uuu คู่มือการดำเนินงาน...

32
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 2) uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรูและคุณภาพเยาวชน aw master Black.indd 1 6/13/11 9:32:59 AM

Upload: others

Post on 10-Oct-2019

11 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

(พิมพ์ครั้งที่ 2)

uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้

และคุณภาพเยาวชน

aw master Black.indd 1 6/13/11 9:32:59 AM

Page 2: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

2

uuu คำนำ

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เป็น

หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 เพื่อทำ

หน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวใหม่อันจะนำไปสู่สังคมแห่ง

การเรียนรู้ (Learning Society) โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อชีวิตจริงในสังคม เปิด

โอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งครอบครัว ชุมชน สื่อ และสถานศึกษา เข้ามามี

ส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนมากขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายคือการ

พัฒนาให้เด็กและเยาวชนสามารถค้นหาศักยภาพตามถนัดของตนเอง มีทักษะและ

โอกาสพัฒนาตนเองไปสู่อาชีพที่เลือกได้

เพื่ออำนวยความสะดวกในโอกาสที่ท่านได้เข้ามาร่วมเป็นภาคีของ สสค.

โดยดำเนินโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการทำงานเพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันต่อไป สสค. ได้

จัดทำ “คู่มือการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพ

เยาวชน” โดยมีสาระเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การดำเนิน

งานโครงการ การเงินการบัญชี และการพัสดุ เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

1 สิงหาคม 2553

aw master Black.indd 2 6/13/11 9:33:00 AM

Page 3: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

3

uuu สารบัญ

คำนำ 2

คำจำกัดความ 4

แนวทางปฏิบัติด้านการดำเนินงาน 5

การลงนามในข้อตกลงและการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร 6

การวางแผนการดำเนินงานโครงการ 6

การดำเนินการตามแผน 6

การติดตามทบทวนบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ 6

การรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 7

การให้การสนับสนุนโครงการ 11

แนวทางปฏิบัติด้านการเงินบัญชีและพัสด ุ 12

ด้านการเงิน 12

ด้านการบัญชี 19

ด้านการพัสดุ 28

ถาม-ตอบ การทำโครงการกับ สสค. 30

aw master Black.indd 3 6/13/11 9:33:00 AM

Page 4: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

4

uuu คำจำกัดความ

1) “สสค.” หมายถึง สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

2) “โครงการ” หมายถึง โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสค. เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับ

การส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

3) “ผู้รับทุน” หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลหรือองค์กรนิติบุคคลซึ่งมีความรู้และความ

เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่ได้เข้าร่วมงานกับ สสค. เพื่อดำเนินงานการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ

คุณภาพเยาวชน โดย สสค. เป็นผู้ให้การสนับสนุนทุน

aw master Black.indd 4 6/13/11 9:33:00 AM

Page 5: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

5

uu แนวทางปฏิบัติด้านการดำเนินงาน

1. การลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานและการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร หลังจากข้อเสนอโครงการของผู้รับทุนได้ผ่านระบบการพัฒนาโครงการจนได้รับอนุมัติ

แล้ว การดำเนินการขั้นต่อไป คือ การทำข้อตกลงดำเนินงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ

คุณภาพเยาวชน โดย สสค. จะส่งข้อตกลงพร้อมทั้งเอกสารแนบท้ายให้ผู้รับทุนเพื่อลงนามในข้อ

ตกลงในฐานะผู้รับทุน ทั้งนี้ ผู้รับทุนควรตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสาร ซึ่ง

ประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้

1) หนังสือแจ้งการอนุมัติโครงการ 1 ฉบับ

2) ชุดข้อตกลงเพื่อให้ผู้รับทุนลงนาม 2 ชุด

3) เอกสารแนบท้ายข้อตกลง 1 : ข้อเสนอโครงการ

4) เอกสารแนบท้ายข้อตกลง 2 : เอกสารเกี่ยวกับงบประมาณ งวดงานและงวดเงิน

5) เอกสารแนบท้ายข้อตกลง 3 : เอกสารเงื่อนไขอื่น

6) คู่มือการดำเนินงานโครงการ 1 เล่ม

7) หนังสือถึงผู้จัดการธนาคาร เพื่อขอเปิดบัญชีธนาคาร (ถ้ามี)

เมื่อได้รับเอกสารข้อตกลงจาก สสค. แล้ว ผู้รับทุนจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

1) ลงนามในฐานะผู้รับทุนในข้อตกลงพร้อมพยาน

2) เปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร โดย

l เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารในนามโครงการ (หากชื่อโครงการมีความยาวมาก

สามารถย่อให้สั้นลงได้ตามความเหมาะสม) โดยให้ผู้รับทุนเป็นผู้มีอำนาจใน

การเบิกถอนเงินจากธนาคาร

l สามารถเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ได้ทุกแห่งที่เกิดความสะดวก

ปลอดภัยกับโครงการ แต่การเปิดบัญชีกับธนาคารแห่งเดียวกับ สสค. คือ

ธนาคารกรุงไทยจะช่วยให้การโอนเงินระหว่าง สสค. กับผู้รับทุนเกิดความ

สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

l ประเภทบัญชีเงินฝากธนาคารควรเป็นประเภทบัญชีออมทรัพย์ (ไม่ใช้ ATM)

และไม่อนุญาตให้เบิกถอนเงินจากบัญชีของโครงการไปฝากไว้ในบัญชีส่วนตัว

3) ส่งเอกสารทั้งหมดพร้อมทั้งสำเนาหน้าสมุดคู่ฝากเงินธนาคารที่ระบุชื่อบัญชีและเลขที่

บัญชีที่ชัดเจนคืนให้ สสค. จากนั้น สสค. จะโอนเงินสนับสนุนโครงการงวดแรกเข้าบัญชีเงินฝาก

ธนาคารของโครงการภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับเอกสารข้อตกลงที่สมบูรณ์และครบถ้วนคืน

จากผู้รับทุน หากโครงการยังไม่ได้รับเงินโอนภายในวันดังกล่าว โปรดติดต่อกับ สสค. ทันที

aw master Black.indd 5 6/13/11 9:33:01 AM

Page 6: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

6

2. การวางแผนการดำเนินงานโครงการ เมื่อผู้รับทุนได้ทราบผลการอนุมัติทุนสนับสนุนโครงการจาก สสค. และได้ลงนามใน

ข้อตกลงรับทุนแล้ว ระหว่างรอการโอนเงินงวดแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการเตรียมงานหรือ

การวางแผนการดำเนินงานโครงการ ซึ่งผู้รับทุนควรมีการเตรียมการในเรื่องต่อไปนี้

1) การจัดทีมงาน หมายถึง การวางแผนเกี่ยวกับบุคลากรที่จะมาช่วยงานของโครงการ

ว่าควรจะมีจำนวนเท่าไรและเป็นผู้ใด ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามวงเงินงบประมาณที่ระบุไว้ในข้อตกลง

2) การจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน ผู้รับทุนควรจัดทำแผนการดำเนินงานของโครงการ

โดยระบุถึงวิธีดำเนินการของแต่ละกิจกรรม ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด อาจมีการแบ่งระยะเวลา

การทำงานเป็นช่วง ๆ งบประมาณที่กำหนดและผลงานที่ควรได้รับ รวมทั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรม

นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงปัญหา อุปสรรค และข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน

เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขไว้ล่วงหน้า

3) การวางแผนการติดตามผลงาน ซึ่งจะเป็นการวางแผนเกี่ยวกับวิธีการติดตาม

ผลการดำเนินงาน รวมทั้งระยะเวลาที่จะติดตามงาน เช่น อาจใช้วิธีการประชุมติดตามงานทุก

เดือน

4) การวางแผนการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึง การกำหนดขอบเขตเนื้อหา

ของการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ รวมทั้งตัวผู้รับผิดชอบในการจัดทำ

3. การดำเนินการตามแผน โครงการควรเริ่มต้นดำเนินการตามที่วางแผนไว้ทันทีที่ได้รับเงินงวดจาก สสค. และควร

ติดตามผลการดำเนินงานให้เกิดผลงานตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง ใน

กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานโครงการ เช่น การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของโครงการ

การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักของการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงการใช้เงินงบประมาณ หรือระยะ

เวลาในการดำเนินงาน ผู้รับทุนจะต้องทำหนังสือแจ้งให้ สสค. ทราบทันที

4. การติดตามทบทวนบทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานโครงการ นอกจากงานบริหารจัดการและควบคุมการดำเนินโครงการให้เสร็จตามแผนและ

งบประมาณแล้ว ผู้รับทุนควรติดตามทบทวนบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ ซึ่งได้แก่

ผลผลิต (Output) หรือผลลัพธ์ (Outcome) ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ส่งผลดีและ

ส่งเสริมเป้าหมายของงานปฏิรูปการเรียนรู้หรือไม่ หรือควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง

aw master Black.indd 6 6/13/11 9:33:01 AM

Page 7: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

7

5. การรายงานผลการดำเนินงานโครงการ 5.1 การรายงานความก้าวหน้าของโครงการเพื่อเบิกเงินงวด

โครงการจะต้องรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและการใช้จ่ายเงินให้

สสค. ทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามเอกสารงวดงานงวดเงินในข้อตกลงรับทุน โดย

รายงานความก้าวหน้าของโครงการจะมีเอกสารประกอบรายงานดังต่อไปนี้

1) รายงานความก้าวหน้าของโครงการ พร้อม CD ข้อมูล (PDF) ที่มีเนื้อหา

ตรงกัน 1 ชุด

2) รายงานการเงินประจำงวด 1 ชุด

3) สำเนาบัญชีธนาคาร (มียอดตรงกับรายการที่ระบุไว้ในข้อ 2)

4) รายงานอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารงวดงานงวดเงิน เช่น

l ผลผลิตประจำงวดของโครงการ

l ภาพถ่ายพื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 5 ภาพ (เฉพาะการเบิกเงินงวดที่ 2)

l ภาพถ่ายกิจกรรม (ควรเป็นภาพที่คัดเลือกแล้ว จำนวนไม่มากเกินไป)

กรณีภาพถ่ายพื้นที่ ฯ และภาพถ่ายกิจกรรมควรจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ (Folder) ไว้

ใน CD ตามข้อ 1

เมื่อ สสค. ได้รับรายงานความก้าวหน้าแล้ว จะตรวจสอบผลการดำเนินงานและ

การใช้จ่ายเงินและพิจารณาสั่งจ่ายเงินงวดต่อไปให้กับโครงการภายใน 15 วัน หลังจากได้รับ

รายงานความก้าวหน้าจากโครงการ

aw master Black.indd 7 6/13/11 9:33:01 AM

Page 8: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

8

ส่วนที่ 2 ผลการตำเนินงานตามผลผลิต/ผลลัพธ์

ระบุรายละเอียดผลผลิต/ผลลัพธ์ของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ ที่กำหนดไว้ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง อธิบายรายละเอียด

ส่วนที่ 3 สิ่งที่นำส่งพร้อมรายงานครั้งนี้

1. ผลงาน/ชิ้นงาน ที่เกิดจากการดำเนินงาน จำนวน.....ชิ้น (โปรดระบุรายละเอียด)

2. ภาพถ่ายผลงานและกิจกรรม (จำนวน.....ภาพ)

3. ภาพถ่ายสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ (จำนวน......ภาพ)

ส่วนที่ 4 ภาคผนวก /รายงานกิจกรรม (ถ้ามี)

ลงชื่อผู้ทำรายงาน (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ลงชื่อหัวหน้าสถานศึกษา (ผู้รับทุน)

วันที่ วันที่

หมายเหตุ : รายงานความก้าวหน้าโครงการรายงานงวดฉบับนี้ใช้ประกอบการเบิก

งบประมาณงวดต่อ (คู่กับรายงานการเงินงวด ง.1)

เลขที่ข้อตกลง..............................

