บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ...

28

Upload: phamdien

Post on 13-Apr-2018

235 views

Category:

Documents


9 download

TRANSCRIPT

Page 1: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน
Page 2: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน
Page 3: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

บอกกล่าว..เล่าความ

ในปีงบประมาณ 2552 สำนักงานความหลากหลายทาง

ชีวภาพด้านป่าไม้กรมป่าไม้ได้คัดเลือกป่าเขาผาลาดซึ่งเป็นภูเขา

หินปูน เป็นพื้นที่หนึ่งที่ดำเนินการภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนา

ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้ชุมชนและทุกภาคส่วนมี

ส่วนร่วม เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ

ป่าไม้อย่างยั่งยืน

การสำรวจและเก็บข้อมูลฯในครั้งนี้ ได้พบเห็นสิ่งที่น่าสนใจ

มากมาย ทั้งความสวยงามของพืชพรรณนานาชนิดและสิ่งมีชีวิตอีก

หลายชีวิต ทั้งหมดนี้ต้องพึ่งพิงกันในผืนป่าแห่งนี้ และยังต้องการให้

ผืนป่าคงความอุดมสมบูรณ์ คณะทำงานหวังว่าเรื่องราวเหล่านี้จะ

ช่วยให้ชุมชนมีจิตสำนึก รักและหวงแหนในความหลากหลายทาง

ชีวภาพของผืนป่าเขาผาลาด และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรให้คงอยู่

ต่อไป

คณะทำงานแห่งป่าเขาผาลาด

สิงหาคม2552

Page 4: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

สารบัญ

รู้จักป่าเขาผาลาด 3

ความหลากหลายของพรรณไม้ 4

เขาหินปูนป่าเขาผาลาด..โลกใบใหม่ของไลเคน 8

ความหลากหลาย..ชนิดพันธ์ุสัตว์ป่า 11

ความหลากหลายของแมลง 15

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 18

บรรณานุกรม 22

คณะทำงาน 23

Page 5: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้3

รู้จักป่าเขาผาลาด

ป่าเขาผาลาด ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี จัดอยู่ ใน

ประเภทป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ (Mixed Deciduous

Forest) ลักษณะเป็นป่าโปร่ง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูน

โดยเฉพาะบริเวณยอดเขาเป็นหินปูนเกือบทั้งหมด ทิศตะวันออกจะ

มีสภาพป่าโปร่งและโล่งมี ไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนทางทิศตะวันตก

สภาพป่าจะหนาแน่นอย่างเห็นได้ชัด มีความชื้นสูงไม่มีร่องรอยของ

การเกิดไฟป่า ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 290 – 480

เมตรรวมพื้นที่ศึกษา1,669ไร่

ลักษณะโครงสร้างตามแนวดิ่งของป่าแบ่งได้เป็น 2 ชั้นเรือน

ยอด ซึ่งไม้ชั้นบนที่เป็นชั้นเรือนยอดเด่นมีความสูงประมาณ 8-14

เมตรเช่นปอแก่นเทามะค่าโมงสมพงปองิ้วและมะกักและ

ไม้ชั้นรองมีความสูงโดยประมาณ3-7 เมตร ไม้สำคัญเช่นมะกา

เสี้ยวมะเกลือและตะแบกไม้พื้นล่างที่สำคัญเช่นเฟิร์นบุกและ

เปราะป่า

Page 6: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้4

ความหลากหลายของพรรณไม ้

ป่าเขาผาลาดเป็นป่าเบญจพรรณเขาหินปูน มีพันธ์ุไม้เฉพาะถิ่น ที่

ควรอนุรักษ์ ไว้คือ

(Impatiens charanii T. Shimizu) เป็ นพื ชถิ่ น เดียวของไทย ข ึ้ นบน

เขาหินปูน ระดับความสูงจากน้ำทะเล

ปานกลาง350เมตร

โมกราชินี เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของ

ไทยซึ่งเป็นพรรณไม้หายากและใกล้สูญ

พันธ์ุชนิดหนึ่งของโลก ทางกรมป่าไม้จึง

ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อ

พรรณไม้ชนิดใหม่ตามพระนามของ

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ

“Wrightia Sirikitiae Mid.&

Santisuk” เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ

ที่พระองค์ ทรงสนับสนุนและทรงริเริ่ม

โครงการต่างๆ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟู

ทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ

ในประเทศไทย พบที่ระดับความสูงจาก

น้ำทะเลปานกลาง410เมตร

ความหลากหลายของ

อรพิม

(Bauhinia winitii Craib) เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย ขึ้นตามที่โล่ง

