thai concept of forms: a case of mountain religion through platoian analysis

13
แนวคิดรูปแบบของไทย ผานภูเขาแหงความศรัทธาตามรอยการวิเคราะหของเพลโต Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis พิมพวดี เอื้อมธุรพจน หัวหนาสํานักงานพัฒนาวิชาการและวิจัย คณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ศูนยรังสิต อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 Pimwadee Eomthurapote Head, Department of Academic and Research, Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University Rangsit Campus, Klongluang, Patumtani 12121 e-mail: [email protected] บทคัดยอ ภูเขาในที่นี้ไมใชภูเขา แตเปนภูเขาที่แสดงถึงความยิ่งใหญแหงความศรัทธา และอยูบนยอดเจดียตามคติความเชื่อเรื่อง ไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเปนศูนยกลางแหงจักรวาล บทความนี้เปนการวิเคราะหแนวคิดรูปแบบของไทยผานสัญลักษณ ของภูเขาแหงความศรัทธาโดยใชทฤษฎีแบบของเพลโต โดยการทบทวนวรรณกรรม การเกิดปรากฏการณ และการ ตีความดานคติความเชื่อ ซึ่งการวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตกับแนวคิดของไทยสามารถนํามาอธิบายเปนการรับรู เชิงรูปธรรมในโลกสมมติ และการรับรูเชิงปญญาในโลกแหงแบบ โดยแบงออกเปน 4 ระดับ ไดแก 1) จินตนาการ 2) ความเชื่อ 3) เหตุผล และ 4) ปญญาที่แทจริง การรับรูเชิงรูปธรรมสอดคลองกับการเขาถึงความรูในรูปแบบความรู เชิงบริสุทธิโดยใชตัวอยางจากการสรางศาสนสถานในประเทศไทยที่แสดงรูปแบบจากอิทธิพลความเชื่อของภูเขา และการนอมรับแนวคิดที่ไดมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา Abstract The Mountain in this context is not the physical mountain, but is interpreted on huge belief of faith. The mountain appears on the pinnacle of Thiphum which is symbolized the Mount Meru as the center of the universe. This paper is the analysis of Thai concept of Forms inspired by mountain through Platoian’s Theory of Forms. After studying inductive reasoning from literatures, phenomena, and the interpretation of religious space manipulation, the analysis of Plato’s Theory of Forms could explain two perceptions of forms; the objective world and recognition of the intellectual world. Plato’s World of Forms also elaborates levels of perceptions in four levels, that are 1) Imagining 2) Belief 3) Reasoning, and 4) Perfect Intelligence. The perception of concrete in accrodance with the access to knowledge in the pure form. The paper raises cases of how monasteries in Thailand were influenced by the mountain’s concept and how the ideological recognition has changed over time. Keywords ทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ไตรภูมิ (Triphum) รูปธรรม (Concrete - Know what can be touched with the body) นามธรรม (Abstract - No image is one thing that does not know to along with concrete) 1

Upload: pimwadee-eomthurapote

Post on 08-Mar-2016

213 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

Abstract The Mountain in this context is not the physical mountain, but is interpreted on huge belief of faith. The mountain appears on the pinnacle of Thiphum which is symbolized the Mount Meru as the center of the universe. This paper is the analysis of Thai concept of Forms inspired by mountain through Platoian’s Theory of Forms. After studying inductive reasoning from literatures, phenomena, and the interpretation of religious space manipulation, the analysis of Plato’s Theory of Forms could explain two perceptions of forms; the objective world and recognition of the intellectual world. Plato’s World of Forms also elaborates levels of perceptions in four levels, that are 1) Imagining 2) Belief 3) Reasoning, and 4) Perfect Intelligence. The perception of concrete in accrodance with the access to knowledge in the pure form. The paper raises cases of how monasteries in Thailand were influenced by the mountain’s concept and how the ideological recognition has changed over time.

TRANSCRIPT

Page 1: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

แนวคิดรูปแบบของไทย ผานภูเขาแหงความศรัทธาตามรอยการวิเคราะหของเพลโต Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis พิมพวดี เอ้ือมธุรพจน หัวหนาสํานักงานพัฒนาวิชาการและวิจัย คณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ศูนยรังสิต อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121 Pimwadee Eomthurapote Head, Department of Academic and Research, Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University Rangsit Campus, Klongluang, Patumtani 12121 e-mail: [email protected] บทคัดยอ ภูเขาในที่นี้ไมใชภูเขา แตเปนภูเขาท่ีแสดงถึงความย่ิงใหญแหงความศรัทธา และอยูบนยอดเจดียตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิท่ีมีเขาพระสุเมรุเปนศูนยกลางแหงจักรวาล บทความนี้เปนการวิเคราะหแนวคิดรูปแบบของไทยผานสัญลักษณของภูเขาแหงความศรัทธาโดยใชทฤษฎีแบบของเพลโต โดยการทบทวนวรรณกรรม การเกิดปรากฏการณ และการตีความดานคติความเชื่อ ซึ่งการวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตกับแนวคิดของไทยสามารถนํามาอธิบายเปนการรับรูเชิงรูปธรรมในโลกสมมติ และการรับรูเชิงปญญาในโลกแหงแบบ โดยแบงออกเปน 4 ระดับ ไดแก 1) จินตนาการ 2) ความเชื่อ 3) เหตุผล และ 4) ปญญาท่ีแทจริง การรับรูเชิงรูปธรรมสอดคลองกับการเขาถึงความรูในรูปแบบความรูเชิงบริสุทธิ์ โดยใชตัวอยางจากการสรางศาสนสถานในประเทศไทยที่แสดงรูปแบบจากอิทธิพลความเชื่อของภูเขาและการนอมรับแนวคิดท่ีไดมีการเปล่ียนแปลงตามกาลเวลา Abstract The Mountain in this context is not the physical mountain, but is interpreted on huge belief of faith. The mountain appears on the pinnacle of Thiphum which is symbolized the Mount Meru as the center of the universe. This paper is the analysis of Thai concept of Forms inspired by mountain through Platoian’s Theory of Forms. After studying inductive reasoning from literatures, phenomena, and the interpretation of religious space manipulation, the analysis of Plato’s Theory of Forms could explain two perceptions of forms; the objective world and recognition of the intellectual world. Plato’s World of Forms also elaborates levels of perceptions in four levels, that are 1) Imagining 2) Belief 3) Reasoning, and 4) Perfect Intelligence. The perception of concrete in accrodance with the access to knowledge in the pure form. The paper raises cases of how monasteries in Thailand were influenced by the mountain’s concept and how the ideological recognition has changed over time. Keywords ทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ไตรภูมิ (Triphum) รูปธรรม (Concrete - Know what can be touched with the body) นามธรรม (Abstract - No image is one thing that does not know to along with concrete)

1

Page 2: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

1. บทนํา มนุษยทุกคนถูกรอบลอมดวยสภาวะแวดลอมสามอยาง อยางแรกเรียกวา ภูมิวัฒนธรรม คําวา

ภูมิวัฒนธรรมไมไดหมายความถึงภูมิประเทศ แตหมายความถึงความสัมพันธของคนที่มีตอภูมิประเทศ ไมใชภูเขา แตคนใชประโยชนจากภูเขาอยางไร คนมีความสัมพันธกับภูเขาอยางไร อยางนี้เรียกวาภูมิวัฒนธรรม อยางท่ีสองเรียกวา นิเวศวัฒนธรรม หมายความถึง ภูเขา แมน้ํา ทะเล ฯลฯ มนุษยไดเขาไปใชประโยชนจากระบบนิเวศนั้นไดอยางไร และสุดทายเรียกวา สังคมวัฒนธรรม ดังนั้น ถาไดศึกษาวัฒนธรรมอยางมีพลวัตแลว เปนท่ีเขาใจไดวา มนุษยไดอยูทามกลางส่ิงแวดลอมอะไร แตไมไดหมายความถึงการศึกษาส่ิงแวดลอม แตศึกษาวามนุษยสัมพันธกับส่ิงแวดลอมนั้นไดอยางไร ท้ังสามอยาง ไมวาจะเปน ภูมิวัฒนธรรม นิเวศวัฒนธรรม หรือสังคมวัฒนธรรม ไดพบวา มีการเปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา ท้ังจากปจจัยภายในและ/หรือปจจัยภายนอก (นิธิ เอียวศรีวงศ, 2553)

