ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf ·...

40
การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 11 หลักการเกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และ เศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมี กำจัดศัตรูพืช และ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันเกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไก และวัฏจักร ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นีเป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ−สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย แนวคิด แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการ การผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่าง อย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิด เช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่า การเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและ ระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลัก ที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็น การเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิต ดังนั้น เกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้ เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจาก สารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใชสารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัด พลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรกรที่หันมาทำ เกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์−สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ−สังคมที่แตกต่าง จากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัวเองอย่างแท้จริง ตอนที่1 หลักการเกษตรอินทรีย์

Upload: others

Post on 11-Feb-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 11

หลักการเกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และ

เศรษฐกิจโดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดินการเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืชสัตว์และนิเวศการเกษตร

เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมี

กำจัดศัตรูพืช และ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันเกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไก และวัฏจักร

ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้

เป็นหลักการสากลที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ−สังคมภูมิอากาศและวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย

แนวคิด

แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการ การผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่าง

อย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ

เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิด

เช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วนเพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่าการเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและ

ระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลัก

ที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็น

การเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ

ของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิต ดังนั้น

เกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจาก

สารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้

สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัด

พลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เกษตรกรที่หันมาทำ

เกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย

ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา

เพราะเกษตรกรต้องสังเกต,ศึกษา,วิเคราะห์−สังเคราะห์และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง

ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ−สังคมที่แตกต่าง

จากพื้นที่อื่นเพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัวเองอย่างแท้จริง

ตอนที่ 1หลักการเกษตรอินทรีย์

Page 2: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307412

นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะ

สร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม

วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องเรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถี

ธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิง

ธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทยแต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์

ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต

เพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์

ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไข

ทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร หรือระบบอื่นๆ ที่มีหลักการ

ในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐาน

การผลิตและระบบการตรวจสอบรับรองที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป

และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิต

ให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด

โดยสรุปจะเห็นว่าเกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวมที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการ

อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและ

เศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและ

เศรษฐกิจของเกษตรกร

หลักการสำคัญ4ข้อของเกษตรอินทรีย์คือสุขภาพ,นิเวศวิทยา,ความเป็นธรรม,และการดูแลเอาใจใส่

ช่องทางและการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพเกษตร

การเกษตรยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศเนื่องจากขบวนการผลิตสินค้าเกษตรยังมีบทบาทสำคัญต่อ

การใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ นอกจากนั้นภาคการเกษตรยังมีบทบาท

ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหลายประการ เช่น เป็นอาหารและเป็นวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมหลายประเภท

และมีบทบาทต่อธุรกิจอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกษตรตั้งแต่การค้าและการผลิตปัจจัยการผลิตไปจนถึงการค้า

และการส่งออกสินค้าเกษตร เป็นต้น อาชีพที่มีโอกาสจะได้รับความสนใจจากคนจำนวนมาก จะต้องเป็นอาชีพ

ที่สามารถสร้างความพึงพอใจ ในด้านผลตอบแทน และวิถีชีวิต อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่ง

ความพึงพอใจดังกล่าวปัจจัยที่จำเป็นได้แก่กระบวนการที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิตและการจัดการเชิงธุรกิจ

ที่เชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดนอกจากนั้นอาชีพใดที่มีผู้มีความสามารถให้ความสนใจจำนวนมากอาชีพนั้นก็มี

โอกาสที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อยู่เสมอ ซึ่งก็จะมีผลทำให้มีผู้สมัครใจเลือกอาชีพนั้นๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันไป อุปสรรค

สำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ผลตอบแทนด้านรายได้จากอาชีพเกษตรสู้อาชีพอื่นๆ ไม่ได้ คือ ระดับราคาสินค้าเกษตร

ซึ่งมีระดับต่ำและมีความไม่แน่นอนสูง ด้วยเหตุนี้นโยบายราคาจึงเป็นแนวความคิดหลักที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา

โดยตลอด ผลของนโยบายราคาที่สำคัญ ได้แก่ การปรับตัวของปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับผลตอบแทน เช่น

ถ้าเกษตรกรได้ราคาสูงจากสินค้าเกษตรประเภทใด ก็มีผลต่อปริมาณการผลิตของสินค้านั้น ผู้สนใจเลือกอาชีพ

การเกษตรในอนาคตนั้นนอกจากจะมาจากครอบครัวเกษตรกรที่สมัครใจยึดอาชีพนี้แล้วยังอาจจะมาจากบุคคลอาชีพ

อืน่ทีส่มคัรใจเขา้มาเปน็เกษตรกร ในขณะทีบ่คุคลในครวัเรอืนเกษตรทีไ่มพ่อใจจะสบืเนือ่งอาชพีการเกษตร กจ็ะตดัสนิใจ

ออกจากภาคการเกษตรไป การตัดสินใจดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง เช่น ถ้าครอบครัวเกษตรใด

Page 3: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 13

ไม่มีผู้สมัครใจที่จะดำเนินอาชีพการเกษตรต่อไปการใช้พื้นที่การเกษตรของครอบครัวนั้นๆก็จะยุติลงโดยเปลี่ยนสภาพ

เกษตรของครอบครัวเป็นที่ดินให้เช่า หรือขายออกไป เมื่อพิจารณาจากความสนใจในการประกอบอาชีพการเกษตร

รูปแบบในการทำการเกษตรมีแนวโน้มจะค่อยๆ เปลี่ยนไป และในที่สุดจะประกอบด้วยรูปแบบการเกษตรหลัก

3 รูปแบบ คือ รูปแบบแรก ได้แก่ เกษตรแบบครัวเรือน ซึ่งอาศัยแรงงานในครัวเรือนเป็นสำคัญ ดังนั้น เนื้อที่

การเกษตรสำหรับรูปแบบนี้จึงมักจะมีขนาดเล็กเพื่อให้อยู่ในวิสัยที่แรงงานในครอบครัวจะจัดการได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ การมีพื้นที่ขนาดเล็กและมีแรงงานน้อย มีผลทำให้จำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบการเกษตร ซึ่งใช้พื้นที่ได้

ตลอดทั้งปี เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ระบบเกษตรหรือเกษตรผสมผสาน เพื่อให้สามารถควบคุม

ค่าใช้จ่ายได้ในระดับต่ำ ในขณะที่มีรายได้ทยอยเข้ามาทั้งปีและสามารถจัดการบริหารให้เชื่อมโยงกับความต้องการของ

ตลาดได้ในลักษณะเป็นกลุ่มหรือชุมชน ในขณะที่เกษตรกรสามารถดำรงวิถีชีวิตได้แบบเรียบง่ายและมีอิสระ รูปแบบ

ที่สองได้แก่เกษตรขนาดใหญ่ซึ่งต้องอาศัยทุนเครื่องจักรและแรงงานนอก

ครวัเรอืนตลอดจนพืน้ทีข่นาดใหญ่เพือ่ใหส้ามารถบรหิารจดัการไดอ้ยา่งมปีระสทิธภิาพในอดตีเกษตรขนาดใหญ่

เหล่านี้ต้องพึ่งพาพื้นที่ในเขตป่า แต่ในปัจจุบันเขตป่าที่อุดมสมบูรณ์มีเหลือน้อยและไม่สมควรที่จะนำมาใช้ในทาง

การเกษตรเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น เกษตรขนาดใหญ่จึงต้องมีการลงทุน เพื่อซื้อที่ดินจากครัวเรือนเกษตร ซึ่งไม่สามารถหรือ

ไม่ต้องการดำรงอาชีพเกษตรอีกต่อไป นอกจากการลงทุนแล้ว ระบบการบริหารจัดการสำหรับเกษตรประเภทนี้

จะเป็นการดำเนินการเชิงพาณิชย์ สำหรับสินค้าที่ผลิตภายใต้เกษตรขนาดใหญ่มักจะเป็นการผลิต ผลผลิตประเภท

เดียว ซึ่งอาจมีหรือไม่มีความสัมพันธ์กับโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องก็ได้ แต่มักจะมีตลาดขนาดใหญ่ ตัวอย่างที่เห็น

ได้ชัด ได้แก่ อ้อย ยาง ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น รูปแบบที่สาม ได้แก่ เกษตรก้าวหน้า ซึ่งผู้ประกอบการอาจจะมาจาก

ครอบครัวเกษตรกร หรือจากภาคนอกการเกษตรก็ได้ รูปแบบการเกษตรก้าวหน้านี้อาศัยความรู้เป็นหลักทั้งในด้าน

เทคโนโลยีการเกษตรการจัดการเกษตรและการจัดการเชื่อมโยงกับตลาดขนาดของการเกษตรประเภทนี้จะไม่เล็กนัก

แต่ก็มักจะมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป เนื่องจากเกษตรกรประเภทนี้มักจะเป็นเกษตรกรเต็มเวลา ข้อเด่นของเกษตรกร

ก้าวหน้าคือการอาศัยความรู้ทั้งทางด้านการตลาดและด้านการเกษตรและมีความสามารถในการบริหารจัดการปรับตัว

ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถรักษาระดับรายได้ในระดับใกล้เคียงหรือมากกว่า

อาชีพนอกการเกษตรทั่วไปในบรรดารูปแบบการเกษตรทั้ง3ดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะทำการเกษตร

ในรูปแบบใดสิ่งที่จำเป็น ได้แก่ ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับวิถีการเกษตรแต่ละประเภท โดยแยก

ออกตามขนาดของพื้นที่และจำนวนแรงงาน เทคโนโลยีที่เหมาะสมเหล่านี้จะต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อเนื่องกันไป

เพื่อให้ได้รูปแบบที่หลากหลายสำหรับวิถีการเกษตรแต่ละประเภทจะได้เลือกให้เหมาะสมแก่ตนเองมากที่สุดเพื่อการนี้

การอาศัยสูตรสำเร็จเป็นวิธีการหลักในการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้อยู่ในประเทศไทยตลอดมาจะต้อง

เลิกเสีย นอกจากเทคโนโลยีการเกษตรแล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ความสามารถในการเชื่อมโยงกับ

ระบบตลาด ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบ ทั้งผ่านชุมชน และ/หรือเครือข่ายทางการเกษตรนานาชนิด นอกจากนั้น

การเชื่อมโยงทางการตลาดยังหมายถึง การมีระบบและกลไกที่ชัดเจนในการกำหนดคุณภาพและมาตรฐานและ

สามารถส่งสัญญาณราคาตามคุณภาพให้แก่ผู้ผลิตอย่างรวดเร็ว ระบบและกลไกเหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ

ซึ่งประเทศไทยอยู่ในระดับล้าหลังอย่างมากทำให้เกษตรกรขาดอำนาจการต่อรองและต้องขายสินค้าที่มีคุณภาพ

คละกันในราคาถูกทำให้ยากต่อการพัฒนาคุณภาพและส่งเสริมการตลาด เมื่อมองสถานการณ์การเกษตรในอนาคต

จะเห็นได้ว่า หากการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมและการจัดการที่เชื่อมโยงกับตลาดทำได้ช้าเพียงใด

ภาคการเกษตรก็จะมีความอ่อนแอเพิ่มขึ้น การที่ภาคการเกษตรอ่อนแอจะมีผลทำให้คนหนุ่ม−สาวรวมทั้งผู้ที่อยู่ใน

ครอบครัวเกษตรกรเลือกอาชีพอื่นมากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลทำให้ภาคการเกษตรเข้มแข็งได้ยากขึ้นไปด้วย เครื่องชี้

ความเขม้แขง็ทางการเกษตรอยา่งยัง่ยนืจงึอยูท่ีม่ผีูเ้ลอืกอาชพีการเกษตรดว้ยความสมคัรใจและสนใจทางการเกษตรเพิม่ขึน้

Page 4: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307414

ทั้งนี้เพราะหากมีผู้สนใจที่จะออกจากภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆภาคการเกษตรเหลือแค่เกษตรกรสูงอายุเกษตรกร

ไม่เต็มเวลา เกษตรกรที่พึ่งอาชีพเสริมเป็นหลัก หรือผู้ที่รอจะออกจากภาคเกษตร ซึ่งย่อมไม่ใช่รากฐานของการ

พัฒนาการเกษตรของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืนในอนาคต ฉะนั้นการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์

จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน แต่สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการคิดเป็น ซึ่งมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนต้องการความสุข

แต่ความสุขของแต่ละคนแตกต่างกัน เนื่องจากมนุษย์มีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเพศ วัย สภาพสังคม

สิ่งแวดล้อมวิถีชีวิตซึ่งทำให้ความต้องการและความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกันคนจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ต้องรู้จักการปรับตัว และใช้กระบวนการคิดเป็นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยการใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลตนเอง

ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการมาประกอบการคิดและตัดสินใจ

กระบวนการคิดเป็น

กระบวนการคิดเป็นอาจจำแนกให้เห็นขั้นตอนต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นกระบวนการคิดได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นสำรวจปัญหา เมื่อเกิดปัญหา ย่อมต้องเกิดกระบวนการคิดแก้ปัญหา นั่นคือการรับรู้ปัญหาที่

กำลังเผชิญอยู่และคิดแสวงหาทางแก้ปัญหานั้นๆ

ขั้นที่ 2 ขั้นหาสาเหตุของปัญหา เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเพื่อทำความเข้าใจปัญหา

และสถานการณ์นั้นๆโดยจำแนกข้อมูลออกเป็น3ประเภทคือ

ข้อมูลสังคม : ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว ปัญหาสภาพสังคมของแต่ละบุคคล ตั้งแต่

ครอบครัว ชุมชนและสังคมทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ

ค่านิยมเป็นต้น

ข้อมูลตนเอง :ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจเป็นข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพพื้นฐานของ

ชีวิตครอบครัวอาชีพความพร้อมทั้งทางอารมณ์จิตใจเป็นต้น

ขอ้มลูวชิาการ :ไดแ้กข่อ้มลูดา้นความรูใ้นเชงิวชิาการทีจ่ะชว่ยสนบัสนนุในการคดิการดำเนนิงานยงัขาดวชิาการ

ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในเรื่องใดบ้าง

ขั้นที่ 3ขั้นวิเคราะห์หาทางแก้ปัญหาเป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือการประเมินค่าข้อมูล

ทั้ง 3 ด้าน คือ ข้อมูลด้านตนเอง สังคม วิชาการ มาประกอบในการวิเคราะห์ ช่วยในการคิดหาทางแก้ปัญหา

ภายในกรอบแห่งคุณธรรม ประเด็นเด่นของขั้นตอนนี้คือ ระดับของการตัดสินใจที่จะแตกต่างกันไปแต่ละคนอันเป็น

ผลเนื่องมาจากข้อมูลในขั้นที่2ความแตกต่างของตัดสินใจดังกล่าวมุ่งไปเพื่อความสุขของแต่ละคน

ขั้นที่ 4ขั้นตัดสินใจ เมื่อได้ทางเลือกแล้วจึงตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาในทางที่มีข้อมูลต่างๆพร้อมสมบูรณ์ที่สุด

การตัดสินใจถือเป็นขั้นตอนสำคัญของแต่ละคนในการเลือกวิธีการหรือทางเลือกในการแก้ปัญหา ขึ้นอยู่กับว่าผลของ

การตัดสินใจนั้นพอใจหรือไม่หากไม่พอใจก็ต้องทบทวนใหม่

ขั้นที่ 5ขั้นตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติเมื่อตัดสินใจเลือกทางใดแล้วต้องยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในข้อมูล

เท่าที่มีขณะนั้น ในกาลนั้นและในเทศะนั้น เป็นการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้คิดและตัดสินใจแล้ว หากพอใจยอมรับผลของ

การตัดสินใจ มีความสุขก็เรียกได้ว่า “คิดเป็น” แต่หากตัดสินใจแล้วได้ผลออกมายังไม่พอใจ ไม่มีความสุข อาจเป็น

เพราะข้อมูลที่มีไม่รอบด้านไม่มากพอต้องหาข้อมูลใหม่คิดใหม่ตัดสินใจใหม่แต่ไม่ถือว่าคิดไม่เป็น

Page 5: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 15

จากแผนภูมิแสดงกระบวนการคิดเป็น สรุปได้ว่า ความเชื่อพื้นฐานของการ “คิดเป็น” มาจากธรรมชาติของ

มนุษย์ที่ต้องการความสุข มนุษย์จะมีความสุขเมื่อตัวเองและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันอย่างราบรื่น

ซึ่งแต่ละคนแต่ละกลุ่มสามารถทำได้ดังนี้

1)ปรับปรุงตนเองให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม

2)ปรับปรุงสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเอง

3) ปรับปรุงทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมทั้งสองด้านให้ประสมกลมกลืนซึ่งกันและกัน

4)หลีกสังคมและสิ่งแวดล้อมหนึ่งไปสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับตน

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คนที่คิดเป็น จะใช้กระบวนการแก้ปัญหาด้วยการปรับตัวเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

ให้ประสมกลมกลืนกัน โดยอาศัยข้อมูลประกอบการคิด 3 ด้าน คือ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม และ