บนภูเขาหินปูนเตี้ยๆ ระดับความสูงจาก

น้ำทะเลปานกลาง320เมตร

เทียนพระบาท

Page 7: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้5

พรรณไม้

เอื้องช้างน้าว Dendrobium pulchellum

Roxb.ex Lindl.

เอื้องหนวดพราหมณ ์

Seidenfadenia mitrata (Rchb.f.) Garay

เอื้องเขาแกะHynchostylis coelestris

(Rchb.f.)Rchb.f.ex Veitch

เอื้องสาย

Dendrobium aphyllum

(Roxb.) C.E.C.Fisch.

เอื้องแพนใบเล็ก Oberonia pachyphylla King & pantl.

Page 8: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้6

วิธีศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพป่าเขาผาลาด

การศึกษาข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้ ได้เลือกเก็บ

ข้อมูล ในพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของป่า เรียกว่า “แปลงตัวอย่าง” โดยการวาง

แปลงมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. เลือกพื้นที่สำหรับวางแปลงตัวอย่าง โดยใช้เส้นทางเดินป่าที่

คนในพื้นที่ ใช้อยู่และเป็นพื้นที่สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้

2. วางแปลงขนาด 40X40 เมตร โดยเลือกพื้นที่ที่จะเป็นตัวแทน

ของพื้นที่ ภายในแปลงดังกล่าววางแปลงขนาด 10X10 เมตร และแปลง

ขนาด4X4เมตรโดยมีข้อกำหนดดังนี้

- แปลงตัวอย่างขนาด 40X40 เมตร เก็บข้อมูลไม้ยืนต้น

(Tree)เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า4.5เซนติเมตร

- แปลงตัวอย่างขนาด 10X10 เมตร เก็บข้อม ูลไม้หนุ่ม

(Polling) เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 4.5 เซนติเมตร และความสูงมาก

กว่า1.50เมตร

- แปลงตัวอย่างขนาด4X4 เมตร เก็บข้อมูลกล้าไม้ (Sapling)

ไม้พื้นล่างที่มีความสูงน้อยกว่า1.50เมตร

การวิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างของสังคมพืช วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สูตร

ในการวิเคราะห์ลักษณะทางนิเวศวิทยา ได้แก่ ค่าความหนาแน่น ความหนา

แน่นสัมพัทธ์ความถี่ความถี่สัมพัทธ์ความเด่นความเด่นสัมพัทธ์และค่า

ดัชนีความสำคัญ

Page 9: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้7

ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า ปอแก่นเทาและมะกา เป็นไม้ที่มีค่าความถี่

สัมพัทธ์มากที่สุดรองลงมาคือมะเกลือโดยมีค่าความถี่สัมพัทธ์เป็น4.29

และ 3.93ตามลำดับ ชนิดไม้ที่มีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์มากที่สุดคือปอ

แก่นเทา รองลงมาคือ กระพี้และมะกา โดยมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์เป็น

13.15,12.81,7.81ตามลำดับและชนิดไม้ที่มีค่าความเด่นสัมพัทธ์มากที่สุด

คือ ปอแก่นเทา รองลงมาคือ กระพี้และสมพง ซึ่งมีค่าความเด่นสัมพัทธ์

เป็น38.30,19.17,14.81ตามลำดับ

การศึกษาค่าดัชนีความสำคัญของพันธ์ุไม้ ในสังคมป่าเบญจพรรณที่

ป่าเขาผาลาด ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี พบว่า ปอแก่นเทา มีค่า

