january 2017 · 2018-06-05 · 26 january 2017 @weareoja...

5
26 JANUARY 2017 สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย WWW.OJA.GO.TH กระบวนการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะ หรือ Public Consultation เป็นกลไก สำคัญของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือประชาชนทั่วไปเพื่อจัดทำกฎหมาย โดยเปิด โอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ผ่านการซักถาม ชี้แจง ถกเถียง เพื่อให้การดำเนินการจัดทำกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน รอบด้าน สามารถแก้ไขปัญหาทีเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานภาครัฐนั้นจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการดำเนินการจัดทำกฎหมายนั้นด้วย ในต่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างได้นำแนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะมาพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายภายใต้บริบท และความจำเป็นที่แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนมิใช่กระบวนการใหม่และได้นำ กระบวนการดังกล่าวใช้เพื่อเป็นกลไกในการจัดทำกฎหมายหรือการดำเนินการในเรื่องที่มีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณรัฐ มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม . . 2511 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม . . 2517 พระราชบัญญัติการผังเมือง . . 2518 หรือการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA) ที่บัญญัติในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ . . 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นต้น นอกจากนียังมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ .. 2539 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน .. 2548 และระเบียบว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี . . 2548 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น แต่ทว่าการดำเนินการภายใต้แนวทางปฏิบัติข้างต้นกลับพบ ความท้าทายหลายประการทั้งในเรื่องการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย การกำหนดระยะเวลา กระบวนการเผยแพร่และชี้แจงผลการรับฟังความคิดเห็น รวมถึงการประเมินผลภายหลัง การดำเนินการรับฟังความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ดี พัฒนาการสำคัญในปัจจุบันที่มุ่งหวังจะยกระดับการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำกฎหมายของประเทศไทยได้ ปรากฏอยู่ในมาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กอปรกับคณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เมื่อวันที4 เมษายน 2560 กำหนดแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งหลักการว่า ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์น้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาโดยที่หน่วยงานภาครัฐอาจใช้เครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นในหลายรูปแบบ ได้แก่การ รับฟังความคิดเห็นโดยใช้การกรอกแบบฟอร์ม การสำรวจความคิดเห็นสาธารณะ การทำประชามติ การจัดเวทีเสวนาการปรึกษา หารือกลุ่มเฉพาะ ทั้งนีได้แบ่งรูปแบบของการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การปรึกษาหารือสาธารณะเต็มรูปแบบ (full public consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิด เห็นในการจัดทำกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยวิธีการที่โปร่งใส เปิดกว้าง เป็นที่รับรู้และเข้าถึงของสาธารณะตลอดทั้ง กระบวนการ มักนำมาใช้ในการจัดทำกฎหมายที่มีความสำคัญ เกี่ยวข้องกับผู้คนในวงกว้าง และต้องการการตัดสินใจทีโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 2. การปรึกษาหารือแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย (targeted consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ในการจัดทำกฎหมายกับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงทุกฝ่ายอย่างเปิดเผย เหมาะกับการจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ที่ได้รับผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นทีหรือเฉพาะภาคส่วนโดยตรงกับประเด็นปัญหาหรือ ข้อกฎหมายที่มีการหยิบยก ขึ้นมาพิจารณา ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนและประหยัดระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการ การพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็น ในการจัดทำกฎหมายที่ดี

Upload: others

Post on 20-Jan-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: JANUARY 2017 · 2018-06-05 · 26 JANUARY 2017 @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

