จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

11
สุนทรพจน์ ‘สุรินทร์ พิศสุวรรณ’ เลขาธิการอาเซียน สิ่งที่ท่านร่วมกันทำอยู่ในขณะนีคือการเตรียมตัวเพื่ออาเซียน การได้มาพบพวกท่านทั้งหลายในวันนี้ มาด้วยภารกิจ อีกอย่าง คือภารกิจสร้างประชาคมใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ซึ่งมีประชากรกว่า 600 ล้านคน ประกอบด้วย 10 ประเทศ เหตุที่เราต้องเป็นประชาคมก็เพื่อเป็นฐานในการแข่งกับประเทศ ยักษ์ใหญ่อื่นๆ สิ่งที่น่าภูมิใจที่สุดคือ การตั้งประชาคมอาเซียนเริ่มต้น ในประเทศไทย โดยคนไทย มันจึงเป็นมรดกทางปัญญาให้กับ ภูมิภาคนี้และประชาคมโลก จนถึงเดี๋ยวนี้ยังมีอาเซียน+3 อาเซียน+6 และหลังสุดมีสหรัฐอเมริกาและรัสเซียเข้ามาร่วมด้วย อาเซียนกำลังเป็นที่จับตามองเพราะมีขนาดใหญ่พอ สมควร รวมประชากรเกินครึ่งโลก รายได้ประชาชาติเกินครึ่งโลก และหลายๆ ประเทศกำลังเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก ที่น่า จับตาคือจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย ซึ่งมีประเทศเล็กๆ ใน อาเซียนประสานการเจรจาอยู่ตรงกลางประเทศยักษ์ใหญ่ที่ไมถูกกัน เช่น ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น, จีนกับอินเดีย จึงไม่แปลกทีเราจะได้เห็น ได้ยินเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) อย่างมากมายตามพื้นที่สื่อ ต่างๆ เพราะคนชั้นกลางกำลังขยายตัว กำลังซื้อเพิ่ม ต่างชาติเข้า มาลงทุนเพื่อขายสินค้าและการบริการ ไม่ว่าการแพทย์ การ ศึกษา โลจิสติกส์ การค้าปลีก การศึกษา ฯลฯ แต่เสาหลักของอาเซียนยังมีอีก 2 เรื่องคือ การเมือง และความมั่นคง คือทำอย่างไรไม่ให้ 10 ประเทศนี้กระทบ กระทั่งกัน เพราะถ้ามีภาพความรุนแรงก็จะไม่มีใครอยากมา ลงทุน ทำการค้า มาท่องเที่ยว เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ประเทศต่างๆ ในอาเซียนนั้นต่างกันในแทบทุกเรื่อง การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ยกเว้นว่าตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ต่างแม้แต่ ประเทศสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างบรูไน ประเทศคอมมิวนิสต์ อย่างลาว ประเทศคริสเตียน พุทธ อิสลาม ฮินดู ล้วนอยู่ใน ประชาคมอาเซียนหมด แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเราผู้เข้าร่วมประชุมในวันนีคือเสาหลักว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมและสังคม อาเซียนไม่ต้องการ ให้ประเทศต่างๆ มาอยู่ในประชาคมเดียวกันแล้วสูญเสียความ เป็นตัวตน แต่ต้องการให้รักษาเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ เชื้อชาติ ค่านิยม ศาสนา ภาษาฯ ต้องเก็บเอาไว้ ไม่ต้องการให้คน 600 ล้านคนเหมือนกันหมด ปัญหาจึงอยู่ที่เรื่องการบริหารจัดการ ความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม ซึ่งไปคล้องจองกับสิ่งที่ท่านทั้ง หลายทำ คือทำอย่างไรให้ชุมชนของท่านจัดการปัญหา ดูแล ทรัพยากรของท่านเอง และพยายามสร้างคนรุ่นใหม่ให้สืบทอด มรดกตรงนั้นของท่านเอง นโยบายสาธารณะประเด็นต่างๆ ทั้ง 7 ประการที่ท่านตั้งไว้ คือสิ่งที่ต้องทำให้ได้ ผมได้เห็นความหลากหลายตรงนี้ด้วย ความภูมิใจ เพราะผมก็คือความหลากหลาย

Upload: we-are-punsook

Post on 31-Mar-2016

227 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

เวทีฟื้นพลังชุมชุนท้องถิ่น สู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ไบเทค บางนา วันที่ 1-3 มีนาคม 2555

TRANSCRIPT

Page 1: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

สุนทรพจน์ ‘สุรินทร์ พิศสุวรรณ’ เลขาธิการอาเซียน

สิ่งที่ท่านร่วมกันทำอยู่ ในขณะนี้ คือการเตรียมตัวเพื่ออาเซียน การได้มาพบพวกท่านทั้งหลายในวันนี้ มาด้วยภารกิจ

อีกอย่าง คือภารกิจสร้างประชาคมใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใต้ซึ่งมีประชากรกว่า600ล้านคนประกอบด้วย10ประเทศ

เหตุที่เราต้องเป็นประชาคมก็เพื่อเป็นฐานในการแข่งกับประเทศ

ยักษ์ใหญ่อื่นๆ

สิ่งที่น่าภูมิใจที่สุดคือ การตั้งประชาคมอาเซียนเริ่มต้น

ในประเทศไทย โดยคนไทย มันจึงเป็นมรดกทางปัญญาให้กับ

ภูมิภาคนี้และประชาคมโลก จนถึงเดี๋ยวนี้ยังมีอาเซียน+3

อาเซยีน+6และหลงัสดุมสีหรฐัอเมรกิาและรสัเซยีเขา้มารว่มดว้ย

อาเซียนกำลังเป็นที่จับตามองเพราะมีขนาดใหญ่พอ

สมควร รวมประชากรเกนิครึง่โลก รายไดป้ระชาชาตเิกนิครึง่โลก

และหลายๆ ประเทศกำลังเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก ที่น่า

