หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ...

43
6-1 หน่วยที6 หลักกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งตอบแทน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พินัย ณ นคร

Upload: others

Post on 29-Feb-2020

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-1

หน่วยที่6หลักกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งตอบแทน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พินัยณนคร

Page 2: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-2

แผนผังแนวคิดหน่วยที่6

6.1.1 ความทั่วไป

6.1.2 ความเป็นมาของหลักสิ่งตอบแทน

6.1.3 รูปแบบของสิ่งตอบแทน

6.2.1 หลักสิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายที่

ประสงค์จะบังคับสัญญา

6.2.2 หลักการกระทำการหรืองดเว้นการกระทำ

การในอดีตไม่เป็นสิ่งตอบแทน

6.2.3 หลักความไม่เท่าเทียมกันของสิ่ง

ตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญ

6.2.4 หลักความเพียงพอของสิ่งตอบแทน

6.3.1 ที่มาและสาระสำคัญของหลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้คำสัญญา

6.3.2 ข้อจำกัดของหลักกฎหมายปิดปากในการ

ให้คำสัญญา

6.4.1 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

เครือจักรภพ

6.4.2 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

สหรัฐอเมริกา

หลักกฎหมาย

เกี่ยวกับ

สิ่งตอบแทน

6.2 หลักที่เป็นสาระ

สำคัญของ

สิ่งตอบแทน

6.3 หลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้

คำสัญญา

6.4 หลักสิ่งตอบแทน

และหลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้

คำสัญญาใน

ประเทศเครือจักรภพ

และประเทศ

สหรัฐอเมริกา

6.1 ความทั่วไปความ

เป็นมา และรูปแบบ

ของสิ่งตอบแทน

Page 3: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-3

หน่วยที่6

หลักกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งตอบแทน

เค้าโครงเนื้อหาตอนที่6.1 ความทั่วไปความเป็นมาและรูปแบบของสิ่งตอบแทน

6.1.1 ความทั่วไป

6.1.2 ความเป็นมาของหลักสิ่งตอบแทน

6.1.3รูปแบบของสิ่งตอบแทน

ตอนที่6.2 หลักที่เป็นสาระสำคัญของสิ่งตอบแทน

6.2.1หลักสิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับสัญญา

6.2.2หลักการกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการในอดีตไม่เป็นสิ่งตอบแทน

6.2.3หลักความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญ

6.2.4หลักความเพียงพอของสิ่งตอบแทน

ตอนที่6.3 หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา(PromissoryEstoppel)

6.3.1 ที่มาและสาระสำคัญของหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

6.3.2 ข้อจำกัดของหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

ตอนที่6.4 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

เครือจักรภพและประเทศสหรัฐอเมริกา

6.4.1 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

เครือจักรภพ

6.4.2 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศสหรัฐ

อเมริกา

แนวคิด1. ในขณะที่กฎหมายสัญญาในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ยึดถือหลักความศักดิ์สิทธิ์ของ

เจตนาโดยให้สัญญามีผลบังคับกันได้เมื่อคู่สัญญาแสดงเจตนาทำคำเสนอและคำสนอง

ที่ถูกต้องตรงกันด้วยเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์กันการบังคับสัญญา (Enforceability)

ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มิได้ยึดถือเจตนาของคู่สัญญาแต่อย่างเดียวแต่ยังยึดถือ

ทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน(BargainTheory)ซึ่งปรากฏออกมา

เป็นหลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทน(Consideration)

Page 4: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-4

2. หลักสิ่งตอบแทน เป็นหลักที่มีสาระสำคัญว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญา

ของอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งด้วยซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนกับ

คำสัญญาที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ไว้แก่ตนทั้งนี้ สิ่งตอบแทนที่ให้แก่กันนั้นไม่จำเป็นต้องเท่า

เทียมกันคำสัญญาที่ไม่มีสิ่งตอบแทนจากฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับสัญญาย่อมไม่สามารถ

ฟ้องร้องบังคับกันได้

3. ในสมยัอดตีConsiderationคอืมลูเหตุจงูใจให้คู่กรณีให้คำสญัญาออกไปแต่ตอ่มาศาล

ได้พัฒนาหลักConsiderationโดยเห็นว่าConsiderationเป็นสิ่งตอบแทนซึ่งอยู่ใน

รูปของ(1)การกระทำการ(2)การงดเว้นการกระทำการ(3)การสัญญาว่าจะกระทำการ

และ(4)การสัญญาว่าจะงดเว้นการกระทำการ

4. เมื่อสิ่งตอบแทนตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดเกี่ยวกับการต่อรองแลกเปลี่ยน

ประโยชน์ตอบแทน สิ่งที่เป็นสิ่งตอบแทนต้องเกิดขึ้นในขณะที่ทำสัญญาเป็นต้นไป

การกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการในอดีตไม่เป็นสิ่งตอบแทนโดยชอบ ในทำนอง

เดียวกัน การปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่แล้วตามกฎหมายหรือตามสัญญาไม่เป็น

สิ่งตอบแทน

5. ศาลได้สร้าง “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา” (PromissoryEstoppel) ซึ่ง

เป็นข้อยกเว้นของหลักสิ่งตอบแทน โดยให้ฝ่ายที่ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

สามารถบังคับคำสัญญาเอากับฝ่ายที่ให้คำสัญญาได้ หากปรากฏว่าการให้คู่สัญญาที่ให้

คำสัญญากลับคำสัญญาได้จะไม่เป็นธรรมอย่างมากแก่ผู้รับคำสัญญาทั้งนี้ความไม่เป็น

ธรรมอย่างมากเช่นว่านั้นมักจะเกิดจากผู้รับคำสัญญาได้มีความเชื่อถือ (Reliance) ใน

คำสัญญานั้น

6. หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาเป็นหลักกฎหมายเอ็คควิตี้(EquitableRule)

ศาลจะยกหลักนี้ขึ้นใช้หรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลโดยแท้ มิใช่เป็นสิทธิของคู่สัญญา

อย่างเด็ดขาดที่จะใช้หลักดังกล่าว นอกจากนี้ หลักดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอีกประการ

หนึ่งคือ“ใช้เป็นโล่กำบังมิใช่เป็นกระบี่” (usedasashieldandnotasasword)

ซึ่งหมายความว่าใช้เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นแต่จะใช้บังคับสิทธิโดยตรงไม่ได้ข้อจำกัดนี้จึงยัง

ทำให้หลักสิ่งตอบแทนยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่

7. ประเทศเครือจักรภพและประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้รับหลักสิ่งตอบแทนจากกฎหมาย

อังกฤษ ในประเทศสหรัฐอเมริกาสาระของหลักสิ่งตอบแทนได้ถูกประมวลเป็น

ลายลักษณ์อักษรในRestatementofContracts

Page 5: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-5

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่6จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความแตกต่างระหว่างแนวคิดเกี่ยวกับการบังคับสัญญา (Enforceability)

ตามกฎหมายสัญญาในระบบกฎหมายซีวิลลอว์และกฎหมายสัญญาในระบบกฎหมาย

คอมมอนลอว์ได้

2. อธิบายทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน(BargainTheory)ซึ่งปรากฏ

ในหลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทนได้

3. อธิบายรูปแบบของสิ่งตอบแทนในสัญญาและระบุว่าสิ่งใดบ้างที่ไม่ถือว่าเป็นสิ่งตอบแทน

ได้

4. อธิบายการใช้ “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา” (Promissory Estoppel)

เพื่อผ่อนคลายหลักสิ่งตอบแทน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในระบบกฎหมาย

คอมมอนลอว์ได้

กิจกรรม1. กิจกรรมการเรียน

1)ศึกษาแผนผังแนวคิดหน่วยที่6

2)อ่านแผนการสอนประจำหน่วยที่6

3)ทำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่6

4)ศึกษาเนื้อหาสาระ

5)ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

6)ตรวจสอบกิจกรรมจากแนวตอบ

7)ทำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่6

2. งานที่กำหนดให้ทำ

1)ทำแบบฝึกหัดทุกข้อที่กำหนดให้ทำ

2)อ่านเอกสารเพิ่มเติมจากบรรณานุกรม

Page 6: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-6

แหล่งวิทยาการ1. สื่อการศึกษา

1) แนวการศึกษาหน่วยที่6

2)ประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6

2. หนังสือและบทความ

หนังสือ

● Adams, John and Brownsword, Roger,Key Issues in Contract,

Butterworths,1995,Chap.4TheClassicalParadigm:ExchangeandExpectation,pp.88-124.

(Williamsv.Roffreys,pp.109-114)

● AtiyahP.S.,“Contracts,PromiseandtheLawofObligations”,inEssays

on Contract,OxfordUniversityPress,1988,pp.10-56.

● ___________“Fuller andTheoryofContract”, inEssays on Contract,

OxfordUniversityPress,1988,pp.73-93.

● __________, “Considertion:ARestatement”, inEssays on Contract,

OxfordUniversityPress,1988,pp.179-243.

● BealH.G.etal,Contract: Cases and Materials, 3rdedition,Butterworths,

1995,pp.125-139,pp.655-675.

● Collins,Hugh,The Law of Contract, 2ndedition, Butterworths, 1993,

Chap.3TestsofEnforceability,pp.40-87.

● Farnsworth,E.Allan,The Essentials of Contract Law:Farnsworthon

Contracts,3rdedition.,Kluwer,2008

● Fried,Charles,Contract As Promise, HarvardUniversityPress,1981.

● Furmston,Michael,Law of Contract, 14thedition,Butterworths,2001,

Chap.4,pp.79-120.

● Treitel,G.H.,Law of Contract, 10thedition,Sweet&Maxwel,2007,pp.

73-175.

บทความ

● Barnett,RandyE.,“ConsentTheoryofContract”, (1986) 86Col. L.R.

269.

Page 7: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-7

การประเมินผลการเรียน1. ประเมินผลจากการสัมมนาเสริมและงานที่กำหนดให้ทำในแผนกิจกรรม

2. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจำภาคการศึกษา

Page 8: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-8

แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความรู้เดิมในการเรียนรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “หลักกฎหมายเกี่ยวกับ

สิ่งตอบแทน”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

ท่านคิดว่าในกฎหมายสัญญาของประเทศในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เมื่อ 1.

