอ 3.8 มาเตรียมตัวอยางเพ่ือใชในการทดสอบความสามารถ ระหวางหองปฏิบัติการ

3.9.1 ดําเนินการเตรียมตัวอยางทดสอบตามขอ 3.1-3.3 โดยใชสารคงตัวท่ีใหผลการศึกษาท่ีเหมาะสมท่ีสุดจากขอ 3.8

Page 15: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

3.9.2 เตรียมตัวอยางทดสอบเรียบรอยแลวดําเนินการทดสอบความเปนเนื้อเดียวกัน ตามขอ 3.4 โดยใชเกณฑการประเมินตามขอ 3.8.1.1 กรณีผลการทดสอบมีคา P-value < 0.05 จะยกเลิกการทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ

3.10 สงตัวอยางทดสอบ E. coli ในตัวอยางกุง ใหหองปฏิบัติการท่ีเขารวมทดสอบ ความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ

3.10.1 สุมตัวอยางทดสอบโดยใชโปรแกรมสุมตัวอยางในเว็บไซต http://random.org จํานวน 2 ตัวอยาง 3.10.2 บรรจุลงในกลองโฟมท่ีบรรจุเจลน้ําแข็ง 3.10.3 ปดผนึกกลองโฟมดวยเทป พรอมแนบเอกสารประกอบการเขารวมทดสอบ ความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ จํานวน 4 ฉบับ 3.10.4 จัดสงใหหองปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง

3.11 ทดสอบความคงตัว 3.11.1 เก็บตัวอยางทดสอบท่ีเหลือจากการทดสอบความเปนเนื้อเดียวกันและท่ีจัดสงให

หองปฏิบัติการไวในกลองโฟมท่ีบรรจุเจลน้ําแข็งเปนเวลา 24 ชั่วโมง 3.11.2 เปดกลองโฟม สุมตัวอยางทดสอบ จํานวน 5 ตัวอยาง จากนั้นนําตัวอยางทดสอบท่ี

เหลือเก็บ ในตูเย็นท่ีมีอุณหภูมิ 2-8 ๐C และสุมตัวอยางตอเนื่องกันเปนเวลา 7 วัน รวมเปนจํานวนตัวอยางทดสอบ 35 ตัวอยาง

3.11.3 ทําการวิเคราะหตัวอยางทดสอบโดยวิธ ี ISO/TS 16649-3 : 2005 ตัวอยาง ทดสอบละ 2 ซํ้า

3.12 หองปฏิบัติการท่ีเขารวมทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ สงผลการวิเคราะห กลับมายังผูวิจัย 3.13 วิเคราะหและประเมินผลทางสถิติ

3.13.1 นําผลการวิเคราะหมาแปลงเปนคา log 3.13.2 ประเมินความเปนเนื้อเดียวกันและความคงตัวของตัวอยางทดสอบ เหมือนขอ 3.7.2 3.13.3 ประเมินผลการทดสอ บความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ โดยใชคา Z-Score ซ่ึงเปนคาทางสถิติท่ีนิยมใชในการประเมินผลความสามารถของหองปฏิบัติการ

โดยมีเกณฑการประเมินดังนี้

|Z| ≤ 2 หมายถึง ผลการทดสอบนั้นยอมรับได (Satisfactory)

2 < |Z| < 3 หมายถึง ผลการทดสอบนั้นนาสงสัย (Questionable)

|Z| ≥ 3 หมายถึง ผลการทดสอบนั้นยอมรับไมได (Unsatisfactory)

๕. ผูรวมดําเนินการ (ถามี) ๑. นางกนกพรรณ ศรีมโนภาษ สัดสวนงาน 50% (หัวหนาโครงการ) ๒. นางเรณุกา นิธิบุณยบดี สัดสวนงาน 40% 3. นายวชิร ครามวอน สัดสวนงาน 10%

Page 16: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

๖. สวนของงานท่ีผูเสนอเปนผูปฏิบัติ 1. วางแผน จัดเตรียมตัวอยาง อุปกรณและอาหารเลี้ยงเชื้อ สัดสวนงาน 10 % 2. ศึกษาวิธีการเตรียมตัวอยาง Escherichia coli ในตัวอยางกุง สัดสวนงาน 10 % 3. วิธีการสงตัวอยาง E. coli ในตัวอยางกุง ใหหองปฏิบัติการ สัดสวนงาน 10 %

