เรื่อง "เหล้า" จากวงเล่า :...

56
เรื่อง“เหล้า”จาก วงเล่า : ชุดประสบการณ์เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

Upload: tuminthira

Post on 28-Jul-2015

633 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่นในอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ กับวิธีการ ปฏิบัติการจัดการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยเริ่มต้นจากปัญหาเรื่องเหล้า

TRANSCRIPT

Page 1: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง“เหล้า”จากวงเล่า: ชุดประสบการณ์เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

Page 2: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2552

เลขมาตรฐานหนังสือ 978 - 611 - 7197 - 04 - 8

จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม

ผู้เขียน อินทิรา วิทยสมบูรณ์

จัดพิมพ์โดย เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

สำนักงานสุขภาวะตำบลเสียว

องค์การบริหารส่วนตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

จังหวัดศรีสะเกษ 33120

นายบุญเส็ง ชนะงาม

ผู้ประสานงานโครงการสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

085–633–9191

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

979 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 34 ถนนพหลโยธิน

แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 02-298-0500

โทรสาร 02-298-0501 และ 02-298-0499

www.thaihealth.or.th

หน้าปกและรูปเล่ม อินทิรา วิทยสมบูรณ์

พิมพ์ที่ รวมทวีผลการพิมพ์

02–976–7002

เรื่อง“เหล้า”จากวงเล่า: ชุดประสบการณ์เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

Page 3: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ คณะกรรมการที่ปรึกษา

1. พระครูสุจิต โพธาลังการ เจ้าคณะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

2. นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

3. ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรโพธิ์ศรีสุวรรณ

4. สาธารณสุขอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

5. พัฒนากรอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

6. ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

7. วัฒนธรรมอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

คณะกรรมการ

1. นายประสาน ขันติวงศ์ ประธานกรรมการ

2. นายฉัตรชัย ศรีรอง รองประธานกรรมการ

3. นายเขื่อน เย็นใจ รองประธานกรรมการ

4. นายอภิสิทธิ์ ติยวรนันท์ กรรมการ

5. นายสุวรรณ โสดา กรรมการ

6. นายสมเด่น โพธิ์ศรี กรรมการ

7. นายสุข สุทธิสนธ์ กรรมการ

8. นายศรีภา แขมคำ กรรมการ

9. นายไมตรี โสดา กรรมการ

10. นายบุญส่ง ดวงพรหม กรรมการ

11. นายฤาชัย ศรศรี กรรมการ

12. นายสุวิทย์ พิมพ์นนท์ กรรมการ

13. นายรมณ์ อินทา กรรมการและเหรัญญิก

14. นายขวัญชัย พันธสีมา กรรมการและเหรัญญิก

15. นายสมานชัย ใยดวง กรรมการและเหรัญญิก

16. นายเรวัตร จันทร กรรมการและเลขานุการ

17. นายจันทร์ โต๊ะสิงห์ กรรมการและเลขานุการ

18. นายบุญเส็ง ชนะงาม ผู้ประสานงาน

Page 4: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

คำนำ “เลิกเหล้า เลิกจน” ไม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูดติดปากอีกต่อไป

เพราะวันนี้ชุดบทเรียน ประสบการณ์จากกระบวนการทำงานของ

โครงการงานศพ-งานบุญปลอดเหล้า เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์

ศรีสุวรรณ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ

สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ก่อเกิดรูปธรรมที่พิสูจน์ได้ว่าเลิกเหล้า

นั้นทำให้เลิกจนได้จริงๆ

ที่ผ่านมา คนโพธิ์ศรีสุวรรณขึ้นชื่อได้ว่าเป็นนักดื่มตัวยง ไปงาน

ไหนงานนั้นต้องมีเหล้าให้ได้ลิ้มลอง ซึ่งทำไปทำมาการจัดงานต่างๆ

ในอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ไม่ว่าจะงานบุญ งานศพ เจ้าภาพต้อง

ตระเตรยีมเหลา้ยาไวเ้ลีย้งแขกเหรือ่ อยา่ใหข้าดตกบกพรอ่ง กลายเปน็

เรื่องจำเป็น ทั้งๆ ที่แท้จริงนี่เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยแท้ๆ โดยเฉพาะในงาน

ศพถึงกับมีคำพูดกันในหมู่ชาวบ้านว่า “คนตายขายคนเป็น” บางราย

เมื่องานศพเสร็จสิ้น เจ้าภาพถึงกับหมดเนื้อหมดตัวถึงขั้นออกปากว่า

งานศพจบแต่ต้องตามใช้หนี้ไปอีก 3 ปี ขายทั้งวัวขายทั้งควายเพื่อใช ้

หนีก้ย็งัไมห่มดสิน้ หนกัเขา้เมือ่เหลา้เขา้ปาก การทะเลาะววิาท ตอ่ยตี

ก็เกิดขึ้นโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เพราะขาดสติ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไปต่อยตีกัน

ทำไม สุดท้ายต่างก็ได้แผลเจ็บตัวไปตามๆ กัน

Page 5: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

สำหรบัพีน่อ้งชาวอำเภอโพธิศ์รสีวุรรณแลว้ ทกุคนตา่งเปน็หว่งเปน็ใย

ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นห่วงเป็นใยต่ออนาคตของลูกของหลาน

ทีด่ืม่เหลา้ กนิเหลา้กนัจนเปน็เรือ่งปกต ิ และจากความหว่งใยนัน้จงึกอ่

เกิดเวทีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันของชาวอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ที่ได ้

ระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ภายใต ้

กระบวนการทำงานของโครงการงานศพ-งานบุญปลอดเหล้า

ตลอดระยะเวลา 1 ปีของโครงการงานศพ-งานบุญปลอดเหล้า

(ธันวาคม 2550 – ธันวาคม 2551) มีบทเรียนและประสบการณ์

หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นจากการทำงาน เรื่อง “เหล้า” จากวงเล่า

คือ คำบอกเล่าของพี่น้องชาวอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณที่มีต่อเหล้า ที่มีต่อ

โครงการ คือเสียงสะท้อนจากประสบการณ์ในการทำงานของคณะ

ทำงานโครงการงานศพ-งานบุญปลอดเหล้า และคือความรู้สึกของ

ชาวอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณที่วันนี้การเลิกเหล้างดเหล้าในงานต่างๆ

ยืนยันได้ว่าตลอดปีที่ผ่านไปนั้นสามารถลดรายจ่าย ประหยัดได้กว่า

16 ล้านบาท นี่เป็นคำเล่าของพี่น้องคนโพธิ์ศรีสุวรรณที่พูดเรื่อง

เหล้าได้อย่างมีความสุข ไม่เมา ไม่ขาดสติ และที่สำคัญคือ ไม่ต้อง

เป็นหนี้จากค่าเหล้า “เลิกเหล้า เลิกจน” ได้จริงๆ

เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

พฤษภาคม 2552

Page 6: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

สารบัญ หน้า

1 : โพธิ์ศรีสุวรรณ 8

> รู้จักโพธิ์ศรีสุวรรณ 10

> เครือข่ายสุขภาวะอำเภอพธิ์ศรีสุวรรณ 10

2 : เหล้าจ๋า ...พี่ลาก่อน 12

> เสียว...เริ่มมานานแล้ว 13

> “...แต่ก่อนคือบ่เฮ็ดจังซี่” 16

> ทุกอย่างต้องมีครั้งแรก 21

> “ใครว่ากูเมา กูยังไม่เมา...” 22

> “ลาที เหล้าจ๋า” 24

> ตำบลอีเซ เรายกย่อง เราชื่นชมกันและกัน 26

3 : เล่าเรื่องความสำเร็จ 30

> ประสานพลัง ประสานความร่วมมือ “บวรส.” 31

> ตลอดหนึ่งปี เราได้มากกว่าเสีย 39

> “หัวใจของงานอยู่ที่คน” 49

> บนก้าวที่จะไปต่อ 50

Page 7: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

หน้า

1 : โพธิ์ศรีสุวรรณ 8

> รู้จักโพธิ์ศรีสุวรรณ 10

> เครือข่ายสุขภาวะอำเภอพธิ์ศรีสุวรรณ 10

2 : เหล้าจ๋า ...พี่ลาก่อน 12

> เสียว...เริ่มมานานแล้ว 13

> “...แต่ก่อนคือบ่เฮ็ดจังซี่” 16

> ทุกอย่างต้องมีครั้งแรก 21

> “ใครว่ากูเมา กูยังไม่เมา...” 22

> “ลาที เหล้าจ๋า” 24

> ตำบลอีเซ เรายกย่อง เราชื่นชมกันและกัน 26

3 : เล่าเรื่องความสำเร็จ 30

> ประสานพลัง ประสานความร่วมมือ “บวรส.” 31

> ตลอดหนึ่งปี เราได้มากกว่าเสีย 39

> “หัวใจของงานอยู่ที่คน” 49

> บนก้าวที่จะไปต่อ 50

Page 8: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

1“โพธิ์ศรีสุวรรณ”

Page 9: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณเดิมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของอำเภออุทุมพรพิสัย

จงัหวดัศรสีะเกษ โดยทางราชการไดแ้บง่พืน้ทีก่ารปกครองออกมาตัง้เปน็

กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 31

มีนาคม พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน

และด้วยเป็นกิ่งอำเภอที่มีชุมชน ผู้คนอยู่กันหลากหลาย มีฐานทรัพยากร

ธรรมชาติที่เป็นต้นทุนสำคัญในการดำรงชีวิต ชาวบ้านมีกระบวนการใน

การรวมตัวต่อสู้กับปัญหาต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปัญหาเรื่อง

สัมปทานป่า การทำไร่มัน ไร่ยูคา ทำให้กล่าวได้ว่าชุมชนในกิ่งอำเภอ

โพธิ์ศรีสุวรรณเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง และมีการจัดการพึ่งพาตนเอง

สูง และด้วยความเข้มแข็งดังกล่าว จึงทำให้ชาวชุมชนในกิ่งอำเภอได้ร่วม

กันผลักดันจัดตั้งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จนในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550

ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น “อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ” โดยมีผล

บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2550

“ถิ่นชนสองเผ่า ปลูกข้าวมะลิหอม พร้อมผ้าไหมงาม

หัตถกรรมเลื่องลือ ฝีมือธูปสวย คนรวยน้ำใจ”

คำขวัญอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ1

Page 10: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

รู้จัก “โพธิ์ศรีสุวรรณ” อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด

ศรีสะเกษ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบึงบูรพ์

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออุทุมพรพิสัย

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองจันทร์

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์)

แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประกอบ

ด้วยตำบลโดด 25 หมู่บ้าน ตำบลเสียว 17 หมู่บ้าน ตำบลหนองม้า 12

หมู่บ้าน ตำบลผือใหญ่ 14 หมู่บ้าน และตำบลอีเซ 12 หมู่บ้าน มีพื้นที่รวม

ประมาณ 111.1 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรกว่า 23,742 คน

(อ้างอิง ณ พ.ศ.2550) ที่อยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัย เป็นพี่น้องกัน

โดยในแต่ละตำบลต่างก็มีจุดเด่น มีกระบวนการจัดการพึ่งพาตนเอง เช่น

ตำบลเสียว และตำบลอีเซ ที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้เรื่องทรัพยากร

ธรรมชาติ การจัดการป่าชุมชน สภาผู้เฒ่า สภาเยาวชน เป็นต้น และ

จากต้นทุนความเข้มแข็งของชุมชนในอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณนี่เอง ทำให้

เกิดกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกันที่ขยายวงกว้างมากกว่า

ระดับตำบล แต่เป็นระดับอำเภอ

“เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ” ทัง้นี ้ภายหลงัจากการจดัตัง้อำเภอโพธิศ์รสีวุรรณแลว้นัน้ ชาวอำเภอ

โพธิ์ศรีสุวรรณต่างก็ร่วมแรงร่วมใจในการทำงานพัฒนาอำเภอของตนให ้

กา้วไปสูค่วามเขม้แขง็ พีน่อ้งชาวอำเภอโพธิศ์รสีวุรรณสามารถอยูร่ว่มกนั

ได้อย่างพึ่งพิง พึ่งพาอาศัย โดยเอาต้นทุน ศักยภาพของแต่ละตำบลมา

เรียนรู้ มาทำงานร่วมกัน

Page 11: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ตำบลเสียว เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอที่มีความโดดเด่นในการพัฒนา