สัญญาเกิดขึ้นโดยการที่คู่สัญญามีเจตนาทำคำเสนอและคำสนองที่ถูกต้องตรงกันและวัตถุที่ประสงค์

แห่งสัญญาไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วสัญญาที่เกิด

ขึ้นโดยชอบนั้นจะสามารถบังคับกันได้(Enforceable)หรือไม่อย่างไร

2. “สิ่งตอบแทน” (Consideration)ตามหลักกฎหมายสัญญาในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์

คืออะไร

Page 9: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-9

3. ในกรณีที่นายก.ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับนายข.ว่าจะก่อสร้างอาคารให้นายข.โดยนายข.ตกลง

ชำระคา่กอ่สรา้งให้นายก.จำนวน2,000ปอนด์ตอ่มานายข.เหน็วา่ราคาคา่วสัดุกอ่สรา้งเพิม่ขึน้อยา่งมาก

จึงตกลงที่จะเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้นายก.อีก500ปอนด์โดยแก้ไขสัญญาเดิมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

ต่อมาเมื่องานก่อสร้างเสร็จสิ้นตามสัญญานายข. ชำระค่าก่อสร้างให้นายก. เพียง 2,000ปอนด์ และ

ปฏิเสธที่จะชำระเงินค่าก่อสร้างเพิ่มตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมท่านคิดว่าในกฎหมายสัญญาของประเทศ

ที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ นายก. สามารถเรียกร้องให้นาย ข. ชำระเงินค่าก่อสร้างเพิ่มจำนวน

500ปอนด์ดังกล่าวได้หรือไม่เพราะเหตุใด

4. “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา”(PromissoryEstoppel)คืออะไร

5. หลักสิ่งตอบแทน (Consideration) และหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา (Promissory

Estoppel)มีเฉพาะในกฎหมายอังกฤษหรือไม่อย่างไร

Page 10: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-10

ตอนที่6.1

ความทั่วไปความเป็นมาและรูปแบบของสิ่งตอบแทน

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่6.1แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่6.1.1ความทั่วไป

เรื่องที่6.1.2 ความเป็นมาของหลักสิ่งตอบแทน

เรื่องที่6.1.3 รูปแบบของสิ่งตอบแทน

แนวคิด1. หลักสิ่งตอบแทน (Consideration) เป็นหลักกฎหมายที่พบในกฎหมายสัญญาของ

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (CommonLaw) โดยยึดถือว่าแม้สัญญาจะเกิดขึ้นจาก

การแสดงเจตนาทำคำเสนอและคำสนองที่ถูกต้องตรงกันของคู่กรณี แต่การที่จะบังคับ

สญัญาได้นัน้คู่สญัญาฝา่ยที่ประสงค์จะบงัคบัสญัญาจะตอ้งให้สิง่ตอบแทนแก่อกีฝา่ยหนึง่

ด้วยซึ่งต่างจากกฎหมายสัญญาในระบบกฎหมายซีวิลลอว์(CivilLaw)ที่ยึดถือหลัก

ความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา กล่าวคือ ให้สัญญามีผลบังคับได้เมื่อคู่สัญญาแสดงเจตนา

ทำคำเสนอและคำสนองที่ต้องตรงกันโดยที่แต่ละฝ่ายไม่จำต้องให้สิ่งตอบแทนแก่กัน

2. แต่เดิมนั้น Consideration คือ “มูลเหตุจูงใจ” ในการให้คำสัญญาของคู่สัญญา

ต่อมาศาลได้พัฒนาหลัก Consideration ในลักษณะที่ Consideration ต้องเป็น

“สิ่งตอบแทน” ที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำให้คำสัญญา

(Promise) ของอีกฝ่ายหนึ่งใช้บังคับได้ (Enforceable) การบังคับสัญญาในกฎหมาย

สัญญาของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทฤษฎีการต่อรอง

แลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน”(BargainTheory)

3. ในปัจจุบันศาลจำแนกสิ่งตอบแทน (Consideration) ออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ (1)

การกระทำการ (2) การงดเว้นการกระทำการ (3) การสัญญาว่าจะกระทำการ และ (4)

การสัญญาว่าจะงดเว้นการกระทำการ

Page 11: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-11

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่6.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความแตกต่างระหว่างแนวคิดเก่ียวกับการบังคับสัญญา (Enforceability) ตาม

กฎหมายสัญญาในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์และกฎหมายสัญญาในระบบกฎหมาย

ซีวิลลอว์ได้

2. อธิบายความเป็นมาของหลักสิ่งตอบแทนได้

3. อธิบายรูปแบบของสิ่งตอบแทนได้

Page 12: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-12

เรื่องที่6.1.1ความทั่วไป

สาระสังเขปหลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทน (Consideration) เป็นหลักกฎหมายสัญญาของอังกฤษและ

ของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (CommonLaw) Considerationคือ “สิ่งตอบแทน” ที่

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำให้คำสัญญา (Promise) ของอีกฝ่ายหนึ่งใช้บังคับได้

(Enforceable) ในระบบกฎหมายซีวิลลอว์การบังคับสัญญากันได้หรือไม่นั้น (Enforceability)มิได้ขึ้นอยู่

กับว่าคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องชำระหนี้ต่างตอบแทนกัน แต่ในกฎหมายสัญญาของอังกฤษและของประเทศ

ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้น ฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับสัญญาต้องให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย

มิฉะนั้นจะเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ สัญญาที่ทำกันระหว่างคู่สัญญาโดยที่คู่สัญญา

ฝ่ายหนึ่งให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นมิได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายแรกนั้นเป็นสัญญาที่

เกิดขึ้นโดยชอบแต่หากมีการไม่ปฏิบัติตามสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมิได้ให้สิ่งใดตอบแทนฝ่ายแรกก็ไม่สามารถ

จะฟ้องร้องบังคับเอากับฝ่ายแรกได้เลยเช่นการที่ก.ตกลงก่อสร้างบ้านให้ข.โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหากก.

ไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้ข.ตามที่ได้ตกลงไว้ข.ก็ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับตามสัญญาได้เลย

หลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทนใช้กับคำสัญญาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ตั้งแต่แรกที่

ปรากฏในรูปของคำเสนอที่ได้มีการสนองรับและคำสัญญาที่ให้ไว้สืบเนื่องจากสัญญาเดิมเช่นกรณีคู่สัญญา

เดิมตกลงให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม(รวมทั้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาเดิมเพื่อเปลี่ยนแปลง

หนี้ระหว่างกัน)ตัวอย่างเช่นก. ว่าจ้างข. เพื่อก่อสร้างอาคารให้ ข.และหลังจากที่ทำสัญญาต่อกันแล้วก.

เห็นว่าข.ประสบปัญหาทางการเงินเนื่องจากราคาวัสดุเพิ่มสูงขึ้นโดยผลทางเศรษฐกิจก.จึงได้เสนอเพิ่มเงิน

ค่าก่อสร้างให้ ข. อีกหนึ่งในสามของค่าก่อสร้างที่ตกลงไว้เดิม ตามระบบกฎหมายคอมมอนลอว์นั้นถือว่า

ข้อเสนอเพิ่มเงินดังกล่าวเป็นคำสัญญา ซึ่งจะบังคับกันได้ก็ต่อเมื่อ ข. ได้ให้สิ่งตอบแทนให้แก่ ก. ทั้งนี้

หากข.มิได้ให้สิ่งใดตอบแทนนอกเหนือไปจากการก่อสร้างอาคารให้ก.ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกลงจะดำเนินการตาม

สัญญาเดิมข.ก็ไม่สามารถเรียกร้องให้ก.ชำระเงินเพิ่มให้ข.ตามที่ก.ได้ตกลงกับข.ไว้แต่หากปรากฏว่า

ข.ตกลงที่จะทำงานเพิ่มให้แก่ก.ด้วยก็ถือว่าข.ได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ก.ซึ่งทำให้ข.มีสิทธิเรียกร้องเงิน

เพิ่มจากก.ได้

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.1เรื่องที่6.1.1)

Page 13: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-13

กิจกรรม6.1.1

นายก.ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากนายข.จำนวน10เครื่องในราคาเครื่องละ800ปอนด์เพื่อ

ใช้ในร้านค้าของนายก.ครั้นถึงวันกำหนดส่งมอบนายข.ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปส่งมอบให้นาย

ก.แต่นายก.ไม่ยอมรับมอบนายข.จึงเสนอที่จะให้บริการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในร้าน

ค้าของนายก.โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้นายก.ยอมรับมอบสินค้านายก.รับ

ข้อเสนอดังกล่าวและยอมรับมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ แต่หลังจากนั้น นาย ข. กลับไม่ได้ดำเนิน

การวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในร้านค้าของนายก.ตามที่ได้ตกลงไว้ดังนี้หากสัญญาทั้งหมด

ตามกรณีข้างต้นเป็นสัญญาที่ใช้กฎหมายอังกฤษบังคับท่านเห็นว่านายก.สามารถเรียกร้องให้นายข.

ปฏิบัติตามสัญญาโดยดำเนินการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในร้านค้าของนายก.ได้หรือไม่และ

กรณีจะเป็นประการใดหากสัญญานี้ต้องบังคับกันตามกฎหมายไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.1.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.1กิจกรรม6.1.1)

Page 14: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-14

เรื่องที่6.1.2ความเป็นมาของหลักสิ่งตอบแทน

สาระสังเขปแนวความคิดเรื่อง Consideration มีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 16 ในสมัยนั้น

Consideration เป็นเพียง “มูลเหตุจูงใจ” ให้คู่สัญญาให้คำสัญญาออกไปทั้งนี้ ในการฟ้องเรียกร้องเงิน

หรือค่าเสียหายจากการผิดคำสัญญาโจทก์ต้องบรรยายพฤติการณ์หรือเหตุการณ์ที่ทำให้จำเลยให้คำสัญญา

แก่โจทก์ซึ่งมักใช้สำนวนบรรยายว่า“Inconsiderationthat....”หรือ“Inconsiderationof...”ซึ่งแปลว่า

“ด้วยเหตุที่...” เช่น บรรยายว่า “ด้วยเหตุที่จอห์นสเลด (โจทก์) ได้เจรจาต่อรองและขายข้าวสาลีและ

ข้าวโพดทั้งหมดซึ่งปลูกอยู่ในฟาร์มชื่อว่า“แรคก์พาร์ค”ให้แก่ฮัมฟรีย์เป็นการพิเศษและตามคำขอร้องของ

ฮัมฟรีย์ฮัมฟรีย์จึงให้คำสัญญาโดยสุจริตใจว่าจะชำระเงินให้จอห์นสเลด”ต่อมา“มูลเหตุจูงใจ”ของการ

ให้คำสัญญามักเกี่ยวข้องกับ “สิ่งตอบแทน” ซึ่งได้รับจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ศาลจึงพัฒนาหลักกฎหมาย

เรื่องConsiderationให้มีผลว่าConsiderationคือ“สิ่งตอบแทน”ซึ่งฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญา

มอบให้แก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญาการสร้างหลักกฎหมายเรื่องConsideration โดยมองConsideration ใน

รูปของ“สิ่งตอบแทนต่อกัน”(MutualRecompense)จึงเป็นการริเริ่มของ“ทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยน

ประโยชน์ตอบแทน”(BargainTheory)ซึ่งยึดถือว่าคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้ผลประโยชน์ตอบแทนแลก

เปลี่ยนซึ่งกันและกันคำสัญญาจึงจะสามารถบังคับกันได้คำสัญญาที่ก.ให้ไว้แก่ข.โดยไม่หวังผลประโยชน์

ตอบแทนใดๆย่อมไม่สามารถมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายสัญญาในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ แม้ว่า

คู่สัญญาจะมีเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างกันก็ตาม

ในบางสมัยได้มีความพยายามของผู้พิพากษาบางท่าน(โดยเฉพาะอย่างยิ่งLordMansfieldC.J.)

