funeral book

76
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

Upload: anto-prijosoesilo

Post on 26-Mar-2016

219 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

Funeral Book

TRANSCRIPT

อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

นายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลิงศพ

นายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อม เป็นเกียรติอันสูงสุดแก่ผู้วาย

ชนม์ และวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้

หากความทราบโดยญาณวิถีถึงดวงวิญญาณของ นายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆ ได้ด้วยประการใดใน

สัมปรายภพคงจะมีความปลาบปลื้มซาบซึ้งเป็นล้นพ้นในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศอัน

สูงยิ่งในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นบุตร ธิดา และหลานๆ ของพระราชทานกราบถวายบังคมแทบเบื้องพระ

ยุคลบาท ด้วยความสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และจะเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือ

กระหม่อม เป็นสรรพสิริมงคลแก่่ข้าพระพุทธเจ้า และวงศ์ตระกูลตลอดไป

สำานึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า

ครอบครัว ศุขสุเมฆ

อัตชีวประวัติ 0

กลอนอำาลากรมโยธา 0

ประวัติภรรยา 0

ครอบครัว ศุขสุเมฆ 0

พิธีสวดพระอภิธรรม 0

สารบัญ

อัตชีวประวัตินายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆ

10

11

ข้าพเจ้าเป็นบุตร พ่อเผือก แม่พลอย เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน ปีมะเมีย ที่บ้านทางยาว ตำาบลบ้านม้า อำาเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดา-มารดา ประกอบอาชีพทำานา (ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493 เลิกทำานา ซื้อเรือข้าว ล่องข้าวเปลือกลงไปขายที่กรุงเทพฯ แล้วเลิกกิจการประมาณปี 2499)

ย่าพลอย-ปู่เผือก

12

13

เมื่อข้าพเจ้าอายุประมาณ 7-9 ขวบ พ่อพาไปฝากเป็นศิษย์วัดกับหลวงอาเจ็ก เจ้าอาวาสวัดทางยาว เรียนหนังสือจนอ่าน-เขียนได้ ทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ทำาเลขได้ถึง บวก-ลบ ต่อมาเข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาลวัดทางยาว ซึ่งเริ่มเปิดสอนขึ้นเป็นครั้งแรก มีครูเยื้อนไชโย สอนอยู่คนเดียวทุกชั้น ท่านอยู่บ้านในคลอง ตำาบลโคกช้าง อำาเภอบางไทร ท่านต้องเดินทางมาสอนเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรใช้เวลาเดินทางเป็นชั่วโมง หน้าฝนท่านก็เปียกฝนด้วย นึกถึงว่าเป็นปัจจุบันนี้ต้องนับว่าลำาบากมาก ออกจากโรงเรียน บวชเป็นสามเณรที่วัดทางยาว ไม่ได้เรียนอะไรประมาณ 2 ปี จึงย้ายไปจำาพรรษาที่วัดบ้านพาด อยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำาเภอบางไทร ไม่ได้เรียนธรรมแต่เรียนมูลกัจจายน์1จนจบ

1

มูลกัจจายน์ คือการเรียนต้นเค้าของภาษาบาลีว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

เราจะสามารถแยกแยะได้ว่า ศัพท์คำาหนึ่งมีที่มาอย่างไร เพราะเหตุใด จะมีที่มาเป็น

14

15

ต่อมาเมื่อประมาณปลายเดือน พฤษภาคม หรือ มิถุนายน พ.ศ.2476 (จำาไม่ได้) พ่อขอให้ปู่จอนน้องยายจัน พาไปฝากหลวงปู่แสง วัดสามปลื้ม ซึ่งอาเยื้อน กับอาปานเคยอยู่ที่นั้น หลวงปู่แสงรับไว้ไม่ได้ เพราะกุฏิพระเต็ม จึงพาไปฝากท่านพระครูปลัดต้าน ต่อมาท่านได้เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร ชื่อว่าพระครูประสิทธิ์สมณการ (ต้าน เมนะจินดา) ท่านกรุณารับไว้ แล้วให้ลาสิกขาบท เป็นลูกศิษย์วัด แต่ก็ได้เรียนธรรมกับบาลีควบกันไป ผลการเรียนไม่ได้ก้าวหน้านัก เพียงสอบได้นักธรรมชั้นตรี เคยสอบนักธรรมชั้นโทแต่สอบไม่ได้ ต่อมาบวชเป็นสามเณรอีกครั้ง ซึ่งพ่อกับแม่ปรารถนาเช่นนั้น ในระหว่างศึกษาพระธรรมกับบาลีอยู่นั้น ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับทางโลกด้วย โดยหาหนังสือมาอ่าน เรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง และเรียนอื่นๆ ตามชอบ จนอายุครบบวช จึงขอให้พ่อ-แม่บวชให้ที่วัดสามปลื้ม มีท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม (เฮง เขมจารี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ) เป็นพระอุปัชชา ท่านเจ้าคุณคุณาจารวัตร กับท่านพระครูประสิทธิ์สมณการเป็นคู่สวด บวชได้เพียงพรรษาเดียวก็ลาสิกขาบทกลับไปอยู่บ้านที่ทางยาว

16

17

1 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำา ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็นรูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา)2 สติปัฏฐาน 4 อยู่ (เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำาสติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม)

ไปถึงบ้านแม่โกรธมากไม่ยอมให้ไหว้ (ลุกหนีไป) เหตุที่ลาสิกขาบทไม่มีอะไรจูงใจ เมื่อบวชก็ไม่เบื่อในการปฏิบัติธรรม เคยไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับอาจารย์แป๊ะ ที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เชิงสะพานเจริญพาศน์ ฝั่งธนบุรีกับพี่สำารวย สุมาวงศ์ (ต่อมาเป็น พ.ต.อ.สำารวยสุมาวงศ์) ชอบนั่งกรรมฐาน แต่ก็ไม่ทำาต่อไป มาเริ่มศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอีกครั้ง เมื่ออายุตัว 50-60 ปี แต่ทำาให้จิตรสงบได้ชั่วครู่ ระยะสั้นๆ ชอบทางกำาหนดลมหายใจเข้า-ออก แล้วพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เริ่มด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน1 แม้กำาลังเขียนประวัตินี้ก็นึกถึงสติปัฏฐาน 42 อยู่ การบำาเพ็ญบารมีนั้นยากมาก ที่พอทำาได้ตามสมควร ก็มีทาน ขันติ อธิษฐาน เมตตา