จับตาคือจีนญี่ปุ่นอินเดียออสเตรเลียซึ่งมีประเทศเล็กๆใน

อาเซียนประสานการเจรจาอยู่ตรงกลางประเทศยักษ์ใหญ่ที่ไม่

ถูกกัน เช่น ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น, จีนกับอินเดีย จึงไม่แปลกที่

เราจะได้เห็น ได้ยินเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC:

ASEAN Economic Community) อย่างมากมายตามพื้นที่สื่อ

ตา่งๆเพราะคนชัน้กลางกำลงัขยายตวักำลงัซือ้เพิม่ตา่งชาตเิข้า

มาลงทุนเพื่อขายสินค้าและการบริการ ไม่ว่าการแพทย์ การ

ศึกษาโลจิสติกส์การค้าปลีกการศึกษาฯลฯ

แต่เสาหลักของอาเซียนยังมีอีก 2 เรื่องคือ การเมือง

และความมั่นคง คือทำอย่างไรไม่ให้ 10 ประเทศนี้กระทบ

กระทั่งกัน เพราะถ้ามีภาพความรุนแรงก็จะไม่มีใครอยากมา

ลงทุน ทำการค้า มาท่องเที่ยว เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ

ประเทศต่างๆ ในอาเซยีนนัน้ตา่งกนัในแทบทกุเรือ่ง การปกครอง

ศาสนา วฒันธรรม ยกเวน้วา่ตัง้อยูใ่นภมูภิาคเดยีวกนั ตา่งแมแ้ต่

ประเทศสมบรูณาญาสิทธิราชย์อย่างบรูไน ประเทศคอมมิวนิสต์

อย่างลาว ประเทศคริสเตียน พุทธ อิสลาม ฮินดู ล้วนอยู่ใน

ประชาคมอาเซยีนหมด

แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเราผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้

คือเสาหลักว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมและสังคม อาเซียนไม่ต้องการ

ให้ประเทศต่างๆ มาอยู่ในประชาคมเดียวกันแล้วสูญเสียความ

เป็นตัวตนแต่ต้องการให้รักษาเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ เชื้อชาติ

ค่านิยมศาสนาภาษาฯต้องเก็บเอาไว้ ไม่ต้องการให้คน600

ล้านคนเหมือนกันหมด ปัญหาจึงอยู่ที่เรื่องการบริหารจัดการ

ความหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม ซึ่งไปคล้องจองกับสิ่งที่ท่านทั้ง

หลายทำ คือทำอย่างไรให้ชุมชนของท่านจัดการปัญหา ดูแล

ทรัพยากรของท่านเอง และพยายามสร้างคนรุ่นใหม่ให้สืบทอด

มรดกตรงนัน้ของทา่นเอง นโยบายสาธารณะประเด็นต่างๆ ทั้ง

7ประการที่ท่านตั้งไว้คือสิ่งที่ต้องทำให้ได้

ผมได้เห็นความหลากหลายตรงนี้ด้วย

ความภูมิใจ เพราะผมก็คือความหลากหลาย

Page 2: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

ฟื้นถิ่น {02}

หนึ่ง และการที่ผมได้มีโอกาสยืนตรงนี้ ก็เพราะสังคมไทย

ยอมรับความหลากหลาย และมีความหลากหลายอีกสารพัด

อย่างที่จะดึงมาเป็นประโยชน์กับประเทศชาติได้

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีประชากรเหมือนกันใน

ทุกๆ เรื่อง ความคิดเรื่องการจะเอาอำนาจเบ็ดเสร็จมาอยู่ตรง

กลางเพื่อจะชี้นำออกไปทุกหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้

อาเซียนตระหนักตรงนี้ดี จึงได้เน้นย้ำว่า จงรักษาความหลาก

หลายไว้ การมาอยู่ในหลังคาอาเซียน ไม่ต้องเปลี่ยนตัวเอง แต่

ขอเพียงสำนึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน

ดังนั้น สิ่งแรกและเป็นสิ่งหลักที่ต้องตระหนักสำหรับ

ทา่นทัง้หลาย ซึง่เปน็หวัหอกทีจ่ะทำความเขา้ใจกบัคนทัง้ประเทศ

ก็คือ เราอยู่ด้วยความแตกต่าง แต่เราเคารพ ให้เกียรติซึ่งกัน

และกัน และไม่กีดกันโอกาสของกันและกัน เอาทุกส่วนที่เป็น

ของดีมีค่ามารวมกัน เพื่อผลักดันประเทศไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน

เพราะไมว่า่จะในอาเซยีนหรอืในโลกใบนีม้นัเตม็ไปดว้ยการแขง่ขนั

ถ้าเราไม่เอาจุดแข็งมารวมกันก็จะแข่งกับคนอื่นไม่ได้ สิ่งที่ต้อง

ทำคือ นอกจากจะตะระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ใช้

มันให้เป็นประโยชน์แล้ว ยังต้องมองไปข้างหน้าเตรียมความ

พร้อมให้ลูกหลานของเราออกไปแข่งขันได้ด้วย

การที่ท่านหยิบยกเรื่องการศึกษาเป็นประเด็นหนึ่งใน

7เรือ่งทีท่า่นตอ้งการมสีว่นรว่มในการพฒันาเปน็เรือ่งถกูตอ้งแลว้

เพราะถ้าการศึกษาไม่ดี เตรียมตัวไม่พร้อม ก็ไม่รู้จะแข่งกับใคร

ตอนนี้ภายในประชาคมอาเซียนมีอาชีพ7สาขาที่เปิดเสรีในการ

เคลือ่นยา้ยไมว่า่จะเรยีนมาจากประเทศอะไรกส็ามารถไปทำงาน

ยงัประเทศอืน่ๆในอาเซยีนไดอ้ยา่งเสรีเรยีกวา่ยอมรบัวทิยาฐานะ

ของกันและกัน นั่นคือ วิศวกร, สถาปนิก, หมอ, หมอฟัน,

พยาบาล, นักบัญชี, ภาคท่องเที่ยว, เจ้าหน้าที่สำรวจมาตรฐาน

ต่างๆ แต่ลองพิจารณาดูคนของเราที่อยู่ในต่างจังหวัด สภาพ

การศึกษาที่เป็นอยู่อย่างนี้ที่สอนให้เด็กท่องจำใช้หลักสูตรส่วน

กลาง ไม่มีการเสริมทักษะให้คิด วิเคราะห์ เรื่องภาษาไม่ต้อง

พูดถึงคำถามคือเราจะแข่งกับเขาได้หรือ

ดังนั้น แม้การเข้าไปรวมกับอาเซียนจะไม่ได้บังคับให้

เปลี่ยนทุกอย่าง แต่สิ่งที่เรารู้เองว่าต้องทำคือ ความสามารถใน

การแข่งขันที่จะต้องทำให้เพิ่มขึ้น เราพูดเรื่องปฏิรูปการศึกษา

มาสิบกว่าปี แต่เราเล่นกีฬาสีกันบ่อย ประเทศอื่นเขาไม่พูดมาก

แต่ทำเลย และเขาไปกันไกลแล้ว ถ้ากระทรวงศึกษาธิการยังไม่

ยอมปลอ่ย ไมใ่หท้า่นทัง้หลายในภมูภิาคตา่งๆสามารถไปศกึษา

วิเคราะห์วิจัยได้เองว่า วิธีการสอนอย่างไรจะมีประสิทธิภาพ

สำหรับเด็กในพื้นที่ ก็เป็นเรื่องยากลำบากที่จะทำให้คุณภาพ

การศึกษาของเราดีขึ้น

อย่างน้อยๆ ต้องยืนรักษาตำแหน่งของตัวเองไว้ให้ได้

ถึงไม่ชนะ ก็ไม่แพ้ แต่ถ้าไม่พร้อมอยู่อย่างนี้คงเป็นไปไม่ได้

เศรษฐกจิของเราขณะนี้เป็นเศรษฐกิจที่มีรายได้ระดับกลาง ไม่

เกนิสามแสนบาทตอ่หวัตอ่ปี และเราไมส่ามารถจะขยบัไปไหนได้

มากกวา่นัน้เหตผุลเพราะการศกึษาเราไมม่กีารคน้ควา้วจิยัไมม่ี

การเตรียมคนของเราเพื่ออนาคตแรงงานของเราก็ไม่มีคุณภาพ

เมื่อเร็วๆนี้ ผมเพิ่งไปเยือนพม่ามาผู้บริหารของพม่า

บอกว่า อยากได้แรงงานพม่า 2-3 ล้านคนที่อยู่ในไทยและ

มาเลเซยีกลบัไปลองนกึดวูา่ถา้เขาดงึคนกลบัไปพฒันาเศรษฐกจิ

เขา โรงงานในบา้นเราจะอยูไ่ดไ้หม คนไทยไมย่อมเขา้ไปทำแลว้

และเราก็ไม่ยกระดับเศรษฐกิจขึ้นมาสู่อุตสาหกรรมที่ต้องใช้

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้มากขึ้น

เรื่องภัยพิบัติหลังจากสึนามิเมื่อปลายปี2004ที่ทำให้

มีผู้เสียชีวิตตายไปราว 300,000 คนในหลายประเทศ ปี 2008

ไซโคลนนากีสที่พม่าก็ทำให้มีผู้เสียชีวิต140,000คนเราจะเห็น

ว่าภัยพิบัติมันมาบ่อยขึ้น ถ้าชุมชนไม่แข็งแรง ไม่พร้อมเราก็

จะประสบความสูญเสียใหญ่ร่ำไป ตอนนี้ที่พม่า โรงเรียน

โรงพยาบาล เขายกสูงขึ้นเพื่อเป็นที่หลบภัยได้หมดแล้ว เพราะ

เขาสรุปบทเรียนและมีการเตรียมตัวสำหรับภัยพิบัติ กรณีน้ำ

ท่วมใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมาใครๆก็เห็นว่า“เอาไม่

อยู่” เพราะมันใหญ่เกินไป และคาดหวังว่าทุกอย่างจะกำหนด

มาจากกรุงเทพฯทั้งนโยบายคนงบประมาณแต่โลกสมัยใหม่

โลกยุคอาเซียนเป็นไปไม่ได้ที่จะต้องรอฟังจากส่วนกลาง

สิ่งที่เป็นของท่านท่านต้องประคองไว้อย่าให้ราคาทุน

หรอืปจัจยัขา้งนอกมาทำลาย เรือ่งเกษตรยัง่ยนื เรือ่งสิง่แวดลอ้ม

ก็เป็นเรื่องที่ท่านต้องยึดเอาไว้ รัฐธรรมนูญก็รองรับ เพียงแต่จะ

สร้างกลไกอย่างไรให้เกิดการประสานกันเพื่อรักษาสิ่งเหล่านั้นไว้

ให้ได้อาเซียนเป็นห่วงสิ่งเหล่านี้

ความขัดแย้งแย่งชิงจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน สิ่งที่ต้อง

ทำให้ได้คือการแบ่งสรรขอบข่ายอำนาจและสิทธิหน้าที่และอยู่

กันให้ได้บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่กำหนด ถ้าทำไม่ได้สังคมจะ

ไม่สมดุล ท่านเองก็จะสูญเสียทุกอย่างที่ควรเป็นของท่านใน

ฐานะที่เป็นคนท้องถิ่น

ใช่เรามปีระชาคมอาเซยีนแตใ่นประชาคมไมต่อ้งการ

ใหใ้ครสญูเสยีความเปน็ตวัของตวัเองและการจะเขา้มาในอาเซยีน

ใหไ้ดด้ทีีส่ดุ คอืเปน็ตวัของตวัเองโดยทีม่อีำนาจ มคีวามสามารถ

พร้อมจะแข่งขัน ซึ่งจะทำสิ่งนั้นได้ต้องพัฒนาการศึกษา รักษา

สิ่งที่ตัวเองมีอยู่ด้วยการผูกโยงเครือข่ายอย่าให้คนอื่นมาทำลาย

เอาเปรียบ ดังนั้น สิ่งที่ท่านร่วมกันทำอยู่ในขณะนี้ก็คือการ

เตรยีมตวัเพือ่อาเซยีนเพราะอาเซยีนไมไ่ดไ้กลไปจากตรงนีเ้ลย

Page 3: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

03

เวทีเสวนา “ชุมชนท้องถิ่นกับการสร้างอาเซียนน่าอยู่”