งวดที่..........................................

แบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ.................................................................................................................................

เลขที่ข้อตกลง....................................

รายงานงวดที่........................จากเดือน...................................ถึงเดือน................................

ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร

1. ข้อเสนอโครงการโดยย่อ

- เป้าประสงค์

- วัตถุประสงค์

- ผลผลิต/ผลลัพธ์

2. กิจกรรมที่ดำเนินการในงวดนี้

กิจกรรมตามแผน (ในงวดนี้) ไม่ได้ทำ ได้ทำเมื่อ

วันที่

ผลสรุปที่สำคัญของการทำกิจกรรม

กลุ่มและจำนวน

ผู้ร่วมกิจกรรม

อธิบายผลที่เกิดขึ้น

(เช่น นักเรียน 20)

(ครู 5 คน)

3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

4. ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้างต้น

5. แผนงาน/กิจกรรมที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

( ) ตามแผนเดิมที่ระบุในข้อเสนอโครงการ

( ) มีการปรับเปลี่ยนจากข้อเสนอโครงการ (ระบุ กิจกรรม/รายละเอียด/ระยะเวลาที่จะปรับเปลี่ยน)

6. โครงการเป็นแหล่งดูงาน ต้นแบบหรือเผยแพร่นวัตกรรมให้กับโรงเรียน/หน่วยงานอื่น

( ) ไม่มีการดูงาน เป็นต้นแบบหรือเผยแพร่นวัตกรรมให้กับโรงเรียน/หน่วยงานอื่น

( ) มี จำนวน............ครั้ง ได้แก่ (ให้รายละเอียด)................โรงเรียน........................................

ตัวอย่างแบบรายงานความก้าวหน้าโครงการ

aw master Black.indd 8 6/13/11 9:33:03 AM

Page 9: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

9

5.2 การรายงานผลการดำเนินงานเพื่อปิดโครงการ

เมื่อได้ดำเนินงานโครงการจนเสร็จครบถ้วนตามแผนและเป้าหมายของโครงการแล้ว

ผู้รับทุนจะต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการรายงานผล

การดำเนินกิจกรรมหลักของโครงการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการส่งให้ สสค. โดยรายงานผล

การดำเนินงานเพื่อปิดโครงการจะมีเอกสารประกอบรายงาน ดังต่อไปนี้

1) รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมข้อมูลผลผลิตที่ ได้จาก

การดำเนินโครงการในแผ่น CD (PDF) ที่มีเนื้อหาตรงกัน 1 ชุด

2) รายงานสรุปผลการใช้จ่ายเงิน 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วย

l รายงานการเงินงวดสุดท้าย

l รายงานสรุปการเงินเพื่อปิดโครงการ

3) สำเนาบัญชีธนาคาร (มียอดตรงกับรายการที่ระบุในข้อ 2)

4) รายการอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารงวดงานงวดเงิน 1 ชุด

l ผลผลิตประจำงวดของโครงการ

l ภาพถ่ายกิจกรรม (ควรเป็นภาพที่คัดเลือกแล้ว จำนวนไม่มากเกินไป)

กรณีภาพถ่ายกิจกรรมควรจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ (Folder) ไว้ใน CD ตามข้อ 1

อนึ่ง รายงานผลการดำเนินงานเพื่อปิดโครงการของผู้รับทุนควรจัดส่งถึง สสค.

ภายในวันที่สิ้นสุดโครงการตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงรับทุน ดังตัวอย่าง

aw master Black.indd 9 6/13/11 9:33:04 AM

Page 10: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

10

ส่วนที่ 3 : ผลผลิต ผลลัพธ์ และการขยายผล (ใช้ข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้าเป็นข้อมูล พื้นฐานเพื่อช่วยในการให้ข้อมูล) 1. ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1.1 ผลผลิต ผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อเสนอโครงการ

รายการ เกิด/ ครบถ้วน

ไม่เกิด/ ไม่ครบ

สรุปข้อมูลเหตุผลกรณีไม่เกิด

1) ......................................

2) ......................................

3) ......................................

4) ......................................

1.2 ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้กำหนดไว้ในข้อเสนอโครงการ (ถ้ามี) 1)...................................................................................................................................... 2)...................................................................................................................................... 2. จำนวนนวัตกรรมที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) (ก) เสนอไว้...........................ชิ้น (ข) เกิดขึ้นจริง...............................ชิ้น ได้แก่

รายการ ประเภทนวัตกรรม

ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต

1) ......(ระบุชื่อหรือชิ้นงาน)....................... Check box Check List 2

2) ......(ระบุชื่อหรือชิ้นงาน)....................... Check box Check List 2

3) ......(ระบุชื่อหรือชิ้นงาน)....................... Check box Check List 2

3. การเป็นแหล่งดูงาน ต้นแบบ หรือเผยแพร่นวัตกรรมของโครงการ (ถ้ามี) ( ) ไม่มีการดูงาน เป็นต้นแบบ หรือเผยแพร่นวัตกรรมให้กับโรงเรียน หน่วยงานอื่น ( ) มีการดูงานจำนวนครั้ง ดังนี้

ครั้งที ่ ประเด็น หน่วยงานที่มาดูงาน กลุ่มผู้มาดูงาน จำนวนผู้มาดูงาน

1) (ระบุประเด็น) (ระบุหน่วยงาน) (เช่น ครู หรือนักเรียน) (ระบุจำนวน)

2) ( ) ความพร้อมในการเป็นแหล่งดูงาน ( ) มีวิทยากรพร้อมถ่ายทอด ( ) มีสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอด ( ) มีความพร้อมของพื้นที่ปฏิบัติการ 4. การเผยแพร่ผลงานโครงการผ่านสื่อสารมวลชนหรือขายผลอื่น (ถ้ามี) ( ) ผ่านสื่อท้องถิ่น ได้แก่ (ระบุสื่อและจำนวนครั้ง).......................................................... ( ) ผ่านสื่อระดับชาติ ได้แก่ (ระบุสื่อและจำนวนครั้ง)...................................................... ( ) อื่นๆ (ระบุ)............................................................................................................... 5. ท่านคิดว่าสิ่งที่ได้จากการทำโครงการสามารถนำไปขยายผล หรือต่อยอดได้จริงในลักษณะใด ( ) นำสู่นโยบายในระดับ ( )ประเทศ ( ) ท้องถิ่น ( ) องค์กร โปรดระบุประเด็น................................................................. (เช่น กฏหมาย “......” หรือ เทศบัญญัติ “......” เป็นต้น)...... ( ) ขยายพื้นที่โปรดระบุประเด็นและวิธีการ.......... ( ) อื่นๆ (ระบุ)................

ส่วนที่ 2 : การดำเนินงาน (ใช้ข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้าเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อช่วยในการให้ข้อมูล) 1. ระยะเวลาโครงการจริง ( ) เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ ( ) ไม่เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ ( ) เสร็จก่อนกำหนด ( ) ขยายเวลา จาก.................ถึง................. เหตุผลที่ไม่เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ................................. 2. การใช้งบประมาณโครงการ (เฉพาะที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสค.) ( ) เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ ( ) ไม่เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ ( ) ส่งคืน ....................บาท ( ) ใช้เกิน...................บาท เป็นงบของ........................ เหตุผลที่ไม่เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ................................. 3. งบประมาณสมทบจากแหล่งอื่น ( ) เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ ( ) ไม่เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ ( ) สูงกว่า จำนวน...................บาท (ระบุยอดสมทบจริง) ( ) ต่ำกว่า จากหน่วยงาน.................................. เหตุผลที่ไม่เป็นไปตามข้อเสนอโครงการ................. ( ) กรณีมีการสมทบด้วยทรัพยากรอื่นมีมูลค่าประมาณ.........บาท 4. พื้นที่ดำเนินงานและกลุ่มผู้รับประโยชน์ 4.1 พื้นที่ดำเนินงาน (ระบุสถานที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด โดยละเอียด).................................... .................................................................................................................................................. 4.2 กลุ่มและจำนวนผู้รับประโยชน์ (ก) เสนอไว้......................คน (ข) เกิดขึ้นจริง...........................คน จำแนกตามกิจกรรมดังนี้

ลำดับที่ กิจกรรมสำคัญ ระหว่างวันที ่ กลุ่มผู้รับผลประโยชน ์ จำนวน (คน)

1) Check List 1

2) 3)

Check List 1 Check List 1

4) Check List 1

4.3 ผลหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้รับประโยชน์............................................................................ ....................................................................................................................................................................... 4.4 ผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้รับประโยชน์โดยอ้อม ระบุกลุ่ม จำนวน และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ลำดับที่ กลุ่มผู้รับประโยชน์โดยอ้อม จำนวน ผลหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

1) Check List 1

2) Check List 1

3) Check List 1

แบบรายงานสรุปผลการดำเนินงานเมื่อปิดโครงการ ข้อแนะนำ แบบรายงานผลการดำเนินงานเมื่อปิดโครงการ เป็นเอกสารที่ผู้รับผิดชอบโครงการใช้สรุปผลการทำงานตลอดระยะเวลาดำเนินงานซึ่งจะจัดทำควบคู่ไปพร้อมกับรายงานฉบับสมบูรณ์เพื่อเป็นเอกสารประกอบในการเบิกเงินงวดสุดท้ายจาก สสค. แบบ รายงานผล ฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลตนเองของผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อให้ สสค. ได้นำข้อมูลผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการไปประมวลผล ภาพรวมเพื่อบริหารจัดการและอธิบายผลงานต่อสาธารณะ ส่วนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป (ใช้ข้อมูลตามที่ระบุในข้อเสนอโครงการ) 1. เลขที่ข้อตกลง............................ 2. ชื่อโครงการ................................................ 3. ชื่อองค์กรรับทุน/รับผิดชอบโครงการ....................... 4. งบประมาณ ก. งบประมาณที่ได้จาก สสค. ...............................................บาท ข. งบประมาณสมทบ.........................................บาท 5. ระยะเวลาดำเนินงาน จาก..................................ถึง...................................... 6. เป้าประสงค์ของโครงการ .......................................................................................................................................................................................................................................................................................... 7. วัตถุประสงค์ 1)..................................................................................................................................... 2).................................................................................................................................... 3).................................................................................................................................... 4).................................................................................................................................... 8. ผลผลิต-ผลลัพธ์ 8.1 ผลผลิตที่ส่งมอบต่อ สสค. 1)..................................................................................................................................... 2).................................................................................................................................... 3).................................................................................................................................... 8.2 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน 1)..................................................................................................................................... 2).................................................................................................................................... ...............................................................ผู้รับผิดชอบโครงการ (.................../...................../..................)