18

19

เมื่อลาสิกขาบทแล้ว ไปทำานาและซื้อข้าวอยู่ร่วม 2 ปี จึงมาสอบทำางานที่กรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งขณะนั้น ที่ทำาการอยู่ริมแม่น้ำาเจ้าพระยาเป็นตึกเก่ามาก ฟังมาว่าเป็นสถานกงสุลของประเทศอังกฤษ ตึกใหม่สร้างขึ้นภายหลังหลวงโกวิท อภัยวงศ์ (ท่านด้วง อภัยวงศ์) เป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หลวงสิงหราอิศรศักดิ์ (หม่อมหลวง จำาเนียร สิงหรา) เป็นหัวหน้ากรมสื่อสาร จำาไม่ได้แน่นอนว่าสร้างเสร็จเมื่อใด คาดว่าประมาณปี พ.ศ. 2484 ค่าก่อสร้างไม่ถึง 1 ล้าน พอจำาได้ว่า 7 หรือ 9 แสนบาท เกอร์สัน แอนด์ ซันส์ รับเหมาทำาประตูหน้าต่าง ตบแต่งภายใน (เฟอร์นิเจอร์) ทั้งหมดเป็นเงิน 2 หมื่นบาท ขอเล่าว่า ผิดถูกอย่างไรคงไม่ห่างไกลนัก ขึ้นต้นด้วยวัสดุ ใช้ไม้สักทั้งหมด มีเคาน์เตอร์ ชั้นล่างด้านหน้า เคาน์เตอร์ ชั้นที่ 2 ที่จ่าย, แยกจดหมาย, พัสดุ โต๊ะ-เก้าอี้ สำาหรับไปรษณีย์บุรุษคัดจดหมาย แยกเป็นเขตอีกหลายสิบโต๊ะ โต๊ะ-เก้าอี้เจ้าหน้าที่ทำางานอีกมาก คะเนดูนับเป็นร้อย รวมถึงอุปกรณ์ปิดถุงเมล์ต่างประเทศด้วย ซึ่งอยู่บนตึกชั้นที่ 2 ด้านหลังด้วย อธิบายถึงการปิดถุงเมล์ต่างประเทศ คุณสวัสดิ์ มียศชั้นโท (หนุ่ม) คุณพงศ์ พิศวงบุตร (สูงอายุแล้ว) มียศแค่ชั้นตรี คุณพงศ์ ต้องนับ 1-2-3 ละเอียดมาก เพราะจะส่งไปต่างประเทศตามป้าย การปิดถุงเมล์ต่างประเทศผิดพลาดไม่ได้

20

21

ความรักของพ่อ อยู่มาวันหนึ่งประมาณเดือนมีนาคม 2482 ได้แจวเรือไปซื้อข้าวกับทิดผิว พอแจวไปถึงบ้านพาดหน้าอำาเภอบางไทร พ่อพายเรือตามมาทันพอดี บอกว่ามีหนังสือจากทางราชการให้ไปรายงานตัว (พ่อจะรอถึงเวลาเย็นเมื่อกลับจากซื้อข้าวก็ได้) พออ่านหนังสือกรมไปรษณีย์แล้ว เสร็จจากซื้อข้าวในวันนั้นก็แจวเรือกลับบ้าน รุ่งขึ้นจึงเดินทางไปรายงานตัว เดินทางไปถึงกรุงเทพฯ ก็เวลาบ่ายมากแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงรายงานตัว เลยเวลารายงานตัวไป 2-3 วัน เรียนถามผู้รับเข้าทำาราชการว่า เลยเวลาแล้วจะพิจารณาได้ไหม เขาบอกว่าจะเข้ารับราชการหรือไม่ เลยเวลาไปก็ไม่เป็นไร จึงเข้าทำางาน แต่งตัวธรรมดาไม่ต้องสวมเครื่องแบบ ทดลองทำางานอยู่ 2 เดือนเศษ ได้เบี้ยวันละ 1 สลึง ทำาอยู่ถึงวันที่ 1 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2483 จึงได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ตำาแหน่งไปรษณีย์รับเงินเดือนๆ ละ 20 บาท

22

23

เริ่มการศึกษา เห็นนายตรวจเฉื่อย อายุ 50 เศษ ยังอยู่แค่ชั้นจัตวา คุณโชติ หัวหน้าหน่วยจ่ายธรรมดา แก่มากแล้ว ยังเป็นแค่ชั้นตรี ขุนสาลีหัวหน้าแผนกจ่ายไปรษณีย์กลาง แก่มากแล้ว ได้เพียงชั้นโท จึงตรึกตรองดูว่า ต้องเรียนหนังสือมิเช่นนั้นก็อยู่กับที่ เพื่อนชื่อเติมชัย ปทุมเวียง ทำางานเป็นไปรษณีย์บุรุษเหมือนกัน แต่เขาเรียนกฎหมายที่ธรรมศาสตร์ เราจึงเริ่มเรียนหนังสือในเวลาค่ำา (ศึกษานอกโรงเรียน) เรียนถึงปี พ.ศ. 2484 ก็สอบชั้นมัธยมปีที่ 6 ได้

ปี พ.ศ. 2490 สอบเข้าศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี พ.ศ. 2495 สอบได้ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต (ธ.บ)

24

25

การศึกษาเป็นการยกสถานภาพของคนให้ขึ้นสู่ตำาแหน่งหน้าที่ ชื่อเสียง เมื่อปีพ.ศ. 2504 ขัาพเจ้าได้เลื่อนชั้นและตำาแหน่งเป็นเลขานุการกรมโยธาธิการ ในขณะที่เพื่อนราชการครั้งเริ่มรับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อปี พ.ศ. 2482 ยังคงเป็นข้าราชการชั้นเสมียน และไปรษณีย์บุรุษอยู่อีกหลายท่าน ได้แวะเวียนมาหาข้าพเจ้าที่กรมโยธาอยู่เป็นประจำา ข้าพเจ้าชอบเขียนหนังสือ จึงหาหนังสือดีๆ มาอ่านเพื่อจะได้มีความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น อ่านนิราศต่างๆ วรรณคดี เช่น อิเหนา, ดาหลัง, พระอภัยมณี, ขุนช้างขุนแผน, ทศชาดก, พุทธประวัติ, ประวัติศาสตร์และประวัติบุคคลสำาคัญ สามก๊ก, ไคเพ็ก, เลียดก๊ก, พงศาวดาร, เกร็ดพงศาวดาร ฯลฯ แต่ไม่ชอบอ่านหนังสือประเภทประโลมโลก การอ่านหนังสือมาก ทำาให้เขียนหนังสือราชการได้ดี เป็นที่พอใจของผู้บังคับบัญชา ผู้ที่ต้องการเขียนหนังสือสำานวนดีได้พิจารณานำาไปใช้ เขียนหนังสือสำานวนดีหลายคน เพราะเขาอ่านหนังสือมาก