ในวันสุดท้ายของการประชุมชุมชนท้องถิ่นที่ใหญ่ที่สุด มีสุวรรณี

คำมั่น รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ จากสถาบันธรรมรัฐเพื่อการ

พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าฯ

กทม. ผูอ้ำนวยการสถาบนัองคค์วามรูแ้หง่เอเชยี ธนาวฒุิ ถาวร-

พราหมณ์ ประธานกองทุนสร้างเสริมสุขภาวะตำบลปากพูน

อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ทำหน้าที่ชวนคิด โดยมีจอม

เพชรประดับทำหน้าที่ดำเนินรายการ

สวุรรณ ีคำมัน่ กลา่ววา่ ประเทศไทยตัง้อยูต่รงใจกลาง

ภูมิภาคอาเซียน และไทยมีจุดแข็งด้านความพร้อมในการ

คมนาคมขนส่ง ซึ่งน่าจะเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนโดยเพิ่มขีด

ความสามารถในการแข่งขันด้านนี้ นอกจากนี้ความก้าวหน้า

เรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (AEC: ASEAN Economic

Community) เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากแต่เรื่องความมั่นคงของ

มนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงอัตลักษณ์ภายใต้เสาหลัก

ด้านสังคมวัฒนธรรมนั้นยังไม่ค่อยมีคนพูดถึง

สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เราจะมุ่งพัฒนา

เฉพาะสาขาอาชีพที่จะเปิดเสรีก่อนนั้นไม่เพียงพอต้องพัฒนาใน

สาขาอื่นๆ ด้วย โดยชุมชนท้องถิ่นต้องเข้าใจประเด็นเหล่านี้

และพัฒนาทักษะอาชีพที่จะได้รับโอกาสมากขึ้นจากการรวมตัว

เป็นประชาคมอาเซียน

รองเลขาฯสภาพฒัน์ กลา่วดว้ยวา่คนไทยจะปรามาส

ประเทศเพือ่นบา้นไมไ่ดว้า่ไมม่กีารศกึษา เพราะปจัจบุนันี้ ภาษา

อังกฤษของคนลาวนั้นดีกว่าคนไทย

“อย่าทนงตัวว่าเราดีกว่าคนอื่น ต้องรู้จักประเทศเพื่อน

บ้านรวมทั้งคู่ค้าที่สำคัญทั้งจีนและอินเดีย รวมไปถึงประเทศจีน

เกาหลีญี่ปุ่น”สุวรรณีกล่าวและยังย้ำความสำคัญของการเรียน

ชุมชนท้องถิ่น กับอาเซียน เคารพกัน ไปด้วยกัน

ภาษา ขณะที่มองเห็นว่าจุดแข็งของชุมชนท้องถิ่นไทยซึ่ง

มีศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติ สุขภาวะ สวัสดิการ

ซึ่งอาจจะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านได้ต่อไป เป็นการ

ทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งจะทำไปสู่

การพัฒนาด้านการค้าการลงทุนตามมา

“ไทยปฏิเสธอาเซียนไม่ได้ดังนั้นจึงมีหน้าที่ต้อง

ทำความเข้าใจอาเซียน สำหรับชุมชนที่ยังอ่อนด้อย ไม่รู้

เทา่ทนัความเปลีย่นแปลงกต็อ้งเสรมิหนนุความเขา้ใจใหม้ากขึน้”

รองเลขาฯ สภาพัฒน์ กล่าวพร้อมทิ้งท้ายว่า ประโยชน์ของ

ความร่วมมือทั้งภาคเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา หรือแม้แต่

โครงสร้างพื้นฐานที่ไปสร้างในลาว เวียดนามนั้น ไทยยังใช้

ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ได้น้อย นอกจากนี้ภาคการเมืองและ

ความมั่นคงควรต้องเข้ามาทำหน้าที่ลดความขัดแย้งต่างๆ ที่

เกิดขึ้น

สุวรรณีย้ำว่า เราจะเห็นทั้งความเปลี่ยนแปลงและ

ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งทำให้มีโอกาสและความหวัง

ที่จะตั้งเป้าหมายต่อไป บางชุมชนทำอยู่แล้ว แต่ขอให้น้อมนำ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติว่า

เราต้องเดินหน้าตามศักยภาพของตนเอง ต้องประเมินตนเอง

ติดตามข้อมูล หาความรู้ว่า ความเปลี่ยนแปลงไปถึงไหน และ

เราอยู่ตรงไหน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งมีส่วนร่วมและสุดท้าย

คือต้องมีสติ

บณัฑรู เศรษฐศโิรตม ์กล่าวถึงประเด็นผลกระทบจาก

การพัฒนาภายใต้ความร่วมมือของประชาคมอาเซียน ซึ่งเขา

แสดงความเปน็หว่งวา่เสน้ทางทีจ่ะลงมาจากจนีไปทางตะวนัออก

ของน่านผ่านลาว จะทำให้ป่าไม้ที่มีถูกเผาโค่นลงไป อบต. ใน

พื้นที่จ.น่านก็แสดงความกังวลในประเด็นนี้เช่นกัน

ในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เขาเห็นว่า ขณะนี้ทุนก็เริ่มหัน

ไปใช้พื้นที่ใหม่ในการปล่อยมลพิษในประเทศเพื่อนบ้าน จาก

เดิมที่เคยใช้พื้นที่มาบตาพุด แต่ด้วยความใกล้ชิดของพื้นที่ก็จะ

ส่งผลกระทบกับไทยในด้านมลภาวะด้วยเช่นกัน โดยเมื่อไม่นาน

มานี้มีการพูดคุยกันระหว่างผู้ป่วยชุมชนที่ประสบภัย

ในพื้นที่มินามาตะประเทศญี่ปุ่น(ตะกั่วรั่วไหล)