ชุมชนท้องถิ่น มีความคิดริเริ่มที่จะจัดการตนเอง พึ่งพาตนเอง นับตั้งแต่

การต่อสู้เรื่องการจัดตั้งกิ่งอำเภอ การจัดตั้งโรงเรียนในตำบล การต่อสู้

เรื่องการสัมปทานป่า ซึ่งนับได้ว่าล้วนเป็นต้นทุนที่สำคัญของตำบลเสียว

ดังนั้นในการทำงานของอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ตำบลเสียวจึงเป็นกลไก

และเรี่ยวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนงานต่างๆ

และเมื่อมีการจัดตั้งกิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ เป็นอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

แล้วนั้น ตำบลเสียวเองก็เรียกได้ว่า เป็นแกนสำคัญในการเชื่อมโยง

ประสานอีก 4 ตำบลในอำเภอให้มาร่วมกันทำงานเพื่อมุ่งสร้างความเข้ม

แข็งของอำเภอร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากตำบลเสียวนั้นมีกระบวนการ

ทำงานเรื่องสุขภาวะชุมชนที่ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุน

สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งตำบลเสียวเองได้พยายาม

ทำงานมุ่งเน้นการแก้ปัญหาสุขภาวะชุมชนในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

ชีวิต ความเป็นอยู่ สุขภาพ สุขภาวะ รวมทั้งเรื่องอบายมุข เครื่องดื่มมึน

เมาต่างๆ

ขณะเดียวกัน ตำบลเสียวก็พบว่า รากเหง้าของปัญหาเรื่องสุขภาพ

และเศรษฐกิจครัวเรือนนั้น ล้วนเกี่ยวพันกับเรื่องอบายมุขและของมึนเมา

ทั้งสิ้น จากจุดเริ่มดังกล่าวทำให้ตำบลเสียวได้ชักชวนพี่น้องอีก 4 ตำบล

ในอำเภอ มาร่วมกันทำโครงการงดเหล้า ลดอบายมุขต่างๆ ซึ่งทุกตำบล

ต่างก็เล็งเห็นปัญหาร่วมกัน ทำให้เกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วมของคน

ทั้งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ชื่อเรียกว่า “เครือ

ข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ” และเครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศร ี

สุวรรณ คือที่มาของเรื่องราวดีๆ ของผู้คน ชุมชนที่ริเริ่มจัดการตนเอง

สร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดอบายมุข และปลอดเหล้า ..เป็นเรื่องเล่าดีๆ ที ่

สามารถดื่มด่ำและเรียนรู้ร่วมกันได้โดยไม่ต้องอาศัยเหล้าสักแก้ว หรือสัก

ขวดเดียว

Page 12: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

2เหล้าจ๋า..พี่ลาก่อน

Page 13: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

2 “ที่ไหนมีงานต้องมีเหล้า” คำกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวนัก เพราะ

เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาช้านาน ดังนั้นตามงานต่างๆ ไม่ว่า

จะงานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานบุญ งานประเพณี งานรื่นเริง และ

งานอมงคล เช่น งานศพ เป็นต้น สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้ คือ อบายมุขและ

เหล้า ดังนั้น ในงานๆ หนึ่ง นอกจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดงานแล้ว

ค่าเหล้ายาปลาปิ้งก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายอีกส่วนที่เพิ่มขึ้นมา และบางทีก ็

มากมายเสียจนเจ้าภาพแทบหมดเนื้อหมดตัว

“เสียว...เริ่มมานานแล้ว” พ่อวิไล ราชเจริญ ประธานเครือข่ายสุขภาวะตำบลเสียว “จริงๆ แล้ว เรื่องอบายมุขเป็นปัญหามาตลอด ชาวบ้านถือว่าการกินเหล้า การ เล่นการพนันนั้นเป็นเรื่องธรรมดา เวลามางานศพก็ถือว่างานศพเป็นงาน กินฟรี หรืองานบุญต่างๆ หนุ่มๆ ไปร่วมงาน เจ้าภาพก็ต้องหาเหล้ายา ปลาปิ้งมาให้กิน พองานไหนเจ้าภาพไม่พร้อม คนไปงานก็ไปน้อย กลาย เป็นค่าใช้จ่ายเป็นความฟุ่มเฟือยที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนเลย”

Page 14: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า พ่อวิไล ราชเจริญ

ปัญหาเรื่องอบายมุข เรื่องเหล้าที่เกิดขึ้นที่ตำบลเสียวตามที่พ่อวิไล

เล่าให้ฟังนั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาร่วมของสังคมเลยก็ว่าได้ ใช่

เพียงที่ตำบลเสียวเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายร้อยหลายพันชุมชนที่เผชิญ

ปัญหานี้ไม่ต่างกัน จนทำให้ปรากฎการณ์ “...ที่ไหนมีงานต้องมีเหล้านั้น”

ได้กลายเป็นวัฒนธรรมไปเลยทีเดียว และทำให้หลายชุมชนต้องลุกขึ้นมา

จัดการอย่างจริงจังเสียที

สำหรับตำบลเสียว แกนนำชุมชนในตำบลเสียว ไม่ว่าจะเป็นกำนัน

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ แกนนำกลุ่มต่างๆ ในชุมชนต่างก็มองเห็นสภาพ

ปัญหานี้ร่วมกัน และได้พยายามที่จะจัดการ พ่อวิไล ราชเจริญ “ที่เสียว เราเริ่มทำนานมาแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เราก็คุยกันเรื่องอบายมุข เรื่อง การพนัน ตอนนั้นเราขอร้องชาวบ้าน ขอกันให้เลิก 10 ปีแล้ว เพราะเรา เห็นว่า เวลามีงานจะมีการเล่นพนัน อบายมุขต่างๆ แล้วจะมีทั้งคนใน

Page 15: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ชุมชน คนจากข้างนอกเข้ามามากมาย เล่นๆ ไป เงินทองก็รั่วไหลออกไป หมด คนนั้นเล่น 4,000 บาท คนนั้นเล่น 5,000 บาท เล่นกันกลางวัน ยันค่ำ เล่นต่อจนสว่าง ที่พอเช้าเขาก็หอบเงินเราไปแล้ว เพราะเขาก็โกง เราทุกทาง ดังนั้น เราเลยเริ่มมองว่าอย่าเล่นจะดีกว่า แต่ถ้าจะเล่นจริงๆ เราก็ไม่อยากให้เงินทองรั่วไหลไปข้างนอก เราก็อยากให้คนในหมู่บ้าน ใน ชุมชนเราเองเป็นเจ้ามือจะดีกว่า อย่างน้อยก็เงินพี่เงินน้อง แต่ในตอนนั้น ตำบลเสียว เราเองก็เรียกได้ว่าเราพยายามจะฝืนตลอด เพราะเราก็รู้ดีว่า สาเหตุที่อบายมุขแพร่หลาย และไม่หมดไปเสียทีเพราะอะไร ก็เพราะ ชาวบ้านยังมีความเข้าใจว่า การพนันนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ใครๆ ก ็เล่นกัน แถมยังมีการคุยโวกันด้วยว่า ไม่เป็นไรเคลียร์ได้”

จากจดุดงักลา่ว เมือ่เกดิการพดูคยุกนัจรงิจงั กท็ำใหอ้บายมขุหายไป

จากตำบลเสียว ชาวบ้านให้ความร่วมมือลดอบายมุขต่างๆ ในงาน ซึ่ง

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะตำบลเสียวเองเป็นชุมชนที่มีต้นทุน

ทางสังคมสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นเครือญาติพี่น้อง การมีส่วนร่วม

และการเคารพผู้อาวุโส หรือแม้กระทั่งการร่วมกันต่อสู้ในเรื่องสำคัญๆ

ต่างๆ ดังนั้นเมื่อมีการบอกกล่าวขอกัน ชาวบ้านจึงร่วมมือด้วย แต่ขณะที่

อบายมุขลดหายไปกว่า 10 ปี แต่สำหรับเรื่องเหล้า ก็ยังคงเป็นโจทย์

ปัญหาใหญ่ที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่เสมอและกลายเป็นเรื่องปกติของชุมชน

พ่ออำนวย ชูเลิศ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านเสียว ตำบลเสียว “เราเห็น ปัญหา เราเห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรื่องอบายมุข เราเองก็หาข้อมูลจาก ชาวบ้าน เราพบว่า จริงๆ แล้วชาวบ้านเราเองไม่ใช่นักเล่น เขาไม่ใช่ นักพนัน แต่ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาเล่นจะมาจากที่อื่น คนบ้านอื่นเข้ามา เลน่ พอเราเหน็ขอ้มลูแบบนี ้ผูน้ำชมุชน ทัง้ผูน้ำทางการ และผูน้ำธรรมชาติ อย่างแกนนำ ผู้เฒ่าผู้แก่ก็เริ่มหาข้อมูลร่วมกับผู้ใหญ่บ้านต่างๆ ในตำบล

Page 16: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

จนกระทั่งเราสามารถทำความเข้าใจร่วมกันกับชาวบ้าน และเห็นร่วมกันว่าถา้ตอ่ไปเราไมม่อีบายมขุจะดีกวา่ ขณะเดียวกนั พอเรามานัง่มองปญัหา เราก็เริ่มคุยกัน รายได้ของชุมชนเราก็ไม่ดี มีหนี้มีสิน แถมจะต้องมีหนี้สิน จากรายจ่ายที่ไม่จำเป็น อย่างการจัดงานศพ บางคนก็วนเวียนมากินเหล้า ไม่ยอมกลับบ้าน เจ้าภาพก็ต้องเตรียมเหล้าให้ ทั้งๆ ที่มันเป็นสินค้าที่ไม่ จำเป็นเลย เราจะทำอย่างไรเรื่องเหล้ากันดี”

เช่นเดียวกับ พ่อกำนันสมเด่น บัวศรี อดีตกำนันตำบลเสียว

ทีส่ะทอ้นวา่ “คดิดวูา่ จดังานศพแลว้เปน็หนี ้บางครอบครวัพอ่หรอืแมต่าย ต้องขายวัว ขายควายใช้หนี้กันทีเดียว เพราะไม่มีเงินเตรียมไว้เป็นหนี้ ค่าใช้จ่ายในงานไม่พอยังต้องมาเป็นหน้ีกับเครื่องดื่มท่ีไม่ได้จำเป็น อยา่งบางรายเปน็สมาชกิธนาคารเพือ่การเกษตรและสหกรณ ์(ธกส.) พอมี การตายก็จะได้รับเงินประกัน แต่เงินได้มาเจ้าภาพก็ไม่ได้ใช้ เพราะคนก็ จะพากันไปกินจนทำใหเ้งนิทีเ่จ้าภาพได้มาหมด เฉพาะคา่เหลา้อยา่งเดยีว บางรายตลอดทั้งงานต้องจ่ายถึง 60,000 บาท บางรายเจ้าภาพใหญ่ๆ ต้องจ่ายวันละ 5,000 – 6,000 บาท หรือถ้าเป็นเจ้าภาพเล็กๆ หน่อย กจ็า่ยไปแล้ว 2,000 – 3,000 บาท หรอืหนกัเขา้เรามองเหน็ปัญหาพีก่บันอ้ง ทะเลาะกันเพราะเรื่องหนี้สินจากการจัดงาน ต้องขายทุกอย่างเพื่อใช้หนี้ ไปๆ มาๆ จากเรื่องไม่จำเป็นอย่างเหล้าก็กลายเป็นปัญหาครอบครัวอีก”

“...แต่ก่อนคือบ่เฮ็ดจังซี่” ภาระหนีส้นิทีเ่พิม่พนูขึน้จากรายจา่ยทีไ่มจ่ำเปน็อยา่งเหลา้นัน้กลายเปน็