บัตรข้าราชการ พ.ศ. 2499

26

27

ต่อไปนี้เป็นเรื่องการรับราชการ ฝึกหัดงานอยู่ 2 เดือนเศษ ได้เบี้ยเลี้ยงวันละ 25 สตางค์ ในกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงเศรษฐการ บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

28

29

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 1 มกราคม พ.ศ. 2484 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 1 พฤษภาคม พ.ศ. 24841 มกราคม พ.ศ. 2485 1 เมษายน พ.ศ. 2485 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 1 เมษายน พ.ศ. 2487 1 เมษายน พ.ศ. 2488 15 เมษายน พ.ศ. 2489 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489 1 มกราคม พ.ศ. 2490 1 มกราคม พ.ศ. 2491 13 มกราคม พ.ศ. 2492 1 มกราคม พ.ศ. 2492 1 มกราคม พ.ศ. 24931 กรกฎาคม พ.ศ. 249316 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 18 สิงหาคม พ.ศ. 24951 มกราคม พ.ศ. 249615 เมษายน พ.ศ. 249616 เมษายน พ.ศ. 24961 มกราคม พ.ศ. 2497 1 มกราคม พ.ศ. 2498

ตำาแหน่งไปรษณีย์บุรุษ ชั้นจัตวา อันดับ 1 เงินเดือน 20 บาท กรมไปรษณีย์โทรเลขตำาแหน่งไปรษณีย์บุรุษ ชั้นจัตวา อันดับ 1 เงินเดือน 20 บาท ตำาแหน่งไปรษณีย์บุรุษ ชั้นจัตวา อันดับ 1 ก. เงินเดือน 23 บาท ตำาแหน่งไปรษณีย์บุรุษ ชั้นจัตวา อันดับ 1 ฆ. เงินเดือน 24 บาท ตำาแหน่งไปรษณีย์บุรุษ ชั้นจัตวา อันดับ 2 อาศัยเบิก 24 บาท (เต็มขั้น 25 บาท)ตำาแหน่งไปรษณีย์บุรุษ ชั้นจัตวา อันดับ 2 เงินเดือน 25 บาท โอนไปรับราชการในการไฟฟ้าหลวงกรุงเทพ กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ตำาแหน่งเสมียน แผนกอำานวยการ ชั้นจัตวา อันดับ 4 รับเงินเดือน 34 บาทเสมียนแผนกสารบรรณ สำานักงานเลขานุการกรม กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยเสมียนแผนกสารบรรณ สำานักงานเลขานุการกรม กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย รับเงินเดือนอันดับ8 38 บาทประจำาแผนก แผนกสาธารณูปโภค สำานักเลขานุการกรม กรมโยธาธิการ รับเงินเดือนชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 80 บาทประจำาแผนก แผนกสารบรรณ สำานักเลขานุการกรม รับเงินเดือน ชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 80 บาทประจำาแผนก แผนกสาธารณูปโภค สำานักเลขานุการกรม ชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 80 บาทประจำาแผนก แผนกสาธารณูปโภค สำานักเลขานุการกรม ชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 90 บาทประจำาแผนก แผนกสารบรรณ สำานักงานเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล ชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 90 บาทประจำาแผนก แผนกสารบรรณ สำานักงานเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล ชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 100 บาทชั้นตรี อันดับ 1 เงินเดือน 110 บาทชั้นตรี อันดับ 2 เงินเดือน 130 บาทชั้นตรี รักษาการในตำาแหน่งหัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ สำานักงานเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือนอันดับ 2 130 บาทชั้นตรี ตำาแหน่งหัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ สำานักงานเลขานุการกรมชั้นตรี อันดับ 2 ตำาแหน่งหัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ รับเงินเดือน 150 บาทชั้นตรี อันดับ 3 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 160 บาทชั้นโท อันดับ 1 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 160 บาทชั้นโท อันดับ 1 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 170 บาทชั้นโท อันดับ 1 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 190 บาท

1 มกราคม พ.ศ. 2499 ชั้นโท อันดับ 2 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 200 บาท1 มกราคม พ.ศ. 2500 ชั้นโท อันดับ 2 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 220 บาท1 มกราคม พ.ศ. 2501 ชั้นโท อันดับ 2 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 240 บาท1 มกราคม พ.ศ. 2502 ชั้นโท อันดับ 3 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 280 บาท1 มกราคม พ.ศ. 2503 ชั้นโท อันดับ 3 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ เงินเดือน 2,350 บาท1 มกราคม พ.ศ. 2504 ชั้นโท อันดับ 3 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิตและหัวหน้าแผนกสารบรรณ (อีกตำาแหน่งหนึ่ง) เงินเดือน 2,350 บาท1 มกราคม พ.ศ. 2504 ชั้นโท อันดับ 3 หัวหน้าแผนกประวัติและสถิติ และหัวหน้าแผนกสารบรรณ (อีกตำาแหน่งหนึ่ง) เงินเดือน 2,650 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ชั้นเอก อันดับ 2 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 2,650 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ชั้นเอก อันดับ 2 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 3,000 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 ชั้นเอก อันดับ 2 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 3,600 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ชั้นเอก อันดับ 2 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 3,800 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ชั้นเอก อันดับ 2 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 4,000 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ชั้นเอก อันดับ 2 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 4,300 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 4,400 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 4,800 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 5,000 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 5,240 บาท (ปรับเงินเดือนตามประกาศคณะปฎิวัติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515)1 มกราคม พ.ศ. 2517 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 6,505 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 6,875 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 7,260 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ชั้นเอก อันดับ 3 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 7,660 บาท30 กันยายน พ.ศ.2521 ดำารงตำาแหน่งเลขานุการกรม กรมโยธาเทศบาล เงินเดือน 8,960 บาท1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 พักราชการเนื่องจากเกษียณอายุ