กับผู้ป่วยจากมาบตาพุดจ.ระยองซึ่งถือเป็น

Page 4: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

ฟื้นถิ่น {04}

การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดี

สำหรับภาคแรงงานนั้น ในส่วนของการประมงและ

ภาคบริการ ขณะนี้แรงงานจากพม่าก็คืบเข้ามาแทนที่แรงงาน

ไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

บัณฑูรกล่าวว่า ทิศทางของการมองชุมชนท้องถิ่นกับ

การสร้างอาเซียนน่าอยู่นั้นเป็นทิศทางที่ถูกต้อง สามเสาหลัก

ของประชาคมอาเซียนมีทั้งโอกาสและความท้าทาย รัฐไม่

สามารถผูกโยงทุกสิ่งเข้าหาตัว แต่ต้องกระจายอำนาจออกไป

ภาคประชาสังคม เอ็นจีโอต้องมีบทบาท โดยเขาฝากความหวัง

กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แสดงศักยภาพและบทบาทเพิ่ม

ขึ้นอย่างมาก และต้องเข้าใจว่าจะรักษาเอกลักษณ์ อัตลักษณ์

วัฒนธรรมของตนเองอย่างไรเมื่อจะต้องปรับตัวสู่อาเซียน

บัณฑูรเสนอรูปธรรมบางประการในการสร้างท้องถิ่น

น่าอยู่ โดยเห็นว่า ในแง่การรับมือกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

หรือเออีซี แม้กฎเกณฑ์ด้านการลงทุนผ่านจากรัฐส่วนกลางไป

ผูกพันตัวเองไว้แล้ว แต่องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถบัญญัติ

กฎเกณฑ์ในระดับท้องถิ่นได้เพื่อรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

สำหรับปัญหาการค้ามนุษย์และสิ่งแวดล้อมนั้น ที่ผ่าน

มารฐัสว่นกลางมกีารปรบัแกก้ฎหมายรวมไปถงึการมคีวามรว่มมอื

ระหว่างรัฐ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเขามองว่าระดับ

ทอ้งถิน่กส็ามารถทีจ่ะจดัการปญัหาโดยสรา้งความรว่มมอืระหวา่ง

ชุมชนท้องถิ่นด้วยกันเองได้

บณัฑรูยำ้วา่ โลภาภวิตันไ์มไ่ดม้ปีระเดน็เศรษฐกจิอยา่ง

เดียว แต่มีด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรมด้วย ซึ่งทำ

ระหว่างรัฐต่อรัฐและชุมชนต่อชุมชนด้วยอีกประเด็นคือเมื่อพูด

ถึงประชาคมอาเซียน ก็มีมิติของความหลากหลายของชุมชน

ต่างๆ และความร่วมมือเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง ขณะที่ไทยนั้น

ค่อยๆถอยอันดับลงเรื่อยๆในการผูกพันตัวเองกับอาเซียนจึง

ต้องเร่งสร้างจินตภาพของการอยู่ร่วมกันของอาเซียน ซึ่งเป็น

บทบาทของชุมชนท้องถิ่นที่ต้องทำให้เกิดขึ้น และเป็นพื้นที่

ทำงานที่เปิดกว้าง

ด้าน อภิรักษ์ โกษะโยธิน กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ

ความตระหนักที่จะเห็นเป้าหมายร่วมกันในการเข้าสู่ประชาคม

อาเซียนซึ่งการสำรวจที่ผ่านมาคนไทยมีความตื่นตัวในการเข้า

สู่ความเป็นประชาคมอาเซียนเป็นอันดับสองจากท้าย เมื่อ

เปรียบเทียบกับเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา หรือพม่า เราเข้าใจว่า

เราเติบโตกว่าเขา ประเทศที่ตระหนักถึงความเป็นประชาคม

อาเซียนเป็นอันดับหนึ่งกลับเป็นประเทศลาว

ทัง้นีไ้ทยตอ้งตระหนกัในสามดา้นคอืประชาคมเศรษฐกจิ

ที่มีการขับเคลื่อนเตรียมความพร้อมแล้ว แต่ยังจำกัดอยู่ใน

เครอืขา่ยองคก์รธรุกจิขนาดใหญ่ขณะทีด่า้นสงัคมและวฒันธรรม

ทีเ่ปน็ประเดน็สำคญัมากทีส่ดุ เพราะไทยมเีอกลกัษณ์ อตัลกัษณ์

ที่บางเรื่องมีความคล้ายคลึงกับเพื่อนบ้าน แต่ก็ยังมีความหลาก

หลายไทยจึงควรตระหนักในประเด็นนี้

สุดท้าย ในความสัมพันธ์ของไทยกับเพื่อนบ้านใน

ภูมิภาคอาเซียนยังมีความรุนแรงตามตะเข็บชายแดน ไม่นับ

ความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านซึ่งเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความรุนแรง

ต่างๆ ตามมา ทำให้ประชาชนในตะเข็บชายแดนที่สภาพวิถี

ชีวิตเป็นพี่น้องเพื่อนฝูง เครือญาติกันเกิดความไม่มั่นคง ไม่

ปลอดภัย

นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมให้คนไทย เด็กและเยาวชน

ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในการรวมตัวเป็น

ประชาคมอาเซียนด้วย

นายอภิรักษ์กล่าวด้วยว่า นอกเหนือจากสามเสาหลัก

อาเซียน คือ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมแล้ว ยังมีอีก 3

ประเด็นที่ต้องตระหนักและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทใน

การร่วมพัฒนาและแก้ปัญหา รวมทั้งต้องเตรียมความพร้อมใน

ดา้นคนและองคค์วามรู้คอื1)การเปลีย่นแปลงสภาพภมูอิากาศ

และภัยพิบัติ 2) สังคมของผู้สูงอายุ 3) ความเป็นชุมชนเมือง

ซึ่งโตขึ้นเรื่อยๆ และจะกระจายไปยังท้องถิ่น ต้องมองไปอีก

10-20 ปีข้างหน้า เพระการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง

อยา่ลมืวา่เปา้หมายหนึง่ของอาเซยีน คอืการธำรงรกัษาอตัลกัษณ์

ที่หลากหลายซึ่งถือเป็นความท้าทายของชุมชนท้องถิ่น

ขณะที่ ธนาวุฒิถาวรพราหมณ์ประธานกองทุนสร้าง

เสริมสุขภาวะตำบลปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มอง

สามเสาหลักของอาเซียนคือเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมว่า

