management - tpa...&management >>>36 december 2015-january 2016, vol.42 no.244 ต...

5
Management & >>> 36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 ต่อจากฉบับที่แล้ว EDI (Electronic Data Interchange) เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารธุรกิจ ระหว่างหน่วยงานตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้นไป ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ร่วมกัน โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช ่น สายโทรศัพท์ สัญญาณ ดาวเทียม หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้สื่อหรือรูปแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเอกสารธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า บัญชี ราคาสินค้า ใบส่งของ รายงาน ภายใต้มาตรฐานที่ก�าหนดไว้ การรับ-ส่งเอกสารข้อมูลดังกล่าวจะถูกกระท�าภายใต้ มาตรฐานความปลอดภัยระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คู่แข่งขันทาง การค้าสามารถดึงข้อมูลของตนเองไปใช้ได้ ซึ่งหากมีการใช้ EDI ใน กิจกรรมต่าง ๆ อย่างครบวงจรแล้ว จะช่วยให้ไม่ต้องอาศัยเอกสาร ต้นฉบับที่ต้องตรวจสอบโดยพนักงานหรือป้อนข้อมูลซ�้าซากอีก ซึ่ง สามารถสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจเปลี่ยนแปลง เป็นขั้นตอนของการ ท�าธุรกิจที่ต้องใช้เอกสารเป็นพื้นฐาน ไปสู่การท�าธุรกิจภายใต้สื่อทาง อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่จ�าเป็นต้องใช้กระดาษอีกต่อไป ในการท�างานตามขั้นตอนของระบบ EDI นี้ จ�าเป็นอย่างยิ่งทีระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ จะต้องมีส่วนการสื่อสารเป็น ระบบเปิด คือ เป็นระบบที่ใช้ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) ที่ไม่ปิดกั้นการติดต่อจากโลกภายนอก โดยการใช มาตรฐานที่เป็นสากล เช่น UN/EDIFACT, IEEE, ACM และ ISO ซึ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ เรียบเรียงโดย เศรษฐภูมิ เถาชารี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยนานาชาติพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (ตอนจบ) ได้ก�าหนดและวางกฎเกณฑ์ของการส่งผ่าน หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของทุกฝ่ายทีเกี่ยวข้องสามารถติดต่อ และรับ-ส่งข้อมูลกันได้โดยไม่จ�ากัดยี่ห้อของ อุปกรณ์ ประโยชน์ที่องค์กรธุรกิจจะได้รับจากการประยุกต์ใช้ ระบบ EDI ปัจจุบันองค์กรธุรกิจมีการน�าระบบ EDI มาใช้กันอย่างแพร่ หลาย เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถให้ประโยชน์สูงในการแข่งขันทาง ธุรกิจ โดยมีประโยชน์ที่ส�าคัญดังต่อไปนี1. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเอกสาร โดย EDI ท�าให้ ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเอกสาร ซึ่งเกิดขึ้นใน ระบบการค้าแบบเดิมที่ท�าการติดต่อกันด้วยเอกสารได้ อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจัดท�าเอกสารโดยตรง เช่น ค่าใช้ จ่ายส�าหรับเอกสารและพนักงานในกระบวนการรับเอกสาร การจับคูเอกสาร การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสาร การคัดลอก เอกสาร การประมวลผล การออกเอกสารต่อเนื่อง การจัดเก็บเอกสาร และการส่งเอกสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ค่าใช้จ่ายส�าหรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบเอกสาร เช่น ค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการสูญหายของเอกสารระหว่างการเดิน ทาง และความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลจากเอกสารต้นฉบับ

Upload: others

Post on 23-Mar-2021

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Management - TPA...&Management >>>36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 ต อจากฉบ บท แล ว EDI (Electronic Data Interchange) เป นการใช

Management&

>>> 36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244

ต่อจากฉบับที่แล้ว

EDI (Electronic Data Interchange)

เป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารธุรกิจระหว่างหน่วยงานตัง้แต่ 2 หน่วยงานขึน้ไป ทีม่มีาตรฐานเป็นทีย่อมรบัร่วมกัน โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ สัญญาณดาวเทยีม หรืออกีนยัหน่ึง คอื การใช้สือ่หรอืรปูแบบทางอเิลก็ทรอนกิส์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือเอกสารธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า บัญชีราคาสินค้า ใบส่งของ รายงาน ภายใต้มาตรฐานที่ก�าหนดไว้

