บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏...

27
ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ บทนำ ชีไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีเสียง แต่มีอิทธิพลอยู่ในทุกสิ่ง ตั้งแต่แม่น้ำ ไปจนถึงยอดเขา หรือจากย่านการค้าที่วุ่นวายไปจนถึงถนนแถบ ชานเมืองอันเงียบสงบ ชี่ คือ ‘ลมหายใจแห่งชีวิต’ เป็นพลังงานที่มีขึ้นมีลง มีรวมตัวและกระจายออก มีควบแน่นและจางหายอย่างต่อเนื่อง ส่วน ฮวงจุ้ย คือ ศาสตร์แห่งการทำความเข้าใจการไหลของชี่ การรู้พลังซ่อนเร้น ในผืนดินและในจักรวาล ซึ่งเป็นพลังที่อาจกลมกลืนเข้ากันเป็นอย่างดีในทีหนึ่ง แต่กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบในอีกที่หนึ่ง นอกจากนี้ฮวงจุ้ยยัง เป็นวิธีการมองสภาพแวดล้อมของจีน ซึ่งแตกต่างจากมุมมองของชาว ตะวันตก ศาสตร์ฮวงจุ้ยเชื่อว่าธรณีสัณฐาน หรือลักษณะของพื้นดิน ไม่ไดหมายถึงแค่สถานที่ที่ออกแบบได้ตามความต้องการ แต่เป็นรูปแบบทีกำหนดโดยการไหลของพลังงาน เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อสรรพชีวิตใน ธรณีสัณฐานนั้น ฮวงจุ้ยเป็นคำจีนโบราณที่หมายถึง ‘ลม และน้ำ’ ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่กำหนดรูปแบบของ ภูมิประเทศ พบได้ในการเคลื่อนไหวของชี่และใน สมดุลของหยินกับหยาง ทุกสิ่งในจักรวาลอยู่ใน สภาวะที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีหยินกับ หยางเป็นคำที่ใช้เรียกความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หยินคือด้านที่ชุ่มชื้น เยือกเย็น มืดมิด ขณะทีหยางจะทรงพลัง เข้มแข็ง ร้อนรุ่ม และรุนแรง หยินกับหยางปรากฏอยู่ในแบบแผนทั้งปวง ใน

Upload: others

Post on 10-Sep-2019

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

� ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

บทนำ

ชี่ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีเสียง แต่มีอิทธิพลอยู่ในทุกสิ่ง ตั้งแต่แม่น้ำ

ไปจนถึงยอดเขา หรือจากย่านการค้าที่วุ่นวายไปจนถึงถนนแถบ

ชานเมืองอันเงียบสงบ ชี่ คือ ‘ลมหายใจแห่งชีวิต’ เป็นพลังงานที่มีขึ้นมีลง

มีรวมตัวและกระจายออก มีควบแน่นและจางหายอย่างต่อเนื่อง ส่วน

ฮวงจุย้ คือ ศาสตร์แห่งการทำความเข้าใจการไหลของชี่ การรู้พลังซ่อนเร้น

ในผืนดินและในจักรวาล ซึ่งเป็นพลังที่อาจกลมกลืนเข้ากันเป็นอย่างดีในที่

หนึ่ง แต่กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบในอีกที่หนึ่ง นอกจากนี้ฮวงจุ้ยยัง

เป็นวิธีการมองสภาพแวดล้อมของจีน ซึ่งแตกต่างจากมุมมองของชาว

ตะวันตก ศาสตร์ฮวงจุ้ยเชื่อว่าธรณีสัณฐาน หรือลักษณะของพื้นดิน ไม่ได้

หมายถึงแค่สถานที่ที่ออกแบบได้ตามความต้องการ แต่เป็นรูปแบบที่

กำหนดโดยการไหลของพลังงาน เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อสรรพชีวิตใน

ธรณีสัณฐานนั้น

ฮวงจุ้ยเป็นคำจีนโบราณที่หมายถึง ‘ลม

และน้ำ’ ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่กำหนดรูปแบบของ

ภูมิประเทศ พบได้ในการเคลื่อนไหวของชี่และใน

สมดุลของหยินกับหยาง ทุกสิ่งในจักรวาลอยู่ใน

สภาวะที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีหยินกับ

หยางเป็นคำที่ใช้เรียกความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

หยินคือด้านที่ชุ่มชื้น เยือกเย็น มืดมิด ขณะที่

หยางจะทรงพลัง เข้มแข็ง ร้อนรุ่ม และรุนแรง

หยินกับหยางปรากฏอยู่ในแบบแผนทั้งปวง ใน

Page 2: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ �

ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์ นักฮวงจุ้ยที่เชี่ยวชาญจะ

มองออกว่าพลังชี่เคลื่อนที่อย่างไร ทำให้เข้าใจสมดุลของหยินหยาง และ

บอกได้ว่าหยินกับหยางมีลักษณะอย่างไรในภูมิประเทศแต่ละแห่ง ทำให้

สามารถประเมินอิทธิพลของหยินหยางในสถานที่แห่งนั้นได้

ฮวงจุ้ยตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า ความกลมกลืนโดยเนื้อแท้ของ

ธรรมชาตินั้นมีอยู่จริง แต่ในสถานที่บางแห่ง ความกลมกลืนนี้อาจขาดช่วง

หรือไม่ต่อเนื่อง เมื่อทราบที่มาของปัญหาแล้ว จึงเลือกใช้วิธีแก้ไขเพื่อ

พยายามสร้างสมดุลขึ้นมาใหม่ แต่แทนที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับรอจัดการกับ

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เราสามารถลงมือดำเนินการได้เอง ด้วยการเข้าใจและ

เป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งที่เป็นไปรอบตัว

การใช้คู่มือเล่มนี ้คู่มือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านและปฏิบัติตามได้ง่าย โดยอธิบายหลักการ

ต่างๆ ของฮวงจุ้ยและสอนวิธีการ ‘มอง’ และทำความเข้าใจสภาพ

แวดล้อม พร้อมให้คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการมองภูมิประเทศทั้งในเขต

ชนบทและเขตเมือง ซึ่งจะช่วยให้ประเมินองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ทั้ง