จริงๆ แล้วองค์กรท้องถิ่นมีการพัฒนาในทิศทางที่สอดคล้องอยู่

แล้ว โดยตัวแสดงของอาเซียนมี 2 ส่วน คือ ตัวแสดงที่เป็นรัฐ

กับตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ แต่จะทำอย่างไรให้ตัวแสดงทั้งสองนั้น

ทำงานประสานสอดคล้องกัน ทั้งนี้เขาเห็นว่า อาวุธที่เหลืออยู่

ของภาคท้องถิ่นคือประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเป็นความมั่นคง

ของประชาชน

เขากล่าวในฐานะตัวแทนขององค์กรปกครองท้องถิ่นว่า

องค์กรท้องถิ่นต้องเตรียมตัวให้ดี โดยนโยบายสาธารณะ 7

ประเดน็ไดแ้ก่การบรหิารจดัการแบบมสีว่นรว่มการจดัสวสัดกิาร

สังคมโดยชุมชน การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน การจัดการ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตรกรรมยั่งยืน การ

ดูแลสุขภาพชุมชน และการจัดการภัยพิบัติ จะเป็นสิ่งที่ค้ำจุน

สามเสาหลักของอาเซียนได้

Page 5: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

3มีนาคม2555ณศูนย์ประชุมนานาชาติไบเทคบางนากรุงเทพมหานครนายสมพรใช้บางยางประธานกรรมการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากหลากหลายจังหวัด นำกล่าว

“ปฏิญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่” บนเวที ‘ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย’ ครั้งที่ 2 ประจำปี

2555มีเนื้อหาดังนี้

000

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกันแสดงเจตจำนงที่จะขับเคลื่อนและรณรงค์ให้เกิดปฏิบัติการของพื้นที่ใน

7ประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ดังนี้

นโยบายสาธารณะด้านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 1)จัดทำธรรมนูญท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นกลไกในการร่วมคิดร่วมทำร่วมวางแผนร่วมรับผลประโยชน์ในทุกเรื่อง

2) ปฏิรูปกระบวนการประชาคม ในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนและแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนอย่างแท้จริง

3) จัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อให้คนทั้งในและนอกชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของชุมชนและติดตามการทำงานของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้และการนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนางานขององค์กรชุมชนกลุ่มทางสังคมและประชาชน

นโยบายสาธารณะการจัดการสวัสดิการสังคมโดยชุมชน 1)จัดตั้งกองทุนแบ่งปันเพื่อจัดสรรทุนรูปแบบต่างๆในชุมชนเช่นเงินแรงงานทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้น

2)สนับสนุนให้ประชาชนที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มกิจกรรมมีการจัดสวัสดิการให้แก่กลุ่ม

3)สนบัสนนุการจดัสวสัดกิารใหค้รอบคลมุทกุกลุม่เปา้หมาย เชน่กลุม่ผูถ้กูทอดทิง้ผูด้อ้ยโอกาสและผูส้งูอายุเปน็ตน้

ปฏิญญาเครือข่าย ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ณ วันที่ 3 มีนาคม 2555

Page 6: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

ฟื้นถิ่น {06}

นโยบายสาธารณะด้านการเกษตรยั่งยืน 1)สนับสนุนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ระบบเกษตรยั่งยืนอย่างน้อย 1 แห่งทุกตำบลและขยายครอบครัวทำเกษตรกรรม

ยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ10ของจำนวนครอบครัวในตำบลทุกปี

2)สนับสนุนให้มตีลาดสีเขียวเพื่อจำหน่ายผลผลิตจากระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในตำบล

3)จัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1)ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภท

2)ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

3)สนับสนุนให้ทุกหมู่บ้านมกีารจัดการขยะในระดับครัวเรือน

นโยบายสาธารณะด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน 1) สนับสนุนให้เกิดกลุ่มองค์กรของเด็กและเยาวชน เช่น ศูนย์ประสานงานเด็กและเยาวชนระดับตำบล สภาเด็กและ

เยาวชนประจำตำบลเป็นต้น

2) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย หรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆ สำหรับ

เด็กและเยาวชน โดยจัดการศึกษาตามความต้องการของเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้ในการเพิ่มสมรรถนะเด็กและเยาวชนทุกด้าน รวม

ทั้งขยายการศึกษาให้ครอบคลุมเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาด้วย

3)สร้างพื้นที่สร้างสรรค์หรือลานกิจกรรมอย่างน้อย1พื้นที่ในตำบล

นโยบายสาธารณะด้านการดูแลสุขภาพชุมชน 1) จัดตั้งสนับสนุนส่งเสริมอาสาสมัครและผู้ที่มีจิตอาสาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพชุมชนกลุ่มเป้าหมาย

ในพื้นที่

2)สนับสนุนการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพที่เป็นคนของชุมชนท้องถิ่น

3)จัดตั้งและดำเนินการศูนย์บริการสุขภาพแบบบูรณาการและมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับระบบบริการสุขภาพในพื้นที่

นโยบายสาธารณะด้านการจัดการภัยพิบัติ 1) จัดตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำตำบล เพื่อเป็นกลไกในการจัดทำแผนและศูนย์กลางบัญชาการเตรียมความพร้อม

ควบคุมสั่งการในภาวะวิกฤติตลอดจนแจ้งเตือนภัยพิบัติของพื้นที่

2)อาสาสมัครจัดการภัยพิบัติโดยขยายผลให้เกิดความต่อเนื่องของสมาชิกจากรุ่นสู่รุ่น

3)จัดตั้งกองทุนการจัดการภัยพิบัติ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมจัดสรรงบประมาณสมทบตามความเหมาะสม

ปฏิบัติการในพื้นที่ 21 ประการที่กล่าวมา

เป็นปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ที่สมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

จักต้องขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมในทุกชุมชนท้องถิ่น ภายใน 3 ปี นับแต่นี้ไป

