naga of nan

27
นาค ประดับพุทธสถาน อำาเภอเมืองน่าน พีรญา ปรีดาสุวรรณ

Upload: anna-anniie

Post on 05-Apr-2016

227 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

การประดับลวดลายนาคในพุทธสถาน เขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน

TRANSCRIPT

Page 1: Naga of Nan

นาคประดับพุทธสถานอำาเภอเมืองน่าน

พีรญา ปรีดาสุวรรณ

Page 2: Naga of Nan
Page 3: Naga of Nan

1

1

นาคประดับพุทธสถานอำาเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

Page 4: Naga of Nan

2

เมืองน่าน หรือ “นันทบุรี” เป็นนครรัฐของกลุ่มชนชาวไทยที่รวมตัวกันก่อตั้งขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำาน่านในหุบเขาภาคเหนือทางตะวันออก ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘

ช่วงที่ ๑ สร้างเมืองปัว และเมืองน่าน(ระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – พ.ศ. ๑๙๙๒)ช่วงที่ ๒ เมืองน่านขึ้นกับอาณาจักรล้านนา(พ.ศ. ๑๙๙๓ – ๒๑๐๑)ช่วงที่ ๓ เมืองน่านตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า(พ.ศ. ๒๑๐๓ – ๒๓๒๘)ช่วงที่ ๔ เมืองน่านขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. ๒๓๓๑ – ๒๔๗๔)

นครน่าน

Page 5: Naga of Nan

3

3

งานศิลปกรรมที่สื่อออกมาในเชิงการรับใช้ศาสนานั้น มีรูปแบบในการสื่อความหมายที่แน่ชัดทั้งในแง่ของทัศนศิลป์และความหมาย งานออกแบบตกแต่งพุทธสถานนั้นมีลวดลายที่หลากหลายมากมาย ลวดลายที่สำาคัญ คือ ลวดลายรูปนาค

นาค หรือ พญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำานานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำาโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษา โดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐาน คือ พญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำา หรือบ้างก็มี ๗ สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำาคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร

ความเชื่อ

Page 6: Naga of Nan

4

ความสำาคัญของหางหงส์หางหงส์ คือ ส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมไทย อยู่

ปลายสุดของปั้นลม มีหลายแบบ คือ แบบส่งนาค แบบนาคเบือน แบบเศียรนาค และแบบเหรา

ความสำาคัญของคันทวยคันทวย หรือ ทวย คือ ส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม

ไทย ทำาหน้าที่ค้ำายันชายคา มักแกะสลักหรือหล่อเป็นลวดลายสวยงาม คันทวย มีทั้งที่เป็นไม้ และปูนปั้น ตามแต่ประเภทของอาคาร คันทวย ทางภาคเหนือ จะเรียกทวยหูช้าง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยมติดกับเสา หรือผนัง บนแผ่นไม้มีการสลักลายหรือลายฉลุโปร่ง เป็นรูปนาค ลายดอกไม้ หรือลายต่าง ๆ ตามแต่การออกแบบ

ความสำาคัญของซุ้มประตูซุ้มประตู คือ ประตูทางเข้าพระวิหารด้านหน้า มัก

ประดับด้วยซุ้มประตูทำาเป็นกรอบประตูที่มีเสาก่อขึ้นไป และทำาวงโค้งด้านบน เรียกว่า ซุ้มประตูโขง ด้านบนประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา นาคหรือสัตว์ในป่าหิมพานต์ ซึ่งป่าหิมพานต์ดังกล่าวนี้ เป็นตัวแทนของทางเข้าชมพูทวีป ซึ่งหมายถึงโลกมนุษย์ในคติความเชื่อเรื่องจักรวาล

ความสำาคัญ

Page 7: Naga of Nan

5

5

ความสำาคัญของโก่งคิ้วโก่งคิ้ว คือ ส่วนหนึ่งของสภาปัตยกรรมไทย ทางภาค

เหนือนั้นเป็นแผงไม้อยู่ใต้หน้าแหนบมีลักษณะเป็นแผงวงโค้ง ถ้าอยู่ที่ใต้แหนบปีกนกก็เรียกว่า โก่งคิ้วปีกนก มักมีลวดลายประดับอยู่ เช่น ลวดลายพันธุ์พฤกษา นาค หรือสัตว์ในป่า หินพานต์

ความสำาคัญของราวบันไดนาคราวบันไดนาค คือ ส่วนหนึ่งของสภาปัตยกรรมไทย

ทางภาคเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นการออกแบบที่อุปมาถึง สัตว์ในป่าหิมพานต์ หรือ นาค ในคติความเชื่อเรื่องจักรวาลโดยนาคนั้นถูกนำามาใช้เป็นตัวแทนของน้ำา ความอุดมสมบูรณ์ และเป็นตัวแทนของสายรุ้งที่เชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์