ตัวอย่างแบบรายงานสรุปผลการดำเนินงานเมื่อปิดโครงการ

aw master Black.indd 10 6/13/11 9:33:06 AM

Page 11: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

��

6. การให้การสนับสนุนโครงการ สสค. อาจให้การสนับสนุนโครงการในหลายลักษณะ เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน การเข้าเยี่ยม

โครงการเพื่อให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการ รวมทั้งนิเทศและเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการ

ด้านการเงินการบัญชี เป็นต้น

รายงานฉบับสมบูรณ ์ เมื่อมีการปิดโครงการ ผู้รับทุนต้องจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 ชุด พร้อม File ข้อมูลในแผ่น CD 1 แผ่น ส่งให้ สสค. โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หน้าปก รายงานฉบับสมบูรณ์ l ชื่อโครงการ........................(ภาษาไทย)................................ Project name....................(ภาษาอังกฤษ)........................... (ข้อตกลงเลขที่............รหัสโครงการ.......................) โดย l ชื่อผู้รับผิดชอบโครงการ........................................................ l ชื่อองค์กรรับทุน.................................................................... ได้รับทุนสนับสนุนโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมการเรียนรู้และคุณภาพของเยาวชน (สสค.) l เดือน ปีที่พิมพ์ 2. บทคัดย่อ (สรุปย่อการดำเนินงานทั้งโครงการพอสังเขป ไม่ควรเกิน 1-2 หน้า) 3. คำนำ-สารบัญ 4. เนื้อหาการดำเนินโครงการ l สว่นที ่1 ขอ้มลูทัว่ไปของโครงการ (ความเปน็มา หลกัการและเหตผุล เปา้ประสงค ์ วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ดำเนินการ ระยะเวลา ดำเนินงาน) l ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน ก. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ได้ตามตัวชี้วัด/เป้าหมายของโครงการ ข. ผลผลิตหรือผลลัพธ์อื่นที่ได้นอกเหนือจากเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ l ส่วนที่ 3 บทเรียนประสบการณ์ หรือข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนา 5. ภาคผนวก l ชื่อ และรายละเอียดของผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะ (ประวัติ ผลงาน ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง) l โครงสร้างการบริหารจัดการ l การกำกับติดตาม และประเมินผลภายใน l อื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ภาพถ่ายกิจกรรม ไม่เกิน 10 ภาพ พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ, โครงการย่อย เป็นต้น

ตัวอย่างหัวข้อและเนื้อหาในรายงานฉบับสมบูรณ์

aw master Black.indd 11 6/13/11 9:33:07 AM

Page 12: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

12

uu แนวทางปฏิบัติด้านการเงินบัญชีและพัสด ุ

uuu 1. ด้านการเงิน

1.1 ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน ให้ผู้รับทุนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินและอนุมัติการจ่ายเงินของ

โครงการ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ประหยัด โปร่งใส ในกรณีที่ผู้รับทุนมีความจำเป็นต้อง

มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการใช้จ่ายเงินให้แก่ผู้ใดเป็นผู้ดูแลแทนเป็นการชั่วคราว ให้ทำ

เป็นหนังสือถึง สสค. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

1.2 การรับเงินงวดจาก สสค. หลังจากที่ผู้รับทุนได้ลงนามในฐานะผู้รับทุนในข้อตกลง และได้เปิดบัญชีเงินฝาก

ธนาคาร รวมทั้งได้ส่งเอกสารประกอบการลงนามในข้อตกลงพร้อมกับสำเนาหน้าสมุดคู่ฝากเงิน

ธนาคารคืนไปยัง สสค. แล้ว สสค. จะโอนเงินงวดให้กับโครงการภายใน 15 วัน และเมื่อได้รับ

แจ้งจาก สสค. ว่าได้โอนเงินงวดให้กับโครงการแล้ว ให้โครงการนำสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไป

ปรับสมุดเพื่อให้ทราบว่าได้รับเงินงวดแล้ว ทั้งนี้ บางกรณี สสค. อาจจ่ายเงินงวดเป็นเช็คส่งทาง

ไปรษณีย์ ซึ่งโครงการต้องนำเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีเงินฝากของโครงการ

หลังจากโอนเงินงวดให้โครงการแล้ว สสค. จะจัดส่งใบสำคัญรับเงินค่าเงินงวดมาให้

โครงการ เพื่อให้ผู้รับทุนลงนามรับเงินและส่งกลับคืน สสค. โดยผู้รับทุนควรถ่ายสำเนาใบสำคัญ

รับเงินดังกล่าวเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการรับเงิน

1.3 การเบิกถอนเงินจากธนาคารไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงาน การดำเนินงานโครงการสามารถเบิกถอนเงินจากธนาคารมาเพื่อใช้จ่ายได้โดยตรง

เช่น การจ่ายเป็นค่าตอบแทน การจ่ายเพื่อการจัดการประชุมหรือจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การจ่ายเพื่อซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดภายในสำนักงาน ฯลฯ ซึ่งผู้รับทุนสามารถ

เบิกถอนเงินจากธนาคารมาเก็บรักษาไว้เป็นเงินสดในมือได้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ควรมีจำนวนมากเกิน

ความจำเป็นจนเป็นภาระในการเก็บรักษา

การเบิกจ่ายเงินสามารถดำเนินการได้โดยเสนอเรื่องและเอกสารประกอบ

การเบิกจ่ายต่อเจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้รับทุนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปตาม

กรอบอัตราค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุที่ สสค. กำหนดไว้ โดยจัดทำใบสำคัญจ่ายตามตัวอย่าง

ซึ่งระบุชื่อโครงการ กิจกรรม จำนวนเงินค่าใช้จ่าย และให้ผู้รับทุนเป็นผู้อนุมัติจ่ายเงินทุกครั้งที่มี

การเบิกจ่ายเงิน

aw master Black.indd 12 6/13/11 9:33:08 AM

Page 13: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

13

u หลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายเงิน เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินของผู้รับทุนสนับสนุนจาก สสค. เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และ

สอดคล้องหลักการบริหารจัดการที่ดี สสค. จึงกำหนดหลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายเงิน ดังนี้

1) การเบิกจ่ายเงินจะต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น บิลเงินสด ใบเสร็จ

รับเงิน หรือใบสำคัญรับเงินที่สมบูรณ์ครบถ้วนถูกต้องและเป็นการจ่ายในกิจกรรมตาม

วัตถุประสงค์ของโครงการเท่านั้น

2) การเบิกจ่ายเงินจะต้องอยู่ในวงเงินงบประมาณที่กำหนดไว้สำหรับใช้จ่ายของแต่ละ

กิจกรรมตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงรับทุน ในกรณีที่โครงการมีความจำเป็นต้องปรับโอนงบประมาณ

สามารถปรับโอนได้ภายในโครงการเดียวกันไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณที่ถูกปรับโอน

ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)

เลขที่ .....จ. 005.....

วันที่ .....3 มีนาคม 2553.....

โครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม่

กิจกรรม ..........จัดทำองค์ความรู้..........

จ่ายให้ .........นายพัฒนา ชอบการพิมพ์........................................................

เงินสด

เช็คเลขที่ ......................... ธนาคาร ........................ สาขา ......................... ลงวันที่ ...........................

ลำดับที่ รายการ เลขที่บัญชี ชื่อบัญชี จำนวนเงิน (บาท)

� ค่าจัดทำคู่มือการส่งเสริมการเรียนรู้ 500 เล่ม @ 40.- บาท

- - 20,000.-

ตัวอักษร สองหมื่นบาทถ้วน รวม 20,000.-

.........จริงใจ ใสซื่อ......... ..........ส่งเสริม การสอน.......... ..........พัฒนา ชอบการพิมพ์.......... (.......น.ส. จริงใจ ใสซื่อ.......) (........นายส่งเสริม การสอน........) (......นายพัฒนา ชอบการพิมพ์......) วันที่ 3 มีนาคม 2553 วันที่ 3 มีนาคม 2553 วันที่ 3 มีนาคม 2553 เจ้าหน้าที่การเงิน/ผู้ตรวจสอบ ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับเงิน ผู้อนุมัติ

.........จริงใจ ใสซื่อ......... .........จริงใจ ใสซื่อ......... (.......น.ส. จริงใจ ใสซื่อ.......) (.......น.ส. จริงใจ ใสซื่อ.......) วันที่ 3 มีนาคม 2553 วันที่ 3 มีนาคม 2553 ผู้จ่ายเงิน ผู้บันทึกบัญชี

aw master Black.indd 13 6/13/11 9:33:09 AM

Page 14: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

14

ในกรณีที่จำเป็นต้องปรับเกินกว่าร้อยละ 10 ต้องทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับ

สสค. ก่อน

3) การจ่ายเงินเป็นค่าเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าครุภัณฑ์ ต้องมีงบประมาณระบุไว้ใน

ข้อตกลงรับทุน และไม่สามารถนำเงินงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับดำเนินกิจกรรมตามข้อตกลง