(ประกาศกรมโยธาธิการ 15 กันยายน พ.ศ. 2521)

30

31

เครื่องราชอิสริยาภรณ์5 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ตริตาภรณ์ช้างเผือก7 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1

32

33

ประพันธ์โดย นายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆ

“ลาแล้วกรมโยธาที่ข้ารัก”

เห็นโดมน้อย ลอยคว้าง กลางเวหาส

ใจจะขาด หลุดลอย ไปจากร่าง

ทรวงสท้อน อ่อนระรัว ทั่วสรรพางค์

จำาเหินห่าง โยธา น้ำาตานอง

สุดถวิน ถิ่นเคยเนาว์ แต่เก่าก่อน

ใจอาวรณ์ ถึงเพื่อนเก่า แล้วเศร้าหมอง

(ใจอาวรณ์ ถึงเพื่อนรัก จักหม่นหมอง)

แต่หักจิตร ลงได้ ดั่งใจปอง

(จะซบเซา หมองมัว ทั่วทุกกอง)

โอ้น้องน้อง อยู่ดี อย่ามีภัย

ถึงตัวไป ใจอยู่ เป็นคู่คิด

แนบสนิท เคียงคู่ อยู่ใกล้ใกล้

ดั่งทินกร จรจาก ฟากฟ้าไป

อรุโณทัย ไขม่านทอง ส่องนภา

(ถึงวันใหม่ กลับมาเยือน เพื่อนนภา)

หากกายพี่ แบ่งได้ เป็นสองซีก

จะแล่งฉลีก มอบไว ้ กับโยธา

ที่เป็นเศษ (ขอ)คืนเขตร อยุทธยา

โอ้(อ)นิจจา หมดเวลา ขอลาไกล

โธ่ใครหนอ ช่างคิด ประดิษฐ์(ลิขิต)บท

บัญญัติกฏ เรื่องเกษียณ เขียนขึ้นไว้

หกสิบปี มีอัน ต้องเป็นไป

อยู่ไม่ได้ ปลดออก บอกศาลา

34

35

ชีวิตคน วนเวียน เป็นวัฏฏะ

เหมือนธัมมะ พุทธองค์ ทรงเทศนา

เมื่อมีเกิด ต้อง(มี)แก่ เจ็บชรา

ถึงเวลา ไขวิสูตร รูดม่านลง

(โลกนีหนา ไม่จีรัง (อ)นิจจังจริง)

ข้อก้มลา เพื่อนข้า ราชการ

จงประทาน โทษให้ อภัยพี่

ที่ผิดพลั้ง ครั้งอยู่ ในกรมนี้

ด้วยวจี กายใจ ไม่เจตนา

ทำางานไป ด้วยใจ บริสุทธิ์(จริงๆ)

โลกสมมุติ ผิดบ้าง อย่า-กังขา

แม้บัณฑิต ผิดพลั้ง เคยมีมา

อย่าถือสา พี่น้อง ทั้งกองกรม

ม่านละคร ก่อนรูด คนรับบท

มาปรากฏ ครวญคร่ำา น้ำาตาขม(ตม)

ทั้งผู้เล่น ผู้ดู ตรูใจตรม

แสนขื่นขม ทุกทุกองก์ หลงบทไป

ละครของโลก มีโศก และมีสุข

เล่นสนุก เล่นลำาบาก ยากไฉน(กระไร)

คนแสดง คนดู รู้แก่ใจ

เล่นเล่นไป ไม่ชื่น(ขื่นขม) มื่น(ตรม)อุรา

ในที่สุด หยุดเล่น Curtain ปิด

เงียบสนิท จบลง ตรงเวลา

เล่นไม่ดี ขุ่นเคือง เปลืองเงินตรา

ละครลา (แต่)คนเล่น เต้นต่อไป

36

37

38

39

คุณพ่อท่านเป็นคนช่างจำา ช่างเก็บ ช่างจดบันทึก ท่านเก็บภาพถ่ายเอาไว้เยอะมาก ใส่ในกล่องแยกไว้อย่างดี

บางรูปก็ไม่มีใครรู้ว่าที่ไหน บางรูปท่านก็บรรยายไว้ด้านหลังบางรูปก็หาที่มาที่ไปไม่ได้

เราพยามจะเขียนบรรยายใต้ภาพแต่ก็ล้มเหลวเพราะความไม่รู้แต่สุดท้ายเมื่อลองเอารูปมาเรียงกันเรากลับพบว่า ที่จริงแล้วรูปภาพเหล่านั้นเรียงต่อกันเป็นช่วงชีวิตของคุณพ่อ ที่อยากเล่าให้เราฟัง

ส่วนหนึ่งในตู้หนังสือคุณพ่อเวชชภัณฑ์

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

นางทิพพา ศุขสุเมฆประวัติภรรยา

60

61

ประวัติการศึกษาพ.ศ. 2471 เริ่มการศึกษาที่โรงเรียน ศรียานุสรณ์ อำาเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สำาเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พ.ศ. 2480-2481 ศึกษาที่โรงเรียนสวนสุนันทา (กินนอน) สำาเร็จการศึกษามัธยมปีที่ 8พ.ศ. 2482 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง แผนกบัญชี 2 ปี

ประวัติการทำางานพ.ศ. 2484 ตำาแหน่งพนักงาน สำานักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำานักนายกรัฐมนตรีพ.ศ. 2496 ตำาแหน่งเสมียน แผนกบัญชี การไฟฟ้าหลวงกรุงเทพฯ กรมโยธาเทศบาลพ.ศ. 2501 ตำาแหน่งพนักงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2523 เกษียณอายุ ตำาแหน่งผู้อำานวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน การไฟฟ้านครหลวง เขตสามเสน

ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2538 ด้วยอายุ 72 ปี

คุณแม่ทิพพา เกิดที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2462

62

63สมรสเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2492 คุณพ่อปลูกบ้านนี้ให้คุณแม่เป็นของขวัญวันแต่งงาน

