คู่มือ quantum gis v3

34
คู่มือการใช้โปรแกรม Quantum GIS สิทธินันท์ ทองใบ และ ผศ. ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมสารวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธันวาคม 2552 Version 1.3.0 Mimas

Upload: sittinuntb

Post on 18-Nov-2014

132 views

Category:

Documents


2 download

TRANSCRIPT

Page 1: คู่มือ Quantum GIS v3

คู่มือการใช้โปรแกรม Quantum GIS

สิทธินันท์ ทองใบ และ ผศ. ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท ์ภาควิชาวิศวกรรมส ารวจ คณะวิศวกรรมศาสตร ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธันวาคม 2552

Version 1.3.0 Mimas

Page 2: คู่มือ Quantum GIS v3

สารบัญ หน้า

1. บทน าโปรแกรม Quantum GIS เบื้องต้น 1.1 Quantum GIS คืออะไร 1.2 วิวัฒนาการของโปรแกรม 1.3 หน้าต่างของโปรแกรม

2. การติดตั้งโปรแกรม

2.1 คุณสมบัติของเคร่ืองคอมพิวเตอร์ 2.2 ขั้นตอนการติดต้ังโปรแกรม

3. เมนูและไอคอนการท างานของโปรแกรม 3.1 เมนูการท างาน (Menu bar) 3.2 ไอคอนหรือปุ่มค าสั่ง (Tools Bar) 3.3 การก าหนดระบบพิกัด (Coordinate System) และพื้นหลักฐานอ้างอิง (Datum)

4. การใช้งานโปรแกรม 4.1 ความสามารถในการรองรับรูปแบบข้อมูล (Working Spatial Data format)

4.2 การสร้างข้อมูลใหม่ (New Vector Layer) 4.3 การปรับแก้ข้อมูล (Edit Data) 4.4 การค านวณหาระยะทางและพื้นที่ (Measure length and areas) 4.5 การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายตามมาตรฐานสากล OGC

4.6 การน าเข้าข้อมูลจากเคร่ืองรับสัญญาณดาวเทียม GPS 4.7 เคร่ืองมือวิเคราะห์ข้อมูล Vector (Spatial Analysis) 4.8 เคร่ืองมือจัดการข้อมูล Raster (Image Processing)

5. การก าหนดคุณลักษณะต่างๆของชั้นข้อมูล (Layer Property)

6. การติดตั้งเคร่ืองมือประมวลผลข้อมูลปริภูมิเพิ่มเติม (Add Plug-in)

7. การพิมพ์รายงานข้อมูลแผนที่ (Print Layout)

8. เอกสารอ้างอิง

1 1 1 4

5 5 5

7 7 8 9

10 10 10 12 15 16 24 27 28

28

30

31

32

Page 3: คู่มือ Quantum GIS v3

1

1. บทน าโปรแกรม Quantum GIS เบื้องต้น 1.1 Quantum GIS คืออะไร

Quantum GIS หรือ QGIS เป็นโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหน่ึงที่มีประสิทธิภาพในการน ามาใช้บริหารจัดการข้อมูลปริภูมิ โดยจัดอยู่ในกลุ่มซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Free and Open Source Software: FOSS) ที่มีลักษณะระบบใช้งานง่าย ลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphic User Interface (GUI) ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลภาพ ข้อมูลตาราง การแสดงผลตาราง การแสดงผลกราฟ ตลอดจนสามารถสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและน าเสนอข้อมูลได้ในรูปแบบแผนที่ สามารถเรียกใช้ข้อมูลเวกเตอร์ ราสเตอร์ ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานแพร่หลาย เช่น Shape file และ Geo Image ซอฟต์แวร์ QGIS สามารถแก้ไข Shape File format ได้ซึ่งเป็นที่ต้องการมากในเวลานี้ QGIS พัฒนาบนพื้นฐานของ Qt ที่เป็นไลบราร่ีส าหรับ Graphical User Interface (GUI) ที่ใช้งานได้ทั้ง UNIX, Window และ Mac การพัฒนาใช้ภาษา C++ เป็นหลักนอกจากนั้น QGIS ยังเชื่อมต่อกับ Geospatial RDBMS เช่น PostGIS/PostgreSQL สามารถอ่านและเขียนฟีเจอร์ที่จัดเก็บใน PostGIS ได้โดยตรง สามารถเชื่อมต่อกับ GRASS ได้ท าให้สามารถเรียกดูข้อมูลที่จัดเก็บใน GRASS โดยตรง และสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆของ GRASS ได้ สนับสนุนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) ในเบื้องต้น และการแสดงผลข้อมูลเชิงต าแหน่งในรูปแบบของแผนที่ การสร้างและการแก้ไขข้อมูล เชิงต าแหน่ง (Spatial Data) และข้อมูลตาราง (Attribute Data) สามารถจัดการข้อมูลได้ง่ายโดยใช้เคร่ืองมือตาม GUI ที่ก าหนด

1.2 วิวัฒนาการของโปรแกรม โปรแกรม Quantum GIS หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Qgis เป็นโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย

กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ จากประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 2002 ประมาณเวอร์ชั่น 0.0.1-alpha และได้มีพัฒนาการเร่ือยมาจนถึง ปัจจุบัน ปี ค.ศ. 2009 ได้ออกเวอร์ชั่นล่าสุดมา คือ Quantum GIS 1.3.0 Mimas (Platform: Windows - Standalone) ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการปรับปรุงทั้งในเร่ืองของ bug ในตัวของโปรแกรมท าให้การท างานของระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนการแก้ไขข้อมูลเชิงพื้นที่ (Edit, Insert, Delete Data) มีการเพิ่มเติมในส่วนของปุ่มการท างานที่ช่วยในเร่ืองของการแสดงผล รวมไปถึงการพัฒนาการท างานในส่วนของข้อมูล ราสเตอร์ (Raster Data) ที่เพิ่มฟังก์ชั่นในการประมวลผลข้อมูลภาพได้หลากหลาย สอดคล้องกับการท างานของ Gdal library, Ogr library ในรูปแบบ X/MIT style ภายใต้ Open Source license

และที่ส าคัญโปรแกรม Quantum GIS ได้ถูกพัฒนาให้รองรับการท างานร่วมกับข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันตามมาตรฐานสากล Open Geospatial Consortium (OGC) รวมไปถึงในเร่ืองของการแสดงผลทั้งในส่วนของข้อมูล GDAL Raster Formats และ OGR Vector Formats

Page 4: คู่มือ Quantum GIS v3

2

ตารางที่ 1 แสดงรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมในเวอร์ชั่นต่างๆ Version Code Name Release date Significant changes

0.0.1-alpha - July 2002 -มีระบบการจัดการข้อมูลแผนที่ สามารถน าเข้าและแสดงผลข้อมูลจากฐานข้อมูลปริภูมิ PostgreSQL และ PostGIS

0.0.3-alpha - August 2002 -รองรับรูปแบบข้อมูล Shape file และรูปแบบข้อมูลเวกเตอร์อ่ืนๆ

0.0.6 - November

2002

-เพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อฐานข้อมูล ปริภูมิ PostGIS รวมไปถึงฟังก์ชั่นการจัดการ ข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute Data)

0.1 Moroz February

2004 -รองรับรูปแบบข้อมูลราสเตอร์ตาม GDAL Raster Formats

0.8 - January 2007 -ปรับปรุงรูปแบบเข้าถึงข้อมูลตามมาตรฐาน สากล (OGC) แบบ Web Map Service (WMS) และ Web Feature Service (WFS)

0.9.1 Ganymede January 2008

-เพิ่มเติมค าสั่งในการท างานร่วมกับ ระบบ GRASS tools และปรับปรุงฟังก์ชั่นการท างานเกี่ยวกับ Plugin Installer ภายในโปรแกรม Quantum GIS (PyQGIS repository)

1.0.0 - - -ปรับปรุง Qt4 Python Program และลบ Qt3Support

1.1.0 daphnis October 2009

-เพิ่มความสามารถในการแก้ไขข้อมูลเชิงพื้นที่ (Edit, Insert, Delete, Geoprocessing, View Data) -การเข้าถึงฐานข้อมูล SQLite -การเชื่อมโยงข้อมูลตาราง (Attribute Data) -รองรับรูปแบบข้อมูลเวกเตอร์ตาม OGR Vector Formats

1.3.0 Mimas October 2009

-ปรับปรุงส่วนการต้ังค่าในโปรแกรม (Setting) โดยเพิ่ม Identifiable Layer ใน Project Properties -เพิ่ม Tabs ToolBar management ใน View -เพิ่ม Diagram Tab ใน Layer Properties

Page 5: คู่มือ Quantum GIS v3

3

รูปที่ 1 โปรแกรม Quantum GIS ในเวอร์ชั่นต่างๆ

รูปที่ 2 หน้าจอการท างานของโปรแกรม Quantum GIS 1.3.0 ‘Mimas’

รูปที่ 3 แสดงโครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบภายในโปรแกรม Quantum GIS 1.3.0 ‘Mimas’

การพัฒนาซอฟต์แวร์ Quantum GIS

Page 6: คู่มือ Quantum GIS v3

4

1.3 หน้าต่างของโปรแกรม (Graphical User Interface)

GUI ประกอบด้วย Menu Bar, Tools Bar, Legend, Overview, Map Display, Map Coordinate, Map Scale และ Project Properties ซึ่งทุกรายการนี้สามารถเคลื่อนย้าย เปลี่ยนขนาดตามความเหมาะสมต่อการใช้งานเพื่ออ านวยความสะดวกของผู้ใช้

รูปที่ 4 แสดงรูปร่างหน้าตาของโปรแกรม Quantum GIS

รูปที่ 5 แสดงเมนูการท างานหลัก

ปุ่มเมนูการท างานบนโปรแกรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนหลัก เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของหน้าจอการท างานประกอบด้วย

- การสร้าง New Project และบันทึก Project

- การเพิ่มชั้นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรฐานสากล (Vector, Raster, PostgreSQL DB, SQLite

DB, WMS, WFS GPS Data)

- การสร้างปรับปรุงแก้ไขข้อมูล (Edit Data)

- เคร่ืองมือช่วยในการแสดงผล (Display Map)

- เคร่ืองมือช่วยในการค านวณเรขาคณิต (Measure length and areas)

Menu Bar

Overview

Legend Map Display

Project Properties

Tools Bar

Map Coordinate at mouse cursor position

Current Map Scale

Page 7: คู่มือ Quantum GIS v3

5

2. การติดตั้งโปรแกรม

2.1 คุณสมบัติของเคร่ืองคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Quantum GIS สามารถท างานบนระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)

ได้ทั้ง Linux, Unix, Mac OSX และ Microsoft Windows

2.2 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม 1. ท าการ Download โปรแกรม Quantum GIS จาก URL http://qgis.org/ โดยผู้ใช้สามารถเลือกเวอร์