ท่ีไดรับการรับรอง ISO/IEC 17025 4. สรุปผลการวิจัยและจัดทํารายงาน สัดสวนงาน 10 %

รวมสัดสวนงาน 40 %

๗. ผลสําเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ) เชิงปริมาณ

ไดชนิดและปริมาณสารคงตัวท่ีเหมาะสมในการเตรียมตัวอยาง E. coli ในกุงท่ีใชสําหรับทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ ไดแก สารคงตัวคารราจีแนนอะการ รอยละ 1 มีความคงตัวและสามารถเก็บรักษาตัวอยางกุงเพ่ือใชสําหรับทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการไดนานท่ีสุด (5 วัน)

เชิงคุณภาพ

ไดตัวอยาง E. coli ในกุงท่ีใชสําหรับทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ ซ่ึงมีความเปนเนื้อเดียวกันและมีความคงตัว ตามมาตรฐาน ISO 13528

๘. การนําไปใชประโยชน

ไดตัวอยาง E. coli ท่ีใชทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ เพ่ือใชในการประกอบการรักษาระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 ซ่ึงชวยลดคาใชจายในการคาสมัครเขารวมโปรแกรมทดสอบความชํานาญ และใชในการควบคุมคุณภาพภายในและเฝาระวังการดําเนินงานของหองปฏิบัติการ อีกท้ังชวยเ พ่ิมความเชื่อม่ันในผลการทดสอบของหองปฏิบัติการโรงงานท่ีใช ผลการทดสอบในการ ทวนสอบระบบ HACCP ตอไป

๙. ความยุงยากในการดําเนินการ/ปญหา/อุปสรรค

การเตรียมตัวอยางใหมีความเปนเนื้อเดียวกันทําไดยาก เนื่องจากตัวอยางเปนของแข็ง และสารคงตัวมีความหนืดทําใหตองทําการผสมตัวอยางอยางรวดเร็ว

๑๐. ขอเสนอแนะ

จากผลการศึกษาในครั้งนี้ผูวิจัยเห็นวาควรมีการศึกษาสารคงตัวท่ีเหมาะสมในการเตรียมตัวอยางเชื้อจุลินทรียชนิดอ่ืนๆ เชน Total Viable plate count, Staphylococcus aureus, Vibrio parahaemolyticus, Vibrio cholera, Salmonella spp, และ Listeria monocytogenes เปนตน ซ่ึงเปนเชื้อจุลินทรียท่ีสําคัญในการควบคุมคุณภาพสินคาสัตวน้ํากอนการสงออก เพ่ือใชทดสอบความสามารถระหวางหองปฏิบัติการ การควบคุมคุณภาพภายในและเฝาระวังการดําเนินงานของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมงในการรักษาระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025 อีกท้ังชวยลดคาใชจายในการสมัครเขารวมโปรแกรมทดสอบความชํานาญ และใชในการทดสอบความสามารถของ หองปฏิบัติการผูประกอบการผลิตและสงออกสินคาสัตวน้ํา อีกท้ังใชทดสอบความสามารถของหองปฏิบัติการนอกสังกัดกรมประมงท่ีจะข้ึนทะเบียนเปนหองปฏิบัติการ ท่ี

Page 17: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

สามารถทดสอบสินคาประมง ตามนโยบายกรมประมงใน การถายโอนภารกิจการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานดานการประมงใหกับหองปฏิบัติการนอกสังกัด

ขอรับรองวาผลงานดังกลาวขางตนเปนความจริงทุกประการ

ลงชื่อ………………….…………… (นางเรณุกา นิธิบุณยบดี) ผูเสนอผลงาน ..……../………./…………..

