บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... ·...

17
เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนุษย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน้าและอิเล็กโทรไลต์ กรดด่าง 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 13 มีนาคม 2563 เวลา 08.00-12.00 น. อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนนักศึกษาสามารถ 1. บอกบทบาทที่สาคัญของน้าต่อร่างกายได้ 2. บอกกลไกการควบคุมสมดุลของสารน้าได้ 3. บอกภาวะแทรกซ้อนของการเสียสมดุลของนาและและอิเล็กโทรไลต์ต่อร่างกายมนุษย์ได้ ้า (สัญลักษณ์ทางเคมีใชH2O) น้ามีความสาคัญต่อร่างกายของมนุษย์ เนื่องจากน้าเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทั้งในเซลล์และนอกเซลล์ มีประมาณ 2 ใน 3 ของน้าหนักตัว น้าช่วยส่งเสริมให้เซลล์ทางานได้ดีขึ้น เป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่ของสาร ต่างๆ ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ โดยผ่านผนังหุ้มเซลล์ เช่น การนาสารอาหารเข้าสู่เซลล์ การขับถ่าย ของเสียออกจากเซลล์ การรักษาสมดุลของเกลือแร่ เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการเผาผลาญของเซลล์ต้อง อาศัยน้าเป็นตัวกลาง ตลอดจนน้ายังรักษาอุณหภูมิร่างกาย และคงไว้ซึ่งปริมาตรเลือดไหลเวียนอีกด้วย ภาวะ เสียสมดุลของน้าจากภาวะขาดน้าหรือน้าเกิน แม้จะไม่ใช่โรค แต่ภาวะเสียสมดุลนี้จะทาให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ได้ หรืออาจมีสาเหตุจากโรคที่ทาให้เกิดภาวะเสียสมดุลของนา และมีพยาธิสภาพที่รุนแรงถึงขั้นวิกฤตไดน้าเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากนาก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคน สามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดนาจะเสียชีวิตภายใน 2–3 วัน การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าน้ามี ประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของโมเลกุลน้าที่เป็นตัวทา ละลายที่ดีและมีประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ้าเป็นองค์ประกอบของชีวิต ร่างกายมนุษย์มีน้าเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีนาเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ใน สมองมีน้าเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีนาเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆ แล้วนาเป็นส่วนประกอบสาคัญและจาเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืช เซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยนาทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้าประมาณ 2 ใน 3 ของน้าหนักร่างกาย ใน พืชบกมีน้าประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชนาอาจมีน้ามากกว่าร้อยละ 95 โดยนาหนัก หน้าที่สาคัญที่สุดของน้า คือ เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดในกระบวนการเมแทบอลิซึม ของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดต้องอาศัยนา เซลล์จะไม่สามารถทางานได้ถ้าไม่มีนา ตัวอย่างทีเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสีย ออกจากร่างกาย

Upload: others

Post on 01-Aug-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

บทที ่9 ระบบไต สมดลุของสารน ้าและอเิล็กโทรไลต์ กรดด่าง 2

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 13 มีนาคม 2563 เวลา 08.00-12.00 น. อ.เพ็ชรัตน ์เตชาทวีวรรณ

วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนนักศึกษาสามารถ

1. บอกบทบาทท่ีส าคัญของน้ าต่อร่างกายได้

2. บอกกลไกการควบคุมสมดุลของสารน้ าได้

3. บอกภาวะแทรกซ้อนของการเสียสมดุลของน้ าและและอิเล็กโทรไลต์ต่อร่างกายมนุษย์ได้

น ้า (สัญลักษณ์ทางเคมีใช้ H2O)

น้ ามีความส าคัญต่อร่างกายของมนุษย์ เนื่องจากน้ าเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทั้งในเซลล์และนอกเซลล์

มีประมาณ 2 ใน 3 ของน้ าหนักตัว น้ าช่วยส่งเสริมให้เซลล์ท างานได้ดีขึ้น เป็นตัวกลางในการเคลื่อนที่ของสาร

ต่างๆ ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ โดยผ่านผนังหุ้มเซลล์ เช่น การน าสารอาหารเข้าสู่เซลล์ การขับถ่าย

ของเสียออกจากเซลล์ การรักษาสมดุลของเกลือแร่ เป็นต้น นอกจากนี้กระบวนการเผาผลาญของเซลล์ต้อง

อาศัยน้ าเป็นตัวกลาง ตลอดจนน้ ายังรักษาอุณหภูมิร่างกาย และคงไว้ซึ่งปริมาตรเลือดไหลเวียนอีกด้วย ภาวะ

เสียสมดุลของน้ าจากภาวะขาดน้ าหรือน้ าเกิน แม้จะไม่ใช่โรค แต่ภาวะเสียสมดุลนี้จะท าให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต

ได้ หรืออาจมีสาเหตุจากโรคที่ท าให้เกิดภาวะเสียสมดุลของน้ า และมีพยาธิสภาพที่รุนแรงถึงข้ันวิกฤตได้

น้ าเป็นสิ่งจ าเป็นส าหรับสิ่งที่มีชีวิต มักมีผู้กล่าวไว้ว่าถ้าปราศจากน้ าก็ปราศจากสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปคน

สามารถอดอาหารได้หลายสัปดาห์ แต่ถ้าอดน้ าจะเสียชีวิตภายใน 2–3 วัน การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่าน้ ามี

ประโยชน์มากมายแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากคุณสมบัติที่เด่นที่สุดของโมเลกุลน้ าที่เป็นตัวท า

ละลายที่ดีและมีประโยชน์ต่อการด ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

น ้าเป็นองค์ประกอบของชีวิต

ร่างกายมนุษย์มีน้ าเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ าเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ใน

สมองมีน้ าเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ าเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆ

แล้วน้ าเป็นส่วนประกอบส าคัญและจ าเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืช เซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์

ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ าทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ าประมาณ 2 ใน 3 ของน้ าหนักร่างกาย ใน

พืชบกมีน้ าประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ าอาจมีน้ ามากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ าหนัก

หน้าที่ส าคัญท่ีสุดของน้ า คือ เป็นตัวกลางในการเกิดปฏิกิริยาเคมีทุกชนิดในกระบวนการเมแทบอลิซึม

ของร่างกาย ปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกชนิดต้องอาศัยน้ า เซลล์จะไม่สามารถท างานได้ถ้าไม่มีน้ า ตัวอย่างที่

เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ กระบวนการการย่อยอาหาร กระบวนการดูดซึมอาหาร และกระบวนการขับถ่ายของเสีย

ออกจากร่างกาย

Page 2: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

2

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

น้ าที่เป็นของเหลวของเลือดท าหน้าที่ขนส่งอาหารและออกซิเจนให้แก่เซลล์ อีกท้ังน าของเสียและก๊าซ

คาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาขับถ่ายออกจากร่างกาย กระบวนการไหลเวียนเลือดและกระบวนการขับถ่าย

ของเสียในร่างกายไม่สามารถเกิดข้ึนได้ถ้าปราศจากสมดุลของสารน้ าในร่างกาย

น้ าช่วยให้การขับถ่ายกากอาหารในล าไส้ใหญ่เป็นไปโดยสะดวก ความผิดปกติของการถ่ายอุจจาระ