ภายในและรอบๆ ตัวบ้านและที่ทำงาน รวมถึงเลือกวิธีปรับแก้ฮวงจุ้ยที่

เหมาะสมได้

ส่วนที่ 1 กล่าวถึงปรัชญาฮวงจุ้ย โดยเริ่มจากปรัชญาเต๋า เนื่องจาก

ปรัชญาเต๋าถือเป็นที่สุดแห่งแหล่งกำเนิดของสรรพชีวิต พลังหยินหยาง

และพลังชี่อันเป็นหัวใจของการพิจารณาฮวงจุ้ยนั้นเกิดจากความกลมกลืน

แห่งเต๋า ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนนี้เพื่ออธิบายเรื่องสมดุลและผลกระทบของ

หยินหยางและพลังชี่ที่มีต่อพื้นที่ต่างๆ

Page 3: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

� ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

กระบวนการการเปลี่ยนแปลงในการ

เคลื่อนไหวของหยินหยางสามารถอธิบายได้ด้วย

กั้ว หรือไทรแกรม (Trigram) ทั้งแปดใน คัมภีร์

อี้จิง ซึ่งเป็นคัมภีร์จีนโบราณที่ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ

หลายพันปีก่อน กั้วแต่ละชุดแบบเกี่ยวพันทั้งกับ

ทิศต่างๆ ของเข็มทิศและธาตุทั้งห้าตามความเชื่อ

แบบจีน โดยกั้วทั้งแปดจะเป็นพื้นฐานในการใช้

เข็มทิศปาจื้อ เพื่อพิจารณาว่าธาตุทั้งห้าในบ้าน

กลมกลืนกันหรือไม่ นอกจากนี้เนื้อหาในส่วนแรก

ยังสอนให้รู้ จักการมองผืนดินว่า เป็นพลังที่

เคลื่อนที่ได้และมีชีวิตซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ตามหลักฮวงจุ้ย พลังงาน

ในผืนดินและผืนน้ำจะปรากฏในรูปของมังกร ซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวถึง

คุณลักษณะของมังกรที่อยู่ในสัณฐานต่างๆ ตามธรรมชาติด้วย ส่วนมาก

แล้ว ‘ปัญหาฮวงจุ้ย’ ที่พบในสถานที่แต่ละแห่งนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วย

วิธีการที่ไม่ซับซ้อน ในส่วนนี้จึงจะกล่าวถึง ‘วิธีแก้ไข’ ทั่วไป เพื่อเป็น

แนวทางในการเลือกใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดผลกระทบ ควบคุมการไหล

ของชี่ หรือป้องกันพลังทำลายล้าง

เมื่อมี ‘เครื่องมือ’ อันได้แก่ ความเข้าใจเรื่องหลักฮวงจุ้ย วิธี

ประเมินสภาพแวดล้อม วิธีใช้เข็มทิศปาจื้อ และวิธีปรับแก้ฮวงจุ้ยแล้ว

ก็ถึงเวลาที่จะก้าวสู่ขั้นตอนการปฏิบัติจริง

Page 4: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ �

ส่วนที่ 2 สอนวิธีการพิจารณาสภาพแวดล้อมในทุกแง่มุมอย่างเป็น

ขั้นตอน ตั้งแต่ทำเลที่ตั้งของบ้าน จนถึงผังการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ในห้อง

นั่งเล่น มีภาพประกอบของตัวอย่างทั้งที่ดีและไม่ดีให้เห็นชัดเจน พร้อมทั้ง

ให้คำแนะนำที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่ายในส่วนที่ต้องปรับแก้ เริ่มต้นจาก

ภายนอกเข้าสู่ภายใน จากภูมิประเทศชนบทสู่รูปแบบของถนน รูปทรง

และตำแหน่งของอาคาร แปลงที่ดิน สวน ไปจนถึงทางเข้าบ้านและอาคาร

เมื่อเข้าสู่ตัวบ้าน จะเริ่มจากการประเมินผังโดยรวมแล้วจึงไล่ไปทีละห้อง

เนื้อหาในส่วนนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ทั้งผู้ที่ต้องการตรวจสอบขนาด

และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ตำแหน่งประตูหน้าต่าง หรือตรวจสอบว่า

สีที่เลือกใช้เข้ากันกับธาตุประจำตัวหรือไม่ โดยมีรายการช่วยตรวจสอบ

ของแต่ละห้องเพื่อดูว่าต้องระวังเรื่องใดบ้าง นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำ

เกี่ยวกับวิธีการปรับแก้ฮวงจุ้ยที่ทำงานด้วย แม้อาจจะปรับแก้ได้ไม่มากนัก

ก็ตาม

หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ในทุกสภาวการณ ์ แล้วท่านจะพบว่า

ฮวงจุย้ที่ดีเปลี่ยนชีวิตท่านได้

Page 5: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์
Page 6: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 11

ส่วนที่ 1เครื่องมือฮวงจุ้ย

เนื้อหาส่วนนี้กล่าวถึงหลักฮวงจุ้ย วิธีดู

ฮวงจุ้ยในสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว วิธี

สร้างสมดุลของธาตุทั้งห้าเพื่อให้บ้านมี

ความกลมกลืน วิธีคำนวณเข็มทิศปาจื้อ

เพื่อหาทิศมงคลและทิศที่ไม่เป็นมงคล

ของตนเอง พรอ้มกลา่วถงึ ‘วธิแีกไ้ข’ ทัว่ไป

ที่อาจใช้แก้ฮวงจุ้ยได ้ โดย ‘เครื่องมือ’ ที่

กล่าวถึงในส่วนนี้จะนำไปใช้จริงในการ

ประเมินสภาพแวดล้อมตามคู่ มื อ ใน

เนื้อหาส่วนที่สอง

wisdomปัญญา

Page 7: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

12 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

เต๋า โดยแก่นแท้แล้ว ฮวงจุ้ยคือวิธีการทำงานร่วมกับความกลมกลืน

ตามธรรมชาติหรือกฎของจักรวาลที่เรียกว่า เต๋า เรามักแปลคำว่า เต๋า

ว่าวิถี หรือ เส้นทาง เส้นทางที่เหล่าเมธีปราชญ์และเหล่าเซียนดำเนินตาม

มาหลายศตวรรษ แต่เต๋ามีความหมายที่ล้ำลึกกว่านั้น เต๋า คือแหล่งกำเนิด

สูงสุดของสรรพชีวิต (ดูกรอบด้านล่างประกอบ)

เต๋า คือต้นกำเนิดของสรรพสิ่งซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ก่อนการสร้าง