การนําสัญลักษณของภูเขาซึ่งไมใชภูเขาในโลกแหงความเปนจริง แตเปนภูเขาท่ีแสดงถึงความย่ิงใหญแหงความศรัทธา และอยูบนยอดเจดียตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิท่ีมีเขาพระสุเมรุเปนศูนยกลางแหงจักรวาล โดยนําสัญลักษณของภูเขามาวิเคราะหกับแนวคิดรูปแบบของไทยและประยุกตใชกับทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ของเพลโต (Plato) ซึ่งเปนทฤษฎีสุนทรียศาสตรท่ีมีการผสมผสานอยางสรางสรรคในเร่ืองธรรมชาติของการเลียนแบบ ในเรื่องเก่ียวกับ "แบบ" (Forms) หมายความถึง วัตถุหรือส่ิงของทางกายภาพ หรือการกระทําตางๆ ท่ีมองเห็นไดในโลกของเรา เชน "ความงาม" "ความดี" และ "ความยุติธรรม" ท่ีปรากฏบนโลก โลกท่ีเปนวัตถุ ส่ิงของ การกระทําตางๆ ลวนมีสวนรวมใน "แบบของความเปนนามธรรม" ซึ่ง เพลโต นักปรัชญาชาวกรีก เรียกวา "โลกท่ีสามารถเขาใจได" (the Intelligible World) โลกของ "แบบ" (Forms) ท่ีไมตองอาศัยเรื่องของกาลเวลา ไมตองอาศัยเรื่องของที่วาง เพลโตถือวาโลกมีอยู 2 โลก คือ โลกแหงวัตถุ (Material World) ซึ่งเปนโลกท่ีรูไดทางประสาทสัมผัส ไดแก ตา หู จมูก ล้ิน และกาย เหลานี้ทําใหมนุษยรูจัก รูป รส กล่ิน เสียง และสัมผัส ซึ่งเพลโตถือวาเปนโลกแหงผัสสะ (Sensible World) ซึ่งโลกแหงวัตถุนี้เปนส่ิงท่ีมีอยูเพียงชั่วคราว มีแลวก็เปล่ียนแปลงไปไมคงท่ี (Subjective Reality) เปนโลกแหงมายาที่ไมจริงแท ซึ่งเปนโลกแหงความไมสมบูรณ สวนโลกท่ีสมบูรณนั้น เพลโตเชื่อวาเปนโลกแหงสัจจะแท (The Absolute Reality) ท่ีไมแปรปรวน เปนโลกนิรันดร นั่นคือโลกแหงแบบ (World of Forms or Pattern) หรือโลกเหนือประสาทสัมผัส (Transcendental World) หรือโลกแหงมโนภาพ (World of Idea) ทฤษฎีแหงมโนภาพ (Idea) หรือ “แบบ” (Forms) ของเพลโต หรือทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ไดอธิบายถึงธรรมชาติของการดํารงอยูของสรรพส่ิงตางๆ (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, 2552) ซึ่งบทความนี้ เปนการนําทฤษฎีแบบมาวิเคราะหกับแนวคิดรูปแบบของไทย โดยผานภูเขาแหงความศรัทธาตามรอยการวิเคราะหของเพลโต

2. คําถามการวิจัย ทฤษฎีแบบของเพลโตสามารถประยุกตใชกับความเชื่อและความศรัทธาของคนไทยไดอยางไร

3. วัตถุประสงค เพ่ือสรางความเขาใจเกี่ยวกับประวัติศาสตรของพ้ืนท่ีและความสัมพันธทางศาสนา – จินตภาพ โดยการ

จําลองเชิงพลวัตท่ีสามารถนํามาวิเคราะหใชกับทฤษฎีแบบของเพลโต ท้ังเรื่องความเชื่อและความศรัทธาของคนไทย โดยนําแนวความคิดเรื่องไตรภูมิมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีแบบตามแนวคิดของเพลโต และรูปแบบของภูเขาในเชิงสัญลักษณ

4. วิธีวิจัย (1) การทบทวนวรรณกรรม และวิเคราะห รวมถึงการเปรียบเทียบเนื้อหาท่ีเกี่ยวของกับแนวคิดผานความเชื่อ

ภูเขาในสังคมไทย

2

Page 3: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

(2) วิธีเชิงอุปนัยโดยการรวบรวมขอเขียนและขอสังเกตจากการตีความหมายของปรากฏการณในลักษณะความสัมพันธของโลกกายภาพกับมิติทางสังคม และศาสตรอื่นๆ ท่ีเกี่ยวของ

5. ทฤษฎีแบบของเพลโตตออิทธิพลแนวความคิด เปนเวลากวา 2,500 ป ท่ีหลักปรัชญาของเพลโตมีอิทธิพลตอแนวความคิดในการศึกษาดานตาง ๆ เชน

ปรัชญา จิตวิทยา ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร เพลโตเปนนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตรท่ีมีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก เพลโตเกิดเมื่อ 427 ปกอนคริสตศักราช ท่ีกรุงเอเธนส ประเทศกรีซ เพลโตไดศึกษาวิชาการดานตาง ๆ กับ โสเครตีส (Socrates) ผูเปนอาจารย ซึ่งทฤษฎีแบบ (Theory of Forms) ของเพลโต เปนทฤษฎีท่ีไดรับแนวความคิดทางปรัชญามาจากโสเครตีสท่ีวา ความรูท้ังปวงมาจากแบบ และทฤษฎีท่ีวาดวยแบบนี้เปนหัวใจหลักของปรัชญาท้ังหมดของเพลโต แตทฤษฎีของเพลโตแตกตางจากโสเครตีส เนื่องจากเพลโตไดนํามาขยายเนื้อหาทางอภิปรัชญาท่ีกวางขวางขึ้น โดยแบบของเพลโตมีความเปนอิสระและอยูเหนือจิต และไดนําหลักปรัชญาน้ีมาพิจารณาความเปนไปของธรรมชาติ ซึ่งสรุปวา ไมมีสรรพส่ิงใด ๆ ในโลกนี้ท่ีมีลักษณะแนนอนตายตัว (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ, 2552)

“แบบ” ของเพลโต เปนการอธิบายถึง วัตถุส่ิงของท่ีสามารถพบเห็นในชีวิตประจําวัน เปนส่ิงจําลองมาจากของจริงหรือตนฉบับ ส่ิงท่ีเปนแมแบบหรือตนฉบับนั้นไดแก “แบบ” (Forms) หรือ “มโนคติ” (Ideas) ซึ่งในการศึกษาเรื่องของแบบนั้น จะตองทําความเขาใจเกี่ยวกับความรู (ปญญา) ของเพลโต ตามทัศนะของเพลโตเห็นวา ความรูท่ี (ปญญา) อันบริสุทธิ์ เปนความรูท่ีแทจริง ความรูชนิดน้ีไดมาจาก 2 ทาง คือ ความรูท่ีไดจากการคํานวณ และจากสัญลักษณทางคณิตศาสตร แตความรูอันบริสุทธ์ิเปนความรูท่ีเปนความจริงสูงสุดหรือมโนคติ ซึ่งไดมาจากการใชปญญาหรือพุทธิปญญา (สภาพจิตท่ีรับรูมโนคติโดยตรงเปนสภาพจิตท่ีบริสุทธ์ิ อยูเหนือการรับรูดวยประสาทสัมผัส) และความรูท่ีแทจริงตามหลักปรัชญาของเพลโตจากระดับขั้นต่ําสุดจนถึงระดับขั้นสูงสุด ตามลําดับความสําคัญของเหตุผลมี 4 ประการ (Capistran, 2000) ดังตอไปนี้

