healing environment...healing environment โกศล จ งเสถ ยรทร พย...

102

Upload: others

Post on 22-Oct-2020

6 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • Healing Environmentการออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยาl โกศล จึงเสถียรทรัพย์

    การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเยียวยาHealing Environment Developmentl โกเมธ นาควรรณกิจ

    HealingEnvironment

    อ�านวยการผลิตโดย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน)

  • HealingEnvironment โกศล จึงเสถียรทรัพย์โกเมธ นาควรรณกิจ

    จัดพิมพ์โดย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ชั้น 2 อาคารกรมการแพทย์ 6 กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0 2589 0023-4 ,0 2951 0238 www.ha.or.th

    สนับสนุนการจัดพิมพ์โดยส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)979 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 34 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2298 0500 โทรสาร 0 2298 0501 www.thaihealth.or.th

    ออกแบบโดย ปรัชญา ภิรมย์รัตน์

  • สารบาญ

    การออกแบบสภาพแวดล้อมของสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา

    เกริ่นน�า 11

    ความหมาย 14

    การจัดการสภาพแวดล้อม 18

    • สภาพแวดล้อมทางกายภาพ Physical Environment 18

    แสง - Environmental Light 18

    สี - Color in The Environment 25

    ภูมิทัศน์ - Environmental Landscape 31

    เสียง - Environmental Noise 33

    คุณภาพของอากาศ - Air Quality 37

    • สภาพแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) 43

    แรงสนับสนุนทางด้านสังคม (Social Support) 44

    สภาพแวดล้อมที่สัมผัสได้ด้วยใจ : ธรรมารมณ์ 50

    การประยุกต์ไปใช้ในการออกแบบสถานพยาบาล 52

    ความหมายที่มีต่อผู้เข้ารับบริการในสถานพยาบาล 54

    ผลกระทบของการจัดสภาพแวดล้อมที่มีต่อผู้ใช้สอย 55

    ความเครียด : ศัตรูของการเยียวยา 56

    แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมให้ลดความเครียด 57

  • หลักการออกแบบ 59

    การออกแบบทางสถาปัตยกรรม 60

    การจัดสวน: ภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อการเยียวยา 61

    ปัญหาของการจัดสภาพแวดล้อมในสถานพยาบาล 64

    แรงผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลง 65

    • การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 71

    • แนวโน้มทิศทางของการออกแบบก่อสร้าง

    หรือปรับปรุงโรงพยาบาลในอนาคต 72

    • มิติของการเปลี่ยนแปลง 76

    • การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา 78

    • บรรยากาศเยียวยาในที่ท�างาน 81

    • บรรยากาศเยียวยาในบ้าน 83

    • บทสรุป 85

    การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเยียวยา

    (Healing Environment Development) 91

    ประเภทของสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล 92

    เป้าหมายของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล 95

    มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม 97

    • บทสรุป 100

  • โรงพยาบาลมิได้เป็นเพียงโรงเรือนที่วางเตียงให้ผู้ป่วยนอน มีเครื่องมือแพทย์ ยา และผู้ให้การดูแลเท่านั้น การเยียวยาให้คลายจากความเจ็บป่วยมิได้เป็นเรื่องของเทคโนโลยเีพยีงอย่างเดยีว โรงพยาบาลทีส่ามารถให้การดแูลผูป่้วยได้ผล มใิช่เป็นเพยีงจดัหาอปุกรณ์ทีจ่�าเป็นใส่เข้าไปเท่านัน้ แต่ต้องค�านงึถงึการรบัรูข้องผูป่้วย และปฏกิริยิาของร่างกายทีม่ต่ีอการรบัรู้เหล่านั้น ฟังดเูหมอืนเป็นเรือ่งง่ายทีส่ามารถใช้สามญัส�านกึและความใส่ใจในรายละเอียดได้ แต่ความรู้และวิทยาการต่างๆ ก็มีความจ�าเป็น เป็นความรู้และวิทยาการในลักษณะสหสาขาอย่างคาดไม่ถงึ ทีจ่ะน�ามาใช้เพือ่ให้เกดิสิง่แวดล้อมทีป่ลอดภยั ส่งเสรมิการเรยีนรู้ และมีผลต่อการเยียวยา ท่านผู้เรียบเรียงบทความในหนังสือเล่มนี้ทั้งสองท่าน แม้จะมาจากคนละสาขาอาชีพ แต่ก็ได้ร่วมกันสร้างคุณค่าให้แก่ระบบบริการสุขภาพ โดยอาศัยมุมมองและประสบการณ์ตรงจากการเข้าเยี่ยมโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ เรียนรู้และให้ค�าแนะน�าแก่ โรงพยาบาลควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลที่มีประโยชน์แล้วน�ามา เผื่อแผ่ การลงทุนสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วย ลงทุนครั้งเดียวแล้วสามารถใช้ได้นาน บางเรือ่งไม่ต้องใช้ทรพัยากรมาก เพยีงเปิดใจรบัรู้และใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็ก่อให้เกิดผลลัพธ์สุขภาพที่ดีได้

  • การร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา นอกจากจะให้ผลดต่ีอผูป่้วยแล้ว ยงัส่งผลดต่ีอทมีผูป้ฏบิตังิานถงึสองชัน้ ชัน้แรกคือการได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมของการท�างานที่ดี ปลอดภัยและผ่อนคลาย ผ่านไปทีไรก็รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมของทีมงาน ชั้นที่สองคืออาการของผู้ป่วยที่ดีขึ้น เป็นการบรรเทาภาระงานของผู้ให้บริการ ขณะเดียวกันก็เกิดปิติที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย มาร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้สามารถสัมผัสได้ถงึความอบอุน่ ความเป็นมติร ความมชีวีติชวีา ของสถานทีท่ีเ่ราให้การดูแลผู้ป่วยกันเถอะครับ

    อนุวัฒน์ ศุภชุติกุลสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

    26 พฤศจิกายน 2553

  • เมื่อสัก 2-3 ปีที่ผ่านมา ในการประชุมวิชาการประจ�าปี ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ดฉินัได้มโีอกาสรบัฟังการบรรยายเรือ่ง สิง่แวดล้อมเพือ่การเยยีวยา ซึ่งบรรยายโดย นพ. ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ การบรรยายในวนันัน้สร้างแรงบนัดาลใจอย่างมาก ส�าหรบัตวัดฉินัเองซึง่รบัผดิชอบหน้าทีใ่นการส่งเสรมิกระบวนการพฒันาคณุภาพของสถานพยาบาล และคดิว่าสกัวนัหนึง่ แนวคดิทีด่เีช่นนี ้คงสามารถน�ามาสูก่ารปฏบิตัิได้จริง และเมื่อสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้รบัการสนบัสนนุจาก สสส. ในการด�าเนนิโครงการ “การสร้างเสรมิสขุภาพผ่านกระบวนการคณุภาพ เพือ่การเปลีย่นแปลงที่ยั่งยืน” หรือ SHA ที่เรารู้จักกันนั้น ดิฉันจึงได้น�าแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ของโครงการ โดยได้รบัการสนบัสนนุทางวชิาการอย่างดียิ่ง จาก นพ. ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ไม่เพียงเท่านั้น สรพ. ยังได้ผู้ช�านาญด้านการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับมิติจิตใจและการเยียวยา เข้ามาร่วมในทีมงาน ซึง่กท็�าให้แนวคดินีม้คีวามเป็นจรงิ และเป็นรปูธรรมมากยิง่ขึน้ อาจารย์โกศล จงึเสถยีรทรพัย์ ได้เขยีนหนงัสอืเล่มนีจ้ากความรูแ้ละประสบการณ์ ในการเยี่ยมโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ดังนั้นจึงเป็นบทความทางวชิาการ ทีอ่ยูบ่นฐานของความเป็นจรงิ สามารถปฏิบัติได้