การรับ-ส่งเอกสารข้อมูลดังกล่าวจะถูกกระท�าภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยระดับหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้คู่แข่งขันทาง การค้าสามารถดึงข้อมูลของตนเองไปใช้ได้ ซึ่งหากมีการใช้ EDI ในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างครบวงจรแล้ว จะช่วยให้ไม่ต้องอาศัยเอกสารต้นฉบับท่ีต้องตรวจสอบโดยพนักงานหรือป้อนข้อมูลซ�้าซากอีก ซึ่งสามารถสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจเปลี่ยนแปลง เป็นขั้นตอนของการท�าธุรกิจที่ต้องใช้เอกสารเป็นพื้นฐาน ไปสู่การท�าธุรกิจภายใต้สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่จ�าเป็นต้องใช้กระดาษอีกต่อไป

ในการท�างานตามขั้นตอนของระบบ EDI นี้ จ�าเป็นอย่างยิ่งที่ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ จะต้องมีส่วนการส่ือสารเป็นระบบเปิด คือ เป็นระบบท่ีใช้ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) ที่ไม่ปิดกั้นการติดต่อจากโลกภายนอก โดยการใช้มาตรฐานที่เป็นสากล เช่น UN/EDIFACT, IEEE, ACM และ ISO ซึ่ง

เพ่ือเพิม่ประสทิธภิาพการจดัการโลจสิตกิส์เรียบเรียงโดย เศรษฐภูมิ เถาชารี

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาลัยนานาชาติพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (ตอนจบ)

ได้ก�าหนดและวางกฎเกณฑ์ของการส่งผ่าน หรือแลกเปล่ียนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของทุกฝ่ายที่เกีย่วข้องสามารถตดิต่อ และรบั-ส่งข้อมลูกนัได้โดยไม่จ�ากดัยีห้่อของอุปกรณ์

ประโยชน์ท่ีองค์กรธุรกิจจะได้รับจากการประยุกต์ใช้ ระบบ EDI

ปัจจุบันองค์กรธุรกิจมีการน�าระบบ EDI มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนือ่งจากเป็นระบบทีส่ามารถให้ประโยชน์สงูในการแข่งขนัทางธุรกิจ โดยมีประโยชน์ที่ส�าคัญดังต่อไปนี้

1. ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเอกสาร โดย EDI ท�าให้ธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการเอกสาร ซึ่งเกิดขึ้นในระบบการค้าแบบเดิมที่ท�าการติดต่อกันด้วยเอกสารได้ อาทิเช่น

➲ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจัดท�าเอกสารโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายส�าหรับเอกสารและพนักงานในกระบวนการรับเอกสาร การจับคู่เอกสาร การตรวจสอบความถกูต้องของข้อมลูในเอกสาร การคดัลอกเอกสาร การประมวลผล การออกเอกสารต่อเนื่อง การจัดเก็บเอกสาร และการส่งเอกสารไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร

➲ ค่าใช้จ่ายส�าหรบัความผดิพลาดทีเ่กดิขึน้ในระบบเอกสาร เช่น ค่าใช้จ่ายอนัเนือ่งมาจากการสญูหายของเอกสารระหว่างการเดนิทาง และความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลจากเอกสารต้นฉบับ

Page 2: Management - TPA...&Management >>>36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 ต อจากฉบ บท แล ว EDI (Electronic Data Interchange) เป นการใช

Management&

December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 37 <<<

➲ ค่าใช้จ่ายส�าหรับเวลาท่ีใช้ในกระบวนการส่งข้อมูลด้วยเอกสาร เช่น เวลาทีต่อ้งรอในแตล่ะขั้นของการท�างานในกระบวนการจัดการเอกสาร และเวลาที่ใช้ในการส่งเอกสารระหว่างองค์กร

2. เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจ อันเกิดจากความถูกต้องของข้อมูลจากการใช้ EDI รวมท้ังวงจรธุรกิจที่สั้นลง ส�าหรับทุกกระบวนการทางธุรกิจตั้งแต่การซื้อ การขาย จนกระทั่งถึงการรับเงินและการจ่ายเงิน ซึ่งจะท�าให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทางธุรกิจในส่วนต่าง ๆ ที่ส�าคัญ คือ