จุดคิดสำคัญที่ทำให้คนในตำบลเริ่มฉุกคิดและอยากจะหาทางแก้ไข นำมา

สู่การเริ่มคิดที่จะขยับการทำงานจากการงดอบายมุขไปสู่การงดเหล้าใน

งานต่างๆ อย่างจริงจัง ในปี พ.ศ.2549 โดยแกนนำชุมชน ผู้นำทั้ง

กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน และเสนอแนวทางแก้ไข

Page 17: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

Page 18: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

จัดการจนก่อเกิดการเขียนโครงการสุขภาวะตำบลเสียว เพื่อขอรับการ

สนับสนุนจาก สสส.ที่ต่อมาได้ขยายภาพการทำงานจากระดับตำบลมาสู ่

การทำงานอย่างเชื่อมโยงทั้งอำเภอ ในนามโครงการสุขภาวะอำเภอ

โพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้กระบวนการทำงานของเครือข่าย

สุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ที่ประกอบด้วย 5 ตำบล คือ ตำบลโดด

ตำบลเสียว ตำบลหนองม้า ตำบลผือใหญ่ และตำบลอีเซ โดยมีจุดมุ่ง

เน้นในการทำงานร่วมกัน คือ การงดเหล้าในงานบุญต่างๆ 6 งาน ได้แก่

งานบุญประเพณี งานวัด งานศพ งานบุญกฐิน งานบุญอุทิศ โรงเรียน

และอื่นๆ ตามที่ชุมชนเห็นสมควร

บุญเส็ง ชนะงาม ผู้ประสานงานโครงการสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศร ี

สุวรรณ “จุดเริ่มต้นเริ่มจากการรวมกันคิด เรามองว่า ทำอย่างไรหมู่บ้าน ตำบลทั้ง 5 ตำบลจะมีการลด ละ เลิก แอลกอฮอลล์ได้ เพราะจากแต่ ก่อนเรามองเรื่องค่าใช้จ่าย เราพบว่า ส่วนมากจะหมดไปกับค่าเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเหล้า เราก็เลยอยากจะงดเหล้าที่อาจเน้นเริ่มต้นจากงานศพ ก่อน โดยพยายามจะใช้เรื่องธรรมะมาเป็นเครื่องมือในการจัดการ แต่ต่อ มาเราก็มาพูดคุยกันเราก็เริ่มมองเรื่องเหล้าไปสู่เรื่องสุขภาวะ เริ่มมองว่า จะทำอย่างไรที่จะลดและสร้างสุขภาวะของชาวบ้านได้จริงๆ”

จากนั้น แต่ละตำบลได้นำเอาแผนโครงการดังกล่าวไปแลกเปลี่ยน

กับชาวชุมชนเพื่อให้เกิดการรับรู้และตระหนักร่วมกัน พ่อกำนันสมเด่น

บัวศร ี “แกนนำ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นแกนนำหลักในหมู่บ้าน กำนัน อนามัย อบต. พระ ครู เราชักชวนมาคุยกัน จนเราสรุปร่วมกันว่า เราจะเลิกเหล้างานศพอย่างแน่นอน พอได้ข้อสรุปร่วม เราก็อยากจะ สื่อสารให้พี่น้องรู้ด้วย เราเลยกำหนดร่วมกันว่าที่ตำบลเสียว เราจะจัด ประชาคม โดยกำหนดไว้ 8 จุด ใช้ศาลาวัดเป็นศูนย์กลางในการพูดคุยกับ พี่น้อง

Page 19: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

วิธีการที่เราใช้ เราก็ให้ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่กระจายข่าวกับลูกบ้าน นัดวันเวลาในการประชาคม และเชิญตัวแทนครอบครัวละ 1 คนมาร่วม เวทีมาแสดงความคิดเห็น โดยเราพบว่า ข้อเสนอของแต่ละหมู่บ้านนั้น เห็นด้วยถึง 99% ส่วนที่ไม่เห็นด้วยนั้นโดยมากคือผู้ขาย แต่โดยรวม ทุกคนก็อยากให้ทำ ถึงขั้นว่าชาวบ้านบางคนบอกว่า คิดมานานแล้ว ไม ่อยากให้มีเลยเรื่องเหล้า เพราะฟุ่มเฟือย หรือจะบอกว่า “แต่ก่อนคือ บ่เฮ็ดจังซี่” เราเลยเห็นว่าการมีเวทีทำให้ทุกคนได้มาพูด ได้มาเปิดใจกัน พอมาประชาคมทุกคนคิดเหมือนกัน การทำงานก็ง่ายขึ้นเพราะคนใน ชุมชนพร้อมที่จะร่วมมือ

หลังจากประชาคมเราได้กติกา ข้อตกลงร่วมที่พอเราได้มา คณะ กรรมการก็นำเอาข้อมูลมาสรุปร่วมกัน และทำการนัดวันในการประกาศ เจตนารมณ์ ซึ่งจุดใหญ่ที่เราคิดเรื่องประกาศเจตนารมณ์ คือ เราอยากให้ สิ่งที่เราทำศักดิ์สิทธิ์ ให้เห็นว่าเราประกาศแล้ว เราจะเริ่มต้นปฏิบัติแล้ว โดยเรามีการประกาศเจตนารมณ์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2550 ภายใน เวทีประกาศเจตนารมณ์ เราได้นิมนต์พระ 34 รูปมาฉันท์เพล โดยมา จากวัดทั้ง 34 แห่งในอำเภอ วัดละรูป เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่าย ปกครอง ผู้แทนราษฎร์ สมาชิกสภาจังหวัด เข้ามาร่วมด้วย ที่ทำให้เรา พบว่า สิ่งสำคัญที่เราได้ คือ สัญญาใจมากกว่ากฎกติกา”

พ่อกำนันสมเด่น โพธิ์ศรี

Page 20: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

Page 21: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ทุกอย่างต้องมีครั้งแรก ภายหลงัการประกาศเจตนารมณร์ว่มกนัของเครอืขา่ยสขุภาวะอำเภอ

โพธิ์ศรีสุวรรณ กระแสตอบรับของการงดเหล้าในงานบุญต่างๆ ก็เริ่มตอบ

สนอง ตัวอย่างเช่น งานแรกของตำบลเสียว เป็นงานเลี้ยงเกษียณอายุของ

ผู้ใหญ่บ้าน พ่อใหญ่สมัย ราชเจริญ ผู้เป็นหนึ่งในแกนนำสำคัญที่ร่วมต่อสู้

ปกปักษ์รักษาผืนป่าโนนใหญ่ และเป็นที่เคารพของลูกหลานตำบลเสียว

ผู้ใหญ่มอญ จำปาทิพย์ ผู้ใหญ่บ้านหนองมโนรมย์ หมู่ 15 “งานแรกใน ตำบล เป็นงานของผู้ใหญ่บ้าน พ่อใหญ่สมัย ราชเจริญ เป็นงานเลี้ยง เกษียณ งานนั้นหลังจากเราได้ประกาศเจตนารมณ์ไปแล้ว ก็เรียกได้ว่า ทุกคนรู้กันว่า ในงานจะไม่มีเหล้าแน่นอน แต่เราก็ไม่ได้ทำให้เหล้าหมด ไปทันทีทันใด เพราะเราก็ยังมีเลี้ยงอยู่บ้าง เหล้าก็ยังมี เบียร์ก็ยังมี แต่คน ที่ร่วมประกาศเจตนารมณ์บางคนก็จะบอกว่า ไม่กล้ากินเลย อายคำพูด ตัวเอง จึงไม่กิน

หรืออย่างงานศพงานหนึ่ง ญาติคนตายมาร่วมงาน เขามาจากจังหวัด นครนายก เขาก็ไม่รู้ว่าเราทำเรื่องปลอดเหล้า พอมาถึงในงานเราไม่ม ีเหล้าเลย ชาวบ้านก็ไม่กิน เขาจะกินเขาก็ต้องไปซื้อเหล้ามากินกันเอง เราก็จะคุยชี้แจงให้ฟังว่าชุมชนเราทำเรื่องปลอดเหล้า เขาก็ถามเราว่าเรา ทำได้จริงๆ หรือ ชาวบ้านยอมรับหรือ พอเราชี้แจงว่าเรามีการทำ ประชาคม ชาวบ้านสนับสนุน เห็นด้วย เขาก็เริ่มเข้าใจและออกไปตั้งวงกิน เหล้าที่ไกลๆ วันแรกๆ เขาก็ยังกินอยู่ จนวันหลังๆ ของงานศพ เขาก็เลิก กินกันเลย

Page 22: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

พอมาดูค่าใช้จ่ายก็จะพบว่า อย่างน้อยค่าใช้จ่ายก็ลดไปกว่า 30,000 – 40,000 บาท เป็นเงินค่าใช้จ่ายที่เจ้าภาพไม่ต้องเสียเลย หรือบางราย ครอบครัวไม่มีเงินเลย พ่อบ้านตาย แต่ทั้งบ้านมีเงินอยู่ 50 บาท แต่ค่า ใช้จ่ายในการจัดงานศพครั้งหนึ่งทั้งงานก็ประมาณ 50,000 บาทไปแล้ว จะเอาจากไหน แต่สุดท้ายหลังงานศพปลอดเหล้าเสร็จครอบครัวนี้เหลือ เงินกลับไป 20,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจ ศพของแต่ละหมู่บ้าน และเงินเหลือส่วนต่างๆ จากตำบลด้วย สิ่งที่เกิดขึ้น จะเห็นว่างดเหล้าแล้วลดค่าใช้จ่ายจริงๆ พูดจริงๆ งานศพ งานอย่างนี้ ไม่เจอกับใคร มันก็ไม่รู้ว่าจะลำบาก เดือดร้อนอย่างไร แต่ถ้าเกิดขึ้นจริง ญาติเสีย แล้วต้องเลี้ยงเหล้าก็คงย่ำแย่ เพราะประมาณราคาเบียร์สามลัง ต่อวัน จัดงาน 3 วันก็เบียร์ 9 ลัง ค่าใช้จ่าย 3,000 กว่าบาทไปแล้ว แต่เอาจริงๆ งานๆ หนึ่งไม่ต่ำกว่า 10 ลังแน่นอน

แต่พอไม่มีเหล้าในงาน ด้านเศรษฐกิจ เราก็ลดค่าเหล้า ค่าเบียร์ ลดค่า ใช้จ่ายไปเลยเกือบครึ่ง พอไม่มีเครื่องดื่ม เฉลี่ยงานเล็กๆ ลดไป 10,000 – 20,000 บาท เราไมต้่องจ่ายฟุม่เฟอืย หรอืหากเปน็งานใหญก่ล็ดไปเลยกวา่ 30,000 บาท กลายเป็นว่าพอได้ทำครั้งแรกแล้ว ..มันก็ขยายผล บอกกัน ต่อจนเป็นกระแส”

“ใครว่ากูเมา กูยังไม่เมา.........” เช่นเดียวกับ อาจารย์สุริยงค์ บุรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้าน

หนองผือ ที่ครั้งหนึ่งอาจารย์ท่านนี้ ได้รับการกล่าวขานจากพี่น้อง

ร่วมบ้านร่วมตำบลว่าท่านเป็นนักดื่มขั้นเทพ คอทองแดง หากแต่ในวันนี้

อาจารย์สุริยงค์ กลับเป็นกลไกสำคัญหนึ่งของการขับเคลื่อนงานเรื่องงาน

บุญปลอดเหล้า ในฐานะที่ปรึกษาของโครงการ “พอโครงการงดเหล้าเริ่ม เราเห็นดีด้วยอย่างยิ่ง ที่บอกว่าเห็นด้วยเพราะเราเคยดื่มเหล้ามาก่อน

Page 23: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ดื่มหัวราน้ำขนาดจำชื่อตัวเองไม่ได้ ขี่รถยังล้ม หรือขี่รถตั้งใจจะกลับบ้าน ยังขี่กลับผิดทิศผิดทาง พอมีคนบอกว่าเราเมา เราก็จะบอกว่าใครว่ากูเมา กูยังเมาเสียหน่อย เรียกว่ากินจนหนักหนามาก พอเราเห็นโทษจากเหล้า แบบนี้แล้ว เราเองก็คิดจะเลิก แต่หยุดกินเหล้าได้แค่ปีเดียว ก็กลับไปกิน อีกจนครั้งสุดท้าย ช่วงปี พ.ศ.2549 ก่อนที่โครงการงดเหล้าตามงาน บุญจะเกิดขึ้น เราพบว่า เรารู้สึกเหนื่อย เราไม่สบาย เริ่มคิดได้ว่า ช่วงที่เรากินแล้วยังไม่เมา เราสนุกสนานเหลือเกิน แต่พอเมาขึ้นมาแล้ว มันกลับทรมานมากมาย อ้วกจนบางครั้งไม่มีอะไรจะออกแล้วทีเดียว