ที่จะล้มเลิกหลักConsiderationโดยเห็นว่าคำสัญญาควรจะบังคับกันได้ตามหลักเจตนาดังเช่นในประเทศ

ทางภาคพื้นยุโรป LordMansfield เห็นว่า หากจะถือว่าConsideration เป็นสิ่งจำเป็นต่อผลบังคับของ

สัญญาแล้วเราก็ควรจะนิยามคำว่า Consideration ว่าเป็นเพียง “หน้าที่ทางศีลธรรม” แต่ต่อมาในกลาง

ศตวรรษที่19ศาลได้ตัดสินคดีกลับหลักของLordMansfieldโดยยืนยันหลักเดิมที่ว่าคู่สัญญาแต่ละฝ่าย

ต้องให้ประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกันจึงจะทำให้คำสัญญาสามารถบังคับต่อกันได้

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.1เรื่องที่6.1.2)

กิจกรรม6.1.2

ให้อธิบายว่าหลักกฎหมายเรื่อง“สิ่งตอบแทน”(Consideration)ได้พัฒนาขึ้นอย่างไรและ

มีความสัมพันธ์กับ“ทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน” (BargainTheory)และการ

บังคับสัญญา(Enforceability)อย่างไร

Page 15: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-15

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.1.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.1กิจกรรม6.1.2)

Page 16: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-16

เรื่องที่6.1.3รูปแบบของสิ่งตอบแทน

สาระสังเขปศาลในศตวรรษที่ 19พยายามนิยามคำว่า “สิ่งตอบแทน” (Consideration) โดยในช่วงแรกๆ

ศาลมักจะนิยาม “สิ่งตอบแทน” ในลักษณะที่เป็น “ผลประโยชน์” (Benefit)ซึ่งฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับ

คำสัญญาให้แก่ฝ่ายที่ได้ให้คำสัญญาหรือในลักษณะที่เป็น“ผลร้าย”(Detriment)ที่จะตกแก่ฝ่ายที่ประสงค์

จะบังคับคำสัญญา ซึ่งหมายถึงการที่ฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาต้องทนรับความยุ่งยากหรือภาระ

ยุ่งยากบางประการ ไม่ว่าโดยการกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการ เช่น การที่ ก. ให้คำสัญญาว่าจะให้

ทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งแก่ข.หากข.เลี้ยงดูก.ในระหว่างที่ก.มีชีวิตก็ถือได้ว่าภาระเลี้ยงดูก.เป็น“ผลร้าย”

ที่เกิดแก่ข.และเป็นสิ่งตอบแทนที่ข.สามารถบังคับคำสัญญาจากก.ได้แม้ว่าการนิยามคำว่า“สิ่งตอบแทน”

ในลักษณะที่ไม่เป็น “ผลประโยชน์” ก็เป็น “ผลร้าย” จะเป็นที่เข้าใจได้ก็ตาม แต่ก็ยังขาดความเหมาะสม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำว่า “ผลร้าย” อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์

ทั้งๆที่การต้องรับภาระบางประการโดยฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาในลักษณะของการกระทำการหรือ

งดเว้นการกระทำการนั้นมิได้เป็น “ผลร้าย” แก่ฝ่ายนั้นเสมอไป เช่น การที่ ก. ให้สัญญาแก่ ข. ว่าจะมอบ

ทรัพย์มรดกให้หากข.เลิกสูบบุหรี่

ศาลในสมัยต่อมาจึงนิยามคำว่า “สิ่งตอบแทน” (Consideration) เสียใหม่ โดยปรากฏในคดี

Dunlop v. Selfridge ซึ่งศาลนิยามสิ่งตอบแทนว่า เป็น “ราคา” (Price)ซึ่งฝ่ายที่รับคำสัญญาชำระให้แก่

ฝา่ยที่ให้คำสญัญาทัง้นี้ฝา่ยที่รบัคำสญัญาตอ้งชำระ“ราคา”โดยการกระทำการหรอืการงดเวน้การกระทำการ

ใดการหนึ่งหรือสัญญาว่าจะกระทำการหรือจะงดเว้นการกระทำการจะเห็นว่าสิ่งตอบแทนมี4รูปแบบคือ

(1)การกระทำการ(2)การงดเวน้การกระทำการ(3)การสญัญาวา่จะกระทำการและ(4)การสญัญาวา่จะงดเวน้

การกระทำการ

สิ่งตอบแทนในสองรูปแบบแรกนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการให้คำสัญญา กล่าวคือ ฝ่ายที่

ประสงค์จะบังคับคำสัญญาได้กระทำการหรืองดเว้นการกระทำการตั้งแต่ขณะทำสัญญาจึงเรียกสิ่งตอบแทน

ในสองรูปแบบแรกว่า“สิ่งตอบแทนที่ได้ดำเนินการแล้ว” (ExecutedConsideration)ส่วนสิ่งตอบแทนใน

สองรูปแบบหลังนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ทำสัญญา เนื่องจากฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาให้

คำสัญญาว่าจะกระทำการหรือจะงดเว้นการกระทำการ จึงเรียกสิ่งตอบแทนในสองรูปแบบหลังว่า

“สิ่งตอบแทนที่จะดำเนินการ” (ExecutoryConsideration) เช่น เมื่อก.ว่าจ้างข.สร้างสระว่ายน้ำโดย

ชำระค่าจ้างให้ข.ในวันทำสัญญาและข.ตกลงจะเริ่มงานก่อสร้างในอีกหนึ่งสัปดาห์ก็ถือได้ว่าสิ่งตอบแทน

ของก.ที่ให้แก่ข.(การให้เงินค่าก่อสร้างแก่ข.)เป็น“สิ่งตอบแทนที่ได้ดำเนินการแล้ว”และสิ่งตอบแทน

ของข.ที่ให้แก่ก.(สัญญาว่าจะสร้างสระว่ายน้ำ)เป็น“สิ่งตอบแทนที่จะดำเนินการ”

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.1เรื่องที่6.1.3)

Page 17: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-17

กิจกรรม6.1.3

ให้อธบิายรปูแบบของสิง่ตอบแทน(Consideration)และอธบิายวา่ExecutedConsideration

และExecutoryConsiderationคืออะไรพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.1.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.1กิจกรรม6.1.3)

Page 18: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-18

ตอนที่6.2

หลักที่เป็นสาระสำคัญของสิ่งตอบแทน

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่6.2แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่6.2.1หลักสิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับสัญญา

เรื่องที่6.2.2 หลักการกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการในอดีตไม่เป็นสิ่งตอบแทน

เรื่องที่6.2.3 หลักความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญ

เรื่องที่6.2.4 หลักความเพียงพอของสิ่งตอบแทน

แนวคิด1. สิ่งตอบแทนที่ได้ให้ตอบแทนแก่คู่สัญญาซึ่งให้คำสัญญาจะต้องมาจากคู่สัญญาฝ่ายที่

ประสงค์จะบังคับสัญญาเองมิใช่มาจากบุคคลภายนอกทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลัก

ที่ว่าสัญญามีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น(PrivityofContract)

2. โดยที่การบังคับสัญญาต้องมีสิ่งตอบแทนซึ่งกันและกัน การกระทำการหรืองดเว้นการ

กระทำการซึ่งได้เกิดขึ้นก่อนเวลาที่สัญญาเกิดย่อมไม่ถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนโดยชอบ

3. คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้สิ่งตอบแทนแก่กันและกัน แต่สิ่งตอบแทนของแต่ละฝ่ายไม่

จำเป็นต้องเท่าเทียมกัน

4. สิ่งบางอย่างไม่เพียงพอที่จะเป็นสิ่งตอบแทนตามกฎหมายเช่นการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้อง

ปฏิบัติอยู่แล้วตามกฎหมายหรือการปฏิบัติหน้าที่หรือชำระหนี้ตามสัญญาซึ่งมีอยู่ก่อน

แล้ว

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่6.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธบิายความเกีย่วขอ้งระหวา่งหลกัสิง่ตอบแทนและหลกัสญัญามีผลผกูพนัเฉพาะคู่สญัญา

(PrivityofContract)ได้

2. อธิบายสิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนตามกฎหมายได้

3. อธิบายความเสื่อมคลายของหลักสิ่งตอบแทน ที่ปรากฏในคดีที่วินิจฉัยโดยใช้วิธีการ

วินิจฉัยแบบพลิกแพลง(ManipulativeTechnique)ได้

Page 19: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-19

เรื่องที่6.2.1หลักสิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายที่ประสงค์

จะบังคับสัญญา

สาระสังเขปเนื่องจากการบังคับสัญญาต้องมีการแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกันศาลจึงวางหลัก

ว่าสิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายซึ่งประสงค์จะบังคับสัญญาเองมิใช่มาจากบุคคลภายนอกหรือมาจากฝ่ายอื่น

(Considerationmustmovefromthepromisee)กล่าวคือฝ่ายซึ่งประสงค์จะบังคับสัญญาจะต้องเป็นผู้ให้

สิ่งตอบแทนในรูปของการกระทำการการงดเว้นการกระทำการการสัญญาว่าจะกระทำการหรือการสัญญาว่า

จะงดเว้นการกระทำการมิใช่ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ให้สิ่งตอบแทนตัวอย่างเช่นหากก.ตกลงกับข.ว่าก.

จะชำระเงินค่าตอบแทนให้ค.(บุคคลภายนอก)หากข.ก่อสร้างบ้านให้ก.ต่อมาข.ได้ดำเนินการก่อสร้าง

บ้านให้ก.แล้วแต่ก.ไม่ชำระเงินให้แก่ค.ดังนี้ค.ก็ไม่สามารถบังคับคำสัญญาของก.ได้เนื่องจากค.ซึ่ง

เป็นฝ่ายที่บังคับคำสัญญาของก.ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนใดแก่ก.หากแต่สิ่งตอบแทนมาจากข.ซึ่งไม่ได้เป็น

ฝ่ายที่บังคับคำสัญญา

หลักที่ว่าสิ่งตอบแทนดังกล่าวจะต้องมาจากฝ่ายซึ่งประสงค์จะบังคับสัญญาเอง มิใช่มาจาก

บุคคลภายนอกหรือมาจากฝ่ายอื่นนั้นมาจากหลักที่ว่าสัญญาผูกพันเฉพาะคู่สัญญา(PrivityofContract)

นั่นเองอย่างไรก็ตามกฎหมายมิได้บังคับว่าสิ่งตอบแทนที่ให้แก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญานั้นต้องดำเนินการให้เกิด

กับฝ่ายที่ให้คำสัญญาโดยตรงฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาอาจให้สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญาโดย

ดำเนินการดังกล่าวให้เกิดกับบุคคลอื่นก็ได้การดำเนินการให้เกิดกับบุคคลอื่นถือว่าเป็นการให้สิ่งตอบแทน

แก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญาเช่นก.ตกลงว่าจะชำระเงินตอบแทนข.หากข.สร้างบ้านให้ค.ในกรณีนี้การที่ข.