(1) จินตนาการ (Imagining) คือ ภาพท่ีจิตรับรูเปนจินตภาพ การรับจินตภาพเรียกวา จินตนาการ เพราะภาพท่ีจิตคิดเห็นเปนแคภาพเหมือนหรือเงาของวัตถุ

(2) ความเชื่อ (Belief) คือ หากมนุษยเราคิดถึงใครมาก อาจสรางจินตนาการถึงรูปรางหนาตา กิริยาทาทางของเขา แตตัวเขาท่ีเห็นในจินตนาภาพยอมสูตัวเขาท่ีไปพบปะพูดคุยจริงๆ ไมได การไดพบตัวจริงถือวาเปนความรูระดับสัญชาน ซึ่งเรียกความรูระดับนี้วาความเชื่อ

(3) เหตุผล (Reasoning) การทําใหพบส่ิงท่ีเปนสากลดวยเหตุผล (4) พุทธิปญญา (Perfect Intelligence) หมายถึงสภาพจิตท่ีรับรูมโนคติโดยตรง และจิตเปนอิสระจากส่ิงท่ีรับรู

ดวยประสาทสัมผัส จิตเขาถึงมโนคติไดโดยไมตองผานสัญลักษณ พุทธิปญญาเปนความรูท่ีแทจริง เพราะเขาถึงความจริงสูงสุดคือมโนคติ ความรูจึงหมายถึงการรูจักมโนคติ (Ideas) เชน แบบของสามเหล่ียม แบบของมนุษยท่ีแยกจากส่ิงท่ีเปนวัตถุกายภาพเปนรูปทรงสามเหล่ียม ท่ีเปน “แบบบริสุทธิ์ (Pure Form)” โดยไมตองใชการอางอิงสัญลักษณจากส่ิงท่ีมองเห็นอีกตอไป

6. ไตรภูมิ (Traiphum)

ไตรภูมิ หรือ ไตรโลก หมายถึง สามโลก ซึ่งเปนคติเกี่ยวกับโลกสัณฐานตามความเชื่อในพุทธศาสนา ไตรภูมิประกอบดวย กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ และไตรภูมิไดกลาวถึง โลกมนุษย นรก และสวรรค สําหรับคนไทยไดรับความรูเร่ืองไตรภูมิมาพรอมๆ กับการรับพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ ไตรภูมิไดกลาวถึง จักรวาลที่มีโลกซ่ึงมนุษยอาศัยอยูนี้เปนหนวยหนึ่งของอนันตจักรวาลอันหาขอบเขตจํากัดไมได จักรวาลใดๆ ยอมมีสภาพเหมือนกันท้ังส้ิน ในจักรวาลหนึ่งๆ นั้น มีเขาพระสุเมรุเปนแกนกลาง และมีเขาสัตบริภัณฑลอมอยูโดยรอบเปนวงแหวนเจ็ดวง

3

Page 4: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

ท้ังเขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภัณฑถูกหอมลอมดวยสีทันดรสมุทรท่ีแผกวางไปทุกทิศจนครอบจักรวาล รอบนอกของเขาสัตบริภัณฑในทิศใหญท้ังส่ีทิศ เปนท่ีตั้งของทวีปใหญส่ีทวีป และทวีปนอยอีกส่ีทวีป ซึ่งทวีปใหญท้ังส่ี ไดแก อุตรกุรุทวีปท่ีตั้งอยูทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ บุรพวิเทหะทางทิศตะวันออก ชมพูทวีปทางทิศใต และอมรโคยานทางทิศตะวันตก ทวีปใหญแตละทวีปเปนท่ีเกิดของมนุษย มนุษยแตละทวีปจะมีลักษณะเฉพาะของตน แตเฉพาะ ในชมพูทวีปเทานั้น ท่ีเปนดินแดนท่ีเกิดของพระพุทธเจา พระปจเจกพุทธเจา และพระเจาจักรพรรดิ (พระศรีสุธรรมเมธี, 2553)

ความเชื่อเรื่องไตรภูมิกับวิถีชีวิตในพุทธศาสนาของสังคมไทยมีมายาวนาน ไมนอยกวา 660 ป นับต้ังแตครั้งสมเด็จพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 7) กษัตริยองคท่ี 7 แหงกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระรวง หนังสือฉบับนี้ไดตกทอดเปนมรดกความเชื่อทางพุทธศาสนาจวบจนปจจุบัน ทําใหแนวความคิดและคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลท่ีมีมากอนพุทธกาลในศาสนาพราหมณหรือฮินดู ท่ีอธิบายถึงเรื่องไตรภูมิ เร่ืองการเวียนวายตายเกิด บาปบุญคุณโทษ ตามแนวทางปรัชญาในพระพุทธศาสนา และเรื่องอื่นๆ ท่ีมีอิทธิพลตอการสรางสรรคศิลปกรรมไทยทุกประเภท ท้ังจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปตยกรรม งานประณีตศิลป และศิลปะพ้ืนบาน (ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน), 2555) โดยผานเรื่องราวทางเนื้อหาดานความเชื่อเรื่องไตรภูมิโดยตรง หรือการแสดงรูปสัญลักษณ เพ่ือแทนความหมายที่เปนภพภูมิตางๆ รวมถึงพระพรหม ในคติพระพุทธศาสนา ซึ่งเปนพรหมชั้น "รูปพรหม" ในไตรภูมิพระรวง ฉบับกรุงธนบุรีในคติพุทธศาสนา พระพรหม เปนชาวสวรรคชั้นสูงขั้นหนึ่งท่ีสูงกวาเทวดาท่ัวไป เรียกวา "พรหม" พระพรหมยังอยูในกามาวจรภพ มีการวนเวียนวายตายเกิด อยูในสวรรคท่ีเรียกวาชั้นพรหม (พรหมภูมิ) พระพรหมแบงออกเปน 2 ประเภท คือ พรหมท่ีมีรูป เรียกวา "รูปพรหม" มีท้ังหมด 16 ชั้น และพรหมท่ีไมมีรูป เรียกวา "อรูปพรหม" มีท้ังหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกวารูปพรหม (สมคิด สวยลํ้า, 2553) อรูปพรหมเปนพรหมที่ไมมีรูป มีแตนามขันธ 4 เชน ในอรูปภูมิท้ัง ๔ ถึงแมจะเรียกวาภูมิ แตภูมินี้ไมปรากฏวามีรูปรางสัณฐานอยางหน่ึงอยางใด เพราะเปนภูมิท่ีมีแตอากาศวางเปลาอยู สําหรับอรูปพรหมน้ี เปนพรหมท่ีไมมีรูป มีแตนามขันธ 4 เกิดขึ้นติดตอกันโดยไมมีระหวางคั่นนับตั้งแตปฏิสนธิมา (พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, 2535)

7. การนําทฤษฎีแบบของเพลโตมาวิเคราะหแนวคิดเกี่ยวกับภูเขา แนวคิดเกี่ยวกับภูเขานี้ ไดนําแนวคิดมาจากหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งจากการเสวนาหัวขอ “ไตรภูมิ