รับทุนมาใช้จ่ายเป็นค่าเงินเดือนค่าจ้าง หรือค่าครุภัณฑ์

4) หัวหน้าโครงการหรือลูกจ้างที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเป็น

รายเดือนหรือเหมาจ่ายจากโครงการ ไม่สามารถรับเงินค่าตอบแทนอื่นจากโครงการนั้นได้อีก

ยกเว้นการปฏิบัติงานนอกเหนือจากเงื่อนไขที่กำหนดไว้ สำหรับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง

และที่พักสามารถเบิกจ่ายได้ตามที่ สสค. กำหนด

u เอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน การจ่ายเงินของโครงการจะต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินที่มีความสมบูรณ์

ครบถ้วน ถูกต้อง โดยเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินมี 3 แบบ คือ

1) บิลเงินสด คือ เอกสารที่ผู้ขายสินค้าและบริการออกให้กับผู้ซื้อ เมื่อซื้อเป็นเงินสด

ซึ่งต้องมีความสมบูรณ์ คือ มีชื่อและที่อยู่ของผู้ขาย/ผู้รับเงิน ชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อ/ผู้จ่ายเงิน คือ

โครงการ รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ชนิด ขนาด จำนวน ราคา ของสินค้าและบริการ ลายมือชื่อ

ผู้รับเงิน วันที่รับเงิน

2) ใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่ผู้ขายสินค้าและบริการออกให้กับผู้ซื้อเมื่อชำระหนี้

ค่าสินค้าและบริการ ซึ่งต้องมีความสมบูรณ์เช่นเดียวกับบิลเงินสด

3) ใบสำคัญรับเงิน คือ เอกสารตามแบบฟอร์มที่ สสค. จัดเตรียมไว้สำหรับกรณี

ที่โครงการจ่ายเงินค่าสินค้าและบริการ โดยไม่สามารถเรียกบิลเงินสดหรือใบเสร็จรับเงินจาก

ผู้ขายได้ ซึ่งใบสำคัญรับเงินจะต้องมีความสมบูรณ์ โดยระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวประชาชน

รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ชนิด ขนาด จำนวน ราคาของสินค้า และบริการ ลายมือชื่อผู้รับเงินและ

วันที่รับเงิน เฉพาะในกรณีการจ่ายเงินค่าซื้อ/จ้าง ทำสิ่งของและบริการ ที่มีจำนวนเงินเกินกว่า

5,000.- บาท จะต้องแนบสำเนาบัตรประชาชน ดังตัวอย่าง

aw master Black.indd 14 6/13/11 9:33:09 AM

Page 15: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

15

u ความสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน เอกสารที่เป็นหลักฐานการจ่ายเงินที่ดีที่สุด คือ บิลเงินสด หรือใบเสร็จรับเงินที่มีความ

สมบูรณ์ดังที่กล่าวข้างต้น ส่วนใบสำคัญรับเงินควรใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกบิลเงินสดหรือ

ใบเสร็จรับเงินได้เท่านั้น และการใช้ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพการณ์และจำนวนเงิน

ด้วย การจ่ายเงินที่มีจำนวนเงินสูงอาจไม่เหมาะสมกับการใช้ใบสำคัญรับเงิน อย่างไรก็ตาม

ใบสำคัญรับเงินอาจมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นหากมีเอกสารหลักฐานประกอบ เช่น ในการจ่ายเงิน

ค่าตอบแทนผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือการจ่ายเงินค่าอาหารจัดเลี้ยงผู้เข้าร่วม

ประชุม ควรแนบสำเนาทะเบียนรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมที่มีลายมือชื่อด้วย เพื่อให้เกิดความ

สอดคล้องและสมเหตุสมผลเกี่ยวกับจำนวนคนในการจ่ายเงินค่าตอบแทนและค่าอาหาร

u ความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน ความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน หมายถึง

1) มีเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินครบถ้วนตรงตามจำนวนเงินที่จ่ายไป

2) มีเอกสารประกอบหลักฐานการจ่ายเงินโดยครบถ้วน เช่น หลักฐานการจ่าย เงินค่า

ซื้อวัสดุครุภัณฑ์จะต้องมีเอกสารประกอบ ซึ่งได้แก่ ใบขอซื้อขอจ้าง ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ

สั่งจ้าง ใบส่งของ เอกสารการตรวจรับของ เป็นต้น

ใบสำคัญรับเงิน

วันที่ ..........5 กุมภาพันธ์ 2553..........

ข้าพเจ้า .........นายสะอาด รสสมาน................ เลขประจำตัวประชาชน ................1 2345 67890 11 2...............

ที่อยู่ ..............37/63 หมู่ 1 ต.รังสิต อ.เมือง จ.ปทุมธานี........................................................................................

...............................................................................................................................................................................

ได้รับเงินจากโครงการ .............พัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม่...................................ดังรายการต่อไปนี้

ลำดับที่ รายการ จำนวนเงิน (บาท)

� ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม 70 คน คนละ 80 บาทวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553

5,600.-

ตัวอักษร ห้าพันหกร้อยบาทถ้วน 5,600.-

ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายจ่ายข้างต้นได้จ่ายไปในงานโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง การเรียนรู้และคุณภาพเด็กและเยาวชน (สสค.) โดยแท้จริง ทั้งนี้ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินได้

ผู้รับเงิน .........สะอาด รสสมาน......... ผุ้จ่ายเงิน .........จริงใจ ใสซื่อ.........

( นายสะอาด รสสมาน ) ( น.ส. จริงใจ ใสซื่อ )

แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน นายสะอาด รสสมาน

aw master Black.indd 15 6/13/11 9:33:10 AM

Page 16: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

16

หมวดรายจ่าย อัตราเบิกจ่าย (หน่วย:บาท)

หลักการพิจารณา

หมวดค่าตอบแทน

1. คา่ตอบแทนการประชมุ หมายถงึ คา่ตอบแทน ของผู้เข้าประชุมแต่ละการประชุม

- 300-2,000 บาท/ครั้ง 1. พิจารณาตามเนื้อหาการประชุม 2. ตามความเหมาะสม

2. ค่าตอบแทนวิทยากร - 600-1,200 บาท/ชม. 1. พิจารณาตามคุณวุฒิและประสบการณ์ 2. ตามความเหมาะสม

3. ค่าตอบแทนอื่น หมายถึง ค่าตอบแทนที่จ่าย แก่บุคคลภายนอกที่มาช่วยงานชั่วคราว

- 200–500 บาท/วัน 1. พิจารณาตามหน้าที่ความรับผิดชอบของ งานที่ทำ และระยะเวลาในการทำงาน

2. ต้องทำงานไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง

หมวดค่าใช้สอย

1. ค่าเบี้ยเลี้ยง หมายถึง ค่าตอบแทน (รวมค่าอาหาร) ในการปฏิบัติงานนอกพื้นที่ต่างจังหวัด

- 200 บาท/วัน พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) นับเป็นพื้นที่เดียวกัน

2. คา่ทีพ่กั หมายถงึ คา่ใชจ้า่ยในการเชา่หอ้งพกั ในโรงแรมหรือสถานที่อื่นใดเพื่อพักแรมในการปฏิบัติงานต่าง จังหวัด

กรณีปฏิบัติงานในพื้นที่และองค์กรรับทุน มีที่พักให้ ถือว่าไม่มีค่าใช้จ่ายค่าที่พัก

u ความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน ความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน หมายถึง การจ่ายเงินจะต้องมี

ความถูกต้องตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพัสดุ รวมทั้งอยู่ในกรอบอัตรา

ค่าใช้จ่ายที่ สสค. กำหนดไว้

u อัตราค่าใช้จ่าย การใช้จ่ายเงินควรคำนึงถึงหลักความเหมาะสม ประหยัด โปร่งใส และเป็นธรรม ดังนี้

1) หมวดเงินเดือนและค่าจ้าง หมายถึง เงินเดือนของ หัวหน้าโครงการ นักวิชาการ

เจ้าหน้าที่ของโครงการ และค่าจ้างของลูกจ้าง ทั้งนี้ สสค. ไม่อนุญาตให้นำเงินงบประมาณ

สนับสนุนกิจกรรมอื่นหรือหมวดค่าใช้จ่ายอื่นมาจ่ายเป็นเงินเดือน และค่าจ้าง

2) หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อ

การดำเนินงานของโครงการ ดังนี้

aw master Black.indd 16 6/13/11 9:33:11 AM

Page 17: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

17

หมวดรายจ่าย อัตราเบิกจ่าย (หน่วย:บาท)

หลักการพิจารณา

2.1 พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และ จงัหวดัใหญศ่นูยก์ลาง (เชยีงใหม ่ลำปาง พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี ระยอง ชลบุรี ภู เก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี และ นครศรีธรรมราช)

2.2 พื้นที่นอกเหนือจาก 2.1

- ตามจริง ไม่เกิน 1,500 บาท/วัน

- ตามจริง ไม่เกิน 1,000 บาท/วัน

3. ค่าพาหนะเดินทาง หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการ เดินทางปฏิบัติงาน (ทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ)

- เดินทางโดยยานพาหนะสาธารณะ

- เดินทางโดยยานพาหนะส่วนตัว

- เดินทางโดยเครื่องบิน

- ตามจริง

- ตามจริง ไม่เกิน 6 บาท/กิโลเมตร

- ตามจริง

ไม่เกินอัตราเครื่องบินชั้นประหยัดและตามสิทธิที่พึงได้ตามความเหมาะสม

4. ค่าเช่ารถ หมายถึง การเช่ารถเพื่อโดยสาร ในการปฏิบัติงาน

- ตามจริง ไม่เกิน 1,800 บาท/วัน

ไม่รวมค่าน้ำมันตามจริงในใบเสร็จรับเงิน

5. ค่าเช่าสถานที่ หมายถึง ค่าเช่าสถานที่ สำหรับการประชุม อบรม สัมมนา

- ตามจริง ไม่เกิน 5,000 บาท/วัน

1. พิจารณาตามความเหมาะสมกับสภาว- การณ์ 2. มีความจำเป็นเฉพาะ มีเหตุผลในการใช้สถานที่นั้น ๆ

6. ค่าเช่าอุปกรณ์โสตทัศน์ (ที่นอกเหนือจากอุปกรณ์พื้นฐาน)

- ตามจริง ไม่เกิน 10,000 บาท/วัน

7. ค่ารับรอง หมายถึง ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ในการจัดประชุม อบรม สัมมนารวมถึง งานอื่นใดที่ก่อให้เกิดงาน