➲ ลดจ�านวนสินค้าคงคลัง เนื่องจากทางผู้บริหารองค์กร ธุรกิจทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของคู่ค้า ลูกค้า

➲ กระชบัความสมัพนัธ์ระหว่างคูค้่าทางธรุกจิและสนบัสนนุการใช้ระบบ Just in Time ในการด�าเนินกระบวนการทางธุรกิจ

➲ พัฒนาบริการลูกค้าตามข้อมูลหรือความต้องการของลูกค้า ที่ส่งข้อมูลมายังองค์กร ธุรกิจโดยใช้ระบบ EDI

➲ พฒันาการใช้เงนิทนุหมนุเวยีน เนือ่งจากองค์กรธรุกิจเหน็กระแสเงินสดสุทธิ ทั้งที่เป็นรายรับและรายจ่าย

➲ พฒันาระบบข้อมลูเพือ่การบรหิารและเพิม่ประโยชน์จากการใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน

3. เป็นเครื่องมือสนับสนุนในการบรรลุถึงเป้าหมายองค์กร โดยประสิทธิภาพท่ีเพิ่มขึ้นในกระบวนการทางธุรกิจ จากการใช้ EDI สามารถใช้เป็นเครือ่งมอืในการสนบัสนนุให้เกดิผลตามเป้าหมายขององค์กรที่วางไว้ได้ เช่น การสร้างพันธมิตรทางการค้าใหม่ ๆ การเข้าสู่ตลาดใหม่ การออกผลติภณัฑ์/บรกิารใหม่ การเป็นผูน้�าในตลาด และความอยู่รอดขององค์กร

นอกจากนี้หากเปรียบเทียบกับองค์กรที่เป็นเหมือนตัวเชื่อมเพื่อการส่งออกและน�าเข้าอย่างกรมศุลกากรแล้ว ประโยชน์ที่ได้รับจากการน�าระบบ EDI มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ที่ส�าคัญมีดังต่อไปนี้ คือ

➲ ช่วยลดระยะเวลาในการเดินพิธีการศุลกากร เช่น ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการออกเลขที่ใบขนสินค้า หรือเลขที่ยกเว้นอากร เพราะเครือ่งคอมพวิเตอร์จะออกเลขทีใ่บขนสนิค้า หรอืเลขทีย่กเว้นอากรให้

➲ ช่วยลดความผดิพลาดในการค�านวณค่าภาษอีากร เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ตรวจสอบการค�านวณแล้ว

➲ กรณีใบขนสินค้าขาเข้า เจ้าหน้าที่ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใบขนสนิค้าทัง้ฉบบั จะบนัทกึข้อมลูบางไฟล์เท่านัน้ เพราะใบขนสนิค้าได้ถูกส่งมายังกรมศุลกากรในระบบ EDI แล้ว

➲ กรณีใบขนสินค้าขาออก จะลดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบลง➲ มีระบบข้อมูลที ่Update ตลอดเวลา➲ ลดต้นทุนในการบริหารระบบคงคลังสินค้า➲ กรมศุลกากรสามารถให้บริการระบบ EDI ได้ตลอด 24

ชั่วโมง➲ ระบบ EDI จะมีบริการให้ผู้ส่งออกสอบถามข้อมูลจาก

เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้อัตโนมัติ เพื่อตรวจเช็คสินค้าที่น�าเข้า และส่งออกว่าได้รับอนุมัติหรือยัง

ซึ่งสามารถแสดงการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างพิธีการแบบ Manual กับแบบ EDI ของกรมศุลกากร ดังในตารางที่ 2 ด้าน ล่างนี้

▼ ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างพิธีการแบบ Manual (ดั้งเดิม) กับแบบ EDI ของกรมศุลกากร

พิธีการแบบ Manual พิธีการแบบ EDI

ตัวแทนออกของรับข้อมูล Invoice และเอกสารประกอบอื่น ๆ จากผู้น�าเข้า/ส่งออกเพื่อจัดท�าใบขนสินค้า

ตัวแทนออกของรับข้อมูล Invoice และเอกสารประกอบอื่น ๆ จากผู้น�าเข้า/ส่งออกเพื่อจัดท�าใบขนสินค้า โดยป้อนข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ของตนเอง หรือใช้บริการ Service Counter

ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าหน้าที่พิธีการ ตรวจสอบบัตรตัวอย่าง ลายมือชื่อเจ้าของหรือผู้จัดการหรือผู้รับมอบอ�านาจ ออกเลขที่ใบขนสินค้าตรวจสอบเอกสาร และลงนามรับรอง