64

65

66

67

68

69

ครอบครัว ศุขสุเมฆ

70

71

นายศฤงฆาร

นายคมสัน

นายเสมอใจ

นายปลาณชัย

นางสาวชมพูนุท

นางกรัณฑ์รัตน์

ศุขสุเมฆ

ศุขสุเมฆ

ศุขสุเมฆ

ศุขสุเมฆ

ศุขสุเมฆ

ปรียอซูซีลอ

72

73

นายศฤงฆาร และ นางเบญจวรรณ ศุขสุเมฆ

คุณพ่อสอนลูกไว้มากมายหลายอย่าง ท่านสั่งสอนให้พวกเรามีความซื่อสัตย์ ตระหนี่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และนอบน้อมถ่อมตน คุณพ่อสอนเสมอว่าเราต้องรู้จักลำาบากเสียก่อนแล้วความสบายก็จะตามมา ท่านสอนว่า “ปากเป็นเอกเลขเป็นโท ศักดินาเป็นตรีชั่วดีเป็นตรา” ท่านสอนให้ลูกลูกรู้จักทำาบุญทำาทานอยู่เสมอคุณพ่อพูดบอกเป็นประจำา ลูกก็ยืดถือคำาสอนที่ได้รับและนำามาปฎิบัติใช้เสมอมา

สำาหรับข้าพเจ้าคุณพ่อเป็นผู้ที่มีพระคุณล้นเหลือต่อลูกลูก คุณพ่อดุและเข้มงวดแต่ท่านมีความรักและเมตตาเท่าเทียมกันกับลูกทุกคน ลูกภูมิใจในตัวคุณพ่อมาก ลูกรำาลึกถึงบุญคุณของคุณพ่ออันหาที่สุดมิได้

ศฤงฆาร ศุขสุเมฆ

74

75

นายเมษัณฑ์ ศุขสุเมฆ นางสาวมรกต ศุขสุเมฆ

( หลานชายและหลานสาว )

We have learned many important things from our grandfather. He taught us that the mouth is the most important tool in life. He taught us to respect the less fortunate. He taught us the value of being Thai and the value of our heritage, even as we grew up in America. This was important and our grandfather did it in many ways, like the times when he would take us to see his father’s farm, when he would take us to the many temples around Bangkok and Thailand, and when he would take us to walk around the neighborhood, visiting with all of his friends and our grandmother’s family and friends. Every time we visited Thailand, he would gave us a necklace with a Buddha as a gift, and we loved to show these to our friends back home. Grandfather was very strict with our father, but he was not strict with us. These are all our most loving memories of him. We wish him complete happiness.  We are honored to have had Vejapan Suksumake for our grandfather, we cherish the time we had with him, and we will remember him always.

Mason and Marakot Suksumake

76

77

นายคมสัน ศุขสุเมฆ

เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๖ ประวัติการศึกษาพ.ศ. 2517 สำาเร็จปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพ.ศ.2521 สำาเร็จปริญญาโทการวางแผนและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานชุมชน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย(AIT) พ.ศ.2523 ประกาศนียบัตรวิชาชุมชนและความเป็นเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาคการวางผังเมืองและภูมิ- สถาปัตยกรรม โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กพ.ศ.2530 ประกาศนียบัตรวิชาการวางผังภาคและเมือง มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเมืองเทเช่ซิ่น ประเทศสาธาณรัฐประชาชนโปแลนด์ ประสบการณ์การทำางานพ.ศ.2518 - 2528 สถาปนิกและนักวางแผนการเคหะแห่งชาติพ.ศ.2528 - 2588 อาจารย์ประจำา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพ.ศ.2530 - 2531 รองคณบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพ.ศ.2533 - 2537 กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิคิสติกค์ จำากัด

ผลงานพ.ศ.2526 สถาปนิกออกแบบอาคารโรงพยาบาลเทพธารินทร์พ.ศ.2533 ผู้จัดการโครงการบ้านจัดสรรบ้านแมกไม้พ.ศ.2534 ผู้จัดการโครงการออกแบบหอประชุม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.2537 ในวัย 41 ปี

78

79

นายเสมอใจ และ นางวิไลวรรณ ศุขสุเมฆ

คุณพ่อ สำาหรับผมแล้ว ถ้าจะให้ย้อนรำาลึกถึงความทรงจำาสมัยเด็ก ภาพแรกที่จำาได้ก็จะมีภาพคุณพ่อปรากฏให้เห็นเป็นภาพแรกเสมอ การต้องอยู่โรงพยาบาลตั้งแต่อายุสองขวบ คงจำาหน้าใครไม่ได้มากไปกว่าคุณพ่อ ที่เป็นผู้เอาข้าวมาส่งให้ที่โรงพยาบาล โดยผมจะนั่งคอยท่านอยู่ตรงบันไดตึกทุกเย็น ตอนนั้นราว พ.ศ. 2499 กว่าผมจะออกจากโรงพยาบาลได้ก็ตอนอายุห้าขวบแล้ว ท่านต้องทำาหน้าที่นี้อยู่เกือบ 3 ปี เป็นความรักความผูกพันแรกที่มีท่านมีกับผม และก็มีไปตลอดไม่ว่าเราจะเติบโตขึ้นเป็นเด็ก วัยรุ่นที่มีแต่เรื่อง จนกระทั้งผมมีครอบครัว เมื่อมีครอบครัวแล้ว ผมและภรรยา เราเริ่มทำาธุรกิจโรงเรียน แรกแรกมีอุปสรรคขัดสนอยู่หลายเรื่อง แต่ก็ได้รับการอุปถัมถ์ อนุเคราะห์อย่างดีจากท่าน นั้นคือความเอื้ออาทรและกำาลังใจที่มีให้เราทั้งสองอย่างสม่ำาเสมอตลอดมา กระทั้งเรามีลูก หรือหลานปู่ ท่านก็ยังคอยสอบถามถึงสารทุกข์สุกดิบ จำาวันเกิดหลานได้เสมอ ทำาให้นึกถึงกลอนนี้ที่ท่านชอบที่ว่า

พ่อแม่ก็แก่เฒ่า จำาจากเจ้าไม่อยู่นาน จะพบจะพ้องพาน เพียงเสี้ยววานของคืนวัน

ใจจริงไม่อยากจาก เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน แต่ชีพมิทนทาน ย่อมร้าวรานสลายไป

.

.

