ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ...

156
ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร สาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี วิรัตน แกวบุญชู สารนิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดลอม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร .. 2552

Upload: others

Post on 10-Jul-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

ปจจัยท่ีสงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสขุภาพชุมชน จังหวดักาญจนบุรี

วิรัตน แกวบุญช ู

สารนิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดลอม)

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร

พ.ศ. 2552

Page 2: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·
Page 3: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บทคัดยอ

ชื่อสารนิพนธ : ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร สาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวดักาญจนบุรี ชื่อผูเขียน : นายวิรัตน แกวบุญช ูชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑติ (การจัดการสิ่งแวดลอม) ปการศึกษา : 2552

การศึกษาครั้งนี้ เปนการศึกษาเชิงสํารวจ ( Survey Research) มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยวิเคราะหหาความสัมพันธของปจจัยตางๆ ที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และเพื่อหาวิธีการหรือมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน

กลุมตัวอยางที่ใชในการศึกษานี้ เปนบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน จํานวน 199 คน ซ่ึงทําการเก็บขอมูลโดยใชแบบสอบถาม โดยสอบถามในประเด็นที่เกี่ยวกับขอมูลสวนบุคคลของผูปฏิบัติ ความรูและ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อรวมถึงแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และทําการวิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ไดแก ความถี่ และรอยละ การวิเคราะหความแตกตางของตัวแปร ใชคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบคาที (t-test) แบบ Independent t-test สวนการวิเคราะหหาความสัมพันธใชสถิติวิเคราะห Pearson Correlation

ผลจากการวิเคราะหขอมูลพบวา ผูปฏิบัติงานดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี รอยละ 51.3 มีระยะเวลาปฏิบัติงานมากกวา 20 ปขึ้นไป และเปน ผูที่มีอายุตั้งแต 41 ปขึ้นไปรอยละ 52.7 มีสัดสวนของเพศหญิงและชายใกลเคียงกัน คือ รอยละ 48.2 และ 51.8 ตามลําดับ สวนใหญมีการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเปนรอยละ 75.9 สวนตําแหนงหนาที่สวนใหญเปนนักวิชาการสาธารณสุข รอยละ 57.3 ทั้งนี้ยังพบวา บุคลากรสาธารณสุขที่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ และระยะเวลาปฏิบัติงานตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับ

Page 4: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

(4)

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อไมแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 สําหรับการสํารวจความรูของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบวาผูตอบแบบสอบถาม รอยละ 68.8 มีความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระดับปานกลาง รอยละ 17.6 มีความรูระดับสูง และรอยละ 13.6 มีความรูระดับต่ํา โดยผูปฏิบัติมีระดับความรูในขั้นตอนการรวบรวมนอยกวาขั้นตอนอื่นๆ และเมื่อวิเคราะหหาความสัมพันธของความรูและการปฏิบัติ พบวาความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธในเชิงบวก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

สําหรับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคของผูปฏิบัติงาน พบวามีคะแนนในระดับสูง แสดงใหเห็นถึงประสิทธิภาพการใหความรู และการรับรูขอมูลขาวสารของหนวยงานและผูปฏิบัติงาน และจากคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธพบวาการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธในเชิงบวก อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการสํารวจพบวาผูปฏิบัติงานสวนใหญ มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบวาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธในทิศทางตรงกันขามกัน

Page 5: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

Abstact

Title of Thesis : Factors Influential affecting the efficiency of Infectious Waste Management of Public Health’s Personnel in Primary Care Unit, Kanchanaburi Province. Author : Mr. Wirat Kaewbunchoo Degree : Master of Science (Environmental Management) Year : 2009 This research was conducted to evaluate the efficiency of infectious waste management of the public health’s personnel in Primary Care Unit, Kanchanaburi Province. In order to fulfill the main objective of improving the infectious waste management, the data used to analyze the efficiency are personal factors, public health personnel ‘s knowledge about the infectious waste management, the opportunity of public health’s personnel to acquire new knowledge in the risk of disease occurred from waste and the motivation in work. The samples were 199 of public health ’s personnel working in Primary Care Unit, Kanchanaburi Province. The descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, standard deviation were employed in the study. Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient was used to reveal the relationship between the factors studied and the infectious waste management efficiency. It was found from the survey that 51.3 % of the public health personnel in the study area had work experience on the infectious waste management more than 20 years and about half of the sample (52.7 %) were over 41 years old. The proportion of gender is nearly the same, 48.2 % of them were female and 51.8 % of them were male. Most of them graduated in the Bachelor’s degree of 75.9 % and 57.3 % of them were Public Health Technical officers. The results showed that age, education level, job position and work experience were not significant at 0.01 level to the efficiency of the infectious waste management. The samples had high, moderate and low levels of knowledge in the infectious waste management at 13.6%, 68.8 %, and 17.6 %, respectively. Furthermore, the samples had the knowledge in the collecting step less than others.

Page 6: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

(6)

The results from the Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient test illustrated that the level of knowledge in the infectious waste management and the opportunity of public health‘s personnel to acquire new knowledge in the risk of disease occurred from infectious waste was positively significant to the infectious waste management at 0.01 level. The level of motivation to work was moderate, however, it was not significant to the efficiency of the infectious waste management.

Page 7: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

กิตติกรรมประกาศ

ในการศึกษา เร่ือง ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ

บุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี สําเร็จไดดวยความกรุณาและความชวยเหลือเปนอยางดีจาก ผูชวยศาสตราจารย ดร.วิสาขา ภูจินดา อาจารยที่ปรึกษา ที่ไดใหคําชี้แนะแนวทางในการดําเนินการศึกษา ตลอดจนตรวจสอบ ปรับปรุง แกไขขอบกพรองตาง ๆ ดวยความเอาใจใสในทุกขั้นตอน จนทําใหการศึกษาครั้งนี้เสร็จสมบูรณ จึงกราบขอบพระคุณเปนอยางสูง ไว ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณอาจารยประจําหลักสูตรการจัดการสิ่งแวดลอมทุกทาน ที่ถายทอดความรู ประสบการณตาง ๆ ตลอดจนการใหคําปรึกษา และคําแนะนํา จนทําใหการศึกษาสําเร็จเปนอยางดี

ขอขอบพระคุณนายแพทยบุญนํา ชัยวิสุทธิ์ นายแพทยสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ที่ใหคําปรึกษา และใหการสนับสนุน การศึกษาในครั้งนี้ และขอขอบคุณสาธารณสุขอําเภอทุกอําเภอ เจาหนาที่กลุมงานสนับสนุนวิชาการ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ที่ใหความชวยเหลือในการเก็บขอมูล การตรวจสอบขอมูล และใหขอเสนอแนะตาง ๆ

ขอขอบคุณเจาหนาที่สาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชนทุกทาน ที่ไดใหความกรุณาตอบแบบสอบถาม และใหขอมูลในการศึกษาครั้งนี้

สุดทายขอมอบความดี และประโยชนที่ไดรับจากการศึกษาในครั้งนี้ใหแด บุพการี และผูมีพระคุณทุกทาน โดยเฉพาะเพื่อนรุน หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดลอม ภาคพิเศษ รุนที่ 5 ที่คอยเปนกําลังใจและใหการชวยเหลือตลอดมา และขอขอบคุณผูมีสวนเกี่ยวของ แตไมไดเอยนาม ทุกทาน ที่ทําใหการศึกษาครั้งนี้ประสบความสําเร็จลงดวยดี วิรัตน แกวบุญชู ตุลาคม 2552

Page 8: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

สารบัญ

หนา

บทคัดยอ (3) Abstact (5) กิตติกรรมประกาศ (7) สารบัญ (8) สารบัญตาราง (10) สารบัญภาพ (11) บทท่ี 1 บทนํา 1.1 ความเปนมาและความสาํคัญของปญหา 1 1.2 วัตถุประสงคการศึกษา 3 1.3 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 3 1.4 ขอบเขตการศึกษา 4 1.5 นิยามศัพทเฉพาะ 4

บทท่ี 2 แนวคิดทฤษฎแีละงานวิจัยท่ีเก่ียวของ 2.1 ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 5 2.2 สถานการณการจดัการมลูฝอยติดเชื้อ 37 2.3 ความรูเกี่ยวกับศูนยสุขภาพชุมชน 39 2.4 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู 50 2.5 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู 54 2.6 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ 63 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวของ 77

บทท่ี 3 กรอบแนวคิดและวิธีวิจัย 3.1 กรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย 83

3.2 ตัวแปรที่ใชในการวิจัย 85 3.3 สมมติฐานการวิจัย 86

Page 9: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

(9)

3.4 นิยามศัพทเชิงปฏิบัติการ 86 3.5 ประชากรและกลุมตัวอยาง 87 3.6 เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 89 3.7 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 94 3.8 วิธีการเก็บรวบรวมขอมูล 94 3.9 วิธีการวิเคราะหขอมูล 96

บทท่ี 4 ผลการศึกษา 4.1 การวิเคราะหขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม 99

4.2 การวิเคราะหระดับความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การปฏิบัติ 101 เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการ เกิดโรค และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน 4.3 การทดสอบสมมติฐาน 110 4.4 โครงการแกไขปญหาดานการจัดการความรูของบุคลากรสาธารณสุข 114

บทท่ี 5 สรุป อภิปราย ขอเสนอแนะ 5.1 ขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม 119 5.2 การวิเคราะหระดับความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และความสัมพันธ 120 ระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการ จัดการมูลฝอยติดเชื้อ 5.3 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและความสัมพันธระหวางการ 124 รับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 5.4 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความสัมพันธระหวางแรงจูงใจในการ 125 ปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 5.5 ขอเสนอแนะ 127 5.6 สรุปผลการศึกษา 128

บรรณานุกรม 129 ภาคผนวก 135 ประวัติผูเขียน 139

Page 10: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

สารบัญตาราง

ตารางที่ หนา 3.1 จํานวนประชากรและกลุมตัวอยางของบุคลากรสาธารณสุข 88 3.2 เกณฑการใหคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 92 3.3 เกณฑการใหคะแนนความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 93 3.4 เกณฑการใหคะแนนแรงจูงใจในการการปฏิบัติงานของบุคลากร 93 4.1 ความถี่และรอยละของขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม 100 4.2 จํานวนและรอยละของความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ 101

ของกลุมตัวอยางที่ตอบถูกและตอบผิด 4.3 คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 103 4.4 รอยละของระดับความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของผูตอบแบบสอบถาม 104 4.5 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ 105

มูลฝอยติดเชื้อ 4.6 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิด 107

โรคจากมูลฝอยติดเชื้อ 4.7 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 109

ของบุคลากรสาธารณสุข 4.8 ผลการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว ( One-way ANOVA) ของการ 110

ปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ และระยะเวลาปฏิบัติงาน

4.9 ผลการทดสอบความแตกตางของคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ 111 ของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตามเพศ ดวยวิธีการทดสอบ คาที (t - test Independent)

4.10 คาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 112 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สาธารณสุข และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

Page 11: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

สารบัญภาพ ภาพที ่ หนา 2.1 เตาเผาแบบหลายหองเผา (Multiple-chamber incinerators/retort type) 28 2.2 เตาเผาแบบหลายหองเผา (Multiple-chamber incinerators/Inline type) 29 2.3 เตาเผาประเภทใชอากาศนอย (Starved air หรือ Controlled air incinerator) 30

2.4 เตาเผาแบบหมุน (Rotary Kiln incinerator) 31 2.5 แสดงกระบวนการรับรู 55 2.6 รูปแบบความเชื่อดานสุขภาพที่ใชทํานายพฤติกรรมการปองกันโรค 62 2.7 แบบจําลองเบือ้งตนของการจูงใจ 63 3.1 กรอบแนวคิดที่ใชในการศึกษา 84 3.2 จํานวนกลุมตัวอยางในแตละอําเภอ 88 5.1 สรุปผลการศึกษา 128

Page 12: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บทที่ 1 บทนํา

1.1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา

ปจจุบันประเทศไทยมีสถานพยาบาล ไดแก โรงพยาบาล สถานบริการสาธารณสุข ศูนยสุขภาพชุมชน โพลีคลินิกคลินิก ทั้งที่เปนของรัฐและเอกชน จํานวนมากกวา 35,792 แหง (กระทรวงสาธารณสุข, 2550) สถานพยาบาลดังกลาว มีการผลิตของเสียทั้งที่เปนมูลฝอยทั่วไป และมูลฝอยติดเชื้อ ในแตละวันเปนจํานวนมาก มูลฝอยจากสถานพยาบาลเหลานี้ จัดเปนของเสียอันตรายเนื่องจากมีทั้งมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถแพรเชื้อโรคได รวมทั้งของเสียที่ปนเปอนดวยสารกัมมันตภาพรังสี ยาเสื่อมสภาพ สารเคมีอันตราย ของมีคม ซากสัตวทดลอง ฯลฯ โดยที่สถานพยาบาลสวนใหญในปจจุบันยังดําเนินการคัดแยก รวบรวม ขนสง และการกําจัดดวยวิธีการที่ไมถูกสุขลักษณะ และไมมีประสิทธิภาพ มูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลดังกลาว จึงไดถูกทิ้งออกสูส่ิงแวดลอมปะปนรวมกับมูลฝอยทั่วไปของชุมชนเพิ่มมากขึ้น ทําใหเพิ่มความเสี่ยงในการแพรกระจายของเชื้อโรค ซ่ึงมีผลตอสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยเฉพาะเจาหนาที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเก็บ ขน หรือทํางานในสถานที่ที่กําจัดมูลฝอยติดเชื้อ ทําใหมีโอกาสที่จะเจ็บปวยดวยโรคตาง ๆ เชน โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคระบบทางเดินหายใจ โรคพยาธิ หรือแมแตการติดเชื้อโรคเอดส รวมทั้งการเกิดความเสี่ยงของการแพรกระจายเชื้อโรค ทําใหมีผลกระทบตอสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดลอมในเขตเมืองทั่วไป ประเทศไทย มีจํานวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นอยางตอเนื่อง สงผลใหมีความจําเปนในการขยายบริการดานสาธารณสุขใหครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเปนการอํานวยความสะดวก และสรางคุณภาพชีวิตที่ดีแกประชาชน หนวยบริการปฐมภูมิ หรือช่ือใหม “ ศูนยสุขภาพชุมชน ” เปนจุดบริการสุขภาพดานแรกที่ประชาชนเขาถึงไดงาย เกิดจากนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุขที่มุงสูการประกันสุขภาพถวนหนา โดยเริ่มจากโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ในป พ.ศ. 2544 จัดเปนหนึ่งในสามกลุมสัญญาในการใหบริการสุขภาพ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ) ทําหนาที่ใหบริการปฐมภูมิ ( Primary Care) อันเปนการใหบริการทางการแพทย และสาธารณสุขที่ประยุกตความรูอยางผสมผสานทั้งทางดานการแพทย จิตวิทยา และสังคม เพื่อใหบริการทั้งที่เปนการสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรค การรักษาโรค และการฟนฟูสภาพ เปนการดูแลประชาชน

Page 13: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

2

อยางตอเนื่อง ใหแกบุคคล ครอบครัว และชุมชน ดวยแนวคิดแบบองครวม โดยมีระบบการสงตอ และเชื่อมโยงกับระบบโรงพยาบาลอยางเหมาะสม รวมทั้งสามารถประสานกับองคกรชุมชนในทองถ่ินเพื่อพัฒนาความรูของประชาชน ในการดูแลตนเองได ในยามเจ็บปวย รวมถึงการสงเสริมสุขภาพตนเอง เพื่อใหบรรลุการมีสุขภาพที่ดีตอไป

ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อจากศูนยสุขภาพชุมชนนับวันจะมีปริมาณมากขึ้นเนื่องจากมีการพัฒนาศักยภาพในดานการใหบริการดานการแพทยแกประชาชนที่มาใชบริการมากยิ่งขึ้น มีบุคลากรซึ่งประกอบดวย แพทย พยาบาล มาใหการรักษาเปนประจําหรือคร้ังคราว มีการเพิ่มใหบริการคลินิกแกผูปวยเรื้อรังในศูนยสุขภาพชุมชน ดวยเหตุดังกลาวจึงสงผลใหมีการใชเครื่องมืออุปกรณทางการแพทยประเภทใชคร้ังเดียวแลวทิ้ง เชน ใบมีด เข็มฉีดยา ถุงมือ และอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อเปนการปองกันและลดการติดเชื้อจากมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน จึงจําเปนที่จะตองวางมาตรการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยางมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแตการคัดแยก การรวบรวม การขนสง การทําลายเช้ือ และการกําจัด เพื่อลดผลกระทบตอส่ิงแวดลอม ซ่ึงเปนความสําคัญอันดับแรกของการบรรลุเปาหมายของการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ

จากการสํารวจปริมาณมูลฝอยติดเชื้อของจังหวัดกาญจนบุรีในปพ.ศ. 2550 พบวาสถานพยาบาลตาง ๆ มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเกิดขึ้นทั้งหมดประมาณ 399 ตัน/ป โดยเกิดจากโรงพยาบาลของรัฐ จํานวน 219 ตัน/ป โรงพยาบาลของเอกชน จํานวน 47 ตัน/ป คลินิกเอกชน จํานวน 60 .00 ตัน/ป ศูนยสุขภาพชุมชน จํานวน 70 ตัน/ป และสถานพยาบาลสัตว จํานวน 2.20 ตัน/ป (สํานักงานสิ่งแวดลอมภาค 5, 2552: 2 )

ศูนยสุขภาพชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรีมีจํานวน 142 แหง มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเกิดขึ้น ประมาณ 70.00 ตัน/ป (สํานักงานสิ่งแวดลอมภาค 5, 2552: 2 ) จากการสํารวจเบื้องตน พบวา สวนใหญยังคงดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากการใหบริการแกผูปวยดวยวิธีการที่ไมถูกสุขลักษณะและไมมีประสิทธิภาพ ขาดมาตรฐานในการปฏิบัติ และยังไมมีแนวทางของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ เปนมาตรฐานเดียวกันในทุกสถานบริการ ซ่ึงอาจทําใหมูลฝอยติดเชื้อดังกลาวปนเปอนสูส่ิงแวดลอมและชุมชน เปนแหลงการแพรกระจายของเชื้อโรคที่เปนอันตรายตอสุขภาพประชาชนรวมถึงเกิดความเสี่ยงตอเจาหนาที่ผูปฏิบัติงาน การศึกษาถึงปจจัยตาง ๆ ที่จะสงผลตอประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในศูนยสุขภาพชุมชน จึงมีความสําคัญตอการจัดการ และการวางแผนเพื่อกําจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยางเหมาะสม ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนําไปใชเปนแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการดําเนินการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี ใหมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

Page 14: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

3

1.2 วัตถุประสงคของการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

1.2.2 เพื่อศึกษาปจจัยตาง ๆ ที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

1.2.3 เพื่อเสนอแนะวิธีการ หรือมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

1.3 ผลประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ 1.3.1 ทราบถึงประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ในศูนย

สุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี 1.3.2 ทราบถึงปจจัยตางๆ ที่มีผลตอประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ

บุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี 1.3.3 ทราบถึงปญหา อุปสรรค และแนวทางในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสม 1.3.4 ขอเสนอแนะและแนวทางในการปฏิบัติอยางเหมาะสม ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชนอยางมีประสิทธิภาพ

1.4 ขอบเขตการศึกษา 1.4.1 ขอบเขตดานเนื้อหา

ศึกษาปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ประกอบดวย การคัดแยก การเก็บรวบรวม การขนยาย การทําลายเช้ือ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

Page 15: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

4

1.4.2 ขอบเขตดานประชากร ประชากรที่ใชในการศึกษา คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน ประกอบดวย แพทย พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข เจาพนักงานสาธารณสุข และเจาพนักงานทันตสาธารณสุข จํานวนทั้งสิ้น 396 คน

1.4.3 ขอบเขตดานพื้นท่ี ขอบเขตดานพื้นที่ ไดแก ศูนยสุขภาพชุมชนที่ตั้งอยูในพื้นที่ 13 อําเภอ ของจังหวัด

กาญจนบุรี

1.4.4 ขอบเขตดานระยะเวลา ใชระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 6 เดือน คือ ตั้งแตเดือนพฤษภาคม 2552 - ตุลาคม 2552

1.5 นิยามศัพทเฉพาะ

ประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดแยก การเก็บ

รวบรวม การขนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน อยางถูกตอง เหมาะสม เปนไปตามมาตรฐานการปฏิบัติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Page 16: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ

ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบดวย 2.1 ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 2.2 สถานการณการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 2.3 ความรูเกี่ยวกับศูนยสุขภาพชุมชน 2.4 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรู 2.5 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู 2.6 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวของ

2.1 ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

สถานบริการสาธารณสุขนอกจากประสบปญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดลอมในเรื่องน้ําเสีย น้ําดื่ม - น้ําใช และความสะอาดทางดานสุขลักษณะอาคารสถานที่ทั่วไปแลวยังพบวาปญหามูลฝอยในสถานบริการสาธารณสุขเปนปญหาสําคัญที่สงผลกระทบตอสุขภาพอนามัยชุมชน สถานบริการทางการแพทยผลิตของเสียที่แตกตางจากสถานบริการประเภทอื่นโดยเฉพาะโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนเนื่องจากโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขอื่นเปนแหลงกําเนิดมูลฝอยประเภทตาง ๆ ทั้งที่เกิดจากตึกผูปวย ตึกคนไขนอก หองผาตัด หองทําคลอด ตลอดจนอาคารบานพักของเจาหนาที่ ลักษณะมูลฝอยที่เกิดจากสถานบริการสาธารณสุข จึงมีลักษณะที่แตกตางจากมูลฝอยจากสถานบริการหรือของเสียจากแหลงอื่นในชุมชนโดยเฉพาะมูลฝอยติดเชื้อ ตองใชความระมัดระวังในการจัดการมากกวามูลฝอยชุมชนทั่วไป หากมีการจัดการไมถูกตองตามหลักสุขาภิบาลในแตละขั้นตอน ไดแก การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัด แลวจะทําใหเกิดปญหาที่สงผลกระทบตอสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน และสิ่งแวดลอมตาง ๆ โดยรวมดังนี้ คือ

Page 17: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

6

1. เปนแหลงแพรกระจายเชื้อโรค ตลอดจนสงผลกระทบตอสุขภาพอนามัยของเจาหนาที่และผูปวย

2. เปนแหลงเพาะพันธุสัตวและแมลง ซ่ึงเปนพาหะนําโรคไดแก หนู แมลงวัน แมลงสาบ ฯลฯ

3. ทําลายสุนทรียภาพดานสิ่งแวดลอม เกิดสภาพที่ไมนาดู สกปรกนารังเกียจ 4. เกิดความรําคาญ เนื่องจากกลิ่นเหม็น รวบกวนการทํางานของเจาหนาที่ และประชาชน

อาจทําใหเกิดการรองเรียน เกิดการปนเปอนแหลงน้ํา ทั้งน้ําใตดิน แมน้ําลําคลอง ตลอดจนน้ําดื่มน้ําใชทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนที่นําน้ํามาบริโภค ปนเปอนอากาศ กอใหเกิดมลภาวะ

โดยแหลงกําเนิดของมูลฝอยจากสถานบริการสาธารณสุข แบงเปน 3 แหลงใหญ คือ 1. อาคารตาง ๆ ภายในสถานพยาบาล ซ่ึงเปนอาคารรักษาพยาบาล และพักฟนของคนไข

เชน ตึกเด็ก อายุรกรรม สูติกรรม ศัลยกรรม ตึกคนไข ชาย - หญิง ฯลฯ 2. รานอาหาร โรงอาหารหรือโรงครัว 3. บานพักอาศัยและบริเวณบานพักของเจาหนาที่

2.1.1 ประเภทและลักษณะมูลฝอยจากสถานบริการการสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2549: 44 - 49) แบงประเภทและลักษณะมูลฝอยจาก

สถานบริการสาธารณสุขเปน 4 ประเภท ไดแก 2.1.1.1 มูลฝอยทั่วไป ไดแก มูลฝอยที่มีแหลงกําเนิดมาจากอาคารในสวนสํานักงาน

ที่พักอาศัยของแพทย พยาบาล ที่นอนของสัตวไมติดเชื้อ เปนมูลฝอยที่เกิดจากการใชชีวิตประจําวัน เชน เดียวกับมูลฝอยชุมชนหรือมูลฝอยที่เกิดจากแหลงพักอาศัยทั่ว ๆ ไป ไดแก ถุงพลาสติก กระดาษ เศษไม เศษผา เศษอาหาร เปลือกผลไม มูลฝอยจากสนาม ใบไม กิ่งไมแหง ซ่ึงไมตองมีการจัดการเปนพิเศษ

2.1.1.2 มูลฝอยรีไซเคิล สวนใหญเปนมูลฝอยที่สงไปจําหนายยังรานรับซื้อของเกาได เชน กระดาษ ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑพลาสติกและโลหะ (กระปองน้ําอัดลม กระปองนม บรรจุภัณฑ อุปกรณทางการแพทย) สําหรับมูลฝอยจากโรงพยาบาลบางประเภทตองผานกระบวนการทําใหปราศจากเชื้อกอน

2.1.1.3 มูลฝอยอันตราย หมายถึง มูลฝอยที่มีองคประกอบทั้งหมดหรือเพียงบางสวนที่อาจทําใหเกิดอันตรายทั้งจากปริมาณความเขมขน คุณสมบัติทางเคมี ตลอดจนคุณสมบัติทางกายภาพของมูลฝอยนั้น หรือเปนมูลฝอยที่มีสวนประกอบหรือปนเปอนดวยสารเคมีที่เปนอันตรายตอสุขภาพและสิ่งแวดลอมที่ตองการวิธีกําจัด เชน เดียวกับของเสียจากการอุตสาหกรรม เชน น้ํายา

Page 18: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

7

หลอดไฟฟา ถานไฟฉายที่หมดอายุ เทอรโมมิเตอรแตก ยาหมดอายุ สารเคมีที่ทิ้งแลว ภาชนะบรรจุยารักษามะเร็ง ภาชนะที่มีแรงดัน เชน กระปองสเปรย ยาฆาแมลง ของมีคม เปนตน

2.1.1.4 มูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง มูลฝอยที่เกิดจากกระบวนการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัยทางการแพทย และการใหภูมิคุมกัน การทดลองเกี่ยวกับโรคและการชันสูตรศพ หรือซากสัตว การศึกษาวิจัยซ่ึงมี หรืออาจมีเชื้อโรคปะปน ถามีการสัมผัสจะทําใหเกิดโรค ไดแก สําลี ทอยาง ผาพันแผลที่สัมผัสกับเลือดหรือสารน้ําจากรางกายมนุษยหรือสัตว รวมทั้งชิ้นสวนของมนุษย หรือสัตวที่เกิดจากการผาตัด การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว และการใชสัตวทดลอง การเล้ียงเชื้อ ของมีคมตาง ๆ เปนตน

2.1.2 ความหมายของมูลฝอยติดเชื้อ ปจจุบันการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสําคัญอยางยิ่งตอการดําเนินการดูแลและควบคุม

เนื่องจากประชาชนตระหนักถึงอันตราย และปญหาส่ิงแวดลอมที่เกิดขึ้น จากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมถูกตองโดยเฉพาะมูลฝอยติดเชื้อที่ปนเปอนกับเชื้อโรคติดตออันตราย เชน โรคเอดส โรคไวรัสตับอักเสบบี (สุวรรณา เตียรสุวรรณ, 2533: 21 - 33 ) คณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2538: 2 ) ไดกําหนดขอปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพื่อใหเปนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ โดยออกกฎระเบียบใหสถานพยาบาลดําเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานพยาบาลอยางเขมงวดและจริงจังสอดคลองกับองคการอนามัยโลก (WHO) ที่จัดการประชุมและเสนอแนวทางในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตั้งแต การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่แหลงกําเนิด การรวบรวม การขนสงและการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม ไดสนับสนุนใหมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขึ้นในสถานพยาบาลตามแนวทางของคณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ กระทรวงสาธารณสุข และองคการอนามัยโลก (WHO) เพื่อลดปญหาของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมถูกตองและปญหาสิ่งแวดลอมที่มีผลกระทบตามมา

ปจจุบันยังไมมีบัญญัติศัพทของ "มูลฝอยติดเชื้อ" ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีการใชคําตาง ๆ เรียกมูลฝอยติดเชื้อแตกตางกันออกไป เชน มูลฝอยติดเชื้อ (Infectious Waste) (U.S.EPA, 1986) คือ มูลฝอยที่มีเชื้อโรค (Pathological Waste) มูลฝอยอันตรายจากการแพทย (Medically Hazardous Waste) หรือมูลฝอยในถุงแดง (Red Bag Waste) และในปจจุบันยังไมมีการใหคําจํากัดความของมูลฝอยติดเชื้อที่เปนที่ยอมรับกันทั่วโลก เนื่องจากขาดขอมูลที่นํามาใชในการจําแนกวามูลฝอยใดควรเปนมูลฝอยติดเชื้อ การศึกษาเกี่ยวกับปริมาณและชนิดของจุลินทรียในมูลฝอยติดเชื้อมีนอยมาก นอกจากนี้ยังไมมีการกําหนดเกณฑที่จะระบุวามูลฝอยที่มีชนิดและปริมาณของจุลินทรียจํานวนเทาไร

Page 19: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

8

จึงจะเปนมูลฝอยติดเชื้อ ผูเชี่ยวชาญและองคกรตาง ๆ ที่ใหความสําคัญในเรื่องนี้ไดใหคําจํากัดความไว ดังนี้ World Health Organization (WHO, 1992: 2) ใหคําจํากัดความ มูลฝอยติดเชื้อหมายถึง ของเสียทุกชนิดที่ทําใหเกิดโรคติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรียหรือพยาธิตอมนุษย (Infectious Waste all kind of waste which may transmit viral , bacterial or parasitic disease to human being)

United State Environmental Protection Agency (U.S.EPA.) ใหคําจํากัดความมูลฝอยติดเชื้อหมายถึง มูลฝอยที่ทําใหเกิดโรคติดเชื้อ (Infectious waste is defined a waste capable of producing an infectious diseases) มูลฝอยที่เปนมูลฝอยติดเชื้อ จึงเปนมูลฝอยท่ีมีเชื้อโรค (Pathogens) ที่มีความรุนแรง (Sufficient virulence) และมีปริมาณ (Quantity) ที่ทําใหผูสัมผัสที่มีความไวรับ (Susceptible host) เกิดโรคติดเชื้อ (Infectious diseases) (U.S.EPA.,1986:449-454 )

ตามกฎกระทรวงวาดวยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 (กระทรวงสาธารณสุข, 2549: 49 - 50) มูลฝอยติดเชื้อ หมายความวา มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยูในปริมาณหรือมีความเขมขนซึ่งถามีการสัมผัสหรือใกลชิดกับมูลฝอยนั้นแลว สามารถทําใหเกิดโรคได ซ่ึงหมายรวมถึงมูลฝอยดังตอไปนี้ที่เกิดขึ้นหรือใชในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทยและการรักษาพยาบาล การใหภูมิคุมกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว รวมท้ังในการศึกษาวิจัยเร่ืองดังกลาวใหถือวาเปนมูลฝอยติดเชื้อดวย อันไดแก

2.1.2.1 ซากหรือช้ินสวนของมนุษยหรือสัตวที่เปนผลมาจากการผาตัด การตรวจชันสูตรศพ หรือซากสัตว และการใชสัตวทดลอง

2.1.2.2 วัสดุของมีคม เชน เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแกว ภาชนะที่ทําดวยแกว สไลด แผนกระจกปดสไลด

2.1.2.3 วัสดุซ่ึงสัมผัสหรือสงสัยวาจะสัมผัสกับเลือด สวนประกอบของเลือดผลิตภัณฑที่ไดจากเลือด สารน้ําจากรางกายมนุษยหรือสัตวหรือวัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เชน สําลี ผากอซ ผาตาง ๆ และทอยาง

2.1.2.4 มูลฝอยติดเชื้อทุกชนิดที่มาจากหองรักษาผูปวยติดเชื้อรายแรง กองวิชาการ สํานักรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร (2533 : 12) ใหคําจํากัดความวา มูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง ส่ิงของ เครื่องใชตาง ๆ ที่สัมผัสกับผลิตผลของคนไขโรคติดเชื้ออันตราย ไดแก เลือด น้ําเหลือง หนอง เสมหะ น้ําลาย ปสสาวะ อุจจาระ และอื่น ๆ

จารุพงศ บุญ-หลง (2537: 5) ใหคําจํากัดความ มูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง มูลฝอยจากโรคพยาบาลอันประกอบดวยของเสียที่สัมผัสกับผูปวย ไดแก สําลี ผากอซ กระดาษชําระ พลาสเตอร เข็มฉีดยา อุปกรณใหสารน้ํา เกลือแรและเลือด ใบมีดสําหรับผาตัด เลือด น้ําเหลือง สวนประกอบ

Page 20: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

9

ของเลือด ส่ิงขับถายหรือของเหลวที่ออกจากรางกายผูปวย ส่ิงที่สงมาเพาะเชื้อที่ตองทิ้งของเสียจากการเพาะเชื้อ แผนกระจกครอบกระจกสําหรับตรวจเชื้อโรคดวยกลองจุลทรรศน วัคซีนที่ไมใชแลว เศษชิ้นเนื้อของอวัยวะตาง ๆ ของรางกายเด็กที่คลอดออกมาแลวเสียชีวิต ของเหลวตาง ๆ ที่ออกมาจากการผาตัดและผาศพ ตลอดจนซากสัตวทดลองสวนตาง ๆ ของสัตวทดลองและรังนอนหรือกรงที่ขังสัตวทดลอง สมหวัง ดานชัยวิจิตร (2537: 1 - 2) ใหคําจํากัดความ มูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง มูลฝอยที่มีเชื้อโรคและเปนสาเหตุของโรคติดเชื้อได กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตรเทคโนโลยีและส่ิงแวดลอม รวมกับ องคกรเพื่อการพัฒนาระหวางประเทศแหงสหรัฐอเมริกา (USAID) ไดแตงตั้งคณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อใชเปนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และใหคําจํากัดความมูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง มูลฝอยที่เปนผลมาจากกระบวนการใหการรักษาพยาบาลและการตรวจวินิจฉัย การใหภูมิคุมกันโรค การศึกษาวิจัยที่ดําเนินการทั้งในมนุษยและสัตวซ่ึงเปนเหตุอันควรสงสัยวามีหรืออาจมีเชื้อโรค (คณะกรรมการจัดการอบรม เร่ืองการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, 2538: 4 ) จากคําจํากัดความ "มูลฝอยติดเชื้อ" ของแตละหนวยงานที่ไดกําหนดนั้น สวนมากมีความคลายคลึงกันในการกําหนดคําจํากัดความ แตบางสวนแตกตางกันทําใหการจัดการมูลฝอยติดเชื้อไมเปนมาตรฐานเดียวกันโดยสรุปคําจํากัดความ "มูลฝอยติดเชื้อ" หมายถึง มูลฝอยตาง ๆ ที่สัมผัสกับเชื้อโรคเปนผลมาจากการใหการรักษาพยาบาล การวินิจฉัย การใหภูมิคุมกันโรค และการศึกษาวิจัยที่ดําเนินการทั้งในมนุษยและสัตวที่สงสัยวามีเชื้อโรคปนเปอนอยู

2.1.3 การจําแนกมูลฝอยติดเชื้อ (Identification of Infectious waste) 2.1.3.1 จากการจําแนกมูลฝอยติดเชื้อของ U.S.EPA (United State Environmental

Protection Agency,1986 ) มีการจําแนกและจัดการเปนมูลฝอยติดเชื้อ ไดแก 1) เลือดและผลิตภัณฑของเลือด ควรจําแนกและมีการจัดการเปนมูลฝอย

ติดเชื้อเพราะอาจมีเชื้อโรคที่อาจทําใหเกิดโรคติดเชื้อทางเลือดเปนสื่อ (Blood borne diseases) โดยเฉพาะอยางยิ่งเมื่อมีการแพรระบาดของโรคติดเชื้ออันตรายที่มีเลือดเปนสื่อ เชน โรคเอดส และโรคไวรัสตับอับเสบบี ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อที่เกิดจากเลือดเปนสื่อ เกิดจากการสัมผัสกับเลือดที่มีเชื้อโรค

2) การเพาะเลี้ยงเชื้อ (Culture and stocks of infectious agent) การเพาะเชื้อควรมีการจัดการเปนมูลฝอยติดเชื้อเพราะการเลี้ยงเชื้อ มีเชื้อจุลินทรียที่กอใหเกิดโรคมีจํานวน และ

Page 21: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

10

ปริมาณมาก ความเสี่ยงของมูลฝอยประเภทนี้เกิดจากการเพาะเชื้อจากหองปฏิบัติการทางการแพทย การวิจัย และอุตสาหกรรม

3) มูลฝอยเศษชิ้นเนื้อ (Pathological waste) มูลฝอยเศษชิ้นเนื้อเปนสวนของรางกายที่ถูกตัดระหวางผาตัด หรือการชันสูตรศพ การจัดการมูลฝอยเศษชิ้นเนื้อควรทําโดยเหตุอันควรดวยเหตุผล 2 ประการ คือเปนมูลฝอยที่กอใหเกิดโรคติดเชื้อ และดวยเหตุผลทางจริยธรรม โรงพยาบาลสวนมากนํามูลฝอยเศษชิ้นเนื้อไปฝากเตาเผาตามฌาปนกิจสถานตาง ๆ

4) ของมีคมติดเชื้อ (Contaminated sharps) ของมีคมติดเชื้อ ไดแก เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา ใบมีด เข็มเจาะเลือด แผนสไลดและแผนปดสไลด และเศษแกวแตก มูลฝอยของมีคมติดเชื้อ จําเปนตองมีการจัดการเปนพิเศษ เพราะทําใหเสี่ยงตอการเกิดอันตรายและเสี่ยงตอการเกิดโรค การปองกันอันตรายจากของมีคมทําไดโดยการทิ้งของมีคมในภาชนะที่ไมแทงทะลุไดงาย ของมีคมแมไมสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อโรคใหจัดการ เชน เดียวกับมูลฝอยติดเชื้อ

5) ซากสัตวทดลอง ช้ินสวนของรางกาย และสถานที่เล้ียงสัตวทดลอง (Contaminated animal carcasses, body parts and bedding) ในการวิจัยที่มีการฉีดเชื้อโรคเขาไปในสัตวทดลอง เพื่อศึกษาขั้นตอนของการเกิดโรคและผลขางเคียงของยา ของเสียหรือมูลฝอยเหลานี้ควรมีการปฏิบัติ เชน เดียวกับมูลฝอยเศษชิ้นเนื้อ (Pathological waste) เพื่อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสของผูปฏิบัติงาน

6) เชื้อที่มีชีวิตที่ไมไดใชแลว (Discarded biological) มูลฝอยชนิดนี้เปนมูลฝอยท่ีมีเชื้อที่มีชีวิต ไดแก เชื้อโรคที่ยังมีชีวิต และวัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิตที่ไมไดใชแลวจากการควบคุมคุณภาพ การนํามาใชอีก การเสื่อมสภาพรวมทั้งสิ่งของปนเปอนจากเชื้อดังกลาว

7) เครื่องมือที่สัมผัสเชื้อโรค (Contaminated equipment) เครื่องมือและอุปกรณที่สัมผัสกับเชื้อโรคในการทดลอง การตรวจวินิจฉัยโรค และการตรวจทางหองปฏิบัติการ ควรมีการจัดการ เชน เดียวกับมูลฝอยติดเชื้อ

2.1.3.2 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ( 2536: 1 – 2 ) ไดแบงมูลฝอยติดเชื้อเปน 6 ประเภทดังนี้

1) วัสดุ ซาก หรือช้ินสวนของมนุษยและสัตวที่เปนผลจากการผาตัด การตรวจชันสูตร การใชสัตวทดลองเกี่ยวกับโรคติดตอ รวมทั้งวัสดุที่สัมผัสในการดําเนินการนั้น ๆ

2) วัสดุที่ใชในการใหบริการทางการแพทย เชน สําลี ผากอซ ผาตาง ๆ ทอยาง ฯ ล ฯ ซ่ึงสัมผัสหรือสงสัยวาจะสัมผัสกับเลือด สวนประกอบของเลือด เชน น้ําเหลือง เม็ดเลือด ตาง ๆ และผลิตภัณฑที่ไดจากเลือด สารคัดหล่ังจากรางกาย เชน ปสสาวะ เสมหะ น้ําลาย น้ําเหลืองหนอง เปนตน

Page 22: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

11

3) ของมีคมที่ใชในกิจกรรมดังกลาว เชน เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแกว ภาชนะท่ีทําดวยแกว สไลด แผนกระจกปดสไลด ทั้งที่ใชในการบริการ การวิจัย และในหองปฏิบัติการ

4) เชื้อและอาหารเลี้ยงเชื้อและวัสดุที่ใชในหองปฏิบัติการ และในการวินิจฉัยที่สัมผัสกับเชื้อทั้งทางตรงและทางออม ไดแก เชื้อโรค และชีววัตถุตาง ๆ อาหารเลี้ยงเชื้อ จานเลี้ยงเชื้อที่ใชแลว ตลอดจนเครื่องมือที่ใชในการถายเชื้อหรือกวนเชื้อ

5) วัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิตและภาชนะบรรจุ ไดแก วัคซีนปองกันวัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน โรคคางทูม และวัคซีนโรคไขรากสาดนอยชนิดรับประทาน เปนตน

6) มูลฝอยทุกประเภทที่มาจากหองติดเชื้อรายแรง เชนหองแยกผูปวย ติดเชื้อ หองปฏิบัติการเชื้ออันตรายสูง และหองไตเทียม เปนตน

2.1.3.3 คณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ (คณะกรรมการจดัการอบรม เร่ืองการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ, 2538: 4 - 5 ) แบงประเภทมูลฝอยออกเปนกลุมตาง ๆ ดังนี้

1) วัสดุซาก หรือช้ินสวนมนุษยและสัตวที่ไดและเปนผลมาจากการผาตัด การตรวจชันสูตรศพ การใชสัตวทดลองเกี่ยวกับโรคติดตอ รวมทั้งวัสดุที่สัมผัสในการดําเนินงานนั้น ๆ

2) วัสดุที่ใชในการบริการทางการแพทย เชน สําลี ผากอส ผาตาง ๆ ทอยาง เปนตน ซ่ึงสัมผัสหรือสงสัยสัมผัสเลือด เชน น้ําเหลือง เม็ดเลือดตาง ๆ และผลิตภัณฑที่ไดจากเลือด สารน้ําจากรางกาย เชน ปสสาวะ เสมหะ น้ําลาย น้ําเหลือง หนอง เปนตน

3) ของมีคมที่ใชในกิจการดังกลาว เชน ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแกว ภาชนะทําดวยแกว สไลด แผนกระจกปดสไลด ทั้งที่ ใชในการบริการ การวิจัย และในหองปฏิบัติการ

4) เชื้อ และอาหารเลี้ยงเช้ือ และวัสดุ ที่ใชหองปฏิบัติการ หรือใชในการวินิจฉัยที่สัมผัสกับเชื้อทั้งทางตรงและทางออม ไดแก เชื้อและชีววัตถุตาง ๆ อาหารเลี้ยงเชื้อ จานเล้ียงเชื้อที่ใชแลวตลอดจนเครื่องมือที่ใชในการถายเชื้อหรือกวนเชื้อ

5) วัคซีนที่ทําจากเชื้อที่มีชีวิตและภาชนะบรรจุ ไดแก วัคซีนปองกัน วัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน โรคคางทูม วัคซีนไขรากสาดนอยชนิดรับประทาน เปนตน

6) มูลฝอยทุกประเภทที่มาจากหองติดเชื้อรานแรง เชน หองแยกผูปวย ติดเชื้อรายแรง ที่ตองระมัดระวังเปนกรณีพิเศษ หองปฏิบัติการเชื้ออันตรายสูง เปนตน

Page 23: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

12

เนื่องจากสถานีอนามัยไมมีมูลฝอยที่มาจากหองติดเชื้อรายแรง ในการศึกษาครั้งนี้จึงแบงประเภทมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากสถานีอนามัย ออกเปน 5 ประเภท ดังนี้

(1) วัสดุ ซาก หรือช้ินสวนมนุษย และสัตวที่ไดและเปนผลจากการผาตัด การชันสูตรศพ การใชสัตวทดลอง เกี่ยวกับโรคติดตอ รวมทั้งวัสดุที่สัมผัสในการดําเนินการ นั้น ๆ

(2) วัสดุที่ใชในการใหบริการทางการแพทย เชน สําลี ผากอส ผาตาง ๆ ทอยาง เปนตน ซ่ึงสัมผัสหรือสงสัยสัมผัสเลือด เชน น้ําเหลือง เม็ดเลือกตาง ๆ และผลิตภัณฑที่ไดรับจากเลือด สารน้ําจากรางกาย เชน ปสสาวะ เสมหะ น้ําลาย น้ําเหลือง หนอง เปนตน

(3) ของมีคมที่ใชในกิจกรรมดังกลาว เชน ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแกว ภาชนะท่ีทําดวยแกว สไลด แผนกระจกปดสไลด ทั้งที่ใชในการบริการ การวิจัย และในหองปฏิบัติการ

(4) เชื้อ และอาหารเลี้ยงเชื้อ และวัสดุ ที่ใชหองปฏิบัติการ หรือใชในการวินิจฉัยกับเชื้อทั้งทางตรงทางออม ไดแก เชื้อโรคและชีววัตถุตาง ๆ อาหารเลี้ยงเชื้อ จานเลี้ยงเชื้อที่ใชแลวตลอดจนเครื่องมือที่ใชในการถายเชื้อ หรือกวนเชื้อ

(5) วัคซีนที่ทําจากเชื้อโรคที่มีชีวิตและภาชนะบรรจุ ไดแก วัคซีนปองกันวัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน โรคคางทูม เปนตน

2.1.4 แนวทางในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ คณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2536) ไดกําหนดขอปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพื่อใหเปนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศไวคลายคลึงกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของกรุงเทพมหานคร (2534) และชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแหงประเทศไทย (ม.ป.ป.อางถึงใน สมหวัง ดานชัยวิจิตร,2537: 1 - 2) สอดคลองกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ U.S.EPA. (1986) และ WHO (1994) ซ่ึงขณะนี้กําลังอยูในระหวางดําเนินการยกรางเปนกฎหมาย โดยลําดับตามขั้นตอนการปรับปรุงพระราชบัญญัติ ดังนี้ การดําเนินงานในการควบคุมดูแลมูลฝอยติดเชื้อดังกลาว มีวัตถุประสงคหลักในการควบคุมและปองกันอันตรายอันจะเกิดจากการแพรกระจายเชื้อจากมูลฝอยดังกลาว ดังนั้น ใหถือเปนหนาที่ของผูที่เปนแหลงตนตอของมูลฝอยดังกลาว อันไดแก สถานพยาบาล คลินิกตาง ๆ ซ่ึงจะตองใหความสําคัญและระมัดระวัง ตลอดจนดําเนินการใหเปนไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวของ การควบคุมดูแลดังกลาวสามารถแบงขั้นตอนหลักในทางปฏิบัติ ไดดังนี้

Page 24: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

13

2.1.4.1 การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข 2.1.4.2 การรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข 2.1.4.3 การเคลื่อนยายละการขนมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข 2.1.4.4 การทําลายเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข 2.1.4.5 การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข

ทั้งนี้มีหลักเกณฑแนวทางในการปฏิบัติในแตละขั้นตอน คือ 2.1.4.1 การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข มูลฝอยในสถาน

บริการสาธารณสุข เปนความจําเปนตองคัดแยกมูลฝอยอยางถูกวิธีกอนการจัดเก็บและกําจัด (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2549: 47 - 49) ดังตอไปนี้ มูลฝอยทั่วไป หมายถึง มูลฝอยทั่วไปที่ไมใชมูลฝอยติดเชื้อและมูลฝอยอันตราย มักเกิดจากจากอาคารสํานักงาน หอพักเจาหนาที่ โรงอาหาร โรงครัว มูลฝอยทั่วไปมีมากกวามูลฝอยชนิดอื่น ไดแก มูลฝอยที่ยอยสลายได เชน เศษอาหาร ผลไม และมูลฝอยประเภทอื่น ไดแก เศษดินและกิ่งไม ฯ ล ฯ มีวิธีการกําจัดโดย ทิ้งในถุงพลาสติก บรรจุในภาชนะรองรับทําดวยวัสดุแข็งแรง ทนทาน ไมร่ัวซึม มีฝาปดมิดชิด สามารถปองกันสัตวและแมลงนําโรคได แลวรวบรวมไวที่เรือนพักมูลฝอยรอนําไปกําจัด

การจัดการมูลฝอย ไมใชเพียงแตนํามูลฝอยไปกําจัดหรือทําลายใหหมดไปแตควรลดปริมาณมูลฝอยใหเหลือนอยที่สุด โดยดําเนินการคัดแยกมูลฝอยจากแหลงกําเนิด เชน แกว พลาสติก กระดาษ โลหะ เปนตน ซ่ึงเปนการนําสิ่งที่ยังใชไดหรือยังเปนประโยชนออกมาใหมากที่สุดและใหปนเปอนนอยที่สุด สําหรับแนวทางในการลดปริมาณมูลฝอยในชุมชน มีการใชแนวคิด 5 อาร (5 R) ซ่ึงเปนกลยุทธตาง ๆ ในการลดปริมาณมูลฝอย ไดแก

1) Reduce หรือการลดจํานวนที่ใชลง คือลดการบริโภคสินคาที่ฟุมเฟอยใชอยางประหยัดและใชเทาที่จําเปน เชน ทําอาหารใหพอดีรับประทาน เลือกซื้อสินคาที่ไมบรรจุ หีบหอหลายช้ัน ใชถุงผาใสของแทนถุงพลาสติกที่ใชแลวทิ้ง เปนตน

2) Reuse หรือการใชซํ้า การนําสิ่งของที่ใชแลวมาใชประโยชนใหคุมคาหรือใชซํ้า เชน ขวดแกวที่ใสน้ําอัดลมเอาไปลางทําความสะอาดแลวนํามากลับมาใชใหม เปนตน 3) Recycle หรือการนํากลับมาใชใหม การนําเอามูลฝอยมาแปรรูปเพื่อนํากลับมาใชใหมทําใหไมตองนําทรัพยากรธรรมชาติมาผลิตสิ่งของตาง ๆ หรือการนํามูลฝอยบางประเภท ไดแก

Page 25: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

14

(1) นําเศษแกวมาหลอมผลิตเปนขวดแกวใหม กระบอกฉีดยาชนิดแกวที่ไมปนเปอนเชื้อโรค ขวดน้ําเกลือ น้ํากลั่น

(2) ประเภทกระดาษ ไดแก กลองกระดาษ หนังสือพิมพ ทอน้ําพลาสติก กระดาษลูกฟูก เศษกระดาษ (ยกเวนกระดาษชําระ) เปนตน

(3) ประเภทโลหะ กระปองบรรจุเครื่องดื่ม กระปองอาหาร 4) Repair หรือ การซอมแซมวัสดุส่ิงของที่ชํารุด ใหอยูในสภาพที่ดีใชงาน

ไดนาน ไมตองทิ้งเปนมูลฝอย เชน การซอมเกาอี้ที่ขาหัก การซอมแซมเสื้อผา เปนตน 5) Reject หรือ การหลีกเลี่ยงการใชมูลฝอยอันตราย หลีกเลี่ยงการใชวัสดุ

ส่ิงของที่ใชคร้ังเดียวแลวทิ้ง หลีกเลี่ยงวัสดุที่กําจัดไดยาก เชน การใชถานไฟฉายที่ชารตไฟได เปนตน เนื่องจากมูลฝอยเหลานี้ยังมีคาทางเศรษฐกิจอยู ฉะนั้นทางสถานบริการสาธารณสุข จึงควร

เก็บรวบรวมเอาไวขาย หรือนํากลับมาใชประโยชนอีกครั้ง ซ่ึงถือเปนการชวยลดคาใชจายในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อประเภทนี้ลงได

มูลฝอยอันตราย หมายถึง มูลฝอยที่มีพิษ ติดไฟได ระเบิดได สารที่มีฤทธิ์กัดกรอน เชน กรด ดาง สารกัมมันตรังสี มูลฝอยอันตราย ไดแก

1) วัสดุที่เปนโลหะหนัก เชน หลอดไฟฟา ถานไฟฉายหมดอายุ แบตเตอรี่ เทอรโมมิเตอรแตกหรือเกาที่มีสารปรอท

2) สารเคมี เชน ยาหมดอายุ กรด สารติดไฟ (น้ํามัน ทินเนอร แลกเกอร) ยารักษาโรคเสื่อมคุณภาพ ขวดยา และหลอดยารักษาโรคที่มียาเหลืออยู ขวดยาและหลอดยารักษาเนื้องอกและมะเร็ง น้ํายาลางฟลม

3) ภาชนะบรรจุและกระปอง เชน กระปองสเปรย กระปองยาฆาแมลง ภาชนะบรรจุน้ํายาทําความสะอาด

4) สารกัมมันตรังสีและภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากสถานพยาบาลไมสามารถกําจัดมูลฝอยกลุมนี้ไดเอง เพราะมูลฝอยที่ตองอาศัย

วิธีการกําจัดแบบพิเศษเพื่อปองกันการเกิดผลกระทบที่รายแรงตอมนุษยและสิ่งแวดลอม เพราะฉะนั้นทางสถานพยาบาลควรมีวิธีการแยกประเภท และรวบรวมมูลฝอยกลุมนี้ไวเพื่อสงไปกําจัด โดยอาจจัดเก็บไวในถังหรือภาชนะที่บรรจุเฉพาะมูลฝอยอันตรายนี้ และควรระบุเปนขอความหรือสัญลักษณ เพื่อแจงใหทราบวาไดเก็บรวบรวมมูลฝอยอันตรายไวในภาชนะนั้น สําหรับมูลฝอยประเภทกัมมันตรังสี เมื่อใชหมดแลวใหเก็บจนหมดอายุกอนแลวจึงนําไปกําจัด (สําหรับประเภทที่มีคา Half life* ส้ัน) หรือกําจัดตามระเบียบของสํานักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติตามแตชนิดของสารกัมมันตรังสี

Page 26: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

15

* คา Half life หมายถึง คาที่แสดงถึงระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใชในการสลายตัวลงเหลือคร่ึงหนึ่ง

2.1.4.2 การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข มีหลักเกณฑใหถือปฏิบัติ คือ กอนการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ตองทําการคัดแยกมูลฝอยโดยการแยกทิ้ง ณ แหลงกําเนิดมูลฝอยติดเชื้อกอนเก็บตามลักษณะ ชนิด ประเภท ของมูลฝอยติดเชื้อ ดังนี้

1) ลักษณะของภาชนะบรรจุและภาชนะรองรับมูลฝอยติดเชื้อ ภาชนะสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ควรมีลักษณะดังนี้คือ

(1) มูลฝอยติดเชื้อประเภทของมีคม เชน เข็มฉีดยา ใบมีด แผนแกว ปดสไลด ฯลฯ บรรจุในภาชนะสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เปนกลองหรือถังทําดวยวัสดุที่มีความเข็งแรงทนทานตอการแทงทะลุและการกัดกรอนของสารเคมี เชน พลาสติกแข็งหรือโลหะมีฝาปดมิดชิด และปองกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได และสามารถเคลื่อนยายไดสะดวก โดยผูขนยายไมมีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ

(2) มูลฝอยติดเชื้อที่ไมใชประเภทวัสดุแหลมคม เชน ผากอซ สําลี เช็ดแผล ช้ินเนื้อตาง ๆ บรรจุในภาชนะสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เปนถุง ทําจากพลาสติก หรือวัสดุอ่ืนที่มีความเหนียว ไมฉีกขาดงาย ทนทานตอสารเคมีและการรับน้ําหนัก กันน้ําได ไมร่ัวซึม และไมดูดซึม

ภาชนะสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ตองมีสีแดงทึบแสง และมีขอความสีดําที่มีขนาดสามารถอานไดชัดเจนวา “มูลฝอยติดเชื้อ” อยูภายใตรูปหัวกะโหลกไขวคูกับตราสัญลักษณที่ใชระหวางประเทศ และตองมีขอความวา “หามนํากลับมาใชอีก” และ “หามเปด” ในกรณีที่สถานบริการสาธารณสุข มิไดดําเนินการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อดวยตนเอง สถานบริการสาธารณสุขดังกลาวจะตองระบุช่ือสถานบริการนั้น ๆ ไวบนภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ และในกรณีที่ภาชนะสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใชสําหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไวเพื่อรอการขนไปกําจัดเกินกวา 7 วัน นับแตวันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อ ใหระบุวันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกลาวไวบนภาชนะบรรจุ ขนาดของถุงควรมีหลายขนาดใหเลือกใช และมีความจุเพียงพอสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไมเกิน 1 วัน

2) วิธีการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ การแยกเก็บมูลฝอยติดเชื้อจากมูลฝอย ชนิดอื่น ใหกระทําทันที ณ แหลงกําเนิดมูลฝอยติดเชื้อ หามเก็บมูลฝอยรวม ๆ กัน แลวคอยมาแยกประเภททีหลัง เพราะทําใหเชื้อโรคแพรกระจายได ดังนั้น ตองแยกมูลฝอยติดเชื้อจากแหลงเกิด มูลฝอยโดยตรง เก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ณ แหลงกําเนิดมูลฝอย โดยไมปะปนกับมูลฝอยอ่ืน การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้ออยางถูกตองเหมาะสมตามประเภทและปริมาณ ดังนี้

Page 27: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

16

(1) บรรจุมูลฝอยติดเชื้อไมเกิน 3 ใน 4 สวนของความจุของภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เปนของมีคม และไมเกิน 2 ใน 3 สวนของความจุของภาชนะบรรจุประเภทที่ไมใชวัสดุแหลมคม

(2) ปดปากถุงใหแนน โดยใชเชือกรัด แลวหยิบจับเฉพาะบริเวณปากถุง นําไปวางไว ณ จุดพักขยะ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการสาธารณสุข หรือภายในหองปฏิบัติการเชื้ออันตราย หากยังไมเคลื่อนยายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไป ตองจัดใหมีที่หรือมุมหนึ่งของหอง สําหรับเปนที่รวมภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อรอการเคลื่อนยาย แตหามเก็บไวเกิน 1 วัน

(3) ใหมีภาชนะที่ใชรองรับมูลฝอยติดเชื้อ ที่มีลักษณะเหมาะสมดังนี้ (1) ถุงพลาสติก

- ทําดวยวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษและเหมาะสม เชน ถุงพลาสติก ที่มีความทนทานตอการรับน้ําหนัก ทนตอสารเคมี มีความเหนียวไมฉีกงายสามารถ กันน้ําไดและไมร่ัวซึม

- สีของถุงใสมูลฝอยติดเชื้อ จะตองมีลักษณะเดนชัดและมีคําเตือนเฉพาะ เชน ควรเปนสีแดงสด ทึบแสง และพิมพคําเตือน "มูลฝอยติดเชื้อ" สีสม อยูใตรูปหัวกะโหลกไขว

- ขนาดของถุงควรมีหลายขนาดใหเลือกใช และมีความจุเพียงพอสําหรับ มูลฝอยติดเชื้อไมเกิน 1 วัน

- ใหบรรจุมูลฝอยติดเชื้อประมาณสามในสี่ถุง แลวผูกมัดปากถุงใหแนนดวยเชือก

(2) กลองหรือภาชนะที่ใชบรรจุมูลฝอยติดเชื้อของมีคม เชน เข็ม มีด เศษแกวฯ จะตองทําดวยวัสดุที่แข็งแรงทนทานตอการแทงทะลุ เชน พลาสติกแข็ง กระดาษแข็ง หรือโลหะ

- ทําจากวัสดุที่มีความทนทาน - ฝากลองหรือถังสามารถปดใหมิดชิด และการปองกันการ

ร่ัวไหลของของเหลว ภายในถังและสามารถยกหรือหิ้วไดโดยสะดวกโดยไมมีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อที่อยูภายใน

- สีของภาชนะดังกลาวจะตองมีลักษณะเดนชัด และมีคําเตือนเฉพาะ เชน ควรใชสีดําทั้งตัวถังหรือฝาถัง มีรูปกะโหลกไขว มีขอความระบุวา "มูลฝอยติดเชื้อ" หรือ "หามน้ํากลับมาใชอีก" หรือ "หามเปด"

Page 28: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

17

- การเก็บมูลฝอยในถุงไมควรใหมีปริมาณ หรือน้ําหนักมากจนทําใหถุงขาดทะลุ หรือมัดปดฝาถุงไมได

- เมื่อบรรจุมูลฝอยไดประมาณสามในสี่ของถุงแลว ใหมัดปากถุงใหแนนดวยเชือกแลววางไวที่มุมใดมุมหนึ่ง

(3) อุณหภูมิและระยะเวลาที่ใชในการกักเก็บ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น จุลินทรียตาง ๆ จะมีอัตราการเจริญเติบโตและมีการเพิ่มปริมาณมากขึ้นทําให มูลฝอยนั้นมีกล่ินเหม็น เนื่องจากการเนาเปอยของสารอินทรียในมูลฝอยติดเชื้อนั้น อุณหภูมิและระยะเวลาที่ใชในการกักเก็บมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสม ยังไมมีความเห็นที่เปนเอกฉันท (U.S.EPA, 1986) อุณหภูมิที่ใชในการกักเก็บมีตั้งแต 64 - 77 องศาฟาเรนไฮน โดยใชเวลาในการกักเก็บ 1 วัน หรือใชอุณหภูมิ 34 - 45 องศาฟาเรนไฮน ในการกักเก็บนาน 3 วัน U.S.EPA (1986) แนะนําใหใชระยะเวลาในการกักเก็บนอยที่สุดเทาที่จะทําได

(4) บริเวณ / สถานที่กักเก็บ ควรตั้งอยูบริเวณหรือใกลบริเวณสถานที่กําจัด เพื่อความปลอดภัยและจํากัดบริเวณ จํากัดบุคคลผานเขา - ออก ปลอดจากหนูและพาหะนําโรค ติดสัญลักษณและคําเตือนวาเปนสถานที่กักเก็บมูลฝอยติดเชื้อ

2.1.4.3 การเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุขที่มีจุดกําเนิดมูลฝอยติดเชื้ออยูหลายจุด การเคลื่อนยายมูลฝอยจากจุดตาง ๆ ไปยังสถานที่รวบรวม เพื่อรอการขนสงไปกําจัด ตองทําอยางเปนระบบ เชน เวลาเก็บ เสนทางเคลื่อนยาย

1) ลักษณะรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อ ควรเปนรถที่ใชสําหรับเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อเพียงอยางเดียว รถเข็นสําหรับเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล ควรมีลักษณะดังนี้ (1) ทําดวยวัสดุที่ทําความสะอาดงาย มีไมแงมุม อันจะเปนแหลงหมักหมมของเชื้อโรค และสามารถทําความสะอาดดวยน้ําได

(2) มีพื้น ผนังทึบ และมีฝาปดเพื่อปองกันการรั่วซึม เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแลว ตองปดฝาใหแนน เพื่อปองกันสัตวและแมลงเขาไป

(3) มีขอความสีแดง ที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอยางนอย 2 ดานวา “รถเข็น มูลฝอยติดเชื้อ หามนําไปใชในกิจการอื่น”

(4) มีรูระบายน้ําที่พื้น รูนี้จะตองอุดไวตลอดเวลาที่ใชและเปดเฉพาะเวลาทําความสะอาดรถเทานั้น

(5) ตองมีอุปกรณหรือเครื่องมือสําหรับใชเก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหลนระหวางการเคลื่อนยายและอุปกรณหรือเครื่องมือสําหรับใชทําความสะอาดและฆาเชื้อบริเวณที่ มูลฝอยติดเชื้อตกหลน ตลอดเวลาที่ทําการเคลื่อนยายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ

Page 29: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

18

2) การเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อ (1) ผูปฏิบัติงานตองมีความรูเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกลาว

ตองผานการฝกอบรมการปองกันและระงับการแพรเชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอย ติดเชื้อ (2) ผูปฏิบัติงานสวมอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล ไดแก ถุงมือ

ยางหนา ผากันเปอน ผาปดปากปดจมูก และรองเทาพื้นยางหุมแขง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานและถาในการปฏิบัติงาน รางกาย หรือสวนใดสวนหนึ่งของรางกาย ไปสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อ ผูปฏิบัติงานควรทําความสะอาดรางกายหรือสวนที่สัมผัสมูลฝอย ติดเชื้อทันที

(3) การยกและการจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตองทําอยางถูกวิธี ไดแก การหยิบจับบริเวณคอถุง อยางระมัดระวัง ไมอุม ไมโยน หรือลากภาชนะสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ

การเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อ 1) ควรขนตามเวลาที่กําหนด โดยมีเสนทางที่แนนอน

2) ใหดําเนินการดวยความระมัดระวัง และนุมนวล หามโยน ลากถุงมูลฝอย 3) ระหวางเดินทางไปยังที่สถานที่เก็บกักหามแวะหรือพักที่ใด

4) เมื่อมีมูลฝอยตกหลนระหวางทางหามหยิบดวยมือเปลา ควรใชคีมเหล็กหรือหยิบดวยถุงมือยางหนา เก็บใสถุงมูลฝอยติดเชื้ออีกใบหากมีสารน้ําใหซับดวยกระดาษ แลวทิ้งกระดาษลงถุงมูลฝอยติดเชื้อ แลวจึงราดน้ํายาฆาเชื้อกอนเช็ดถูตามปกติ โดยใชรถเข็นโดยมีเสนทางเคลื่อนยายที่แนนอน และในระหวางการเคลื่อนยายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ หามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด 5) ทําความสะอาดและฆาเชื้อรถเข็นและอุปกรณในการปฏิบัติงานดวยน้ํายาฆาเชื้ออยางนอยวันละครั้งหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน โดยการฉีดน้ําลางครั้งแรก ขัดลางดวยน้ําผสมผงซักฟอกถูดวยแปรงชนิดมีดาม ลางดวยน้ําสะอาดนําไปตากแดดใหแหงเพื่อฆาเชื้อโรค

สถานที่ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ควรมีสุขลักษณะอาคารที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ควรมีลักษณะดังนี้

1) ควรแยกเปนสัดสวนจากอาคารอื่น โดยเฉพาะหากทางโรงพยาบาลมีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อควรอยูใกลเตาเผาและระบบบําบัดน้ําเสีย

2) ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อควรมีขนาดเพียงพอท่ีจะรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อไดอยางนอย 2 วัน 3) พื้น ผนัง เพดาน เรียบ ทําความสะอาดงาย

Page 30: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

19

4) มีรางหรือทอระบายน้ําเสีย เชื่อมตอกับระบบบําบัดน้ําเสียมีลักษณะโปรง ไมอับชื้น 5) มีการปองกันสัตวแมลงเขาไป มีประตูกวางพอสมควรตามขนาดหอง หรืออาคารเพื่อสะดวกตอการปฏิบัติงาน และปดดวยกุญแจหรือปดดวยวิธีอ่ืนที่บุคคลทั่วไปไมสามารถจะเขาไปได 6) มีขอความเปนคําเตือน เห็นไดชัดเจนวา “ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ” ไวที่หนาหองหรือหนาอาคาร 7) มีลานลางรถเข็นใกลที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อและลานนั้นตองมีทอ รางหรือทอรวบรวมน้ําเสียจากการลางรถเข็นเขาสูระบบบําบัดน้ําเสีย

ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไวเกิน 7 วัน ตองสามารถควบคุมอุณหภูมิอยูที่ 10 องศาเซลเซียส หรือต่ํากวานั้นได

การทําความสะอาดที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ 1) ตองทําความสะอาด ขัดถู โดยเฉพาะบริเวณที่เปนจุดหมักหมมเปนประจําสม่ําเสมอดวยน้ํายาฆาเชื้อ อยางนอยสัปดาหละ 1 คร้ัง 2) น้ําทิ้งที่ผานการลางทําความสะอาดที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ มีการวางทอเขาสูระบบบําบัดน้ําเสีย ไมควรปลอยลงสูแหลงน้ําสาธารณะ เพราะจะทําใหเกิดการแพรกระจายของเชื้อโรค

การควบคุมสัตวและแมลงพาหะนําโรค หากสถานบริการสาธารณสุขสามารถจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ไดอยางมี

ประสิทธิภาพ นั่นคือสามารถดําเนินการจัดการใหตองดวยสุขลักษณะในแตละขั้นตอน ตั้งแตการเก็บรวบรวมเคลื่อนยาย เก็บขน และการกําจัด แลวจะสามารถปองกันมิใหเกิดแหลงเพาะพันธุสัตว และแมลงพาหะนําโรคที่สําคัญ คือ หนู แมลงวัน แมลงสาบ แมลงหวี่ และแมลงนําโรคอื่น ๆ พบวา สถานบริการสาธารณสุขหลายแหงที่พบปญหาสัตวและแมลงนําโรคจากการจัดการมูลฝอยที่ไมถูกวิธี ซ่ึงหากประสบปญหาดังกลาวสถานบริการสาธารณสุข จะตองจัดทําโครงการควบคุมสัตวและแมลงนําโรคขึ้น เพื่อใหเกิดการแกปญหาทั้งระบบ นั่นคือการกําจัดหนู แมลงวัน แมลงสาบ ฯลฯ ตลอดจนการปรับปรุงดานสุขาภิบาลสิ่งแวดลอมในโรงพยาบาล ใหไดมาตรฐานแลวจะสามารถปองกันปญหาดังกลาวได

1) ควรอยูแยกจากอาคารอื่น ถาสถานบริการมีเตาเผา ควรอยูใกลเตาเผา ถาไมมีเตาเผาควรอยูใกลและสะดวกตอการเคลื่อนยายตอ

Page 31: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

20

2) มีขนาดเพียงพอที่จะรวบรวมมูลฝอยไดอยางนอย 2 วัน 3) ควรมีคําเตือนสําหรับสถานที่เก็บกักมูลฝอย 4) มีลักษณะโปรง โลง ไมอับชื้นหรือรอนจัดจนเกินไป 5) หนาตาง ประตูเขาและออกแยกจากกัน ชองใตหลังคาควรมีมุงลวดกันแมลงเขา ประตูกวางพอใหสะดวก สําหรับการปฏิบัติงาน ควรปดอยูเสมอและควรมีกุญแจล็อค 6) ผนัง พื้น ควรเรียบ สามารถระบายน้ําไดดี 7) มีลานสําหรับลางรถเข็นอยูติดประตูออก

การขนสงมูลฝอยติดเชื้อ การขนสงมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการ

สาธารณสุขหรือหองปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนําไปกําจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งหองปฏิบัติการเชื้ออันตราย ตองดําเนินการใหถูกสุขลักษณะดังนี้

1) ลักษณะของยานพาหนะสําหรับขนสงมูลฝอยติดเชื้อ (1) ตัวถังปดทึบ ผนังดานในตองบุดวยวัสดุที่ทนทานทําความสะอาดงาย

ไมร่ัวซึม (2) ยานพาหนะที่ใชขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชือ้ทีเ่กบ็

มานานเกินกวา 7 วัน ภายในตัวถังของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตองสามารถควบคุมอุณหภูมิใหอยูที่ 10 องศาเซลเซียส หรือต่ํากวานั้นไดและจะตองติดเครื่องเทอรโมมิเตอรที่สามารถอานคาอุณหภูมิภายในตัวถังยานพาหนะไวดวย

(3) มีขอความสีแดง ขนาดสามารถมองเห็นไดชัดเจน ปดไวที่ภายนอกตัวถังดานขางทั้งสองดานวา “ใชเฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ”

(4) กรณีราชการสวนทองถ่ินทําการขนมูลฝอยติดเชื้อ ใหราชการสวนทองถ่ินนั้นแสดงชื่อของราชการสวนทองถ่ินดวยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นไดชัดเจนไวที่ภายนอกตัวถังดานขางทั้งสองดานของรถขนมูลฝอยติดเชื้อ

กรณีบุคคลซึ่งไดรับมอบจากราชการสวนทองถ่ินใหเปนผูกําจัด มูลฝอยติดเชื้อภายใตการกํากับดูแลของราชการสวนทองถ่ินนั้น ทําการขนมูลฝอยติดเชื้อ ใหบุคคลนั้นแสดงชื่อราชการสวนทองถ่ินดวยตัวหนังสือสีแดง ที่มีขนาดมองเห็นไดชัดเจนไวที่ภายนอกตัวถังดานขางทั้งสองดานของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ พรอมกับแสดงแผนปาย ขนาดสามารถมองเห็นไดชัดเจนระบุวิธีที่ราชการสวนทองถ่ินมอบใหบุคคลนั้นดําเนินการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อและชื่อ ที่อยู หมายเลขโทรศัพทของบุคคลนั้นไวในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นไดอยางชัดเจนดวย

Page 32: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

21

กรณีบุคคลซึ่ งได รับอนุญาตจากราชการสวนทอง ถ่ินให เปนผูดําเนินการรับทําการขนมูลฝอยติดเชื้อ โดยทําเปนธุรกิจหรือโดยไดรับประโยชนตอบแทนดวยการคิดคาบริการทําการขนมูลฝอยติดเชื้อ ใหบุคคลนั้นแสดงชื่อราชการสวนทองถ่ินดวยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถเห็นไดชัดเจน พรอมกับแผนปายที่สามารถมองเห็นไดชัดเจนระบุรหัส หรือหมายเลขใบอนุญาต ช่ือ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพทของบุคคลนั้นไวที่ภายนอกตัวถังดานขางของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ

(5) ตองมีเครื่องปองกันอันตรายสวนบุคคลที่เหมาะสมสําหรับผูขับขี่ และผูปฏิบัติงานประจํายานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณทําความสะอาด กรณีการตกหลนหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณหรือเครื่องมือปองกันอัคคีภัย และอุปกรณหรือเคร่ืองมือส่ือสารสําหรับใชติดตอแจงเหตุกรณีเกิดอุบัติเหตุ อยูในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทําการขนมูลฝอยติดเชื้อ

2) การปฏิบัติในการขนมูลฝอยติดเชื้อ (1) การเตรียมการกอนขน

- กําหนดแผนที่แสดงเสนทางการขนโดยกําหนดใหผานแหลงชุมชนนอยที่สุดและคํานึงถึงปจจัย หลักเกณฑตาง ๆ เชน ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อในแตละเสนทางการขน ระยะทางที่ใกลที่สุดระหวางแหลงกําเนิดมูลฝอยติดเชื้อที่ใชบริการเก็บขน น้ําหนักการบรรทุกของยานพาหนะ เพื่อประกอบการพิจารณาเสนทางในการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ

- แจงหลักเกณฑ ขอตกลงตาง ๆ ที่สําคัญและจําเปนสําหรับการบริการขนใหผูรับบริการทราบ เชน กําหนดการขน การใชภาชนะบรรจุ การคัดแยกมูลฝอยอยางถูกตอง วิธีการสงมอบมูลฝอยติดเชื้อ และขอกําหนดอื่น ๆ ที่จําเปน

- กําหนดวันเวลา ที่ดําเนินการจัดเก็บในเสนทางตาง ๆ - ดําเนินการจัดเก็บตามเสนทาง วันและเวลาที่กําหนด อยาง

เครงครัด (2) การขนมูลฝอยติดเชื้อ ผูปฏิบัติงานประจํายานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตองสวมอุปกรณ

ปองกันอันตรายสวนบุคคล ไดแก ถุงมือยางหนา ผากนัเปอน ผาปดปาก ปดจมูก และรองเทาพืน้ยางหุมแขง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานขนมูลฝอยติดเชื้อ และควรปฏิบัติดังนี้

- การยกถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใหจับที่คอถุงบริเวณที่ผูกเชือก ยกใหหางจากตัว หามแบก หามอุมหรือลาก

Page 33: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

22

- ช่ังน้ําหนักมูลฝอยติดเชื้อ และนําไปวางบนยานพาหนะขน โดยคอย ๆ วางใหปากถุงตั้งขึ้น หามโยน หามเอาของหนักทับถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ

- เมื่อขนหรือบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเขาสูยานพาหนะเรียบรอยแลว ใหปดล็อคประตูยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ สํารวจความเรียบรอยรอบ ๆ บริเวณที่ทําการขนวามีการตกหลนหรือร่ัวไหลของมูลฝอย ติดเชื้อหรือไม รวมทั้งปดล็อคประตูที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อใหเรียบรอย

- เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อใหถอดถุงมือยาง ผากันเปอน และรองเทาพื้นยางหุมแขงออก แลวนําไปเก็บในชองเก็บอุปกรณภายในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ จากนั้นลางมือใหสะอาด และจัดทําบันทึกการรับสงมูลฝอยติดเชื้อ กอนเดินทางไปขนมูลฝอยติดเชื้อที่สถานที่ใชบริการแหงตอไป ตามแผนการจัดเก็บที่วางไว

- เมื่อเสร็จสิ้นการขนมูลฝอยติดเชื้อตามแผนการจัดเก็บมูลฝอย ติดเชื้อแลวใหรีบขนมูลฝอยติดเชื้อ ไปยังสถานที่กําจัดเพื่อกําจัด หรือเก็บไวในสถานที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกําจัด ทั้งนี้ผูขับขี่ยานพาหนะจะตองขับขี่ยานพาหนะโดยระมัดระวังปฏิบัติตามกฎจราจรและขอกําหนดในการขนอยางเครงครัด เชน การใชเสนทางตามที่กําหนด ไมแวะพักโดยไมมีความจําเปน

2.1.4.4 การทําลายเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข U.S.EPA (1986) แนะนําใหมีการทําลายเชื้อเบื้องตนกอนนํามูลฝอยติดเชื้อไปกาํจดั

การบําบัด หมายถึง วิธีการ เทคนิค หรือกระบวนการใด ๆ ที่เปลี่ยนลักษณะทางชีวภาพ หรือ สวนประกอบของมูลฝอยติดเชื้อ

จุดมุงหมายในการบําบัดมูลฝอยติดเชื้อ คือ เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีในมูลฝอยติดเชื้อนั้นการบําบัดมูลฝอยติดเชื้อที่ดีตองสามารถลดหรือทําลายเชื้อโรคที่มีในมูลฝอยติดเชื้อ จนไมทําใหเกิดอันตรายตอบุคคลที่สัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อเหลานั้น มูลฝอยติดเชื้อที่ผานกระบวนการบําบัดแลวสามารถจัดการและกําจัดได เชน เดียวกับมูลฝอยทั่วไปได

การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกตองเหมาะสมควรเปนวิธีที่ประหยัดและไมทําลายส่ิงแวดลอม จึงควรมีการทําลายเชื้อกอนนํามูลฝอยติดเชื้อไปกําจัด การทําลายเชื้อและการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อกระทําไดหลายวิธี ดังนี้

การทําลายเชื้อ เปนการใชเทคนิคหรือกระบวนการ เพื่อลดหรือทําลายเชื้อโรคในมูลฝอยติดเชื้อจนไมเกิดอันตรายตอผูสัมผัสและสามารถนําไปกําจัดรวมกับมูลฝอยทั่วไปได วิธีการทําลายเชื้อ ไดแก

Page 34: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

23

1) การอบไอน้ํา (Steam Sterilizations/Autoclaving) การทําลายเชื้อดวยไอน้ํา สําหรับมูลฝอยติดเชื้อ ใชไอน้ําลอยตัวภายในถังแรงดัน มักเรียกวา Steam Sterilization หรือ Auto - craving หรือ retort ณ อุณหภูมิสูงเพียงพอสําหรับทําลายเชื้อโรคในมูลฝอยได ระบบทําลายเชื้อดวยไอน้ํา จะไดผลดีขึ้นอยูกับระยะเวลาและอุณหภูมิ ดังนั้น จึงมีความจําเปนที่มูลฝอยทุกสวนจะตองสัมผัสกับอุณหภูมิที่ตองการตามระยะเวลาที่กําหนด กระบวนการทําลายเชื้อเร่ิมตนดวยการแทรกตัวของไอน้ําเขาในมูลฝอย ทําใหเกิดการนําความรอนที่ชวยใหการถายเทความรอนดีขึ้น การทําลายเชื้อที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นไดตามอัตราการแทรกตัวของไอน้ํา ซ่ึงเปนปจจัยที่สําคัญยิ่ง การทําใหไอน้ําแทรกตัวเขาไดทั่วถึงทุกสวน จะตองไลอากาศออกจากถังแรงดันใหหมด ไม เชน นั้นอากาศในถังแรงดัน จะทําใหประสิทธิภาพการทําลายเชื้อลดลง

2) การใชความรอน (Thermal inactivation) การทําลายเชื้อโดยใชความรอน อาศัยหลักการถายเทความรอน ทําใหเกิดสภาวะที่เชื้อโรคไมสามารถดํารงอยูไดในมูลฝอย โดยทั่วไปวิธีนี้เหมาะกับมูลฝอยติดเชื้อปริมาณมาก ๆ

(1) การทําลายเชื้อดวยความรอนสําหรับมูลฝอยติดเชื้อในรูปของเหลว ระบบนี้มีทั้งแบบการทํางานไมตอเนื่อง โดยใชถังบรรจุมูลฝอยเดี่ยว และแบบทํางานตอเนื่อง โดยใชถังบรรจุมูลฝอยคู กอนทําลายเชื้ออาจตองอุนมูลฝอยใหอุณหภูมิระดับหนึ่ง และอาจตองกวนผสมใหมูลฝอยคลุกเคลาเปนเนื้อเดียวกัน และใหความรอนกระจายทั่วถึง อุณหภูมิที่ใชขึ้นอยูกับชนิดเชื้อโรค ที่คาดวาจะพบในมูลฝอยติดเชื้อของแหลงที่ตองการกําจัด

(2) การทําลายเชื้อดวยความรอนสําหรับมูลฝอยติดเชื้อในรูปของแข็ง ระบบนี้ใชเทคนิคของความรอนแหง (Dry Heat) โดยมูลฝอยติดเชื้อจะไดรับความรอนจากเตาไฟฟา เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพต่ํากวาระบบที่ใชไอน้ํา ดังนั้น จึงตองใชอุณหภูมิสูงกวาและใชเวลานานกวาโดยทั่วไปใชอุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ถึง 170 องศาเซลเซียส เปนเวลา 2 – 4 ช่ัวโมง

3) การอบกาซ / ไอ (Gas Vapor sterilization) การอบกาซ / ไอ โดยใช Ethylene Oxide, Formaldehyde ปจจุบันไมนิยมนํามาใช เพราะ Ethylene และ Formaldehyde ทําใหผูสัมผัสเกิดโรคมะเร็ง (OSHA และ EPA) การนํามาใชจึงตองมีมาตรการความปลอดภัยอยางเครงครัด ดังนั้น หากพิจารณานําวิธีนี้มาใชจะตองเปรียบเทียบขอดีขอเสียใหแนชัด

ในระยะหลังเอทธีลีนออกไซด มักไดรับการแนะนําวาไมควรใชกับมูลฝอยติดเชื้อ สวนฟอมัลดีไฮด ควรใชกับบุคลากรที่ไดรับการฝกฝนในการใชงานมาเปนอยางดี

การทําลายเชื้อดวยกาซเหลานี้ มักจะมีกาซสวนที่เหลือจากกระบวนการทําลายเชื้อสะสมอยูในมูลฝอย ซ่ึงจะระเหยออกมาในภายหลังได

Page 35: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

24

4) การใชสารเคมี (Chemical Disinfection) (1) การทําลายเชื้อดวยสารเคมี เปนวิธีที่เหมาะสมสําหรับมูลฝอยที่

เปนของเหลว แตก็ใชกับมูลฝอยของแข็งไดดวย การทําลายเชื้อดวยสารเคมีใหไดผลดี ตองคํานึงถึงปจจัยตาง ๆ ดังนี้

(2) ชนิดของเชื้อโรคและปริมาณเชื้อโรคที่ปนเปอน (3) ปริมาณหรือสัดสวนสารอินทรียในมูลฝอยติดเชื้อ (4) ชนิดของสารฆาเชื้อโรค (5) ความเขมขนและปริมาณสารฆาเชื้อโรค (6) ระยะเวลาสัมผัส (7) อ่ืน ๆ เชน อุณหภูมิ คาความกรดดาง เปนตน

สารเคมีนิยมนํามาใชในสถานพยาบาลเพื่อทําความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณตาง ๆ การทําความสะอาดกอนผาตัด การทําความสะอาดพื้น ผนังและเฟอรนิเจอรตาง ๆ การบําบัดโดยใชสารเคมี เปนการฆาเชื้อบนวัตถุตาง ๆ มากกวาเปนการทําใหปลอดเช้ือ สารเคมีที่นิยมใช ไดแก สารประกอบคลอรีน เชน hypochlorite, chlorinated isocyanurates, Iodophor, Formaldehyde, Alcohols, Glutaraldehyde ฯลฯ

5) การใชรังสี (Sterilization by Irradiation) การทําลายเชื้อดวยรังสีเปนเทคโนโลยีใหมที่พัฒนาขึ้นมาใชในระยะหลัง โดยอาศัยประสบการณจากการใชรังสีใหกับเครื่องมือแพทย อุปกรณทางการแพทย อาหาร และสินคาอุปโภคตาง ๆ จึงมีการพัฒนาระบบนี้มาใชกับมูลฝอยติดเชื้อ

ขอดีของระบบนี้เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆ ที่ใชทําลายเชื้อ ไดแก (1) ใชไฟฟานอย (2) ไมตองใชไอน้ํา (3) ไมมีความรอนตกคางในมูลฝอย (4) ประสิทธิภาพดี

สวนขอดอยของระบบนี้ คือ (1) คาใชจายสูงในการติดตั้งระบบ (2) ตองใชบุคลากรที่มีความรูสูง (3) ตองใชพื้นที่มาก (4) มีปญหาในการกําจัดตนกําเนิดรังสี

Page 36: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

25

6) การทําลายเชื้อดวยคลื่นแมเหล็กไฟฟา (Microwave Treatment) การทําลายเชื้อดวยคล่ืนแมเหล็กไฟฟาเปนเทคโนโลยีใหมที่ เ ร่ิม

พัฒนาขึ้นมาใชกับมูลฝอยติดเชื้อเมื่อไมนานมานี้ ประกอบดวยสวนตัดยอยมูลฝอย (Shredder) และสวนทําลายเชื้อ

ระบบนี้ใชความรอนเปนตัวทําลายเชื้อ ความรอนดังกลาวนี้เกิดขึ้นโดยการฉีดละอองน้ําใหสัมผัสมูลฝอยอยางทั่วถึง แลวใชคล่ืนแมเหล็กไฟฟาทําใหเกิดความรอนแกละอองน้ําเหลานั้น

องคประกอบสําคัญที่ตองควบคุมเพื่อใหการทําลายเชื้อดวยคลื่นแมเหล็กไฟฟาไดผลดี ไดแก การตัดยอยมูลฝอย อุณหภูมิ และระยะเวลาในการใหความรอน การตัดยอยมูลฝอยมีสวนสําคัญมาก ซ่ึงตองตัดมูลฝอยใหยอยที่สุด และคลุกเคลาใหทั่วถึง เพื่อใหละอองน้าํสัมผัสมูลฝอยไดทุกจุดไม เชน นั้นจะเกิดจุดบอด ซ่ึงมูลฝอยบริเวณที่ไมมีความชื้น จะไมไดรับความรอนเพียงพอ (Cold Spot) โดยทั่วไประบบนี้ควรควบคุมใหทํางานที่อุณหภูมิไมต่ํากวา 95 องศาเซลเซียส เปนระยะเวลาไมนอยกวา 20 นาที

ขอดีของระบบทําลายเชื้อดวยคลื่นแมเหล็กไฟฟา ไดแก การลดปริมาตรของมูลฝอยไดมากเนื่องจากการตัดยอยมูลฝอยละเอียด ทําใหโพรงชองวางภายในมูลฝอยลดลง การใชพื้นที่คอนขางนอยกวาระบบอื่นและไมมีน้ําเสียออกจากระบบ สวนขอดอยของระบบนี้ คือไมสามารถใชกับมูลฝอยทางดานพยาธิวิทยา และมีขอกําจัดในการใชกับมูลฝอยประเภทของมีคมและของเหลวตาง ๆ

2.1.4.5 การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อเปนการทําลายเช้ือโรคที่มีอยูในมูลฝอยติดเชื้อเพื่อปองกัน

อันตรายหรือผลกระทบตอสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดลอมตามหลักสุขาภิบาล ซ่ึงขั้นตอนหรือกระบวนการในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่สําคัญประกอบดวย 2 ขั้นตอน คือการทําลายเชื้อโรค และการกําจัดขั้นสุดทาย (กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2549 : 20-29)

การทําลายเชื้อ เปนการทําลายเชื้อโรคที่มีอยูในมูลฝอยติดเชื้อดวยวิธีตามมาตรฐานสากลตามที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดไว ตามกฎกระทรวงวาดวยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ดังตอไปนี้ 1. การเผาในเตาเผา ซ่ึงเปนการทําลายเชื้อใหหมดไป และมีสวนของกากขี้เถาหลงเหลืออยูซ่ึงจะตองนําไปกําจัดยังบริเวณพื้นที่กําจัดมูลฝอย ตอไป 2. การทําลายเชื้อดวยไอน้ํา เปนการฆาเชื้อโรควิธีหนึ่งซึ่งวิธีนี้จะมีมูลฝอยคงเหลือในปริมาณเทาเดิมหรือมากกวาเดิมเนื่องจากความชื้นจากไอน้ําที่ใชในการอบ

Page 37: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

26

3. การทําลายเชื้อดวยความรอน เปนวิธีที่อาศัยหลักการถายเทความรอนทําใหเกิดสภาวะที่เชื้อโรคไมสามารถดํารงอยูไดในมูลฝอย โดยท่ัวไปวิธีนี้เหมาะที่จะใชกับมูลฝอยติดเชื้อปริมาณมาก ๆ 4. วิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจากวิธีการเผาในเตาเผา การทําลายเชื้อดวยไอน้ําการทําลายเชื้อดวยความรอน เชน การทําลายเชื้อดวยสารเคมี การทําลายเชื้อดวยกาซ การทําลายเชื้อดวยคล่ืนแมเหล็กไฟฟา (Microwave) และการทําลายเช้ือดวยรังสี เปนตนนั้น การใชวิธีเหลานี้เพื่อกําจัดมูลฝอยติดเชื้อจะตองไดรับความเห็นชอบจากกระทรวงสาธารณสุข โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามกฎกระทรวงวาดวยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 จึงจะสามารถนําไปใชในการกําจัด มูลฝอยติดเชื้อไดอยางถูกตองตามกฎหมาย

การกําจัดขั้นสุดทาย เปนการนํามูลฝอยติดเชื้อที่ผานการทําลายเชื้อจนปลอดภัยแลวไปกําจัดดวยวิธีการที่ถูกหลักสุขาภิบาล เชน การฝงกลบอยางถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) ตอไป

เทคโนโลยีการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่จะกลาวถึงนี้ มีรายละเอียดตาง ๆ ดานทฤษฎีของเทคโนโลยีการกําจัดประเภทตาง ๆ ซ่ึงมีการใชงานหรือปฏิบัติจริง เพื่อเปนการเสริมความรูทางดานเทคนิค หลักการ วิธีการของการทําลายเช้ือและการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อไดอยางกวางขวางมากขึ้น อันจะเปนประโยชนตอผูบริหาร ผูประกอบกิจการ เจาหนาที่ผูรับผิดชอบ และผูปฏิบัติงานในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุข หองปฏิบัติการเชื้ออันตราย องคกรปกครองสวนทองถ่ิน และหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของ เทคโนโลยีการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่จะกลาวถึงนี้มีรายละเอียดที่แตกตางกัน แตสําหรับประเทศไทยในปจจุบันมีเพียงวิธีการเผาในเตาเผา การทําลายเชื้อดวยไอน้ํา และการทําลายเชื้อดวยความรอนเทานั้น ที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตใหใชในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อได ซ่ึงรายละเอียดของเทคโนโลยีตาง ๆ(กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2549 : 68-73 ) ไดแก

1) การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา (Incineration) การใชเตาเผาทําลายมูลฝอยติดเชื้อ เปนวิธีกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่แพรหลายในปจจุบัน เนื่องจากเปนการบําบัดมูลฝอยติดเชื้อที่ไดเปรียบวิธีอ่ืนคือสามารถทําไดทั้งลดปริมาณมูลฝอยเปลี่ยนโครงสรางทางกายภาพ และเคมีของมูลฝอยพรอมกับการทําลายเชื้อโรคในมูลฝอยติดเชื้อทําใหของเสียที่เหลือจากการเผาไหมหรือเถาที่ตองนําไปกําจัดโดยการฝงกลบตามหลักสุขาภิบาลมีปริมาณนอยกวาวิธีอ่ืนมาก ทําใหประหยัดคาใชจายในการขนสงและกําจัด ซ่ึงมลพิษทางอากาศจากการเผาไหมจะถูกปลอยออกจากปลองระบายอากาศสูช้ันบรรยากาศ โดยตรงหรือถูกบําบัดโดยระบบบําบัดมลพิษทางอากาศกอนปลอยสูช้ันบรรยากาศ

Page 38: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

27

การเผามูลฝอยติดเชื้อจะตองเผาที่อุณหภูมิสูง และมีระยะเวลาในการเผาไหมเหมาะสมเพียงพอสําหรับการทําลายมูลฝอยชนิดตาง ๆ ไดแก ช้ินเนื้อ อวัยวะและมูลฝอยติดเชื้ออ่ืน ๆ โดยมีความรอนหรืออุณหภูมิในการเผาไหมมูลฝอย และเผาไหมควันไมต่ํากวา 760 องศาเซลเซียส และ 1,000 องศาเซลเซียส ตามลําดับ จึงจะทําใหการเผาไหมเปนไปอยางสมบูรณ ขอเสียของการใชเตาเผา ไดแก มีคาใชจายในการกอสรางและคาดําเนินการสูง ประกอบกับตองการบุคลากรที่มีความรู และทักษะเฉพาะดานในการควบคุมใชงานและบํารุงรักษาที่ถูกวิธี ทั้งยังตองหาพื้นที่สําหรับฝงกลบเถาในขั้นตอนสุดทายดวย นอกจากนี้ในกรณีที่การเผาไหมในเตาเผาไมสมบรูณจะทําใหเกิดปญหามลพิษทางอากาศ เชน เขมาควัน ฝุนละออง กล่ินและกาซตาง ๆ ที่อาจกอผลกระทบตอสุขภาพ หรือเหตุรําคาญตอประชาชนที่อยูบริเวณใกลเคียง

การเผาไหมในเตาเผามูลฝอยมีหลักการทํางานอยู 2 ประเภทใหญ ๆ คือ (1) ประเภทใชอากาศมากเกินพอ (Excess Air) เปนการเผามูลฝอยทีใ่ช

หรือใหอากาศมากเกินพอกวาปริมาณอากาศที่ตองการตามทฤษฎี เหมาะสําหรับมูลฝอยที่ติดไฟไดงายและไมมีการเผาไหมที่รุนแรง หรือการเกิดระเบิดอยางรุนแรง โดยทั่วไปการเผามูลฝอยชุมชนจะนิยมใชเตาเผาประเภทนี้

(2) ประเภทใชอากาศนอย (Starved Air) เปนการเผามูลฝอยที่ใชหรือใหอากาศนอยกวาปริมาณอากาศที่ตองการตามทฤษฎี โดยนิยมเผามูลฝอยที่มีลักษณะสมบัติใกลเคียงกันและลุกไหมไดดี เชน มูลฝอยอุตสาหกรรม เปนตน

เตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่นิยมใชกันทั่วไปสามารถแบงไดเปน 3 แบบ คือ (1) เตาเผาหลายหองเผา (Multi - chamber incinerator) (2) เตาเผาที่ใชอากาศนอย (Starved - air Incinerator หรือ Controlled air incinerator) และ (3) เตาเผาแบบหมุน (Rotary kiln incinerator) หลักการทํางานทั่ว ๆ ไปของเตาเผาทั้งสามแบบดังนี้

(1) เตาเผามูลฝอยแบบหลายหองเผา (Multiple - chamber incinerators) เตาเผาประเภทนี้มีหองเผามากกวาหนึ่งหองเผาเพื่อวัตถุประสงคใหมีการเผาไหมที่สมบูรณขึ้นโดยเตาเผาประเภทนี้มักใชอากาศจํานวนมาก บางครั้งจึงถูกเรียกวา Excess air incinerator การทํางานของเตาเผานั้น หองเผาแรกจะทําหนาที่เผามูลฝอย หองเผาไหมที่สองจะออกแบบใหมีเวลาที่ตองใชเพื่อการเผาไหมนานขึ้นและอาจจะมีหัวเผาเพิ่มขึ้นดวยเพื่อชวยในการเผาไหมกาซและอนุภาคตาง ๆ ซ่ึงถูกขับออกมาจากหองเผาแรก เตาเผามูลฝอยแบบนี้ยังสามารถแบงออกตามลักษณะไดอีก 2 ชนิด คือ แบบ retort และ In - line

- เตาเผาแบบ Retort จะเปนรูปทรงสี่เหล่ียมซึ่งภายในมีชองแบงหลาย ๆ ชองสําหรับทําหนาที่บังคับการไหลของกาซจากการเผาไหมหักมุม 90 องศา ทั้งใน

Page 39: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

28

แนวราบและในแนวดิ่ง ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนทิศทางไหลของกาซ เขมาและอนุภาคตาง ๆ ที่มากับกาซรอนจะรวงตกลงมา ดังภาพตัดของเตาเผาที่แสดงในรูป

ภาพที่ 2.1 เตาเผาแบบหลายหองเผา (Multiple - chamber incinerators/retort type) ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2549:70

- เตาเผาแบบ In - line จะมีขนาดใหญกวาเตาเผาแบบ retort การไหลของกาซจากการเผาไหมจะเปนเสนตรงในแนวแกนตลอดทั้งเตา โดยจะมีชองแบงเพื่อใหกาซเกิดการหักเหทิศทางดังแสดงในรูป การเคลื่อนที่ของกาซรอนเมื่อผานชองแบงภายในเตาก็จะเปน เชน เดียวกับเตาเผาแบบ retort คือจะมีอนุภาคตาง ๆ ตกลงมาและยังชวยใหเกิดการไหลแบบปนปวน (Turbulence flow) ซ่ึงชวยใหประสิทธิภาพในการเผาไหมดีขึ้น ในหองเผาไหมแรกจะมีหัวเผาติดอยูซ่ึงทําหนาที่ในการจุดมูลฝอยใหติดไฟในขณะที่หัวเผาในหองเผาไหมที่สองทําหนาที่ในการรักษาอุณหภูมิภายในหองเผาไหมนี้ใหมีคาคงที่เพื่อใชในการเผาไหมกาซรอนและอนุภาคตาง ๆ ที่ยงัเผาไหมไมสมบูรณ

Page 40: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

29

ภาพที่ 2.2 เตาเผาแบบหลายหองเผา (Multiple - chamber incinerators/Inline type) ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2549:70

(2) เตาเผาประเภทใชอากาศนอย (Starved air หรือ Controlled air incinerator) เตาเผาแบบนี้ไดมีการปรับปรุงมาจากระบบเตาเผาแบบ Pyrolysis โดยเตาเผาปริมาณต่ํากวาปริมาณอากาศที่ตองการทางทฤษฎีมากเขามาทางดานลางของมูลฝอย อากาศสวนนี้ทําหนาที่ใหความรอนเพียงพอที่จะทําใหมูลฝอยติดไฟเทานั้นอุณหภูมิของหองเผาไหมนี้จะอยูในชวง 760 - 850 องศาเซลเซียส อากาศอีกสวนหนึ่งจะปอนเขาไปในหองเผาไหมที่สองซึ่งอยูดานบน เพื่อทําการเผาไหมสารระเหิดและสารแขวนลอยที่มาจากมูลฝอยในหองเผาไหมแรกอุณหภูมิของหองเผาไหมที่สองนี้อยูที่ประมาณ 1,000 - 1,200 องศาเซลเซียส และหองเผาไหมนี้ตองเกิดปฏิกิริยาการเผาไหมที่สมบูรณ เพื่อลดปญหามลพิษทางอากาศ

เตาเผาประเภทใชอากาศนอยนี้มีขอไดเปรียบเตาเผาประเภทใชอากาศมากเกินพอ (excess air) หลายประการ คือการเผาประเภทใชอากาศนอยปฏิกิริยาการเผาไหมในหองเผาหองแรกเกิดขึ้นอยางชา ๆ ไมรุนแรง และมีอุณหภูมิไมสูงนักเมื่อเทียบกับเตาเผาแบบหลายหองเผา ทําใหลดปญหาเถาลอยได และเนื่องจากอุณหภูมิไมสูงมากจึงไม เกิดการหลอมขององคประกอบมูลฝอยที่เผาไหมไมได เชน โลหะ และแกว จึงไมมีปญหาตะกรันเกาะติดเตา นอกจากนี้กาซระเหยที่เกิดจากการ pyrolysis ของมูลฝอยในหองเผาหองแรกยังมีสมบัติเปนเชื้อเพลิงทําใหเพิ่มคาความรอนในการเผาไหมและชวยประหยัดพลังงานดวย

Page 41: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

30

ภาพที่ 2.3 เตาเผาประเภทใชอากาศนอย (Starved air หรือ Controlled air incinerator) ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2549:71

(3) เตาเผาแบบหมุน (Rotary Kiln incinerator) เตาเผาแบบ Rotary มีหองเผา 2 หอง โดยหองแรกมีลักษณะเปนทรงกระบอกที่วางในแนวนอนและทํามุมเอียงกับพื้นในลักษณะที่บริเวณตนหองที่ปอนมูลฝอยเขามีระดับสูงกวาตอนทายหอง หองเผาหองแรกนี้สามารถหมุนไดซ่ึงเปนที่มาของชื่อเตา สวนหองเผาที่สองเปนหองเผาควันที่เกิดจากการเผาไหมในหองเผาไหมแรก เพื่อลดปญหามลพิษทางอากาศ การที่หองเผาแรกหมุนไดทําใหมีความปนปวนในเตาสูง การเผาไหมมีประสิทธิภาพดีและความเอียงของเตาชวยทําใหเถาที่เหลือจากการเผาถูกลําเลียงออกทางดานทายเตาเผาไดโดยงาย การเผาไหมในหองเผาแรกใชอากาศมากเกินพอ เชน เดียวกับเตาเผาแบบหลายหองเผา ดังนั้น จึงมีปญหามลพิษทางอากาศโดยเฉพาะประเภทฝุนสูง ดังนั้น เตาเผาประเภทนี้จึงตองมีระบบบําบัดมลพิษทางอากาศ อยางไรก็ตามปจจุบันมีการใชระบบการเผาในหองเผาแรกเปนแบบใชอากาศนอย เชน กัน โดยหองเผานี้ (kiln) ตองปดมิดชิดไมใหอากาศเขาได ตองมีการดูแลที่ดีการทํางานของเตามีประสิทธิภาพสูงกวาลักษณะการทํางานของเตาแบบนี้มักเปนแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ เตาเผาแบบหมุนนี้นิยมใชกันอยางกวางขวางในการเผามูลฝอยอันตราย แตเพิ่งนํามาใชสําหรับเผามูลฝอยติดเชื้อไมนานมานี้ ถึงแมเตาเผาประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อสูง แตก็มีขอเสียบางประการที่ตองคํานึงถึง คือ มีคากอสราง คาดําเนินการ คาบํารุงรักษา และคาซอมแซมสูงกวาเตาเผาประเภทอื่น

Page 42: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

31

ภาพที่ 2.4 เตาเผาแบบหมุน (Rotary Kiln incinerator) ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2549:72

สรุปขอดี ขอเสียของการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา

ขอด ี ขอเสีย - สามารถลดปริมาณมูลฝอยลงจากเดิมไดมาก - สามารถทําลายเชื้อโรคไดอยางมีประสิทธิภาพ - เถา กากที่เหลือจากการเผาไหมมีปริมาณนอย - ประหยัดพื้นที่ในการกําจัดมูลฝอยมากกวาแบบอื่น - เตาเผามูลฝอยสามารถตั้งอยูใกลบริเวณที่เกิดมูลฝอย จึงเปนการลดปญหาการขนสง

- คากอสรางและคาดําเนินการสูงมาก - จะตองมีผูควบคุมที่มีความชํานาญในการควบคุมเตาเผามูลฝอย ตลอดจนมีการบํารุงรักษา และซอมแซม อยางสม่ําเสมอ - อาจมีปญหาในการหาสถานที่ตั้งเตาเผามูลฝอยที่ เหมาะสม เนื่องจากขาดการยอมรับของประชาชน ที่จะใหเตาเผามูลฝอยตั้งอยูใกลบานหรือในชุมชน - การเผามูลฝอยไมใชการกําจัดขั้นสุดทายเนื่องจากยังตองการพื้นที่สําหรับฝงกลบเถาและกากที่เหลือ จากการเผาไหม

Page 43: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

32

มูลฝอยติดเชื้อหรือกากของมูลฝอยติดเชื้อ ที่ผานการทําลายเชื้อแลว สามารถนําไปกําจัดไดหลายวิธีดังนี้

1) การฝงกลบ การกําจัดวิธีนี้เปนวิธีกําจัดขึ้นสุดทายมูลฝอยติดเชื้อที่ผานการทําลายเชื้อ

แลว เชน ผานการอบไอน้ํา เถาที่เหลือจากการเผา มูลฝอยที่ไมมีโลหะหนัก และสารพิษ สามารถนําไปฝงกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาลได

2) ปลอยลงระบบบําบัดน้ําเสีย มูลฝอยติดเชื้อที่เปนของเหลวหรือเศษชิ้นเนื้อเล็ก ๆ สามารถกําจัดโดย

ปลอยลงในระบบบําบัดน้ําเสียได 3) ฝงกลบแบบซีเคียวร (Secured Landfill) มูลฝอยเสี่ยงอันตรายหรือมูลฝอยติดเชื้อบางประเภท ตองจัดการโดย

นําไปฝงกลบใหถูกตองตามหลักวิชาการเพื่อความปลอดภัย โดยวิธีฝงกลบแบบซีเคียวร หลุมฝงมูลฝอยนิยมปูดวยช้ันกันซึมหลายชั้นของมีคมติดเชื้อที่ผานการทําลายเชื้อแลว บรรจุในภาชนะที่แข็งแรงนําไปกําจัดโดยทิ้งลงในบอมูลฝอยได การทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในบอกําจัดเปนทางเลือกประการแรกในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซ่ึงตองออกแบบและดําเนินการดังตอไปนี้

(1) ตองสรางในบริเวณที่น้ําใตดินหรือน้ําผิวดิน ไมสามารถซึมเขาสูบอ และน้ําชะมูลฝอยไมสามารถซึมออกไปปนเปอนตอน้ําใตดิน บอกําจัดขยะไมควรสรางใกลแหลงน้ํา เชน บอ หรือน้ําพุ

(2) สถานที่กอสรางบอกําจัดตองไมอยูในบริเวณที่ใชสําหรับการเกษตรกรรมหรือพื้นที่ที่จะมีโครงการพัฒนา

(3) ดินตองไมแข็งมากสามารถขุดไดดวยมือ แตมีความซึมผานไดนอย เชน ดินแดง

(4) บอกําจัดตองมีปริมาตรอยางนอย 1 ลูกบาศกเมตรตอหลุมเพื่อใหสามารถใชงานไดประมาณ 5 ป

(5) บอกําจัดตองมีการปองกันจากการคุยเขี่ยของสัตว นก และคน การปองกันการคุย เขี่ยที่ดีที่ สุด ทําไดโดยสรางฝาปดปากบอกําจัด ใหมีความกวางของเสนผาศูนยกลาง ไมเกิน 3 เมตร ฝาปดปากบอกําจัดควรทําตรงขึ้นไป ไมมีความลาดเอียง บอกําจัดลักษณะนี้สามารถใชไดเปนเวลานานโดยไมตองมีการดูแลหรือเสียคาใชจายอื่น ๆ

ในกรณีที่บอเก็บมูลฝอยติดเชื้อเต็มสามารถถายเทออก กําจัดที่สถานที่ฝงกลบอยางปลอดภัยไดโดยใชปูนขาวหรือปดปากหลุมดวยดินและคอนกรีต และสรางบอเก็บขึ้น

Page 44: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

33

ใหมแตตองเขียนบอกเพื่อใหระมัดระวังการใชที่ดินภายหลัง เชน เดียวกับบอกําจัดที่ทําการปดแลวในสถานีอนามัยตองระบุตําแหนงไวในแผนการใชที่ดินของสถานีอนามัย

2.1.5 นโยบายและแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อใหการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ คุมคาตอการลงทุนและ

สอดคลองกับบทบัญญัติแหงกฎหมายการสาธารณสุขและกฎหมายจัดตั้งองคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งทิศทางกระจายอํานาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถ่ิน กรอบนโยบายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถพิจารณาดําเนินการได ( กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2549: 4 - 8) ประกอบดวย

2.1.5.1 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่หนึ่ง ๆ ควรมีการจัดการ “แบบศูนยรวม” เพื่อใหมูลฝอยติดเชื้อจากแหลงกําเนิดตาง ๆ ในพื้นที่ไดรับการกําจัดอยางเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินในพื้นที่รวมกันดําเนินการและเปนเจาของ ทั้งนี้ ใหคํานึงถึงความคุมคาตอการลงทุน และยึดหลักการ “ผูกอมลพิษตองเปนผูจาย” (Polluter Pay Principle) รวมถึงการสงเสริมใหเอกชนมีสวนรวมในการดําเนินการดวย

2.1.5.2 เสริมสรางศักยภาพขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน ทั้งในดานการบริหารจัดการ ทรัพยากร เงินทุน บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อใหมีขีดความสามารถเปนแกนในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และการควบคุมกํากับดูแลแหลงกําเนิดมูลฝอยติดเชื้อในเขตทองถ่ิน ทั้งนี้ โดยใหสอดคลองกับระบบการจัดการแบบศูนยรวม

2.1.5.3 จัดใหมีกลไกการประสานงานรวมมือแบบบูรณาการระหวางสวนราชการที่เกี่ยวของ เพื่อกําหนดแนวทางและแผนปฏิบัติการรวมกัน เพื่อสนับสนุน ติดตามกํากับดูแลระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนยรวมขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน รวมทั้งกลไกในระดับพื้นที่ เพื่อปฏิบัติการรวมกันระหวางองคกรปกครองสวนทองถ่ินตาง ๆ และสวนราชการที่เกี่ยวของ

2.1.5.4 สงเสริมใหภาคประชาชนไดรับรูถึงสิทธิที่จะไดรับการคุมครองและมีสวนรวมในการเฝาระวังปญหามูลฝอยติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุข และการจัดการขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน

มาตรการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 1) มาตรการดานการบริหารจัดการ

(1) ผลักดันและสนับสนุนใหพื้นที่องคกรปกครองสวนทองถ่ิน ที่มีระบบกําจัดมูลฝอย ติดเชื้ออยูแลว สามารถดําเนินการไดอยางเต็มศักยภาพของระบบกําจัดที่มีอยูโดยรองรับมูลฝอยติดเชื้อจากเขตทองถ่ินขางเคียงได ทั้งนี้ เพื่อเปนตัวอยางในการบริหารจัดการ “แบบศูนยรวม”

Page 45: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

34

(2) สําหรับพื้นที่องคกรปกครองสวนทองถ่ินที่ยังไมมีระบบกําจัดมูลฝอยติดเชื้ออาจพิจารณาดําเนินการดังนี้

(ก) สนับสนุนใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินจัดทําแผนปฏิบัติการจัดการคุณภาพสิ่งแวดลอมระดับจังหวัด โดยรวมกับองคกรปกครองสวนทองถ่ินขางเคียง เพื่อเสนอแผนเปนระบบแบบศูนยรวมโดยคํานึงถึงระยะทางและความคุมทุนในการจัดการ

(ข) สนับสนุนใหเอกชนรับทําการเก็บขนและกําจัดโดยทําเปนธุรกิจเขารวมดําเนินการในทองถ่ินโดยอาจดําเนินการไดหลายรูปแบบ กลาวคือ (1) รูปแบบที่เอกชนรับสัมปทานดําเนินการทั้งระบบ (2) รูปแบบที่รัฐลงทุนสรางระบบแลวจางใหเอกชนบริหาร (3) รูปแบบที่องคกรปกครองสวนทองถ่ินรวมลงทุนกับเอกชนดําเนินการทั้งระบบแบบบริษัทเอกชน ทั้งนี้แลวแตความเหมาะสมตามความตองการขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน โดยสามารถรวมกันหลาย ๆ ทองถ่ินก็ได

(ค) สนับสนุนใหโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีระบบกําจัดมูลฝอยติดเชื้อเปนศูนยรวมเปนการชั่วคราว คือรับมูลฝอยติดเชื้อจากคลินิก โรงพยาบาลเอกชน ในเขตทองถ่ินที่ตั้งและเขตทองถ่ินขางเคียง เพื่อรองรับในชวงระยะเวลาที่องคกรปกครองสวนทองถ่ินยังไมมีความพรอมในการจัดการ (ไมมีระบบกําจัด) ซ่ึงสามารถดําเนินการได 4 รูปแบบ คือ

- รูปแบบที่ 1 กรณีที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีความพรอม องคกรปกครองสวนทองถ่ินอาจอนุญาตใหดําเนินการเก็บขน และกําจัดทั้งระบบ (ตามมาตรา 19) ซ่ึงโรงพยาบาลจะสามารถคิดคาบริการไดตามที่กําหนดในขอบัญญัติของทองถ่ิน (ตามมาตรา 20(5) ) กรณีนี้โรงพยาบาลอาจใชวิธีการจางเอกชนเปนผูดําเนินการดูแลระบบแทนไดหรืออาจใหเอกชนเชาทําเปนธุรกิจ ซ่ึงเอกชนนั้นจะตองไดรับอนุญาตจากเจาพนักงานทองถ่ินดวย

- รูปแบบที่ 2 กรณีที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีความพรอม องคกรปกครองสวนทองถ่ินอาจมอบใหดําเนินการกําจัด (ตามมาตรา 18) โดยใชเตาเผาของโรงพยาบาล แตองคกรปกครองสวนทองถ่ินรับผิดชอบในการเก็บขนมา ที่ระบบกําจัด กรณีนี้ทองถ่ินตองชวยคาใชจายใหโรงพยาบาลดวย

- รูปแบบที่ 3 กรณีที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยินยอมใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินใชเตาเผาของโรงพยาบาลเปนแหลงกําจัด กรณนีี้องคกรปกครองสวนทองถ่ินจึงบริหารจัดการทั้งระบบ คือการเก็บขนและกําจัดเองดวย ซ่ึงองคกรปกครองสวนทองถ่ินอาจไมคิดคาธรรมเนียมจากโรงพยาบาลที่ยินยอมนั้น

Page 46: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

35

- รูปแบบที่ 4 กรณีที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพรอมยกเตาเผาของโรงพยาบาลใหแกองคกรปกครองสวนทองถ่ินโดยใหเคลื่อนยายระบบเตาเผาของโรงพยาบาลไปติดตั้งในพื้นที่ที่เหมาะสม แลวใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินบริหารจัดการทั้งระบบ

(ง) องคกรปกครองสวนทองถ่ินใดที่อยูในเขตพื้นที่ที่จะอาศัยระบบกําจัดรวมขององคกรปกครองสวนทองถ่ินขางเคียงได ใหประสานงานรวมมือและทําขอตกลง โดยดําเนินการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อไปกําจัดที่ระบบขององคกรปกครองสวนทองถ่ินขางเคียงนั้น ทั้งนี้ตองชวยเรื่องคาใชจายในการกําจัดใหแกองคกรปกครองสวนทองถ่ินขางเคียงนั้นดวย

(จ) สําหรับเขตทองถ่ินหรือแหลงกําเนิดมูลฝอยติดเชื้อที่อยูหางไกลไมเหมาะสมที่จะสงมูลฝอยติดเชื้อไปกําจัดแบบศูนยรวม ใหใชเทคโนโลยีที่เหมาะสมหรือระบบกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่แหลงกําเนิด (On - site) และหากเปนพื้นที่เทศบาลตําบล หรือ อบต. ใหประกาศยกเวนการบังคับใชกฎกระทรวงในหมวดที่วาดวยการขน และการกําจัดตามความเหมาะสม

2) มาตรการดานเทคโนโลยี (1) พัฒนาเทคโนโลยีในการลดปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ การเก็บ

รวบรวม เคลื่อนยาย ขนหรือกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพปญหาขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการกําจัดแบบ Off - site และ On - site ที่มีประสิทธิภาพและไมกอใหเกิดปญหาตอสภาวะแวดลอมและสุขภาพ โดยเฉพาะพื้นที่หางไกลที่ไมสามารถจัดการแบบศูนยรวมได

(2) จัดทําและพัฒนากฎเกณฑ มาตรฐาน วิธีการปฏิบัติตามขอกําหนดในกฎกระทรวงฯ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาใหมีผลบังคับใช

(3) พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อการเฝาระวัง ติดตามกํากับ การตรวจสอบและประเมินผลระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององคกรปกครองสวนทองถ่ิน

3) มาตรการดานกฎหมาย (1) ปรับปรุงแกไขพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให

องคกรปกครองสวนทองถ่ินมีอํานาจในการจัดเก็บคาธรรมเนียมในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อไดดวย (3) ออกกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ มาตรฐาน รวมทั้งการกําหนด

หลักเกณฑและเงื่อนไขในการรวมมือกันระหวางองคกรปกครองสวนทองถ่ินที่เกี่ยวของในการจัดการแบบศูนยรวม (ถาจําเปน)

Page 47: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

36

(4) ใชมาตรการดานกฎหมาย เพื่อควบคุมปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งการกําหนดอัตราคาธรรมเนียมในการเก็บขนและการกําจัดที่เหมาะสม ตามหลักการ Polluter Pay Principle รวมทั้งการบังคับใหสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนเขาสูระบบการจัดการแบบศูนยรวมดวย

4) มาตรการดานการเงินการคลัง (1) รัฐบาลตองสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ (เร่ือง การ

จัดการมูลฝอยติดเชื้อ) โดยกระทรวงมหาดไทยหรือสํานักงานกระจายอํานาจฯ หรือโดยผานแผนปฏิบัติการระดับจังหวัด ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ทั้งนี้โดยกําหนดใหการจัดการแบบศูนยรวมเปนเงื่อนไขในการสนับสนุนงบประมาณ ใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินที่จะดําเนินการ

(2) รัฐบาลจะสงเสริมใหโรงพยาบาลของรัฐเสียคาธรรมเนียมการเก็บขนและการกําจัดใหแกองคกรปกครองสวนทองถ่ินตามอัตราที่กําหนดในขอบัญญัติของทองถ่ิน

(3) รัฐบาลจะตองใชมาตรการดานภาษี เพื่อการสงเสริมการลงทุนสําหรับภาคเอกชนที่จะลงทุนรับทําการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตทองถ่ิน

(4) รัฐบาลตองสงเสริมการรวมลงทุนระหวางองคกรปกครองสวนทองถ่ินกับเอกชนที่เหมาะสม

5) มาตรการดานสังคม (1) เผยแพรประชาสัมพันธใหผูประกอบการสถานบริการสาธารณสุข

และประชาชนโดยทั่วไปไดเขาใจและตระหนักถึงปญหาเรื่องมูลฝอยติดเชื้อ และมีสวนรวมกับองคกรปกครองสวนทองถ่ินในการจัดการและสอดสองดูแลสถานพยาบาลและเอกชนที่รับทําการเก็บขนหรือกําจัดเปนธุรกิจดวย

(2) สําหรับการกอสรางระบบกําจัดแบบศูนยรวม ณ ทองถ่ินใด จะตองใหประชาชนในทองถ่ินนั้น ไดรับขอมูลขาวสารอยางเต็มที่ และมีสวนรวมในการตัดสินใจบนพื้นฐานของความเขาใจอยางเพียงพอ

(3) สําหรับผูปฏิบัติงานในการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข ผูปฏิบัติงานในการขนหรือกําจัดขององคกรปกครองสวนทองถ่ินหรือของเอกชนที่รับทําเปนธุรกิจ จะตองไดรับการอบรมตามหลักสูตรของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยของผูปฏิบัติงานและชุมชน

Page 48: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

37

(4) พัฒนาและจัดใหมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถาบันการศึกษาสําหรับบุคลากรทางดานสาธารณสุขและสิ่งแวดลอมที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติงานดานมูลฝอยติดเชื้อ

2.2 สถานการณการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

ในป 2545 ประเทศไทยมีสถานพยาบาลที่เปนแหลงกําเนิดมูลฝอยติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 32,787 แหง แยกเปนสถานพยาบาลประเภทรับผูปวยไวคางคืน ไดแก โรงพยาบาลตาง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน 1,454 แหง รวมเตียงผูปวยทั้งสิ้น 152,326 เตียง มีปริมาณการเกิดมูลฝอยติดเชื้อประมาณ 44,594.36 กิโลกรัมตอวัน และสถานพยาบาลประเภทไมมีเตียงผูปวยไวคางคืน 31,333 แหง มีปริมาณการเกิดมูลฝอยติดเชื้อประมาณ 11,570.15 กิโลกรัมตอวัน รวมเปนปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 56,164.51 กิโลกรัมตอวัน หรือ 56.16 ตันตอวัน โดยเปนปริมาณ มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร 11.97 ตันตอวัน และในจังหวัดตาง ๆ ในสวนภูมิภาครวม 44.19 ตันตอวัน ( กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2549 : 2 )

สถานพยาบาลประเภทโรงพยาบาลซึ่งเปนแหลงมูลฝอยขนาดใหญ ประมาณรอยละ 46 ตั้งอยูในเขตชุมชน อีกรอยละ 50 ตั้งอยูในเขตรัศมี 5 กิโลเมตรจากชุมชน ระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่มีการดําเนินการโดยวิธีเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อในสถานพยาบาล เร่ิมมีปญหาผลกระทบตอประชาชนที่อาศัยอยูใกลเคียง

ปญหาหนึ่งของระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ไดแก การที่สถานพยาบาลตาง ๆ ใหความหมายและแบงประเภทรายละเอียดและคําจํากัดความมูลฝอยติดเชื้อแตกตางกัน ซ่ึงมีความสําคัญตอระบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อเชื่อมโยงสูระบบการคัดแยก เก็บ ขนและกําจัด จากการศึกษาของสุคนธ เจียสกุล และคณะ (2545 : บทคัดยอ) เร่ือง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ: สถานการณและระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย พบวา มีโรงพยาบาลเพียงรอยละ 50.69 ที่มีระบบการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้ออยูในเกณฑดี รอยละ 66.01 มีการขนยายมูลฝอยติดเชื้อจากจุดกําเนิดตามแผนกและตึกตาง ๆ ไปยังจุดกําจัดดวยวิธีการที่ไมเหมาะสม กวารอยละ 50 ยังไมมีมาตรการที่ชัดเจนดานความปลอดภัยขณะขนยายกอนไปกําจัด และยังมีคนงานที่ทํางานเกี่ยวของกับมูลฝอยติดเชื้ออีกบางสวน ที่ยังไมนิยมสวมอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลขณะปฏิบัติงาน

Page 49: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

38

ปจจุบันระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลประเภทตาง ๆ มีการดําเนินการโดยมีระบบการบําบัดและกําจัดมูลฝอยติดเชื้อทั้งในสถานพยาบาลเอง (On - site) และนอกสถานพยาบาล (Off - site) ซ่ึงโรงพยาบาลที่มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อภายในโรงพยาบาลสูงถึงรอยละ 75

เทคโนโลยีที่ใชในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่มีใชอยูในปจจุบันของประเทศไทยนั้น โรงพยาบาลสวนใหญทั้งของรัฐและเอกชน จะใชวิธีการกําจัดโดยการเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ซ่ึงเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของสถานพยาบาลที่มีอยูในปจจุบันสวนใหญเปนเตาเผามูลฝอยติดเชื้อขนาดเล็ก ยังไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควร มีการเผาไหมไมสมบูรณ ไมมีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ มีสภาพชํารุดหรือใชงานไมไดบอยครั้ง และมีการรองเรียนจากประชาชน เนื่องจากมีกล่ินและควันรบกวน โดยมีคาใชจายในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้ออยูในชวงระหวาง 7.18 – 20.52 บาทตอกิโลกรัม

ในป 2545 โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีจํานวน 880 แหง โดยสวนใหญเปนโรงพยาบาลที่มีเตาเผามูลฝอย ติดเชื้อของตนเองใชและสามารถเปดใชงานไดแลวแตมีโรงพยาบาลอีกประมาณ 21 แหง ที่ยังไมมีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของตนเอง ในจํานวนทั้งหมดนี้มีโรงพยาบาลเพียง 22 แหงเทานั้นที่มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่สมบูรณ คือมีระบบปอนมูลฝอยอัตโนมัติและมีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Control System) และระบบการกําจัดน้ําเสียเบื้องตน เตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีทั้งขนาด 25, 50, 100 - 150 และ 150 - 180 กิโลกรัมตอช่ัวโมง ตามความเหมาะสมของขนาดโรงพยาบาล และก็พบเตาเผาติดเชื้อของโรงพยาบาลบางแหงเริ่มมีสภาพเกาชํารุดหรือมีปญหาไมสามารถเผามูลฝอยติดเชื้อได มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อรอยละ 89 ที่ยังใชงานไดดี และเนื่องจากสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลอยูบริเวณชุมชนและไดรับการรองเรียนเกี่ยวกับเรื่องกล่ินควันและมลภาวะ จากการเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลถึงรอยละ 18.56 มีบางโรงพยาบาลประมาณ 20 แหง ที่แกไขปญหาโดยการทําสัญญาวาจางเอกชนรับไปกําจัดและบางแหงสงใหโรงพยาบาลอื่นชวยกําจัดให

สถานพยาบาลขนาดเล็กของกระทรวงสาธารณสุขซึ่ง ไดแก สถานีอนามัย เปนสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิซ่ึงมีอัตราเกิดมูลฝอยติดเชื้อในแตละวันไมมากนัก ก็ พบวา สวนใหญทําการกําจัดโดยการกองแลวเผากลางแจงหรือเผาในวงขอบซีเมนต และเตาเผามูลฝอยรุนเกาแบบ ตข.2 ที่เปนเตาเผาขนาดเล็ก สวนใหญมีสภาพชํารุดดวยมีการกอสรางไวนานแลว( กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2549 : 3 )

การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อของสถานพยาบาลขนาดเล็กของเอกชนซึ่งมีมากกวา 24,000 แหง ทั่วประเทศที่อยูในเขตชุมชน ซ่ึง ไดแก คลินิก โพลีคลินิก สถานผดุงครรภ คลินิกทันตกรรม คลินิกสัตว รวมถึงสถานบริการสาธารณสุขของเทศบาล สถานบริการเหลานี้โดยเฉพาะในสวนภูมิภาคจะ

Page 50: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

39

ทิ้งมูลฝอยติดเชื้อปะปนไปกับมูลฝอยทั่วไป เพื่อใหองคกรปกครองสวนทองถ่ินนําไปกําจัด ซ่ึงเสี่ยงตอการแพรกระจายเชื้อที่อาจสงผลกระทบตอสุขภาพของประชาชนและกอใหเกิดปญหาส่ิงแวดลอม

ปจจุบันมีองคกรปกครองสวนทองถ่ินจํานวน 9 แหง ไดแก กรุงเทพมหานคร องคการบริหารสวนจังหวัดนนทบุรี เทศบาลนครหาดใหญ เทศบาลขอนแกน เทศบาลนครเชียงใหมเทศบาลนครสมุทรสาคร เทศบาลภูเก็ตและเทศบาลสุพรรณบุรี มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อไวกําจัดมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลในเขตรับผิดชอบและเขตพื้นที่ใกลเคียงปริมาณมูลฝอยท่ีสงไปกําจัดเตาเผาติดเชื้อดังกลาวยังมีปริมาณนอยเมื่อเทียบกับขนาดและความสามารถของเตาเผามูลฝอยที่กอสรางไว ซ่ึงมีขนาดตั้งแต 2 - 15 ตันตอวัน ซ่ึงคาใชจายเฉลี่ยในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อเทากับ 8 - 10 บาทตอกิโลกรัม

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลรัฐอื่น ๆ และโรงพยาบาลเอกชนที่ไมมีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อเปนของตนเอง พบวา สวนใหญจะทิ้งมูลฝอยติดเชื้อปะปนไปกับมูลฝอยทั่วไป เพื่อใหทองถ่ินนําไปกําจัด จะมีเพียงบางโรงพยาบาลที่จัดสงมูลฝอยติดเชื้อไปเผารวมที่เตาเผามูลฝอยของโรงพยาบาลในเครือขายเดียวกัน หรือสงไปเผาในเตาเผาของโรงพยาบาลขางเคียง หรือของทองที่มีเตาเผาติดเชื้อ โดยมีบางสวนจะสงใหบริษัทเอกชนทําการเก็บขนและกําจัด ปจจุบันมีบริษัทเอกชนที่ทําการรับจางเก็บขนและกําจัดทําลายมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลประเภทตาง ๆ แลวประมาณ 3 - 4 บริษัท โดยบริษัทดังกลาวสวนใหญจะเปนบริษัทที่เคยมีประสบการณในการนําเขา จําหนายหรือรับจางกอสรางเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ แตก็ พบวา ยังไมมีมาตรการหรือกลไกใดที่จะใชในการควบคุมกํากับดูแลกิจการเหลานี้

2.3 ความรูเกี่ยวกับศูนยสุขภาพชุมชน (Primary Care Unit : PCU ) 2.3.1 ความหมายของศูนยสุขภาพชุมชน

ศูนยสุขภาพชุมชน (Primary Care Unit : PCU) หมายถึง การจัดพื้นที่อาคาร (หรือจัดตั้งอาคารแยกตางหากก็ได) และมีองคประกอบบุคคล วัสดุส่ิงของและระบบทํางานเพื่อจัดบริการ ปฐมภูมิ โดยมีสัดสวนและองคประกอบเพื่อจัดบริการชัดเจนถูกตองตามความหมายของบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ปจจุบันคําวา "PCU" หรือ "หนวยบริการปฐมภูมิ" กระทรวงสาธารณสุข เรียกชื่อเปน "ศูนยสุขภาพชุมชน" (ศสช.) เพื่อใหชุมชนเปนศูนยกลางและมีความรูสึกเปนเจาของ (สําเริง แหยงกระโทก และรุจิรา มังคละศิริ, 2544 : 32)

Page 51: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

40

บริการปฐมภูมิ (Primary Care) หมายถึง การใหบริการทางการแพทยและการสาธารณสุขที่ประยุกตความรูอยางผสมผสาน ทั้งดานการแพทย จิตวิทยา และสังคมเพื่อใหบริการทั้งที่เปนการสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรคและการฟนฟูสภาพเปนบริการที่ดูแลประชาชนอยางตอเนื่องใหแก บุคคล ครอบครัว และชุมชนแบบองครวม โดยมีระบบการสงตอและเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลอยางเหมาะสม สามารถประสานกับองคกรชุมชนในทองถ่ิน เพื่อพัฒนาความรูประชาชนการดูแลตนเองไดในยามเจ็บปวย รวมถึงสงเสริมสุขภาพของตนเอง เพื่อใหบรรลุสูการมีสุขภาพที่ดีไดตอไป (สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ, 2545 : 8) Fry & Yuen (1994 อางถึงใน ยุภาพร มวงนิล, 2545) ไดกลาวถึง แนวคิดการดูแลสุขภาพในศูนยสุขภาพชุมชน โดยสรุปวา Primary Care เปนจุดเริ่มตนของการเขาสูบริการของผูปวย มีบทบาทในการจัดบริการอยางตอเนื่อง ลักษณะเปนองครวมใชความรูความสามารถในหลายสาขาที่เกี่ยวของ สามารถเชื่อมโยงและประสานกับการใหบริการสาธารณสุขในระดับที่สูงขึ้น ตามความจําเปนของผูปวย มีความรับผิดชอบอยางตอเนื่องในปญหาของผูปวยและชุมชน กลาวโดยสรุปแลว ความหมายของการดูแลสุขภาพในศูนยสุขภาพชุมชน จะตองเปนบริการที่มีคุณลักษณะ ดังนี้ 1) เปนบริการที่จําเปนทางสุขภาพที่ประชาชนทุกคนตองไดรับ 2) ลักษณะของบริการครอบคลุมประชาชนทุกคน 3) ลักษณะของบริการ ตองเปนบริการที่ประชาชนสามารถจายได 4) เปนการกําหนดลักษณะบริการขั้นต่ําที่ประชาชนควรไดรับ โดยชุมชนเปนผูกําหนด 5) เปนบริการขั้นพื้นฐานทางสุขภาพ โดยรวมถึงการปองกัน (Prevention) การสงเสริม (Promotion) การรักษาเบื้องตน (Primary Medical care) และการฟนฟูสภาพ (Rehabilitation) 6) ระดับของการบริการเนนทั้งรายบุคคล ครอบครัว และชุมชน ดังนั้น บริการดังกลาวจึงรวมถึงการดูแลสิ่งแวดลอมที่มีผลตอสุขภาพของคนในชุมชนดวย 7) เปนบริการที่เนนองครวม โดยพิจารณาภาวะสุขภาพของมนุษยในภาพบูรณาการของสุขภาพกาย จิต วัฒนธรรม ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม 8) เปนบริการดานแรกที่จัดการกับปญหาสุขภาพที่ไมซับซอน และมีระบบการสงตอเพื่อใหประชาชนไดรับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดปญหาทาง สุขภาพที่ซับซอนหรือตองการดูแลเฉพาะดาน 9) เปนบริการที่จัดให 24 ช่ัวโม 10) เปนบริการที่ใชการรักษาแบบพื้นบานรวมกับแผนปจจุบัน

Page 52: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

41

11) เปนบริการที่มุง เนนการปองกันการใหบริการเจ็บปวยมากกวาการใหบริการรักษาพยาบาลและเปนการบริการอยางตอเนื่อง 12) เปนบริการที่ประชาชนในชุมชนมีสวนรวม ในการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัว 2.3.2 บุคลากรสาธารณสุขท่ีปฏิบัติงานในสถานีอนามัย หรือศูนยสุขภาพชุมชน (PCU)

บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย หรือศูนยสุขภาพชุมชน (PCU) (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2552) ตามกรอบกระทรวงสาธารณสุข นั้น ประกอบดวย 1. เจาหนาที่บริหารงานสาธารณสุข 2. นักวิชาการสาธารณสุข 3. พยาบาล 4. เจาพนักงานสาธารณสุข 5. เจาพนักงานทันตสาธารณสุข จํานวนบุคลากรอาจไมครบตามจํานวนนี้ ขึ้นอยูกับจํานวนเจาหนาที่ในสังกัด บางแหงอาจมี 2 หรือ 3 ก็ได สาเหตุนี้จึงเปนเหตุใหเกิดปญหาในการทํางานของสถานีอนามัยที่มีบุคลากรนอย แตมีประชากรในเขตรับผิดชอบจํานวนมาก บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน (PCU) ตามกรอบของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแตป 2545 (สําเริง แหยงกระโทก และรุจิรา มังคละศิริ, 2549 :17-18 ) ประกอบดวยแพทย 1 คน ในระยะเปลี่ยนถายอาจจะยังไมมีแพทยประจํา อาจจะใหแพทยหมุนเวียนไปชวยบางวันหรือบางกิจกรรมได พยาบาลวิชาชีพ ทันตแพทยหรือทันตาภิบาล ถาเปนสถานีอนามัยอาจใหทันตแพทยหรือทันตาภิบาลหรือทันตอนามัย ใหปฏิบัติงานที่ main PCU หรือ สอ.แมขาย เภสัชกรหรือเจาพนักงานเภสัชกรรม ถาเปนสถานีอนามัย อาจใหเภสัชกรหรือเจาพนักงานเภสัชกรรม ใหปฏิบัติงานที่ main PCU หรือ สอ.แมขาย เจาพนักงานสาธารณสุข หรือเจาหนาที่สาธารณสุขอื่น ๆ ใหมีจํานวนเพิ่มจากบุคลากรวิชาชีพอ่ืน ถาไมมีแพทย พยาบาลวิชาชีพ เจาพนักงานเภสัชกรรม ใหเพิ่มนักวิชาการสาธารณสุข หรือเจาหนาที่สาธารณสุขอื่น ๆ ได

2.3.3 ลักษณะสําคัญของการบริการในศูนยสุขภาพชุมชน ศูนยสุขภาพชุมชน มีบทบาทหนาที่ในการดูแลสุขภาพ ที่เรียกวา "การบริการแบบเบ็ดเสร็จ" (Comprehensive care) ซ่ึงมีผูกําหนดลักษณะสําคัญของศูนยสุขภาพชุมชนไดดังนี้ สุพัตรา ศรีวณิชชากร (2545 : 8) ไดสรุปแนวคิด ลักษณะของศูนยสุขภาพชุมชน ดังนี้

Page 53: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

42

1) เปนหนวยงานที่ใหบริการดานสุขภาพที่ผสมผสานทั้งดานการสงเสริมสุขภาพปองกันโรค การรักษาและฟนฟูสภาพ โดยพิจารณาปญหาอยางเปนองครวม 2) เนนบทบาทการใหบริการสุขภาพในเชิงรุกเพื่อการสรางเสริมสุขภาพการปองกันโรค และการเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองของประชาชน 3) รวมดูแลสุขภาพกับประชาชนอยางตอเนื่อง ตั้งแตกอนปวย ขณะปวย และชวงฟนฟูสภาพ พรอมกับการจัดทําระบบขอมูลของประชาชนตั้งแตเกิดจนเสียชีวิต 4) ทําหนาที่ประสานกับหนวยบริการอื่นที่เกี่ยวของ เพื่อใหบริการที่ตอเนื่องรอบดาน อาทิ สถานพยาบาลเฉพาะดานตาง ๆ หนวยงานสังคมสงเคราะห และหนวยงานปกครองทองถ่ิน

วิจิตร ศรีสุพรรณ และคณะ (2544: 35) ไดศึกษา "รูปแบบการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในชุมชน" สรุปไดวา ลักษณะของการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่พึงประสงค มีดังนี้ 1) เปนบริการที่อยูใกลบาน ประชาชนเขาถึงและใชประโยชนไดงายอยางเทาเทียมและทั่วถึง 2) เปนบริการที่จัดใหประชาชนโดยมีการกําหนดพื้นที่ใหบริการชัดเจน 3) เปนบริการที่เสริมพลังอํานาจของบุคคล ครอบครัว และชุมชนใหสามารถพึ่งตนเองไดในยามเจ็บปวยได 4) เปนบริการที่มีการเชื่อมโยงกับหนวยงานหรือเครือขาย เพื่อการจัดการกับสุขภาพและความเจ็บปวยในทุกมิติของปญหา 5) เปนบริการดานสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรคและความเจ็บปวย การรักษาโรคเบื้องตน การดูแลสุขภาพที่บานและการฟนฟูสมรรถภาพอยางตอเนื่องและครอบคลุมแกคนทุกคน ทุกกลุม ทุกวัยในทุกภาวะสุขภาพ 6) เปนบริการที่เปดโอกาสใหประชาชน เอกชน องคกรปกครองสวนทองถ่ินหรือองคกรรูปแบบอื่น ๆ มีสวนรวมในการดําเนินการรวมเปนเจาของ 7) เปนการบริการโดยผูประกอบวิชาชีพดานสุขภาพ เชน พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข แพทยเวชปฏิบัติ เภสัชกรในรานขายยา เปนตน รวมกับผูใหบริการแพทยภูมิปญญาไทย สํานักงานหลักประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2544: 16 - 17) สรุปลักษณะบริการในศูนยสุขภาพชุมชน ประกอบดวยลักษณะที่สําคัญ ดังนี้

Page 54: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

43

1) ประเภทบริการที่ตองมี มีลักษณะบริการสุขภาพที่ผสมผสานทุกกลุม อายุครอบคลุมปญหาสุขภาพพื้นฐานของประชากรระดับบุคคล และครอบครัว รวมทั้งการบริการดานยา ตั้งแตการจัดหายา และการใหความรูดานยาที่เหมาะสม 1.1 ดานการรักษาพยาบาล (1) ปญหาสุขภาพทั่วไปและปญหาสุขภาพเฉียบพลันที่พบบอย (2) ปญหาสุขภาพเรื้อรังที่พบบอย (3) ระบบการคัดกรองโรคเรื้องรังหรือโรคที่รุนแรง เชน ความดันโลหิต เบาหวาน มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเตานม (4) การดูแลที่บาน (Home care) (5) การบริการเบื้องตน กรณีผูปวยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุรุนแรงกอนการสงตอ (6) การผาตัดเล็ก (7) บริการตรวจชันสูตรพื้นฐาน (ทําเอง สงตอ) (8) บริการทันตกรรมพื้นฐาน 1.2 การสงเสริมสุขภาพ ครอบคลุมการดูแลประชาชน ตั้งแตเกิดจนกระทั่วตาย ไดแก (1) บริการดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ หญิงตั้งครรภตั้งแตกอนคลอดจนถึงหลังคลอด (ตามสภาพพื้นที่) (2) บริการดูแลเด็กทั้งพัฒนาการเด็ก วัคซีน (3) บริการเด็กวัยเรียน (4) บริการดูแลสงเสริมสุขภาพแกประชาชนทั่วไป และประชาชนกลุมเสี่ยงอื่น ๆ (5) บริการผูสูงอายุ (6) บริการที่บาน เยี่ยมกลุมเปาหมาย (7) บริการสงเสริมและปองกันดานทันตกรรม ไดแก การตรวจและใหคําแนะนําการดูแลสุขภาพชองปาก การใชฟลูออไรดในกลุมเสี่ยง และการเคลือบหลุมรองฟน (8) บริการใหความรูดานสุขภาพ (9) บริการใหคําปรึกษา (10) การคนหาโรคที่รายแรงหรือโรคที่เร้ือรัง เพื่อการปองกันลวงหนา

Page 55: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

44

1.3 การฟนฟูสภาพพื้นฐาน ครอบคลุมการฟนฟูสภาพ ทั้งทางดานรางกายและจิตใจกอนสงตอ ไปยังผูเชี่ยวชาญในการวางแผนฟนฟูที่ครบถวน (1) เปนสวนที่เร่ิมคนหาปญหาความตองการจากประชาชนแลวใหการดูแลขั้นตน กอนสงตอไปยังผูเชี่ยวชาญในการวางแผนการฟนฟูที่ครบถวน (2) สามารถสงตอเพื่อการรักษาและฟนฟูสภาพ (3) ดูแลตอเนื่องหลังจากผูปวยไดรับการวินิจฉัย และการวางแผนการดูแลจากโรงพยาบาลแลว 1.4 การควบคุมปองกันโรคในระดับบุคคล ครอบครัว ไดแก การใหวัคซีนเพื่อปองกันโรค การคนหา เฝาระวัง และการรายงานผูปวยที่ปวยดวยโรคติดตอ ตามพระราชบัญญัติสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวของ (1) สนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน องคกรประชาชน และชุมชนดานสุขภาพ (2) ใหความรู และสรางความมั่นใจ ในการดูแลปญหาสุขภาพที่พบบอย ก. ใหความรูและสรางความมั่นใจในการปฏิบัติตัว เพื่อใหมีสุขภาพแข็งแรงในการดํารงชีวิต ข. ประเมินสภาพบุคคล ครอบครัว ชุมชน โดยความรวมมือเปนเครือขาย เพื่อทราบปญหาสุขภาพที่สําคัญ มีปจจัยเชื่อมโยงกับปญหาสุขภาพอยางไร ค. บริการดานยา การจัดหายา การจายยา และการใหความรูเร่ืองยา 2) ประเภทบริการที่ควรมี แตอาจเปนสวนเสริมและมีเงินสมทบเพิ่ม (ทั้งนี้ดูจากความเปนไปไดในการดําเนินการ) 2.1 การควบคุมปองกันโรคที่พบบอยในทองถ่ิน ครอบคลุมโรคทั้งโรคติดตอ โรคไมติดตอโรคที่มีผลกระทบจากสิ่งแวดลอม และจากการประกอบอาชีพ 2.2 มีระบบการติดตาม และเฝาระวังโรคในชุมชน ไดแก การคนหาปจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดโรค และการดําเนินงานควบคุมและปองกันโรค 2.3 การคุมครองผูบริโภค ครอบคลุมเรื่องยา อาหาร และการบริการทางการแพทยใหปลอดภัย มีคุณภาพ และไดมาตรฐาน เชน ตรวจสอบมาตรฐาน และเฝาระวังผลิตภัณฑที่ไมถูกตองตามกฎหมาย แนะนํา เผยแพรความรูขอมูลขาวสารดานการคุมครองผูบริโภค จากลักษณะของการบริการสุขภาพ ดังที่กลาวมาจะเห็นวากิจกรรมบริการสุขภาพในศูนยสุขภาพชุมชนที่สําคัญ ไดแก

Page 56: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

45

1) การตรวจสุขภาพ เพื่อประเมินการเจ็บปวย และคนหาภาวะเสี่ยงในการเจ็บปวย 2) การวินิจฉัยโรค ปญหาที่คุกคามสุขภาพ และการใหการรักษา หรือกําหนดวิธีการดูแลที่เหมาะสม คําแนะนําในการปฏิบัติตัว เพื่อสงเสริมการหายของโรค และปองกันการเกิดการเจ็บปวยไดมากขึ้น 3) การประเมินอาการในการสงตอ เพื่อการรักษาที่ซับซอนเกินความสามารถ 4) การดูแลที่บานทั้งผูที่มีการเจ็บปวยและผูที่มีสุขภาพดี 5) การประเมินภาวะเสี่ยงตอการเจ็บปวยที่จําเปนตองใชวิธีการรักษาในระดับซับซอน 6) การบริการดานสวัสดิการตาง ๆ ตามสิทธิ 7) การพัฒนาชุมชนโดยการจัดโครงการสุขภาพสําหรับกลุมคนตาง ๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนใหกลุมคนตาง ๆ ในชุมชนรวมตัวกันทํากิจกรรมพัฒนาสุขภาพ 8) การใหขอมูลขาวสารดานสุขภาพ 9) การใหสุขศึกษา การใหคําแนะนําในการปฏิบัติตัวเมื่ออยูที่บานตามสภาพการเจ็บปวยและความตองการดานสุขภาพ การใหคําปรึกษา 2.3.4 ขอบเขตและบทบาทของศูนยสุขภาพชุมชน สุพัตรา ศรีวณิชชากร (2545: 20 - 21) ไดอธิบายถึงบทบาทของศูนยสุขภาพชุมชนควรมีดังนี้ 1) เปนที่ปรึกษาและสรางความรู ความเขาใจใหแกประชาชนอยางผสมผสาน 2) ใหบริการดูแลรักษาพยาบาลทางดานรางกายและจิตใจอยางผสมผสานเปนเบื้องตน 3) ใหคําปรึกษาทางดานจิตใจ และสังคมในระดับตน สงตอในกรณีที่มีปญหามากหรือปญหาเฉพาะ 4) ใหบริการดูแลดานสงเสริมสุขภาพ การปองกัน และสนับสนุนการพึ่งพาตนเองดานสุขภาพ 5) ใหการดูแลบริบาลผูที่มีปญหาทางสุขภาพเรื้อรังที่ตองไดรับการดูแลอยางตอเนื่อง 6) ประสานบริการกับหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของ ในการใหบริการอยางตอเนื่องผสมผสานทั้งสงตอไปรับบริการที่หนวยงานอื่นในระยะเวลาและสถานการณที่เหมาะสม

Page 57: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

46

ดังนั้น จึงสรุปไดวา ลักษณะสําคัญของศูนยสุขภาพชุมชนนั้น คือ การใหประชาชนเขาถึงบริการอยางเทาเทียมกันและมีคุณภาพ การดูแลสุขภาพตั้งแตกอนเจ็บปวย ขณะปวย และชวงฟนฟูสภาพอยางเปนองครวม และตอเนื่องดูแลครอบคลุมทั้งดานสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรคใหการรักษาและฟนฟูสภาพ

2.3.5 มาตรฐานศูนยสุขภาพชุมชนตามนโยบายการประกันสุขภาพถวนหนา ศูนยสุขภาพชุมชน (Primary Care Unit : PCU) ที่ใหบริการภายใตหนวยบริการเดียว หรือ

จัดเปนเครือขายบริการปฐมภูมิที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน และมีการจัดระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวของตามมาตรฐานดังตอไปนี้ (สํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแหงชาติ , 2543:4-5 ) 2.3.5.1 ดานที่ตั้งและประชากร ประชากรรับผิดชอบไมควรเกิน 10,000 คน ตอศูนยสุขภาพชุมชน สถานที่ตั้งของหนวยบริการตองตั้งอยูในพื้นที่ที่ประชาชนเดินทางไปใชบริการไดสะดวกภายใน 30 นาที โดยรถยนต

2.3.5.2 ขีดความสามารถ 1) มีการใหบริการที่ผสมผสานทั้งดานการรักษาพยาบาล การสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรค การฟนฟูสุขภาพและการออกปฏิบัติงานในชุมชน 2) บริการดานยาตั้งแตการจัดหายา การจายยา และใหความรูดานยา 3) มีการตรวจชันสูตรพื้นฐานที่ควรทําเองได และมีระบบสงตอไปยังหนวยอ่ืนใหบริการไดอยางรวดเร็วคลองตัว 4) มีระยะเวลาใหบริการอยางนอย 56 ช่ัวโมงตอสัปดาห ( เชน 10 ช่ัวโมง ตอวันในวันธรรมดา 3 ช่ัวโมง ตอวันในวันหยุด) 5) ดานบุคลากรตองมีบุคลากรใหบริการทั้งในสวนที่เปนแพทย และพยาบาลหรือเจาหนาที่สาธารณสุข ที่มีความสามารถตามเกณฑมาตรฐาน 6) มีพยาบาล หรือเจาหนาที่สาธารณสุข ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑมาตรฐานเปนทีมใหบริการที่ตอเนื่องในอัตราสวนไมนอยกวา 1:1,250 คน โดยมีพยาบาลวิชาชีพอยางนอย 1 คน ตอประชากร 5,000 คน (ในอนาคตควรพัฒนาใหมีบุคลากร อัตราสวน 1 คน ตอประชากร 900 คน) และบุคลากรตองทํางานประจําอยางตอเนื่องอยางนอยรอยละ 75 7) ดานการจัดการตองมีระบบการจัดการที่เหมาะสม เพื่อใหเกิดความตอเนื่อง ความสะดวกรวดเร็วของบริการมีขอมูล เพื่อการใหบริการทีมีคุณภาพและสนับสนุนการ

Page 58: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

47

สงเสริมสุขภาพ การปองกันโรค มีระบบการกํากับและพัฒนาคุณภาพบริการไดอยางสม่ําเสมอและมีการจัดการดานยาตามเกณฑมาตรฐาน 2.3.5.3 ดานอุปกรณ อาคาร สถานที่ 1) มีอุปกรณเครื่องมือเพื่อการรักษาพยาบาล การสงเสริมสุขภาพ การปองกันและควบคุมโรค และการฟนฟูสภาพตามเกณฑมาตรฐาน และมีระบบที่ปองกันการติดเชื้อ 2) มีการจัดการใหมียานพาหนะเพื่อใชในการสงตอไปยังโรงพยาบาลใกลเคียงในกรณีฉุกเฉินไดอยางรวดเร็ว 3) มีอาคารใหบริการที่สะดวก สะอาด ปลอดภัย และมีพื้นที่ใหบริการที่พอเพียงตามเกณฑ มีระบบการเชื่อมตอ และสงตอกับโรงพยาบาล ที่ทําหนาที่สนับสนุนการบริการและดานวิชาการไดอยางตอเนื่อง 2.3.6 มาตรฐานการจัดบริการศูนยสุขภาพชุมชน

มาตรฐานการจัดบริการศูนยสุขภาพชุมชน ประกอบดวยมาตรฐานยอย 3 ดาน ไดแก มาตรฐานดานบริการ มาตรฐานดานบริหารจัดการ และมาตรฐานดานวิชาการ(สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี,2547 :6-9) ดังนี้ 2.3.6.1 มาตรฐานดานบริการ ประกอบดวยมาตรฐานกิจกรรม 3 ดาน ไดแก มาตรฐานกิจกรรมในชุมชน มาตรฐานกิจกรรมในศูนยสุขภาพชุมชนและมาตรฐานบริการตอเนื่อง ดังนี้

1) มาตรฐานกิจกรรมในชุมชน (1) ประสานงาน สนับสนุนประชาชนใหมีสวนรวมในการวางแผน ทํา

กิจกรรมสาธารณสุขในชุมชนตนเอง (2) สนับสนุนการจัดกิจกรรมสุขภาพที่ริเร่ิมจากองคกรชุมชน

(3) บริการเชิงรุกในชุมชน เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพของครอบครัวของครอบครัว/ชุมชน และปจจัยที่กระทบตอสุขภาพ เพื่อวางแผนการสรางเสริมสุขภาพและการปองกันโรค (4) ใช Family Folder เพื่อการดูแลสุขภาพ

(5) มีและใชบันทึกขอมูลสาธารณสุขชุมชน (Community Folder) เพื่อการสรางสุขภาพชุมชน

2) มาตรฐานกิจกรรมในศูนยสุขภาพชุมชน (1) มีรูปแบบบริการที่เห็นชัดเจนดานการสรางสุขภาพ แบบองครวม

Page 59: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

48

(2) มีทีมสุขภาพใหการบริการตอเนื่องเปนทีมประจํา (3) ทีมสุขภาพสามารถเชื่อมโยงขอมูลการเจ็บปวยของผูมารับบริการ ไปสูการปองกันปญหาเสริมสรางสุขภาพ (กาย จิต สังคม) ในกลุมเสี่ยงไดอยางถูกตอง ตามแนวทางกระบวนการ/มาตรฐาน/คูมือ (4) มีระบบขอมูลหรือ IT Software ที่สามารถสืบคนขอมูลกลุมเสี่ยง กลุมผูปวยเพื่อการติดตามและการสงตอไดสะดวก (5) มีบริการรักษาพยาบาล ทุกกลุมอาการ ที่ผสมผสานกับการสงเสริม (6) ปองกัน ฟนฟูสภาพ เชื่อมตอกับการบริการภายในเครือขาย และการดูแลฉุกเฉินทั้งในและนอกเวลาราชการ (7) มีการจัดบริการดานทันตกรรมภายในหนวยงานเอง (8) มีบริการดานการสงเสริมสุขภาพ และปองกันโรค เชน บริการดูแลหญิงตั้งครรภกอนและหลังคลอด ดูแลสุขภาพเด็ก วางแผนครอบครัว พรอมกับมีระบบติดตามความตอเนื่องของการใหบริการ (9) มีบริการดานการชันสูตรที่ครบตามมาตรฐาน (10) มีบริการดานยาทั้งดานระบบการจัดหายา การจัดเก็บ การจายยา การกํากับคุณภาพมาตรฐานยา (11) มีบริการแพทยแผนไทย / การแพทยแผนไทย (12) มีบริการทําคลอด เฉพาะการคลอดปกติ ในภาวะฉุกเฉิน บริการชวยชีวิตฉุกเฉิน (13) บริการผาตัดเล็ก

3) มาตรฐานบริการตอเนื่อง ประกอบดวย (1) มีบริการใหคําปรึกษา (Counseling) (2) มีระบบสงตอที่มีคุณภาพทั้งไปและกลับ โดยจัดระบบใหมียานพาหนะเพื่อใชในการสงตอ ในกรณีฉุกเฉินไดอยางรวดเร็ว (3) มีการบริการเยี่ยมบาน เพื่อใหการบริการ รวมทั้งติดตามเยี่ยม เพื่อทําความรูจัก สรางความเขาใจในการดูแลสุขภาพใหแกครอบครัว และการใหบริการแกผูที่มีปญหาสุขภาพตามความจําเปน (4) มีบันทึกสุขภาพรายบุคคล (Personal Record)

Page 60: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

49

2.3.6.2 มาตรฐานดานบริหารจัดการ ประกอบดวย 1) มีเจาหนาที่สาธารณสุขหรือพยาบาลตามสัดสวนประชากร 2) มีการพัฒนาบุคลากรตอเนื่อง

3) บุคลากรมีคานิยมความชํานาญการทํางานแบบมุงเนนผลสัมฤทธิ์ 4) บุคลากรมีความสามารถในการทํางานแบบมุงเนนผลสัมฤทธิ์ 5) มีแผนพัฒนาและติดตามประเมินผลงาน ทั้งดานปริมาณ และคุณภาพ 6) เจาหนาที่รับผิดชอบพื้นที่แบบบูรณาการ 7) มีระบบการจายคาตอบแทนเปนแบบมุงเนนผลงาน 8) มีระบบบริหารประสิทธิภาพโดยคํานึงความคุมคา 9) จัดทําตนทนุตอหนวยกิจกรรมดานรักษา สงเสริม ปองกันโรค 10) มีมาตรฐานงานบริหารจัดการ 11) รวมดําเนินงานกับหนวยงานราชการ องคกรที่เกี่ยวของ เพื่อการจัดกิจกรรมสงเสริมสุขภาพปองกันโรค สรางความเขมแข็งในชุมชน 2.3.6.3 มาตรฐานดานวิชาการ ประกอบดวย 1) มีแนวทาง กระบวนการ มาตรฐาน คูมือการใหบริการ 2) มีการพัฒนาหรือนวัตกรรมดานตาง ๆ ในศูนยสุขภาพชมุชน 3) มีการดําเนินงานวิจัยในพื้นที่จริง

ทั้งนี้เนื่องจากความจําเปนดานบุคลากร จึงกําหนดใหโรงพยาบาลแมขายเปนผูพิจารณารูปแบบการจัดบริการที่เหมาะสมใหสอดคลองกับนิยามความหมายและทิศทางการดูแลสุขภาพขางตน

1) บริการตอเนื่อง เปนการจัดบริการที่เชื่อมโยงกับบริการหลักในศูนยสุขภาพชุมชนเพื่อใหเกิดความสมบูรณตอเนื่องของระบบบริการ เชน การจัดใหมีระบบปรึกษาดานสุขภาพ (Counseling) ระบบสงตอ (Referral System) ระบบเยี่ยมบาน (Home Visit) ทั้งนี้เพื่อใหครอบครัวและชุมชนมีสวนรวมในการดูแลผูปวย เพื่อปองกันภาวะแทรกซอนและการกลับเปนซ้ํา รวมถึงการเฝาระวังโรคในชุมชน

2) ดานบริหารจัดการ ไดแก การบริหารจัดการที่มีคุณภาพทั้งดานพัฒนาบุคลากรและประเมินผลงาน เพื่อใหไดการบริการที่มีคุณภาพ

3) ดานวิชาการ ไดแก มีคูมือการใหบริการของศูนยสุขภาพชุมชน ตลอดจนการดําเนินงานวิจัยในพื้นที่ เพื่อใหการประเมินรับรองมาตรฐานศูนยสุขภาพชุมชน ใหมีทิศทางและ

Page 61: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

50

เปนมาตรฐานเดียวกัน ทั้งประเทศ คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานศูนยสุขภาพชุมชนและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจึงไดกําหนดมาตรฐานศูนยสุขภาพชุมชนรวมทั้งตัวช้ีวัดและเกณฑขึ้น

กลาวโดยสรุป สถานีอนามัยหรือศูนยสุขภาพชุมชน ( Primary Care Unit : PCU ) เปนหนวยบริการสาธารณสุขที่มีหนาที่บริการประชาชนดานแรก อยูใกลชิดประชาชน ซ่ึงใหการบริการดานการสงเสริมสุขภาพ การปองกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟนฟูสภาพ แบบองครวม เนนการบริการในบุคล ครอบครัว และชุมชน อันมีความหมายมากกวาโรคหรือการเจ็บปวย โดยมีบุคลากรทางสาธารณสุขใหบริการ ทั้งประจําและแบบหมุนเวียนไปชวยเปนบางวัน

2.4 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรู

ความหมายของความรู มีผูใหความหมายไว ดังนี้ Good (1973: 325) ใหความหมายวา ความรู หมายถึง ขอเท็จจริง และรายละเอียดตางที่มนุษยไดรับ และเก็บสะสมไว ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2525: 1 - 27) กลาววา ความรูเปนความสามารถในการจําหรือระลึกได ซ่ึงรวมประสบการณที่เคยรับรูมา บลูม (Bloom 1975 อางถึงใน กฤติยา เดชทวิสุทธิ์, 2546 : 18 - 19) กลาววา พฤติกรรมดานความรูจัดเปนพฤติกรรมสวนหนึ่งของมนุษยโดยจําแนกพฤติกรรมนี้ออกเปน 1. ความรูความจํา หมายถึง การวัดความสามารถในการจําหรือระลึกได แตไมใชการวัดความเขาใจตีความหมายเรื่องนั้น ๆ แบงเปนลักษณะยอย ๆ ดังนี้ 1.1 ความรูเกี่ยวกับเนื้อเร่ืองซึ่งเปนขอเท็จจริง 1.2 ความรูเกี่ยวกับวิธีดําเนินงาน 1.3 ความรูเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี โครงสรางและหลักการ 2. ความเขาใจ หมายถึง ความสามารถจับใจความสําคัญของเรื่องราวตาง ๆ ไดทั้งในดานภาษา รหัส สัญลักษณ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ซ่ึงแบงเปน 2.1 การแปลความ หมายถึง การแปลความหมายสิ่งที่ส่ือความหมายไดถูกตองหรือเรียกวาจับใจความไดถูกตอง 2.2 การตีความ หมายถึง การเก็บใจความเรียบเรียงใหมแตความหมายยังคงเหมือนเดิมไมเปลี่ยนแปลง 2.3 การขยายความ หมายถึง การนําขอเท็จจริงในปจจุบันไปทํานายเหตุการณในอนาคตหรือนําไปขยายใหกวางหรือลึกลงไป

Page 62: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

51

3. การนําไปใช หมายถึง ความสามารถในการนําสิ่งที่ไดประสบมา เชน แนวคิดทฤษฎีตาง ๆ ไปใชใหประโยชนหรือนําไปใชแกปญหาตามสภาพตาง ๆ ได 4. การวิเคราะห หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวออกเปนสวนประกอบยอยเพื่อความสัมพันธ และหลักการหรือทฤษฎี เพื่อใหเขาใจเรื่องราวตาง ๆ ได แบงออกเปน 4.1 การวิเคราะหความสําคัญ หมายถึง การใชความคิดเชิงวิพากษวิจารณสวนประกอบของสิ่งตางๆ เพื่อหาคําตอบที่ถูกที่สุด สมเหตุสมผลที่สุด 4.2 การวิเคราะหความสัมพันธ หมายถึง การใชความสามารถในการวิเคราะหความสัมพันธของสวนประกอบตาง ๆ ตั้งแตสองสิ่งขึ้นไปเพื่อใชเปนหลักในการแกปญหา 4.3 การวิเคราะหหลักการเปนความสามารถในการมองเห็นวิธีรวมองคประกอบตาง ๆ เขาดวยกันอยางเปนระบบ 5. การสังเคราะห หมายถึง ความสามารถในการนําเอาเรื่องราวหรือสวนประกอบยอยมาเปนเรื่องราวเดียวกัน โดยมีการดัดแปลง ริเร่ิม สรางสรรค ปรับปรุงของเกาใหมีคุณคาขึ้น 5.1 การสังเคราะหขอความ เปนการพูดหรือเขียนเพื่อการสื่อความคิดความรูสึกไปยังบุคคล 5.2 การสังเคราะหแผนงานเปนการเสนอแผนการทํางานของงานที่รับผิดชอบหรือที่คิดขึ้น 5.3 การสังเคราะหความสัมพันธ เปนการสรางชุดความสัมพันธขึ้นเพื่ออธิบายขอมูลหรือส่ิงตาง ๆ 6. การประเมินคา หมายถึง การวินิจฉัยหรือการตีราคาอยางมีหลักเกณฑ เปนการตัดสินวาอะไรดีไมดีอยางไร โดยใชหลักเกณฑที่เชื่อถือไดแบงเปน 6.1 การประเมินคาโดยอาศัยขอเท็จจริงภายใน 6.2 การประเมินคาโดยอาศัยขอเท็จจริงภายนอก นอกจากนี้แลวยังมีนักจิตวิทยาอีกหลายทานที่ไดอธิบายถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับความรูความเขาใจ ความสําคัญของความรู และการจัดแบงประเภทของความรูไวซ่ึงสรุปได ดังนี้

2.4.1 ความรูความเขาใจ เนนถึงกระบวนการทางเชาวนปญญาและโครงสรางเชิงทฤษฎีของเชาวนปญญาในการทําความเขาใจพัฒนาการทางเชาวนปญญาของมนุษย โครงสรางเชิงทฤษฎีนี้กลาวถึงเหตุการณซ่ึงไมอาจสังเกตไดดวยตาเปลา เชน การคิดของมนุษยมีคําถามขอหนึ่งวาแทจริงแลวเชาวนปญญากับ

Page 63: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

52

ความรูเปนสิ่งเดียวกันหรือไม คําวาความรูความเขาใจโดยความหมาย หมายถึง การกระทําเพื่อการรูหรือเพื่อการรับรู นักจิตวิทยา เชน บัลค เห็นวาความรูความเขาใจเปนวิธีการที่บุคคลใชเชาวนปญญาของตน แตแนวความคิดของเปยเจตไดมองวาความรูความเขาใจตาง ๆ เกิดจากการที่อินทรียจัดกระทําตอส่ิงแวดลอมและเห็นวาพัฒนาการของความรูความเขาใจมีเปนลําดับขั้น นักทฤษฎีคนอื่น ๆ ที่เสนอแนวคิดนี้และไดรับความสนใจ ไดแก แนวคิดของเสทอรนเบอรก เมื่อ ค.ศ.1982 เสทอรนเบอรก และดีเทอรแมน ไดใหความเห็นวา เชาวนปญญา เปนกระบวนการติดตอกับสารสนเทศจากระยะเวลาที่เรารับรูจนกระทั่งถึงเวลาที่เราจัดกระทํากับมันและหมายถึงลักษณะ 5 ลักษณะ ดังนี้ (ยุทธนา ขําเกื้อ, 2548 : 9 ) (1) ความสามารถในการเรียนรูจากประสบการณ (2) ความสามารถในการปรับตัวใหเขากับสิ่งแวดลอม (3) ความสามารถในการใชถอยคํา (4) ทักษะในการแกปญหา (5) สามัญสํานึก

2.4.2 ความสําคัญของความรู ความรู เกิดจากสมองของมนุษยไดมีการพัฒนาการมาตั้งแตเด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ํากวา 3 ขวบ จะเปนวัยที่มีการพัฒนาของสมองมากที่สุด คนสวนมากมักคิดวาเด็กอายุยังนอย จึงละเลยตอการเอาใจใส แตกลับไปใหความสําคัญในวัยอ่ืนแทน ฉะนั้นเด็กในชวงวัย 3 ขวบ ในวัยนี้พอแมจึงควรใหความสําคัญตอการพัฒนาและสรางความรูเปนอยางมาก สมองของมนุษยสามารถแบงเปน 2 สวน คือ 1) สมองซีกซายทําหนาที่ ชวยในการใชภาษาพูด การวิเคราะห การจัดลําดับกอนหลัง การเรียนรู ภาษาและคณิตศาสตร 2) สมองซีกขวาทําหนาที่ ชวยเรื่องภาษา ทาทาง จินตนาการ ไหวพริบ ความคิดริเร่ิมสรางสรรคและการคิดสิ่งแปลก ๆ ใหม ๆ เมื่อสมองทั้ง 2 ซีกไดทําหนาที่อยางเต็มที่แลว ทําใหแตละบุคคลจะมีความรูเกิดขึ้นมา ผูที่ไดรับการพัฒนาการสมองมาเปนอยางดีก็จะเปนคนฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ และมีความเชี่ยวชาญตามความถนัดของตนที่ไดส่ังสมความรูในดานตาง ๆ มา (ยุทธนา ขําเกื้อ, 2548 : 9 )

Page 64: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

53

2.4.3 ประเภทของความรู อิกูจิโร โนนากา แบงความรูออกเปน 2 ประเภท (ยุทธนา ขําเกื้อ, 2548 : 10 ) คือ 2.4.3.1 ความรูที่เราสามารถรับรู หรือทําความเขาใจไดโดยการอาน ฟง หรือการดูสังเกต หรือทุก ๆ วิธีประกอบกัน เชน เราฟงครูสอนการบวก ลบ คูณ หาร เลาเรื่องวิถีชีวิตของคนในบางประเทศใหเราฟง เราสังเกตเห็นการขยายตัวของโลหะเมื่อมันไดรับความรอน เราเรียนรูวิธีปรุงอาหาร การจักสาน ซอมเครื่องยนตเราเห็นแมลงวันวางไขในเศษอาหารขยะหรือของเนาเปอยแลวไขกลายเปนตัวหนอน เราเห็นวาน้ํารอนฆาแมลงและสัตวตัวเล็ก ๆ ได ฯลฯ สวนการสรุปรวบรัด (assume) หรือนําหลักการนี้ไปใชกับเหตุการณอ่ืน ๆ ที่ใกลเคียงกัน (imply) เชน การอุปมาอุปมัยก็เปนการประยุกตตอจากการใชความรูประเภทนี้นั่นเองเราเรียกความรูชนิดนี้วาความรูชัดแจง (Explicit Knowledge) ครูอาจารยเปนตัวหลักในการใหความรูประเภทนี้ 2.4.3.2 ความรูประเภทที่บอกเลา ความรูประเภทนี้จะเกี่ยวกับสภาวะ สถานการณ ความรูสึกที่เกิดและสงสืบเนื่องจากการมีประสบการณในสภาวะหรือสถานการณนั้นความรูเหลานี้ ไดแก ความรูสึก เมื่อถูกดา ตําหนิชม ถูกลงโทษ การไดรางวัล ไฟช็อต สําลักน้ํา ถูกรังแก ถูกเอาเปรียบสภาวะที่ตองประสบเมื่อเปนคนจน คนยากไร ไรอํานาจตอรอง สภาวะที่ประสบเมื่อเปนคนรวย การรูธรรมหรือรูแจงเห็นจริง ส่ิงตาง ๆ เหลานี้ เราจะไมเขาใจอยางแทจริงเลยโดยการฟงจากผูอ่ืนหรืออานจากนิยายเอกสารวิชาการใด ๆ แตจะเขาใจไดซาบซึ้งใจทุกประสาทการรับรูวา “รอน” คืออะไรเมื่อเรา ถูกจับนิ้วไปจิ้มเปลวเทียน และ “จน” เปนอยางไรเมื่อเราไดอยูในสภาวะนั้นเองจริง ๆ เราเรียกความรูชนิดนี้วา ความรูแฝงเรน (Implicit Knowledge) ความรู ความสามารถแบงออกเปนประเภทใหญ ๆ ไดสองประเภท คือ ความรูชัดแจง (Explicit Knowledge) และความรูแฝงเรน (Implicit Knowledge) ความรูชัดแจง คือความรูที่เขียนอธิบายออกมาเปนตัวอักษร เชน คูมือปฏิบัติงาน หนังสือ ตํารา สวนความรูแฝงเรน คือความรูที่ฝงอยูในตัวคน ไมไดถอดออกมาเปนลายลักษณอักษร หรือบางครั้งก็ไมสามารถถอดเปนลายลักษณอักษรได ความรูที่สําคัญสวนใหญมีลักษณะเปนความรูแฝงเรน อยูในคนทํางาน และผูเชี่ยวชาญในแตละเรื่อง จึงตองอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรูใหคนไดพบกัน สรางความไววางใจกัน และถายทอดความรูระหวางกันและกันตามตัวแบบของเซกิ (SECI Model) ความรูทั้งแบบแฝงเรนและแบบชัดแจงจะมีการแปรเปลี่ยนถายทอดไปตามกลไกตาง ๆ เชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู การถอดความรู การผสานความรู และการซึมซับความรู ความรูชัดแจง (Explicit Knowledge) มีความสําคัญเพราะเปนสิ่งที่เรามองเห็น สัมผัส จับตองไดอาน หรือฟงจากแหลงตาง ๆ ไดมันเปนความรูประเภทพื้นฐานความจริงทางวิทยาศาสตรเปนกฎเปนเกณฑเปนพื้นฐานที่สามารถเรียนรูส่ิงที่ซับซอนมากขึ้น ๆ ไปได ใชไดสะดวกกับสิ่งที่

Page 65: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

54

เปนรูปธรรม มโนมติ (concept) ที่ไมซับซอน และไมจํากัดดวย ขอจํากัดตาง ๆ เชน ภาษา วัฒนธรรม วัย ความรูชัดแจงมีความสําคัญเพราะเปนสิ่งที่ซุกซอนอยูขางในตัวเราเอง หรือจะเกิดขึ้นก็ตอเมื่อมีการกระทําอะไรบางอยางดวยตัวเราเอง ตองฝกฝนเอาเองปะทะกับสิ่งแวดลอม สถานการณหรือเร่ืองของเขาเอาเอง การเกิดสภาวะตาง ๆ เมื่อมีการปฏิสัมพันธระหวางความรูชัดแจงกับตัวเรา และหรือบุคคลอื่น บุคคลกับบุคคล ส่ิงแวดลอมกับตัวเราและหรือบุคคลทั้งหมดนี้ขึ้นอยูกับบริษัท และขนาดของการปฏิสัมพันธซ่ึงจะกอใหเกิดประสบการณตอการรับรูตางๆ ( ยุทธนา ขําเกื้อ, 2548 : 11 )

2.5 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู 2.5.1 ความหมายของการรับรู การรับรู (Perception) คือ ในโลกมนุษยที่เราอยูเต็มไปดวย คน สัตว พืช วัตถุ และเหตุการณตาง ๆ การรับรูส่ิงตาง ๆ ที่อยูรอบตัวเรา จึงเปรียบเสมือนการมองผานกลองที่เกิดภาพที่มีสีสันและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แตกลองนี้ก็ยังไมสามารถชวยใหเราเห็นสิ่งตาง ๆ รอบตัวไดทั้งหมด จะเห็นเฉพาะดานที่เราหันกลองไปเทานั้น มนุษยมีอวัยวะพิเศษที่ทําหนาที่เหมือนกลอง ทําใหเรารับรูส่ิงตาง ๆ รอบตัวเรา เรียกวา อวัยวะรับความรูสึก (Sense organ) มีหนาที่คอยรับขอมูล อัน ไดแก ส่ิงเรา และแปรเปนกระแสประสาทขึ้นสูสมอง อวัยวะรับความรูสึกมีหนาที่รับความรูสึกที่อยูรอบตัวเรา สงผานเสนประสาทขึ้นสูสมอง ขอมูลจะอยูในรูปของพลังงานตาง ๆ เชน ความรอน แสง เสียง ฯลฯ อวัยวะรับความรูสึกแตละชนิดจะรับพลังงานไดเฉพาะ เชน ตารับไดเฉพาะแสง หูรับเฉพาะเสียง ผิวหนังรับเฉพาะอุณหภูมิสัมผัส ฯลฯ ขอมูลจะเราอวัยวะความรูสึกใหแปรพลังงานเหลานี้เปนกระแสประสาทเดินทางขึ้นสูสมอง จะเกิดการรูสึก เชน มองเห็น ไดยินนั่นคือการรับรูถาไมมีอวัยวะรับความรูสึกจะเกิดการรับรูไมได และถามีอวัยวะรับความรูสึก แตไมมีการตีความออกมาก็ไมเกิดการรับรูขึ้น การที่เราจะบอกวาสิ่งที่เห็นคือ เด็กนักเรียน เสียงดัง เชน นี้คือ เครื่องบิน จะตองมีประสบการณรูจักสิ่งเหลานั้นมากอน ตองรูวาเด็กที่แตงกายแบบนี้ ถือกระเปาหรือสะพายเป คือเด็กนักเรียน เสียงที่ดังกึกกองอยูบนฟา คือเสียงเครื่องบิน การตีความสิ่งที่เรารูสึกจะตองอาศัยประสบการณ นอกจากนี้ยังมีปจจัยอ่ืน ๆ เขามาเกี่ยวของ เชน คนเราเวลาที่โกรธมักจะไมเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ทําใหเราทําอะไร โดยปราศจากการยั้งคิดและเหตุผล ทั้งนี้เพราะการรับรูของเราตกอยูภายใตอิทธิพลของความโกรธทําใหการรับรูผิด ไปจากความเปนจริง การตีความนอกจากนี้ขึ้นอยูกับประสบการณ อารมณแลวยังขึ้นกับปจจัยอ่ืน ๆ

Page 66: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

55

อีก เชน การเรียนรู แรงจูงใจ เจตคติ ฯลฯ นั่นคือมีปจจัยทางจิตวิทยาเขามาเกี่ยวของ กระบวนการรับรูอาจแสดงดวยแผนภาพที่ 2.5 ส่ิงเรา (วัตถุ เหตุการณที่เปนจริง) พลังงานเราขอมูล (1) อวัยวะรับความรูสึก กระแสประสาทขึ้นสูสมอง (2)

สมองรับสัญญาณหรือเกิดการรูสึก การตีความหมาย (3) การรับรู ภาพที่ 2.5 แสดงกระบวนการรับรู ที่มา : รัจรี นพเกตุ, 2547:157 การศึกษาการรูสึก คือ การศึกษาขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ในแผนภูมินั่นคือ ศึกษาเรื่องของพลังงานสิ่งเรา ไดแก แสง เสียง กล่ิน รส การสัมผัส และอุณหภูมิ ศึกษา โครงสรางของอวัยวะ รับความรูสึก ไดแก โครงสรางนัยนตา โครงสรางของหู โครงสรางของจมูก โครงสรางของลิ้น และโครงสรางของผิวหนัง ศึกษาระบบประสาทจากอวัยวะรับความรูสึกขึ้นสูสมอง สวนการศึกษาการรับรู คือการศึกษาขั้นที่ (1) ขั้นที่ (2) และขั้นที่ (3) ในแผนภูมินั่นคือ ศึกษาขบวนการรูสึกและการตีความสิ่งที่ไดจากการรูสึก การตีความสิ่งที่ไดจากการรูสึกไมไดเกิดขึ้นอยางตรงไปตรงมาหรือมีลักษณะเหมือนสิ่งเราทุกประการ เชน เดียวกับการลอกเลียนแบบ มีการลวง การบิดเบือน และการผิดพลาด เปนตน (รัจรี นพเกตุ, 2547: 157 - 158) กระบวนการรับรูนั้นเกี่ยวพันกันกับพฤติกรรมและอุปนิสัยหรือบุคลิกภาพ ตัวอยาง เชน บุคคลที่ปกติเปนคนเขมแข็ง เวลารับรูขาวสารที่ดีหรือไมดีเกี่ยวกับตนหรือคนที่ตนรักชอบ ก็จะเกิดพฤติกรรมที่สงบและจัดการกับขาวสารและเหตุการณที่รับรูดวยสติปญญาไดดีกวาในทางตรงกันขาม บุคคลที่มีบุคลิกภาพออนแอ เวลาเจอเหตุการณที่รุนแรงไมวาจะแรงทางดีหรือไมดี ก็จะรับรู

Page 67: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

56

และจัดการกับเหตุการณไมไดดีเทาที่ควร อาจจะรองไห มือส่ัน ตัวส่ันจนทําอะไรไมถูก และการรับรูก็อาจจะถูกตีความผิดเพี้ยนไป นี้คือความสัมพันธระหวางบุคลิกภาพ และพฤติกรรมในกระบวนการรับรู ดังนั้น กระบวนการรับรูเกี่ยวกับบุคคลคือ ส่ิงที่เรารับรูเกี่ยวกับบุคคลหนึ่ง หมายถึง การรวบรวมคุณลักษณะตาง ๆ ของบุคคลจนกลายเปนภาพที่เรารับรู โดยที่บุคลิกภาพของผูรับรูอาจจะเขามามีสวนกําหนดเจตคติและพฤติกรรมหลังการรับรู นี่เปนเพียงสวนเดียวของการรับรู แทที่จริงแลวกระบวนการรับรูเกี่ยวกับบุคคลเปนเรื่องที่ซับซอนมาก ทั้งนี้ นอกจากจะเกี่ยวกับบุคคลแลวยังเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมและตัวแปรอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ เพราะวาบางครั้งเราอาจเจอพฤติกรรมที่ผิดคาด ดวยเหตุที่วามีตัวแปรของสิ่งแวดลอมเขามาแทรกในกระบวนการติดสินใจหลังการรับรู ดังนั้น บุคลิกภาพหรืออุปนิสัยอ่ืน ๆ จึงยังไมเพียงพอท่ีจะทํานายหรืออธิบายพฤติกรรมของคน คนที่ตัดสินใจทําสิ่งที่ไมอยากทํานั้นมีไมนอยเลยทีเดียว คนที่ถูกสภาวะแวดลอมกดดันจนตองทําในสิ่งที่ไมไดตั้งใจก็มีมาก (นพมาศ ธีระเวคิน, 2542: 18)

ในสิ่งแวดลอมรอบตัวนั้น จะตองพบกับบุคคล สัตว ส่ิงของ และปรากฏการณธรรมชาติตาง ๆ ซ่ึงสิ่งเหลานี้ จัดเปนสิ่งเรา ที่ทุกคนจะตองเขาไปเกี่ยวของดวยไมเวลาใดเวลาหนึ่งนักจิตวิทยาเชื่อวาบุคคลเขาติดตอกับสิ่งแวดลอมดังกลาว โดยผานขบวนการอันหนึ่ง คือการรับรู (Perception) (สุชา จันทรเอม, 2539: 119) การรับรูเปนกระบวนการที่มนุษยจะเขาใจสิ่งเราใดสิ่งเราหนึ่งที่ปรากฏกับประสาทสัมผัสสวนใดสวนหนึ่งของเรา การรับรูเปนสิ่งที่กําหนดความตองการ แรงจูงใจ และการกระทําในทางพฤติกรรมตาง ๆ ใหเกิดขึ้น ทั้งนี้การรับรูก็ไดมีใหความหมายของการรับรูไวหลายทานดังตอไปนี้

ลักษณา สริวัฒน (2530:62) ไดใหความหมายวา การรับรู คือ อาการสัมผัสที่มีความหมาย (Sensation) การรับรูเปนการแปล หรือตีความของการสัมผัสที่ไดรับออกมาเปนสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายอันเปนที่รูจักและเขาใจกัน และในการแปลความหรือตีความหมายของการสัมผัสนั้นจําเปนที่บุคคลจะตองใชประสบการณเดิมหรือความรูเดิม หรือความชัดเจนที่มีแตหนหลัง หากคนเราไมมีความรูเดิม หรือลืมเรื่องนั้น ๆ ไป ก็จะไมมีการรับรูส่ิงนั้น ๆ จะมีแตเพียงการสัมผัสกับส่ิงเราเทานั้น ชม ภูมิภาค (2533:5-8) ไดใหความหมายการรับรูวา หมายถึงกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเราที่รับเขามาออกเปนการเรียนรู ความจํา และเขาใจในสิ่งนั้น ๆ ซ่ึงจะนําไปสูการปฏิบัติของบุคคล การรับรูที่ถูกตองจะสงผลใหไดความรูที่ถูกตอง แชพลิน (Chaplin cited in Bumtina, 1988:169 อางถึงใน สกุลรัตน ปยะนิจดํารง, 2542: 7) ไดใหความหมายการรับรูไววา เปนกระบวนการภายในของบุคคลที่สามารถตระหนักไดเปนการรับ

Page 68: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

57

ความรูสึกและใหความหมายโดยประมวลเขากับเหตุการณในอดีตซึ่งตองอาศัยการวินิจฉัยเปนความสามารถของมนุษยในการพินิจพิเคราะหส่ิงตาง ๆ ที่เขามาประเมินรวมกัน จําเนียร ชวงโชติ (2525: 2 - 3) ไดสรุปความหมายของการรับรูวาเปนการแปลหรือตีความของการสัมผัสที่ไดรับออกเปนสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายหรือเปนที่รูจักเขาใจ ซ่ึงการแปลหรือตีความนี้จําเปนที่ อินทรียตองใชประสบการณเดิมหรือความรู เดิม ถาไมมีความรู เดิมหรือประสบการณก็ไมเปนการรับรู เปนเพียงแตการสัมผัสเทานั้น ดังนี้กระบวนการรับรูจะตองประกอบดวย การสัมผัสหรืออาการสัมผัสชนิดและธรรมชาติของสิ่งเรา การแปลความหมายอาการสัมผัสแลว การใชความรูเดิมหรือประสบการเดิม นอกจากนี้การรับรูหรือการเรียนรูมีความสัมพันธกัน เปนสิ่งที่เกิดควบคูกันไปคือ มีการรับรูกอนแลวจึงเกิดการเรียนรูหรือเพราะมีการเรียนแลว จึงทําใหเกิดการรับรูงายและรวดเร็วขึ้นและการรับรูจะแตกตางกันไปในแตละบุคคล ทั้งนี้ เกิดจากองคประกอบ 2 ประการ คือส่ิงที่อยูภายในตัวบุคคลนั้น เชน คุณสมบัติของรับรู คุณคา ความสนใจและประสบการณ และสิ่งที่อยูภายนอกตัวบุคคลอัน ไดแก สังคม ซ่ึงจะเปนตัวกําหนดใหมีการรับรู เชน ขนบธรรมเนียมประเพณีตาง ๆ การรับรูเปนการแปลหรือตีความแหงการสัมผัสที่ไดรับออกมาเปนสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายโดยใชประสบการณเดิม หากคนเราไมมีความรูเดิมหรือลืมเรื่องนั้น ๆ ไปก็จะไมมีการรับรูส่ิงนั้น ๆ จะไมมีการสัมผัสกับสิ่งเรานั้น ๆ กลาวโดยสรุปการรับรู หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้นมาในตัวบุคคล จากการใชอวัยวะรับสัมผัสเปนเครื่องมือในการรับรูส่ิงเราตาง ๆ เปนการแปลความหมายของสิ่งเราโดยอาศัยการเรียนรูจากประสบการณเดิมของตน

2.5.2 แนวคิดและทฤษฎีเก่ียวกับการรับรู กระบวนการของการรับรู (กันยา สุวรรณแสง, 2536: 131) การรับรูจะเกิดขึ้นไดตองเปนไปตามขั้นตอนของกระบวนการดังนี้ ขั้นที่ 1 ส่ิงเรามากระทบอวัยวะสัมผัสของอินทรีย ขั้นที่ 2 กระแสประสาทสัมผัสวิ่งไปยังระบบประสาทสวนกลาง ซ่ึงมีศูนยกลางอยูที่สมอง ขั้นที่ 3 สมองแปลความหมายออกมาเปนความรู ความเขาใจ โดยอาศัยความรู เดิมประสบการณเดิม ความจํา เจตคติ ความตองการ ปทัสถาน บุคลิกภาพ เชาวนปญญา 2.5.2.1 ลักษณะสําคัญของการรับรู

1) การรับรูเปนเอกภาพ (universal) ดังกลาววา มนุษยทุกคนสามารถรับรูตอบุคคลอื่นและสิ่งแวดลอมตั้งแตเกิดจนตายโดยจัดเรียงลําดับจากรูปธรรม และใหความหมายตอ

Page 69: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

58

ส่ิงเราหลังจากนั้นก็จะเก็บเขาไวในความทรงจําของแตละบุคคล เมื่อตองเผชิญกับสิ่งเราเดิมอีกครั้งมนุษยก็จะดึงประสบการณในอดีต มาชวยพิจารณาและใหความหมายตอส่ิงเรา เชน เดียวกับที่ผานซ่ึงก็คือการรับรูของบุคคล 2) การรับรูเปนสิ่งที่บุคคลเลือกเฉพาะสําหรับตัวเอง (elective and subjective) แมวาจะเปนการรับรูในเหตุการณเดียวกัน แตเราไมสามารถจะสรุปไดวาแตละบุคคลจะรับรูในเหตุการณนั้นเหมือนกัน เนื่องจากบุคคลยอมมีภูมิหลังและประสบการณที่แตกตางกัน 3) การรับรูเปนสิ่งที่แสดงออกในภาวะปจจุบัน (action orienter in the present) เนื่องจากขอมูลที่อยูในสิ่งแวดลอมตลอดเวลา ทําใหบุคคลตองมีการรับรูในสิ่งตาง ๆ ที่เกิดขึ้นและทําใหเกิดการเรียนรูควบคูกันไปดวยเสมอ 4) การรับรูเปนปฏิสัมพันธที่มีเปาหมายแนนอน (tranaction) เราสมารถสังเกตถึงการรับรูซ่ึงเปนลักษณะเฉพาะของบุคคลใดบุคคลหนึ่งได ก็ตอเมื่อบุคคลนั้นมีการแสดงออกระหวางบุคคลหลายคนหรือภายในกลุม จึงจะทําใหมองเห็นไดชัดวาบุคคลนั้นมีการรับรูในสถานการณนั้นอยางไร 2.5.2.2 ปจจัยที่มีอิทธิพลตอการรับรู (ยุพา รัตนเวฬุ, 2540: 39 - 40) การรับรูเปนกระบวนการทางคลินิก ที่เกิดจากการแปลความหมายของสิ่งเราที่ไดรับผานทางระบบประสาทสัมผัสโดยอาศัยขอมูลที่ไดรับ และประมวลผลรวมกับประสบการณเดิมหรือความรูเดิม นอกจากนี้ยังมีปจจัยอ่ืน ๆ ที่มีอิทธิพลตอการรับรู ที่ทําใหการรับรูของแตละบุคคลมีความแตกตางกัน ดังนี้ 1) ลักษณะของสิ่งเรา ลักษณะของสิ่งเราที่กอใหเกิดการรับรูที่ดีนั้น มีส่ิงที่เกี่ยวของ ไดแก ความเขมและขนาด (Intensity and size) ส่ิงเรานั้นมีความแตกตางกับสิ่งอื่น(Contrast) มีการเราซ้ําบอย ๆ (Repetition) และการเคลื่อนไหว (Movement) 2) ปจจัยอันเนื่องมาจากบุคคลอื่น สามารถแบงไดเปน 2 ดานคือ (1) ดานสรีรวิทยา ไดแก ความสมบูรณในการทําหนาที่ ของระบบประสาทสัมผัสทั้งหา และสมองหรือสติปญญาของบุคคล (2) ดานจิตใจที่ทําใหการรับรูเปนสิ่งที่เลือกสรร ไดแก ประสบการณเดิม ความปรารถนา หรือแรงขับ การใหคุณคา ความสนใจ ความคาดหวัง เจตคติ สภาพอารมณที่พรอมจะรับรู การไดแรงเสริม พื้นฐานทางวัฒนธรรม ประเพณี และคานิยมในสังคม 3) ปจจัยทางสังคม มีดังตอไปนี้

(1) ความตองการ (Need) ของผูรับรูเอง จะทําใหผูรับรูตีความจากสิ่งเราที่สงมา เปนสิ่งที่จะสนองความตองการของตัวเอง ความตองการเปนเหตุจูงใจใหรับรูส่ิงที่ตองการ

Page 70: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

59

ไดรวดเร็ว เชน ขณะกําลังหิวเราจะรับรูส่ิงที่เกี่ยวของกับอาหารเร็ว เราจะไดยินเสียงกระดิ่งของรถขายกวยเตี๋ยวไดชัดเจนกวาเสียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน

(2) ประสบการณ (Experiences) บุคคลทั่วไป มักจะตีความสิ่งที่ตนเองสัมผัสตามภูมิหลังของแตละคน

(3) การเตรียมตัวไวกอน (Preparatory set) การที่คนเรามีประสบการณและการเรียนรูส่ิงใด ทําใหเราเตรียมที่ตอบสนองตอส่ิงเรานั้นในแนวกับที่เรารับรู

(4) บุคลิกภาพมีความสัมพันธกับการรับรู เชน บุคคลที่มีบุคลิกภาพแข็งกราว ยึดมั่นจะรับรูความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเราไดชากวา ผูที่มีบุคลิกภาพยืดหยุน (5) ทัศนคติ (Attitude) มีอิทธิพลตอการรับรู ถาเรามีทัศนคติที่ดีตอใครคนหนึ่ง การกระทําของบุคคลนั้นจะถูกรับรูในทางที่ดีเสมอ (6) ตําแหนงทางสังคม (Social position) และบทบาททําใหคนเรารับรูส่ิงตาง ๆ ไมเหมือนกัน (7) วัฒนธรรม เปนตัวการสําคัญที่ทําใหคนเรารับรูอะไรแตกตางกัน (8) สภาพทางอารมณของผูรับรู มีผลตอการรับรู การรับรูมีผลตอการเรียนรู มีการพัฒนาเปนเจตคติและมีผลตอแนวโนมของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น โดยขึ้นอยูกับปจจัยตาง ๆ เชน ลักษณะของสิ่งเรา และตัวผูรับรู ทั้งดานกายภาพและดานจิตวิทยา โดยมีอิทธิพลตาง ๆ ทางดานสภาพแวดลอมทางสังคม เขามาเกี่ยวของดวย (สกุลรัตน ปยะนิจดํารง, 2542: 9)

สรุป การรับรู ของแตละบุคคลนั้นมีความแตกตางกันตามปจจัยที่มีอิทธิพลตอบุคคลนั้น ๆ ทั้งที่เกิดจากภายในตัวบุคคลเอง และจากสิ่งแวดลอมที่อยูรอบ ๆ ตัว เกิดเปนการรับรู การเรียนรูที่สะสมมา สงผลใหมีความคิดมีอิทธิพลตอพฤติกรรมในดานตาง ๆ แตกตางกันออกไป 2.5.3 ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อดานสุขภาพ (Health Belief Model) แบบแผนความเชื่อดานสุขภาพ (Health Belief Model) ไดรับอิทธิพลมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคมของเคริ์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซ่ึงไดอธิบายวาในชวงชีวิตของบุคคล (Life Space) จะมีทั้งสวนที่เปนแรงดานบวก (Positive Valence) แรงดานลบ (Negative Valence) และสวนที่เปนกลาง (Relative Neutral) แรงดานบวกจะเปนสิ่งที่ดึงบุคคลใหเขาสูเปาหมายที่ตนปรารถนา สวนแรงดานลบจะเปนตัวผลักใหบุคคลหนีหรือออกหางจากสิ่งที่ไมปรารถนา สําหรับสวนที่ เปนกลางคือสวนที่มีความสมดุลระหวางแรงดานบวกและดานลบ พฤติกรรมหรือการแสดงออกของบุคคล จึงถูกมองวาเปนกระบวนการของการถูกดึงโดยแรงดานบวกและการถูกผลักโดยแรงดานลบ ความ

Page 71: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

60

เชื่อดานสุขภาพเสนอวาบุคคลใดจะมีพฤติกรรมดานปองกันโรคก็ตอเมื่อบุคคลนั้นมีความเชื่อและการรับรูวาเขามีโอกาสเสี่ยงตอการเปนโรค และโรคนั้นมีความรุนแรงทําใหเกิด ความเสียหายแกชีวิตเขาพอสมควร และการปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงจากการเปนโรคหรือชวยลดความรุนแรงของโรค ไมควรมีอุปสรรคทางดานจิตวิทยาที่มีอิทธิพลตอการปฏิบัติของเขา เชน คาใชจาย ความเจ็บปวด ความสะดวกตาง ๆ เปนตน ตอมาเบคเกอรและไมแมน (Becker and Maiman) ไดพัฒนาความคิดนี้ โดยเพิ่มมิติการมองการเกิดพฤติกรรมสุขภาพเพื่อที่จะอธิบายและทํานายพฤติกรรมของบุคคลไดครอบคลุมและแมนยํามากขึ้น โดยมีแนวคิดดังนี้ 1. เขามีโอกาสเสี่ยงตอการเปนโรค 2. โรคนั้นตองมีความรุนแรงพอสมควร 3. การปฏิบัติในการหลีกเลี่ยงจากการเปนโรค เบคเกอร และไมแมน (Becker and Maiman, 1975) ไดทําการปรับปรุงรูปแบบความเชื่อดานสุขภาพเพื่อนํามาใชทํานายพฤติกรรมการปองกันโรคของบุคคล โดยเพิ่มปจจัยรวมที่นอกเหนือจากสามขอที่กลาวมาขางตน ไดแก แรงจูงใจ (Motivation) และปจจัยรวมอื่น ๆ (Modification Factors) ดังนี้ 2.5.3.1 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเปนโรค (Perceived Susceptibility) หมายถึง ความเชื่อของบุคคลที่มีผลโดยตรงตอการปฏิบัติตามคําแนะนําดานสุขภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บปวย แตละบุคคลจะมีความเชื่อในระดับที่ไมเทากัน ดังนั้น บุคคลเหลานี้จึงหลีกเลี่ยงการเปนโรคดวยการปฏิบัติตนเพื่อปองกันและรักษาสุขภาพที่แตกตางกันจึงเปนความเชื่อของบุคคลตอความถูกตองของการวินิจฉัยโรคของแพทย การคาดคะเนถึงโอกาสการเกิดโรคซ้ําหรือความรูสึกของบุคคลตอการงายที่จะปวยเปนโรคตาง ๆ ในแบบแผนความเชื่อดานสุขภาพ ถือวาการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเปนโรคเปนปจจัยสําคัญและมีอิทธิพลสูงกวาปจจัยอ่ืน ๆ โดยสงผลใหคนปฏิบัติเพื่อสุขภาพ ดังนั้น จึงสรุปวาบุคคลที่มีการรับรูตอโอกาสเสี่ยงของการเปนโรค จะเห็นความสําคัญของการมีสุขภาพดี จึงใหความรวมมือในการปฏิบัติตนเพื่อปองกันและสงเสริมสุขภาพ ดังนั้น การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเปนโรค จึงเปนปจจัยสําคัญของการทํานายพฤติกรรมการปฏิบัติตนเพื่อปองกันโรคของบุคคล 2.5.3.2 การรับรูถึงความรุนแรงของโรค (Perceived Seriousness) หมายถึง ความรูสึกนึกคิดของบุคคลตอความรุนแรงของโรคที่มีตอรางกาย กอใหเกิดความพิการ เสียชีวิต ความลําบากและการใชเวลานานในการรักษา การเกิดโรคแทรกซอนหรือการกระทบกระเทือนทางสังคม

Page 72: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

61

2.5.3.3 การรับรูถึงผลประโยชนและคาใชจาย (Perceived Benefits and Cost) หมายถึง การที่บุคคลรับรูวาโรคนั้นมีความรุนแรงมากพอที่จะเกิดอันตรายตอรางกาย รับรูวาตนเองมีโอกาสปวยหรือมีผลเสียโดยทางออม แลวแสวงหาวิธีปฏิบัติใหหายจากโรค ซ่ึงวิธีนี้เปนผลมาจากความเชื่อวาวิธีการนั้นเปนทางออกที่ดี กอใหเกิดผลดีมีประโยชนและเหมาะสมที่สุดที่จะหายจากโรคนั้น ๆ ในกรณีที่การปฏิบัติดังกลาวมีอุปสรรค เชน การรับรูถึงความสะดวก ความอาย การตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคําแนะนํา จะขึ้นอยูกับการเปรียบเทียบขอดีขอเสียของพฤติกรรมนั้น ๆ โดยผูปวยหรือบุคคลนั้นจะเลือกปฏิบัติในสิ่งที่กอใหเกิดผลดีมากกวาผลเสีย 2.5.3.4 แรงจูงใจ (Motivation) หมายถึง ความรูสึก อารมณตาง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการกระตุนของสิ่งเราที่จะชวยสนับสนุนใหผูปวยมีการปฏิบัติตัวตามคําแนะนํา ส่ิงเราที่เปนตัวกระตุนนี้อาจเปนสิ่งเราที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เชน ความสนใจตอสุขภาพทั่วไปหรือส่ิงเราภายนอก เชน ขาวสาร เอกสาร คําแนะนําของสมาชิกในครอบครัว เปนตน

2.5.3.5 ปจจัยรวม (Modifying Factors) เปนปจจัยที่สําคัญที่ชวยสงเสริมการปองกันโรค ไดแก ปจจัยดานประชากร ดานพฤติกรรมสังคม ทัศนคติ การปฏิสัมพันธ เปนตน ใหผลในการทํานายพฤติกรรมไดอยางสม่ําเสมอ สัมพันธภาพระหวางผูปวยและเจาหนาที่สามารถนําไปสูการปฏิบัติที่ถูกตองตามคําแนะนํารูปแบบความเชื่อดานสุขภาพ ไดมีการนํามาปรับปรุงเพื่อใชอธิบายและทํานายพฤติกรรมของบุคคลในรูปแบบตาง ๆ 3 รูปแบบ ไดแก พฤติกรรมการปองกันโรค (Preventive Health Behavior) พฤติกรรมการเจ็บปวย (Illness Behavior) และพฤติกรรมของผูปวย (Sick Role Behavior) และไดปรับปรุงรูปแบบความเชื่อดานสุขภาพเพื่อนํามาใชอธิบายและทํานายพฤติกรรมการปองกันโรค ดังภาพที่ 2.6

Page 73: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

62

การรับรูโอกาสเปนโรค การรับรูเกี่ยวกับ ความรุนแรงของโรค

การรับรูเกี่ยวกับ การคุกคามของโรค

ความเปนไปไดที่จะทําตามคําแนะนําเพื่อปองกันโรค หรือพฤติกรรมการปองกันโรค

ภาพที่ 2.6 รูปแบบความเชื่อดานสุขภาพที่ใชทํานายพฤติกรรมการปองกันโรค ที่มา : Becker and Maiman (1975 อางถึงใน ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ, 2536: 12)

สิ่งชี้แนะพฤตกิรรม ส่ิงชี้แนะภายใน : อาการของโรค สภาวะสขุภาพ ลักษณะภายนอก : คําแนะนาํจากผูอ่ืน : การรณรงคใหคําแนะนําดานสุขภาพ : การเหน็ผูอ่ืนเจ็บปวยดวยโรค : คําแนะนําจากบุคลากรทางการแพทย

1. ตัวแปรทางดานประชากร เชน อาย ุเพศ เชื้อชาต ิศาสนา ฯลฯ

2. ตัวแปรดานสังคมจิตวิทยา ชนชั้น ทางสังคมและบุคลิกภาพ

3. ตัวแปรดานโครงสราง ภูมิหลัง ความรูเกี่ยวกบัโรค ประสบการณเกี่ยวกับโรค

- การรับรูวามผีลประโยชนของการ ปฏิบัติเพื่อการปองกันโรค - การรับรูถึงอุปสรรคของการปฏิบัติ เพื่อปองกันโรค

Page 74: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

63

จากการศึกษาวิจัยของเบคเกอร สรุปไดวา ปจจัยดานการรับรูความรุนแรงของโรค ปจจัยการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค มีความสัมพันธกับพฤติกรรมการปองกันโรคมากกวาพฤติกรรมเมื่อเจ็บปวย ดังนั้น จากแบบแผนความเชื่อดานสุขภาพขางตน ผูวิจัยไดนําปจจัยการรับรูโอกาสเสี่ยงตอการเกิดโรค มาประยุกตเขากับการวิจัยในครั้งนี้

2.6 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ 2.6.1 ความหมายของแรงจูงใจ การจูงใจ (Motivation) จากคําวา Movere ในภาษาลาดิน ซ่ึงหมายถึง การเคลื่อนที่ (Motion)

ที่ส่ิงตาง ๆ เคลื่อนยายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เนื่องจากการจูงใจจะผลักดันใหบุคคลเกิดการแสดงพฤติกรรมตาง ๆ เพื่อไปสูเปาหมายที่เขาตองการ ซ่ึงจะมีความสําคัญตอการดํารงชีวิตและการทํางาน มีผูสนใจศึกษาการ จูงใจเพื่อนําไปประยุกตในงานดานตาง ๆ เชน การบริหาร การสอน และการพัฒนาพฤติกรรม เปนตน และ มีผูใหความหมายของแรงจูงใจไวมากมาย สรุปไดวา “การจูงใจ หมายถึง กระบวนการตาง ๆ ที่รางกายและ จิตใจ (ระบบ/ส่ิงมีชีวิต) ถูกกระตุนจากสิ่งเราใหเกิดพฤติกรรมเพื่อที่จะบรรลุเปาหมายตามที่ตองการ” (ณัฏฐพันธ เขจรนันท, 2547: 177) ดังภาพที่ 2.7 ภาพที่ 2.7 แบบจําลองเบื้องตนของการจูงใจ

บุคคลที่มีการจูงใจ (Motivated Behaviors) จะมีลักษณะ 3 ประการ คือ 2.6.1.1 พลังในการแสดงออก (Energy) การจูงใจจะกอใหเกิดพลังผลักดันบุคคลใหกระทํากิจกรรมตาง ๆ ใหบรรลุเปาหมาย จะเห็นวาบุคคลที่มีการจูงใจสูงจะมีพลังในการแสดงออกมาก โดยเขาจะกระตือรือรน เอาใจใส และทุมเทในการทํางาน โดยพลังในการแสดงพฤติกรรมนี้จะเปนสิ่งสําคัญที่ผูบริหารจะตองหากุศโลบายที่จะกระตุนใหเกิดกับผูใตบังคับบัญชาและหนวยงานของตนเพื่อที่จะทํางานอยางเต็มที่ในการบรรลุเปาหมาย

ความตองการ แรงขับ พฤติกรรม จุดมุงหมาย แรงขับไดรับ การตอบสนอง

Page 75: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

64

2.6.1.2 ความพยายาม (Persistence) เปนการแสดงพฤติกรรมอยางตอเนื่องและไมยอทอ เนื่องจากบุคคลมีความมั่นคงในสิ่งที่เชื่อหรือตองการจากการจูงใจ ทําใหเขามีความพยายามที่จะกระทํากิจกรรมตาง ๆ จนประสบความสําเร็จตามที่เขาตั้งใจไว โดยบุคคลจะทุมเทกําลังความสามารถทั้งรางกายและจิตใจ ตลอดจนทรัพยากรในการดําเนินงานใหบรรลุเปาหมาย อยางไรก็ตามถาความพยายามของบุคคลไมประสบความสําเร็จตามที่เขาตองการ บุคคลนั้นก็อาจมีความเปลี่ยนแปลงความพยายามหรืออาจจะมีการลดพฤติกรรมลงได เชน กัน 2.6.1.3 เปลี่ยนแปลงได (Variability) พฤติกรรมของบุคคลจะเปลี่ยนแปลงไดขึ้นอยูกับสถานการณและชวงเวลา โดยเฉพาะเมื่อบุคคลมีความตองการและแรงขับเปลี่ยนแปลงไป ทําใหการจูงใจและพฤติกรรมของเขาปรับเปลี่ยนไปดวย จะเห็นวาบุคคลที่มีการจูงใจจะมีพลังและความพยายามในการแสดงออกเพื่อใหบรรลุเปาหมาย การจูงใจที่เหมาะสมจะสามารถกระตุนใหบุคคลมีการจูงใจในงาน ทุมเทและปฏิบัติอยางเต็มที ่แตการจูงใจก็เปนเรื ่องที ่มีความละเอียดออนและสามารถเปลี่ยนแปลงได ผู บริหารหรือผูนําที ่มีประสิทธิภาพจึงตองมีความเขาใจและประสบการณในการประยุกตหลักการและเทคนิคการจ ูงใจในสถานการณ จร ิง จ ึงจะสามารถชักจ ูงให พนักงานหร ือผูใตบังคับบัญชามีการจูงใจในการปฏิบัติและสรางสรรคผลงานที ่มีคุณคา อันสงผลใหเกิดความกาวหนาแกองคกร (ณัฏฐพันธ เขจรนันทร, 2547: 178) กลาวโดยสรุปแรงจูงใจ หมายถึง ความตองการภายในของบุคคลที่มีความสัมพันธระหวางความจําเปน (Need) ความตองการ (Want) แรงขับ (Drive) หรือ แรงกระตุน (Impulses) ทําใหบุคคลกําหนดทิศทางและแสดงพฤติกรรมซึ่งมีปริมาณมากนอยไมเทากัน เพื่อใหไดผลลัพธ หรือเพื่อไปใหถึงเปาหมาย (Goals) นั้น

2.6.2 ประเภทของแรงจูงใจ McClelland and Others (1962:6 อางถึงใน ดารณี พัฒนศักดิ์ภิญโญ, 2533: 24) ไดแบง

ประเภทของแรงจูงใจทางสังคมออกเปน 3 ประเภท คือ 1. แรงจูงใจใฝสัมพันธ (Affiliation Motive) การดํารงชีวิตในสังคมอยางมีความสุขเปน

ส่ิงจําเปนที่มนุษยทุกคนปรารถนาที่จะใหเปนไป การมีเงินทองใชสอย มีส่ิงอํานวยความสะดวกและความสุขสบายอยางครบครัน คงจะไมทําใหบุคคลมีความสุขอยางสมบูรณ ทั้งนี้ เพราะธรรมชาติแลวมนุษยมีความตองการที่สําคัญอยูอยางหนึ่ง ไดแก การเปนที่ยอมรับของคนอื่น การไดรับความนิยมชมชอบจากคนอื่น หรือความรักใครชอบพอจากคนอื่น

Page 76: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

65

2. แรงจูงใจใฝอํานาจ (Power Motive) ลักษณะที่สําคัญของมนุษยประการหนึ่ง ไดแก ความตองการที่จะไดมาซึ่งอิทธิพลที่เหนือคนอื่น ๆ ในสังคม ซ่ึงลักษณะอันนี้ทําใหบุคคลแสวงหาอํานาจ กระทําทุกสิ่งทุกอยางเพื่อใหไดมาซึ่งอํานาจ เพราะเกิดความรูสึกวาการกระทําอะไรไดเหนือคนอื่นเปนความภาคภูมิใจอยางหนึ่งของคน จึงเปนสาเหตุใหเกิดแรงจูงใจใฝอํานาจ

3. แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ (Achievement Motive) แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์เปนแรงจูงใจประเภทหนึ่งที่ดูเหมือนวาจะกลาวถึงมากกวาแรงจูงใจทางสังคมประเภทอื่น แรงจูงใจใฝสัมฤทธ์ิเปนแรงจูงใจที่เกิดขึ้นหลังจากการคาดหวังของบุคคล ซ่ึงอาจจะไดพบหรือมีประสบการณจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเปนรอยประทับใจมาตั้งแตเล็ก ๆ แลวเขาก็พยายามที่จะกาวไปสูความสําเร็จอันนั้น เออรเนส อาร.ฮิลการด (Hilgard, 1962 อางถึงใน สถิต วงศสวรรค, 2529: 426 - 427) ไดแบงแรงจูงใจทางสังคมที่มนุษยมีอยูออกเปน 3 ประเภท คือ 1. แรงจูงใจเพื่อการอยูรอด (The Survival Motives) เปนความตองการทางกายซึ่งขาดเสียมิได เชน อาหาร อากาศ น้ํา เปนตน 2. แรงจูงใจทางสังคม (The Social Motives) เปนแรงจูงใจอันเกิดจากความตองการทางสังคม เปนแรงจูงใจเพื่อเขาสังคม ในการเกี่ยวของสัมพันธกับผูอ่ืน เชน ความรัก การยอมรับนับถือ เปนตน 3. แรงจูงใจเพื่ออวดตน (Ego Motives) คือแรงจูงใจที่เกิดจากความตองการชื่อเสียง คนในสมัยปจจุบันเขาวัดทําบุญเปนสัดสวนนอยลงกวาคนในสมัยกอน ปรากฏการณ เชน นี้ยอมตองการทฤษฎีที่อธิบายวา อะไรเปนปจจัยจูงใจใหคนทําบุญที่วัด 2.6.3 ความหมายของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมในการปฏิบัติงานในหนาที่รับผิดชอบแตกตางกันภายใตสถานการณเดียวกันนั้น มิใชเปนเพราะมีความรูความสามารถ มีสติปญญา ความสามารถ ประสบการณที่แตกตางกันเทานั้น แคมีปจจัยที่สําคัญยิ่งกวา คือการที่ผูปฏิบัติไดรับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่แตกตางกัน เปนเหตุใหแตละคนเต็มใจที่จะใชพลังความสามารถในการทํางานมากนอยแตกตางกัน แรงจูงใจเปนปจจัยสําคัญประการหนึ่ง ที่มีผลตอพฤติกรรมของมนุษย (Andreas, 1970 : 505 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 12) มีผูที่ใหความหมายของแรงจูงใจหลายประการ ซ่ึงสวนใหญสอดคลองกันวาแรงจูงใจเปนนามธรรมที่ไมสามารถมองเห็นแตเปนสิ่งกระตุนใหเกิดพฤติกรรมขึ้น (Harriman, 1947 : 226 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 12) นอกจากกระตุนใหมนุษยเคลื่อนไหวและทํากิจกรรมตาง ๆ แลวยังเปนสิ่งชักนําใหมนุษยประพฤติปฏิบัติตนอยางมี

Page 77: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

66

ทิศทางเพื่อใหบรรลุเปาหมายตามที่ไดวางไว (Berelson and Steiner, 1964 : 24 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 12) สวนแซนฟอรด และไรทแมน (Sanfors and Wrightman, 1970 : 189 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 30) กลาววาแรงจูงใจเปนความรูสึกที่ไมอาจหยุดนิ่งไดเปนพลังงานอะไรก็ตามที่ทําใหมนุษยอยูภายใตการชักจูงของบางสิ่ง และทําใหมนุษยกระทํากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งลงไปเพื่อลบลางสภาพการขาดหรือเพื่อทดแทนพลังงานบางอยาง สตีรล และพอรเตอรไดใหความหมายของแรงจูงใจไว 3 ประการ คือ แรงจูงใจ หมายถึง ส่ิงที่เปนตัวกระตุนใหแตละบุคคลเกิดพฤติกรรม เปนสิ่งที่ ช้ีทิศทางหรือแนวทางใหบุคคลกระทําพฤติกรรมเพื่อบรรลุเปาหมายของแตละคนและเปนสิ่งที่ชวยสนับสนุนรักษาพฤติกรรมนั้น ๆ ใหคงอยู สวนนอคซ (Knootz, 1980 : 634 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 12 ) ดังนั้น จึงพอสรุปไดวาแรงจูงใจ หมายถึงปจจัยที่ผลักดันใหบุคคลแสดงพฤติกรรมอยางใดอยางหนึ่งออกมาเพื่อใหบรรลุตามเปาหมายที่วางไว (ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 12 - 13) 2.6.4 ความสําคัญของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แรงจูงใจมีความสําคัญตอการทํางานของบุคคลเปนอยางหนึ่ง เพราะการทํางานใดถาจะใหไดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะตองประกอบดวยสวนสําคัญ 2 ประการ คือ ความสามารถหรือทักษะในการทํางานของบุคคล และการจูงใจเพื่อโนมนาวบุคคลใหใชความสามารถหรือทักษะในการทํางาน วูรม (Vroom, 1970 : 10 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 12 - 13) แรงจูงใจเปนสวนหนึ่งของการสรางขวัญและกําลังใจในการทํางาน พฤติกรรมตาง ๆ ของมนุษยเกิดจากแรงจูงใจที่ทําใหเกิดความตองการและแสดงการกระทําออกมา ตามปกติคนเรามีความสามารถในการทํางาน ทํางานตางไดหลายอยาง หรือมีพฤติกรรมแตกตางกันแตพฤติกรรมเหลานี้จะแสดงออกเพียงบางโอกาสเทานั้น การที่จะผลักเอาความสามารถของคนออกมาได คือแรงจูงใจนั่นเอง แรงจูงใจ เปนความเต็มใจ ที่จะใชพลังความสามารถเพื่อใหประสบความสําเร็จตามเปาหมาย (อรุณ รักธรรม, 2522 : 268 อางถึงใน ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ, 2545 : 13) จากแนวคิดของบุคคลตาง ๆ สรุปไดวา แรงจูงใจในการทํางาน คือพลังกระตุนพฤติกรรมใหแตละบุคคลใชความสามารถ ในการปฏิบัติงานใหบรรลุเปาหมาย และผลักดันใหมีความรูสึกอยากทํางานใหบรรลุความสําเร็จตามตองการสนองความตองการของตนเองและองคการ ดังนั้น แรงจูงใจเปนเหมือนพลังกายในที่จะผลักดันใหบุคคลใชความสามารถที่เขามีอยูใหปรากฏออกมาในรูปผลสําเร็จของงาน

Page 78: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

67

2.6.5 การจูงใจกับการบริหารงานขององคการ ในดานการบริหาร การจูงใจถือเปนภาระหนาที่ของผูบริหาร คือการนอมนําจิตใจผูใตบังคับบัญชาและผูรวมงานใหประสานสามัคคี เกิดพลังรวมในการนําองคการไปสูเปาหมายที่กําหนดไว และวิธีที่นักบริหารจะผสานจิตใจของผูรวมงานเพื่อรวมปฏิบัติภารกิจใหลุลวงมีหลายวิธี แตวิธีที่ไดรับความสนใจมากวิธีหนึ่ง ไดแก การจูงใจ (พรนพ พุกกะพันธ, 2544 : 238) “การจูงใจ” เปนเทคนิคการบริหารงานบุคคลที่ทําใหการใชความรูความสามารถของคนใหเกิดประโยชน ไดผลงานสูง หรือเพิ่มพูนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการจูงใจเปนการชักนํา หรือระดมพลังใจคนใหมุงมั่นตองาน ซึ่งจะทําใหการปฏิบัติงานบังเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แรงจูงใจในการทํางานอาจเกิดขึ้นไดหลาย ตัวแปร ทั้งที่เปนปจจัยภายในและภายนอก ตัวปจจัยภายในหรือตัวแปรสวนบุคคล เรียกวา Individual Variables คือ แรงจูงใจอาจจะเปนแรงผลักดัน(Drive) อารมณ(Emotion) แรงปรารถนา(Desires) ความไมสมหวัง(Frustration) ความขัดแยงในจิตใจ (Dissonance) ซึ่งกระตุนใหอยากทํางาน หรือไมอยากทํางาน นอกจากอาจจะมีตัวแปรปจจัยภายนอก หรือตัวแปรภายนอกตามสภาพการณ(Situational Variables) ไดแก สภาพแวดลอมในการทํางาน เชน รางวัลตอบแทนตําแหนงงาน การเลื ่อนเงินเดือน อิทธิพลของเพื่อนรวมงาน สภาพความสะดวกสบายในที่ทํางาน ฯลฯ สิ่งเหลานี้มีผลทําใหเกิดแรงจูงใจในการทํางานทั้งสิ้น (พรนพ พุกกะพันธ, 2544 : 238) สรุปไดวา การจูงใจ เปนเทคนิคการบริหารงานบุคคล ที่จะทําใหการใชความรูความสามารถของผูปฏิบัติงานใหเกิดประโยชน ไดผลงานสูง หรือเพิ่มพูนขึ้น เพราะการจูงใจเปนการชักนํา หรือระดม พลังใจ (Will Power) คนใหมุงมั่นตองาน ปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.6.6 สิ่งจูงใจและการสรางแรงจูงใจในองคกรท่ีใหบริการดานสุขภาพ การที่คนเราจะทําหรือไมทําอะไรสักอยางนั้น ไมวาจะเปนเรื่องดีหรือรายยอมมีเหตุผลของตนเองทั้งสิ้น เรียกวามูลเหตุจูงใจ หรือแรงจูงใจ (Motive) แตหากเราตองการทําใหใครสักคนที่ไมใชตัวเราเกิดความสนใจและใหความสําคัญเกิดความสนใจและใหความสําคัญกับบางสิ่งบางอยางจนตัดสินใจที่จะทําสิ่งนั้น ซ่ึงอาจเปนไปเพื่อประโยชนของเขา หรือเพื่อผูอ่ืนและสังคมโดยรวม เราจะตองสรางแรงจูงใจใหเขา โดยส่ิงที่เราหยิบยกขึ้นมาเสนอเปนผลตอบแทนหรือเปนรางวัลสําหรับการกระทํานั้น ๆ เพื่อจูงใจใหเขาคิดและตัดสินใจทําเราเรียกวาสิ่งจูงใจ (Incentive) การจะจูงใจมนุษยไปสูการตัดสินใจทําหรือไมทําอะไรสักอยางนั้น อาจไมสามารถชี้ชัดลงไปที่เหตุปจจัยอยางใดอยางหนึ่งที่ชัดเจนตายตัวได ทั้งนี้เพราะสิ่งจูงใจทั้งหลายดํารงอยูอยางมีความสัมพันธและมีอิทธิพลตอกันเปนโครงสรางที่มีอิทธิพลตอการดํารงชีวิตชีวิตของมนุษย โดยเรียกวา

Page 79: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

68

โครงสรางของแรงจูงใจ (Incentive Structure) ส่ิงจูงใจที่มองเห็นไดหรือส่ิงที่จับตองไดซ่ึงอาจหมายถึงเงินหรือส่ิงของ หรือการกระทําที่ตีคาเปนเงินได เรียกวา Financial or Economic Incentive และแรงจูงใจที่มองไมเห็น จับตองไมไดแตสัมผัสรับรูไดดวยความเขาใจ และไมสามารถตีคาเปนเงินได เรียกวา Non - Financial or Non - Economic Incentive มุมมองที่แตกตางกันของการสรางแรงจูงใจและวัฒนธรรมยอยในองคกร ภายใตบริบทการทํางานองคกรหรือหนวยงานตาง ๆ มุมมองตอเร่ืองการสรางแรงจูงใจในการทํางานอาจมีหลากหลาย เชน ผูบริหารหรือนายจางก็มักคิดวาทําอยางไรจึงจะสามารถสรางแรงจูงใจคนใหทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ จนสามารถยกระดับผลงานหรือบรรลุเปาหมายขององคกร /หนวยงานได ในขณะที่พนักงาน / เจาหนาที่ /ลูกจาง ก็มักคิดวาทําอยางไรจึงจะมีสภาพแวดลอมในการทํางานที่จูงใจใหอยากทํางาน ไดทํางานอยางมีความสุขจนประสบความสาํเรจ็และมีความกาวหนาไดทั้งสองมุมจะสอดรับกันไดเปนอยางดี หากสามารถทําความเขาใจและสรางระบบแรงจูงใจที่ตอบสนองทั้งสองดาน องคกร/หนวยงานก็คงดําเนินงานเปนที่พอใจและมีการพัฒนาตลอดเวลา ผูปฏิบัติงานทุกคนก็มีความสุขในการทํางาน สําหรับหนวยงาน/องคกรตาง ๆ ในระบบสุขภาพ มีลักษณะงานที่ตองอาศัยความรูความชํานาญของคน (Professional Oriented) เปนหลัก ทั้งยังตองเปนคนที่ผานการฝกอบรมเฉพาะทางอีกดวย ทําใหยากที่จะใชเครื่องยนตกลไกเขามาทดแทนได เชน การทําเวชปฏิบัติ (Clinical Practices) ตองใชความรูความชํานาญเฉพาะของนักวิชาชีพดานการแพทยและสาธารณสุขประเภทตาง ๆ นอกจากนี้การมีปฏิสัมพันธและการสรางสัมพันธที่ดีระหวางผูปวยกับผูใหบริการ (Patient - Provider Interaction - Relationship) ยังเปนส่ิงจําเปนในกระบวนการใหบริการเหลานี้ดวย การสรางแรงจูงใจในการทํางานจึงเปนเรื่องที่สําคัญ โดยเฉพาะในชวงที่เปาหมายและระบบการทํางานกําลังมีการปรับเปลี่ยน อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมหลักการปรับตัวอยางตอเนื่องของประเทศไทยในระยะหลัง ไดนําพาประเทศสูระบบการเมืองเศรษฐกิจที่เปนประชาธิปไตยทุนนิยมมากขึ้น ทําใหเกิดผลกระทบตอระบบทางสังคมโดยรวม รวมถึงระบบการแพทยและสาธารณสุขดวย แนวคิดหลัก ๆ ที่มีบทบาทตอการปรับเปลี่ยนในชวงนี้ ไดแก ทฤษฎีเศรษฐศาสตรนีโอคลาสสิกที่เนนเรื่องของการแขงขันทางการตลาด ทฤษฎีการจัดการที่เปนวิทยาศาสตร ที่เนนการเปนเหตุเปนผล การสรางประสิทธิภาพและผลไดสูงสุด รวมถึงหลักการดานสิทธิมนุษยชน (Human Right) ที่เนนความเทาเทียมกัน ซ่ึงแนวคิดทฤษฎีเหลานี้อาจถือไดวาเปนวัฒนธรรมกระแสหลักในสังคมโลกาภิวัฒนที่แผขยายเขาครอบงําและสรางผลกระทบตอระบบสังคมยอยทางการแพทยและสาธารณสุขอยางมาก โดยที่แตละสังคมมีวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาแตในอดีตของตนเองอยูแลว นับตั้งแตระบบที่ประชาชนดูแลตนเองและระบบการแพทยพื้นที่ที่มีรูปแบบความสัมพันธระหวางผูใหและ

Page 80: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

69

ผูรับบริการเปนแบบพึ่งพาอาศัย ศรัทธา และเกื้อกูลกันในแนวระนาบ แตเมื่อระบบคอย ๆ ถูกยึดครองดวยระบบการแพทยที่เปนวิชาชีพที่กลายเปนกระแสหลักในปจจุบัน ทําใหความสัมพันธระหวางผูใหและผูรับบริการเปลี่ยนไป คือมีลักษณะที่พึ่งพาความรูและความสามารถในการใชเทคโนโลยีการแพทยที่ทันสมัยมากขึ้น ภาพการเกื้อกูลกันเองในหมูประชาชนเพื่อการดูแลสุขภาพเร่ิมนอยลง หรือมีความสัมพันธที่เปนแนวตั้งมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผูใหบริการมีขอมูลความรูและความชํานาญมากกวาผูรับบริการ ขาดความสมดุลที่จะเกื้อกูลกัน สภาพเชนนี้เสริมใหผูประกอบวิชาชีพทั้งหลายมีความรูสึกเปนอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใหการวินิจฉัยและรักษาผูปวยตามในวิชาชีพของตนสูงมากไมตองอาศัยความรูของผูปวยและญาติเพียงแตตองขอความยินยอมในการเยียวยารักษาเทานั้น และไมขึ้นกับการบังคับบัญชาในสายการบริหารจัดการ เมื่อใดที่มีการส่ือสารระหวางผูใหและผูรับบริการและระหวางนักวิชาชีพทั้งหลายกับผูบริหารไมเพียงพอหรือไมชัดเจนก็จะนําไปสูความคับของใจ ระแวงสงสัย ไมมั่นใจ จนถึงมีการปฏิเสธหรือตอตานกันขึ้นไดในสภาวการณ เชน นี้ระบบการสรางแรงจูงใจขององคกรยอมไดรับผลกระทบอยางแนนอน (พรนพ พุกกะพันธ, 2544 : 238) 2.6.7 ระบบราชการกับการสรางแรงจูงใจ นอกจากนั้นระบบสุขภาพของประเทศไทย ยังมีจุดกําเนิดอยูภายใตระบบการปกครองแบบราชการ ที่มีวัฒนธรรมการทํางานเปนโครงสรางที่มีลําดับควบคุมกํากับดวยกฎระเบียบของทางราชการ โดยอํานาจจะถูกรวมศูนยอยูที่ระดับบนสุด การริเร่ิมนโยบายสําคัญ ๆ ในระบบสุขภาพมักเกิดที่ระดับบนสุด การริเร่ิมนโยบายสําคัญ ๆ ในระบบสุขภาพมักเกิดที่ระดับบนสุดแลวถายทอดนโยบายสูการปฏิบัติผานสายการบังคับบัญชาลงมายังผูปฏิบัติ โดยมีความคิดวาบุคลากรในระบบสุขภาพเปนเพียงกลไกของการนํานโยบายสูการปฏิบัติเทานั้น และดวยการที่พฤติกรรมของบุคลากรในระดับปฏิบัติมีหลากหลายจนอาจกอใหเกิดปญหาอุปสรรคในการดําเนินงานไดเพื่อจัดการระบบใหเขาสูสภาวะที่พรอมจะทํางานสูความสําเร็จตามนโยบาย ส่ิงจูงใจในการทํางานจึงถูกกําหนดขึ้นควบคูกันมาจากเบื้องบนทั้ง ๆ ที่อาจไมสอดคลองกับความตองการของผูปฏิบัติงาน หรือไมสามารถสรางแรงจูงใจผูปฏิบัติงานไดจริงในบริบทการทํางานในพื้นที่ แมวาแรงจูงใจที่เปนเงินหรือสามารถคาเปนเงินได (Financial Incentive) จะมีความสําคัญโดยเฉพาะเมื่อเนนที่ความจําเปนพื้นฐานของชีวิตมนุษย แตมีการศึกษามากมายในอดีตที่ช้ีวาแรงจูงใจที่เปนเงินเพียงอยางเดียว ไมสามารถแกปญหาในระบบการสรางแรงจูงใจไดทั้งหมด การทบทวนวรรณกรรมนี้ จะมุงเนนที่การทําความเขาใจระบบการสรางแรงจูงใจในสวนของสิ ่งจ ูงใจที ่ไม ใช เง ินเป นดานหลัก ทั ้งนี ้เพื ่อนําไปสู การทําความเข าใจเรื ่องของสิ ่งจ ูงใจ

Page 81: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

70

และการสรางแรงจูงใจที่มีอยูในปจจุบัน เพื่อใหเปนประโยชนตอการพัฒนาใหเกิดความสมดุลและความเปนองครวมมากขึ้น ไมเนนการตอบสนองตอความตองการของมนุษยเพียงมิติใดมิติหนึ่งเทานั้น ทั้งนี้เพื่อสามารถจูงใจใหคนที่มีความแตกตางหลากหลายทางความคิดและความตองการ ความรูความถนัดสามารถไดปลดปลอยพลังและความคิดสรางสรรคไปในการทํางานใหบรรลุเปาหมายขององคกรรวมกันไดอยางเต็มที่ โดยทั่วไปองคกรหรือหนวยงานมักใหความสนใจกับประสิทธิผลขององคกรเปนหลัก มีนอยที่จะใหความสําคัญกับประสิทธิผลของระบบการสรางแรงจูงใจขององคกร จะนึกถึงก็ตอเมื่อองคกรประสบปญหาที่ไมสามารถบรรลุวัตถุประสงคหรือไปไมถึงเปาหมายที่ตั้งไว โดยจุดเนนของการสรางแรงจูงใจจะแตกตางกันไปขึ้นอยูกับผูบริหารจะเลือกใชทฤษฎีการสรางแรงจูงใจไหนมาประยุกตใชการกําหนดสิ่งจูงใจในการทํางานจะมีผลกับปจจัยเหลานี้และมีผลกับเงื่อนไขที่เปนบริบททางสังคมทั้งในระดับปจจัยหรือระดับในองคกรรวมถึงระดับที่เปนเรื่องของระบบวัฒนธรรมการมีปฏิสัมพันธกับประชาชนในชุมชนที่ตั้งของโรงพยาบาลหรือผูมารับบริการดวย 2.6.8 การสรางแรงจูงใจในระดับผูปฏิบัติดานสุขภาพ (Health Worker Motivation) Franco, Bennette & Kanfer ไดใชแนวคิดของ Expectancy Theory เชื่อมโยงกับ Two Factor และ Goal Setting Theory เสนอวากระบวนการสรางแรงจูงใจใหเกิดขึ้นในระบบปจจัยนั้นมีสององคประกอบสําคัญที่จะทํางานคูขนานกันอยูตลอดเวลา คือ 1. การทําใหคนรูสึกวาตองการ จะทํา (Will Do) งานใหกับองคกรซึ่งจะขึ้นอยูกับวาคนนั้นเขาจะรับเอาเปาหมายขององคกรเปนเปาหมายของเขามากนอยแคไหน 2. การทําใหคนรูสึกวาเขาสามารถทําได (Can Do) ซ่ึงจะขึ้นกับความรูสึกของคนนั้นวาเขามีความสามารถและจะสามารถจัดสรรทรัพยากรสวนบุคคลของเขามาทํางานใหองคกรไดมากนอยแคไหน ปจจัยที่กําหนดองคประกอบเหลานี้มีที่มาจากปจจัยฐานราก ซ่ึงแบงเปน 3 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับที่เปนปจจัยภายในสวนบุคคล 2. ระดับที่เปนปจจัยภายนอกที่เปนบริบทขององคกร 2.1 สวนที่เกี่ยวกับโครงสรางและกระบวนการ 2.2 สวนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมองคกร 3. ระดับที่เปนปจจัยภายนอกที่เปนเรื่องของสังคมวัฒนธรรมกับการมีปฏิบัติสัมพันธกับชุมชนและผูรับบริการ

Page 82: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

71

เมื่อพิจารณาตามกรอบที่เสนอโดย Franco และคณะ จะเห็นวาระบบการสรางแรงจูงใจนั้นแทจริงมีความซับซอนและไมไดหยุดนิ่งอยูกับที่ โดยแตละองคประกอบก็จะสงผลตอกันและกันอยูตลอดเวลาเมื่อเราใชองคกร (โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล) เปนหนวยการวิเคราะหระบบการสรางแรงจูงใจในการทํางานของบุคคลเพื่อการบรรลุเปาหมายขององคกร จะเห็นวาวัฒนธรรมและความคาดหวังของชุมชน/สังคม จะมีสวนหลอหลอมปจจัยสวนบุคคลของผูปฏิบัติงานดวยการเรียนรูอยางเปนระบบ โดยผานความคาดหวังและสัมพันธภาพระหวางผูใหและผูรับบริการ ผูปฏิบัติงานเหลานี้จะเปนสวนสําคัญที่พาเอาปจจัยวัฒนธรรมทางสังคม เขามามีบทบาทตอปจจัยระบบการทํางานในองคกร ทั้งนี้โดยมีปฏิสัมพันธกับแนวคิด กฎเกณฑ ระเบียบของระบบราชการ แนวทางการบริหารจัดการ การบริการของรัฐ และนโยบายตาง ๆ ที่ถายทอดลงมาตามลําดับชั้นขององคกร รวมทั้งฐานคิดและการปฏิบัติตามที่ถูกหลอหลอมมาเปนผูประกอบวิชาชีพดานการแพทยแบบชีวการแพทยจนเกิดเปนแบบแผนพฤติกรรมการทํางานที่คนในองคกรใชรวมกัน 2.6.9 ทฤษฎีการจูงใจ จากการคนควาทฤษฎีแรงจูงใจที่สําคัญ 2 กลุม คือกลุมแรกจะมองปรากฏการณเร่ืองแรงจูงใจวามีลักษณะสถิตนิ่ง (Static Approach) โดยเนนที่ปจจัยภายในสวนบุคคลมากกวาปจจัยส่ิงแวดลอมภายนอก เรียกวา Content Theories และกลุมที่สองมองปรากฏการณเร่ืองของแรงจูงใจเปนสิ่งที่มีพลวัตในตัว โดยจะเนนทั้งปจจัยภายในสวนบุคคลและปจจัยภายนอกที่เปนเรื่องของสังคมส่ิงแวดลอมอยางมีปฏิสัมพันธกัน เรียกวา Process Theories ซ่ึงผูศึกษาไดสนใจทฤษฎีการจงูใจในกลุม Content Theory ตามทฤษฎีดังตอไปนี้

2.6.9.1 ทฤษฎีความตองการของมาสโลว (Maslor’s Hierarchy of Needs Theory) อับราแฮม มาสโลว เปนนักจิตวิทยาอยูที่มหาวิทยาลับแบรนดีส ไดพัฒนาทฤษฎีการจูงใจที่รูจักกันมากที่สุดทฤษฎีหนึ่งขึ้นมา มาสโลวระบุวาบุคคลจะมีความตองการที่เรียงลําดับจากระดับพื้นฐานมากที่สุดไปยังระดับสูงสุด ขอบขายของมาสโลวจะอยูบนพื้นฐานของสมมุติฐานรากฐาน 3 ขอ คือ

1) บุคคล คือ ส่ิงมีชีวิตที่มีความตองการ ความตองการของบุคคลสามารถมีอิทธิพลตอพฤติกรรมของพวกเขาได ความตองการที่ยังไมถูกตอบสนองเทานั้น สามารถมีอิทธิพลตอพฤติกรรมความตองการที่ถูกตอบสนองแลวจะไมเปนสิ่งจูงใจ

2) ความตองการของบุคคลจะถูกเรียงลําดับตามความสําคัญ หรือเปนลําดับช้ันจากความตองการพื้นฐาน ( เชน อาหารและที่อยูอาศัย) ไปจนถึงความตองการที่ซับซอน ( เชน ความสําเร็จ)

Page 83: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

72

3) บุคคลที่จะกาวไปสูความตองการระดับตอไปเมื่อความตองการระดับต่ํา(Lower Needs) ลงมาไดถูกตอบสนองอยางดีแลวเทานั้น นั่นคือ คนงานจะมุงการตอบสนองความตองการสภาพแวดลอมการทํางานที่ปลอดภัยกอน กอนที่จะถูกจูงใจใหมุงไปสูการตอบสนองความตองการทางสังคม

เราสามารถแบงลําดับขั้นของความตองการ (Hierachy of Needs) ของมนุษยออกเปน 5 ระดับ คือ 1) ความตองการทางรางกาย (Physiological Needs) ความตองการทางรางกายจะอยูลําดับต่ําที่สุด เพราะเปนความตองการพื้นฐานมากที่สุด ที่จัดระบบโดยมาสโลว ความตองการเหลานี้จะหมายถึงแรงผลักดันทางชีววิทยาพื้นฐาน เชน ความตองการอาหาร อากาศ น้ํา และที่อยูอาศัย เพื่อการตอบสนองความตองการเหลานี้ บริษัทจะตองใหเงินเดือนอยางเพียงพอแกบุคคลที่พวกเขาจะรับภาระสภาพการดํารงชีวิตอยูได ( เชน อาหาร และที่อยูอาศัย) ในทํานองเดียวกันเวลาพักจะเปนคุณลักษณะที่สําคัญอยางหนึ่งของงานดวยที่เปดโอกาสใหบุคคลตอบสนองความตองการทางรางกายของพวกเขาได มีบริษัทจํานวนมากขึ้น ที่กําลังมีโครงการออกกําลังกาย ที่จะชวยใหพนักงานมีสุขภาพดีดวยการตอบสนองความตองการทางรางกายของพวกเขา บุคคลที่หิวจนเกินไปหรือเจ็บปวยจนเกินไป ยากที่จะมีสวนชวยตอบริษัทของพวกเขาไดอยางเต็มที่ โดยทั่วไปความตองการทางรางกายจะถูกตอบสนองดวยรายไดที่เพียงพอและสภาพแวดลอมของงานที่ดี เชน หองน้ําสะอาด แสงสวางที่เพียงพอ อุณหภูมิที่สบายและการระบายอากาศที่ดี 2) ความตองการความปลอดภัย (Safety Needs) ความตองการความปลอดภัย คือความตองการลําดับที่สองของมาสโลว จะถูกกระตุนภายหลังจากที่ความตองการทางรางกายถูกตอบสนองแลว ความตองการความปลอดภัยจะหมายถึง ความตองการสภาพแวดลอมที่ปลอดภัยปราศจากอันตรายทั้งทางรางกายและจิตใจ บริษัทสามารถทําไดหลายสิ่งหลายอยางเพื่อที่จะตอบสนองความตองการความปลอดภัย ตัวอยาง เชน บริษัทอาจจะใหการประกันชีวิตและสุขภาพ สภาพแวดลอมการทํางานที่ปลอดภัย กฎและขอบังคับที่ยุติธรรมและสมควร และการยอมใหมีสภาพแรงงาน

3) ความตองการทางสังคม(Social Needs) ความตองการทางสังคมคือ ความตองการระดับสามที่ระบุโดยมาสโลว ความตองการทางสังคมจะหมายถึง ความตองการที่จะเกี่ยวพันการมีเพื่อนและการถูกยอมรับโดยบุคคลอื่น เพื่อการตอบสนองความตองการทางสังคม บริษัทอาจจะกระตุ นการมีสวนรวมภายในกิจกรรมทางสังคม เชน งานเลี้ยงของสํานักงาน ทีมฟุตบอลหรือโบวลิ่งของบริษัทจะใหโอกาสของการตอบสนองความตองการทางสังคมดวย การเปนสมาชิกสโมสรของบริษัทจะใหโอกาสที่ดีแกผูบริหารเพื่อ“การสรางเครือขาย” กับ

Page 84: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

73

ผูบริหารคนอื่น ในขณะที่ตอบสนองความตองการทางสังคมของพวกเขาไดดวย กอนหนานี้เราไดกลาวถึงโครงการสุขภาพจะชวยตอบสนองความตองการทางรางกายได โครงการสุขภาพนี้สามารถชวยตอบสนองความตองการทางสังคมไดดวย ความจริงแลวการทํางานหรือการเลนกีฬากับเพื่อนรวมงานจะใหโอกาสที่ดีเยี่ยมตอการมีเพื่อน การวิจัยแสดงใหเห็นวาความตองการทางสังคมจะถูกกระตุนภายใตสภาวะที่ “ความไมแนนอนทางองคกร” มีอยู เชน เมื่อความเปนไปไดของการรวมบริษัทไดคุกคามความมั่นคงของงาน ภายใตสภาวะ เชน นี้บุคคลจะแสวงหาความเปนมิตรจากเพือ่นรวมงาน เพื่อที่จะรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับสิ่งที่กําลังเปนไปอยู

4) ความตองการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs) ความตองการเกียรติยศช่ือเสียงคือ ความตองการระดับที่ส่ี ความตองการเหลานี้หมายถึง ความตองการของบุคคลที่จะสรางการเคารพตนเองและการชมเชยจากบุคคลอื่น ความตองการชื่อเสียงและการยกยองจากบุคคลอื่นจะเปนความตองการประเภทนี้ ตัวอยาง เชน พวกเขาอาจจะไดรับเชิญงานเลี้ยงเพื่อที่จะยกยองความสําเร็จที่ดีเดน การพิมพเร่ืองราวภายในจดหมายขาวของบริษัท เพื่อที่จะพรรณนาความสําเร็จของบุคคล การใหกุญแจหองน้ําแกผูบริการ การใหที่จอดรถยนตสวนบุคคล และการประกาศ “บุคคลดีเดน” ประจําเดือน ลวนแตเปนตัวอยางของสิ่งที่สามารถกระทําเพื่อการตอบสนองความตองการเกียรติยศชื่อเสียง การใหรางวัลเปนนาฬิกาและเพชรแกการบริการที่ดีและรางวัลราคาถูก เชน ที - เชิ้ต และเหยือกเบียรจะมีประโยชนตอการยกยองดวย

5) ความตองการความสมหวังของชีวิต (Self - Actualization Needs) ความตองการความสมหวังของชีวิต คือความตองการระดับสูงสุด บุคคลมักจะตองการโอกาสที่จะคิดสรางสรรคภายในงาน หรือพวกเขาอาจจะตองการความเปนอิสระและความรับผิดชอบ บริษัทไดพยายามจูงใจบุคคลเหลานี้ดวยการเสนอตําแหนงที่ทาทายแกพวกเขา ความตองการความสมหวังของชีวิต คือความตองการที่จะบรรลุความสมหวังของตนเองดวยการใชความสามารถ ทักษะ และศักยภาพอยางเต็มที่ บุคคลที่ถูกจูงใจดวยความตองการความสมหวังของชีวิตจะแสวงหางานที่ทาทายความสามารถของพวกเขา การเปดโอกาสใหพวกเขาใชความคิดสรางสรรคหรือการคิดคนสิ่งใหม มาสโลวเชื่อวาความตองการเหลานี้จะถูกเรียงลําดับจาก “ต่ําสุด” ไปยัง “สูงสุด” มาสโลวกลาววา เมื่อตองการ ณ ระดับ “ต่ําสุด” รางกายไดถูกตอบสนองแลว ความตองการ ณ ระดับ “สูงขึ้น” ตอไป ความปลอดภัย จะมีความสําคัญมากที่สุดและตอไปตามลําดับ ตามทฤษฎีของมาสโลวแลว บุคคลจะถูกจูงใจใหตอบสนองความตองการระดับต่ํากอนที่พวกเขาจะพยายามตอบสนองความตองการระดับสูงขึ้น ยิ่งกวานั้นเมื่อความตองการอยางหนึ่งถูกตอบสนองแลวความตองการนี้จะไมเปนสิ่งจูงใจที่มีพลังตอไปอีก

Page 85: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

74

ทฤษฎีของมาสโลวจะถูกสรางขึ้นมาบนพื้นฐานที่วาความตองการที่ยังไมไดถูกตอบสนองจะเปนปจจัยที่ปลุกเราพฤติกรรมของบุคคล เมื่อความตองการไดถูกตอบสนองตามสมควรแลวความตองการเหลานี้จะหยุดเปนสิ่งจูงใจพฤติกรรม

ในการนําทฤษฎีลําดับขั้นความตองการของมาสโลวไปใชในหนวยงาน ผูบริหารตองคํานึงถึงหลักของการสรางแรงจูงใจ ความตองการในระดับต่ําอาจไดรับการตอบสนองเพียงบางสวนและในสวนที่ไดรับการตอบสนองแลวจะไมเกิดแรงจูงใจของพฤติกรรมอีกตอไป เชน ในหนวยงานที่จัดใหมีรายไดพอสมควรแลวและสภาพแวดลอมของงานดีแลว การปรับปรุงสิ่งเหลานี้ใหดีขึ้นจะไมเพิ่มแรงจูงใจเลยเนื่องจากบุคคลสวนใหญไดรับการตอบสนองความตองการในระดับนี้เปนอยางดีแลว

2.6.9.2 ทฤษฎี ERG (Alderfer’s Existence Relatedness Growth Theory) Alderfer ไดพัฒนาทฤษฎี ERGหรือที่เรียกวา Alderfer’ Modification คิดคนโดยเคลยตัน ( Claton P.Alderfer) โดยยึดถือพื้นฐานความรูจากทฤษฎีของ Maslow โดยตรง แตมีการสรางรูปแบบที่เปนจุดเดนที่ตางไปจากทฤษฎีของ Maslow คือ Alderfer เห็นวาความตองการของมนุษยทั้ง 3 ประการ (Alderfer ,1972:117 อางถึงใน วิโรจน สารัตถะ, 2542: 98) ไดแก

1) ความตองการมีชีวิตอยู ((Existence Needs : E) ซ่ึงเปนความตองการทั้งหลายที่จะตอบสนองเพื่อใหมีชีวิตตอไป ไดแก ความตองการทางสรีระและความตองการความปลอดภัย

2) ความตองการที่จะมีความสัมพันธกับผูอ่ืน (Relatedness needs: R) ซ่ึงเปนความสัมพันธกับคนรอบขางอยางมีความหมาย

3) ความตองการที่จะเจริญงอกงาม (Growth Needs :G) ไดแก ความตองการที่จะไดรับการยกยองและความตองการที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ตามทฤษฎีความตองการของ Maslow นั้น ความตองการจะไดรับการตอบสนองเปนขั้น ๆ และกาวหนาขึ้นไปเรื่อย ๆ กลาวคือ เมื่อใดที่ความตองการระดับต่ําไดรับการตอบสนองแลว ความตองการที่อยูในระดับที่สูงขึ้นก็จะมีผลในการจูงใจ ซ่ึงทฤษฎีความตองการของ Alderfer ก็มีสภาพเหมือนกันแตจะมีการเคลื่อนตัวถอยหลังถาความตองการที่อยูต่ํากวา และจากความจริงขอนี้ทําใหผูบริหารสามารถทราบถึงสถานการณตาง ๆ ที่ ซ่ึงเปนอุปสรรคตอความตองการกาวหนา หรือความตองการความสัมพันธซ่ึงในสถานการณ เชน นี้ Alderfer ช้ีใหทราบวาประเภทของความตองการที่อยูต่ําลงไปจะมีความสําคัญในการจูงใจทันที ความตองการที่จะไดรับการยอมรับจากบุคคลอื่น และมีความรูสึกวาตนเองนั้นเปนสวนหนึ่งของกลุมทางสังคมมีความตองการเพื่อน เชน การเขาเปนสมาชิกขององคการหรือ

Page 86: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

75

สมาคมตาง ๆ จะเห็นไดวาทฤษฎีของแอลเดอรเฟอร ก็คือทฤษฎีของมาสโลวนั่นเอง แตกตางกันแตเพียงวาแอลเดอรเฟอรไมยอมรับเรื่องการตอบสนองความตองการเปนลําดับขั้น เขาเสนอวาการตอบสนองความตองการทั้งสามอยางนั้น สามารถที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได จะตอบสนองเมื่อไรก็ได ไมจําเปนตองตอบสนองตามลําดับขั้น ขามไปขามมาก็ได และนอกจากนั้นความตองการทั้ง 3 ประเภท อาจเกิดขึ้นพรอมกันที่เดียวเลยก็ได

2.6.9.3 ทฤษฎีการจูงใจของเฮิรซเบิรก (The Motivation Hygiene Theory) ทฤษฎีองคประกอบคูของ เฮิรซเบิรก : ทฤษฎีสองปจจัย (Two Factors Theory)

Frederick Herzberg นักวิชาการ ชาวสหรัฐอเมริกา กลาวถึงปจจัยที่ทําใหบุคคลเกิดความพึงพอใจในงาน (Job Satisfaction) หรือที่เรียกวา ปจจัยจูงใจ (Motives) และปจจัยที่ปองกันความไมพอใจในงาน (Job Dissatisfaction) หรือที่เรียกวาปจจัยธํารงรักษาหรือปจจัยอนามัย ซ่ึงทั้งสองปจจัยจะมีความแตกตางกัน ผูบริหารจึงตองเลือกใชใหเหมาะสม เพื่อใหบุคคลแสดงพฤติกรรมที่ตองการและปฏิบัติงานรวมกับองคการไดอยางมีคุณภาพ Herzberg ไดสรุปวา บุคคลจะมีความตองการในงานที่แยกจากกันเปนอิสระซ่ึงจะขึ้นอยูกับปจจัยสําคัญ 2 กลุม (Herzberg,Mausner and Synderman,1953: 3-139) ไดแก

1) ปจจัยค้ําจุน : ปจจัยธํารงรักษา (Maintenance หรือ Hygiene Factors) เปนปจจัยภายนอกที่เปนสิ่งแวดลอมหรือเงื่อนไขในการทํางานที่จะปองกันไมใหเกิดความไมพอใจในงาน และรักษาใหบุคลากรปฏิบัติงานในองคการตอไป เรียกวา Hygiene ปจจัยเหลานี้ถูกมองวาเปนความจําเปนพื้นฐานในการทํางานที่หากขาดหายไปก็จะนําไปสูความไมพึงพอใจในการทํางาน แตแมจะมีก็ไมไดมีหลักประกันวาจะนําไปสูความพึงพอใจปจจัยเหลานี้สวนใหญลวนเปนสิ่งที่เปนรูปธรรม สัมผัสจับตองและตีราคาเปนเงินได ไดแก

(1) นโยบายและการบริหาร หมายถึง มีโครงการดําเนินงาน การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการบริหาร ความสามารถแกปญหาและสอดคลองกับความตองการของบุคลากรการไดรับขาวสาร การตัดสินใจรวมกันในการดําเนินงาน (2) สภาพแวดลอมของงาน หมายถึง อุปกรณการปฏิบัติงาน เครื่องอํานวยความสะดวกในสํานักงาน (3) ความสัมพันธระหวางบุคคล หมายถึง การใหความรวมมือจากบุคลากรในสถานบริการเดียวกัน บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับมีความสัมพันธอันดีตอกัน (4) เงิน เดือน หมายถึง เงินที่ ได รับจากการทํางาน คาจ างและผลตอบแทนที่ไดรับมีความเหมาะสมกับงานที่ทํา วิธีการเลื่อนเงินเดือนเปนไปอยางยุติธรรม

Page 87: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

76

(5) ความมั่นคงในงาน หมายถึง ความรูสึกของบุคคลที่มีตอความมั่นคงของงาน ความมั่นคงขององคการ

2) ปจจัยจูงใจ (Motivation Factors) หมายถึง ปจจัยภายในบุคคลที่จะทําใหบุคคลเกิดความพอใจในการทํางาน แตถาขาดไปก็ไมถึงกับจะทําใหเกิดความไมพึงพอใจที่จะทํางานอาจยังทํางานตอไปไดแตไรการริเร่ิมสรางสรรค ไมมุงมั่นที่จะพัฒนางาน ปจจัยในกลุมนี้มีลักษณะคอนไปทางนามธรรม และไมสามารถตีคาเปนเงินไดชัดเจน ไดแก (1) ความสําเร็จในการทํางาน (Achievemen) หมายถึง การที่บุคคลสามารถทํางานได เสร็จสิ้นและประสบผลสําเร็จเปนอยางดี (2) การไดรับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การที่บุคคลไดรับการยินยอมรับนับถือไมวาจะกลุมเพื่อนรวมงานผูบังคับบัญชาหรือบุคคลอื่น ๆ (3) ลักษณะของงาน (Work Itself) หมายถึง ความรูสึกที่ดีหรือไมดีของบุคคลที่มีลักษณะของงานในหนาที่ที่รับผิดชอบหรืองานที่ไดรับมอบหมายดําเนินการ การไดทํางานที่มีความหมายตอชีวิตและสังคม (Meaningful Work) (4) ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการที่ไดรับมอบหมายใหรับผิดชอบงานใหม ๆ และมีอํานาจในการรับผิดชอบอยางเต็มที่ (5) ความกาวหนาในตําแหนงการงาน (Advancement) และความ เจริญเติบโตขององคการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในฐานะหรือตําแหนงของบุคคลในองคการ แนวคิดของ Herzberg ไดรับความสนใจและกระตุนการศึกษาดานการจูงใจและนําไปใชอยางกวางขวาง โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรมนุษย โดยการธํารงรักษาใหคนที่มีความสามารถอยูรวมกับองคการ และกระตุนใหเขาปฏิบัติงานอยางเต็มความสามารถ โดยการออกแบบและจัดระบบงาน การใหคาตอบแทนและผลประโยชน การพัฒนาอาชีพและการบริหารงานภายในองคการอยางไรก็ตาม การศึกษาของ Herzberg ไดรับการวิจารณวากลุมตัวอยางมีปริมาณและความหลากหลายนอยทําใหไมสามารถอธิบายปรากฎการณที่เปนสากลไดอยางสมบูรณ อยางไรก็ตามผลการเก็บขอมูลและการศึกษาในระดับนานาชาติในสมัยตอมาก็มักจะสนับสนุนขอสรุปของ Herzberg เสมอ ทําใหทฤษฎีไดรับการยอมรับและนําไปประยุกตในการบริหารงานมาจนถึงปจจุบัน (ณัฏฐพันธ เขจรนันทร, 2547 : 180 - 190) และในบรรดา Content Theories หากสนใจการสรางระบบแรงจูงใจในผูนําหรือผูบริหารองคกร ทฤษฎี Trichotomy of Needs ของ McClelland จะเหมาะสมที่สุด เพราะทฤษฎีเนนปจจัยหลักของการมีภาวการณนําที่ผูนําหรือผูบริหารตองมี แตหากพิจารณาระบบการสรางแรงจูงใจที่ใชกับผูปฏิบัติงานทั่วไป ทฤษฎีสองปจจัย (Two Factors Theory)

Page 88: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

77

ของ Herzberg ซ่ึงเนนทั้งปจจัยภายนอกที่เปนความจําเปนที่ตองการการตอบสนองจากระบบ และมักมีรูปธรรมที่สามารถแปลงไปเปนสิ่งจูงใจชัดเจน สามารถทําความเขาใจและจัดการได กับปจจัยภายในสวนบุคคลที่เปนความจําเปนซึ่งตองสนองดวยตนเอง ดวยการหยั่งรู หลังจากมีการพัฒนาตนเองมาระดับหนึ่งแลว และในสวนนี้จะเปนตัวสรางแรงจูงใจที่มีความมั่นคงยั่งยืนกวา โดยส่ิงจูงใจในสวนนี้มักไมมีรูปธรรมที่ชัดเจนและไมสามารถกําหนดมูลคาเพื่อการลงทุนหรือการจัดการไดแนนอน จากแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจที่กลาวมา ผูศึกษาจึงไดสนใจทฤษฎีความตองการของมาสโลว และทฤษฎีสองปจจัย หรือการจูงใจของเฮิรซเบิรก ในปจจัยความตองการของบุคคลขั้นพื้นฐาน ปจจัยจูงใจ และปจจัยค้ําจุน เนื่องจากการปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดกาญจนบุรี อยูในการบริหารของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี และเปนหนวยงานที่ศึกษาเปนหนวยงานภาครัฐ ปฏิบัติงานตามนโยบายเดียวกัน และควรไดรับปจจัยตาง ๆ ในลักษณะเดียวกัน จึงจะสงผลตอประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานเพื่อใหบรรลุเปาหมายที่วางไว

2.7 งานวิจัยท่ีเกี่ยวของ กุหลาบ แผนทอง (2540) การศึกษาพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจาหนาที่ในโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา ผลการศึกษา พบวา เจาหนาที่โรงพยาบาลของรัฐสวนใหญ มีความรูเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อในระดับสูงและระดับปานกลาง คิดเปนรอยละ 56.3 และ 42.1 และ พบวา เจาหนาที่โรงพยาบาลของรัฐ มีพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับสูง คิดเปนรอยละ 73.4 และสวนที่เหลืออยูในระดับปานกลาง วารีรัตน แสนเสนาะ (2541) ศึกษาความรูและการปฏิบัติของบุคลากรในโรงพยาบาลราชบุรี เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย ผลวิจัย พบวา บุคลากรมีความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยระดับสูง การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยในระดับต่ํา ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยของบุคลากรมีความแตกตางกันตามตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ รายได อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ การปฏิบัติมีความแตกตางกัน ตามตัวแปรรายได อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ประนันท สุนทรไชยา (2541: บทคัดยอ) ศึกษาทัศนคติ พฤติกรรมและปญหาเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยในจังหวัดอุตรดิตถ พบวา เจาหนาที่สาธารณสุขประจําสถานีอนามัย สวนใหญมีทัศนคติที่ดีตอการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มีพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ดีในระดับปานกลาง สถานีอนามัยสวนใหญมีปญหานอยในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ จากการ

Page 89: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

78

ทดสอบสมมติฐาน พบวา เจาหนาที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยที่มีขนาดแตกตางกัน มีปริมาณผูรับบริการรายวันที่แตกตางกัน มีทัศนคติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ และเจาหนาที่ที่ปฏิบัติงานที่ขนาดสถานีอนามัยที่แตกตางกัน มีพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ เจาหนาที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยที่มีผูรับบริการรายวันมาก มีพฤติกรรมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสูงกวาสถานีอนามัยที่มีผูรับบริการรายวันนอย อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ธีระศักดิ์ รัตนเทวะเนตร ( 2543) ศึกษาเรื่องรูปแบบการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยในอําเภอหัวตะพาน พบวา สถานีอนามัยทั้งหมดมีการแยกมูลฝอยติดเชื้อจากมูลฝอยทั่วไปทุกสถานีอนามัย การกักเก็บสวนใหญใชถังแสตนเลส ขนาด 20 ลิตร รอยละ 72.2 มูลฝอยติดเชื้อใชถุงพลาสติกสีแดงรองรับรอยละ 72.2 มีการแยกของมีคมออกจากมูลฝอยติดเชื้อทุกสถานีอนามัย การกําจัดสวนใหญใชเผาในเตาเผามูลฝอยรอยละ 63.6 รูปแบบการกําจัดมีทั้งรูปแบบการทิ้งในบอเก็บมูลฝอยติดเชื้อ รูปแบบการใหโรงพยาบาลชุมชนเปนศูนยกลางในการกําจัด และใชทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งนี้ในการกําจัดมีการกําจัดทุกวัน และการกําจัดสองวันครั้ง พบวาการกําจัดสองวันครั้งมีคาใชจายนอยกวาการกําจัดวันละครั้ง อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ สุนทรี ปานนอย (2543: 128 - 129,133) ศึกษาเรื่องความรูและการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทยในโรงพยาบาลสมเด็จพระปนเกลา กรมแพทยทหารเรือ ผลการศึกษา พบวา ระดับความคิดเห็นของกลุมตัวอยางสวนใหญ อยูระดับสูงรอยละ 52.9 สวนความรูและทัศนคติอยูระดับสูงรอยละ 44.5 และ 45.8 ตามลําดับ บุคลากรทางการแพทยมีระดับความรูและการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับต่ํา สําหรับการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว พบวา อายุ รายไดตอเดือน ระดับการศึกษา ตําแหนงงาน และความคิดเห็นตอการรับรูและการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ความสัมพันธระหวางความรูกับการปฏิบัติเปนไปในเชิงบวกและมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สวนปจจัยที่ไมมีความสัมพันธกับการปฏิบัติ คือ เพศ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน อารยา แกวมาลา (2545 : 105 - 112) ศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยในอําเภอเสลภูมิ จังหวัดรอยเอ็ด พบวา ระดับความรู ทัศนคติและการปฏิบัติสวนใหญอยูระดับปานกลาง รอยละ 45.8, 36.5 และ 35.4 ตามลําดับ บุคลากรมีความรู ทัศนคติ และการปฏิบัติ อยูในระดับปานกลาง ความรูและทัศนคติ มีความสัมพันธในทางบวกกับการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่สถานีอนามัย และ พบวา ระดับการศึกษามีความสัมพันธตอการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ สําหรับปจจัยดานเพศ อายุ ตําแหนงงาน ระยะเวลาที่แตกตางกัน ไมกอใหเกิดความแตกตางการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

Page 90: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

79

สรพงศ ขลุยเงิน (2547) การศึกษา การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยในอําเภอกุดขาวปุน จังหวัดอุบลราชธานี พบวา บุคลากรสาธารณสุขมีความรูระดับดี รอยละ 84.18 ระดับปานกลาง รอยละ 12.82 มีเจตคติระดับดี รอยละ 92.31 ระดับปานกลาง รอยละ 7.69 สวนการปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข มีการปฏิบัติถูกตองระดับดี รอยละ 38.46 ปฏิบัติถูกตองระดับปานกลาง รอยละ 61.54 สําหรับความรูกับเจตคติ ความรูกับการปฏิบัติ และเจตคติกับการปฏิบัติของบุคลากรสาธารณสุข ไมมีความสัมพันธกัน (P >0.05 ) จตุรงค ปานใหม (2549) ศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและศึกษาปริมาณและองคประกอบของมูลฝอยติดเชื้อของศูนยสุขภาพชุมชนในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบวา มีการจัดการในบางขั้นตอนยังไมถูกตอง การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่แหลงกําเนิดบางสวนยังมีมูลฝอยทั่วไปปะปนมากับมูลฝอยติดเชื้อ ทําใหมีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น การเก็บรวบรวม พบวา ถังเก็บรวบรวมไมมีฝาปด ไมใชถุงแดงในการรองรับมูลฝอย บุคลากรไมมีการใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล และมีการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อทั่วไป สุพร ผดุงศุภไลย และชุตินาถ ทัศนจันทร (2549: 90) โดยการสํารวจสถานการณการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลในสวนภูมิภาคที่สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 820 แหง พบวา โรงพยาบาลรอยละ 97 มีเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ เตาเผารอยละ 65.14 อยูในสภาพดี/หรือพอใช ที่เหลืออยูในสภาพชํารุด ในสวนของประเด็นการใชงาน พบวา มีการใชเตาเผาสม่ําเสมอเพียงรอยละ 54.9 เนื่องจากโรงพยาบาลบางแหงไดสงขยะใหหนวยงานอื่นกําจัดแทน ยุทธนา สุภาปญญากุล (2550) ศึกษาความรู การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจาหนาที่โรงพยาบาลสกลนคร พบวา ดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มีรูปแบบที่ไมเหมาะสม คือ เวลา เสนทาง การรวบรวม การนําสง จึงไดจัดการแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อใหม โดยกําหนดเวลา เสนทาง วิธีการรวบรวม จุดพักมูลฝอยติดเชื้อ และวิธีการเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อใหม โดยยึดหลักความถูกตอง สะดวก ปลอดภัย และประหยัด ดานความรู กลุมขาราชการ/พนักงานของรัฐ และกลุมลูกจางประจํา/ลูกจางชั่วคราว หลังดําเนินการมีความรูเพิ่มขึ้น กอนดําเนินการอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ จาตุรงค บุญสิน ( 2550) ศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของกรุงเทพมหานคร พบวา มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเกิดจากสถานพยาบาลสาธารณสุข ตาง ๆ ตั้งแตป 2548 - 2550 มีปริมาณ 20 ตันตอวัน และกรุงเทพมหานคร ไดดําเนินการจัดเก็บและกําจัดมูลฝอยติดเชื้อไดวันละ 18 ตันตอวัน การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ดําเนินการเปนสองขั้นตอน คือ ระบบเก็บขน และระบบการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลสาธารณสุข ตาง ๆ โดยการใชรถสําหรับการเก็บ

Page 91: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

80

ขน โดยเฉพาะมีการควบคุมอุณหภูมิ การปกปดมิดชิด ปองกันการหกหลนของมูลฝอยติดเชื้อ การกําจัดโดยวิธีเผาที่เตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่ศูนยกําจัดมูลฝอยออนนุช ประดิษฐ ชาลีเครือ (2550) ศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของเจาหนาที่สาธารณสุขในสถานีอนามัยอําเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ พบวา 1) การคดัแยกและการกักเก็บ ทุกสถานีอนามัย มีการคัดแยกและการกักเก็บ มีถังมูลฝอยติดเชื้อคงทนและปองกันการแทงทะลุ แต พบวา เกือบทั้งหมดที่มีการคัดแยกของมีคมติดเชื้อจากมูลฝอยติดเชื้อ สวนใหญมีถังมูลฝอยติดเชื้อ 2 ถัง โดยสวนใหญมีปริมาตร 20 ลิตร นอกจากนี้ พบวาเกือบทั้งหมดมีฝาปด มีเพียงสวนนอยที่ไมมีถุงพลาสติกรองรับ 2) การรวบรวมมูลฝอยและการเคลื่อนยาย มีการอุปกรณปองกันการติดเชื้อหลายประเภท พบวา สวนใหญเปนถุงมือ รองลงมาเปนผาปดปากจมูก ผายางกันเปอน และรองเทาบูท ความถี่ในการรวบรวมและการเคลื่อนยายสวนใหญวันละครั้ง สําหรับการเคลื่อนยายมูลฝอยติดเชื้อสวนใหญ มีการเคลื่อนยายโดยการหิ้วถุงมูลฝอยติดเชื้อโดยตรง ไมมีที่พักขยะ สวนใหญจะพักขยะไวที่ถังขยะ 3) การทําลายเชื้อและการกําจัด สวนใหญมีการทําลายเชื้อเบื้องตนโดยสารเคมี สําหรับการกําจัดสวนใหญดําเนินการกําจัดเอง โดยใชวิธีเผาในเตาเผา ปจจัยสวนบุคคลดานอายุที่แตกตางกัน ปจจัยดานความรูและปจจัยดานระดับทัศนคติที่แตกตางกัน จะสงผลตอการปฏิบัติการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยางมีนัยสําคัญทางสถิติ เพลินพิศ กาญจนบูรณ, จิราพร ชมพิกุล และสุเทพ ศิลปานันทกุล (2550) ศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานีอนามัยในอําเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบวา เจาหนาที่สาธารณสุขรอยละ 68.18 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และรอยละ 13.64 มีการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีเพียงรอยละ 4.55 มีการศึกษาสูงกวาปริญญาตรี สวนใหญมีความรูดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และรอยละ 65.45 ของสถานีอนามัย มีการจัดการเรื่องมูลฝอยติดเชื้ออยางเหมาะสม ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเฉลี่ย 0.35 กิโลกรัม ตอวันตอสถานีอนามัย ปญหาอุปสรรค ของแตละสถานีอนามัยคือขาดแคลนอุปกรณตาง ๆ ที่ใชในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และการอบรมเรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกตอง จากการสังเกต พบวา การจัดการมูลฝอยติดเชื้อไมถูกตองทุกสถานีอนามัย สาโรจน ดวงสา (2551) การศึกษาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนยสุขภาพชุมชน ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู พบวาการจัดการบางขั้นตอนไมถูกตอง การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อ ผูที่เกี่ยวของไมไดตระหนักในการคัดแยกมีมูลฝอยติดเชื้อปะปนกับมูลฝอยทั่วไป ทําใหมูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณมากขึ้น การเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ บางแหงไมใชถุงสีแดงรองรับมูลฝอย บุคลากรไมใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล การทําลายมูลฝอยติดเชื้อ สภาพเตาเผาหลายแหงชํารุดมาก แตยังไมไดรับการแกไข บางแหงใชวิธีเผากลางแจง

Page 92: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

81

สายันต แสวงสุข (2551) การศึกษาความรู ทัศนคติและพฤติกรรม การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร พบวา บุคลากรสาธารณสุขมีตําแหนงเปนระดับผูปฏิบัติ รอยละ 42.42 เพศหญิง รอยละ 72.73 มีอายุระหวาง 36 - 45 ป รอยละ 48.48 จบการศึกษาปริญญาตรี รอยละ 54.55 ระยะเวลาปฏิบัติงานสวนใหญ นอยกวา 5 ป รอยละ 39.39 บุคลากรสาธารณสุขมีความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ระดับปานกลาง รอยละ 72.72 เมื่อหาคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ พบวา พฤติกรรม มีความสัมพันธในเชิงบวก ระดับปานกลาง กับทัศนคติ ( r = 0.582) จากการศึกษาทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวของ ผูวิจัยสามารถสรุปแบงงานวิจัยได 3 ดาน คือ ดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ดานความรูเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ และดานทัศนคติ และพฤติกรรม ซ่ึงสามารถสรุปไดดังนี้ คือ

1. ปจจัยดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

1.1 สถานบริการสาธารณสุขไมมีความพรอมในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อดวยตัวเองโดยเฉพาะเตาเผา ใชวิธีการกําจัดโดยใหหนวยงานอืน่ หรือเอกชนเปนผูดําเนินการ

1.2 สวนใหญมีรูปแบบและการจัดการที่ไมเหมาะสม ไมถูกตองตามขอกําหนด ในทกุขั้นตอนของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

1.3 ปจจัยสวนบุคคล เชน เพศ ระดบัการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติงาน มีผลตอการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

2. ปจจัยดานความรูเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อ 2.1 ความรูและทัศนคติ เปนปจจยัที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 2.2 ผูปฏิบัติงานเกีย่วกับมูลฝอยติดเชื้อที่ไดรับความรูเพิ่มขึ้น จะปฏิบัติงานไดดีขึ้น 2.3 ผูปฏิบัติงานดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานีอนามัย สวนใหญมีการศึกษา

ระดับปริญญาตรี

3. ปจจัยดานทศันคติและพฤติกรรมเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อ 3.1 เจาหนาที่สาธารณสุขประจําสถานีอนามัย สวนใหญมีทัศนคติที่ดีตอการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 3.2 การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขมีความแตกตางกัน สวนใหญมีการปฏิบัติในระดับปานกลาง

Page 93: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

82

และจากการศึกษาแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ผูวิจัยเชื่อวาปจจัยการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค และปจจัยดานแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน นาจะมีความสัมพันธกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และจากการศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ พบวา ปจจัยสวนบุคคล อันไดแก เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาปฏิบัติงาน นาจะเปนตัวแปรที่มีผลตอการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ผูวิจัยจึงนําตัวแปรดังกลาว มาเปนตัวแปรอิสระในการวิจัยในครั้งนี้

Page 94: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บทที่ 3 กรอบแนวคิดและวธิีวจิัย

การวิจัยคร้ังนี้ เปนการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey research) เพื่อศึกษาปจจัยที่สงผลตอ

ประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี

เปนหนวยวิเคราะห (Unit of analysis) และเพื่อใหการวิจัยคร้ังนี้บรรลุวัตถุประสงคที่ตั้งไว ผูวิจัยจึงไดเสนอรายละเอียดดังนี้

3.1 กรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย 3.2 ตัวแปรที่ใชในการวิจัย 3.3 สมมติฐานการวิจัย 3.4 นิยามศัพทเชิงปฏิบัติการ 3.5 ประชากรและกลุมตัวอยาง 3.6 เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 3.7 การทดสอบคุณภาพเครื่องมือ 3.8 วิธีการเก็บรวบรวมขอมูล 3.9 วิธีการวิเคราะหขอมูล

3.1 กรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย

จากการที่ผูวิจัย ไดทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวของ จึงไดกําหนดกรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย ดังภาพที่ 3.1

Page 95: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

84

ภาพที่ 3.1 กรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย

ประสิทธิภาพของ

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของบุคลากรสาธารณสุข

- การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูล ฝอยติดเชื้อ

ความรูของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

ปจจัยสวนบุคคล - เพศ - อาย ุ - ระดับการศึกษา - ตําแหนงหนาที่ - ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจาก มูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข

- การคัดแยก

- การเก็บรวบรวม - การขนยาย - การทําลายเชื้อ - การกําจดัมลูฝอย ติดเชื้อ

Page 96: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

85

3.2 ตัวแปรที่ใชในการศึกษา

ในการศึกษา ใชตัวแปรที่ศึกษาตามกรอบแนวคิดการศึกษา ดังนี้ 3.2.1 ตัวแปรอิสระ ตัวแปรอิสระ มีดังนี ้

3.2.1.1 ขอมูลสวนบุคคลของบุคลากรสาธารณสุข 1) เพศ แบงเปน 2 กลุม คือ เพศชาย และ เพศหญิง 2) อายุ ผูศึกษาแบงอายุเปนจํานวนปเต็ม โดยผูที่มีอายุงาน นอยกวา 6 เดือน

ใหปดลง และมากกวา 6 เดือนขึ้นไปใหปดขึ้น ซ่ึงแบงกลุมอายุเปน 4 กลุม คือ นอยกวาหรือเทากับ

30 ป, 31 - 40 ป, 41 - 50 ป และ 51 ป ขึ้นไป 3) ระดับการศึกษา แบงเปน 3 ระดับ คือ อนุปริญญา ปริญญาตรี และสูงกวา

ปริญญาตรี 4) ตําแหนงหนาที่ แบงเปน กลุม 5 คือ แพทย พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการ

สาธารณสุข เจาพนักงานสาธารณสุข และเจาพนักงานทันตสาธารณสุข 5) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน ผูวิจัยไดศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวของกับระยะเวลาใน

การปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และศึกษาขอมูลดานระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยแบง ระยะเวลาการปฏิบัติงานเปนจํานวนปเต็ม คือตั้งแต 6 เดือนลงมาใหปดลง และมากกวา 6 เดือนขึ้นไปใหปดขึ้น ซ่ึงแบงเปน 5 กลุม คือ 1 - 5 ป, 6 - 10 ป, 11 - 15 ป, 16 - 20 ป และ 20 ปขึ้นไป

3.2.1.2 ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 3.2.1.3 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ 3.2.1.4 แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

3.2.2 ตัวแปรตาม ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ใน

ศูนยสุขภาพชุมชน ซ่ึงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ประกอบดวย ขั้นตอนของการปฏิบัติเกี่ยวกับการ คัดแยก การเก็บรวบรวม การขนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ

Page 97: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

86

3.3 สมมติฐานการวิจัย

3.3.1 บุคลากรสาธารณสุขที่มีเพศตางกันมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน

3.3.2 บุคลากรสาธารณสุขที่มีอายุตางกันมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน

3.3.3 บุคลากรสาธารณสุขที่มีระดับการศึกษาตางกันมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน

3.3.4 บุคลากรสาธารณสุขที่มีตําแหนงหนาที่ตางกันมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน

3.3.4 บุคลากรสาธารณสุขที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานตางกันมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน

3.3.5 ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข มีความสัมพันธตอการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขของศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

3.3.6 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคของบุคลากรสาธารณสุข มีความสัมพันธตอการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขของศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

3.3.7 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขมีความสัมพันธตอการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขของศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

3.4 นิยามศพัทเชิงปฏิบัติการ

3.4.1 ศูนยสุขภาพชุมชน (Primary Health Care) ศูนยสุขภาพชุมชน (Primary Health Care) หมายถึง สถานีอนามัย (Health Centres) ตั้งอยู

ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และสังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี 3.4.2 มูลฝอยติดเชื้อ (Infectious Waste) มูลฝอยติดเชื้อ (Infectious Waste) หมายถึง มูลฝอยที่เกิดจากการใหบริการทางดาน

การแพทยและสาธารณสุขแกผูที่มารับบริการที่ศูนยสุขภาพชุมชน ซ่ึงมูลฝอยดังกลาว เชน ผากอส สําลี เข็มฉีดยา ไซริงค เปนตน

Page 98: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

87

3.4.3 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง การดําเนินการเกี่ยวกับการคัดแยก การเก็บรวบรวม การ

ขนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน

3.4.4 ความรูเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ หมายถึง การนําความรู ความเขาใจในแนวคิด

ทฤษฎีและสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อไดอยางถูกตอง

3.4.5 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค หมายถึง ความเชื่อของเจาหนาที่สาธารณสุขที่มีผล

โดยตรงตอการปฏิบัติดานการปองกันโรคที่เกิดจากการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อรวมถึงการคาดคะเนถึงโอกาสการเกิดโรคตาง ๆ

3.4.6 แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน หมายถึง ส่ิงที่เปนพลังกระตุนใหเจาหนาที่สาธารณสุขกระทํา

พฤติกรรมเกี่ยวการปฏิบัติงานดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน ไดอยางถูกตองและมีประสิทธิภาพ

3.5 ประชากรและกลุมตัวอยาง 3.5.1 ประชากร ประชากรที่ศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน ใน

จังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 396 คน ( สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี, 2552)

3.5.2 กลุมตัวอยาง กลุมตัวอยางที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพ

ชุมชน จํานวน 199 คน ซ่ึงไดมาจากการคํานวณขนาดของกลุมตัวอยางโดยใชสูตรของยามาเน (Yamane, 1976 อางถึงใน พวงรัตน ทวีรัตน, 2540: 284) ที่ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 95 สําหรับความคลาดเคลื่อนรอยละ 5

Page 99: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

88

สูตรการคํานวณขนาดกลุมตัวอยางของยามาเน (Yamane, 1976 อางถึงใน พวงรัตน ทวีรัตน,

2540: 284) มีดังนี้

n = N 1 + N (e)2

เมื่อ n = ขนาดของตัวอยาง N = ขนาดของประชากร e = ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับไดของกลุมตัวอยางมีคาเทากบั 0.05 หรือ

รอยละ 5 แทนคาสูตร n = 396 1+ 396 (.05)2

= 198.99 จากการคาํนวณขนาดตวัอยาง ไดตัวอยางจํานวน 199 คน จํานวนประชากรและกลุมตัวอยาง ดังแสดงในตารางที่ 3.1 ดังนี ้

ตารางที่ 3.1 จํานวนประชากรและกลุมตัวอยางของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี

ลําดับ อําเภอ จํานวนประชากร (คน) จํานวนตัวอยาง (คน) 1 เมืองกาญจนบรีุ 68 34 2 ทามะกา 50 25 3 ทามวง 47 24 4 พนมทวน 34 17 5 ไทรโยค 31 16 6 เลาขวัญ 31 16 7 ทองผาภูมิ 29 15 8 บอพลอย 28 14 9 หนองปรือ 18 9 10 หวยกระเจา 17 8

Page 100: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

89

อ.เมือง

34 คน

อ.ทองผาภูมิ

15 คน

อ.ทามะกา

25 คน

อ.บอพลอย

14 คน

อ.ทามวง

24 คน

อ.หนองปรือ

9 คน

อ.พนมทวน

17 คน

อ.หวยกระเจา

8 คน

อ.ไทรโยค

16 คน

อ.ดานมะขามเตี้ย

8 คน

อ.เลาขวัญ

16 คน

อ.ศรีสวัสด์ิ

7 คน

อ.สังขละบุรี

6 คน

จับฉลาก

บุคลากรสาธารณสุข

(199 คน)

ลําดับ อําเภอ จํานวนประชากร (คน) จํานวนตัวอยาง (คน) 11 ดานมะขามเตีย้ 17 8 12 ศรีสวัสดิ์ 14 7 13 สังขละบุรี 12 6 รวม 396 199

การหาจํานวนตัวอยางในแตละอําเภอ ใชวธีิการหาโควตาแบบสัดสวนและเมื่อไดจํานวน

ตัวอยางในแตละอําเภอแลว จะทําการสุมตวัอยางโดยการจับสลาก ดังแผนภาพที่ 3.2

ภาพที่ 3.2 จํานวนกลุมตัวอยางในแตละอําเภอ

3.6 เครื่องมือท่ีใชในการศึกษา

เครื่องมือที่ใชในการเก็บรวบรวมขอมูลสําหรับการวิจัยคร้ังนี้ เปนแบบสอบถามผูวิจัยสรางขึ้นเอง เพื่อใหกลุมตัวอยางเปนผูใหขอมูล ผูวิจัยสรางขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม โดยแบงแบบสอบถามออกเปน 5 สวน ดังนี้

Page 101: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

90

3.6.1 สวนท่ี 1 ขอมูลสวนบุคคล ขอมูลสวนบุคคล ประกอบดวย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ ระยะเวลา

ปฏิบัติงาน

3.6.2 สวนท่ี 2 ความรูเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ลักษณะคําถามเปนแบบถูกผิด มีขอคําถามทั้งหมดจํานวน 21 ขอในแตละขอประกอบดวย

ขอคําถามใหเลือกตอบวาใชหรือไมใช กําหนดเกณฑคะแนน คือ ตอบถูกตองให 1 คะแนน ตอบไมถูกตองให 0 คะแนน

ผูวิจัยไดกําหนดเกณฑในการประเมินความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร

สาธารณสุขโดยใชเกณฑในการประเมินแบบอิงกลุมซึ่งใชคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยประยุกตแนวคิดของสมหวัง พิธิยานุวัฒน และอุษาวดี จันทรสนธิ (2537: 846 - 847) มีเกณฑการใหคะแนนดังนี้

คะแนนเฉลี่ยต่ํากวา X - S.D. หมายถึง ความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับต่ํา

คะแนนเฉลี่ยตั้งแต X - S.D ถึง X + S.D หมายถึง ความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ยสูงกวา X + S.D หมายถึง ความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับสูง 3.6.3 สวนท่ี 3 การปฏิบัติเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข

การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร มีจํานวนขอคําถามทั้งหมด 24 ขอ เปนขอคําถามแบบมาตราสวนประมาณคา (Rating Scale) โดยขอคําถามเปนลักษณะเชิงบวกและเชิงลบประกอบโดยกําหนดใหผูตอบมีตัวเลือก 5 ระดับ คือ ปฏิบัติทุกครั้ง ปฏิบัติบอยครั้ง ปฏิบัติเปนบางครั้ง ปฏิบัตินาน ๆ คร้ัง ไมมีการปฏิบัติเลย ใหผูตอบเลือกตอบเพียง 1 ตัวเลือก โดยมีเกณฑ

การใหคะแนน ดังตารางที่ 3.2

Page 102: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

91

ตารางที่ 3.2 เกณฑการใหคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข

การปฏิบตั ิ ขอความเชิงบวก ขอความเชิงลบ ปฏิบัติทุกครั้ง 5 1 ปฏิบัติเกือบทุกครั้ง 4 2 ปฏิบัติบางครั้ง 3 3 ปฏิบัตินาน ๆ คร้ัง 2 4 ไมปฏิบัติเลย 1 5

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนสูงกวาจะมีการปฏิบัติเกีย่วกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่

ดีกวาผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนต่ํากวา ผูวิจัยไดกําหนดเกณฑในการปฏิบัติที่เกี่ยวกบัการจัดการมลูฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน โดยใชเกณฑในการประเมิน ดังนี ้ อันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ําสุด จํานวนชั้นที่ตองการ

ซ่ึงในการศึกษาครั้งนี้ แบงการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ออกเปน 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง และต่ํา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 ต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน อันตรภาคชั้น = 5 - 1 = 1.33 3

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 1.00 - 2.33 หมายถึง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยูในระดับต่ํา

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 2.34 - 3.67 หมายถึง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยูในระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 3.68 - 5.00 หมายถึง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยูในระดับสูง

Page 103: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

92

3.6.4 สวนท่ี 4 การรับรูโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ จํานวนขอคําถามทัง้หมด จาํนวน 10 ขอ

เปนขอคําถามเชิงบวกและเชิงลบประกอบดวยตัวเลือก 5 ระดับ ตามแบบของ Likert Scale คือ เห็นดวยอยางยิ่ง เห็นดวย ไมแนใจ ไมเห็นดวย และไมเห็นดวยอยางยิ่ง โดยกําหนดใหคะแนน ดังตารางที่ 3.3 ตารางที่ 3.3 เกณฑการใหคะแนน การรับรูโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ

ความเห็น ขอความเชิงบวก ขอความเชิงลบ เห็นดวยอยางยิ่ง 5 1 เห็นดวย 4 2 ไมแนใจ 3 3 ไมเห็นดวย 2 4 ไมเห็นดวยอยางยิ่ง 1 5

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนสูงกวาจะมีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคที่ดีกวา

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนต่ํากวา ผูวิจัยไดกําหนดเกณฑในการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกดิโรคจากมูลฝอยติดเชื้อของ

บุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน โดยใชเกณฑในการประเมนิ ดังนี ้ อันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ําสุด จํานวนชั้นที่ตองการ

ซ่ึงในการศึกษาครั้งนี้ แบงการการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมูลฝอยติดเชื้อ ออกเปน 3ระดับ คือ สูง ปานกลาง ต่ํา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 ต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน อันตรภาคชั้น = 5 - 1 = 1.33 3

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 1.00 - 2.33 หมายถึง มีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยูในระดับต่ํา

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 2.34 - 3.67 หมายถึง มีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยูในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 3.68 - 5.00 หมายถึง มีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยูในระดับสูง

Page 104: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

93

3.6.5 สวนท่ี 5 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข มีจํานวนขอ

คําถามทั้งหมด 15 ขอ เปนแบบวัดประกอบดวยคําถามเชิงบวกและลบ ตามแบบของ Likert Scale กําหนดใหผูตอบ มีตัวเลือก 5 ตัวเลือก คือ เห็นดวยอยางยิ่ง เห็นดวย ไมแนใจ ไมเห็นดวย ไมเห็นดวยอยางยิ่ง โดยกําหนดใหคะแนน ดังตารางที่ 3.4

ตารางที่ 3.4 เกณฑการใหคะแนน แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ความเห็น ขอความเชิงบวก ขอความเชิงลบ

เห็นดวยอยางยิ่ง 5 1 เห็นดวย 4 2 ไมแนใจ 3 3 ไมเห็นดวย 2 4 ไมเห็นดวยอยางยิ่ง 1 5

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนสูงกวาจะมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ดีกวาผูตอบ

แบบสอบถามที่ไดคะแนนต่ํากวา ผูวิจัยไดกําหนดเกณฑของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพ

ชุมชน โดยใชเกณฑในการประเมิน ดังนี้ อันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ําสุด จํานวนชั้นที่ตองการ

ซ่ึงในการศึกษาครั้งนี้ แบงระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข

ออกเปน 3 ระดับ คือ นอย ปานกลาง สูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 ต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน อันตรภาคชั้น = 5 - 1 = 1.33 3

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 1.00 - 2.33 หมายถึง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยูในระดับต่ํา คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 2.34 - 3.67 หมายถึง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยูในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 3.68 - 5.00 หมายถึง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยูในระดับสูง

Page 105: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

94

3.7 การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ มีขั้นตอนการสรางเครื่องมือและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ดังนี้ 3.7.1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและเอกสารตาง ๆ ที่เกี่ยวของ เพื่อเปนแนวทางในการ

สรางแบบสอบถาม 3.7.2 กําหนดขอบเขตและโครงสรางเนื้อหาของแบบสอบถาม ตามรายละเอียดของตัวแปร 3.7.3 สรางขอคําถาม และกําหนดเกณฑในการใหคะแนนสําหรับคําตอบแตละขอ 3.7.4 นําแบบสอบถามที่ผูวิจัยสรางขึ้นใหผูเชี่ยวชาญทางดานสาธารณสุข จํานวน 3 ทาน

เพื่อตรวจสอบความถูกตอง ความชัดเจนของการใชภาษา แลวนํามาปรับปรุงแกไขกอนนําเครื่องมือไปทดลองใช (Try - out)

3.7.5 นําแบบสอบถามที่ปรับปรุงแลวไปทดลองใช (Try - out) เพื่อหาคาความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือโดยทําการเก็บรวบรวมขอมูลกับบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชนของอําเภออูทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ไมใชกลุมตัวอยางที่นํามาศึกษาจํานวน 30 คน คิดเปนรอยละ 15 ของจํานวนกลุมตัวอยาง

3.7.5.1 แบบวัดความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ทดสอบหาคาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใชสูตร KR - 20 ของคูเดอร - ริชารดสัน (พวงรัตน ทวีรัตน, 2540: 123 ) โดยใชสูตรการหาคาความเชื่อมั่นดังนี้

สูตร Kr 20 rtt = n X 1 - ∑pq

n - 1 St2

n หมายถึง จํานวนขอ p หมายถึง สัดสวนของคนทําถูกในแตละขอ q หมายถึง สัดสวนของคนทําผิดในแตละขอ=1 - p St

2 หมายถึง ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ ขอคําถามความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ มีจํานวน 21 ขอ ไดคาความ

เชื่อมั่น 0.64 ซ่ึงในทางปฏิบัติเมื่อทดสอบความเชื่อถือได หากพบวาคาอัลฟาอยูระหวาง 0.50 - 0.65 กลาวไดวามีความเชื่อมั่นอยูในระดับปานกลาง (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ, 2546: 262 )

3.7.5.2 แบบวัดคําถามเกี่ยวกับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอย ติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ซ่ึงใหคะแนนแบบมาตรประเมินคา (rating scale)โดยใชสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’ Alfa Coefficient ) (สุวิมล ติรกานันท, 2548: 156) ดังนี้

Page 106: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

95

ขอคําถามเกี่ยวกับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค มีขอคําถาม จํานวน 10 ขอ

ไดคาความเชือ่มั่น 0.73 ซ่ึงเมื่อทดสอบความเชื่อถือได หากพบวา มีคาตั้งแต 0.70 ขึ้นไป กลาวไดวามีความเชื่อมั่นอยูในระดับคอนขางสูง (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ, 2546: 261 )

3.7.5.3 แบบวัดระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข หาความเชื่อมั่นโดย ใชสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ( Cronbach’ Alfa Coefficient ) (สุวิมล ติรกานันท, 2549: 156) ไดคาความเชื่อมั่น 0.8022 ซ่ึงเมื่อทดสอบความเชื่อถือได หากพบวา มีคาตั้งแต 0.70 ขึ้นไป กลาวไดวามีความเชื่อมั่นอยูในระดับคอนขางสูง (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ, 2546: 261) 3.8 การเก็บรวบรวมขอมูล

3.8.1 การเก็บรวบรวมขอมูลทุติยภูมิ โดยการศึกษาเอกสาร รายงาน หนังสือเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

3.8.2 การเก็บรวบรวมขอมูลปฐมภูมิ โดยใชแบบสอบถาม ซ่ึงมีขั้นตอน ดังนี้

3.8.2.1 ออกแบบสอบถามใหครอบคลุมปจจัยทั้งหมดที่ตองการศึกษา 3.8.2.2 ทดสอบแบบสอบถาม (Try out ) 3.8.2.3 ทําหนังสือขอความรวมมือในการเก็บขอมูล จากสํานักงานสาธารณสุข

จังหวัดกาญจนบุรี ถึงสาธารณสุขอําเภอทุกแหง เพื่อขอความรวมมือไปยังหัวหนาศูนยสุขภาพชุมชนและผูปฏิบัติงานใน ศูนยสุขภาพชุมชน ในจังหวัดกาญจนบุรี ที่เปนกลุมตัวอยางในการวิจัย

3.8.2.4 ผูวิจัยนําหนังสือพรอมทั้งแบบสอบถามเพื่อขอความอนุเคราะหแกหัวหนาศูนยสุขภาพชุมชนและผูปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน ในจังหวัดกาญจนบุรี พรอมทั้งชี้แจงวัตถุประสงคของการศึกษา วิธีการตอบแบบสอบถามใหกลุมตัวอยางทราบ

Page 107: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

96

3.8.2.5 ผูวิจัยเก็บแบบสอบถามคืนดวยตนเองในระหวาง เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2552 ตรวจสอบความถูกตองและความสมบูรณของแบบสอบถาม

3.8.2.6 ทําการวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถาม และสรุปผลการวิเคราะหขอมูล 3.9 การวิเคราะหขอมูล

ผูวิจัยไดวิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติในการวิจัยดังนี้

3.9.1 การวิเคราะหขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม ไดแก เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ใชคาสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ไดแก ความถี่ และรอยละ

3.9.2 การวิเคราะหระดับความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การปฏิบัติเกี่ยวกับการ

จัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ

บุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน วิเคราะหโดยใชคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

3.9.3 การเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ ระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และหากพบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ผูวิจัยทําการทดสอบหาความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’s test for all possible comparison)

3.9.4 การเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตาม เพศ โดยการทดสอบคาที (t - test) แบบ Independent t - test

Page 108: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

97

3.9.5 การวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยใชสถิติวิเคราะห Pearson Correlation

Page 109: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บทที่ 4 ผลการศึกษา

การศึกษาเพื่อวิเคราะหผลดานปจจัยตางๆ คือ ปจจัยสวนบุคคล ปจจัยดานความรูเกี่ยวกับ

การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ที่สงผลตอประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี โดยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ประกอบดวยขั้นตอนของ การคัดแยก การเก็บรวบรวม การขนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ ในครั้งนี้ มีรายละเอียดดังตอไปนี้ คือ

4.1 การวิเคราะหขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม 4.2 การวิเคราะหระดับความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ

มูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน

4.3 การทดสอบสมมติฐาน 4.3.1 การวิเคราะหเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ

ของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ ระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยใชสถิติวิเคราะหความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA)

4.3.2 การวิเคราะหเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตามจําแนกตามเพศ โดยใชสถิติ t - test

4.3.3 การวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยใชสถิติวิเคราะห Pearson Correlation 4.4 โครงการแกไขปญหาดานการจัดการความรูของบุคลากรสาธารณสุข

Page 110: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

99

4.1 ขอมลูสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม

4.1.1 จําแนกตามเพศ จากการวิจัย พบวา จํานวนผูตอบแบบสอบถามทั้งหมด 199 คนแบงเปนเพศชาย จํานวน

103 คน คิดเปนรอยละ 51.8 และเพศหญิง จํานวน 96 คน คิดเปนรอยละ 48.2 4.1.2 จําแนกตามอายุ แบงตามอายุ พบวา ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเปนผูมีอายุในชวง 41 - 50 ป จํานวน 91

คน คิดเปนรอยละ 45.7 รองลงมาเปนผูมีอายุในชวง 31 - 40 ป จํานวน 70 คน คิดเปนรอยละ 35.2 และนอยที่สุด เปนผูที่มีอายุในชวง 51 ปขึ้นไป จํานวน 14 คน คิดเปนรอยละ 7.0

4.1.3 จําแนกตามระดับการศึกษา ผูตอบแบบสอบถามมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด โดยมีจํานวน 151 คน ซ่ึงเปน

จํานวนที่มากเกินครึ่งของผูตอบแบบสอบถามทั้งหมด คิดเปนรอยละ 75.9 รองลงมาเปนระดับอนุปริญญา จํานวน 32 คน คิดเปนรอยละ 16.1 และนอยที่สุดเปนระดับสูงกวาปริญญาตรี จํานวน 16 คน คิดเปนรอยละ 8.0

4.1.4 จําแนกตามตําแหนงหนาท่ี สําหรับตําแหนงหนาที่นั้นผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีตําแหนงเปนนักวิชาการ

สาธารณสุข จํานวน 114 คน คิดเปนรอยละ 57.3 รองลงมา เปนเจาพนักงานสาธารณสุข จํานวน 68 คน คิดเปนรอยละ 34.2 และนอยที่สุดเปนเจาพนักงานทันตสาธารณสุข จํานวน 3 คน คิดเปน รอยละ 1.5 และไมพบผูตอบแบบสอบถามที่เปนแพทย

4.1.5 จําแนกตามระยะเวลาปฏิบัติงาน กลุมผูตอบแบบสอบถามมีระยะเวลาปฏิบัติงาน มีผูที่ปฏิบัติงานมากกวา 20 ปขึ้นไปมาก

ที่สุด มีจํานวน 102 คน คิดเปนรอยละ 51.3 รองลงมาปฏิบัติงาน 11 - 15 ป จํานวน 40 คน คิดเปนรอยละ 20.1 และนอยที่สุด ระยะเวลาปฏิบัติงาน 6 - 10 ป จํานวน 12 คน คิดเปนรอยละ 6.0 รายละเอียดดังตารางที่ 4.1

Page 111: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

100

ตารางที่ 4.1 ความถี่และรอยละของขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม

ขอมูลสวนบุคคล ความถี่ (คน) รอยละ

เพศ ชาย หญิง รวม

103 96

199

51.8 48.2 100.0

อายุ นอยกวาหรือเทากับ 30 ป 31 - 40 ป 41 - 50 ป 51 ปขึ้นไป รวม

24 70 91 14

199

12.1 35.2 45.7 7.0

100.0

ระดับการศึกษา อนุปริญญา ปริญญาตรี สูงกวาปริญญาตรี รวม

32

151 16

199

16.1 75.9 8.0

100.0

ตําแหนงหนาที่ แพทย นักวิชาการสาธารณสุข เจาพนักงานสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เจาพนักงานทันตสาธารณสุข รวม

-

114 68 14 3

199

-

57.3 34.2 7.0 1.5

100.0

ระยะเวลาปฏิบัติงาน 1 - 5 ป 6 - 10 ป 11 - 15 ป 16 - 20 ป 20 ป ขึ้นไป รวม

16 12 40 29

102 199

8.0 6.0

20.1 14.6 51.3 100.0

Page 112: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

101

4.2 การวิเคราะหขอมูลระดับความรูเกี่ยวกับการจดัการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน

4.2.1 ความรูของบุคลากรสาธารณสุข ความรูของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ลักษณะขอคําถามเปน

แบบถูกผิด มีขอคําถามทั้งหมด 21 ขอ ในแตละขอประกอบดวยขอคําถามใหเลือกตอบวาใชหรือไมใช กําหนดเกณฑคะแนน ตอบถูกตองให 1 คะแนน ตอบไมถูกตองให 0 คะแนน และขอคําถามครอบคลุมความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในขั้นตอนตาง ๆ ครบทั้ง 5 ขั้นตอน คือ การคัดแยก การเก็บรวบรวม การขนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดังตารางที่ 4.2

ตารางที่ 4.2 จาํนวนและรอยละของความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของกลุมตัวอยาง ที่ตอบถูกและตอบผดิ ขอท่ี รายละเอียด ผูตอบถูก ผูตอบผิด

จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ 1 สิ่งเหลานี้ เปนมูลฝอยติดเชื้อจากการใหบริการที่สถานีอนามัย

ใชหรือไม - - - -

1.1 ช้ินเนื้อหรือ ช้ินสวนรางกายมนุษย เศษกระดูก รก 159 79.9 40 20.1 1.2 ภาชนะบรรจุสิ่งสงตรวจ เชนขวดบรรจุเสมหะ และขวด

เลือด 172 86.4 27 13.6

1.3 น้ํายาฆาเชื้อโรค * 99 49.7 100 50.3 1.4 ยาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ* 131 65.8 68 34.2 1.5 ขวดวัคซีนปองกันวัณโรค ,โปลิโอ ,หัดเยอรมัน 147 73.9 52 26.1

2 มูลฝอยติดเชื้อมีอันตรายอยางไร - - - - 2.1 มูลฝอยติดเชื้อมีอันตรายไมแตกตางจากมูลฝอยทั่วไป* 167 83.9 32 16.1 2.2 มูลฝอยติดเชื้อทําใหติดเชื้อโรคติดตอรายแรงไปสูบุคคล

ทั่วไปได 187 94.0 12 6.0

2.3 เช้ือโรคจากมูลฝอยติดเชื้อไมสามารถแพรกระจายลงสูแหลงน้ําและพื้นดินได

169 84.9 30 15.1

Page 113: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

102

ขอท่ี รายละเอียด ผูตอบถูก ผูตอบผิด จํานวน รอยละ จํานวน รอยละ 3.1 ถังมูลฝอยติดเชื้อควรวางกับพื้นเพื่อปองกันการหกลม

และทําความสะอาดงาย * 95 47.7 104 52.3

3.2 ในถังมูลฝอยติดเชื้อจะใชถุงพลาสติกสีอะไรรองรับก็ได * 189 95.0 10 5.0 3.3 ถุงพลาสติกใสขยะมูลฝอยติดเชื้อ อาจจะใชถุงใสของ

ทั่วไป ชนิดอยางหนาใสในถังขยะแทนได * 177 88.9 22 11.1

4 วิธีการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ที่ถูกตองเปนอยางไร - - - - 4.1 ถามีมูลฝอยติดเชื้อจํานวนนอย ก็ไมจําเปนตองเก็บ

รวบรวมทุกวัน* 167 83.9 32 16.1

4.2 ผูเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อไมจําเปนตองใชอุปกรณปองกันสวนบุคคลก็ได หากมีปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อนอย *

182 91.5 17 8.5

4.3 ไมควรลางถังมูลฝอยติดเชื้อ ทุกครั้งหลังเก็บมูลฝอย * 182 91.5 17 8.5 4.4 ในขณะเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ใหจับปากถุงและโยน

ใสภาชนะหรือรถเข็นทันทีเพื่อปองกันการปนเปอน * 152 76.4 47 23.6

4.5 หากมีมูลฝอยติดเชื้อตกหลน ควรใชคีมคีบขยะ หรือใชถุงมือหนาหยิบ

181 91.0 18 9.0

4.6 ถามูลฝอยที่เปนของเหลวหกเรี่ยราด ควรลางน้ําทันที หามใชกระดาษซับ *

90 45.2 109 54.8

4.7 การใสมูลฝอยติดเชื้อลงในถุง ตองเก็บใหเต็มความจุของถุงเพื่อเปนการประหยัด*

177 88.9 22 11.1

5 การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกสุขลักษณะ มีวิธีการอยางไร - - - - 5.1 สามารถกําจัดมูลฝอยติดเชื้อรวมกับมูลฝอยทั่วไปได * 177 88.9 22 11.1 5.2 ของมีคมติดเชื้อ เชน เข็ม ใบมีด ไมควรนํามาเผารวมกับ

มูลฝอยติดเชื้ออื่น ๆ * 51 25.6 148 74.4

5.3 วิธีการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ดีที่สุดคือให อบต.หรือเทศบาล ขนไปกําจัด *

156 78.4 43 21.6

* ขอคําถามเชิงลบ

จากตารางที่ 4.2 สามารถอธิบายผลการวิเคราะหความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ไดดังนี้

กลุมตัวอยางสามารถตอบคําถามเกี่ยวกับความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ไดถูกตองมากที่สุด คือขอคําถามเชิงลบเรื่อง “ในถังมูลฝอยติดเชื้อจะใชถุงพลาสติกสีอะไรรองรับก็ได ”

Page 114: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

103

ซ่ึงหมายถึงในถังมูลฝอยติดเชื้อจะใชถุงพลาสติกเฉพาะสีแดง เทานั้นโดยตอบถูกตองถึงรอยละ 95.5 แสดงวามีความรู ความใจในเรื่องดังกลาวระดับดีมาก รองลงมา คือ ขอคําถามเชิงบวกเกี่ยวกับเร่ือง “มูลฝอยติดเชื้อทําใหติดเชื้อโรคติดตอรายแรงไปสูบุคคลทั่วไปได” รอยละ 94.0 เมื่อพิจารณาถึงขอความรูที่กลุมตัวอยางตอบถูกตองนอยที่สุด พบวาขอคําถามเชิงลบ เร่ือง “ ของมีคมติดเชื้อ เชน เข็ม ใบมีด ไมควรนํามาเผารวมกับมูลฝอยติดเชื้ออ่ืน ๆ” ตอบไดถูกตองเพียงรอยละ 25.6 ซ่ึงแสดงใหเห็นวาบุคลากรยังมีความรูนอยในขั้นตอนของการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกตอง

ในการวิเคราะหระดับความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในศูนยสุขภาพ

ชุมชนใชการวิเคราะหโดยใชคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ดังตารางที่ 4.3 ตารางที่ 4.3 คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความรูในการจดัการมูลฝอยติดเชื้อ ของผูตอบแบบสอบถาม

รายละเอียด X S.D. ความรูของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อในศนูยสุขภาพชุมชน

16.12 2.82

ผูวิจัยไดกําหนดเกณฑในการประเมินความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร

สาธารณสุขโดยใชเกณฑในการประเมินแบบอิงกลุมซึ่งใชคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยประยุกตแนวคิดของสมหวัง พิธิยานุวัฒน และอุษาวดี จันทรสนธิ (2537: 846 - 847) มีเกณฑการใหคะแนนดังนี้ คะแนนเฉลี่ยต่ํากวา 13.30 คะแนน หมายถึง ความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับต่ํา คะแนนเฉลี่ยตั้งแต 13.30 - 18.94 คะแนน หมายถึง ความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยสูงกวา 18.94 คะแนน หมายถึง ความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับสูง

ผลการวิจัย พบวา จากจํานวนผูตอบแบบสอบถามทั้งหมดสวนใหญ มีความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระดับปานกลาง มากเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนผูตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยมีจํานวน 137 คน คิดเปนรอยละ 68.8 มีความรูในระดับสูงจํานวน 35 คน คิดเปนรอยละ 17.6 และมีความรูในระดับต่ํา จํานวน 27 คน คิดเปนรอยละ 13.6 ดังแสดงในตารางที่ 4.4

Page 115: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

104

ตารางที่ 4.4 รอยละของระดบัความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของผูตอบแบบสอบถาม ระดับความรูเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อ

ความถี่ (คน) รอยละ

ความรูต่ํา ความรูปานกลาง ความรูสูง

27 137 35

13.6 68.8 17.6

X = 16.12 S.D = 2.82 Min = 5 Max = 20

4.2.2 การปฏบิัติเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อใชการวิเคราะหโดยใชคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยขอคําถามเปนลักษณะเชิงบวกและเชิงลบ โดยกําหนดใหผูตอบมีตัวเลือก 5 ระดับ คือ ปฏิบัติทุกครั้ง ปฏิบัติบอยครั้ง ปฏิบัติเปนบางครั้ง ปฏิบัตินาน ๆ คร้ัง ไมมีการปฏิบัติเลย ใหผูตอบเลือกตอบเพียง 1 ตัวเลือก

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนสูงกวาจะมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ดีกวาผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนต่ํากวา

ซ่ึงในการศึกษาในครั้งนี้ แบงการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ออกเปน 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง ต่ํา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 และต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 1.00 - 2.33 หมายถึง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยูในระดับต่ํา คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 2.34 - 3.67 หมายถึง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยูในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 3.68 - 5.00 หมายถึง มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออยูในระดับสูง

ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีระดับการปฏิบัติสูง จํานวน 16 ขอ ระดับการปฏิบัติปานกลาง จํานวน 7 ขอ ซ่ึงเปนคําถามที่ถามถึงความละเอียดรอบคอบของการปฏิบัติงาน ดังนั้น ระดับการปฏิบัติในขอเหลานี้จึงอยูในระดับ ปานกลาง คือ ปฏิบัติเปนบางครั้ง และระดับการปฏิบัติต่ํา จํานวน 1 ขอ ในขอคําถามที่ 6 “ทานทิ้งมูลฝอยติดเชื้อลงในถังรองรับมูลฝอยทั่วไป” เปนคําถามเชิงลบ ดังนั้น ระดับการปฏิบัติในขอนี้จึงมีระดับนอย ดังแสดงในตารางที่ 4.5

Page 116: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

105

ตารางที่ 4.5 คาเฉลี่ย สวนเบีย่งเบนมาตรฐาน และระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ขอท่ี รายละเอียด X S.D ระดับการปฏิบัติการ

จัดการมูลฝอยติดเชื้อ 1 ทานมีการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยทั่วไป

ออกจากกัน 4.42 0.89 สูง

2 ทานคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่เปนของมีคม เชน เข็ม ใบมีด ออกจากมูลฝอยติดเชื้อชนิดอื่น โดยใสกระปองหรือขวดกอนนําไปกําจัด

4.64 0.81 สูง

3 ทานเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อใสในถุง ไมเกิน สองในสามสวน ของขนาดบรรจุถุง

4.37 0.82 สูง

4 ทานใชถุงพลาสติกสีแดงใสในถังรองรับมูลฝอยติดเชื้อ 4.76 0.59 สูง 5 ทานทิ้งมูลฝอยทั่วไปลงในถังรองรับมูลฝอยติดเชื้อ* 2.47 1.48 ปานกลาง 6 ทานทิ้งมูลฝอยติดเชื้อลงในถังรองรับมูลฝอยทั่วไป* 1.69 1.20 นอย 7 ในขณะที่ทานเก็บหรือขนมูลฝอยติดเชื้อ ทานใชอุปกรณ

ปองกันอันตรายสวนบุคคล บางหรือไม

7.1 ถุงมืออยางหนา 4.29 1.12 สูง 7.2 ผาพลาสติกกันเปอน 3.49 1.40 ปานกลาง

7.3 ผาปดปาก ปดจมูก 3.86 1.30 สูง

7.4 รองเทาบูท 2.86 1.49 ปานกลาง 7.2 ผาพลาสติกกันเปอน 3.49 1.40 ปานกลาง 7.3 ผาปดปาก ปดจมูก 3.86 1.30 สูง 7.4 รองเทาบูท 2.86 1.49 ปานกลาง 7.5 หมวกคลุมผม 2.97 1.50 ปานกลาง

8 ทานใชถุงสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพียงครั้งเดียว และทําลายพรอมกับการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น

4.48 1.06 สูง

9 ทานใชน้ํายาฆาเชื้อราดลงในถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อกอนนําไปกําจัด

3.04 1.46 ปานกลาง

10 ทานเก็บมูลฝอยติดเชื้อไวในถังรองรับไมเกินหนึ่งวัน 4.15 1.08 สูง 11 ในกรณีที่มูลฝอยติดเชื้อตกหลน ทานใชกระดาษซับ ทํา

ความสะอาดและใสน้ํายาฆาเชื้อราด และลางพื้นดวยน้ํา 3.71 1.21 สูง

12 หลังจาก เก็บหรือขนมูลฝอยติดเชื้อแลว ทานมีการลางมือเพื่อทําความสะอาด

4.81 0.61 สูง

13 ทานตรวจถุงมูลฝอยติดเชื้อกอนเคลื่อนยาย วาถุงไมรั่วซึม และมัดปากถุงดวยเชือกเรียบรอย

4.60 0.83 สูง

Page 117: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

106

ขอท่ี รายละเอียด X S.D ระดับการปฏิบัติการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

14 ทานขนยายมูลฝอยติดเชื้อตามเวลาที่กําหนดไวแนนอน 3.53 1.10 ปานกลาง 15 ทานขนยายมูลฝอยติดเชื้อตามเสนทางที่กําหนดไว

แนนอน 3.40 1.42 ปานกลาง

16 ทานยกถุงมูลฝอยติดเชื้อ โดยการจับที่คอถุง บริเวณที่ผูกเชือกยกหางตัวและวางถุงอยางระมัดระวัง

4.40 0.89 สูง

17 ทานทําความสะอาดอุปกรณปองกันสวนบุคคลโดยการซักลางใหสะอาดดวยน้ําและผงซักฟอก

4.34 0.93 สูง

18 มูลฝอยติดเชื้อที่เปนของเหลว เชน ปสสาวะ สารคัดหลั่ง (Secretion) ของคนไข ทานเทลงในโถสวม แลวราดน้ําตามใหโถสะอาด

3.79 1.53 สูง

19 ทานกําจัดมูลฝอยติดเชื้อแยกจากมูลฝอยทั่วไป 4.39 1.09 สูง 20 ทานตรวจสุขภาพประจําป ปละ 1 ครั้ง 4.25 1.20 สูง

* ขอคําถามเชิงลบ

4.2.3 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค

การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคใชการวิเคราะหโดยใชคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยแบบวัดประกอบดวยคําถามเชิงบวกและลบ ตามแบบของ Likert Scale กําหนดใหผูตอบ มีตัวเลือก 5 ตัวเลือก คือ เห็นดวยอยางยิ่ง เห็นดวย ไมแนใจ ไมเห็นดวย และไมเห็นดวยอยางยิ่ง

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนสูงกวาจะมีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคที่ดีกวาผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนต่ํากวา

ซ่ึงในการศึกษาครั้งนี้ แบงการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ ออกเปน 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง ต่ํา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 และต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน

คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 1.00 - 2.33 หมายถึง มีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยูในระดับต่ํา คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 2.34 - 3.67 หมายถึง มีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยูในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 3.68 - 5.00 หมายถึง มีการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยูในระดับสูง

Page 118: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

107

ระดับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคมูลฝอยติดเชื้อของผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีระดับการปฏิบัติสูง จํานวน 8 ขอ ระดับการปฏิบัติปานกลาง จํานวน 1 ขอ ไดแก คําถามขอที่ 10 และระดับการปฏิบัติต่ํา จํานวน 1 ขอ ในขอคําถามที่ 8 ระดับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อแสดงในตารางที่ 4.6 ตารางที่ 4.6 คาเฉลี่ย สวนเบีย่งเบนมาตรฐาน และระดับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจาก มูลฝอยติดเชื้อ ขอท่ี รายละเอียด X S.D ระดับการรับรูโอกาสเสี่ยงของ

การเกิดโรค 1 ทานมีโอกาสติดเชื้อโรคจากการใหบริการผูปวย

ตลอดเวลา เพราะอาจมีผูรับบริการที่ปวยเปนโรคติดตอรายแรง โดยที่ทานไมทราบ

4.52 0.72 สูง

2 การที่ทานตองปฏิบัติงานที่เกี่ยวของกับมูลฝอยติดเชื้อ ทําใหมีความเสี่ยงตอการติดเชื้อโรคมากกวาการปฏิบัติงานโดยทั่ว ๆ ไป

4.41 0.77 สูง

3 การเก็บ ขน และกําจัดมูลฝอยติดเชื้ออยางไมระมัดระวังอาจทําใหทานไดรับเชื้อโรคตาง ๆ จากมูลฝอยติดเชื้อเหลานั้นได

4.60 0.58 สูง

4 ควรเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อทุกวัน เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรค และปองกันไมใหเช้ือโรคเจริญเติบโต

4.67 0.53 สูง

5 ถาไมมีการแยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อและมูลฝอยทั่วไป ออกจากกัน อาจทําใหทานและคนอื่น ๆ มีโอกาสติดเชื้อโรคจากมูลฝอยได

4.52 0.76 สูง

6 หากทานทิ้งมูลฝอยติดเชื้อลงในถังมูลฝอยทั่วไปของชุมชน อาจทําใหประชาชนในชุมชนนั้น ปวยเปนโรคติดเชื้อตางๆ ได

4.52 0.74 สูง

7 หากหยิบจับมูลฝอยติดเชื้อ โดยไมใสถุงมือ ทานอาจติดเชื้อโรคจากมูลฝอยเหลานั้นได

4.55 0.71 สูง

8 ผูที่ทําการเก็บ ขนมูลฝอยติดเชื้อ ไมจําเปนตองใชอุปกรณปองกันสวนบุคคล ทุกครั้งเสมอไป ถาหากมีมูลฝอยติดเชื้อจํานวนนอย *

2.18 1.43 นอย

Page 119: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

108

ขอท่ี รายละเอียด X S.D ระดับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค

9 ทานอาจไดรับเชื้อโรคจากมูลฝอยติดเชื้อได ถึงแมวาจะทําความสะอาดรางกายทุกครั้ง หลังจากเก็บ ขนมูลฝอยติดเชื้อ

3.72 1.16 สูง

10 แมจะมีการปองกันอุบัติเหตุจากของมีคมติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน ก็ไมอาจทําใหทานมีปลอดภัยจากการติดเชื้อโรครายแรงได

3.58 1.05 ปานกลาง

* ขอคําถามเชิงลบ

4.2.4 แรงจูงใจในการปฏิบตัิงาน

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานใชการวิเคราะหโดยใชคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) โดยแบบวัดประกอบดวยคําถามเชิงบวกและลบ ตามแบบของ Likert Scale กําหนดใหผูตอบ มีตัวเลือก 5 ตัวเลือก คือ เห็นดวยอยางยิ่ง เห็นดวย ไมแนใจ ไมเห็นดวย และไมเห็นดวยอยางยิ่ง

ผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนสูงกวาจะมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ดีกวาผูตอบแบบสอบถามที่ไดคะแนนต่ํากวา ซ่ึงในการศึกษาครั้งนี้ แบงระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ออกเปน 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง ต่ํา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 ต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 1.00 - 2.33 หมายถึง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยูใน ระดับต่ํา คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 2.34 - 3.67 หมายถึง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยูในระดับ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ยอยูระหวาง 3.68 - 5.00 หมายถึง มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยูใน ระดับสูง

ระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขของผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีระดับการปฏิบัติสูง จํานวน 3 ขอ และระดับการปฏิบัติปานกลาง จํานวน 12 ขอ ดังแสดงในตารางที่ 4.7

Page 120: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

109

ตารางที่ 4.7 คาเฉลี่ย สวนเบีย่งเบนมาตรฐาน และระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข ขอท่ี รายละเอียด X S.D ระดับของแรงจูงใจในการ

ปฏิบัติงาน 1 ทานคิดวาอัตราเงินเดือนที่ทานไดรับขณะนี้

เหมาะสมกับความรู ความสามารถของทาน 2.83 1.03 ปานกลาง

2 ทานคิดวา ทางราชการไดใหสวัสดิการอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน เชน คารักษาพยาบาล คาการศึกษาบุตร เงินโบนัส คาตอบแทนลวงเวลา อยางเพียงพอ

2.64 1.03 ปานกลาง

3 ทานคิดวาการเลื่อนเงินเดือนเปนกรณีพิเศษ ของหนวยงานเปนไปดวยความยุติธรรม

2.80 1.05 ปานกลาง

4 สภาพแวดลอมในหนวยงานของทาน เชน ความเปนสัดสวน แสงสวาง อุณหภูมิ ความสะอาดสวยงาม การถายเทอากาศ อยูในสภาพที่สงเสริมใหทานอยากปฏิบัติงาน

3.73 0.91 สูง

5 หนวยงานของทาน มีเครื่องมือและอุปกรณในการปฏิบัติงานอยางเพียงพอและเหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ

3.33 1.00 ปานกลาง

6 ทุกคนในหนวยงานตางใหความรวมมือในการปฏิบัติงานเปนทีม เปนอยางดี

3.64 0.79 ปานกลาง

7 ทานพอใจที่จะทํางานตามลําพังมากกวาที่จะรวมงานกับผูอื่นเปนทีม *

2.51 1.08 ปานกลาง

8 เมื่อมีปญหาเดือดรอนเรื่องสวนตัว ทานไดรับความชวยเหลือจากเพื่อนรวมงานเปนอยางดี

3.48 0.93 ปานกลาง

9 เมื่อมีความขัดแยงในการปฏิบัติงาน สมาชิกในหนวยงานสามารถปรับความเขาใจกันได

3.60 0.90 ปานกลาง

10 เมื่อทานมีปญหาในการปฏิบัติงาน ทานไดรับการชวยเหลือและคําแนะนําในการแกปญหาจากผูบังคับบัญชาเปนอยางดี

3.65 0.84 ปานกลาง

11 ทานสามารถปรับตัวเขากับเพื่อนรวมงานไดดี 3.84 0.67 สูง 12 ทานรูสึกภูมิใจ เมื่อปฏิบัติงานในหนวยงานไดตาม

เปาหมายและวัตถุประสงค 3.84 0.72 สูง

Page 121: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

110

ขอท่ี รายละเอียด X S.D ระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

13 ผูบังคับบัญชาและผูรวมงาน เห็นวาทานเปนผูมีความสามารถในการปฏิบัติงาน

3.43 0.78 ปานกลาง

14 ผลงานของทานไดรับการยอมรับและยกยองจากเพื่อนรวมงานและผูบังคับบัญชา

3.43 0.71 ปานกลาง

15 ทานมีสวนรวมในการเสนอความคิดเห็นในการปฏิบัติงานในหนวยงานและชวยแกปญหา

3.56 0.70 ปานกลาง

* ขอคําถามเชิงลบ

4.3 การทดสอบสมมติฐาน

4.3.1 การเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตาม อายุ ระดบัการศึกษา ตําแหนงหนาที่ และระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยการทดสอบความแปรปรวนทางเดยีว (One - Way ANOVA) และหากพบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ผูวิจัยทําการทดสอบหาความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวธีิของเชฟเฟ (Scheffe’s test for all possible comparison) ดังตารางที่ 4.8

ตารางท่ี 4.8 ผลการวิเคราะหความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ของการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ ระยะเวลาปฏิบัติงาน

ปจจัย แหลงความแปรปรวน

SS df. MS. F Ratio P value

อายุ ระหวางกลุม ภายในกลุม รวม

181.804 3922.910 4104.714

3 195 198

60.601 20.117

3.012 0.31

ระดับการศึกษา ระหวางกลุม ภายในกลุม รวม

9.334 4095.380 4104.714

2 196 198

4.667 20.895

0.223 0.800

Page 122: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

111

ปจจัย แหลงความแปรปรวน

SS df. MS. F Ratio P value

ตําแหนงหนาที่ ระหวางกลุม ภายในกลุม รวม

134.684 3970.029 4104.714

3 195 198

44.895 20.359

2.205 0.089

ระยะเวลาปฏิบัติงาน ระหวางกลุม ภายในกลุม รวม

106.037 3998.676 4104.714

4 194 198

26.509 20.612

1.286 0.277

จากตารางที่ 4.8 พบวาบุคลากรสาธารณสุขมี อายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ และ

ระยะเวลาปฏบิัติงานตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 (p - value > 0.01)

4.3.2 การเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติเกี่ยวกบัการจัดการมลูฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตามเพศ โดยการทดสอบคาที ( t - test) แบบ Independent t - test ดังตารางที่ 4.9 ตารางที่ 4.9 ผลการทดสอบความแตกตางของคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข จําแนกตามเพศ ดวยวิธีการทดสอบคาที (t - test Independent)

เพศ N X S.D. t - test P value ชาย หญิง

103 96

96.14 96.90

15.33 11.58

0.695 0.03

จากตารางที่ 4.9 ปรากฏวา คาเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย

ติดเชื้อของเพศชาย เทากับ 96.14 คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทากับ 15.33 และเพศหญิงมีคาเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ เทากับ 96.90 คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทากับ 11.58 คา t เทากับ 0.695 ดังนั้น เพศตางกันมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p - value> 0.01 )

Page 123: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

112

4.3.3 การวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยใชสถิติวิเคราะห Pearson Correlation ดังตารางที่ 4.10 ตารางที่ 4.10 คาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจดัการมูลฝอยตดิเชื้อ การปฏิบตัิเก่ียวกับการจัดการ

มูลฝอยตดิเชื้อ ความรูเกี่ยวกบัการจัดการมลูฝอย ติดเชื้อ

Pearson Correlation Sig (2 - tailed)

N

0.273** 0.000 199

การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค Pearson Correlation Sig (2 - tailed)

N

0.400** 0.000 199

แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน Pearson Correlation Sig (2 - tailed)

N

- 0.013 0.857 199

** P < .01

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีคา 0.273** หมายความวา ความรูเกี่ยวกับการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธระหวางการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีคา 0.400** หมายความวา การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Page 124: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

113

สัมประสิทธิ์สหสัมพันธระหวางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีคา - 0.013 หมายความวา แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธในทิศทางตรงกันขาม อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

4.4 โครงการแกไขปญหาดานการจัดการความรูของบุคลากรสาธารณสุข

จากผลการศึกษาดังกลาว พบวาบุคลากรสาธารณสุข มีความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชนในระดับปานกลาง และมีระดับความรูในขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอย ติดเชื้อโดยรวมนอยกวาขั้นตอนอื่น ๆ ดังนั้น เพื่อเปนการแกปญหาในดานของการจัดการความรูของบุคลากรสาธารณสุข ผูศึกษาจึงไดดําเนินการจัดทําโครงการอบรมความรูแกบุคลากรสาธารณสุข ในประเด็นปญหาของขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อใหบุคลากรมีความรูเพิ่มสูงขึ้น และสามารถนําความรูที่ไดไปปฏิบัติไดอยางถูกตองและเหมาะสม ดังรายละเอียด ดังนี้

Page 125: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

114

โครงการอบรมบุคลากรสาธารณสุขเรื่อง แนวทางการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ อยางถูกตองและเหมาะสม สําหรับศนูยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

ปงบประมาณ 2553

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยมีจํานวนประชากรเพิ่มสูงขึ้นอยางตอเนื่อง จึงจําเปนที่จะตองมีการขยายการบริการดานการสาธารณสุขใหมีความครอบคลุมทุกพื้นที่ และประชากรที่อาศัยอยูในชนบท จะตองสามารถเขาถึงบริการไดอยางทั่วถึง สะดวกและรวดเร็ว เพื่อเปนการอํานวยความสะดวก และสรางคุณภาพชีวิตที่ดีแกประชาชน รัฐบาลจึงไดกําหนดนโยบายการประกันสุขภาพถวนหนา โดยเริ่มจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และมีการขยายการบริการสูชุมชน ครอบครัว และบุคคล เพื่อใหประชาชนสามารถไดรับบริการอยางตอเนื่องและผสมผสานแบบองครวม จากนโยบายดังกลาว ทําใหประชาชนมารับบริการดานสาธารณสุขจากสถานบริการสาธารณสุข เพิ่มจํานวนมากขึ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งสถานบริการสาธารณสุขที่อยูในชุมชนชนบทที่หางไกลที่ประชาชนสามารถเขาถึงไดงายและสะดวก คือ ศูนยสุขภาพชุมชน ปจจุบันศูนยสุขภาพชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพมากขึ้น โดยมีบุคลากรที่มีความสามารถใหบริการแกผูปวยเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เชน แพทย พยาบาล มาใหการรักษาแบบประจําหรือคร้ังคราว จึงทําใหมีผูรับบริการจํานวนมาก จากเหตุดังกลาว จึงทําใหศูนยสุขภาพชุมชนมีปริมาณมูลฝอย ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเชนกัน ประกอบกับการใหบริการ มีการใชอุปกรณทางดานการแพทยประเภทใชแลวทิ้ง เชน เข็มฉีดยา ไซริงค ใบมีด และถุงมือ เพิ่มสูงขึ้น ซ่ึงจากการสํารวจขอมูลปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากศูนยสุขภาพชุมชน (สํานักงานสิ่งแวดลอมภาค 5,2550: 2.2) ในจังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 142 แหง พบวา มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเกิดขึ้น ประมาณ 70 ตัน/ป

จากปญหาดังกลาว จึงไดมีการศึกษาเกี่ยวกับ ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรีขึ้น ซ่ึงผลการศึกษา พบวาจากจํานวนผูตอบแบบสอบถามทั้งหมด จํานวน 199 คน สวนใหญ มีความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระดับปานกลาง มากเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนผูตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยมีจํานวน 137 คน คิดเปนรอยละ 68.8 มีความรูในระดับสูงจํานวน 35 คน คิดเปนรอยละ 17.6 และมีความรูในระดับต่ํา จํานวน 27 คน คิดเปนรอยละ 13.6

Page 126: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

115

จากผลการศึกษาดังกลาว บุคลากรสาธารณสุขมีระดับความรูในขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อโดยรวมนอยกวาขั้นตอนอื่น ๆ โดยมีความรูในระดับสูงในประเด็นที่เกี่ยวของกับสัดสวนของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่บรรจุในถุง การใชสีของภาชนะบรรจุที่ถูกตอง สําหรับมูลฝอยติดเชื้อ การใชถุงสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพียงครั้งเดียว และการทําลายพรอมกับการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ และในสวนของความปลอดภัยของผูปฏิบัติในเรื่องการใสถุงมือ การใชผาปดปาก ปดจมูก ในสวนของการแยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยทั่วไปในถังรองรับมูลฝอย ระยะเวลาในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อไวในถังรองรับที่เหมาะสม และการใชน้ํายาฆาเชื้อราดลงในถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อกอนนําไปกําจัดนั้นมีระดับคะแนนความรูปานกลาง

ในดานความปลอดภัยของบุคลากรซึ่งมีประเด็นหลักในการสํารวจคือการใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลอยางเหมาะสมนั้นบุคลากรสาธารณสุข มีความรูในการใชผาพลาสติกกันเปอน รองเทาบูท และหมวกคลุมผม ระดับปานกลาง ซ่ึงสงผลตอการปฏิบัติ อันจะนําไปสูการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานได

สําหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข สวนใหญยังคงดําเนินการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อที่เกิดจากการใหบริการแกผูปวยดวยวิธีการที่ไมถูกสุขลักษณะและไมมีประสิทธิภาพ ขาดมาตรฐานในการปฏิบัติ และยังไมมีแนวทางของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เปนมาตรฐานเดียวกันในทุกสถานบริการ ซ่ึงอาจทําใหมูลฝอยติดเชื้อดังกลาว ปนเปอนสูส่ิงแวดลอมและชุมชน เปนแหลงการแพรกระจายของเชื้อโรคที่เปนอันตรายตอสุขภาพประชาชนรวมถึงเกิดความเสี่ยงตอเจาหนาที่ผูปฏิบัติงาน การจัดทําโครงการอบรมบุคลากรสาธารณสุขเรื่อง แนวทางการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกตองและเหมาะสมสําหรับศูนยสุขภาพชุมชน ในจังหวัดกาญจนบุรี ในครั้งนี้สามารถเพิ่มพูนความรูในเรื่องดังกลาว เปนไปดวยความเหมาะสม มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค

1. เพื่อใหเจาหนาที่มีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกวิธีเพิ่มสูงขึ้น 2. เพื่อใหเจาหนาที่มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการรวบรวมมูลฝอยในศูนยสุขภาพชุมชนที่ถูกตอง 3. เพื่อใหเจาหนาที่และผูรับบริการมีความปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ 4. เพื่อลดการแพรกระจายของเชื้อโรคจากมูลฝอยติดเชื้อสูในชุมชนและสิ่งแวดลอม

Page 127: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

116

เปาหมาย

ผูเขารับการอบรม ประกอบดวย เจาหนาที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน จํานวน 142 แหง ๆ ละ 1 คน จํานวน 142 คน

หัวขอการอบรม

1. ความรูทั่วไปเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ 2. สถานการณการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในจังหวดักาญจนบุรี 3. การรวบรวมมูลฝอยติดเชือ้ที่ถูกวิธีในศนูยสุขภาพชุมชน 4. การใชอุปกรณปองกันสวนบุคคลอยางถูกตองและปลอดภัย

ขั้นตอนการดําเนินงาน

1. จัดทําโครงการ ฯ เพื่อขออนมุัติ 2. ทําหนังสือแจงผูเขารวมอบรมผานนายอําเภอทุกอําเภอ 3. ขอสนับสนุนวิทยากรจากสาํนักงานสิ่งแวดลอมภาค 5 4. ดําเนินการจัดการอบรมและสาธิต 5. ประเมินผลการอบรม

ระยะเวลาการอบรม

จํานวน 1 วัน

สถานที่จัดอบรม

หองประชุมสํานักงานสาธารณสุขจังหวดักาญจนบุรี

งบประมาณทีใ่ชในการจัดอบรม

1. คาอาหารวางและเครื่องดืม่ จํานวน 142 คน ๆ ละ 50 บาท เปนเงิน 7,100 บาท 2. คาอาหารกลางวัน จํานวน 142 คน ๆ ละ 100 บาท/คน เปนเงิน 14,200 บาท 3. คาวัสดุการอบรม เปนเงิน 5,000 บาท 4. คาตอบแทนวิทยากร เปนเงิน 2,000 บาท รวมเปนเงนิทัง้สิ้น 28,300 บาท

Page 128: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

117

การประเมินผลโครงการ

1. โดยการทดสอบกอน - หลังการอบรม 2. ติดตามประเมินผลในพืน้ที่

ผลที่คาดวาจะไดรับ

1. เจาหนาที่มีความรูในการจดัการมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2. เจาหนาที่มกีารปฏิบัติเกี่ยวกบัการจัดการมลูฝอยติดเชื้อที่ถูกตองมากขึ้น 3. เจาหนาทีแ่ละผูรับบริการมีความปลอดภยัจากมูลฝอยติดเชื้อ 4. ลดการแพรกระจายของมูลฝอยติดเชื้อจากศูนยสุขภาพชมุชนออกสูชุมชนและ

ส่ิงแวดลอม

ผูรับผิดชอบโครงการ

กลุมสนับสนุนวิชาการ (งานอนามัยส่ิงแวดลอมและอาชีวอนามัย) สํานักงานสาธารณสุข

จังหวดักาญจนบุรี

Page 129: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและขอเสนอแนะ

จํานวนประชากรในประเทศไทย มีแนวโนมเพิ่มสูงขึ้นอยางตอเนื่อง สงผลใหมีความ

จําเปนในการขยายบริการดานสาธารณสุขใหครอบคลุมทุกพื้นที่ ทําใหปริมาณมูลฝอยติดเชื้อมีแนวโนมเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับคณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2536: 4) ไดกําหนดขอปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเพื่อใหเปนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ที่สอดคลองกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ U.S.EPA (1986) โดยการดําเนินงานในการควบคุมดูแลมูลฝอยติดเชื้อดังกลาว มีวัตถุประสงคหลักในการควบคุมและปองกันอันตรายอันจะเกิดจากการแพรกระจายเชื้อจากมูลฝอยติดเชื้อ ดังนั้น ผูที่เปนแหลงตนตอของมูลฝอยติดเชื้อใหถือเปนหนาที่ตองใหความสําคัญและระมัดระวัง ตลอดจนดําเนินการใหเปนไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวของ การควบคุมดูแลดังกลาวสามารถแบงขั้นตอนหลักในทางปฏิบัติได 5 ขั้นตอน คือ การคัดแยก การเก็บรวบรวม การขนยาย การทําลายเชื้อ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ศึกษาปจจัยตาง ๆ ที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน และเพื่อเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี

กลุมตัวอยางที่นํามาใชในการวิจัยเปนบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชนในพื้นที่ 13 อําเภอ ในจังหวัดกาญจนบุรี จํานวน 199 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยเปนแบบสอบถาม ใชสถิติการแจกแจงความถี่ คารอยละ คาเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะหขอมูลสวนบุคคลและคาระดับของตัวแปร วิเคราะหเปรียบเทียบความแตกตางของการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ใชการทดสอบ t - test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และการวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยใชสถิติวิเคราะห Pearson Correlation ซ่ึงผลการศึกษาสามารถสรุปไดดังตอไปนี้

Page 130: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

119

5.1 ขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม

ผลการสํารวจขอมูลสวนบุคคลของผูตอบแบบสอบถาม เพื่อใชเปนสวนหนึ่งในการวิเคราะหความสัมพันธของการปฏิบัติงาน พบวาผูปฏิบัติงานดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี สวนใหญเปนผูที่มีประสบการณ และอายุงานมากกวา 20 ปขึ้นไป คิดเปนรอยละ 51.3 และเปนผูที่มีอายุตั้งแต 41 ขึ้นไป รอยละ 52.7 ผลการศึกษาความสัมพันธ พบวา กลุมที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกัน (p – value > 0.01) ซ่ึงสอดคลองกับผลการศึกษาของ สุนทรี ปานนอย (2543 : 128) และประดิษฐ ชาลีเครือ (2550 :53 ) ที่พบวา กลุมที่ระยะเวลาปฏิบัติงานแตกตางกัน ไมมีความสัมพันธกับการปฏิบัติการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน (p – value > 0.05) ทั้งนี้เนื่องจากระยะเวลาการปฏิบัติงานไมวาจะมีระยะสั้นหรือระยะยาว ความตระหนักตอการปองกันการติดเชื้อโรคที่มีผลตอการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อเหมือนกัน ผลจึงทําใหการปฏิบัติที่ไมแตกตางกัน

ผูตอบแบบสอบถามมีสัดสวนของเพศหญิงและชายใกลเคียงกันคือรอยละ 48.2 และ 51.8 ตามลําดับ ซ่ึงเพศที่ตางกันมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงวาทั้งเพศชายและหญิงมีการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อใกลเคียงกัน ซ่ึงสอดคลองกับการศึกษาของ อารยา แกวมาลา (2545: 91) และสุนทรี ปานนอย (2543: 137) ที่พบวา เพศที่แตกตางกันมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกัน ผูตอบแบบสอบถามมีการศึกษาในระดับปริญญาตรีมากที่สุด คิดเปนรอยละ 75.9 รองลงมาเปนระดับอนุปริญญา รอยละ 16.1 และนอยที่สุดเปนระดับสูงกวาปริญญาตรี คิดเปนรอยละ 8.0 การศึกษาความสัมพันธพบวา กลุมที่มีระดับการศึกษาแตกตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p - value > 0.01) ซ่ึงสอดคลองกับผลการศึกษาของ ประดิษฐ ชาลีเครือ (2550 : 52 ) แตไมมีความสอดคลองกับผลการศึกษาของ สุนทรี ปานนอย ( 2543 : 137 ) และการศึกษาของ อารยา แกวมาลา ( 2545 : 92 ) ที่พบวาระดับการศึกษาที่ตางกัน สงผลตอการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกัน การที่กลุมระดับการศึกษาที่แตกตางกัน ไมสงผลตอการปฏิบัติที่แตกตางกัน เปนเพราะกลุมตัวอยางที่ศึกษา ไดรับการอบรมความรูพื้นฐานดานการสาธารณสุข และหลักสูตรการปองกันการติดเชื้อเหมือนกัน ไมวาจะมีระดับการศึกษาระดับใดจึงสงผลใหมีการปฏิบัติที่ไมแตกตางกัน

สําหรับตําแหนงหนาที่นั้น ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญมีตําแหนงนักวิชาการสาธารณสุข คิดเปนรอยละ 57.3 รองลงมาเปนเจาพนักงานสาธารณสุข รอยละ 34.2 เปนพยาบาลวิชาชีพ รอยละ

Page 131: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

120

7.0 และเจาพนักงานทันตสาธารณสุข รอยละ 1.5 ผลการศึกษาพบวา กลุมที่มีตําแหนงที่แตกตางกันมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p – value > 0.01) ซ่ึงไมสอดคลองกับสมมติฐานที่ตั้งไว แตสอดคลองกับผลการศึกษาของประดิษฐ ชาลีเครือ (2550 : 53 ) และผลการศึกษาของ อารยา แกวมาลา (2545 : 92) ที่พบวาตําแหนงที่แตกตางกันไมมีผลตอการปฏิบัติที่แตกตางกัน แตตางจากผลการศึกษาของสุนทรี ปานนอย ที่พบวาตําแหนงที่ตางกัน มีความสัมพันธตอการปฏิบัติที่แตกตางกัน การที่กลุมที่มีตําแหนงตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ไมแตกตางกัน เพราะ ทุกตําแหนงที่ปฏิบัติงานที่ศูนยสุขภาพชุมชน ไดรับการศึกษา อบรมความรูดานการปองกันเชื้อโรคและการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหมือนกัน

จากผลการวิเคราะหความสัมพันธของการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบวาบุคลากรสาธารณสุขมีอายุ ระดับการศึกษา ตําแหนงหนาที่ และระยะเวลาปฏิบัติงานตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01นั้น แสดงวาปจจัยตางๆเหลานี้ ไมสงผลตอการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ซ่ึงสามารถใชขอมูลนี้ในการตัดสินใจเพื่อคัดเลือกหรือมอบหมายงานใหแกบุคลากรในลักษณะเดียวกันนี้ได

5.2 การวิเคราะหระดับความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ

มูลฝอยติดเชื้อ

ผลการประเมินความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ของบุคลากรสาธารณสุขใน

ศูนยสุขภาพชุมชนโดยวิเคราะหคาสถิติคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ตามเกณฑ

ที่กําหนดไว 3 ระดับโดยใชเกณฑในการประเมินแบบอิงกลุมซึ่งใชคาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ ระดับต่ํา (นอยกวา 13.30 คะแนน) ระดับปานกลาง (ตั้งแต 13.30 - 18.94 คะแนน) และระดับสูง (มากกวา 18.94 คะแนน) พบวาผูตอบแบบสอบถามมีความรูในระดับ ปานกลาง คือ คาเฉลี่ยของความรูโดยรวมมีคาเทากับ 16.12 อยางไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงรอยละของระดับความรู 3 ระดับในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของผูตอบแบบสอบถามพบวา รอยละของผูปฏิบัติมีความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลางถึงระดับสูง ถึงรอยละ 86.4 แสดงใหเห็นวาบุคลากรที่ทํางานดานการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ศึกษานี้คอนขางมีความพรอมในดาน

Page 132: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

121

การมีความรูเพื่อใชในการปฏิบัติงาน และจํานวนที่เหลือรอยละ 13.6 ควรไดรับการพัฒนาเพื่อสงเสริมใหมีความรูเพื่อใชปฏิบัติงานใหมากขึ้น

ผลที่ไดจากการวิเคราะหการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อใชการวิเคราะหโดยแบงการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ออกเปน 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง ต่ํา โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเทากับ 5 ต่ําสุดเทากับ 1 คะแนน พบวา จากคําถามที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติงานอยางถูกตองตามขั้นตอนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อทั้งหมด 24 ขอ ผูตอบแบบสอบถามมีระดับการปฏิบัติสูงจํานวน 16 ขอ

คําถามที่ใชในแบบสอบถามนี้เมื่อพิจารณาระดับความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแยกตามขั้นตอนในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ 5 ขั้นตอน คือ การคัดแยก การรวบรวม การขนยาย การทําลายเช้ือ และการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยประเด็นที่สํารวจครอบคลุมกระบวนการปฏิบัติงานที่ถูกตองเหมาะสมและความปลอดภัยของผูปฏิบัติ สามารถสรุปไดดังนี้

5.2.1 ความรูในขัน้ตอนการคัดแยกมูลฝอยตดิเชื้อ ระดับความรูในขั้นตอนการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อในแบบสอบถาม ประกอบดวยคําถาม

การคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยทั่วไปออกจากกัน และการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่เปนของมีคม เชน เข็ม ใบมีด ออกจากมูลฝอยติดเชื้อชนิดอื่น โดยใสกระปองหรือขวดกอนนําไปกําจัด ผลการสํารวจในประเด็นดังกลาวพบวาผูปฏิบัติมีความรูเร่ืองขั้นตอนการการคัดแยก ระดับสูงทั้งสองประเด็น

5.2.2 ความรูในขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ผูปฏิบัติมีระดับความรูในขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อโดยรวมนอยกวาขั้นตอนอื่น ๆ

โดยมีความรูในระดับสูงในประเด็นที่เกี่ยวของกับสัดสวนของปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่บรรจุในถุง การใชสีของภาชนะบรรจุที่ถูกตอง สําหรับมูลฝอยติดเชื้อ การใชถุงสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพียงครั้งเดียว และการทําลายพรอมกับการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ และในสวนของความปลอดภัยของผูปฎิบัติในเรื่องการใสถุงมือ การใชผาปดปาก ปดจมูก ในสวนของการแยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยทั่วไปในถังรองรับมูลฝอย ระยะเวลาในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อไวในถังรองรับที่เหมาะสม และการใชน้ํายาฆาเชื้อราดลงในถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อกอนนําไปกําจัดนั้นมีระดับคะแนนความรูปานกลาง

ในดานความปลอดภัยของผูปฏิบัติซ่ึงมีประเด็นหลักในการสํารวจคือการใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลอยางเหมาะสมนั้นผูปฏิบัติมีความรูในการใชผาพลาสติกกันเปอน

Page 133: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

122

รองเทาบูท และหมวกคลุมผม ระดับปานกลาง ซ่ึงสงผลตอการปฏิบัติ อันจะนําไปสูการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานได

5.2.3 ความรูขั้นในตอนการขนยายมูลฝอยติดเชื้อ ระดับความรูในขั้นตอนการขนยายมูลฝอยติดเชื้อสูงกวาขั้นตอนอื่น โดยประเด็นที่ศึกษา

ประกอบดวย การจัดการเพื่อปองกันการแพรกระจายของเชื้อในกรณีที่มูลฝอยติดเชื้อตกหลน และการสํารวจคุณภาพและความมิดชิดของภาชนะบรรจุระหวางการขนยาย ความเหมาะสมของการกําหนดเสนทางและระยะเวลาในการปฏิบัติเกี่ยวกับการขนยาย ประเด็นดานความปลอดภัยของผูปฎิบัติคือการทําความสะอาดมือหลังการขนยาย และวิธีการยกถุงมูลฝอยติดเชื้ออยางเหมาะสม ซ่ึงทุกประเด็นในขั้นตอนนี้ผูปฏิบัติทราบวิธีการทํางานอยางถูกตอง

5.2.4 ความรูในขั้นตอนการทําลายเชื้อ ผูปฏิบัติมีระดับความรูสูงในขั้นตอนนี้เชนเดียวกับขั้นตอนการขนยาย โดยประเด็นที่ศึกษา

ในขั้นตอนการทําลายเชื้อมี 2 ประเด็น ประกอบดวยระดับความรูที่เกี่ยวกับ การซักลางเพื่อทําความสะอาดอุปกรณปองกันสวนบุคคลและการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เปนของเหลวอยางเหมาะสม

5.2.5 ความรูในขั้นตอนการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประเด็นที่ศึกษาในขั้นตอนการทําลายเชื้อคือ การแยกกําจัดมูลฝอยติดเชื้อออกจากการกําจัด

มูลฝอยทั่วไปพบวาผูปฏิบัติมีระดับความรูสูง ไดแก การที่ไมควรนํามูลฝอยติดเชื้อกําจัดรวมกับมูลฝอยท่ัวไป และการนํามูลฝอยติดเชื้อใหทองถ่ินกําจัดไมใชวิธีที่ดีที่สุด เปนตน

เมื่อวิเคราะหหาความสัมพันธระหวางความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พบวาความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงวาหากผูปฏิบัติมีความรูมาก จะสงผลใหการปฏิบัติเปนไปอยางมีประสิทธิภาพดวยเชนกัน และเมื่อพิจารณาความรูของผูปฏิบัติแลวพบวา แมวาผูปฏิบัติมีความรูในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลางถึงระดับสูง ถึงรอยละ 86.4 แตสวนใหญรอยละ 68.8 มีความรูในระดับปานกลาง และรอยละ 13.6 มีความรูในระดับต่ํา ซ่ึงสอดคลองกับผลการศึกษาของประดิษฐ ชาลีเครือ ( 2550 : 54 ) การศึกษาของวารีรัตน แสนเสนาะ ( 2541 : บทคัดยอ ) และการศึกษาของอารยา แกวมาลา ( 2545 : 91 ) ที่วา กลุมที่ระดับความรูแตกตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่แตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งนี้เพราะความรูที่เกิดขึ้นสามารถนําไปสูการปฏิบัติที่ถูกตองได และการ

Page 134: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

123

พัฒนาบุคลากรทั้งสองกลุมโดยการสงเสริมใหผูปฏิบัติมีความรูในระดับที่สูงขึ้น จะสงผลโดยตรงตอการเพิ่มประสิทธิภาพการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ

ความรูที่หนวยงานควรสงเสริมในลําดับตน ๆ คือความรูที่เกี่ยวกับขั้นตอนการรวบรวม มูลฝอยติดเชื้อ โดยเฉพาะอยางยิ่งในสวนของความปลอดภัยตอการติดเชื้อของผูปฏิบัติ เนื่องจากระดับคะแนนในการใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคลเชน การใชหมวกคลุมผม รองเทาบูท และผาพลาสติกกันเปอนคอนขางต่ํากวาประเด็นการปฏิบัติงานอื่นๆในขั้นตอนนี้ ซ่ึงสงผลโดยตรงตอความปลอดภัยของบุคลากร ซ่ึงคณะทํางานกําหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ กระทรวงสาธารณสุข ไดมีการกําหนดใหมีขอปฏิบัติในการชี้แจงและอบรมบุคลากรที่ทําหนาที่นี้ ตลอดจนมีระบบการกํากับดูแล เชน

1) การแตงกายจะตองสวมถุงมือยางหนา มีผากันเปอนและรองเทาบูทที่ทําดวยยางตลอดเวลาการปฏิบัติงาน

2) ปฏิบัติขั้นตอนอยางถูกวิธี เชน ตรวจดูถุงมูลฝอยกอนเคลื่อนยายวาถุงไมร่ัว คอถุง ผูกเชือกใหเรียบรอย ยกและวางอยางระมัดระวังโดยจับตรงคอถุงหามอุมถุงและสามารถจัดการเก็บมูลฝอยติดเชื้อที่หกไดอยางถูกวิธี

3) เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจใหถอดถุงมือและชุดปฏิบัติการและนําไปฆาเชื้ออยางถูกวิธี 4) อาบน้ําทันที หลังเสร็จภารกิจประจําวัน

ประเด็นอื่น ๆ ที่ควรใหความสําคัญตอการใหความรูเพื่อนําไปปฏิบัติ คือ การใชน้ํายาฆาเชื้อราดลงในถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อกอนนําไปกําจัด และประเด็นในขั้นตอนการขนยาย คือ การปฏิบัติอยางถูกตองตอระยะเวลาที่ควรขนยายมูลฝอยติดเชื้อตามเวลาที่กําหนดไวแนนอนและการขนยายมูลฝอยติดเชื้อตามเสนทางที่กําหนดไวแนนอน ซ่ึงประเด็นทั้งหมดนี้ระดับความรูของบุคลากรอยูในระดับปานกลาง การใหความรูอาจทําไดโดยการใชทฤษฎีความรูที่สามารถรับรู หรือทําความเขาใจไดโดยการอาน ฟง หรือการสังเกต โดยใหความรูในลักษณะของความรูชัดแจง (Explicit Knowledge) เชน การจัดทําผังขั้นตอนการทํางานติดไวในที่ผูปฏิบัติงานสามารถเห็นไดชัดเจนขณะทํางานนั้น หรือใชความรูประเภทที่บอกเลา ซ่ึงอาจเปนความรูแฝงเรน (Implicit Knowledge) จากผูที่มีประสบการณในการทํางานนั้นๆ โดยจัดใหมีการถายทอดหรือสอนงานโดยผูที่มีประสบการณ

Page 135: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

124

5.3 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและความสัมพันธระหวางการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

ผลการสํารวจพบวาการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากร

สาธารณสุข โดยไดสอบถามประเด็นที่เกี่ยวกับโอกาสติดเชื้อและความเสี่ยงตอการติดเชื้อโรคจากการใหบริการผูปวย การหยิบจับมูลฝอยติดเชื้อ การปฏิบัติตนอยางถูกตองในการใชอุปกรณปองกันสวนบุคคล รวมถึงการแพรกระจายของเชื้อไปสูประชาชนในชุมชนผานการทิ้งมูลฝอยติดเชื้อลงในถังมูลฝอยทั่วไปของชุมชน ซ่ึงสงผลกระทบตอการติดเชื้อของประชาชนในบริเวณใกลเคียง โดยทุกประเด็นที่กลาวมา มีคะแนนในระดับสูง แสดงใหเห็นถึงประสิทธิภาพการใหความรู และการรับรูขอมูลขาวสารของหนวยงานและผูปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของการรับรูเร่ืองความเสี่ยงสามารถเกิดไดจากการที่มีแรงจูงใจหรือความตองการของตนเอง หรืออาจเกิดจากปจจัยดานสิ่งเราจากอันตราย ซ่ึงเปนแรงดานลบ ซ่ึงจะเปนตัวผลักใหบุคคลหนีหรือออกหางจากสิ่งที่ไมปรารถนา โดยผูปฏิบัติไมตองการใหมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางานและการแพรเชื้อไปสูชุมชนจากการปฏิบัติงานไมถูกตอง

นอกจากนี้ จากคําถามเกี่ยวกับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ซ่ึงเปนประเด็นที่เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอันตรายจากการปฏิบัติงานซึ่งถามวา “แมจะมีการปองกันอุบัติเหตุจากของ มีคมติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน ก็ไมอาจทําใหทานปลอดภัยจากการติดเชื้อโรครายแรงได” ระดับคะแนนของคําตอบขอนี้อยูในระดับปานกลาง แสดงวาผูปฏิบัติงานตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของตนวาเปนงานอันตรายที่หลีกเลี่ยงตอการติดเชื้อไดยาก ซ่ึงเปนประเด็นที่ควรใหความสําคัญตอมาตรการการดูแลผูปฏิบัติงานเนื่องจากเปนผูที่มีโอกาสเสี่ยงตอการติดเชื้อมากที่สุด

การวิเคราะหสัมประสิทธิ์สหสัมพันธเพื่อศึกษาความสัมพันธระหวางการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธกัน โดยมีคา 0.400 ที่ระดับอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.01 แสดงวาการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค สงผลตอการเพิ่มประสิทธิภาพในการปองกันและระมัดระวังตนเองของผูปฏิบัติงานในการหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานดานการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซ่ึงหนวยงานอื่นสามารถนําผลที่ไดไปประยุกตใชเพื่อความปลอดภัยของผูปฏิบัติงานไดเปนอยางดี

Page 136: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

125

5.4 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความสัมพันธระหวางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

แรงจูงใจ (Motivation) หมายถึง ความรูสึก อารมณตาง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการกระตุนของสิ่งเรา แรงจูงใจเปนปจจัยหนึ่งที่สงผลกระทบตอการปฏิบัติงานโดยทั่วไปผลการปฏิบัติงานของบุคคลจะถูกกําหนดโดยแรงจูงใจ (ความปรารถนาที่จะทํางาน) ความสามารถ (ความสามารถที่จะทํางาน) สภาพแวดลอมของงาน (เครื่องมือและขอมูลที่ตองใชทํางาน)

ผลการสํารวจพบวาคาเฉลี่ยของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานระดับปานกลาง จํานวน 12 ขอจาก 15 ขอ และอยูในระดับสูงเพียง 3 ขอ

5.3.1 คาเฉล่ียของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานระดับสูง คือ 5.3.1.1 สภาพแวดลอมในหนวยงานของทาน เชน ความเปนสัดสวน แสงสวาง

อุณหภูมิ ความสะอาดสวยงาม การถายเทอากาศ อยูในสภาพที่สงเสริมใหอยากปฏิบัติงาน 5.3.1.2 ความสามารถปรับตัวเขากับเพื่อนรวมงาน 5.3.1.3 ความภูมิใจเมื่อปฏิบัติงานในหนวยงานไดตามเปาหมายและวัตถุประสงค

5.3.2 ประเด็นท่ีคาเฉล่ียของแรงจูงใจมีระดับปานกลาง คือ 5.3.2.1 แรงจูงใจดานการเงิน ประกอบดวย ความเหมาะสมของอัตราเงินเดือนที่

ไดรับขณะนี้ สวัสดิการอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน เชน คารักษาพยาบาล คาการศึกษาบุตร เงินโบนัส คาตอบแทนลวงเวลา

5.3.2.2 แรงจูงใจดานความพรอมและความเหมาะสมของเครื่องมือและอุปกรณในการปฏิบัติงาน

5.3.2.3 การปฏิบัติงานเปนทีม และการแกปญหาเมื่อมีความขัดแยง รวมถึงความชวยเหลือจากเพื่อนรวมงาน

5.3.2.4 การไดรับการยอมรับถึงศักยภาพจากผูบังคับบัญชาและผูรวมงาน เห็นวาทานเปนผูมีความสามารถในการปฏิบัติงาน และการมีสวนรวมในการเสนอความคิดเห็นในการปฏิบัติงานในหนวยงาน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธระหวางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร

สาธารณสุข และการปฏิบัติเกี ่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื ้อ พบวาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธระหวางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีคา - 0.013

Page 137: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

126

หมายความวาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธในทิศทางตรงกันขามกัน ผลที่ไดแสดงใหเห็นวาแมวาปจจัยตางๆที่เปนแรงจูงใจจะมีคาเฉลี่ยสวนมากอยูในระดับปานกลาง แตการปฏิบัติงานของบุคลากรยังมีประสิทธิภาพในระดับที่ดี แมวาความสัมพันธระหวางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจะไมมีนัยสําคัญทางสถิติ แตผลที่ไดสามารถใชเปนแนวทางในการพัฒนางานดวยการสรางแรงจูงใจ การปรับปรุงสภาพแวดลอม และการพัฒนาความสามารถของบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานได เมื่อพิจารณาตามทฤษฎีที่อางถึงแรงจูงใจ ความสามารถ และสภาพแวดลอมของงาน เปนปจจัยที่สงผลกระทบตอการปฏิบัติงานของบุคลากร

นอกจากนี้ผลที่ไดแสดงใหเห็นวาบุคลากรมีความพอใจมากตอสภาพแวดลอมในหนวยงาน เชน ความเปนสัดสวน แสงสวาง อุณหภูมิ ความสะอาดสวยงาม การถายเทอากาศ อยูในสภาพที่สงเสริมใหอยากปฏิบัติงาน ความสามารถปรับตัวเขากับเพื่อนรวมงาน และความภูมิใจเมื่อปฏิบัติงานในหนวยงานไดตามเปาหมายและวัตถุประสงค ซ่ึงสามารถอธิบายไดตามทฤษฎีของ แอลเดอรเฟอร ซ่ึงคลายกับทฤษฎีของมาสโลว แตแตกตางกันที่แอลเดอรเฟอรไมยอมรับเรื่องการตอบสนองความตองการเปนลําดับขั้นเขาเสนอวาคนเรามีความตองการอยู 3 ประการและความตองการทั้งสามอยางนั้น สามารถที่จะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได จะตอบสนองเมื่อไรก็ได และ อาจเกิดขึ้นพรอมกันทีเดียวเลยก็ได คือ ความตองการมีชีวิตอยู (Existence needs) ความตองการที่จะมีความสัมพันธกับผูอ่ืน (Relatedness needs) และความตองการที่จะเจริญงอกงาม (Growth needs) ซ่ึงเปนความตองการทั้งหลายที่จะตอบสนอง เพื่อใหมีชีวิตตอไป เชน แรงจูงใจดานการเงิน (ความเหมาะสมของอัตราเงินเดือนที่ไดรับขณะนี้ สวัสดิการอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน เชน คารักษาพยาบาล คาการศึกษาบุตร เงินโบนัส คาตอบแทนลวงเวลา) และ ความตองการดานความปลอดภัย เปนตน

อยางไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงผลที่ไดโดยใชทฤษฎีการจูงใจที่รูจักกันมากที่สุดทฤษฎีหนึ่งของอับราแฮม มาสโลว ซ่ึงกลาววาบุคคล คือ ส่ิงมีชีวิตที่มีความตองการ ซ่ึงความตองการของบุคคลจะถูกเรียงลําดับตามความสําคัญ บุคคลที่จะกาวไปสูความตองการระดับตอไปเมื่อความตองการระดับต่ําลงมาไดถูกตอบสนองอยางดีแลวเทานั้น

นอกจากนี้ยังมีอีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งขยายความทฤษฎีของมาสโลว ไดแก ทฤษฎีแรงจูงใจทางสังคม ของเฮอรซเบิรก ทฤษฎีนี้ไดศึกษาถึงจิตวิทยาของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งที่จะจูงใจซึ่งเปนสิ่งที่จะจูงใจใหผูปฏิบัติงาน หรือปจจัยในการกระตุนนี้จะจูงใจใหผูปฏิบัติงานทํางานนั้นอยางเต็มความสามารถเพื่อใหบรรลุเปาหมายที่วางไว ประกอบดวยปจจัยที่เรียกวา ปจจัยในการกระตุน (Motivation factors) 5 ประการ ไดแก ความสําเร็จของงาน การไดรับการยอมรับ ความกาวหนา

Page 138: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

127

ลักษณะของงาน และความรับผิดชอบ ซ่ึงปจจัยกระตุนดังกลาวยังมีระดับคะแนนปานกลาง การสรางความพอใจในปจจัยตางๆ เพื่อจูงใจใหผูปฏิบัติงานอยางเต็มความสามารถเพื่อใหบรรลุเปาหมายที่วางไวจึงเปนเรื่องสําคัญตอประสิทธิภาพของงาน

5.5 ขอเสนอแนะ

5.5.1 ขอเสนอแนะสําหรับงานวิจัยนี้

5.5.1.1 ควรจัดใหมีการอบรมความรูแกบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชนเพื่อใหมีความรู ความเขาใจและมีความตระหนักถึงอันตรายจากมูลฝอยติดเชื้อในขั้นตอนของการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ วิธีการขนมูลฝอยที่ถูกตอง การทําลายเชื้อกอนนําไปกําจัด รวมถึงการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกตองและเหมาะสม

5.5.1.2 ควรสงเสริมและสนับสนุนใหบุคลากรสาธารณสุข มีและใชอุปกรณปองกันสวนบุคคล ในการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อทุกครั้งอยางเหมาะสม เพื่อปองกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน

5.5.1.3 ควรใหมีการจัดทําคูมือการปฏิบัติงาน หรือกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อปองกันการติดเชื้อจากการใหบริการทางการแพทยและสาธารณสุขของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนยสุขภาพชุมชน

5.5.1.4 ควรกําหนดใหมีตัวช้ีวัดการประเมินผลการปฏิบัติงานเรื่อง ระบบปองกันการติดเชื้อและการแพรกระจายเชื้อตามมาตรฐานของการจัดบริการของศูนยสุขภาพชุมชน เพื่อควบคุมคุณภาพใหเปนมาตรฐานเดียวกัน

5.5.1.5 ควรแตงตั้งคณะทํางาน เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนยสุขภาพชุมชนที่เหมาะสม เพื่อกําหนดใหเปนมาตรฐานเดียวกัน

5.5.2 ขอเสนอแนะในการทําวิจัยในอนาคต

5.5.2.1 ควรมีการศึกษาเรื่องการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน

5.5.2.2 ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขที่มีผลตอการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ

5.5.2.3 ควรศึกษาเรื่อง การเฝาระวังทางสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานดานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

Page 139: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

128

5.6 สรุปผลการศึกษา

ปจจัยท่ีมีผลตอประสิทธิภาพการจัดการมลูฝอยตดิเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี

วัตถุประสงค

เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน

วัตถุประสงค เพื่อศึกษาปจจัยตาง ๆ ที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข

วัตถุประสงค เพื่ อ เสนอแนะวิ ธี ก ารห รือมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน

ผลการศึกษา ระดับการปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข พบวา -มีระดับการปฏิบัติสูง ( 66.67 %) -ระดับการปฏิบัติปานกลาง ( 24.0%) -ระดับการปฏิบัติต่ํา (4.17 %)

ผลการศึกษา - บุคลากรสาธารณสุขมี เพศอายุ ระดับการศึกษา ตํ าแหน งหนาที่ และระยะเวลาปฏิบัติงานตางกัน มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ไมแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 -ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การรับรูโอกาสเสี่ยงของการ เกิดโรคกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีมีความสัมพันธกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 -แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความสัมพันธกันในทิศทางตรงกันขามกัน อยางไมมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

ปญหาและอุปสรรค 1. มาตรฐานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่สอบถามยังมีการปฏิบัติไมถูกตองรอยละ 33.34 2.ไมมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อใชเปนแนวทางในการพัฒนางานและแกไขปญหาในศูนยสุขภาพชุมชน 3. ผูปฏิบัติงานมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในระดับปานกลาง

แนวทางในการจัดการ 1. ควรพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการในสวนที่ยังไมไดมาตรฐานโดยเฉพาะขั้นตอนการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งเปนความปลอดภัยของผูปฏิบัติงาน 2 ควรมีการประเมินผลการดําเนินงานดวยมาตรฐานเดียวกัน 3. ควรสรางแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน

ขอเสนอแนะ

-ควรจัดใหมีการอบรมความรูแกบุคลากรสาธารณสุขการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกตองและเหมาะสม - ควรสงเสริมและสนับสนุนใหบุคลากรสาธารณสุข มีและใชอุปกรณปองกันสวนบุคคล -ควรใหมีการจัดทําคูมือการปฏิบัติงาน หรือกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อปองกันการติดเชื้อ - ควรกําหนดใหมีตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติงานเรื่อง ระบบปองกันการติดเชื้อ เพื่อควบคุมคุณภาพใหเปนมาตรฐานเดียวกัน -ควรแตงตั้งคณะทาํงาน เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนยสุขภาพชุมชนที่เหมาะสม

ภาพที่ 5.1 สรุปผลการศึกษา

Page 140: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

บรรณานุกรม

กรมควบคุมมลพิษ. 2535. รายงานฉบับสมบูรณ “การศึกษาเปรียบเทียบความเหมาะสมของวิธีการกําจัดมูลฝอย”. กรุงเทพ ฯ: กระทรวงวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2536. แนวทางปองกันการตดิเชือ้จากการใหบริการทางการแพทยและสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2538. แนวทางการจดัการมูลฝอยตดิเชื้อ. นนทบรีุ : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2549. การจัดการมูลฝอยตดิเชื้อ. พมิพคร้ังที่ 3. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพสามเจริญพาณิชย จาํกัด

กฤติยา เดชทวิสุทธิ์. 2546. การศึกษาความรูตามการรับรู เจตคติ และพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกดัสํานักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ที่มีตอการเรียนรู ตาม พรบ. การศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542. ปริญญานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโิรฒ.

กองวิชาการ. 2533. การแยกเก็บรวบรวมมูลฝอย. กองวชิาการ สํานักรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร.

กันยา สุวรรณแสง. 2536. จิตวิทยาท่ัวไป. กรุงเทพ ฯ : บํารุงสาสน กุหลาบ แผนทอง. 2540. พฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของเจาหนาท่ีของโรงพยาบาลรัฐใน

จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. มหาวทิยาลัยเชยีงใหม. คณะกรรมการจัดการอบรมเรื่องการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ. 2538. คูมือการปฏิบัตงิานการจัดการมลู

ฝอยตดิเชื้อ (Management of Infectious Waste). สมุทรปราการ: บริษัทฟวเจอรกราฟฟค จํากัด.

จาตุรงค บุญสิน. 2550 . การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑติ สาขาการจัดการสิ่งแวดลอม . สถาบันบัณฑติพัฒนบริหารศาสตร.

จาตุรงค ปานใหม. 2549. สถานการณการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยส่ิงแวดลอม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Page 141: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

130

จารุพงษ บุญ-หลง. 2537. สถานการณมูลฝอยจากสถานพยาบาล. เอกสารประกอบคําบรรยาย เร่ือง การจัดการของเสียจากสถานพยาบาล. สมาคมพิษวทิยาแหงประเทศไทย.

จําเนียร ชวงโชติ และคณะ. 2525. จิตวิทยาการรับรูและการเรียนรู. กรุงเทพ ฯ : ศาสนา. ชม ภูมิภาค. 2533. จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพาณิช. ณัฏฐพันธ เขจรนันท . 2547. การจัดการ .กรุงเทพ ฯ : เอเชียเพลส (1989) จํากดั. ดารณี พัฒนศักดิ์ภิญโญ. 2533. ผลการใชชุดแนะแนวที่มีตอแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ

นักเรียนชั้นมธัยมศึกษาปท่ี 2 โรงเรียนจิรประวัติวิทยาคม จังหวัดนครสวรรค.วิทยานิพนธปริญญาการศึกษามหาบณัฑติ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมติร.

ทิพยสุดา ลีลาศิริคุณ. 2545. ตัวแปรเกี่ยวของกับแรงจูงใจในการปฏิบตัิงานของขาราชการและเจาหนาท่ีสํานักงานคณะกรรมการฟนฟูสมรรถภาพคนพกิาร สังกัดกรมประชาสงเคราะห.สารนิพนธ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีระศักดิ์ รัตนเทวะเนตร. 2543. รูปแบบการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อของสถานีอนามัยหัวตะพานในอําเภอหัวตะพาน. วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยส่ิงแวดลอม. มหาวิทยาลัยขอนแกน.

นพมาศ ธีระเวคิน. 2542. จิตวิทยาสังคมกับชีวิต. พิมพคร้ังที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ประดิษฐ ชาลีเครือ. 2550 . การจดัการมูลฝอยตดิเชื้อของเจาหนาท่ีสาธารณสุขในสถานีอนามัยอําเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ. สารนิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดลอม.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. 2525. ทัศนคต:ิ การวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย. พมิพคร้ังที่ 2. กรุงเทพ ฯ : สํานักพิมพบูรพา

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวงิ สุวรรณ. 2536. พฤติกรรมศาสตร พฤตกิรรมสุขภาพและสุขศึกษา.พิมพคร้ังที่ 2. กรุงเทพ ฯ : เจาพระยาการพิมพ

ประนันท สุนทรไชยา. 2541. ทัศนคติ พฤติกรรมและปญหาเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยตดิเชื้อของสถานีอนามัยในจังหวัดอุตรดิตถ.การคนควาอิสระปรญิญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเชียงใหม

พรนพ พุกกะพันธ. 2544. ภาวะผูนาํและการจูงใจ. กรุงเทพ ฯ : จามจุรีโปรดักส. พวงรัตน ทวรัีตน. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤฒกิรรมศาสตรและสังคมศาสตร.พิมพคร้ังที่ 7 .

กรุงเทพ ฯ : สํานักพิมพมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Page 142: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

131

เพลินพิศ กาญจนบูรณ จิราพร ชมพิกุล และสุเทพ ศิลปานันทกุล. 2550. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ในสถานีอนามัยในอําเภอเมอืงกาญจนบุรี . วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2551 . 6(2) : 70

ยุทธนา ขําเกือ้ . 2548 . ความรูความเขาใจเกี่ยวกับภาวะบกพรองในการเรียนรูของนกัเรียน : การสํารวจครูและบุคลากรทางการศึกษาท่ีปฏบิัติงานในโรงรียนแกนนําจดัการเรียนรวม. สารนิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธนา สุภาปญญากุล. 2550. การจัดการมูลฝอยตดิเชื้อของโรงพยาบาลสกลนคร.วทิยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑติ. มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ยุพา รัตนเวฬ.ุ 2540. การรับรูสิทธิผูปวยและความตองการเกี่ยวกับสิทธิผูปวยของผูตดิเชื้อเอดสในจังหวัดรอยเอ็ด. วิทยานพินธปริญญามหาบัณฑติ สาขาประชากรศกึษา. มหาวิยาลัยมหิดล.

ยุภาพร มวงนลิ. 2545. การศึกษาแนวทางการบริการสุขภาพโดยวิชาชพีท่ีสถานีอนามัยในจงัหวัดขอนแกน. วิทยานิพนธปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวยิาลัยขอนแกน.

รัจรี นพเกตุ. 2547. มนุษย: จิตวิทยาทางเพศ. กรุงเทพ ฯ : สํานักพิมพประกายพรกึ ลักษณา สริวฒัน. 2530. จิตวิทยาเบื้องตน. กรุงเทพ ฯ : โอ.เอส.พร้ินติ้งเฮาส วารีรัตน แสนเสนาะ. 2541. ความรูและการปฏิบัตขิองบคุลากรในโรงพยาบาลราชบรีุเก่ียวกับการ

จัดการมูลฝอย. วิทยานิพนธปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดลอม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2552. สถานีอนามัย.คนวนัที่ 21 สิงหาคม 2552 จาก ht.wikipedia.org/wiki/สถานีอนามัย

วิจิตร ศรีสุพรรณ และคณะ. 2544. รูปแบบการบริการสุขภาพระดบัปฐมภูมิในชุมชน : กรณีศึกษาในเขตภาคเหนือ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิโรจน สารัตถะ. 2542. การบริหาร:หลักการทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ ์

สกุลรัตน ปยะนิจดํารง. 2542. ระดับการรับรูของผูปวย ระดับความพึงพอใจตอบริการที่ไดรับและแหลงขอมูลท่ีไดรับทราบเรือ่งสิทธิผูปวยในการรับบริการท่ีสถานีอนามัย เขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑติ สาขาสาธารณสุขศาสตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม.

สถิต วงศสวรรค . 2529. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : บํารุงสาสน.

Page 143: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

132

สมหวัง ดานชยัวิจติร. 2537. อันตรายจากมูลฝอยในโรงพยาบาล. จุลสารชมรมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแหงประเทศไทย. 4(3): 1 - 2.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน และอษุาวดี จันทรสนธิ. 2537. “การวัดผลและประเมินผลในชั้นเรียนจาก ทฤษฎีการปฏบิัติ.” เอกสารการสอนชุดวชิาสถิติการวิจยัและการประเมินผลการศึกษา หนวยที่ 14 สาขาวิชาสถิติและการวิจยั มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 845-862.

นนทบุรี : สํานักพิมพมหาวทิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สรพงศ ขลุยเงิน. 2547. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยอําเภอกุดขาวปุน จังหวัด

อุบลราชธานี. วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑติ สาขาอนามัยส่ิงแวดลอม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สาธิต สวางแสง. 2543. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในเขตสถานีอนามยัในจังหวัดยโสธร.วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑติสาขาอนามัยส่ิงแวดลอม. มหาวิทยาลัยขอนแกน.

สายันต แสวงสุข. 2551. ความรู ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมลูฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข อําเภอปราสาท จังหวดัสุรินทร. วิทยานพินธปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร.

สาโรจน ดวงสา. 2551. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศนูยสุขภาพชุมชนในเขตอําเภอเมือง

จังหวัดหนองบัวลําภู.วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยขอนแกน.

สํานักงานปฏรูิประบบสาธารณสุขแหงชาติ (สปรส.) . 2544. รางกรอบแนวคิดระบบสุขภาพ แหงชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัทดีไซร จํากัด

สํานักงานสาธารณสุขจังหวดักาญจนบุรี. 2552. สรุปผลการปฏิบตัิงานสาธารณสุข ปงบปรมาณ2552 . เอกสารโรเนียว.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวดักาญจนบุรี. 2547. คูมือมาตรฐานและตัวชี้วัดศูนยสขุภาพชุมชนป 2547 . เอกสารโรเนียว .

สํานักงานสิ่งแวดลอมภาค 5 กรมควบคุมมลพิษ. 2552. ขอมูลและสถานการณการจัดการมลูฝอยติดเชื้อในกลุมพื้นท่ี. กรมควบคุมมลพิษ.

สํานักงานหลกัประกนัสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข . 2544. คูมือการดําเนินงานประกันสุขภาพถวนหนาสําหรับผูปฏิบัตงิาน. นนทบุรี. สํานักงานปลดักระทรวงสาธารณสุข.

Page 144: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

133

สําเริง แหยงกระโทก และรุจิรา มังคละศิริ. 2544. คูมือการดําเนินงานศูนยสุขภาพชุมชน.นครราชสีมา: โชคเจริญมารเก็ตติ้ง

สําเริง แหยงกระโทก และรุจิรา มังคละศิริ. 2549. แนวทางการพัฒนาศูนยสุขภาพชุมชนสูวิชาชพีนักสาธารณสขุ. พิมพคร้ังที ่3. นครราชสีมา.

สุคนธ เจียสกลุและคณะ. 2545. รายงานการศึกษาวิจัยเร่ืองการจัดการมูลฝอยติดเชือ้: สถานการณและระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับประสิทธิภาพของประเทศไทย. นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สุชา จันทรเอม. 2539. จิตวิทยาท่ัวไป. พิมพคร้ังที่ 9. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพาณชิ สุชาติ ประเสรฐิรัฐสินธุ. 2546. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสงัคมศาสตร. กรุงเทพ ฯ : เฟองฟา พร้ินติง้ จาํกดั สุนทรี ปานนอย. 2543. ความรูและการปฏิบัติการจัดการมูลฝอยติดเชือ้ของบุคลากรทาง

การแพทย กรณีศึกษา โรงพยาบาลสมเด็จพระปนเกลา กรมแพทยทหารเรือ. วิทยานิพนธปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดลอม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุพร ผดุงศุภไลย และชุตินาถ ทัศจันทร. 2549. สถานการณการกําจดัมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ป 2549. วารสารการจัดการสิ่งแวดลอม. 4 (4): 90 - 106.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. 2545. บริการสุขภาพใกลใจ - ใกลบาน. นนทบุรี: สํานักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข.

สุวรรณา เตียสุวรรณ. 2533. สถานการณการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. นนทบุรี. กรมอนามัยส่ิงแวดลอม.

สุวิมล ติรกานนัท. 2549. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสงัคมศาสตร: แนวทางสูการปฏิบตัิ. พิมพคร้ังที่ 6. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวทิยาลัย.

อรุณ รักธรรม. 2532. การพัฒนาองคการเพื่อการเปล่ียนแปลง. กรุงเทพฯ : ไทยวฒันาพานิช. อารยา แกวมาลา. 2545. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานีอนามัยในอําเภอเสลภูมิ จังหวัด

รอยเอ็ด. วิทยานิพนธปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารส่ิงแวดลอม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Becker, M.H.and Maiman L.A. (1975) .Socio Behavioral Determinants of Compliance with Health and Medical care Decommedations. Medical Care.

Becker, M.H., Stubergen, A.and Sands, D. 1977. Development of a scale to measure badters to health promotion activities among person with disabilities.

Page 145: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

134

Bloom,B, S.TbThomas and G.F Madaus. 1971. Handbook of Formative and Summative Evaluation of student learning. NewYork : McGraw - Hill Book Company.

Cronbach. and J. Lee. 1970. Essential of Phychological Testing. Harper and Row, New York. Good VC. 1973. Dictionary of innovation. NewYork : Mc Grawhill. Herzberg, F., Mausner,B.and Synderman, B.B.1959. The motivation to work. New York : John

Wiley and Sons. Maslow AH. 1970. Motivation and personality. Second edition. New York : Harper & Row

Publisher. Schaefer, C., Coyne, J.C., and lazarus,A. 1981. “The Health - related function of Social Support”. Journal of Behavioral Medicine. 4: 381 - 406. Sherer, M., Madduk, J.E., Mercandante, B., Bunn, S.P., Jacobs, B., and Rogers, R.W. 1982.

The self - efficacy scale: Construction and validation. Psychogical report. 51: 663 - 671.

United State Environmental Protection Agency . 1986. EPA Guide for infectious Waste Management. American Journal of Health Promotion. 5: 449 - 454. Washington D.C : Officer of Solid Waste.

Vroom.V.H.1964. Work and Motivation. New York. John Wiley and Sons. World Health Organization. 1986. Health Promotion. OTTAWA Charter, Division of

Health Promotion, Education and Communication, Health Education and Health Promotion unit, Geneva.

World Health Organization. 1994. Managing Medical Waste in Developing Countries. WHO. Geneva.

Yamane, T. 1973. Statistics : Antroduetory Analysis. Harper International Edition, Tokyo.

Page 146: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

ภาคผนวก

แบบสอบถาม

เรื่อง ปจจัยท่ีสงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมลูฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข

ในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุร ี

Page 147: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

135

เลขที่แบบสอบถาม…................

แบบสอบถาม

เรื่อง ปจจัยท่ีสงผลตอประสิทธิภาพการจัดการมลูฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข

ในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุร ี

แบบสอบถามนี้เปนสวนหนึ่งของสารนิพนธ เร่ือง ปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพการจัดการ

มูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน จังหวัดกาญจนบุรี โดย นายวิรัตน แกวบุญชู นักศึกษาหลักสูตรการจัดการสิ่งแวดลอม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดลอม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร (นิดา)

ผูศึกษาขอความกรุณาใหทาน ตอบแบบสอบถามใหครบถวน และตรงกับความเปนจริงมากที่สุด เนื่องจากคําตอบของทาน มีความสําคัญและเปนประโยชนอยางยิ่งตองานวิจัย และขอมูลที่ผูศึกษาไดทราบ จะไมสงผลกระทบตอผูตอบแตอยางใด ซ่ึงผูศึกษาจะรวบรวมเสนอเปนภาพรวมและใชเปนแนวทางสําหรับผูที่สนใจ เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนยสุขภาพชุมชน และขอมูลทีไ่ดจะถอืเปนความลับและจะนํามาใชเฉพาะงานวิจัยนี้เทานั้น

ผูตอบแบบสอบถามชุดนี้ คือบุคลากรสาธารณสุขท่ีมีหนาท่ีรับผิดชอบหรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน

โดยแบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ตอน ดังนี้.-

ตอนที่ 1 ขอมูลทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 ความรูเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ตอนที่ 3 การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ตอนที่ 4 การรับรูโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ตอนที่ 5 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข

ขอขอบคุณผูตอบแบบสอบถาม ที่ใหความรวมมือในการศึกษาในครั้งนี ้

วิรัตน แกวบญุชู ผูศึกษา

Page 148: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

136

ตอนที่ 1. ขอมูลทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม

คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย √ ลงในชองวาง ( ) ที่ตรงกับความเปนจริง

1.1 เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง 1.2 สถานภาพ ( ) โสด ( ) สมรส ( ) หมาย /หยา/ แยกกันอยู 1.3 อายุ .......................ป 1.4 ปจจุบันทาน ดํารงตําแหนง....................................................................................... 1.5 การศึกษาสูงสุด ( ) อนุปริญญา ( ) ปริญญาตรี ( ) สูงกวาปริญญาตรี ( ) อ่ืน ๆ (ระบุ)..........................................

1.6 ทานปฏิบัติงาน หรือรับราชการ มาแลว........................ป (เกิน 6 เดือน ใหนับเปน 1 ปเต็ม) 1.7 ทานมีประสบการณการปฎิบัติงานเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อมาแลว........................ป(เกิน 6 เดือน ใหนับเปน 1 ปเต็ม)

1.8 ทานเคยไดรับการอบรมเรื่องการปองกันและระงับการแพรเชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ ตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดบางหรือไม

( ) เคย จํานวน…................คร้ัง (ในรอบ 5 ปที่ผานมา) ( ) ไมเคย

1.9 เงินเดือนปจจุบัน..............................บาท/เดือน

Page 149: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

137

ตอนที่ 2. ความรูของบุคลากรสาธารณสุขเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน

คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย √ ในชอง ใช หรือ ในชอง ไมใช ใหตรงกับคําตอบทางดานขวามือ ขอที่ รายละเอียด ใช ไมใช

1 ส่ิงเหลานี้ เปนมูลฝอยติดเชื้อจากการใหบริการที่สถานีอนามัยใชหรือไม

1.1 ช้ินเนื้อหรือ ช้ินสวนรางกายมนุษย เศษกระดูก รก

1.2 ภาชนะบรรจุส่ิงสงตรวจ เชนขวดบรรจุเสมหะ และขวดเลือด

1.3 น้ํายาฆาเชื้อโรค

1.4 ยาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ

1.5 ขวดวัคซีนปองกันวัณโรค ,โปลิโอ ,หัดเยอรมัน

2 มูลฝอยติดเชื้อมีอันตรายอยางไร

2.1 มูลฝอยติดเชื้อมีอันตรายไมแตกตางจากมูลฝอยทั่วไป

2.2 มูลฝอยติดเชื้อทําใหติดเชื้อโรคติดตอรายแรงไปสูบุคคลทั่วไปได

2.3 เชื้อโรคจากมูลฝอยติดเชื้อไมสามารถแพรกระจายลงสูแหลงน้ําและพื้นดินได

3 การกักเก็บมูลฝอยติดเชื้อ ที่ถูกตองควรทําอยางไร

3.1 ถังมูลฝอยติดเชื้อควรวางกับพื้นเพื่อปองกันการหกลม และทําความสะอาดงาย

3.2 ในถังมูลฝอยติดเชื้อจะใชถุงพลาสติกสีอะไรรองรับก็ได

3.3 ถุงพลาสติกใสขยะมูลฝอยติดเชื้อ อาจะใชถุงใสของทั่วไป ชนิดอยางหนาใสในถังขยะแทนได

4 วิธีการเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ที่ถูกตองเปนอยางไร

4.1 ถามีมูลฝอยติดเชื้อจํานวนนอย ก็ไมจําเปนตองเก็บรวบรวมทุกวัน

4.2 ผูเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อไมจําเปนตองใชอุปกรณปองกันสวนบุคคลก็ได หากมีปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อนอย

4.3 ไมควรลางถังมูลฝอยติดเชื้อ ทุกครั้งหลังเก็บมูลฝอย

4.4 ในขณะเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ใหจับปากถุงและโยนใสภาชนะหรือรถเข็นทันทีเพื่อปองกันการปนเปอน

Page 150: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

138

ขอท่ี รายละเอียด ใช ไมใช 4.5 หากมีมูลฝอยติดเชื้อตกหลน ควรใชคีมคีบขยะ หรือใชถุงมือหนา

หยิบ

4.6 ถามูลฝอยที่เปนของเหลวหกเรี่ยราด ควรลางน้ําทันที หามใชกระดาษซับ

4.7 การใสมูลฝอยติดเชื้อลงในถุง ตองเก็บใหเต็มความจุของถุงเพื่อเปนการประหยัด

5 การกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกสุขลักษณะ มีวิธีการอยางไร

5.1 สามารถกําจัดมูลฝอยติดเชื้อรวมกับมูลฝอยทั่วไปได

5.2 ของมีคมติดเชื้อ เชน เข็ม ใบมีด ไมควรนํามาเผารวมกับมูลฝอยติดเชื้ออ่ืน ๆ

5.3 วิธีการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ดีที่สุดคือให อบต.หรือเทศบาล ขนไปกําจัด

ตอนที่ 3 การปฏิบัติเก่ียวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขในศูนยสุขภาพชุมชน คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย √ ลงในชองวาง ที่ตรงกับการปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชนของทาน มากที่สุด โดยเลือกเพียงคําตอบเดียว และกรุณาโปรดตอบใหครบทุกขอ

การปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยตดิเชื้อ

ขอที่

รายละเอียด ทุก

คร้ัง

บอย

คร้ัง

บาง คร้ัง

นานๆ

คร้ัง ไมเคย

ปฏิบัต ิ

1 ทานมีการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยทั่วไปออกจากกัน

2 ทานคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่เปนของมีคม เชน เข็ม ใบมีด ออกจากมูลฝอยติดเชื้อชนิดอื่น โดยใสกระปองหรือขวดกอนนําไปกําจัด

3 ทานเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อใสในถุง ไมเกิน สองในสามสวน ของขนาดบรรจุถุง

4 ทานใชถุงพลาสติกสีแดงใสในถังรองรับมูลฝอยติดเชื้อ

5 ทานทิ้งมูลฝอยทั่วไปลงในถังรองรับมูลฝอยติดเชื้อ

Page 151: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

139

การปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยตดิเชื้อ

ขอที่

รายละเอียด ทุก

คร้ัง

บอย

คร้ัง

บาง คร้ัง

นานๆ

คร้ัง ไมเคย

ปฏิบัต ิ

6 ทานทิ้งมูลฝอยติดเชื้อลงในถังรองรับมูลฝอยทั่วไป

7 ในขณะที่ทานเก็บหรือขนมูลฝอยติดเชื้อ ทานใชอุปกรณปองกันอันตรายสวนบุคคล บางหรือไม

7.1 ถุงมืออยางหนา

7.2 ผาพลาสติกกันเปอน

7.3 ผาปดปาก ปดจมูก

7.4 รองเทาบูท

7.5 ผาคลุมผม

8 ทานใชถุงสําหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพียงครั้งเดียว และทําลายพรอมกับการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น

9 ทานใชน้ํายาฆาเชื้อราดลงในถุงบรรจุมูลฝอยติดเชื้อกอนนําไปกําจัด

10 ทานเก็บมูลฝอยติดเชื้อไวในภาชนะบรรจุไมเกินหนึ่งวัน

11 ในกรณีที่มูลฝอยติดเชื้อตกหลน ทานใชกระดาษซับ ทําความสะอาดและใสยาฆาเชื้อราด และลางพื้นดวยน้ํา

12 ทานลางมือหรือทําความสะอาดรางกายทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นภารกิจ เก็บหรือขนมูลฝอยติดเชื้อ

13 ทานตรวจถุงมูลฝอยติดเชื้อกอนเคลื่อนยาย วาถุงไมร่ัวซึม และมัดปากถุงดวยเชือกเรียบรอย

14 ทานขนยายมูลฝอยติดเชื้อตามเวลาที่กําหนดไวแนนอน

15 ทานขนยายมูลฝอยติดเชื้อตามเสนทางที่กําหนดไวแนนอน

16 ทานยกถุงมูลฝอยติดเชื้อ โดยการจับที่คอถุง บริเวณที่ผูกเชือกยกหางตัวและวางถุงอยางระมัดระวัง

Page 152: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

140

การปฏิบัติเกี่ยวกับมูลฝอยตดิเชื้อ

ขอที่

รายละเอียด ทุก

คร้ัง

บอย

คร้ัง

บาง คร้ัง

นานๆ

คร้ัง ไมเคย

ปฏิบัต ิ

17 ทานทําความสะอาดอุปกรณปองกันสวนบุคคลโดยการซักลางใหสะอาดดวยน้ําและผงซักฟอก

18 มูลฝอยติดเชื้อที่เปนของเหลว เชน ปสสาวะ สารคัดหล่ัง (Secretion) ของคนไข ทานเทลงในโถสวม แลวราดน้ําตามใหโถสะอาด

19 ทานกําจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผาติดเชื้อที่ถูกวิธี

20 ทานมีวิธีการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อดวยวิธีอ่ืนๆ ที่ไมทําใหมูลฝอยติดเชื้อตกคางที่ศูนยสุขภาพชุมชน

ตอนที่ 4 การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อ

คําชี้แจง โปรดทําเครื่องหมาย √ ในชองที่ตรงกับการรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคจากมูลฝอยติดเชื้อของทานที่ตรงกับความเปนจริงมากที่สุดเพียงคําตอบเดียว และขอความกรุณาโปรดตอบทุกขอ ข อ ที่

การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค

เห็น

ดวยอยางยิ่ง

เห็นดวย

ไมแน ใจ

ไมเห็นดวย

ไมเห็นดวย

อยางยิ่ง

1 ทานมีโอกาสติดเชื้อโรคจากการใหบริการผูปวยตลอดเวลา เพราะอาจมี ผู รับบริการที่ปวยเปนโรคติดตอรายแรง โดยที่ทานไมทราบ

2 การที่ทานตองปฏิบัติงานที่เกี่ยวของกับมูลฝอยติดเชื้อ ทําใหมีความเสี่ยงตอการติดเชื้อโรคมากกวาการปฏิบัติงานโดยทั่ว ๆ ไป

3 การเก็บ ขน และกําจัดมูลฝอยติดเชื้ ออย างไมระมัดระวังอาจทําใหทานไดรับเชื้อโรคตาง ๆ จากมูลฝอยติดเชื้อเหลานั้นได

Page 153: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

141

ข อที่

การรับรูโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค

เห็น

ดวยอยาง ยิ่ง

เห็นดวย

ไม แน ใจ

ไมเห็นดวย

ไมเห็นดวย

อยางยิ่ง

4 ควรเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อทุกวัน เพื่อลดการหมักหมมของเชื้อโรค และปองกันไมใหเชื้อโรคเจริญเติบโต

5 ถาไมมีการแยกทิ้งมูลฝอยติดเชื้อและมูลฝอยทั่วไป ออกจากกัน อาจทําใหทานและคนอื่น ๆ มีโอกาสติดเชื้อโรคจากมูลฝอยได

6 หากทานทิ้งมูลฝอยติดเชื้อลงในถังมูลฝอยทั่วไปของชุมชน อาจทําใหประชาชนในชุมชนนั้น ปวยเปนโรคติดเชื้อตางๆ ได

7 หากหยิบจับมูลฝอยติดเชื้อ โดยไมใสถุงมือ ทานอาจติดเชื้อโรคจากมูลฝอยเหลานั้นได

8 ผูที่ทําการเก็บ ขนมูลฝอยติดเชื้อ ไมจําเปนตองใชอุปกรณปองกันสวนบุคคล ทุกครั้งเสมอไป ถาหากมีมูลฝอยติดเชื้อจํานวนนอย

9 ทานอาจไดรับเชื้อโรคจากมูลฝอยติดเชื้อได ถึงแมวาจะทําความสะอาดรางกายทุกครั้ง หลังจากเก็บ ขนมูลฝอยติดเชื้อ

10 แมจะมีการปองกันอุบัติเหตุจากของมีคมติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน ก็ไมอาจทําใหทานมีปลอดภัยจากการติดเชื้อโรครายแรงได

Page 154: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

142

ตอนที่ 5 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข คําชี้แจง โปรดอานและพิจารณาขอความเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ แตละขออยางละเอียด และพิจารณาวา ทานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของทานมากนอยเพียงใด แลวทําเครื่องหมาย √ ลงในชองที่ตรงกับระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เพียงคําตอบเดียว และขอความกรุณาโปรดตอบทุกขอ

ระดับความคดิเห็นของการจงูใจในการปฏิบัติงาน

ขอที่

รายละเอียด เห็นดวยอยางยิ่ง

เห็นดวย

ไมแน ใจ

ไมเห็นดวย

ไมเห็นดวย

อยางยิ่ง

1 ทานคิดวาอัตราเงินเดือนที่ทานไดรับขณะนี้ เหมาะสมกับความรู ความสามารถของทาน

2 ทานคิดวา ทางราชการไดใหสวัสดิการอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือน เชน คารักษาพยาบาล คาการศึกษาบุตร เงินโบนัส คาตอบแทนลวงเวลา อยางเพียงพอ

3 ทานคิดวาการเลื่อนเงินเดือนเปนกรณีพิเศษ ของหนวยงานเปนไปดวยความยุติธรรม

4 สภาพแวดลอมในหนวยงานของทาน เชน ความเปนสัดสวน แสงสวาง อุณหภูมิ ความสะอาดสวยงาม การถายเทอากาศ อยูในสภาพที่สงเสริมใหทานอยากปฏิบัติงาน

5 หนวยงานของท าน มี เครื่ องมือและอุปกรณในการปฏิบัติงานอยางเพียงพอและเหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัต ิ

6 ทุกคนในหนวยงานตางใหความรวมมือในการปฏิบัติงานเปนทีม เปนอยางดี

7 ทานพอใจที่จะทํางานตามลําพังมากกวาที่จะรวมงานกับผูอ่ืนเปนทีม

8 เมื่อมีปญหาเดือดรอนเรื่องสวนตัว ทานได รับความชวยเหลือจากเพื่อนรวมงานเปนอยางดี

Page 155: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

143

ระดับความคดิเห็นของการจงูใจในการปฏิบัติงาน

ขอที่

รายละเอียด เห็นดวยอยางยิ่ง

เห็นดวย

ไมแน ใจ

ไมเห็นดวย

ไมเห็นดวย

อยางยิ่ง

9 เมื่อมีความขัดแยงในการปฏิบัติงาน สมาชิกในหนวยงานสามารถปรับความเขาใจกันได

10 เมื่อทานมีปญหาในการปฏิบัติงาน ทานไดรับการชวยเหลือและคําแนะนําในการแกปญหาจากผูบังคับบัญชาเปนอยางดี

11 ทานสามารถปรับตัวเขากับเพื่อนรวมงานไดดี

12 ทานรูสึกภูมิใจ เมื่อปฏิบัติงานในหนวยงานไดตามเปาหมายและวัตถุประสงค

13 ผู บั ง คั บบัญช าและผู ร ว ม ง าน เ ห็ น ว าท าน เป น ผู มีความสามารถในการปฏิบัติงาน

14 ผลงานของทานไดรับการยอมรับและยกยองจากเพื่อนรวมงานและผูบังคับบัญชา

15 ทานมีสวนรวมในการเสนอความคิดเห็นในการปฏิบัติงานในหนวยงานและชวยแกปญหา

ปญหาและขอเสนอแนะ ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในศูนยสุขภาพชุมชน

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ขอขอบคุณ .....จากผูศึกษา

Page 156: ป จจัยที่ส งผลต อประส ิทธิภาพการจ ัดการม ูลฝอยต ดเชิื้อขอ ...library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19648.pdf ·

ประวัติผูเขียน

ชื่อ – นามสกลุ นายวิรัตน แกวบุญช ู ประวัติการศึกษา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปที่สําเร็จการศึกษา พ.ศ.2534 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและ

ความปลอดภยั) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปที่สําเร็จการศึกษา พ.ศ.2538 ประสบการณการทํางาน พ.ศ. 2531 – 2538 เจาพนกังานสาธารณสุขชุมชน สํานักงานสาธารณสุขอําเภอสะเดา สํานักงานสาธารณสุขจังหวดัสงขลา พ.ศ. 2538 – 2540 นักวิชาการสุขาภิบาล โรงพยาบาลบอพลอย จังหวดักาญจนบุรี สํานักงานสาธารณสุขจังหวดักาญจนบุรี

พ.ศ. 2540 - ปจจุบัน นักวิชาการสาธารณสุข สํานักงานสาธารณสุขจังหวดักาญจนบุรี อําเภอเมือง จงัหวัดกาญจนบุรี