พรอ้มๆ กบัการสนบัสนนุและผลกัดนัใหอ้กีกวา่ 63 ปฏบิตักิารพืน้ฐานของชมุชนทอ้งถิน่ในเครอืขา่ย ไดด้ำเนนิการ

อย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขและภาวะแวดล้อมของแต่ละชุมชนท้องถิ่น

Page 7: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

07

3 มีนาคม 2555 น.พ.ประเวศ

วะวี ปาฐกถาปิดท้ายเวทีฟื้นพลังชุมชน

ท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย ครั้งที่

2 ประจำปี 2555 ในหัวข้อ “ชุมชน

ท้องถิ่นคือฐานประเทศ” โดยกล่าวว่า

สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการอภิวัฒน์

ชุมชนท้องถิ่นก็คือวิธีคิด

“ชมุชนทอ้งถิน่คอืฐานของประเทศ

ที่ผ่านมาไม่ได้พัฒนารากฐาน เราจึงเกิด

ปัญหา หากจับจุดนี้ ได้ ไม่ช้ าก็ เ ร็ ว

ประเทศจะมั่นคงยั่งยืน ทั้งนี้ประเทศไทย

รวมศูนย์อำนาจต่อไปไม่ได้อีกแล้ว การ

รวมศูนย์อำนาจร้อยกว่าปีที่ผ่านมาเป็นการดูดซับพลังสร้าง

สรรค์จากคนไทยและสังคมไทยไปหมดคนไทยมีสมรรถนะน้อย

ลง มีความขัดแย้งมากขึ้น มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆมีหลุม

ดำที่เป็นอุปสรรค ขึ้นจากหลุมดำไม่ได้เป็นเวลากว่าร้อยกว่าปี

นั่นก็คือการรวมศูนย์อำนาจ ทำให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ ทำให้

เกิดความขัดแย้งรุนแรงระบบราชการอ่อนแอคอร์รัปชั่นเข้มข้น

การแย่งชิงอำนาจทางการเมืองรุนแรง เพราะอำนาจรวมศูนย์

รัฐล้มเหลวแก้ปัญหาไม่ได้ รัฐประหารง่าย ไร้ทางออก ไปสู่

มิคสัญญียุค”

น.พ.ประเวศ กล่าวว่า เมื่อการรวมศูนย์อำนาจทำให้

เกิดปัญหาก็ต้องปฏิรูปเสียใหม่ ทำฐานของประเทศให้มั่นคง

จากเดิมที่การพัฒนารวมศูนย์อยู่ด้านบนเหมือนรูปปิรามิด ก็ให้

กลับรูปปิรามิดเสีย มาพัฒนาที่ฐาน เป็นการอภิวัฒน์ประเทศ

ไทยจากฐานของชุมชนท้องถิ่น

น.พ.ประเวศเปรียบเทียบการพัฒนาว่ามี 2 รูปแบบ

คือ มิจฉาพัฒนากับสัมมาพัฒนา, “มิจฉาพัฒนา” คืออำนาจ

และมายาคติ มุ่งเน้น กำไร ดอกเบี้ย ค่าเช่า ขณะที่ “สัมมา

พัฒนา”คือความจริงของชีวิตการอยู่ร่วมกันผลิตอาหารผลิต

ข้าวและของใช้บริการต่างๆ “ข้างบนเป็นเรื่องของมายาคติ”

โดยน.พ.ประเวศระบุว่าวิกฤตในอเมริกาหรือยุโรปนั้นแก้ไขไม่

ได้เพราะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจมายาคติ

ปาฐกถา นพ.ประเวศ วะสี “ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย”

ประเด็นต่อมา น.พ.ประเวศกล่าวว่า ความถูกต้องนั้น

จะถักทอกันขึ้นมาเองจากหน่วยย่อยข้างล่าง ไม่มีใครเสกความ

ถูกต้องมาจากข้างบน ชุมชนเป็นที่อยู่ของศีลธรรม ถ้าทำให้

ชุมชนดีก็จะเป็นฐานของความถูกต้องจากข้างล่าง

จากนั้น น.พ.ประเวศ อธิบายรายละเอียดต่อไปถึง

กระบวนการชุมชนที่จะเป็นฐานสร้างความถูกต้องจากข้างล่าง

คือต้องมีสภาผู้นำชุมชน สำรวจชุมชน ทำแผนชุมชน มีสภา

ประชาชน และจะก่อให้เกิดการพัฒนา 8 ด้าน คือ เศรษฐกิจ

จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษาและ

ประชาธิปไตย

องคก์รทอ้งถิน่กวา่7,000องคก์รจะสามารถสนบัสนนุ

ชุมชนท้องถิ่นของตนเองขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทั้ง 7

ประการ

ทั้งนี้ ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น คือการจัดการ

ตนเองได้ เป็น ‘อิทธิปัญญา’ ความรู้แบบท่องหนังสือยังเป็น

ความรู้แบบจัดการไม่เป็น ไม่ใช่ปัญญา ต้องเป็นความรู้ที่นำมา

จัดการได้ คือนโยบายและการปฏิบัติ คำว่า ท้องถิ่นจัดการ

ตนเอง คือการจัดการพัฒนาอย่างบูรณาการ และจัดการ

นโยบาย

Page 8: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

ฟื้นถิ่น {08}

น.พ.ประเวศกล่าวถึงฝ่ายก้าวหน้าที่ผ่านมามักพูดเรื่อง

การปฏิวัติประชาชน ซึ่งหมายถึงการรวมตัวไปยึดอำนาจรัฐ

หรือโค่นล้มอำนาจ เมื่อผู้ปกครองเป็นทรราช ประชาชนจะรวม

ตัวกัน แต่ส่วนใหญ่จะถูกปราบ ส่วนหนึ่งประสบความสำเร็จ

แต่ส่วนน้อยก็ปกครองต่อไม่ได้อย่างกรณีของอียิปต์เมื่อประชา

ชนโค่นมูบารัก ประชาชนก็ปกครองเองไม่ได้ ทหารก็กลับมา

ปกครองแทน

น.พ.ประเวศเสนอให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยโดย

ประชาชนในนามของ“ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย”ซึ่งจะไป

ไกลกว่าการปฏิวัติประชาชนแบบเก่าที่รุนแรง มีการล้มตาย

และไม่แน่ว่าจะประสบความสำเร็จ ขณะที่การอภิวัฒน์นั้นไม่

รุนแรง และการันตีว่าจะสำเร็จ เพราะเรื่องที่ยากและซับซ้อน

นั้นใช้อำนาจไม่ได้ผล

น.พ.ประเวศระบุว่าแนวทางของสสส.ที่ผ่านมาคือ

การสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น เพื่อเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่