.ต้นไม้ที่ใกล้ฝัง มีหรือหวังอยู่ทนได้ วันหนึ่งคงล้มไป ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง

ด้วยความคิดถึงและอาลัยรักเสมอใจ-วิไลวรรณ ศุขสุเมฆ

80

81

นางสาวพร้อมพรรณ นางสาวพลอยพรรณ ศุขสุเมฆ

( หลานสาว )

บูมเกิดวันเดียวกันกับคุณปู่ ทุกวันเกิดเราครอบครัวเลยจะต้องไปไหว้ปู่ถือเป็นการ “สุขสันต์วันเกิด” ด้วยกัน ถึงแม้ว่าปีหน้าจะไม่ได้ฉลองวันเกิดด้วยกันอีกแล้วแต่อย่างน้อยก็ดีใจ ที่ช่วงชีวิตนึง เราเกิดมาทันเจอกันพอดี

ด้วยรักและจดจำา

พลอยพรรณ ศุขสุเมฆ (พริก) พร้อมพรรณ ศุขสุเมฆ (บูม)

82

83

นายปลาณชัย ศุขสุเมฆ

ชีวิตที่แสนจะธรรมดาของพ่อ มีเรื่องราวและความหมาย ที่ติดอยู่ในความทรงจำาของผมตลอดเวลาสิ่งที่พ่อทำาทุกวันอย่างสม่ำาเสมอและต่อเนื่องมาตลอดชีวิต ได้สร้างนิสัยให้ให้ลูกทุกคนไม่มากก็น้อย เรื่องราวต่างๆที่พ่อทำาคงไม่อาจเล่าได้ทั้งหมด แต่มีบางเรื่องบางอย่างที่ไม่น่าจะเก็บไว้คนเดียว จึงอยากจะเล่าสู่กันฟังด้วยความภูมิใจ บ้านของเราเป็นบ้านไม้ที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไร พ่อใช้ความพยายามอย่างหนักเพื่อสร้างบ้านหลังนี้ให้เป็นของขวัญแม่เมื่อตอนแต่งงาน พ่อบอกอยู่เสมอว่าบ้านหลังนี้พ่อปลูกให้แม่ แต่เท่าที่ผมจำาได้บ้านหลังนี้ ไม่ได้เป็นอย่างที่พ่อพูดซะทีเดียว บ้านหลังนี้ไม่ใช่เป็นที่อยู่กันเพียงแค่เรา “พ่อ,แม่, และลูกอีกหกคน” แต่บ้านหลังนี้ ยังเป็นบ้านที่ให้ความรักและเป็นที่พักพิงของญาติพี่น้องอีกหลายชีวิตที่มาเรียนและมาทำางานในกรุงเทพฯ เรียกว่าอยู่กันเป็นรุ่นๆก็คงไม่ผิดนัก ห้องทุกห้องที่มีถูกใช้กันแทบทุกตารางนิ้ว ราวตากผ้ายาวเหยีดตั้งแต่หน้าบ้านยันหลังบ้าน ข้าวซื้อกันเป็นกระสอบ ห้องน้ำาห้องส้วมในช่วงเช้ามันช่างวุ่นวายน่าดู แต่กระนั้นก็ตาม..ผมยืนยันได้ว่าเราทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข และคนที่มีความสุขยิ่งกว่าใครๆคือพ่อกับแม่นั่นเอง การแสดงความรักของพ่อต่อลูกๆ แน่นอนมันย่อมไม่ใช่ด้วยคำาพูดหรือการโอบกอด เพราะพ่อทำาไม่เป็น แต่พ่อก็มีวิธีแสดงความรักในแบบของพ่อ เป็นเรื่องแปลกอยู่เหมือนกัน ที่พี่น้องของเราสี่ในหกคนรวมทั้งผมด้วย มีอันจะต้องเข้าโรงพยาบาลกัน นานๆทุกคน ยิ่งพี่ชายคนก่อนหน้าผมนี่อยู่กันเป็นปี ไม่ว่าลูกคนไหนเจ็บป่วย เข้าโรงพยาบาล สิ่งที่มันติดตรึงใจพวกเราอยู่เสมอคือความรักอันทรหดของพ่อ ไม่ว่าจะเหนื่อยยากแค่ไหน พ่อก็จะมาเยี่ยมลูกได้ทุกวัน มาพร้อมกำาลังใจและปิ่นโตอาหารแสนอร่อยที่แม่ทำามาให้ การเดินทางจากบ้านมาโรงพยาบาลจุฬาฯมันไม่ใช่ใกล้ๆและพวกเราก็ใช่ว่าจะอยู่โรงพยาบาลกันแค่วันสองวัน แต่ละคนอยู่กันคนละเป็นเดือนเป็นปี ถึงอย่างนั้นก็ตามพ่อก็มาเยี่ยมเราได้เป็นเดือนเป็นปีเช่นกัน การแสดงความรักของพ่อมันชัดเจนยิ่งกว่าคำาพูด มันอบอุ่นยิ่งกว่าการโอบกอด นี่คือความรักที่พ่อมอบให้ในแบบของพ่อ และเราก็รักพ่อในแบบที่พ่อเป็น