ชั่นของโปรแกรมได้ตามต้องการ

รูปที่ 6 แสดงเว็บไซต์ในการดาวน์โหลดโปรแกรม

2. Double click ไฟล์ *.exe ที่ท าการดาวน์โหลดมา เพื่อท าการติดต้ังโปรแกรม ซึ่งลักษณะขั้นตอนการติดตั้งน้ันไม่ยุ่งยากซับซ้อน คือสามารถกดปุ่ม Next เพื่อติดตั้งได้ตามปกติคล้ายกับการติดตั้งซอฟต์แวร์ฟรีทั่วๆไป

>>โปรแกรมท าการตรวจสอบและโหลด โปรแกรมเพื่อเตรียมการติดตั้ง >>กดปุ่ม Next เพื่อด าเนินการขั้นต่อไป

1

2

Page 8: คู่มือ Quantum GIS v3

6

>>อ่านเงื่อนไขยอมรับการติดต้ังโปรแกรม แล้วกดปุ่ม Next เพื่อด าเนินการขั้นต่อไป

>>เลือกพื้นที่ในการติดต้ังโปรแกรมโดยกด

ปุ่ม Browser… >>กดปุ่ม Next เพื่อด าเนินการขั้นต่อไป

>>เลือก Data set ที่ต้องการจะติดต้ังไปพร้อม กับโปรแกรม โดยจะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ >>กดปุ่ม Next เพื่อด าเนินการขั้นต่อไป

>>รอการติดตั้งโปรแกรม >>เสร็จสิ้นการติดต้ังโปรแกรม

3

4

5

6

7

Page 9: คู่มือ Quantum GIS v3

7

3. ทดลองรันโปรแกรม Quantum GIS โดยเข้าไปที่ Start -> Program -> Quantum GIS

รูปที่ 7 แสดงการเรียกใช้งานโปรแกรม Quantum GIS

3. เมนูและไอคอนการท างานของโปรแกรม

3.1 เมนูการท างานหลัก (Menu bar)

รูปที่ 8 แสดงเมนูและไอคอนการท างานของโปรแกรม

Menu bar Description

Page 10: คู่มือ Quantum GIS v3

8

3.2 ไอคอนหรือปุ่มค าสั่ง (Tools Bar)

เพื่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการท างานโปรแกรมจึงสร้างไอคอนหรือปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ใน

การจัดการข้อมูลแผนที่ ซึ่งสามารถใช้เมาส์คลิกไปที่ปุ่มเคร่ืองมือที่ต้องการ โปรแกรมจะตอบสนองค าสั่ง

โดยจะขึ้น Popup ใหม่หรือด าเนินการในค าสั่งนั้นทันที

รูปที่ 9 แสดงไอคอนหรือปุ่มค าสั่ง

ในการสืบค้นข้อมูลอรรถาธิบายบนแผนที่นั้นสามารถท าได้โดยการกดปุ่ม จากนั้นให้

น าเมาส์ไปคลิกที่ข้อมูลแผนที่ที่ต้องการทราบข้อมูล โปรแกรมจะท าการสืบค้นและแสดงผลบนหน้าต่าง

ของ Identify Results

รูปที่ 10 แสดงการสืบค้นข้อมูลอรรถาธิบายบนแผนที่

สร้าง New Project เพิ่มชั้นข้อมูลปริภูมิในรูปแบบต่างๆ

เปิด Project ที่บันทึกไว้ ปุ่มเคร่ืองมือในการแสดงผล

ปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการจัดการข้อมูล Vector

เคร่ืองมือในการค านวณ

Page 11: คู่มือ Quantum GIS v3

9

3.3 การก าหนดระบบพิกัด (Coordinate System) และพื้นหลักฐานอ้างอิง (Datum)

ในการท างานจัดการข้อมูลแผนที่ สิ่งที่จ าเป็นอย่างหนึ่งคือ การก าหนด ระบบพิกัด (Coordinate

System) และพื้นหลักฐานอ้างอิง (Datum) ที่ใช้ในการด าเนินงาน ในกรณีที่ข้อมูลไม่มีการก าหนด Projection

มาให้นั้น (*.prj) ผู้ใช้จะต้องระบุด้วยตนเองเพื่อให้โปรแกรมแสดงข้อมูลแผนที่แสดงต าแหน่งที่ถูกต้อง โดย

สามารถก าหนดได้ในส่วนของ Projection Properties (โดยเข้าไปที่ Menu Bar >> Setting >> Projection

Properties หรือใช้ปุ่มค าสั่ง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบหลัก คือ Geographic Coordinate System

และ Projected Coordinate System โดยที่การก าหนด Projection มีผลต่อการค านวณเรขาคณิต (Geometry)

การก าหนด ‚Map on the fly‛ หรือก าหนด Coordinate Reference System (CRS) Transformation

รูปที่ 11 แสดง CRS Transformation

การก าหนดระบบพิกัดให้กับข้อมูล (Define Projection) เพื่อให้โปรแกรมน าไปแสดงผลได้อย่าง

ถูกต้อง ท าได้โดยการคลิกขวาที่ชั้นข้อมูลที่จะก าหนดแล้วเลือกที่ช่อง Properties

รูปที่ 12 แสดงการก าหนดระบบพิกัดให้กับข้อมูล (Define Projection)

Status CRS CRS >> “On”

CRS >> “Off”