ขอรับรองวาสัดสวนหรือลักษณะงานในการดําเนินการของผูเสนอขางตนถูกตองตรงกับความเปนจริงทุกประการ ลงชื่อ…………………..………………. ลงชื่อ…………………..………………. (นายวชิร ครามวอน) (นางกนกพรรณ ศรีมโนภาษ) ผูรวมดําเนินการ ผูรวมดําเนินการ ……….../………./………….. ……….../………./………….. ไดตรวจสอบแลวขอรับรองวาผลงานดังกลาวขางตนถูกตองตรงกับความเปนจริงทุกประการ ลงชื่อ…………………..….……………. ลงชื่อ………………………..…………………. (นางกนกพรรณ ศรีมโนภาษ) (นางสาวสุวิมล กีรติวิริยาภรณ) หัวหนากลุม ผูอํานวยการเฉพาะดาน (วิชาการผลิตภัณฑอาหาร) ระดับสูง พัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย รักษาราชการผูอํานวยการกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง

…….…../………./………….. ………../………./………….. (ผูบังคับบัญชาท่ีตามควบคุมดูแลการดําเนินการ)

Page 18: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

เอกสารหมายเลข ๔ โครงรางขอเสนอแนวความคิด/วิธีการเพ่ือพัฒนางานหรือปรับปรุงงานใหมีประสิทธิภาพมากข้ึน

ของนางเรณุกา นิธิบุณยบดี เพ่ือประกอบการแตงตั้งใหดํารงตําแหนง นักวิชาการผลิตภัณฑอาหารชํานาญการพิเศษ ตําแหนงเลขท่ี 177 กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตวน้ําและผลิตภัณฑสัตวน้ํา เรื่อง การพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝา ของกองตรวจสอบคุณภาพ

สินคาประมง หลักการและเหตุผล

กองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง กรมประมง มีหนาท่ีรับผิดชอบหลักในการศึกษา วิจัย พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต สุขอนามัยแหลงผลิตและผลิตภัณฑเพ่ือกําหนดมาตรฐาน สุขลักษณะการผลิตระบบ

คุณภาพ และมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑสัตวน้ําใหถูกสุขอนามัยและสุขลักษณะ โดยดําเนินการควบคุม ตรวจสอบ กํากับดูแลดานความปลอดภัยตอการบริโภคสินคาสัตวน้ํา ตั้งแตการผลิตจนถึงการสงออกใหเปนไปตามมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑสัตวน้ํา รวมถึงใหการรับรองคุณภาพสินคาสัตวน้ํา แหลงเลี้ยง แหลงจับ สะพานปลา เรือประมง สถานแปรรูปเบื้องตน โรงงานผลิตสินคาและผลิตภัณฑตามมาตรฐานท่ีกําหนด ซึ่ง

หองปฏิบัติการกองฯ ไดดาํเนินการพัฒนาคุณภาพหองปฏิบัติการตามระบบมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025:2005

เพื่อเปนการสรางความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานภายใตมาตรฐานสากล เนื่องจากกองฯ เปนหนวยงานที่หลายๆประเทศใหการรับรองและดําเนินการจัดทําความรวมมือในดานระบบควบคุมตรวจสอบ เชน เปน Competent Authority ภายใตการรับรองของกลุมสหภาพยุโรป/แคนาดา/ เกาหล/ี สหรัฐอเมริกา/ ญี่ปุน/ สาธารณรัฐประชาชนจีน/

สหพันธรัฐรัสเซีย/ ออสเตรเลีย/ แอฟริกาใต เปนตน อีกทั้งเปนศูนยกลางฝกอบรมดานเทคนิคการตรวจวิเคราะหคุณภาพสัตวน้ําและผลิตภัณฑสัตวน้ําสําหรับหองปฏิบัติการโรงงานผลิตผลิตภัณฑสัตวน้ํา หองปฏิบัติการภาคเอกชน /

หองปฏิบัติการภายในกรมประมงและหองปฏิบัติการประเทศสมาชิกในกลุม ASEAN และประเทศในภูมิภาคตางๆ

เชนประเทศพมา ลาว สิงคโปร อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ฟลิปปนส มาเลเซีย นามิเบีย มัลดีฟท ศรีลังกา โซโลมอน และสาธารณรัฐประชาชนจีน เปนตน ตามขอกําหนดและมาตรฐานของประเทศผูนําเขาเขมงวดมากข้ึน ไมเพียงแตตรวจคุณภาพทางดานเชื้อแบคทีเรีย ยีสตและราเทานั้น ปจจุบัน ไดมีการตรวจไวรัสอีกดวย เชน ประเทศแคนาดา นิวซีแลนด สหภาพยุโรป และ ออสเตรเลีย เปนตน จะมกีารตรวจวิเคราะห Norovirus ในหอยสองฝา โดยใช