  • ดิฉันต้องขอขอบคุณ นพ. ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ริเริ่มสร้างแรงบันดาลใจ ขอขอบคุณอาจารย์โกศล จึงเสถียรทรัพย์ ที่มาช่วยเติมเต็ม และเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่ดี และขอขอบคุณโรงพยาบาลทุกแห่ง ที่ช่วยสร้างสรรค์สิ่งที่ดีดสี�าหรบัผูท้�างานให้มคีวามสขุ ส�าหรบัผูป่้วยและครอบครวั และต่อสังคมโดยรวม

    ดวงสมร บุญผดุงรองผู้อ�านวยการด้านส่งเสริมการพัฒนา

    ผู้จัดการโครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

  • HealingEnvironmentการออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา

    l โกศล จึงเสถียรทรัพย์

  • เกริ่นน�า

    ตั้งสติทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดปีที่ผ่านมากับงานที่แปลกออกไปจากวชิาชพีสถาปนกิทัว่ไป ทีท่�าหน้าทีอ่อกแบบอาคาร ให้ค�าปรกึษาเจ้าของโครงการตลอดจนควบคุมดูแลผู้รับเหมา วันนี้ เมื่อบอกกับผู้คนว่าท�างานกับ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ก็มักจะได้เห็นสีหน้างง ๆ บนใบหน้าของแทบทุกคนที่ได้รับค�าตอบ จนท�าให้ต้องอธิบายกนัยกใหญ่ว่า ระบบคณุภาพในสถานพยาบาลในปัจจบุนัได้ก้าวมายคุทีเ่น้นถงึการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทีเ่อือ้ต่อการเยยีวยา (Healing Environment) เพือ่ให้ระบบบรกิารสขุภาพทัง้ระบบได้อยูภ่ายใต้แนวคดิสขุภาวะก�าเนดิ หรอืที่เรียกกันว่า Salutogenesis Healing Environment เป็นแนวคิดส�าคัญแนวคิดหนึ่งในโครงการสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน (Sustainable Healthcare & Health Promotion by Appreciation & Accreditation) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า SHA ที่เข้ามาประกอบการเสริมพลังให้ระบบงานคุณภาพของสถานพยาบาลมีความเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน ทุกวันนี้ เรื่อง Healing Environment ได้ถูกน�ามาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบสถานพยาบาล โดยมีความหมายที่สื่อถึงการจัดหรือการออกแบบสภาพแวดล้อมของสถานพยาบาลที่เอื้อต่อการเยียวยา เอกสารงานวิจัยค้นคว้าต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและคุณประโยชน์ของการจดัสภาพแวดล้อมในสถานพยาบาลทีเ่อือ้ต่อการเยยีวยาอย่างชดัเจน จงึเป็น

  • 1 http://www.jainmalkin.com, http://www.healthdesign.org/aboutus/directors/jmalkin.php

    ประเด็นส�าคัญที่สถานพยาบาลในทุกระดับจะต้องให้ความสนใจ ผลงานจากเอกสารค้นคว้าวจิยัส่วนใหญ่แสดงให้เหน็ว่า สถานพยาบาลที่มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสมแล้วสามารถลดความเครียด และบรรเทาผลกระทบข้างเคียงที่เกิดจากความเครียดได้ด้วย นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมการท�างานทีด่ยีงัสามารถช่วยลดอตัราการเกดิความผดิพลาดทางการแพทย์และลดการติดเชื้อในสถานพยาบาล ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างขวัญ-ก�าลังใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการท�างานของเจ้าหน้าที่ด้วย ดังที่ Jain Malkin สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบสถานพยาบาลเคยกล่าวไว้ว่า “คุณภาพของสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเร่งหรือหน่วงเหนี่ยวการเยียวยาได้อย่างไม่ต้องสงสัย” - “there is no doubt that the quality of the environment can enhance or retard healing”.1

    HealingEnvironment12

  • ความสนใจในเรื่องของการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาก�าลังเป็นกระแสนิยมที่เริ่มแพร่เข้ามาในจังหวะที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะในปัจจบุนันอกจากจะเป็นช่วงเวลาทีจ่ะต้องมีการซ่อมบ�ารงุอาคารเก่าที่มีอยู่มากมาย การขยายตัวของระบบบริการยังท�าให้มีความต้องการอาคารส�าหรับงานบริการสาธารณสุขเป็นอย่างมาก

    13HealingEnvironment

  • ความหมาย

    หากจะหาค�าตอบว่าอะไรคือลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อ การเยียวยา คงจะหาค�าตอบแบบส�าเร็จรูปได้ยาก เพราะสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยานั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางกายภาพแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่บริบททางสังคมวัฒนธรรมและปัจจัยทางจิตใจก็มีผลต่อการเยียวยาผู้ป่วยอย่างมีนัยส�าคัญ ซึ่งจะได้อธิบายแจกแจงรายละเอียดในบทต่อไป แต่ก่อนที่เราจะไปถึงรายละเอียดเหล่านั้น อยากจะขอให้ท�าความเข้าใจค�าศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ การเยยีวยา (Healing) มาจากค�าว่า haelen ในภาษาแองโกรแซกซอนมีรากศัพท์ร่วมกันกับค�าว่า health และค�าว่า Whole ค�าว่า Healing หรือการเยียวยาจึงหมายถึงการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม โดยการสร้าง ความกลมกลืนของกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งแตกต่างจากค�าว่า การบ�าบัด (Therapy) อันเป็นค�าในภาษากรีก θεραπεία ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับค�าว่า การรักษา (Curing) หมายถึงความพยายามในการแก้ไข (Remediation) ปัญหาสุขภาพตามการวินิจฉัย (Diagnosis) ดังนั้น การเยยีวยาจงึมมีติทิีล่กึซึง้กว่าการบ�าบดัรกัษา และผลของการเยยีวยาจงึไม่ได้อยู่ทีก่ารแก้ไขซ่อมแซมส่วนทีเ่สยีหายเท่านัน้ แต่ยงัหมายถงึการปรบัสมดลุย์ของทัง้ระบบให้กลมกลนืผสมผสานกนั ผลทีเ่หน็ได้ชดัคอืการลดความเครยีดและผ่อนคลายความวิตกกังวลของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ส่วนค�าว่า สภาพแวดล้อม (Environment) ตามความหมายใน