ส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยผ่านผู้ให้บริการ EDI (VAN) คอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น เช่น เลขประจ�าตัวผู้น�าเข้า/ส่งออก ชื่อเรือ เที่ยวเรือ โดยจะออกเลขที่ใบขนสินค้าให้

เจ้าหน้าที่ประเมินอากร ตรวจสอบพิกัดอัตราอากรประเมินอากร ค�านวณ และสั่งการตรวจ

การตรวจสอบพิกัดอัตราและประเมินอากร กระท�าโดยตัวแทนออกของ ก่อนส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

น�าใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และช�าระอากรหรือเงินประกัน ณ ที่ท�าการศุลกากร

น�าใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการแล้ว ไปช�าระอากรหรือเงินประกัน ณ ที่ท�าการศุลกากร หรือช�าระเงินด้วยระบบ EFT

น�าใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และช�าระอากรหรือเงินประกันแล้วไปที่คลังสินค้า ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรก�าหนดชื่อ เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจปล่อยสินค้า

น�าใบขนสินค้าที่ผ่านพิธีการ และช�าระอากรหรือเงินประกันแล้วไปที่คลังสินค้า ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรก�าหนดชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสินค้า ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ

เจ้าหน้าที่ศุลกากรท�าการตรวจปล่อยสินค้าตามปกติ เจ้าหน้าที่ศุลกากรท�าการตรวจปล่อยสินค้าตามปกติ หรือส่งมอบสินค้า หรือสลักรายการรับบรรทุก กรณีผู้น�าเข้า/ส่งออก เป็นระดับบัตรทอง (Gold Card)

Page 3: Management - TPA...&Management >>>36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 ต อจากฉบ บท แล ว EDI (Electronic Data Interchange) เป นการใช

Management&

>>> 38 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244

ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของวิโชติ สัมพันธรัตน์ (2548) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของการรายงานการบรรทุกขนถ่าย และ การรายงานการรับมอบส่งมอบตู้สินค้าด้วยระบบการส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ของ บริษัท ที ไอ พี เอส จ�ากัด ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าบี 4 โดยมีขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์หาสาเหตุการร้องเรียนของผู้ใช้บริการ ด้านความล่าช้าในการส่งรายงานระบบเดิมที่ใช้กระดาษ ด้วยแผนผังก้างปลา ท�าการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างระบบเดมิและระบบใหม่ โดยเปรยีบเทยีบอตัราการไหลเวยีนของการส่งรายงาน ทั้งด้านเวลา ทรัพยากร ปริมาณและความถี่ของปัญหาท่ีเกิดข้ึน รวมถึงท�าการประเมินระยะเวลาคุ้มทุนในการลงทุนระบบการส่งเอกสารอเิลก็ทรอนกิส์ ในการศกึษาเปรยีบเทยีบปรมิาณและความถีข่องปัญหานัน้ได้ศกึษาโดยใช้แบบสอบถามเพือ่เก็บข้อมลูจากพนกังานฝ่ายปฏบิตักิารของบรษิทัผูใ้ช้บรกิาร จ�านวน 36 คน และท�าการประเมินผลด้วยวิธีร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ระบบการแลกเปลีย่นเอกสารอิเล็กทรอนกิส์ สามารถลดขัน้ตอนการท�างานจากเดมิลงได้ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ ส่งข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นย�า ประหยดัพลงังานท้ังกระดาษและก�าลงัพลทีใ่ช้ในการท�างาน ช่วยเพิม่ประสิทธิภาพให้กับบริษัท และสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีความคุ้มในการลงทุน โดยมีระยะเวลาคุ้มทุน 1.4 ปี

การวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ (Enterprise Resource

Planning : ERP)