จักรวาลทัศนของชาวพุทธ ความเชื่อกับภูมิวัฒนธรรม" (ศรีศักด์ิ วัลลิโภดม และ รุงโรจน ภิรมยอนุกูล, 2554) ท่ีกลาวถึง ภูเขาไววาเปนสัญลักษณสากลอันเปนตัวแทนของส่ิงท่ีเหนือโลก หรือการเชื่อมตอระหวางมนุษยกับจักรวาลอันไพศาล หรือการเชื่อมตอระหวางรูปกับนาม หรือการเชื่อมระหวางความคิดกับความจริง หรือการเชื่อมระหวางความศรัทธาของผูคนในชุมชน ในเมือง ในเชื้อชาติ ในกลุมความเชื่อการเกิดขึ้นของคติปรัมปราในอดีต ท่ีเชื่อมความคิดกับจินตนาการ ซึ่งสงผลตอนามธรรม สวนรูปทรงของสถูปเจดียไดรับอิทธิพลจากรูปทรงของภูเขาท่ีไดรวมความศรัทธาของมนุษยจนกลายเปนศูนยรวมความเชื่อในภูมิวัฒนธรรม โดยไดมีการถายทอดคติจักรวาลออกมาเปนผังวัด การสรางงานสถาปตยกรรม โดยจําลองเจดียเปนเขาพระสุเมรุ มีวิหารทิศเปนทวีปท้ัง 4 การสรางซุมประตูโขงเปนศูนยกลางจักรวาลหรือเขาพระสุเมรุท่ีประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งทรงประทับอยูท่ีศูนยกลางจักรวาล ท้ังนี้ ไดจําลองภาพสันนิษฐานจักรวาลตามคติไตรภูมิในพุทธศาสนา (ภาพท่ี 1) โดยยกตัวอยางของ พระปรางค วัดอรุณราชวราราม (ภาพที่ 2) และ ยอดแหลมของเจดียภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภาพที่ 3) มาประยุกตใชเพ่ือการอธิบายในทฤษฎีแบบของเพลโต

4

Page 5: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

ภาพที่ 1 จักรวาลตามคติไตรภูมิในพุทธศาสนา ท่ีมา: 7wondersthailand, 2553. (ดัดแปลง)

ก. วัดอรุณราชวราราม ข . รูปทรงของพระปรางค วั ดอ รุณราชวราราม

ภาพท่ี 2: วัดอรุณราชวราราม และพระปรางควัดอรุณราชวราราม ท่ีมา: ภาพ ก. เขียนศักด์ิ แสงเกล้ียง, 2555 ภาพ ข. สมคิด จิระทัศนกุล, 2554. (ดัดแปลง)

ภาพที่ 2 ก. และ ข. แสดงภาพวัดอรุณราชวราราม และพระปรางควัดอรุณราชวราราม ซึ่งเปนแบบท่ีมีความงดงามตามสถาปตยกรรมไทยและไดสะทอนภาพของไตรภูมิ จากสวนเดนชัดของสิเนรุบรรพตและเขาพระสุเมรุ และรูปทรงของพระปรางค เปน “ทรงจอมแห” ท่ีมีโครงรูปเสนรอบนอกเปนลักษณะแอนโคงเหมือนอาการท้ิงน้ําหนักตัวของ “แห” ท่ีถูกยกข้ึน รูปทรงเชนนี้ เคยถูกนํามาใชในการออกแบบพระเจดียสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร การออกแบบ “รูปทรงจอมแห” อยูท่ีการเนนสวนฐานดวยการซอนชั้นจํานวนนับไมถวนเพ่ือเปนการเสริมใหอาคารมี

5

Page 6: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

ความสูงมากๆ จึงตองยืดสวนของฐานใหกวางขึ้นกวาปกติ และเพียงพอใหสามารถเบียดทรวดทรงอาคารใหเกิดลักษณะท่ีแอนโคงไดสําเร็จตามรูปทรงดังกลาว เรือนธาตุกับสวนยอดสะทอนถึงความสุนทรียะแหง “รูปทรง” ลักษณะใหมท่ีงดงามอยางหมดจด

ก. พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ข . ลักษณะเจ ดียทรงระฆัง

ภาพท่ี 3 พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และเจดียทรงระฆัง ท่ีมา: ภาพ ก. เขียนศักด์ิ แสงเกล้ียง, 2555. ภาพ ข. พระพรหมพิจิตร, 2495. (ดัดแปลง)

จากภาพท่ี 3 ก. และ ข. แสดงภาพพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดย สมัยรัชกาลท่ี 4 โปรดเกลาฯ ใหกอพระเจดียทรงระฆังไวบนยอดเขา เมื่อสรางแลวเสร็จ ไดพระราชทานนามใหมวา “บรมบรรพต” มีขนาดวัดไดโดยรอบ 8 เสน 5 วา สูง 1 เสน 19 วา 2 ศอก มีบันไดเวียนขึ้นลง 2 ทาง คือทางทิศเหนือและใต และ บุกระเบ้ืองโมเสกสีทองที่องคพระเจดีย รวมท้ังสรางพระเจดียองคเล็กๆ รายรอบพระเจดียองคใหญท้ัง 4 ทิศ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดียบนลูกแกว ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุบนยอดพระเจดียภูเขาทองเปนการประมวลภาพเขียนหลังพระประธานในพระอุโบสถเรื่องไตรภูมิพระรวง (Golfreeze, 2007)

จากรูปทรงของพระปรางควัดอรุณราชวรารามและยอดเจดียภูเขาทอง ท้ังในเชิงการออกแบบ รูปแบบ แผนผัง และองคประกอบตกแตง สามารถตอบรับกับแนวคิดในเรื่องของ “คติจักรวาล” ตามแนวคิดของไตรภูมิ และในทฤษฎีแบบของเพลโตที่อธิบายไดชัดเจนวา “แบบ” เปนอสภาวะ แต “แบบ” จะอยูแยกตางหากจากส่ิงท่ีเปนวัตถุกายภาพ และแบบเปน “ตัวแทน” หลักวาดวย เหตุผลในจักรวาล ดังนั้น รูปทรงของพระปรางควัดอรุณราชวราราม และยอดเจดียภูเขาทอง วัดสระเกศ จึงเปนตัวแทนของภูเขาหลอมรวมศรัทธาของผูคนในประเทศไทย ประเด็นของภูเขาในทฤษฎีของ “แบบ” ท่ีเชื่อวา เปนเพียงเงาหรือภาพสะทอน หรือลอกแบบมาจากมโนภาพในอีกทอดหน่ึง เพราะถือวา ภูเขาเปนมโนภาพหรือโลกแหงแบบอันเปนรูปธรรม และภูเขาเปนสัญลักษณแหงความเปนจริง เชน คนกับเงา ถาไมมีคน เงาของคนก็เกิดขึ้นไมได ภูเขา จึงถูกสมมติขึ้นมาโดยอาศัยรูปรางสัณฐานในเชิงนามธรรม

8. ความสัมพันธในระหวางมนุษย สิ่งแวดลอมและอํานาจเหนือธรรมชาติ โครงสรางทางสังคมโดยพื้นฐานของมนุษย มีองคประกอบของความสัมพันธทางสังคมท่ีเกี่ยวพันของผูคนอยู 3 ประการ ไดแก ความสัมพันธระหวางคนกับคน ความสัมพันธระหวางคนกับธรรมชาติ และความสัมพันธระหวางคนกับส่ิงเหนือธรรมชาติ ซึ่งกอใหเกิดความรูสึกของการอยูรวมกันเปนกลุมภายในพ้ืนท่ีทางวัฒนธรรม