เราคิดได้ ก็ตั้งใจเลยจะเลิกอย่างจริงจังจนเลิกได้จริงๆ และสรุปกับ ตัวเองมองเห็นโทษของเหล้า 5 ส.คือ เสียสตางค์ ต้องใช้เงินซื้อดื่มซื้อกิน เสียสุขภาพ กินหนักๆ ร่างกายก็อ่อนแอ ไม่สบาย เสียสติ ไม่สามารถ ควบคุมตัวเองได้ เดี๋ยวลืม เดี๋ยวหลง เสียศักดิ์ศรี เมาจนหัวราน้ำ เมา แล้วนอนกองไปเรื่อย และสู้ไม่ได้ จะทำการอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่มีความ พร้อม ส่ิงทีเ่กดิขึน้กบัเรา เราเหน็ความเปน็ไปไดว้า่ขนาดเราเองเคยดืม่ตัง้ หลายปี เรายังหยุดได้ แล้วทำไมคนอื่นๆ จะหยุด จะเลิกไม่ได้ อีกอย่าง เรามองว่าเจ้าภาพเองต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากในการจัดงานที่มีเหล้า ด้วย ดังนั้นเขาก็น่าจะเห็นด้วยกับเรา”

เสียงจากอาจารย์สุริยงค์ บุรมย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองผือ

และผู้ใหญ่มอญ สะท้อนให้เห็นว่า การงดเหล้าช่วยลดปัญหาภาระค่า

ใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆ ลงไปเยอะทีเดียว เป็นตัวชี้วัดที่ทำให้ชุมชน

เห็นตัวเลข เห็นมูลค่าร่วมกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กระแสตอบรับ

เรื่องการงดเหล้าในงานต่างๆ ของตำบลเสียวจะขยายวงกว้าง และใน

บางรายจากแค่งดเหล้าในงานบุญ ก็เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จน

เลิกเหล้าได้ถาวร ดังตัวอย่างของ ผู้ใหญ่สมชาย ชัยฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่

9 บ้านตลาด

Page 24: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

“ลาที เหล้าจ๋า” ผู้ใหญ่สมชาย ชัยฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านตลาด “แรกเริ่มเลย จะเลิกจะว่าง่ายมันก็ง่าย ว่ายากมันก็ยาก จนกระทั่งมามีโครงการงานบุญ ปลอดเหล้า เราเริ่มมองมองหลายสิ่งหลายอย่าง พบว่า เหล้าทำให้ตัวเรา ไม่มีความสุขเลย ครอบครัวเองก็จะมีเรื่องกันตลอดเวลา เพราะเรากิน เหล้าด้วยกันทั้งคู่

โดยตอนก่อนหน้าที่จะมีการประกาศเจตนารมณ์นั้น ตัวเราเองก็ไม่เคย คิดจะเลิก จนโครงการเริ่ม แกนนำ ผู้ใหญ่บ้านได้เข้ามาร่วมกิจกรรม มีการเข้าร่วมอบรม เราเองก็ได้รับความรู้ เกิดการทบทวนมองตัวเราเอง พบวา่ กอ่นหนา้นีเ้รือ่งเหลา้ทำใหเ้กดิหนีส้นิ ทำใหก้ารงานของเรามปีญัหา และมีเรื่องทะเลาะกันในครอบครัวทุกวัน ก็เป็นเพราะเหล้า เราเลยคิด ตัดสินใจเด็ดขาด เลิก เลิกทั้งเหล้าและบุหรี่ ยอมรับเลยว่า โครงการฯ ม ีส่วนมากที่กระตุ้นให้เราอยากจะเลิกอย่างจริงจัง มองดูคนอื่นทำไมไม่ดื่ม ยังอยู่ได้ เราเองก็น่าจะอยู่ได้เหมือนกัน

ผู้ใหญ่สมชาย ชัยฤทธิ์

Page 25: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

พอเราเลิกเหล้า ทุกอย่างมันเปลี่ยนเลย ในครอบครัวหยุดเลย ไม่เคย ทะเลาะกันเลยสักนิดนับจากนั้นมา ส่วนเรื่องการทำงาน เราก็ได้ทำงาน อย่างเต็มที่ และยิ่งเราเองเคยติดเหล้าอย่างมากแต่ยังเลิกได้ ก็เรียกได้ว่า สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนอื่นๆ พอสมควร เหมือนเราเองมีส่วนในการ เป็นแบบอย่างให้เขาว่า ขนาดกินหัวราน้ำมาแล้วยังหยุดได้ ดังนั้นคนอื่นๆ ก็น่าจะทำได้

ถามว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้เราเลิกได้นั้น สิ่งสำคัญมาก คือ การเอา ชนะใจตัวเองได้ ที่ผ่านมาเราถามหาตัวเองอยู่ตลอดเวลา เห็นเพื่อนที่เคย กินด้วยกัน นั่งกินเหล้าอยู่ ใจหนึ่งก็คิดว่าสักหน่อยก็คงไม่เป็นไร แต่อีกใจ ก็บอกตัวเองว่าไม่ได้ อย่าไปเด็ดขาด พอเราเป็นแบบนี้ก็เกิดการเถียง กับตัวเองอยู่ตลอด ทะเลาะกับตัวเอง มีคำถามตลอดว่า ทำไมๆ เถียงกับ ตัวเองตลอด ใช้เวลากว่าครึ่งปีจนนิ่งสนิทได้จริงๆ ประสบการณ์ของเรา เอง เราก็เอามาพูดมาคุยกับลูกบ้าน ก็จะพยายามบอกเขาว่าเราต้องมอง ตัวเองก่อน รู้ตัวเอง ที่เรากินดื่มทุกวัน มันไม่ใช่การกินเหล้าแบบเก่า แต่มันเป็นการเสพติดที่ร้ายแรงมาก กินมากมายจนขาดสติ และทำให้คน เปลี่ยนไปเลย จากตาสดใสกลายเป็นหน้าตาเหี่ยวหย่น คล้ำหมอง

จากสิง่ทีพ่ยายามทำมา กเ็หน็ผล เหน็ความสำเรจ็ เรารูส้กึวา่ 60 – 70% เพราะเราพบว่าคนระแวดระวังกันในเรื่องการดื่ม เริ่มเห็นความพอเหมาะ พอควร เวลามีงานการก็ไม่ดื่มมากเช่นก่อน ในแง่ตัวเลขค่าใช้จ่ายเราก ็พบว่าจากค่าเหล้า 20,000 ก็เหลือนิดหน่อย และผลที่เราเจอกับตัวคือ ผลที่เกิดกับครอบครัวตัวเอง ทั้งสองคนในครอบครัวก็กินด้วยกันทั้งคู่ ชาวบ้านเขาก็จะถามว่า ได้ไปกินยาอะไรหรือเปล่าทำให้เลิกเหล้าได้ทั้ง สองคนผัวเมีย แต่จริงๆ ไม่มีอะไรเลย เรามานั่งคุยกันตอนจะเลิกว่าเรา สองคนเดินทางมาไกลแล้ว เรามาพักแล้วคุยกันได้ไหม จับเข่าคุยกันเลิก

Page 26: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

เถอะสิ่งเหล่านี้เหนื่อยแล้ว ปรากฏว่าเราทั้งคู่เห็นด้วยเหมือนกันเลย มัน เหมือนเราคิดมาตลอด พอทำแล้วจริงๆ ชีวิตเปลี่ยนไปมาก สิ่งที่ไม่เคย ได้เราได้มา เรามีเงินติดกระเป๋าอยู่ตลอด ทั้งๆ ที่แต่ก่อนเราแทบไม่ม ีเงินเลย เดือนชนเดือนตลอด พอเห็นผลแบบนี้ เราคาดหวังเลยว่า ไม ่อยากให้หยุด “อย่าหยุด” เราต้องกระตุ้นให้คนเห็นประโยชน์จากการเลิกเหล้า ถ้าหยุดทำ คนก็จะลืม ละเลยและกลับไปกินอีกเหมือนเดิม ต้องสร้างแรงผลักดันร่วมกัน สร้างความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้ง อบต. โรงเรียน วัด แม่บ้าน เยาวชน กลุ่มต่างๆ ในบ้าน อสม.ให้เขามี บทบาทมาร่วมในการจัดการเรื่องนี้ แล้วเราจะได้มีพลังมากๆ

และสิง่ทีเ่ราเรียนรูจ้ากการทำ คือ สิง่ทีเ่ราได้รบัทีผ่า่นมานัน้เปน็บทเรยีน ราคาแพงมากกับชีวิต ทำให้เรามองหาตัวเองไม่เจอ อยากจะให้ทุกคน เลิกเหล้า ลองดูว่ามันจะเกิดผลดีหรือไม่ อยากให้ทุกคนช่วยกัน หันมาร่วม กันสร้างบ้านสร้างเมืองที่ปลอดเหล้าร่วมกัน”

“ตำบลอีเซ เรายกย่อง เราชื่นชมกันและกัน” ขณะที่เสียวเอง ขับเคลื่อนเรื่องงานงดเหล้าในงานบุญด้วยเน้นการ

สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชาวชุมชน มีต้นทุนของ

ความเป็นชุมชนที่เหนียวแน่นการประสาน การสร้างความร่วมมือจึงเกิด

ได้ง่าย ขณะเดียวกันก็มีบทเรียน มีประสบการณ์จากแกนนำที่ปรับเปลี่ยน

พฤติกรรมเป็นแบบอย่างสำหรับชาวบ้านคนอื่นๆ ในได้เรียนรู้จนเกิดการ

ขยายผลในวงกว้าง

Page 27: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ตำบลอเีซ หนึง่ในเครอืขา่ยอำเภอโพธิศ์รสีวุรรณ มวีธิกีาร กระบวนการ

ที่น่าสนใจต่างออกไป นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีเซ นายสุวรรณ

โสดา “ก่อนหน้านี้ การกินเหล้ามันเป็นเรื่องธรรมดาจนไม่ธรรมดา พอเรา ไปเจอตำบลอื่นๆ ที่ไม่ใช่อยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ที่อื่นคนทั้ง กินเหล้า ทั้งเล่นการพนัน ตั้งศพหลายวันเพื่อเอาใจผู้เล่นการพนัน เล่นกัน ตั้งแต่ตาย เผา จนเผาเสร็จเก็บอัฐิ ..เราเลยเห็นภาพที่ต่างออกไปจากของ เรา เราเห็นแล้ว เราไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเรา

ความจริงแล้ว โครงการปลอดเหล้า เกิดมาจากเวลาเราจัดงาน มักจะม ีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เข้ามาเกี่ยว และค่าใช้จ่าย ก็มักจะหนักหนา เราก ็มองภาพในปัญหาที่คล้ายกัน แต่ละตำบลจึงมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน เห็น แนวทางเดียวกัน

ที่ตำบลอีเซ เราเริ่มทำมาก่อนที่จะมีการประกาศเจตนารมณ์ เราเริ่มที่ งานกฐินปลอดเหล้า ช่วงหลังออกพรรษา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ในงานบุญกฐินปลอดเหล้า เรามองเรื่องการทำบุญเป็นหลัก เราก็รณรงค ์เลยเรื่องการปลอดเหล้า ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในงานเรามีแต่น้ำ เปล่า บนโต๊ะจะไม่มีเหล้าเลย โดยเราจะมีการทำหนังสือถึงทุกครัวเรือน ในตำบลอีเซ แจ้งให้ทราบก่อนว่างานนี้จะปลอดแอลกอฮอล์ และจัดให ้มกีจิกรรมทีเ่ดก็ๆ เขา้มาแสดง เชญิผูห้ลกัผูใ้หญ่จากทางอำเภอ นายอำเภอ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาร่วมงาน จากงานกฐิน เราพบว่าเราจัดงาน 100 โต๊ะ เมื่อตอนที่มีเหล้านั้น เรา ใช้เงิน 120,000 บาท แต่พอไม่มีเหล้าแล้ว เราใช้เงิน 60,000 บาท จะ เห็นว่าค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายลดลงไปมากมาย

Page 28: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

จากงานกฐินเชื่อมโยงมางานศพ จริงๆ งานศพนั้นเป็นงานที่ไม่ได้มี การเตรียมการมาก่อน คิดดูว่าครอบครัวที่เผชิญเรื่องความตาย เขาก็ทุกข ์อยู่แล้ว เขาก็ไม่ได้มีการเตรียมเงินไว้ แต่ต้องมาแบกรับค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ด้วย ตัวอย่างบางคนตายได้เงินฌาปนกิจศพ แต่พอเลิกงานศพ กลับกลาย เป็นหนี้ 4 - 50,000 บาท ทั้งๆ ที่เรามองว่าเงินที่ได้จากฌาปนกิจ หรือ เงินประกันจาก ธกส.มันน่าจะเป็นทุนให้เขาที่อาจต้องเสียพ่อ หรือเสีย แม่ไปตั้งหลักตั้งแหล่งมากกว่า

ในงานศพงานแรกที่จัดหลังจากการประกาศเจตนารมณ์ จัดงานห่าง จาก อบต.ประมาณ 200 เมตร มีการเอาป้ายไปติด งานนี้เราขอเจ้าภาพ ขออย่าให้มีเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ แต่ในงานแรกนี้ พอดีว่าลูกชาย เจ้าภาพเป็นคนติดเหล้า เขาก็ไม่ยอมงดเหล้า แต่พอดีในวันนั้นก็มีงานศพ อีกบ้านขา้งๆ จัดเหมือนกัน แลว้งานนี้ไมม่ีเหลา้เลย ปรากฏว่าพองานเสร็จ งานศพบ้านที่ไม่กินเหล้าเหลือเงิน 70,000 บาท ขณะที่งานแรกเหลือเงิน น้อยกว่ามาก ชาวบ้านคนอื่นๆ ก็เกิดการเปรียบเทียบ เริ่มเห็นประโยชน์ การบอกต่อ ขยายผลก็เกิดขึ้น จากหมู่บ้านนี้ไปหมู่บ้านนั้น จนเกิด กระแสถ้าใครไม่ทำตามกลายเป็นคนตกสมัย ตอนแรกก็จะพูดกัน ไม่มี เหล้าแล้วใครจะอยู่กับผี ใครจะเฝ้าศพ แต่สุดท้ายคำพูดพวกนี้ก็สู้แรง กระเพื่อม สู้กระแสสังคมที่เราสร้างไม่ได้

ขณะเดียวกัน ตัวเราเองในฐานะนายก อบต เราก็ใช้บทบาทเราทำงาน ด้วย เราจะไปทุกงาน เป็นเจ้าภาพในงานทุกงาน และจะพูดเสมอชื่นชม ยกย่องพี่น้อง เรื่องที่ช่วยกันลดรายจ่าย เราทำจนจากการบอก ขอกัน กลายเป็นเรื่องธรรมชาติ ปกติในตำบล พอมีญาติๆ มาจากต่างจังหวัด มาร่วมงานแล้วมีความอยากจะกิน เขาก็จะเกิดความละอายไปเอง เพราะ ในตำบลไม่มีใครกิน

Page 29: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

สิ่งสำคัญที่ตำบลอีเซทำ เราเคยมีบทเรียนว่าเราพูดอย่างเดียวเลย แล้วชาวบ้านไม่เห็นผล บอกว่าทำไม่ได้ เราเลยปรับวิธีการ เราใช้รูปธรรม ในการทำงาน เช่น เราจัดงานกฐิน เราแจ้งหนังสือเลย เราบอกให้รู้เลย ว่างานจะเป็นอย่างไร หรือบ้านไหนทำดี เรายกย่อง เรามีใบประกาศ มอบให้ พอมีตัวอย่างว่าคนนี้ได้รับการชื่นชม การทำตามก็เกิดขึ้น ตอนนี ้ก็ต้องยอมรับว่ายังมีคนกินเหล้าอยู่ซึ่งส่วนใหญ่จะมาข้างนอก แต่ภายใน ตำบลเองนั้น เราใช้กระบวนการทางสังคม พี่น้อง ครอบครัว ญาติๆ คอยดูแลสกัดกั้นกันเอง เป็นหูเป็นตามองกัน และทุกคนในชุมชน มีส่วนร่วม มีบทบาทในการร่วมกัน อสม. อปพร. แกนนำชุมชน แกนนำ กลุ่ม คนเหล่านี้จะเป็นกลไกการทำงานที่สำคัญ ทั้งในการกระจายข่าว สารข้อมูล ทั้งในแง่การคอยดูแลสอดส่อง เราเป็นชุมชนขนาดเล็กไม่ใหญ่ คนมีไม่มากดังนั้นคนในชุมชนทุกคนเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขยายผล”

นายก อบต.อีเซ

นายสุวรรณ โสดา

Page 30: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

3เล่าเรื่องความสำเร็จ

Page 31: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

3 ประสานพลัง ประสานความร่วมมือ “บวรส.” กระบวนการทำงานของเครอืขา่ยอำเภอโพธิศ์รสีวุรรณในระดบัตำบล

นัน้ แตล่ะตำบลอาจมกีระบวนการ วธิกีาร กลยทุธท์ีต่า่งกนัออกไป แตก่ลบั

พบวา่ ทกุตำบลมกีลไกทีส่ำคญัในการทำงานเหมอืนกนันัน่กค็อื การเชือ่ม

ประสาน พลัง กำลังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายนอกและภายในชุมชน

ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมประสานของชุมชน อบต. วัด โรงเรียน อนามัย

และแกนนำ ที่ทำให้เกิดรูปแบบของการทำงานร่วมกัน แต่ละหน่วยต่าง

ทำงานบนศักยภาพของตัวเอง โดยที่มีอำเภอเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญ

ในภาพรวมระดับอำเภอ

พระครูสุจิต โพธาลังการ วัดบ้านโดด เจ้าคณะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

“เรื่องงานบุญปลอดเหล้านี่ เริ่มต้นเราก็เริ่มทำกับญาติโยมก่อน ริเริ่มให ้ญาติโยมทำบุญเกี่ยวกับงานศพ ที่ไม่ต้องมีอบายมุข มีเหล้าเข้ามาเกี่ยว ข้องด้วย เราก็ชวนให้เขาคิดว่างานศพไม่มีเหล้าจะได้หรือไม่ แต่เราก็พบ ว่าแรกๆ ชาวบ้านต่อต้าน จนกระทั่ง ต่อมาก็ได้พยายามพูดกับญาติโยม มาตลอด รวมทั้งการกล่าวสัมโมทนียกถา (สัมโมทนียคาถาแสดงความ ขอบคุณ หรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี หรือบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่นถวายอาหารเป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์มาแต ่โบราณ โดยกลา่วเปน็ภาษาไทย) ทีม่เีนือ้หาใหเ้หน็วา่ไมม่เีหลา้แลว้จะชว่ย เขาได้อย่างไร

หรอืบางงานทีเ่ขายงัมเีหลา้อยู ่เรากไ็มไ่ปรว่มงานเลย เรยีกวา่ควำ่บาตร กันเลย แต่พอเราพูดสร้างความเข้าใจมากขึ้น ทำสม่ำเสมอ มันก็เกิดผล ตามมาคือ ญาติโยมเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตาม และหากมองภาพ รวมของอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ในการรณรงค์เรื่องการปลอดเหล้านั้น

Page 32: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

เรียกได้ว่าทุกฝ่ายร่วมมือกัน อย่างวัดบ้านโดด ก็มีการรณรงค์เกี่ยวกับ การสูบบุหรี่ ประกอบกับเป็นวัดที่มีการสอนพระเณรด้วย ทำให้มีการ รณรงค์เผยแพร่กับเด็กๆ ด้วย

นอกจากนี้ ในภาคของกลไกระดับอำเภอ เราก็มีการเชื่อมร้อย มีการ ประชุมประจำเดือนทุกวันที่ 2 ของทุกเดือน โดยให้เจ้าอาวาสแต่ละวัด ทุกวัดในอำเภอ ช่วยกันรณรงค์ ทำความเข้าใจกับญาติโยม ขณะเดียวกัน เราเองก็ไปร่วมในงานกิจกรรมต่างๆ ของอำเภอ ไปพบปะกับผู้นำ และ องค์กรต่างๆ รวมทั้งชุมชนก็ทำให้มีโอกาสในการพูดคุยกันมากขึ้น”

เช่นเดียวกับการเข้ามีส่วนร่วนของระดับอำเภอ นายอำเภอโพธิ์ศร ี

สุวรรณ นายนรินทร์ ทรงนิพิฐกุล สะท้อนว่า “ในส่วนของอำเภอนั้น เรื่อง กระบวนการขับเคลื่อนเรื่องการงดเหล้า เริ่มต้นจากการที่เครือข่ายได ้เชิญหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ ร่วมประชุม ที่มีการวิเคราะห์กันถึงปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องเหล้าและบุหรี่ที่ก่อให้เกิดทั้งโรคภัยไข้เจ็บ ขณะเดียวกัน สถานการณ์ในพื้นที่ก็มีเรื่องวัยรุ่นทะเลาะกันหลังจากดื่ม เหล้า ตีกันโดยไม่รู้สาเหตุว่าตีกันเพราะอะไร กับอีกเรื่องคือ ปัญหา เศรษฐกิจ คนโพธิ์ศรีสุวรรณเราทำการเกษตร เราทำนาเราก็ไม่ได้ข้าว มากมาย น้ำท่าในการเพราะปลูกก็น้อย เราเลยมองว่าเงินทองที่หาได้ก ็จำกัดอยู่แล้ว ยากลำบากกว่าจะหาได้ ถ้าหากมีงานศพแล้วยังต้องเอาเงิน ทองที่มีจำกัดนั้นมาซื้อหาเหล้ามาเลี้ยงในงานอีกก็จะยิ่งลำบาก และจาก สาเหตุที่เรามองเห็นร่วมกันก็นำมาสู่การขยับร่วมกัน เกิดการขอความ ร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในวัด ตามหน่วยงานราชการ สถานีตำรวจ โรงเรียน เป็นภาพของความร่วมไม้ร่วมมือของคนทั้งอำเภอ ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นสิ่งสำคัญมากของคนโพธิ์ศรีสุวรรณ

Page 33: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

Page 34: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

โดยในระดับอำเภอนั้น บทบาทของอำเภอ คือการประสานเชื่อมโยงกับ ต่างอำเภอ ต่างพื้นที่ ขณะเดียวกันก็บังคับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การพนันต่างๆ และการดื่มเหล้า เช่น หากมีการเล่นพนันขันต่อในงานศพ ผู้นำในท้องที่ต้องรับผิดชอบ”

ขณะที่บทบาทองค์การบริหารส่วนตำบล นายกประสาน ขันติวงศ์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสียว ประธานเครือข่ายอำเภอโพธิ์ศร ี

สุวรรณ กล่าวว่า “เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ เริ่มต้นจาก การที่เรามองเห็นปัญหาของตำบลของอำเภอ อบต.เสียว ก่อนหน้าที่จะ เริ่มโครงการ เราก็ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับพี่น้อง สำรวจข้อมูลจากพี่น้อง ซึ่ง จากเวทีประชาคมการจัดทำแผนชุมชน เราเห็นปัญหาเรื่องต่างๆ ที่ สะท้อนออกมาจากพี่น้อง เราก็นำเอามาวิเคราะห์ร่วมกันจนเราพบว่า ปัญหาของเราคือรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย รายได้เรารับเข้ามาน้อยแต ่เราจ่ายมาก แล้วก็มาคิดต่อว่าอะไรคือรายจ่ายที่มากไป ข้อมูลจากพี่น้อง บางคนบอกว่า