ข้อมูลวิชาการ แล้วจึงตัดสินใจ เมื่อตัดสินใจแล้วลงมือปฏิบัติ ดูว่าผลออกมาเป็นอย่างไร ถ้าพอใจก็จะมีความสุข

แต่ถ้าไม่พอใจก็หาวิธีใหม่ในการแก้ปัญหาจนกว่าจะพอใจ

สังคม

แผนภูมิแสดงกระบวนการคิดเป็น

ปัญหา

ตนเอง

ตัดสินใจ

ตนเอง

สังคม วิชาการ

วิชาการ

ขั้นที่ 1

ขั้นที่ 2

ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 4

ขั้นที่ 5

ไม่พอใจ พอใจ

สู่การปฏิบัติ

กรอบแห่งคุณธรรม

ศึกษารวบรวมข้อมูล

มีความสุข

Page 6: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307416

ปัญหาการเกษตร

อดีต 30 ปีที่ผ่านไป การพัฒนาการเกษตรไทยได้ก้าวสู่เทคโนโลยีเกษตรเคมีและทุน ตามแนวทาง

ขององค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ ที่เรียกว่า “ระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่” ตามแบบอย่างตะวันตก

โดยมิได้คำนึงถึงข้อเท็จจริง ขณะที่ประเทศตะวันตก นำเอา “ระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่” มาสู่เกษตรกรของเขา

รัฐบาลตะวันตกได้ใช้งบประมาณในการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการสนับสนุนด้านเงินทุน การประกันราคาพืชผล

ทางการเกษตร และประกันความเสียหายต่อผลผลิตอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ ในรูปแบบต่างๆมากมายเพื่อการ

อยู่รอดของเกษตรกร เกษตรกรชาวนาไทยกับ“ระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่”บทเรียนซ้ำซากของการคัดลอกนำเอา

วิธีคิด−วิธีการทำงาน แบบตะวันตกมาใช้กับสังคมวัฒนธรรมไทย โดยไม่มีการประยุกต์ใช้อย่างรอบด้าน ให้เหมาะกับ

สังคมวัฒนธรรมไทยผลของการนำเอา“ระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่”มาใช้กับเกษตรกรชาวนาไทยตลอดระยะเวลา

30 ปีที่ผ่านไป กลายเป็นสองด้านที่ตรงกันข้ามกับเกษตรกรตะวันตก ขณะที่เกษตรกรชาติอุตสาหกรรม ได้พัฒนา

ประสิทธิภาพการผลิตก้าวหน้าเมื่อเกษตรกรชาวไร่−ชาวนาไทยนำเอา“ระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่”มาใช้แทนระบบ

การผลิตแบบดั้งเดิมที่ “ผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการชุมชน” โดยมีเอกลักษณ์ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นของ

ตนเอง ทำการผลิตหลายๆอย่างในแปลงนาเดียวกัน เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว

เลี้ยงควาย ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไว้ใช้เอง ฯลฯ ซึ่งเป็นการผลิตแบบ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” พึ่งพาตนเอง

สร้างสรรค์ความสมดุลทางธรรมชาติ ปุ๋ย ได้จากมูลสัตว์ สัตว์เลี้ยงในครัวเรือน เป็ด ไก่ วัว ควาย ขยายพันธุ์ เพิ่มขึ้น

ทุกปี สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตของเกษตรกรชาวไร่−ชาวนาไทย อย่างเรียบง่ายสุขสบาย และความมั่นคง

มั่งคั่ง

นั่นคือภาพเกษตรกรชาวไร่−ชาวนาไทยในอดีตที่ “การผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน”

แต่เมื่อ “ระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่“ ภายใต้แนวความคิดใหม่ “การผลิตเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด”

ได้นำไปสู่พฤติกรรมการทำนาของชาวนาไทยที่เปลี่ยนแปลง

การสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ อันเนื่องมาจาก“ระบบเกษตรกรรมเคมี”อันได้แก่

1. ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

1.1 ประเทศไทยมีการนำเข้าปุ๋ยเคมี เคมีปราบศัตรูพืช กำจัดวัชพืช จากต่างประเทศมีมูลค่าสูงถึง

เราต้องสูญเสียเงินตราของประเทศไปร่วมแสนล้านบาท/ปี

1.2เครื่องยนต์อะไหล่น้ำมันที่ใช้ในการเกษตรอีกเป็นจำนวนมาก

1.3ควาย สัตว์เลี้ยงที่หายไปจากท้องนานับเป็นมูลค่าที่สูญหายไปจากความมั่งคั่งของเกษตรกร

จำนวนมหาศาลซึ่งยังไม่นับรวมถึงระยะเวลาที่สูญเสียไปกับการขยายพันธุ์ของควายและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

1.4การขาดทุนล้มละลายของเกษตรกร นั่นหมายถึงกำลังซื้อจำนวนมหาศาลที่หายไป และเป็นกำลัง

ซื้อหลักภายในประเทศ อันนำไปสู่การหยุดนิ่งของเครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม และต่อเนื่องไปถึงภาคการเงิน−

การธนาคารที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้

2. ความสูญเสียทางด้านวัฒนธรรม

2.1การสาบสูญของวัฒนธรรมกสิกรรมไร่นา(การขาดทุนล้มละลายคือการพังทลายของระบบ)

2.2วัฒนธรรมพึ่งพาในสังคมหายไป(ประเพณีลงแขกทำนา)ฯลฯ

2.3ปัญหาสุขภาพของประชาชนที่รับประทานเอาสารเคมีปนเปื้อนในอาหารเข้าไปในร่างกายดังเช่น

การสุ่มตรวจเลือดเพื่อหาสารพิษในร่างกายจำนวน5,350รายพบว่า

Page 7: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 17

-กลุ่มไม่พบสารเคมีในเลือด 1,045รายหรือร้อยละ19.51

-พบสารเคมีในเลือดแต่อยู่ในขั้นปลอดภัย 1,993รายหรือร้อยละ37.20

-พบสารเคมีในเลือดในเกณฑ์เสี่ยง 1,590รายหรือร้อยละ29.72

-พบสารเคมีในเลือดในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย 723รายหรือร้อยละ13.51

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามีผู้ซึ่งมีสารเคมีในเลือดในเกณฑ์เสี่ยง และไม่ปลอดภัยมากถึง 2,313 ราย

หรือร้อยละ43.23

แนวทางในการแก้ปัญหา เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ จึงไม่มีพลังอำนาจพอที่จะเข้าไปจัด

ระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ ทางสากลซึ่งเป็น “เงื่อนไขภายนอก” เพื่อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตภายใน

ประเทศ จึงมีแต่เพียงการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศโดยเริ่มต้นจาก “เงื่อนไขภายใน” หากจะนำเอา

ปรัชญาการ “เริ่มต้น วิธีคิด-วิธีการทำงานแบบง่ายๆ” (Simply is the Best) ตามแบบของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ก็น่าจะเป็นจริงได้ โดยวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ปัญหาก็คือปรัชญา “เริ่มต้นวิธีคิด−วิธีการ

ทำงาน “แบบง่ายๆ” ตามแบบของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ก็คือ เมื่อกำลังซื้อหายไปจากการขาดทุนล้มละลาย

ของเกษตรกร ก็ไปแก้ปัญหาที่ระบบการผลิตของเกษตรกร “เกษตรอินทรีย์ แนวทางความอยู่รอดของเกษตรกรไทย”

จึงเป็นแนวทางหลักที่จะนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลควรที่จะเร่งระดมพลังจาก

ส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและงบประมาณในการที่จะผลักดันอย่างเอาจริงเอาจังให้โครงการเกษตรอินทรีย์

ซึ่งจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดนำร่องได้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว เพื่อขยายผลเป็นนโยบายการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ

ของประเทศ เป็นแบบอย่างแก่จังหวัดต่างๆ ได้นำไปปฏิบัติทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย และเพื่อปัญหาการขาดทุน

ล้มละลายของเกษตรกรชาวไร่ชาวนาหมดไป

การเกษตรสมัยใหม่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากดังนี้

1.ความอุดมสมบรูณ์ลดลง

2.ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม

3.เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดทำให้เกิดความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด

4.แม่น้ำและทะเลสาบปนเปื้อนด้วยสารเคมีและความเสื่อมโทรมของดิน

5.พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนดทำให้เกดพิษภัยต่อผู้บริโภค

6.สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม

นอกจากนั้นการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมซึงเป็นการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากในพื้นที่จำกัด ทำให้เกิดโรค

ระบาดได้ง่ายจึงต้องใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากทำให้ตกค้างในเนื้อสัตว์และไข่ ส่งผลต่อผู้บริโภค โรควัวบ้าที่เกิดขึ้น

จึงเป็นเหมือนสัญญาณอันตรายที่บอกให้รู้ว่าการลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมไม่เพียงเป็นการทรมานสัตว์ แต่อาจเป็น

ภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของมนุษย์ด้วย

ความหมายและความสำคัญของเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยมีมานานตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ต่อมาได้มี

การพัฒนาด้านการเกษตรมาเป็นลำดับ เริ่มแรกตั้งแต่ปีพ.ศ.2532 ได้มีการเกษตรและองค์กรพัฒนาเอกชนได้พัฒนา

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้แก่ การทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือเกษตรเคมี

ทำให้เกษตรกรพึ่งปัจจัยจากภายนอก ได้แก่ ปุ๋ยเคมียาปราบศัตรูพืชและสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรมีหนี้สินและสุขภาพ

เสื่อมโทรม เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อมและสินค้าเกษตร ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงเกิดเครือข่าย

การทำเกษตรผสมผสานเกษตรกรรมยั่งยืนเกษตรธรรมชาติเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรอินทรีย์ขึ้น

Page 8: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307418

ปัจจุบัน เกษตรอินทรีย์ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งทางการค้าและการลงทุนในกระแสโลกยุคใหม่ เป็นนโยบายสำคัญ

ตอ่การพฒันาชนบทดว้ยการเกษตรของประเทศตา่งๆ เพือ่ใหเ้กดิการพฒันาอยา่งยัง่ยนื เปน็การแกไ้ขปญัหาความยากจน

การทำเกษตรอินทรีย์จึงเป็นการเกษตรแบบพึ่งตนเอง

ระบบเกษตรอินทรีย์ก่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล 3 ด้าน คือ

1.ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจช่วยลดค่าใช้จ่ายในการพึ่งพาปัจจัยภายนอก

2.ความยั่งยืนทางสังคม คนในชุมชนมีงานทำมีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

มีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็นฐาน

3.ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานที่ชัดเจนเกิดความหลากหลายทางชีวภาพปรับปรุงความ

อุดมสมบูรณ์ของดินไม่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร

เกษตรอนิทรยีค์อือะไร เปน็คำถามทีไ่มแ่นใ่จวา่ผูค้นจะลกึซึง้มากนอ้ยเพยีงใด ดงัทีก่ลา่วมาแลว้วา่เกษตรอนิทรยี์

เกิดขึ้นในยุโรป ดังนั้นนิยามของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับรองมาตรฐาน

เกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากผักไร้สารพิษผักปลอดภัยจากสารพิษและผักอนามัย

ดังนี้

เกษตรอินทรีย์ (Organic FarmingorOrganicAgriculture) ในความหมายของสหพันธ์เกษตรนานาชาติ

InternationalFederationofAgricultureMovement(IFOAM)นั้นหมายถึงระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและ

เส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมสังคมและเศรษฐกิจ โดยเน้นการปรับปรุงบำรุงดินการเคารพต่อศักยภาพทาง

ธรรมชาติของพืชสัตว์และระบบนิเวศ การเกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้

สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ขณะเดียวกันก็ประยุกต์ใช้ธรรมชาติ

ในการเพิ่มผลผลิตและพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง

เกษตรอินทรีย์คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลาย

ของทางชวีภาพ โดยมรีะบบการจดัการนเิวศวทิยาทีค่ลา้ยคลงึกบัธรรมชาตแิละหลกีเลีย่งการใชส้ารสงัเคราะหไ์มว่า่จะเปน็

ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่างๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจ

เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมเน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุง

บำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอา

ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและ

ผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม

เกษตรอินทรีย์ อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ระบบการเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปรับปรุงบำรุงดิน ไม่ใช้

สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ตลอดจนไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้น

การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ นอกเหนือไปจากการไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีและสารสังเคราะห์ทั้งมวลแล้ว การจะเป็น

เกษตรอินทรีย์สมบูรณ์แบบนั้น ในดินในน้ำและในอากาศก็ต้องไม่มีสารเหล่านี้ตกค้างอยู่ด้วย การทำเกษตรอินทรีย์

จึงต้องเลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี ควรต้องเป็นพื้นที่ค่อนข้างเป็นที่ดอนและโล่งแจ้ง

ต้องอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ห่างจากแปลงที่ปลูกพืชโดยใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี อยู่ห่างจากถนนหลวงหลัก

และจะต้องมีแหล่งน้ำปลอดสารเคมีและสารมีพิษทั้งมวลด้วย

Page 9: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 19

สรุป เกษตรอินทรีย์ คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุลของธรรมชาติและ

ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีระบบจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์

ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่างๆตลอดจนไม่ใช้พืชสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรม

ผักไร้สารจากสารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้

สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันเพื่อปราบศัตรูพืช

หรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิต

ที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้นผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ

ผกัทีม่รีะบบการผลติทีม่กีารใชส้ารเคมใีนการปอ้งกนัและปราบศตัรพูชื

รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษ

ตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฉบับที่163พ.ศ.2538

ผักอนามัย คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อ

การเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหีบห่อ

ได้คุณสมบัติมาตรฐานเป็นเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างไร

การเกษตรปัจจุบันสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดย

เริ่มต้นศึกษาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้น

เพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาความรู้จากธรรมชาติ เมื่อเริ่มปฏิบัติ

ตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่า

เป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน เมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

และต่อเนื่องตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตร

อินทรีย์ได้ ทั้งนี้ ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับประเภทเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิต

ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้ว ข้อสำคัญนั้นอยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ท่องแท้

มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียรไม่ท้อถอยต่อปัญหา หรืออุปสรรคใด ๆ มีความสุขในการปฏิบัติก็จะบรรลุ

วัตถุประสงค์ และประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถปฏิบัติได้จริงเมื่อเป็น

เกษตรอินทรีย์แล้วสามารถขอเอกสารรับรองมาตรฐานจากภาครัฐ หรือเอกชน จึงจะนับว่าเป็นเกษตรอินทรีย์

ที่สมบูรณ์เป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

หลักการเกษตรอินทรีย์

หลักการสำคัญ 4 ข้อ ของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่

(health,ecology,fairnessandcare)

Page 10: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307420

หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย ์

1. ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช

และฮอร์โมน

2. เน้นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุเช่นปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียน

เพื่อให้พืชแข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคแมลง

3.รักษาความสมดุลของธาตุอาหารภายในฟาร์ม โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์

สูงสุด

4.ป้องกันมิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีจากภายนอกฟาร์ม ทั้งจากดิน น้ำ และอากาศ โดยจัดสร้างแนว

กันชนด้วยการขุดคูหรือปลูกพืชยืนต้นและพืชล้มลุก

5.ใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่มีความต้านทานและมีหลากหลาย ห้ามใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่ได้จากการตัดต่อสาร

พันธุกรรม

6.การกำจัดวัชพืชใช้เตรียมดินที่ดีและแรงงานคนหรือเครื่องมือกลแทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช

7.การป้องกันกำจัดวัชพืชใช้สมุนไพรกำจัดศัตรูพืชแทนการใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช

8.ใช้ฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติเช่นจากน้ำสกัดชีวภาพแทนการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์

9.รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการักษาไว้ซึ่งพันธุ์พืชหรือสัตว์ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ตลอดจนปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นมาใหม่

10.การปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปให้ใช้วิธีธรรมชาติและประหยัดพลังงาน

11.ให้ความเคารพสิทธิมนุษย์และสัตว์

12.ต้องเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย3ปีเพื่อรอการตรวจสอบ

วิธีการทำเกษตรอินทรีย์

1.ไม่ใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้นเช่นปุ๋ยวิทยาศาสตร์และยาปราบศัตรูพืช

2.มีการไถพรวนระยะเริ่มแรกและลดการไถพรวนเมื่อปลูกไปนานๆเพื่อรักษาสภาพโครงสร้างของดิน

3.มีการเปลี่ยนโครงสร้างของดินตามธรรมชาติ คือมีการคุมดินด้วยใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ฟางแห้ง วัสดุอื่นๆ

ที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อรักษาความชื้นของดิน

4.มีการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสดเพื่อบำรุงรักษาแร่ธาตุที่จำเป็นแก่พืชในดิน

5.มีการเติมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

6.มีการเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเช่นเทคนิคการปลูกการดูแลเอาใจใส่การขยายพันธุ์การเก็บรักษา

เมล็ดพันธุ์การให้น้ำตลอดจนการเก็บเกี่ยว

7.มีการปลูกอย่างต่อเนื่อง ไม่ปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า แห้งแล้ง ทำให้โครงสร้างของดินเสียจุลินทรีย์จะตาย