จักรวาล แม้ว่าลักษณะที่แท้จริงของเต๋าจะอยู่เหนือรูปลักษณ์และคำจำกัด

ความ เราก็ยังเห็นการแสดงออกของเต๋าในแบบแผนของธรรมชาติและใน

การพึ่งพากันและกันของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ฮวงจุ้ยเป็นวิธีหนึ่งในการอธิบาย

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเต๋า เป็นแนวทางในการอยู่กับพลังซึ่งมีมา

หลักต่างๆ ของฮวงจุ้ย

เต๋าให้กำเนิดหนึ่ง

หนึ่งให้กำเนิดสอง

สองให้กำเนิดสาม

สามให้กำเนิดทุกชีวิต

ทุกสิ่งรวมตัวอยู่ในหยินและโอบอุ้มหยาง

และล้วนรวมตัวกันอยู่ในชี่ซึ่งเป็นพลังงานอันเปี่ยมล้น

(บทที่ 42 จาก The Illustrated Tao Te Ching โดย Man-Ho Kwok, Martin Palmer และ Jay Ramsay)

Page 8: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 13

แตเ่กา่กอ่นนีอ้ยา่งกลมกลนื ในทางฮวงจุ้ยแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

กับสิ่งแวดล้อมไม่ได้อยู่ในลักษณะของการเป็นผู้ควบคุมที่ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจ

เหนือกว่าอีกฝ่าย แต่เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

รูปแบบของความเปลี่ยนแปลงในฤดูกาลต่างๆ ในภูมิประเทศ

รวมทั้งในอารมณ์ของมนุษย์ สะท้อนถึงความเคลื่อนไหวของเต๋า วันที่

ท้องฟ้าแจ่มใสอาจกลับกลายเป็นมีเมฆมาก พายุที่โหมกระหน่ำอาจ

เปิดทางให้ความสงบนิ่งเข้ามาแทนที่ ด้านบวกและด้านลบของสรรพสิ่ง

ล้วนมีขึ้นมีลง ไม่มีสิ่งใดสร้างขึ้นหรือดำรงอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว แต่ละชีวิต

เจริญเติบโต จากนั้นก็เสื่อมสลายเพื่อกลับคืนสู่เต๋า และในกระบวนการ

เสื่อมสลายนี้ก็ก่อกำเนิดชีวิตใหม่ขึ้น ฮวงจุ้ยเป็นวิธีหนึ่งในการพิจารณา

กระบวนการการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อค้นหาว่าบริเวณใดมีพลังงาน

แห่งการให้ชีวิต บริเวณใดมีพลังงานแห่งความเสื่อมสลาย รวมทั้งสร้าง

สมดุลให้แก่ธาตุต่างๆ และแก้ไขข้อบกพร่องที่มี

ดินสอนคน

ฟ้าสอนดิน

และเต๋านำทางฟ้า

เต๋าเข้ากับสิ่งที่เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

(บทที่ 25 จาก The Illustrated Tao Te Ching โดย Man-Ho Kwok, Martin Palmer และ Jay Ramsay)

Page 9: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

14 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

ฟ้า ดิน และคน ฟ้า ดิน และคน อันกอปรเป็นองค์สาม คือสิ่งที่เต๋าแสดงออกมา

และมักแทนด้วยภาพวาดภูมิทัศน์แบบจีน ภาพยอดเขาตระหง่านสูงเสียด

ฟ้าที่ซ่อนตัวอยู่ในหมู่เมฆเป็นสัญลักษณ์ของการรวมเป็นหนึ่งระหว่างฟ้า

กับดิน ไหล่เขาที่สูงชันสมดุลกับชายเขาเขียวขจีที่ทอดตัวลงบรรจบน้ำ

เป็นสัญลักษณ์ของพลังงานดิน ซึ่งสร้างความเจริญเติบโตงอกงาม ในภาพ

ประกอบด้วยภาพบ้านเรือน ผู้คนกำลังตกปลา ทำไร่ไถนาและเลี้ยงสัตว์

หรือเดินทางลัดเลาะไปตามเส้นทางบนภูเขา บ้านเรือนและวัดวาอาราม

ล้วนกลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศซึ่งทำหน้าที่ปกป้องอาณาบริเวณ ทำให้

สมดุลระหว่างฟ้า ดิน และคนสมบูรณ์

หยินกับหยาง หยินกับหยางเป็นพลังธรรมชาติที่ปรากฏในทุกชีวิต มีขึ้นมีลง

ขยายตัวและหดตัวอย่างต่อเนื่อง หยินกับหยางอยู่ในภาวะที่เคลื่อนไหวอยู่

เสมอ และสร้างแบบแผนการเปลี่ยนแปลงของชีวิตผ่านการสอดประสาน

ระหว่างกัน การสอดประสานของหยินกับหยางเห็นได้ชัดเจนในวัฏจักร

ของฤดูกาล หยางมีพลังสูงที่สุดในฤดูร้อนอันร้อนระอุในขณะที่หยินอ่อน

ลงถึงขีดสุด เมื่อฤดูใบไม้ร่วงคืบคลานเข้ามา หยินจะกลับมามีพลัง ส่วน

หยางเริ่มเสื่อมสลาย ครั้นถึงกลางฤดูหนาว หยางจึงหมดพลังไป ในขณะที่

หยินกลับทรงพลังขึ้นมาแทน แต่เมื่อความอบอุ่นกลับมาอีกครั้งในฤดูใบไม้

ผลิ หยางก็จะเริ่มขยายตัวอีกครั้ง

Page 10: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 15

สัญลักษณ์หยินหยางที่รู้จักกันดีนี้ใช้แทนแบบแผนของชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

การผสานกันของฟ้า ดิน และคน พบได้ในภาพวาดภูมิทัศน์ แบบจีนดั้งเดิม คือมีภูเขาสูงเสียดฟ้า และกิจกรรมของมนุษย์เจริญเฟื่องฟูภายใต้แผ่นฟ้า

Page 11: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

1� ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

กล่าวกันว่าหยินหยางเกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มแห่งกาลเวลา ขณะที่

ทุกสิ่งยังเลือนรางไร้รูปแบบ จักรวาลสร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่า แล้ว

จักรวาลก็สร้างพลังอันบางเบาที่ลอยขึ้นกลายเป็นแผ่นฟ้า ขณะที่พลังอัน

หนักแน่นแข็งตัวกลายเป็นพื้นดิน

ไหวหนานจื่อ (120 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เขียนไว้ว่า