ผมจัดงานศพพ่อที่เพิ่งเสร็จไป แต่ผมว่า 3 ปีผมก็ยังใช้หนี้ไม่หมด พอ คณะทำงานไดย้นิเชน่นี ้เรากเ็ลยเอาปญัหามานัง่คดิ นัง่วเิคราะหก์นั เริม่มา มองว่าที่เป็นหนี้เป็นเพราะอะไร พอมาดูรายจ่ายในงาน พบว่า ในงานๆ หนึ่ง ค่าอาหารต่างๆ ก็ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องมี แต่ที่มีปัญหานั้นมาจาก รายจ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น เหล้าเบียร์ ซึ่งเวลาจัดงานทีก็สั่งมาเป็นคัน รถ สั่งเอาเหล้าเอาเบียร์มาก่อนแล้วค่อยจ่ายเงิน พองานจบก็ต้องจ่ายค่า เหล้าค่าเบียร์ก่อน เงินที่เหลือจึงจะนำไปจ่ายค่าอื่นๆ สุดท้ายก็เงินไม่พอ เที่ยวไปหยิบยืมคนอื่น งานหนึ่งไม่ต่ำกว่า 70,000 - 80,000 บาท จาก เหตุการณ์เช่นนี้บางทีเราก็มาเริ่มคิดว่า เราไม่มีหลักประกันของชีวิตเลย หรอือยา่งไร แตพ่อมาดจูรงิๆ เรากลบัพบวา่ จรงิๆ เรามหีลกัประกนัชวีตินะ

Page 35: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

เรามีเงินฌาปนกิจ เงินช่วยเหลือ แต่เอาจริงเราแทบจะไม่เหลือเลยเพราะ มันหมดไปกับรายจ่ายฟุ่มเฟือย พอคิดวิเคราะห์เช่นนี้ได้ มันก็เชื่อมโยง การทำงานกัน

โดย อบต.เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดเวที แรกๆ เราคิดว่าเราจะต้อง เจอปญัหาจากรา้นคา้ในชมุชนทีอ่าจขายเหลา้ บหุรี ่แตเ่อาจรงิมบีา้งแตไ่ม่ มากอะไร เพราะร้านค้าจะบอกว่า ในงานต่างๆ ส่วนใหญ่เหล้าเบียร์ บุหรี ่มาจากร้านค้าในตัวเมืองทั้งนั้น เราก็เริ่มเห็นทิศทางที่จะขับเคลื่อนงาน งดเหล้า เราก็เอาตัวอย่างต่างๆ มาเล่าให้พี่น้องฟัง เช่น คนที่สุขภาพไม่ด ีเจ็บป่วยจากการกินเหล้า ตัวอย่างของครอบครัวที่ใช้ให้ลูกไปซื้อเหล้า บุหรี่ ที่เป็นสร้างนิสัยไม่ดีให้แก่เด็ก เราเลยคุยกันว่าเรื่องแบบนี้เราน่าจะ หยุดกันได้แล้ว พองานโครงการขยับอย่างเป็นรูปธรรม อบต.ก็ดำเนิน งานควบคู่ไปด้วย เราจัดทำโครงการพาลูกจูงหลานเข้าวัด ซึ่งพี่น้องในชุมชนก็ให้ความร่วมมือ ช่วยกันดีทำให้คนเมา คนทะเลาะกันเริ่มหายไป คนอื่นๆ ก็เริ่มเห็นประโยชน์จากงานงดเหล้า การขยายผลก็วงกว้างขึ้น

นายก อบต.เสียว

นายประสาน ขันติวงศ์

Page 36: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

1. พระครูสุจิต โพธาลังการ เจ้าคณะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

2. นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

3. ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรโพธิ์ศรีสุวรรณ

4. สาธารณสุขอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

5. พัฒนากรอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

6. ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

7. วัฒนธรรมอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

คณะกรรมการที่ปรึกษา

ต.เสียว เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

ต.อีเซ

ต.โดด

Page 37: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

ต.ผือใหญ่

คณะกรรมการ 1. นายประสาน ขันติวงศ์ ประธานกรรมการ

2. นายฉัตรชัย ศรีรอง รองประธานกรรมการ

3. นายเขื่อน เย็นใจ รองประธานกรรมการ

4. นายอภิสิทธิ์ ติยวรนันท์ กรรมการ

5. นายสุวรรณ โสดา กรรมการ

6. นายสมเด่น โพธิ์ศรี กรรมการ

7. นายสุข สุทธิสนธ์ กรรมการ

8. นายศรีภา แขมคำ กรรมการ

9. นายไมตรี โสดา กรรมการ

10. นายบุญส่ง ดวงพรหม กรรมการ

11. นายฤาชัย ศรศรี กรรมการ

12. นายสุวิทย์ พิมพ์นนท์ กรรมการ

13. นายรมณ์ อินทา กรรมการและเหรัญญิก

14. นายขวัญชัย พันธสีมา กรรมการและเหรัญญิก

15. นายสมานชัย ใยดวง กรรมการและเหรัญญิก

16. นายเรวัตร จันทร กรรมการและเลขานุการ

17. นายจันทร์ โต๊ะสิงห์ กรรมการและเลขานุการ

18. นายบุญเส็ง ชนะงาม ผู้ประสานงาน

ต.หนองม้า

Page 38: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

เรียกได้ว่า จากงานที่เราทำนั้น ปัจจัยที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ เพราะเราไม่ได้ทำงานโดดเดี่ยว เราประสานทุกส่วนเข้ามาร่วมคิด เราเอา ทุกปัญหามาคุยกัน จากการพูดคุยกัน เราก็จะรู้ว่าแต่ละส่วนจะร่วมมือกัน อย่างไร และความเป็นเครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณนั้น คณะ กรรมการเครือข่ายระดับอำเภอ 18 คน ก็มาจาก นายก อบต. กำนัน ตัวแทนสาธารณสุขอำเภอ ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ที่ร่วมมือกัน พอชาวบ้าน เห็นก็เข้ามาร่วมมือด้วย นี่คือหัวใจสำคัญในการทำงาน คณะทำงานเดิน พี่น้องก็ตาม”

นอกจากกลุ่มผู้ชายจะมีบทบาทในการทำงาน ผลักดันเรื่องงานบุญ

ปลอดเหล้าแล้ว กลุ่มสตรี กลุ่มแม่บ้านในตำบลเสียวก็มีบทบาทรวม

ด้วย โดยเฉพาะในหมู่ที่ 6 บ้านสามขา หมู่บ้านนี้มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้หญิง

ผู้ใหญ่บัวพันธ์ คงช่วย “การทำงานเรื่องงานบุญปลอดเหล้า เราเน้น กระตุ้นให้ชาวบ้านปลอดเหล้า แรกๆ เราใช้กลยุทธ์ คือ หากปลอดเหล้า ได้ในงาน เราจะมอบให้ 2,000 บาท เพราะเราอยากกระตุ้นให้คนไม่ทำ แต่ก็จะเจอว่า แรกๆ ก็หน้าบ้านไม่กิน แต่หลังบ้านกินกันอยู่ก็มี

ตอนหลังๆ เราเองกลุ่มแม่บ้านก็มารวมกลุ่มกันมองเรื่องในครัวเรือน มากขึ้น เพราะพ่อบ้านกินเหล้า แม่บ้านก็ต้องพยายามคิดเรื่องการงดเหล้า แม่บ้านเองก็เห็นประโยชน์จากการไม่มีเหล้า เราพบว่า ถ้าในงานไม่มี เหล้าก็ทำให้ลดค่าใช้จ่าย หรือถ้าในครัวเรือนกินเหล้า เขาก็เสียไปแล้ว 40 บาท แต่หากไม่กินก็เอาเงินไปใช้หรือไปซื้อของอย่างอื่นได้

และด้วยบทบาทแม่บ้านด้วย เราก็จะคอยเตือนเด็กๆ เวลาเราเจอเขา ตั้งวงกินกัน เราก็จะคอยเตือนลูกหลาน วัยรุ่น หรือในตำบลเสียวมีสภา เยาวชน เราก็ให้เขาเข้ามาร่วมด้วย เยาวชนเขาก็จะซึมซับ เรียนรู้จาก

Page 39: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ผู้ใหญ่เอง เพราะเราต้องยอมรับว่า เด็กๆ เขาเห็นภาพครอบครัวกินเหล้า แล้ว มันก็เห็นภาพของครอบครัวไม่มีความสุขเอาเสียเลย ดังนั้นภาพการ ทำงานในตำบลเสียว มันจึงมีทุกภาคส่วนไม่ว่าจะผู้หญิง แกนนำ เด็ก ท้องถิ่นท้องที่ วัด และโรงเรียนก็ตาม”

“ตลอดหนึ่งปี เราได้มากกว่าเสีย” จากพลังความร่วมมือทั้งหมดทั้งมวล ทำให้โครงการงานบุญปลอด

เหล้าของเครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ขับเคลื่อนงานต่างๆ

จนกระทั่งครบ 1 ปี โดยตลอดระยะในการทำงานคณะกรรมการเครือข่าย

สุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ได้มีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากการ

ทำงาน และได้จัดให้มีเวทีสรุปข้อมูล เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรี

สุวรรณ ณ โรงเรียนบ้านเสียว เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2552

โดยพบว่า ผลการสำรวจความพึงพอใจด้านต่างๆ มีดังนี้

1. ด้านจิตใจ ชาวบ้านในหมู่บ้านมีความพึงพอใจในโครงการงานปลอด

เหล้ามากและต้องการให้ปฏิบัติให้ยั่งยืนตลอดไป

2. ดา้นรา่งกาย เมือ่หมูบ่า้นไดร้ว่มโครงการแลว้พบวา่ชาวบา้นในหมูบ่า้น

มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น

3. ด้านสังคม การปฏิบัติตนในด้านกิริยามารยาท ทางสังคมในงานต่างๆ

ดีขึ้นกว่าเดิม มีการทะเลาะวิวาทน้อยลง คนในครอบครัวรักใคร่สามัคคี

กันดี

Page 40: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

สรุปข้อมูลการดำเนินโครงการ “เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ”

ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2550 - 14 ธันวาคม พ.ศ.2551

ที่ ตำบล

งานปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทั้งสิ้น

(งาน)

ลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย

งานละ 30,000 บาท หมายเหตุ งานศพ

(ศพ)

งานบุญ

(งาน)

งานบวช

(งาน)

งานกฐิน

(งาน)

งานวัด

(งาน)

อื่ น ๆ

(งาน)

1 โดด 51 43 33 19 45 16 207 6,210,000.00 อื่นๆ คือ

- ทำบุญใน

วันพระ

- ทำบุญที่วัด

-งานลงแขก

-งานบุญ

ประเพณี เช่น

งานรำอ้อ ฯลฯ

2 เสียว 57 12 24 7 15 7 122 3,660,000.00

3 อีเซ 23 5 9 9 4 4 54 1,620,000.00

4 หนองม้า 22 7 15 5 8 5 62 1,860,000.00

5 ผือใหญ่ 29 18 19 11 13 5 95 2,850,000.00

รวม 182 85 100 51 85 37 540 16,200,000.00

Page 41: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

สรุปข้อมูลการดำเนินโครงการ “เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ”

ระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2550 - 14 ธันวาคม พ.ศ.2551

ที่ ตำบล

งานปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รวมทั้งสิ้น

(งาน)

ลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย

งานละ 30,000 บาท หมายเหตุ งานศพ

(ศพ)

งานบุญ

(งาน)

งานบวช

(งาน)

งานกฐิน

(งาน)

งานวัด

(งาน)

อื่ น ๆ

(งาน)

1 โดด 51 43 33 19 45 16 207 6,210,000.00 อื่นๆ คือ

- ทำบุญใน

วันพระ

- ทำบุญที่วัด

-งานลงแขก

-งานบุญ

ประเพณี เช่น

งานรำอ้อ ฯลฯ

2 เสียว 57 12 24 7 15 7 122 3,660,000.00

3 อีเซ 23 5 9 9 4 4 54 1,620,000.00

4 หนองม้า 22 7 15 5 8 5 62 1,860,000.00

5 ผือใหญ่ 29 18 19 11 13 5 95 2,850,000.00

รวม 182 85 100 51 85 37 540 16,200,000.00

* เก็บข้อมูลโดยกระบวนการชุมชน ผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่เป็นผู้รวบรวม

Page 42: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

นอกจากจะลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงอย่างมากมายแล้ว กระบวนการของ

โครงการงานบุญปลอดเหล้า ยังทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นในชุมชน คือ

1. งานศพปลอดเหล้าสามารถทำได้จริงและขยายไปสู่เรื่องอื่นๆ

ได้ถ้าชุมชนร่วมมือกันอย่างจริงจัง

2. การทำงานที่สวนกระแส..เป็นสิ่งที่ท้าทาย ....แต่สามารถ

ทำได้จริง

3. สามารถลดรายจ่ายๆได้จริง เฉลี่ยอย่างน้อยรายละ

20,000 บาท

4. สร้างค่านิยม (วัฒนธรรมของคนโพธิ์ศรีสุวรรณ)

ที่ดีให้กับเยาวชนและสังคม

5. ได้ผู้นำที่ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี

“ตัวอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน”

6. เป็นต้นแบบขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ

7. เหตุการณ์ความวุ่นวายในสังคมลดลง...

8. เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ /

เป็นต้นแบบพื้นที่พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง

Page 43: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

พระครูสุจิต โพธาลังการ

“ตลอดการทำงาน เราพบว่าสรุปแล้วเป็น ทีน่า่พอใจมาก เราลดคา่ใชจ้า่ยตา่งๆ ไดถ้งึ 16 ล้าน ดังนั้นเมื่อไปเทศน์ที่ไหน ก็จะพูด เรื่องนี้ตลอด ยกตัวอย่างนี้มาให้ญาติโยม ฟัง จุดสำคัญมากๆ คือ ญาติโยมที่เขา รับฟังแล้ว ทุกคนร่วมมือ เข้าใจเกี่ยวกับ เร่ืองที่เราให้นโยบายไปและนำไปปฏิบัติ เกิดเป็นมรรค เป็นผล เกิดเป็นผลสำเร็จ”

พ่อกำนันสมเด่น บัวศรี “ตอนเริ่มทำงาน เราตั้งคำถามกับตัวเอง เหมือนกันว่าเราไปพูดกับเขา เขาจะเชื่อเราไหม แต่สิ่งที่เราเองเรียนรู้ คือ ไม่มีใครตั้งงบไว้รองานศพ เพราะงานศพมันเป็นงานที่ไม่ได้ตั้งใจจะมี มัน เป็นเหตุฉุกเฉิน แต่คนกินเหล้าก็มากินเมื่อมีคนตาย ดังนั้นเจ้าภาพเอง จะมีเงิน หรือไม่มีก็จำเป็นต้องติดหนี้ บากหน้าไปหาเงินมาหาเหล้ามา เล้ียงแขก ภาพเชน่นีค้อืสิง่ทีเ่ราพยายามบอกชาวบา้นมาตลอด จนเขาเขา้ใจ คิดตาม ...เราไม่ได้หวังเลยว่าเขาจะเชื่อเราหรือไม่ แต่ขอให้เราได้พูดและ เขารับฟัง แล้วเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ว่ากัน จนมาตอนนี้ เราแอบดีใจลึกๆ คิดว่าเราทำสิ่งดีๆ ที่ประสบผล 90 กว่าหรือเกือบ 100% เลยทีเดียว”

นายสุวรรณ โสดา นายก อบต.อีเซ “เราคิดว่าเราประสบผลความสำเร็จ 99% เพราะเราสามารถลดรายจ่ายต่อราย 40,000 – 50,000 ขณะ เดียวกันงานก็สร้างให้เกิดคุณค่าทางสังคม คนเมา การพนัน การทะเลาะ วิวาทลดลงได้เยอะ คนมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น และปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จ

Page 44: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

นั้นก็ไม่ได้เกิดจากส่วนใดส่วนหน่ึงแต่เป็นเพราะทุกภาคส่วนได้ช่วยกัน รณรงค์ ช่วยกันบอกกล่าว ช่วยกันขับเคลื่อน ทั้งภาคปกครอง ภาคพัฒนา วัด โรงเรียน รวมทั้งการมีสื่อประชาสัมพันธ์ เราไม่ได้แก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง เหล้า แต่นี่คือ การบูรณาการชีวิตของชาวบ้านจริงๆ”

อาจารย์สุริยงค์ บุรมย์ “ประสบผลมาก อาจไม่ถึงร้อยแต่ก็ไม่ต่ำกว่า 65% ที ่บอกเช่นนี้ ก็เป็นเพราะเรามองจากคนใน ชุมชน ต้องยอมรับว่าก่อนนี้เหล้าเป็น ทุกอย่างจริงๆ ยิ่งในชนบท เหล้าเป็น ตัวตั้งในทุกๆ งาน เป็นค่านิยมมากกว่า ความกระหายอยากกิน แต่พอมาดูตอนนี้ เลิกเลย หลายคนเลิก หลายกิจกรรม นอก จากงานบุญ งานศพ ก็ไม่มีเหล้าไปด้วย เรื่องค่าใช้จ่ายก็ลดลง งานหนึ่งๆ ลดไป 30,000 บาท ที่เคยเป็นค่าเหล้า แล้วปีหนึ่ง มีตั้งกี่งาน คิดออกมาเป็นตัวเงิน ก็หลาย ล้านมากจนคิดได้ว่า หากเอาเงินจากเหล้าไปทำอย่างอื่น จะเกิดประโยชน์มากมาย”

Page 45: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

บุญเส็ง ชนะงาม “ก่อนเราทำโครงการ แต่ละงานที่จัดงานศพมาดูค่าใช้จ่าย 30,000 - 40,000 บาท แต่ตอนนี้ 5,000 บาท เรารู้สึกว่างานมันประสบ ผลสำเร็จกว่า 80% ในระดับตำบล และถ้าเป็นภาพรวมระดับอำเภอนั้น เราคิดว่ากว่า 60% ถามว่าตัวชี้วัด คืออะไร ก็คือตัวเลขของค่าใช้จ่ายที่ ลดลง คือคนที่แข็งแรง คือชุมชนที่ทุก ฝ่ายร่วมกันทำงาน วัด อบต. ผู้นำทั้ง

อำเภอ ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.และคือการที่เรามีกระบวนการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอดเวลาจนทำให้คนเสียวเห็นร่วม คิดร่วมกัน หรือในระดับอำเภอเองก็มีจุดเชื่อมร้อยกันระหว่างนายกอบต. 5 อบต.

และสิ่งที่ทำให้เราขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี คือ การที่เรามีต้นทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา เรามีครูบาอาจารย์ให้ข้อมูล สนับสนุน ต้นทุน ทางวัด ชาวบ้านศรัทธา พระนักเทศน์ ที่ชาวบ้านเคารพ อนามัย ให้ความรู ้ให้ข้อมูล และพ่อเฒ่า พ่อใหญ่ที่ยังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้าน เรามี เวทีคืนข้อมูล ที่สะท้อนถึงการลดค่าใช้จ่ายจริงๆ เรามีคนที่มีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง และคนที่ไม่ต้องเจ็บตัวจากการทะเลาะวิวาท ที่เป็น สิ่งพิสูจน์ และยืนยันถึงคุณประโยชน์จากการงดเหล้าได้ดีว่า นี่คือ สวัสดิการที่ชุมชนได้รับทางอ้อมจริงๆ”

Page 46: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ครูจันทร์ โต๊ะสิงห์ กรรมการ

เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

และทีมเลขานุการเครือข่ายตำบลเสียว

“เรื่องการปลอดเหล้าในงานบุญ เรื่องนี ้มันโดนใจคน เพราะสามารถมองเห็น เป็นรูปธรรมกับชาวบ้านได้ จากข้อมูล จะเห็นว่าเราเสียเงินเท่าไหร่กับงานศพ สามวันเสียเท่านี้ เจ็ดวันเสียเท่านี้ แล้ว เสร็จงานเหลือเท่าไหร่ ไม่พอเท่าไหร่

หากจะประเมินความสำเร็จ มีครั้งหนึ่งคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อใหญ่สมัย ราชเจริญ พ่อพูดว่า ผมรู้สึกดีใจที่คนตำบลเสียวไม่นั่งดื่มเหล้าแล้ว ก่อนนี้ตื่นมาก็นั่งอยู่ในวงกินเหล้า แต่ตอนนี้คนเสียวตื่นมาก็พาวัว พา ควายไปไร่ไปนา หรือกระทั่งพ่อวิไล ราชเจริญ ประธานเครือข่ายสุขภาวะ ตำบลเสียว แกพูดว่ามันเป็นบุญเป็นความภูมิใจมากกว่าเรื่องใดๆ

ดังนั้นสำหรับตัวเองแล้ว ถามว่าสำเร็จหรือไม่ บอกได้ว่ามันมากกว่า ความสำเร็จ เพราะว่ามันช่วยประหยัดเงินชาวบ้าน เกิดผลต่อสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ เกิดภาพการเชื่อมโยงจุดต่างๆ พลังต่างๆ อนามัย โรงเรียน ท้องถิ่นท้องที่ วัด โดยมีพระคุณเจ้าเป็นแกนในการเข้าถึงใจ พี่น้อง ศาสนาที่เชื่อมเราเข้าด้วยกัน

แตก่ต็อ้งยอมรบัวา่จะเขา้ไปทัง้หมดน้ันกอ็าจจะยงัไมท่ั่วถึง แตโ่ดยภาพ ของชุมชน ของตำบล เราถือโอกาสในโครงการงดเหล้านี้เป็นจุดรวมคน เอาเรือ่งคณุธรรม ศลีธรรมมาพดูมาคยุ เกดิกระบวนการของเดก็กบัผูใ้หญ ่ เกิดกิจกรรมร่วมกัน”

Page 47: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ นายนรินทร์

ทรงนิพิฐกุล “พองานเคลื่อนไป 1 ป ีภาพรวมของทั้งอำเภอ พบว่า ส่วนหนึ่ง เร่ืองปัญหาเด็กวัยรุ่นท่ีเคยทะเลาะกัน น้อยลง เห็นชัดเจนเลย งานไหนไม่มีสุรา จำหน่ายทั้งงานวัด งานโรงเรียน เด็กที่จะ มาทะเลาะกันก็ลดน้อยลงเห็นได้ชัดงาน ใหญ่ๆ ระดับอำเภอก็แทบจะไม่มี ส่วนที่ สองค่าใช้จ่ายก็ประหยัดขึ้น ชาวบ้านก็ พอใจ และการขยับของเครือข่ายเราก็

เข้มแข็งจนกลายเป็นตัวอย่างที่หลายแห่ง หลายพื้นที่นำเรื่องของโพธิ์ศร ีสุวรรณไปเล่า ไปพูดถึง และความสำเร็จเช่นนี้เอง ที่ทำให้เรามองถึง ก้าวการขยับต่อด้วยการทำโพธิ์ศรีสุวรรณโมเดล เพื่อเป็นยุทธศาสตร ์ครอบคลุมทุกด้าน การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ เป็นแผนงานแผน ชีวิตของคนโพธิ์ศรีสุวรรณ”

นายประสาน ขันติวงศ์ นายกอบต.เสียว ประธานเครือข่ายสุขภาวะ

อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ “สำหรับหนึ่งปีที่ผ่านมา เราประสบความสำเร็จ เพราะชุมชนเข้าใจกระบวนการที่เราทำ ชาวบ้านรู้ว่าหากมีงานคือไม่ม ีเหล้า เขาก็จะไม่กิน กรณีรายหนึ่งเขากินเหล้า พอมีงานเขาก็จะนั่งอยู่ ข้างนอก พอเราไปถามทำไมไม่เข้าไปในงาน เขาก็จะบอกว่า เขากินเหล้า ไม่กล้าเข้าไปในงาน อายเขา หรือบางรายกินเหล้าเข้าไป คนในงานเอง นั่นแหล่ะที่จะมอง ที่จะดูแลกันเอง สุดท้ายชาวบ้านมีการควบคุมจัดการกันเองด้วยสังคม นี่คือความสำเร็จที่สำคัญมาก