สร้างบ้านให้ค.ถือเป็นการให้สิ่งตอบแทนตอบแทนคำสัญญาของก.แล้วหากก.ไม่ชำระเงินค่าตอบแทน

แก่ข.ตามที่สัญญาไว้ข.ก็สามารถฟ้องร้องเรียกร้องเงินค่าตอบแทนจากก.ได้

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.2เรื่องที่6.2.1)

กิจกรรม6.2.1

หลักที่ว่า “สิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายซึ่งประสงค์จะบังคับสัญญาเอง” (Consideration

mustmovefromthepromisee)คืออะไรและมีความเกี่ยวข้องกับหลักที่ว่า“สัญญาผูกพันเฉพาะ

คู่สัญญา”(PrivityofContract)อย่างไร

Page 20: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-20

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.2.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.2กิจกรรม6.2.1)

Page 21: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-21

เรื่องที่6.2.2หลักการกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการใน

อดีตไม่เป็นสิ่งตอบแทน

สาระสังเขปการกระทำการหรืองดเว้นการกระทำการในอดีต(PastConsideration)ไม่เป็นสิ่งตอบแทนโดยชอบ

“สิ่งตอบแทน”ที่เสนอให้แก่กันนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาที่ทำสัญญาเป็นต้นไป มิใช่สิ่งที่ผ่าน

ไปแล้วในอดีต เช่น ในคดีHunt v.Bate ลูกจ้างของจำเลยได้ถูกดำเนินคดีอาญาและถูกจับกุมและกักขัง

ไว้ในขณะที่จำเลยไม่อยู่ โจทก์จึงให้ความช่วยเหลือโดยการเดินทางไปประกันตัวลูกจ้างของจำเลยออกมา

ต่อมาจำเลยได้สำนึกในความกรุณาของโจทก์ที่ได้ประกันตัวลูกจ้างของจำเลยออกมา จำเลยจึงให้สัญญา

ต่อโจทก์ว่าจะชดใช้ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ใช้ไปในการประกันตัวครั้งนั้น เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินดังกล่าวโจทก์จึง

ฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินนั้น ศาลตัดสินว่า โจทก์ไม่สามารถเรียกร้องเงินเอาจากจำเลยได้

เนื่องจากโจทก์มิได้ให้สิ่งตอบแทนใดแก่จำเลย และการดำเนินการในการประกันตัวลูกจ้างของจำเลยเป็น

เพียงPastConsideration

แม้ตามหลักทั่วไปนั้น การกระทำในอดีตไม่สามารถเป็นสิ่งตอบแทนตามกฎหมายได้ แต่หากเป็น

กรณีที่การกระทำในอดตีนัน้เปน็การกระทำตามคำขอรอ้งของจำเลยในกรณีเชน่วา่นี้การกระทำในอดตีนัน้เปน็

สิ่งตอบแทนเช่นในคดีLampleighv.Brathwaiจำเลยขอร้องให้โจทก์ดำเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ

ในความผิดที่จำเลยได้ฆ่าผู้อื่นตาย โจทก์ได้ดำเนินการดังกล่าวและต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากใน

การเดินทางจากเมืองที่โจทก์อาศัยอยู่ไปยังลอนดอนจำเลยได้สำนึกในความกรุณาของโจทก์และสัญญาจะ

จ่ายเงินให้โจทก์ ศาลพิพากษาว่า โจทก์สามารถบังคับคำสัญญาของจำเลยได้เนื่องจากโจทก์ได้กระทำการ

ตามคำขอร้องของจำเลยนอกจากนั้นศาลในระยะต่อมาได้วางหลักเพิ่มเติมว่าในขณะที่โจทก์ได้กระทำการ

ตามคำขอร้องของจำเลยนั้นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องเข้าใจหรือหยั่งรู้ว่าโดยปกติแล้วการกระทำดังกล่าว

ไม่ใช่การกระทำที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.2เรื่องที่6.2.2)

กิจกรรม6.2.2

ในคดีEastwoodv.Kenyon(1840)11Ad&El438มีข้อเท็จจริงดังนี้ เมื่อบิดาเสียชีวิต

ซาร่าห์ยังอยู่ในวัยเยาว์โจทก์ได้เลี้ยงดูและปกครองซาร่าห์มาโดยตลอดโดยได้ออกค่าใช้จ่ายต่างๆให้

แก่ซาร่าห์ครั้นเมื่อซาร่าห์บรรลุนิติภาวะก็ได้ให้คำสัญญาที่จะจ่ายเงินคืนให้แก่โจทก์ต่อมาเมื่อซาร่าห์

ได้สมรสกับจำเลยแล้วจำเลยก็ได้ให้คำสัญญาที่จะจ่ายเงินให้โจทก์ด้วยเช่นกัน

จากข้อเท็จจริงข้างต้น ให้วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องร้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ตามที่ได้

สัญญาไว้ได้หรือไม่เพราะเหตุใด

Page 22: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-22

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.2.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.2กิจกรรม6.2.2)

Page 23: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-23

เรื่องที่6.2.3 หลักความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็น

สาระสำคัญ

สาระสังเขปความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญ (Immateriality of Adequacy of

Consideration)คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้สิ่งตอบแทนแก่กันและกัน แต่ศาลจะไม่ก้าวล่วงไปพิเคราะห์

ว่าสิ่งที่ แต่ละฝ่ายให้หรือตกลงจะให้ตอบแทนกันนั้นมีความเท่าเทียมกันหรือไม่ การพิเคราะห์ว่า

สิ่งตอบแทนที่ให้แก่กันนั้นคุ้มค่าหรือไม่เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละฝ่ายซึ่งมีความ

เป็นอัตวิสัย (Subjective) ตัวอย่างเช่น คดีChappell & Co. Ltd. v. Nestlé Co. Ltd. [1960]

AC 87 บริษัทNestlè ตกลงจะให้แผ่นเสียงแก่ผู้ที่ส่งกระดาษห่อช็อกโกเเลตเนสเล่ 3 ชิ้นพร้อมด้วย

เงินจำนวนเพียง 1 ชิลลิ่งกว่าๆ เท่านั้น House of Lords ตัดสินว่า การส่งกระดาษห่อช็อกโกเเลต

นั้นก็เป็นสิ่งตอบแทนโดยชอบแม้ว่ากระดาษห่อช็อกโกเเลตจะไม่มีราคาในทางเศรษฐศาสตร์หรือ

มีมูลค่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าของแผ่นเสียงที่บริษัทNestlèตกลงจะส่งให้ลูกค้า

หลักที่ว่าความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญนั้นเป็นหลักกฎหมายที่ศาล

คอมมอนลอว์สร้างขึ้นตั้งแต่เดิม ในปัจจุบันความเป็นธรรมของสัญญารวมทั้งความสมดุลระหว่างสิทธิและ

หน้าที่ของคู่สัญญาได้ถูกควบคุมโดยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายรัฐสภาเช่นTheUnfairContractTerms

Act 1977 หรือโดยกฎหมายลำดับรองที่ฝ่ายบริหารออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติที่ตราโดย

รัฐสภาเช่นTheUnfairTermsinConsumerContractsRegulations1994เป็นต้น

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.2เรื่องที่6.2.3)

กิจกรรม6.2.3

การที่ศาลอังกฤษสร้างหลักที่ว่าความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญ

(Immateriality of Adequacy of Consideration) นั้นจะทำให้กฎหมายขาดความเป็นธรรม

เนื่องจากไม่คำนึงถึงความสมดุลทางเนื้อหาของสัญญาหรือไม่อย่างไร

Page 24: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-24

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.2.3

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.2กิจกรรม6.2.3)

Page 25: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-25

เรื่องที่6.2.4 หลักความเพียงพอของสิ่งตอบแทน

สาระสังเขปศาลได้พัฒนาหลักความเพียงพอของสิ่งตอบแทน(SufficiencyofConsideration)โดยวางหลักไว้

บางประการว่าสิ่งใดไม่เพียงพอที่จะเป็นสิ่งตอบแทนในสายตาของกฎหมายดังเช่น

ประการแรกการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องปฏิบัติอยู่แล้วตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสิ่งตอบแทน เช่น

หากมีการให้คำสัญญาแก่ผู้ซึ่งได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานในศาลว่าจะให้เงินตอบแทนการเดินทางไปเป็น

พยานในศาลตามหมายเรียกนั้นคำสัญญาดังกล่าวก็ไม่สามารถบังคับกันได้เนื่องจากการไปเป็นพยานในศาล

ตามหมายเรียกของศาลเป็นการกระทำตามหน้าที่ซึ่งมีอยู่แล้วตามกฎหมายจึงไม่เป็นสิ่งตอบแทนโดยชอบ

ประการที่สองการปฏิบัติหน้าที่หรือชำระหนี้ตามสัญญาซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ถือว่าเป็นสิ่งตอบแทน

เช่นกันเช่นในคดีStilkv.Myrickเมื่อลูกเรือสองคนได้ผละจากการปฏิบัติงานในเรือและกัปตันตกลงจะ

จ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่ลูกเรือที่เหลืออยู่หากลูกเรือยังคงอยู่ปฏิบัติงานในเรือต่อไป คำสัญญาที่จะจ่ายเงิน

เพิ่มดังกล่าวไม่สามารถบังคับได้เนื่องจากการปฏิบัติงานในเรือเป็นหนี้ตามสัญญาที่มีอยู่ก่อนแล้ว จึงมิใช่

เป็นสิ่งตอบแทนอย่างไรก็ตามในคดีWilliamsv.Roffreyศาลได้ใช้วิธี“การวินิจฉัยคดีแบบพลิกแพลง”

(Manipulative Technique) โดยตัดสินในทำนองที่หนี้ตามสัญญาเดิมดูเหมือนจะเป็นสิ่งตอบแทนได้

ซึ่งการวินิจฉัยเช่นนี้อาจทำให้สูญเสียความเป็นเหตุเป็นผล(Rationality)ของหลักกฎหมายไปได้

ประการที่สามคำสัญญาของเจ้าหนี้ว่าจะยอมรับการชำระหนี้ของลูกหนี้ในจำนวนน้อยกว่าจำนวน

ตามสัญญาเดิมโดยถือว่าเป็นการชำระเต็มจำนวนตามสัญญาแล้ว ซึ่งเป็นการประนอมหนี้นั้น บังคับ

เรียกร้องกันไม่ได้เนื่องจากลูกหนี้มิได้ให้สิ่งใดเป็นสิ่งตอบแทนและการที่ลูกหนี้ตกลงจะชำระหนี้ตามจำนวน

ที่น้อยกว่าเดิมก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งตอบแทนแต่เป็นหนี้ตามสัญญาเดิมเว้นแต่เป็นกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้โดย

มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้(somenewelements)เช่นการชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่นการชำระหนี้

ในสถานที่นอกเหนือจากที่ระบุในสัญญาหรือการชำระหนี้ก่อนหนี้ถึงกำหนด

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.2เรื่องที่6.2.4)

กิจกรรม6.2.4

คดีWilliamsv.RoffreyBros&Nicholls (Contractors)Ltd. [1990] 1AllE.R. 512

(CA)แสดงถึงความเสื่อมคลายของหลักสิ่งตอบแทนอย่างไร

Page 26: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-26

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.2.4

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.2กิจกรรม6.2.4)

Page 27: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-27

ตอนที่6.3

หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา(PromissoryEstoppel)

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่6.3แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่6.3.1 ที่มาและสาระสำคัญของหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

เรื่องที่6.3.2 ข้อจำกัดของหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

แนวคิด1. ศาลสรา้ง“หลกักฎหมายปดิปากในการให้คำสญัญา”(PromissoryEstoppel)ซึง่เปน็หลกั

กฎหมายเอ็คควิตี้(EquitableRule)โดยให้ฝ่ายที่ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

สามารถบังคับคำสัญญาเอากับฝ่ายที่ให้คำสัญญาได้ หากปรากฏว่าการให้คู่สัญญาที่ให้

คำสัญญากลับคำสัญญาได้จะไม่เป็นธรรมอย่างมากแก่ผู้รับคำสัญญา

2. หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาเป็นหลักกฎหมายเอ็คควิตี้ ซึ่งศาลจะยกขึ้นใช้

ตามดุลพินิจของศาลโดยแท้

3. หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาใช้เพื่อเป็นข้อต่อสู้เท่านั้นแต่ไม่สามารถใช้เพื่อ

บังคับสิทธิโดยตรง

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่6.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายการพัฒนา“หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา”(PromissoryEstoppel)

เพื่อผ่อนคลายความเคร่งครัดของหลักสิ่งตอบแทนได้

2. อธิบายข้อจำกัดของหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาซึ่งทำให้หลักสิ่งตอบแทน

ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ได้

Page 28: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-28

เรื่องที่6.3.1 ที่มาและสาระสำคัญของหลักกฎหมายปิดปากในการ

ให้คำสัญญา

สาระสังเขปศาลได้สร้าง“หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา”(PromissoryEstoppel)ซึ่งเป็นข้อยกเว้น

ของหลักสิ่งตอบแทน (Consideration) โดยให้ฝ่ายที่ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบังคับ

คำสัญญาเอากับฝ่ายที่ให้คำสัญญาได้ในพฤติการณ์ที่ศาลเห็นว่าการยอมให้ฝ่ายที่ให้คำสัญญากลับคำสัญญา

จะทำให้อกีฝา่ยหนึง่ได้รบัความไม่เปน็ธรรมอยา่งมากเทา่นัน้ในพฤตกิารณ์เชน่นัน้ศาลจงึ“ปดิปาก”มิให้ฝา่ยที่

ให้คำสญัญากลบัคำสญัญาโดยอา้งวา่อกีฝา่ยหนึง่มไิด้ให้สิง่ตอบแทนใดแก่ตนหลกักฎหมายปดิปากในการให้

คำสญัญาเปน็หลกักฎหมายเอค็ควิตี้(EquitableRule)เพือ่ผอ่นคลายหลกัสิง่ตอบแทนหลกักฎหมายปดิปาก

ในการให้คำสญัญามีทีม่าจากคดีCentralLondonPropertyTrustLtd.v.HighTreesHouseLtd.(คดีHigh

Trees) ซึ่งมีข้อเท็จจริงว่า ผู้ให้เช่าได้ตกลงลดอัตราค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าครึ่งหนึ่งแล้วและต่อมากลับเรียกร้อง

ค่าเช่าเต็มจำนวน ศาลให้ผู้เช่าผูกพันชำระค่าเช่าในอัตราเพียงครึ่งหนึ่งตามที่ผู้ให้เช่าได้ให้คำสัญญาลด

ค่าเช่าแม้ว่าผู้เช่าจะมิได้ให้สิ่งตอบแทนใดแก่ผู้ให้เช่าเพื่อตอบแทนคำสัญญาลดค่าเช่าดังกล่าวก็ตาม

ตามหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญานี้ คู่สัญญาสามารถบังคับคำสัญญาได้แม้จะไม่ได้ให้

สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญาถ้าหากปรากฏว่ามีการให้คำสัญญาที่ชัดเจน(clearandunambiguous

promise) และการให้คู่สัญญาที่ให้คำสัญญากลับคำสัญญาได้จะไม่เป็นธรรมอย่างมากแก่ผู้รับคำสัญญา

ความไม่เป็นธรรมอย่างมากเช่นว่านั้นมักจะเกิดจากการที่ผู้รับคำสัญญาได้มีความเชื่อถือ (Reliance) ใน

คำสัญญานั้นและด้วยความเชื่อถือดังกล่าวได้กระทำการบางอย่างไปแล้วศาลมักใช้ถ้อยคำว่าพฤติการณ์ที่

เกิดขึ้นทำให้ผู้รับคำสัญญา“เปลี่ยนแปลงสถานะ”(AlterationofPosition)ซึ่งหมายความว่าได้กระทำการ

บางอย่างไปโดยเชื่อถือในคำสัญญาของอีกฝ่ายหนึ่งนั่นเอง เมื่อพิเคราะห์ข้อเท็จจริงในคดีHighTrees จะ

เห็นว่าผู้ให้เช่าได้ให้คำสัญญาที่ชัดเจนต่อผู้เช่าว่าจะลดค่าเช่าให้ครึ่งหนึ่ง และการให้ผู้ให้เช่ากลับคำสัญญา

โดยเรียกค่าเช่าอัตราเดิมจะไม่เป็นธรรมอย่างมากต่อผู้เช่าซึ่งได้เชื่อถือในคำสัญญาลดอัตราค่าเช่าที่ผู้ให้เช่า

ได้ให้ไว้ศาลจึงให้ข้อตกลงของผู้ให้เช่าที่จะลดอัตราค่าเช่าให้นั้นมีผลบังคับได้แม้ผู้เช่าไม่ได้ให้สิ่งตอบแทน

ใดตอบแทนข้อตกลงดังกล่าว

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.3เรื่องที่6.3.1)

Page 29: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-29

กิจกรรม6.3.1

ในพฤติการณ์ใดศาลสามารถยก “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา” (Promissory

Estoppel)เพื่อบังคับคำสัญญาเอากับฝ่ายที่ให้คำสัญญาโดยที่ฝ่ายที่รับคำสัญญาไม่ได้ให้สิ่งตอบแทน

ใดเป็นการตอบแทน

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.3.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.3กิจกรรม6.3.1)

Page 30: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-30

เรื่องที่6.3.2 ข้อจำกัดของหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

สาระสังเขปแม้ศาลสร้างหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา (Promissory Estoppel) เพื่อให้ผู้ให้

คำสัญญาผูกพันตามคำสัญญาโดยไม่ได้รับสิ่งตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หลักนี้ก็มีข้อจำกัด คือ หลัก

กฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญามีสถานะเป็นหลักEquityมิใช่หลักกฎหมายคอมมอนลอว์การยกหลัก

กฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาขึ้นมาใช้จึงเป็นดุลพินิจของศาลโดยแท้มิใช่เป็นสิทธิของผู้รับคำสัญญา

(notasofright)นอกจากนี้หลักดังกล่าว“ใช้เป็นโล่กำบังมิใช่เป็นกระบี่”(usedasashieldandnot

as a sword)กล่าวคือ ใช้เป็นข้อต่อสู้เท่านั้น แต่จะใช้บังคับสิทธิโดยตรงไม่ได้ ซึ่งหมายความว่าในกรณีที่

เจ้าหนี้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ ลูกหนี้สามารถนำคำสัญญาที่เจ้าหนี้ได้ให้แก่ลูกหนี้มาเป็นข้อต่อสู้เพื่อ

หลุดพ้นจากหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ดังเช่นในคดีHighTreesซึ่งผู้เช่าปฏิเสธไม่ชำระค่าเช่าในอัตราเต็ม

โดยต่อสู้ว่าผู้ให้เช่าได้ให้คำสัญญาลดอัตราค่าเช่าลงเหลือครึ่งหนึ่งการที่ศาลสร้างข้อจำกัดว่าหลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้คำสัญญา“ใช้เป็นโล่กำบังมิใช่เป็นกระบี่” จึงทำให้หลักสิ่งตอบแทนซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐาน

ของ“ทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน” ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ แม้ว่าอาจเสื่อมคลาย

ลงไปบ้างหากศาลจะตัดสินในทำนองที่นำเอาสิ่งที่มิใช่สิ่งตอบแทนขึ้นมาเป็นสิ่งตอบแทนดังที่เคยปรากฏใน

คดีWilliamsv.RoffreyBros&Nicholls(Contractors)Ltd.ซึ่งอธิบายแล้วในเรื่องที่6.2.4

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.3เรื่องที่6.3.2)

กิจกรรม6.3.2

หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา (PromissoryEstoppel)ที่ให้บังคับคำสัญญาได้

โดยที่ผู้รับคำสัญญามิได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้คำสัญญามีผลทำให้หลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทน

ยังคงศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่ให้อธิบาย

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.3.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.3กิจกรรม6.3.2)

Page 31: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-31

ตอนที่6.4

หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาใน

ประเทศเครือจักรภพและประเทศสหรัฐอเมริกา

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่6.4แล้วจึงศึกษาสาระสังเขปพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละเรื่อง

หัวเรื่องเรื่องที่6.4.1 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

เครือจักรภพ

เรื่องที่6.4.2 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

สหรัฐอเมริกา

แนวคิด1. กลุ่มประเทศเครือจักรภพ (Commonwealth) ได้รับหลักสิ่งตอบแทนจากกฎหมาย

อังกฤษไปใช้เป็นหลักกฎหมายสัญญาของตนในครั้งที่ยังคงเป็นอาณานิคมของประเทศ

อังกฤษ และหลังจากที่ได้รับเอกราชแล้วหลักสิ่งตอบแทนยังคงเป็นหลักสำคัญใน

กฎหมายสัญญาของประเทศเหล่านั้นอยู่เช่นเดิม

2. ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับหลักสิ่งตอบแทนมาจากกฎหมายอังกฤษเช่นเดียวกันต่อมา

สาระสำคัญของหลักสิ่งตอบแทนได้ถูกนำไปประมวลไว้เป็นลายลักษณ์อักษรใน

RestatementofContracts

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่6.4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายการรับเอาหลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาไปใช้ใน

กฎหมายสัญญาของกลุ่มประเทศเครือจักรภพได้

2. อธิบายการรับเอาหลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาไปใช้ใน

กฎหมายสัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกาได้

Page 32: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-32

เรื่องที่6.4.1 หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้

คำสัญญาในประเทศเครือจักรภพ

สาระสังเขปหลักสิ่งตอบแทน (Consideration) และหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา (Promissory

Estoppel) ซึ่งศาลอังกฤษสร้างขึ้นนั้นเป็นหลักที่ใช้ในประเทศเครือจักรภพที่เคยเป็นอาณานิคมของ

อังกฤษมาก่อนและรับเอาระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ไปใช้ แม้ในปัจจุบันประเทศเหล่านั้นได้รับเอกราช

ไปแล้ว แต่หลักกฎหมายอังกฤษที่รับไปใช้ตั้งแต่เดิมนั้นก็ยังคงเป็นหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศ

เหล่านั้นจนกว่าศาลในประเทศเหล่านั้นจะได้วางหลักใหม่หรือรัฐสภาในประเทศเหล่านั้นจะตรากฎหมายขึ้น

โดยเปลีย่นแปลงหลกักฎหมายองักฤษเดมิอยา่งไรกต็ามจนถงึปจัจบุนัก็ไม่ปรากฏวา่ศาลหรอืฝา่ยนติบิญัญตัิ

ของประเทศใดที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้ยกเลิกหลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากใน

การให้คำสัญญาอันที่จริงแล้ว ในปัจจุบันตำรากฎหมายสัญญาของประเทศในเครือจักรภพก็ยังอธิบายคดี

ที่ศาลอังกฤษตัดสินไว้ในครั้งที่ประเทศในเครือจักรภพยังอยู่ในความปกครองของอังกฤษอยู่ แม้กระทั่งใน

ปัจจุบันซึ่งประเทศในเครือจักรภพได้รับเอกราชไปแล้วนั้นก็ยังปรากฏว่าคดีที่ศาลอังกฤษตัดสินก็ยังคง

ได้รับการกล่าวถึงและมีแรงจูงใจ (PersuasiveValue) ให้นักกฎหมายและศาลในประเทศเครือจักรภพ

คล้อยตามอยู่มาก

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.4เรื่องที่6.4.1)

กิจกรรม6.4.1

เหตุใดหลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทน (Consideration) และหลักกฎหมายเรื่องกฎหมาย

ปิดปากในการให้คำสัญญา (PromissoryEstoppel) ซึ่งศาลอังกฤษสร้างขึ้นจึงเป็นหลักกฎหมายที่

ใช้ในประเทศเครือจักรภพด้วย

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.4.1

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.4กิจกรรม6.4.1)

Page 33: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-33

เรื่องที่6.4.2หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้

คำสัญญาในประเทศสหรัฐอเมริกา

สาระสังเขปประเทศสหรฐัอเมรกิาก็รบัหลกัสิง่ตอบแทนและหลกักฎหมายปดิปากในการให้คำสญัญาขององักฤษ

ไปใช้เช่นเดียวกันตั้งแต่ในครั้งที่ได้มีการอพยพจากเกาะอังกฤษไปตั้งเมืองใหม่ในทวีปอเมริกาจนเกิดเป็น

ประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันหลักกฎหมายสัญญาที่รับมาจากอังกฤษนั้นถูกเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่

เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งปรากฏอยู่ในRestatementofContractsหลักสิ่งตอบแทนปรากฏในSection

71ของRestatement (Second)ofContracts ซึ่งกำหนดไว้ว่า การก่อให้เกิดสิ่งตอบแทนจะต้องมีการ

แลกเปลี่ยนด้วย “การปฏิบัติการ” (Performance) หรือด้วย “การให้คำสัญญาตอบแทน” (Return

Promise)ทั้งนี้“การแลกเปลี่ยน”(bargainedfor)จะมีขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ให้คำสัญญา(Promisor)ได้เรียกร้อง

ให้มีการปฏิบัติการหรือเรียกร้องคำสัญญาตอบแทนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับคำสัญญาของตนและผู้รับ

คำสัญญาก็ได้ปฏิบัติการหรือให้คำสัญญาตอบแทนเพื่อแลกเปลี่ยนกับคำสัญญาของผู้ให้คำสัญญาเช่น

เดียวกันนอกจากนั้นยังกำหนดไว้ว่า“การปฏิบัติการ”ในที่นี้นั้นอาจอยู่ในรูปของทั้งการกระทำการ(Act)

หรือการงดเว้นการกระทำการ (Forbearance) ซึ่งก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับรูปแบบของสิ่งตอบแทน

ที่ศาลอังกฤษได้จำแนกไว้ในคดีDunlopv.Selfridgeนั่นเองส่วนหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

ปรากฏในSection90ของRestatement(Second)ofContractsซึ่งใช้ตามดุลพินิจของศาลในกรณีที่

จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเช่นเดียวกับหลักที่ศาลอังกฤษวางไว้ในคดีHighTrees

(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวิชาหน่วยที่6ตอนที่6.4เรื่องที่6.4.2)

กิจกรรม6.4.2

จงอธิบายว่ากฎหมายสัญญาของประเทศสหรัฐอเมริกามีหลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมาย

ปิดปากในการให้คำสัญญาหรือไม่อย่างไร

Page 34: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-34

บันทึกคำตอบกิจกรรม6.4.2

(โปรดตรวจคำตอบจากแนวตอบในแนวการศึกษาหน่วยที่6ตอนที่6.4กิจกรรม6.4.2)

Page 35: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-35

แนวตอบกิจกรรมหน่วยที่6

หลักกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งตอบแทน

ตอนที่6.1ความทั่วไปความเป็นมาและรูปแบบของสิ่งตอบแทน

แนวตอบกิจกรรม6.1.1

ตามหลักเรื่อง“สิ่งตอบแทน” (Consideration) ในกฎหมายสัญญาของอังกฤษและกฎหมายของ

ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์(CommonLaw)คำสัญญาจะเรียกร้องบังคับกันได้ก็ต่อเมื่อฝ่าย

ที่ประสงค์จะบังคับสัญญาได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายที่ได้ให้คำสัญญาในกรณีที่เกิดขึ้นนั้นข้อเท็จจริงปรากฏ

ว่านาย ข. ได้เสนอที่จะให้บริการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในร้านค้าของนายก. โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ซึ่งเป็นการให้คำสัญญา (Promise) เพื่อจูงใจให้นายก.ยอมรับมอบสินค้าไว้ และนายก.ก็ได้รับคำเสนอ

ดังกล่าวนาย ข. จึงอยู่ในฐานะของผู้รับคำสัญญา (Promisee) ซึ่งประสงค์จะบังคับคำสัญญาของนาย ข.

อย่างไรก็ตามเมื่อนายก.มิได้ให้สิ่งตอบแทนอันใดแก่นายข.เป็นการตอบแทนคำสัญญาของนายข.นายก.

ก็ไม่สามารถบังคับคำสัญญาที่นายข.ได้ให้ไว้ได้นายก.จึงเรียกร้องให้นายข.ดำเนินการวางระบบเครือข่าย

คอมพิวเตอร์ในร้านค้าของนายก.ไม่ได้

หากสัญญานี้ต้องบังคับกันตามกฎหมายไทยซึ่งใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ คำสัญญาของนาย ข.

ก็สามารถเรียกร้องบังคับกันได้ เนื่องจากการบังคับสัญญาตามกฎหมายในระบบซีวิลลอว์นั้นยึดถือหลัก

เจตนาที่ถูกต้องตรงกัน

แนวตอบกิจกรรม6.1.2

หลักกฎหมายสัญญาเรื่อง “สิ่งตอบแทน” (Consideration) ได้พัฒนาขึ้นโดยศาลอังกฤษ

และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบังคับสัญญา (Enforceability) ทั้งนี้ ศาลได้สร้างหลักว่า ใน

การบังคับคำสัญญานั้นฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาต้องให้สิ่งตอบแทนบางประการแก่ฝ่ายที่ให้

คำสัญญา ในระยะแรก การบังคับคำสัญญานั้นจะต้องอาศัยการอธิบายมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ฝ่ายที่ให้

คำสัญญาได้ให้คำสัญญานั้น ซึ่งโจทก์จะอธิบายในคำฟ้องโดยใช้คำว่า “In consideration that....” หรือ

“In consideration of...” ซึ่งแปลว่า “ด้วยเหตุที่...” การบังคับคำสัญญาได้หรือไม่ในขณะนั้นจึงมิได้

ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาได้ให้สิ่งตอบแทนแก่อีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ Consideration

ในขณะนั้นจึงอยู่ในลักษณะ “มูลเหตุจูงใจ” แต่ต่อมาศาลได้พัฒนาหลัก Consideration ว่าจะต้อง

เป็นสิ่งตอบแทนซึ่งฝ่ายที่จะบังคับคำสัญญาจะต้องให้แก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญา การพัฒนาหลักดังกล่าว

Page 36: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-36

จึงเป็นที่มาของ “ทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน” (Bargain Theory) กล่าวคือ

คำสัญญาจะบังคับได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายที่รับคำสัญญาได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายที่ได้ให้คำสัญญา

แนวตอบกิจกรรม6.1.3

สิ่งตอบแทน(Consideration)มี4รูปแบบคือ(1)การกระทำการ(2)การงดเว้นการกระทำการ

(3)การสัญญาว่าจะกระทำการและ(4)การสัญญาว่าจะงดเว้นการกระทำการ

ExecutedConsiderationหมายถึงสิ่งตอบแทนที่ต้องดำเนินการในเวลาที่ได้ทำสัญญาซึ่งก็คือ

สิ่งตอบแทนในรูปแบบ(1)และรูปแบบ(2)ข้างต้นส่วนExecutoryConsiderationหมายถึงสิ่งตอบแทน

ที่ยังไม่ต้องดำเนินการในขณะที่ทำสัญญา แต่คู่สัญญาที่ให้สิ่งตอบแทนรับจะไปดำเนินการในภายหลัง ซึ่ง

ก็คือสิ่งตอบแทนในรูปแบบ(3)และรูปแบบ(4)ข้างต้นเช่นเมื่อก.ขายสินค้าให้ข.โดยก.ตกลงจะส่งมอบ

สินค้าให้ข.ในวันทำสัญญาและข.ตกลงจะชำระราคาให้ก.ในอีกหนึ่งสัปดาห์สิ่งตอบแทนของก.ในกรณี

นี้เป็นExecutedConsiderationส่วนสิ่งตอบแทนของข.เป็นExecutoryConsideration

ตอนที่6.2หลักที่เป็นสาระสำคัญของสิ่งตอบแทน

แนวตอบกิจกรรม6.2.1

หลักที่ว่า “สิ่งตอบแทนต้องมาจากฝ่ายซึ่งประสงค์จะบังคับสัญญาเอง” (Considerationmust

movefromthepromisee)คือหลักที่ว่าฝ่ายที่ประสงค์จะบังคับคำสัญญาจะต้องให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้

คำสัญญาเอง มิใช่ให้ผู้อื่นเป็นผู้ให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้คำสัญญา หลักนี้มีความเกี่ยวข้องกับหลักที่ว่า

“สัญญาผูกพันเฉพาะคู่สัญญา” (Privity ofContract) ในลักษณะที่ว่าบุคคลภายนอกสัญญาไม่สามารถ

เรียกร้องหรือบังคับสัญญาได้เลยทั้งนี้หากบุคคลซึ่งประสงค์จะบังคับคำสัญญาของผู้ให้คำสัญญามิได้ให้

สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้คำสัญญาเองแต่ผู้อื่นเป็นผู้ให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้คำสัญญาก็จะมีผลเสมือนว่าบุคคลซึ่ง

ประสงค์จะบังคับคำสัญญาเป็นบุคคลภายนอกจึงไม่ควรที่จะบังคับคำสัญญาได้เลย

แนวตอบกิจกรรม6.2.2

โจทก์ฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินตามคำสัญญาไม่ได้เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนใดแก่จำเลยการ

ที่โจทก์ได้เลี้ยงดูซาร่าห์มาตั้งแต่เยาว์วัยเป็นเพียงสิ่งตอบแทนในอดีต(PastConsideration)คำสัญญาของ

ทั้งซาร่าห์และสามีของซาร่าห์จึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับได้

แนวตอบกิจกรรม6.2.3

หลักที่ว่าความไม่เท่าเทียมกันของสิ่งตอบแทนไม่เป็นสาระสำคัญ(ImmaterialityofAdequacyof

Consideration)นั้นอาจจะทำให้เข้าใจในเบื้องแรกได้ว่ากฎหมายคอมมอนลอว์ไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม

ทางเนื้อหาของสัญญาแต่อันที่จริงแล้วหลักกฎหมายคอมมอนลอว์เรื่องสิ่งตอบแทนเป็นหลักที่ศาลสร้างขึ้น

Page 37: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-37

อย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ปรากฏว่ามีปัจจัยต่างๆ ทางสังคมซึ่งส่งผลกระทบต่อ

เสรีภาพในการทำสัญญาและความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับอำนาจต่อรอง

อันไม่เท่าเทียมกัน ศาลจึงมิได้มุ่งเน้นสร้างหลักกฎหมายมาควบคุมความไม่เป็นธรรมทางด้านเนื้อหาของ

สัญญาปัจจัยทางสังคมซึ่งส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการทำสัญญาและความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา

ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับอำนาจต่อรองอันไม่เท่าเทียมกันล้วนแต่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายศตวรรษที่19จนกระทั่ง

ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตรากฎหมายพิเศษขึ้นมาเพื่อควบคุมความไม่เป็นธรรมของสัญญา

แนวตอบกิจกรรม6.2.4

คดีWilliamsv.RoffreyBros&Nicholls (Contractors)Ltd. [1990]1AllE.R.512 (CA)

แสดงถึงความเสื่อมคลายของหลักสิ่งตอบแทน (Consideration) เนื่องจากศาลได้ตัดสินในทำนองที่

ให้สิ่งที่โดยสารัตถะแล้วเป็นหนี้ตามสัญญาเดิมเป็นสิ่งตอบแทนโดยชอบได้ ในคดีนี้ผู้รับเหมาทำสัญญา

กับผู้ว่าจ้างเพื่อปรับปรุงแฟลต สัญญาก่อสร้างมีข้อสัญญาปรับผู้รับเหมาเป็นจำนวนเงินสูงมากหาก

งานที่รับเหมาไม่เสร็จตามเวลา ผู้รับเหมาได้จ้างผู้รับเหมาช่วง (Sub-contractor) เพื่อทำงานไม้ ต่อมา

ผู้รับเหมาช่วงประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งมีสาเหตุจากการควบคุมงานไม่ดีและจากการคำนวณ

ค่ารับเหมาช่วงต่ำเกินไปด้วยความผิดพลาด ผู้รับเหมาเกรงว่าผู้รับเหมาช่วงจะทำงานที่รับเหมาช่วง

ไม่เสร็จตามเวลา จึงตกลงจ่ายเงินเพิ่มให้ผู้รับเหมาช่วง เมื่อมีการฟ้องเรียกร้องเงินเพิ่มดังกล่าว

ศาลพิพากษาว่าผู้รับเหมาช่วงได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้รับเหมาแล้วโดยอยู่ในรูปของ“ประโยชน์”ที่ผู้รับเหมา

ได้รับจากการที่ไม่ต้องเสียค่าปรับตามสัญญาก่อสร้างให้แก่ผู้ว่าจ้างในกรณีที่ทำงานไม่สำเร็จตามสัญญา

อันที่จริงแล้วหากยึดถือบรรทัดฐานคดี Stilk v.Myrick อย่างเคร่งครัดแล้วจะเห็นว่า ผู้รับเหมาช่วง

ในคดีนี้ มิได้ให้สิ่งตอบแทนอันใดใหม่แก่ผู้รับเหมาเลย แต่ศาลก็พยายามที่ จะหาสิ่งที่ ดูเหมือน

จะเป็น “ประโยชน์ทางอ้อม” มาเป็นสิ่งตอบแทน ซึ่งเสมือนกับการไม่ยึดถือหลักสิ่งตอบแทนดั้งเดิม

คดีนี้จึงแสดงถึงความเสื่อมคลายของหลักสิ่งตอบแทน

ตอนที่6.3หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา(PromissoryEsstoppel)

แนวตอบกิจกรรม6.3.1

ศาลสามารถยก“หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา” (PromissoryEstoppel) เพื่อบังคับ

คำสัญญาเอากับฝ่ายที่ให้คำสัญญาโดยที่ฝ่ายที่รับคำสัญญาไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนใดเป็นการตอบแทนใน

พฤติการณ์ที่มีการให้คำสัญญาที่ชัดเจน (clear andunambiguouspromise) และการให้คู่สัญญาที่ให้

คำสัญญากลับคำสัญญาได้จะไม่เป็นธรรมอย่างมากแก่ผู้รับคำสัญญาซึ่งมักจะเกิดจากการที่ผู้รับคำสัญญา

ได้มีความเชื่อถือ(Reliance)ในคำสัญญานั้นและด้วยความเชื่อถือดังกล่าวได้กระทำการบางอย่างไปแล้ว

Page 38: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-38

แนวตอบกิจกรรม6.3.2

แม้ศาลจะสร้างหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาขึ้นมาเพื่อเป็นข้อยกเว้นของหลักกฎหมาย

คอมมอนลอว์เรื่องสิ่งตอบแทนแต่หลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทนก็ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่เนื่องจากผู้รับ

คำสัญญาไม่สามารถอาศัยหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาเพื่อบังคับคำสัญญาโดยตรงได้ การยก

หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาขึ้นมาใช้นั้นเป็นดุลพินิจของศาลและหลักกฎหมายปิดปากในการ

ให้คำสัญญานี้ใช้เป็นข้อต่อสู้เท่านั้น แต่จะใช้บังคับสิทธิโดยตรงไม่ได้ กล่าวคือ ใช้เฉพาะในกรณีที่เจ้าหนี้

เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยลูกหนี้สามารถนำคำสัญญาที่เจ้าหนี้ได้ให้แก่ลูกหนี้มาเป็นข้อต่อสู้เพื่อหลุดพ้น

จากหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนได้

ตอนที่6.4หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาในประเทศ

เครือจักรภพและประเทศสหรัฐอเมริกา

แนวตอบกิจกรรม6.4.1

หลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทน (Consideration) และกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

(Promissory Estoppel) เป็นหลักกฎหมายที่ใช้ในประเทศเครือจักรภพด้วย เนื่องจากประเทศเหล่านั้น

เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อนและรับเอากฎหมายอังกฤษไปใช้ ซึ่งรวมถึงหลักกฎหมายสัญญา

แม้ในปัจจุบันประเทศเหล่านั้นล้วนได้รับเอกราชไปแล้ว แต่หลักกฎหมายอังกฤษที่ใช้ตั้งแต่เดิมก็ยังคง

เป็นหลักกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศเหล่านั้นจนกว่าศาลในประเทศเหล่านั้นได้วางหลักใหม่หรือรัฐสภาใน

ประเทศเหล่านั้นจะตรากฎหมายขึ้นโดยเปลี่ยนแปลงหลักกฎหมายอังกฤษเดิม กระนั้นจนถึงปัจจุบัน

ก็ไม่ปรากฏว่าศาลหรือฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศใดที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ได้ยกเลิกหลัก

สิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา

แนวตอบกิจกรรม6.4.2

แม้ประเทศสหรฐัอเมรกิาไมม่ีฐานะเปน็ประเทศในเครอืจกัรภพขององักฤษแต่ก็รบัหลกัสิง่ตอบแทน

และหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาของอังกฤษไปใช้เช่นเดียวกันตั้งแต่ครั้งที่ได้มีการอพยพจาก

เกาะอังกฤษไปตั้งเมืองใหม่ซึ่งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันต่อมาหลักข้างต้นที่รับมาจากอังกฤษได้

ถูกเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่ในRestatement ofContracts โดยหลักสิ่งตอบแทนปรากฏใน Section

71 ของ Restatement (Second) of Contracts ซึ่งกำหนดว่าการก่อให้เกิดสิ่งตอบแทนจะต้องมีการ

แลกเปลี่ยนด้วย “การปฏิบัติการ” (Performance) หรือด้วย “การให้คำสัญญาตอบแทน” (Return

Promise)ทั้งนี้ “การปฏิบัติการ”อาจอยู่ในรูปของทั้งการกระทำการ(Act)หรือการงดเว้นการกระทำการ

(Forbearance) ซึ่งก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับรูปแบบของสิ่งตอบแทนตามกฎหมายอังกฤษส่วนหลัก

กฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาปรากฏในSection90ของRestatement (Second)ofContracts

ซึ่งศาลจะยกขึ้นใช้ตามดุลพินิจของศาลเช่นเดียวกันกับหลักที่ศาลอังกฤษวางไว้ในคดีHighTrees

Page 39: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-39

แบบประเมินผลตนเองหลังเรียนวัตถุประสงค์ เพือ่ประเมนิความกา้วหนา้ในการเรยีนรู้ของนกัศกึษาเกีย่วกบัเรือ่ง“หลกักฎหมายเกีย่วกบั

สิ่งตอบแทน”

คำแนะนำ อ่านคำถามแล้วเขียนคำตอบลงในช่องว่างนักศึกษามีเวลาทำแบบประเมินชุดนี้30นาที

1. ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีแนวความคิดเกี่ยวกับการบังคับสัญญา (Enforceability)

ที่แตกต่างจากแนวความคิดของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์อย่างไรให้อธิบาย

2. “สิ่งตอบแทน”(Consideration)มีพัฒนาการอย่างไรและในปัจจุบันมีรูปแบบใดบ้าง

3. เมื่อได้ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารกันแล้ว โดยกำหนดค่าก่อสร้างไว้เป็นเงินจำนวนแน่นอนต่อมา

ปรากฏว่าค่าวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น คู่สัญญาจึงทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมกันโดยแก้ไขค่าก่อสร้างให้สูงขึ้น

จากเดิมร้อยละ20หากสัญญานี้เป็นสัญญาที่ใช้กฎหมายอังกฤษบังคับท่านจะมีข้อแนะนำอย่างไรเพื่อให้

ผู้รับเหมาสามารถเรียกร้องเงินค่าก่อสร้างเพิ่มตามสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมได้

Page 40: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-40

4.หลักสิ่งตอบแทน(Consideration)มีความเสื่อมคลายบ้างหรือไม่อย่างไร

5. “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา”(PromissoryEstoppel)มีพัฒนาการอย่างไรและทำให้หลัก

สิ่งตอบแทน(Consideration)ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่อย่างไร

Page 41: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-41

เฉลยแบบประเมินผลตนเองหน่วยที่6

ก่อนเรียน1. ในกฎหมายสญัญาของประเทศในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์(CommonLaw)เมือ่สญัญาเกดิ

ขึ้นโดยการที่คู่สัญญามีเจตนาทำคำเสนอและคำสนองที่ถูกต้องตรงกัน(consensus ad idem) และวัตถุที่

ประสงค์แห่งสัญญาไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วสัญญาที่

เกิดขึ้นโดยชอบนั้นไม่สามารถบังคับกันได้(Enforceable)เว้นแต่ฝ่ายที่บังคับสัญญาได้ให้“สิ่งตอบแทน”

หรือที่เรียกว่าConsideration แก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญาการบังคับสัญญาในกฎหมายสัญญาของประเทศใน

ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จึงยึดถือทฤษฎีการต่อรองแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน(BargainTheory)

ลำพงัเจตนาผกูนติิสมัพนัธ์กนัไม่เพยีงพอที่จะทำให้สญัญามีผลผกูพนัหรอืบงัคบัตอ่กนัได้เชน่การที่ก.ตกลง

กับข.ว่าจะว่าคดีให้ข.โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแม้ทั้งสองฝ่ายจะมีเจตนาผูกพันกันตามคำสัญญาของก.แต่ข.

ก็ไม่สามารถเรียกร้องให้ก.ปฏิบัติตามสัญญาได้เนื่องจากข.ไม่ได้ให้“สิ่งตอบแทน”แก่ก.

2. “สิ่งตอบแทน” (Consideration) ตามหลักกฎหมายสัญญาในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย

คอมมอนลอว์ หมายถึง สิ่งที่ได้ดำเนินการให้ผู้ให้คำสัญญาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการบังคับคำสัญญา

ของผู้ให้คำสญัญาสิง่ตอบแทนอาจอยู่ในรปูของการที่ผูร้บัคำสญัญาตอ้งกระทำการหรอืงดเวน้การกระทำการ

ใดในเวลาที่ทำสัญญาหรือในรูปแบบของการที่ผู้รับคำสัญญาให้คำสัญญาว่าจะกระทำการหรือจะงดเว้นการ

กระทำการใดในภายหลังจากเวลาที่สัญญาได้เกิดขึ้นเช่นก.ทำสัญญาขายรถยนต์ให้ข.โดยสัญญากำหนด

ให้ก.ส่งมอบรถยนต์ในวันที่ทำสัญญาและกำหนดให้ ข. ชำระเงินภายในสองสัปดาห์หลังจากวันทำสัญญา

ในกรณีนี้หากฝ่ายใดผิดสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก็ฟ้องร้องเรียกร้องตามสัญญาได้เนื่องจากได้ให้สิ่งตอบแทนแก่

กันและกันโดยสิ่งตอบแทนของก.ก็คือการส่งมอบรถยนต์ให้ข.(การกระทำการ)และสิ่งตอบแทนของ

ข.คือการสัญญาว่าจะชำระราคาให้ก.(การสัญญาว่าจะกระทำการ)

3.ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นนายก. ไม่สามารถเรียกร้องเงินเพิ่มจากนายข. ได้ เนื่องจากนาย

ก. ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนใดตอบแทนคำสัญญาของนาย ข. ที่สัญญาว่าจะจ่ายเงินเพิ่ม การที่นายก. ทำการ

ก่อสร้างอาคารนั้นเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเดิมมิใช่เป็นการดำเนินการหรือการรับจะดำเนินการ