เกิดข้ึนเนื่องจากขาดสมดุลของการดูดซึมน้ ากลับเข้าสู่เซลล์ล าไส้ เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วง

หลายชนิดสร้างสารพิษท่ีมีผลต่อกลไกการควบคุมสมดุลสารน้ าภายในล าไส้

สารพิษ รวมทั้งสารเคมีในร่างกายท่ีอาจเป็นพิษ ถูกก าจัดออกจากร่างกายโดยอาศัยน้ า เลือดท าหน้าที่

ขนส่งสารเหล่านั้นไปทั่วร่างกายซึ่งสารนั้นละลายในน้ าตับเป็นอวัยวะส าคัญในการท าลายหรือเปลี่ยนแปลง

สารพิษด้วยกลไกทางเคมีมากมายหลายชนิด บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าตับเป็นโรงงานผลิตเอนไซม์ที่ทรงพลัง

มากกว่าโรงงานใดๆในโลก กระบวนการขับถ่ายสารพิษเกิดขึ้นร่วมกับการขับถ่ายทางปัสสาวะและอุจจาระ

น้ าช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และช่วยรักษาระดับความเป็นกรดด่างของเลือดรวมทั้งของเหลว

ต่างๆ ในร่างกาย น้ าช่วยระบายความร้อนของร่างกายในรูปของเหงื่อ ซึ่งถือเป็นกลไกท่ีมีประสิทธิภาพยิ่ง

ร่างกายในภาวะปกติได้รับน้ าหลายทางด้วยกัน

1) น้ าดื่ม เครื่องดื่ม

2) น้ าที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร

3) น้ าที่ได้จากการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน

ปกติคนเราดื่มน้ าวันละประมาณ 1.5 – 2.0 ลิตร และได้รับจากเครื่องดื่มและอาหารทั้งภายในและ

ภายนอกร่างกายอีกประมาณวันละ 1 – 2 ลิตร

ร่างกายในภาวะปกติสูญเสียน้ าได้จากหลายทางเช่นกัน

1) ผิวหนัง มีทั้งที่เรามองเห็นออกมาในรูปของเหงื่อ และน้ าที่ระเหยไปโดยที่เรามองไม่เห็น

2) ปอด โดยการหายใจออก

3) ทางอุจจาระ

4) ทางปัสสาวะ

รวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งร่างกายสูญเสียน้ าประมาณ 3–5 ลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่ได้รับ

ปริมาณของน้ าในร่างกายคนไม่แน่นอน ขึ้นกับอายุ ปริมาณของไขมันในร่างกาย และกิจกรรมของแต่ละ

คน คนที่ท างานหนักกลางแจ้งอาจสูญเสียน้ า 5 – 12 ลิตรต่อวัน หรือคนท่ีมีโรคภัยไข้เจ็บก็อาจเสียสมดุลของ

น้ าในร่างกายได้ง่าย

กลไกการควบคุมสมดุลของสารน ้า

สมองส่วนไฮโปทาลามัสท าหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ าในร่างกาย

Page 3: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

3

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ า สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ า จะสั่งการให้เกิด

การดื่มน้ าทดแทน โดยจะรู้สึกกระหายน้ า และเมื่อมีการกลืนน้ าเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่าง

รวดเร็ว

ถ้าร่างกายขาดน้ าประมาณ 3 วัน ก็จะท าให้เสียชีวิตได้ ส าหรับภาวะขาดน้ าเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ า

ไม่เพียงพอ จะท าให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ร่างกายคนเรามีน้ าเป็นส่วนประกอบมากถึง 2 ใน 3 ส่วน และอวัยวะส าคัญต่างๆ ก็มีน้ าอยู่เป็นจ านวน

มาก เช่น ปอดมีน้ าอยู่เกือบ 90 % สมองมีน้ าอยู่ถึง 75 % แม้แต่ผิวหน้าก็มีองค์ประกอบประมาณ 35 %

ดังนั้นในแต่ละวันเราจึงควรดื่มน้ าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือทีเรียกว่า TBW (Total Body

Water) ซึ่งร่างกายต้องการน้ าวันละประมาณ 2–3 ลิตร โดยจะมีการขับน้ าออกจากร่างกายในลักษณะของ

ปัสสาวะ เหงื่อ อุจจาระ และลมหายใจ ซึ่งน้ าจะถูกขับออกทางปัสสาวะวันละประมาณครึ่งลิตร ถึง 2.3 ลิตร

ปริมาณน ้าในร่างกาย TBW (Total Body Water)

ปริมาณน้ าดื่มในแต่ละวันเป็นสิ่งส าคัญ คนที่ดื่มน้ าน้อยจะท าให้เลือดข้น ระบบไหลเวียนของเหลวใน

ร่างกายจะไม่ปกติ ผิวพรรณหยาบกร้าน รวมทั้งอาจจะเกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ แต่หากดื่มมากเกินไปจะท าให้

ไตจะท างานหนัก ส่งผลให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ความดันสูง น้ าหนักมากขึ้น ร่างกายบวม

น้ า รวมทั้งส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ การดื่มน้ าอย่างถูกต้องและเพียงพอที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

หรอื TBW (Total Body Water) จะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดี หัวใจท างานปกติ และมีประสิทธิภาพ

แข็งแรงขึ้น ขณะเดียวกัน การขับถ่ายของเสียก็ท างานได้ดี ที่ส าคัญยังช่วยให้ใบหน้าชุ่มชื่น มีเลือดฝาด และไม่

ปวดหลังหรือบั้นเอว เพราะสุขภาพไตแข็งแรง แล้วปริมาณน้ าที่เหมาะสมกับร่างกายแต่ละคนคือเท่าไหร่ เรา

มาถอดรหัสกันดีกว่า องค์การอนามัยโลกได้ก าหนดสูตรค านวณปริมาณน้ าดื่มที่เหมาะสมกับน้ าหนักตัว ของแต่

ละคนต่อวันไว้ดังนี้

ปริมาณน้ าด่ืมต่อวัน (cc) = ( น้ าหนักตัว (Kg) / 2 )X 2.2 X 30

หมายเหตุ : จ านวน 1,000 cc = 1 ลิตร (1ลิตร = 5 แก้ว โดยประมาณ)

การวัดองค์ประกอบของร่างกาย (น้ า กระดูก กล้ามเนื้อ และมวลไขมัน)

แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถวัดปริมาณน้ าในร่างกาย ที่เหมาะสม หรือ TBW (Total Body Water) ได้

จากเครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Digital Body Fat Scale) เป็นการวัดองค์ประกอบของร่างกาย (body

composition) วิธีการใหม่ท่ีก าลังมาแรงโดยเป็นการวัดองค์ประกอบของร่างกาย (body composition) จาก

การส่งผ่านไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ าๆเข้าไปในร่างกาย แล้ววัดผลจากความต้านทานไฟฟ้าของเนื้อเยื่อต่างๆที่มี

คุณสมบัติในการน าไฟฟ้าที่ไม่เท่ากัน โดยเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นมวลไขมันจะท าหน้าที่เป็นฉนวนและมีความ

ต้านทานไฟฟ้าสูง ส่วนมวลกล้ามเนื้อที่มีส่วนประกอบของน้ าอยู่ในเซลล์มีความต้านทานไฟฟ้าน้อยกว่าเซลล์

ไขมัน โดย เครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Digital Body Fat Scale) วิเคราะห์แยกส่วนประกอบของร่างกาย