เป็นโปรแกรมที่รองรับข้อมูลการท�างานประจ�าวัน (transac-tion) เช่น การขายในแต่ละครัง้ น�าข้อมลูเชือ่มโยงกบัรายการของฝ่ายบัญชี เพื่อบันทึกลงสมุดประจ�าวัน สร้างเอกสารเพื่อรอตัดสินค้าออกจากคลังสินค้า สร้างค�าสั่งการผลิตในกรณีที่ไม่มีสินค้าในคลังสินค้า สร้างค�าสัง่ซือ้วตัถดุบิในกรณท่ีีไม่มวีตัถุดบิในคลังสินค้า ท้ังน้ีเอกสารจะเชือ่มโยงโดยการตัง้ค่าการท�างานต่าง ๆ เช่น ผงับญัช ีการเช่ือมโยงบญัชลีกูค้า สตูรการผลติ ระยะเวลาท่ีใช้ในการผลิต ดงัน้ันการวางแผนทรพัยากรวสิาหกจิจงึเป็นเครือ่งมือท่ีใช้ในการจดัการและวางแผนการใช้ทรพัยากรต่าง ๆ ขององค์กรวสิาหกิจ โดยเป็นระบบทีเ่ชือ่มโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรวิสาหกิจเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านการจดัซือ้-จดัจ้าง การผลติ การเงนิและการบญัช ีการบรหิารทรพัยากรบคุคล การบริหารสนิค้าคงคลงั ตลอดจนระบบการขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการท�างานขององค์กรวิสาหกิจลง และเป็นระบบที่จ�าเป็นส�าหรับ ผู ้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกขนาดในปัจจุบัน แต่เน่ืองจากในปัจจุบันซอฟต์แวร์ ERP ส�าเร็จรูป (ERP package) ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีข้อจ�ากัดในด้านเงินลงทุน และเนื่องจากได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให ้เป็นรหัสเปิดมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ดังน้ันจึงมีความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะต้องมีการประยุกต์ใช้ ERP ที่เป็นแบบซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Opens Source Software : OSS)

ข้อดขีองซอฟต์แวร์รหสัเปิด (Open Source Software : OSS) ที่ส�าคัญมีดังต่อไปนี้

1. ผู้ใช้งานสามารถลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผู้ใช้งานไม่ต้องลงทุนจัดซื้อผลิตภัณฑ์ แต่จะลงทุนจ่ายเฉพาะค่าฝึกอบรม ค่าสนบัสนนุ และในส่วนของผูข้ายโซลชูัน่พบว่า ขายง่ายขึน้แต่ส่วนต่าง (ก�าไร) เท่าเดิม

2. ส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวคือ สามารถเรียนรู้เทคนิคการเขียนโปรแกรมจากรหัสต้นฉบับ (source code) ท�าให้ติดตามเทคโนโลยีการพัฒนาเป็นระยะ และค้นหาแนวทางในการพัฒนา ต่อยอด

3. ลดการละเมดิลิขสิทธิ ์เนือ่งจากผูใ้ช้มสิีทธิใ์ช้งาน แจกจ่าย แก้ไข และขายได้อย่างอิสระ

4. ช่วยให้กลุ ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเภท สามารถน�าซอฟต์แวร์ ERP ไปท�าให้เหมาะสม (customize) โดยการแก้ไข ปรบัปรงุ หรอืจ้างพฒันาโปรแกรมได้เอง ตามความต้องการเพ่ือให้เข้ากับระบบการท�างานในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม

5. Open Design คือ มีอิสระทางด้าน Hardware เพราะสามารถใช้งานได้กับเครื่องฮาร์ดแวร์หลายประเภท และมีอิสระทางด้าน Software เพราะสามารถใช้งานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ ได้

6. ท�าให้เกดิการแข่งขนัระหว่างผูพ้ฒันาและการเตบิโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เนื่องจากผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถแลกเปลีย่นความรู ้ในการแก้ไขจดุบกพร่อง และพฒันาโปรแกรม เป็นการลดภาวะการผูกขาด ส่งผลให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เจริญเติบโต

ข้อจ�ากัดของซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open Source Software : OSS) ที่ส�าคัญมีดังต่อไปนี้

1. โปรแกรมหลายชนดิยังมคุีณภาพไม่ดีเท่า Proprietary แต่โปรแกรมบางชนิดก็มีคุณภาพมากกว่า Proprietary

2. ต้องเรียนรู ้การใช้งานโปรแกรมใหม่ เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิดที่อนุญาตให้แก้ไขรหัสต้นฉบับได้อย่างเสรี จึง

Page 4: Management - TPA...&Management >>>36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 ต อจากฉบ บท แล ว EDI (Electronic Data Interchange) เป นการใช

Management&

December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 39 <<<

ต้องเรียนรู้การใช้งานโปรแกรมเพื่อท�าให้เหมาะสม (customize) กับรูปแบบการด�าเนินกระบวนการทางธุรกิจของวิสาหกิจ

3. เอกสารและผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมรหัสเปิดยังมีจ�านวนจ�ากัด เพราะเป็นการรวมกลุ่มกันของบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาโปรแกรม

สนั่น เถาชารี (2552) ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธรุกจิของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อม โดยใช้ระบบ ERP ของโรงงานผลิตขนมปังและเบเกอรี่ โดยโปรแกรมที่จะประยุกต์ใช้กับบริษัทเป็น Open Source ชื่อ Tiny ERP ที่ครอบคลุมการท�างาน 4 แผนกหลัก ซึ่งผลจากการประยุกต์ใช้พบว่า ดัชนีวัดประสทิธภิาพการจดัการกระบวนการทางธุรกิจในแผนกขาย คอื อตัรารับคืนสินค้าจากลูกค้ามีค่าไม่ลดลง เนื่องจากพนักงานขายยังคงยึดติดอยู่กับค�าสั่งซื้อจากลูกค้าในปัจจุบัน และประมาณการเบิกโดยใช้ประสบการณ์เป็นหลัก ดัชนีวัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจในแผนกผลิต คือ Production Order Fulfillment Lead Time ลดลง 1.23 ชั่วโมง เนื่องจากโปรแกรม Tiny ERP จะรายงานเวลาที่จ�าเป็นต้องใช้ในแต่ละสถานีงาน ท�าให้หัวหน้าแผนกผลิตสามารถวางแผน จัดสรรก�าลังคน และจ�านวนเครื่องจักรที่ต้องใช้ต่อสถานงีานได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถจดัล�าดับการผลิต เพือ่ไม่ให้เกิดคอขวด (bottleneck) และเวลาสูญเปล่า (idle time) ในกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดัชนีวัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจในแผนกจัดซื้อ คือ อัตราความรวดเร็วในการจัดซื้อมีค่าไม่ลดลง

เนื่องจากหัวหน้าแผนกจัดซื้อใช้ประสบการณ์ในการออก ค�าสั่งซื้อเป็นหลัก กล่าวคือ จะออกค�าสั่งซื้อ เมื่อคาดว่าวัตถุดิบมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ผลิตในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลจ�านวนวัตถุดิบคงเหลือ ดัชนีวัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจในแผนกคลังสินค้า คือ อัตราสินค้าคงเหลือมีค่าไม่ลดลง เนื่องจากโรงงานมีนโยบายที่จะต้องส�ารองสินค้าไว้ในปริมาณหน่ึง เพือ่รองรบักบัค�าสัง่ซือ้ของลกูค้าทีม่าสัง่ซ้ือสนิค้าภายในโรงงาน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ต้นทุนจะพบว่า ต้นทุนแรงงานทางตรงลดลง 27,720 บาท/เดือน ต้นทุนแรงงานทางอ้อมลดลง 14,430 บาท/เดือน และต้นทุนโสหุ้ยการผลิตอื่น ๆ ลดลง 42,722 บาท/เดือน คิดเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากความล่าช้า และความผิดพลาดที่ลดลงต่อยอดขาย 3.56 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินจ�านวน 84,872 บาท/เดือน หรือ 1,018,464 บาท/ปี แต่ต้องลงทนุเป็นค่าใช้จ่ายครัง้เดยีว เพือ่เป็นค่าใช้จ่ายในการได้มาของระบบเป็นเงินจ�านวน 3,270,084 บาท ลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายรายปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบสารสนเทศเป็นเงินจ�านวน 520,150 บาท/ปี และจากการเปรยีบเทยีบผลเชงิเศรษฐศาสตร์พบว่า การติดตั้งประยุกต์ใช้ Open Source Tiny ERP ท่ีมีระยะเวลาของโครงการ 10 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุน (PB) ประมาณ 6.56 ปี และมีผลตอบแทนของโครงการ (IRR) เท่ากับ 8.40 เปอร์เซ็นต์

ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management

System : WMS)

ปัจจุบันการบริหารคลังสินค้าจ�าเป็นต้องใช้เทคโนโลยีในการปฏบิติังาน เนือ่งจากงานมปีรมิาณและความซบัซ้อนทีม่ากขึน้ โดยได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเรียกว่า ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานภายในคลังสินค้าและการบริหารสต็อกให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ มีความถูกต้อง รวดเร็วและแม่นย�ามากขึ้น สามารถด�าเนินการผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยไม่จ�าเป็นต้องอาศัยงานที่ใช้กระดาษ (paperless) ระบบการจัดการคลังสินค้า มีความสามารถที่จะช่วยแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์ ดังต่อไปนี้