    HealingEnvironment14

  • พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 และในพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้ค�านิยามของสิ่งแวดล้อมตรงกันคือ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ท�าขึ้น สิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นลักษณะตามการเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ 1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดตามธรรมชาติ (Natural Environments) หมายถงึ สิง่แวดล้อมทีเ่กดิขึน้เองโดยธรรมชาต ิเช่น ดนิ น�า้ อากาศ จลุนิทรย์ี พืช และสัตว์ เป็นต้น 2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-made Environments) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อุปกรณ์อ�านวยความสะดวกต่าง ๆ เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ความหมายโดยรวมของสิ่งแวดล้อมจึงหมายถึง องค์ประกอบที่เป็นบรรยากาศแวดล้อม ซึ่งจะจ�าแนกออกเป็นสามส่วนคือ • สภาพแวดล้อมที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู-ได้ยิน ตา-เห็น จมูก-ได้กลิ่น ลิ้น-รับรสชาติ กาย-สัมผัส • สภาพแวดล้อมที่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึกทางใจ-ธรรมารมณ์ และ • สภาพแวดล้อมที่เป็นมนุษย์-บุคคล จะเห็นได้ว่าการจัดสภาพแวดล้อมในสถานพยาบาลที่เอื้อต่อการเยียวยานั้น ไม่ใช่เพียงแค่การท�าตึกให้สวย ตกแต่งสถานที่ และสวนให้สวยกจ็ะสร้างสิง่แวดล้อมเพือ่การเยยีวยาได้ แต่ยงัมมีติขิองความสมัพนัธ์ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน ที่แสดงออกและกระท�าต่อกันทั้งทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ ซึ่งมีความส�าคัญไม่น้อยไปกว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ถงึแม้ว่าเราได้จ�าแนกประเภทของสภาพแวดล้อมออกเป็น 3 ส่วนดงัที่กล่าวมาแล้ว แต่เมื่อสรุปรวบยอดแล้ว ผลของสภาพแวดล้อมทั้งหมดที่มีต่อการเยยีวยากต็ดัสนิทีค่วามรูส้กึทางใจทัง้สิน้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทีเ่กดิ

    15HealingEnvironment

  • จากประสาทสัมผัสหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นมนุษย์ก็ตาม ซึ่งค�าว่า “ผัสสะ” น่าจะเป็นศัพท์ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เพราะประสบการณ์เชิงผัสสะนั้นสามารถครอบคลุมมากกว่าค�าว่าประสาทสัมผัสที่วิชาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้จ�ากัดไว้แค่เพียง 5 ประการคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ในทางพระพุทธศาสนานั้น ผัสสะสัมพันธ์กับค�าว่า “อายตนะ2” คือ อายตนะทั้ง 6 อันมี “ใจ” เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นจากวิทยาศาสตร์ ผัสสะ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง สัมผัส การกระทบ การถูกต้องทีก่่อให้เกดิความรูส้กึ ผสัสะเป็นการประจวบกนัแห่งสามสิง่ คอื อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) และวิญญาณ3 อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ผัสสะหรือสัมผัส ทางพระพุทธศาสนามี 6 อย่าง คือ 1. จกัขสุมัผสั หมายถงึ ความกระทบทางตา คอื ตา+รปู+จกัขวุญิญาณ 2. โสตสมัผสั หมายถงึ ความกระทบทางห ูคอื ห+ูเสยีง+โสตวญิญาณ 3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น +ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส +ชิวหาวิญญาณ 5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ 6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ การที่มนุษย์เรามีความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ ว่าดีหรือไม่ดีนั้น เป็นเพราะเกิดกระบวนการเปรียบเทียบสิ่งที่รับรู้กับชุดข้อมูลเก่าที่เคยมีอยู่ในระบบ

    2 อายตนะ 6 (สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้, แดนต่อหรือแดนเกิดแห่งความรู้ — sense-fields; sense-spheres)3 http://th.wikipedia.org/wiki/ผัสสะ

    HealingEnvironment16

  • ความจ�าทีภ่าษาพระเรยีกว่า “สญัญา” ซึง่หมายถงึการจ�าได้หมายรู ้ก่อนทีต่าจะไปกระทบกับรูป คนเราโดยทั่วไปจะมีข้อมูลชุดหนึ่งที่บันทึกเอาไว้ในจิตใจหรือในสมองของเราอยู่ก่อนแล้ว เมื่อตากระทบรูป ก็ส่งสัญญาณไปเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลเดิม แล้วประมวลผลออกมาเป็นความรู้สึกทีดี ไม่ดี หรือว่าเฉย ๆ ซึ่งก็จะมีชุดข้อมูลในทุก ๆ ช่องทางของการรับรู้ทั้ง 6 ช่องทาง ผลที่ประมวลออกมาได้ ภาษาพระก็เรียกว่า “เวทนา” ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ พูดง่าย ๆ คือ เฉย ๆ นั่นเอง ในคติแบบพุทธ เป้าหมายสูงสุดของการฝึกฝนจิตได้ดีก็คือ ผัสสะจะต้องไม่เกิดผลกระทบต่ออารมณ์ของเราได้ คือฝึกให้เกิดความรู้สึกเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้ายกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ แต่ในสภาวะของผูเ้ข้าใช้บรกิารสถานพยาบาลส่วนใหญ่กค็งจะไม่สามารถวางเฉยกบัผสัสะการรบัรูต่้าง ๆ ได้ ดงันัน้ เมือ่ตากระทบรปูทีเ่หน็กเ็กดิการปรงุแต่งในอารมณ์ ขึน้มา เกดิความรูส้กึทีด่หีรอืไม่ดกีบัสิง่ทีเ่หน็ และไม่สามารถก้าวข้ามไปสูก่ารวางเฉยอย่างรูเ้ท่าทนัได้ ท�าให้เกดิเวทนา (เวทนา หมายถงึ การเสวยอารมณ์ หรือเสพรับรู้ในรสชาติของทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยดังข้างต้นที่มากระทบผัสสะกันนั่นเอง) ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งก็จะมีความเครียด ความหงุดหงิด และความกังวลเป็นอารมณ์ ส่งผลต่อระบบสุขภาพของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น อัตราการหายใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ฯลฯ การออกแบบสภาพแวดล้อมทีเ่อือ้ต่อการเยยีวยา จงึเป็นการจดัสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อมนุษย์ในทางบวก กล่าวคือ สภาพแวดล้อมที่เกิดความผ่อนคลายความเครียด เพิ่มสุขภาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดอัตราการหายใจ ลดความดันโลหิต ฯลฯ สรุปรวมเป็นภาษาพระอีกทีว่า เป็นการสร้างสุขเวทนาให้แก่มนุษย์ในระบบบริการสุขภาพนั่นเอง