เทคนิค RT-PCR and/or Real-time –PCR

Norovirus จัดอยูใน family Caliciviridae ซ่ึงมี 4 genus ไดแก Norovirus, Sapovirus, Vesivirus,และ Lagovirus ซ่ึง Norovirus เปนไวรัสท่ีมีสารพันธุกรรมเปน RNA สายเดี่ยว สายบวก หุมดวยแคปซิด อนุภาคขนาดเล็ก ประมาณ 27-32 นาโนเมตร มีรูปรางจําเพาะ ผิวและขอบไมเรียบ พบรอยลักษณะคลายถวย

บุมลึกลงไปในผิว ตรวจพบครั้งแรกในปพ.ศ. 2511 ซ่ึงเปนสาเหตุของโรคอุจจาระรวงเฉียบพลันและมีอาการอาเจียนรวมดวย ระบาดในโรงเรียนประถมศึกษาแหงหนึ่งท่ีเมือง Norwalk รัฐ Ohio สหรัฐอเมริกา ตอมาในปพ.ศ. 2515 พิสูจนวาเกิดจากไวรัสจึงเรียกชื่อวา Norwalk virus 32 ในเวลาตอมาไดพบอนุภาคท่ีมีรูปรางและกอโรคคลายคลึงกันในแหลงตางๆ แตมีคุณสมบัติของแอนติเจนแตกตางไปบาง จึงเรียกไวรัสกลุมนี้วา Norwalk like viruses ปจจุบันเรียกกลุมไวรัสนี้วา Noroviruses ซ่ึงแบงไดเปน 4 serotypes ตามความแตกตางของ

Page 19: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

แอนติเจน ปจจุบัน norovirus แบงเปน 5 genogroups, GI-GV โดยอาศัยความแตกตางของลําดับนิวคลิโอไทดของยีนท่ีกําหนดสรางแคปซิดพบวา Norovirus ใน GI, GII และ GIV กอโรคในคน สวน Norovirus ใน GIII พบในวัวและใน GV พบในหนู (mice) นอกจากนี้ Norovirus ในแตละ genogroup ยังถูกแบงยอยเปนหลาย

genotypes เนื่องจาก Norovirus ไมสามารถเพาะเลี้ยงในเซลไดดังนั้นจึงใชวิธีการศึกษาดวยเทคนิค RT-PCR Norovirus เปนไวรัสท่ีทําใหเกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร อาการท่ีพบไดแกคลื่นไสรุนแรง อาเจียน

ปวดทองและทองรวง อาจมีอาการอยางอ่ืนรวม เชน ปวดศีรษะ มีไขหนาวสั่น และปวดกลามเนื้อ สถานการณ Norovirus ท่ีพบในประเทศญี่ปุน ชวงเดือนธันวาคม 2556 พบผูปวยเปนเด็กนักเรียนในเมืองฮิโรชิมะ และ ฮามามัตสึ จํานวนกวา 1,300 คน ปวยจาก Norovirus ซ่ึงเกิดจากการรับประทานอาหารกลองของโรงเรียน

ท้ังนี้ กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุน ไดรายงานจํานวนผูไดรับผลกระทบจาก Norovirus ในป 2556 ถึง 17,632 ราย และในป 2557 สานักขาว Mainichi Shimbun ไดรายงานวา ผูปวยจากการระบาดของ Norovirus ไดเสียชีวิตลงจํานวน 4 ราย ประเทศสหรัฐอเมริกา สํานักงานควบคุมและปองกันโรคสหรัฐฯ ระบุวา ทุกปจะมีผูปวยจาก Norovirus ประมาณ 21 ลานคน ซ่ึงราว 70,000 คน ตองเขารับการรักษาท่ีโรงพยาบาล และยังเปนสาเหตุของการเสียชีวิตราว ปละ 800 คน ประเทศจีน สํานักงานสาธารณสุข

มณฑลกวางตุง รายงานวา ในป 2553 ท่ีมณฑลกวางตุง มีผูติดเชื้อ Norovirus จํานวน ๔๒๙ ราย แตไมมีรายงานผูเสียชีวิต