26 JANUARY 2017

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

WWW.OJA.GO.TH

“กระบวนการรบัฟงัความคดิเหน็ภายใตแ้นวคดิการปรกึษาหารอืสาธารณะ” หรอื Public Consultation เป็นกลไกสำคัญของหน่วยงานของรัฐที่ใช้ในการแสวงหาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือประชาชนทั่วไปเพื่อจัดทำกฎหมาย โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ ผ่านการซักถาม ชี้แจง ถกเถียง เพื่อให้การดำเนินการจัดทำกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน รอบด้าน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และหน่วยงานภาครัฐนั้นจะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการจัดทำกฎหมายนั้นด้วย ในต่างประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างได้นำแนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะมาพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายภายใต้บริบทและความจำเป็นที่แตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยนั้น การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนมิใช่กระบวนการใหม่และได้นำกระบวนการดังกล่าวใช้เพื่อเป็นกลไกในการจัดทำกฎหมายหรือการดำเนินการในเรื่องที่มีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณรัฐมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากหลกัเกณฑแ์ละวธิกีารในการรบัฟงัความคดิเหน็ของประชาชนทีบ่ญัญตัไิวใ้นกฎหมายหลายฉบบั ไดแ้ก ่ พระราชบญัญมัาตรฐานผลติภณัฑอ์ตุสาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบญัญตัจิดัรปูทีด่นิเพือ่เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 พระราชบญัญตักิารผงัเมอืง พ.ศ. 2518 หรือการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA) ที่บัญญัติในพระราชบญัญตัิสง่เสรมิและรกัษาคณุภาพสิง่แวดลอ้มแหง่ชาต ิพ.ศ. 2535 และทีแ่กไ้ขเพิม่เตมิ เปน็ตน้ นอกจากนี ้ยงัมรีะเบยีบสำนกันายกรฐัมนตรวี่าด้วยว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์พ.ศ. 2539 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และระเบยีบวา่ดว้ยหลกัเกณฑแ์ละวธิกีารเสนอเรือ่งตอ่คณะรฐัมนตร ี พ.ศ. 2548 ทีไ่ดก้ำหนดหลกัเกณฑแ์ละวธิกีารในการรบัฟงัความคดิเหน็ของประชาชนใหม้คีวามเหมาะสม สอดคลอ้งกบักลุม่เปา้หมายมากยิง่ขึน้ แตท่วา่การดำเนนิการภายใตแ้นวทางปฏบิตัขิา้งตน้กลบัพบความทา้ทายหลายประการทัง้ในเรือ่งการวเิคราะหผ์ูม้สีว่นไดส้่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย การกำหนดระยะเวลา กระบวนการเผยแพรแ่ละชีแ้จงผลการรบัฟงัความคดิเหน็ รวมถงึการประเมนิผลภายหลงั การดำเนนิการรบัฟงัความคิดเห็น แต่อย่างไรก็ดี พัฒนาการสำคัญในปัจจุบันที่มุ่งหวังจะยกระดับการรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำกฎหมายของประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ในมาตรา 77 วรรคสองของรฐัธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กอปรกบัคณะรฐัมนตร ี ไดม้มีต ิเมือ่วนัที ่4 เมษายน 2560 กำหนดแนวทางการจดัทำและการเสนอรา่งกฎหมายตามบทบญัญตัดิังกล่าว ซึ่งหลักการว่า “ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชนและนำมาประกอบการพจิารณา” โดยทีห่นว่ยงานภาครฐัอาจใชเ้ครือ่งมอืเพือ่ใหไ้ดม้าซึง่ความคดิเหน็ในหลายรปูแบบ ไดแ้กก่ารรบัฟงัความคดิเหน็โดยใช้การกรอกแบบฟอรม์ การสำรวจความคดิเหน็สาธารณะ การทำประชามต ิการจดัเวทเีสวนาการปรกึษาหารือกลุ่มเฉพาะ ทั้งนี้ ได้แบ่งรูปแบบของการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การปรึกษาหารือสาธารณะเต็มรูปแบบ (full public consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายด้วยวิธีการที่โปร่งใส เปิดกว้าง เป็นที่รับรู้และเข้าถึงของสาธารณะตลอดทั้งกระบวนการ มักนำมาใช้ในการจัดทำกฎหมายที่มีความสำคัญ เกี่ยวข้องกับผู้คนในวงกว้าง และต้องการการตัดสินใจที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 2. การปรกึษาหารอืแบบเจาะกลุม่เปา้หมาย (targeted consultation) คอืการจดักระบวนการรบัฟงัความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายกับผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงทุกฝ่ายอย่างเปิดเผย เหมาะกับการจัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ หรือเฉพาะภาคส่วนโดยตรงกับประเด็นปัญหาหรือ ข้อกฎหมายที่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนและประหยัดระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการ

การพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็น ในการจัดทำกฎหมายที่ดี

Page 2: JANUARY 2017 · 2018-06-05 · 26 JANUARY 2017 @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

26 JANUARY 2017

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

WWW.OJA.GO.TH

3. การปรกึษาหารอืแบบรกัษาความลบั (confidential consultation) คอืการจดักระบวนการรบัฟงัความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่มีความอ่อนไหว ละเอียดอ่อนกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ด้วยวิธีการแบบปิดไม่เปิดเผย ต่อสาธารณะจนกว่าจะถึงเวลาที่สมควร ต้องมีความระมัดระวังในการนำข้อมูลไปใช้ โดยจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีและตระหนักถึงผลกระทบแง่ลบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องและสังคมโดยรวมอย่างละเอียดรอบคอบ 4. การปรึกษาหารือหลังการตัดสินใจ (post-decision consultation) คือการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายภายหลังจากที่ได้มีการประกาศต่อสาธารณะแล้วแต่กฎหมายนั้นยังไม่มีผลใช้บังคับ มักนำมาใช้ในกรณีที่ต้องการมุ่งเน้นไปที่แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายและการทบทวนกฎหมายฉบับนั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จัดการรับฟังความคิดเห็นในลักษณะนี้ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการจัดทำกฎหมายจะต้องชี้แจงต่อสาธารณะถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่สามารถจัดการรับฟังความคิดเห็นก่อนที่จะจัดทำกฎหมายด้วย

ปัจจุบันแนวทางการรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะที่ประเทศสว่นใหญใ่หก้ารยอมรบัและนำไปปรับใช้เปน็กรอบแนวทางในการจดัการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายอย่างกว้างขวางคือ กระบวนการและรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายตามแนวทางขององคก์รเพือ่ความรว่มมอืในการพฒันา (Organization for Economic Cooperation Development: OECD) ซึง่ประเทศและองคก์ารระหวา่งประเทศ เชน่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรฐัอเมรกิา สหภาพยโุรป ตา่งนำหลกัการของ OECD ไปปรบัใชใ้หเ้หมาะกบับรบิทของแตล่ะประเทศ บทความนีจ้งึไดน้ำหลกัการพืน้ฐานในการรับฟังความคิดเห็นของ OECD และแนวปฏบิตัทิีด่ขีองประเทศดังกล่าวมาสังเคราะห ์ และนำเสนอถึงหลักการสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น โดยแบ่งออกเป็น 7 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน กล่าวคือ กระบวนการรับฟังความเห็นต้องมีการกำหนดวัตถุประสงคท์ีช่ดัเจนในลกัษณะภาพรวมทีเ่ปน็การดำเนนิการเชงินโยบาย ไมใ่ชก่ารถามความคดิเหน็เปน็หวัขอ้เลก็ ๆ เพยีงเพือ่ใหไ้ดข้อ้มลูเฉพาะสว่น โดยทัง้ OECD สหภาพยโุรป ประเทศองักฤษ และประเทศสหรฐัอเมรกิา ตา่งกำหนดใหก้ารรับฟังความคิดเห็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและแจ้งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบและเข้าใจตรงกันแต่แรก โดยความชัดเจนของวัตถุประสงค์นี้อาจมีได้ในหลายกรณี เช่น การรับฟังความคิดเห็นเพื่อระดมและรวบรวมความคิดเห็นใหม่ ๆ หรือเพื่อสำรวจสภาพปัญหาหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สะท้อนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเพื่อนำข้อเสนอหรือแนวทางการปรับปรุงกฎหมายที่ยกร่างขึ้นให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมพิจารณาให้ความเห็น ตลอดจนเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นผ่านมุมมองของ ผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย เป็นต้น ทั้งนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์ของการรับฟังความคิดเห็นจึงต้องคำนึงถึงความยากง่าย ความละเอียดอ่อน หรือความซับซ้อนของประเด็นที่ต้องการรับฟังความคิดเห็นหรือขอคำปรึกษาจากผู้เกี่ยวข้องด้วย 2. การระบุและจำแนกแยกแยะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน กล่าวคือ การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนจะต้องมีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบและรอบด้านโดยการจำแนกแยกแยะให้ชัดเจนว่ามีใครบ้างที่เป็น ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยอ้อม และใครเป็นผู้ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบ ดังนั้น การจัดทำฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นระบบและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอจะช่วยให้การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่กำลังดำเนินการอยู่มีประสิทธิภาพและนำมาพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็นในอนาคตให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับสหภาพยุโรปซึ่งมีการจัดทำฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นระบบนั้นโดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ระดับผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม การเรียงลำดับประเภทหรือลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามลำดับของผลประโยชน์หรือผลกระทบต่อประเด็นที่มุ่งจะรับฟัง และการวิเคราะห์ระดับของอิทธิพลและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียแต่ละกลุ่มก่อนที่จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็น 3. การเลื อกใช้รูปแบบการรับฟังความคิดเห็นที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ดั งที่ กล่าวมาแล้วว่ารูปแบบของ การรับฟังความคิดเห็นภายใต้แนวคิดปรึกษาหารือสาธารณะอาจแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ การปรึกษาหารือสาธารณะเตม็รปูแบบ การปรกึษาหารอืแบบเจาะกลุม่เปา้หมายการปรกึษาหารอืแบบรกัษาความลบั และการปรกึษาหารือหลงัการตดัสินใจ ดงันัน้ หนว่ยงานของรฐัควรจะไดต้ระหนกัถงึวตัถปุระสงคแ์ละกลุม่เปา้หมายของการรบัฟงัความคดิเหน็เพื่อที่จะเลือกรูปแบบ ที่เหมาะสม ทัง้นี ้ หลกัเกณฑข์อง OECD ไดก้ำหนดว่ารูปแบบการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐอย่างน้อยจะต้องกระทำผ่านเว็บไซต์ โดยประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดให้การรับฟังความเห็นใน การจัดทำกฎหมายในรปูแบบการแจง้ให้ทราบและฟงัความเหน็จากสาธารณะของสหรฐัอเมรกิาจะตอ้งดำเนนิการผา่นเวบ็ไซต ์regulation.gov และจะตอ้งเผยแพร่

Page 3: JANUARY 2017 · 2018-06-05 · 26 JANUARY 2017 @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