    17HealingEnvironment

  • การจัดการสภาพแวดล้อม

    หากจะจ�าแนกสภาพแวดล้อมให้สามารถน�าไปประยุกต์ใช้ในเชิงการจัดการ เราอาจแจกแจงได้ดังนี้

    สภาพแวดล้อมทางกายภาพPhysical Environment เป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบกายเรา บางทีเราก็สังเกตเห็นได้ บางทีเรากไ็ม่ทนัได้สงัเกตมนั แต่สิง่ทีป่รากฏรอบกายเราทัง้หมดล้วนมผีลต่อสภาวะจิตใจทั้งสิ้น เช่น

    แสง - Environmental Light สมัยก่อน มนุษย์เราได้อาศัยแสงสว่างที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ คือ แสงสว่างจากดวงอาทติย์ ต่อมากม็กีารจดุไฟขึน้เพือ่ใช้ทัง้ความร้อนและแสงสว่างของมัน จนกระทั่งถึงยุคที่ ทอมัส อัลวา เอดิสัน ได้คิดค้นหลอดไฟฟ้าจนกลายเป็นแสงประดิษฐ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ ท�าให้แสงสว่างมีความจ�าเป็นในการด�ารงชีวิตทั้งกลางวันและกลางคืน แสงสว่างถือเป็นปัจจัยส�าคัญอีกอย่างหนึ่งในการด�าเนินชีวิตประจ�าวัน ระบบแสงสว่างที่ดี ต้องให้แสงที่เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรมที่ท�า ในพื้นที่ทั่วไปของสถานพยาบาลควรมีแสงสว่างที่สม�่าเสมอ ไม่สว่างจ้าและไม่มืดเกินไป ในพื้นที่ที่ต้องการความสงบอาจจัดให้มีแสงเท่าที่จ�าเป็น

    HealingEnvironment18

  • ส่วนในทีท่ีอ่าจเกดิอนัตราย เช่นบนัไดหรอืทางเดนิข้ามถนนในอาคารจอดรถ ก็ควรจัดให้มีแสงที่สว่างอย่างเพียงพอในพื้นที่ท�างานเฉพาะ เช่น บริเวณท�าหัตถการที่ข้างเตียงผู้ป่วย หรือโต๊ะปฏิบัติการ อาจมีแสงไฟเฉพาะจุดเพิ่มเติมได้ นอกจากนีเ้พดาน ผนงั และพืน้กต้็องช่วยลดความจ้าของแสงด้วย เพราะแสงที่จ้าจนเกินไป ไม่ว่าจะมาจากแหล่งก�าเนิดแสงอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ โคมไฟ หรือเกิดจากการสะท้อนแสง ก็ล้วนแล้วแต่อันตรายกับดวงตาอันบอบบางของเราทั้งสิ้น แสงสว่างจากธรรมชาติ มีความส�าคัญต่อมนุษย์ ห้องที่มีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์สาดฉายเข้ามาได้ก็เท่ากับว่าได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติแล้ว แสงแดดยงัให้คณุประโยชน์หลายอย่างต่อสขุภาพ ทีรู่จ้กักนัดกีค็อื เป็นแหล่งส�าคัญของวิตามินดี ซึ่งช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ซึ่งเราจะได้รับวิตามินดีจากอาหารเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นร่างกายของเราสร้างขึ้นจากการได้รับแสงแดด นอกจากนี้ สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่ค่อยรู้ก็คือ แสงแดดยังช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การได้รับแสงอาทิตย์ช่วยเพิ่มจ�านวนเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นปราการด่านแรกของร่างกายในการป้องกันการติดเชื้อและการต่อสูก้บัโรค วติามนิดยีงัมบีทบาทส�าคญัในการเพิม่จ�านวนออกซเิจนในเลือด ซึ่งผลที่ได้รับก็คือท�าให้ระดับพลังงานเพิ่มขึ้น ร่างกายจึงสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้น แสงแดดยังมีผลต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เนื่องจากร่างกายต้องการแสงอลัตราไวโอเลตในแสงแดด เพือ่ย่อยสลายคอเลสเตอรอล มีการศึกษาวิจัยที่พบว่า ทั้งคอเลสเตอรอลและวิตามินดีเกิดขึ้นมาจากสารเคมีตัวเดียวกันในร่างกาย ที่เรียกว่า Squalene ซึ่งพบในผิวหนัง เมื่อเราได้รับแสงแดด สารเคมีตัวนี้จะกลายเป็นวิตามินดี แต่ถ้าไม่ได้รับแสงแดด มันก็จะกลายไปเป็นคอเลสเตอรอลแทน เช่นเดียวกับระดับความดันโลหิต ตามทฤษฎรีะบวุ่าหากไม่ได้รบัวติามนิดมีากพอ ร่างกายจะเพิม่ระดบัของฮอร์โมน

    19HealingEnvironment

  • พาราธัยรอยด์ ซึ่งไม่เพียงแต่ท�าให้แคลเซียมเล็ดลอดออกจากกระดูก แต่ยังท�าให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นด้วย แสงแดดยังกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเชโรโทนินซึ่งควบคุมการนอนหลับ อุณหภูมิร่างกาย ความต้องการทางเพศ และท�าให้อารมณ์ดขีึน้ ดงันัน้ การให้ร่างกายได้อาบแสงแดดอุน่ ๆ ยามเช้า (ก่อน 9 โมงเช้า) หรือยามเย็น (หลังสี่โมงเย็น) สัก 10-15 นาที จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพ แต่การสัมผสัแสงแดดนอกเหนือจากเวลาดังกล่าวนี้ อาจจ�าเป็นต้องป้องกันด้วยการทาครีมกันแดด ใส่แว่นตากันแดด หรือใส่เสื้อผ้าทีป่กป้องผวิหนงั และควรอยูใ่ห้ห่างจากพระอาทติย์ในช่วงทีม่รีงัสยีวูแีรงทีส่ดุ คือราวสิบโมงเช้าถึงสี่โมงเย็น นอกจากนัน้ แสงแดดยงัช่วยในการฆ่าเชือ้โรคในห้องพกัผูป่้วยและห้องท�างานของเจ้าหน้าทีไ่ด้อกีด้วย และทีส่�าคญัของแสงธรรมชาตจิากดวงอาทติย์ท�าให้ผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่รับรู้ช่วงเวลาของวันได้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของเวลาที่เคลื่อนไปในแต่ละช่วงของวัน แสงแดดในยามรุ่งอรุณ ความสว่างของเที่ยงวัน แสงแดดยามโพล้เพล้ และความมืดค�่าท�าให้ความรู้สึกถึงการเชื่อมต่อกับธรรมชาติของคนเราไม่สูญหายไปในอาคารที่ปิดทึบ ที่มีเพียงแต่แสงสว่างจากโคมไฟฟลูออเรสเซนซ์ ที่ส่องสว่างอย่างคงที่ อย่างไร้ความรู้สึก การออกแบบพื้นที่ใช้สอยในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นห้องพัก ผู้ป่วยหรือห้องท�างานเจ้าหน้าที่ จึงควรเปิดทางให้แสงอาทิตย์สาดเข้าไปได้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่จ้าเกินไปจนรบกวนสายตา โดยอาจมีม่านหรือมู่ลี่ที่สามารถปรับความสว่างของแสงได้ และควรจัดล�าดับให้ความส�าคัญของแสงสว่างจากธรรมชาติมาก่อนการใช้แสงประดิษฐ์ ซึ่งจะมีความจ�าเป็นในยามที่แสงสว่างจากธรรมชาติลดลงหรือหมดไปในแต่ละวัน การออกแบบแสงสว่างให้เพยีงพอต่อการใช้สอยโดยเฉพาะอย่างยิง่แสงประดษิฐ์จากไฟฟ้า นอกจากจะต้องค�านงึถงึปรมิาณของแสงสว่างทีเ่พยีงพอต่อการใช้สอยทีต่อบสนองด้านมาตรฐานและความปลอดภยัแล้ว ยงัต้องค�านงึถงึต�าแหน่งของการติดตั้งดวงโคมที่เหมาะสมเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน และจะต้องไม่รบกวน