2

1

3

4 5

Page 12: คู่มือ Quantum GIS v3

10

4. การใช้งานโปรแกรม 4.1 ความสามารถในการรองรับรูปแบบข้อมูล (Working Spatial Data format)

รูปแบบข้อมูลภูมิสารสนเทศที่อ้างอิงตามมาตรฐานสากล OGC ได้แก่ GDAL Raster Formats และ OGR Vector Formats

รูปแบบข้อมูล GDAL Raster Formats อ้างอิงตาม http://www.gdal.org/formats_list.html

รูปแบบข้อมูล OGR Vector Formats ได้แก่ "ESRI Shapefile", "MapInfo File", "TIGER", "S57", "DGN", "Memory", "BNA", "CSV", "GML", "GPX", "KML", "GeoJSON", "Interlis 1" , "Interlis 2", "GMT", "SQLite", "ODBC", "PostgreSQL", "MySQL", "Geoconcept", "GeoRSS" เป็นต้น

4.2 การสร้างข้อมูลใหม่ (New Vector Layer) กดปุ่ม บนเคร่ืองมือ Toolbars เพื่อสร้างชั้นข้อมูลใหม่ในรูปแบบของ Vector

(Point, Line, Polygon) หรือสามารถเข้าไปก าหนดได้ที่ Menu bar >> Layer >> New Vector Layer

รูปที่ 13 แสดงขั้นตอนการก าหนดคุณลักษณะของข้อมูล

Data Type Column Name

Column Width

Delete Column Insert Column

กดปุ่ม OK เมื่อเสร็จสิ้นการท างาน

Page 13: คู่มือ Quantum GIS v3

11

เมื่อก าหนด Geometry Type, Column Name ต่างๆเสร็จแล้วโปรแกรมจะให้ผู้ใช้ก าหนดชื่อ Layers โดยเป็นการบันทึกข้อมูล (Save As) ดังกล่าวไว้ในพื้นที่คอมพิวเตอร์ที่ก าหนด (Set directory path)

รูปที่ 14 แสดงการบันทึกข้อมูล Shape file

เมื่อเสร็จสิ้นการบันทึกข้อมูลแล้ว ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลชุดใหม่ที่มีคุณลักษณะตามที่ได้ก าหนดไว้ในขั้นต้น กระบวนการเร่ิมแรกของการสร้างข้อมูลหรือปรับแก้ข้อมูล คือ การเปิดฟังก์ชั่น Start Editing โดยใช้การกดปุ่ม Toggle Editing เร่ิมต้นการท างาน Digitize ข้อมูล

รูปที่ 15 แสดงการบันทึกข้อมูลอรรถาธิบาย (Enter Attribute Value)

เมื่อท าการ Digitize ข้อมูลทีละ feature แล้วโปรแกรมจะให้ก าหนดค่าต่างๆ หรือข้อมูลอรรถาธิบายใน feature นั้นทันที แล้วกดปุ่ม ok เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างข้อมูล หลังจากนั้นสามารถท าการ Digitize ข้อมูลต่อไปได้จนจบการสร้างข้อมูล ให้กดปุ่ม เพื่อหยุดและบันทึกข้อมูลที่ท าการสร้างไว้ (Stop Editing)

My_Shapefile.shp

จ านวน Column ในชั้น

ข้อมูลที่ก าหนดซึ่งอาจ

ที่มากกว่า 1 ช่อง

Page 14: คู่มือ Quantum GIS v3

12

รูปที่ 16 แสดงการยืนยันเพื่อบันทึกการท างาน

4.3 การปรับแก้ข้อมูล (Edit Data) เป็นกระบวนการข้อมูลทั้งในส่วนของ Spatial Data และ Attribute Data สามารถด าเนินการได้โดย

เปิดชั้นข้อมูลที่ต้องการแก้ไข จากนั้นโดยเร่ิมต้นจากการกดปุ่ม เพื่อเร่ิมต้นการท างานแก้ไขข้อมูล

รูปที่ 17 แสดง Open an OGR Supported Vector Layer

กดปุ่ม บนเคร่ืองมือ Toolbars เพื่อเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการมาแสดงผลบน Map Display ซึ่งชื่อของชั้นข้อมูลที่ต้องการจะปรากฏในช่อง File Name จากนั้นกดปุ่ม Open เพื่อยืนยันการเลือกข้อมูลที่ต้องการน าเข้า

รูปที่ 18 แสดงผลการเปิดชั้นข้อมูลขอบเขตการปกครอง

รูปแบบข้อมูลท่ีโปรแกรม Quantum GIS รองรับ

Check Box เครื่องหมายกากบาท

Page 15: คู่มือ Quantum GIS v3

13

การก าหนดให้ชั้นข้อมูลแสดงผลสามารถท าได้โดยการคลิกบน Check Box ข้างหน้าของแต่ละ Layer และสามารถคลิกอีกครั้งเพื่อปิดการแสดงผลของชั้นข้อมูลนั้นๆ

หลังจากนั้นเลือกรูปแบบการจัดการข้อมูล Vector ซึ่งจะสอดคล้องกับประเภทข้อมูลที่ก าหนดไว้ใน New Vector Layer

โดยในเวอร์ชั่น 1.3.0 นี้มีการเพิ่มเคร่ืองมือเพื่อใช้ในการแก้ไขข้อมูลเวกเตอร์ขึ้นมา