Page 4: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

4

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนของ ปริมาณน้ าในร่างกาย(TBW) มวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ และมวลไขมัน ของ

ร่างกายเราแต่ละคนได้

ผลของร่างกายขาดน ้า

เมื่อร่างกายขาดน้ าจะไปกระตุ้นการท างานของสมองส่วนกลาง (Hypothalamus) ท าให้เกิดความรู้สึก

กระหายน้ า โดยเมื่อเราออกก าลังกาย ร่างกายจะเสียน้ ามากข้ึนทั้งจากเหงื่อและกล้ามเนื้อ จึงท าให้ต้องดื่มน้ า

มากขึ้น ปริมาณน้ าในร่างกายถ้าลดลงเพียง 2 % ร่างกายจะเริ่มท างานสับสน ถ้าขาดน้ าถึง 5 % การท างาน

ของร่างกายจะบกพร่องผิดปกติไปถึง 30 % ถ้าเสียน้ ามากกว่านี้โดยไม่รีบแก้ไขจะท าให้เกิดการเวียนศีรษะ

หมดก าลัง อาจหมดสติและเสียชีวิตได้ เราสามารถดูผล ปริมาณน้ าในร่างกาย (Body Water) ที่วัดได้จาก

เครื่องวัดไขมันในร่างกาย (Digital Body Fat Scale) เทียบจากตาราง ปริมาณน้ าในร่างกาย ที่เหมาะสม ตาม

ช่วงอายุ ด้านล่าง

ตารางที่ 1 แสดงปริมาณในร่างกายแบ่งตามช่วงอายุ

Female Age Body Water

(%) Muscle Mass

(%) Bone Mass

(%) Calorie

Intake / Day Normal Normal Normal Suggestion

6-12 >56 >35 >1.2 1000-2200 13-20 >55 >33 >1.6

1100-2550 21-40 >54 >32

>2.4 41-60 >53 >31 61-80 >51 >30 >2.1

Athlete >55 >37 >3.3 2000-4000 Male

Age Body Water (%)

Muscle Mass (%)

Bone Mass (%)

Calorie Intake / Day

Normal Normal Normal Suggestion 6-12 >59 >39 >1.2 1100-2700 13-20 >58 >37 >1.8

1500-3200 21-40 >57 >36 >2.7 41-60 >56 >35 61-80 >54 >33 >2.5

Athlete >61 >43 >3.6 2400-4800 ที่มาของตาราง http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/uro/1572-2013-08-22-09-45-20.html

Page 5: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

5

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

ตารางที่ 2 แสดงปริมาณน้ าท่ีร่างกายไดร้ับและร่างกายขับออกใน 1 วัน

ปริมาณน ้าที่ร่างกายได้รับ ปริมาณน ้าที่ร่างกายขับออก 1. จากอาหาร 1,000 cm3 1. ลมหายใจออก 350 cm3 2. จากน ้าดื่ม 1,200 cm3 2. ขับเหงื่อ 500 cm3 3. จากปฏิกิริยาในร่างกาย 300 cm3 3. ปัสสาวะ 1,500 cm3 4. อุจจาระ 150 cm3 รวม 2,500 cm3 รวม 2,500 cm3

ที่มาของตาราง https://sites.google.com/a/splw.ac.th/dulyphaph-khxng-sing-mi-chiwit/kar-raksa-dulyphaph-khxng-na-elea-sar-tang-

ni-rangkay

ในของเหลวที่ร่างกายรับเข้าและที่ขับออกมานั้น นอกจากจะประกอบด้วยน้ าเป็นส่วนใหญ่ ยังมีเกลือแร่

และสารต่างๆ อยู่ด้วย แม้ว่าสารเหล่านี้จะมีปริมาตรน้อยนิดเมื่อเทียบกับปริมาตรของน้ า แต่ก็มีความส าคัญ

อย่างยิ่ง และร่างกายต้องรักษาสมดุลต่างๆ ดังกล่าวไว้ให้ได้เพ่ือให้ระบบต่างๆ ท างานได้อย่างปกติ อวัยวะ

ส าคัญในการรักษาดุลยภาพของน้ าและสารต่างๆ ในร่างกายคือไต ซึ่งมีโครงสร้างและการท างานร่วมกับอวัยวะ

อ่ืน

ลักษณะของน ้าดื่มที่ดี

น้ าดื่มที่ดีต้องปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมีและสารอินทรีย์ต่างๆ อาทิเช่น เชื้อจุลินทรีย์ โลหะหนัก

รวมทัง้สารเคมี

ประกอบด้วยแร่ธาตุที่จ าเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ โปแตสเซียม แมกมีเซียม แคลเซียม เป็นต้น

โครงสร้างโมเลกุลขนาดเล็กช่วยให้แทรกซึมสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถน าพา

สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งน าพาของเสีย

ออกมาจากเซลล์ไปทิ้งได้

น้ าดื่มที่ดีควรมีความกระด้างของน้ าปานกลาง มีประจุไฟฟ้าสูงและเป็นสื่อน าความร้อนที่ดี

ความเป็นด่างอ่อนๆ โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างระหว่าง pH 7.25 - 8.50เพ่ือช่วยก าจัดความ

เป็นกรดและของเสียในร่างกาย ช่วยท าให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะสมดุล

ควรมีปริมาณออกซิเจนเจือปนอยู่ด้วยสูง สามารถตรวจวัดค่าได้ประมาณ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร

หรือมากกว่า

ลักษณะของน้ าดื่มบางชนิด

1) น้ าอ่อนเป็นน้ าที่ไม่มีแร่ธาตุ

2) น้ ากลั่นเป็นน้ าที่ไม่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ละลายอยู่เลย

3) น้ าดื่มบรรจุขวดที่อาจมีสารปนเปื้อนและไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 25 ของน้ าดื่มบรรจุขวดน า

น้ าประปามาใส่ขวด และปรับปรุงคุณภาพเล็กน้อยเท่านั้น

Page 6: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

6

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

4) น้ าประปามีคลอรีนซึ่งช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่อาจจะก่อให้เกิดสารออกฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิด

จากคลอรีนท าปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในธรรมชาติซึ่งละลายอยู่ในน้ า

5) น้ าอัดลมท ามาจากน้ ากลั่นหรือน้ าอ่อนที่ไม่มีแร่ธาตุ

6) น้ าหวานและน้ าผลไม้ส าเร็จรูปเป็นน้ าตาลกับสีผสมน้ า โดยแต่งกลิ่นธรรมชาติเข้าไปและอาจเติม

วิตามินหรือแร่ธาตุปะปนอยู่บ้าง

ถ้ามนุษย์ไปอยู่ที่มีอากาศหนาวจัด ร่างกายมีการตอบสนองดังต่อไปนี้ คือ

ภาวะขาดน้ า (Dehydration) คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ ามากกว่าที่ได้รับ ท าให้กระหายน้ าและ

ปัสสาวะมีสีเข้ม มักมีสาเหตุมาจากการอาเจียน ท้องเสีย การออกก าลังกาย หรือการใช้ยาบางชนิด สามารถ

เกิดข้ึนได้กับคนทุกวัย แต่มักเกิดข้ึนได้มากกับทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ หากร่างกายสูญเสียน้ ามากเกินไปจะ

ท าให้เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถท างานได้ตามปกติ ท าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอ่ืน