26 JANUARY 2017

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

WWW.OJA.GO.TH

“ขอ้สงัเกตตอ่รา่งกฎหมายทีเ่สนอ” (Notice of Proposed Rulemaking: NPRM) ลงในวารสาร Federal Register ซึง่เปน็วารสารทีร่วบรวมกฎหมายและรา่งกฎหมายทีจ่ดัทำโดยหนว่ยงานรฐัอกีทางหนึง่ดว้ย นอกจากนี ้ หนว่ยงานผูร้บัผดิชอบควรนำเทคนคิวธิีการเกบ็รวบรวมขอ้มลูวจิยั เชน่ การสมัภาษณเ์ชงิลกึ การสนทนากลุม่ การสำรวจความคดิเหน็ เปน็ตน้ มาใชร้ว่มกบัการรบัฟงัความคิดเหน็ผ่านทางเวบ็ไซต์เพื่อให้กระบวนการสามารถได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุม ครบถ้วน อีกทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถเข้าร่วมการปรึกษาสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น 4. การกำหนดวนัเวลาและระยะเวลาทีเ่หมาะสมในการจดักจิกรรมการรบัฟงัความคดิเหน็ กลา่วคอื การจดัการรับฟังความคิดเห็นต้องมีการกำหนดวันเวลาและระยะเวลาที่เหมาะสม มีความสมเหตุสมผล และไม่เป็นภาระต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยพิจารณาระยะเวลาให้เพียงพอที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และปราศจากข้อสงสัย โดยประเทศอังกฤษได้กำหนดว่าควรคำนึงถึงความสะดวกของผู้เข้าร่วมในการรับฟังความคิดเห็น เช่น การรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจะไม่ริเริ่มดำเนินการในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติด้วย และไม่ควรจัดในช่วงเวลาที่เป็นวันหยุดเทศกาล นอกจากนี้ ระยะเวลาในการดำเนินการจะต้องมีความเหมาะสมมากพอที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน และมีโอกาสได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ อย่างเพียงพอ รวมถึงสามารถอภิปรายถกเถียงหรือปรึกษาหารือกันภายในองค์กร/กลุ่มของตนจนได้ข้อสรุปและมีข้อเสนอแนะต่อประเด็นต่าง ๆ ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับระดับของผลกระทบที่ร่างกฎหมายมีต่อประชาชน และความซับซ้อนอ่อนไหวของประเด็น ที่มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ซึง่ประเทศสหรฐัอเมรกิาไดก้ำหนดชว่งเวลาให้ประชาชนรว่มแสดงความคดิเหน็และขอ้เสนอแนะทีม่ตีอ่รา่งกฎหมายผา่นเวบ็ไซต ์ Regulations.gov ระยะเวลาประมาณ 30 - 60 วนัหรอือาจนานกวา่นัน้กไ็ด ้ 5. การให้ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นที่จำเป็น เพียงพอ และรอบด้าน กล่าวคือ การให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการจะช่วยให้การรับฟังความคิดเห็นที่จัดขึ้นมีความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับ และทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถติดตามผลการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้รับผลกระทบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยใช้ภาษาที่เรียบง่าย ชัดเจน มีการแสดงข้อมูลเชิงสถิติตัวเลขหรือการสรุปสังเคราะห์ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการได้รับทราบอย่างครบถ้วน โดยประเทศอังกฤษกำหนดให้ข้อมูลที่ใช้ในการรับฟังความคิดเห็นจะต้องมีเนื้อหาที่ครบถ้วน ซึ่งคำถามที่ใช้ถามผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นต้องมีขอบเขตที่ชัดเจนทั้งด้านเนื้อหาและปริมาณ มคีำอธบิายหรอืบทสรปุทีเ่ขา้ใจไดง้า่ย ไมใ่ชภ้าษากฎหมาย และในกรณทีีเ่ปน็คำถามที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจ หน่วยงานของรัฐจะต้องรวบรวมข้อมูลในลักษณะของต้นทุนและความคุ้มค่าให้ครบถ้วนด้วย 6. การชี้แจงผลการรับฟังความคิดเห็นที่โปร่งใสและมีกระบวนการติดตามประเมินผลการรับฟังความคิดเห็น ที่เป็นระบบ กล่าวคือ หน่วยงานของรัฐจะต้องสรุปผลการจัดการรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงเหตุผลในการ กระทำหรือไม่กระทำตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ โดยต้องดำเนินการใน 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือ การจัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาตามหัวข้อหลักที่กำหนดไว้ในแนวทางการจัดทำและการเสนอรา่งกฎหมาย ประกอบดว้ย (1) วธิีการในการรบัฟงัความคดิเหน็ (2) จำนวนครัง้และระยะเวลาในการรบัฟงัความคดิเหน็แต่ละครั้ง (3) พื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความคิดเห็น (4) ประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็น (5) ข้อคัดค้านหรือความเห็นของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็น (6) คำชี้แจงเหตุผลรายประเด็น และ (7) การนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย ส่วนที่สอง คือ การเผยแพร่ผลสรุปที่ได้จากการจัดการรับฟังความเห็นทั้งในรูปแบบรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและในรูปแบบที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย พร้อมนี้ หน่วยงานของรัฐจะต้องประเมินผลการรับฟังความเห็นนั้นโดยการประเมินผลต้องมีข้อมูลสรุปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย ได้แก่ การดำเนินงานรับฟังความเห็นได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ วิธีการรับฟังความเห็นต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้มีความเหมาะสม และแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าระหว่างค่าใช้จ่ายและผลที่ได้รับโดยต้องนำผลการประเมินดังกล่าวประกอบเป็นส่วนหนึ่งของรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นฉบับสมบูรณ์ นอกจากนี้ หน่วยงานของรัฐจะต้องถอดบทเรียนที่ได้จากการดำเนินการและแบ่งปันให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเผยแพร่ให้กับสาธารณชนผู้สนใจเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดการรับฟังความคิดเห็นในอนาคตด้วย โดยทั้ง OECD สหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกาต่างกำหนดแนวทางเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้