ปจจุบันกองฯ ไดรับจัดสรรงบประมาณในการจัดซ้ือครุภัณฑ Real-time –PCR ในปงบประมาณ 2556 แตยังไมไดดําเนินการยื่นขอการรับรองตามระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ดังนั้นจึงเปนแรงจูงใจใหเสนอแนวความคิดในการพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝาของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง ซ่ึงสิ่งท่ีตามมาคือ ความเชื่อม่ันในระบบการทํางาน และประกันคุณภาพผลการทดสอบวามีความถูกตองนาเชื่อถือเปนไปตามมาตรฐานระดับสากล สงผลถึงการสรางความเชื่อม่ันในคุณภาพสินคาสัตวน้ํา ของประเทศไทย วามีความปลอดภัยตอการบริโภค ตามขอกําหนดและมาตรฐานของประเทศผูนําเขา บทวิเคราะห/แนวคิด/ขอเสนอ

ในการเสนอแนวคิดเพ่ือพัฒนางานใหมีประสิทธิภาพ เรื่องการพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห

Noro virus ในหอยสองฝา ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง ไดใชเทคนิคการวิเคราะหแบบ SWOT มา

ชวยในการวิเคราะห โดยมีแนวคิดเพ่ือใหสอดคลองกับ วิสัยทัศนของกรมประมง ท่ีกลาวา “มุงพัฒนาและ

บริหารการเปลี่ยนแปลง เพ่ือเปนผูนําและสรางความม่ันคงอาหารดานประมงของประเทศ ภายใตการพัฒนา

อยางยั่งยืน15” พันธกิจ “สงเสริมและพัฒนาคุณภาพการผลิตสัตวน้ําและผลิตภัณฑสัตวน้ํา ตลอดหวงโซการผลิต

ใหไดรับมาตรฐานของไทยและสากล ” ยุทธศาสตร “พัฒนาคุณภาพสินคาประมงใหมีความเปนเลิศและได

มาตรฐานตามเกณฑสากล” ดังนี้

Page 20: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

ตางรางท่ี 1 จุดแข็งและจุดออนในพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝา ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง

จุดแข็ง (Strengths) จุดออน (Weaknesses) 1. ผูบริหารใหความสําคัญและสนับสนุนในการจัดทําระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 และมีการมอบถอยแถลงนโยบายท่ีชัดเจน

1. บุคลากรขาดความรู ความชํานาญ ในดานเทคนิคการวิเคราะห Noro virus โดยใชเทคนิค RT-PCR and/or Real-time –PCR

2. บุคลากรท่ีเปนคณะทํางานระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ มีความรูความเขาใจในขอกําหนดและการดําเนินงานตามระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 และไดรับการฝกอบรมในงานท่ีปฏิบัติอยางตอเนื่อง

2. น้ํายาทดสอบและอุปกรณท่ีใชเทคนิค RT-PCR and/or Real-time –PCR มีราคาสูง

3. ปจจุบันหองปฏิบัติการมีการดําเนินงานและไดรับการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 รายการทดสอบทางจุลินทรียแลว ทําใหงายตอการขยายการรับรอง 4. มีพ้ืนท่ี วัสดุ อุปกรณ และเครื่องมือ เพียงพอตอการปฏิบัติงาน

ตารางท่ี 2 โอกาสและอุปสรรคในพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝา ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง

โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats) 1. ระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 เปนมาตรฐานท่ีเปนท่ียอมรับของทุกประเทศ การดําเนินงานตามระบบดังกลาว ทําใหประเทศผูนําเขามีความเชื่อม่ันในผลการทดสอบคุณภาพสินคาสัตวน้ําวาเปนไปตามท่ีมาตรฐานกําหนด อีกท้ังเปนการลดการกีดกันทางการคา และลดปริมาณการสุมตรวจจากประเทศผูนําเขา

1. ปจจุบันมีหองปฏิบัติการท่ียื่นขอการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 จํานวนมาก ทําใหระยะเวลาในการดําเนินการขอการรับรองตองใชเวลานาน เนื่องจากสํานักมาตรฐานหองปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตรการแพทย เปนเพียงหนวยงานเดียวในประเทศไทย ท่ีใหการรับรองความสามารถหองปฏิบัติการทดสอบดานคุมครองผูบริโภค (วิเคราะหผลิตภัณฑสุขภาพ) โดยใชขอกําหนดขององคกรมาตรฐานสากล

2. การไดรับการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ทําใหหองปฏิบัติการกองฯ มีคุณสมบัติท่ีสามารถยื่นขอเปนหองปฏิบัติการอางอิงของ ASEAN ได

2. ปจจุบันยังไมมีหนวยงานในประเทศท่ีจัดทําโปรแกรมการทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing) ทําใหตองสมัครเขารวมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญกับตางประเทศซ่ึงทําใหมีคาใชจายสูง

Page 21: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

3. มีหนวยงานดานการสอบเทียบท่ีไดรับการรับรองระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025:2005 มากข้ึน ทําใหสามารถคัดเลือก และตอรองเรื่องคาใชจายในการสอบเทียบเครื่องมือได

3. ไมมี Noro-virus ท่ีใชเปน Positive control

จากการประเมินศักยภาพหองปฏิบัติการของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง ดังกลาว จะเห็นไดวา

หองปฏิบัติการมีจุดแข็งท่ีทําใหสามารถนํามาใชในการพัฒนา ศักยภาพ อีกท้ังมีโอกาสท่ีชวยสนับสนุน เพ่ือใหบรรลุเปาหมายคือการขยายขอบขาย การรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ในการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝาได โดยแกไขจุดออนและอุปสรรคเพ่ือปรับปรุงประสิทธิภาพการดําเนินงานใหมีการปฏิบัติงานตามระบบมาตรฐานอยางตอเนื่อง ขอเสนอแนวคิด จากแนวคิดใน การพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝา ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง จึงมีขอเสนอท่ีจะใชในการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพ หองปฏิบัติการ วิเคราะห Noro virus ดังนี้

1. ทบทวนเอกสารดานคุณภาพและดานวิชาการท่ีมีอยูเดิมและจัดทําเอกสาร วิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝา

2. ตรวจสอบอุปกรณและเครื่องมือตางๆ ท่ีจําเปนตอการปฏิบัติงาน สําหรับเครื่องมือท่ีใชในการวิเคราะห ตองสามารถใหผลท่ีมีคาถูกตองและเปนไปตามเกณฑท่ีมาตรฐานกําหนด ซ่ึงตรวจสอบโดยการสอบเทียบกับหองปฏิบัติการท่ีสามารถสอบกลับไดไปยังหนวยตามระบบสากล (International System of Unit, SI) ซ่ึงคุณสมบัตินี้สงผลกระทบสําคัญตอผลการทดสอบ

3. ตรวจทวนสอบความใชไดของวิธี (Method Validation) เพ่ือยืนยันวาวิธีทดสอบท่ีใชใหผลการทดสอบท่ีถูกตองและแมนยําอยูในเกณฑท่ียอมรับได

4. เขารวมโปรแกรมทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing) และเขารวมการทดสอบเปรียบเทียบระหวางหองปฏิบัติการ(Inter-laboratory)

5. ตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Audit) กิจกรรมตางๆ เพ่ือทวนสอบวาการดําเนินงานตางๆ ของหองปฏิบัติการยังคงเปนไปตามขอกําหนดของระบบคุณภาพและเปนไปตามมาตรฐาน โดยครอบคลุมท้ังทางดานคุณภาพและดานวิชาการตามข้ันตอนการดําเนินงาน

6. ทบทวนการจัดการระบบคุณภาพ โดยมีคณะผูบริหารเปนประธาน เพ่ือใหม่ันใจวาการดําเนินงานยังคงมีความเหมาะสม และมีประสิทธิผล ซ่ึงมีรายละเอียดการทบทวนดังนี้

6.1 ความเหมาะสมของนโยบายและข้ันตอนการดําเนินงานตางๆ 6.2 รายงานการควบคุมการทดสอบ 6.3 รายงานการตรวจติดตามคุณภาพภายใน 6.4 การพัฒนาอยางตอเนื่อง 6.5 ปฏิบัติการแกไขและปองกัน 6.6 ผลการตรวจประเมินโดยหนวยงานจากภายนอก 6.7 ผลการทดสอบความชํานาญ/ Inter-Lab Comparison 6.8 การเปลี่ยนแปลงปริมาณงานและประเภทของงาน