ๆ ตามมาซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

Page 7: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

7

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

อาการของภาวะขาดน ้า

กระหายน้ า เป็นสัญญาณหรืออาการแรก ๆ ที่ร่างกายแสดงออกเพ่ือพยายามเพ่ิมปริมาณน้ าในร่างกาย

ทารกและเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ าได้มากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าหิว

น้ าเมื่อไหร่ อาจพบอาการปากและลิ้นแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ าตา ผ้าอ้อมเปียกปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม ตา

โหล แก้มตอบ กระหม่อมบุ๋ม ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว มือเท้าเย็น เป็นต้น

ผู้ใหญ่จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปตามระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ า และพบอาการอ่ืน ๆ ได้

ดังต่อไปนี้

อาการที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง เช่น

กระหายน้ า

ง่วงซึม อ่อนเพลีย

ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง

ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ

ท้องผูก

มึนหัว วิงเวียน ปวดศีรษะ

อาการที่มีความรุนแรง ซ่ึงจ้าเป็นต้องไปพบแพทย์โดยด่วน เช่น

กระหายน้ ารุนแรง

ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม

ความดันโลหิตต่ า

หัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจเร็วและหอบ

มีไข้

ตาโหลหรือตาลึก

ผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น

ท้องเสียรุนแรง อุจจาระเป็นเลือด

ไม่สามารถดื่มน้ าได้

ดูซึมลง สับสน สูญเสียการรับรู้เรื่องบุคคล เวลาและสถานที่ (Disorientation)

อ่อนเพลีย

หากพบหรือสงสัยว่าเด็กท่ีมีอายุต่ ากว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการป่วยหนักจากโรคอ่ืน ๆ มีอาการหรือ

เข้าข่ายของภาวะขาดน้ า ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน

Page 8: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

8

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

สาเหตุของภาวะขาดน ้า

บางครั้งผู้ป่วยอาจเกิดภาวะขาดน้ าได้จากสาเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น ดื่มน้ าน้อยเกินไป ที่อาจเป็นผลมา

จากความเจ็บป่วยหรือยุ่งจากการท ากิจกรรมอ่ืน ๆ เช่น การท างาน หรือการเล่นกีฬา รวมถึงสามารถเกิดจาก

สาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ร่างกายสูญเสียน้ ามากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ท าให้ร่างกายสูญเสียน้ าและแร่

ธาตุเป็นจ านวนมาก รวมถึงการสูญเสียน้ าผ่านทางบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น แผลไฟไหม้ แผลในปาก แผล

ติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นต้น

ปัสสาวะมากผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาความดันโลหิต หรือผู้ที่ดื่ม

แอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

เหงื่อออกมากผิดปกติ จากการออกก าลังกายเป็นเวลานาน ผู้ที่ท างานในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น

หรือในผู้ที่มีไข้สูง

ดื่มน้ าน้อยเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงผู้ที่มีอาการ

ป่วย เป็นหวัด หรือเจ็บคอ ท าให้รู้สึกเบื่ออาหารและดื่มน้ าน้อยลง

การวินิจฉัยภาวะขาดน ้า

แพทย์จะท าการวินิจฉัยเพ่ือหาสาเหตุของการเกิดภาวะขาดน้ า ซึ่งสามารถท าได้หลายวิธี เช่น การตรวจ

ร่างกาย การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เป็นต้น โดยมีแนวทางในการวินิจฉัยดังต่อไปนี้

การตรวจร่างกายเพ่ือหาสัญญาณของภาวะขาดน้ า เช่น การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจรและ

ความดันโลหิตในขณะที่ผู้ป่วยเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่ายืน หากน้ าในเลือดน้อยเกินไปจะท าให้หัว

ใจเต้นเร็วขึ้น และเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ท าให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลมได้หลังการ

เปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่ายืน

การตรวจปัสสาวะ เช่น สีของปัสสาวะ การตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ ระดับน้ าตาลที่เพ่ิมขึ้นในผู้ป่วย

เบาหวาน ปริมาณโปรตีนที่มากเกินไป อาจแสดงให้เห็นว่าไตมีปัญหา รวมถึงอาการของการติดเชื้ออ่ืน ๆ

เช่น โรคตับ เป็นต้น

การตรวจเลือด เช่น ปริมาณน้ าตาล ปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมในเลือด หรือการตรวจความ

สมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าภาวะขาดน้ ามีสาเหตุ

มาจากการติดเชื้อ รวมถึงการตรวจค่าความเป็นกรดด่างในเลือด การท างานของไต การท างานของตับ

เพ่ือหาสาเหตุของอาการต่อไป

Page 9: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

9

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

การรักษาภาวะขาดน ้า

การรักษา สามารถท าได้ด้วยการเพ่ิมหรือชดเชยปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยการดื่มน้ าที่มีส่วนผสม

ของเกลือแร่ หรือดื่มควบคู่กับน้ าเปล่า แพทย์อาจให้น้ าเกลือทางหลอดเลือดด าในกรณีท่ีผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ า

จากอาการอาเจียนและท้องเสียที่ไม่สามารถดื่มน้ าผสมเกลือแร่ได้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ าอัดลม น้ าหวาน

หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะอาจท าให้อาการแย่ลง

การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีภาวะขาดน้ าจากการออกก าลังกาย หากท ากิจกรรมอยู่ควร

หยุดพัก ถอดเสื้อผ้าชิ้นที่ไม่จ าเป็นออก นั่งหรือนอนพักใต้ร่มไม้หรือในตัวอาคารบริเวณท่ีมีอากาศถ่ายเท

และยกเท้าให้สูงขึ้น

ดื่มน้ าเปล่าเพื่อเป็นการชดเชยน้ าในร่างกาย หรือเครื่องดื่มเกลื่อแร่ สามารถซื้อจากร้านสะดวกซ้ือ

หรือท าเองได้ที่บ้าน โดยใช้เกลือ ½ ช้อนชา น้ าตาล 6 ช้อนชา ผสมกับน้ าเปล่า 1 ลิตร ควรใช้เครื่องมือที่

ได้มาตรฐานและผสมตามสัดส่วน เพราะหากได้รับน้ าตาลหรือเกลือมากเกินไป อาจท าให้เกิดอันตราย

และไม่ควรใช้เครื่องดื่มเกลือแร่ที่ผสมเองที่บ้านกับเด็กท่ีมีอายุต่ ากว่า 12 ปี

เด็กอายุ 1-11 ปี พยายามให้บุตรหลานดื่มน้ าบ่อย ๆ หรือรับประทานไอศกรีมหวานเย็นเพ่ือเป็นการ

ชดเชยน้ าในร่างกาย

ดื่มผงละลายเกลือแร่ (Oral Rehydration Solution: ORS) ในกรณีที่ยังชดเชยน้ าในร่างกายได้ไม่

เพียงพอ

หลีกเลี่ยงการดื่มน้ าผลไม้ น้ าอัดลม หรือน้ าหวานที่มีปริมาณน้ าตาลสูง

เด็กแรกเกิดและเด็กอายุไม่ถึง 1 ปี ให้ดื่มนมทุก 10 นาที ครั้งละประมาณ 1-2 นาที หรือให้น้ า

เพ่ิมเติมมากขึ้นจากเดิม โดยพิจารณาจากอายุและน้ าหนักตัวของทารก เช่น 30 มิลลิลิตรส าหรับเด็กแรก