    HealingEnvironment20

  • สายตาด้วย เช่น การจัดต�าแหน่งของโคมไฟกลางห้องที่อยู่เหนือเตียงผู้ป่วย แสงอาจรบกวนสายตาผู้ป่วยในท่านอนราบได้ ในกรณีที่เป็นหอผู้ป่วยรวม ควรสามารถแยกเปิดไฟเป็นหลาย ๆ โซน เพื่อให้สามารถเปิดปิดไฟเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการ เป็นการป้องกันแสงไฟไม่ให้รบกวนเตียงอื่น ๆ ในเวลาพักผ่อนด้วย

    การประหยัดพลังงานระบบแสงสว่างในอาคาร4

    กฎหมาย5 ก�าหนดไว้ว่า ส�าหรับพื้นที่ส�านักงาน, โรงแรม, สถานศึกษา และ โรงพยาบาล/สถานพักฟื้น ค่าก�าลังไฟฟ้าแสงสว่างสูงสุด (วัตต์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใช้งาน) ไม่เกิน 16 W/M2 หรือกรณีพื้นที่ร้านขายของ, ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้า ไม่เกิน 23 W/M2 ทั้งนี้ให้สามารถคิดค�านวณพื้นที่ทั้งอาคารเฉลี่ยได้ โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถ แต่รวมถึงไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไปที่ใช้ในการโฆษณาเผยแพร่สินค้า ยกเว้นแสงสว่างที่ใช้ในตู้กระจกแสดงสินค้าหน้าร้าน จากข้อก�าหนดดังกล่าว หากเลือกใช้และติดตั้งอุปกรณ์โคมไฟฟ้า, หลอดไฟและบลัลาสต์ ส�าหรบัระบบแสงสว่างในอาคารอย่างไม่ระมดัระวงั ก็จะส่งผลให้เกดิการใช้ก�าลงัไฟฟ้าแสงสว่างต่อพืน้ทีเ่กนิจากทีก่�าหนดไว้ เราจงึควรเลอืกใช้อปุกรณ์ระบบแสงสว่าง ทีม่คีวามเหมาะสมและประหยดัพลงังาน เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานอย่างสมบูรณ์ ทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย ดังนั้นจึงควร 1. พจิารณาเลอืกความสว่างทีต้่องการใช้งานให้เหมาะสม ซึง่โดยปกติผูอ้อกแบบสามารถเลอืกใช้ค่าความสว่างตามคูม่อืการออกแบบทางวศิวกรรมการส่องสว่าง โดยขึ้นอยู่กับประเภทพื้นที่ใช้งานนั่นเอง เช่น พื้นที่ท�างานทั่วไปของส�านักงานประมาณ 500 LUX เป็นต้น

    4 โดย สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย5 กฎกระทรวง (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

    21HealingEnvironment

  • 2. พิจารณาประสิทธิภาพแสงของหลอดไฟและอุปกรณ์ประกอบ ซึ่งประสิทธิภาพแสงของหลอดไฟ (LUMINOUS EFFICACY) มีหน่วยเป็นลูเมนต่อวัตต์ ควรเลือกใช้หลอดไฟที่มีค่า Luminous Efficacy สูง แต่ก็ควรค�านงึถงึระยะความสงูของการตดิตัง้ในการเลอืกใช้ประเภทของหลอดไฟไว้ด้วย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนซ์จะมีประสิทธิแสงประมาณ 45-72 Im/w เหมาะส�าหรับความสูงติดตั้งไม่เกิน 3.50 เมตร หากต้องการติดตั้งสูงกว่านี้ ควรเลือกใช้เป็นหลอดเมทัลฮาไลต์ หรือหลอดโซเดียมแทน ซึ่งมีค่า Luminous Efficacy สูงกว่า 3. พิจารณาเลือกใช้โคมไฟที่ให้ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์แสงสูง ซึ่งหน้าที่ของโคมไฟคืออุปกรณ์ควบคุมบังคับแสงให้ส่องไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการสะท้อนแสง เช่น เหล็กแผ่นพ่นสีขาวหรอือะลมูิเนียมเงาชบุอโนไดส ์มาท�าเป็นแผ่นสะทอ้นแสง ช่วยในการบงัคบัทิศทางการสะท้อนของแสงให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแผ่นสะท้อนแสงให้มีค่าการสะท้อนแสงสูงมากขึ้น โดยใช้สารเงินเคลือบแผ่นอะลูมิเนียม ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบแรก ใช้ฟิล์มเงินปิดกาวทับลงบนแผ่นอะลมูิเนียม ซึ่งจะได้ค่าการสะท้อนแสงสูงมากถึง 93-94% แต่ก็มีปัญหาด้านอายุการใช้งานเมื่อใช้ไปนาน ๆ แสงอัลตราไวโอเลตจากหลอดไฟที่เปิดไว้หรือความร้อน, ความชื้นจากสภาพแวดล้อมจะท�าให้แผ่นสะท้อนแสงพอง, เหลือง และลอกหลุดได้ มีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี แบบที่สอง คือ การน�าแผ่นอะลูมิเนียมที่ชุบอโนไดส์เงามาแล้วผ่านกรรมวธิปีระจอุอิอนเงนิบนแผ่นอะลมูเินยีมเงา ซึง่เป็นเทคโนโลยขีัน้สงูภายใต้สญุญากาศทัว่ทัง้แผ่น (Dielectric Overvacuum Silver Coating) จะให้ค่าการสะท้อนแสงสงูมากถงึ 95% และจะไม่มปัีญหาด้านอายกุารใช้งานเหมอืนแบบแรกคอื มอีายกุารใช้งานประมาณ 20 ปีขึน้ไป เป็นแผ่นสะท้อนแสงเงนิที่มปีระสทิธภิาพในการสะท้อนแสงสงูมากทีส่ดุใน ปัจจบุนั เมือ่น�าแผ่นสะท้อน