อย่างน้อยให้ปลูกพืชคลุมดินไว้ชนิดใดก็ได้

8.มีการป้องกันศัตรูพืชโดยใช้สารสกัดธรรมชาติเช่นสะเดาข่าตะไคร้ยาสูบโล่ติ๊นและพืชสมุนไพรอื่นๆ

ที่มีอยู่ในท้องถิ่นจะเห็นได้ว่าการทำเกษตรแบบอินทรีย์นั้นไม่ใช้เรื่องเกินความสามารถของเกษตรกรไทยและการทำ

เกษตรอินทรีย์นั้นจะได้ผลผลิตน้อยในระยะแรกเท่านั้น เมื่อดินเริ่มฟื้นมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแล้วผลผลิต

จะสูงขึ้น

Page 11: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 21

ข้อดีของเกษตรอินทรีย์ คือ

1. ให้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพที่ดีกว่า

2. ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า

3. ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

4. ให้คุณภาพชีวิตและคุณภาพจิตที่ดีกว่า

5. ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิต ไม่ต้องเสี่ยงต่อสารพิษที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อชีวิต

การเกษตรอินทรีย์ เป็นสิ่งดีที่น่าจะเป็นการสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการผลิตและการบริโภคที่

ยั่งยืนมั่งคงและปลอดภัย

หลักการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์และการปรับปรุงดิน

1.ไม่เผาตอซัง

2.ใช้ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยหมัก

3.ใช้ปุ๋ยพืชสด

4.ใช้ปุ๋ยชีวภาพ

5.ใช้วิธีผสมผสานระบบการปลูกพืชผสมผสานหลายชนิดและเกื้อกูลกัน

การปรับปรุงคุณภาพดินสู่ระบบเกษตรอินทรีย์

ปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรโลกเริ่มมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกซื้อ

อาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารเคมีต่างๆที่ตกค้างอยู่ในผลิตผลการเกษตรซึ่งสารเคมีตกค้างล้วนแล้วแต่เป็น

อันตรายต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้การเกษตรของประเทศหลายประเทศได้ปรับเปลี่ยนมาสู่การคิดหาวิธีการทำ

เกษตรกรรมที่ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ เรียกว่า เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture) เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต

และได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาดโดยการพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้ปัจจัย

การผลิตภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งวิธีการทำเกษตรแนวนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้ผลิตและ

ผู้บริโภค

Page 12: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307422

วิธีการปรับปรุงดิน

ปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้ดินเป็นกรดได้แก่ การเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดิน การใส่ปุ๋ยเคมีบางชนิด สารที่

ปล่อยจากโรงงาน อุตสาหกรรมบางประเภท ปัจจัยที่ทำให้ดินเป็นเบสได้แก่ การใส่ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์)

ความเป็นกรด−เบสของดินนั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชแต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่า pH

ที่เหมาะแก่พืชนั้นๆ ถ้าสภาพ pH ไม่เหมาะสมทำให้พืชบางชนิดไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุที่ต้องการที่มีในดินไปใช้

ประโยชน์ได้การแก้ไขปรับปรุงดิน ดินเป็นกรด แก้ไขได้โดยการเติมปูนขาวหรือดินมาร์ล ดินเป็นเบสแก้ไขได้โดยการ

เติมแอมโมเนียมซัลเฟตหรือผงกำมะถัน ดินมาร์ลคือ ดินที่ได้จากการสลายตัวของหินปูน ซึ่งมีแคลเซียมคาร์บอนเนต

เป็นองค์ประกอบดินมาร์ลมีมากในจังหวัดสระบุรีลพบุรีและนครสวรรค์

การปรับปรุงดินให้มีความสมบูรณ์

แนวทางที่จะทำให้ดินเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็น ดินที่มีชีวิต สามารถเพาะปลูกพืชให้ได้ผลผลิตสูง

และมีคุณภาพดีไม่ว่าจะเป็นพืชไร่-นา ผัก ผลไม้ ดอกไม้ก็ตาม และจะเป็นแนวทางที่จะสามารถผลิตผลผลิต

ที่ปลอดภัยจากสารพิษทางการเกษตร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภคช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถทำเป็นอาชีพได้

อย่างยั่งยืนซึ่งแนวทางนั้นก็คือแนวทางเกษตรธรรมชาตินั่นเอง

1. มีการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งสามารถทำได้โดย

1) ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และ

ปุ๋ยพืชสด ส่วนปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ปุ๋ยเหล่านี้จะให้ทั้งธาตุหลักและธาตุอาหารรองแก่พืช

อย่างครบถ้วนจึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีปุ๋ยหมัก

2) การคลุมดิน : ทำได้โดยใช้เศษพืชต่างๆ จากไร่−นา เช่น ฟาง หญ้าแห้ง ต้นถั่ว ใบไม้ ขุยมะพร้าว

เศษเหลือทิ้งจากไร่นา หรือ กระดาษหนังสือพิมพ์ พลาสติกคลุมดิน หรือการปลูกพืชคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์

หลายประการ คือ ช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดิน และรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ช่วยทำให้หน้าดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไชชอนของรากพืช ซึ่งประโยชน์ต่างๆ ของการคลุมดินดังกล่าวมานี้จะช่วย

ส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตดี

3) การปลูกพืชหมุนเวียน : เนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันทั้งชนิดและปริมาณ

อีกทั้งระบบรากยังมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการแผ่กว้างและหยั่งลึก ถ้ามีการจัดระบบการปลูกพืชอย่างเหมาะสม

จะทำให้การใช้ธาตุอาหารมีทั้งที่ถูกใช้และสะสมสลับกันไปทำให้ดินไม่ขาดธาตุอาหารธาตุใดธาตุหนึ่ง ดินดีปลูกอะไร

ก็งอกงามต้านทานโรคแมลงและให้ผลผลิตดีมีคุณภาพ

Page 13: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 23

2. ปลูกพืชหลายชนิด : การปลูกพืชหลายชนิดเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในไร่−นา ซึ่งจะช่วยลดการระบาด

ของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ เนื่องจากการปลูกพืชหลายชนิดจะทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีแหล่งอาหาร

ที่หลากหลายของแมลงจึงมีแมลงหลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ในจำนวนแมลงเหล่านี้จะมีทั้งแมลงที่เป็นศัตรู

พืชและแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติที่จะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติในป่าที่อุดมสมบูรณ์นั่นเอง

2.1) การปลกูพชืหมนุเวยีน : เปน็การไมป่ลกูพชืชนดิเดยีวกนัหรอืตระกลูเดยีวกนัตดิตอ่กนับนพืน้ทีเ่ดยีวกนั

การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลงและช่วยประโยชน์ในทางด้านการปรับปรุงดิน

2.2) การปลูกพืชแซม : การเลือกพืชมาปลูกร่วมกันหรือแซมกันนั้นพืชที่เลือกมานั้นต้องเกื้อกูลกัน เช่น

ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้อีกชนิดหนึ่งช่วยคลุมดินช่วยเพิ่มรายได้ก่อนเก็บเกี่ยวพืชหลักเป็นต้น

3. อนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์ :ซึ่งสามารถทำได้โดย

3.1) การที่ไม่ใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีทำลายทั้งแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์

ด้วย

3.2) ปลูกดอกไม้สีสด ๆเช่นบานชื่นทานตะวันบานไม่รู้โรยดาวเรืองดาวกระจายเป็นต้นโดยปลูกไว้

รอบแปลง หรือปลูกแซมลงในแปลงเพาะปลูก สีของดอกไม้จะดึงดูดแมลงนานาชาติและในจำนวนนั้นก็มีแมลงศัตรู

ธรรมชาติด้วย จึงเป็นการเพิ่มจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติในแปลงเพาะปลูกซึ่งจะช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชให้แก่

เกษตรกร

การปรับปรุงบำรุงดินให้มีความสมบูรณ์ทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. ใช้ปุ๋ยคอก คือ การใช้มูลสัตว์ต่างๆซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช

เช่นฟางแกลบฯรองพื้นคอกสัตว์เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย

2. ใช้ปุ๋ยหมักคือการนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่นฟางข้าวซังข้าวโพดต้นถั่วต่างๆ

ผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มาหมักจนเน่าเปื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือ

สวน

3. ใช้ปุ๋ยพืชสด คือ การไถกลบส่วนต่างๆของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่

จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูงและย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอกอาจปลูกแล้วไถกลบใน

ช่วงที่ออกดอกหรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบ พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย

ปอเทืองถั่วเขียวถั่วพร้าถั่วพุ่มถั่วมะแฮะกระถินยักษ์และแหนแดงเป็นต้น

4. ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง

เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดีและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้แก่ถั่วลายถั่วคุดซูถั่วคาโลโปโกเนียมเป็นต้น

5. ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่น ของดิน

เนื่องจากเม็ดฝนป้องกันวัชพืชขึ้นและเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัวก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

6. ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและ

เปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือ

ของสัตว์เช่นเลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้

7. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมี

คุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาด ของศัตรูพืช

ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน

Page 14: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307424

การปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้หลาย ๆ วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ หากใช้

เพียงชนิดเดียวทำให้ต้องใช้ปริมาณที่มาก จึงควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มี แต่ถ้าใช้การ

ปรับปรุงบำรุงดินหลายวิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากและควรมีการปฏิบัติ

บำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผล

ทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป

การอนุรักษ์ดินด้วยวัสดุคลุมดิน

การอนุรักษ์ดินและน้ำนั้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ซึ่งวัตถุประสงค์หลักได้แก่

1.ลดอัตราการกัดกร่อนของดิน

2.เพิ่มหรือรักษาระดับปริมาณของธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุในดินให้เหมาะสม

3.ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้อยู่สภาพที่เหมาะสม

4.ลดการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยการระเหยของน้ำบนผิวดิน

4. วิธีการใส่วัสดุคลุมดิน

การใส่วัสดุคลุมดินในไร่นาโดยทั่วไปใส่ในอัตราระหว่าง600-800กิโลกรัมต่อไร่ซึ่งวิธีการใส่วัสดุเหลือใช้

จากการเกษตรสำหรับคลุมดินสามารถแบ่งออกเป็น2วีธีคือ

(1) การคลุมดินด้วยเศษเหลือของพืช โดยปล่อยเศษเหลือของพืชไว้ในไร่นา หลังจากการเก็บเกี่ยว

ผลผลิตของพืช ซึ่งวิธีนี้การย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและสามารถควบคุมการชะล้างพังทลายของ

ผิวหน้าดินได้ดี

(2) การคลุกเคล้าวัสดุคลุมดินกับดินอย่างหยาบๆ ในกรณีที่ดินนั้นมีลักษณะของเนื้อดินค่อนข้าง

เป็นทรายซึ่งจะเป็นการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินด้วย เช่นดินมีการเกาะตัวดีขึ้นดินร่วนซุยและเพิ่มอัตรา

การซึมน้ำของดินเป็นต้น

5. ประโยชน์ของการใช้วัสดุคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการคือ

1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน

2.เพื่อปกคลุมผิวดินป้องกันการสูญเสียอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน

3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์น้ำในดินเป็นการลดการระเหยของน้ำ

4. เพื่อควบคุมอุณหภูมิของดินให้มีความสม่ำเสมอ

5.เพิ่มผลผลิตของพืชระหว่าง20–30เปอร์เซ็นต์และลดต้นทุนการผลิต

6.เพื่อควบคุมและลดการเจริญเติบโตของวัชพืช

7.ช่วยให้ดินที่เตรียมไว้ดีตั้งแต่ก่อนปลูกยังคงมีความอ่อนนุ่มและร่วนซุยตลอดฤดู

8.ช่วยป้องกันการชะล้างและรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ

Page 15: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 25

การอนุรักษ์แมลงที่มีประโยชน์

เราสามารถแบ่งแมลงที่เป็นประโยชน์ออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ แมลงที่ให้ผลผลิต แมลงที่ใช้เป็นอาหาร แมลง

ผสมเกสรแมลงที่ช่วยสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดินแมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียนแม้ว่าแมลงจะมีการสืบพันธุ์

ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถแพร่พันธุ์ เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว แต่แมลงก็มีศัตรูธรรมชาติมากมาย

ที่คอยควบคุมประชากรของแมลงให้อยู่ในสมดุล ซึ่งศัตรูธรรมชาติของแมลง ได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สภาพ

แวดล้อมต่างๆ ที่ เปลี่ยนไปซึ่งเป็นอันตรายต่อแมลง นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่เป็นศัตรูของแมลงที่สำคัญ

ก็คือแมลงด้วยกันเอง และมีแมลงหลายชนิดที่กินหรืออาศัยอยู่ภายในหรือภายนอกตัวของแมลงชนิดอื่น

แมลงเหล่านี้เราเรียกว่า “แมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียน” และหากจะพูดถึงแมลงที่เป็นประโยชน์ ซึ่งคอยควบคุม

ปริมาณแมลงอื่นๆ ให้อยู่ในสภาพสมดุลโดยไม่ทำความสูญเสียทางเศรษฐกิจนั้นก็คือ “มวน” มวนจิงโจ้เล็ก

มวนส่วนใหญ่เป็นแมลงกินพืช แต่มีจำนวนไม่น้อยที่เป็นแมลงกินแมลง ได้แก่มวนที่อาศัย อยู่บนพื้นผิวน้ำ เช่น

มวนจิงโจ้น้ำและมวนจิงโจ้เล็กมวนที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่นมวนคางคกมวนแมงดาและมวนบนบกอีกหลายชนิด เช่น

มวนดอกไม้ มวนตาโต มวนหญ้า มวนกิ่งไม้ และมวนเพชฌฆาต ที่เป็นตัวห้ำทั้งระยะที่เป็นตัวอ่อนและระยะที่เป็น

ตัวเต็มวัยโดยการดูดกินแมลงอื่นๆเป็นอาหารเหยื่อที่ถูกดูดกินก็มีทั้งระยะไข่หนอนดักแก้และระยะที่เป็นตัวเต็มวัย

−มวนพิฆาตหนอนแถบขาว

−มวนพิฆาตหนอนสีส้ม

−มวนพิฆาตหนอนสีน้ำตาล

−มวนพิฆาตหนอนสีน้ำเงิน

−มวนพิฆาตหนอนที่มีขนาดเล็กๆอีก5ชนิด

Page 16: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307426

แมลงที่ให้โทษหรือเป็นศัตรูกับมนุษย์นั้นมีเพียงร้อยละ 0.1 ของแมลงที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด อีกร้อยละ 99.9

เป็นแมลงที่มีประโยชน์โดยเฉพาะทางการเกษตรและเป็นแมลงที่ไม่มีคุณหรือโทษแต่อย่างใดต่อคน แมลงส่วนใหญ่

จึงเป็นสมาชิกที่ดีของโลกนี้ประโยชน์ที่ได้จากแมลงมีมากมายแต่มักถูกมองข้ามไป เนื่องจากคนส่วนมากยังไม่ทราบ

และยังไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงประโยชน์ที่ได้รับจากแมลง ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของแมลงที่เป็นประโยชน์และในบางครั้ง

ก็ทำลายแมลงเหล่านี้ไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เช่นการใช้สารเคมีฆ่าแมลงที่มีพิษร้ายแรงสามารถฆ่าแมลง

ได้ทุกชนิดไม่เฉพาะเจาะจงและใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น ทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ถูกทำลายไปด้วย

แมลงเหล่านี้หลายชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นเป็นการควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสมดุล

ตามธรรมชาติ การทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป แมลงศัตรูพืชจึงเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว

เพราะไม่มีตัวควบคุมอันตรายจากแมลงบางชนิดก็มีมากมายมหาศาลจนเราไม่อาจละลายที่จะกำจัดมันได้แต่พึงระลึก

เสมอว่าแมลงที่เป็นประโยชน์มีปะปนในธรรมชาติเป็นจำนวนมากการกำจัดแมลงแต่ละชนิดจึงควรทำด้วยความ

ละเอียดรอบคอบและหลีกเลี่ยง การทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ไปด้วย การรู้จักแมลงที่เป็นประโยชน์และทราบถึง

ผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์แมลงเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เรา

มากที่สุด แมลงที่เป็นประโยชน์มีมากมายหลายชนิดแบ่งเป็นพวกใหญ่ๆ ตามลักษณะของประโยชน์ได้อย่างน้อย 5

ประเภท คือ แมลงที่ให้ผลผลิต แมลงที่ใช้เป็นอาหาร แมลงผสมเกสร แมลงตัวห้ำและแมลงตัวเบียน แมลง

ช่วยสร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดิน

การหมุนเวียนของธาตุอาหาร

เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากระบบการผลิตโดยมีเป้าหมาย

เพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป ตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทาง

เกษตรอินทรีย์ที่สำคัญคือ การใช้ปุ๋ยหมัก, การคลุมดินด้วยอินทรียวัตถุ, การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืช

หมุนเวียนเป็นต้น

ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน

“ความอุดมสมบูรณ์ของดิน” ถือเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ดังนั้นเกษตรกรต้องหาอินทรีย์วัตถุต่างๆ

มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ ซึ่งอินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์

ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังเป็นการ

ช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้พืชที่ปลูกมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง

รวมทั้งให้ผลผลิตสูง

Page 17: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 27

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์เป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งแตกต่างจากเกษตรกรรมอื่นๆ เช่น เกษตรกรรม

ธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรไร้สารพิษ วนเกษตร คือ เกษตรอินทรีย์มีมาตรฐาน การผลิต การแปรรูป

การแสดงฉลากและการจำหน่ายเป็นกรอบการปฏิบัติและมีกระบวนการตรวจรับรอง

ความเป็นมาของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533

(ค.ศ.1990)และมีการแก้ไขในปีพ.ศ.2539(ค.ศ.1996)

ตลาดร่วมกลุ่มประเทศในยุโรป ได้มีการรวบรวมข้อกำหนดของผลิตผลเกษตรอินทรีย์ไว้ในข้อกำหนดของ

สภาตลาดร่วมยุโรปและฉบับแก้ไขข้อกำหนดส่วนใหญ่ให้คำแนะนำในการนำเข้าอาหารอินทรีย์ที่ผลิตจากประเทศอื่น

ภายใต้มาตรฐานการผลิต และมาตรการตรวจสอบที่เหมือนกันทุกประการ ประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศใช้

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เมื่อวันที่1เมษายนพ.ศ.2544โดยอ้างอิงกฎหมายมาตรฐานเกษตรญี่ปุ่น

ประเทศไทยได้มีการกำหนดใช้มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์หลังจากผ่านการปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย

เมื่อวันที่18ตุลาคมพ.ศ.2543โดยคณะทำงานเฉพาะกิจปรับปรุงมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยและ

ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตร

และสหกรณ์

สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์

เป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศในยุโรป

สมาคมดินแห่งสหราชอาณาจักร เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ มีประวัติความเป็นมา

ยาวนาน ได้พัฒนามาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักร

องค์กรเครือข่าย เป็นองค์กรเครือข่ายของสหราชอาณาจักร และประเทศเนเธอแลนด์ ที่กำลังปฏิบัติการ

เคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทยมีประเด็นหลักสำคัญดังนี้

-ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด

-พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง

-ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต

-ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์

-ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม

-ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน

-ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน

-กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์

การเจริญเติบโตของพืช

-ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

-ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ

Page 18: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307428

ความต้องการธาตุอาหารพืชกับเกษตรอินทรีย์

การผลิตอาหารพืชให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ จะต้องประกอบด้วยปัจจัยการผลิตหลายประการ

ธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง วัสดุที่ให้อาหารพืชได้มาจากหลายๆทาง เช่น จากวัสดุธรรมชาติ

(หินฟอสเฟต ปูนโดโลไมท์ แร่ยิบซั่ม ฯลฯ) จากมูลสัตว์ต่างๆ ที่เรียกกันว่าปุ๋ยคอก จากการปลูกพืชต้นฤดูแล้วไถหรือ

สับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว จากวัสดุที่เหลือใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานผงชูรส

จากซากพืชต่างๆ เช่น การใช้ต้น/ใบมันสำปะหลังสับกลบลงดินหลังการเก็บเกี่ยวจากปุ๋ยชีวภาพหรือการใช้วัสดุที่มี

จุลินทรีย์ ประสิทธิภาพสูง จากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆที่มีขายตามตลาดทั่วไป การให้ธาตุอาหารพืช

เพื่อยกระดับผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพที่ต้องการประการแรกต้องทราบว่าดินนั้นขาดธาตุอาหารพืชหรือ

มีธาตุอาหารไม่พอเพียงต่อการให้ผลผลิตสูง ดังนั้นการใช้ธาตุอาหารพืชในรูปปุ๋ยหรือวัสดุใดๆ ที่คิดว่าพอเพียงและให้

ประโยชน์สูงสุดต่อพืชตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั่นคือจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะหรือสภาวะของความอุดมสมบูรณ์

ของดินสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและความสะดวกในการใช้ตลอดจนผลตอบแทนที่ได้รับ

ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช

พืชมีความต้องการธาตุอาหารต่างๆเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตซึ่งธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจะมีอยู่ด้วยกัน

16ธาตุคือคาร์บอนไฮโดรเจนออกซิเจนไนโตรเจนฟอสฟอรัสโปรแตสเซียแมกนีเซียมกำมะถันแคลเซียมเหล็ก

แมงกานีสสังกะสีทองแดงโบรอนโมลิบดีนัมและคลอรีนโดยธาตุคาร์บอนไฮโดรเจนและออกซิเจนพืชได้จากน้ำ

และอากาศส่วนที่เหลืออีก13ธาตุแบ่งออกเป็นธาตุหลัก6ธาตุและธาตุอาหารเสริม7ธาตุดังนี้

ธาตุหลัก 6 ธาตุ ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และพืชต้องการในปริมาณที่มากจากดินคือ

ไนโตรเจนฟอสฟอรัสโปรแตสเซียมแมกนีเซียมกำมะถันแคลเซียม

ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ที่พืชใช้ในปริมาณที่น้อย แต่พืชจะขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก แมงกานีส

สังกะสีทองแดงโบรอนโมลิบดีนัมและคลอรีน

ปกติแล้วธาตุอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว แต่ในปริมาณที่น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช

ดังนั้นเราจึงต้องมีการเสริมธาตุในดินทดแทน

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องอาศัยดินในการยังชีพและเจริญเติบโต สำหรับมนุษย์แล้วดินเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยสี่

เพื่อการดำรงชีพเพราะเราได้อาศัยดินสำหรับปลูกพืชที่เป็นอาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค

Page 19: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 29

หน้าที่และความสำคัญของดินที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม สรุปได้ดังนี้

ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง ขณะที่พืช

เจริญเติบโตรากของพืชจะเติบโตชอนไชหยั่งลึกแพร่กระจายลงไปในดินอย่างกว้างขวางทั้งแนวลึกและแนวราบ

ดินที่ร่วนซุยและมีชั้นดินลึก รากพืชจะเจริญเติบโตแข็งแรง สามารถเกาะยึดดิน ต้านทานต่อลมพายุไม่ทำให้ต้นพืชล้ม

หรือถอนโคนได้

ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหารพืชจะถูกปลดปล่อย

ออกจากอินทรีย์วัตถุและแร่ต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของดินให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

ความต้องการน้ำของพืช

โดยปกติน้ำเข้าสู่พืชโดยทางราก ในบางโอกาสเท่านั้นที่พืชอาจได้น้ำทางใบ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ

เซลล์พืชในส่วนต่างๆของพืชจะมีน้ำโดยประมาณดังนี้คือใบ35−95%ราก60−90%เนื้อของผล70−90%

เนื้อไม้38−65%และเมล็ดแห้ง10-20%

การดูดน้ำของพืช

การดูดน้ำของพืชส่วนใหญ่จะผ่านทางขนรากกล่าวคือเมื่อพืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายไอน้ำจากใบจะทำให้

เกิดความต่างศักย์น้ำขึ้นเป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำในดินเข้าไปภายในเซลล์ของรากได้

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

ก.สภาพแวดล้อมรอบๆ ต้นพืช ซึ่งได้แก่ ความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ

และความเร็วลมเป็นต้น

ข. พืช ซึ่งได้แก่ ชนิดและอายุของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำแตกต่างกัน สำหรับพืชชนิดเดียวกัน

การใช้น้ำจะน้อยเมื่อเริ่มปลูกและจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมากที่สุดเมื่อถึงวัยขยายพันธุ์ซึ่งพืชโตเต็มที่จากนั้นจะค่อยๆลดลง

ค.ดิน ซึ่งได้แก่ ความชื้นในดิน เนื้อดิน ความสามารถอุ้มน้ำไว้ให้พืชใช้ได้ ความเข้มข้นของเกลือในดินหรือ

สารเป็นพิษอื่นๆในดินเป็นต้น

ง.องค์ประกอบอื่นๆเช่นวิธีการให้น้ำการไถดินพรวนดินเป็นต้น

ความต้องการแสงแดด

แสง มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช กล่าวคือพืชจะใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

กับน้ำเป็นตัวตั้งต้น เมื่อมีแสงเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยา คลอโรฟิลล์ในพืชจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารตั้งต้นนี้เป็นพลังงาน

ในรูปน้ำตาลและได้ออกซิเจนเป็นผลพลอยได้ การสังเคราะห์แสง คือ กระบวนการซึ่งพืชสังเคราะห์สารอินทรีย์

จากสารประกอบอนินทรีย์ โดยมีแสงปรากฏอยู่ด้วย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต

และรักษาสภาพเดิมให้คงอยู่ สาหร่าย พืชชั้นสูง และแบคทีเรียบางชนิดสามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์

และใช้พลังงานนี้ในการสังเคราะห์สารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่สัตว์ไม่สามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์

ต้องรับพลังงานโดยการบริโภคพืชและสัตว์อื่น ดังนั้นแหล่งของพลังงานทางเมตาบอลิสม์ในโลกคือ ดวงอาทิตย์

และกระบวนการสังเคราะห์แสงจึงจำเป็นสำหรับชีวิตบนโลก

ประโยชน์ของการสังเคราะห์แสง

1.เป็นกระบวนการสร้างอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของพืช

2.เป็นกระบวนการซึ่งสร้างสารประกอบชนิดอื่นซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการเจริญเติบโตของพืช

3.เป็นกระบวนการซึ่งให้ก๊าซออกซิเจนแก่บรรยากาศ

4.ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในสภาวะสมดุล

Page 20: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307430

ธรรมชาติของดิน

ความหมายของดิน

ดินในทางด้านการเกษตรหมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากแร่ธาตุต่างๆและอินทรียวัตถุที่สลายตัว

หรือเน่าเปื่อยผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยผสมกัน และรวมตัวกันเป็นชั้นๆห่อหุ้มผิวโลก เมื่อมีน้ำและอากาศผสมอยู่ใน

อัตราส่วนที่เหมาะสมแล้ววัตถุที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพได้

ส่วนประกอบของดิน

ดินที่ดีสำหรับการปลูกพืชควรประกอบไปด้วยส่วนประกอบ4ส่วนคือ

1.อนินทรีย์วัตถุคือส่วนประกอบของแร่ธาตุต่างๆ45เปอร์เซ็นต์

2.อินทรีย์วัตถุคือส่วนประกอบจากการเน่าเปื่อยของซากพืชและสัตว์ประกอบอยู่ในดิน5เปอร์เซ็นต์

3.น้ำคือส่วนประกอบที่อยู่ช่องว่างในดิน25เปอร์เซ็นต์

4.อากาศคือส่วนประกอบที่อยู่ช่องว่างในดินก๊าซต่างๆ25เปอร์เซ็นต์

ประเภทของดิน

การจำแนกประเภทของดินพิจารณาจากสัดส่วนของเม็ดดินที่ละเอียดหรือหยาบสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. ดินเหนียว เป็นดินที่ประกอบด้วยเม็ดดินละเอียดจำนวนมาก มีช่องว่างในดินน้อย น้ำและอากาศ

ซึมผ่านได้ยากเมื่อได้รับความชื้นจะจับกันเหนียวมากเหมาะสำหรับพืชที่ชอบน้ำขังเช่นข้าว

2. ดินร่วน ประกอบด้วยเม็ดดินขนาดเล็กและขนาดใหญ่พอๆกัน จึงทำให้มีช่องว่างในดินพอสมควร

น้ำซึมผ่านได้ช้าๆไม่ทำให้น้ำขังเหมาะสำหรับปลูกพืชโดยทั่วไป

3. ดินทราย เป็นดินที่ประกอบด้วยเม็ดดินขนาดใหญ่จำนวนมาก มีช่องว่างในดินมาก ถ่ายเทอากาศดี

แต่อุ้มน้ำน้อยหรือไม่อุ้มน้ำเลยเป็นดินที่มีความสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะกับการปลูกพืช

ประเภทของดินแบ่งตามสมบัติ (ดินดี−ดินไม่ดี)

ดินดี ในทางการเกษตรหมายถึง ดินที่มีความเหมาะสม

ต่อการปลูกพืช ปริมาณอนินทรย์วัตถุ อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศ

ในสัดส่วนที่เหมาะสม สามารถปลูกพืชได้โดยใช้วิธีการจัดการดูแล

ตามปกติธรรมดาที่ไม่ยุ่งยาก มักจะมีหน้าดินสีดำหนา มีปริมาณ

อนิทรียวตัถสุงู มธีาตอุาหารทีเ่ปน็ประโยชนต์อ่พชืสงู ไมม่สีารทีเ่ปน็พษิ

ต่อพืช มีปฏิกิริยาดินใกล้เป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

ประมาณ5.5-7.0และไม่มีชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืชการปรับปรุงดินโดยใช้สารอินทรีย์

Page 21: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 31

ดินไม่ดี หรือ ดินเลว คือ ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมีไม่เหมาะสมหรือเหมาะสมน้อยสำหรับการ

เพาะปลูก ส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตามปกติได้ถ้าหากว่าจำเป็นต้องใช้ดินเหล่านี้ในการ

เพาะปลูกพืชก็ต้องมีการจัดการแก้ไขให้เหมาะสมเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม การที่จะบอกได้ว่าพื้นที่ใดเป็นดินดีหรือไม่นั้น ยังต้องคำนึงถึงชนิดของพืชที่จะปลูกในบริเวณ

นั้นด้วยทั้งนี้เนื่องจากพืชแต่ละชนิดมีความต้องการสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันไปยกตัวอย่างเช่น

ข้าว เป็นพืชที่ชอบน้ำดังนั้นดินดีที่เหมาะสมสำหรับข้าวจึงควรเป็นดินในพื้นที่ลุ่ม เนื้อดินเป็นดินเหนียวที่มีการระบาย

น้ำเลว ซึ่งจะช่วยให้สามารถขังน้ำไว้ในนาข้าวได้ แต่ถ้าต้องการปลูกพืชไร่หรือผลไม้ ดินที่ดีสำหรับพืชพวกนี้ควรเป็น

ดินลึกมีหน้าดินหนา เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหรือพวกที่มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้รากพืชสามารถ

ชอนไชลงไปในดินได้ลึกสามารถต้านทานแรงลมได้ดีเป็นต้น

การปรับปรุงบำรุงดินมีหลายวิธี ดังนี้

1. ปุ๋ยพืชสด

“ปุ๋ยพืชสด” ก็คือปุ๋ยที่ได้จากการสลายตัวของพืชที่ยังสดหรือยังเขียวอยู่ โดยทั่วไปหมายถึงการปลูกพืช

เช่นพืชตระกูลถั่วที่ตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้จนเจริญเติบโตพอแล้วทำให้สลายตัวในดิน เป็นปุ๋ยแก่

พืชหลัก ซึ่งผลิตได้ในไร่นาโดยแรงงาน และธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยพืชสดนั้นได้มีผู้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานแล้ว

โดยมีรายงานว่ามีผู้รู้จักใช้ปุ๋ยพืชสดก่อนสมัยโรมันเรืองอำนาจ ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยพืชสดได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี

ในหลายประเทศจนเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นในประเทศจีนถือว่าปุ๋ยพืชสดนั้นเป็น“อาหารธรรมชาติสำหรับ

พืชและดิน”โดยนิยมใช้ปุ๋ยพืชสดอยู่4ระดับดังต่อไปนี้คือ

1.ทำการหว่านและไถกลบในแปลงเดียวกัน

2. เก็บเกี่ยวพืชที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสดแล้วนำไปไถกลบในแปลงอื่นที่มีขนาดใหญก่ว่าเดิม 3-4 เท่าตัวรากของ

พืชที่เก็บเกี่ยวไปแล้วจะยังคงเหลืออยู่เป็นการคงความอุดมสมบูรณ์ในแปลงเดิมได้บ้าง

3. ต้นพืชที่ใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดนำมาผสมกับหญ้าและโคลน แล้วนำมากองทำเป็นปุ๋ยหมักตามมุมแปลง

หรือใช้ในบ่อผลิตก๊าซชีวภาพ

4. ทำการปลูกพืชที่ใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็ไถกลบลงไปในแปลง

ในทวีปเอเชียมีหลายประเทศที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยพืชสดได้แก่จีนไต้หวันอินเดียบังคลาเทศและฟิลิปปินส์ทั้งแหนแดง

และพืชตระกูลถั่วเช่นโสนพันธุ์ต่างๆ

ข้อควรพิจารณาในการเลือกพืชเพื่อใช้เป็นพืชปุ๋ยสด

การพิจารณาเลือกพืชที่จะใช้ทำเป็นพืชปุ๋ยสดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น สภาพพื้นที่ภูมิอากาศ

วัตถุประสงค์ในการใช้ รวมทั้งความนิยม ชนิด และรูปแบบของการปลูกพืชเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นๆด้วย โดยทั่วไป

อาจสรุปเป็นแนวทางหลักในการพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

1. เลือกพื้นที่เจริญเติบโตได้ดีในดินและฤดูกาลที่ประสงค์จะปลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเจริญเติบโตได้ดี

พอควรในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีและต้องการการดูแลรักษาเพียงเล็กน้อย

2.เมล็ดพันธุ์หาได้ง่ายในท้องถิ่นราคาไม่แพงเกินไปและควรจะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ต่อไปได้ง่าย

3.ให้น้ำหนักต้นสดต่อเนื้อที่สูงอันจะส่งผลให้ได้ธาตุอาหารจากการสลายตัวแล้วสูงไปด้วย

4. เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว สามารถแข่งกับวัชพืชได้ออกดอกได้ในระยะเวลาสั้น เพื่อจะได้ทำการไถหรือ

สับกลบได้เร็วขึ้น

Page 22: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307432

5. มีระบบรากลึกกว้างอันจะส่งผลให้พืชทนต่อความแห้งแล้งและทำให้เกิดช่องว่างในดินล่างช่วยให้

มีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้นทั้งรากพืชสามารถดูดธาตุอาหารจากดินชั้นล่างมาสะสมในใบและลำต้นเมื่อพืชถูกไถ

หรือถูกกลบลงไปแล้วธาตุอาหารเหล่านั้นก็จะอยู่บนดินชั้นบนเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูกตามมา

6.ต้านทาน และทนต่อการทำลายของศัตรูพืชได้ดีไม่เป็นแหล่งที่พักอาศัยของศัตรูพืชอันจะมีผลต่อ

การทำลายพืชเศรษฐกิจที่ปลูกตามมา

7. ลำต้น กิ่งก้านเปราะง่ายต่อการไถและสับกลบลงในดินอันจะทำให้ซากพืชไถกลบลงไปนั้น

ง่ายแก่การถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน

8.ไม่มีผลในทางลบคือไม่เป็นวัชพืชต่อพืชเศรษฐกิจที่ปลูกตามมาในภายหลัง

9.สามารถจัดเข้าระบบปลูกพืชได้ง่ายและเหมาะสม

2. ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง

เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดีและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้แก่ถั่วลายถั่วคุดซูถั่วคาโลโปโกเนียมเป็นต้น

3. ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดิน

เนื่องจากเม็ดฝนป้องกันวัชพืชขึ้นและเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัวก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน

4. ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและ

เปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือ

ของสัตว์เช่นเลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้

5. ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมี

คุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาด ของศัตรูพืช

ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน

การปรับปรุงบำรุงดินควรใช้หลายๆวิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆหากใช้เพียง

ชนิดเดียวทำให้ต้องใช้ปริมาณที่มาก จึงควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มี แต่ถ้าใช้การปรับปรุง

บำรุงดินหลายวิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากและควรมีการปฏิบัติบำรุงดิน

อย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผล

ทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป

6. ปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ ความหมายของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก ปุ๋ยอินทรีย์ + ชีวภาพ

หมายถึง สารธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากธรรมชาติต่างๆ ทั้งพืชและสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์

เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่างๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) ตัวเร่ง

การทำงานของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่อาศัยอยู่ในดินและอาศัยอยู่ปลายรากของพืช(แบคทีเรียแอคติโนมัยซิสและเชื้อรา

ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิดให้แก่พืช ภายใต้หลักการกสิกรรมธรรมชาติที่ว่า “เลี้ยงดิน เพื่อให้

ดินเลี้ยงพืช”เพื่อให้เกิดธรรมชาติสมดุลขึ้นซึ่งจะมีผลทำให้พืชผักต้นไม้ทุกชนิดเจริญเติบโตได้ดี

2. ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึงปุ๋ยที่ได้จากซากพืชซากสัตว์หรือมูลสัตว์ที่สามารถย่อยสลายต่อไปอีกได้ ข้อดีของ

ปุ๋ยอินทรีย์คือหาได้จากธรรมชาติไม่ทำให้ดินเสียคำว่า ชีวภาพคือเป็นสิ่งมีชีวิตในที่นี้จะหมายถึงสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

ซึ่งก็คือจุลินทรีย์ชีวภาพนั่นเอง ซึ่งให้ประโยชน์อย่างมากในการย่อยสลายสารอินทรีย์วัตถุทุกชนิด ถ้าเราไม่มีจุลินทรีย์

ย่อยสลายตัวนี้ พวกพืชและผักตลอดจนสิ่งมีชีวิตที่ตายไปก็จะเป็นขยะกองโตเต็มโลกไปหมด เราจึงอาศัยคุณสมบัติ

ของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายได้ดีนี้มาประยุกต์ใช้กับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายปุ๋ยซึ่งจะนำไปเป็นอาหาร

เลี้ยงพืชได้อย่างรวดเร็ว

Page 23: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 33

การอนุรักษ์ดินด้วยวัสดุคลุมดิน

การอนุรักษ์ดินและน้ำนั้นส่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ซึ่งวัตถุประสงค์หลักได้แก่

1.ลดอัตราการกัดกร่อนของดิน

2.เพิ่มหรือรักษาระดับปริมาณของธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินให้เหมาะสม

3.ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้อยู่สภาพที่เหมาะสม

4.ลดการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยการระเหยของน้ำบนผิวดิน

วิธีการใส่วัสดุคลุมดิน

การใส่วัสดุคลุมดินในไร่นา โดยทั่วไปใส่ในอัตราระหว่าง 600-800 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งวิธีการใส่วัสดุ

เหลือใช้จากการเกษตรสำหรับคลุมดินสามารถแบ่งออกเป็น2วีธีคือ

(1) การคลุมดินด้วยเศษเหลือของพืช โดยปล่อยเศษเหลือของพืชไว้ในไร่นาหลังจากการ

เก็บเกี่ยวผลผลิตของพืช ซึ่งวิธีนี้การย่อยสลายของวัสดุอินทรีย์จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและสามารถควบคุมการชะล้าง

พังทลายของผิวหน้าดินได้ดี

(2) การคลุกเคล้าวัสดุคลุมดินกับดินอย่างหยาบๆ ในกรณีที่ดินนั้นมีลักษณะของเนื้อดิน

ค่อนข้างเป็นทราย ซึ่งจะเป็นการปรับปรุงสภาพทางกายภาพของดินด้วย เช่น ดินมีการเกาะตัวดีขึ้น ดินร่วนซุย และ

เพิ่มอัตราการซึมน้ำของดินเป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้วัสดุคลุมดิน การคลุมดินมีประโยชน์หลายประการคือ

1. เพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน

2. เพื่อปกคลุมผิวดินป้องกันการสูญเสียอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน

3.เพื่อเป็นการอนุรักษ์น้ำในดินเป็นการลดการระเหยของน้ำ

4.เพื่อควบคุมอุณหภูมิของดินให้มีความสม่ำเสมอ

5.เพิ่มผลผลิตของพืชระหว่าง20–30เปอร์เซ็นต์และลดต้นทุนการผลิต

6.เพื่อควบคุมและลดการเจริญเติบโตของวัชพืช

7.ช่วยให้ดินที่เตรียมไว้ดีตั้งแต่ก่อนปลูกยังคงมีความอ่อนนุ่มและร่วนซุยตลอดฤดู

8.ช่วยป้องกันการชะล้างและรักษาความชุ่มชื้นของดินเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ

การปรับปรุงบำรุงดิน

1. เลือกพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง(ห้ามตัดไม้ทำลายป่า)

2. ถ้าดินเป็นกรดจัดใส่หินปูนบดลดความเป็นกรด

3. ปลูกพืชตระกูลถั่วและไถกลบสำหรับทำปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ เป็นต้น

(โสนควรปลูกในนาถั่วต่างๆควรปลูกในไร่

4. ใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักเศษซากพืชเพื่อช่วยปรับโครงสร้างดินและให้ธาตุอาหารพืช

5. ดินขาดฟอสฟอรัสให้ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต

6. ดินขาดโพแทสเซียม ให้ใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว เกลือโพแทสเซียมธรรมชาติ และขี้เถ้าถ่าน ที่ถูกต้องและ

เหมาะสมที่สุดคงจะเก็บตัวอย่างดินและส่งวิเคราะห์

การปรับปรุงดินเพื่อสร้างความสมดุลให้แก่ดินโดยมีสมบัติที่ดีทั้งด้านเคมีกายภาพและ

ทางชีวภาพดังที่กล่าวมามีข้อพิจารณาดังนี้

Page 24: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307434

สิ่งที่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน

(1) ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากวัสดุในไร่นา เช่น ปุ๋ยหมักจากเศษพืช ฟางข้าว ขี้เลื่อยเปลือกไม้ เศษไม้

และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ

(2) ปุ๋ยคอกจากสัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ไม่ใช้อาหารจากสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม

(GMO)ไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโตและไม่มีการทรมานสัตว์

(3)ปุ๋ยพืชสดเศษซากพืชและวัสดุเหลือใช้ในไร่นาในรูปอินทรีย์สาร

(4)ดินพรุที่ไม่เติมสารสังเคราะห์

(5)ปุ๋ยชีวภาพและจุลินทรีย์ที่พบทั่วไปตามธรรมชาติ

(6)ปุ๋ยอินทรีย์และสิ่งขับถ่ายจากไส้เดือนดินและแมลง

(7)ดินอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

(8)ดินชั้นบน(หน้าดิน)ที่ปลอดจากการใช้สารเคมีมาแล้วอย่างน้อย1ปี

(9)ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายและสาหร่ายทะเลที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

(10)ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากพืชและสัตว์

(11) อุจจาระและปัสสาวะที่ผ่านกระบวนการหมักมาแล้ว (ใช้ได้เฉพาะกับพืชที่ไม่เป็นอาหารของ

มนุษย์เท่านั้น)

(12) ของเหลวจากระบบน้ำโสโครกจากโรงงานที่ผ่านกระบวนการหมักโดยไม่เติมสารสังเคราะห์

และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ

(13) วัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการในโรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้ำตาล

โรงงานมันสำปะหลัง โรงงานน้ำปลา โดยกระบวนการเหล่านั้นต้องไม่เติมสารสังเคราะห์ และต้องได้รับการรับรอง

อย่างเป็นทางการ

(14)สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชหรือสัตว์ซึ่งได้จากธรรมชาติ

(15) สารอนินทรีย์ ได้แก่ หินบด หินฟอสเฟต หินปูนบด (ไม่เผาไฟ) ยิบซั่ม แคลเซียม ซิลิเกต

แมกนีเซียมซัลเฟต แร่ดินเหนียว แร่เฟลด์สปาร์ แร่เพอร์ไลท์ ซีโอไลท์ เบนโทไนท์ หินโพแทส แคลเซียมจากสาหร่าย

ทะเล และสาหร่ายทะเล เปลือกหอย เถ้าถ่าน เปลือกไข่บด กระดูกป่น และเลือดแห้ง เกลือสินเธาว์ บอแรกซ์

กำมะถันและธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชเช่นโบรอนทองแดงเหล็กแมงกานีสโมลิบดินัมและสังกะสี

สิ่งที่ไม่อนุญาตให้ใช้ปรับปรุงดิน

(1)กากตะกอนจากแหล่งน้ำโสโครก(ห้ามใช้กับผัก)

(2)สารเร่งการเจริญเติบโต

(3)จุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม

(4)สารพิษตามธรรมชาติเช่นโลหะหนักต่างๆ

(5)ปุ๋ยเทศบาลหรือปุ๋ยหมักจากขยะในเมือง

Page 25: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 35

การปลูกพืช

การเตรียมดิน

การเตรียมดิน หมายถึง การปฏิบัติใดๆที่เกี่ยวกับดิน ได้แก่ กำจัดวัชพืช โรคพืช ศัตรูพืชที่อยู่ในดินจะทำให้

ดินร่วนซุยอุ้มน้ำเอื้อต่อการงอกของเมล็ดสามารถแยกออกเป็น2ตอนคือ

1. ขุดพลิกกลับหน้าดิน ตากแห้งทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์เพื่อให้แสงแดดทำลายวัชพืชรวมทั้งโรค

และแมลงที่อยู่ใต้ดินจะช่วยให้ดินย่อยง่ายขึ้น

2. ย่อยดินให้เล็กลงตามต้องการ เก็บวัชพืชและตอซังเดิมที่เหลืออยู่ให้หมด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยหมักเศษใบไม้แห้งคลุกเคล้ากับดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ร่วนซุยดีขึ้น

การเตรียมดินเป็นหัวใจของการปลูกพืชทั้งพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งมีหลักการคล้ายคลึงกันคือ

ก่อนปลูกพืชจำเป็นต้องพิจารณาสภาพพื้นที่ เนื้อดิน ปัญหาของดิน ชนิดพืชที่ปลูกเพื่อให้มีการเตรียมดินที่เหมาะสม

และประสบผลสำเร็จในการปลูกพืชการเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชจะแตกต่างกันตามชนิดของพืชดังนี้

การเตรียมดินสำหรับการปลูกผัก

การเตรียมดินปลูกผักจำเป็นต้องมีการเตรียมดินอย่างดีเพื่อให้เมล็ดผักซึ่งมีขนาดเล็กมีการงอกที่ดี ควรไถดิน

ลึก6-8นิ้วพลิกหน้าดินตากไว้ประมาณ7-10วันเพื่อฆ่าไข่แมลงและศัตรูพืชบางชนิดแล้วจึงไถคราดเพื่อกำจัดวัชพืช

ออกให้หมดทำการยกแปลงขนาดของแปลงขึ้นกับชนิดพืชผักที่ปลูก ถ้าดินมีปัญหาโดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

ต่ำกว่า6.5ควรใส่ปูนขาวอัตรา100-300กก./ไร่การหว่านปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในดินในพื้นที่ภาคใต้ก็ใช้หินปูน

ฝุ่น อัตรา 1000-1500 กก./ไร่ วัสดุปูนขึ้นอยู่กับพื้นที่ว่ามีปูนชนิดใดก็ใช้ตามที่มีในพื้นที่นั้น ในขณะใส่ปูนดิน

ควรมีความชื้นเพื่อให้ปูนมีการทำปฏิกิริยากับดินได้เร็วยิ่งขึ้นและควรปล่อยไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ ในขณะพรวนดิน

หลังจากยกแปลงแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ หรือขี้หมู จะทำให้ดินร่วนซุย เตรียมดินง่ายและ

ทำให้ดินมีความอุ้มน้ำดีมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้นนอกจากนี้ยังให้ธาตุอาหารแก่ดินในระดับหนึ่งพืชผักบางชนิด

ที่ต้องเพาะเมล็ดปลูกแปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร การเตรียมดินควรทำอย่างดีเช่นเดียวกันโดยยกหน้าดิน

ให้สูงประมาณ 10 ซม. ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อให้ดินร่วนซุย แต่งหน้าดินให้เรียบ สำหรับพืชผักที่ปลูกโดย

หว่านเมล็ดลงแปลง เมื่อหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วโรยทับลงไปบางๆ คลุมดินด้วยฟาง

หรือหญ้าแห้งบางๆ ส่วนพืชผักที่ปลูกเป็นหลุมก็เช่นเดียวกันเมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินละเอียดที่ผสมด้วย

ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก

วิธีการปลูก วิธีการปลูกพืชผักเราสามารถปลูกได้3วิธีคือ

1. การปลูกโดยอาศัยส่วนต่างๆ ของต้นพืช ประกอบด้วย ราก ลำต้น ใบ โดยการปักชำ การตอนกิ่ง

การโน้มกิ่งการแยกหน่อหรือหัวโดยวิธีการต่างๆดังนี้

1.1 รากส่วนใหญ่นำมาปักชำเช่นรากมันเทศเป็นต้น

1.2 ลำต้นนำมาปลูกโดยการปักชำการตอนกิ่งการโน้มกิ่งและการแยกหน่อหรือหัว

2. การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง เป็นวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปกับพืชผักที่มีการเจริญเติบโตได้ดีในที่ที่ไม่มีปัญหาน้ำ

และศัตรูพืชมากนัก พืชผักที่ปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงมักเป็นพืชผักที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และพืชผักที่มีระบบ

การงอกของรากไม่ดีไม่สามารถเพาะกล้าแล้วย้ายปลูกได้เมล็ดมีขนาดใหญ่เมล็ดมีราคาถูกมีการปฏิบัติดูแลรักษาง่าย

มีโรคและแมลงรบกวนน้อย หรือพืชผักที่ใช้รากหรือหัวเป็นอาหารก็นิยมปลูก ด้วยเมล็ดโดยตรง วิธีการปลูกพืชผัก

ด้วยเมล็ดมีดังนี้

Page 26: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307436

2.1การหว่านเมล็ดเป็นวิธีการที่ใช้กับพืชผักที่ใช้ใบเป็นอาหารมีอายุเก็บเกี่ยวสั้น

2.2การหว่านเมล็ดและถอนแยกเป็นวิธีที่ใช้กันมากในการปลูกพืชผักทั่วไปที่สามารถย้ายกล้าได้

2.3การปลูกด้วยการหยอดเป็นหลุม นิยมใช้กับพืชผักที่มีขนาดใหญ่ เมล็ดใหญ่ ต้นกล้าแข็งแรง และ

มีการเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

3. การปลูกด้วยการย้ายกล้า

กล้าผักคือพืชต้นอ่อนที่มีใบจริง2-3ใบหรือสูง5-10เซนติเมตรหรือมีอายุประมาณ21-30วันทั้งนี้แล้วแต่

ชนิดของพืชผัก

3.1แบบของการย้ายกล้า

3.1.1 แบบรากเปลือย เป็นการย้ายปลูกโดยถอนกล้าออกจากแปลงเพาะหรือกระบะเพาะโดยไม่มี

ดินติดรากเลยหรือมีก็น้อยมาก ส่วนมากจะทำได้เฉพาะพืชผักตระกูลมะเขือ พริก ตระกูลกะหล่ำ และผักกาดต่างๆ

เพราะพืชทั้ง2ตระกูลนี้มีอัตราการเจริญของรากใหม่ค่อนข้างเร็วทำให้อัตราการตายน้อย

3.1.2 แบบมีรากติดดิน ย้ายปลูกโดยถอนขุดจากแปลงเพาะหรือกระบะ ถุงพลาสติก กระถาง

ขนาดเล็กให้ต้นกล้ามีดินติดรากมากที่สุดส่วนกระทงกระดาษถ้วยกระดาษแท่งเพาะชำนั้นสามารถย้ายลงในดินได้

พร้อมกับกล้าเลยเพราะสามารถย่อยสลายในดินได้

3.2การย้ายกล้าผักไปปลูก

กล้าที่ถอนแล้วเมื่อนำไปปลูกระยะใกล้ๆควรใส่ภาชนะที่เหมาะสมเช่นบุ้งกี๋กระบะไม้หรือพลาสติก

ไม่ควรจะหอบหรือหิ้วจะทำให้ดินร่วงและกล้าช้ำ

3.3การปฏิบัติต่อกล้าหลังจากย้ายปลูกในแปลงหลังจากย้ายกล้าลงในแปลงแล้ว

3.3.1การให้น้ำควรให้สม่ำเสมอทั่วถึงและอย่างนุ่มนวล

3.3.2 การให้ปุ๋ยละลายน้ำฉีดพ่น จะช่วยให้ต้นกล้าฟื้นตัวและกระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

แต่ถ้าให้ปุ๋ยรองพื้นแล้วไม่ควรให้ปุ๋ยละลายน้ำฉีดพ่นอีก

3.3.3การพรางแสงแดดให้ต้นกล้า ในบางครั้งถ้าย้ายกล้าในช่วงเวลาแดดจัดและร้อนมากการพราง

แสงแดดโดยใช้กระทงกระดาษครอบหรือใช้ใบไม้ใหญ่หรือแผงฟางข้าวปิดบังด้านตะวันตกสำหรับป้องกันแดดตอนบ่าย

จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์การรอดของต้นกล้าสูงขึ้นปกติควรพรางแสงเพียงระยะสั้นๆเท่าที่จำเป็นถ้าต้นกล้าเริ่มแข็งแรงดี

ควรนำสิ่งพรางออกเพื่อให้ต้นผักได้รับแสงเต็มที่ต่อไป

3.3.4 การคลุมดิน การคลุมดินด้วยฟางทันทีรอบๆต้นกล้าผักจะช่วยรักษาความชื้นในดินและ

อุณหภูมิรอบๆกล้าผักให้สม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยป้องกันลมและลดอัตราการคายน้ำของต้นกล้า ทำให้เปอร์เซ็นต์

การรอดตายของต้นกล้าสูงขึ้น

การผลิตพืช

ในหลักการของข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรควรเลือกชนิดและพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพ

นิเวศการเกษตรและภูมิอากาศของท้องถิ่นนั้นรวมทั้งควรเป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลง

ในระบบการปลูกพืช ควรเลือกปลูกพืชที่หลากหลายชนิดและพันธุ์เพื่อสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของ

นิเวศฟาร์ม นอกจากนี้การปลูกพืชหลากหลายพันธุ์ยังเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายของพันธุกรรมพืชไว้ด้วย

ในการสร้างความหลากหลายของการปลูกพืชนี้ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน ที่มีพืชเป็นปุ๋ยพืชสดรวมอยู่ด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชตระกูลถั่วและพืชที่มีระบบรากลึกโดยจัดระบบการปลูกพืชให้มีพืชคลุมดินอยู่ตลอดทั้งปี

Page 27: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 37

สำหรับเมล็ดพันธุ์พืชและส่วนขยายพันธุ์ ควรเลือกพันธุ์จากแหล่งที่มีการ

ผสม/ปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการเกษตรอินทรีย์ และถ้าเป็นไปได้ควรเลือกพันธุ์ที่ได้

จากการเพาะปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์เป็นลำดับแรก ในกรณีที่ไม่สามารถหา

เมล็ดพันธุ์ที่ปรับปรุงพันธุ์ และ/หรือเพาะปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ จึงเลือกใช้

พันธุ์จากแหล่งที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ ซึ่งหน่วยงานรับรองบางแห่งอาจอนุญาต

ให้ใช้ได้เฉพาะแต่เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ แต่ต้องไม่มีการคลุกสารเคมี

ป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือบางแห่งอาจอนุญาตให้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีการคลุก

สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์ในลักษณะ

ที่กล่าวมาข้างต้นได้

หลักการผลิตพืชอินทรีย์

1.เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า3ปี

2. เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง

3.อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม

4.อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี

5.ห่างจากถนนหลวงหลัก

6.มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ

ความหมายของปุ๋ย

ปุย๋ คอื วตัถหุรอืสิง่ทีใ่สล่งไปในดนิเพือ่ใหพ้ชืเจรญิเตบิโตงอกงามและใหผ้ลผลติสงู วตัถอุาจเกดิขึน้ตามธรรมชาติ

หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นก็ได้ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆดังนี้

ปุ๋ย

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสฟอรัส ปุ๋ยโพแทสเซียม

ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี

Page 28: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307438

1. ปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง เช่น มูลสัตว์ต่างๆ ใบไม้ ฟางข้าว

เปลือกถั่ว ส่วนใหญ่ปุ๋ยชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการปรับปรุงดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืช ปุ๋ยอินทรีย์

แบ่งออกเป็น3ชนิดดังนี้

1.1ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่ได้จากการขับถ่ายออกจากร่างกายสัตว์เช่นมูลวัวควายมูลหมูมูลเป็ด−ไก่

1.2ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยที่ได้จากการหมักหญ้าแห้ง ใบไม้หรือฟางข้าว นำมาหมักรวมกันทิ้งให้เน่าเปื่อยผุพัง

กลายเป็นปุ๋ย

1.3ปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบ หรือฝังกลบพืชชนิดต่างๆ ลงในดินแล้วทิ้งให้เน่าเปื่อย พืชที่

นิยมปลูกเพื่อทำปุ๋ยพืชสดคือพืชตระกูลถั่ว

2. ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นตามกระบวนการทางเคมี เพื่อให้มีธาตุอาหาร

ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะปุ๋ยธาตุอาหารหลัก

ปุ๋ยธาตุอาหารหลักเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ ปุ๋ยในโตรเจน

ปุ๋ยฟอสฟอรัสปุ๋ยโพแทสเซียม

2.1ปุ๋ยในโตรเจนเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารพวกไนโตรเจนแก่พืชเช่นยูเรียแอมโมเนียซัลเฟต(ปุ๋ยน้ำตาล)

ปุ๋ยชนิดนี้จะทำให้ส่วนที่เป็นใบและลำต้นของพืชเจริญเติบโต จึงนิยมใส่ให้กับพืชผักที่กินใบ และลำต้น เช่น ผักบุ้ง

คะน้า

2.2ปุ๋ยฟอสฟอรัส เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารพวกฟอสฟอรัสแก่พืช เช่น ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยชนิดนี้จะ

เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชในส่วนที่เป็นรากและดอก จึงนิยมรองก้นหลุมก่อนปลูก และให้พืชผักที่กินดอก

ในช่วงใกล้ออกดอกเช่นกะหล่ำดอกบรอกโคลี

2.3ปุ๋ยโพแทสเซียม เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารโพแทสเซียมต่อพืช เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ ปุ๋ย

โพแทสเซียมไนเตรตปุ๋ยชนิดนี้จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชในส่วนที่เป็นรากและหัวทำให้มีรสชาติดีจึงนิยม

ใช้กับพวกไม้ผลและพืชหัวเช่นแครอตผักกาดหัว

การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี

1.ราคาถูกทำขึ้นใช้เองได้

2.ทำให้ดินร่วนซุยอุ้มน้ำถ่ายเทน้ำและระบายอากาศ

ได้ดี

3.ให้ปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำและต้องใช้ระยะเวลา

ในการสลายตัวปล่อยธาตุอาหารออกมาให้พืช

1.ราคาแพงต้องซื้อจากตลาด

2.เมื่อใช้ไปนานๆจะทำให้ดินแน่นระบายน้ำและ

อากาศไม่ดี

3.สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารได้และพืช

สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

Page 29: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 39

การให้น้ำ 1. ความต้องการน้ำของพืช

โดยปกติน้ำเข้าสู่พืชโดยทางรากในบางโอกาสเท่านั้นที่พืชอาจได้น้ำทางใบ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ

เซลล์พืช ในส่วนต่างๆ ของพืชจะมีน้ำโดยประมาณดังนี้ คือ ใบ 35−95% ราก 60−90% เนื้อของผล 70−90%

เนื้อไม้38−65%และเมล็ดแห้ง10-20%

2. การดูดน้ำของพืช

การดูดน้ำของพืชส่วนใหญ่จะผ่านทางขนรากกล่าวคือเมื่อพืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายไอน้ำจากใบจะทำให้

เกิดความต่างศักย์น้ำ(waterpotentialdifference)ขึ้นเป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนที่ของน้ำในดินเข้าไปภายในเซลล์

ของรากได้

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากน้ำเป็นตัวละลายอาหารในดินเป็นตัวกลางลำเลียง

ธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืช ช่วยในการสังเคราะห์แสง ปรับปรุงโครงสร้างของดินรักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะ

การขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตลดลงคุณภาพต่ำซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้

1. ปริมาณการให้น้ำขึ้นอยู่กับความต้องการของพืชแต่ละชนิดซึ่งมีความมากน้อยไม่เท่ากัน

ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ถ้าเป็นดินทรายควรใช้น้ำมากกว่าดินเหนียว และพิจารณาจากปริมาณน้ำฝน

ในแต่ละช่วงเดือนเพื่อกำหนดระยะเวลาการให้น้ำ

2.คุณภาพของน้ำน้ำที่ให้ต้องเป็นน้ำที่ไม่มีพิษเช่นน้ำจากผงซักฟอกน้ำเสียจากโรงงานน้ำประปา

ที่มีคลอรีนสูงถ้าจำเป็นต้องใช้ควรใส่ภาชนะทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยก่อน

3.วิธีการให้น้ำ

3.1 การให้จากผิวดิน โดยปล่อยน้ำจากคลองให้ท่วมแปลงหรือปล่อยน้ำไปตามร่องคูที่ทำไว้

ระหว่างแถวพืช หรือการให้น้ำแบบหยดโดยผ่านทางท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.035 ท่อน้ำอยู่บนผิวดินใกล้ๆ

โคนต้นไม้น้ำที่ไหลจะซึมซาบบริเวณรากเท่านั้นซึ่งได้ให้ประโยชน์อย่างเต็มที่และเป็นการประหยัดน้ำ

3.2 การให้น้ำพ่นเหนือดิน อาจทำได้โดยใช้บัวรดน้ำ แครง และการฉีดฝอยคล้ายฝน

ซึ่งประกอบด้วยหัวพ่นน้ำเป็นตัวจ่ายน้ำ3แบบคือแบบที่มีหัวฉีดติดตายอยู่กับท่อน้ำหมุนไม่ได้ซึ่งเหมาะกับสถานที่

เพาะชำแบบที่มีรูปพ่นน้ำที่มีหัวหมุนน้ำได้รอบตั้งทำมุมเท่าไรก็ได้นิยมใช้กันมากในการทำสวนผลไม้

ปัจจัยที่มีผลต่อการให้น้ำแก่พืชมีดังนี้

ก. สภาพแวดล้อมรอบๆต้นพืช ซึ่งได้แก่ ความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิ ความชื้นของ

อากาศและความเร็วลมเป็นต้น

ข. พืช ซึ่งได้แก่ ชนิดและอายุของพืช พืชแต่ละชนิดมีความต้องการน้ำแตกต่างกัน สำหรับพืช

ชนิดเดียวกัน การใช้น้ำจะน้อยเมื่อเริ่มปลูก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมากที่สุดเมื่อถึงวัยขยายพันธุ์ซึ่งพืชโตเต็มที่

จากนั้นจะค่อยๆลดลง

ค. ดิน ซึ่งได้แก่ ความชื้นในดิน เนื้อดิน ความสามารถอุ้มน้ำไว้ให้พืชใช้ได้ ความเข้มข้นของเกลือ

ในดินหรือสารเป็นพิษอื่นๆในดินเป็นต้น

ง. องค์ประกอบอื่นๆเช่นวิธีการให้น้ำการไถดินพรวนดินเป็นต้น

Page 30: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307440

การป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช

นอกจากศัตรูพืชจะทำความเสียหายให้แก่ผลผลิตของพืชผักสวนครัว การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจึงมีความ

จำเป็นอย่างยิ่งซึ่งศัตรูพืชสามารถแบ่งออกเป็น4ชนิดดังนี้

1. วัชพืช เป็นพืชชนิดอื่นๆที่ขึ้นอยู่ในแปลงปลูกนอกจากพืชหลัก เช่นหญ้าชนิดต่างๆที่ขึ้นอยู่บนแปลงปลูก

พืชผักสวนครัวซึ่งวัชพืชจะคอยแย่งอาหารและน้ำจากพืชผักสวนครัวทำให้พืชผักสวนครัวไม่เจริญเติบโต

วิธีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช

การตากดินก่อนปลูก โดยทิ้งระยะเวลาหนึ่งจะทำให้รากของวัชพืชแห้งและตายการขุดทำลายและ

การถอดวัชพืชออกจากแปลง

การใช้วัสดุคลุมดิน(ฟาง แกลบ พลาสติก)คลุมดินไว้จะทำให้วัชพืชตาย และเมล็ดของวัชพืชจะไม่

สามารถงอกได้อีก

การใช้สิ่งมีชีวิตด้วยกันเป็นตัวกำจัด เช่น การปล่อยด้วงงวงกำจัดผักตบชวา การปลูกพืชคลุมดิน ซึ่ง

นิยมในพืชตระกูลถั่วปลูกสลับกับพืชที่ต้องการผลผลิต

การใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือรดบริเวณโคนต้นวัชพืชเพื่อให้วัชพืชตาย เป็นวิธีการที่นิยมอย่างแพร่หลาย

เพราะเห็นผลได้เร็วทันใจแต่ต้องใช้อย่างถูกวิธีถ้าใช้ไม่ถูกวิธีจะส่งผลเสียต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมเช่น เกิดสารพิษสะสม

ในตัวผู้ใช้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและมีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

2. แมลงศัตรูพืช เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ลำตัวเป็นปล้องแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และ

ส่วนท้องมี6ขาแมลงศัตรูพืชทำความเสียหายให้แก่พืชเป็นอย่างมากด้วยวิธีการกัดกินใบลำต้นผลรากหรือดูดกิน

น้ำเลี้ยงจากต้นพืช เช่น หนอนกระทู้ หนอนกะหล่ำปลี ตั๊กแตน หนอนชอนใบ ด้วงงวง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ย

จักจั่น

วิธีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช

การไถพรวนดินการปลูกพืชหมุนเวียนการใช้พันธุ์พืชที่ทนทานต่อโรคและแมลง

การใช้มือเก็บไข่หนอนจับแมลงไปทำลายการติดตั้งกับดักกาวเหนียวการติดตั้งกับดักแสงไฟการใช้

มุ้งตาข่าย

การใช้สารสกัดจากสมุนไพร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมโดยใช้สารสกัดจากสมุนไพรไปฉีด

พ่นเพื่อไล่แมลงที่เป็นศัตรูพืชให้ออกจากแปลงปลูกเช่นสารสกัดจากสะเดาใบยาสูบกระเทียมขมิ้นชันตะไคร้หอม

การใช้สิ่งมีชีวิตจำพวกศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช เช่น หัวห้ำ เป็นแมลงหรือสัตว์อื่นที่กินแมลง

ศัตรูพืชเป็นอาหาร ทำให้แมลงศัตรูพืชตายทันที ตัวเบียน เป็นแมลงหรือสัตว์อื่นที่เกาะอาศัยกินอยู่ภายในหรือ

ภายนอกลำตัวของแมลงศัตรูพืชโดยการดูดกินเลือดจากแมลงศัตรูพืชนั้นๆ

การใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง เป็นวิธีการใช้ยากำจัดแมลงชนิดต่างๆ สารเคมีบางชนิดจะใช้วิธีการ