ค าอธิบายเครื่องมือที่ใช้ในการปรับแก้ข้อมูลปริภูมิ

เป็นปุ่มที่ใช้เมื่อเร่ิมแก้ไขและสิ้นสุดการแกไขข้อมูล เป็นปุ่มสร้างข้อมูลประเภทจุด (Point) เป็นปุ่มสร้างข้อมูลประเภทเส้น (Line) เป็นปุ่มสร้างข้อมูลประเภทพื้นที่รูปปิด (Polygon) เป็นปุ่มสร้างข้อมูลประเภทพื้นที่รูปปิดแบบกรวง (Ring) เป็นปุ่มสร้างข้อมูลประเภทพื้นที่รูปปิดแบบ (Multi Polygon) เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการตัดหรือแบ่งข้อมูลเส้น เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย Feature ที่ต้องการ เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการเคลื่อนย้าย Node ที่ต้องการ

เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการเพิ่ม Node เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการลบ Node

Undo and Redo

Undo and Redo

Delete Ring and Delete Part Reshape Feature

Merge Selected Feature

Node Tools

Page 16: คู่มือ Quantum GIS v3

14

เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการลบข้อมูล feature ที่ท าการเลือกไว้ (Selection) เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการตัดข้อมูล feature เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล feature เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการวางข้อมูล feature

เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการดูการแสดงผลข้อมูลย้อนหลัง เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการดูการแสดงผลข้อมูลถัดไป

เป็นปุ่มเคร่ืองมือที่ใช้ในการรวมข้อมูล feature ที่ท าการเลือกไว้

เคร่ืองมือที่ช่วยสนับสนุนการน าเข้าข้อมูลปริภูมิโดยการ Digitizing สามารถใช้การ Snap เพื่อใช้การปรับแก้ข้อมูลได้อย่างสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น โดยเข้าไปที่ Menu bar >> Setting >> Option >> Digitizing >> Snapping >> ก าหนดระยะ Tolerance ในการ Snap

รูปที่ 19 แสดงการก าหนดระยะ Tolerance เพื่อใช้ในการ Snap

ท าการทดสอบการน าเข้าข้อมูลปริภูมิโดยการ Digitizing เพื่อบันทึกข้อมูลลงสู่ระบบฐานข้อมูล เร่ิม

จากท าการเปิด Toggle editing แล้วใช้เคร่ืองมือ Capture Line เพื่อใช้ในการ Digitize ข้อมูลสายทาง เมื่อ

เสร็จสิ้นการ Digitize แล้วคลิกขวา จากนั้นกรอกข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute Data) ในหน้าต่าง Enter

Attribute Value

ระยะ Tolerance มี

หน่วยตาม Map Unit

Page 17: คู่มือ Quantum GIS v3

15

รูปที่ 20 แสดงการน าเข้าข้อมูลปริภูมิโดยการ Digitizing

รูปที่ 21 แสดงหน้าต่างของ Enter Attribute Value

4.4 การค านวณหาระยะทางและพื้นที่ (Measure length and areas)

ในการค านวณระยะทางหรือพื้นที่นั้นส่วนใหญ่มักใช้หน่วยในระบบเมตริก มีหน่วยเป็น เซนติเมตร

,เมตร หรือ กิโลเมตร (’units=m’) ในการค านวณข้อมูลแผนที่ในระบบพิกัด ฉาก คือ +proj=utm+zone=47

+ellps=WGS84+datum=WGS84+units=m+no_defs ซึ่งในบางครั้งข้อมูลแผนที่ที่น ามาใช้นั้นอยู่ในระบบพิกัดภูมิศาสตร์ คือ +proj=longlat+ellps=WGS84+datum=WGS84+no_defs มีหน่วยเป็นองศาหรือเรเดียน

(’units=degrees’) ท าให้ผลการค านวณไม่ตรงกับความต้องการ สามารถแก้ไขได้โดยขั้นตอนแรกก าหนด

Page 18: คู่มือ Quantum GIS v3

16

ระบบพิกัดให้กับข้อมูลก่อน (Define Projection) แล้วใช้ ‘Enable on the fly’ (CRS Transformation) โดยให้

แสดงผลในระบบพิกัดฉาก (+proj=utm+zone=47 +ellps=WGS84+datum=WGS84+units=m+no_defs)

รูปที่ 22 แสดงการก าหนด Projection Properties

หลังจากก าหนด Projection Properties แล้วท าการตรวจสอบ ค่าพิกัด และมาตราส่วนว่าถูกต้องหรือไม่ เมื่อท าการต้ังค่าดังกล่าวเรียบร้อยแล้วก็สามารถค านวณระยะทางและพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีหน่วยวัดตามต้องการ โดยกดปุ่ม และ

รูปที่ 23 แสดงเคร่ืองมือในการค านวณระยะทางและพื้นที่

4.5 การเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายตามมาตรฐานสากล OGC ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลภูมิสารสนเทศตามมาตรฐานสากล OGC มีข้อก าหนดหรือเงื่อนไขที่

ได้รับการยอมรับกว่า 313 ประเทศ (พ.ศ. 2549) และเป็นที่นิยมในการใช้งาน ได้แก่ SQL for Simple Feature (SF/SQL), Web Map Service (WMS), Web Feature Service (WFS) และมาตรฐานอ่ืนๆ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลภูมิสารสนเทศตามมาตรฐานดังกล่าวผ่าน Desktop GIS, Web Browser หรือ Open APIs เป็นต้น