ดัชนีความสำคัญสูงเป็นอันดับหนึ่งรองลงมาคือกระพี้สมพงมะกาเสี้ยว

มะเกลือ งิ้ว มะค่าโมง มะกัก และตะแบก ซึ่งมีค่าดัชนีความสำคัญของ

แต่ละชนิดดังนี้55.73,35.55,24.48,17.17,13.99,11.61,10.81,7.98,

7.49, 7.24 ตามลำดับ โดยค่าดัชนีความสำคัญทั้งสิบอันดับนี้ ถือได้ว่าเป็น

ตัวแทนของสังคมพืชในป่าเบญจพรรณที่ป่าเขาผาลาดแห่งนี้

Page 10: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

เขาหินปูน ป่าเขาผาลาด..โลกใบใหม่ของไลเคน

ไ ล เ คน เป็ น กลุ่ ม สิ่ ง มี ชี วิ ต

ผ ู้ผลิต (producer) ที่ สำคัญ

ในระบบห่ วงโซ่อาหาร (food

chain) ของเขาหินปูนป่าเขาลาด

ใ ห้ กั บ สั ต ว์ ที่ เ ป็ น ผ ู้ บ ริ โ ภ ค

(consumer) หลากหลายชนิด เช่น

หอยทากบกหอยทากจิ๋ว

ไลเคนที่ พบในเขาหินป ูนส่ วนใหญ่ เป็ นกลุ่ มครั ส โตส

(crustose) เจริญบนหิน และเปลือกไม้หลายชนิด เช่น กระพี้เขา

ควาย สมพง มะกัก มะค่าโมง พญามือเหล็ก รวมทั้งจันแดง

(Dracaena loureiri Gagnep.) ซึ่งเป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในเขา

หินป ูน ครัสโตสไลเคนที่พบมีมากกว่า 10 สกุล เช่น สกุล

Bacidia, Caloplaca, Diploschistis, Fissurina,Graphis,

Laurera, Letroutia Pertusaria, Porina, Pyrenula และ

Trypethelium นอกจากนี้ยังพบไลเคนกลุ่มโฟลิโอส (foliose) 3

ชนิด คือ Dirinaria applanata (Fe) D.D. Awasthi,

Parmotremapraesorediosum(Nyl.)Hale.และParmotrema

tinctorum(Despr.exNyl.)Hale.

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้8

Page 11: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้9

ไลเคนที่พบในพื้นที่ป่าเขาลาด

ไลเคนแบบโฟลิโอส(foliose)

Parmotrema tinctorum Dirinaria applanata

ไลเคนแบบครัสโตส(crustose)

Letroutia leprolyta Phyllopsora sp.

Page 12: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้10

เห็ดที่พบในพื้นที่ป่าเขาผาลาด

เห็ดโคน เห็ดหูหนู

(Termitomyces SP. ) (Auricularia auricula)

เห็ดกระด้าง เห็ดแครง

(Lentinus polychrous) (Schizophylum commune)

Page 13: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้11

ความหลากหลาย... ชนิดพันธุ์สัตว์ป่า

จากการสำรวจสัตว์ป่าใช้วิธีการสำรวจแบบทั่วไป และวางกับ

ดัก ในพื้นที่ป่าเขาผาลาด พบว่า มีสัตว์หลายชนิดหลายสายพันธ์ุ

ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็กเกือบทั้งหมด เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเขา

หินปูนมีความสูงชัน และอยู่ ใกล้กับชุมชน ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลและ

ปริมาณอาหารในพื้นที่ เราได้รวบรวมสัตว์ที่พบได้ทั้งหมด 69 ชนิด

สามารถแยกได้ดังนี้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบทั้งหมด9ชนิดได้แก่กระต่ายป่า