84

85

ตั้งแต่เล็กจนโตผมเห็นพ่อเดินจากที่ทำางานกลับบ้านทุกวัน บ่อยครั้งพ่อมักจะมีเศษเหล็กและตะปูเก่าๆติดมือกลับมาด้วยเสมอ แรกๆผมคิดแต่เพียงว่าพ่อคงชอบออกกำาลังกายแบบประหยัดและชอบสะสมตะปู แต่เมื่อโตขึ้นผมก็คิดได้ว่า การเดินออกกำาลังกายแบบประหยัดของพ่อนั้นมันเป็นเพียงสิ่งที่พ่อชอบ แต่สิ่งที่พ่อมีความสุขจากการเดินกลับบ้าน คือการที่พ่อได้ช่วยให้รถและคนอีกหลายคนให้รอดพ้นจากเศษเหล็กและตะปูที่อยู่ตามข้างถนน สมัยนี้เค้าคงเรียกกันว่า “จิตอาสา” และเป็นจิตอาสาที่พ่อทำาได้ทุกวัน ในความคิดของพ่อ ผมว่าพ่อทำาเพราะรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ควรทำา ทำาเพราะอยากสะสมความสุขเล็กๆน้อยๆจากการทำาประโยชน์ ให้กับสังคม ถ้าจะนับความสุขของพ่อในเรื่องนี้กันละก็ บอกได้เลยว่าพ่อมีความสุขอยู่หลายถัง พ่อใส่บาตรทุกเช้าตั้งแต่เมื่อไหร่ผมไม่ทราบ แต่ที่แน่ๆคือตั้งแต่ผมจำาความได้ พ่อใส่บาตรจนกระทั่งปีสุดท้าย ก่อนท่านจะเสียเพราะเดินไม่ไหว พ่อจะกวดน้ำาอุทิศส่วนกุศลทุกครั้งหลังใส่บาตร พ่อทำาบุญให้ปู่ย่า-ตายายและบรรพบุรุษทุกๆปีไม่เคยขาด พ่อสร้างตึกให้โรงพยาบาลที่บางไทร สร้างอาคารเรียนให้นักเรียนที่บ้านเกิดของพ่อ มอบอุปกรณ์การแพทย์และทุนการศึกษาให้นักศึกษาแพทย์ มีอย่างอื่นอีกมากที่พ่อทำาเพื่อคนอื่นทั้งที่เรารู้และไม่รู้ พ่อบอกผมเสมอว่า “คนเราต้องมีความกตัญญูและต้องตอบแทนผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะการดูแลพ่อ-แม่,ปู่-ย่า,ตา-ยาย เมื่อพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านจากไปเราก็ควรหมั่นทำาบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้อย่าได้ขาด ส่วนการทำาทานต้องทำาให้เป็นนิสัย เพราะจะทำาให้เราเป็นคนที่มีจิตใจไม่คับแคบ” ผมเข้าใจว่าการทำาบุญทำาทานของพ่อที่ทำามาตลอดทั้งชีวิต คงเกิดจากการตระหนักรู้ว่าการเป็นผู้ให้มีค่าเพียงใด พ่อไม่ต้องการอะไรกลับคืน ไม่อยากได้อะไรตอบแทน นอกจากความรู้สึกดีๆที่เกิดจากการให้ พ่อคงรู้ดีว่าสิ่งที่พ่อทำาเป็นสิ่งที่มีค่าเพียงอย่างเดียวที่สามารถนำาติดตัวไปได้ทั้งชาตินี้และชาติหน้า

นายปลาณชัย ศุขสุเมฆ

86

87

พิณรัตน์ วิพันธ์พงษ์ (ภรรยาปลาณชัย ศุขสุเมฆ)

ครอบครัวเราไปหาคุณปู่-คุณย่าทุกๆวันอาทิตย์ ทำาเช่นนี้มาเนิ่นนานจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา บ่อยครั้งที่เราแบกความทุกข์และปัญหาไปด้วย แม้ปัญหาอาจจะยังคงอยู่บ้างในบางครั้ง แต่ความทุกข์ที่เคยมี จะถูกแทนที่ด้วยกำาลังใจที่ได้รับจากคุณปู่-คุณย่าทุกครั้ง เราพยายามหาของกินที่คุณปู่-คุณย่าชอบไปด้วยเสมอ แต่เรากลับรับรู้ว่า การได้พบเจอลูกหลาน คืออาหารจานโปรดของท่าน คุณปู่มีวิธีสั่งสอนเราอยู่เสมอ แม้จะไม่มากด้วยคำาพูดแต่เป็นการกระทำาที่ทำาให้เราจดจำาใส่ใจไม่มีวันลืม รูปแบบการใช้ชีวิตของคุณปู่คือมรดกอันล้ำาค่าที่ท่านได้มอบให้พวกเราเป็นสมบัติติดตัวไปจนตาย

ด้วยความรักและเคารพ พิณรัตน์ วิพันธ์พงษ์ และนายสรวิชญ์ ศุขสุเมฆ

88

89

ปุญญ์ ศุขสุเมฆ

คุณปู่ครับ นี่คือกลอนที่ปู่ท่องให้เป้งฟังบ่อยๆ ตอนนี้เป้งจะท่องให้คุณปู่ฟังบ้างนะครับ

เกิดเป็นคน ต้องก่น ซึ่งจนยากดูหอยทาก ปากเหิน เดินกันขรมคมก็คม อยู่ในฝัก รักจะคมจะเรียนขม ขมไว้ เหมือนใส้บัว

เมื่อเข้าไพร ใช้พร้า เป็นอาวุธเข้าหานุช เนื้อนิ่ม ต้องยิ้มหัวลาภและยศ มีได้ เพราะใช้ตัวดีและชั่ว อยู่ที่ใจ เป็นนายงาน

อันคนพาล หวานพจน์ เหมือนรสอ้อยโคนอร่อย ไปปลาย จะคลายหวานไม่มีเหยื่อ ไหนปลา จะมาพาลระวังหวาน หวานเป็นลม ขมเป็นยา

ปิ้งปลาหมอ งอแล้วกลับ นี้คำาขำาเจ็บแล้วจำา ใส่กะบาล นี้ขานไขผิดแล้วแก้ กลับตัว เปลี่ยนหัวใจจะหาใคร มาวอน ไม่สอนตน

“เป้ง” รักปู่ครับ

90

91

พงศ์วสุ ศุขสุเมฆ

ตั่งแต่เล็กจนโตผมสังเกตว่าคุณปู่จะปฎิบัติต่อลูกหลานแต่ละคนต่างกันออกไป อย่างเช่นเรื่องที่ปู่พูดคุยกับพี่ชายผมที่จบกฏหมาย ท่านก็มักคุยกันในภาษากฏหมายที่ท่านรู้ ในกรณีของผม ท่านจะเป็นห่วงเรื่องการเรียน ของผมเป็นพิเศษ และเนื่องจากผมได้ไปเรียนที่ญี่ปุ่นมา พอจะรู้ภาษาญี่ปุ่นอยู่บ้าง ท่านก็จะพูดกับผมด้วยภาษาญี่ปุ่นที่ท่านพยายามค้นหามาไว้พูดคุยกับผม หรือไม่ก็ถามความหมายหรือคำาแปลที่ท่านอยากรู้อยู่เสมอๆ หลังจากที่คุณปู่จากพวกเราไปแล้ว ผมมานั่งคิดดูก็เข้าใจได้ว่า ท่านคงใช้ความพยายามมากมายพอควรที่จะปรับตัวของท่านเองเข้าหาลูกหลาน ท่านไม่ได้เอาตัวท่านเองเป็นศูนย์กลาง แต่เอาคนที่ท่านรักเป็นที่ตั้ง หากมองดูเผินๆก็จะไม่น่ามีความสำาคัญอะไร แต่สำาหรับผมคุณปู่คือครูของลูกหลาน ที่สอนพวกเราด้วยความรักและความเข้าใจ