Page 48: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

พอมาเรื่องเศรษฐกิจ มันชัดเจนมาก ตัวเลขลดลงไปเยอะ พอไม่ต้อง มีหนี้สิน สุขภาพจิตสุขภาพใจก็ดีขึ้น ก่อนนี้มีคำพูดกันว่า คนตายขาย คนเป็น แต่ตอนนี้สิ่งนี้ไม่มีแล้ว พองานเสร็จสิ้นตอนนี้เขายังมีเงินเหลือ เงินให้ทำทุนได้ต่อ แต่ก่อนต้องขายวัว ขายควาย 4 - 5 ตัวเพื่อใช้หนี้ แต่ตอนนี้เขามีเงินซื้อวัว ซื้อควาย 3-4 เหมือนกัน เขาก็ภูมิใจ พอไม่ดื่ม เหล้าก็ไม่ทะเลาะกัน ไม่ยกพวกกันความสามัคคีก็เกิด เรียกว่าเราภูมิใจ ที่เราทำได้ทั้งตำบล ทั้งอำเภอ ขณะเดียวกันเรามีเพื่อนมากขึ้น ต่างอำเภอ ก็กำลังริเริ่มทำ เราขยายไปอีก 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอ ราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอรัตนบุรี จังหวัด สุรินทร์ ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกัน สิ่งที่เราทำก่อเกิดสิ่งดีงามที่เป็นต้นแบบให้ เพื่อนได้ ดังนั้นในอนาคตเรากำลังจะขยับเรื่องโพธิ์ศรีสุวรรณโมเดล ที่ ทุกภาคส่วนทกตำบลจะร่วมมือกัน เราจะดูแลกันครอบคลุมทุกด้านของ ชีวิต เป็นแผนเพื่อชาวโพธิ์ศรีสุวรรณจริงๆ ถามว่าเหนื่อยไหม ..เราเหนื่อย แต่เราก็ภูมิใจจริงๆ”

Page 49: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

“หัวใจของงานอยู่ที่คน” เรื่องเล่าต่างๆ จากเหล่าคนทำงานได้สะท้อนถึงการทำงานกว่า 1 ป ี

ของโครงการงานบุญปลอดเหล้า โดยเครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศร ี

สุวรรณ หลายสิ่งอย่างที่เครือข่ายได้ริเริ่มลงมือทำ โดยมุ่งหมายที่จะแก้ไข

ภาระหนี้สินของชาวชุมชน ได้ก่อให้เกิดรูปธรรมความสำเร็จในหลายด้าน

ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การลดรายจ่าย สุขภาพ สุขภาวะที่อัตราการเสียชีวิต

ทั้งจากการเจ็บป่วยจากเหล้า อุบัติเหตุและการวิวาทต่อยตีลดลงจนแทบ

ไม่มี และทำให้วัฒนธรรมของการช่วยเหลือ เอาแรงกลับคืนมา พี่น้อง

เพื่อนบ้านที่ไปช่วยงานโดยเอาแรง เอาใจมาลง มากกว่าจะมากินเหล้า

หรือมาพนันขันต่อ เหนืออื่นใดชุมชนสามารถจัดการตนเองได้อย่างม ี

สว่นรว่ม เพราะชาวชมุชนตระหนกัและเหน็ถงึปญัหารว่มกนั จงึทำใหก้าร

ทำงานราบรื่นและดำเนินไปด้วยดี

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญหนึ่งที่เรียนรู้ได้จากวงเล่าที่ไม่ใช่วงเหล้านี้ ค้นพบว่า

หัวใจของงานอยู่ที่คน การทำงานที่จะประสบผล คนที่เป็นผู้นำ เป็น

แกนนำล้วนมีบทบาทอย่างมากต่อการริเริ่มก่อการดีใดๆ ก็ตาม พ่อกำนัน

สมเด่น บัวศรี “หัวใจสำคัญของงาน คือ ผู้นำ ถ้าผู้นำอยู่ได้ ชาวบ้านก ็อยู่ได้ ดังนั้นจะเริ่มต้นทำเรื่องอะไร ผู้นำต้องทำก่อน ต้องหยุดก่อน อย่าง แต่ก่อนกินกันทุกคนแต่ตอนนี้หยุดเกือบทุกราย ผู้ใหญ่บ้านบางคนเมื่อ ก่อนกินอย่างน้อยวันละขวด แต่ตอนนี้เขาเป็นแบบอย่างสำหรับลูกบ้าน สำหรับคนอื่น สิ่งที่เราทำเราไม่ได้บังคับ แต่เราเอาความรู้สึกตอบรับ ของชาวบ้านเป็นตัวตั้ง ผู้นำทำเป็นตัวอย่าง ผู้นำที่เข้าใจในปัญหา ปัญหาที่เป็นจะแก้ ว่าจะแก้อย่างไร แนวทางไหน ผู้นำต้องเริ่มก่อน ผู้นำที่ดี ศรัทธาความเชื่อถือจะก่อเกิดและคนในชุมชนก็จะทำตามเอง”

Page 50: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ขณะเดียวกัน นอกจากผู้นำจะเป็นหัวใจสำคัญในการทำงาน และใน

การเป็นแบบอย่างสำหรับชาวบ้านแล้ว สำหรับเหล่าคนทำงาน แกนนำ

ทั้งหลายเองแล้วกระบวนการของโครงการงานบุญปลอดเหล้า เครือข่าย

สุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญของ

ทุกคนอีกด้วย การมีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การลองผิดลองถูก การ

รณรงค์ต่างๆ การร่วมมือทำงานระหว่างตำบล การทำงานในระดับ

เครือข่ายอำเภอที่ทำให้เกิดภาพวงกว้างของการจัดการเรื่องเหล้าอย่าง

เป็นระบบ ที่แม้ว่าเครือข่ายจะเกาะเกี่ยวกันอย่างหลวมๆ แต่ในความ

สัมพันธ์เช่นนี้ทุกตำบลต่างเป็นเกราะป้องกันซึ่งกันและกัน เป็นพี่เป็นน้อง

ที่ให้คำปรึกษากันและกัน ดังที่เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

พบว่า หากจะริเริ่มจัดการเรื่องเหล้าในชุมชนแล้วล่ะก็ ขั้นตอนที่ควรจะมี

คือ

“สร้างแกนนำ ทำประชาคม ประกาศเจตนารมณ์ จัดกิจกรรมงานบุญต่างๆ และมีเวทีคืนข้อมูล”

บนก้าวที่จะไปต่อ สำหรับคนหนึ่งคนที่ริเริ่มทำสิ่งดีงามเพื่อคนอื่นๆ สิ่งนี้ย่อมมีค่า และ

หากคนเช่นนี้มีเป็นสิบ เป็นร้อย หรือนับพันก็ย่อมมีค่ายิ่งนัก เพราะทำให ้

ความดีงามต่างๆ นั้นขยายวงกว้างมากขึ้น เรื่องเหล้าจากวงเล่านี้สะท้อน

และถา่ยทอดมาจากมมุมอง ความคดิ ความฝนัของกลุม่คนทำงาน แกนนำ

เครือข่ายสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ หลายคำเล่าพูดเรื่องการปลอด

เหล้าด้วยเสียงที่บ่งบอกความปิติ ภูมิใจ หลายความคิดเห็นบ่งบอกถึง

ความเข้าใจ ความตระหนักถึงปัญหาอย่างจริงจัง และหลายเรื่องเล่า ที่ฟัง

แล้วทำให้สุขยิ่งนักโดยไม่ต้องมีเหล้าสักแก้วเดียว

Page 51: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

Page 52: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

พ่อกำนันสมเด่น บัวศร ี“สำหรับตัวเองแล้ว มันเป็นความประทับใจ เป็นความรู้สึกของเราที่อยู่ในสังคม และได้ทำอะไรเพื่อสังคม เพื่อคนอื่น เป็นความสุขที่ได้ทำ ทำไปเราเองก็เกิดการเรียนรู้กับตัวเองว่า เมื่อวันที่ สิ่งที่เราลงมือทำนั้นเกิดดอกผลขึ้นมาแล้วนั้น เรามีความสุขเหลือเกิน ไม่ใช่แค่มองแค่ครอบครัวหรือตัวเราเองแต่ต้องคิด และมองสังคม มอง บ้านเมืองด้วย เพราะหากสังคมเดือดร้อน เราก็เดือดร้อนด้วยเช่นกัน”

และหลายฝันของคนทำงานกับทิศทาง เส้นทางและย่างก้าวในอนาคต

คือ

* ผลักดันและสนับสนุนให้กิจกรรมเกิดความต่อเนื่อง

และเข้มข้นมากขึ้น “คนโพธิ์ศรีสุวรรณปลอดเหล้า”

* พัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้/ สื่อการเรียนรู้

* ขยายผลเรื่องราวแนวคิดปลอดเหล้าไปสู่พื้นที่

พี่น้องในจังหวัดศรีสะเกษและพื้นที่อื่นๆที่สนใจ

* สกัดนักดื่มหน้าใหม่/ สร้างนวัฒกรรมการเรียนรู้

ในกลุ่มเยาวชน

* อยากให้แต่ละครอบครัวได้ทำบัญชีรับจ่าย

เพื่อเอาข้อมูลมาสร้างการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่

การผลักดันในการสร้างครอบครัวเข้มแข็ง จะได้ไม่เสีย 5 ส.

Page 53: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

* พัฒนาเชื่อมโยงเรื่องราวปลอดเหล้าไปสู่กิจกรรม

การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอื่นๆอย่างกว้างขวาง

เพื่อช่วยเหลือคนในชุมชนของเราเอง

* ให้ผู้ใหญ่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน...

เรียกร้องให้ห้ามนำเหล้าเข้ามาดื่มในงาน

หรือกิจกรรมต่างๆทางสังคม

วงเล่าจบลง พ่อวิไล ราชเจริญ ประธานเครือข่ายสุขภาวะตำบล

เสียว กล่าวทิ้งท้าย “ตอนนี้ คนที่ไม่ดื่มเหล้า เขาว่าเป็นคนแปลก เป็น เรื่องแปลก แต่คนดื่มเหล้าถือว่าเป็นเรื่องปกติของสังคม ดังนั้นสิ่งที่คิด ฝันจริงๆ คืออยากจะทำให้การดื่มเหล้ากลายเป็นเรื่องแปลก คนดื่มเหล้า กเ็ปน็คนแปลก แตค่นทีไ่มด่ืม่เหลา้นัน้ถอืวา่เปน็เรือ่งปกต”ิ ...และวนันี ้ฝนั

ของพ่อวิไล ก็เริ่มเห็นเค้าลางแล้วที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

Page 54: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

ยกย่องเชิดชู

กติกาชุมชน

เคลื่อนผ่านงานศพ/ เชื่อมงานอื่นๆ

ใช้ข้อมูล

ประกาศเจตนารมณ์

สื่อประชาสัมพันธ์

บูรณาการงาน

เทคนิค

อบต. อนามัยวัดโรงเรียน+ +++

กลไกการทำงาน

ภาคีความร่วมมือหลากหลาย

Page 55: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

เรื่อง “เหล้า“ จากวงเล่า

อื่นๆ แกนนำ

ชุมชน ++

เชื่อมประสานนโยบายพื้นที่

เวทีคืนข้อมูล

เก็บข้อมูล

ชุมชน/ เก็บข้อมูลงานศพ

เวทีประชาคม/ เวทีแลกเปลี่ยน

ภาคีความร่วมมือหลากหลาย

กระบวนการ

งานศพ/

บุญปลอดเหล้าบูรณาการงานอื่นๆเกิดความร่วมมือลดรายจ่าย

ผลที่เกิด

Page 56: เรื่อง "เหล้า"  จากวงเล่า : อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ

หากสนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดต่อได้ที่

สำนักงานสุขภาวะตำบลเสียว

องค์การบริหารส่วนตำบลเสียว อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

จังหวัดศรีสะเกษ 33120

ครูจันทร์ โต๊ะสิงห์

เลขานุการคณะกรรมการสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

080 – 733 – 2149

นายประสาน ขันติวงศ์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเสียว

ประธานคณะกรรมการสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

089 – 580 – 0997

นายบุญเส็ง ชนะงาม

ผู้ประสานงานโครงการสุขภาวะอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

085 – 633 – 9191