กระเล็นขนปลายหูสั้น กะบุด กระรอกหลากสี ค้างคาวมงกุฏมลายู

แมวป่าหนูผีหมูป่าและอีเห็น

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน พบทั้งหมด 14

ชนิด ได้แก่ กิ้งก่าหัวแดง คางคกบ้าน งูสายม่านพระอินทร์ งูเขียว

พระอินทร์งูเห่าปลวก(งูเห่าพ่นพิษสยาม)จิ้งจกหางเรียวจิ้งเหลน

หลากหลาย หอยหอม หอยทาก หอยจูล๋ิง (หอยขี้ ไก่ : ชื่อท้อง

ถิ่น)หอยขนอึ่งแดงอึ่งอ่างบ้านและตะกวด

นกและสัตว์ปีก พบทั้งหมด 45 ชนิด ตัวอย่างเช่น นก

ตีทอง นกแอ่นตาล นกโพระดกหูเขียว นกสีชมพูสวน นกแซงแซว

หงอนขนและนกปรอดหัวสีเขม่าเป็นต้น

Page 14: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

สัตว์ป่าที่พบในพื้นที ่

ค้างคาวมงกุฏมลายู

ชื่อวิทยาศาสตร์:Rhinorophusmalayanus

ค้างคาวมงกุฏมลายู เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราช

บัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นค้างคาว

จำพวกกินแมลง ประโยชน์ของค้างคาวที่เห็นได้ชัดคือช่วยกำจัด

แมลงต่างๆที่เป็นศัตรูต่อพืชผลทางการเกษตร มันจะช่วยกำจัด

แมลงนานาชนิดในคืนหนึ่งๆค้างคาวหนึ่งตัวจะกินแมลงได้เท่ากับน้ำ

หนักตัวของมันยิ่งกว่านั้นเม่ือขับถ่ายออกมายังนำมาใช้เป็นปุ๋ยได้อีก

ด้วย มูลค้างคาวมีสารชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่าเกลือไนเตรต (nitrate)

ปุ๋ยที่ ได้ให้ธาตุไนโตรเจนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชปริมาณ

สูงมากคือ 3.36 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับมูลเป็ดมีเพียง 0.85

เปอร์เซนต์เท่านั้น

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้12

Page 15: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้13

แมวป่า(เสือกระต่าย) ชื่อวิทยาศาสตร์:Felis chaus เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง

สัตว์ป่าพุทธศักราช2535

ลักษณะทั่วไป แมวป่า หรือ

เสือกระต่าย เป็นสัตว์ เลี้ยงล ูกด้วยนม

จำพวกเสือขนาดเล็กมีรูปร่างคล้ายแมวบ้านมีลักษณะเด่นคือ มีหูแหลมยาว

เป็นรูปสามเหลี่ยม และมีกระจุกขนยื่นออกมาจากปลายใบหูแลดูคล้าย

กระต่ายจึงเป็นที่มาของชื่อเสือกระต่ายขายาวหางสั้นมีลายสีเข้มสลับเป็น

ปล้อง ๆ ขนปลายหางมีสีดำตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหลังมีสี

น้ำตาลเข้ม สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าลำตัว แมวป่า นับเป็นเสือในสกุล

Felis ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในป่า มีความยาวลำตัวและหัว 50-56

เซนติเมตรความยาวหาง26-31เซนติเมตรมีน้ำหนัก4-6กิโลกรัม

ถิ่นอาศัยและอาหารประเทศไทยมีทั่วไปเกือบทุกภาคมีตามป่าซึ่ง

ไม่ค่อยรกทึบนัก แมวป่า กินสัตว์เล็กต่างๆ เป็นอาหาร เช่น หนู กระต่าย

กิ้งก่ากบเขียดนกซากสัตว์ที่เสือใหญ่เหลือทิ้งไว้ดังนั้นแมวป่าชนิดนี้จึง

มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“เสือกระต่าย”เสียงร้องของมันคล้ายแมวบ้านมาก

พฤติกรรม, การสืบพันธ์ุ แมวป่า ชอบอยู่ตามป่าโปร่งที่มีต้นหญ้า

สูงๆหรือป่าละเมาะชอบอยู่ ใต้พุ่มไม้ ใบหนาไม่ชอบขึ้นต้นไม้และชอบอยู่

ริมตลิ่งหรือใต้พุ่มไม้ริมน้ำเป็นสัตว์หากินกลางวันมากกว่ากลางคืน แมวป่า

ผสมพันธ์ุได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ฤดูผสมพันธ์ุไม่แน่นอน ตั้งท้องนาน

ประมาณ 66 วัน ตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สามารถมีลูกได้ปีละ 2 ครั้ง