แก่นแท้ที่เกิดจากการผสานกันของฟ้ากับดินกลายมาเป็นหยินกับ

หยาง แก่นแท้ของหยินกับหยางที่เข้มข้นกลายมาเป็นฤดูกาลทั้งสี่ และ

แก่นแท้ของฤดูกาลทั้งสี่ที่อยู่อย่างกระจัดกระจายกลายมาเป็นสรรพชีวิต

จำนวนมากมายเหลือคณานับในโลก ภายหลังช่วงเวลาอันยาวนาน พลัง

อันร้อนแรงของหยางที่สั่งสมไว้จึงเกิดเป็นไฟ แล้วแก่นแท้ของพลังธาตุไฟก็

กลายเป็นดวงอาทิตย์ ขณะเดียวกัน พลังอันเยือกเย็นของหยินที่สั่งสมไว้

จะกลายเป็นน้ำ แล้วแก่นแท้ของพลังธาตุน้ำก็กลายเป็นดวงจันทร์ ส่วน

แก่นแท้ของพลังที่เหลือจากดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์กลายเป็นดวงดาว

และดาวเคราะห์ต่างๆ โดยที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวอยู่บน

ท้องฟ้า ขณะที่น้ำกับดินอยู่บนพื้นโลก

(ไหวหนานจื่อ อ้างใน Sources of Chinese Tradition Vol. I

เรียบเรียงโดย Theodore de Bary)

ตำราส่วนมากมักกล่าวว่า หยินหยาง คือพลังที่มีความเคลื่อนไหว

และเป็นคู่ตรงข้ามกัน หยางคือเพศชาย หยินคือเพศหญิง หยางร้อน หยิน

เย็น หยางคือความโกรธ หยินคือการล่าถอย หยางคือความกระตือรือร้น

หยินคือความสงบนิ่ง หยางเฉียบคม หยินอ่อนนุ่ม

Page 12: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 1�

อย่างไรก็ตาม ในทางฮวงจุ้ย หยินหยางมีมิติที่มากกว่าและแตกต่าง

ไปจากนั้น ภูมิประเทศแบ่งออกเป็นดินกับน้ำ ดินสงบนิ่งและเป็นหยิน

ส่วนน้ำมีชีวิตชีวาและเป็นหยาง ฉะนั้นสถานที่ที่ฮวงจุ้ยดีที่สุดจึงต้อง

ประกอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ นอกจากจัดว่าหยินคือภูเขาและหยางคือน้ำ

แล้ว ยังสามารถแบ่งย่อยออกได้อีกตามลักษณะของภูเขาและสายน้ำ เช่น

ภูเขาที่สูงชันกับภูเขาที่ลาดขึ้นลงเป็นลอนคลื่น และน้ำเชี่ยวกับน้ำนิ่ง

ยกตัวอย่างเช่น ยอดเขาที่ขรุขระจะมีคุณสมบัติเป็นหยิน ขณะที่

ยอดเขาที่ราบเรียบมีคุณสมบัติเป็นหยาง หน้าผาที่สูงชันเป็นหยิน ส่วน

ไหล่เขาที่ค่อยๆ ลาดเอียงลงมาเป็นหยาง หยางจะมีพลังในทางสรรค์สร้าง

ขณะที่หยินอาจเป็นอันตรายและมีพลังในทางทำลายล้าง น้ำนิ่งจะเป็น

แหล่งสะสมพลังงานและมีคุณสมบัติเป็นหยาง ขณะที่น้ำที่ไหลเชี่ยวจะ

ทำให้พลังงานกระจายออกและมีคุณสมบัติเป็นหยิน สายน้ำที่มีรูปร่าง

บิดเบี้ยวหรือมีโค้งหักศอกจะเป็นหยิน ส่วนสายน้ำที่แม้จะคดเคี้ยวแต่ไหล

เอื่อยอย่างสม่ำเสมอเป็นหยาง เนื่องจากก่อให้เกิดพลังด้านบวก น้ำที่ผุด

ขึ้นจากพื้นดินเป็นหยิน แต่เมื่อซึมซาบลงสู่ดินเพื่อหล่อเลี้ยงลำธารใต้ดินจะ

กลายเป็นหยาง ไม่มีสิ่งใดเป็นหยินหรือหยางเพียงอย่างเดียว เพราะพลัง

เช่นนี้มีการสอดประสานกันอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า มีหยินอยู่ในหยาง

และมีหยางอยู่ในหยินนั่นเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างกันนี้คือแก่นของฮวงจุ้ย และการเข้าใจหยิน

กับหยางนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินสภาพแวดล้อมอย่างถูกต้องและ

แม่นยำ

Page 13: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

1� ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

คลื่นแรงที่สาดซัดปะทะผาชันเป็นหยินอันทรงพลัง พลังงานเช่นน้ีเป็นพลังแห่งการทำลาย จึงไม่ใช่ทำเลที่ควรตั้งที่อยู่อาศัย

ชี ่ทั่วผืนฟ้าและแผ่นดินมีหลี่และมีชี่ หลี่ คือเต๋าที่จัดการรูปแบบ

ต่างๆ จากเบื้องบน และเป็นรากเหง้าของทุกสรรพสิ่ง ชี่ คือสิ่งที่สรรค์-

สร้างรูปแบบต่างๆ จากเบื้องล่าง เป็นเครื่องมือและวัตถุดิบที่ประกอบกัน

เป็นทุกสรรพสิ่ง

(The Collected Works of Chu Hsi จาก Science and Civilisation in China Vol. II แปลโดย J. Needham)

Page 14: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 1�

แม่น้ำที่ไหลคดเคี้ยวไปมาอย่างอ่อนช้อยก่อให้เกิดหยางซึ่งเป็นพลังด้านบวก แต่พื้นดินสองฝั่งแม่น้ำที่ค่อนข้างราบเรียบและไม่มีลักษณะเด่น อาจทำให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดของหยินซึ่งเป็นพลังด้านลบได้

ชี่ คือลมหายใจที่ให้ชีวิต หรือพลังงานที่กำหนดรูปร่างและสร้าง

การเคลื่อนไหวให้แก่สรรพสิ่ง เป็นพลังที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่าง