เกิด หรือ 90 มิลลิลิตรส าหรับเด็กท่ีมีอายุ 1 ปี

ในกรณีที่ทารกยังชดเชยน้ าในร่างกายได้ไม่เพียงพอ ควรปรึกษาแพทย์ถึงการใช้ดื่มผงละลายเกลือแร่

โดยพิจารณาจากอายุและน้ าหนักตัวของทารก

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน ้า

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะขาดน้ าสามารถเกิดข้ึนได้และอาจท าให้เกิดอันตรายต่อชีวิต เช่น

ตะคริวแดด หมดแรงเพราะแดด หรือโรคลมแดด หากดื่มน้ าไม่เพียงพอในขณะออกก าลังกายอย่าง

หนัก

ปัญหาที่ไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต หรือไตวาย

หากเกิดภาวะขาดน้ าบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน

Page 10: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

10

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

ชัก เป็นผลมาจากแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล เช่น โพแทสเซียมและโซเดียม เป็นต้น ท าให้กล้ามเนื้อ

หดตัวหรือท าให้หมดสติได้

ภาวะช็อกจากปริมาตรเลือดต่ า ส่งผลท าให้ความดันเลือดและจ านวนออกซิเจนในร่างกายลดต่ าลง

เป็นภาวะที่รุนแรงและท าให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

การป้องกันภาวะขาดน ้า

การป้องกัน สามารถท าได้โดยดื่มน้ าให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วย

เช่น อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ หลอดลมอักเสบ การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ออกก าลังกาย

อย่างหนัก ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น อากาศหนาวเย็น หรือผู้ที่อยู่ในพ้ืนที่สูง และสามารถปฏิบัติได้

ตามแนวทางดังต่อไปนี้

ดื่มน้ ามาก ๆ ทั้งก่อนและหลัง หรือในช่วงการท ากิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นกีฬา การออกก าลังกาย

โดยดื่มบ่อย ๆ หรือทุก 15-20 นาที หรือดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หากมีการออกก าลังกายต่อเนื่องนานกว่า

1 ชั่วโมง ควรหยุดพักจากการออกก าลังกาย หากพบว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือรู้สึกเหนื่อยมาก และ

เลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับการท ากิจกรรม เช่น เสื้อผ้าสีอ่อน เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เป็นต้น

ควรดื่มน้ าอย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว โดยเฉพาะในวันที่มีการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น

เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ อาหารทะเล พืชตระกูลถั่ว นมไขมันต่ า เป็นต้น

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเบียร์และไวน์มากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาด

น้ า

อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)

อิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย ประกอบด้วย ประจุบวกและประจุลบ เพื่อท าให้เกิดภาวะสมดุลในร่างกาย

อิเล็กโทรไลต์ที่ส าคัญในร่างกาย ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต

โซเดียม (Na+) เป็นอิเล็กโทรไลต์ประจุบวกท่ีมีมากท่ีสุด (ร้อยละ 90-95) ในน้ านอกเซลล์ มีบทบาทที่

ส าคัญในกระบวนการทางเคมีต่างๆ ของร่างกาย เป็นตัวควบคุมความเข้มข้นและสมดุลของน้ าในหลอดเลือด

และช่องว่างระหว่างเซลล์ ดังนั้นโซเดียมจึงมีบทบาทส าคัญในการควบคุมขนาดของเซลล์ โซเดียมยังเป็น

ส่วนประกอบในการสร้างพลังงานในเซลล์ โดยกลไกน ากลูโคสผ่านผนังเซลล์ (Sodium-potassium pump)

นอกจากนี้ยังมีความส าคัญต่อการน ากระแสประสาทสู่เส้นใยกล้ามเนื้อ ระดับของโซเดียมในซีรัม มีค่าระหว่าง

135-145 mEq/L ความไม่สมดุลของโซเดียม มีสองลักษณะ คือ ภาวะโซเดียมในเลือดต่ าและภาวะโซเดียมใน

เลือดสูง ความผิดปกติทั้งสองลักษณะจะมีผลกระทบต่อการท างานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

โปแตสเซียม (K+) เป็นอิเล็กโทรไลต์ประจุบวก ที่พบมากที่สุดในเซลล์ (ร้อยละ 98) มีเพียงร้อยละ 2

เท่านั้นที่อยู่ในน้ านอกเซลล์ โปแตสเซียมมีความส าคัญต่อการน ากระแสประสาทของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์

ประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นส่วนประกอบในการสังเคราะห์โปรตีนและไกลโคเจน ตลอดจนการเผาผลาญ

Page 11: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

11

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

คาร์โบไฮเดรต ช่วยคงไว้ซึ่งสมดุลของความดันออสโมติกภายในเซลล์ และสมดุลของกรด-ด่าง ซึ่งในซีรัมมีค่า

ระหว่าง 3.5-5.5 mEq/L ปริมาณโซเดียมในน้ านอกเซลล์จึงไม่ได้สะท้อนถึงปริมาณโปแตสเซียมทั้งหมดใน

ร่างกาย ในเซลล์สามารถทนต่อปริมาณของโปแตสเซียมที่เข้าไปในเซลล์ได้จ านวนมากๆ แต่ในซีรัมเมื่อปริมาณ

โปแตสเซียมเพิ่มข้ึนหรือลดลงเพียงเล็กน้อยจะท าให้เกิดพิษได้ การเสียสมดุลของโปแตสเซียมในเลือดจะพบได้

ทั้งต่ าและสูงเกินไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการท างานของระบบต่างๆ ในร่างกาย

แคลเซียม (Ca++) เป็นอิเล็กโทรไลต์ประจุบวกท่ีส าคัญของร่างกาย นอกจากเป็นส่วนประกอบของ

กระดูกท่ีเป็นโครงสร้างของร่างกายแล้วในรูปของประจุอิสระ ยังท าหน้าที่ควบคุมการหดตัวและคลายตัวของ

กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ ส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้ท างานได้เป็นปกติ และ

แคลเซียมยังมีบทบาทส าคัญในการแข็งตัวของเลือดด้วย แคลเซียมในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 8.5-10.5 มิลลิกรัม/

เดซิลิตร ความผิดปกติของระดับแคลเซียมในเลือดไม่ว่าสูงหรือต่ าเกินไป จะมีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของ

ร่างกาย

คลอไรด์ (Cl-) เป็นอิเล็กโทรไลต์ประจุลบที่มีมากท่ีสุดในเซลล์มีประมาณ 98-106 mEq/L มีบทบาท

ส าคัญในการรักษาสมดุลกับประจุบวก โดยจะอยู่รวมกับประจุบวกในรูปของโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) กรด

ไฮโดรคลอริก (HCl) โปแตสเซียมคลอไรด์ (KCl) แคลเซียมคลอดไรด์ (CaCl2) คลอไรด์จะเข้าออกเซลล์โดยรวม

กับโซเดียมและโปแตสเซียม เมื่อคลอไรด์อยู่รวมกับโซเดียมจะช่วยท าหน้าที่รักษาสมดุลของน้ าและความ

เข้มข้นของเลือด ช่วยสร้างน้ าไขสันหลัง เป็นส่วนประกอบในน้ าย่อยของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ คลอไรด์