ด้วยวามรักและเคารพอย่างที่สุดครับพงศ์วสุ ศุขสุเมฆ (เปา)

92

93

สรวิชญ์ ศุขสุเมฆ ความผูกพัน

94

95

แด่ คุณพ่อ

ถ้าให้นึกถึงคุณพ่อ นุทก็จะนึกถึงตอนที่นุทป่วยในวัยเด็กและพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไม่ว่าจะนึกสักกี่ครั้งภาพคุณพ่อก็ยังกระจ่างใสอยู่ในความทรงจำาของนุทเสมอมา เป็นภาพของคุณพ่อที่แสดงความห่วงใย และการเฝ้าดูแลตลอดระยะเวลาที่รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ถึงแม้คุณพ่อจะไม่พูดอะไรมากนัก แต่ยามที่คุณพ่ออุ้มนุท นุทก็สามารถรับรู้ได้ถึงความรักและความห่วงใยที่คุณพ่อมีให้ตลอด ตอนเด็กๆ คุณพ่อชอบท่องกลอน และคำาคมต่างๆ ให้ฟัง คำากลอนที่คุณพ่อจะท่องอยู่บ่อยๆ ก็คือ ตอนที่ว่า ...เมื่อล้มกลิ้งใครหนอวิ่งเข้ามาช่วย และปลอบด้วยนิทานกล่อมขวัญให้ หรือจูบที่เจ็บชมัดปัดเป่าไป... แล้วคุณพ่อจะถามว่ารู้ไหม ผู้นั้นคือใคร เวลาคุณพ่อท่องกลอนบทนี้ แล้วจะทำาท่าทางประกอบด้วย ทำาเหมือนเป็นเรื่องตลกที่คุณพ่อหยอกล้อฉันเล่นให้ขำา ซึ่งตอนนั้นยังเด็กไม่เข้าใจความหมายมากนัก เมื่อมาถึงตอนนี้แล้วกลอนที่คุณพ่อท่องให้ฟังนั้นบอกความรู้สึกถึงความรักที่พ่อหรือแม่มีต่อลูก ซึ่งยังน้อยไปด้วยซ้ำากับความรักแท้จริงที่ลูกได้รับ ถึงแม้นุทได้มีโอกาสดูแลคุณพ่ออยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงสองปีสุดท้ายของชีวิตคุณพ่อ นุทดูแลคุณพ่ออย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตของนุทด้วย ที่ได้ตอบแทนบุญคุณด้วยการดูแลคุณพ่ออย่างเต็มกำาลังความสามารถ ถึงแม้จะดูแลอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ในใจของนุทก็รู้ได้ว่าสิ่งที่ทำาให้คุณพ่อนั้นไม่สามารถเทียบเท่ากับที่คุณพ่อดูแลนุทตอนเด็กได้เลย แม้ว่านุทจะรักคุณพ่อเพียงใด ก็เปรียบไม่ได้เลยกับที่คุณพ่อรักนุทและลูกทุกคน ความรักของคุณพ่อนั้นยิ่งใหญ่กว่าสิ่งใดในโลกนี้ ไม่สามารถสรรหาคำาบรรยายใดๆ มากล่าวถึงพระคุณพ่อได้ครบถ้วน แต่ความรักอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อยังคงอยู่ในใจของนุทเสมอตลอดไป

คิดถึงคุณพ่อชมพูนุท ศุขสุเมฆชมพูนุท ศุขสุเมฆ - สุวัฒน์ เลิศดำารงเกียรติ

96

97

แซมมอบให้คุณตาสิรัสิ์ดา เลิศดำารงเกียรติ

98

99

คานันตอ ปรียอซูซีลอ

เอนด้า อลีนา ปรียอซูซีลออธิษธา บากุ๊ส ปรียอซูซีลอ

กรัณฑ์รัตน์ ปรียอซูซีลอ

เมื่อตอนเด็ก เราไม่รู้ว่าคุณพ่อคุณแม่ รักเราแค่ไหนเมื่อโตขึ้น เราไม่ได้ทำาให้ท่านชื่นใจ สักเท่าไหร่เมื่อเติบใหญ่ เราไม่รู้จักตอบแทนพระคุณ ท่านอย่างไรแต่ตอนนี้ รู้แล้วว่าคุณพ่อคุณแม่ รักลูกมากกว่าใคร รู้ว่าถ้าลูกเชื่อฟัง ท่านคงจะชื่นใจ รู้ว่ามีลูกๆอยู่ใกล้ๆเท่านี้ ท่านก็เป็นสุขใจ ขอขอบคุณคุณพ่อ ที่สอนลูกทุกคนให้เข้มแข็ง อดทน ซื่อสัตย์ ประหยัดรู้จักคิด รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ว่าสิ่งเหล่านี้สำาคัญเพียงไร

คิดถึงคุณพ่อมากกรัณฑ์รัตน์ ปรียอซูซีลอ

อธิษธา บากุ๊ส ปรียอซูซีลอ

พิธีสวดพระอภิธรรม

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

“Memories are what warm you up from the inside. But they’re also what tear you apart.”

思い出はあなたの身体を内側から温めてくれます。でもそれと同時にあなたの身体を内側から激しく切り裂いていきます。

-Haruki Murakami-

เรียงเรียงและออกแบบโดยครอบครัวศุขสุเมฆ ภาพประกอบ นายเวชชภัณฑ์ ศุขสุเมฆ

พิมพ์คร้ังแรก พฤศจิการยน 2555 ได้รับอนุญาตจัดพิมพ์ โดยครอบครัว ศุขสุเมฆ จัดพิมพ์โดย

ขอขอบคุณ

นายศฤงฆาร ศุขสุเมฆ

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ

นายปลาณชัย ศุขสุเมฆ

นางสาวชมพูนุท ศุขสุเมฆ

นางกรัณฑ์รัตน์ ปรียอซูซีลอ

นายคานันตอ ปรียอซูซีลอ