ใดใหม่เพิ่มเติมจากสัญญาเดิม จึงไม่สามารถเป็นสิ่งตอบแทนได้ ในกรณีนี้ หากนาย ก. ประสงค์จะให้

ข้อตกลงชำระเงินเพิ่มเป็นอันใช้บังคับได้ก็ต้องให้สิ่งตอบแทนแก่นายข.เช่นตกลงว่าจะทำงานใดเพิ่มจาก

งานตามสัญญาเดิมหรือมิฉะนั้นคู่สัญญาต้องทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมในลักษณะที่เป็นสัญญาที่เป็นทางการ

(ContractunderSealหรือDeed)ซึ่งจะใช้บังคับได้โดยไม่ต้องมีสิ่งตอบแทน

4. “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา” (Promissory Estoppel) คือ หลักกฎหมาย

เอ็คควิตี้ที่ให้ผู้รับคำสัญญาบังคับคำสัญญาของผู้ให้คำสัญญาได้แม้ว่าจะมิได้ให้สิ่งตอบแทนอันใดตอบแทน

แก่ผู้ให้คำสัญญาก็ตาม แต่ศาลจะยกหลักนี้ขึ้นใช้ก็ต่อเมื่อการให้ผู้ให้คำสัญญาอ้างว่าไม่จำต้องผูกพันตาม

Page 42: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-42

คำสัญญาเนื่องจากผู้รับคำสัญญาไม่ให้สิ่งตอบแทนนั้นจะเป็นการไม่เป็นธรรมแก่ผู้รับคำสัญญาอย่างมาก

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความไม่เป็นธรรมดังกล่าวเกิดในกรณีที่ผู้รับคำสัญญาได้ดำเนินการใดไปโดยเชื่อถือใน

คำสัญญาของผู้ให้คำสัญญากฎหมายจึง“ปิดปาก”มิให้ผู้ให้คำสัญญาอ้างว่าคำสัญญาของตนบังคับไม่ได้

5.หลักสิ่งตอบแทน(Consideration)และหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา(Promissory

Estoppel) มิได้มีในกฎหมายอังกฤษเท่านั้นแต่เป็นหลักกฎหมายสัญญาของประเทศอื่นๆ ที่ใช้ระบบ

กฎหมายคอมมอนลอว์ด้วย ประเทศเหล่านั้นล้วนได้รับหลักดังกล่าวมาจากอังกฤษทั้งนี้ ประเทศที่เป็น

เครือจักรภพได้รับหลักดังกล่าวตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา

ได้นำหลักดังกล่าวมาจากอังกฤษในสมัยที่ได้อพยพไปจากอังกฤษเพื่อตั้งประเทศใหม่ซึ่งต่อมาคือประเทศ

สหรัฐอเมริกา โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้

คำสัญญาได้ถูกประมวลไว้ในRestatementofContractsซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีสาระสำคัญทำนองเดียวกับ

หลักสิ่งตอบแทนและหลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญาของอังกฤษ

หลังเรียน1.ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มีแนวความคิดว่าสัญญาจะสามารถบังคับกันได้

เมื่อมีการแลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทนกันฝ่ายที่บังคับสัญญาต้องได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายที่ให้คำสัญญา

ด้วยการบังคับสัญญาในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์จึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีการต่อรอง

แลกเปลี่ยนประโยชน์ตอบแทน (BargainTheory) ซึ่งปรากฏออกมาเป็นหลักกฎหมายเรื่องสิ่งตอบแทน

หรือConsideration

ในขณะที่กฎหมายสัญญาในระบบกฎหมายซีวิลลอว์ยึดถือหลักความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา โดยให้

สัญญามีผลบังคับกันได้เมื่อคู่สัญญาแสดงเจตนาทำคำเสนอและคำสนองที่ถูกต้องตรงกัน(consensus ad

idem) ด้วยเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์กันโดยไม่คำนึงว่าฝ่ายที่รับคำสัญญาต้องให้สิ่งตอบแทนแก่ฝ่ายที่ให้

คำสัญญาด้วย

2. “สิ่งตอบแทน” หรือ Consideration พัฒนามาจาก “มูลเหตุจูงใจ” (Motive) ให้บุคคลให้

คำสัญญาออกไป และต่อมาได้พัฒนามาเป็นประโยชน์ตอบแทนซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ในสมัยแรกเริ่ม

(ราวศตวรรษที่ 16) เมื่อต้องฟ้องบังคับคำสัญญาโจทก์ต้องบรรยายในคำฟ้องถึงมูลเหตุที่ทำให้จำเลยให้

คำสัญญา โดยใช้สำนวนว่า “In consideration that” (โดยเหตุที่) เช่น “โดยเหตุที่โจทก์ได้ขายที่ดินให้

จำเลยจำเลยจงึให้คำสญัญาวา่จะชำระราคา”การใช้สำนวนดงักลา่วจงึเปน็จดุกำเนดิของหลกัConsideration

แต่ต่อมาศาลได้พัฒนาหลักConsideration โดยกำหนดว่าConsiderationต้องเป็นสิ่งตอบแทนซึ่งกัน

และกันหากจะบังคับคำสัญญาจากบุคคลใดก็ต้องแสดงให้เห็นว่าได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้คำสัญญาด้วย

3. เมื่อได้ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารกันแล้วโดยกำหนดค่าก่อสร้างไว้เป็นเงินจำนวนแน่นอน

ต่อมาปรากฏว่าค่าวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นและคู่สัญญาจึงทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมกันโดยแก้ไขค่าก่อสร้างให้สูง

ขึน้จากเดมิรอ้ยละ20หากสญัญานี้เปน็สญัญาที่ใช้กฎหมายองักฤษบงัคบัมีขอ้แนะนำวา่สญัญาแกไ้ขเพิม่เตมิ

Page 43: หน่วย ที่ หลัก กฎหมาย เกี่ยว กับ ...ตอบแทนไม เป นสาระ สำค ญ 6.2.4 หล กความ

6-43

ควรกำหนดให้ฝ่ายผู้รับเหมาต้องปฏิบัติการบางอย่างซึ่งมิใช่หนี้ที่ต้องปฏิบัติอยู่แล้วตามสัญญาเดิม(ในการ

นี้อาจกำหนดเพิ่มขอบเขตของงานซึ่งอาจจะเพิ่มเพียงเล็กน้อยก็ได้)มิฉะนั้นจะมีผลว่าผู้รับเหมาไม่สามารถ

เรยีกรอ้งเงนิเพิม่ได้เนือ่งจากมไิด้ให้สิง่ตอบแทนแก่ผู้วา่จา้งหากสญัญาแกไ้ขเพิม่เตมิมไิด้กำหนดให้ผูร้บัเหมา

กระทำการใดเพิ่มเติมจากหนี้ตามสัญญาเดิมก็จะต้องทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมนั้นในลักษณะที่เป็นContract

underSealหรือDeedซึ่งจะทำให้คำสัญญาใช้บังคับได้โดยไม่ต้องให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้ให้คำสัญญา

4.หลักสิ่งตอบแทนมีความเสื่อมคลายบ้างเนื่องจากในบางคดีศาลวินิจฉัยในลักษณะที่มีผลให้สิ่ง

ซึ่งไม่น่าจะเป็นสิ่งตอบแทนกลับกลายเป็นสิ่งตอบแทนการวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวเป็น“การวินิจฉัยคดี

แบบพลิกแพลง” (ManipulativeTechnique)ซึ่งปรากฏในคดีWilliamsv.RoffreyBros&Nicholls

(Contractors) Ltd. ซึ่งศาลวินิจฉัยว่า การที่ผู้รับเหมาได้ให้คำสัญญาแก่ผู้รับเหมาช่วงว่าจะให้เงิน

ค่าตอบแทนเพิ่มแก่ผู้รับเหมาช่วงโดยที่ผู้รับเหมาช่วงตกลงจะทำงานที่รับเหมาช่วงให้สำเร็จต่อไปนั้นเป็น

คำสัญญาที่มีสิ่งตอบแทนจากฝ่ายผู้รับเหมาช่วงเนื่องจากการที่ผู้รับเหมาช่วงตกลงทำงานที่รับเหมาช่วงให้

สำเรจ็ตอ่ไปนัน้ได้เกดิ“ประโยชน”์แก่ผูร้บัเหมาซึง่เปน็ประโยชน์จากการที่ไม่ตอ้งเสยีคา่ปรบัให้แก่ผู้วา่จา้งใน

กรณีที่งานก่อสร้างไม่สำเร็จตามเวลาที่กำหนดในสัญญาก่อสร้างหากยึดถือหลักสิ่งตอบแทนตามบรรทัดฐาน

คดีStilk v.Myrick อย่างเคร่งครัดแล้วจะเห็นว่าผู้รับเหมาช่วงในคดีนี้มิได้ให้สิ่งตอบแทนอันใดใหม่แก่

ผู้รับเหมาแต่ศาลก็พยายามที่จะหาสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็น“ประโยชน์ทางอ้อม”มาเป็นสิ่งตอบแทนซึ่งเสมือน

กับการไม่ยึดถือหลักสิ่งตอบแทนดั้งเดิมคดีนี้จึงแสดงถึงความเสื่อมคลายของหลักสิ่งตอบแทน

5. “หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา” (Promissory Estoppel) สร้างขึ้นโดยศาลเพื่อ

ผ่อนคลายหลักสิ่งตอบแทน (Consideration) ในกรณีที่การผู้ให้คำสัญญาอ้างว่าคำสัญญาของตนไม่อาจ

บังคับได้เนื่องจากผู้รับคำสัญญาไม่ได้ให้สิ่งตอบแทนแก่ตนนั้นจะเป็นการไม่เป็นธรรมอย่างมากต่อผู้รับ

คำสัญญา ความไม่เป็นธรรมดังกล่าวมักเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้รับคำสัญญาได้เชื่อถือในคำสัญญาของผู้ให้

คำสญัญาและดำเนนิการไปบางประการโดยเหตุที่ได้เชือ่ถอืดงักลา่วกฎหมายจงึ“ปดิปาก”มิให้ผู้ให้คำสญัญา

อ้างได้ว่าผู้รับคำสัญญาบังคับคำสัญญาของผู้ให้คำสัญญาไม่ได้โดยเหตุที่ไม่ได้ให้สิ่งตอบแทน เช่น เมื่อ

ผู้ให้เชา่ตกลงลดอตัราคา่เชา่ให้ผู้เชา่ครึง่หนึง่และตอ่มากลบัมาเรยีกรอ้งคา่เชา่อตัราเดมินัน้แม้ผู้เชา่จะไม่ได้ให้

สิ่งตอบแทนใดแก่ผู้ให้เช่าแต่ผู้เช่าได้เชื่อถือในข้อตกลงลดอัตราค่าเช่าดังกล่าวจึงได้นำเงินที่ได้มาอย่างยาก

ลำบากไปใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นอย่างอื่นศาลอาจให้ผู้เช่าหลุดพ้นจากการชำระค่าเช่าในอัตราเดิมและชำระค่าเช่า

ในอัตราครึ่งหนึ่งตามที่ผู้ให้เช่าได้ตกลงไว้

หลักกฎหมายปิดปากในการให้คำสัญญา (Promissory Estoppel) มีข้อจำกัดบางประการ โดย

เฉพาะอย่างยิ่งหลักนี้ใช้เพื่อเป็นข้อต่อสู้เท่านั้นเพื่อให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้โดยอาศัยคำสัญญาของเจ้าหนี้

หลักนี้ไม่อาจใช้บังคับคำสัญญาได้โดยตรงดังนั้น ในภาพรวมแล้วหลักสิ่งตอบแทน (Consideration) จึง

ยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่