1. การรบัสนิค้า (receiving) ระบบสามารถจองพืน้ทีว่่างหรอืจองพืน้ทีไ่ว้ล่วงหน้า เพือ่ช่วยในการวางแผนการจดัวางในคลงั สนิค้าได้อย่างมปีระสทิธภิาพ การรบัสนิค้าโดยไม่มกีารวางแผนการจดัเกบ็ จะมีผลท�าให้ต้นทุนของกิจการมากขึ้น เพราะต้องเสียเวลาในการค้นหาสินค้านั้น ๆ

2. การจัดเก็บ (put away) ระบบสามารถแนะน�าต�าแหน่ง ที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันต�าแหน่งที่จัดเก็บได้อย่างถูกต้อง โปรแกรม WMS ในส่วนของการจัดเก็บ สามารถท�างานร่วมกับ ERP และบาร์โค้ดสแกนเนอร์ เพื่อท�าให้ทราบต�าแหน่งที่แม่นย�าและชัดเจน

3. การหยิบสินค้า (picking) ระบบจะช่วยหาต�าแหน่งของสินค้าที่มีการจัดเก็บไว้ได้อย่างง่าย ท�าให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถหยิบ สินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ระบบการจัดการขนส่ง (Transportation Management

System : TMS)

ปัจจุบันระบบการจัดการขนส่งนิยมใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนา โดยมีการใช้งานผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และ เอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งซอฟต์แวร์ TMS มีระบบย่อยที่ส�าคัญ ประกอบด้วย

1. การจัดการขนส่ง มีงานที่เก่ียวข้อง เช่น การวางแผนบรรทุก การเลือกวิธีการขนส่ง การจัดซื้อในงานขนส่ง การจัดการ เส้นทางการขนส่ง การควบคุมการขนส่ง การติดตามการจัดส่ง การจัดท�ารายงานและปรับตามความต้องการของลูกค้า

2. การจดัการยานพาหนะ มงีานทีเ่กีย่วข้อง เช่น การบรหิารยานพาหนะ การจัดการเช่ายานพาหนะ การจัดการน�้ามันเชื้อเพลิง การจัดการอุบัติเหตุ การจัดการบุคคล การซ่อมบ�ารุงภายใน การจัดการอะไหล่ และการจัดการเรียกเก็บเงิน

3. การจัดการผู้รับขน มีงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนขนส่ง/เวลาในการบรรทกุ การจดัตารางการขนส่ง การสรรหา พนกังานขบัรถ การก�าหนดชัว่โมงพนกังานขบัรถ การบ�ารงุรกัษายานยนต์และการสนับสนุนการขนส่งสินค้าขากลับ

Page 5: Management - TPA...&Management >>>36 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244 ต อจากฉบ บท แล ว EDI (Electronic Data Interchange) เป นการใช

Management&

>>> 40 December 2015-January 2016, Vol.42 No.244

4. การออกแบบเครือข่ายมีงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การเลือกท�าเลที่ตั้ง การกระจายสินค้าในระดับดีที่สุด การวางแผนก�าลังการ ผลติ การให้บริการคลงัสนิค้าแต่ละพืน้ทีใ่ห้ดทีีส่ดุ และการประเมนิผลกลยุทธ์โลจิสติกส์