ยังช่วยรักษาสมดุลกรด-ด่างด้วย ความผิดปกติของไต ล าไส้ การเสียสมดุลของโซเดียม ภาวะเสียสมดุลกรด-

ด่าง จะส่งผลให้เกิดภาวะเสียสมดุลของคลอไรด์ได้ทั้งภาวะคลอไรด์ในเลือดต่ าและคลอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะ

กระจายต่อการท างานในระบบต่างๆ ของร่างกาย

ทางโภชนาการ

เครื่องดื่มที่เป็นอิเล็กโทรไลต์จะประกอบไปด้วยเกลือโซเดียมและโพแทสเซียมซึ่งช่วยเพิ่มปริมาณน้ าและ

ไอออนในร่างกายหลังจากท่ีเสียน้ าออกจากร่างกายจากกการออกก าลังกาย ท้องเสีย อดอาหารหรืออาเจียน

การให้น้ าบริสุทธิ์ไม่ใช่ทางที่ดีที่สุดในการรักษาระดับของเหลวในร่างการเพราะน้ าจะไปท าให้เกลือในเซลล์ใน

ร่างกายเจือจางลง ส่งผลต่อการท าปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ท าให้เกิดความมึนเมาได้

เครื่องดื่มเกลือแร่หลังการเล่นกีฬาก็เป็นอิเล็กโทรไลต์ที่มีการใส่คาร์โบไฮเดรต เช่น กลูโคส เข้าไป

เพ่ิมเติมอีกเป็นจ านวนมาก เพ่ือให้พลังงาน เครื่องดื่มเหล่านี้มีทั้งท่ีมีความเข้มข้นเท่าเซลล์(ไอโซโทนิก) ความ

เข้มข้นน้อยกว่าเซลล์(ไฮโพโทนิก) และความเข้มข้นมากกว่าเซลล์(ไฮเพอร์โทนิก) ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการ

ของแต่ละคน

Page 12: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

12

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย

ความหมาย

Electrolyte Imbalance หรอืภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เป็นภาวะที่อิเล็กโทรไลต์ใน

ร่างกายไม่สมดุล ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณของอิเล็กโทรไลต์ที่มากหรือน้อยจนเกินไป อิเล็กโทรไลต์เป็นชื่อที่ใช้

เรียกแร่ธาตุที่มีบทบาทส าคัญในการรักษาระดับของเหลวในร่างกาย และช่วยให้ระบบที่ส าคัญอ่ืน ๆ ท างานได้

อย่างปกติ เมื่ออิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุลอาจท าให้เกิดอาการ อย่างหัวใจเต้นผิดปกติ เหนื่อยล้า ชัก และกล้ามเนื้อ

อ่อนแรงได้ สาเหตุของภาวะนี้อาจเกิดจากการสูญเสียน้ าในร่างกายเป็นจ านวนมาก อย่างการเสียเหงื่อ

ท้องร่วง หรืออาเจียน โดยวิธีในการรักษาภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายนั้นอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของ

อาการภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย.

อาการของ Electrolyte Imbalance

อาการของภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายในระดับที่ไม่รุนแรง อาจไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็น

แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงขึ้นอาจท าให้เกิดความผิดปกติ เช่น เป็นเหน็บหรือชาตามร่างกาย หัวใจเต้นผิด

จังหวะหรือเต้นเร็วผิดปกติ เหนื่อยล้า ไม่มีแรง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย ตะคริวที่ท้อง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก สับสน และอาจท าให้รู้หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ เป็นต้น ในกรณีท่ีอาการรุนแรงอาจท าให้ชัก

อยู่ในอาการโคม่า หรือหัวใจหยุดเต้นได้ และหากปล่อยภาวะนี้ทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจเป็นอันตรายถึงขั้น

เสียชีวิต

ประเภทของ Electrolyte Imbalance

ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยมักเกิดจากการ

ได้รับแร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์น้อยหรือมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งภาวะของแร่ธาตุไม่สมดุลที่อาจท าให้เกิด

Electrolyte Imbalance อาจมีดังนี้

ภาวะโซเดียมในเลือดสูงหรือต่ ากว่าปกติ( Hyper-hyponatremia)

ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ ากว่าปกติ

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ ากว่าปกติ

ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูงหรือต่ ากว่าปกติ

ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงหรือต่ ากว่าปกติ

ภาวะคลอไรด์ในเลือดสูงหรือต่ ากว่าปกติ

ภาวะเลือดเป็นกรดหรือด่าง (Acidosis)

โดยภาวะเหล่านี้อาจเกิดจากโรค หรือการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อระดับของเหลวในร่างกาย เช่น ท้องร่วง

อาเจียน โรคมะเร็ง โรคไต โรคเบาหวาน โรคพิษสุรา กลุ่มโรคการกินผิดปกติ ภาวะตับแข็ง หัวใจวาย บาดเจ็บ

Page 13: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

13

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

จากแผลไหม้อย่างรุนแรง การใช้ยาขับปัสสาวะ ยาปฏิชีวนะ หรือยาเคมีบ าบัด รวมถึงการท ากิจกรรมที่มีเหงื่อ

ออกมากจนเกินไป เป็นต้น

การวินิจฉัย Electrolyte Imbalance

การวินิจฉัยภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายนั้นสามารถท าได้หลายวิธี โดยในเบื้องต้นแพทย์อาจ

ตรวจร่างกายเพ่ือหาอาการที่บ่งบอกถึงภาวะผิดปกติ อย่างความยืดหยุ่นของผิวที่ลดลงซึ่งอาจเกิดจากภาวะ

โซเดียมในเลือดสูงที่ท าให้ร่างกายขาดน้ า นอกจากนี้ แพทย์อาจวินิจฉัยภาวะนี้ด้วยวิธีอ่ืน ดังนี้

การตรวจเลือด

การตรวจเลือดเป็นขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพในตรวจสอบภาวะ Electrolyte Imbalance เนื่องจากการ

ตรวจเลือดอาจบอกได้ถึงประสิทธิภาพการท างานของไตที่อาจเป็นอาการของภาวะนี้ และยังบอกได้ถึงแร่ธาตุ

ภายในเลือดว่าอยู่ในระดับที่สมดุลหรือไม่

การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า

การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า หรือ ECG เป็นวิธีในการตรวจสอบการท างานของหัวใจว่ามีความผิดปกติ

อย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นเร็วเกินไป หรืออาการอ่ืน ๆ ที่บ่งบอกถึงภาวะ Electrolyte Imbalance

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจหาความผิดปกติหรือโรคอ่ืน ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ใน

ร่างกาย อย่างโรคไต โรคปอด โรคหัวใจ และภาวะขาดน้ า

การรักษา Electrolyte Imbalance

เนื่องจากภาวะ Electrolyte Imbalance นั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ วิธีรักษาจึงมีวิธีที่แตกต่างกัน

ไป โดยอาจเน้นไปที่การสร้างสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย ดังนี้

การรับประทานเกลือแร่หรืออาหารเสริม

แพทย์อาจสั่งจ่ายน้ าเกลือแร่หรืออาหารเสริมแร่ธาตุที่ร่างกายขาดไป เพ่ือรักษาระดับอิเล็กโทรไลต์ใน

ร่างกาย หากมีภาวะอาเจียน ท้องเสีย สามารถรับประทานน้ าเกลือแร่เพ่ือบรรเทาอาการขาดน้ าและป้องกัน

