˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม....

15
ผูเรียบเรียง รศ. สําเร็จ คําโมง นายสุดใจ ทศพร รศ. ดร. ณรงคชัย ปฎกรัชต ผศ. มณฑา กิมทอง นายชนินทร พุมศิริ ผูตรวจ ผศ. เดชน คงอิ่ม ผศ. อนรรฆ จรัณยานนท นายโฆษิต มั่นคงหัตถ บรรณาธิการ ดร. มนัส แกวบูชา นายสมเกียรติ ภูระหงษ พิมพครั้งที่ ๑ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ISBN : 978-616-203-523-4 รหัสสินคา ๓๕๑๕๐๐๒ ดนตรี ม.ชั้นมัธยมศึกษาปทีกลุมสาระการเรียนรูศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹

Upload: others

Post on 27-Dec-2019

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

ผูเรียบเรียงรศ. สําเร็จ คําโมงนายสุดใจ ทศพรรศ. ดร. ณรงคชัย ปฎกรัชตผศ. มณฑา กิมทองนายชนินทร พุมศิริ

ผูตรวจผศ. เดชน คงอิ่มผศ. อนรรฆ จรัณยานนทนายโฆษิต มั่นคงหัตถ

บรรณาธิการดร. มนัส แกวบูชานายสมเกียรติ ภูระหงษ

พิมพครั้งที่ ๑สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติISBN : 978-616-203-523-4

รหัสสินคา ๓๕๑๕๐๐๒

ดนตรี ม.๕ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๕กลุมสาระการเรียนรูศิลปะ

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹

Page 2: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

ÊÒúÑÞ

˹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè ñ ¤ÇÒÁÃÙŒ·ÑèÇä»à¡ÕèÂǡѺ´¹µÃÕä·Â ñ-òô

● ¤Ø³¤‹ÒáÅФÇÒÁ§ÒÁ¢Í§´¹µÃÕä·Â ò ● ´¹µÃÕä·Â¡Ñº¡ÒûÃÐÂØ¡µ�㪌 ö ● »ÃÐàÀ·¢Í§à¾Å§ä·Â ñó ● ÈѾ·�Êѧ¤Õµã¹´¹µÃÕä·Â ñø ● Êѧ¤Õµ¡ÇÕä·Â òð

˹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè ò ´¹µÃÕ¾×鹺ŒÒ¹¢Í§ä·Â òõ-öò

● ¤ÇÒÁÊíÒ¤ÑÞáÅÐÅѡɳТͧ´¹µÃÕ¾×鹺ŒÒ¹ òö ● »̃¨¨Ñ·ÕèÁÕÍÔ·¸Ô¾Åµ‹Í¡ÒÃÊÌҧÊÃä�́ ¹µÃÕ¾×鹺ŒÒ¹ òø ● ÅѡɳТͧǧ´¹µÃÕ¾×鹺ŒÒ¹ã¹ÀÒ¤µ‹Ò§æ ¢Í§»ÃÐà·Èä·Â óð ● à»ÃÕºà·ÕºÅѡɳÐà´‹¹¢Í§´¹µÃÕ¾×鹺ŒÒ¹ ã¹ÀÙÁÔÀÒ¤µ‹Ò§æ ôù ● Êѧ¤Õµ¡ÇÕ´¹µÃÕ¾×鹺ŒÒ¹ õñ

˹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè ó ¡Òû¯ÔºÑµÔ´¹µÃÕä·Â öó-øò

● ¢¹º¸ÃÃÁà¹ÕÂÁ»¯ÔºÑµÔ¢Í§´¹µÃÕä·Â öô ● ÃٻẺ¡ÒúÃÃàŧ´¹µÃÕä·Â öö ● ËÅÑ¡¡Òû¯ÔºÑµÔà¤Ã×èͧ´¹µÃÕä·Â : ÃйҴàÍ¡ ö÷ ● ÃٻẺ¡ÒâѺÌͧà¾Å§ä·Â ÷ò ● ࡳ±�㹡ÒûÃÐàÁÔ¹¤Ø³ÀÒ¾¼Å§Ò¹´¹µÃÕä·Â ÷ø

¢Í§»ÃÐà·Èä·Â óð

¤íÒ¹íÒ กลุมสาระการเรียนรูศิลปะ เปนกลุมสาระท่ีจะชวยพัฒนาใหผูเรียนมีความคิด

ริเริ่มสรางสรรค มีจินตนาการทางศิลปะ รูจักช่ืนชมความงาม มีสุนทรียภาพ ความ-

ซาบซึ้ง ซึ่งยอมมีผลตอคุณภาพชีวิตของผูเรียน เพราะกิจกรรมทางศิลปะชวยพัฒนาผูเรียน

ทั้งทางดานรางกาย อารมณ จิตใจ สังคม สติปญญา ตลอดจนการนําไปสูการพัฒนา

สิ่งแวดลอม สงเสริมใหผูเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง

การจัดทําหนังสือเรียนกลุมสาระศิลปะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๕ (ม.๕)

เพื่อใหสะดวกแกการจัดการเรียนการสอน รวมทั้ง เพื่อใหสอดคลองกับธรรมชาติวิชา

จึงจัดทําหนังสือเรียนแยกเปน ๓ เลม คือ หนังสือเรียนสาระทัศนศิลป ๑ เลม สาระดนตรี

๑ เลม และสาระนาฏศิลป ๑ เลม ซ่ึงทางครูผูสอนและสถานศึกษาพึงใชควบคูกัน

เพื่อประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีของผูเรียน

สําหรับหนังสือเรียนดนตรีเลมนี้ เนื้อหาสาระเรียบเรียงตรงตามสาระแกนกลาง

ของหลักสูตร เพื่อเสนอองคความรูพื้นฐานที่จําเปนแกผูเรียน รวมทั้งเรื่องนารูตางๆ อยูใน

กรอบเสริมสาระและเกร็ดศิลป ตลอดจนเสนอแนะกิจกรรมศิลปปฏิบัติ เพื่อใหผูเรียน

นําไปปฏิบัติจริง อันจะนําไปสูการบรรลุตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐานกําหนดไว

อยางไรก็ตาม เนื่องจากธรรมชาติของสาระดนตรีเนนทักษะปฏิบัติ ดังนั้น การศึกษา

สาระนี้ใหเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดี จําเปนที่ผูเรียนพึงลงมือปฏิบัติจริง แสดงจริง เพื่อจะไดมี

ทักษะฝมือและความชํานาญ รวมท้ังตองรูจักแสวงหาความรูเพิ่มเติมจากภูมิปญญา

ศิลปนที่มีกระจายอยูในแตละทองถิ่นดวย ก็จะชวยใหไดรับประสบการณมากขึ้น

คณะผูเรียบเรียงคาดหวังวา หนังสือเรียนเลมนี้จะเปนประโยชนอยางยิ่งตอการ

นําไปใชประกอบการจัดการเรียนการสอนกลุมสาระศิลปะของสถานศึกษาทุกแหง ชวยให

ผูเรียนไดรับความรู มีทักษะ ชวยพัฒนาผูเรียนใหมีคุณลักษณะอันพึงประสงค ตลอดจน

บรรลุตัวชี้วัดตามที่หลักสูตรแกนกลาง ฯ ไดกําหนดไวทุกประการ

คณะผูเรียบเรียง

Page 3: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

หน่วยการเรียนรู้

ดนตรีเป็นศิลปะแขนงหน่ึงที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น โดยใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดออกมาเป็นท�านองและอารมณ์ของเพลงที่ด�าเนินไปตามจินตนาการของนักประพันธ์เพลงดนตรีมีคุณค่าต่อมนุษย์ในการปรุงแต่งชีวิตให้มีความสุข เป็นสื่อเสริมแต่งให้กิจกรรมทางประเพณีและวัฒนธรรมของมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ดนตรีไทยเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของคนไทยมีคุณค่าและความงามที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยช่วยเสริมสร้างความแขง็แกร่งให้กบัวถิชีวีติไทยมผีลต่อการสร้างสรรค์วฒันธรรมไทยมาอย่างต่อเนือ่งตัง้แต่อดตีตราบจนถงึปจจบุนัขณะเดยีวกนักม็บีทบาทในการช่วยสะท้อนค่านยิมและความเชือ่ของผู้คนในสังคมไว้ในงานดนตรีอีกด้วย

ตัวชี้วัด ■ น�ำดนตรีไปประยุกตใช้ในงำนอื่นๆ ศ ๒.๑ ม.๔-๖/๘

■ วิเครำะหสถำนะทำงสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่ำงๆ ศ ๒.๒ ม.๔-๖/๒

ñ ความรูทั่วไปเกี่ยวกับดนตรี ไทยสาระการเรียนรูแกนกลาง

■ ดนตรีกับกำรผ่อนคลำย■ ดนตรีกับกำรพัฒนำมนุษย■ ดนตรีกับกำรประชำสัมพันธ■ ดนตรีกับกำรบ�ำบัดรักษำ■ ดนตรีกับธุรกิจ■ ดนตรีกับกำรศึกษำ■ ประวัติสังคีตกวี

˹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè ô ¤ÇÒÁÃÙŒ·ÑèÇä»à¡ÕèÂǡѺ´¹µÃÕÊÒ¡Å øó-ñðò

● ¤Ø³¤‹ÒáÅФÇÒÁ§ÒÁ¢Í§´¹µÃÕÊÒ¡Å øô ● ´¹µÃÕÊҡšѺ¡ÒûÃÐÂØ¡µ�㪌 ùð ● »ÃÐàÀ·¢Í§à¾Å§ÊÒ¡Å ùó ● ÈѾ·�Êѧ¤Õµã¹´¹µÃÕÊÒ¡Å ù÷ ● Êѧ¤Õµ¡ÇÕ´¹µÃÕÊÒ¡Å ñðð

˹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè õ ¡Òû¯ÔºÑµÔ´¹µÃÕÊÒ¡Å ñðó-ñòó

● à¤Ã×èͧËÁÒÂáÅÐÊÑÞÅѡɳ�·Ò§´¹µÃÕÊÒ¡Å ñðô ● ËÅÑ¡»¯ÔºÑµÔà¤Ã×èͧ´¹µÃÕÊÒ¡Å ñðù ● ¡ÒúÃÃàŧÃÇÁǧ ññø

ºÃóҹءÃÁ ñòô

Page 4: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

มีบทบาทในงานพระราชพิธี เครื่องดนตรีที่ใช้มีทั้งที่เป็นเครื่องดนตรีที่พราหมณ์ใช้มาก่อน คือ