ออกลูกตามโพรงดินใกล้ ๆ โคนไม้ ใหญ่ หรือตาม พุ่มไม้รกๆ มีอายุยืน

ประมาณ10ปีเศษ

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้13

Page 16: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้14

”หอย”... หอยจากเขาหินปูนที่สำรวจพบมี 4ชนิด ได้แก่ หอยหอม

หอยจูล๋ิง(หอยขี้ ไก่ชื่อเรียกท้องถิ่น)หอยขนและหอยทากหอย

เป็นสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลัง กินซากพืชเป็นอาหาร ซึ่งมีความสำคัญ

อย่างยิ่งต่อระบบนิเวศในการย่อยสลายซากพืชให้เป็นปุ๋ยเพื่อพืชจะ

ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป หอยเขาหินปูนเป็นอาหารของชุมชนที่

อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่ป่า สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย

เมนูเช่นหอยหอมและหอยจูล๋ิงนำมาลวกจิ้มยำรสแซ่บย่าง

และทำลาบหอยก็อร่อยไม่น้อย เราสามารถพบหอยเขาหินปูนเหล่านี้

ในช่วงฤดูฝน (หลังฝนตก) หรือในช่วงสภาพที่พื้นดินมีความชื้น

แต่ ในช่วงฤดูแล้งหอยเหล่านี้จะฝังตัวอยู่ ในดิน

หอยหอม หอยจูล๋ิง

Page 17: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้15

ความหลากหลายของแมลง

เมื่อกล่าวถึงป่าไม้ผู้คนทั่วไปมักนึกถึงสภาพพื้นที่ ที่มีต้นไม้

ใหญ่นานาชนิดมีสัตว์น้อยใหญ่อาศัยอยู่และน้อยคนนักที่จะนึกถึง

แมลงที่อาศัยอยู่ ในป่า แมลงเป็นตัวควบคุมผลผลิตของป่าเพราะ

แมลงสามารถทำให้ผลผลิตของป่าเพิ่มขึ้นได้เช่นผึ้งผีเสื้อที่ผสม

เกสรให้แก่ดอกไม้ป่าของป่าไม้ หรืออาจทำให้ผลผลิตลดลงได้ เช่น

ปลวกและแมลงที่กัดกินรากไม้เป็นต้น

กลุ่มแมลงที่ค้นพบได้แก่มดปลวกด้วงต่อแตนผีเสื้อ

กลางวันและผีเสื้อกลางคืน

โอ้ โฮ ผีเสื้อตัวนี้ สวยจัง อยากเห็น เปิดดูหน้าต่อไปได้เลย

Page 18: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้16

ผีเสื้อกลางวัน

ผีเสื้อถุงทองธรรมดา Troides aeacus ผีเสื้อปีกไข่ใหญ่ Hypolimnas bolina

ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา Catopsilia pomona ผีเสื้อหนอนพุทราธรรมดา Castalius rosimon

ผีเสื้อกลางคืน

ผีเสื้อหนอนกระท้อน Attacus atlas

ผีเสื้อหนอนไหมป่าฟริท Antheraea frithi ผีเสื้อหนอนไหมป่าซิมลา Caligula simla

Page 19: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

ตัวอย่างกับดักมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์ ใช้ล่อแมลง

แล้วนำมาทำการคัดแยกแมลง

ที่ ได้เช่นมดปลวกด้วง

ตัวอย่างแมลงและผีเสื้อมีวิธีการเก็บดังนี ้ *-*การเก็บด้วงที่มีขนาดใหญ่ด้วยวิธีห่อเหมือนทอ๊ฟฟี่

*-*การเก็บรักษาด้วงมดปลวกต่อแตนจะเก็บใส่ขวดแอลกอฮอล์

*-*ผีเสื้อจะเก็บใส่ซองกระดาษ

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้17หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด

Page 20: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพแวดล้อมธรรมชาติและการเป็นอยู่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

เทคโนโลยีความทันสมัยและความสะดวกสบายในชีวิตก็เพิ่มมากข ึ้น

ภูมิปัญญาดั่งเดิมและความเป็นอยู่แบบเดิมก็ค่อยๆจางหายไปจากการได้

สำรวจและจัดทำข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้ ในเรื่องภูมิปัญญา