Page 8: Naga of Nan

6

วัดพระธาตุเขาน้อยวัดพระธาตุเขาน้อย ได้ปรากฏการประดับของนาค

ตรงราวบันไดทางขึ้นสู่พระอุโบสถ ซึ่งมีขั้นบันไดทั้งหมด ๓๐๓ ขั้น โดยมีพญานาคสามเศียร ลำาตัวสีเขียว ทอดลำาตัวขนาบข้างยาวจนสุดบันไดขั้นสุดท้าย รวมไปถึงหางหงส์ ที่มีลักษณะเป็นเศียรนาคประดับอยู่หลังคาพระวิหารอีกด้วย จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปาง ประทานพร บนฐานดอกบัวสูง ๙ เมตร

นาคประดับในพุทธสถาน

Page 9: Naga of Nan

7

7

Page 10: Naga of Nan

8

วัดศรีพันต้นวัดศรีพันต้น เป็นวัดที่ได้รับการบูรณะใหม่ มีความ

สวยสดงดงาม ด้านหน้าอุโบสถเป็นจิตรกรรมปูนปั้นพญานาคเจ็ดเศียรสีทองเหลืองอร่าม และประดับด้วยกระจกหลากสี รวมไปถึงหางหงส์ และซุ้มประตู ก็เป็นจิตรกรรมปูนปั้นเศียรพญานาคด้วยเช่นกัน ภายในพระอุโบสถยังมีภาพเขียนสี ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน

Page 11: Naga of Nan

9

9

Page 12: Naga of Nan

10

วัดมิ่งเมืองวัดมิ่งเมือง เป็นวัดที่มีอายุราว ๑๔๙ ปี อุโบสถหลัง

ใหม่เป็นแบบล้านนาร่วมสมัยแบบในปัจจุบัน ลักษณะเด่น คือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ จิตรกรรมปูนปั้นพญานาคสามเศียรตรงราวบันไดทางขึ้น หางหงส์ ซุ้มประตู และโก่งคิ้ว ยังเป็นปูนปั้นรูปทรงเศียรพญานาค และบริเวณเสาฝั่งขวามือบันไดทางขึ้น ยังปรากฏงานปูนปั้นรูปพญานาคเลื่อนพันเสาขึ้นไป ซึ่งมีความสวยงามวิจิตรบรรจงมาก เป็นฝีมือตระกูลช่าง เชียงแสน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่าง ท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุข ด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ ๓ เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลัก เป็นรูป พรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

Page 13: Naga of Nan

11

11

Page 14: Naga of Nan

12

วัดภูมินทร์วัดภูมินทร์ จุดเด่นของวัดนี้ คือ เป็นวัดที่สร้างทรง

จตุรมุขหน่ึงเดียวในประเทศไทยท่ีดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค ๒ ตัว ซึ่งพญาทั้งสองตัวนี้ เมื่อสังเกตดูดีๆแล้วนั้น จะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน โดยสันนิฐานว่าตัวพญานาคฝั่งซ้ายมือนั้น คือ ตัวผู้ และฝั่งขวามือ คือ ตัวเมีย นอกจากนี้ หางหงส์ยังมีการแกะสลักไม้และประดับกระจกหลากสีเป็นรูปทรงเศียรพญานาค รวมไปถึงค้ำายัน ก็ยังใช้เทคนิคการแกะสลักไม้เป็นรูปทรงพญานาคด้วยเช่นกัน อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจ คือ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามของวัดภูมินทร์

Page 15: Naga of Nan

13

13

Page 16: Naga of Nan

14

วัดหัวข่วงวัดหัวข่วง มีวิหาร และเจดีย์ เป็นลักษณะศิลปกรรม

แบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม โดยมีปูนปั้นพญานาคสีขาวเทา เป็นราวบันไดทั้งสองข้างทางเข้าพระวิหาร และจิตรกรรมปูนปั้นพญานาคสองตัวหันหน้าเข้ากัน โดยหางของทั้งสองนั้น พันกันขึ้นเป็นยอดของซุ้มประตูทางเข้า ที่อยู่ด้านข้างพระวิหารฝั่งซ้ายมือ และที่โดดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ หางหงส์ มีการแกะสลักไม้เป็นรูปพญานาค ทาสีน้ำาตาล นอกจากนี้ยังมีปูนปั้นพญานาค ประดับกระจกหลากสี อยู่ด้านข้างพระพุทธรูป ในพระวิหารอีกเช่นเดียวกัน