สังข์และบัณเฑาะว์ และเครื่องดนตรีพิธีกรรมที่มีใช้อยู่ในสังคม คือ มโหระทึก นอกจากงาน

พระราชพิธีแล้ว งานที่เกี่ยวกับฤกษ์ยามมงคล

ของประชาชนทั่วไปก็นิยมใช้เช่นกัน ดังพบใน

งานต่างๆ เช่น การวางศิลาฤกษ์ นิยมเป่าสังข์

ไกวบัณเฑาะว์ หรืองานท่ีมีพราหมณ์เป็น

ผูป้ระกอบพธีิ เช่น งานพธีิบวงสรวงสิง่ศักด์ิสทิธ์ิ

ต่างๆ เป็นต้น คุณค่าของดนตรีในลักษณะ

ดงักล่าวนี ้จงึมคีวามเกีย่วข้องกบัความเช่ือเรือ่ง

เสียงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการเป่าสังข์ เสียงที่

เกดิจากการไกวบณัเฑาะว์ เสยีงมโหระทกึ การ

สาธยายมนต์ เพื่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือ

ธรรมชาติ

ส�าหรบังานพธิทีีม่คีวามเกีย่วข้องกบั

พระพทุธศาสนา ทัง้งานมงคลและงานอวมงคล

นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนนิยมใช้วงดนตรีไทยบรรเลงในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธี

ข้ึนบ้านใหม่ พธิเีฉลมิฉลองทีม่กีารนิมนต์พระสงฆ์มาเจรญิพระพทุธมนต์ งานบุญ งานเทศกาลต่างๆ

งานอุปสมบท งานเทศน์มหาชาติทรงเครื่อง วงปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น โหมโรงเช้า

เพลงรับพระ เพลงส่งพระ เป็นต้น บางพิธีอาจใช้วงกลองยาว หรือวงแตรวงบรรเลงประกอบ เช่น

พิธีท�าขวัญนาค หรือแห่น�านาคไปอุปสมบท การใช้วงปี่พาทย์ส�าหรับบรรเลงประกอบพิธีกรรมใน

งานมงคล การใช้วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์มอญ วงปี่กลองมลายู (วงบัวลอย) บรรเลงในงาน

อวมงคล เป็นต้น

นอกจากนี ้พทุธศาสนกิชนยงัมคีวามเชือ่ว่าการเทศน์มหาชาตเิป็นสดุยอดของงานบญุ

การได้ฟังเทศน์มหาชาติท้ัง ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียวจะช่วยให้ผู้ฟังได้รับบุญกุศลมหาศาล

การเทศน์มหาชาติ เป็นเรื่องราวชาดกที่แสดงการบ�าเพ็ญทานบารมีอันยิ่งใหญ่ในอดีตชาติและ

เป็นพระชาติสุดท้ายก่อนท่ีจะประสูติเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เน่ืองจากการด�าเนินเรื่องและ

พระคาถาของเทศน์มหาชาติมีความยาวมาก ผู้ท่ีไปฟังเทศน์มหาชาติต้องนั่งฟังท้ังวัน จึงมีการ

ปรบัปรงุและพฒันาวธิกีารสวดเป็นท�านองเทศน์และแหล่ และน�าวงป่ีพาทย์มาบรรเลง เมือ่พระเทศน์

จบแต่ละกัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรง

ปรบัปรงุเพลงประจ�ากณัฑ์ทีก่�าหนดไว้ตามแบบแผนจากของเดมิและเรยีบเรยีงให้สอดคล้องกนั ดงันี้

วงปพำทยมอญ เป็นวงดนตรีไทยท่ีปรับปรุงขึ้น โดยน�ำเครื่องดนตรีมอญประสมกับวงปพำทยไม้แข็ง นิยมใช้บรรเลงในทุกโอกำส ทั้งงำนมงคลและงำนอวมงคล

๑. คุณคาและความงามของดนตรีไทย มนุษย์ได้สร้างสรรค์ดนตรีขึ้นจากภูมิปัญญาและจินตนาการ เพื่อน�ามาปรุงแต่งความสมบูรณ์

ในจิตใจ ซึ่งมีผลต่อร่างกาย อารมณ์ และสังคม ดังนั้น ดนตรีจึงมีคุณค่าและความงามทั้งในระดับ

บุคคล กลุ่มชน รวมไปถึงระดับประเทศ

ดนตรีไทยเป็นศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติ คุณค่า และความงามของดนตรีไทยสามารถ

พจิารณาได้จากบทเพลงทีน่กัประพนัธ์เพลงประพนัธ์ขึน้ มท่ีวงท�านองตามโครงสร้างของระบบเสยีง

เน้ือร้องท่ีร้อยเรียงกนัอย่างสละสลวย มีนกัดนตรที�าหน้าทีถ่่ายทอดบทเพลง โดยใช้ระบบวธิบีรรเลง

เครือ่งดนตรท่ีีมคีวามหลากหลาย มวีธิขีบัร้องทีก่ลมกลนืกนั และมเีครือ่งดนตรซีึง่มรีปูแบบเฉพาะ

สวยงามได้สัดส่วน

๑.๑ คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่ปรากฏอยู่ในกิจกรรม ทางสังคมไทย

คุณค่าและความงามของดนตรีไทยปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย ดังนี้

๑)คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับพระราชพิธ ี ดนตรีที่เกี่ยวกับ

พระราชพิธี เช่น วงปี่พาทย์ ใช้บรรเลงในงานที่พระมหากษัตริย์เสด็จทรงบ�าเพ็ญพระราชกุศล

วงกลองแขก ใช้บรรเลงในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่นเดียวกับการเห่เรือที่มีศิลปินเห่

ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วงขับไม้ใช้บรรเลงในพระราชพิธีขึ้นพระอู่ของพระราชโอรส

และพระราชธดิา การประโคมวงป่ีพาทย์นางหงส์

ในงานพระเมรุ เป็นต้น ดนตรีไทยในงาน

พระราชพิธีได้แสดงคุณค่าและความงามของ

วงดนตรแีละเสยีงเพลงทีส่อดคล้องกบักจิกรรม

แบบแผนและระเบียบวิธีการบรรเลง ตลอดจน

เสยีงเพลงทีป่รากฏขึน้นัน้ได้สร้างความสมบรูณ์

ให้แก่งานอย่างงดงาม

๒)คุณค่าและความงามของดนตรไีทยทีเ่กีย่วกบัศาสนา ดนตรทีีเ่กีย่วกบั

ศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่เป็นมูลฐานให้

เกิดประเพณีต่างๆ ของไทยมาตั้งแต่อดีต คือ

ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ดนตรี

ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่แล้ว

วงป ไฉนกลองชนะ เป็นเครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงในงำนพระรำชพิธีเกี่ยวกับพระบรมศพและพระศพ

Page 5: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

เพื่อประสมเป็นวงดนตรี การใช้ท�านองเพลงไทยท่ีเหมาะสมกับงาน หรือกิจกรรมท่ีจัดข้ึน

เสยีงของเพลงสามารถสือ่ได้ด้วยการฟัง ปรากฏออกมาเป็นความดงั ความถี ่สสีนัของเครือ่งดนตรี

ภาพลกัษณ์ทีพ่บได้จากวธิกีารบรรเลงและเสยีง

ขับร้องของนักดนตรี นอกจากนี้ ยังมีค�าร้อง

ที่น�ามาจากบทร้อยกรองของวรรณคดี หรือที่

ประพันธ์ขึ้นเป็นการเฉพาะในกิจกรรมนั้นๆ

๒)ด้านนามธรรม รสของเพลง

ท่ีเป็นผลมาจากท�านองเพลงไทย ท่ีเกิดจาก

การบรรเลง จนก่อให้เกดิอารมณ์และความรูส้กึ

ว่าเพลงนั้นมีความเสนาะ ไพเราะ สนุกสนาน

เพลินอารมณ์ โศกเศร้า เรื่องของอารมณ์และ

ความรูส้กึจดัเป็นนามธรรมทีบ่่งบอกคณุค่าและ

ความงามของดนตรีไทย เป็นสุนทรียรสที่รับรู้

ได้ด้วยความรู้สึก คนไม่ฟังเพลง หรือฟังเพลง

ไม่เป็น ฟังแล้วไม่เข้าใจ จะไม่สามารถเข้าถึง

คุณค่าของดนตรีไทยได้

๑.๓ การเขาถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทย

การเข้าถึงสุนทรียรสในดนตรีไทย ย่อมท�าให้พบคุณค่าและความงามของดนตรีไทย สิ่งน้ีมี

ส่วนส�าคัญที่ท�าให้คนไทยเกิดความรู้สึกผูกพัน เกิดจิตตระหนักในความเป็นไทยร่วมกัน เกิดความ

ภาคภมูใิจ มคีวามมัน่คงในจติใจ โดยเฉพาะเมือ่ไปเข้าสมาคมกบัชาวต่างชาต ิต่างวฒันธรรม และ

ในสถานการณ์ที่ต้องแสดงคุณลักษณะของความเป็นไทย การเข้าถึงคุณค่าและความงามของ

ดนตรีไทยสามารถท�าได้ ดังนี้

๑)การศกึษาและท�าความเข้าใจเรือ่งราวและเนือ้หาสาระต่างๆของดนตรไีทย

เช่น เครื่องดนตรี วงดนตรี เพลงไทย นักประพันธ์เพลง ศิลปินเพลงไทย เป็นต้น

๒)การฟงเพลงไทยด้วยความตัง้ใจ เมือ่ฟังแล้วต้องฝึกสงัเกตท�านองเพลง จงัหวะ

และอารมณ์เพลง ฟังจนเข้าใจรายละเอียดและสามารถจ�าแนกได้ว่าเพลงที่ฟังนั้นมีอัตราจังหวะใด

แนวเพลงเป็นอย่างไร และบอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของเครื่องดนตรี หรือวงดนตรีชนิดใด

กำรฟงกำรบรรเลงดนตรีไทยอย่ำงตั้งใจ จะท�ำให้ผู ้ฟงเกิดอำรมณและควำมรู้สึกท่ีหลำกหลำย ท้ังสนุกสนำน เพลิดเพลิน หรือโศกเศร้ำ

5

๓)คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไป กิจกรรมทั่วไป

เช่น งานมงคลสมรส งานฉลองความส�าเร็จของบคุคล เป็นต้น หรอืเมือ่มกีารจดัเลีย้งต่างๆ นยิมจดัให้

มีวงดนตรีไทยมาบรรเลง เช่น วงมโหรี วงเครื่องสาย เป็นต้น ส�าหรับงานมงคลสมรสที่มีการแห่

