โดย นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา · ง k 44001212 :...

77
ปรากฏการณของแสงและเงา โดย นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาจิตรกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2546 ISBN 974-464-015-4 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Upload: others

Post on 06-Nov-2019

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

ปรากฏการณของแสงและเงา

โดย

นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา

วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลกัสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาจิตรกรรม

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2546

ISBN 974-464-015-4 ลิขสิทธ์ิของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

PHENOMENON OF LIGHT AND SHADE

By

Penkae Pengya

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree MASTER OF FINE ARTS

Department of Painting Graduate School

SILPAKORN UNIVERSITY 2003

ISBN 974-464-015-4

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใหวิทยานิพนธเรื่อง “ปรากฏการณของแสงและเงา” เสนอโดย นางสาวเพ็ญแข เพ็งยา เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม

……………………………………………. (ผูชวยศาสตราจารย ดร.จิราวรรณ คงคลาย)

คณบดีบัณฑติวิทยาลัย วนัที่………เดอืน……………….พ.ศ…………...

ผูควบคุมวิทยานิพนธ

1. อาจารยอํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ 2. รองศาสตราจารย อิทธิพล ตั้งโฉลก

คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ …………………………………..ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย วิโชค มุกดามณ ี) ………../……………../…………………….. ……………………………………กรรมการ ...…………………………….กรรมการ (อาจารยอํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ) (รองศาสตราจารย อิทธิพล ตั้งโฉลก) …………/………………/……………. …………/………………/……………. ……………………………………กรรมการ ...…………………………….กรรมการ (อาจารยพิชิต ตั้งเจริญ) (อาจารยนาวนิ เบยีดกลาง) …………/………………/……………. …………/………………/…………….

K 44001212 : สาขาวิชาจิตรกรรม คําสําคัญ : ความงดงามของปรากฏการณของแสงอันปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่ง และมิไดดํารงอยู จริง อีกทั้งมิสามารถจับตองได เพ็ญแข เพ็งยา : ปรากฏการณของแสงและเงา (PHENOMENON OF LIGHT AND SHADE) อาจารยผูควบคุมวิทยานิพนธ :อาจารยอํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ และ รองศาสตราจารย อิทธิพล ตั้งโฉลก. 67 หนา. ISBN 974-464-015-4 ปรากฏการณของแสงกอใหเกิดเงาและการรับรูภาพความงามตางๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวินาทีของชีวิต กอใหเกิดความแปรเปลี่ยนของสภาวะจิตใจ อารมณ ความรูสึก จินตนาการ ส่ิงตางๆ ที่เรามองเห็น รูสึก รับรูวาสวยงาม เปนสิ่งนั้นสิ่งนี้นั้น แทจริงเปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏขึ้นและดํารงอยูชั่วขณะหนึ่งเทานั้น มิไดมีส่ิงใดอันปรากฏขึ้นและดํารงอยูอยางถาวรเลย เอกสารประกอบวิทยานิพนธชุดนี้ไดรวบรวมเนื้อหาและกระบวนการสรางสรรค ผลงาน รวมไปถึงขอมูลตางๆ ในการสรางสรรคผลงานศิลปะ ภายใตแนวความคิดวาดวยการไมดํารงสถาพรของสรรพสิ่ง เนื่องดวยส่ิงทั้งปวงที่มองเห็นลวนเปนปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่งเทานั้น แลวก็ดับสูญไปมิอาจสัมผัส จับตอง ยึดเหนี่ยวเอามาเปนของเราได เนื่องจากทั้งปวงลวนเปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาเทานั้น โดยนําแนวความคิดดังกลาวมาสรางสรรคเปนผลงานศิลปะโดยใชส่ือ คือ แสง และวัตถุบางชนิด เปนสวนประกอบในการ สรางงาน ผลงานศิลปะในชุดนี้มีลักษณะเปนศิลปะประเภทสื่อประสม มีการใชแสงและมีการจัดเงาประกอบเขาไปอยูรวมกันภายในพื้นที่เฉพาะ คือเปนหองที่วางเปลา แตขาพเจาเขาไปกระทําและ จัดการกับพื้นที่อันวางเปลา ภายในหองที่ติดตั้งผลงานเหลานั้นดวยกระบวนการสรางสรรคศิลปะของขาพเจาโดยเทคนิควิธีการเฉพาะตนตามแนวความคิดดังกลาวเบื้องตน ______________________________________________________________________________ ภาควิชาจติรกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2546 ลายมือช่ือนักศึกษา……………………………… ลายมือช่ืออาจารยผูควบคุมวทิยานิพนธ 1. …………………..……… 2. …………………………

K 44001212 : MAJOR : PAINTING KEYWORD : AESTHETICS OF PHENOMENA OF LIGHT EXISTING IN A MOMENT AND NOT EXISTING AND INTANGIBLE. PENKAE PENGYA : PHENOMENON OF LIGHT AND SHADE. THESIS ADVISORS : AMRIT CHUSUWAN AND ASSO. PROF. ITTHIPHOL TUNGCHALOK .67 PP. ISBN 974-464-015-4 The phenomenon of light that causes the shade and acknowledgement of beauty in various pictures which occurs at every moment of life and gives rise to the changing in the state of mind, emotion, feeling and imagination. Many different things that we see, feel and acknowledge to be beautiful, to be this and that, is in fact only the phenomenon of light and shade that appear and stay for a temporal moment, nothing appears and lasts forever. The documents supplemented this thesis constitute the content and process of work piece creation as well as various information in making the work of arts under the concept of impermanence of all things. Because everything we see is merely the phenomenon of light and shade that appears for a moment then vanishes away, nothing can be touched or held to be ours as it is only the phenomenon of light and shade. Such concept is brought to use for creating the arts work pieces through the application of media consisted of light and some objects for supplementing the construction of the work. This set of arts work pieces characterizes the compound media of arts. The light is used and supplemented with shadow arrangement to put together within a suitable area in particular. It is an empty room that I enter to make and operate within an empty area. The room is installed with those arts work pieces from the process of my arts creation through the uniqueness of my own technique along the concept as mention earlier. _________________________________________________________________________________________________ Department of Painting Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2003 Student’s signature…………………………………… Thesis Advisors’ signature 1. ……………………………..… 2. ………………………………

กิตติกรรมประกาศ นายเกยีรติศักดิ์ เพ็งยา นางประพาฬ เพ็งยา นางสาวอาภารัตน เพ็งยา เด็กชายภูมิ เพ็งยา ผูเปนที่รัก และเปนกําลังสําคัญของใจในการกระทําส่ิงทั้งปวงในชวีิต คณาจารยโรงเรียนไทยธัญญา จังหวดัสุโขทัย คณาจารยโรงเรียนอนุบาลวดัปรินายก คณาจารยโรงเรียนสาธิตสวนสุนันทา คณาจารยคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูส่ังสอน อบรม ถายทอด ความรู ศิลป วิทยาการ ตั้งแตอดตีจนถึงปจจุบนั อนึ่ง ความกาวหนา ความสําเร็จ รวมไปถึงกุศลกรรมอันดีทั้งปวงในชีวิตของขาพเจา อันบังเกิดมีขึ้นไดจากความสําคัญของทานทั้งหลาย จงเปนปจจัยสงใหทานผูเปนที่รักและเคารพของขาพเจาทั้งหลาย พลันบังเกิดความสุข ความเจริญขึ้นโดยฉับพลันในปจจุบันโดยถวนทั่วกัน

คํานํา เอกสารฉบับนี้เปนเอกสารประกอบผลงานวิทยานิพนธ สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ ปการศึกษา 2546 ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวขอเรื่อง “ปรากฏการณของแสงและเงา” (PHENOMENON OF LIGHT AND SHADE) เพื่อเปนสวนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาศิลปมหาบัณฑิต ซ่ึงเปนการประมวลขั้นตอนในการสรางสรรคผลงานวิทยานิพนธ นับตั้งแต ความเปนมา แนวความคิด แรงบันดาลใจ เทคนิควิธีการ วิธีการนําเสนอผลงานวิทยานิพนธ รวมไปถึงการสรุปแนวความคิดและการพัฒนาผลงาน ขาพเจาหวังวาเอกสารประกอบการทําวิทยานิพนธฉบับนี้จะเปนประโยชนตอผูที่สนใจจะศึกษา คนควา เพื่อเปนแนวทางในการพัฒนาและสรางสรรคผลงานศิลปะสืบไป

สารบัญ หนา บทคัดยอภาษาไทย…………………………………………………………………………. ง บทคัดยอภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………… จ กิตติกรรมประกาศ………………………………………………………………………….. ฉ คํานํา………………………………………………………………………………………... ช สารบัญภาพ………………………………………………………………………………… ญ บทท่ี

1 บทนํา……………………………………………………………………………….. 1 ความเปนมาและความสําคญัของเรื่องที่นํามาสรางสรรค………………………… 1 ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการสรางสรรค……………………………… 2 สมมติฐานของการสรางสรรค……………………………………………………. 2 ขอบเขตของการสรางสรรค………………………………………………………. 3 ขั้นตอนและวิธีการสรางสรรค……………………………………………………. 3 2 ขอมูลเกี่ยวกับการสรางสรรค………………………………………………………. 4 อิทธิพลที่ไดรับจากศาสนา……………………………………………………….. 4 อิทธิพลที่ไดรับจากธรรมชาติ…………………………………………………….. 5 อิทธิพลที่ไดรับจากสิ่งแวดลอม…………………………………………………... 6 3 ขั้นตอนและกระบวนการสรางสรรค……………………………………………….. 8 วิธีการในการสรางสรรค…………………………………………………………. 8 การหาขอมลู…………………………………………………………………….. 8 รูปแบบการสรางสรรค………………………………………………………….. 8

4 บทวิเคราะห………………………………………………………………………… 13 บทวิเคราะหแนวความคดิ ที่มา เนื้อหา เทคนิควิธีการในการสรางสรรค

ผลงานศิลปะของขาพเจาที่ผานมา……………………………………………..

14 บทวิเคราะหผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา”…………………… 19 5 การพัฒนาผลงานและการสรางสรรค………………………………………………. 23 การสรางสรรคผลงานชวงตน ระยะที่ 1………………………………………….. 23 การสรางสรรคผลงานชวงตน ระยะที่ 2………………………………………….. 23 การสรางสรรคผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ…………………………………. 24

บทท่ี หนา การสรางสรรคผลงานวิทยานิพนธ………………………………………………. 24 เนื้อหา………………………………………………………………………… 24 รูปแบบ……………………………………………………………………….. 24 เทคนิควธีิการ…………………………………………………………………. 24

6 สรุปผลการสรางสรรคและขอเสนอแนะ…………………………………………… 26 ชื่อผลงานและรายละเอียดวิทยานิพนธ……………………………………………………... 64 บรรณานุกรม……………………………………………………………………………….. 65 ประวัติผูวจิัย………………………………………………………………………………… 66

สารบัญภาพ ภาพที ่ หนา 1-15 ภาพขอมูล…………………………………………………………………………... 28

16-30 ภาพขอมูล…………………………………………………………………………... 29 31-45 ภาพขอมูล…………………………………………………………………………... 30

46 ภาพแสดงตวัอยางภาพราง (Sketch)………………………………………………... 31 47-49 ภาพแสดงตวัอยางวัสดุชนดิตางๆ…………………………………………………... 32

50 ภาพแสดงตวัอยางอุปกรณและเครื่องมือตางๆ……………………………………… 33 51 ภาพแสดงตวัอยางสถานที่ติดตั้งผลงาน…………………………………………….. 34 52 ภาพแสดงตวัอยางอัตราการขยาย 1 : 100 ของผลงาน………………………………. 35

53-54 ภาพแสดงตวัอยางผลงานชุดกอนวิทยานพินธระดับปรญิญาตรี……………………. 36 55-58 ภาพแสดงตวัอยางผลงานชุด "โลกของพลังงาน"…………………………………... 37 59-63 ภาพแสดงตวัอยางผลงานชดุ "ไมมีส่ิงใด"………………………………………….. 38