ฉีดพ่นให้ถูกตัวแมลงแล้วตายเนื่องจากยากำจัดแมลงเป็นสารเคมีที่มีพิษร้ายแรง

การใช้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น แต่งกายให้มิดชิด ขณะฉีดพ่นควรยืนเหนือลม หลังจากฉีดพ่น

แล้วจะต้องอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดทันที

3. สัตว์ศัตรูพืช เป็นสัตว์ที่ชอบกัดกินหรือทำลายส่วนต่างๆของต้นพืช ทำให้พืชเกิดความเสียหาย เช่น นก

หนูปูนากระแตค้างคาวหอยทากหอยเชอรี่

Page 31: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 41

วิธีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช

จับสัตว์เหล่านั้นมาทำลาย โดยใช้เหยื่อล่อ ใช้กับดัก ใช้ตาข่ายคลุมและวางวัสดุสะท้อนแสงในแปลง

พืชหรือทำหุ่นไล่กาป้องกันนก

ลดการจับทำลายสัตว์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของสัตว์ศัตรูพืชเช่นงูที่กินหนูเป็นอาหารนกกระยางที่กิน

ปูนา

ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาบริโภคปูนา

4. โรคพืช เป็นสิ่งที่ทำให้พืชมีลักษณะปกติ เป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตของพืช เช่น โรครากเน่า

โรคราสนิมโรคราน้ำค้างโรคใบจุดโรคใบหงิกโรคใบด่างเป็นต้น

วิธีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช

ก่อนปลูกควรขุดดินตากไว้ประมาณ2อาทิตย์

รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูกอยู่เสมอตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งหรือถอนวัชพืชที่เป็นโรคไปเผา

จัดให้แปลงปลูกมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสมไม่รดน้ำแฉะจนเกินไป

ปลูกพืชหมุนเวียนโดยเลือกพืชต่างตระกูลกันมาปลูกหมุนเวียนกันไปตลอดทั้งปี

ก่อนเก็บเมล็ดพันธ์ควรคลุกด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราแบคทีเรียก่อนที่จะนำไปปลูกในครั้งต่อไป

การผลิตสารอินทรีย์เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

การใช้สารสกัดพืชสมุนไพร

1. การใช้สารสกัดพืชสมุนไพรสารจากธรรมชาติได้แก่สารสกัดจากพืชเช่นสะเดาหางไหลใบยาสูบฯลฯ

และสารจากธรรมชาติอื่นๆ การตัดสินใจใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชต้องรอบคอบและคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น

หากจำเป็นต้องใช้ควรเลือกใช้สารจากธรรมชาติก่อน ส่วนสารชนิดอื่นๆ ควรเลือกเป็นอันดับสุดท้ายและใช้ชนิดที่

มีพิษเฉพาะเจาะจงเท่านั้น

1.1ยาสูบ ในประเทศไทยพบปลูกมากในภาคเหนือและอีสาน สารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช

ที่พบในยาสูบได้แก่สารนิโคตินพบสารในทุกส่วนของต้นพืช(ใบลำต้นดอกเมล็ดผล)แต่จะพบสารนิโคตินมากใน

ส่วนของใบและก้านใบ นิโคตินเป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย และมีพิษกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เวลาฉีดพ่น

ควรระมัดระวังอย่าให้ละอองยาถูกตัว หลังจากฉีดพืชแล้วต้องรอให้ตัวยาสลายตัว ประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถ

เก็บผลผลิตมาบริโภคได้

1.2สะเดา สะเดาที่ปลูกและพบได้โดยทั่วๆไปในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์ สารสกัดที่พบในสะเดา

และมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลงจะมีผลในการยับยั้งการลอกคราบของแมลง ยับยั้งการวางไข่ และเป็นสาร

ไล่แมลง ใช้ได้ผลดีกับหนอนชนิดต่างๆ เช่น หนอนเจาะยอดกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะ

สมอฝ้ายหนอนเจาะดอกมะลิเพลี้ยอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นและเพลี้ยไก่แจ้สำหรับเพลี้ยไฟและไรแดงใช้ได้ผลปานกลาง

Page 32: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307442

1.3โล่ติ๊น มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า หางไหล หางไหลแดง กะลำเพาะ (เพชรบุรี) เครือไหลน้ำ อวดน้ำ

ไหลน้ำ(ภาคเหนือ)โพตะโกส้า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)เป็นไม้เลื้อยชนิดเนื้อแข็งใบออกเป็นช่อมีใบย่อย7ใบได้แก่

หางไหลแดงและชนิดที่มีใบย่อย5ใบเรียกว่าหางไหลขาวชนิดที่นิยมปลูกกันมากและทำเป็นการค้าคือหางไหลแดง

สารสกัดที่ได้จากหางไหลและมีผลในการป้องกันกำจัดแมลง และเบื่อปลาทำให้ปลาสลบได้โดยไม่มีพิษต่อคน ได้แก่

สารโรติโนน ซึ่งพบมีปริมาณมากในส่วนรากของต้นหางไหล โดยสารโรติโนนจะออกฤทธิ์เหมือนสารกำจัดแมลง

ชนิดไม่ดูดซึมเข้าสู่ต้นพืช ออกฤทธิ์เป็นพิษโดยการกินหรือโดยการสัมผัส สารโรติโนนมีผลโดยตรงกับระบบ

การทำงานของไมโตคอนเดรียซึ่งอยู่ภายในเซลของร่างกาย

** ข้อควรระวังในการใช้โล่ติ๊น ** ไม่แนะนำให้ใช้กับแปลงผักหรือไม้ผลที่มีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้ๆ เช่น

แปลงที่ขุดเป็นร่องน้ำล้อมรอบแล้วเลี้ยงปลาไว้นอกจากนี้ยังทำลายแมลงที่มีประโยชน์พวกด้วงเต่าตัวห้ำด้วย

1.4สาบเสือ มีชื่อเรียกอื่นว่า ช้าผักคราด, ยี่สุ่นเถื่อน, เบญจมาศ, หญ้าฝรั่งเศส, หญ้าดอกขาว

หญ้าเหม็น ฯลฯ เป็นวัชพืชพบเจริญงอกงามอยู่โดยทั่วไปในพื้นที่ที่ไม่มีการพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืช เป็นไม้ล้มลุก

เจรญิงอกงามไดร้วดเรว็ จงึเหมาะทีจ่ะนำมาสกดัเปน็สารปอ้งกนักำจดัศตัรพูชืสารทีอ่อกฤทธิใ์นการควบคมุแมลงศตัรพูชืที่

พบในสาบเสือ พบทั้งในส่วนของดอกและในใบ แต่ในใบจะมีปริมาณของสารมากกว่าในดอก ใช้ได้ผลกับหนอนชนิด

ต่างๆเช่นหนอนใยผักหนอนกระทู้ผักเพลี้ยอ่อนและด้วงเขียว

1.5ตะไคร้หอม มีชื่อเรียกอื่นว่า ตะไคร้แดงตะไคร้มะขูด จะไคมะขูด เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่เกิดจากหัว

หรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เจริญแตกออกมาเป็นกอเหมือนกับตะไคร้ที่ปลูกเป็นพืชสวนครัวแต่ลำต้นมีขนาดใหญ่กว่า

เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยมีการระบายน้ำได้ดีมีแสงแดดมาก

สารที่ออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในตะไคร้หอม ปัจจัยที่ทำให้สารออกฤทธิ์มีค่าแตกต่างกัน

ได้แก่พันธุ์ของตะไคร้หอมที่พบมีอยู่หลายสายพันธุ์ได้แก่ตะไคร้หอมไทยพันธุ์ศรีลังกาพันธุ์ชวารวมถึงองค์ประกอบ

ทางด้านอายุในการเก็บเกี่ยว แหล่งที่ปลูก และวิธีการสกัดเอาสารมาใช้ จากผลการวิเคราะห์พบว่า ในใบตะไคร้หอม

จะมีสารออกฤทธิ์มากกว่าในส่วนของลำต้น อายุในการเก็บเกี่ยวควรอยู่ในช่วง 7-11 เดือน ตะไคร้หอมใช้ได้ผลในการ

ไล่หนอนกระทู้ผักหนอนใยผักด้วงถั่วเขียวและเพลี้ยจั๊กจั่น

1.6บอระเพ็ด มีชื่อเรียกอื่นว่า เจตมูล (ใต้) จุ่งจะลิง (เหนือ) เครือเขาฮอ (อีสาน) เป็นต้นไม้ที่มีรสขม

ขึ้นได้โดยทั่วไป เป็นไม้เลื้อยขึ้นพันตามต้นไม้ใหญ่ ปลูกง่ายและนำมาใช้ได้สะดวก สารที่พบในเถาบอระเพ็ดพืช

สามารถดูดซึมเข้าไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ จัดเป็นสารสกัดจากพืชประเภทดูดซึม ใช้ได้ผลกับเพลี้ยกระโดด

สีน้ำตาลเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว

1.7 ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกข้ามปีมีหัวอยู่ใต้ดินขึ้นเป็นกอลำต้นที่แท้จริงอยู่ใต้ดินเรียกเหง้าปลูกขึ้นง่าย

เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มและที่มีแสงแดด สารออกฤทธิ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชที่พบในขมิ้นชัน พบว่าพันธุ์ อายุ

และแหล่งปลูกเป็นปัจจัยที่ทำให้ปริมาณสารออกฤทธิ์มีค่าแตกต่างกัน ขมิ้นชันอินเดียพบสารออกฤทธิ์มากกว่าขมิ้นชัน

ไทย อายุเก็บเกี่ยวที่จะนำขมิ้นชันมาทำสารสกัดพืช ควรจะมีอายุระหว่าง 10-16 เดือน ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพ

ทั้งขับไล่และกำจัดแมลง ได้แก่ ด้วงงวง ด้วงถั่วเขียว มอดข้าวเปลือก มอดแป้ง ขับไล่หนอนใยผัก หนอนหลอดหอม

หนอนกระทู้ผักและแมลงวัน

Page 33: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 43

2. การทำกับดักจับแมลง

2.1 กับดักจับแมลงศัตรูพืชนวัตกรรมใหม่จากวัสดุเหลือใช้สีเหลือง แมลงศัตรูพืชส่วนใหญ่จะชอบบิน

เข้าหาวัตถุสีเหลืองมากที่สุด หากใช้วัสดุสีเหลือง เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง ตัดข้าง

ทั้งสองให้มีส่วนเหลือสลับกันเล็กน้อยดังรูป ส่วนล่างก้นแกลลอนตัดให้เหลือประมาณ 2 นิ้ว สามารถเติมน้ำหรือ

ของเหลวได้ผสมกากน้ำตาลกับน้ำอัตราส่วน1:1วางติดตั้งบนหลักหรือห้อยไว้ให้อยู่เหนือต้นพืชเล็กน้อยแล้วติดตั้ง

ในแปลงปลูกพืชผักห่างกันทุกๆ 2- 3 ตารางเมตร การใช้สารสกัดพืชสมุนไพร ได้แก่ มูลสัตว์ต่างๆ ที่เรียกว่า

“ปุ๋ยคอก” เศษพืช เศษขยะที่กองสุมไว้จะหมักและสลายจนหมด เรียกว่า “ปุ๋ยหมัก” และจากการปลูกพืชบำรุงดิน

พวกพืชตระกูลถั่วและไถ่กลบเรียกว่า“ปุ๋ยพืชสด”ปุ๋ยเหล่านี้เรียกว่า“ปุ๋ยอินทรีย์”

การทำปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ทำขึ้นโดยนำเศษพืชและมูลสัตว์มาหมักรวมกันแล้วย่อยสลาย

โดยกระบวนการทางจุลินทรีย์ จะมีสีน้ำตาลเข้ม มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินช่วยให้ดิน

อุ้มน้ำและดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น

การทำยากำจัดแมลงอย่าง่ายๆ

ยาฆ่าแมลงที่จำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดเป็นยาฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์สูง เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์มาก

ถ้าผู้ใช้ไม่มีความรู้และยังขาดความชำนาญอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นเราจึงควนเลือกยาฆ่าแมลงที่มี

อันตรายน้อยที่สุดซึ่งเราสามารถทำขึ้นใช้เองได้วิธีการทำง่ายๆไม่ยุ่งยากและไม่เกิดอันตรายในขณะใช้

1. โล่ติ๊น ใช้รากโล่ติ๊นแห้ง 1 กิโลกรัม มาทุบให้แตกนำไปแช่น้ำประมาณ10ปี๊บทิ้งไว้ 1 วัน กรองใส่

ภาชนะไว้ละลายสบู่หนัก30กรัม ในน้ำร้อนแล้วนำน้ำโล่ติ๊นมาผสมลงไปคนให้เข้ากันนำไปฉีดพ่นทันที ไม่ควรเก็บ

ไว้นานเพราะยาจะหมดฤทธิ์

2.ยาฉุนใช้ยาฉุนหนัก7กิโลกรัมแช่ด้วยน้ำ3ปี๊บนำไปต้มนาน1ชั่วโมงคั้นกากขึ้นแล้วกรองเอาแต่น้ำ

ละลายสบู่หนัก180กรัมในน้ำร้อนนำยาผสมรวมกันนำไปฉีดพ่นทันทีถ้าทิ้งไว้นานยาจะหมดฤทธิ์

ในการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงต้องใช้เครื่องฉีดพ่นที่อยู่ในสภาพดี ก่อนใช้ต้องตรวจสอบดูเสียก่อนว่ามีส่วนชำรุด

หรือไม่ใส่น้ำยาเพียงครึ่งถังเพื่อไม่ให้หนักเกินไปผู้ฉีดพ่นต้องแต่งกายให้รัดกุมใช้ผ้าปิด

ทำกับดักจับแมลง

กับดักจับแมลงศัตรูพืชนวัตกรรมใหม่จากวัสดุเหลือใช้สีเหลืองแมลง

ศัตรูพืชส่วนใหญ่จะชอบบินเข้าหาวัตถุสีเหลืองมากที่สุด หากใช้วัสดุสีเหลือง

เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่องสีเหลือง ถังพลาสติกสีเหลือง ตัดข้างทั้งสองให้มี

สว่นเหลอืสลบักนัเลก็นอ้ยดงัรปูสว่นลา่งกน้แกลลอนตดัใหเ้หลอืประมาณ2นิว้

สามารถเตมินำ้หรอืของเหลวได้ผสมกากนำ้ตาลกบันำ้อตัราสว่น1 : 1 วางตดิตัง้

บนหลักหรือห้อยไว้ให้อยู่เหนือต้นพืชเล็กน้อย แล้วติดตั้งในแปลงปลูกพืชผัก

ห่างกันทุกๆ 2- 3 ตารางเมตร แมลงก็จะเข้ามาหาสีเหลืองและแมลงบางชนิด

เมือ่ไดก้ลิน่หอมของนำ้ตาลกจ็ะเขา้มากนินำ้ตาลแลว้ตกลว่งไปในนำ้สว่นของเหลว

บางส่วนบินชนขอบข้างที่ยื่นออกมาของขวดติดกับดักอย่างง่ายดาย ก็จะลด

อัตราการทำลายของแมลงกับพืชผักของเราได้อย่างมาก แมลงศัตรูพืชที่เข้ามา

Page 34: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307444

ติดกับดักสีเหลืองได้แก่ แมลงวันหนอนชอนใบ ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้หลอดหอม ผีเสื้อกลางคืนของหนอน

ใยผัก ผีเสื้อกลางคืนของหนอนกระทู้ผัก ผีเสื้อกลางคืนของหนอนคืบกะหล่ำ แมลงวันทอง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ

เพลี้ยจั๊กจั่นเพลี้ยอ่อนและแมลงอื่นๆ

วิธีที่ 1

1. นำพริกไทยป่นคลุกน้ำตาลปี๊บให้เหลวและเหนียวเป็นแป้งเปียก แล้วทากระดาษนำไปวางในที่มีแมลงวัน

เมื่อแมลงวันลงไปกินน้ำตาลนั้นมันจะตายทันที

2.ใช้น้ำเชื่อม ยิ่งข้นยิ่งดี ผสมกับพริกไทยป่นประมาณ 1 ส่วน แล้วนำไปตั้งไว้ในที่แมลงวันชุม แมลงวันจะ

เข้ามากินน้ำเชื่อมและจะตกตายอยู่ตรงนั้นเอง

วิธีที่ 2 กับดักแมลงวัน มีวิธีการทำที่ง่ายและประหยัดดังต่อไปนี้

วัสดุและอุปกรณ์

1.ขวดน้ำดื่มพลาสติกแบบใส

2.กรรไกร

3.คัตเตอร์

4.เทปกาวสีดำที่ใช้พันสายไฟ

วิธีทำ

1.ใช้คัตเตอร์ตัดขวดน้ำพลาสติกออกเป็น2ส่วนตัดให้ส่วนบนวัดตั้งแต่ปากขวดลงมาสูงประมาณ14ซม.