• ค่าอาหารมื้อหลัก - กรณีจัดในชุมชน - กรณีจัดในเมือง (นอกเหนือจากโรงแรม) - กรณีจัดในโรงแรม - กรณีเหมารวมต่อวัน

• ค่าอาหารว่าง - กรณีจัดในสถานที่ทั่วไป (นอกเหนือจากโรงแรม)

- ตามจริง

- 50–100 บาท - 80–150 บาท - 300–500 บาท - ตามจริง ไม่เกิน 1,000 บาท

- 30–70 บาท

อัตราต่อมื้อต่อคน ขึ้นอยู่กับสถานที่จัดและจำนวนมื้อ (ทั่วไป 3 มื้อ)

aw master Black.indd 17 6/13/11 9:33:13 AM

Page 18: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

18

ในกรณีที่โครงการมีเหตุผลและความจำเป็นต้องจ่ายเงินเกินกว่ากรอบอัตราค่าใช้จ่าย

ข้างต้นนี้ให้อยู่กับดุลยพินิจของผู้รับทุน หรือขอความเห็นชอบจาก สสค. ก่อนในกรณีที่มีจำนวน

เงินสูง

3) หมวดค่าครุภัณฑ์ หมายถึง ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งของที่มีความคงทนถาวร และ

มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกันแล้วเกินกว่า 5,000 บาท ทั้งนี้

การจ่ายเงินค่าซื้อครุภัณฑ์จะต้องมีความจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน และได้ตั้งวงเงิน

งบประมาณไว้ในข้อตกลงรับทุนแล้ว

4) หมวดค่าสาธารณูปโภค หมายถึง ค่าบริการสาธารณูปโภค สื่อสาร และ

โทรคมนาคม เช่น ค่าน้ำประปา ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์ และค่าบริการอื่น โดย

การเบิกจ่ายเงินจะต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน

หากใช้สำเนาในการเบิกจ่ายเงินควรมีผู้อนุมัติรับรองในใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน

5) หมวดรายจ่ายอื่น หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ไม่เข้าลักษณะประเภทรายจ่ายใด ๆ ตาม

ข้างต้น

aw master Black.indd 18 6/13/11 9:33:13 AM

Page 19: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

19

สมุดเงินสด เงินฝากธนาคาร และบัญชีแยกประเภท

สมุดเงินสดและเงินฝากธนาคาร สมุดบัญชีแยกประเภทรายจ่าย สมุดบัญชีแยกประเภทรายรับ

วันที่ เอกสาร รายการ เงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร

รวม กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 4 รายรับเงินงวด อื่นๆ รับ จ่าย คงเหลือ ฝาก ถอน คงเหลือ

1 ก.พ. 53 ร-001 รับเงินงวด 1

จาก สสค.

0 100,000 100,000 0 100,000

2 ก.พ. 53 ถ-001 ถอนเงินสด 10,000 10,000 10,000 90,000 0

3 ก.พ. 53 จ-001 จ่ายค่าวัสดุ

ในการจัดประชุม

1,000 9,000 90,000 1,000 1,000

5 ก.พ. 53 จ-002 จ่ายค่าอาหาร

จัดประชุม

2,000 7,000 90,000 2,000 2,000

5 ก.พ. 53 จ-003 จ่ายค่าตอบแทน

การประชุม

2,100 4,900 90,000 2,100 2,100

10 ก.พ. 53 จ-004 ค่าอุปกรณ์

สำนักงาน

4,900 10,000 80,000 10,000 10,000

3 ม.ีค. 53 จ-005 จัดพิมพ์คู่มือ

ส่งเสริมสังคม

แห่งการเรียนรู้

4,900 20,000 60,000 20,000 20,000

รวม 10,000 5,100 4,900 100,000 40,000 60,000 35,100 5,100 20,000 0 10,000 100,000 0

uuu 2. ด้านการบัญชี

2.1 วัตถุประสงค์ของการจัดทำบัญช ี การจัดทำบัญชีของโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึง

สถานะการเงินของโครงการว่ามีเงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลืออยู่เท่าไร และได้ใช้จ่ายไปใน

กิจกรรมใดบ้าง รวมทั้งมีงบประมาณคงเหลือในแต่ละกิจกรรมอีกเท่าไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ

บริหารโครงการ นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการจัดทำบัญชียังนำมาใช้ในการจัดทำรายงานการเงิน

ประจำงวดหรือปิดโครงการเพื่อเสนอต่อ สสค. ได้ด้วย

2.2 การจัดทำบัญชีของโครงการ โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสค. จะต้องจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่

เหมาะสม และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการจัดทำบัญชีของโครงการ สสค.ได้ออกแบบ

สมุดบัญชีอย่างง่ายและเหมาะสมกับโครงการในรูปแบบของ MS Excel ซึ่งเป็นการรวมเอาสมุด

เงินสดเงินฝากธนาคาร และสมุดแยกประเภทรายจ่าย และสมุดแยกประเภทรายรับไว้ใน Work

Sheet เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกรายการ โดยผู้จัดทำบัญชีเพียงบันทึกรายการ ดังนี้

1) บันทึกรายการรับ-จ่ายเงินในช่องเงินสดในมือ หรือช่องเงินฝากธนาคาร แล้วแต่กรณี

ซึ่งโปรแกรม MS Excel จะออกยอดเงินคงเหลือให้โดยอัตโนมัติ

2) บันทึกรายการประเภทรายรับในช่อง “รายรับเงินงวด” หรือช่อง “รายรับอื่น ๆ”

และรายการประเภทรายจ่ายในช่องกิจกรรมต่าง ๆ แล้วแต่กรณี ซึ่งโปรแกรมจะออกยอดรวมของ

รายรับและรายจ่ายของแต่ละช่องให้โดยอัตโนมัติ (ดังตัวอย่าง)

aw master Black.indd 19 6/13/11 9:33:14 AM

Page 20: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

20

3) ให้ผู้จัดทำบัญชี จัดทำ “สรุปการใช้จ่ายเงินงบประมาณแยกตามกิจกรรม” โดย :-

l ระบุชื่อกิจกรรมตามข้อตกลงในช่อง “กิจกรรม”

l ระบุวงเงินงบประมาณตามข้อตกลงของกิจกรรมนั้น ๆ ในช่อง “งบประมาณ”

l ทุกครั้งที่บันทึกรายการในบัญชีแยกประเภทรายจ่าย โปรแกรมจะออกยอดเงิน

งบประมาณที่ใช้ไปแล้วคงเหลือของแต่ละกิจกรรมให้โดยอัตโนมัติ (ดังตัวอย่าง)

ซึ่งการบันทึกบัญชีด้วยวิธีการดังกล่าวจะทำให้โครงการทราบถึงยอดเงินคงเหลือ ทั้งที่อยู่

ในมือหรือในบัญชีเงินฝากธนาคาร นอกจากนั้น ยังทราบว่าเงินงบประมาณที่ได้รับในแต่ละ

กิจกรรมได้ใช้เงินไปเท่าไร เหลือเท่าไร เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินโครงการในขั้น

ต่อไป

สรุปการใช้จ่ายเงินงบประมาณแยกตามกิจกรรม

ลำดับ กิจกรรม งบประมาณ ใช้ไป คงเหลือ

1 กิจกรรมจัดประชุมเครือข่าย 50,000.00 5,100.00 44,900.00

2 กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 100,000.00 20,000.00 80,000.00

3 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 100,000.00 - 100,000.00

4 การบริหารจัดการ 50,000.00 10,000.00 40,000.00

รวม 300,000.00 35,100.00 264,900.00

aw master Black.indd 20 6/13/11 9:33:15 AM

Page 21: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

21

2.3 การจัดทำรายงานการเงิน 2.3.1 การจัดทำรายงานการเงินประจำงวด

เมื่อได้ดำเนินงานโครงการจนถึงระยะเวลาที่ต้องรายงานผลความก้าวหน้าของงานและ

การใช้จ่ายเงิน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายข้อตกลงแล้ว ในส่วนของการจัดทำ

รายงานการเงินประจำงวด เพื่อขอเบิกเงินงวดถัดไป มีดังนี้

1) กรอกข้อมูลรายละเอียดการใช้จ่ายเงินงวดที่ผ่านมาในรายงานการเงินประจำงวด

ซึ่งประกอบด้วย

รายรับ ได้แก่

l เงินคงเหลืองวดก่อนยกมา (ถ้ามี)

l เงินรับจาก สสค. ในงวดนี้

l ดอกเบี้ยรับ

l เงินรับอื่น ๆ

รายจ่าย ได้แก่

l ยอดเงินติดลบงวดก่อนยกมา (ถ้ามี)

l รายจ่ายแยกตามกิจกรรมต่างๆ เฉพาะในส่วนที่เกิดขึ้นในงวดนี้

l รายจ่ายอื่น ๆ

เงินสดคงเหลือ ได้แก่

l เงินสดในมือ

l เงินในบัญชีธนาคาร

กรณีการเบิกเงินงวดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป หรือกรณีการเบิกเงินงวดเพื่อ

ปิดโครงการหรือการรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการของโครงการที่ได้รับทุนตั้งแต่ 500,000 บาท

ขึ้นไป จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนามรับรองรายงานการเงินด้วย ดังตัวอย่าง

aw master Black.indd 21 6/13/11 9:33:15 AM

Page 22: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

22

รายงานการเงินโครงการ งวดที่…1…

ระยะเวลาดำเนินงานจริง ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553

โครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม ่

กิจกรรมหลักในงวดนี้ 1. กิจกรรมจัดประชุมเครือข่าย 2. กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 3. กิจกรรมบริหารจัดการ

สรุปรายงานการใช้จ่ายเงินงวดนี้

รายได้ รายจ่าย คงเหลือ

1. เงินคงเหลืองวดก่อน ยกมา (ถ้ามี) = – 2. เงินรับจาก สสค.งวดนี้ = 100,000.- 3. ดอกเบี้ยรับ = – 4. เงินรับอื่น ๆ = –

1. ยอดเงินติดลบงวดก่อน ยกมา (ถ้ามี) = .....–......

2. กิจกรรม 1 = 35,100.- 3. กิจกรรม 2 = 30,000.- 4. กิจกรรม 3 = 20,000.- 5. รายจ่ายอื่น ๆ (ระบุ) ………………… = ...…–......

1. เงินสดในมือ = 900.- 2. เงินในบัญชีธนาคาร = 14,000.-

รวมรายรับ = .....100,000.-.... รวมรายจ่าย = .....85,100.-...... รายได้ หัก รายจ่าย ( - ) = …..14,900.-......