64 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 1………………………………………………………… 39 65 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 1………………………………………………………… 40 66 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 1………………………………………………………… 41

67-68 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 1………………………………………………………… 42 69-71 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 1………………………………………………………… 43 72-73 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 1………………………………………………………… 44

74 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 45 75 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 46

76-78 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 47 79-81 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 48

82 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 49 83 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 50 84 ภาพผลงานชวงตนระยะที่ 2………………………………………………………… 51 85 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 52 86 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 53 87 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 54 88 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 55

ภาพที ่ หนา 89 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 56 90 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 57 91 ภาพผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ………………………………………………. 58 92 ภาพผลงานวิทยานิพนธ ชิ้นที่ 1…………………………………………………….. 59 93 ภาพผลงานวิทยานิพนธ ชิ้นที่ 2…………………………………………………….. 60 94 ภาพผลงานวิทยานิพนธ ชิ้นที่ 3…………………………………………………….. 61 95 ภาพผลงานวิทยานิพนธ ชิ้นที่ 4…………………………………………………….. 62 96 ภาพผลงานวิทยานิพนธ ชิ้นที่ 5…………………………………………………….. 63

บทที่ 1

บทนํา

แสง เปนปรากฏการณทางธรรมชาติของระบบสุริยจักรวาล โดยมีดวงอาทิตยเปน ศูนยกลาง เปนแหลงพลังงานใหญในการเปนตนกําเนิดแสง และแผกระจายรังสีไปทั่วทั้งจักรวาล ยาวนานนับลานป การแผรังสีของดวงอาทิตยมายังโลกนั้น มีทั้งในรูปแบบของ

- พลังงานแสง- พลังงานแมเหล็กไฟฟา- พลังงานความรอน

ปรากฏการณอันวาดวยแสงนั้นกอใหเกิดการมองเห็น และรับรูส่ิงตางๆ นํามาซึ่งรูปแบบและกระบวนการสรางสรรคส่ิงตางๆ อันเปนวิวัฒนาการของชีวิตมนุษยและสัตว นับตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน

ความงดงามของทุกบรรยากาศอันเปนปรากฏการณทางธรรมชาติที่ เกิดจากแสง นั้นมีความสวยงาม มหัศจรรย ตื่นตาตื่นใจ ปลุกเราความรูสึกตางๆ ของมนุษยอยางนาพิศวง ปรากฏการณของแสงกอใหเกิดความรูสึกตางๆ นับรอยนับพันประการ ตลอดชั่วอายุขัย มนุษยอยูใตผืนฟา อยูภายใตปรากฏการณของความแปรเปลี่ยนทั้งปวงในธรรมชาติ เปนผูรับในทุกสถานการณของความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นมนุษยจึงเปนผูรับเอาอารมณ ความรูสึก ที่เกิดขึ้นจากการมองเห็น สัมผัส รับรูดวยอายตนะทั้งปวงอยางไมสามารถหลีกเลี่ยงได การยึดหนวงเอาอารมณที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของแสง-ปรากฏการณทางธรรมชาติของสิ่งแวดลอมนั้นจึงบังเกิดขึ้น

ปรากฏการณของแสงกอใหเกิดเงา และการรับรูภาพความงามตางๆ ที่เกิดขึ้นในทุกวินาทีของชีวิต กอใหเกิดความแปรเปลี่ยนของสภาวะจิตใจ อารมณ ความรูสึก จินตนาการ ส่ิงตางๆ ที่เรามองเห็น รูสึก รับรูวาสวยงามเปนสิ่งนั้นสิ่งนี้นั้น แทจริงเปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏขึ้นและดํารงอยูช่ัวขณะหนึ่งเทานั้น มิไดมีส่ิงใดอันปรากฏขึ้นและดํารงอยูอยางถาวรเลย

ความเปนมาและความสําคัญของเรื่องที่นํามาสรางสรรค

ทามกลางการดําเนินไปของโลกในทุกๆ วัน ขาพเจามีมุมมุมหนึ่งในการมองเพื่อผอนคลายเรียนรูและเขาใจในโลก มุมมุมนั้นอยูในดวงตาของขาพเจาเอง มุมอันเชื่อมโยงระหวางดวงตา สมอง และจิตใจ ขาพเจามีความพอใจชอบพอไปในการมอง ภาพปรากฏการณของธรรมชาติเปนอยางมาก โดยความสนใจดังกลาวนี้เปนมาตั้งแตวัยเยาวจนกระทั่งถึงปจจุบันจนทําใหเกิดการเรียนรู

1

2

วา ความงดงามในธรรมชาติที่เรามองเห็นเกิดขึ้นจากปรากฏการณของแสง อันปรากฏเปลี่ยนแปลงและสะทอนเขาสูสายตา ทําใหเรารับรูและรูสึกถึงรูปความงามเหลานั้น ความเปลี่ยนแปลงของแสงสงผลใหการมองเห็น และ อารมณความรูสึกตอรูปตางๆ เปลี่ยน ส่ิงที่เรามองเห็น รับรู วาสวยงามเปนสิ่งนั้นสิ่งนี้นั้น เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏและนําการรับรูมาสูสายตาชั่วขณะหนึ่งเทานั้น

- แสงที่ปรากฏสูสายตา กอใหเกิดเงาและการมองเห็นรูปความจริงทางวิทยาศาสตร- แสงที่เปลี่ยนแปลง กอใหเกิดอารมณความรูสึกรับรูเปลี่ยน- แสงไมคงอยูอยางถาวร และไมสามารถจับตองไดจากการเรียนรูขอเท็จจริงเหลานี้ ทําใหขาพเจาเกิดความเขาใจในความเปลี่ยนแปลงของ

ธรรมชาติ อันนํามาสูการเรียนรูและความเขาใจในความไมมีส่ิงใด กลาวคือแมกระทั่งในความ สวยงามของธรรมชาติอันสูงสงและยิ่งใหญ ซ่ึงใหอิทธิพลตอความรูสึกของมนุษยทั้งหลายก็มิได คงรูปมีความผันแปรเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา ความสวยงามที่เรามองเห็นอยูก็เปนเพียงภาพสมมุติอันปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่งเทานั้น แมกระทั่งส่ิงที่สวยงาม – ยิ่งใหญก็มิไดคงอยูอยางถาวรและมีอยูจริง

ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการสรางสรรค

จากแนวความคิดดังกลาวขางตนจึงไดมีการคนหา “ส่ือ” ที่จะนํามาสรางสรรคผลงาน ดังกลาว ซ่ึงทั้งนี้ขาพเจาเลือกใช “ส่ือ” ที่สามารถสราง “แสง” ทางวิทยาศาสตรได เหตุผลใน การเลือกใชส่ือทางเทคโนโลยีชนิดนี้ เนื่องจากสามารถสรางภาพจากแสงทางวิทยาศาสตร ใหเกิดปรากฏการณที่สวยงาม กอใหเกิดอารมณความรูสึกพิเศษ ผอนคลายสามารถมีความเปลี่ยนแปลง รูปแบบและสถานะได อีกทั้งยังไมสามรถสัมผัส จับตอง หรือยึดเหนี่ยวส่ิงใดอันเกิดจากการมองเห็นภาพแสงตางๆ นั้นได เปรียบเชนเดียวกันกับเวลาที่เรามองดูปรากฏการณธรรมชาติตางๆ อันเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของแสง สวยงาม และไมสามารถจับตองได ทําไดเพียงแตบันทักไวในความทรงจําเชนกัน

สมมติฐานของการสรางสรรค

ในการสรางสรรคผลงานศิลปะของขาพเจา ตองการแสดงแนวความคิดดังกลาวขางตน กลาวคือ ความงดงามของปรากฏการณของแสงอันปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่ง และมิไดดํารงอยูจริง อีกทั้งมิสามารถจับตองได ขาพเจาจึงเลือกใชการฉายภาพของปรากฏการณของแสงใหปรากฏบนผนังภายในหองที่วางเปลา กลาวคือ เมื่อปดเครื่องมือที่ใหกําเนิดแสง หองทั้งหอง ผนัง พื้น เพดาน ก็

3

จะเปนเพียงผนัง พื้น เพดาน และหองที่วางเปลาซ่ึงตรงกันกับแนวความคิด “ความงามอันไมมีส่ิงใดปรากฏอยูจริง” ของขาพเจา โดยเทคนิควิธีการการสรางภาพบนผนังหองนั้นขาพเจาใชเครื่องกําเนิดแสงจากเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (Overhead Projector) และเครื่องฉายสไลด (Slide Projector) แผนพลาสติก แผนฟลม วัสดุตางชนิด ตางความหนาแนน โปรงแสง – ทึบแสง แผนกระจกสะทอนแสง รวมไปถึงเครื่องมือสะทอนแสงหลากหลายชนิด น้ํา – ลม ฯลฯ ซ่ึงเทคนิควิธีการ วัสดุ รูปแบบการนําเสนอทั้งหมดที่กลาวมานี้ลวนเปนกระบวนการในการสรางสรรคผลงานศิลปะของขาพเจาทั้งส้ิน

ขอบเขตของการสรางสรรค

ปจจุบันการศึกษาของขาพเจามุงเนนเฉพาะขบวนการสรางสรรคผลงานศิลปะดวยแสง โดยอาศัยพื้นฐานของความสนใจสวนตัว เนื้อหามุงเนนไปที่ปรากฏการณธรรมชาติ อันมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา งดงาม แตไมมีความแนนอนอะไรเลย การสรางสรรคผลงานศิลปะตามแนวความคิดสวนตัวดวยแสงวิทยาศาสตร คือจุดประสงคในการศึกษาของขาพเจาในขณะนี้

ขั้นตอนและวิธีการสรางสรรค

- รางภาพโครงสรางตามแนวความคิด- ทดลองเทคนิคการสรางภาพดวยเครื่องมือและวัสดุตางๆ- รวบรวมขอมูลโดยภาพถาย และรวบรวมความรูสึกอันเปนขอมูลในการสรางสรรค

จากสภาพแวดลอมจริง- ลงมือสรางสรรคผลงานตามโครงสราง และแนวความคิดจากการทดลองคนควาที่

ทําไว- วิเคราะห วิจารณ ทั้งโดยอาจารยผูควบคุมวิทยานิพนธ และโดยตนเอง แลวยอน

ขั้นตอนเริ่มจากขอหนึ่ง ในการสรางสรรคผลงานชิ้นตอไป

บทที่ 2

ขอมูลเกี่ยวกับการสรางสรรค

ความบันดาลใจและอิทธิพลท่ีไดรับ

ในกระบวนการสรางสรรคผลงานศิลปะของขาพเจา มีอิทธิพลทางความคิดและความบันดาลใจที่ไดรับหลักๆ 3 ประการ จําแนกไดดังนี้

1. อิทธิพลที่ไดรับจากศาสนา2. อิทธิพลที่ไดรับจากธรรมชาติ3. อิทธิพลที่ไดรับจากสิ่งแวดลอม

อิทธิพลท่ีไดรับจากศาสนา

เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุอะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตตะติ,

อนึ่งคําส่ังสอนของพระผูมีพระภาคเจานั้น,ยอมเปนไปในสาวกทั้งหลาย, สวนมาก,มีสวนคือการจําแนกอยางนี้วา

รูปง อะนิจจัง, รูปไมเที่ยง;เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไมเที่ยง;สัญญา อะนิจจา, สัญญาไมเที่ยง;สังขารา อะนิจจา, สังขารไมเที่ยง;วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไมเที่ยง;รูปง อะนัตตา, รูปไมใชตัวตน;เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไมใชตัวตน;สัญญา อะนัตตา, สัญญาไมใชตัวตน;สังขารา อะนัตตา, สังขารไมใชตัวตน;วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไมใชตัวตน;

4

5

สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไมเที่ยง;สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ, ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไมใชตัวตน

ดังนี้1

เมื่อขาพเจาสรางสรรคผลงานศิลปะ หลักธรรมคําสอนดังกลาวขางตนเปนพื้นฐานสําคัญของแนวความคิดในการสรางสรรคผลงานศิลปะของขาพเจา

อิทธิพลท่ีไดรับจากธรรมชาติ

แสงกอใหเกิดเงา แสงสีและสีสันของดวงอาทิตยกอใหเกิดภาพความงามของ ปรากฏการณทางธรรมชาติ ซ่ึงปรากฏสูสายตาตั้งแตวัยเยาวตลอดมา การจองมองผืนฟาที่มีความเปล่ียนแปลงตลอดเวลาทุกนาที เสนสี-สีสันอันนาพิศวงนับลานๆ สี ที่มีรูปแบบไมซํ้ากันในแตละวันตลอดชั่วชีวิตที่ผานมา

ทองฟาสีฟา สดใส เขม ขรึม ร้ิวเมฆบางๆ ลอยผานเปนละอองเหมือนสายลมในริ้ว ทะเลทราย

ทองฟาสีน้ําเงิน วางเปลา เงียบสงบ ดูกวางไกล โคงมนยิ่งกวาความโคงของ บรรยากาศโลก

ทองฟาสีสม สลับมวงคราม อันมีแสงแดดแทรกผานหมูเมฆอยางไรทิศทาง แตทวางดงามจับใจ

ทองฟาสีแดง เขมจัดดวยบรรยากาศสีสมยามพระอาทิตยอัสดงทองฟายามราตรี ที่บางคืนก็มีหมูดาวมากมาย เรียงรายอยูทั่วไปในอวกาศ หากแตวาบาง

คืนก็เงียบสงบ มีเพียงกอนเมฆบางเบา ลอยเคล่ือนผานพระจันทรอยางโดดเดี่ยวทองฟายามเชา แสงสีมวงคราม เขียวเหลือง ผสมผสานกับละอองแสงสีทองสาดสอง

กระจายของแสงอาทิตยที่คอยๆ จับที่เสนขอบฟารวมไปถึงภาพความงดงามและความเปลี่ยนแปลงของผืนน้ํา หวย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ

ทองทะเล มหาสมุทรภาพความงดงามและความเปลี่ยนแปลงของตนไม ใบหญา ดอกไม ใบไมที่ผลิดอก

ออกผล ผลัดใบ

1 มูลนิธิธรรมลีลา, บทสวดมนตทําวัตรแปล ฉบับธรรมลีลา (กรุงเทพฯ : โรงพิมพจุฬาลงกรณ

มหาวิทยาลัย, 2535), 21.

6

ภาพความงดงามและความเปลี่ยนแปลงของสายลมที่พัดพาและหมุนวน นําพาใหทุกสิ่งทุกอยางเปลี่ยนแปลง

ภาพความงดงามของความตางของแสงและเงาในแตละฤดูกาล ภาพปรากฏการณทางธรรมชาติอันงดงามเหลานี้ เปนปจจัยที่เราและกระตุนใหขาพเจาไดหยุดนิ่งสงบเสมอทุกครั้ง ที่มองเห็นและสัมผัส เปนความสนใจ เปนความประทับใจและเปนประสบการณที่ส่ังสมมาตลอดเมื่อถึงเวลาที่ขาพเจาสรางสรรคผลงานศิลปะ ส่ิงเหลานี้จึงเปนขอมูลจากประสบการณส่ังสมที่ขาพเจานํามาแสดงออกในผลงานศิลปะ อันมีรูปแบบที่อิงเนื่องมาจากปรากฏการณของแสงและเงาในธรรมชาติ

อิทธิพลท่ีไดรับจากสิ่งแวดลอม

ความซับซอนของสิ่งที่เรามองเห็น รับรู และรูสึก เปนภาพความจริงและความลวงที่ แฝงเรน ทับซอน อิงแอบ แสดงตัวโดยอาศัยความเกี่ยวเนื่องสัมพันธเปนอันหนึ่งอันเดียวกันอยางยากที่จะแยกออกจากกันได ดังในปรัชญาทางพุทธศาสนาที่วาดวยเร่ืองของ อัตตา-อนัตตา กลาวคือ ความมีตัวตน ถือเอาวาเปนตัวเปนตน เราเขา เปนคน สัตว ส่ิงของ และความไมใชตัวไมใชตน ไมใชคน สัตว ส่ิงของ เปนแตเพียงวาธาตุทั้งหลายมาประชุมรวมกันในชั่วขณะหนึ่ง แลวยอมแตกสลายดับไปตามกาลเวลา ทั้งนี้หากวาดวยปรัชญาทางศาสนาพุทธ ทุกสิ่งทุกอยางในโลกยอมเปนเชนนี้ อยูภายใตกฏเกณฑพื้นฐานอันเดียวกันนั่นเอง ดังตัวอยางเชน เมื่อเรามองไปยังตนไมตนหนึ่ง ภาพของตนไมที่ปรากฏสูสายตานั้น ลําตน สีสัน กิ่งกานสาขา บรรยากาศ ความรมเย็น น้ําหนัก ของแสงและเงา ความเขียวสดงดงามของใบที่แตกผลิ สายลมบางเบาที่พัดผานทําใหเกิดความเคลื่อนไหวในทุกกิ่งใบ ยอมสงผลใหเกิดการรับรู และรูสึกตามสถานะของภาพที่สายตามองเห็น นั่นคือ ภาพการปรากฏอยูของตนไมตนนั้น แตในขณะเดียวกัน ตนไมตนนั้นก็เปนเพียงการประชุมรวมตัวกันของธาตุตางๆ ซ่ึงดํารงรวมกันอยูไดโดยการหมุนเวียนพลังงานและยอมจะแตกสลายแยกออกจากกันในที่สุด มิไดดํารงอยูอยางยั่งยืนแตอยางใด ดังนี้จะเห็นไดวาการมีอยูและไมมีอยูของตนไมนั้นปรากฏทับซอนอยูในสภาวะเดียวกัน หากแตขึ้นอยูกับวาชั่วระยะเวลาใดที่เราจะสามารถมองเห็นดานใดชัดเจนกวาเทานั้น ถาตนไมยังคงเขียวสดใส การนึกถึงความไมมอียูจริงก็คงจะเปนเพียงดานบางเบา หากวันใดตนไมลมหายตายจากไปแลว ความไมมีอยูยอมปรากฏชัดเจนขึ้นมา การมีอยูของตนไมนี้ก็คงจะมีปรากฏเพียงในความทรงจําเทานั้น แทจริงไมมีส่ิงใดอันมีอยูจริงอยางถาวรเลย หากเมื่อใดที่เรายึดติดกับปรากฏการณของสิ่งทั้งหลายรอบๆ ตัวเรามากเกินไป ความทุกขอันเกิดจากการยึดติดเหลานั้นยอมมากขึ้นตามเปนทวีคูณ เนื่องจากสิ่งทั้งหลายที่เราหลงยึด หลงติดนั้น แทจริงมิไดมีส่ิงใดที่จะคงทนถาวรใหเราทานทั้งหลายยึดติดไดเลย

7

ดังนั้นเมื่อขาพเจาสรางสรรคผลงานศิลปะดวยอิทธิพลทางความคิดดังกลาวขางตน จึงเปนเสมือนการย้ําเตือนใหตนเองไดตระหนักถึงความไมมีอยูจริงของสิ่งทั้งปวง ตระหนักถึงความไมมีส่ิงใดอันควรจะยึดติดใหเปนภาระแตอยางใด และเพื่อเปนประโยคบอกเลาแกผูเขาชมผลงานศิลปะของขาพเจา “ไมมีส่ิงใดอันเปนและมีอยูจริงเลย เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่งเทานั้นเอง”

บทที่ 3

ขั้นตอนและกระบวนการสรางสรรค

จากแนวความคิดและอิทธิพลตางๆ ที่ไดรับ ขาพเจาตองการสรางสรรคผลงานศิลปะ โดยการสรางภาพปรากฏการณของแสงและเงาที่สวยงาม อันกอใหเกิดอารมณความรูสึกพิเศษ ผอนคลายสามารถมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและสถานะได อีกทั้งยังไมสามารถสัมผัส จับตองหรือยึดเหนี่ยวส่ิงใด อันเกิดจากการมองเห็นภาพนั้นได เปรียบเชนเดียวกันกับเวลาที่เรามองดูปรากฏการณธรรมชาติตางๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา สวยงามแตไมสามารถจับตองได และมิไดดํารงอยูจริง หากปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่งเทานั้น

วิธีการในการสรางสรรค

- เรียนรู จดจํา วิเคราะห ศึกษาปรากฏการณธรรมชาติตาง ๆ ที่เกิดขึ้นและประมวลเปนขอมูล เก็บไวโดยการบันทึก โดยความรูสึก และบันทึกเปนลายลักษณอักษร

- บันทึกขอมูลโดยภาพถาย และวาดเสนจากสถานที่จริง- กําหนดรูปแบบผลงาน รางภาพโครงสราง และแนวความคิดเนื้อหาที่ชัดเจน- ทําการทดลอง เทคนิควิธีการ รวมไปถึงทดลองวัสดุตางๆ- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ และสถานที่สําหรับติดตั้งผลงาน- ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการสรางสรรค

การหาขอมูล

จากการเดินทางไปยังสถานที่ตางๆ จากธรรมชาติปรากฏการณการเปลี่ยนแปลงของทองฟา ทะเล แมน้ํา ลําคลอง ตนไม ใบไม และปรากฏการณของแสงอันเกิดจากการตกกระทบ หักเหและสะทอนจากวัตถุตางๆ ทั้งลําแสงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และลําแสงที่เกิดขึ้นดวยเทคนิควิธีการตางๆ ทั้งนี้ขอมูลทั้งหลายของขาพเจามาจากประสบการณการสังเกต และการมองเห็นในทกุๆ วันของชีวิต

รูปแบบการสรางสรรค

ขาพเจาเลือกใช “แสง” เปน “ส่ือ” ในการสรางสรรคผลงานศิลปะของขาพเจา โดยการใชเครื่องมือสรางแสงทางวิทยาศาสตรประกอบกับวัสดุที่สรางสรรคขึ้นโดยเทคนิคตางๆ กัน นํามา

8

9

ประกอบกัน แลวฉายแสงผานไปยังผนัง พื้น เพดาน ของหองที่วางเปลาเพื่อกอใหเกิดภาพของแสงและเงาปรากฏอยูบนผนังหองมีลักษณะลวงตา แตไมสามารถจับตองได

1. รูปทรง (Form) เนื่องจากในปรากฏการณธรรมชาติจริง แสงมิไดปรากฏเปนรูปทรงใดๆ แตเราจะสามารถมองเห็นแสงไดจากการมองเห็นสีสันและเงา รวมไปถึงแสงสะทอนจากวัตถุเขาสูสายตา ดังนั้นในการเลือกใชรูปทรง ขาพเจาจึงใชรูปทรงทางธรรมชาติในการสรางภาพเงาใหปรากฏบนแสง เชน รูปทรงของกิ่งไม ใบไม ฯลฯ

2. เสน (Line) สําหรับเสนขอบเขตของรูปทรง มีลักษณะมองเห็นชัดเจนบางไมชัดเจนบาง คลายดั่งเวลาเรามองไปที่แสงเงาในธรรมชาติและมีการใชเสนประเปนเสนเชื่อมระหวางรูปทรงตางๆ และพื้นที่วาง

3. สี (Color) สีสันที่ขาพเจาเลือกใชแปรความรูสึกมาจากการไดสัมผัสสีสันของแสงจากปรากฏการณในธรรมชาติ จึงมีสีสันหลากหลายในหลายโทนสี ดังบรรยากาศของแสงที่ปรากฏในธรรมชาติ

4. น้ําหนัก (Tone) มีการจัดวางน้ําหนักของแสงและเงาตามหลักทฤษฎีขององคประกอบทางศิลปะ อันเกิดจากการจัดวางทิศทางของแสงและเงานั่นเอง

5. ท่ีวาง (Space) พื้นที่ในงานโดยสวนมากเปนพื้นที่วางเพื่อเปดโอกาสใหแสงได แสดงสถานะ และเรื่องราวอยางเต็มที่

6. พื้นผิว (Texture) มีการใชแสงสะทอนจากผิวน้ําที่เคลื่อนไหว เปนสวนหนึ่งของพื้นผิวภายในงาน กลาวคือเปนพื้นผิวที่เคล่ือนไหวอยูเสมอ ดั่งปรากฏการณการสะทอนแสงและเงาของผิวน้ํา

7. วัตถุ (Material) ทําจากแกว วัตถุทึบแสง โปรงแสง แผนพลาสติกใส-สี แผนอครีลิค

8. ภาชนะ สําหรับใสน้ํา เครื่องทําออกซิเจน สายยาง9. รูปทรง 3 มิติ สําหรับรองรับแสง10. อุปกรณ เชน กาว เทป กรรไกร ฯลฯในผลงานของขาพเจา ขาพเจาไดใชแสงเปนส่ือเพื่อแสดงออกถึงแนวความคิดที่ตองการ

นําเสนอ คือความไมมีส่ิงใดที่ดํารงอยูจริงอยางถาวร เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏอยูชวงเวลาหนึ่งเทานั้น ดังนั้นขาพเจาจึงเลือกใชแสงเปนสื่อแสดงเนื้อหาแนวความคิด ดังกลาวขางตน ทั้งนี้เนื่องจากแสงสามารถมองเห็นและดํารงอยูไดช่ัวขณะหนึ่ง แตไมสามารถ ยึดเหนี่ยว จับตองได ดังแนวความคิดไมมีส่ิงใดอันมีอยูจริง เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ขาพเจาตองการจะนําเสนอนั่นเอง

10

การทํางานในพื้นท่ีวาง ผลงานที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการฉายภาพของแสงและเงาไปยังพื้นที่วาง คือ ผนัง พื้น เพดาน ของสถานที่ที่ใชในการติดตั้งผลงานของขาพเจา ซ่ึงในการติดตั้งผลงานในแตละครั้งจะมีขอแมในพื้นที่แตกตางกัน ตามแตลักษณะของโครงสรางสถาปตยกรรมของพื้นที่นั้นๆ อนึ่ง ความตางของโครงสรางสถาปตยกรรมของพื้นที่ที่ขาพเจาใชในการติดตั้งผลงานนั้นจะสงผลตอขนาด รูปทรง และโครงสรางของผลงาน รวมไปถึงพื้นที่วางจริง (Space) ระหวางเครื่องประกอบกับวัสดุอุปกรณที่ใชในการสรางภาพผลงาน (Install) และภาพผลงาน (Picture) ที่ปรากฏ ทั้งนี้รวมไปถึงอัตราสวนในการขยายของผลงานและระยะของความคมชัด (Focus) ของผลงาน โดยทั่วไปตามปกติผลงานของขาพเจามีขนาดเริ่มตนที่ขนาดประมาณ 3.00 x 3.00 x 3.00 เมตรโดยอัตราเฉลี่ย ซ่ึงผลงานบางชิ้นมีขนาดเล็กกวาหรือใหญกวา ขึ้นอยูกับจุดประสงคในการแสดงออกและสถานที่ในการติดตั้งผลงาน

อนึ่ง อัตราสวนในการขยายภายในผลงานของขาพเจา โดยท่ัวไปมีขนาดประมาณ 1 : 100 กลาวคือ วัสดุตนแบบในการสรางภาพนั้นมีขนาดโดยประมาณ 30 x 30 x 30 เซนติเมตร แตสามารถสรางภาพขยายใหมีขนาดโดยประมาณได 300 x 300 x 300 เซนติเมตร สวนอุปกรณประกอบ เชน ถาดน้ํารูปทรงตางๆ จะถูกจัดวาง (Install) อยูภายในพื้นที่ของผลงาน โดยมีเหตุผลในการวางคือ ระยะความคมชัด (Focus) และขนาดของภาพสะทอนของแสงและเงาที่ปรากฏ โดยวัสดุที่จัดวาง (Install) ทั้งหมดนั้นจะนับรวมไปถึงเครื่องมือที่เปนตนกําเนิดแสง สายไฟ และอุปกรณตางๆ ดวย

การจัดวางอุปกรณตางๆ (Install) ภายในหองหรือสถานที่ที่ใชในการติดตั้งผลงาน ซ่ึงเปนพื้นที่วาง (Space) จริง กอใหเกิดระยะ ซ่ึงเมื่อผสมผสานรวมกับภาพผลงาน (Picture) บนพื้น ผนัง และเพดานนั้น ก็จะกอใหเกิดหวงของบรรยากาศของแสง-สี และแสงเงาภายในภาพมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะโครงสรางของภาพผลงานที่ปรากฏบนพื้น ผนัง และเพดานนั้น มีการใชพื้นที่วาง (Space) ภายในภาพผลงาน (Picture) เปนสวนมากเพื่อสรางหวงบรรยากาศของสภาะคลายบรรยากาศของที่วางจริง (Space) จากธรรมชาติ ผนวกกับแสง-สี-สีสันในจินตนาการและความตองการแสดงออก

ภาพรางผลงาน (Sketch) ในกรณีที่รางภาพผลงาน (Sketch) เพื่อตองการนําเสนอกอนที่จะเห็นสถานที่ติดตั้งผลงานจริงนั้น เมื่อถึงเวลาติดตั้งผลงานจริง ผลงานจะถูกปรับใหเขากับพื้นที่จริง (Space) ที่ใชในการติดตั้งผลงานชิ้นนั้นๆ ทั้งนี้ลักษณะของการวาง (Install) และภาพผลงานที่ปรากฏ (Picture) ก็จะยังคงใชเคาโครงของโครงสรางที่กอใหเกิดอารมณความรูสึกและเนื้อหาทางแนวความคิด ดังภาพรางผลงาน (Sketch) และสําหรับในกรณีที่เห็นสถานที่ติดตั้งผลงานกอนการ

11

รางภาพผลงานนั้น (Sketch) ขอแมของสถานที่ติดตั้งผลงาน รวมไปถึงโครงสรางทางสถาปตยกรรมจะถูกนํามาประมวลรวมกับเนื้อหาทางความรูสึกที่ตองการสื่อในขณะนั้น จนกลายมาเปนภาพรางผลงาน (Sketch) เพื่อนําไปติดตั้ง ขยาย ในที่สุด

อันเนื่องมาจากการทํางานโดยการใชพื้นที่ (Space) จริง ดังที่กลาวมาแลวขางตน ผนวกกับหัวขอในการทํางาน "ปรากฏการณของแสงและเงา" โดยหยิบยกเนื้อหาเรื่องราวทางธรรมชาติมาเปนตัวเชื่อมโยงนั้น หวงของบรรยากาศใหม ระยะและขนาดของบรรยากาศของแสง-สี และแสง-เงาที่เกิดขึ้น ทั้งจากวัสดุที่ถูกจัดวางประกอบ (Stall) เชน ถาดน้ํา สายยาง สายไฟ รวมไปถึงภาพผลงาน (Picture) ที่ปรากฏนั้น ลวนผนึกกําลังกันสงผลในการรับรูทางดานอารมณความรูสึก ความนึกคิดของผูชม ขณะยืนอยูทามกลางบรรยากาศของผลงาน ไมวาจะเปนการทิ้งพื้นที่วาง (Space) บนภาพผลงาน (Picture) ใหวางเปลา เพื่อใหผูชมไดรูสึกคลายๆ การมองเห็นภาพทิวทัศนในธรรมชาติ (Landscape) รวมไปถึงทองฟาและผืนน้ํา อันเนื่องมาจากความโลงกวางไกล กวางใหญไพศาลของธรรมชาติ การปลอยพื้นที่วาง (Space) ใหเปนหวงบรรยากาศของแสงสีภายในภาพผลงาน (Picture) จึงเปนเสมือนการชักนําอารมณของผูชมใหเขาไปสัมผัสกับความรูสึกที่ใกลเคียงกับความรูสึกที่ไดรับจากธรรมชาติ ประกอบกับลักษณะของเสนที่ใชภายในผลงานเปนลักษณะของเสนที่กอใหเกิดความลื่นไหล กวางไกลของที่วาง (Space) ภายในภาพผลงาน ภาพบรรยากาศแสงและเงาที่เกิดจากแสงสะทอนของผิวน้ําที่กําลังเคลื่อนไหว สงผลใหเกิดปรากฏการณของความเคลื่อนไหวของแสงสะทอนที่ลองลอยอยูในพื้นที่วาง (Space) ของภาพผลงาน

จากกําลังการขยายภาพผลงาน (Picture) จากวัสดุตนกําเนิดในอัตราสวน 1 : 100 รวมกับบรรยากาศของพื้นที่วางจริง (Space) ของหอง หรือสถานที่ที่ใชในการติดตั้งผลงาน ประกอบกับวัสดุตางๆ ที่นําเขามาประกอบติดตั้งภายในผลงาน (Install) และโดยเทคนิควิธีการของเครื่องมือทางเทคโนโลยีตางๆ ที่นํามาใชในการนําเสนอผลงาน สามารถทําใหวัสดุเล็กๆ ตางๆ ที่นํามาใชเปนตนแบบของแสงและเงาในผลงาน เมื่อถูกขยายใหใหญขึ้น 100 เทานั้น ไดแสดงผลโดยการสรางปรากฏการณ สรางมิติ ของบรรยากาศใหม จากบรรยากาศของพื้นที่วางของหองเดิม พื้นที่วาง (Space) ภายในของหอง รวมไปถึงพื้น เพดาน ผนัง และสวนประกอบตางๆ ของหองเดิมไดถูกทําลายลงและไดถูกเปลี่ยนใหเปนพื้นที่วาง (Space) ใหม มิติใหม บรรยากาศใหมของพื้นที่วาง (Space) แทนที่พื้นที่วาง (Space) เดิม อันจะกอใหเกิดความรูสึกใหมแกผูชมในการเขาไปในสถานที่ที่ติดตั้งผลงาน และจากองครวมของวิธีการนําเสนอทั้งปวง รวมไปถึงบรรยากาศและอัตรา การขยายขนาดใหญของผลงาน ซ่ึงภาพผลงานขนาดใหญของผลงานชุด "ปรากฏการณของแสงและเงา" นั้น ยอมจะสามารถแสดงกําลังและรายละเอียดของบรรยากาศของแสง-เงา-เสน-สี- รูปทรง-ที่วาง-พื้นผิว และภาพความเคลื่อนไหวตางๆ อยางเต็มที่ อันนาจะเปนปจจัยสงผลใหผูเขา

12

ชมผลงานไดรูสึกซึมซับรับรูอยางเต็มที่ สามารถสัมผัสบรรยากาศไดโดยการมองเห็นอยางเต็มตา คมชัด ละเอียดลออ และชัดเจน ซ่ึงการมองภาพที่มีขนาดใหญมีบรรยากาศที่งดงาม อีกทั้งยังสามารถมองเห็นไปถึงกระบวนการในการสรางภาพและแสดงผลงานภาพขนาดใหญนั้น ผูชมจะตองใชเวลาในการหยุดชม และพิจารณาบรรยากาศของสิ่งแวดลอมและองครวมตางๆ เมื่อเปนดังนี้การซึมซับภาพบรรยากาศของผลงาน "ปรากฏการณของแสงและเงา" จึงเกิดขึ้นอยางชาๆ และเปนไปตามธรรมชาติ อันจะเปนปจจัยอยางหนึ่งที่จะสงผลใหผูเขาชมไดรับอารมณความรูสึกและ เนื้อหา ดังแนวความคิดที่ตองการจะนําเสนอไปพรอมๆ กันอยางเปนธรรมชาติ ซ่ึงอาจจะนําไปสูจุดของความเขาใจใน "สาร" ที่ตองการจะ "ส่ือ" ในที่สุด