Page 17: Naga of Nan

15

15

Page 18: Naga of Nan

16

วัดพญาภูวัดพญาภู คาดว่ามีอายุมากกว่า ๕๔๙ ปี นอกจากจะ

มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างไว้ด้านหลังพระวิหารแล้ว ภายในวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลา ๒ องค์ และยังปรากฏงานปูนปั้นพญานาคประดับกระจก และเขียนลายได้อย่างวิจิตรงดงาม รวมไปถึง หางหงส์ เป็นงานปูนปั้นเศียรพญานาค ทาสีทองเหลืองอาร่าม และงานแกะสลักไม้พญานาค ข้างเสาทางขึ้นหน้าพระวิหารซึ่งเป็นการประดับตกแต่งต่อมาจากโก่งคิ้ว นอกจากนี้ ยังมีภาพไม้จำาหลักทวารบาลรูปยักษ์ที่บานประตูวิหารหลวง งดงามแปลกตา

Page 19: Naga of Nan

17

17

Page 20: Naga of Nan

18

วัดสวนตาลวัดสวนตาล เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองน่าน

มาร่วม ๖๐๐ ปี และวัดสวนตาลยังเป็นที่ประดิษฐานของ “พระเจ้าทองทิพย์” ทิพย์แห่งทองพระพุทธรูปสำาริดองค์ใหญ่ด้วย นอกจากนี้ ยังมีพญานาคที่มีลำาตัวเป็นสีเขียวเข้ม และเขียนลวดลายอย่างสวยสดงดงาม ทอดยาวเป็นราวบันไดเข้าสู่พระวิหาร หางหงส์ เป็นงานปูนปั้นรูปทรงเศียรพญานาค ทาสีทอง ในส่วนของค้ำายัน เป็นงานไม้แกะสลักรูปทรงพญานาคเช่นเดียวกัน และซุ้มประตูทางเข้าพระวิหารนั้น ส่วนบนประดับด้วยพญานาคฝั่งละ ๖ เศียร ชั้นละ ๓ เศียร มีทั้งหมด ๒ ชั้น รวมแล้วมี ๑๒ เศียร ทาสีและเขียนลวดลายอย่างสวยงาม นอกจากนี้ ยังมีพญานาคอยู่ขนาบข้างพระประธานในพระวิหารอีกด้วย

Page 21: Naga of Nan

19

19

Page 22: Naga of Nan

20

วัดหัวเวียงใต้วัดหัวเวียงใต้ มีอายุกว่า ๒๗๓ ปี เป็นวัดเก่าแก่

ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนหลังคาทรงมะลิลา ซึ่งเคยรุ่งเรืองในอดีต มีพระประทานเป็นปูนปั้นศิลปะแบบพม่า กำาแพงวัดอายุกว่า ๑๖๐ ปี เป็นรูปพญานาค ๒ ตัว อยู่บนกำาแพงวัด ในส่วนของโก่งคิ้ว และซุ้มประตูทางเข้าพระวิหาร มีการประดับปูนปั้นรูปพญานาค ซึ่งประดับตกแต่งด้วยกระจกหลากสี นอกจากนี้ ค้ำายัน และหางหงส์ เป็นการแกะสลักไม้รูปพญานาคเช่นเดียวกัน โดยที่หางหงส์นั้น มีการประดับตกแต่งด้วยกระจกหลากสีอย่างงดงาม

Page 23: Naga of Nan

21

21

Page 24: Naga of Nan

22

วัดมหาโพธิ์วัดมหาโพธิ์ ได้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุง

รัตนโกสินทร์ โดยมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักทรงเครื่องลงรักปิดทองปางเปิดโลก ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถ นอกจากนี้ ยังมีพญานาคลำาตัวสีเขียวเข้ม เขียนลวดลายอย่างงดงาม ทอดยาวเป็นราวบันไดสู่พระอุโบสถ และที่โดดเด่นนั้น คือ หางหงส์ ที่เป็นรูปพญานาคแกะสลักจากไม้ ทาสีเขียวเช่นเดียวกัน รวมไปถึง ซุ้มประตูทางเข้าอุโบสถ ยังประดับด้วยพญานาค ข้างละ ๓ เศียร รวม ๖ เศียร ประดับตกแต่งด้วยกระจกหลากสีอย่างสวยงาม

Page 25: Naga of Nan

23

23

Page 26: Naga of Nan

24

งานลวดลายประดับรูปนาคดูจะเป็นสิ่งที่ควบคู่กับอาคารที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาได้ลงตัวมากที่สุด ทั้งนี้จะเกี่ยวเนื่องกับคติความคิดของพุทธศาสนามากน้อยเพียงใดนั้น ในแนวเชิงช่าง และแนวความคิดก็สามารถระบุให้เห็นแน่ชัดแล้วว่า ลวดลายรูปนาคจะยังคงรับใช้ในส่วนขององค์ประกอบสำาคัญของอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาอันมีแนวคิดเชิงจักรวาลคติตลอดไป

นาคประดับพุทธสถาน อำาเภอเมืองน่าน

ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557)โดย พีรญา ปรีดาสุวรรณ, 540310129

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย พีรญา ปรีดาสุวรรณโดยใช้ฟอนท์ TH Krub 16 pt.

หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำาขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพการศึกษา

ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Page 27: Naga of Nan

นาค เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย