ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

54
ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี 21-22 เมษายน 2557 http://www.slideshare.net/nawanan

Upload: nawanan-theera-ampornpunt

Post on 07-May-2015

964 views

Category:

Health & Medicine


1 download

TRANSCRIPT

Page 1: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

21-22 เมษายน 2557

http://www.slideshare.net/nawanan

Page 2: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

แนะนําตัว

2003 M.D. (Ramathibodi) (First-Class Honors)

2009 M.S. in Health Informatics (U of MN)

2011 Ph.D. in Health Informatics (U of MN)

รองผู้อํานวยการบริหารสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ฝ่ายสารสนเทศ

คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

[email protected]

หัวข้อวิจัยที่สนใจ• การนํา Health IT มาใช้ในรูปแบบต่างๆ ในโรงพยาบาล

• ปริมาณการใช้ Health IT (“Health IT adoption”)

Page 3: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศคืออะไร?

Page 4: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศ

• Information System

– ระบบที่มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาใช้

เพื่อสนับสนุนกระบวนการทํางานบางอย่างของมนุษย์

– ใช้เทคโนโลยีเป็น เครื่องมือ เพื่อให้ข้อมูล (Deliver information) และ

สนับสนุนกระบวนการทํางาน (business processes) ให้กับ ผู้ใช้งาน

(users) ในการทํางานหนึ่งๆ

– เช่น ระบบการฝาก-ถอนเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ระบบการลงทะเบียน

เรียนผ่านเว็บ ระบบ e-learning ระบบจองตั๋วเครื่องบิน ระบบแสดงตาราง

เที่ยวบิน เป็นต้น

Page 5: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ทําไมต้องมีระบบสารสนเทศ

• เชื่อมโยงข้อมูลจากหลายสถานที่

• การประมวลผลที่รวดเร็ว

• การทํางานร่วมกันหลายคน

• ลดโอกาสผิดพลาด หรือความไม่สม่ําเสมอของคุณภาพงาน

Image Source: http://en.wikipedia.org/wiki/Logistics_automation

Page 6: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

Hardware Software

Peopleware Data

- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งเครื่อง

แม่ข่าย (Servers) และเครื่องลูก

ข่าย (Clients)

- ระบบเครือข่าย (Network)

- ระบบปฏิบัติการ (Operating

System) เช่น Windows XP

- โปรแกรมช่วยสนับสนุนการ

ทํางาน (System Utilities) เช่น

Antivirus

- โปรแกรมประยุกต์

(Applications) เช่น Microsoft

Word หรือ Hospital

Information System

- ข้อมูลที่เก็บในระบบ

- ผู้ใช้งาน

โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (IT Infrastructure)

Page 7: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบตู้กดเงินอัตโนมัติ (ATM)

Image Source: http://www.gsb.or.th/products/personal/services/atm.php

Page 8: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบแสดงตารางเที่ยวบิน

Image Source: http://www.m7worldwide.com/checkaflight.html

Page 9: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

(Hospital Information System)

Page 10: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ข้อมูล (Information)

มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในทางการแพทย์

Page 11: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

หลากหลายรูปแบบของ Health IT

Hospital Information System (HIS) Computerized Provider Order Entry (CPOE)

Electronic Health

Records (EHRs)

Picture Archiving and Communication System

(PACS)

Page 12: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

อีกหลายรูปแบบของ Health IT

m-Health

Health Information Exchange (HIE)

Biosurveillance

Information RetrievalTelemedicine &

Telehealth

Images from Apple Inc., Geekzone.co.nz, Google, PubMed.gov, and American Telecare, I

Personal Health Records (PHRs)

Page 13: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศที่ใช้ในโรงพยาบาล

จําแนกตามลักษณะงาน

• ระบบงานบริการผู้ป่วย (Front Office)

• ระบบงานบริหารจัดการ ที่ไม่เกี่ยวกบังานบริการ (Back Office)

Page 14: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Front Office

• ระบบงานบริการผู้ป่วย (Front Office)

– ระบบเวชระเบยีนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Records

หรือ Electronic Health Records)

– ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System)

หรือระบบสารสนเทศทางคลินิก (Clinical Information System)

– ระบบงานย่อยๆ ของหน่วยบริการภายในโรงพยาบาล

Page 15: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Back Office

• ระบบงานบริหารจัดการ ที่ไม่เกี่ยวกับงานบริการ (Back Office)

– ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems

หรือ MIS)

– ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning

หรือ ERP)

– ระบบสารสนเทศการวิจัยและการศึกษา

– เว็บไซต์ และอินทราเน็ตภายในองค์กร

– ระบบงานสารบรรณ (การเวียนเอกสาร)

Page 16: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล

จําแนกตามหน่วยงานที่ใช้ใช้ทั่วทั้งองค์กร หรือหลายหน่วยงาน (Enterprise-wide Systems)

• MPI, ADT

• EHRs/EMRs/HIS/CIS

• CPOE & CDSS

• PACS

• Nursing applications

• MIS, ERP

Page 17: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล

จําแนกตามหน่วยงานที่ใช้ใช้เฉพาะบางหน่วยงาน (Departmental Systems)

• ระบบงานห้องยา (Pharmacy applications)

• LIS, RIS

• ระบบเฉพาะทาง (Specialized applications) เช่น ระบบงาน ER,

OR, LR, Anesthesia, Critical Care, Blood Bank

• E-Learning

Page 18: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Master Patient Index (MPI)

• ระบบทะเบียนผู้ป่วย

• Functions

– การลงทะเบียน (Registration) และระบุตัวตน (identification)

ของผู้ป่วย โดยใช้เลขประจําตัวผู้ป่วย (HN)

– การบันทึกและแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย (patient

demographics)

– ระบบอื่นๆ ในโรงพยาบาลมักใช้ข้อมูลจากระบบนี้เพื่อระบุตัวตน

หรือสอบถามข้อมูลเกีย่วกับตัวผู้ป่วย

Page 19: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Admission-Discharge-Transfer (ADT)

• ระบบงานรับผู้ป่วยใน จําหน่าย และย้าย/ส่งต่อผู้ป่วย

• Functions

– สนับสนุน Admission, Discharge และ Transfer ผู้ป่วย

(เรียกกระบวนการ ADT ว่า “patient management”)

– ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของผู้ป่วยวา่ admit อยู่หรือไม่ รวมทั้งหอ

ผู้ป่วยที่ admit

– ให้ข้อมูลที่ใช้ในการคํานวณอัตราครองเตียง (bed occupancy)

– เชื่อมโยงกับระบบการเงิน และการส่งข้อมูลเพื่อเบิกจ่ายค่า

รักษาพยาบาล

Page 20: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Bed Management (from ADT System)

Page 21: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบตรวจสอบสิทธิค่ารักษาพยาบาล

(Insurance Eligibility System)

• Functions

– ตรวจสอบว่าผู้ป่วยมสีิทธิคา่รักษาพยาบาลอะไรบ้าง เช่น สิทธิ

ประกันสุขภาพ (30 บาท), สิทธิประกันสังคม, สิทธิข้าราชการ

เป็นต้น หรือไม่มีสิทธิใดๆ (เงินสด)

– ตรวจสอบว่าสิทธิค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย ครอบคลุมการ

บริการที่ผู้ป่วยจะได้รับหรือไม่ (coverage) เพื่อคํานวณคา่ใช้จ่าย

– อาจต้องเชื่อมโยงกับระบบตรวจสอบสิทธิค่ารักษาพยาบาลของ

หน่วยงานต่างๆ เช่น สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สํานักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง

Page 22: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบนัดหมายผู้ป่วย

(Appointment Scheduling)

• Functions

– บันทึกข้อมูลการนัดหมายของผู้ป่วย

– กําหนดจํานวนผู้ป่วยที่สามารถนัดได้ต่อแพทย์หรือต่อหน่วยตรวจ

– สนับสนุนการเลื่อนนัดหรือยกเลิกนัด

– แสดงรายชื่อผู้ป่วยที่นัดหมายในวันหนึ่งๆ ของแต่ละหน่วยตรวจได้

– สามารถปรับจํานวนผู้ป่วยที่สามารถนัดได้ หรือกําหนดวันหยุดที่

ห้ามนัดได้

Page 23: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบงานพยาบาล (Nursing Applications)

Functions (บางส่วน)

• บันทึก nursing assessments, interventions และ nursing

outcomes

• ช่วยสนับสนุนการลง charting และ vital sign recording

• อาจใช้มาตรฐานข้อมูลทาง nursing informatics

• ช่วยในการบันทึกแผนการรักษา (care-planning)

• สนับสนุนการสื่อสารภายในทีมและระหว่างเวร เช่น ระบบ e-Kardex

• บันทึกเหตุการณ์ความเสี่ยง (incidents) ต่างๆ

Page 24: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบงานห้องยา (Pharmacy Applications)

Functions

• สนับสนุนกระบวนการทํางาน (workflow) ตั้งแต่การสั่งยา

(medication orders/prescription) ไปจนถึงการจ่ายยา

(dispensing) และการคิดราคายา

• ลดความผิดพลาดทางยา (medication errors) และช่วยส่งเสริม

ความปลอดภัยทางยา (medication safety)

• ช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการคลังยา (drug inventory

management)

Page 25: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Laboratory Information System (LIS)

Functions

• รับข้อมูลและประมวลผล Lab orders ที่มีการสั่งมา

• การ match tube และ specimen กับผู้ป่วย ในระบบ

• กระบวนการภายในห้อง Lab

– การประมวลผล Order (Order processing)

– การลงทะเบียนรับ specimen (Specimen registration & processing)

– การตรวจสอบผลและรายงานผล Lab (Lab results validation &

reporting)

– การเก็บ Specimen ไว้ในคลัง (Specimen inventory)

Page 26: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบภาพทางการแพทย ์(Imaging Applications):

ระบบแสดงภาพ (PACS)

Picture Archiving and Communication System (PACS)

• รับภาพ x-ray จากเครื่อง x-ray modalities ต่างๆ และบันทึกเข้าสู่ระบบ

• การแสดงภาพ x-ray ให้บุคลากรทางการแพทย์อ่าน

• ส่วนใหญ่ใช้กับภาพ x-ray เป็นหลัก แต่อาจใช้ในสาขาเฉพาะทางอื่นๆ ได้ เช่น

โรคหัวใจ ส่องกล้อง พยาธิวิทยา และจักษุวิทยา เป็นต้น

• ข้อดี: ประหยัดพื้นที่เก็บฟิล์ม x-ray, ค่าพิมพ์ฟิล์ม ป้องกันการทําฟิล์ม x-ray

สูญหาย สามารถดูภาพพร้อมกันหลายคนได้ ดูภาพจากทางไกล (เช่น ที่บ้าน)

ได้ รวมทั้งคุณสมบัติในการคํานวณและประมวลผลภาพด้วยคอมพิวเตอร์

(image processing & manipulation)

Page 27: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบภาพทางการแพทย ์(Imaging Applications):

ระบบสารสนเทศทางรังสีวิทยา

Radiology Information System (RIS) หรือ Workflow

Management

• สนับสนุนกระบวนการทํางาน (workflow) ภายในหน่วยงานรังสี

วิทยา (radiology department) ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย

(patient registration) การนัดหมายเอกซเรย์ (appointments &

scheduling) การส่งปรึกษา (consultations) การพิมพ์รายงานการ

อ่านภาพเอกซเรย์ (imaging reports) เป็นต้น

Page 28: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบงานการเงิน (Billing System)

• Functions

– คํานวณค่าบริการสําหรับการให้บริการที่ผู้ป่วยได้รับ

– คํานวณค่าใช้จ่ายที่ต้องเรียกเก็บตามสิทธิค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วย

(insurance eligibility) และความครอบคลุมการบริการต่างๆ (coverage)

– บันทึกจํานวนเงินที่ผู้ป่วยชําระและยอดคงเหลือ เพื่อการติดตามทวง

ค่าใช้จ่ายในอนาคต

– ส่งข้อมูลยอดเงินที่ได้รับไปยังระบบบัญชีหรือระบบ Back Office เพื่อ

บันทึกรายได้ของโรงพยาบาล และเพื่อการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่

เหลืออยู่จากกองทุนต่างๆ (reimbursement claims to government

agencies)

Page 29: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Enterprise Resource Planning

• ระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร

• Some Functions

– การคลัง (Finance)

• บัญชี (Accounting)

• งบประมาณ (Budgeting)

• การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost control and management)

Page 30: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Enterprise Resource Planning

• Some Functions (ต่อ)

– การพัสดุ (Materials Management)

• การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement)

• การบริหารคลังพัสดุ (Inventory management)

– การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resources)

• การคัดเลือกและบรรจุ (Recruitment) การประเมิน (evaluation) การเลื่อนขั้น

(promotion) และการลงโทษทางวินัย (disciplinary actions) บุคลากร

• การอบรมและพัฒนาศกัยภาพบุคลากร (Human resource development

and training)

• การจ่ายเงินเดือนและคา่ตอบแทน (Payroll) และสิทธิประโยชน์ของบุคลากร

Page 31: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

(Electronic Medical Records)

Page 32: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

เวชระเบียนผู้ป่วย (Medical Records)

Page 33: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

เวชระเบียนคืออะไร?

• เอกสารที่บันทึกข้อมูลประวัติการเจ็บปว่ยของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย

และการให้การรักษาของสถานพยาบาล

• Medical Records vs. Health Records

– มีความหมายเหมือนกนั

Page 34: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Class Discussion #1

• ทําไมเราจึงต้องมเีวชระเบียนผู้ป่วย?

• กล่าวคือ ทําไมเราจึงต้องมีการบันทึกประวัติผู้ป่วยและการให้

การรักษาของบุคลากรทางการแพทย์?

Page 35: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

การใช้ประโยชน์จากเวชระเบียน

• เพื่อความต่อเนื่องในการดูแลรักษา (Continuity of Care)

– บันทึกข้อมูลสําคัญสําหรับการดูแลรักษาในอนาคต

– สําคัญมากสําหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (chronic diseases) เช่น เบาหวาน

ความดันโลหิตสูง หรือกรณีนัดตรวจติดตามผล (follow-up) เช่น หลัง

ผ่าตัด

• เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

– ป้องกันอันตรายที่ผู้ป่วยอาจได้รับเพราะไม่ทราบประวัติผู้ป่วย

– เช่น ประวัติแพ้ยา (drug allergies), list of current medications,

problem list

Page 36: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

• เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกัน

– ส่งต่อผู้ป่วยไปยังแพทย์เฉพาะทางหรือบุคลากรทางการแพทย์คนอื่น

– การส่งปรึกษา (Consultation) ระหว่างแพทย์

– การสื่อสารระหว่างแพทย์กับพยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด เป็นต้น

– ส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลหนึ่งไปโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง

• เพื่อประโยชน์ทางกฎหมาย (Medico-legal purposes)

– เป็นหลักฐานในศาล กรณีมีการฟ้องร้อง

– บันทึกสิ่งที่ได้ทําหรือให้การรักษากับผูป้่วย เหตุผลในสิ่งทีท่าํ ทําโดยใคร เมื่อใด

– ให้ข้อมูลเพื่อตอบคําถามว่า การดูแลรักษา ได้มาตรฐานวิชาชีพหรือไม่

การใช้ประโยชน์จากเวชระเบียน

Page 37: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

• เพื่อการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล (Claims & Reimbursements)

– ได้ให้บริการอะไรให้กับผู้ป่วย

– โรงพยาบาลจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเทา่ใดและอย่างไร

– การตรวจสอบ (Audit) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการขอเบิกจ่ายคา่

รักษาพยาบาล

• เพื่อการใช้ประโยชน์ของผู้ป่วยเอง

– เพื่อการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษทัประกันของผู้ป่วย

– เพื่อการเรียนรู้ของตนเอง หรือการดูแลตนเอง

• เพื่อการวิจัย

– เพื่อค้นหาความรู้ใหม่จากประวัติการรักษาผู้ป่วย ผ่านการทําวิจัย

การใช้ประโยชน์จากเวชระเบียน

Page 38: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

เวชระเบียน “อิเล็กทรอนิกส์”

“Electronic” Medical Records

• Electronic Medical Records (EMRs) vs.

Electronic Health Records (EHRs)

• ความหมายเหมือนหรือต่างกัน แล้วแต่มุมมอง

• สรุป

– นิยามของ 2 คํานี้ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน

– ในไทย มักใช้ EMRs แต่มีความหมายเหมือนกันกับ EHRs

– อาจรวมทั้งเวชระเบียนสแกน (Scanned Medical Records) และข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่

คอมพิวเตอร์โดยตรง

Page 39: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

คุณประโยชน์ของ EHRs

และ Health IT

Page 40: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Class Exercise #2

• ระบบเวชระเบยีนอิเล็กทรอนิกส์ มี

ประโยชน์อย่างไรเมื่อเทียบกับเอกสาร

เวชระเบียนในกระดาษ?

Page 41: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Health IT มีประโยชน์หรือไม่?

(IOM, 2000)

Page 42: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ทําไมเราจึงจําเป็นต้องใช้ Health IT?

• Health care ซับซ้อน และขาดประสิทธิภาพ

• Health care มี information อยู่ทุกหนทุกแห่ง

• คุณภาพการรักษาขึ้นอยู่กบัคณุภาพของข้อมูลผู้ปว่ยและการมีข้อมูลที่

เข้าถึงได้อย่างทันท่วงที

• องค์ความรู้ทางคลินิกมีขนาดใหญ่มาก

• “To err is human”

Page 43: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Image Source: aafp.org

To Err Is Human

• การขาดสมาธิ (Lack of Attention)

Page 44: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ประโยชน์ของการใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

(EHRs)

• ข้อมูลที่เข้าถึงได้ทุกที ่(anytime, anywhere, everyone ที่มีสิทธิเข้าถึง)

• เข้าถึงข้อมูลพร้อมกันได้หลายคน

• หมดยุคของ “เล่มเวชระเบียนผูป้่วยหายไปไหน!!!!!”

• สามารถควบคุมผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลได้ดีกว่าการเข้าถึงเลม่เวชระเบียน

• สามารถบังคับให้บันทึกข้อมูลให้ละเอียด ครบถ้วน ได้มาตรฐานได้

• ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลทีเ่ข้าใจง่าย เช่น กราฟ

• การป้อนข้อมูลเข้าที่รวดเร็วขึ้น (แตบ่างครั้งก็อาจช้าลงได้เหมือนกัน)

• การปรับปรุงกระบวนการทํางาน หรือ workflow เรียกว่า Process improvement หรือ

business process reengineering/redesign

• ไม่มีลายมือแพทย์!!!!!

Page 45: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Computerized Physician Order Entry (CPOE)

Functions

• แพทย์สั่ง medication/lab/diagnostic/imaging orders ผ่านคอมพิวเตอร์

• พยาบาลและเภสัชกร ตรวจสอบความเหมาะสมของ orders และรับไปดําเนินการ

• มักถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบ EHRs หรือ HIS

ประโยชน์

• ไม่มีลายมือแพทย์ใน Order!!!

• สามารถกําหนดให้ป้อนข้อมูลให้ครบถ้วนได้ (เช่น dose, unit, route, frequency ในการสั่งยา) ลด

โอกาสผิดพลาด

• ไม่มีกระบวนการคัดลอก order (transcription) ลดโอกาสผิดพลาด

• สามารถนําระบบช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก (CDSS) มาช่วยได้ (เช่น ตรวจสอบการแพ้ยา หรือ

drug interactions)

• ช่วยให้กระบวนการจากการสั่ง order ไปจนถึงสิ้นสุดกระบวนการ รวดเร็ว มีการประสานงานร่วมกัน

Page 46: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Computerized Physician Order Entry (CPOE)

Page 47: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

กระบวนการทางยา (Stages of Medication Process)

Ordering Transcription Dispensing Administration

CPOEAutomatic Medication Dispensing

Electronic Medication

Administration Records (e-MAR)

BarcodedMedication

Administration

BarcodedMedication Dispensing

Page 48: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Clinical Decision Support Systems (CDSS)

• ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก (สนับสนุน Clinical Decision Making)

• CDSS มีหลากหลายรูปแบบ

– Expert systems (ทําหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ตอบคําถามหรือให้ข้อมูลที่ต้องการ)

• ใช้ artificial intelligence, machine learning, ตรรกะ หรือวิธีการทางสถิติ

• ตัวอย่าง: ระบบที่ช่วยให้ differential diagnoses หรือแนะนําแนวทางการรักษา

– Alerts & reminders (การเตือนให้ทําหรือไม่ทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง)

• อาศัยเงื่อนไขตามที่ได้รับการออกแบบ

• ตัวอย่าง: drug-allergy checks, drug-drug interaction checks, drug-lab interaction

checks, reminders for preventive services or certain actions (e.g. smoking

cessation), clinical practice guideline integration

– ฐานข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลยา (drug database)

– ระบบง่ายๆ ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เช่น การ highlight ผล lab ที่ผิดปกติ เป็นต้น

Page 49: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ตัวอย่าง Alerts & Reminders ในชีวิตประจําวัน

Page 50: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

ปัญหาจากการใช้ระบบสารสนเทศ

Issues

• การที่สมองล้าจากข้อความเตือนที่ปรากฏมากเกินไป (Alert fatigue)

Page 51: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Issues

• ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้งาน (Unintended Consequences) เช่น ทาง

ลัด หรือ workarounds ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมา ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยได้

ปัญหาจากการใช้ระบบสารสนเทศ

Page 52: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

The Bigger Picture:Health Information Exchange (HIE)

Hospital A Hospital B

Clinic C

Government

Lab Patient at Home

Page 53: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

• ในโรงพยาบาลมีระบบสารสนเทศหลายระบบ หลายรูปแบบ

• ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) มักหมายถึง “Front Office” ที่

เกี่ยวข้องกับการบริการผู้ป่วย ของระบบสารสนเทศต่างๆ ในโรงพยาบาล

• HIS และ EHRs ถูกใช้เพื่อสนับสนุนกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย สนับสนุน

การตัดสินใจทางคลินิก เพิ่มคุณภาพการรักษา และลดค่าใช้จ่าย

• HIS และ EHRs เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศที่ใช้ในระบบ

สุขภาพในภาพรวม (ทั้งในและนอกโรงพยาบาล)

• การใช้ระบบสารสนเทศอาจมีผลที่ไม่พึงประสงค์ (unintended

consequences) เกิดขึ้นได้ จึงควรใช้งานให้ถูกต้องตามที่ออกแบบมา

สรุป

Page 54: ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

Questions?