6

Page 7: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

เดียวกันความสัมพันธท่ีเชื่อมโยงและเปนพลวัตเหลานี้ เปนหัวใจสําคัญของการอยูรวมกันในสังคมของมนุษยในทองถ่ินตางๆ โดยเฉพาะความสัมพันธกับอํานาจเหนือธรรมชาตินั้น คือ ส่ิงท่ีสะทอนใหเห็นถึงภูมิจักรวาลที่อยูเบ้ืองหลังของภูมิวัฒนธรรมและสัญลักษณของส่ิงศักด์ิสิทธิ์ในสังคม และในความสัมพันธระหวางมนุษยกับอํานาจเหนือธรรมชาติ โดยมีสัญลักษณเปนศูนยกลางของจักรวาลของผูคนในทองถ่ินเชื่อมโยงกับคนท่ีตางชุมชนและ ตางเผาพันธุอยูในบานเมืองเดียวกันไดอยางราบรื่น สภาพนิเวศตามธรรมชาตินั้น ประกอบดวย แมน้ํา ลําคลอง หนอง บึง ซึ่งเปล่ียนแปลงไปตามฤดูกาล ความเขาใจเรื่องพลวัตของธรรมชาติแวดลอมนั้น กอใหเกิดความสัมพันธในระบบนิเวศจากภูเขาสูงอันเปนตนน้ําลําธารไปจนถึงลําหวย แมน้ํา และหนองบึง ท่ีไหลเวียนหมุนเปล่ียนไปตามฤดูกาล การเชื่อมโยงของระบบนิเวศเหลาน้ีทําใหเกิดความสมดุลและรักษาคุณภาพของระบบนิเวศอันหลากหลายที่มิใชมีเพียง “น้ํา” หรือ “ปลา” แตคือส่ิงมีชีวิตในธรรมชาติรวมท้ังมนุษยดวย ในนิเวศตามธรรมชาติเหลานี้มีส่ิงศักดิ์สิทธ์ิท่ีควบคุมการใชทรัพยากรใหอยูรวมกัน โดยมีการกําหนดพ้ืนท่ีใดพ้ืนท่ีหนึ่งใหเปนพ้ืนท่ีศักด์ิสิทธ์ิท่ีลวงลํ้าไมไดและใหใชทําพิธีกรรมตามประเพณีในฤดูกาลท่ีเกี่ยวของเทานั้น ส่ิงศักด์ิสิทธิ์นี้จะทําหนาท่ีปกปกษรักษาและคุมครองมนุษย เปนรูปแบบของความสัมพันธท่ีมนุษยมีความผูกพันอยูรวมกับอํานาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งเปนส่ิงท่ีคนในทองถ่ินเขาใจรวมกันและจดจํารวมท้ังเลาสืบตอกันมา (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, 2554)

9. สัญลักษณระหวางรูปธรรมกับนามธรรม ลักษณะความเชื่อท่ีเกิดขึ้นเกิดจากจินตนาการและความรูสึกเมื่อมนุษยไดสัมผัสธรรมชาติท่ีเรียกวา

“ภูเขา” ซึ่งเปนสัญลักษณสากลอันเปนตัวแทนของส่ิงท่ีเหนือโลก หรือการเชื่อมตอระหวางมนุษยตัวเล็กๆ กับจักรวาลอันไพศาล บางครั้งเปนจุดเชื่อมระหวางรูปธรรมกับนามธรรม ความคิดกับความจริง หรือบางครั้งเปนจุดท่ีสามารถสรางความศรัทธาของผูคนในชุมชน ในอาณาจักร ในเมือง ในเชื้อชาติ ในกลุมความเชื่อ การเกิดขึ้นของคติปรัมปราในอดีตเกิดจากความจริงท่ีมองเห็นตอเนื่องกับความคิดกับจินตนาการ รูปทรงของสถูปเจดียไดถอดความตอเนื่องจากรูปทรงของภูเขาที่หลอหลอมความศรัทธาของผูคน เปนศูนยรวมความเชื่อในภูมิวัฒนธรรม ซึ่งท้ังความใหญ ความสูง ความมืดท่ีเกิดจากสวนเวาของภูเขา และไดสอดคลองกับทฤษฎีโลกแหงแบบ (World of Forms) ของเพลโต ซึ่งกลาววา โลกท่ีมนุษยอาศัยอยูทุกวันนี้เปนโลกท่ีถูกประทับ หรือทําสําเนามาจากโลกแหงแบบที่มีความสมบูรณและเปนของจริง มนุษยจะเขาสูโลกแหงแบบไดก็ตองใชเหตุผล เพ่ือเขาสูแบบที่ยิ่งใหญกวาแบบทั้งหลายนั้นคือ แบบแหงความดี (Form of Goodness) ซึ่งจะเปนเหมือนแสงอาทิตยท่ีทําใหมนุษยรูเชนเห็นแจงตอโลกแหงแบบทั้งโลก ดังนั้นความเชื่อ จึงเปนเพียงจินตนาการ เปนส่ิงท่ีไมมีตัวตน ไมมีอยูจริง แตความเชื่อน้ันก็ทําใหมนุษยเรามีความสุขมากขึ้นเมื่อเราไดเชื่อและปฏิบัติตาม (สมบัติ จันทรวงศ, 2549)

10. ผลการทบทวนวรรณกรรมนํามาสูการพรรณนา การทบทวนวรรณกรรมนํามาสูการพรรณนาและสรุปเพ่ือตอบวัตถุประสงค และสนับสนุนความเขาใจ

เกี่ยวกับประวัติศาสตรของพ้ืนท่ีและความสัมพันธทางศาสนา – จินตภาพ โดยการจําลองเชิงพลวัตของเพลโต ท่ีมีอิทธิพลซึ่งกันและกันรวมถึงความขัดแยงของกระบวนการที่ตรงกันขามโดยธรรมชาติ และทางเลือกของการแสดงท่ีสรางขึ้นเปนปจจัยภายในและภายนอกขอบเขตสําหรับสังคมไทยนั้น ทําใหทราบถึงแนวความคิดเชิงมโนทัศนท่ีทําใหเกิดความเปล่ียนแปลงของสิ่งจําเพาะท่ีเกิดขึ้นในโลกซึ่งเปนโลกที่เกิดจากการประทับของแบบทางมโนคติของเพลโตนั้น แสดงออกมาในรูปแบบของความคิดท่ีแสดงออกมาเปนนามธรรมของคติและความคิดท่ีบริสุทธิ์ เปนการแสวงหารูปแบบของส่ิงตางๆ เชน มโนทัศนของความดี มโนทัศนของความเปนมนุษย โดยนําเอาบริบททางความคิดพ้ืนถ่ิน ไดแก ภูมิศาสตรทางวัฒนธรรมที่นําเอาความเปนเอกลักษณทางพ้ืนท่ีมาผสมผสานกับความคิดทางจิตวิญญาณซึ่งเปนรูปแบบของความคิดท่ีมักเกิดขึ้นท่ัวไปอยางสากล โดยนําเอาจุดเดนทางภูมิศาสตรท่ีมีความสําคัญและแสดงถึงการเชื่อมตอระหวางมนุษยและธรรมชาติซึ่งในท่ีนี้คือ ภูเขา เขามามีบทบาทในการ