บทสรุป

เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทส�าคัญ ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ประกอบการ ในการบริหารงานขององค์กรธุรกิจ ส่งผลให้ความสามารถในการสื่อสาร ควบคุม ตลอดจนการประมวลผลเพือ่ตดัสนิใจเป็นไปอย่างถกูต้อง รวดเรว็ ซึง่เทคโนโลยีที่นิยมน�ามาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรธรุกจิให้เป็นไปอย่างมปีระสทิธภิาพทีส่�าคญั คอื เทคโนโลยทีางโลจิสติกส์ ซึ่งประกอบด้วย GPS (Global Positioning System) เป็นระบบทีใ่ช้ในการบอกต�าแหน่งของสิง่ต่าง ๆ บนโลกนี ้โดยระบบ GPS จะใช้เทคโนโลยขีองดาวเทยีมทีจ่ะเป็นเครือ่งมอืในการพจิารณาหาจดุพิกัดบนโลกนี้ โดยใช้พิกัดตัวเลขของละติจูดและลองติจูด ท�าให้ ทราบถงึต�าแหน่งทีแ่ท้จรงิของสิง่นัน้ ๆ ถกูน�ามาใช้ในเชงิการค้าในการติดตาม ตรวจสอบการเดินทางขนส่งสินค้าของรถบรรทุกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ Barcode เป็นเทคโนโลยีในการตรวจสอบสินค้าขณะขาย การตรวจสอบยอดการขาย การตรวจสอบยอดขาย และสินค้าคงคลัง RFID (Radio Frequency Identification) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการระบุสิ่งต่าง ๆ แบบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ EDI (Electronic Data Interchange) เป็นการใช้เครือ่งคอมพวิเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสารธุรกิจระหว่างหน่วยงานตั้งแต่ 2 หน่วยงานขึ้นไป ที่มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับร่วมกัน โดยผ่านเครือข่ายสื่อสาร การวางแผนทรัพยากรวสิาหกจิ (Enterprise Resource Planning : ERP) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรวิสาหกิจ โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรวิสาหกิจเข้าด้วยกัน ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System : WMS) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานภายในคลงัสนิค้าและการบรหิารสตอ็กให้เป็นโดยอัตโนมติัมคีวามถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นย�ามากขึ้น และระบบการจัดการขนส่ง (Transportation Management System :TMS) ซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยในการจดัการขนส่ง จดัการยานพาหนะ จดัการผูร้บัขน และออกแบบ

เครือข่าย ซึ่งจะท�าให้องค์กรธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โลจิสติกส์ มีประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์ มีศักยภาพในการแข่งขันในกระแสโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดียิ่ง

เอกสารอ้างอิง

1. http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/

oct_dec_11/pdf/aw02.pdf

2. http://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_

content&view=article&id=1785:-gps-gps&catid=45:any-talk&Itemid=56

3. http://riverplusblog.com/2011/06/07/barcode-%E0%B8%84

%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84

%E0%B8%A3/

4. http://www.barcode-produce.com/index.php?lay=show&ac

=article&Id=539352178

5. http://www.ecti-thailand.org/emagazine/views/60

6. http://logisticsrmuttochan.blogspot.com/2011/08/edi.html

7. https://www.blogger.com/profile/15310147878392969862

8. https://www.youtube.com/results?search_query

9. http://www.tpa.or.th/writer/author_des.php?passTo=62e910

fa5312fa86d74d4f9a500c4a5a&authorID=1766

10. สนั่น เถาชารี. การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการ

ทางธรุกจิของวสิาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมโดยใช้ระบบ ERP : กรณศีกึษา

โรงงานผลิตขนมปังและเบเกอรี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหา

บัณฑิต: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.

11. เศรษฐศักด์ิ เลศิประเสรฐิเวช. ระบบ GPS ทีม่ผีลต่อประสทิธภิาพ

การจัดการในธุรกิจขนส่ง. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: วิทยาลัย

นวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

12. สรไกร ปัญญาสาครชัย. ผลส�าเร็จในการน�าเทคโนโลยี GPS มา

ประยุกต์ใช้ในการเพิม่คณุภาพการบริการขนส่งสนิค้าและบริการทางถนน. การ

ค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี: วิทยาลัย

นวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552

13. วิโชติ สัมพันธรัตน์. ประสิทธิภาพของการรายงานการบรรทุก

ขนถ่าย และการรายงานการรับมอบส่งมอบตู้สินค้าด้วยระบบการส่งเอกสาร

อิเล็กทรอนิกส์ ของ บริษัท ที ไอ พี เอส จ�ากัด ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าบี 4. งาน

นิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิ

สติกส์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2548.

14. สุมาลี บัวขาว. การใช้รหัสแท่งในการบริหารสินค้าคงคลังของ

อตุสาหกรรมอาหารและเคร่ืองด่ืม. การศึกษาค้นคว้าอสิระปรญิญาบรหิารธรุกจิ

มหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.

15. สวุารนิ พรรคเจรญิ. การศึกษาความเป็นไปได้ในการน�าเทคโนโลยี

บ่งชีวั้ตถุด้วยคลืน่ความถ่ีวิทยุ มาใช้ในการบริหารรถยนต์ภายในลานจอด. งาน

นิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและ

โลจิสติกส์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.