the thai medical council bulletin 2008 จริยธรรมสาธก ... · 2010. 12....

4
แพทยสภาสาร The Thai Medical Council Bulletin 2008 Vol.37 No.2 May-August 2008 35 จริยธรรมสาธก หลักทั่วไปในการทำเวชปฏิบัติ นายแพทย์เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์* การทำเวชปฏิบัติหรืออีกนัย หนึ่ง คือ การให้บริการทางการ แพทย์แก่บุคคลเป็นการกระทำ ต่อร่างกายมนุษย์เพื่อให้เกิดสุข ภาวะที่ดี ปลอดจากความ เจ็บป่วยและรอดพ้นจากการเสีย ชีวิต ซึ่งเป็นภารกิจของบุคลากร ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง อันจะก่อให้เกิดทั้งความพึงพอใจ และความไม่พอใจในผู้รับบริการ ทางการแพทย์ซึ่งจะนำไปสู่การ ฟ้องร้องต่อองค์กรและบุคลากร ทางการแพทย์ได้ การฟ้องร้อง ทางการแพทย์นี้ถือว่าเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ผู้รับบริการ ทางการแพทย์สามารถที่จะกระทำได้ ฉะนั้นบุคลากร ทางการแพทย์ควรมีหลักเกณฑ์ในการทำเวชปฏิบัติ เพื่อให้พ้นจากความรับผิดในเหตุการณ์ที่เกิดจากการ ให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งผมมีข้อแนะนำบาง ประการคือ ๑. การทำความเข้าใจกับผู้รับบริการและญาติ ให้ทราบถึงสภาวะของโรคที่ผู้รับริการเป็นอยูแนวทางการรักษา โอกาสของผู้รับบริการเป็นอย่างไร ผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ การพยากรณ์โรคของ ผู้รับบริการโดยให้ปรากฎหลักฐานเป็นหนังสือ ๒. การขอความยินยอมเป็นหนังสือ (Informed Consent) จากผู้รับบริการหรือญาติในการรับการ รักษาพยาบาลเพื่อเป็นการแสดงว่าผู้รับบริการ อนุญาตให้บุคลากรทางการแพทย์กระทำต่อร่างกาย ของเขา เช่น การเปิดเผยส่วนต่างๆ ของร่างกาย การ สอดใส่สสารเข้าสู่ร่างกาย การแทงเข็ม รวมไปถึงการ ทำหัตถการอื่นๆ ซึ่งถ้าไม่มีหนังสือแสดงความ ยินยอมเป็นหลักฐาน การกระทำต่างๆ จะเป็นความ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องการกระทำ อนาจารหรือการทำร้ายร่างกายได้ หนังสือแสดง ความยินยอมรับการรักษาพยาบาลจะสามารถ ป้องกันความรับผิดของบุคลากรทางการแพทย์ไดเฉพาะเมื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้กระทำไปตาม มาตรฐานการรักษาพยาบาล (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘๐ (๒)) แต่ถ้าบุคลากรทางการ *กรรมการแพทยสภา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา

Upload: others

Post on 12-Oct-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: The Thai Medical Council Bulletin 2008 จริยธรรมสาธก ... · 2010. 12. 17. · แพทยสภาสาร Vol.37 No.2 May-August 2008 The Thai Medical Council

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008Vol.37 No.2 May-August 2008

35

จริยธรรมสาธก

หลักทั่วไปในการทำเวชปฏิบัติ

นายแพทย์เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์*

การทำเวชปฏิบัติหรืออีกนัย

หนึ่ง คือ การให้บริการทางการ

แพทย์แก่บุคคลเป็นการกระทำ

ต่อร่างกายมนุษย์เพื่อให้เกิดสุข

ภาวะที่ดี ปลอดจากความ

เจ็บป่วยและรอดพ้นจากการเสีย

ชีวิต ซึ่งเป็นภารกิจของบุคลากร

ทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง

อันจะก่อให้เกิดทั้งความพึงพอใจ

และความไม่พอใจในผู้รับบริการ

ทางการแพทย์ซึ่งจะนำไปสู่การ

ฟ้องร้องต่อองค์กรและบุคลากร

ทางการแพทย์ได้ การฟ้องร้อง

ทางการแพทย์นี้ถือว่าเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่ผู้รับบริการ