• ขอเบิกเงินสนับสนุนโครงการงวดต่อไป งวดที่ 2 เป็นจำนวนเงิน ….100,000.-……….. บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เพื่อดำเนินกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้ :- 1. กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 2. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่า เงินสนับสนุนโครงการจาก สสค. ได้นำมาใช้อย่างถูกต้อง ตรงตามแผนงานโครงการที่ระบุไว้ในข้อตกลงทุกประการ และขอรับรองรายงานข้างต้น ลงชื่อ ……ส่งเสริม การสอน......... ผู้รับทุน ลงชื่อ ……จริงใจ ใสซื่อ……. เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ( นายส่งเสริม การสอน ) ( น.ส. จริงใจ ใสซื่อ ) 5 มกราคม 2554 5 มกราคม 2554

หมายเหตุ โปรดแนบ 1. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร ตั้งแต่หน้าแรก จนถึงปัจจุบัน 2. รายงานการเงินงวดก่อน (ทุกงวด) ตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน

กรณีการเบิกเงินงวดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป หรือกรณีการเบิกเงินงวดเพื่อปิดโครงการหรือการรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการของโครงการที่ได้รับทุนตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม รับรองรายงานการเงินด้วย ข้าพเจ้า .................................................................................ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่............................ได้ทำการตรวจสอบรายงานการเงินดังกล่าวแล้วถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ ........................................................................... ( )

หมายเหตุ : โปรดแนบ สำเนาบัตรอนุญาตผู้สอบบัญชี/รายงานความเห็น/งบการเงิน/อื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่ สสค. กำหนด

aw master Black.indd 22 6/13/11 9:33:16 AM

Page 23: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

23

2) แนบสำเนาสมุดคู่ฝากเงินธนาคารหน้าแรกตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงหน้าสุดท้ายที่

ได้ปรับสมุด (Update) ถึงปัจจุบัน

ข้อควรปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินงวด

(1) ควรจัดทำรายงานการเงินประจำงวด และรายงานความก้าวหน้าของโครงการ

ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในเอกสารแนบท้ายข้อตกลงรับทุน

(2) รายงานการเงินประจำงวดจะต้องมียอดรายรับ รายจ่ายแยกตามกิจกรรม

รวมทั้งยอดเงินคงเหลือถูกต้องตามข้อเท็จจริงและตรงกับในสมุดบัญชี

2.3.2 การจัดทำรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการ

เมื่อได้ดำเนินโครงการจนเสร็จสิ้นและสมควรปิดโครงการแล้ว การจัดทำรายงานการเงิน

เพื่อปิดโครงการมีดังนี้

1) กรอกข้อมูลรายละเอียดการใช้จ่ายเงินงวดที่ผ่านมาในรายงานการเงินประจำงวด

(สุดท้าย) ดังตัวอย่าง

2) กรอกแบบรายงานสรุปการเงินเพื่อปิดโครงการ โดยนำรายละเอียดมาจากรายงาน

การเงินงวดที่ผ่านมาในแต่ละงวด ดังตัวอย่าง

aw master Black.indd 23 6/13/11 9:33:17 AM

Page 24: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

24

รายงานการเงินโครงการ/แผนงาน งวดที่…3… (สุดท้าย)

ระยะเวลาดำเนินงานจริง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ถึง 30 เมษายน 2554

โครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม ่

กิจกรรมหลักในงวดนี้ 1. กิจกรรมจัดประชุมเครือข่าย 2. กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 4. กิจกรรมบริหารจัดการ

สรุปรายงานการใช้จ่ายเงินงวดนี้

รายได้ รายจ่าย คงเหลือ

1. เงินคงเหลืองวดก่อน ยกมา (ถ้ามี) = 114,900.- 2. เงินรับจาก สสค.งวดนี้ = 100,000.- 3. ดอกเบี้ยรับ = – 4. เงินรับอื่น ๆ = 102.-

1. ยอดเงินติดลบงวดก่อน ยกมา (ถ้ามี) = .....–......

2. กิจกรรม 1 = 14,900.- 3. กิจกรรม 2 = 70,000.- 4. กิจกรรม 3 = 91,000.- 5. กิจกรรม 4 = 30,000.- 6. รายจ่ายอื่น ๆ (ระบุ) ………………… = ...…–......

1. เงินสดในมือ = 900.- 2. เงินในบัญชีธนาคาร = 8,202.-

รวมรายรับ = .....215,002.-.... รวมรายจ่าย = ...205,900.-..... รายได้ หัก รายจ่าย ( - ) = …..9,102.-......

• หมายเหตุ …......ขอส่งเงินคืน สสค. จำนวน 9,102.- บาท………..

ข้าพเจ้าขอรับรองว่า เงินสนับสนุนโครงการจาก สสค. ได้นำมาใช้อย่างถูกต้อง ตรงตามแผนงานโครงการที่ระบุไว้ในข้อตกลงทุกประการ และขอรับรองรายงานข้างต้น ลงชื่อ ……ส่งเสริม การสอน......... ผู้รับทุน ลงชื่อ ……จริงใจ ใสซื่อ……. เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ( นายส่งเสริม การสอน ) ( น.ส. จริงใจ ใสซื่อ ) 5 มกราคม 2554 5 มกราคม 2554

หมายเหตุ โปรดแนบ 1. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร ตั้งแต่หน้าแรก จนถึงปัจจุบัน 2. รายงานการเงินงวดก่อน (ทุกงวด) ตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน

กรณีการเบิกเงินงวดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป หรือกรณีการเบิกเงินงวดเพื่อปิดโครงการหรือการรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการของโครงการที่ได้รับทุนตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม รับรองรายงานการเงินด้วย ข้าพเจ้า .....................................-............................................ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่............................ได้ทำการตรวจสอบรายงานการเงินดังกล่าวแล้วถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ ........................................................................... ( )

หมายเหตุ : โปรดแนบ สำเนาบัตรอนุญาตผู้สอบบัญชี/รายงานความเห็น/งบการเงิน/อื่นๆ ตามเงื่อนไขที่ สสค. กำหนด

หมายเหตุ โปรดแนบ 1. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร ตั้งแต่หน้าแรก จนถึงปัจจุบัน 2. รายงานการเงินงวดก่อน (ทุกงวด) ตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน

กรณีการเบิกเงินงวดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป หรือกรณีการเบิกเงินงวดเพื่อปิดโครงการหรือการรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการของโครงการที่ได้รับทุนตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม รับรองรายงานการเงินด้วย ข้าพเจ้า .................................................................................ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่............................ได้ทำการตรวจสอบรายงานการเงินดังกล่าวแล้วถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ ........................................................................... ( )

หมายเหตุ : โปรดแนบ สำเนาบัตรอนุญาตผู้สอบบัญชี/รายงานความเห็น/งบการเงิน/อื่นๆ ตามเงื่อนไขที่ สสค. กำหนด

รายงานสรุปการเงินเพื่อปิดโครงการ(ภาพรวมการใช้จ่ายเงินของทั้งโครงการ)

ชื่อแผนงานโครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม่ข้อตกลงเลขที่ ……53-00-0266………… รหัสโครงการ……………53140066……..ระยะเวลาในการดำเนินงานจริง ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2553 ถึง 30 เมษายน 2554

1. รายรับ : เงินสนับสนุน งวดที่ 1 ..........100,000.-.......... บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 2 ..........100,000.-.......... บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 3 ..........100,000.-.......... บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 4 ……...……–………….. บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 5 ……...……–………….. บาท ดอกเบี้ยรับทั้งสิ้น …............102.-....….... บาท

รวมรายรับ .…300,102.-...... บาท

2. รายจ่าย : มีรายละเอียดดังนี้

ช่ือกิจกรรมหลัก งบท่ีอนุมัติ (บาท) งบท่ีใช้จริง (บาท)

1. กิจกรรมชมรมเครือข่าย 50,000.- 49,500.-

2. กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 100,000.- 99,200.-

3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 100,000.- 95,300.-

4. บริหารจัดการ 50,000.- 47,000.-

รวมรายจ่ายทั้งสิ้น ….…291,000.-...... บาท

คงเหลือเงิน (รายรับ-รายจ่าย) ….…9,102.-...... บาทกรณีมีเงินสนับสนุนโครงการคงเหลือพร้อมดอกเบ้ียรับ กรุณาดำเนินการโอนเงินคืน สสค. โดยใช้ใบแจ้งการชำระเงิน ในระบบ Teller Payment (ท่ีแนบมาด้วยน้ี) ผ่าน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เท่าน้ัน และส่งใบแจ้งโอนเงินคืนฯ ส่วนท่ี 1 กลับมายัง สสค. ด้วย …..….ส่งเสริม การสอน……. ผู้รับทุน …6…/…พ.ค.../…2554…

aw master Black.indd 24 6/13/11 9:33:18 AM

Page 25: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

25

3) แนบสำเนาสมุดคู่ฝากเงินธนาคารตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายที่ปรับสมุด

(Update) ถึงปัจจุบัน

4) ในกรณีที่มีเงินคงเหลือและไม่มีแผนการใช้เงินแล้ว ให้ปิดบัญชีเงินฝากธนาคารของ

โครงการเพื่อโอนเงินคงเหลือคืน สสค. โดยกรอกรายละเอียดในใบ Teller Payment และนำฝาก

พร้อมเงินคงเหลือผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย และให้แนบสำเนาใบ Teller Payment ดังกล่าว

มาพร้อมรายงานการเงินเพื่อตรวจ สอบยอดเงินนำส่งคืน

5) ในกรณีการกำหนดงวดงานงวดเงินที่ สสค. ต้องการกันเงินจำนวนหนึ่งเป็นเงินงวด

สุดท้ายไว้เพื่อจะเบิกจ่ายให้กับโครงการ เมื่อได้ส่งรายงานปิดโครงการให้ สสค. แล้ว ซึ่งคงทำให้

โครงการต้องจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในตอนท้ายโครงการไปก่อนแล้วจึงขอเบิกเงินงวดสุดท้ายเท่ากับ

จำนวนที่จ่ายไป ดังตัวอย่าง

ใบแจ้งการชำระเงินในระบบ Teller Payment สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

(กรุณาเขียนตัวบรรจง) บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขา ..........สามยอด.......... วันที่โอนเงิน ..........30 เมษายน 2554..........