    HealingEnvironment22

  • แสงเงินดังกล่าวมาใช้ในการควบคุม บังคับแสงให้ส่องไปในทิศทางต่าง ๆ ซึ่งนิยมใช้ในโคมประเภทให้แสงสว่างทางตรง (Direct Luminary) เช่น พวกโคมตะแกรงอะลูมิเนียม หรือโคมโรงงานที่มี Reflector จะท�าให้ลด การสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ของหลอดไฟได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรพิจารณาค่าการสะท้อนแสงของส่วนต่าง ๆ ของห้อง เช่น เพดาน, ผนัง และพื้น ถ้าส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการทาสีที่ให้ค่าการสะท้อนแสงสูง ก็จะท�าให้ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์สูงตามไปด้วย เนือ่งจากปรมิาณแสงทีต่กลงบนพืน้ทีท่�างานส่วนหนึง่ได้มาจากโคมไฟโดยตรง แต่อีกส่วนหนึ่งได้มาจากการสะท้อนแสงจากส่วนต่าง ๆ ของห้องนั่นเอง 4. พิจารณาการบ�ารุงรักษาอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง ได้แก่ หลอดไฟและโคมไฟ ซึ่งถ้าได้รับการหมั่นดูแลท�าความสะอาดเรื่องฝุ่นละอองหรือบ�ารุงรักษา เปลี่ยนหลอดไฟใหม่เมื่อหมดอายุการใช้งาน ก็จะช่วยให้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถให้แสงสว่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากปัจจัยที่กล่าวทั้ง 4 ข้อมานี้ ควรพิจารณาในเรื่องการให้ลักษณะแสงที่เหมาะสมแก่พื้นที่ใช้งาน เช่น พื้นที่ท�างานที่มีการท�างานกระจายอยู่อย่างสม�่าเสมอ ได้แก่ ห้องท�างาน, ห้องเรียน, ยิมเนเซียม ฯลฯ ควรให้แสงที่มีความสม�่าเสมอตลอดพื้นที่ โดยเลือกใช้โคมไฟที่มีค่ากระจายแสงที่สม�่าเสมอ (Uniformity Distribution) นั่นเอง หรือหากเป็นการให้แสงสว่างเฉพาะพืน้ที ่เช่น ห้องท�างานขนาดเลก็ส่วนตวั, บรเิวณรบัรอง, ทางเดนิอสิระกค็วรแบ่งแยกสวติซ์ควบคมุการท�างานแสงสว่างโคมไฟให้เหมาะสม เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานในส่วนที่ไม่จ�าเป็นต้องใช้ หรือหากต้องการใช้งานพื้นที่พิเศษก็ให้เพิ่มการติดตั้งโคมไฟเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการเท่านั้น ไม่ต้องเพิ่มโคมไฟเป็นจ�านวนมากส�าหรับส่องพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะจุดเท่านั้น เทคนิคสุดท้ายที่สามารถใช้ร่วมกับการประหยัดพลังงานส�าหรับระบบแสงสว่างในอาคารก็คือการใช้แสงอาทิตย์มาช่วยร่วมกับแสงจากโคมไฟและ

    23HealingEnvironment

  • หลอดไฟ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันระหว่างสถาปนิก, วิศวกรรมเครื่องกลที่รับผิดชอบงานระบบปรับอากาศและวิศวกรรมไฟฟ้าด้านแสงสว่าง

    แนวทางการปฏิบัติเพื่อลดการใช้พลังงานจากแสงสว่าง • ปิดไฟ ในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน • ถอดหลอดไฟบริเวณที่มีความสว่างมากเกินความจ�าเป็น หรือพิจารณาใช้แสงธรรมชาติจากภายนอก เพื่อลดการใช้หลอดไฟ โดยการเปิดม่าน/มู่ลี่บริเวณหน้าต่าง • เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีสิทธิภาพสูง • แยกสวิตซ์ควบคุมอุปกรณ์แสงสว่างเพื่อให้สามารถควบคุมการใช้งานอปุกรณ์แสงสว่างได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกบัความจ�าเป็น แทนการใช้หนึ่งสวิตซ์ควบคุมหลอดแสงสว่างจ�านวนมาก

    Second to their need for fresh air is their need for light... it is not only light but direct sunlight ... the usefulness of light in treating the disease is all important.

    Nightingale, 1970, p. 47–48

    HealingEnvironment24

  • สี - Color in The Environment สภาพแวดล้อมของชวีติประจ�าวนัประกอบไปด้วยสสีนัหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสีของต้นไม้ ดอกไม้ รถยนต์ อาคาร โต๊ะ เก้าอี้ ข้าวของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เพียงแต่เราจะรู้สึกคุ้นชินกับมันเสียจนบางทีเราก็ไม่ทันสังเกตและให้ความส�าคัญกับมันมากนัก ลองคิดดูง่าย ๆ ถ้าชีวิตเราด�าเนินไปแบบปราศจากสี เหมือนหนังภาพยนตร์ขาวด�า มันคงจะแปลกออกไป ดูจืดชืด และขาดชีวิตชีวาไปมากแค่ไหน สสีนัของอาคารมส่ีวนเสรมิสร้างความสดชืน่มชีวีติชวีาหรอืสร้างความสลดหดหูใ่ห้กบับรรยากาศของสถานทีห่นึง่ ๆ ได้มากทเีดยีว เนือ่งจากในห้องหนึ่งห้องจะมีส่วนประกอบของพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นฉากรองรับสายตาของเรา ดังนั้น การเลือกสีที่ใช้ส�าหรับอาคารสถานพยาบาล จึงควรที่จะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรม ในขณะเดียวกัน การศึกษาเรื่องคุณสมบัติของสีที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้ที่

    25HealingEnvironment

  • ใช้สอยอาคารก็น่าจะน�ามาประกอบการเลือกใช้สีได้ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงการที่จะต้องเปลี่ยนสีของห้องในอาคารตามอาการของผู้ป่วยที่มาใช้อาคาร สีอาคารควรจะเป็นสีกลาง ๆ เช่น สีขาว สีฟ้าปนเทาอ่อน ๆ สีครีม สีงาช้าง และสีอ่อน ๆ ในกลุ่มสีโทนเย็นหรือโทนอุ่น ส่วนสีอื่น ๆ ที่มีการศึกษาว่าให้ผลต่อผู้ป่วยในโรคต่าง ๆ ก็อาจแนะน�าญาติให้เลือกใช้ข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นกลุ่มสีนั้น ๆ