7

Page 8: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

แสดงออกถึงแนวความคิดและความสัมพันธท่ีผสมผสานอยางแนบแนนจนไมสามารถแยกออกจากกันไดระหวางภูมิศาสตรทางวัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชน (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, 2554) ถึงแมวา แนวความคิดของเพลโตเปนแนวคิดของสังคมดานตะวันตก แตเปนแนวคิดสากลท่ีสามารถพบแนวคิดน้ีไดท่ัวไปในวัฒนธรรม ท้ังจากทางตะวันตกตลอดจนฝงตะวันออกรวมท้ังสังคมไทย ความคิดท่ีเปนมโนคติท่ีชัดเจนท่ีสุดท่ีพบเห็นได คือ มโนคติเรื่องไตรภูมิท่ีถูกถายทอดแนวคิดเกี่ยวกับศาสนา ความดี ความชั่ว และภพภูมิ จนกระท้ังเรื่องการแบงโลกเปนสวนตาง ๆ ตามความเชื่อจากพุทธคติ และนําแนวความคิดเรื่องแผนภูมิจักรวาลท่ีแสดงอยางชัดเจนในงานศิลปะ วรรณกรรม และสถาปตยกรรม (พระสมปอง มนตชาโต, 2553) โดยภูมิจักรวาลตามไตรภูมินั้นเปนความคิดท่ีนําเสนอถึงแนวคิดของการทําความดี การประพฤติตนในศีลธรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี โดยกลาวถึงบาปบุญคุณโทษ คนทําความดียอมไดรับกรรมดี คนทําความชั่วยอมไดรับผลตอบแทน เชน การแบงโลกเปน 3 ภพภูมิ คือ กามภูมิ รูปภูมิ และภูมิ (พระศรีสุธรรมเมธี, 2536) โดยแผนภูมิจักรวาลไดนําเอาระบบความคิดเชิงคตินิเวศวัฒนธรรมเขาไปเกี่ยวโยงดวย เชน แกนกลางของจักรวาล มีภูเขา ศักด์ิสิทธิ์ท่ีเปนท่ีอยูของผูท่ีกระทําแตกรรมดี นั่นคือ เขาพระสุเมรุซึ่งเปนศูนยกลางของจักรวาล แนวคิดเร่ืองภูเขาท่ีเปนศูนยกลางของจักรวาลดังกลาวนั้น ถูกถายทอดจากประเทศอินเดีย สูดินแดนสุวรรณภูมิ อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี และประเทศไทยในปจจุบัน แนวคิดน้ีเปนแกนสารทางรูปธรรมและเปนส่ิงเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณระหวางมนุษยกับส่ิงท่ีอยูเหนือธรรมชาติ ทําใหคนไทยและคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตไดสรางส่ิงท่ีเปนตัวแทนของความศรัทธา เชน การสรางวัดวาอารามตามภูเขาสูงหรือในภูมิประเทศท่ีเปนพ้ืนท่ีราบไดสรางสถูปและเจดียตางๆ โดยการพัฒนารูปแบบทางความคิดท่ีวา ภูเขาหรือส่ิงกอสรางรูปทรงคลายภูเขาน้ัน แสดงถึงการดํารงไวซึ่งหลักคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ ความเปนศูนยกลางของจักรวาล (ศรีศักด์ิ วัลลิโภดม และ รุงโรจน ภิรมยอนุกูล, 2554) โดยมีความแตกตางกันไปตามบริบททางทองถ่ินของแตละพ้ืนท่ีตอการพัฒนารูปแบบทางสถาปตยกรรมไทย เชน การสรางเจดียทรงระฆังคว่ํา ตอมาไดมีการพัฒนาแนวคิดทางสถาปตย-กรรมจนสามารถพัฒนารูปแบบเปนเจดียทรงจอมแห เชน พระปรางควัดอรุณราชวราราม เพราะรูปแบบความคิดทางมโนคตินั้น เปรียบเสมือนส่ิงท่ีเปนวัตถุจริง แตในทางกลับกัน ส่ิงท่ีเปนสสารวัตถุนั้น เปล่ียนแปลงไปตามบริบทของส่ิงท่ีมากระทบแนวความคิดท่ีเปนมโนคติ เปรียบเสมือนเงาของวัตถุท่ีแปรเปล่ียนรูปรางไปตามมุมองศาของแสงท่ีมากระทบถึงแมวัตถุตนกําเนิดจะมีเพียง 1 เดียว แตเงาท่ีเกิดขึ้นบนพ้ืนนั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบขึ้นอยูกับวาเปนเวลาใด แสงสองมาในทิศทางใด ดังนั้นความสัมพันธของพ้ืนท่ีกับแนวความคิดคติของศาสนานั้น มีความสัมพันธและสอดคลองกับแนวคิดทฤษฎีแบบท่ีเพลโตเสนอไว คือ รูปแบบทางกายภาพนั้นเปนรอยประทับของแบบในมโนคติ ซึ่งมโนคติเปนความคิดในระดับสูงสุด ซึ่งผานการกล่ันกรองความคิดจากการการรับรู ผัสสะ สูจินตนาการ สูความเชื่อ สูแนวคิดเชิงเหตุผล และสรุปเปนความคิดเชิงบริสุทธิ์ และสอดคลองกับมโนคติของสังคมไทยในเรื่องราวของไตรภูมิท่ีเนนเรื่องของความดีงาม ผานแผนภูมิจักรวาล และนํามาสูรูปแบบทางธรรมชาติเปนภูเขาท่ีเชื่อมโยงมนุษยกับส่ิงเหนือธรรมชาติ ตลอดจนการสรางศิลปะ และสถาปตยกรรม ท่ีนําเสนอรูปทรงของภูเขาผานแนวทางสถูปเจดียและพระปรางคตางๆ เปนตน ซึ่งรูปทรงเหลานี้กอใหเกิดการรับรูและเกิดกระบวนการคิดหาทางไปสูหนทางแหงปญญา ผานการรับรูเรื่องราวผานรูปทรงของภูเขาและส่ิงปลูกสราง และเกิดจิตนาการเชื่อมโยงกับความเชื่อ และแนวคิดเชิงเหตุผลทําใหสะทอนถึงแนวทางของความคิดเชิงอุดมคติ เร่ืองของความคิดคติทางศาสนา ความดีงามในจิตใจ ซึ่งเมื่อความคิดเชิงมโนทัศนมีการเปล่ียนแปลงตามกาลเวลา ซ่ึงกรอบความคิดแบบมโนทัศนท่ีเปล่ียนแปลงไปนั้น นํามาท้ังความเปล่ียนแปลงในทางที่สรางสรรคและทําลายตอสภาพแวดลอมท้ังเชิงนามธรรมและรูปธรรม

11. การวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตและแนวคิดของไตรภูมิ การวิเคราะหทฤษฎีแบบของเพลโตกับแนวคิดของไตรภูมิ สามารถนํามาอธิบายเปนการรับรูเชิงรูปธรรม (โลกสมมติ) และการรับรูเชิงปญญา (โลกแหงแบบ) ไดโดยแบงออกเปน 4 ระดับ ไดแก 1) จินตนาการ 2) ความเชื่อ

8

Page 9: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

3) เหตุผล และ 4) ปญญาท่ีแทจริง โดยเริ่มตนจากการรับรูผานประสาทสัมผัส ท้ัง 5 ไดแก ตา หู จมูก ล้ิน กาย และ ใจ โดยเพลโต นําเสนอวา ความรูระดับลางสุดคือ จินตนาการ เพราะเปนความคิดท่ีเกิดจากการรับรูจากส่ิงแวดลอม (ภาพท่ี 4)

ภาพท่ี 4 รูปธรรม (โลกสมมติ) และเชิงปญญา (โลกแหงแบบ)

จากภาพท่ี 4 การรับรู แบงออกเปน 4 ระดับ โดยเริ่มจากจินตนาการ ความเชื่อ เหตุผล และปญญาแทจริงตามลําดับ เปนแนวความคิดท่ีเรียกวาแบบบริสุทธิ์ (Pure Form) เปนรูปแบบของสามเหล่ียม แบบของมนุษยท่ีแยกออกจากส่ิงท่ีเปนวัตถุกายภาพเปนรูปทรงสามเหล่ียม เปนรูปทรงท่ีมีโครงสรางที่มีระเบียบมีความงาม (Tyson, 2012) ส่ิงนี้เปนส่ิงท่ีหลอหลอมความคิดและความเชื่อท้ังในเรื่องจิตวิญญาณและหลักปฏิบัติในการดํารงชีวิต ซึ่งส่ิงท่ีพบในโลกปจจุบันลวนเกิดจากโลกแหงแบบที่ทําใหสสารเกิดการรวมตัว โดยแบบที่แทจริงทําใหเกิดส่ิงเฉพาะท่ีมีรูปรางหรือรูปแบบท่ีผิดเพ้ียนจึงเกิดความหลากหลายของธรรมชาติ โดยการรับรูเชิงปญญา เปนการมองความวางเปลา การเขาถึงระดับปญญาบริสุทธิ์นั้น ทําใหมองเห็นความจริงซึ่งไมยึดติดอยูกับรูปแบบ เพลโตมองวา แบบบริสุทธ์ิ (Pure Form) เปนแบบที่สะทอนออกมาเปนรูปธรรมนั้นเอง