Distance Area

Page 19: คู่มือ Quantum GIS v3

17

โปรแกรม Quantum GIS เป็น Desktop GIS หนึ่งที่สามารถเรียกดูข้อมูลภูมิสารสนเทศตามข้อมูลก าหนดของมาตรฐาน OGC โดยมีฟังก์ชั่นในการเข้าถึงข้อมูล การเชื่อมต่อกับเคร่ืองแม่ข่าย (Server Computer) ที่มีการติดต้ังแผนที่แม่ข่าย Map Server หรือ Geo Server การแสดงผลข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูลภายในระบบฐานข้อมูลปริภูมิ (Spatial Database System) ไม่ว่าจะเป็น PostgreSQL and PostGIS หรือ SQLite DB ผ่านโปรแกรม Quantum GIS

การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล PostgreSQL and PostGIS - ติดตั้งฐานข้อมูล PostgreSQL and PostGIS ที่เคร่ืองแม่ข่ายและน าเข้าข้อมูลแผนที่ในรูปแบบของตารางลงในฐานข้อมูล โดยตารางข้อมูลนั้นจะต้องก าหนด unique constraint key หรือ primary key มีประเภทข้อมูลเป็น int4 (integer of size 4 bytes) เพื่อให้โปรแกรมมองเห็นชั้นข้อมูลและข้อมูลเรขาคณิต (Geometry Column) - เปิดโปรแกรม Quantum GIS และ Start Service PostgreSQL and PostGIS ใน My Computer Management (Local) >> Service and Applications >> Service >> PostgreSQL Server - กดปุ่ม ในโปรแกรม Quantum GIS เพื่อก าหนดการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลโดยระบุเงื่อนไข (Creating a stored Connection)

รูปที่ 24 แสดงการเร่ิมต้นเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล PostgreSQL and PostGIS

กดปุ่ม New เพื่อก าหนด

เงื่อนไขในการเชื่อมต่อ

Page 20: คู่มือ Quantum GIS v3

18

รูปที่ 25 แสดงการก าหนดเงื่อนไขการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล PostgreSQL and PostGIS

รูปที่ 26 แสดงรายละเอียดการเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูล

- เมื่อเงื่อนไขการเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลแล้ว ทดสอบการเชื่อมต่อโดยการกดปุ่ม ok ใน Create a New PostGIS Connection ผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏชั้นข้อมูลต่างที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล - เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการน ามาแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ โดยการ Select Layer บนชั้นข้อมูลซึ่งสามารถเลือกได้มากว่า 1 ชั้นข้อมูลแล้วกดปุ่ม Connect เพื่อให้ข้อมูลแสดงผลในส่วนของ Map Display

ทดสอบการเชื่อมต่อกับ

ฐานข้อมูล PostgreSQL

Page 21: คู่มือ Quantum GIS v3

19

รูปที่ 27 แสดงรายการชั้นข้อมูลภายในระบบฐานข้อมูล PostgreSQL and PostGIS

- ผู้ใช้สามารถท าการปรับแก้ข้อมูลปริภูมิต่างๆในรูปแบบของ Vector Data บนระบบฐานข้อมูลได้ โดยกดปุ่ม

การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูล SQLite DB ระบบฐานข้อมูล SQLite DB เป็นระบบฐานข้อมูลปริภูมิประเภทหนึ่ง (SpatiaLite DB) ที่มี

การปรับปรุงให้สามารถจัดเก็บข้อมูลปริภูมิและมีคุณลักษณะที่ส าคัญคือเป็นระบบที่มีขนาดเล็กสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างไฟล์ (*.sqlite) ได้ที่ http://www.gaia-gis.it/spatialite/resources.html

- กดปุ่ม ในโปรแกรม Quantum GIS เพื่อก าหนดการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลและค้นหาไฟล์ (*.sqlite)

รูปที่ 28 แสดงการเชื่อมต่อฐานข้อมูล SpatiaLite DB

ค้นหาไฟล์ (*.sqlite) 1

2

3

4

Page 22: คู่มือ Quantum GIS v3

20

- กดปุ่ม New เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล SpatiaLite DB - ท าการค้นหาข้อมูล (*.sqlite) - กดปุ่ม Connect เพื่อท าการเชื่อมต่อฐานข้อมูล SpatiaLite DB - ท าการ Select Layer ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Add เป็นการยืนยันการร้องขอข้อมูล

รูปที่ 29 แสดงตัวอย่างการเปิดข้อมูลที่ได้จาก SpatiaLite DB

การเชื่อมต่อข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่าน Web Map Service (WMS) - กดปุ่ม เพื่อเรียกเคร่ืองมือ WMS Server ผ่านระบบเครือข่าย Internet