ภาวะ Electrolye imbalance ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ และไม่ควร

ซื้ออาหารเสริมมารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

การให้สารน้ าผ่านทางหลอดเลือดด า

การให้สารน้ ามีจุดประสงค์เพ่ือปรับสมดุลของแร่ธาตุภายในร่างกาย โดยในสารน้ าเหล่านั้นอาจบรรจุแร่

ธาตุอิเล็กโทรไลต์ที่ร่างกายขาดไป ซึ่งอาจช่วยให้ระดับของเหลวภายในร่างกายนั้นสูงขึ้น

การใช้ยา

ในกรณีที่ภาวะแร่ธาตุไม่สมดุลเรื้อรัง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเพ่ือปรับระดับแร่ธาตุ

นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ยาผ่านทางหลอดเลือดด าเพ่ือให้ร่างกายและระดับของอิเล็กโทรไลต์ฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว

ซึ่งอาจช่วยป้องกันความผิดปกติอ่ืน ๆ จากการรักษา

Page 14: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

14

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

การฟอกไต

แพทย์อาจใช้วิธีการฟอกไตหรือการกรองของเสียออกจากเลือดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการรักษา

ผู้ป่วยภาวะ Electrolyte Imbalance ที่มีอาการรุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากระดับอิเล็กโทร

ไลต์ที่ไม่สมดุลอาจท าให้การก าจัดของเสียในร่างกายเกิดความบกพร่อง และส่งผลให้ไตเสียหายแบบฉับพลัน

ในกรณีที่ภาวะ Electrolyte Imbalance นั้นเกิดจากการใช้ยาหรือโรคประจ าตัวอื่น ๆ ผู้ป่วยควรเข้า

รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการใช้ยาอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว

ภาวะแทรกซ้อนของ Electrolyte Imbalance

ภาวะไม่สมดุลของแร่ธาตุอาจท าให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอ่ืน ๆ นอกเหนือจากภาวะและอาการของ

Electrolyte Imbalance ได้ อย่างภาวะขาดน้ า ต่อมไทรอยด์ท างานบกพร่อง กล้ามเนื้อหดตัว เป็นตะคริว ไต

วายหรือบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน และอาจส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและการท างานของหัวใจอีกด้วย

การป้องกัน Electrolyte Imbalance

ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายอาจป้องกันได้ด้วยวิธี ดังนี้

ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีอิเล็กโทรไลต์และคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบ หลังการเล่นกีฬาหรือ

ออกก าลังกายท่ีใช้เวลาตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป โดยการดื่มน้ าเปล่ากับเครื่องดื่มเกลือแร่ในเวลา

ใกล้เคียงกันอาจท าให้ประสิทธิภาพของเครื่องดื่มลดลง

ดื่มหรือจิบน้ าทุก ๆ 20 นาทีในปริมาณที่เหมาะสม และเพียงพอต่อวัน

ปัสสาวะสีเหลืองคล้ายสีของฟางแบบจาง ๆ และใส อาจบ่งบอกว่าร่างกายได้รับน้ าอย่างเพียงพอ

ผู้ที่มีอาการท้องร่วงหรืออาเจียน ควรดื่มน้ าเพ่ือชดเชยของเหลวที่สูญเสียไป และหากอาการไม่ดี

ขึ้นควรไปพบแพทย์เพ่ือเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง

ผู้ที่ใช้ยาที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะนี้ควรไปพบแพทย์เพ่ือปรับชนิดหรือปริมาณ เพ่ือป้องกัน

ภาวะแทรกซ้อนของยา

หากน้ าหนักลดหรือเพ่ิมหลังออกก าลังมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ าหนักตัว ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการคล้ายกับภาวะ Electrolyte Imbalance ควรไปพบแพทย์ เพ่ือท าการวินิจฉัย

ภาวะกรดด่าง (Acid Base; pH)

ภาวะกรดด่าง มีความส าคัญต่อร่างกายไม่เพียงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการของสรีรวิทยาเท่านั้น ยังมี

ส่วนช่วยคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมของเซลล์ให้คงที่ และเหมาะสมส าหรับกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย กระบวนการ

ทางสรีรวิทยาและปฏิกิริยาทางเคมีของร่างกายในภาวะสมดุลจะมีสิ่งแวดล้อมเป็นด่างเล็กน้อย รา่งกายอาจจะ

เกิดภาวะไม่สมดุลของกรดด่าง เช่น ไฮโดรเจนอิออนเพ่ิมขึ้นหรือลดลง เป็นต้น จะท าให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย

ถึงแก่ชีวิตได้ เนื่องจากภาวะกรด-ด่างจะมีผลกระทบต่อสมดุลน้ าและอิเล็กโทรไลต์ ควบคุมการส่งกระแส

ประสาท ควบคุมการท างานของฮอร์โมนและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ปกติภาวะกรด-ด่าง (pH) ของ

Page 15: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

15

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

น้ านอกเซลล์ pH = 7.35-7.45 หากมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย จะมีระบบควบคุมสมดุลของกรด-ด่างช่วย

ปรับให้ภาวะกรด-ด่าง (pH) ให้กลับเข้าสู่สมดุล ได้แก่ ระบบบัฟเฟอร์ ระบบหายใจและระบบไต เพราะหากใน

เลือดมี pH > 8 หรือ pH < 6.8 จะท าให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การประเมินภาวะกรด-ด่างว่าสมดุลหรือไม่ จะ

ประเมินได้จากผลการวิเคราะห์ค่าความดันก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas; ABG) โดยประเมินจากค่า

pH, PaCO2, HCO3, Base excess (BE), PaO2 ซ่ึงแต่ละค่ามีความหมายดังน้ี

1) pH เป็นตัวบ่งบอกถึงความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนในพลาสมาของหลอดเลือดแดง

ค่าปกติ pH = 7.35-7.45

หาก pH < 7.35 แสดงถึงภาวะกรด (Acidosis)

หาก pH > 7.45 แสดงถึงภาวะด่าง (Alkalosis)

2) PaCO2 เป็นตัวบ่งบอกของระบบหายใจ เป็นค่าความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง

ค่าปกติ PaCO2 = 35-45 มม.ปรอท

หาก PaCO2 > 45 มม.ปรอท แสดงถึงเลือดมีภาวะเป็นกรดจากการหายใจ

หาก PaCO2 < 35 มม.ปรอท แสดงถึงเลือดมีภาวะเป็นด่างจากการหายใจ

สาเหตุ อาจเกิดจากมีพยาธิสภาพที่ปอด หรือเป็นผลจากการปรับชดเชยเพื่อแก้ภาวะกรด-ด่างจากเม

แทบอลิซึม

3) HCO3 เป็นตัวบ่งบอกการท างานของไต เป็นค่าความเข้มข้นของไบคาร์บอเนตอิออนในเลือดแดง

ค่าปกติ HCO3 = 22-26 mEg/L

HCO3 > 26 mEg/L แสดงถึง เลือดมีภาวะเป็นด่างจากระบบเมแทบอลิซึม

HCO3 < 226 mEg/L แสดงถึง เลือดมีภาวะเป็นกรดจากระบบเมแทบอลิซึม

สาเหตุ อาจเกิดจากมีพยาธิสภาพที่ไตหรือระบบเมแทบอลิซึม หรือเป็นผลจากการปรับชดเชยเพื่อแก้