บทที่ 4

บทวิเคราะห

บทวิเคราะหแนวความคิด ที่มา เนื้อหา เทคนิควิธีการในการทํางานศิลปะของขาพเจาที่ผานมาและบทวิเคราะหผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” ตามปกติของบทวิเคราะหทั่วไปนั้นยอมจะสามารถวิเคราะห แจกแจง รวมไปถึงอาจจะสามารถแสดงความคิดเห็นชี้ชัดลงไปวาผลงานหรือส่ิงที่ถูกวิเคราะหนั้นมีขอดีและขอดอยอยางไร แตในที่นี้บทวิเคราะหผลงานชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” นั้น เปนบทวิเคราะหซ่ึงวิเคราะหโดยตัวศิลปนผูสรางผลงานเอง ดังนั้นในที่นี้ขาพเจาจึงขอไมบงชี้ขอดีหรือขอดอยในผลงานแตอยางใด คงจะปลอยใหเปนหนาที่ของผูวิจารณและผูชมในโอกาสตอไป

อยางไรก็ดี ในบทวิเคราะหผลงานชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” นี้จะเปนไปในทางวิเคราะหถึงความเปนมาเปนไป เหตุและผล ที่มาของกระบวนการทางแนวความคิด และวิธีการนําเสนอ เพื่อความเขาใจในความเปนมาและเนื้อหาในผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” ของขาพเจาอยางชัดเจนยิ่งขึ้น

เมื่อประมวลเนื้อหาและขอมูลตั้งแตบทที่ 1 ถึงบทที่ 3 แลว พอจะสามารถสรุปแนวความคิดในการสรางสรรคผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” ไดดังนี้

“ภาพความงดงามของสรรพสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้น ไมมีส่ิงใด อันเปนและมีอยูจริงเลย เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงา ที่ปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่งเทานั้น ไมมีส่ิงใด…”

ผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” นี้เปนผลงานที่ใชส่ือทางเทคโนโลยีผสมผสานกับวัตถุตางๆ รวมไปถึงวัสดุที่ใชมือประดิษฐขึ้นมา ผานกระบวนการตางๆ จนมาเปนเทคนิควิธีการเฉพาะในการนําเสนอผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา”

ถาจะกลาวถึงความเปนมาของผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” นั้น มีความจําเปนจะตองทาวความยอนกลับไปกลาวถึงผลงานศิลปะชุด “ไมมีส่ิงใด” และผลงาน ศิลปนิพนธชุด “โลกของพลังงาน” ในการศึกษาระดับปริญญาตรี อีกทั้งอาจจะตองมองยอนไปถึงพื้นฐานทางความคิด แนวความคิด ที่ตองการจะนําเสนอในผลงานชุดตางๆ ในอดีต รวมไปถึงกระบวนการพัฒนารูปแบบและเทคนิควิธีการในการนําเสนอวาทั้งหมดดังที่กลาวมาขางตนมีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ สงผลถึงกันอยางไร

13

14

ผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” เปนผลงานที่สรางขึ้นในชวงระหวางการศึกษาหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม ภาควิชาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใชเปนทั้งผลงานศิลปะสวนบุคคล และเปนทั้งหัวขอในการนําเสนอวิทยานิพนธ เพื่อจบการศึกษาในหลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต อนึ่งระยะเวลาการเริ่มตนของผลงานชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” นั้น ไดเร่ิมตนตั้งแตป พ.ศ. 2544 อยางไมเปนลายลักษณอักษร แตไดมีการสรางสรรคผลงาน เรียนรู ทดลอง ตลอดจนพัฒนารูปแบบและเทคนิควิธีการมาจนกระทั่งถึงปลายป พ.ศ. 2545 จึงมีการใชช่ือชุดผลงานวา “ปรากฏการณของแสงและเงา” อยางเปนลายลักษณอักษรตอมาจนกระทั่งถึงปจจุบัน (เมษายน พ.ศ. 2547)

บทวิเคราะหแนวความคิด ท่ีมา เนื้อหา เทคนิควิธีการ ในการทํางานศิลปะของขาพเจาท่ีผานมา

กลาวยอนไปถึงชวงระยะเวลาระหวางการศึกษาในระดับปริญญาตรีของขาพเจา (พ.ศ. 2536 – 2540) ในรุนแวดลอมของการศึกษาของขาพเจาในขณะนั้น เปนชวงที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบในการสรางสรรคศิลปะมากระทบอยูเนืองๆ ซ่ึงมาจากทั้งครูบาอาจารย ศิลปนหัวกาวหนา และศิลปะสมัยใหมจากสื่อตางๆ ผลงานศิลปะแบบศิลปากรนิยมในยุคกอนๆ รูปแบบและเนื้อหา รวมไปถึงวิธีการนําเสนอไดถูกนํามาพูดคุย ถกเถียง และเปนประเด็นในการ คนหาคําตอบของเหลานักศึกษาที่ตองการจะเปนศิลปนในอนาคตอยูหลายๆ กลุม หลายๆ ทานในขณะนั้น ดังนั้นในชวงระยะเวลาของการศึกษาในระยะตนของขาพเจาจึงเปรียบเสมือนกับการทดลอง คนควา คนหาคําตอบใหแกคําถามที่ตนเองไดตั้งไวในใจเสมอ มีการลองผิดลองถูก กาวไปขางหนา ถอยไปขางหลัง เพื่อจะพยายามหาคําตอบใหไดดั่งที่ใจตองการ ขาพเจาชอบในการทดลองใชวัสดุตางๆ (อันเปนนิสัยมาจากวัยเยาว ที่ขาพเจามีความตองการอยากเปนนักวิทยาศาสตร ผูคิดคนส่ิงตางๆ เปนอันมาก) มีการเปลี่ยนวัสดุและเทคนิควิธีการในการนําเสนอผลงานชิ้นตางๆ ตามกระบวนการทางการศึกษาอยางตอเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากขาพเจาคิดวาในเรื่องของทักษะ ฝมือ ความชํานาญในทางเชิงชางนั้นเปนสิ่งที่สามารถฝกฝนและพัฒนาได หากกระทําอยางตั้งใจ หมั่นแกไขในจุดบกพรองและทําอยางสม่ําเสมอ ซ่ึงขาพเจาไดพิสูจนมาแลว ดังนั้นขาพเจาจึงมุงสนใจในการหาคําตอบที่ขาพเจายังไมสามารถหาขอสรุปใหแกตนเองไดมากกวา

อันเนื่องมาจากความสนใจในปรัชญาและแนวทางปฏิบัติตามหลักของพุทธศาสนา ขาพเจาจึงมีความคิดอันเนื่องมาจากความเชื่ออยูลึกๆ วาขาพเจาตองการสรางสรรคผลงาน ที่จะสามารถเปนประโยคบอกเลาใหแกผูชมไดกระทบ สัมผัส รับรูถึงปรากฏการณ ความรูสึก ความเขาใจ ตามหลักของศาสนาพุทธ ดังที่ขาพเจาเชื่อถือและปฏิบัติตามมาโดยตลอด ซ่ึงทั้งนี้ขาพเจามิไดคาดหวังผลอันเลอเลิศวาจะตองมีผูบรรลุธรรมขั้นสูงใดๆ อันจะเกิดจากการชมผลงาน

15

ของขาพเจา เนื่องจากขาพเจาทราบดีวาการเขาถึงธรรมใดๆ ก็ตาม บุคคลผูนั้นจะตองเปนผูมีวัตรปฏิบัติอันสมควรแกธรรมที่จะเขาถึง หาไดเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม หากแตความคาดหวังของขาพเจาคือการที่ผลงานของขาพเจาสามารถทําใหผูชมหนึ่งในรอย หรือหนึ่งในพัน ฯลฯ ไดสามารถสัมผัส รับรู กระทบไปถึงความเขาใจในจิตถึงแนวความคิด ซ่ึงคือประโยคบอกเลาถึงปรัชญาทางพุทธศาสนาในผลงานของขาพเจา ซ่ึงทั้งนี้หากมีบุคคลแมเพียงบุคคลเดียวจากผูเขาชมผลงานของขาพเจาไดบังเกิดทัศนคติอันดี หรือบังเกิดความเขาใจ อันนํามาซึ่งความสงบ ลึกซึ้ง ปลอยวาง อันบังเกิดเนื่องจากประสบการณสวนตัวของบุคคลผูนั้น ผนวกกับไดรับการสัมผัสกระทบจากผลงานของขาพเจา ขาพเจาจะมีความยินดีและอนุโมทนาเปนอยางยิ่ง นี้คือความคาดหวังสูงสุดในการ สรางสรรคผลงานของขาพเจาในชีวิตชีวิตหนึ่ง แตโดยความเปนไปไดและความเปนจริงนั้น ความเขาใจและการรับรูของผูชมนั้นยอมขึ้นอยูกับประสบการณและความเขาใจในพื้นฐานของแตละบุคคล รสนิยมในการเลือกรับรู และความใสใจในสิ่งที่แตกตาง รวมไปถึงทัศนคติของแตละบุคคล ซ่ึงไมใชเร่ืองผิดหรือถูกแตอยางใด ทั้งนี้ขาพเจาก็มีความยินดีเชนกัน หากวาผูชมจะมองวิเคราะหและมีทัศนคติตอผลงานของขาพเจาในทิศทางใด รูปแบบใด ผูชมบางทานอาจจะสนใจในสวนของขอดี ขอเสีย เทคนิควิธีการ รูปแบบการนําเสนอ รวมไปถึงทัศนธาตุตางๆ ซ่ึงก็มิไดผิดแตอยางใด

อนึ่ง เนื้อหาของธรรมะปรัชญาทางพุทธศาสนานั้นเปนเรื่องลึกซ้ึง และโดยมากลวนเปนเร่ืองราวเกี่ยวกับนามธรรมทั้งส้ิน ดังนั้นความตองการที่จะสรางภาพของนามธรรมใหปรากฏเนื้อหาออกมาเปนรูปธรรมอยางชัดเจนตามเนื้อหาของปรัชญาทางพุทธศาสนานั้นจึงเปนโจทยที่อยูภายในใจลึกๆ ของขาพเจาเสมอมา และเปนโจทยที่ยากสําหรับขาพเจาในการคนหาคําตอบ รวมไปถึง ขอสรุปของทั้งแนวความคิดและวิธีการนําเสนอวาทําอยางไรจึงจะสามารถสรางสรรคผลงานใหออกมาแสดงเนื้อหาและความรูสึกในเรื่องที่ตองการได เพราะเรื่องราว เนื้อหาทางธรรมะนั้นเปนเร่ืองของความเขาใจซึ่งเปนเรื่องนามธรรมอันซับซอนลึกซึ้ง ถึงขนาดที่วามีตําราและหนังสือตางๆ มากมาย ตลอดจนมีพระสงฆผูปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สามารถจะเทศนาอบรมสั่งสอนประชาชน ทั้งหลายได ถึงกระนั้นธรรมะก็ยังเปนเรื่องยากในการที่จะเขาใจและเขาถึง แลวขาพเจาเองซึ่งเปนมนุษยผูสรางสรรคผลงานศิลปะ โดยภาษาของศิลปะนั้นอาศัยรับรูโดยความเขาใจ มิไดมีภาษาพูดใดๆ มาอธิบายจึงยิ่งนับเปนเรื่องยากสําหรับขาพเจาในการคนหาคําตอบใหโจทยที่ตนเองไดตั้งไว

ดังนั้นเมื่อโจทยสําหรับการสรางสรรคภายในใจลึกๆ ของขาพเจาเปนเชนนี้ ขาพเจาไดพยายามหาหนทางที่จะแสดงออก เมื่อเร่ิมศึกษาในระดับปริญญาตรีชวงปการศึกษาแรกๆ ขาพเจาพยายามสรางสรรคผลงานในระบบการศึกษาดวยพื้นฐานแนวความคิดนี้ควบคูไปกับการศึกษา ทดลอง เทคนิควิธีการของการใชวัสดุตางๆ ในการสรางสรรคผลงาน แตปญหาของขาพเจาก็คือ ภาษาของศิลปะในผลงานของขาพเจาไปไมถึงภาษาของชื่อผลงานและแนวความคิดที่ขาพเจา

16

ตองการแสดงออก เชน เมื่อขาพเจาใชช่ือผลงานวา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หากแตในตัวผลงานของขาพเจามีแตเพียงรูปแบบของสัญลักษณที่แทนคําทั้งสามคําดังกลาว แตมิไดแสดงผลกอใหเกิดความรูสึกหรือความเขาใจใดๆ ในความหมายของถอยคําดังกลาวขางตน ซ่ึงขาพเจารูสึกวาเปนความ ลมเหลวในการทํางาน คือไมสามารถแสดงเนื้อหาทางดานแนวความคิดไดอยางที่คาดหวังไว เมื่อเปนเชนนั้นขาพเจาจึงถอยหลังออกมาจากโจทยเดิม คือเก็บความตองการแสดงออกในแนวความคิดดังกลาวเอาไวในใจ แลวหยิบยกประเด็นเรื่องสิ่งที่มากระทบในชีวิตประจําวันตามปกติมาเปนโจทยในการทํางานแทน แตมุงความสนใจไปที่วิธีการใช วิธีการเลือก วิธีการจัดการกับวัสดุชนิดตางๆ รวมไปถึงเทคนิควิธีการและรูปแบบการนําเสนอผลงานในรูปแบบตางๆ แทน สวน แนวความคิดพื้นฐานเดิมก็เก็บไวในใจรอวันและเวลาที่จะสามารถหาวิธีการแสดงออกได ดังนั้น ผลงานในชวงการศึกษาระยะกลางในระดับปริญญาตรีของขาพเจาจึงมีเนื้อหาเปลี่ยนแปลงไปมา แตมีการทดลองใชวัสดุชนิดตางๆ เชน เหล็ก ไม ปูน ผา หนัง ฟองน้ํา ผาขนสัตว พลาสติก วัสดุสําเร็จรูป ฯลฯ ซ่ึงเปนการทดลองใชวัสดุกับการแกปญหาทางเทคนิควิธีการเพื่อใหเขากับเนื้อหาที่นําเสนอในผลงานชิ้นตางๆ

จนกระทั่งมาถึงผลงานชุดกอนวิทยานิพนธ ขาพเจาไดตระหนักวาหากขาพเจาตองการที่จะทํางานศิลปะตอไปในอนาคต ขาพเจาควรจะหันกลับเขามาหาเนื้อหาภายในแทๆ ที่ตนเองตองการจะนําเสนอเสียที ซ่ึงในครั้งนั้นทั้งผลงานชุดกอนวิทยานิพนธและผลงานชุดวิทยานิพนธช่ือ “โลกของพลังงาน” นั้น ขาพเจารูดีวาจากความรู ความสามารถ ความพรอมและขอแมตางๆ นั้นจะทําใหผลงานชุด “โลกของพลังงาน” ของขาพเจานั้นไมสมบูรณ ไมเปนไปอยางที่ใจคิดและปรารถนาใหสําเร็จแนนอน แตขาพเจาก็ไดคิดวาหากขาพเจาไมเร่ิมยอนกลับเขามาหาแนวความคิดเดิมแทที่ตนเองตองการจะนําเสนอตอสาธารณะตั้งแตวันนี้แลว เมื่อไรจะมีโอกาสดังนี้อีกเพราะ ไมทราบวาเมื่อจบการศึกษาไปแลวอีกเมื่อไรจึงจะมีโอกาสทํางานศิลปะอยางจริงจังอีก ดังนั้นขาพเจาจึงตัดสินใจทํางานชุด “โลกของพลังงาน” เพื่อเปนการสรางกาวแรกใหแกตนเองในการที่จะเปนบาทฐานในการทํางานศิลปะของขาพเจาตอไปในอนาคต และขาพเจาตระหนักดีถึงความจะไมสมบูรณ 100% ดั่งใจของผลงานที่จะเกิดขึ้น ดวยปญหาเดิมในการสรางสรรคดังที่ขาพเจาไดกลาวเอาไวขางตนและดวยขอแมตางๆ ที่มี หากแตขาพเจาก็ยอมรับในความไมสมบูรณตางๆ ที่จะเกิดขึ้น เนื่องดวยขาพเจามั่นใจวาขาพเจานาจะมีโอกาสที่จะมีกาวที่สอง และกาวที่สามตามมาในอนาคต บนแนวความคิดพื้นฐานเดิมอันจะตองมีการปรับปรุงแกไขใหดีขึ้นอยางแนนอน

ผลงานชุดกอนวิทยานิพนธในระดับปริญญาตรี มีแนวความคิดและเนื้อหาดังนี้ โลกนี้คือโลกของพลังงาน ซ่ึงมีสถานะเปนทั้งอนุภาคและคลื่นแทรกอยูทั่วไปทุกที่ในวัตถุ คน สัตว ส่ิงของ ลวนคือพลังงานอนุภาคและคลื่นที่สัมพันธกัน ในผลงานชุดนี้ขาพเจาเลือกใชพลังงานแสง

17

โดยใชเทคนิควิธีการตามหลักการทฤษฎีการสะทอนและการรวมของแสง ตามกฏที่วาดวยแสงในวิชาฟสิกส สรางใหปรากฏเปนรูปทรงในผลงานเพื่อแสดงความมีอยูของพลังงานภายในวัตถุใหสามารถมองเห็นไดเปนรูปธรรม ขาพเจาไดประสบปญหาคอนขางมากมายในการทํางาน ทั้งทางดานเทคนิคและวิธีการนําเสนอ ซ่ึงเดิมที่ขาพเจาตองการนําเสนอเรื่องราวของพลังงานแสงที่มีอยูในวัตถุเทานั้น หากแตเมื่อทํางานไปแลวจนถึงจุดที่ตั้งใจนั้น ขาพเจาเกิดความกลัววาผลงานจะขาดเร่ืองราว ขาดความหมาย ขาพเจาจึงนําเรื่องราวและความหมายประกอบอื่นๆ เขาไปประกอบใน ผลงาน ทําใหการนําเสนอในเรื่องแสงถูกลบเลือนไปดวยความเดนของเรื่องราวและสวนประกอบอ่ืนๆ ที่เขามาเสริมความงามใหมในทางองคประกอบ ซ่ึงขาพเจาตระหนักดีวาขาพเจามีความกังวลกับปญหาทางองคประกอบและความงามของผลงานชุดนี้มากเกินไป จนทําลายแนวความคิดเดิมในการนําเสนอผลงานชุดนี้ สําหรับเทคนิควิธีการในการนําเสนอในสวนของแสงในผลงานชุดนี้นั้น ขาพเจาไดใชวัสดุสําเร็จรูปเปนรูปทรงพลาสติกพาราโบลา เปนแมแบบในการทดลองทําซํ้าและขยายเปนผลงานชิ้นตางๆ โดยขาพเจาใชสูญญากาศดูดแผนพลาสติกใหเปนรูปทรงพาราโบลา แลวนําไปชุบโครเมี่ยมภายใน จากนั้นนําพลาสติกรูปทรงพาราโบราสองชิ้นมาประกบกัน โดยเจาะชองรับแสงเปนวงกลมไวที่ดานบนของรูปทรงหนึ่งดาน จากนั้นเมื่อขาพเจานําวัตถุช้ินเล็กๆ ไปวางไวที่ดานในตรงเสนผาศูนยกลางของรูปทรงพาราโบลา หรือตรงวงกลมดานบนของรูปทรงพาราโบลา จะปรากฏเปนภาพของแสงมีลักษณะเปนสามมิติ เหมือนกับรูปทรงชิ้นเล็กๆ ที่ขาพเจาไดวางไว ทั้งนี้รูปทรงตนแบบพาราโบลาที่ขาพเจานํามานั้นเปนสวนหนึ่งของของเลนทางวิทยาศาสตร เมื่อขาพเจาจัดการรูปทรงพาราโบลาเรียบรอยแลว ขาพเจาจึงสรางรูปทรงประกอบอื่นๆ อันไดแก ไม เหล็ก มอเตอร พลาสติก และสายไฟ เขามาประกอบกับรูปทรงพาราโบลาอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้ดวยขอแมที่วาขาพเจาศึกษาวิชาเอกประติมากรรม จึงมีความจําเปนในการตองสรางรูปทรงเหลานี้ขึ้นมา ดังนั้น “แสง” ซ่ึงเปนแนวความคิดหลักของขาพเจาในการสรางสรรคผลงานศิลปะชุดนี้ จึงถูกกลบไปดวยรูปทรงแวดลอมอื่นๆ ที่ขาพเจาไดสรางแวดลอมขึ้นมา

ผลงานศิลปนิพนธระดับปริญญาตรีชุด “โลกของพลังงาน” เปนผลงานที่มีเนื้อหาและแนวความคิดเกี่ยวกับการมีอยูจริงของสิ่งที่ไมสามารถมองเห็นหรือจับตองเปนรูปธรรมได และความสัมพันธของสิ่งที่มีอยูจริงและไมสามารถมองเห็นจับตองไดนั้น กับสิ่งแวดลอมตางๆ บนโลก กลาวคือ ความจริงพื้นฐานของโลกและสรรพสิ่งคือพลังงาน มีพลังงานและเปนพลังงาน ส่ิงตางๆ ที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงและเปนไปบนโลกคือเรื่องราวความสัมพันธของพลังงานอันไมรูจบไมส้ินสุด ไมวาจะเปนมนุษย พืช สัตว ส่ิงมีชีวิต ไมมีชีวิต วัตถุ อากาศ น้ํา ไฟ ลม ฯลฯ ลวนมีเร่ืองราวความสัมพันธของพลังงานทั้งส้ิน

18

“เมื่อส่ิงนี้เปลี่ยน สิ่งนั้นจึงเปลี่ยนเมื่อส่ิงนั้นเปลี่ยน ส่ิงนี้จึงเปลี่ยน”

พลังงานมีมากมายหลายชนิด ในผลงานชุด “โลกของพลังงาน” นั้น ขาพเจาไดเลือกใชพลังงานแมเหล็ก พลังงานแมเหล็กไฟฟา พลังงานแสง พลังงานความรอน ในการนําเสนอผลงานศิลปะของขาพเจา ดังนี้

1. แสดงความมีอยูของพลังงานในวัตถุดวยพลังงานแสง โดยใชรูปทรงพาราโบลา เพื่อรวมแสงและสะทอนแสงเหมือนดังผลงานกอนวิทยานิพนธ

2. แสดงความสัมพันธของพลังงานระหวางวัตถุกับวัตถุดวยพลังงานแมเหล็กและพลังงานแมเหล็กไฟฟา ในสวนของชิ้นพลังงานแมเหล็กใชแมเหล็กผลักใหวัตถุช้ินหนึ่งลอยอยูบนวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง โดยมีแกนพลาสติกตรงกลางเพื่อปองกันไมใหวัตถุช้ินบนกระเด็นออกไปนอกแรง แมเหล็ก และวัตถุทุกชิ้นที่ใชทําจากวัสดุตางชนิดกัน เชน ผาขนสัตว ผม พลาสติก และวัสดุสําเร็จรูปอื่นๆ ที่ประกอบขึ้นเปนรูปทรงตางๆ โดยผูชมสามารถทดลองกดวัตถุช้ินบนใหลงมาถึงวัตถุช้ินลาง จะพบวาไมสามารถกดลงมาได เนื่องจากมีพลังงานแมเหล็กชิ้นอยูตรงกลางทําใหวัตถุลอยได บงบอกถึงพลังงานระหวางวัตถุกับวัตถุ และยังมีอีกชิ้นที่เปนขวดโหลแกวโดยมีวัตถุรูปทรงตางๆ อยูดานในขวดโหลหนึ่งชิ้น และอยูดานนอกขวดโหลหนึ่งชิ้น โดยวัตถุทั้งสองชิ้นนี้มีแมเหล็กติดอยูทั้งสองชิ้น ซ่ึงผูชมงานสามารถเขาไปมีสวนรวมไดโดยการเคลื่อนยายวัตถุที่อยูนอกขวดโหล อันจะสงผลใหวัตถุช้ินที่อยูในขวดโหลเคลื่อนที่ตามไปดวย แสดงถึงความสัมพันธของพลังงานระหวางวัตถุกับวัตถุ

ในสวนของชิ้นพลังงานแมเหล็กไฟฟา คลายดังผลงานขางตนที่กลาวมา กลาวคือใชพลังงานแมเหล็กไฟฟาเปนตัวผลักใหวัตถุลอยข้ึนโดยมีแกนนําแมเหล็กไฟฟาเปนแกนกลาง ผลงานช้ินนี้ติดตั้งสวิทซสําหรับเปดปดกระแสไฟฟาเมื่อผูชมผลงานกดสวิทซจะกอใหเกิดพลังงาน แมเหล็กไฟฟาซ่ึงสงผลใหวัตถุลอยข้ึน

3. แสดงความมีอยูและความสัมพันธของพลังงานระหวางเรา (มนุษย, ส่ิงมีชีวิต) ผลงานชิ้นสุดทายของผลงานชุดวิทยานิพนธในระดับปริญญาตรี เปนพลาสติกอัดดวยสูญญากาศ เปนรูปทรงกลมขนาดเสนผาศูนยกลาง 90 เซนติเมตร แขวนลอยไวกับโครงเหล็กทรงสี่เหล่ียม ความสูงประมาณ 2.30 เมตร เจาะชองตรงกลางเพื่อใหผูชมสามารถเอาศีรษะยื่นเขาไปในรูปทรงกลมได โดยมีเครื่องใหกําเนิดแมเหล็กไฟฟาติดอยูดานบนรูปทรงสี่เหล่ียม โยงไปถึงวัตถุรูปทรงกลมโดยมีเครื่องมือตรวจจับความรอน (censor) ซ่ึงเมื่อผูชมกาวเขาไปยืนในผลงานโดยเอาศีรษะเขาไปในรูปวัตถุทรงกลม ตัวเครื่องตรวจจับความรอนจะสามารถตรวจจับความรอนจากรางกายมนุษยและสงสัญญาณไปยังเครื่องกําเนิดแมเหล็กไฟฟาดานบน อันจะสงผลกอใหเกิดความสั่นสะเทือน

19

ของวัตถุรูปทรงกลม พรอมกับผูชมที่ยื่นศีรษะเขาไปในรูปทรงกลมนั้นจะไดยินเสียงของความ ส่ันสะเทือนผสมผสานกับเสียงของบรรยากาศในขณะนั้น

ผลงานวิทยานิพนธชุดนี้ยังคงแนวคิดและเทคนิคที่พัฒนาตอเนื่องมาจากผลงานกอนวิทยานิพนธ หากแตในผลงานชุดกอนวิทยานิพนธนําเสนอเรื่องพลังงานในวัตถุโดยใชพลังงานแสงเปนสื่อ แตในผลงานวิทยานิพนธนําเสนอเรื่องพลังงานระหวางวัตถุกับวัตถุและพลังงานกับมนุษย โดยใหผูชมเขาไปมีสวนรวมเปนตัวกระตุนใหเกิดปฏิกิริยาและการเปลี่ยนแปลงในผลงาน

เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีแลว ในวันที่ 2-25 กุมภาพันธ 2544 ขาพเจาไดจัดแสดงผลงานชุด “ไมมีส่ิงใด” ที่ SPACE CONTEMPORARY ART เนื้อหาและแนวความคิดของ ผลงานชุดนี้คือ “ส่ิงที่คุณมองเห็นวาสวยงาม ลวนไมมีส่ิงใดที่มีอยูจริง” สําหรับเทคนิควิธีการ ขาพเจาใชไฟฉายฉายแสงตกกระทบไปยังพลาสติกรูปทรงพาราโบรา โดยกําหนดมุมใหลําแสงสะทอนไปบนเฟรมที่วางเปลา ซ่ึงลําแสงที่ตกกระทบลงบนเฟรมนั้นเปนรูปทรงนามธรรม (abstract) และจะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงไดโดยการเปลี่ยนมุม เปลี่ยนทิศทางของลําแสงตกกระทบที่ตกลงบนพลาสติกรูปทรงพาราโบลา ผลงานชุดนี้มีทั้งหมด 4 ช้ินใหญ โดยแตละชิ้นมีช้ินเล็กแยกยอยออกไปอีก นับรวมทั้งส้ินมีผลงานทั้งหมด 17 ช้ินดวยกัน ซ่ึงผลงานทั้งหมดใชเทคนิควิธีการเดียวกัน คือฉายแสงใหสะทอนไปยังเฟรมเปลาทั้งหมดทุกชิ้น

บทวิเคราะหผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา”

“ภาพความงามของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้น ไมมีส่ิงใดอันเปนและมีอยูจริง เปนเพียงปรากฏการณ ของแสงและเงาที่ปรากฏอยูเพียงชั่วขณะหนึ่ง”

จากแนวความคิดดังกลาวผนวกกับประสบการณทางดานเทคนิคและวิธีการนําเสนอที่ผาน จากลําแสง จากไฟฉาย ที่ตกกระทบและสะทอนแสงจากพลาสติกรูปทรงพาราโบลาไปยัง เฟรมที่วางเปลานั้นไดถูกพัฒนาจากการทดลองใชเครื่องมือและวัสดุตางๆ จนกลายมาเปนวิธีการนําเสนอรูปแบบใหม กลาวคือ การใชเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) และเครื่องฉาย สไลด (slide projector) ฉายภาพแสงสีและเงาของวัตถุชนิดตางๆ ไปยังพื้น เพดาน และผนังของหองที่วางเปลา เพื่อกอใหเกิดภาพของแสงและเงาปรากฏอยูบนผนังหองเปนลักษณะการสรางบรรยากาศ แสง-เงาลวงตา แตไมสามารถจับตองได รวมทั้งมีการใชถาดใสน้ําและใชสายยางตอจากเครื่องทําออกซิเจนใสลงไปในถาด เพื่อสรางความเคลื่อนไหวของแสงและเงาภายในผลงาน ซ่ึงโดยเทคนิควิธีการนําเสนอดังกลาวในประเทศไทยผลงานในรูปแบบลักษณะดังขาพเจาถูกจัดใหเปน

20

ผลงานศิลปะประเภท “ส่ือประสม” ซ่ึงขาพเจานํามาตีความหมายของคําวา “ส่ือประสม” ในผลงานศิลปะของขาพเจาชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” ดังนี้

ส่ือที่ใชประกอบกันเปนผลงานศิลปะของขาพเจาอาจจําแนกไดเปน 2 ประเภท คือ1. ส่ือทางเทคโนโลยี ไดแก ส่ือทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เชน เครื่องมือสําเร็จรูป

อันเปนเครื่องยนตกลไกทางดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี ซ่ึงประกอบไปดวย- เครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) ใชเปนเครื่องมือสรางแสงและเงา

ในผลงานของขาพเจา ตามประบวนการทางเทคโนโลยีของเครื่อง- เคร่ืองฉายสไลด (slide projector) ใชเปนเครื่องมือสรางภาพแสงและเงาเสมือน

จริง (realistic) จากฟลมสไลด (slide negative)- ฟลมสไลด (slide negative) ใชเปนเครื่องมือบันทึกภาพแสงและเงาในลักษณะ

เสมือนจริง (realistic) ตามกระบวนการทางภาพถาย- เครื่องทําออกซิเจน ใชเปนเครื่องสรางออกซิเจนเพื่อกอใหเกิดบรรยากาศและ

ความเคลื่อนไหวของแสงและเงาภายในผลงาน (ใชประกอบกับสายยาง)- ปล๊ักและสวิทซตัดไฟ ใชเปนเครื่องมือเชื่อมตอกระแสไฟฟาเขาสูเครื่องมือ

ทุกชนิดดังกลาวขางตน จึงเปรียบเสมือนเปนจุดตนกําเนิดของแสงและเงาภายในผลงาน2. ส่ือทางวัสดุ ไดแก วัสดุสําเร็จรูปตางๆ ที่นํามาประกอบกันเปนผลงาน

2.1 วัสดุสําเร็จรูป- วัตถุโปรงใส ไดแก กระจกใส แกว พลาสติกใส สําหรับวางบนเครื่องฉาย

ภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางบรรยากาศของแสงภายในผลงาน- วัตถุโปรงแสง ไดแก แผนพลาสติกสี กระจกฝา กระดาษไขสําหรับวางบน

เครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางบรรยกาศของแสง-เงาและรวมไปถึงเพื่อกําหนดโครงสรางและน้ําหนักภายในผลงาน

- วัตถุทึบแสง ไดแก พลาสติกทึบแสง กระดาษแข็ง ลูกปดชนิดตางๆ สําหรับวางบนเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางเงาและรูปทรงของเงาภายในผลงาน

2.2 วัสดุจากธรรมชาติ- วัสดุโปรงใส-วัสดุโปรงแสง ไดแก น้ํา ใชสําหรับหยดลงบนเครื่องฉายภาพ

ขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางรูปทรงของแสงและเงาภายในผลงาน- วัสดุทึบแสง ไดแก ไม กิ่งไม กอนหิน ดอกไม ใบไม ขนไก เสนผม ใชสําหรับ

วางบนเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางเงา และรูปทรงของเงาภายใน ผลงาน

21

2.3 วัสดุประดิษฐ ไดแก วัตถุที่ประดิษฐขึ้นดวยมือ จากวัสดุตางๆ เชน- แผนพลาสติกใส มวนเปนรูปทรงกระบอกขนาดตาง ๆ ใชสําหรับวางบน

เครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางรูปทรงของแสงและเงาภายในผลงาน- แผนพลาสติกใสพิมพถายเอกสาร ตัดเปนรูปทรงตางๆ วาง แขวน หอย บน

เครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางรูปทรงของแสง-เงาและความเคลื่อนไหวภายในผลงาน

- แผนพลาสติกสี ตัดเปนรูปทรงตางๆ นําไปลนไฟ เปลี่ยนแปลงรูปทรงนํามาวางบนเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) สําหรับสรางแสงเงา รูปทรง เลียนแบบ ธรรมชาติภายในผลงาน

- วัตถุที่ประกอบขึ้นจากวัสดุหลายประเภทประกอบเปนชิ้นเดียว เชน ใชแผน อครีลิค แผนพลาสติกใส กระดาษแข็ง ประกอบเขาเปนวัตถุช้ินเดียวกันเพื่อนําไปวางบนเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) เพื่อสรางรูปทรงของแสงและเงาภายในผลงาน

- ภาชนะสําหรับใสน้ํา ไดแก สังกะสีรูปทรงตางๆ เชื่อมโดยวิธีบัดกรีประกอบขึ้นเปนอางน้ํา สูงประมาณ 1.5 นิ้ว สําหรับใสน้ําเพื่อรองรับแสงจากเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (overhead projector) และสะทอนแสงไปยังผลงาน (ใชประกอบกับเครื่องทําออกซิเจนและสายยาง)

- รูปทรงสามมิติ สําหรับรองรับแสง ไดแก วัตถุรูปทรงกลม ทําสีใหเปนสีเดียวกับผนังที่ใชรองรับผลงาน โดยนําไปวางไวหางจากผนังออกมาเพื่อรองรับแสงและเงาจากผลงาน

ซ่ึงขาพเจาไดนําส่ือตางๆ ดังที่กลาวมาแลวนี้มาประกอบกันขึ้นเปนผลงานชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” เพื่อนําเสนอแนวความคิดและเนื้อหาตามเจตนารมณดังที่ขาพเจาไดกลาวไวแลวขางตน “แสง” เปนสื่อที่ขาพเจาไดเลือกใชในการนําเสนอผลงานศิลปะของขาพเจามาแลวหลายครั้ง แตในครั้งนี้ขอแมอันนํามาซึ่งปญหาตางๆ ไดถูกแกไขและเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา การใช “แสง” เปนสื่อในการสรางสรรคผลงานของขาพเจาในครั้งนี้ไมมีขอแมของการสรางรูปทรงทางประติมากรรม แตในทางกลับกันจากการเรียนรูการสรางรูปทรงทางประติมากรรมทําใหวิธีการมอง วิธีการสรางรูปทรงและการสรางภาพของขาพเจามีพื้นฐานมาจากการคิดเปนสามมิติ การมองเปนสามมิติ และการเห็นเปนสามมิติ ดังนั้นภาพปรากฏการณของแสงและเงาภายในผลงานของขาพเจาจึงดูมีมิติของบรรยากาศลวงระหวางสองมิติและสามมิติ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นฐานของการสรางผลงานสามมิติของขาพเจา

สวนทางดานเนื้อหาของรูปทรงภายในผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” ของขาพเจา มีเนื้อหาเปนเรื่องของธรรมชาติ มีการใชเงาสรางรูปทรงเลียนแบบธรรมชาติ ทั้งจากวัสดุประดิษฐและวัสดุจากธรรมชาติ มีการสรางบรรยากาศของแสงใหมีความรูสึกคลายดั่ง

22

ธรรมชาติ แตมิใชบรรยากาศจริงตามธรรมชาติ เปนพื้นที่วาง (space) รวมลงแลวเปนบรรยากาศแสง-เงาของรูปทรงและพื้นที่วาง (form and space) โดยมีเนื้อหาทางธรรมชาติเปนตัวนําเสนอ อันจะโยงไปถึงเนื้อหาทางดานแนวความคิดที่ตองการจะนําเสนอดังที่กลาวมาแลวขางตน

สําหรับทางดานของเทคนิควิธีการในการใชแสงเปนสื่อนั้น ดวยเครื่องมือที่เลือกใช วัสดุที่เลือกใช รวมไปถึงองคประกอบตางๆ ที่เลือกใช นํามาประกอบเปนผลงานนั้น ลวนแลวแตเปนสื่อที่มีความสัมพันธเกี่ยวของกันทั้งในดานของเทคนิควิธีการ และเนื้อหาแนวความคิด ปญหาความขัดของทางดานเทคนิควิธีการตางๆ ในอดีตจึงคอยๆ ลบเลือนไปจากผลของงานที่ปรากฏขึ้นในปจจุบัน ซ่ึงทั้งนี้ปญหาทางดานเทคนิควิธีการในปจจุบันของขาพเจามิไดหนักหนาสาหัสดังเชนแตกอน หากแตเปนปญหาเพื่อการพัฒนาผลงานและเทคนิควิธีการนําเสนอในโอกาสตอไป

การสรางสรรคผลงานศิลปะชุด “ปรากฏการณของแสงและเงา” นั้นเปนการประมวลความรู ความสามารถ และประสบการณในการทํางานศิลปะของขาพเจา ซ่ึงผลงานในชุดนี้ขาพเจา รูสึกถึงความลงตัวทางดานเทคนิควิธีการที่เลือกใช อันมีความสัมพันธเกี่ยวเนื่องเปนเหตุเปนผลและเปนอันหนึ่งอันเดียวกันกับแนวความคิดและความรูสึกที่ขาพเจาตองการนําเสนอมากที่สุด โดยขาพเจาสามารถถายทอดอารมณความรูสึกและเนื้อหา แนวความคิดลงไปในผลงานไดอยางที่ใจปรารถนา สงผลใหบังเกิดความสุขใจกลับคืนมาสูขาพเจาเปนอยางยิ่ง อันจะเปนบาทฐาน เปนกําลังใจในการแกไข พัฒนา ปรับปรุง เพื่อนําไปสรางสรรคผลงานศิลปะของขาพเจาในชิ้นอื่นๆ ตอไปในอนาคต

บทที่ 5

การพัฒนาผลงานและการสรางสรรค

จากประสบการณการสรางสรรคผลงานที่ผานมา จนกระทั่งถึงผลงานวิทยานิพนธชุดนี้ เปนผลจากการคนควา ทดลอง บันทึก เรียนรู เทคนิควิธีการ รวมไปถึงการแกปญหาจนเกิดการพัฒนาทั้งดานรูปแบบ เนื้อหา และเทคนิควิธีการอยางตอเนื่อง มีลักษณะเฉพาะตัว อนึ่ง ขาพเจาไดมีการพัฒนาและคลี่คลายผลงานดังนี้

การสรางสรรคผลงานชวงตน ระยะท่ี 1

สืบเนื่องมาจากผลงานชุด “ไมมีส่ิงใด” ที่ไดจัดแสดงกอนขาพเจาจะเขามาศึกษาตอ เมื่อเขามาศึกษาตอแลวจึงไดทําการทดลอง คนควา เพื่อพัฒนาเทคนิควิธีการ ตลอดจนเนื้อหาตอเนื่องจากผลงานดังกลาว ดังนั้นในผลงานชวงตนระยะที่ 1 ผลงานในชิ้นแรกจึงยังคงเปนเทคนิค วิธีการเดิม คือ ใชไฟฉายสองลงไปบนวัตถุพลาสติกรูปพาราโบลาชุบโครเมี่ยมมีคุณสมบัติสะทอนแสง เพื่อสะทอนแสงจากไฟฉายไปยังเฟรมที่วางเปลา ตอมาไดพัฒนาเปลี่ยนมาใชเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (Overhead Projector) แทนไฟฉาย และรูปทรงพาราโบลาสะทอนแสง สวนเฟรมไดเปลี่ยนมาใชเปนผนังหองแทนเฟรมเพื่อรอบรับแสงและเงาที่เกิดจากการฉายภาพแทน โดยในสวนของแนวความคิดนั้นยังคงเปนความไมมีส่ิงใดเหมือนดังแนวความคิดเดิม กลาวคือไมมีส่ิงใดที่มีอยูจริงเปนเพียงแสงที่ปรากฏอยูเทานั้น สวยงามแตจับตองไมไดแตอยางใด แตในดานของรูปทรง เร่ืองราวนั้นไดเปลี่ยนจากรูปทรงนามธรรม (Abstract) มาเปนรูปทรงตางๆ ตามวัสดุที่นํามาทดลอง เปนเรื่องราวของประสบการณชีวิตวัยเยาว ความชอบที่ส่ังสมและเหตุการณปจจุบัน

การสรางสรรคผลงานชวงตน ระยะท่ี 2

ในการสรางสรรคผลงานศิลปะชวงตนในระยะที่ 2 นั้น จะเนนไปที่การทดลองสรางภาพ แสงและเงา จากวัสดุโปรงแสง โปรงใส มากกวาวัสดุทึบแสง ดังเชนการสรางสรรคผลงานศิลปะชวงตนในระยะที่ 1 ผลจากการทดลองสรางภาพแสงและเงาโดยวัสดุตางๆ ชนิด ตางสถานะ ความหนาแนนกลับทําใหเกิดความเชี่ยวชาญและชํานาญในการบังคับทิศทางของแสงและเงาไดอยาง เขาใจมากขึ้นโดยลําดับ สวนเรื่องราวในการนําเสนอก็ยังคงเปนเรื่องราวภายในที่ตอบสนองตอวัตถุของขาพเจา ซ่ึงมีทั้งรูปทรงที่มีที่มาที่ไปและรูปทรงที่เปนนามธรรม มีการทดลองใชวัสดุเขาไปประกอบเปนเชิง 3 มิติ โดยการนําไปวางที่พื้นหองและติดตั้งประกอบบนผนังหอง อนึ่ง ในสอง

23

24

ระยะของการสรางสรรคผลงานศิลปะชวงตนของขาพเจานั้น สวนหนึ่งมุงเนนไปที่การทดลอง เทคนิค วัสดุ วิธีการมากกวาส่ิงอ่ืนใด

การสรางสรรคผลงานในระยะกอนวิทยานิพนธ

ผลงานในชวงนี้เปนการพัฒนาเนื้อหาของเรื่องราวใหชัดเจนขึ้น เปนไปในทิศทางเดียว คือมุงเนนไปที่ปรากฏการณของแสงและเงาที่เกิดขึ้นในธรรมชาติจากปรากฏการณทางธรรมชาติ เพื่อใหสอดคลองกับแนวความคิดที่วาสิ่งทั้งปวงไมมีส่ิงใดอันมีปรากฏอยูจริงอยางถาวร เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏอยูชวงเวลาหนึ่งเทานั้น ซ่ึงมีการนําเทคนิค วิธีการอันเปนผลจากการทดลองในชวงระยะการสรางสรรคผลงานศิลปะชวงตนทั้งระยะที่ 1และ 2 มาใชอยางมี ประสิทธิภาพ สามารถคํานวณ บังคับทิศทางของแสงใหเปนไปในรูปแบบที่ตองการได และในผลงานระยะกอนวิทยานิพนธยังมีการทดลองนําวัตถุรูปทรง 3 มิติ ไปวางในจุดที่แสงตกกระทบ เพื่อรับแสงทําใหงานมีความซับซอนของมิติในพื้นที่วาง (Space) จริงของหองเพิ่มขึ้น ซ่ึงตอมาพัฒนามาเปนบอน้ําซึ่งมีออกซิเจนอยูภายในน้ํา และวัสดุสําหรับใสน้ําเพื่อสะทอนแสงจากผิวน้ําขึ้นไปประกอบภาพแสงและเงาที่ปรากฏอยูบนผนังหอง

การสรางสรรคผลงานวิทยานิพนธ

ผลงานในชวงวิทยานิพนธ ขาพเจาไดกําหนดขอบเขตของการสรางสรรคผลงานดังนี้เนื้อหา ความงดงามของปรากฏการณของแสงและเงาที่เกิดขึ้นในปรากฏการณธรรมชาติ

แทจริงภาพความงามเหลานั้นมิไดมีส่ิงใดที่มีอยูจริง ปรากฏอยูจริงอยางถาวรเลย สวยงามแตไมสามารถสัมผัส จับตอง เหนี่ยวร้ังเอาไวได เปนเพียงปรากฏการณของแสงและเงาที่ปรากฏขึ้นเพียงช่ัวขณะหนึ่งเทานั้น

รูปแบบ เปนผลงานประเภทสื่อผสม มีการใชแสงและการจัดวางวัสดุประกอบเขาไปภายในหองที่ใชแสดงผลงาน เพื่อสรางระยะจริงและระยะลวงในความรูสึก มีความเคลื่อนไหวของแสงและเงาอันสรางใหองคประกอบโดยรวมของหองมีมิติของบรรยากาศใหมใหปรากฏขึ้นจากพื้นที่วางเดิมเปน “ปรากฏการณของแสงและเงา”

เทคนิควิธีการ ขาพเจาสรางรูปทรง 2 และ 3 มิติ ขึ้นจากวัสดุตางชนิด และประกอบติดตั้งเขากับเครื่องฉายภาพขามศีรษะ (Overhead Projector) จากนั้นจึงฉายไปยังผนัง พื้น และเพดานของหองรวมกับเครื่องฉายสไลด (Slide Projector) และวัสดุสําหรับรองรับน้ํา รวมไปถึงเครื่องทําออกซิเจนและสวนประกอบเล็กๆ นอยๆ อ่ืน

25

ผลงานในชวงวิทยานิพนธนี้ ขาพเจามีความชํานาญและมีประสบการณในการควบคุมเทคนิควิธีการ การใชวัสดุตางๆ ตลอดจนควบคุมปริมาณและทิศทางของแสง ดังนั้นปญหาตางๆ ทางดานเทคนิควิธีการจึงลดนอยลงไป สัมพันธภาพอันเกิดจากเทคนิค องคประกอบ รูปแบบ เนื้อหา เร่ืองราว รวมไปถึงวิธีการนําเสนอและแนวความคิดภายในผลงาน มีความกระชับสอดคลองสัมพันธกันมากขึ้นจึงสงผลใหผลงานที่ปรากฏสําเร็จออกมามีความสมบูรณ มีภาพบรรยากาศอันงดงามแฝงดานแนวความคิด “ไมมีส่ิงใด” ในหัวขอวิทยานิพนธเร่ือง “ปรากฏการณของแสงและเงา”