โดยเร่ิมต้นกด New Connection

รูปที่ 30 แสดง Add Layers from server

Page 23: คู่มือ Quantum GIS v3

21

รูปที่ 31 แสดงการก าหนดค่าพารามิเตอร์ในการเชื่อมต่อเพื่อขอใช้บริการข้อมูล WMS

รูปที่ 32 แสดงรายละเอียดการเชื่อมต่อกับ WMS service

ตัวอย่าง URL ที่เปิดให้บริการข้อมูล WMS

รูปที่ 33 แสดงผลการเชื่อมต่อ http://onearth.jpl.nasa.gov/wms.cgi

รูปที่ 34 แสดงผลการเชื่อมต่อ http://dt.gistda.or.th/wms/spot5

Page 24: คู่มือ Quantum GIS v3

22

ส าหรับนักพัฒนา Web GIS บนเคร่ืองแม่ข่ายสามารถใช้โปรแกรม Quantum GIS ในการ getCapability เพื่อตรวจสอบคุณลักษณะของชั้นข้อมูลแผนที่ที่ก าหนดบน MapServer หรือ GeoServer และน ามาแสดงผลข้อมูล OGC WMS Server Instances: OnlineResource: http://...hostname.../cgi-bin/mapserv.exe?MAP=D:/mapserver/ms4w/apps/gmap/htdocs/gmap75_wms.map GetCapabilities: http://...hostname.../cgi-bin/mapserv.exe?MAP=D:/mapserver/ms4w/apps/gmap/htdocs/gmap75_wms.map&SERVICE=wms&VERSION=1.1.1&REQUEST=GetCapabilities GetMap (this URL is incomplete according to WMS spec): http://...hostname.../cgi-bin/mapserv.exe?MAP=D:/mapserver/ms4w/apps/gmap/htdocs/gmap75_wms.map&SERVICE=wms&VERSION=1.1.1&LAYERS=bathymetry,land_fn&REQUEST=GetMap&SRS=EPSG:42304&BBOX=-2200000,-712631,3072800,3840000&FORMAT=image/png&WIDTH=400&HEIGHT=300

รูปที่ 35 แสดงตัวอย่างการร้องขอข้อมูลในรูปแบบ WMS ผ่าน Mapserver/CGI

Page 25: คู่มือ Quantum GIS v3

23

การเชื่อมต่อข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่าน Web Feature Service (WFS) - กดปุ่ม เพื่อเรียกเคร่ืองมือ WFS Server ผ่านระบบเครือข่าย Internet โดย

เร่ิมต้นกด New Connection

รูปที่ 36 แสดง Add WFS Layer from Server

รูปที่ 37 แสดงการก าหนดค่าพารามิเตอร์ในการเชื่อมต่อเพื่อขอใช้บริการข้อมูล WFS

OGC WFS Server Instances: OnlineResource: http://...hostname.../cgi-bin/mapserv.exe?MAP=D:/mapserver/ms4w/apps/gmap/htdocs/gmap75_wfs.map GetCapabilities: http://...hostname.../cgi-bin/mapserv.exe?MAP=D:/mapserver/ms4w/apps/gmap/htdocs/gmap75_wfs.map&SERVICE=wfs&VERSION=1.0.0&REQUEST=GetCapabilities GetFeature (this URL is incomplete according to WFS spec): http://...hostname.../cgi-bin/mapserv.exe?MAP=D:/mapserver/ms4w/apps/gmap/htdocs/gmap75_wfs.map&SERVICE=wfs&VERSION=1.0.0&TYPENAME=park&REQUEST=GetFeature

Page 26: คู่มือ Quantum GIS v3

24

4.6 การน าเข้าข้อมูลจากเคร่ืองรับสัญญาณดาวเทียม GPS GPS หรือ Global Positioning System เป็นเคร่ืองมือค้นหาต าแหน่งบนพื้นผิวโลกโดยใช้สัญญาณ

ดาวเทียม ข้อมูลที่ได้จาก GPS นั้นโปรแกรม Quantum GIS สามารถแสดงผลได้ในรูปแบบ waypoint, Route และ Tracks เป็นต้น

สามารถดาวน์โหลดตัวอย่างไฟล์ (*.gpx) ได้ที่ http://www.topografix.com/gpx_sample_files.asp เพื่อทดลองใช้งานในโปรแกรม Quantum GIS มี 5 ฟังก์ชั่นการท างาน คือ

1. Load GPX file 2. Import other file 3. Download from GPS 4. Upload to GPS 5. GPX Conversion

รูปที่ 38 แสดงฟังก์ชั่น Load GPX file

รูปที่ 39 แสดงฟังก์ชั่น Import other file

Page 27: คู่มือ Quantum GIS v3

25

รูปที่ 40 แสดงฟังก์ชั่น Download from GPS

รูปที่ 41 แสดงฟังก์ชั่น Upload to GPS

รูปที่ 42 แสดงฟังก์ชั่น GPX Conversion

Page 28: คู่มือ Quantum GIS v3

26

ตัวอย่างข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาใช้งานอยู่ในรูปแบบของ XML element (XML Instance Representation) ที่ 5 องค์ประกอบ คือ metadata, wpt, rte, trk และ extensions โครงสร้าง GPX file <gpx version="1.1 [1] ?"creator="xsd:string [1] ?">

<metadata> metadataType </metadata> [0..1] ? <wpt> wptType </wpt> [0..*] ? <rte> rteType </rte> [0..*] ? <trk> trkType </trk> [0..*] ? <extensions> extensionsType </extensions> [0..1] ?