ท้องถิ่นของบ้านซับสนุ่นซึ่งมีภูมิปัญญาของชุมชนที่พอจะมี ให้เห็นบ้างซึ่ง

ยังคงมีการพึ่งพาป่าเขาผาลาดในการดำรงชีพ ภูมิปัญญาในแต่ละด้านแตกต่าง

กันไป เช่น ด้านสมุนไพรหรือที่ เรียกว่าหมอยา การจักสาน การทำ

เฟอร์นิเจอร์จากรากไม้ การเลี้ยงวัวนม พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ การทำหญ้า

(ตับคา) การทำน้ำตาลจากน้ำอ้อย การจัดทำศูนย์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

และอาหารพื้นบ้านตามช่วงฤดูกาลภูมิปัญญาที่อยู่ ใกล้เขาผาลาดมีดังนี ้

ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรคุณตารวย

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้18

รางจืด ปรุงเป็นยาเขียว ทำเป็นยาถอนพิษและ

ยาเบื่อเมาลดความร้อนในร่างกาย แก้ ไข้

รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ

แก้พิษทั้งปวงรางจืดเป็นสมุนไพรท่ีวิเศษ

สามารถรักษาโรคที่กล่าวนี้หายได้อย่าง

แท้จริง

Page 21: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

เขยตาย รากมีรสปร่าขื่น ปรุงเป็นยากระทุ้งพิษแก้ฝีภายในและภายนอก แก้โรค

ผิวหนังพุพองขับน้ำนมแก้พิษงูพิษแมลงสัตว์กัดต่อยดอกและผลเอามาตำทำเป็น

ยารักษาหิด(ผลสุกรับประทานได้มีรสหวาน)

ครอบพันสีต้นบำรุงโลหิตดอกฟอกล้างลำไส้รากแก้ ไอแก้ ไข้บำรุงร่างกาย

ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคที่เกี่ยวกับปัสสาวะอักเสบทุกชนิด

หนุมานประสานกาย ส่วนที่ ใช้คือใบสด

รักษาโรคหืด โรค อากาศ ขับเสมหะ รักษาโรคหลอดลมอักเสบ วัณโรค แก้ ไอ แก้

อาเจียนเป็นเลือดใบตำพอกแผลห้ามเลือดสมานแผล

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้19

Page 22: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้20

ภูมิปัญญาด้านการทำตับคาป้าจันสี

ภูมิปัญญาด้านการทำน้ำตาลอ้อยพี่แก็ส

ภูมิปัญญาด้านการทำเฟอร์นิเจอร์รากไม้ลุงขำ

ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน“หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์”