ทางปัญญาอย่างกว้างขวางโดยเรื่องที่ยากและซับซ้อนที่สุดคือ

เรื่องการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งชุมชน

ท้องถิ่นจะจัดการปัญหาที่ยากและซับซ้อนได้ก็ต้องอาศัยพลัง 5

ประการ คือ พลังของความถูกต้อง เพราะถ้าทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

พักเดียวจะมอดไป พลังของความสามัคคี ไปด้วยความเป็น

กลาง ไม่แยกข้าง ไม่แยกขั้ว-สี ด้วยความเมตตา กรุณา รัก

ผู้คนทั้งหมด เพราะไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักวิชาการ นักธุรกิจ

ก็มารวมตัวกันเป็นพลังทางสังคมได้

“พลังทางปัญญา ใช้ข้อมูล ใช้ความรู้เข้ามาวิเคราะห์

สังเคราะห์ เป็นประเด็นนโยบาย “การเสนอประเด็นนโยบาย

สาธารณะเป็นยอดของปัญญา การไปเรียกร้องไม่ใช่ปัญญา แต่

เป็นอารมณ์ถ้าเราสังเคราะห์เป็นนโยบายได้นั่นคือเป็นปัญญา”

“พลังของการจัดการสามารถรวมตัวกันทุกพื้นที่

ขับเคลื่อน เอาปัญหาและความรู้ต่างๆ มาสังเคราะห์ มี สสส.

เป็นเครื่องมือหนุนการจัดการ ซึ่งจะเป็นพลังหนุนหลังชุมชน

ท้องถิ่น

“ภาคประชาชนและภาคสังคมเป็นภาคที่สำคัญที่สุด

แต่ไม่มีเครื่องมือเชิงสถาบันเลย เรามีภาครัฐ ธุรกิจและภาค

สังคมซึ่งจำเป็นทั้งสามภาคแต่ต้องเสมอกันและสมานกันเป็น

สังคมสมานุภาพ” เป็นพลังสันติวิธี เพราะถ้าตีกันนองเลือดเสีย

แล้วก็จะหมดพลังในการขับเคลื่อนต่อไป”นพ.ประเวศกล่าว

ในช่วงท้ายที่สุดน.พ.ประเวศอวยพรให้กับคนรุ่นหลัง

ที่เป็นอนาคตของประเทศว่า จงเป็นคนที่มีกำลังใจ กำลังกาย

กำลังคิดช่วยกันประคับประคองประเทศไทย

“ประเทศไทยต้องมีอนาคตที่น่าอยู่ที่สุด เพราะ

คนไทยเป็นคนร่วมกันสร้างประเทศไทยและอภิวัฒน์

ประเทศไทยด้วยแนวทางชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”

Page 9: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

09

เพลงศักยภาพชุมชน คำร้อง-ทำนองวสุห้าวหาญเรียบเรียงดนตรีศราวุชทุ่งขี้เหล็ก

ขับร้องโดยฟางแก้วพิชญาภา,ศราวุธทุ่งขี้เหล็ก,สมชายตรุพิมาย

หนึ่งสมองสองมือที่มีรวมเป็นหลายความคิดดีๆออกมายืนตรงนี้ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราเป็นคนไทยเปี่ยมความสามารถ เป็นกำลังของประเทศชาติพัฒนาบ้านเมืองก้าวไกล เป็นคน

เหนืออีสานกลางใต้ก็รักเมืองไทยด้วยกันทั้งนั้น

(สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ

สร้างสรรค์จัดการทรัพยากรช่วยกันด้วยมุมมองที่เราแบ่งปันใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ

อยู่ชนบทห่างไกลทำนาทำไร่พอเพียงเลี้ยงตัวใช้ชุมชนดูแลครอบครัว

ใช้ครอบครัวดูแลชุมชนปูพื้นฐานจากหมู่บ้านตำบลสร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน

ชุมชนท้องถิ่นบ้านเราเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบ้านเราเรียนรู้ร่วมกันช่วยกันพัฒนา

อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวงหัวใจทุกดวงซ่อนไฟมุ่งมั่นก้าวออกมาจากรั้วที่กั้นจับมือกันทำเพื่อเมืองไทยคนละมือ

สองมือคือน้ำใจโอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุขยืนนาน

หนึ่งสมองสองมือที่มีรวมเป็นหลายความคิดดีๆออกมายืนตรงนี้ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน

หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ

สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วยมุมมอง

ที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ..

ร้อยทำนอง ร้อยประสาน

‘เพลง’ แห่ง ‘ชุมชนท้องถิ่น’ บรรยากาศปิดท้ายรายการเป็นการแสดงของนักร้องจากค่ายแกรมมี่ด้วยเพลง“ศักยภาพชุมชน”

คำร้อง-ทำนองวสุห้าวหาญโดยมีสมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ร่วมกันร้องเพลง

ก่อนจะปิดท้ายเวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทยครั้งที่2ปี2555ด้วยเพลงคำสัญญา

ซึ่งบอกกับพวกเราว่าเราจะระดมแรงสร้างสรรค์ดึงศักยภาพในตัวเราสร้างชุมชมของเราให้น่าอยู่...แล้วพบกันใหม่ปีหน้า

Page 10: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

ขอให้ภาพเหล่านี้ ได้เล่าเรื่อง

Page 11: จดหมายข่าว ฉบับที่ 3 งานไบเทค

ขอให้ภาพเหล่านี้ ได้เล่าเรื่อง