Page 22: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

6.9 ขอรองเรียนหรือผลสะทอนจากลูกคา 6.10 ขอแนะนําในการปรับปรุง 6.11 ปจจัยอ่ืนๆ เชน การควบคุมคุณภาพ ทรัพยากรและการฝกอบรม

7. ยื่นขอการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 กับสํานักมาตรฐานหองปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตรการแพทย แผนผังข้ันตอนการดําเนินงานของขอเสนอแนวคิด

ทบทวนและจัดทําเอกสาร 1. ทบทวนเอกสารดานคุณภาพและดานวิชาการท่ีมีอยูเดิม 2. จัดทําเอกสารวิธีการทดสอบ (Test Method)

ทดสอบความสามารถหองปฏิบัติการ เขารวมโปรแกรมทดสอบความชํานาญ (Proficiency Testing) และเขารวมการทดสอบเปรียบเทียบ

ระหวางหองปฏิบัติการ (Inter-laboratory)

ตรวจสอบความพรอมของอุปกรณและเครื่องมือตางๆ สอบเทียบอุปกรณและเครื่องมือกับหองปฏิบัติการท่ีสามารถสอบกลับไดไปยังหนวย

ตามระบบสากล (International System of Unit, SI)

ตรวจทวนสอบความใชไดของวิธี ตรวจทวนสอบความใชไดของวิธีตามวิธ ีISO 16140 : 2003. Microbiology of food and animal

feeding stuffs-Protocol for the validation of alternative methods

ทบทวนการจัดการระบบคุณภาพ ประชุมทบทวนการจัดการระบบคุณภาพ โดยมีผูบริหารกองฯ เปนประธาน ซ่ึงมีรายละเอียดการ

ทบทวน คือ เรื่องความเหมาะสมของนโยบายและข้ันตอนการดําเนินงานตางๆ การควบคุมการทดสอบ การตรวจติดตามคุณภาพภายใน การพัฒนาอยางตอเนื่อง ปฏิบัติการแกไขและปองกัน ผลการตรวจประเมินโดยหนวยงานจากภายนอก ผลการทดสอบความชํานาญ/ Inter-Lab Comparison การเปลี่ยนแปลงปริมาณงานและประเภทของงาน ขอรองเรียนหรือผลสะทอนจากลูกคา ขอแนะนําในการปรับปรุง และปจจัยอ่ืนๆ เชน การ

Page 23: Department of Fisheries1.2 แบ งกล มย อยของแต ละต วอย างผล ตภ ณฑ ส ตว น าแช เย อกแข ง เป น

ผลท่ีคาดวาจะไดรับ เชิงปริมาณ

หองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง ไดรับการรบัรอง ระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ในปงบประมาณ 2560 จํานวน 1 ขอบขาย

เชิงคุณภาพ หองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง มี การดําเนินงานอยาง

มีประสิทธิภาพเปนไปตามมาตรฐานระ บบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ซ่ึงเปนการประกันคุณภาพผลการทดสอบวามีความถูกตองนาเชื่อถือเปนไปตามมาตรฐานระดับสากล สงผลถึงการสรางความเชื่อม่ันกับประเทศผูนําเขาวาสินคาสัตวน้ํามีคุณภาพและปลอดภัยตอการบริโภค

ตัวช้ีวัดความสําเร็จ ตัวชี้วัดความสําเร็จในการเสนอแนวคิดเพ่ือพัฒนางานใหมีประสิทธิภาพ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพหองปฏิบัติการวิเคราะห Noro virus ในหอยสองฝา ของกองตรวจสอบคุณภาพสินคาประมง คือไดรับการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ขอบขาย Noro virus ในหอยสองฝา ในปงบประมาณ 2560

ลงชื่อ .............................................

(..นางเรณุกา นิธิบุณยบดี...) ผูเสนอแนวคิด

ขอการรับรอง ยื่นขอการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 กับสํานัก

มาตรฐานหองปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตรการแพทย

ไดรับการรับรองระบบคุณภาพหองปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2005 ขอบขาย Noro virus ในหอยสองฝา ในปงบประมาณ 2560