Page 4: JANUARY 2017 · 2018-06-05 · 26 JANUARY 2017 @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

26 JANUARY 2017

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

WWW.OJA.GO.TH

โดย OECD กำหนดว่าหน่วยงานที่เสนอกฎหมายจะตอ้งตอบสนองตอ่ขอ้คดิเหน็หรอืตอบขอ้ซกัถามตา่ง ๆ ทีไ่ดร้บัตอ่ผูท้ี่แสดงความคดิเหน็เปน็ลายลกัษณอ์กัษรและเปิดเผยต่อสาธารณะ สว่นสหภาพยโุรปกำหนดใหน้ำเสนอรายงานสรุปความคิดเห็นและขอ้เสนอแนะทีไ่ดร้บัจำแนกตามรปูแบบ/วธิกีารรบัฟงัทีใ่ชใ้นกระบวนการปรกึษาหารอืสาธารณะ และนำเสนอคำอธบิายเกี่ยวกับการนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาพิจารณา สำหรับประเทศอังกฤษกำหนดให้รัฐบาลต้องสรุปแนวทางที่ได้รับจากการรับฟังความคิดเห็นจนได้ข้อยุติจากทุกฝ่ายก่อนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ และจะต้องเผยแพร่คำตอบที่เกิดจากคำถามของประชาชนภายใน 12 สัปดาห์นับแต่การรับฟังความคิดเห็นสิ้นสุดลงหรือมีการอธบิายเหตผุลกรณไีม่ สามารถเผยแพรผ่ลการรบัฟงัความคดิเหน็ไดภ้ายในระยะเวลาดงักลา่ว พรอ้มทัง้ตอ้งแจง้เตอืนให้ผู้ที่ได้เข้าร่วมกระบวนการรับฟังความคิดเห็นได้รับทราบถึงการเผยแพร่รายงานฯ สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มกีารกำหนดใหห้นว่ยงานจะตอ้งเผยแพรร่่ างกฎหมายฉบบัสดุทา้ยลงในวารสาร Federal Register ภายในเวลา 30 – 60 วนักอ่นทีก่ฎหมายจะมผีลบงัคบัใชจ้รงิ โดยจะตอ้งแจ้งให้ประชาชนทราบใน 2 ประเด็น ได้แก่ ร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาและสรุปประเด็นที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และคำปรารภที่มีข้อความระบุอย่างชัดเจนว่าหน่วยงานของรัฐได้นำข้อเสนอแนะและข้อห่วงกังวลของประชาชนมาปรบัใชห้รอืไม ่อยา่งไร และปรากฏอยูใ่นสว่นใดของรา่งกฎหมายนัน้ 7. การมหีนว่ยงานกลางกำกบัดแูลคณุภาพของการรบัฟงัความคดิเหน็ กลา่วคอื กระบวนการรบัฟงัความคดิเหน็เพื่อจัดทำกฎหมายในแต่ละฉบับอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะและความมุ่งหมายของร่างกฎหมายนั้น กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่ดีจึงต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านสังคมวิทยาหลายแขนงรวมถึงองค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ทีเ่กีย่วขอ้งเพือ่ใหไ้ดร้บัขอ้คดิเหน็ทีค่รอบคลมุ ครบถว้น และสามารถนำขอ้คดิเหน็นัน้มาใชเ้พือ่ปรบัปรงุรา่งกฎหมายไดจ้รงิ ดังนั้น กระบวนการที่เกิดขึ้นจึงควรผ่านการกำกับดูแลคุณภาพจากหน่วยงานกลางที่มีเกณฑ์การดำเนินการและบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญในดา้นตา่ง ๆ ทำหนา้ทีช่ว่ยเหลอืหนว่ยงานของรฐัตัง้แตเ่ริม่ตน้กระบวนการ สอดคลอ้งกบัหลกัการของ OECD ซึง่กำหนดใหม้หีนว่ยงานกลางเพือ่ทำหนา้ทีต่รวจสอบคณุภาพของกระบวนการรบัฟงัความคดิเหน็ทีห่นว่ยงานขอ้งรฐัผูร้บัผดิชอบจดัทำขึน้ ประเทศองักฤษได้แตง่ตัง้ Consultation Coordinator เพือ่ทำหนา้ทีร่บัคำวจิารณแ์ละข้อเสนอแนะต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและนำคำวิจารณ์และข้อเสนอแนะดังกล่าวไปปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินการจัดกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น หากมีข้อทักท้วงเกี่ยวกับปัญหาหรือความไม่ถูกต้องในการดำเนินกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นทางการของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ คณะกรรมาธกิารรว่มของรฐัสภาอาจพจิารณาจดักระบวนการรบัฟงัความคดิเหน็เพิม่เตมิในขัน้ตอนการพจิารณารา่งกฎหมายก่อนเข้าสู่การพิจารณาของรฐัสภา (Pre-legislative consultation) ได ้ สำหรบัประเทศสหรฐัอเมรกิากำหนดใหม้สีำนกังาน Federal Register ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการจัดการรับฟังความคิดเห็นในเว็บไซต์เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางและแหล่งข้อมูลสำหรับหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำร่างกฎหมายใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการ พร้อมทั้งได้เปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผลประโยชน์สามารถร้องขอต่อศาลให้ตรวจสอบกระบวนการรบัฟงัความคดิเหน็ไดห้ากเหน็วา่มกีารดำเนนิการทีไ่มถ่กูตอ้ง สว่นสหภาพยโุรปไดก้ำหนดแนวทางการกำกบัดูแลและตรวจสอบคุณภาพกระบวนการโดยคณะกรรมาธิการยุโรปโดยในลักษณะของการให้หน่วยงานของรัฐตอบคำถามก่อนที่จะ ดำเนินการ

การวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากต่างประเทศดังที่กล่าวมาข้างต้นสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหัวใจสำคัญของการดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมาย คือ สร้างการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างแท้จริงมากกว่าการเป็น “พิธีกรรม” ตามระเบียบขั้นตอนของรัฐ การดำเนินการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นแต่ละครั้งจึงต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและครอบคลุม และมีช่องทางให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบจากร่างกฎหมายสามารถเข้าถึงกระบวนการได้โดยมีข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และควรได้รับการสนับสนุนการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายอย่างเป็นระบบจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ได้รับประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายว่ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เกิดขึ้นมีความโปร่งใสและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง

Page 5: JANUARY 2017 · 2018-06-05 · 26 JANUARY 2017 @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย @weareoja สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

26 JANUARY 2017

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

@weareoja

สรางสรรคนวัตกรรมยุติธรรมไทย

WWW.OJA.GO.TH

สำนักงานกิจการยุติธรรม

เรียบเรียงและพัฒนาจากการศึกษาวิจัยการพัฒนารูปแบบ (Model) กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมายในประเทศไทย ระยะที่ 1 โดยสถาบันพระปกเกล้า และบทความกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำกฎหมาย :

กรณีศึกษาแนวทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในประเทศไทยและกระบวนการปรึกษาหารือ (Public Consultation) ของคณะกรรมการสหภาพยุโรปโดยสำนักงานกิจการยุติธรรม