กว่าจะได้น้ำตาลที่จับเป็นก้อน

ใช้เวลาในการเคี่ยวถึง3ชั่วโมง

Page 23: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้21

ของหวานจากป่า บัวบกเขา

บัวบกเขา ลักษณะพิเศษของบัวบกเขาเมื่อนำมาปั่นกรอง

เอาแต่น้ำแล้วนำไปตากแดดบัวบกเขาจะจับตัวเป็นวุ้น

ไอศครีมบัวบกเขามีวิธีทำดังนี้

1. นำบัวบกที่ปั่นใส่หม้อ 2. เติม

น้ำตาล3.เกลือคนให้เข้ากันพอ

น้ำตาลละลายแล้วยกลงเทใส่ถาด

นำกะทิมาเทใส่ แล้วคนให้เข้ากัน

นำไปแช่เย็นก็จะได้ ไอศกรีม

วุ้นกะทิบัวบกเขามีวิธีทำดังนี้

1 . น้ ำบัวบกเขาปั่น 2 . กะทิ

3 . น้ ำตาลทราย 4 . เกลื อ

5.ผงวุ้น ใส่ส่วนผสมทุกอย่างใส่

ในหม้อตั้งไฟคนให้เข้ากันนำมาเท

ในถาดทิ้งไว้ ให้เย็น

Page 24: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้22

บรรณานุกรม

ฉวีวรรณหุตะเจริญ.2526.แมลงป่าไม้ของไทยกรุงเทพฯโรงพิมพ์

รุ่งวัฒนา

วิโรจน์อิ่มพิทักษ์.2549.ผีเสื้อพิพิธภัณฑ์แมลงภาควิชากีฏวิทยา

คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

อักษรสยามการพิมพ์

เต็ม สมิติ นั นทน์ . 2523 . ชื่ อพร รณไม้ แห่ งประ เทศไทย

(ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)กรุงเทพฯกรมป่าไม้

อบฉนัท์ไทยทอง.2543.กลว้ยไมเ้มอืงไทยสำนกัพมิพบ์า้นและสวน

ข้อมูลจากเว็บไซต์ รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง

http://www.seub.or.th/libraryindex/animal/animal_002.html

http://www.moohin.com/animals/mammals-42.shtml

http://th.wikipedia.org/wiki

Page 25: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้23

คณะทำงาน ดร.สุรางค์ เธียรหิรัญ

ผู้อำนวยการสำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้

หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และพัฒนาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

อาจารย์เรณู สุวรรณรัตน์

ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการฯ

นายประพันธ์ ผู้กฤตยาคามี หัวหน้าโครงการ

ประจำพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก จังหวัดสระบุรี

นางสาวจินตนา จันทร์ชูวงศ์ ผู้ช่วยนักวิจัย

นางสาวพรพิรุฬ หล้ามาชน เจ้าพนักงานธุรการ

นางสาวรัชนู บุญอิ่ม อาสาสมัคร

นางเบญจมาศ อรุณบน อาสาสมัคร

นางสาวทัศนีย์ ชาญสูงเนิน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นางสาววิภารัตน์ จีนเม๋ง อาสาสมัคร

นายบุญมี สมภาวงษ์ อาสาสมัคร

นายประดิษฐ์ กระจาดทอง พนักงานขับเครื่องจักรขนาดเบา

นายอานนท์ จันทร์สวัสดิ์ ผู้ช่วยนักวิจัย

นายกรกฎ สายแวว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นางแก้วตา โมจรินทร์ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นางโสภา กระจาดทอง พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 1

นายวิโรจน์ ทองทา อาสาสมัคร

นางแก๊ส ขยันสลุง อาสาสมัคร

นางชญกาญต์ กลิ่นสุคนธ์ คนงาน

Page 26: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน

หมุนเลนส์สู่ป่าเขาผาลาด สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้24

กองบรรณาธิการ นายนพพร ตั้งจิตต์งาม

หัวหน้ากลุ่มงานสำรวจและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้

นายธานี พันแสง

หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมและจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้

นางสาวสุทธิลักษณ์ โรจนานุกูล ผู้ช่วยนักวิจัย

นางสาวลออรัตน์ ปานมา ผู้ช่วยนักวิจัย

นางสาวนิรดา แป้นนางรอง นักวิทยาศาสตร์

นายอานุภาพ โตสุวรรณ นักวิทยาศาสตร์

นายสนั่น หมัดส๊ะ เจ้าพนักงานการเกษตร

นายธนชาต แสงไพโรจน์ นักวิทยาศาสตร์

นางสาวศิริพร วงค์จา นักวิทยาศาสตร์

นายเอกอยุทธ์ มันทรานนท์ นักวิชาการเผยแพร่

นายธีรพงษ์ โตยะวะนิช นักวิชาการคอมพิวเตอร์

นางสาวจารินี บำรุงถิ่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นางสุวรรณี สร้างคำ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นางสาวสมรัก โกระวิโยธิน เจ้าหน้าที่ธุรการ

นางสาวสุรีย์พร รำพึง เจ้าหน้าที่ธุรการ

เรียบเรียงและพิสูจน์อักษรนายรัตน์พงษ์ นันทรัตน์ นักวิชาการเผยแพร่

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้

โทรศัพท์ 0-2579-2814

website : web1.forest.go.th/forest/biodiversity/

Page 27: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน
Page 28: บอกกล่าว..เล่าความfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2010/09/saraburi.pdfและ 3.93 ตามลำด บชน ดไม ท ม ค าความหนาแน