ภาพท่ี 5 การวิเคราะหทฤษฎี “แบบ” ท้ังแนวคิดของเพลโตและแนวคิดของไตรภูมิ

9

Page 10: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

ภาพที่ 5 แสดงถึงการเกิดภาพเสมือนจากวัตถุตนแบบ เปรียบเทียบไดกับวัตถุท่ีตั้งอยูแลวมีแสงสองมากระทบทําใหเกิดเงาของวัตถุ ทําใหสสารมีความผิดเพ้ียนแตกตางไปจากวัตถุตนแบบ แนวคิดนี้สอดคลองกับแนวคิดท่ีนําเสนอความสัมพันธระหวางรูปแบบความคิดของไตรภูมิกับแนวคิดของเพลโต

ภาพท่ี 6 กายภาพกับแนวความคิด เปนการอธิบายความสัมพันธระหวางรูปธรรมและนามธรรม

จากภาพท่ี 6 กายภาพกับแนวความคิด โดยผานรูปทรงของกลองเปลาและรูปทรงความเคล่ือนไหว ซึ่งเปนส่ิงท่ีส่ือผานความรูความเขาใจในเรื่องท่ีเกี่ยวของกับรูปธรรมและนามธรรม ดังนั้นรูปแบบทางกายภาพ จึงมีความสัมพันธทางใดทางหน่ึงกับความคิดเชิงนามธรรม ไมวาจะเปนเรื่องความเชื่อ หรือมโนคติทางความคิด เชนเดียวกับแนวความคิดทางระบบภูมิวัฒนธรรมที่รูปแบบทางกายภาพนั้นมีความสัมพันธกับรูปแบบความคิดเชิงจินตภาพได เชน สัญลักษณของภูเขาซึ่งหมายถึง ส่ิงท่ีมีความหมายเหนือธรรมชาติ จากลักษณะทางกายภาพของภูเขา แสดงใหเห็นถึงการรับรูเชิงรูปธรรมสามารถสงผลตอความคิดเชิงนามธรรมได

ภาพท่ี 7 รูปแบบทางกายภาพตามแนวคิดเพลโตและไทย

จากภาพท่ี 7 รูปแบบทางกายภาพตามแนวคิดเพลโตและไทย เปรียบเทียบไดกับกลองเปลาท่ียังขาดรูปแบบในการจัดเรียง ตามแบบของเพลโต ซึ่งเปรียบเทียบไดความคิดเชิงมโนคติ เรื่องไตรภูมิ ท่ีฝงรากเร่ืองคติความเชื่อ ความดีงามในสังคม ท่ีตองการหลอหลอมใหคนในสังคมเปนคนดี โดยยึดรูปแบบแผนภูมิจักรวาลท่ีมี เขาพระสุเมรุเปนศูนยรวมจักรวาล สอดคลองกับความเชื่อท่ีนําเอาภูเขามาเชื่อมโยงกับส่ิงเหนือธรรมชาติ โดยท่ีผูคนในสังคมสมัยกอนไดยึดหลักระบบไตรภูมิ และไดมีการสรางส่ิงแวดลอมเชิงรูปธรรมที่สรางแนวความคิดใหสังคมรับรู

10

Page 11: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

ถึงแนวคิดทางศาสนา ซึ่งสามารถมองไดวา การรับรูเชิงรูปธรรมสอดคลองกับการเขาถึงความรูในรูปแบบความรู เชิงบริสุทธิ์ โดยสามารถสังเกตไดวา บริเวณที่มีการสรางศาสนสถานที่สําคัญๆ มักตั้งอยูบนภูเขาสูงหรือภูเขาที่สําคัญในทองท่ีเพ่ือสรางรูปแบบทางรูปธรรมที่สามารถส่ือถึงแนวความคิดในระบบนามธรรมที่กระตุนใหมนุษยพยายามแสวงหาความจริงในความเชื่อท่ีถูกเลาผานกันมาซึ่งหลักการและเหตุผลท่ีแฝงอยูในรูปแบบทางกายภาพที่ผานแนวความคิดของมนุษยท่ีตองการแสดงออกถึงความรูท่ีแทจริงหรือการเขาแบบของเพลโต จึงเปรียบเทียบไดกับการเขาถึงสภาวะอรูปพรหมในระบบไตรภูมินั้นเอง

13. สรุป ทฤษฎีแบบของเพลโตสามารถประยุกตใชกับความเชื่อและความศรัทธาของคนไทย เพราะไดนํา

แนวความคิดเรื่องระบบไตรภูมิ เปรียบเสมือนเปนความคิดในรูปแบบของเพลโต ซึ่งความคิดดังกลาวนี้ไดพัฒนาตอยอดสูรากเหงาของวัฒนธรรม ตั้งแตดินแดนอาณาจักรขอมโบราณ พมา ลาว และประเทศไทยในปจจุบัน โดยการผสมผสานกับแนวความคิดเรื่องระบบนิเวศวัฒนธรรม ซึ่งเดิมไดรับแนวความคิดเร่ืองศาสนาพุทธ เมื่อแนวความคิดเรื่องไตรภูมิและระบบจักรวาลเขามามีอิทธิพลในดินแดนแถบท่ีราบลุมแมน้ํา โดยการสรางเจดียตางๆ เพ่ือทําการบูชาส่ิงศักด์ิสิทธิ์ และทดแทนการขาดหายไปของสัญลักษณทางระบบนิเวศเชิงวัฒนธรรม จนนํามาสูการพัฒนารูปแบบทางสถาปตยกรรมไทยมากมาย ท้ังเจดียทรงระฆัง พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระปรางครูปทรงจอมแห วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ เปนตน ซึ่งส่ิงปลูกสรางตางๆ เปนการกระตุน การรับรูดานผัสสะของมนุษยในสังคมพระพุทธศาสนาท่ีหลอหลอมระบบความคิดผานความเชื่อเรื่องไตรภูมิท่ีถายทอดกันมา โดยที่การรับรูทางกายภาพนี้นําไปสูการสรางความเชื่อเพ่ือท่ีดึงดูดใหคนในสังคมเปดใจรับฟงคําสอนขององคสัมมา สัมพุทธเจาตามหลักศาสนาพุทธท่ีเนนแนวความคิดเรื่องศีลธรรมความดีงามเพ่ือนําไปสูการคนพบแนวทางที่คนพบความจริงของชีวิต นั่นคือ การหลุดพน แนวความคิดดังกลาวนี้มีความสอดคลองอยางยิ่งกับแนวคิดของเพลโตที่มุงสรางความรูท่ีแทจริงโดยผานการรับรูในเชิงรูปธรรมไปจนถึงนามธรรม เปนแนวความคิดท่ีเปนแบบบริสุทธิ์ (Pure Form) นั่นเอง เมื่อเวลาผานไป แนวคิดตางๆ ท่ีเคยมีอิทธิพลตอสังคมไทยในอดีตนั้น ไดเร่ิมเลือนรางหายไป ปจจุบันการดําเนินชีวิตของมนุษยเปล่ียนไป ทําใหการแสดงออกเชิงพฤติกรรมของคนในสังคมตอส่ิงแวดลอมและรูปแบบเชิงพ้ืนท่ีนั้นแตกตางออกไป มนุษยเปล่ียนเปาหมายในการดํารงชีพไมใชการขึ้นสวรรคในชวงหลังความตาย แตเปนการหาความสุขในโลกปจจุบัน สนใจโลกที่เปนแบบบริสุทธิ์ (Pure Form) นอยลง ส่ิงเหลาน้ีสงผลถึงความเชื่อเรื่องระบบนิเวศทางวัฒนธรรม มนุษยไมเคารพภูเขาหรือมองภูเขาเปนสถานท่ีศักด์ิสิทธิ์ท่ีเชื่อมระหวางมนุษยกับส่ิงเหนือธรรมชาติ แตกลับมองวาเปนทรัพยากรชนิดหน่ึงท่ีสามารถเปล่ียนเปนเงินตราและสรางความมั่นคั่งได จึงลงมือทําลายธรรมชาติ สงผลใหเกิดปญหาส่ิงแวดลอมตางๆ สงผลกระทบไปทั่วโลก ส่ิงเหลานี้แสดงถึงแนวความคิดท่ีเปล่ียนแปลงไป และสงผลกระทบตอการเปล่ียนแปลงเชิงพ้ืนท่ีดังท่ีเสนอแนวคิดมาขางตน