    การศึกษาเรื่องอิทธิพลของสี พลังของสีมีอิทธิพลต่อเราผ่านปฏิกิริยาในการตอบสนองของต่อม ไพเนียล ส่งผลให้ความรู้สึก จิตใจ ฮอร์โมน และอารมณ์ในร่างกายของเราในขณะนัน้แตกต่างกนัตามเฉดและความยาวคลืน่ทีก่ระทบโสตสมัผสั แนวคดินี้ได้กระตุ้นให้นักจิตวิทยาน�าพลังแต่ละสีมาปรับใช้เพื่อบ�าบัดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ของร่างกายและจติใจให้กบัผูป่้วยมากมายในปัจจบุนั โดยเรยีกศาสตร์แห่งการรักษานี้ว่า รงคบ�าบัด หรือ Color Therapy สามารถแบ่งชนิดหรือโทนสอีอกเป็นกลุม่สโีทนร้อน เป็นกลุม่สทีีท่�าให้เกดิความรูส้กึมพีลงั เร่าร้อน กระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง ในทางจิตวิทยาความแรงของสีโทนร้อนจะช่วยกระตุน้ให้เกดิความรูส้กึอยากอาหาร ท�าให้เกดิความรูส้กึหวิและกระตุน้ให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ และกลุ่มสีโทนเย็น เป็นกลุ่มสีที่ให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ ท�าให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และไม่ท�าให้เครียด สีโทนเย็นจึงเหมาะอย่างยิ่งส�าหรับคนที่ต้องท�างานหนัก และใช้ความคิดเป็นอย่างมาก นอกจากผลของสทีีม่ต่ีอจติใจ ผลทางร่างกายของสกีเ็ป็นอกีหนึง่ความมหศัจรรย์ทีก่�าลงัได้รบัความสนใจ เพราะมกีารศกึษาพบว่าสสีามารถเยยีวยาอาการของร่างกายทั้งภายนอกและภายในที่ควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง และฮอร์โมนต่าง ๆ อีกมากมาย และยิ่งเมื่อน�ามาผสานรวมกับศาสตร์แห่ง แร่ธาตุอันเป็นความเชื่อโบราณก็ยิ่งน่าพิศวง และนี่คือวิธีการเลือกใช้สี อัญมณี และศาสตร์บ�าบัดที่คุณสามารถศึกษาและทดลองได้ด้วยตัวเอง

    HealingEnvironment26

  • สีเขียว ให้ความรู้สึกร่มเย็น สบายตา ผ่อนคลาย ปลอดภัย ท�าให้เกิดความหวังและความสมดุล รัศมีบ�าบัดโรค : พลังของสีเขียวสามารถท�าให้ประสาทตาผ่อนคลายและความดันโลหิตของเราลดลงได้ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายระบบประสาท ป้องกนัการจบัตวัของก้อนเลอืด ต่อต้านเชือ้โรค รกัษาอาการของคนเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เยื่อบุอักเสบ หากเกิดอาการแน่นหน้าอก คัดจมูก ให้คุณลองหายใจเอาสีเขียวเข้าสู่ร่างกายโดยการเพ่งไปยังวัตถุที่มีสีเขียว คุณจะรู้สึกว่าปอดของคุณขยายตัว และหายใจได้สะดวกมากขึ้น อัญมณีบ�าบัดโรค : ทัวมาลีน - เขียว เชื่อกันว่าเป็นหินที่มีพลังในการรักษาอาการยุบบวม แก้อาการอักเสบ รักษาอาการเจ็บคอได้ดี

    สีน�้าเงิน เป็นสีที่สร้างความเยือกเย็น คลายความเหงา และกระตุ้น แรงบันดาลใจการแสดงออกทางศิลปะ รัศมีบ�าบัดโรค : พลังของสีน�้าเงินท�าให้ระบบหายใจเกิดความสมดุลและแข็งแรงขึ้น ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง การรับพลังของสีน�้าเงินอาจท�าได้ด้วยการสวมเสื้อผ้า หรือชุดชั้นในสีน�้าเงินที่ปกคลุมร่างกายช่วงอกซึ่งเกี่ยวกับระบบหายใจ และนับลมหายใจ หรือท�าสมาธิโดยการเพ่งวัตถุสีน�้าเงิน หรือนึกภาพจุดสีน�้าเงิน ประสานไปกับการหายใจเข้าออก อัญมณีบ�าบัดโรค : ลาปิส ลาซูลี เชื่อกันว่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดอาการปวดศีรษะและปวดประสาทอย่างรุนแรง

    สีฟ้า เป็นสทีีใ่ห้ความรูส้กึสงบเยอืกเยน็ เป็นอสิระ ปลอดโปร่ง สบาย ปลอดภัย ใจเย็น และระงับความกระวนกระวายในใจได้ดี

    27HealingEnvironment

  • รัศมีบ�าบัดโรค : พลังของสีฟ้ามีคุณสมบัติในการรักษาอาการของโรคปอด ลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน รักษาอาการเจ็บคอ และท�าให้ชีพจรเต้นเป็นปกต ิสฟ้ีาเป็นสทีีเ่ยน็ท�าให้จติใจสงบและผ่อนคลาย ใช้ในการรกัษาไข้ สีฟ้ามีคุณสมบัติในการลดความร้อนและอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น รอยไหม้ที่เกิดจากแดดเผา เป็นต้น สีฟ้าจะช่วยลดอาการตึงเครียด อาการปวดศีรษะ บรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากกล่องเสียง เช่น อาการไอ ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบและเสียงแหบ และลดอาการสะอึกได้ หญิงสาวในขณะที่มีประจ�าเดือนจะช่วยลดอาการปวดประจ�าเดือนลงได้ โดยสวมชุดนอนสีฟ้า กางเกงในสีฟ้า เสื้อคลุมอาบน�้าสีฟ้า ผ้าเช็ดตัวสีฟ้า หรือนอนในห้องนอน สีฟ้า อญัมณบี�าบดัโรค : เทอร์ควอยซ์ เชือ่ว่าจะช่วยขจดัความสบัสนวุน่วาย ช่วยสมานแผลที่เกิดจากความร้อน

    สีแดง เป็นสีที่กระตุ้นระบบประสาทของเราได้รุนแรงที่สุด ให้ความรู้สึกเร้าใจ ตื่นเต้น ท้าทาย และตื่นตัว รัศมีบ�าบัดโรค : สีแดงมีผลต่อร่างกาย ช่วยให้ฮอร์โมนอะดรีนาลินท�างานได้ด ีสร้างฮโีมโกลบนิให้กบัเซลล์เมด็เลอืดแดง และช่วยให้ระดบัความดันโลหิตเป็นปกติ ท�าให้ร่างกายอบอุ่น กระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว ลดอาการเฉื่อยชา และรักษาอาการซึมเศร้า มีประโยชน์มากส�าหรับผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต�่า เมื่อคุณไม่สบายหรือรู้สึกหนาว ให้คุณใส่ถุงเท้า ผ้าพันคอ หรือเสื้อสีแดง จะช่วยให้คุณรู้สึกอบอุ่นขึ้น หรือก�าหนดลมหายใจ ท�าสมาธิ และเพ่งไปยังวัตถุสีแดง อัญมณีบ�าบัดโรค : ทับทิม ใช้ลดไข้ สามารถลดได้ประมาณ 0.5-0.7 องศาเซลเซยีส มคีวามเชือ่ว่า เวลาเดก็มไีข้ให้เอาทบัทมิใส่มอืเดก็เลก็ก�าไว้ ไข้จะลด