Company Code : .............................. ชื่อโครงการ (Customer Name) โครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม่ (Ref.No.1) .......53-00-0266........ (Ref.No.2) ........53140066........... จำนวนเงิน (ตัวเลข) 9,102.- บาท จำนวนเงิน (ตัวอักษร) เก้าพันหนึ่งร้อยสองบาทถ้วน

(ส่วนที่ 1 ของผู้รับทุน)

ใบแจ้งการชำระเงินในระบบ Teller Payment สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

(กรุณาเขียนตัวบรรจง) บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขา ..........สามยอด.......... วันที่โอนเงิน ..........30 เมษายน 2554..........

Company Code : .............................. ชื่อโครงการ (Customer Name) โครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม่ (Ref.No.1) .......53-00-0266........ (Ref.No.2) ........53140066........... จำนวนเงิน (ตัวเลข) 9,102.- บาท จำนวนเงิน (ตัวอักษร) เก้าพันหนึ่งร้อยสองบาทถ้วน

(ส่วนที่ 2 ของธนาคาร)

aw master Black.indd 25 6/13/11 9:33:19 AM

Page 26: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

26

รายงานการเงินโครงการ/แผนงาน งวดที่…2…

ระยะเวลาดำเนินงานจริง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ถึง 30 เมษายน 2554

โครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม ่

กิจกรรมหลักในงวดนี้ 1. กิจกรรมจัดประชุมเครือข่าย 2. กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 4. กิจกรรมบริหารจัดการ

สรุปรายงานการใช้จ่ายเงินงวดนี้

รายได้ รายจ่าย คงเหลือ

1. เงินคงเหลืองวดก่อน ยกมา (ถ้ามี) = 14,900.- 2. เงินรับจาก สสค.งวดนี้ = 180,000.- 3. ดอกเบี้ยรับ = – 4. เงินรับอื่นๆ = 102.-

1. ยอดเงินติดลบงวดก่อน ยกมา (ถ้ามี) = .....–......

2. กิจกรรม 1 = 14,900.- 3. กิจกรรม 2 = 70,000.- 4. กิจกรรม 3 = 91,000.- 5. กิจกรรม 4 = 30,000.- 6. รายจ่ายอื่นๆ (ระบุ) ………………… = ...…–......

1. เงินสดในมือ = ......–...... 2. เงินในบัญชีธนาคาร = ......–...... 2. เงินยืมจากผู้รับทุน = (10,898.-)

รวมรายรับ = .....195,002.-.... รวมรายจ่าย = ....205,900.-..... รายได้ หัก รายจ่าย ( - ) = …..(10,898.-)......

• หมายเหตุ …......ขอเบิกเงินงวดสุดท้าย (งวดที่ 3) เฉพาะส่วนที่เกิน จำนวน 10,898.- บาท………..

ข้าพเจ้าขอรับรองว่า เงินสนับสนุนโครงการจาก สสค. ได้นำมาใช้อย่างถูกต้อง ตรงตามแผนงานโครงการที่ระบุไว้ในข้อตกลงทุกประการ และขอรับรองรายงานข้างต้น ลงชื่อ ……ส่งเสริม การสอน......... ผู้รับทุน ลงชื่อ ……จริงใจ ใสซื่อ……. เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ( นายส่งเสริม การสอน ) ( น.ส. จริงใจ ใสซื่อ ) 5 มกราคม 2554 5 มกราคม 2554

หมายเหตุ โปรดแนบ 1. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร ตั้งแต่หน้าแรก จนถึงปัจจุบัน 2. รายงานการเงินงวดก่อน (ทุกงวด) ตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน

กรณีการเบิกเงินงวดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป หรือกรณีการเบิกเงินงวดเพื่อปิดโครงการหรือการรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการของโครงการที่ได้รับทุนตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม รับรองรายงานการเงินด้วย ข้าพเจ้า .................................................................................ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่............................ได้ทำการตรวจสอบรายงานการเงินดังกล่าวแล้วถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ ........................................................................... ( )

หมายเหตุ : โปรดแนบ สำเนาบัตรอนุญาตผู้สอบบัญชี/รายงานความเห็น/งบการเงิน/อื่นๆ ตามเงื่อนไขที่ สสค. กำหนด

หมายเหตุ โปรดแนบ 1. สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร ตั้งแต่หน้าแรก จนถึงปัจจุบัน 2. รายงานการเงินงวดก่อน (ทุกงวด) ตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน

กรณีการเบิกเงินงวดตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป หรือกรณีการเบิกเงินงวดเพื่อปิดโครงการหรือการรายงานการเงินเพื่อปิดโครงการของโครงการที่ได้รับทุนตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป จำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตลงนาม รับรองรายงานการเงินด้วย ข้าพเจ้า .................................................................................ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่............................ได้ทำการตรวจสอบรายงานการเงินดังกล่าวแล้วถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ลงชื่อ ........................................................................... ( )

หมายเหตุ : โปรดแนบ สำเนาบัตรอนุญาตผู้สอบบัญชี/รายงานความเห็น/งบการเงิน/อื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่ สสค. กำหนด

รายงานสรุปการเงินเพื่อปิดโครงการ(ภาพรวมการใช้จ่ายเงินของทั้งโครงการ)

ชื่อแผนงานโครงการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นเยาวชนพันธ์ุใหม่ข้อตกลงเลขที่ ……53-00-0266….… รหัสโครงการ……………53140066……..ระยะเวลาในการดำเนินงานจริง ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2553 ถึง 30 เมษายน 2554

1. รายรับ : เงินสนับสนุน งวดที่ 1 ..........100,000.-.......... บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 2 ..........180,000.-.......... บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 3 ...........20,000.-.......... บาท (ยังไม่ได้รับ) เงินสนับสนุน งวดที่ 4 ……...……–………….. บาท เงินสนับสนุน งวดที่ 5 ……...……–………….. บาท ดอกเบี้ยรับทั้งสิ้น …............102.-....….... บาท

รวมรายรับ .…300,102.-...... บาท

2. รายจ่าย : มีรายละเอียดดังนี้

ช่ือกิจกรรมหลัก งบท่ีอนุมัติ (บาท) งบท่ีใช้จริง (บาท)

1. กิจกรรมชมรมเครือข่าย 50,000.- 49,500.-

2. กิจกรรมจัดทำองค์ความรู้ 100,000.- 99,200.-

3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ 100,000.- 95,300.-

4. บริหารจัดการ 50,000.- 47,000.-

รวมรายจ่ายทั้งสิ้น ….…291,000.-...... บาท

คงเหลือเงิน (รายรับ-รายจ่าย) ….…9,102.-...... บาท ดังนั้นโครงการขอเบิกเงินงวดสุดท้าย (งวดที่ 3) = 20,000–9,102 = 10,898.- บาทกรณมีเีงนิสนบัสนนุโครงการคงเหลอืพรอ้มดอกเบีย้รบั กรณุาดำเนนิการโอนเงนิคนื สสค. โดยใชใ้บแจง้การชำระเงนิ ในระบบ Teller Payment (ทีแ่นบมาดว้ยนี)้ ผา่น ธนาคารกรงุไทย จำกดั (มหาชน) เทา่นัน้ และสง่ใบแจง้โอนเงนิคนืฯ สว่นที ่1 กลบัมายงั สสค. ดว้ย …..….ส่งเสริม การสอน……. ผู้รับทุน …6…/…พ.ค.…./…2554

aw master Black.indd 26 6/13/11 9:33:21 AM

Page 27: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

27

2.4 การเก็บเอกสารทางการเงิน การบัญชีและการพัสด ุ สมุดบัญชีและเอกสารโครงการควรจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในที่ที่เหมาะสมตลอด

เวลา โดยเอกสารใบสำคัญให้แยกเป็น 2 แฟ้ม คือ แฟ้มใบสำคัญรับ และแฟ้มใบสำคัญจ่าย การ

จัดเก็บเอกสารในแฟ้มให้เรียงตามเลขที่ใบสำคัญและวันที่เกิดรายการ เพื่อประโยชน์ในการค้นหา

หรือเมื่อมีการตรวจสอบ

เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทางการเงิน การบัญชีและการพัสดุที่ยังมิได้ตรวจสอบ

และต้องเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ให้เก็บรักษาไว้เป็นเวลา 5 ปี ส่วนเอกสารที่ตรวจ

สอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้วหากไม่มีปัญหาและไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ

สอบอีก ให้เก็บรักษาไว้เป็นเวลา 1 ปี

aw master Black.indd 27 6/13/11 9:33:21 AM

Page 28: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

28

uuu 3. ด้านการพัสดุ

3.1 คำจำกัดความ “พัสดุ” หมายถึง วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และการจ้าง

“วัสดุ” หมายถึง สิ่งของที่มีความหมดเปลืองจากการใช้ และการจำหน่ายจ่ายแจก หรือ

สิ่งของที่ใช้เพื่อการบำรุงรักษา ซ่อมแซม เสริมสร้าง หรือปรับปรุงพัสดุ รวมทั้งอะไหล่ ชุดอะไหล่

หรือส่วนประกอบของครุภัณฑ์หลัก แบบพิมพ์หรือสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึง

สิ่งของที่มีลักษณะถาวรหรือมีอายุการใช้งานมากกว่าหนึ่งปีและมีราคาไม่เกินห้าพันบาท

“ครุภัณฑ์” หมายถึง สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวรหรือมีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี

และมีราคาเกินกว่าห้าพันบาท

“การซื้อ” หมายถึง การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยว

เนื่องอื่น แต่ไม่หมายความรวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง

“การจ้าง” หมายถึง การจ้างทำของ การจ้างเหมาบริการ การจ้างที่ปรึกษา รวมทั้งการ

ออกแบบและการควบคุมงาน แต่ไม่หมายความรวมถึงการจ้างเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น

“การจำหน่ายพัสดุ” หมายถึง การมอบโอน การตัดบัญชี การแลกเปลี่ยน การขาย การ

แปรสภาพ หรือการทำลาย

3.2 วิธีการจัดหาพัสดุ การจัดหาพัสดุมี 3 วิธี ดังนี้

1) วิธีการตกลงราคา สำหรับใช้กับการจัดหาที่มีวงเงินครั้งหนึ่งไม่เกิน 500,000 บาท

สามารถติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้โดยตรง ทั้งนี้ ผู้ดำเนินการจัดหาควรติดต่อ

สอบถามราคาและคุณภาพของพัสดุก่อนตกลงราคา

2) วิธีเปรียบเทียบราคา สำหรับใช้กับการจัดหาที่มีวงเงินครั้งหนึ่งเกินกว่า 500,000

บาท ต้องมีคณะกรรมการจัดหาอย่างน้อย 3 คน เพื่อดำเนินการจัดหาโดยวิธีเปรียบเทียบราคา