ต่อเนื่อง สถานที่ซึ่งชี่รวมตัวกันจะเกิดพลังด้านบวก และสถานที่ซึ่งชี่

กระจายตัวจะมีพลังด้านลบเข้ามาแทนที่ เราอาจจัดทิศทางให้ชี่ไหลมารวม

ในที่ที่ต้องการได้เพื่อเสริมโชคลาภของสถานที่แห่งนั้น แต่หากพื้นที่นั้น

ไม่มีช่องทางให้ชี่เคลื่อนไหว ก็จะกลายเป็นการกักพลังงานไปเสียเอง

ขณะที่ในพื้นที่ที่เปิดโล่ง ชี่จะไหลผ่านอย่างรวดเร็วและหายไปในที่สุด

เฟอร์นิเจอร์อาจเป็นตัวสกัดกั้นการไหลของชี่ หรือชี่อาจเล็ดลอดผ่าน

ประตูที่เปิดทิ้งไว้ออกไป อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วเราสามารถกำหนด

และควบคุมการไหลของชี่ได้ เพื่อป้องกันพลังด้านลบที่อาจทำให้พลังชีวิต

เหือดหายไป

นอกเหนือจากชี่ที่ไหลไปตามพื้นดินและแม่น้ำ และชี่ที่สะสมและ

กระจายตัวอยู่ตามจุดต่างๆ บนพื้นดินแล้ว ยังมีชี่แห่งท้องฟ้า คือชี่ที่

ควบคุมวัฏจักรของฤดูกาล อันเป็นหนึ่งเดียวกับหยินหยาง ชี่แห่งท้องฟ้า

แบ่งออกเป็น 24 ช่วง ซึ่งกำหนดสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมทางการ

Page 15: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

20 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

เกษตรในแต่ละช่วงเวลาของปี ช่วงแรกคือ หลี่ชุน หรือช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ

เป็นช่วงเวลาที่พลังหยินลดลง พลังหยางเพิ่มขึ้น ช่วงกลางปีคือ ต้าซู่

หรือช่วงที่ไอร้อนแผดเผา เป็นช่วงที่พลังหยางเพิ่มสูงสุด และช่วงปลายปี

คือ ต้าหาน หรือช่วงที่อากาศหนาวเหน็บ เป็นช่วงที่หยินทรงพลังที่สุด

ซา : ลมหายใจที่พรากชีวิต ชี่ที่ไหลผ่านพื้นดินและเหนือพื้นดินขึ้นไปสามารถอ่อนแอและเสื่อม

สลายได้เช่นกัน เมื่อชี่กระจายตัวหรือถูกสกัดกั้น พลังด้านบวกจะลดลง

และ ซา หรือลมหายใจที่พรากชีวิต จะเข้ามาแทน ซาก่อให้เกิดพลังด้าน

ลบหรือพลังทำลายล้าง อาจพบได้ในกองขยะ น้ำนิ่ง หรือในพืชพรรณ

ที่เน่าเสีย นอกจากนี้ซายังอยู่ในสายลมอันหนาวเหน็บที่แทรกผ่านช่องว่าง

ระหว่างอาคาร หรือจากสายฟ้าระหว่างเกิดพายุฝนรุนแรงอีกด้วย ซาอาจ

เดินทางมาตามสิ่งที่เป็นเส้นตรง เช่น สายไฟฟ้า ถนนที่พุ่งตรงเหมือนลูก

ธนู ทางรถไฟ หรือจากมุมแหลมของอาคารหรือสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

ที่มีลักษณะแหลมคม ส่วนใหญ่กรณีแบบนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการ

เคลื่อนย้าย สกัดกั้น หรือเบี่ยงเบนสิ่งที่ทำให้เกิดซา และจะทำให้ชี่ก่อตัว

ขึ้นมาใหม่

กั้ว ปฏิกิริยาและแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างหยินกับ

หยางก่อให้เกิดรูปแบบความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงในจักรวาล

ซึ่งเป็นไปตามบัญญัติแห่งเต๋า วัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุดนี้แทนได้ด้วยกั้ว หรือ

ไทรแกรมทั้งแปดของอี้จิง กั้วแต่ละชุดประกอบด้วยขีดสามขีด ซึ่งอาจ

เป็นขีดสั้นต่อกันสองขีด (ขีดหยิน) หรือขีดยาวหนึ่งขีด (ขีดหยาง) ก็ได้

Page 16: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 21

โดยจะมีกั้วชุดหนึ่งที่มีแต่ขีดหยิน และกั้วชุดหนึ่งที่มีแต่ขีดหยาง ส่วน

กั้วอื่นๆ จะประกอบด้วยขีดหยินและขีดหยางผสมกัน เรียงเป็นวงกลม

เพื่อแสดงการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ จากหยินที่สัมบูรณ์ไปสู่หยางที่สัมบูรณ์

จนวนกลับสู่หยินที่สัมบูรณ์ต่อไปเรื่อยๆ

ใต้

หลี

ขั่น

เหนือ

เส้นบนสุดของกั้วคือเส้นที่อยู่ด้านนอก ไล่เข้าสู่ด้านใน ทิศใต้อยู่ด้านบนสุดตามแบบเข็มทิศจีน

ตะวันออกเฉียงใต้

ซวิ่น

ตะวันตกเฉียงใต้

คุน

ตะวันออก เจิ้น ตะวันตก

เกิ้น เฉียน

ตะวันออกเฉียงเหนือ

ตะวันตกเฉียงเหนือ

Page 17: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

22 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

หากดูจากเข็มทิศปาจื้อหลักในหน้า 42 จะเห็นว่า กั้วทั้งแปดเรียง

เป็นวงกลม โดยที่กั้วแต่ละชุดสัมพันธ์กับธาตุแต่ละธาตุและทิศแต่ละทิศ

การเรยีงลำดบักัว้แบบนีเ้รยีกวา่ การเรยีงลำดบัแบบโฮว่เทยีน ซึง่ใชก้บัเขม็ทศิ

ฮวงจุ้ยของจีน เพื่อแสดงถึงสมดุลและการเคลื่อนไหวของหยินหยาง

บนดิน (การเรียงลำดับอีกแบบหนึ่งเรียกว่า การเรียงลำดับแบบเซียนเทียน

เป็นการจัดเรียงแบบดั้งเดิมซึ่งแตกต่างออกไป โดยแสดงให้เห็นวัฏจักร

ประจำปีของหยินและหยางตลอดทุกฤดูกาล อันแสดงถึงพลังจักรวาล

ของหยินและหยาง)

กั้วแต่ละชุดมีความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ทั่วจักรวาล ทั้งความ

สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ และคุณสมบัติด้านต่างๆ ดังตัวอย่าง

ต่อไปนี้

ความสัมพันธ์ต่างๆ ของกั้ว

กั้ว ทิศ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

คุณสมบัติ สมาชิกครอบครัว

หลี ใต้ ไฟ ยึดมั่น พึ่งพา ลูกสาว คนกลาง

คุน ตะวันตก เฉียงใต้

ดิน ใจกว้าง โอนอ่อน

แม่

ตุ้ย ตะวันตก ทะเลสาบ ร่าเริง สงบนิ่ง ลูกสาวคนเล็ก

เฉียน

ตะวันตก เฉียงเหนือ

ฟ้า สร้างสรรค์ เข้มแข็ง

พ่อ

ขั่น เหนือ น้ำ อันตราย น้ำไหลเชี่ยว

ลูกชาย คนกลาง

เกิ้น ตะวันออก เฉียงเหนือ

ภูเขา มั่นคง สงบนิ่ง ลูกชายคนเล็ก

Page 18: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 23

ธาตุทั้งห้า ศาสตร์แบบจีนดั้งเดิมใช้ธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน

ธาตุทอง และธาตุน้ำ ในการอธิบายกระบวนการการเปลี่ยนแปลง ธาตุ

เหล่านี้มีอยู่ไม่มากก็น้อยในสสารทุกชนิด การทำปฏิกิริยาต่อกันแสดงถึง

การเติบโตและการเสื่อมสลายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในจักรวาล ซูจิง หรือ

คัมภีร์ประวัติศาสตร์ ระบุว่า ฟ้าบัญญัติระเบียบของจักรวาล และขั้นตอน

แรกคือการแบ่งปรากฏการณ์ทั้งปวงออกเป็นธาตุทั้งห้า

ธรรมชาติของน้ำคือชุ่มฉ่ำและไหลสู่ที่ต่ำ ธรรมชาติของไฟคือลุก

โพลงขึ้นสู่ที่สูง ธรรมชาติของไม้คือมีโค้งงอและมีตรง ธรรมชาติของทอง

(โลหะ) คือคงรูปและเปลี่ยนแปลง และธรรมชาติของดินคือกระจายตัว

และรวมตัว สิ่งที่ชุ่มฉ่ำและไหลสู่ที่ต่ำกลายเป็นรสเค็ม สิ่งที่ลุกโพลงขึ้นสู่ที่

สูงกลายเป็นรสขม สิ่งที่มีโค้งงอและมีตรงกลายเป็นรสเปรี้ยว สิ่งที่คงรูป

และเปลี่ยนแปลงกลายเป็นรสเผ็ด และสิ่งที่กระจายตัวและรวมตัวกลาย

เป็นรสหวาน

(The Great Plan จาก The Chinese Classics Vol. III

แปลโดย James Legge)

เจิ้น ตะวันออก สายฟ้า ไม่หยุดนิ่ง กระตือรือร้น

ลูกชายคนโต

ซวิ่น ตะวันออก เฉียงใต้

ลม หลักแหลม อ่อนโยน

ลูกสาวคนโต

Page 19: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

24 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

ธาตุต่างๆ ดำรงอยู่ในวัฏจักรแห่งการก่อกำเนิดและการทำลาย

บ้างก็สรรค์สร้าง หล่อเลี้ยง เสริมความเข้มแข็ง บ้างก็ทำให้อ่อนแอ สลาย

ตัว และทำลายล้าง อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก

การทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างธาตุก่อให้เกิดธาตุใหม่ การไหลและแรงต้าน

ของหยินกับหยางสามารถพบได้ในการเคลื่อนไหวของตัวมันเอง ยก

ตัวอย่างเช่น ธาตุน้ำที่สงบนิ่งเป็นหยิน ธาตุน้ำที่ใสสะอาดและไหลอย่าง

ราบรื่นเป็นหยาง แต่เมื่อธาตุน้ำไหลเร็วรุนแรงและเป็นอันตรายจะกลาย

เป็นหยินอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้จะกล่าวถึงผลจากการทำปฏิกิริยาต่อกันของ

ธาตุต่างๆ และวิธีแปลความหมายต่อไปในหน้า 33 - 41

มังกรอยู่ในรูปของพื้นดิน ชี่ที่ไหลเหนือพื้นดินและผ่านบริเวณนั้นเรียกกันว่า เลือดมังกร

Page 20: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 25

มังกร ในการดูฮวงจุ้ย รูปร่างของพื้นดิน การไหลของแม่น้ำ และรูปแบบ

ต่างๆ ที่เกิดจากแสงสว่างและลมเชื่อมโยงกับรูปร่างของสัตว์หลายชนิด

สัตว์เหล่านี้แสดงถึงคุณสมบัติต่างๆ ของพื้นดิน ซึ่งอาจเต็มไปด้วยพลังงาน

และอันตราย แต่ในบรรดาสัตว์ทั้งมวล รูปร่างของมังกรเป็นธรณีสัณฐานที่

สำคัญที่สุด พบได้ในภูมิประเทศทุกแบบ และอยู่ในรูปต่างๆ ทั้งที่เป็นเส้น

ตรง สันเขา ยอดเนินเขา ลาดเขา เนินเขา และหุบเขา ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น

เส้นเลือดมังกรและแหล่งที่มาของลมหายใจมังกร ชี่ที่ไหลผ่านพื้นดินรู้จัก

กันในชื่อของเลือดมังกร นอกจากนี้มังกรยังพบได้ในรูปแบบของทางน้ำ ที่

เรียกว่ามังกรน้ำอีกด้วย กล่าวคือ แม่น้ำคือเส้นทางมังกรซึ่งพลังชี่ไหลผ่าน

(ดูหน้า 75)

ดังนั้นมังกรจึงไม่ใช่เพียงการเปรียบเทียบกับภูเขาและแม่น้ำเท่านั้น

หากแต่เป็นตัวตนที่มีชีวิตซึ่งให้กำเนิดพลังงานที่ให้ชีวิต เส้นเลือดมังกรมี

ความหลากหลายตั้งแต่ระดับสูงจนถึงระดับสามัญ ไล่ตั้งแต่ยอดเขาสูง

ตระหง่านกล้าแกร่ง แนวสันเขา ตลอดจนหุบเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล

ไปจนถึงสันเขาเล็กๆ ของเนินเขาลูกคลื่น จิตวิญญาณของมังกรอาจก่อ

ให้เกิดอันตรายได้หากแนวสันเขาทิ้งตัวลาดชันลงกะทันหัน เนื่องจากชี่

ไม่ได้ค่อยๆ แทรกซึมสู่พื้นดิน รูปร่างของมังกรควรเกิดจากเส้นเลือด

ที่กระจัดกระจายอยู่เบื้องล่าง ไล่ขึ้นไปสู่ยอดเขาเบื้องบนที่ทอดยาว

กลายเป็นกระดูกสันหลัง จากนั้นจึงค่อยๆ แยกออกไปเป็นสันเขาเตี้ยๆ

อีกครั้ง

Page 21: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

2� ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

ขณะที่สายน้ำไหลออกสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว พลังมังกรจะลดลง พลังของชี่ซึ่งอัดแน่นอยู่ในมังกร บนภู เขาแห่งนี้จะเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ขณะเคลื่อนตัวลงมาตามผาชัน

Page 22: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 2�

ยังมีรูปแบบของมังกรที่แตกต่างกันอีกมากมาย บางรูปแบบมี

พลังงานไหลเวียนมานานหลายศตวรรษ ทำให้สามารถคงพลังงานไว้ใช้ซ้ำ

ได้เรื่อยๆ ขณะที่บางรูปแบบไม่สามารถสร้างพลังงานขึ้นใหม่เมื่อใช้กับ

อาคารบ้านเรือนไปแล้ว มังกรบางรูปแบบเป็นแหล่งพลังงานอันเข้มข้น

ขณะที่บางรูปแบบก็ไม่เข้มข้นเท่า และพลังงานกระจายตัวมากกว่า (ดู

หัวข้อ ‘รูปร่างสัตว์บนพื้นดิน’ หน้า 73)

บ่อยครั้งที่พลังของภูเขาแข็งแกร่งขึ้นด้วยสายน้ำที่ ไหลผ่าน

เส้นเลือด เมื่อสายน้ำไหลอย่างสม่ำเสมอไปสู่ภูเขาที่มีพลังงานไหลเวียน

พลังงานจะรวมตัวกันและก่อกำเนิดเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ภูเขาจะทำให้

พลังงานน้ำเข้มข้น ขณะที่น้ำก็แผ่พลังแห่งขุนเขาออกไป แต่หากน้ำ

ไหลแรงออกจากพื้นที่นั้น จะทำให้พลังงานอ่อนแอและลดน้อยลง

ลม ลมเป็นตัวนำพลังงานอีกตัวหนึ่ง ลมหนาวบาดผิวจะซอกซอนผ่าน

รอยแยก พัดผ่านเหนือแนวสันเขา หรือพัดผ่านที่ราบพร้อมกับพลังทำลาย

ล้าง ขณะที่สายลมแผ่วเบาจะให้ชีวิตและแผ่พลังชี่ออกไป บางครั้งลมก็พัด

ผ่านทิวเขาดุจลูกธนูที่พุ่งผ่านช่องเขาและหุบเขา แต่หากเส้นเลือดมังกร

แห่งขุนเขามีความสมดุล ก็จะช่วยควบคุมและบังคับทิศทางลมไปสู่สถานที่

ตั้งได้

สถานที่ตั้งบนเนินเขาที่เปิดโล่งหรือที่ราบจำเป็นต้องปลูกพืชพรรณ

หรือสร้างอาคาร เพื่อปกป้องบริเวณนั้นและควบคุมผลกระทบอันเกิดจาก

การไหลของลม ในทางกลับกัน สถานที่ตั้งที่ถูกบดบังหรือปิดทึบหมด

จะกลายเป็นแหล่งกำเนิดของซา เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อช่วย

กระตุ้นพลังชี่ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างสมดุล เพื่อไม่ให้บริเวณนั้น

Page 23: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

2� ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

บอบบางจนไม่สามารถทนรับสภาพอากาศที่เลวร้าย แต่ขณะเดียวกันก็

ต้องเปิดกว้างพอที่จะได้รับแสงแดดและความอบอุ่นจากธรรมชาติด้วย

พลังงานของธรณีสัณฐาน สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่สามารถช่วยสร้างสมดุลและปกป้องสถานที่

ตั้งที่อ่อนแอหรือบอบบางได้ แม้ว่าสิ่งปลูกสร้างนั้นจะยังไม่มีเวลาได้ดูดซับ

พลังงานแรกเริ่มของจักรวาล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในธรณีสัณฐานส่วนใหญ่

ก็ตาม เมื่อภูเขาทลายลง หุบเขาถูกน้ำท่วม หรือเมื่อมีการทำเหมือง แหล่ง

พลังงานอันเข้มข้นที่สะสมมานานนับพันปีจะถูกตัดขาด พัดหายไป หรือ

ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การสร้างโรงไฟฟ้าหรือเขื่อนขนาดใหญ่ก็เป็นการ

รบกวน ลดทอนกำลัง และทำลายสถานที่มีพลังงานไหลเวียน ในขณะ

เดียวกัน เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว

แม้ว่าบ้านหลังนี้จะตั้งอยู่โดดเดี่ยว แต่ก็มีลมพัดผ่านหุบเขาเข้าสู่ใจกลางพื้นที่ โดยมีเนินเขาซึ่ง คุ้มกันภัยอยู่รายรอบเป็นตัวสร้างสมดุล

Page 24: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 2�

หรือดินถล่ม พลังงานของพื้นดินจะทะลักออกมาอย่างฉับพลัน และอาจ

ก่อเกิดเป็นธรณีสัณฐานใหม่ ธรณีสัณฐานบางแห่งอาจปิดกั้นเส้นทางของ

พลังงาน ขณะที่บางแห่งพลังงานก็เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางใหม่อย่างมี

ประสิทธิภาพ แม้ว่าธรณีสัณฐานดังกล่าวจะยังไม่ได้สั่งสมเวลามากพอ

จนกลายเป็นแหล่งพลังงานอันเข้มข้นก็ตาม

สี่ผู้พิทักษ ์สถานที่ตั้งทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นเมืองหรือชนบท