    HealingEnvironment28

  • สีเหลือง ช่วยให้ระบบการท�างานของน�้าดีและล�าไส้เป็นปกติ ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร รศัมบี�าบดัโรค : มผีลต่อร่างกายช่วยให้ระบบประสาท กล้ามเนือ้หวัใจ และระบบหมุนเวียนโลหิตท�างานได้ดี ช่วยกระตุ้นการท�างานของอวัยวะ ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ตับ กระเพาะปัสสาวะ ท�าให้การหลั่งน�้าย่อยท�างานได้ดี ลดอาการท้องผูก บรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยให้แคลเซียมส่วนเกินที่เกาะอยู่ตามข้อต่อสลายตัว กระตุ้นการท�างานของตับและไต ช่วยขับเมือกต่าง ๆ ออกจากร่างกาย ท�าให้หลอดเลือดสะอาด การรับสีเหลืองเข้าสู่ร่างกายท�าได้โดยนัง่สมาธเิพ่งไปยงัวตัถทุีเ่ป็นสเีหลอืง หรอืนัง่ตากแดดอ่อน ๆ ยามเช้า อญัมณบี�าบดัโรค : ซทิรนิ มสีเีหลอืง คล้าย ๆ บษุราคมั แต่เนือ้หนิอ่อนกว่าบษุราคมั มคีวามเชือ่กนัว่าสามารถแก้ท้องอดื ด้วยการเอาไปแช่น�า้ดืม่ หรอืท�าเป็นเขม็ขดัคาดเอว

    สีส้ม เป็นสีแห่งความสร้างสรรค์ อบอุ่น สดใส มีสติปัญญา ความทะเยอทะยาน เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง รศัมบี�าบดัโรค : สส้ีมมปีระโยชน์ต่อระบบทางเดนิหายใจ ท�าให้หายใจได้คล่องขึน้และลกึขึน้ สส้ีมจะมผีลต่อภาวะจติใจ ระบบประสาท ระบบการหายใจ สส้ีมเป็นสทีีใ่ห้แคลเซยีม ดงันัน้ หญงิมคีรรภ์หรอืมารดาทีใ่ห้นมบตุรจะได้รับค�าแนะน�าให้ใช้สีส้มเพื่อกระตุ้นการหลั่งของน�้านม ช่วยให้กระดูก และฟันแขง็แรง การรบัสส้ีมเข้าสูร่่างกายท�าได้โดยการสวมใส่เสือ้ผ้าทีม่สีส้ีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงกลางล�าตัวจนถึงช่วงขา เนื่องจากสีส้มจะส่งผล ต่อ การท�างานของกระเพาะอาหาร ตบัอ่อน กระเพาะปัสสาวะ และปอด อกีทัง้ช่วยไล่ลม และขบัแก๊สออกจากร่างกาย

    29HealingEnvironment

  • อัญมณีบ�าบัดโรค : คามิเลียน ลักษณะหินขุ่นสีเป็นสีน�้าผึ้ง เชื่อว่าสามารถใช้แก้ไอ คล้ายกับทัวมาลีน ต่างกันตรงที่แก้อาการยุบบวมไม่ได้

    สีม่วง ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ และสร้างความสงบในจิตใจได้เป็นอย่างดี รศัมบี�าบดัโรค : สม่ีวงช่วยเยยีวยาสมองทีถ่กูกระทบกระเทอืน โรคลมบ้าหม ูและอาการผดิปกตทิางประสาทหรอืจติใจ เช่น ความผดิปกตทิีเ่กดิจากความกดดัน และอาการทรงตัวไม่อยู่ นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทาอาการปวดประสาท บรรเทาอาการที่เกิดกับตา หู จมูก ถ้าสายตาของคุณอ่อนล้าจากการดูทีวีหรือจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ให้พักสายตาประมาณ 15 นาที จากนั้นเพ่งไปยังวัตถุที่เป็นสีม่วงจะช่วยให้การเคลื่อนไหวของตาและสายตาแข็งแรงขึ้น อญัมณบี�าบดัโรค : อะเมทสิต์ - หนิสม่ีวง เชือ่กนัว่ามเีส้นแรงเหนีย่วน�าท�าให้ระบบประสาทสงบลง แต่ถ้าเวลานอนต้องเอาไว้ใต้หมอนจะท�าให้หลบัสนทิสบายขึน้ เมือ่เขยีนถงึบรรทดันี ้กอ็ยากจะเพิม่ข้อความว่า “โปรดใช้วจิารณญาณในการเลอืกใช้” โดยเฉพาะอย่างยิง่ การใช้อญัมณบี�าบดัโรค นอกจากอญัมณีบางชนิดจะมีราคาแพงมากแล้ว บางที ความคาดหวังที่มากเกินไปต่อผลของการบ�าบัดก็อาจท�าให้เครียดมากขึ้นก็ได้ ในทางตรงข้าม ความเชื่อ ความศรัทธาที่มีต่อการเลือกใช้ ก็จะมีผลต่อการบ�าบัดได้อย่างไม่น่าเชื่อทีเดียว

    Little as we know about the way in which [we are] affected by form, by color, and by light, we do know this— that they all have an actual physical effect... People say the effect is only on the mind. It is no such thing. The effect is on the body, too... Variety of form and brilliancy of color in the objects presented to patients are actual means of recovery.

    Nightingale, 1970, pp. 33–34

    HealingEnvironment30

  • ภูมิทัศน์ - Environmental Landscape โดยทั่วไปค�าว่า “ภูมิทัศน์” (Landscape) หมายถึง ภาพรวมของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่มนุษย์รับรู้ได้ถึงระยะห่างโดยทางสายตา อาจเป็นพื้นที่ธรรมชาติที่ประกอบด้วยรูปทรงของแผ่นดิน น�้า ต้นไม้ สัตว์ และสรรพสิ่งที่มนุษย์สร้างที่เรียกว่าภูมิทัศน์ธรรมชาติ หรือภาพรวมของเมืองหรือส่วนของเมือง เรียกว่าภูมิทัศน์เมือง บางทีเราอาจคุ้นเคยกับค�าว่า “วิว” ซึ่งมีความหมายแคบเฉพาะภาพส่วนของธรรมชาตทิีม่คีวามสวยงาม โดยทีค่วามหมายจากภาษาองักฤษกบัความเข้าใจแบบไทย ๆ กส็ือ่ออกไปคนละแบบ ภมูทิศัน์หรอืภมูสิถาปัตยกรรม ถ้ามองในแบบมหภาค กเ็ป็นการออกแบบชมุชนเมอืงกันเลยทีเดียว แต่ถ้ามองแบบจุลภาคก