ภาวะกรด-ด่างจากการหายใจ

4) PaO2 เป็นค่าความดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงที่ละลายอยู่ในพลาสมา

ค่าปกติ = 80-100 มม.ปรอท

5) Base Excess (BE) เป็นค่าที่สะท้อนถึงจ านวนของด่างทั้ง HCO3 และบัฟเฟอร์อิออน ตัวอ่ืนๆ ใน

เลือดทั้งหมด

ค่าปกติ BE = 0 ถึง 3 mEq/L

หาก BE มีค่า + แสดงถึง มีภาวะด่างเกินจากเมแทบอลิซึม

หาก BE มีค่า – แสดงถึง มีภาวะด่างขาดจากเมแทบอลิซึม

Page 16: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

16

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

6) SaO2 (O2 saturation) เปน็ปริมาณออกซิเจนที่จับกับฮีโมโกลบิน เทียบกับความสามารถของ

ฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนได้เต็มที่

ค่าปกติ SaO2 = 93-99%

SaO2 มีความส าคัญในการประเมินสภาวะออกซิเจนในเลือด แต่ในการวิเคราะห์ความเป็นกรด-ด่างไม่ได้

ใช้ค่า SaO2

ระบบหายใจมีศูนย์กลางอยู่ที่เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) ศูนย์นี้อยู่ในสมอง ใน

ภาวะ CO2 ในเลือดมาก pH ต่ า กระตุ้นเมดุลลาออบลองกาตา สั่งการให้กล้ามเนื้อที่เก่ียวกับการหายใจ เช่น

กล้ามเนื้อกระบังลมและซี่โครงท างาน หายใจเอา O2 เข้าและคาย CO2

ระบบบัฟเฟอร์ คือ สารหรือระบบของร่างกายท่ีไม่ท าให้ pH เปลี่ยนมากไปในคน ได้แก่ โปรตีนใน

พลาสมา (ได้แก่ อัลบูมินและโกลบูลิน),ฟอสเฟต, ฮีโมลโกลบิน, ไฮโดรเจนคาร์บอเนต

การรักษาดุลยภาพของเกลือแร่ ไต ( kidney ) ถือเป็นอวัยวะที่คอยปรับระดับเกลือในร่างกาย คนมีไต

1 คู่ อยู่ทางด้านหลังของช่องท้องระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ไตแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณส่วน

นอก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) และ บริเวณส่วนใน เรียกว่า เมดัลลา (medulla) ภายในไตประกอบด้วย

หน่วยไต ที่เรียกว่า เนฟรอน (nephron) แต่ละข้างของไตมีเนฟรอนประมาณ 1-1.25 ล้านหน่วย ท าหน้าที่

กรองของเสียออกจากเลือด และดูดสารที่มีประโยชน์กลับสู่เลือด ( ซ่ึงนักศึกษาได้รับการอธิบายในบทที่ 8

ก่อนหน้านี้แล้ว)

สรุป

น้ าและและอิเล็กโทรไลต์ เป็นส่วนประกอบในร่างกายที่ต้องมีความสมดุล โดยมีไต ( kidney ) ถือเป็น

อวัยวะที่คอยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายท าหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และดูดสารที่มี ประโยชน์กลับ

สู่เลือด ร่างกายมนุษย์มีน้ าเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือด สมองส่วนไฮโปทาลามัสท าหน้าที่

ควบคุมปริมาณสารน้ าในร่างกายซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ า จะสั่งการให้เกิดการดื่มน้ าทดแทน โดยจะ

รู้สึกกระหายน้ า และเม่ือมีการกลืนน้ าเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ าดื่มต่อ

วัน (cc) = ( น้ าหนักตัว (Kg) / 2 )X 2.2 X 30 จ านวน 1,000 cc = 1 ลิตร (1ลิตร = 5 แก้ว โดยประมาณ)

การจ าแนกอาการขาดน้ าไม่กระทบร่างกาย จนถึงอาการที่มีความรุนแรง ซึ่งจ าเป็นต้องไปพบแพทย์โดยด่วน

แพทย์ท าการรักษาโดยการทดแทนน้ าได้หลายทาง ผลกระทบจากภาวะขาดน้ าสามารถเกิดข้ึนได้และอาจท าให้

เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้นในการป้องกันภาวะขาดน้ า สามารถท าได้โดยดื่มน้ าให้เพียงพอต่อความต้องการ

ของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วย อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายท าให้เกิดภาวะสมดุลในร่างกาย อิเล็กโทรไลต์

ที่ส าคัญในร่างกาย ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ใน

ร่างกาย ( Electrolyte Imbalance) ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณของอิเล็กโทรไลต์ที่มากหรือน้อยจนเกินไป

อิเล็กโทรไลต์เป็นชื่อที่ใช้เรียกแร่ธาตุที่มีบทบาทส าคัญในการรักษาระดับของเหลวในร่างกาย และช่วยให้ระบบ

Page 17: บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้า ... · 2020-03-18 · บทที่ 9 ระบบไต สมดุลของสารน ้าและอิเล็กโทรไลต์

17

เอกสารประกอบการสอนวิชา STO 2302 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยามนษุย์ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

ที่ส าคัญอ่ืน ๆ ท างานได้อย่างปกติ เมื่ออิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุลอาจท าให้เกิดอาการ อย่างหัวใจเต้นผิดปกติ

เหนื่อยล้า ชัก และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ สาเหตุของภาวะนี้อาจเกิดจากการสูญเสียน้ าในร่างกายเป็นจ านวน

มาก อย่างการเสียเหงื่อ ท้องร่วง หรืออาเจียน โดยวิธีในการรักษาภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายนั้นอาจ

ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย.ภาวะกรดด่าง (Acid Base; pH)

ในภาวะปกติ ค่าปกติ pH = 7.35-7.45 หาก pH < 7.35 แสดงถึงภาวะ กรด (Acidosis) หาก pH >

7.45 แสดงถึงภาวะ ด่าง (Alkalosis) ภาวะกรดด่าง มีความส าคัญต่อร่างกายไม่เพียงเป็นส่วนหนึ่งของ

กระบวนการของสรีรวิทยาเท่านั้น ยังมีส่วนช่วยคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมของเซลล์ให้คงที่ และเหมาะสมส าหรับ

กระบวนการต่างๆ ในร่างกาย กระบวนการทางสรีรวิทยาและปฏิกิริยาทางเคมีของร่างกายในภาวะสมดุลจะมี

สิ่งแวดล้อมเป็นด่างเล็กน้อย จะมีระบบควบคุมสมดุลของกรด-ด่างช่วยปรับให้ภาวะกรด-ด่าง (pH) ให้กลับเข้า

สู่สมดุล ได้แก่ ระบบบัฟเฟอร์ ระบบหายใจและระบบไต เพราะหากในเลือดมี pH > 8 หรือ pH < 6.8 จะท า

ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การประเมินภาวะกรด-ด่างว่าสมดุลหรือไม่ จะประเมินได้จากผลการวิเคราะห์ค่าความดัน

ก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas; ABG) ทางการรักษาของแพทย์จะใช้ข้อมูลจากอาการป่วยของผู้ป่วย

ร่วมกับค่าจากผลตรวจต่างๆ และหาแนวทางแก้ไขให้อยู่ในภาวะสมดุลเสมอ