ขันหมาก นิยมใช้วงกลองยาวและวงแตรวงบรรเลงน�า โดยมีผู้ร่วมงานร�าน�าหน้าขบวนและ

มกีารโห่ร้องเป็นทีค่รืน้เครง เมือ่มกีารแสดงมหรสพต่างๆ เช่น โขน ละคร ลิเก หุน่กระบอก เป็นต้น

ก็มีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบตามแต่ละประเภทของการแสดง ในการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น

การร�ากระบี่กระบองและการชกมวยไทยก็ใช้ปี่ชวา กลองแขกจะบรรเลงตั้งแต่นักมวยไหว้ครูอยู ่

บนเวที บรรเลงระหว่างการชกมวยจนกระทั่งยุติการชก เสียงของเครื่องดนตรีและเพลงไทยได้ท�า

หน้าที่เป็นสัญลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมไทย ก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจร่วมกัน

๑.๒คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรม ของไทย คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย จ�าแนกได้ ๒ ด้าน คือ

๑)ด้านรูปธรรม เครื่องดนตรีไทยมีทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า

เคร่ืองดนตรีเหล่านี้ครูดนตรีในอดีตได้ใช้หลักการในการเลือกเครื่องดนตรีให้มีความสอดคล้องกัน

กัณฑ์ที่ เพลงประจ�ากัณฑ์

๑. กัณฑ์ทศพร เพลงสาธุการ

๒. กัณฑ์หิมพานต์ เพลงตวงพระธาตุ

๓. กัณฑ์ทานกัณฑ์ เพลงพญาโศก

๔. กัณฑ์วนปเวสน์ เพลงพญาเดิน (พระยาเดิน)

๕. กัณฑ์ชูชก เพลงเซ่นเหล้า

๖. กัณฑ์จุลพน เพลงคุกพาทย์

๗. กัณฑ์มหาพน เพลงเชิดกลอง

๘. กัณฑ์กุมาร เพลงโอด เพลงเชิดฉิ่ง

๙. กัณฑ์มัทรี เพลงทยอย เพลงโอด

๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ เพลงกลม

๑๑. กัณฑ์มหาราช เพลงกราวนอก

๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ เพลงตระนอน

๑๓. กัณฑ์นครกัณฑ์ เพลงกลองโยน เพลงเชิด

4

Page 6: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

เพียงพอ เพื่อพัฒนาร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่วนที่ ๒ เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ

และอารมณ์ เพื่อน�าไปสู่สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าของชีวิต

ในวงการแพทย์มีการค้นคว้าวิจัยพบว่า ดนตรีมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ จึงมี

การส่งเสรมิให้มารดาท่ีต้ังครรภ์ฟังเพลงประเภทท่ีชวนให้เกิดความเพลิดเพลินใจ โดยให้เปิดเสียง

ดนตรีด้วยจังหวะเบาๆ ส�าหรับทารกที่อยู่ในครรภ์ และเพิ่มท�านองเพลงและจังหวะที่เร็ว หรือ

ซับซ้อนข้ึนตามระยะการเจริญเติบโตของทารกจนกระท่ังถึงวันคลอด แม้เมื่อคลอดจากครรภ์

มารดาแล้วกย็งัให้ฟังเพลงต่อไปอกี ส�าหรบัสงัคมไทยในอดตี มกีารร้องเพลงกล่อมลกูให้เกดิความ

เพลดิเพลนิทัง้แม่และลกูน้อย เสยีงเพลงกล่อมลกูช่วยประสานสายใยรกัของแม่ทีม่ต่ีอลกู เสยีงเพลง

ท่ีผสมผสานระหว่างค�าร้องท�านองของเพลงกล่อมลูก จึงเป็นดนตรีท่ีได้ท�าหน้าท่ีพัฒนาคุณภาพ

ทางจิตใจให้มีความสุข เมื่อสุขใจ ร่างกายก็เกิดความสบายและมีความสมบูรณ์แข็งแรง

๒.๒ดนตรีไทยกับการผ่อนคลาย

เพลงไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ ๓ ประการ คือ เพลงเพื่อพิธีกรรม เพลงเพื่อประกอบ

การแสดง และเพลงที่ใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป เพลงไทยจึงมีแนวเพลงที่ด�าเนินไปอย่างเป็น

ทางการและอย่างไม่เป็นทางการ สามารถน�ามาบรรเลงโดยเสรี จนน�าไปสู่เพลงเพื่อการฟังที่สร้าง

ความไพเราะและก่อให้เกิดความรู้สึกและอารมณ์ที่หลากหลาย

การฟังเพลงเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากการเรียน การท�างาน หรือ

จากปัญหาและความวุ ่นวายต่างๆ การฟัง

เพลงไทยจัดเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น

เดียวกับการเล่นเครื่องดนตรี และการขับร้อง

ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ในวงการการศึกษาได้มี

การส่งเสริมให้ผู ้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัยไป

จนถึงระดับอุดมศึกษาใช้ดนตรีไทยเพื่อช่วย

ผ่อนคลายอารมณ์ ดนตรีมีส่วนส�าคัญในการ

ปรุงจิตใจให้รู้สึกเป็นสุข เมื่ออารมณ์มีความสุข

สมองย่อมปลอดโปร่ง ดังนั้น การเล่นดนตรี

จงึเป็นการบรูณาการให้เกดิการพฒันาคณุภาพ

ทางด้านร่างกายและจิตใจ และยังเป็นการ

ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะอีกด้วย กำรเล ่นดนตรีร ่วมกัน นอกจำกจะท�ำให้เกิดควำมสนุกสนำน เพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นกำรใช้เวลำว่ำงให้เกิดประโยชนและเสริมสร้ำงควำมสำมัคคีอีกด้วย

๓)การขับร้องหรือบรรเลงเครื่องดนตรีไทยให้เปนอย่างน้อย๑ชนิด โดยการฝึกจนสามารถขับร้อง หรือบรรเลงเพลงไทยได้ถูกต้องตามท�านองเพลงและจังหวะไม่แปร่งเพี้ยน

๔)การท�าความเข้าใจความหมายของศัพท์สังคีต เพื่อช่วยให้สามารถสื่อสาร

สาระความรู้ต่างๆ ได้ตรงกับการใช้ในวงวิชาการดนตรีไทย

๒. ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช ดนตรไีทยเป็นมรดกทางภมิูปัญญาและวฒันธรรมทีม่คีวามหมายและความส�าคญัของคนไทย

หลกัการของดนตรไีทยมลีกัษณะเช่นเดยีวกบัดนตรขีองทกุชาติในโลก คือ เป็นผลงานการสร้างสรรค์

ของนักดนตรี ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ตั้งแต่ในระดับส่วน

บคุคล ระดบัสงัคมขนาดย่อยทีส่ดุไปจนใหญ่ทีส่ดุ คอื ในระดบัสงัคมโลก จนถอืได้ว่าเป็นมรดกทาง

วัฒนธรรมของโลก ดนตรีที่ท�าหน้าที่รับใช้กิจกรรมทางความเชื่อ กิจกรรมทางศาสนา และพัฒนา

ไปสูก่จิกรรมนนัทนาการ กจิกรรมทางสงัคม ประเพณ ีและก้าวไปสูก่ารน�าดนตรมีาประกอบอาชพี

ด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นอาชีพดนตรีโดยตรงของนักดนตรี และอาชีพดนตรีที่สัมพันธ์กับอาชีพอื่นๆ

ในเนื้อหานี้จึงชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่าดนตรีไทยสามารถน�าไปประยุกต์ใช้กับส่วนใดได้บ้าง

๒.๑ดนตรีกับการพัฒนามนุษย

การพฒันามนษุย์ม ี๒ ส่วน คอื ส่วนแรก เป็นการพฒันาทางกายภาพ ในวงการแพทย์ได้แนะน�า

ให้มนุษย์รับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ออกก�าลังกายอย่างเหมาะสมและสม�่าเสมอ พักผ่อนให้

กำรน�ำดนตรีไทยไปร่วมแสดงในงำนต่ำงๆ เป็นแนวทำงหนึ่งที่ช่วยเผยแพร่ดนตรีไทยให้ขยำยกว้ำงออกไป

Page 7: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

๒.4ดนตรีกับการศึกษา

ในหลายสังคมและวัฒนธรรมถือว่าดนตรีเป็นวิชาของชนช้ันสูงและนักปราชญ์ราชบัณฑิต

ดนตรีบางประเภทได้รับการพัฒนาไปตาม

ภมูปัิญญาของนกัปราชญ์ทางดนตร ีเช่น ดนตรี

จนี ดนตรกีรกี ดนตรอีนิเดยี เป็นต้น ในประเทศ

อินเดียที่มีการแบ่งชั้นวรรณะได้มีการก�าหนด

บทร้องท�านองสวดต่อพระผู้เป็นเจ้าไว้ส�าหรับ

ชนวรรณะสูง ห้ามวรรณะศูทรและวรรณะ

จัณฑาลเล่น หรือแม้แต่ฟังดนตรี แต่ภายหลัง

เมือ่พระภรตฤๅษไีด้เขยีนต�ารานาฏยศาสตร์ขึน้

ท�าให้ทุกวรรณะสามารถเข้าถึงนาฏศิลป ดนตรี

บทเพลง และบทสวดได้

ส�าหรับการเรียนการสอนดนตรีของไทยมี

ท้ังดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน และดนตรีสากล

มีการศึกษาทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี ใน

ระดับมัธยมศึกษามีการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยนาฏศิลป ๑๒ แห่ง ทั่วประเทศ หลักสูตรเตรียมศิลปิน (เทียบชั้นมัธยมปีที่ ๔ - ๖)

ของวทิยาลยัดรุยิางคศลิป มหาวทิยาลยัมหดิล หลกัสตูรดนตรรีะดบัมธัยมศกึษาของมหาวทิยาลยั

พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การศึกษาดนตรีในระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาโท มีการเปิดสอนใน

มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยทักษิณ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยพายัพ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ (บางแห่ง)

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป เป็นต้น

วิทยำลัยดุริยำงคศิลป มหำวิทยำลัยมหิดล เป็นหน่วยงำนรัฐที่มีกำรจัดกำรเรียน กำรสอนเกี่ยวกับดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้ำน และดนตรีสำกลโดยตรง

๒.๓ดนตรีกับการบ�าบัดรักษา

การเจ็บป่วยของมนุษย์ จ�าแนกได้ ๒ ลักษณะ คือ อาการเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปวดศีรษะ

เป็นไข้ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดหู ปวดฟัน

กระเพาะอักเสบ เป็นต้น และอาการเจ็บป่วย

ทางใจ เช่น อาการซึมเศร้า อาการสับสน

ในใจ เป็นต้น นอกจากนี ้อาจมีอาการบางอย่าง

บกพร่อง หรือผิดปกติมาต้ังแต่แรกเกิด เช่น

ออทิสติก (Autistic) เป็นต้น ซึ่งอาการดังกล่าว

มีกระบวนการรักษาด้วยขั้นตอนตามหลัก

วิชาการแพทย์

ส�าหรับในส่วนของดนตรี สามารถน�ามา

บ�าบัดผู้ป่วยที่เรียกว่า “ดนตรีบ�าบัด” ซึ่งใช้

บ�าบัดทั้งทางกายและจิตใจ กระบวนการรักษา

แบบนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยเล่นดนตรี เพื่อช่วย

ให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเกิดภาวะการ

เปลี่ยนแปลงในขณะที่ผู้ป่วยเองก็เพลิดเพลินในการเล่นดนตรี หรืออาจใช้วิธีการรักษาเพื่อฟื้นฟู

จิตใจผู้ป่วยด้วยการฟังเพลง หรือเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีต่างๆ เป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ป่วยให้

ผ่อนคลายและเป็นผลดีต่อการรักษาผู้ป่วย

นอกจากนี้ ในสังคมของชาวบ้านทุกภาคของประเทศไทย มีการน�าดนตรีไปใช้ในการรักษา

ผู้ป่วยทางจิตใจ หรือผู้ที่มีอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ โดยใช้ร่างทรงของผู้ท�าพิธีและมี

เครือ่งประกอบพธีิกรรมต่างๆ มีนกัดนตรที�าหน้าทีบ่รรเลงดนตร ีขบัร้อง และท�าจงัหวะ บางพธีิมกีารร�า

ของเจ้าพิธี ผู้เข้าร่วมพิธี และผู้ป่วยด้วย บางพิธีมีการอัญเชิญวิญญาณของเทพเจ้า หรือบรรพชน

เข้าสูร่่างทรง เพือ่ซักถามอาการเจ็บป่วย แสดงการรกัษา หรอืบอกสรรพคณุยาในการรกัษา ดนตรใีน

พิธีกรรมท่ีใช้บ�าบดัผูป่้วยมีชือ่เรยีกตามแต่ละท้องถิน่ เช่น ทางภาคตะวนัออกเฉยีงเหนอื มพีธิเีหยา

พิธีลงข่วง พิธีร�าผีฟ้า ภาคเหนือ มีพิธีลงผี พิธีกรรมฟ้อนผีมด ผีเม็ง ภาคใต้ มีพิธีตือรี พิธีโนรา

โรงครูนายมนต์ (โต๊ะครึม) ภาคกลาง มีดนตรีหัวไม้ พิธีไหว้ครูเจ้า เป็นต้น เมื่อผ่านกระบวนการ

ของพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย มีก�าลังใจ และรับรู้ว่าตนเองได้รับ

การบ�าบัดแล้ว เมื่อจิตใจรับรู้ถึงการผ่านการบ�าบัด บางรายเชื่อว่าตนหายเจ็บป่วย อาการทางกาย

ก็เกิดผลดีตามไปด้วย

หุ่นจ�ำลองพิธีร�ำผีฟ้ำในภำคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพิธีกรรมที่ใช้ดนตรีในกำรบ�ำบัดรักษำโรคภัยไข้เจ็บ

8

Page 8: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

๒.๖ดนตรีกับธุรกิจ

การประกอบอาชีพดนตรีในปัจจุบันไม่ได้จ�ากัดอยู่ที่ศิลปินผู้สร้างผลงานการประพันธ์เพลง

แต่ยงัรวมไปถงึการเป็นนกัดนตร ีนักร้อง วาทยกรท่ีท�าหน้าท่ีอ�านวยการให้จังหวะวงดนตร ีผูเ้รยีบเรยีงเพลง

หรือผู้รับจ้างบรรเลงดนตรีในรูปของคณะดนตรี ดังท่ีปรากฏในงานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลอง

ต่างๆ งานเทศกาลของวัด หรือหน่วยงานราชการ และงานมหรสพต่างๆ

ธุรกิจทางด้านดนตรีมีกิจกรรมหลายอย่างท่ีสามารถน�าไปประกอบเป็นอาชีพได้ โดยการใช้

ความรูแ้ละศาสตร์ต่างๆ เข้ามาบรูณาการ ทัง้ยงัสามารถเพิม่มลูค่าให้แก่ผูป้ระกอบการอย่างคุม้ค่า

ธุรกิจทางด้านดนตรีที่น่าสนใจ มีดังนี้

๑)การผลิตซีดี(CD) และดีวีดี(DVD) ดนตรีไทย เป็นอาชีพหน่ึงที่ก�าลังได้รับ

ความสนใจโดยเฉพาะการบรรเลงเพลงไทย ทั้งเพลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ การบรรเลง

วงดนตรีทั้งวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี วงอังกะลุง วงแตรวง วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ

วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง วงดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้

เป็นต้น เพลงท่ีได้รับความสนใจจากตลาดผู้บริโภค เช่น เพลงตับ เพลงเถา เพลงโหมโรง

เพลงอัตราจังหวะ ๓ ชั้น เพลงอัตราจังหวะ ๒ ชั้น เพลงเรื่อง เพลงหน้าพาทย์ เพลงที่บรรเลงตาม

บทตามตอนของโขน ละคร เพลงท่ีเน้นอารมณ์เพลงลักษณะต่างๆ ท้ังงานมงคล งานอวมงคล

เป็นต้น ธุรกิจการผลิตซีดี (CD) และดีวีดี (DVD) มีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเฉพาะเสียงเพลง ธุรกิจ

ดนตรีลักษณะนี้ในปัจจุบันนอกจากจะจัดจ�าหน่ายภายในประเทศไทยแล้วยังมีการส่งไปจ�าหน่าย

ยังต่างประเทศอีกด้วย

๒)นักวิชาการดนตรี ครูดนตรีและการผลิตผลงานวิชาการ วิชาการดนตรี

ไม่ได้มีเพียงการบรรเลงเพื่อสร้างประสบการณ์

ภาคปฏิบัติ หรือเรียนให้มีความรู ้ทางด้าน

ดนตรีเท่านั้น นักวิชาการที่ได้ศึกษาดนตรี

อย ่างลึกซึ้งจนเกิดความเชี่ยวชาญ หรือ

ท�าการวิจัยดนตรี จนได้ความรู้ด้านต่างๆ ทาง

ด้านดนตรี นักวิชาการเหล่านั้นยังสามารถ

สังเคราะห ์ความรู ้ทางด ้านดนตรีมาผลิต

งานเขยีนในรปูของเอกสาร หรอืต�าราดนตร ีหรอื

รวมกลุ่มกันจัดท�าเป็นวารสารดนตรีขยายวง

ความรู้ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และ

ตัวอย่ำงผลงำนในรูปแบบของเอกสำร หรือต�ำรำดนตรีที่ถูกผลิตขึ้นโดยหน่วยงำนต่ำงๆ นับเป็นแนวทำงหนึ่งในกำรเผยแพร่ควำมรู้ทำงด้ำนดนตรีสู่สังคมไทย

๑๑

มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดการศึกษาวิชาดนตรีถึงระดับปริญญาเอก คือ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงนับว่าในประเทศไทยได้มีการพัฒนา

วทิยาการวชิาดนตรอีย่างก้าวไกล เพือ่รองรบัศักยภาพทางดนตรขีองเยาวชนไทยให้ก้าวไปสูค่วาม

เป็นนักดนตรีที่มีความรู้ ความสามารถในระดับนานาชาติ น�าชื่อเสียงมาสู่ตนเอง ครอบครัว และ

ประเทศชาติต่อไป

๒.5ดนตรีกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ

การโฆษณา หมายถึง การป่าวประกาศ การบอกกล่าว การเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ เช่น

การโฆษณาสนิค้า เป็นต้น ส่วนการประชาสมัพนัธ์ หมายถงึ การส่ือสารข้อมูลต่างๆ ให้รบัรูแ้ละเข้าใจ

ถูกต้องตรงกัน การใช้ดนตรีในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของไทยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่

สมยัอยธุยา เรยีกว่า “ตฆ้ีองร้องป่าว” เพือ่บอกข่าวและข้อมูลส�าคัญของทางราชการ โดยเจ้าหน้าที่

ของรัฐจะใช้ไม้ท่อนตีฆ้องขนาดเล็กที่เรียกว่า “ฆ้องกระแต” และเมื่อประชาชนได้ยินเสียงก็จะ

มารวมตัวกันเพื่อรับฟังข่าวนั้น ส�าหรับในภาคใต้มีเพลงพื้นบ้านประเภทหนึ่งเรียกว่า “เพลงบอก”

ศิลปินที่ร้องเพลงบอกมีแม่เพลงและลูกคู่ พร้อมฉิ่งตีให้จังหวะ ท�าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวคราว

ของทางราชการ หรือกิจกรรมและงานเทศกาลต่างๆ ที่ต้องการบอกเล่าให้ประชาชนได้ทราบ

กำรประชำสัมพันธกำรแสดงและกำรบรรเลงดนตรีไทยมีกำรท�ำแผ่นป้ำยโฆษณำและประชำสัมพันธประกอบ

ในปัจจุบันเม่ือระบบเทคโนโลยีด้านการ-

สื่อสารเจริญก้าวหน้า ทั้งการกระจายเสียง

ทางวิทยุ การแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์และ

รายการผ่านระบบอนิเทอร์เนต็ รายการโฆษณา

และประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ รวมทั้งการ

ซือ้ขายสินค้าและงานบรกิารต่างๆ มีการแข่งขนั

กนัสูงมาก เพือ่เพิม่ยอดขาย หรอืน�าความส�าเรจ็

มาสูก่จิการต่างๆ การโฆษณาและประชาสมัพนัธ์

จึงได้มีการเลือกสรรดนตรีและบทเพลงที่มี

ความโดดเด่น น่าสนใจ เพือ่สร้างความสนใจแก่

ผู้บริโภค นอกจากนี้ ตามสถานที่ต่างๆ เช่น

สถานีรถไฟ ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานที่

บริการต่างๆ เป็นต้น ได้มีการน�าดนตรีและ

บทเพลงมาใช้เป็นเครื่องจูงใจผู้คน ซึ่งมีทั้งที่มี

ท�านองสั้นๆ หรือใช้เสียงเพลงสร้างบรรยากาศ

ให้ผู ้ฟังเกิดความสนใจและมีความสุขใจไป

พร้อมๆ กัน๑๐

Page 9: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

๖)ธุรกจิการจ�าหน่ายเครือ่งดนตรีเป็นอาชพีหนึง่ทีไ่ด้รบัความสนใจมากขึน้ เพราะ

ผูบ้รโิภคมท้ัีงนกัดนตรท่ีีต้องการเลอืกสรรเครือ่งดนตรท่ีีมคีณุภาพ นักดนตรท่ีีเริม่ฝึกหัดและกระจาย