</gpx> ตัวอย่าง wpt (Waypoint element) <wpt lat="42.438878" lon="-71.119277">

<ele>44.586548</ele> <time>2001-11-28T21:05:28Z</time> <name>5066</name>

<desc><![CDATA[5066]]></desc> <sym>Crossing</sym> <type><![CDATA[Crossing]]></type>

</wpt> ตัวอย่าง rte (Waypoint element) <rte>

<rtept lat="42.453256" lon="-71.121211"> <ele>77.992066</ele> <time>2001-11-07T23:53:41Z</time> <name>5252PURPLE</name>

<desc><![CDATA[Purple Rock Hill]]></desc> <sym>Summit</sym> <type><![CDATA[Summit]]></type>

</rtept> </rte>

Page 29: คู่มือ Quantum GIS v3

27

รูปที่ 43 แสดงตัวอย่างข้อมูล fells_loop.gpx 4.7 เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล Vector (Spatial Analysis)

โปรแกรม Quantum GIS มีเคร่ืองมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์ ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่นิยมใช้กันทั่วไป ตอบสนองความต้องการส าหรับนักภูมิสารสนเทศ โดยจะต้องมีการติดต้ัง Plugins Installer ก่อนจากนั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด Plugins มาใช้งานได้ฟรี ซึ่งเป็น Plugins ที่พัฒนาโดยใช้ภาษา Python ไม่ว่าจะเป็น Analysis Tools, Research Tools, Geoprocessing Tools, Geometry Toools, Data Management Tools ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในส่วนของ fTools Plugin (www.ftools.ca)

รูปที่ 44 แสดงฟังก์ชั่น fTools Plugin

Fells_loop.gpx ประกอบด้วย waypoint, route, track

Page 30: คู่มือ Quantum GIS v3

28

4.8 เครื่องมือจัดการข้อมูล Raster (Image Processing) โปรแกรม Quantum GIS มีเคร่ืองมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลราสเตอร์ ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่นิยมใช้

กันทั่วไปเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่อ้างอิงตาม Gdal Raster Utilities สามารถใช้งานได้ง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนการประมวลผล Gdal Utilities ผ่านโปรแกรม FWTools

รูปที่ 45 แสดงฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ข้อมูลราสเตอร์

5. การก าหนดคุณลักษณะต่างๆของชั้นข้อมูล (Layer Property) ท าการคลิกขวาที่ชั้นข้อมูลที่ต้องการก าหนดคุณลักษณะที่แสดงผลบน Legend

รูปที่ 46 แสดงการก าหนด Layer Property

Page 31: คู่มือ Quantum GIS v3

29

รูปที่ 47 แสดงการใช้งาน Layer Property

ใน Layer Properties ประกอบด้วย Tab ต่างๆ ดังนี้ General, Symbology, Metadata, Labels, Action,

Attribute เป็นต้น

รูปที่ 48 แสดง Symbolizing-options

Page 32: คู่มือ Quantum GIS v3

30

6. การติดตั้งเครื่องมือประมวลผลข้อมูลปริภูมิเพิ่มเติม (Add Plug-in) ซอฟต์แวร์ Quantum GIS มีเคร่ืองมือช่วยในการประมวลผลข้อมูลทางด้าน GIS มากมาย ซึ่งเป็นการน าเอา Spatial Analysis Algorithms ที่นิยมใช้กันมากมาสร้างเป็นฟังก์ชั่นบน Toolbars ของโปรแกรม ท าให้ผู้ใช้สามารถท างานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถติดต้ังหรือลบฟังก์ชั่นการท างานตามความพอใจของผู้ใช้ โดยการจัดการ Plug-in ต่างๆ เหล่านี้สามารถกระท าผ่านตัวโปรแกรมได้อัตโนมัติ การเข้าถึงกลุ่มนักพัฒนา Plug-in นั้นเป็นการเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ตผ่านโมดูล Plugin Installer (1.0.5) ที่พัฒนาโดยใช้ภาษา Python เป็นหลักภายใน Plugin Manager

รูปที่ 49 แสดง QGIS Plugin Manager

รูปที่ 50 แสดงลักษณะการเชื่อมต่อเพื่อติดตั้ง Plugin ต่างๆ

ผู้ใช้สามารถเพิ่ม Plugin ที่มี

การให้บริการโดยผ่าน Party

Repository Name ต่างๆ ซ่ึง

สามารถค้นหาได้ทางเว็บไซต์

Page 33: คู่มือ Quantum GIS v3

31

7. การพิมพ์รายงานข้อมูลแผนท่ี (Print Layout) การจัดท ารายงงานเพื่อแสดงผลข้อมูลแผนที่นั้น โปรแกรม Quantum GIS มีเคร่ืองมือจัดท า Layout

อยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ การใช้ Quick Print Plugin และ Print Composer

การใช้ Quick Print Plugin

เป็นการเลือกใช้ Template Layout ของโปรแกรม Quantum GIS ซึ่งสามารถ Print Layout ได้อย่าง

สะดวกรวดเร็วและง่ายต่อการจัดรูปแบบโดยการกดปุ่ม

รูปที่ 51 แสดง Quick Print Dialog

การใช้ Print Composer

เป็นการจัดท า Template Layout ด้วยตัวเองโดยสามารถตกแต่งหน้าตารายงานข้อมูลแผนที่โดยใช้

เคร่ืองมือที่ก าหนดในฟังก์ชั่น Print Composer (Menu Bar >> File >> Print Composer) หรือกด Ctrl + P

รูปที่ 52 แสดง Print Composer

Add Layer

Add Legend

Add Scale

Map Setting

Page 34: คู่มือ Quantum GIS v3

32

เอกสารอ้างอิง

MS4W - MapServer 4 Windows - version 2.3.1 [Online]. Available from : http://constitutionalcourt.or.th/ [2009 September 10] Quantum GIS Developers Corner [Online]. Available from : http://www.qgis.org/wiki/Developers_Corner

[2009 September 2] Quantum GIS User Guide Version 1.1.0 ’Pan’. API Documentation. [Online]. Available from :

http://download.osgeo.org/qgis/doc/manual/qgis-1.1.0_user_guide_en.pdf [2009 September 20]