จากผู้ขายหรือผู้รับจ้างอย่างน้อย 3 ราย

3) วิธีคัดเลือก สำหรับการจัดหาที่มีวงเงินครั้งหนึ่งเกินกว่า 500,000 บาท และมีความ

จำเป็นที่ไม่สามารถใช้วิธีเปรียบเทียบราคาได้ เนื่องจากเป็นกรณีเร่งด่วน หรือเป็นการจัดหาเพิ่ม

โดยด่วน หรือเป็นการจัดหาที่ต้องระบุยี่ห้อ หรือจัดหาโดยวิธีเปรียบเทียบราคาแล้วไม่ได้ผล

ทั้งนี้ โครงการขนาดย่อมส่วนใหญ่จะมีวงเงินงบประมาณสำหรับการจัดหาพัสดุไม่มาก

และไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งสามารถจัดซื้อหรือจ้างได้โดยวิธีตกลงราคาได้

aw master Black.indd 28 6/13/11 9:33:21 AM

Page 29: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

29

3.3 การตรวจรับพัสด ุ ในกรณีการจัดหาพัสดุที่มีวงเงินเกินกว่า 50,000 บาท ผู้รับทุนจะต้องแต่งตั้ง

คณะกรรมการตรวจรับไม่น้อยกว่า 3 คน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และ

คุณภาพของพัสดุที่รับมอบจากผู้ขาย

3.4 การควบคุมครุภัณฑ์และวัสด ุ เมื่อโครงการได้ดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างครุภัณฑ์หรือวัสดุมาแล้วให้ดำเนินการจัดทำ

ทะเบียนควบคุม ดังนี้

1) การจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ ในกรณีที่โครงการมีการจัดซื้อจัดจ้าง ครุภัณฑ์ ใช้ใน

โครงการ เพื่อความสะดวกในการควบคุมและตรวจสอบ ให้โครงการจัดทำทะเบียนครุภัณฑ์ ตาม

แบบฟอร์มซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากแผ่นซีดีที่แนบ โดยให้มีการตรวจนับครุภัณฑ์ทุก 6 เดือน

2) การจัดทำทะเบียนคุมวัสดุ ในกรณีที่โครงการมีการจัดซื้อวัสดุมาใช้งาน ควรมี

การควบคุมและตรวจสอบเพื่อให้ทราบว่ามีจำนวนคงเหลือเท่าไร โดยจัดทำเป็นทะเบียนคุมหรือ

Stock Card เมื่อมีการเบิกจ่ายวัสดุทุกครั้งจะต้องมีใบเบิกวัสดุที่ได้รับอนุมัติแล้ว ตามแบบฟอร์ม

ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากแผ่นซีดีโดยให้มีการตรวจนับวัสดุทุกเดือน

3.5 แนวทางการจัดการครุภัณฑ์และวัสดุเมื่อสิ้นสุดโครงการ โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสค. ให้จัดหาครุภัณฑ์หรือวัสดุจำเป็นสำหรับ

การดำเนินงาน เมื่อปิดโครงการ ยุติโครงการ หรือ ยกเลิกโครงการ ควรดำเนินการเกี่ยวกับ

ครุภัณฑ์และวัสดุ ดังนี้

1) จำหน่ายครุภัณฑ์หรือวัสดุโดยวิธีการขาย และโอนเงินคืน สสค.

2) จำหน่ายโดยโอนครุภัณฑ์หรือวัสดุให้กับโครงการอื่น

3) จำหน่ายด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น แลกเปลี่ยน แปรสภาพ หรือทำลาย

ทั้งนี้ เมื่อได้รับการแจ้งปิดโครงการ สสค. จะติดต่อกับโครงการเพื่อร่วมกันพิจารณาใน

การจัดการกับครุภัณฑ์และวัสดุดังกล่าวต่อไป

aw master Black.indd 29 6/13/11 9:33:22 AM

Page 30: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

30

uuu ถาม-ตอบ การทำโครงการกับ สสค.

ถาม หากผู้รับผิดชอบโครงการไม่ได้มาปฐมนิเทศในวันลงนามข้อตกลงกับ สสค.

ตอบ ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ไม่เข้าใจการทำรายงานความก้าวหน้าและเอกสาร

รายงวดส่ง สสค.

ถาม สสค. โอนงบประมาณงวดที่ 1 เมื่อไหร่

ตอบ ในกรณีเอกสารประกอบการลงนามข้อตกลงครบถ้วนสมบูรณ์ สสค. จะโอนงบประมาณ

งวดที่ 1 ภายใน 15 วันหลังการลงนาม หรือไม่เกิน 15 วันก่อนเริ่มโครงการ

ถาม การเลอืกใชธ้นาคารเพือ่เปดิบญัชทีำโครงการมผีลตอ่การโอนเงนิของ สสค. หรอืไม ่

ตอบ อาจมีผลในบางกรณี เช่น การเคลียร์เช็ค หากเป็นไปได้ควรเลือกใช้ธนาคารกรุงไทย

และหลีกเลี่ยงการใช้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส) และ

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส)

ถาม ส่งรายงานความก้าวหน้าในงวดแรกช้า

ตอบ ผู้รับผิดชอบโครงการควรเตรียมการเพื่อประมาณการระยะเวลาการส่งเอกสารเพื่อเบิก

งบประมาณในแต่ละงวดไม่เกิน 15 วัน หลังวันที่เริ่มงวดใหม่ในข้อตกลง

ถาม มีเหตุให้งาน–กิจกรรมไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

ตอบ หากการทำงานจริงไม่เป็นไปตามแผน เช่น ทำไม่ได้ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ หรือทำมาก

กว่าข้อตกลงให้อธิบายสาเหตุของกิจกรรมที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในรายงานผลการ

ดำเนินงาน (หากมีรายละเอียดมากให้เพิ่มเป็นรายการเอกสารแนบ และอาจปรับ

แผนการทำงานที่โครงการจะดำเนินงานได้จริงเสนอมายัง สสค. เพื่อขอปรับเปลี่ยนได้)

ถาม เงินที่แบ่งไว้ในแต่ละงวดไม่พอใช้ (ติดลบ)

ตอบ ทำรายงานการเงินแบบติดลบ หากเกินกว่าหนึ่งพันบาทขอให้ระบุสาเหตุของการใช้

งบประมาณเกินมาด้วย

aw master Black.indd 30 6/13/11 9:33:22 AM

Page 31: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

31

ถาม ใช้เงินไม่ทันเหลือเยอะเกิน 50% (รายงวด)

ตอบ หากมีงบประมาณเหลือเกินกว่าร้อยละ 50 ของงบประมาณที่จะขอเบิกในงวดถัดไป

สสค. จะไม่เบิกงบประมาณให้ หากโครงการยืนยันที่จะเบิกเพื่อนำไปทำกิจกรรมต่อให้

แนบเอกสารแผนการใช้เงินเดิมที่เหลือกับงวดใหม่ที่ขอเบิกมาด้วย ดังตัวอย่าง

งบประมาณ กิจกรรม หมายเหต ุ

งบประมาณคงเหลือ (งวดที่ ... )

จำนวน ............ บาท

ระบุว่าเป็นกิจกรรมเดิมที่ค้าง หรือ

กิจกรรมจำเป็นเพิ่มเติม

งบประมาณใหม่ (งวดที่ ... )

จำนวน ........... บาท

ถาม มีรายได้จากผลผลิตของโครงการจะทำบัญชีอย่างไร

ตอบ บางโครงการมีผลผลิตที่จำหน่ายได้ควรมีการทำรายงานการเงินโดยลงเป็นรายรับเพิ่ม/

แยกออกไปต่างหากเป็นบัญชีของโรงเรียน ชมรม หรือกลุ่มนักเรียนก็ได้ ทั้งนี้ให้มีระบบ

การดูบัญชีและการเงินเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน

ถาม จบโครงการแล้วมีเงินเหลือ

ตอบ ตอนปิดโครงการหากมีงบประมาณเหลือให้โอนคืน สสค. ตามเลขที่บัญชีในคู่มือ และส่ง

หลักฐานการโอนเงินดังกล่าวมากับรายงานการปิดโครงการ

ถาม ส่งรายงานมาล่าช้า สสค. เบิกเงินให้ไม่ทัน

ตอบ โครงการโดยโรงเรียนสำรองจ่ายไปก่อนเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมไม่สะดุดและทำ

รายงาน การเงินตามแบบรายงานให้ตรงกับการใช้จ่ายจริง

ถาม เมื่อส่งเอกสารมาผิดหรือเกินกว่าความจำเป็น

ตอบ ทีมงาน สสค. จะโทรไปแจ้งแล้วแก้ไขมาใหม่ (EMS)

ถาม ทำกิจกรรมไม่หมดขยายเวลาทำงานได้หรือไม่

ตอบ ขยายเวลางวดได้แต่โดยรวมทั้งหมดไม่เกินระยะเวลาโครงการ

ถาม ผลผลิต–ผลลัพธ์ ได้ไม่ครบถ้วนจะผิดสัญญาไหม

ตอบ อธิบายข้อจำกัด คืนงบประมาณส่วนกิจกรรมที่ไม่ได้ทำ

aw master Black.indd 31 6/13/11 9:33:23 AM

Page 32: uuu คู่มือการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ ...apps.qlf.or.th/member/manage/project/files/คู่มือผู้รับ... ·

32

ถาม เปลี่ยนแปลงผู้บริหาร หรือผู้รับผิดชอบโครงการ

ตอบ ทำหนังสือแจ้งมาที่ สสค. เพื่อทราบ และเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบบริหารโครงการ

ถาม จบโครงการแล้วจะจัดการกับของที่ซื้อมาอย่างไร

ตอบ สสค. อาจพิจารณามอบให้หน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องใช้แต่ยังขาดแคลน

ถาม เอกสารสัญญาหาย

ตอบ แจ้งมายัง สสค. เพื่อขอสำเนาได้

ถาม มีการเปลี่ยนเลขที่บัญชีหรือธนาคาร

ตอบ ขอหนังสือจากธนาคารแนบมาพร้อมเอกสารขอเบิก

ถาม การติดต่อกับ สสค.

ตอบ E–mail : [email protected]

www.QLF.or.th เข้าสู่ระบบสมาชิก

ตู้ ปณ. 34 ปณฝ. สนามเป้า กรุงเทพ ฯ 10406

uuu

aw master Black.indd 32 6/13/11 9:33:23 AM