อยูต่ามโรงเรยีนต่างๆ ทัง้โรงเรยีนในระบบการศกึษาและโรงเรยีนดนตรเีอกชน ทัง้นี ้ผูป้กครองจ�านวน

มากที่มีความสนใจเลือกหาเครื่องดนตรีให้แก่บุตรหลาน ก็จะมุ่งไปยังร้านจ�าหน่ายเครื่องดนตร ี

ดังนั้นจึงพบว่าในทุกจังหวัด อ�าเภอ หรือในชุมชนขนาดใหญ่ มีร้านจ�าหน่ายเครื่องดนตรีไว้บริการ

ลูกค้า ทั้งนี้ หากผู้ประกอบกิจการร้านจ�าหน่ายเครื่องดนตรีมีความรู้และมีความสามารถใน

การเล่นดนตรีไทยด้วย ก็ย่อมเป็นต้นทุนและเป็นจุดประชาสัมพันธ์สินค้าที่ดี และเป็นการเสริมให้

การค้าขายเจริญก้าวหน้าอีกด้วย

๓. ประเภทของเพลงไทย เพลงไทยเป็นเพลงที่มีแนวท�านอง เนื้อร้อง จังหวะ และเสียงประสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

ของไทย เพลงไทยสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑)เพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วนๆ มีแต่ท�านอง ไม่มี

การขับร้องประกอบ เช่น เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเรื่อง เพลงหางเครื่อง เพลงเดี่ยว

เป็นต้น

๒)เพลงขับร้อง หมายถึง เพลงที่นิยมน�ามาขับร้องประกอบการบรรเลงดนตรี

ตามแบบของเพลงไทย คือ ร้องแล้วมีดนตรีรับ หรือร้องคลอไปกับดนตรี เช่น เพลงเถา เพลงตับ

เพลงใหญ่ เพลงเกร็ด เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการจ�าแนกเพลงไทยออกตามกิจกรรม หรือสถานการณ์ต่างๆ โดย

นกัดนตรจีะบรรเลงให้เหมาะสมและถกูต้องตามขนบธรรมเนยีมปฏบิตัสิ�าหรบัเพลงนัน้ ซึง่สามารถ

สรุปได้ ดังนี้

๓.๑ เพลงในพระราชพิธี

ในงานพระราชพิธีต่างๆ นักดนตรีของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ศิลปินข้าราชการของ

กรมศิลปากร ผู้ปฏิบัติราชการ หรือพราหมณ์ที่ท�าหน้าที่นั้นๆ เพลงที่ใช้บรรเลงจึงต้องด�าเนินไป

ตามระเบียบการใช้เพลง เช่น งานทอดผ้าพระกฐิน หรืองานที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา จะมี

วงปี่พาทย์บรรเลง เพลงที่ใช้ คือ เพลงสาธุการ เพลงกราวใน และเพลงเรื่อง หากเป็นงาน

จรดพระนงัคลัแรกนาขวญั เพลงทีใ่ช้ เช่น เพลงพญาเดนิ เป็นต้น หรอืงานทีม่พีราหมณ์เบกิแว่นเทยีน

เวยีนเทยีน เพลงทีบ่รรเลงใช้เพลงในชุดตบัเวยีนเทียน ส่วนงานพระบรมศพ เช่น งานถวายพระเพลงิ

พระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพลงที่

ใช้ขึ้นอยู่กับวงดนตรีที่น�ามาบรรเลง เช่น วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์มอญ วงดนตรีอื่นๆ

เป็นต้น ซึ่งวงดนตรีแต่ละประเภทจะมีแบบแผนการใช้เพลงบรรเลงอย่างชัดเจน ๑๓

ผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งครูดนตรี โดยเฉพาะครูดนตรีของสถาบันดนตรีเอกชนที่มิใช่ครู หรืออาจารย์

ประจ�าในสถาบนัการศกึษาปกต ิรวมทัง้การรบัสอนดนตรตีามสถาบนั หรอืตามบ้านทีม่คีวามต้องการ

ครไูปสอน ซึง่ธุรกจิด้านนีก้�าลงัได้รบัความสนใจ และสร้างรายได้ให้แก่ครดูนตร ีทัง้นี ้ครดูนตรต้ีอง

เป็นผู้ที่มีความสามารถสูง มีประสบการณ์ และมีความพร้อมที่จะเป็นครูดนตรีด้วย

๓)วงดนตรีรับจ้างบรรเลงดนตรีในงานต่างๆ โดยการรวบรวมศิลปินดนตรีและ

นกัร้อง มกีารฝึกซ้อมเพือ่พฒันาคุณภาพงานดนตรใีห้เป็นทีย่อมรบัและมชีือ่เสียง เพือ่ให้เป็นอาชพี

ที่มั่นคงมากกว่าการเป็นศิลปินเดี่ยวและมีรายได้ไม่คงที่ ทั้งนี้ การตั้งคณะ หรือวงดนตรีต้องอาศัย

ศาสตร์อื่นๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้กิจการดนตรีด�าเนินไปได้อย่างดี เช่น การตลาด การบัญชี

การจัดการอาชีพ เป็นต้น

๔)โรงเรียนดนตรีเอกชน การบรรเลงดนตรใีนปัจจุบนัเป็นกจิกรรมทีไ่ด้รบัความสนใจ

จากเยาวชนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเป็นการใช้เวลาว่างให้เกดิประโยชน์แล้ว ดนตรยีงัใช้เป็น

เครือ่งพกัผ่อนจติใจในยามว่าง ถ้าผูใ้ดมคีวามสามารถทางด้านดนตรมีากยงัสามารถน�าไปประกอบ

อาชพีดนตรไีด้อกีทางหนึง่ ด้วยเหตนุี ้จงึมกีารเปิดโรงเรยีนสอนดนตรเีอกชนทัง้ในกรงุเทพมหานคร

และตามจังหวัดต่างๆ ดังนั้น โรงเรียนดนตรีเอกชนจึงเป็นแหล่งประกอบธุรกิจดนตรีที่ส�าคัญและ

สามารถน�าความส�าเร็จในการด�าเนินงานมาสู่ผู้ประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี

๕)การผลิตเครื่องดนตรีไทย มีหลายชนิด เช่น การผลิตเครื่องดนตรีไทย

ประเภทระนาดเอก ระนาดทุ้ม ซอด้วง ซออู้

ซอสามสาย สะล้อ พิณอีสาน ขลุ่ย แคน กลอง

ประเภทต่างๆ เป็นต้น การผลิตชิ้นส่วนที่ใช ้

ประกอบกับเครื่องดนตรี เช่น ล้ินปี่ ยางสน

สายซอ ไม้ตีระนาด ไม้ตีฆ้อง ตะกั่วถ่วงเสียง

เป็นต้น

การด�าเนินธุรกิจดนตรีด้านนี้

ต้องใช้การลงทุนสูง จึงต้องมีการวางแผน

การตลาด การศึกษาแหล่งจ�าหน่ายแหล่ง-

บริโภคสินค้า และส่วนประกอบอื่นๆ ที่จ�าเป็น

ต่อการประกอบอาชีพนี้กำรผลิตเครื่องดนตรีไทยประเภทต่ำงๆ เป็นกำรด�ำเนินธุรกิจทำงดนตรีที่มีกำรลงทุนในกำรผลิตสูง

๑๒

Page 10: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

เพลงนางหน่าย เพลงไฟชุม เพลงแร้งกระพือปีก เพลงกาจับปากโลง เพลงนางหงส์ เป็นต้น

ถ้าเป็นวงปี่พาทย์มอญมีเพลงพิธีกรรมที่ก�าหนดเป็นแบบแผน เช่น เพลงเชิญศพ เพลงยกศพ

เพลงประจ�าวัด เพลงประจ�าบ้าน เป็นต้น

ในงานสวดพระอภิธรรมศพที่วัด ก่อนพระสงฆ์ลงศาลาวงดนตรีจะบรรเลงเพลงย�่าค�่า มีการ

บรรเลงออกเพลงสิบสองภาษา และเพลงอื่นๆ จนเมื่อถึงเวลาพระสงฆ์ลงศาลา วงดนตรีบรรเลง

เพลงรับพระ เริ่มฟังพระสวด ระหว่างที่พระสงฆ์สวดจบแต่ละช่วงน้ัน วงดนตรีสามารถเลือก

เพลงต่างๆ มาบรรเลง หรือขับร้องได้ เช่น เพลงมอญอ้อยอิ่ง เพลงแขกมอญ เพลงแขกต่อยหม้อ

เพลงแขกไทร เพลงถอนสมอ เป็นต้น

๓.4 เพลงประกอบการแสดง

การแสดงหนังใหญ่ โขน ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และการแสดงเป็นเรื่องต่างๆ นักแสดง

เมื่อสวมบทบาทไปตามบทของแต่ละท้องเรื่อง วงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงต้องด�าเนิน

เพลงให้สอดคล้องกบับททีก่�าหนดเพลงไว้ หรอือาจบรรเลงรบั - ส่งตวัแสดงตามบทบาท ซึง่นักดนตรี

ต้องทราบและเข้าใจระเบียบวิธีใช้เพลงให้เข้ากับการแสดงนั้นๆ เพลงประกอบการแสดง

มีอยู่เป็นจ�านวนมาก สามารถจ�าแนกออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑)เพลงหน้าพาทย์ เพลงประเภทนี้เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาสมมติ

ของตัวละคร ซึ่งด�าเนินไปตามบทบาทในเนื้อเรื่อง ได้แก่

อากัปกิริยาในการแสดง เพลงที่ใช้

เดิน ทั้งเดินเร็ว เดินช้า วิ่งไล่ เพลงเชิด เพลงเชิดฉาน เพลงเสมอ เพลงเสมอผี

เพลงเสมอตีนนก เพลงเสมอเถร เพลงเสมอมาร

เพลงเสมอแขก เพลงเสมอมอญ

เหาะเหิน บิน ท่องอากาศ

เคลื่อนตัวไปในอากาศ

เพลงเหาะ เพลงแผละ เพลงโคมเวียน

ที่เกี่ยวกับน�้า เพลงลงสรง เพลงใช้เรือ เพลงโล้

กิน ดื่ม เพลงนั่งกิน เพลงเซ่นเหล้า

นอน เพลงตระบรรทมไพร เพลงตระนอน

จัดทัพ สู้รบ เพลงกราวนอก เพลงกราวใน เพลงปฐม เพลงเชิด

เศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้ เพลงทยอย เพลงโอด

แสดงอิทธิฤทธิ์ แปลงกาย หรือเนรมิต

ร่างใหม่

เพลงรัวลาเดียว เพลงรัวสามลา เพลงคุกพาทย์ เพลงตระนิมิต

๑5

๓.๒เพลงในงานมงคล

งานมงคลเป็นงานที่มีเพลงบรรเลงได้ทั่วไป ยกเว้นเพลงที่ก�าหนดใช้ส�าหรับงานอวมงคล

นักดนตรีจะทราบและไม่น�ามาใช้ในงานมงคล

อย่างไรก็ตามแบบแผนการใช้เพลงก็ต ้อง

พิจารณาว่าควรใช้วงดนตรีประเภทใดและเลือก

ใช้เพลงใดที่เหมาะสม เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับ

การท�าบญุเลีย้งพระ มกีารสวดมนต์เยน็ - ฉนัเช้า

กลุ ่มเพลงที่ใช ้จะประกอบไปด้วยเพลงชุด

โหมโรงเย็น เพลงชุดโหมโรงเช้า เพลงพระฉัน

งานท�าขวัญบวชนาค เพลงที่ใช้นอกจากเพลง

ชดุโหมโรงเยน็แล้ว ขณะอาบน�า้นาคจะใช้เพลง

ลงสรง เมื่อเข้าสู่พิธีท�าขวัญนาค จะใช้เพลงใน

ชุดท�าขวัญ หรือตับเวียนเทียน งานที่เกี่ยวกับ

ฤกษ์ยามใช้เพลงเพิ่มเติมในส่วนของฤกษ์ เช่น

เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เป็นต้น

ส�าหรับงานมงคลทั่วไป เช่น งานเฉลิมฉลองต่างๆ งานสมโภช งานบรรเลงที่จัดเพื่อ

การฟัง เป็นต้น เพลงทีใ่ช้ภายหลงัจากบรรเลงเพลงโหมโรงแล้ว นกัดนตรสีามารถเลอืกเพลงได้ เช่น

เพลงกาเรยีนทอง เพลงอะแซหวุน่กี ้เพลงแขกมอญบางขนุพรหม เพลงนกขม้ิน เพลงชมแสงจันทร์

เป็นต้น ส่วนจะใช้บรรเลงในลักษณะเพลงเถา เพลง ๓ ชั้น เพลง ๒ ชั้น มีขับร้องประกอบ หรือ

ไม่มกีไ็ด้ กรณท่ีีเป็นเพลงกลุม่เพลงเสภานยิมใช้วงป่ีพาทย์เสภา มโีหมโรงเสภา เพลงพม่าห้าท่อน

เพลงแขกโอด ในงานมงคลนีห้ากเป็นงานมงคลสมรส วงดนตรนียิมใช้วงเครือ่งสายไทย หรอืวงมโหรี

กลุม่เพลงทีใ่ช้นยิมเพลงทีม่ที�านองอ่อนหวาน เช่น เพลงตับววิาห์พระสมุทร เพลงลาวด�าเนนิทราย

เพลงลาวค�าหอม เพลงเขมรไทรโยค เป็นต้น

๓.๓ เพลงในงานอวมงคล

งานอวมงคลเป็นงานที่เกี่ยวกับพิธีกรรมหลังความตาย นิยมใช้ในงานของชาวไทยพุทธ เช่น

งานสวดพระอภธิรรมศพ งานฌาปนกจิศพ งานท�าบญุกระดูก งานรวมญาติ (มักท�าในวันสงกรานต์

และรวมจัดพร้อมกันที่วัด) วงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล เช่น วงบัวลอย วงปี่พาทย์นางหงส์

วงปี่พาทย์มอญ วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นต้น เพลงที่ใช้ของวงดนตรีแต่ละประเภทมีแบบแผน เช่น

วงบวัลอย มเีพลงทีเ่รยีบเรยีงเข้าเป็นชดุขึน้อยูก่บัต�ารบั หรอืทางของส�านกัดนตร ีเช่น เพลงบวัลอย

ขบวนแห่ต่ำงๆ ในงำนมงคลที่ต้องกำรควำมสนุกสนำนรื่นเริง มักนิยมใช้วงกลองยำวมำบรรเลงประกอบ

๑4

Page 11: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

เสริมสาระ

เพลงไทยที่ใชขับรอง เพลงไทยเป็นศิลปะและวัฒนธรรมของชนชาติไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณภายหลังได้พัฒนารูปแบบของเพลงไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีการประพันธ์เพลงไทยให้มีลีลาและส�าเนียงเลียนส�าเนียงภาษาของชนชาติอื่นๆ เช่นลาว เขมรมอญแขกพม่า จีน เป็นต้น เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาโดยเลียนส�าเนียงของภาษาอื่น มักมีชื่อเรียกน�าหน้าเพลงตามส�าเนียงภาษาที่เลียนส�าเนียงมาเสมอเช่นเพลงลาวดวงเดอืนเพลงเขมรไทรโยคเพลงมอญท่าอฐิเพลงแขกสาหร่ายเพลงพม่าเห่เพลงจนี-ขิมเล็กเป็นต้นซึ่งเพลงเหล่านี้คือเพลงไทยไม่ใช่ของชาติอื่นโดยคนไทยเป็นผู้ประพันธ์ขึ้นทั้งสิ้น

เพลงไทยประเภทเพลงขับรองสามารถแบ่งไดเปน๓ประเภทใหญ่ๆดังนี้

๑.เพลงเถา เป็นเพลงเดยีวกนัทีบ่รรเลง หรอืขบัร้องติดต่อกนั โดยมอีตัรำจงัหวะลดหลัน่ตำมสดัส่วน

โดยเริ่มจำกอัตรำจังหวะ ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียว เช่น เพลงนำงครวญเถำ จะเริ่มบรรเลงตั้งแต่

เพลงนำงครวญอัตรำจังหวะ ๓ ชั้น ตำมด้วยเพลงนำงครวญอัตรำจังหวะ ๒ ชั้น และจบด้วยเพลงนำงครวญ

อัตรำจังหวะชั้นเดียว เป็นต้น

๒.เพลงตับ เป็นกำรน�ำเพลงหลำยๆ เพลง มำบรรเลงและขับร้องติดต่อกัน ดังนี้

๒.๑ เพลงตบัเพลง คอื กำรน�ำเพลงหลำยเพลงทีม่ลีกัษณะส�ำเนยีงท�ำนองคล้ำยคลงึกนัมำบรรเลง

หรือขับร้องติดต่อกัน เพลงทุกเพลงที่น�ำมำบรรเลงติดต่อกันนั้นต้องเป็นเพลงที่มีอัตรำจังหวะเดียวกัน

ทุกเพลง เช่นเพลงตับต้นเพลงฉิ่ง ๓ ชั้น เป็นต้น

๒.๒ เพลงตับเรือ่ง คอื เพลงทีน่�ำมำขบัร้อง หรอืบรรเลงติดต่อกนั มอีตัรำจงัหวะเหมอืน หรอืต่ำงกนั

กไ็ด้ แต่บทร้องต้องตดิต่อเป็นเรือ่งเดยีวกนั เช่น เพลงตบัเรือ่งนำงลอย เพลงตบัเรือ่งนำคบำศ ในกำรแสดงโขน

เรื่องรำมเกียรติ์ เพลงตับเรื่องพระรถเสน ตอนพระรถหนีนำงเมรี เป็นต้น

๓.เพลงเกร็ด เป็นเพลงเบ็ดเตล็ดที่ใช้ขับร้องและบรรเลงทั่วไป ไม่อำจจัดเข้ำลักษณะของเพลง

ประเภทต่ำงๆ ดังกล่ำวข้ำงต้นได้ เพลงเกร็ดนี้ผู ้ประพันธส่วนใหญ่ประพันธขึ้นเพ่ือควำมสนุกสนำน

เพลิดเพลิน หรือเพื่อใช้เป็นคติสอนใจ เนื้อหำอำจอยู่ในรูปแบบของกำรชมธรรมชำติ ชมควำมงำมของสตรี

ซึ่งบรรยำยเกี่ยวกับควำมรัก เพลงเกร็ดส่วนมำก

มักจะเป็นเพลงในอัตรำจังหวะ ๒ ชั้น เช่น

- เพลงลำวค�ำหอม

- เพลงเขมรไทรโยค

- เพลงเขมรเขำเขียว

- เพลงจีนน�ำเสด็จ

- เพลงแขกสำหร่ำย

เป็นต้น กำรแสดงโขนและละคร มีกำรน�ำเพลงไทยมำบรรเลงหรือขับร้องประกอบกำรแสดง

๑๗

๒)เพลงตามบทบาทและสถานการณ์เพลงประกอบการแสดง นอกจากประกอบ

อากปักิรยิาแล้ว ในช่วงการด�าเนนิเนือ้เรือ่งซึง่บรรยายถงึสถานที ่เหตกุารณ์ รปูร่าง ลกัษณะ อารมณ์

ความรูส้กึของตวัละคร รวมถงึความเป็นมาเป็นไปของเนือ้เร่ือง เพลงทีใ่ช้ต้องบรรเลงให้สอดคล้อง

กับสถานการณ์นั้น มีตัวอย่างของเพลงท่ีก�าหนดใช้บรรเลง หรือบรรเลงประกอบการขับร้องของ

ตัวละครตามอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เพลงอัตราจังหวะ ๒ ชั้น หรือเพลงอัตราจังหวะชั้นเดียว

ได้แก่

กำรร�ำตบีทของโขน ละคร ใช้ลลีำท่ำร�ำ หรอืนำฏยศพัทให้สอดคล้องกบับทร้อง เช่น กำรใช้เท้ำมุง่บอกอำรมณรนุแรง โกรธ และขัดเคือง รวมทั้งกำรใช้เพลงประกอบก็เป็นไปตำมบทบำทและสถำนกำรณของตัวละครในเนื้อเรื่องตอนนั้นๆ

อากัปกิริยาในการแสดง เพลงที่ใช้

รัก เพลงบังใบ เพลงสาลิกาแก้ว เพลงทองย่อน เพลงลีลากระทุ่ม

โศก เศร้า เพลงลาวครวญ เพลงดาวทอง เพลงธรณีกันแสง

ดีใจ เย้ยหยัน เพลงกราวร�า เพลงเย้ย

โกรธ ขัดเคือง เพลงลิงโลด เพลงลิงลาน เพลงนาคราช

ขลัง บรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ เพลงลาวเสี่ยงเทียน เพลงขับไม้บัณเฑาะว์ เพลงแขกบรเทศ