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรท่ีไดสนับสนุนทุนเพ่ิมพูนความรูในตางประเทศ ประจําป 2554 ครั้งท่ี 3 เมื่อวันท่ี 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เพ่ือเขารวมงาน The 4th SSEASR Conference, Institute of Language and Culture Studies (ILSC), Royal University of Bhutan, Thimphu, Kingdom of Bhutan อาจารย ดร. เขียนศักด์ิ แสงเกล้ียง นายสุขสันต ชื่นอารมณ นายกสิณ ประสิทธิโชค นายทศธรรม สิงคาลวณิช นางสาวอิสรา หิรัญลักขณา และ นางสาวขวัญ พิทักษรักษสันติ คณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

11

Page 12: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

บรรณานุกรม เขียนศักด์ิ แสงเกล้ียง. (2555). ภาพสเก็ตชวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารและภูเขาทอง. (ไฟลดิจิตอล). คลังปญญาไทย. (2554). วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร. สืบคนเมื่อวันท่ี 13 เมษายน 2554 จาก

http://www.panyathai.or.th. จํานง ทองประเสริฐ. (2509). ปรัชญาตะวันตก สมัยโบราณ. กรุงเทพฯ: แพรพิทยา เดชชาติ วงศโกมลเชษฐ. (2524). ทฤษฎีการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ. โชติ กัลยาณมิตร. (2539). สถาปตยกรรมแบบไทยเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. นิธิ เอียวศรีวงศ. (2553). วัฒนธรรมมลายูนอกมุมมองฟอสซิล DeepSouthWatch. สืบคนเมื่อวันท่ี 20 เมษายน

2554. จาก http://www.deepsouthwatch.org/node/856 นิธิ เอียวศรีวงศ. (2525). ประวัติศาสตรนิพนธตะวันตก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร. ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2552). สุนทรียศาสตรสําหรับคนไทย (3): ทฤษฎีแบบ (Form) ของเพลโต.

หนังสือพิมพบานเมือง ฉบับวันเสารท่ี 13 มิถุนายน 2552. สืบคนเมื่อวันท่ี 20 เมษายน 2554 จาก http://www.ryt9.com.

ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน). (2555). ลักษณะไทย มองเมืองไทยและคนไทยผานทางวัฒนธรรม. สืบคนเมื่อวันท่ี 1 เมษายน 2555 จาก http://www.laksanathai.com/book2/p315.aspx.

ธวัชชัย องควุฒิเวทย และ วิไลรัตน ยังรอด. (2550). ทองเท่ียว-เรียนรู อยุธยา. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, น. 80. พระสมปอง มนตชาโต. (2553). การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑตัดสินความดีในปรัชญาของเพลโตกับพุทธปรัชญา

เถรวาท. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ.

พระพรหมพิจิตร. (2495). พุทธศิลปะสถาปตยกรรมภาคตน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพพระจันทร. พระศรีสุธรรมเมธี. (2553). อิทธิพลของพระพุทธศาสนาเถวรวาทตอความคิดทางการเมืองการปกครองของ

พระเจาลิไท ศึกษาเฉพาะกรณี: ไตรภูมิพระรวม (เตภูมิกถา). ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2535). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา. ปริจเฉทท่ี 5 เลมท่ี 1. กรุงเทพฯ: สนองการพิมพ, หนา 167.

วิทย วิศทเวทย. (2520). ปรัชญาท่ัวไป. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร. (2554). ถ้ํา – อาณาจักรแหงความล้ีลับ. สืบคนเมื่อวันท่ี 3 มิถุนายน 2554

จาก http://www.seub.or.th ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2554). ภูเขาศักด์ิสิทธิ์กับความเปนสากล. วารสารเมืองโบราณ. สืบคนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม

2554 จาก http://www.siamganesh.com/muangboran10.html. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม และ รุงโรจน ภิรมยอนุกูล. (2554). ไตรภูมิ: จักรวาลทัศนของชาวพุทธ “ความเชื่อ” กับ

“ภูมิสถาปตยกรรม”. บันทึกการเสวนาท่ีจัดขึ้นโดยมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ เมื่อวันท่ี 22 เมษายน 2554 จาก http://www.oknation.net/

สุจิตต วงษเทศ. (2554). ประเพณีเดือนแปดรับหนาฝนของคนเหนือ. สืบคนเมื่อวันท่ี 3 มิถุนายน 2554 จาก http://www.sujitwongthes.com,

สมคิด จิระทศันกุล. (2554). รูเรื่อง วัด วิหาร โบสถ เจดีย พุทธสถาปตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมิวเซียมเพรส

สมคิด สวยลํ้า. (2553). การศึกษาวิเคราะหหลักธรรมจากการตอบปญหาเทวดาของพระพุทธเจา. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ.

12

Page 13: Thai Concept of Forms: A Case of Mountain Religion through Platoian Analysis

13

สมบัติ จันทรวงศ. (2549). บทสนทนาของเพลโต. ยูไธโพร อโพโลจี ไครโต. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพคบไฟ. สํานักหอสมุดและศูนยสารสนเทศวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี. (2005). Zabout scientst around the world.

สืบคนเมื่อวันท่ี 1 พฤษภาคม 2554 จาก http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Plato.html อันธิกา (นามแฝง). (2554). ความงาม ความจริง ความดีกับทฤษฎีศิลปะของเพลโต. สืบคนเมื่อวันท่ี 3 มิถุนายน 2554

จาก http://hoyjubkab.exteen.com/20090603/entry-4. 7wondersthailand. (2553). ไตรภูมิพระรวง/ ไตรภูมิกถา/ เตภูมิกถา (พญาลิไท) – สุดยอดวรรณคดีสมัยสุโขทัย.

สืบคนเมื่อวันท่ี 20 เมษายน 2555 จาก http://www.7wondersthailand.com. Capistran, M.D. (2001). “Plato’s Divided Line Analogy”. The Raleigh Tavern Society.

Retrieved November 29, 2001 from http://www.raleightavern.org/dividedline.htm. Dickie, G. (2004). Introduction to Aesthetics: An Analytic Approach. Retrieved April 13, 2011

from http://www.artgazine.com/shoutouts/ Gewirth, A. (1965). Political Philosophy. London: The Macmillan Company. Golfreeze. (2007). ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร. Retrieved April 13, 2011

from http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=570.0 Harmon, M. J. (1954). Political Thought: From Plato to the Present. New York: McGraw-Hill Book Hegel, G.W.F. (1995). Reason in History. (translated by Hartman, R. S.). New York: The Liberal Arts Press. Lacewing, M. (2011). Plato’s theory of Forms. Retrieved April 13, 2011 from www.alevelphilosophy.co.uk. Patocka, J. (2002). Plato and Europe. (translated by Lom, P.). Stanford, California: Stanford University Press. Sahakian, W.S. (1968). History of Philosophy. New York: Barnes & Noble Books. Shields, C. (2003). Classical Philosophy: a Contemporary introduction. New York: Routledge. Tyson, P. (2012). “Reasoning within the Good: An Interview with David C. Schindler”. Radical Orlhodoxy:

Theology,Philosophy Politics. Vol. 1 No 1& 2. (August, 2012) Wikipedia. (2005). Wat Arun from Chao Phraya River. Retrieved April 13, 2011 from http://th.wikipedia.org/ Wordpress. (2554). วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร. สืบคนเมื่อวันท่ี 3 มิถุนายน 2554

จากhttp://www.wordpress.com.