ทางการแพทย์สามารถที่จะกระทำได้ ฉะนั้นบุคลากร

ทางการแพทย์ควรมีหลักเกณฑ์ในการทำเวชปฏิบัติ

เพื่อให้พ้นจากความรับผิดในเหตุการณ์ที่เกิดจากการ

ให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งผมมีข้อแนะนำบาง

ประการคือ

๑. การทำความเข้าใจกับผู้รับบริการและญาติ

ให้ทราบถึงสภาวะของโรคที่ผู้ รับริการเป็นอยู่

แนวทางการรักษา โอกาสของผู้รับบริการเป็นอย่างไร

ผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ การพยากรณ์โรคของ

ผู้รับบริการโดยให้ปรากฎหลักฐานเป็นหนังสือ

๒. การขอความยินยอมเป็นหนังสือ (Informed

Consent) จากผู้รับบริการหรือญาติในการรับการ

รักษาพยาบาลเพื่อเป็นการแสดงว่าผู้รับบริการ

อนุญาตให้บุคลากรทางการแพทย์กระทำต่อร่างกาย

ของเขา เช่น การเปิดเผยส่วนต่างๆ ของร่างกาย การ

สอดใส่สสารเข้าสู่ร่างกาย การแทงเข็ม รวมไปถึงการ

ทำหัตถการอื่นๆ ซึ่งถ้าไม่มีหนังสือแสดงความ

ยินยอมเป็นหลักฐาน การกระทำต่างๆ จะเป็นความ

ผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องการกระทำ

อนาจารหรือการทำร้ายร่างกายได้ หนังสือแสดง

ความยินยอมรับการรักษาพยาบาลจะสามารถ

ป้องกันความรับผิดของบุคลากรทางการแพทย์ได้

เฉพาะเมื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้กระทำไปตาม

มาตรฐานการรักษาพยาบาล (ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.

๒๕๕๐ มาตรา ๘๐ (๒)) แต่ถ้าบุคลากรทางการ

*กรรมการแพทยสภา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา

Page 2: The Thai Medical Council Bulletin 2008 จริยธรรมสาธก ... · 2010. 12. 17. · แพทยสภาสาร Vol.37 No.2 May-August 2008 The Thai Medical Council

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑

36

แพทย์กระทำการต่อร่างกายของผู้รับบริการโดย

ปราศจากความระมัดระวัง บุคลากรทางการแพทย์ก็

ยังต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในฐานที่

กระทำโดยประมาท ซึ่งบทลงโทษก็จะเป็นไปตาม

ความร้ายแรงของความเสียหายที่ผู้รับบริการได้รับ

อย่างไรก็ตามหนังสือแสดงความยินยอม

(Informed Consent) ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระ

ราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.

๒๕๔๐ มาตรา ๘ ซึ่งกล่าวว่าข้อตกลง ประกาศ หรือ

คำแจ้งความที่ได้กระทำไว้ล่วงหน้า เพื่อยกเว้นหรือ

จำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดหรือผิดสัญญาในความ

เสียหายต่อชีวิตร่างกาย หรืออนามัยของผู้อื่น อันเกิด

จากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้

ตกลง ผู้ประกาศ ผู้แจ้งความ หรือของบุคคลอื่นซึ่งผู้

ตกลง ผู้ประกาศ หรือผู้แจ้งความต้องรับผิดด้วย จะ

นำมาอ้างเป็นข้อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้

๓. การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสภาพของโรค

ของผู้รับบริการคือการซักประวัติ ตรวจร่างกายซึ่ง

อย่ า งน้ อยต้ องมีประ เด็นหรื อสาระสำคัญใน

ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

รวมไปถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามความ

จำเป็นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

๔. การติดตามอาการของผู้รับบริการ (Progression)

เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของโรค การติดตามอาการ

ของผู้รับบริการควรปรากฎหลักฐานเป็นหนังสือ เพื่อ

ให้บุคลากรทางการแพทย์อื่นสามารถดูแลผู้รับ

บริการต่อเนื่องต่อไปได้ รวมทั้งเป็นเอกสารอ้างอิงใน

ภายหลังเมื่อเกิดปัญหาจากผู้รับบริการได้

การสั่งการรักษาพยาบาลแก่ผู้รับบริการทุกครั้ง

ต้องมีมาตรฐานการสั่งการรักษาพยาบาลตาม

เอกสารทางวิชาการต่างๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาด

ในการรักษาพยาบาล รวมถึงการเขียนเหตุผลของ

การสั่งการรักษาพยาบาลในเอกสารการติดตามการ

รักษาพยาบาล (Progress note) ทุกครั้งเพื่อใช้เป็น

หลักฐานในการอ้างอิงในภายหลัง

๕. ในกรณีที่อาการของผู้รับบริการเปลี่ยนแปลง

ไปจากที่ควรจะเป็นหรือในกรณีที่เกิดความสงสัยใน

อาการหรืออาการแสดงของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ

ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ท่านอื่นมาร่วมใน

การดูแลผู้รับบริการเพื่อเป็นการหาแนวทางอื่นๆ ใน

Page 3: The Thai Medical Council Bulletin 2008 จริยธรรมสาธก ... · 2010. 12. 17. · แพทยสภาสาร Vol.37 No.2 May-August 2008 The Thai Medical Council

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008Vol.37 No.2 May-August 2008

37

การรักษาพยาบาล ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อ

ผู้รับบริการได้มากขึ้น

๖. เอกสารการจำหน่ายผู้รับบริการจากสถาน

พยาบาลควรมีรายละเอียดของข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับ

บริการในส่วนที่สำคัญครบถ้วน ซึ่งอย่างน้อยควร

ประกอบด้วย

- โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

- การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ

- หัตถการที่ได้ดำเนินการไป

- สภาวะของผู้รับบริการ

- การพยากรณ์โรค

- เวชภัณฑ์ที่ผู้รับบริการได้รับ

๗. ในกรณีที่เกิดข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ

เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์

ควรดำเนินการดังนี้

- ศึกษาข้อเท็จจริงจากเวชระเบียนให้ละเอียด

- ห้ามแก้ไข, เปลี่ยนแปลง, ข้อมูลในเวชระเบียน

- ศึกษาเอกสารทางวิชาการที่ใช้ประกอบในการ

ให้บริการทางการแพทย์

- เตรียมเอกสารข้อเท็จจริงจากเวชระเบียนและ

เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ

ทางการแพทย์ให้สมบูรณ์

- ให้ความร่วมมือกับผู้มีความรู้ทางด้าน

กฎหมายในการทำความเข้าใจร่วมกันในเอกสารเวช

ระเบียนและเอกสารทางวิชาการ

หลักเกณฑ์ที่กล่าวมานั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่ผู้

เขียนใช้ในการทำเวชปฏิบัติในปัจจุบัน เพราะผู้เขียน

เชื่อว่าหลักเกณฑ์เหล่านี้สามารถป้องกันความรับผิด

ในการทำเวชปฏิบัติได้ในระดับหนึ่ง และผู้เขียนหวัง

ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ท่าน

อื่นๆ ได้

Page 4: The Thai Medical Council Bulletin 2008 จริยธรรมสาธก ... · 2010. 12. 17. · แพทยสภาสาร Vol.37 No.2 May-August 2008 The Thai Medical Council

แพทยสภาสารThe Thai Medical Council Bulletin 2008 ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑

38

ข่าวสารแพทยสภา

เมื่อวันที่ ๗ ก.ค. ๒๕๕๑ ศ.นายแพทย์สมศักดิ์

โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา พร้อมด้วย ศ.คลินิก นาย

แพทย์อำนาจ กุสลานันท์เลขาธิการแพทยสภา นาย

แพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ รองเลขาธิการแพทยสภา

แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะ

อนุกรรมการพิจารณาเงินเดือนและค่าตอบแทน

แพทย์ ในภาคราชการ และ นอ.(พ)นายแพทย์อิทธ

พร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ด้าน

บริหารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าพบ และยื่น

แพทยสภาเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาเงินเดือนแพทย์

หนังสือต่อ นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่ง

และอัตรา เ งิ น เดื อนข้ า ราชการแพทย์ ในสาย

ปฏิบัติการวิชาการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบ

ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งท่านรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้แพทยสภาเสนอ

รายชื่อเพื่อตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมดำเนินการในการ

พิจารณากำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนแพทย์

และบุคคลากรทางการแพทย์ให้เหมาะสมต่อไป