ชมธรรมชาติ เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงลมพัดชายเขา เพลงลาวชมดง

สนุกสนาน เพลงกราวตะลุง เพลงค้างคาวกินกล้วย

เพลงคุดทะราดเหยียบกรวด

๑๖

Page 12: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

ค�าศัพท์ ความหมาเพลงตับ เพลงที่น�ามาเรียบเรียงเข้าเป็นชุด น�ามาบรรเลง หรือบรรเลงขับร้องต่อเนื่องกัน สามารถ

จ�าแนกออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑.ตบัเรือ่งคือ เพลงทีเ่รยีบเรยีงเข้าเป็นชดุ โดยค�านงึถงึการด�าเนนิเรือ่งราวเป็นหลกั

มีบทร้องที่สอดคล้องกับเรื่องราว ส่วนท�านองเพลงที่บรรจุตามบทร้องนั้นใช้เพลงอัตราชั้น

หรอืประเภทหน้าทบัทีแ่ตกต่างกนักไ็ด้ ไม่มข้ีอก�าหนด เช่น เพลงตบันางลอย เพลงตบันาคบาศ

เพลงตับวิวาห์พระสมุทร เป็นต้น

๒. ตับเพลง คือ เพลงที่เรียบเรียงเข้าเป็นชุด โดยค�านึงถึงความกลมกลืน มีความ

สอดคล้องของท�านองเพลง ทั้งอัตราชั้นและแนวท�านองเพลง เช่น เพลงตับลมพัด-

ชายเขา เพลงตับสามลาว เพลงตับเพลงยาว เป็นต้น

ลูกล้อ-

ลูกขัด

วิธีการบรรเลงท�านองอย่างหนึ่งด้วยการแบ่งช่วงบรรเลงของเคร่ืองดนตรี ๒ พวก

ด้วยวรรค หรือประโยคของท�านองที่มีความสั้น - ยาวตามท�านองของเพลงนั้นๆ ดังนี้

● เมื่อเครื่องดนตรีพวกแรกบรรเลงก่อน จากนั้นพวกหลังจึงบรรเลงต่อด้วยท�านอง

เหมือนกัน เรียกว่า “ลูกล้อ”

● เมื่อเครื่องดนตรีพวกแรกบรรเลงก่อน จากนั้นพวกหลังจึงบรรเลงต่อด้วยท�านอง

แตกต่างกัน เรียกว่า “ลูกขัด”

กำรบรรเลงดนตรีประสำนเสียงจะต้องเลือกเสียงของเครื่องดนตรีที่จะน�ำมำรวมกลุ่มให้ถูกต้องตำมหลักวิชำกำรดนตรีและศัพทสังคีตทำงดนตรี

เพลงไทยที่มีชื่อกลุ่มชาติพันธุและส�าเนียงต่างๆ

เพลงไทยที่มีชื่อกลุ่มชำติพันธุเป็นชื่อเพลง เช่น แขก มอญ ลำว เขมร พม่ำ ฝร่ัง จีน ญวน เป็นต้นเป็นเพลงทีน่กัดนตรีไทยประพนัธขึน้ เพือ่ใช้บรรเลงตำมลกัษณะกำรใช้ทีเ่หมำะสมกบัโอกำสนัน้ๆ เช่น บรรเลงประกอบกำรแสดงละครพันทำง บรรเลงประกอบกำรแสดงที่ต้องกำรแสดงถึงลักษณะของตัวละคร เป็นต้น ดังนั้น ในวงกำรดนตรไีทยจงึมเีพลงไทยทีม่ชีือ่และลลีำของท�ำนองเพลงหลำกหลำย เช่น เพลงจนีโล้ เพลงแขกเชญิเจ้ำ เพลงมอญอ้อยอิง่เพลงลำวครวญ เพลงญวนทอดแห เพลงเขมรเปำใบไม้ เป็นต้น

à¡Ãç´ÈÔÅ»Š

๑๙

๔. ศัพท์สังคีตในดนตรีไทย วิชาการดนตรีไทยมีศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสื่อสารกัน ศัพท์ดังกล่าวเรียกว่า “ศัพท์สังคีต”

ศัพท์สังคีตที่น่ารู้ มีดังนี้

ค�าศัพท์ ความหมายค�าศัพท์ ความหมาย

กวาด วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่บรรเลงท�านอง มีระนาดเอก ระนาดทุ้ม

ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญ-

วงเล็ก โดยใช้ไม้ตีลากกวาดไปที่ลูกระนาด หรือลูกฆ้อง จากลูกที่มีระดับเสียงต�่าไปหา

ระดับเสียงสูง หรือจากระดับเสียงสูงลงมาหาระดับเสียงต�่าก็ได้ เพื่อให้เกิดเสียงดังยาว

ต่อเนื่องและตรงกับจังหวะของเพลง

คลอ การบรรเลงไปพร้อมๆ กับการขับร้อง โดยผู้บรรเลงต้องบรรเลงเครื่องดนตรีให้ท�านองและ

เสียงตรงกับผู้ขับร้อง เช่น การสีซอสามสายคลอร้อง เป็นต้น

จน จนมุม หมดหนทาง หมดทางสู้ ท�าไม่ได้ตามที่ต้องท�า ค�าว่า “จน” ในทางดนตรีเกิดขึ้น

เมื่อศิลปินใช้ปฏิภาณต่อสู้กันด้วยวิชาดนตรี ฝ่ายที่ท�าไม่ได้ หรือกล้อมแกล้มบรรเลง

ขับร้องไม่แนบเนียน ถือว่า “จน” เช่น นักดนตรีขึ้นต้นบรรเลงเพลงแล้วส่งท�านองให้

นักร้อง นักร้องขบัร้องรบัไม่ได้ แสดงว่านกัร้อง “จน” หรือนกัร้องขบัร้องส่งเพลงให้นกัดนตรี

นักดนตรีบรรเลงรับเพลงไม่ได้ ก็แสดงว่านักดนตรี “จน” นักดนตรี ๒ วงบรรเลงเพลงเชิด

ต่อตัวแข่งขันกัน วงหนึ่งบรรเลงต่อเพลงเชิดไม่ได้ แสดงว่านักดนตรีวงนั้น “จน” เป็นต้น

เดี่ยว วิธีบรรเลงอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทเคร่ืองท�าท�านอง เช่น ซอสามสาย

ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ใน ปี่มอญ ขลุ่ยเพียงออ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่

เป็นต้น มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง เช่น กลองสองหน้า กลองแขก โทน - ร�ามะนา

ท�าหน้าที่ก�ากับจังหวะหน้าทับ มีเครื่องประกอบจังหวะทั่วไป เช่น ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง

เป็นต้น การเดีย่วดงักล่าว นกัดนตรีต้องมคีวามสามารถในการปฏบิตัเิคร่ืองดนตรีเป็นอย่างดี

เพราะท�านองเดี่ยวมีท�านองที่แตกต่างไปจากท�านองเพลงปกติ มีกลวิธีที่บรรเลงซับซ้อน

และต้องใช้ทักษะปฏิบัติเป็นอย่างดี เพื่อแสดงให้ผู้ฟังได้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ

ของนักดนตรี ถือเป็นการอวดฝีมือการบรรเลง อวดความแม่นในท�านอง - จังหวะเพลง

อวดทักษะที่เชี่ยวชาญของนักดนตรี และอวดทางเพลงเดี่ยวที่ไพเราะ รวมถึงชั้นเชิง

ของนักดนตรี เพลงที่นิยมน�ามาเดี่ยว เช่น เพลงกราวใน เพลงกราวนอก เพลงเชิดนอก

เพลงเชดิจนี เพลงแขกมอญ เพลงสารถ ีเพลงลาวแพน เพลงหกบท เพลงพญาโศก เป็นต้น

๑8

Page 13: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

จากส�านกังานคณะกรรมการวฒันธรรมแห่งชาต ิได้รบัการประกาศเกยีรตคิณุให้เป็นศลิปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้น

๒)ผลงานด้านดนตรีนายส�าราญ เกิดผล เริ่มแต่งเพลงสามไม้ในเถาเป็นเพลงแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จากนั้นจึงมีผลงานการแต่งเพลงอีกจ�านวนมาก ดังนี้

ประเภทเพลง เพลง

เพลงโหมโรง เพลงโหมโรงกาญจนาภิเษก เพลงโหมโรงเกษมส�าราญ

เพลงโหมโรงทยอยเดี่ยว เพลงโหมโรงมหาชัย

เพลงโหมโรงศิวะประสิทธิ์ เพลงโหมโรงอู่ทอง

เพลงหน้าพาทย์ไหว้ครู เพลงตระนาง (ตระนางมณโฑหุงน�้าทิพย์)

เพลงตระพระปัญจสิงขร เพลงตระพระศิวะเปิดโลก

เพลงอัตราจังหวะ๓ชั้น เพลงขวางคลอง ๓ ชั้น เพลงสุรางค์จ�าเรียง ๓ ชั้น

เพลงเถา เพลงกระบอกเงินเถา เพลงกลางพนาเถา

เพลงเขมรครวญเถา เพลงคู่โฉลกเถา

เพลงจีนขายอ้อยเถา เพลงจีนเข้าโบสถ์เถา

เพลงจีนถอนสมอเถา เพลงช้อนแท่นเถา

เพลงดวงดอกไม้เถา เพลงตะลุ่มโปงเถา

เพลงถอยหลังเข้าคลองเถา เพลงทองกวาวเถา

เพลงบัวตูมบัวบานเถา เพลงบางหลวงอ้ายเอี้ยงเถา

เพลงบ้าบ่นเถา เพลงแผ่นดินพ่อเถา

เพลงแผ่นดินแม่เถา เพลงฝรั่งกลายเถา

เพลงฝรั่งจรกาเถา เพลงฝรั่งแดงเถา

เพลงพิศวงเถา เพลงมหาราชรามค�าแหงเถา

เพลงแม่ม่ายคร�่าครวญเถา เพลงรั้วแดงก�าแพงเหลืองเถา

เพลงล่องลอยเถา เพลงลอยประทีปเถา

เพลงวิหคเหินเถา เพลงสามเกลอเถา

เพลงสามไม้ในเถา เพลงสุดใจเถา

เพลงเสภากลางเถา เพลงเสภานอกเถา

เพลงเสภาในเถา เพลงอนงค์สุชาดาเถา

เพลงอัปสรสวรรค์เถา เพลงไอยราชูงวงเถา

เพลงระบ�าเพลงอัตรา๒ชั้น

และอัตราชั้นเดียว

เพลงระบ�านกแก้ว เพลงระบ�าบุษราคัมมณี

เพลงไอยเรศชั้นเดียว เพลงไอยเรศ ๒ ชั้น

เพลงทางร้อง เพลงจีนเก็บบุปผาเถา เพลงอัปสรส�าอางเถา

๒๑

๕. สังคีตกวีไทย 5.๑นายส�าราญเกิดผล

๑)ประวัติและผลงานสังคีตกวี-ไทย นายส�าราญ เกิดผล เป็นนักดนตรีที่เกิด

ในตระกลูนกัดนตรแีละศลิปินพืน้บ้าน ท่านเป็น

บตุรของนายหงส์ เกดิผล และนางสงัวาล เกดิผล

เกิดเม่ือวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

ที่บ้านใหม่หางกระเบน ต�าบลบ้านใหม่ อ�าเภอ

พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เริ่มเรียนปี่พาทย์ตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ จากคุณอา

คือ นายจ� า รัส เกิดผล และนายเพชร

จรรย์นาฏย์ ต่อมาจึงศึกษาดนตรีเพ่ิมเติมใน

ส�านักดนตรีบ้านพาทยโกศล และได้ฝากตัว

เป ็นศิษย ์ของครูดนตรีหลายท ่าน เช ่น

นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นายเทียบ คงลายทอง นายอาจ สุนทร นายช่อ สุนทรวาทิน

นายฉัตร สุนทรวาทิน นายพุ่ม บาปุยะวาทย์ เป็นต้น

ท่านเป็นนักระนาดเอก เป็นนักแต่งเพลงไทยที่มีความรู้และประสบการณ์ดนตรีไทย

สูงมากท่านหนึ่งของวงการดนตรีไทย ได้รับมอบเป็นครูผู้ประกอบพิธีไหว้ครูจากนายอาจ สุนทร

และเป็นผู้อ�านวยการโครงการสอนดนตรีให้แก่เยาวชนประจ�าศูนย์ส่งเสริมและเผยแพร่ดนตรีไทย

ในพระราชปูถมัภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุาฯ สยามบรมราชกมุาร ีท่านเป็นผูส้บืทอดดนตรไีทย

จากบรรพบุรุษของท่าน คือ วงดนตรีบ้านใหม่หางกระเบน ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อจาก

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “บ้านพาทยรัตน์” ผลงานด้านดนตรี

และเกียรติภูมิของบ้านพาทยรัตน์เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใน

วงการดนตรีไทย

นอกจากความรูท้างดนตรไีทยแล้ว ท่านยงัมคีวามรูด้้านแพทย์แผนไทย โดยได้ท�าหน้าที่

เป็นแพทย์แผนไทยประจ�าต�าบลบางชะน ีอ�าเภอบางบาล จงัหวดัพระนครศรอียธุยา เป็นผูใ้หญ่บ้าน

และก�านันต�าบลบางชะนีจนเกษียณอายุราชการ ในด้านเกียรติคุณที่ได้รับมีจ�านวนมาก เช่น ได้รับ

ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง จากสภาการฝึกหัดครู

ได้รบัการยกย่องเชดิชเูกยีรตเิป็นผูม้ผีลงานดเีด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)

นำยส�ำรำญ เกิดผล ผู้เชี่ยวชำญด้ำนระนำดเอกของไทย

๒๐

Page 14: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศ “นักดนตรีไทยตัวอย่าง”

จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้แต่งเพลงปิ่นนคเรศเถาส่งเข้าประกวด

จนได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลพิณทองของธนาคารกสิกรไทย และในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับการ

เชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)

๒)ผลงานด้านดนตรีนายเฉลิม บัวทั่ง ได้แต่งเพลงไทยไว้เป็นจ�านวนมาก ดังนี้

ประเภทเพลง เพลง

เพลงโหมโรง เพลงโหมโรงจามจุรี เพลงโหมโรงประสานเนรมิต

เพลงโหมโรงพิมานมาศ เพลงโหมโรงมหาปิยะ

เพลงโหมโรงรามาธิบดี เพลงโหมโรงสรรเสริญพระจอมเกล้า

เพลงเถา เพลงขอมใหญ่เถา เพลงเขมรพายเรือเถา

เพลงเขมรเหลืองเถา เพลงเขมรใหญ่เถา

เพลงเคียงมอญร�าดาบเถา เพลงดอกไม้เหนือเถา

เพลงประพาสเภตราเถา เพลงปิ่นนคเรศเถา

เพลงมอญอ้อยอิ่งเถา เพลงลาวเจริญศรีเถา

เพลงลาวกระแซเถา เพลงลาวล�าปางใหญ่เถา

เพลงลาวล�าปางเล็กเถา เพลงสาวสอดแหวนเถา

เพลงลาวเลียบค่ายเถา

เพลงสีนวลเถา

สรุป

ดนตรีไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยและอยู่คู่กับคนไทยมาอย่าง

ช้านาน ดังนั้น ดนตรีไทยจึงมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนถึงวันสุดท้าย

ของชีวิตก็ว่าได้ โดยดนตรีไทยมีคุณค่าและมีความส�าคัญต่อคนไทยในการน�าไปประยุกต์ ใช้ ในชีวิต

ประจ�าวันเพื่อการผ่อนคลายจิตใจการพัฒนามนุษย์การบ�าบัดรักษาและด้านอื่นๆอีกทั้งยังเป็น

สือ่กลางของกจิกรรมทางศาสนาและประเพณีดนตรจีงึเปรยีบเสมอืนกระจกเงาทีช่่วยสะท้อนสภาพ

สังคมวัฒนธรรมความคิดค่านิยมและความเชื่อดนตรีเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยที่คนในชาติ

ควรช่วยกันสืบสานและอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่สืบไป

๒๓

5.๒นายเฉลิมบัวทั่ง

๑)ประวัติและผลงานสังคีตกวี-ไทย นายเฉลิม บัวทั่ง เป็นบุตรของนายปั้น

และนางถนอม บัวทั่ง เกิดเม่ือวันที่ ๒๙

สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ที่จังหวัดนนทบุรี บิดา

เป็นนักดนตรีและเจ้าของวงปี่พาทย์ ท่านได้รับ

การศึกษาที่โรงเรียนพรานหลวงสวนมิสกวัน

กรุงเทพมหานคร เริ่มเรียนดนตรีจากบิดา

และพี่ชายต่างมารดาชื่อ นายหวาด บัวทั่ง

จากนั้นจึงฝากตัวเป็นศิษย์ของพระยาประสาน-

ดรุยิศพัท์ (แปลก ประสานศพัท์) ขนุบรรจงทุม้-

เลศิ (ปลัง่ ประสานศพัท์) จางวางทัว่ พาทยโกศล

และได ้ ศึกษาวิชาการดนตรีจากครูดนตรี

หลายท่าน ส่งผลให้ท่านมีความรอบรู้และมี

ฝีมือทางด้านดนตรีเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการดนตรีไทย นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ริเริ่ม

พัฒนาอังกะลุง ซึ่งแต่เดิมอังกะลุงตับหนึ่งมี ๒ กระบอก เพิ่มเป็น ๓ กระบอก จนเป็นที่นิยมอย่าง

นำยเฉลิม บัวทั่ง ผู้เริ่มพัฒนำเครื่องดนตรีอังกะลุงให้เป็นที่รู้จักแพร่หลำยในปจจุบัน

แพร่หลายในปัจจุบัน

ท่านเข้ารับราชการหลายแห่ง เช่น

เป็นนักดนตรีประจ�ากรมปี่พาทย์และโขนหลวง

กรมศิลปากร กรมต�ารวจ เป็นอาจารย์สอน

ดนตรีให้แก่วงดนตรแีละสถาบันการศึกษาต่างๆ

เช่น สามัคยาจารย์สมาคม สถาบนัเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนอื คณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลรามาธิบดี ธนาคารกรุงเทพ จ�ากัด

มหาชน เป็นต้น ควบคมุวงดนตรคีณะเสรมิมติร

บรรเลง และมคีณะป่ีพาทย์ของท่านเองทีก่่อตัง้ขึน้

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ชื่อ “วงศิษย์ดุริยศัพท์” อังกะลุง เป็นเคร่ืองดนตรีที่ได้รับกำรพัฒนำข้ึน โดยนำยเฉลิม บัวทั่ง ปจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในกำรเรียนกำรสอนในโรงเรียนดนตรีสมัยใหม่

๒๒

Page 15: ˹ѧÊ×ÍàÃÕ¹ ÃÒÂÇÔªÒ¾×é¹°Ò¹ ดนตรี ม. ๕academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003864... · 2015-01-06 · ÊÒúÑÞ Ë¹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ·Õè

¤íÒ¶ÒÁ »ÃШÓ˹‹Ç¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ

¡Ô¨¡ÃÃÁÊÌҧÊÃä�¾Ñ²¹Ò¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ

กิจกรรมที่ ๑ ให้นกัเรยีนฟังเพลงไทยจากซดี ี(CD) แล้วช่วยกนับอกประเภทของเพลงไทยทีฟั่ง

ว่าเป็นเพลงประเภทใด

กิจกรรมที่ ๒ ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการประยุกต์ใช้ดนตรีไทยในปัจจุบัน โดยให้

นักเรียนยกตัวอย่างประกอบการอภิปราย และบันทึกสาระส�าคัญลงสมุดบันทึก

กิจกรรมที่ ๓ ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ไปศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติและผลงาน

ของคีตกวีไทยที่มีผลงานโดดเด่น ๑ ท่าน แล้วน�าข้อมูลพร้อมภาพประกอบไปจัด

นิทรรศการเรื่อง “สังคีตกวีไทย” ที่มุมชั้นเรียนเป็นเวลา ๑ - ๒ สัปดาห์

๑ ดนตรีไทยมีคุณค่าและมีความเป็นมาอย่างไร จงวิเคราะห์

๒ นักเรียนจะสามารถประยุกต์ใช้ดนตรีไทยให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้อย่างไร

๓ เพลงไทยในแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

๔ จงยกตัวอย่างสังคีตกวีไทยมาอธิบาย ๑ ท่าน โดยเน้นผลงานส�าคัญที่มีต่อวงการดนตรีไทย

๕ นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไรในการส่งเสริมให้เยาวชนไทยรุ่นใหม่สนใจและร่วมกันอนุรักษ์ดนตรีไทย

ให้คงอยู่สืบไป

๒4