ล้วนแวดล้อมด้วยจิตวิญญาณของเทพอสูรทั้งสี่

ได้แก่ เต่าดำ หงส์แดง มังกรเขียว และพยัคฆ์

ขาว ในประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่ม ฮวงจุ้ยได้

รับการพัฒนาเพื่อใช้ในการหาสถานที่

ตั้งอันเป็นมงคลสำหรับฝังศพ เพื่อให้

ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษสงบสุข

และได้รับการปกป้องจากเทพอสูร

ทั้ ง สี่ ซึ่ ง เป็ นผู้ พิ ทั กษ์ รอบสุ ส าน

ตำแหน่งของเทพอสูรแต่ละองค์ ใช้

สุสานเป็นหลักในการกำหนดตำแหน่ง

เรือ่ยมา เมือ่มองออกนอกสสุานไปเบือ้งหนา้

จะตรงกับหงส์แดง มีเต่าดำคอยค้ำจุนอยู่เบื้องหลัง

มังกรเขียวอยู่ เบื้องซ้าย และพยัคฆ์ขาวอยู่ เบื้องขวา

ตามฮวงจุ้ย ที่ฝังศพอยู่ในอาณาเขตของหยิน (ดูภาพประกอบหน้าถัดไป)

สถานที่ตั้งทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นเมืองหรือชนบท

ล้วนแวดล้อมด้วยจิตวิญญาณของเทพอสูรทั้งสี่

ได้แก่ เต่าดำ หงส์แดง มังกรเขียว และพยัคฆ์

ขาว ในประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่ม ฮวงจุ้ยได้

ตำแหน่งของเทพอสูรแต่ละองค์ ใช้

สุสานเป็นหลักในการกำหนดตำแหน่ง

เรือ่ยมา เมือ่มองออกนอกสสุานไปเบือ้งหนา้

จะตรงกับหงส์แดง มีเต่าดำคอยค้ำจุนอยู่เบื้องหลัง

มังกรเขียวอยู่ เบื้องซ้าย และพยัคฆ์ขาวอยู่ เบื้องขวา

ตามฮวงจุ้ย ที่ฝังศพอยู่ในอาณาเขตของหยิน (ดูภาพประกอบหน้าถัดไป)

Page 25: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

30 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

จิตวิญญาณของเทพอสูรที่แวดล้อมที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์

จะกำหนดด้วยมุมมองที่แตกต่างออกไป เนื่องจากอาคารเหล่านี้อยู่ใน

เขตหยาง ในการดูฮวงจุ้ย ให้ยืนหันหน้าเข้าหาอาคาร หงส์แดงจะอยู่ทิศ

เบื้องหน้าของสถานที่ตั้ง เต่าดำอยู่เบื้องหลัง มังกรเขียวอยู่เบื้องซ้าย และ

พยัคฆ์ขาวอยู่เบื้องขวา บทบาทของสี่ผู้พิทักษ์ในการปกป้องพื้นที่ในชนบท

จะได้อธิบายต่อไปในหน้า 72 และมีการ

กลา่วถงึโดยตลอด โดยสมัพนัธก์บัตวัอยา่ง

ของสถานที่ตั้งที่ฮวงจุ้ยดีและไม่ดี

ตำแหน่งของเทพอสูรในเขตหยินใช้กับสถานที่ตั้งของหลุมศพ เพื่อให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้รับการปกป้องคุ้มครองและอยู่อย่างสงบสุข

อาณาเขตหยิน

เต่าดำ

มังกรเขียว

หงส์แดง

พยัคฆ์ขาว สถานที่ตั้งของหลุมศพ

Page 26: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

อู่ สิ ง ๏ 31

อาณาเขตหยาง

เต่าดำ

มังกรเขียว

หงส์แดง

พยัคฆ์ขาว

ตำแหน่งของเทพอสูรในเขตหยางใช้กับบ้าน และสถานประกอบธุรกิจ รูปแบบนี้เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาขณะประเมินสภาพแวดล้อม

สถานที่ตั้งของบ้าน หรือสถานประกอบธุรกิจ

การนำไปใช ้หลักการแต่ละข้อที่กล่าวไปนั้นมี

บทบาทในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ

สถานที่ตั้ง ในเนื้อหาส่วนที่สองมีการ

แสดงตัวอย่างพร้อมคำแนะนำของสถาน

ที่ตั้งต่างๆ ในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่ง

หลักฮวงจุ้ยในส่วนที่หนึ่ งนี้จะทำให้

เข้าใจที่มาของคำแนะนำเหล่านี้ได้อย่าง

ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

Page 27: บทนำ ชี่ - satapornbooks.co.th · อู่ สิ ง ๏ ทุกความเคลื่อนไหว ทุกรูปทรง และทุกอารมณ์

32 ๏ ฮ ว ง จุ้ ย รั บ โ ช ค ล า ภ

ในการดูฮวงจุ้ยของสิ่งต่างๆ เราไม่สามารถดูแยกเพียงอย่างเดียว

โดยตัดสภาพแวดล้อมรอบตัวออกได้ ยกตัวอย่างเช่น อันดับแรกฮวงจุ้ย

ของบ้านจะได้รับผลกระทบจากสถานที่ตั้ง ต้องพิจารณาว่าบ้านอยู่บน

เนนิเขาหรอืในหบุเขา อยูใ่ตอ้ำนาจอนัทรงพลงัของหยนิหรอืหยาง หรอือยู ่

ในสถานที่ตั้งของมังกรผู้ทรงพลังหรือไม่ หากอาศัยอยู่ในเมือง ก็มัก

พิจารณาอาคารบ้านเรือนแทนลักษณะทางธรรมชาติ ดังนั้นการมีอาคารที่

สงูกวา่อยูห่ลงับา้นในตำแหนง่ของเตา่ดำ จงึเปน็การใหก้ารปกปอ้งคุม้ครอง

เช่นเดียวกันกับที่เนินเขาปกป้องบ้านเรือนในชนบท ขณะที่การจราจรอัน

หนาแน่นและมียานพาหนะสัญจรไปมาหน้าบ้านอย่างรวดเร็วจะลดทอน

พลังงานลง เช่นเดียวกันกับการที่กระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวลดทอนพลังของชี่

การมองภาพโดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งใหญ่และเล็กเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะความเข้มแข็งในบริเวณหนึ่งอาจช่วยชดเชยความอ่อนแอของอีก

บริเวณหนึ่ง สิ่งที่ต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ ลักษณะบางอย่างก็ไม่

สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่จะเห็นว่าเราสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อ

ปรับปรุงสถานที่ตั้งให้สมดุลและกลมกลืนได้มากยิ่งขึ้น