(ดังรูปที่1)2.นำส่วนบนด้านคอขวดคว่ำสวมเข้าไปในขวดน้ำส่วนล่างนำเทปกาวสีดำปิดให้ขวด

2.ส่วนติดสนิทและติดเทปกาวให้ได้ขอบสูงประมาณ2-3นิ้ว(ดังรูปที่2)

3.ตัดช่องเจาะรูบริเวณที่ติดเทปกาวสีดำ จะเจาะเป็นรูกลม รูสี่เหลี่ยมก็ได้ โดยเจาะให้กว้างพอที่แมลงวัน

บินเข้าไปได้สะดวก(ดังรูปที่2)

4.หาภาชนะใส่เหยื่อเพื่อล่อแมลงวัน ซึ่งอาจใช้ถ้วยเล็กๆ แล้วนำเปลือกกุ้ง เศษเนื้อปลาที่มีกลิ่นเหม็นใส่

ลงไป เพราะกลิ่นของเศษอาหารจะเป็นตัวล่อแมลงวันให้บินเข้าไปในกับดัก เครื่องดักจับแมลงวันนี้ติดเทปกาวสีดำ

บังแสง เมื่อแมลงวันบินเข้าไปกินเศษอาหาร โดยตามธรรมชาติของแมลงวันจะบินขึ้นสู่ที่สูงในแนวตั้งเหมือน

เฮลิคอปเตอร์ขวดพลาสติกสีใส เมื่อแมลงวันแหงนมองดูก็คิดว่าเป็นท้องฟ้าจึงบินขึ้นไปติดกับดักและขังตัวอยู่ข้างบน

ซึ่งแมลงวันไม่สามารถบินหลุดผ่านช่องคอขวดลงมาได้ เพราะมันจะบินขึ้นข้างบนอย่างเดียว กับดักแมลงวันนี้ เมื่อมี

แมลงวันบินเข้าไปจนเต็มจึงนำไปกำจัดโดยการนำไปผึ่งแดดสักพักแมลงวันก็จะตายไปในที่สุดการทำกับดักแมลงวัน

สามารถทำได้อย่างง่ายๆโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและประหยัดอีกทั้งได้ผลในการกำจัดแมลงวัน

Page 35: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 45

2.2 การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง จากผลการทดลองพบว่า การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองในการ

ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช จะช่วยลดแมลงศัตรูพืชได้มากในระยะแรกของการทำเกษตรธรรมชาติ เพราะใน

ช่วงนั้นมีแมลงศัตรูธรรมชาติหรือตัวห้ำตัวเบียนอยู่น้อย แต่ถ้าทำเกษตรธรรมชาติไประยะหนึ่งและมีแมลงศัตรู

ธรรมชาติมากพอ ก็ไม่มีความจำเป็นในการใช้กับดักกาวเหนียวอีก ก็สามารถปลูกพืชได้ผลดี นอกจากนี้กับดัก

กาวเหนียวยังเหมาะสำหรับการปลูกพืชผักกางมุ้ง หรือปลูกใน Green House รวมทั้งแปลงเกษตรทั่วไปที่เกษตรกร

ต้องการลดการใช้สารเคมีอีกด้วย ในปัจจุบันมีเกษตรชาวสวนผลไม้นำเอากาวเหนียวสีเหลืองนี้ ไปทารอบโคนต้น

ผลไมเ้พือ่ปอ้งกนัมดซึง่จะมผีลตอ่การปอ้งกนัพวกเพลีย้ตา่ง ๆ ไดผ้ลดี เชน่ เกษตรกรชาวสวนทเุรยีนแถบภาคตะวนัออก

เป็นต้น

ปลูกพืชไล่แมลง

การใช้สมุนไพรไล่แมลง เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชไม่แพ้การใช้สารเคมี

ซึ่งการใช้สารเคมีมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแมลงที่มีประโยชน์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ได้รับผลกระทบด้วยรวมทั้งส่งผล

กระทบต่อมนุษย์โดยตรงข้อดีของการใช้สมุนไพรไล่แมลงคือมีราคาถูกปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้ใช้

เกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับสมุนไพรไล่แมลง

สมุนไพรไล่แมลงพืชที่มีส่วนต่างๆเช่นใบดอกผลรากเปลือกมีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดแมลงการออกฤทธิ์

ของสมุนไพรมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือมีผลต่อระบบประสาทและระบบหายใจของแมลงทางอ้อม เช่น

ยับยั้งการกินอาหารของแมลงยับยั้งการลอกคราบ

พืชสมุนไพรไล่แมลงบางชนิด

ชื่อพืช ส่วนที่นำมาใช้ ประสิทธิภาพ

สะเดา เมล็ด ไล่แมลงฆ่าหนอนเพลี้ยอ่อน

สาบเสือ ต้นใบ หนอนกระทู้หนอนใยผักเพลี้ยต่างๆ

โหระพา ใบ เพลี้ยแมลงวันยุง

แมงลัก ใบ ยุง

ตะไคร้หอม เหง้าใบ ยุงแมลงหนอนกระทู้หนอนใยผัก

พริก ผล หนอนผีเสื้อมดเพลี้ยอ่อนเชื้อราและไวรัส

กระเทียม หัว ด้วงถั่วหนอนผีเสื้อกะหล่ำเชื้อราและแบคทีเรีย

ดาวเรือง ดอก หนอนใยผักเพลี้ยอ่อน

ผกากรอง ใบเมล็ด หนอนกระทู้เพลี้ย

มะละกอ ใบ เชื้อรา

น้อยหน่า เมล็ด เพลี้ยอ่อนหนอนใยผัก

ชุมเห็ดเทศ ต้น ไล่มด

ข่า หัวเหง้า แมลงวันทอง

รัก ผล ปลวก

คูณ เนื้อในฝักเปลือก หนอนกระทู้ฆ่าปลวก

Page 36: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307446

การปลูกพืชสมุนไพรกันแมลง ให้ปลูกที่ขอบแปลงก่อน เช่น กุ๋ยฉ่าย คื่นฉ่าย และระหว่างแปลงก็ทำการปลูก

กระเพราโหระพาพริกต่างๆเพื่อป้องกันแมลงก่อนที่จะทำการปลูกพืชผักพอครบกำหนด7วันพรวนดินอีกครั้งแล้ว

นำเมล็ดพันธุ์พืชมาหว่าน แต่เมล็ดพันธุ์พืชส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีจึงต้องนำเอาเมล็ดพันธุ์ผักมาล้าง

โดยการนำน้ำที่มีความร้อน(50-55C)วัดได้ด้วยความรู้สึกของตัวเราเองคือเอานิ้วมือจุ่มลงไปถ้าทนความร้อนได้ก็ให้

นำเมล็ดพันธุ์พืชแช่ลงไป นาน 30 นาที แล้วจึงนำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดาหรือสะเดาผงแล้วนำไปหว่านลงแปลง

ที่เตรียมไว้คลุมฟางและรดน้ำ

การปลูกพืชอินทรีย์ปลูกได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนแต่จะต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่องแล้วต้องปลูก

พชืสมนุไพรสลบัลงไปในแปลงพชืผกัเสมอ แลว้ตอ้งทำใหพ้ชืสมนุไพรตา่งๆ เกดิการชำ้ จะไดม้กีลิน่ ไมใ่ชป่ลกูเอาไวเ้ฉยๆ

การปลูกพืชแนวตั้งคือพืชที่ขึ้นค้าง เช่น ถั่วผักยาวมะระจีนฯลฯและแนวนอนคือพืชผักต่างๆคะน้า กระหล่ำปลี

ปวยเล้งตั้งโอ๋ฯลฯทุกพืชที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์

การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงเพื่อไล่แมลง ยังสามารถนำเอาพืชสมุนไพรเหล่านี้ไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

หลังจากทำการเก็บเกี่ยวพืชผักแล้วควรรีบทำความสะอาดแปลงไม่ควรทิ้งเศษพืชที่มีโรคแมลงไว้ในแปลง ให้รีบนำไป

ทำลายนอกแปลงส่วนเศษพืชที่ไม่มีโรคแมลงก็ให้สับลงแปลงเป็นปุ๋ยต่อไป

ใช้เชื้อจุลินทรีย์

สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชมักมีการตกค้างในพืชผักหากล้างไม่สะอาดมีสารเคมีตกค้างอยู่เมื่อรับประทาน

เข้าไป สารเคมีเหล่านั้นจะสะสมในร่างกายทำให้เกิดอันตรายได้ จึงได้มีการคิดค้นสารชีวภาพขึ้น เพื่อใช้ในการขับไล่

และกำจัดแมลงโดยผลิตจากพืชหรือสัตว์ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลรักษาพืชตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

วิธีการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์การนำเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไปใช้ในการควบคุมโรคพืชนิยมนำไปใช้กับโรคพืช

ที่เกิดบริเวณผิวรากหรือบริเวณผิวพืชที่อยู่เหนือดินซึ่งการใช้เชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคจะมีกรรมวิธีการใช้แตกต่างกันคือ

1. บริเวณผิวราก จะมีกรรมวิธีการใช้เชื้อปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคได้หลายแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ

ความสะดวกในการปฏิบัติของผู้ใช้และแต่ละวิธีอาจให้ประสิทธิภาพการควบคุมโรคได้ไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย

หลายอย่างเช่นคุณสมบัติของพืชเองและลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีหลายรูปแบบ

1.1 การคลุกเมล็ด นิยมใช้กับพืชที่ใช้เมล็ดในการเพาะปลูก โดยเมล็ดจะต้องมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก

ช่วยให้คลุกง่ายและไม่สิ้นเปลืองผลเชื้อมักนิยมคลุกเมล็ดก่อนปลูก

1.2 การราดดิน เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันมากแต่จะไม่ค่อยสะดวก หากจะนำไปใช้ในสภาพไร่ของ

เกษตรที่น้ำไม่เพียงพอและถ้าปลูกพืชเป็นปริมาณมากก็จะยิ่งไม่สะดวกในการปฏิบัติ

1.3 การคลุกดิน เป็นวิธีการนำเอาผงเชื้อหรือสารละลายเชื้อปฏิปักษ์ใส่ไปในดินและคลุกเคล้าผสม

กันให้ทั่วก่อนปลูกพืชซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวก

1.4การจุ่มรากเป็นวิธีที่นิยมใช้กันกับพืชที่ต้องเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าไปปลูกเช่นมะเขือเทศพริก

หรือพืชที่มีเมล็ดพันธุ์ราคาแพง โดยจะต้องทำให้ดินบริเวณรากหลุดออกให้หมดก่อนนำไปจุ่มในสารละลายเชื้อ

ที่เข้มข้นแล้วจึงนำไปปลูกในแปลงต่อไป วิธีนี้จะทำให้เชื้อปฏิปักษ์ควบคุมโรคได้ดี เพราะรากจะสัมผัสกับเชื้อได้หมด

ทุกส่วนไม่ก่อให้เกิดช่องว่างให้เชื้อโรคเข้าทำลาย

Page 37: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 47

2. บริเวณผิวพืชอยู่เหนือดิน มีวิธีใช้ที่นิยม 2 วิธีคือ

2.1 การทา เป็นวิธีที่นิยมใช้กับพืชยืนต้นที่ถูกทำลาย มีแผลปรากฏให้เห็นชัดเจนบนส่วนของต้น

หรือกิ่ง บริเวณที่สามารถนำเอาเชื้อปฏิปักษ์ที่เตรียมให้มีความเข้มข้นและเหนียวไปทา เพื่อให้ยึดติดกับผิวพืชได้คงทน

2.2 การพ่น เป็นวิธีที่นิยมใช้กับพืชที่ปลูกเป็นปริมาณมากหรือมีลำต้นสูง ซึ่งใช้หลักการปฏิบัติ

เช่นเดียวกับการพ่นสารเคมีกำจัดโรคพืช

น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากผัก

ขั้นตอนการทำ

1. นำเศษ ผัก ผลไม้ ใส่ในถังหมักผสมกับกากน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตรากากน้ำตาล 1 ส่วนต่อพืช

ผักผลไม้3ส่วนคลุกให้เข้ากันหรือถ้ามีปริมาณมากจะโรยทับกันเป็นชั้นๆก็ได้

2. ใช้ของหนักวางทับบนพืชผักที่หมักเพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างเศษพืชผักของหนักที่ใช้ทับควรมีน้ำหนัก

ประมาณ1ใน3ของน้ำหนักพืชผักวางทับไว้1คืนก็เอาออกได้

3. ปิดฝาภาชนะที่หมักให้สนิท ถ้าเป็นถุงพลาสติกก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไป

ได้เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์หมักดองลงไปทำงาน

4.หมักทิ้งไว้3–5วันจะเริ่มมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่เกิดขึ้นจากการละลายตัวของน้ำตาลและน้ำเลี้ยง

จากเซลล์ของพืชผัก น้ำตาลและน้ำเลี้ยงเป็นอาหารจุลินทรีย์ จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมาย พร้อมกับ

ผลิตสารอินทรีย์หลายหลายชนิดดังกล่าวข้างต้นของเหลวที่ได้เรียกว่า“น้ำสกัดชีวภาพ”

5. เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณมากพอประมาณ10 – 14 วัน ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะ

พลาสติก อย่ารีบถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกมากเกินไปเพราะเราต้องการให้มีปริมาณจุลินทรีย์มากๆ เพื่อเร่งกระบวนการ

หมักน้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ๆ กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์จะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นต้องคอย

เปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ

6. ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัดๆน้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมัก

สมบูรณ์แล้วถ้าปิดฝาสนิทสามารเก็บไว้ได้หลายๆเดือน

7. กากที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้หรือคลุกกับดินหมักเอาไว้ใช้

เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้ น้ำสกัดชีวภาพที่มีคุณภาพดีจะมีกลิ่นหมักดองและมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้าง มากน้อยขึ้นอยู่กับ

ปริมาณน้ำตาลและปริมาณผลไม้ที่หมัก

วิธีการใช้

1.ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำในอัตรา1ส่วนต่อน้ำ500-1,000ส่วนหรือ2ช้อนโต๊ะต่อน้ำ1ปีบรดน้ำ

ต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ

2.เริ่มฉีดพ่นเมื่อพืชเริ่มงอกก่อนเป็นโรคและแมลงที่มารบกวนและควรทำในตอนเช้าหรือหลังจากฝนตกหนัก

3.ควรให้อย่างสม่ำเสมอและในดินต้องมีอินทรีย์วัตถุอย่างพอเพียงเช่นปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหญ้าแห้งใบไม้แห้ง

และฟางเป็นต้น

4.ใช้กับพืชทุกชนิด

5. น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะจะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น และจะได้ต้นกล้า

ที่แข็งแรงและสมบูรณ์

Page 38: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307448

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น ทรัพยากร

ธรรมชาติมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่เกิดขึ้น

จากการกระทำของมนุษย์มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ดังนั้นมนุษย์จึงควรมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากร

ธรรมชาติ

นักอนุรักษ์วิทยาได้แบ่งชนิดของทรัพยากรธรรมชาติตามลักษณะและการใช้ประโยชน์ในกรณีที่มนุษย์นำไปใช้

ออกเป็น3ประเภทด้วยกันคือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติที่หมุนเวียนได้หรือใช้ไม่รู้จักหมดเป็นทรัพยากรที่ก่อกำเนิดมาพร้อมๆกับมนุษย์

และเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หากขาดทรัพยากรดังกล่าวแล้วมนุษย์จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ได้แก่

อากาศ น้ำ แสงอาทิตย์ ถ้าหากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดทำให้ทรัพยากรเหล่านี้ขาดหายไปหรือมีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษ เป็นสิ่งแรก

ที่จะทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ไม่ได้หรืออยู่ได้แต่ก็ไม่ดี

2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถทดแทนได้ ได้แก่ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถเกิดขึ้น

ทดแทนได้ทั้งในเวลาสั้นหรือระยะเวลายาวแต่เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการมีชีวิตของมนุษย์ เป็นทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ต่อมนุษย์ เช่น พืช ป่าไม้ สัตว์ ดิน และน้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นปัจจัยสี่ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

ถ้าขาดทรัพยากรพวกนี้แล้วมนุษย์ก็อาจจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ หรือถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดขาดหายหรือไม่สมบูรณ์แล้ว ก็อาจ

มีผลกระทบต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

3. ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ใช้แล้วจะหมดไปจากโลกนี้ เมื่อหมดไป

แล้ว ไม่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ บางชนิดอาจเกิดทดแทนได้แต่ต้องใช้เวลาเป็นล้านๆปี เช่น น้ำมันปิโตรเลียม

ก๊าซธรรมชาติแร่เป็นต้น

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต บางชนิดมีอยู่ตามธรรมชาติ บางชนิด

มนุษย์สร้างขึ้น

สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์กินพืชเป็นอาหาร พืชใช้ดินเป็นที่ยึดเกาะราก

และได้รับธาตุอาหารจากดินเป็นต้น

มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้พืชเป็นอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย ได้รับอากาศบริสุทธิ์จากพืช

ใช้สัตว์เป็นอาหารและเป็นสัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่นและใช้งานเป็นต้น

สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นแบ่งเป็น2ส่วนใหญ่ๆคือ

1.สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศแม่น้ำลำคลองทะเลสาบมหาสมุทรพื้นดินแร่ธาตุ

ภูเขาป่าไม้และสัตว์ต่างๆเป็นต้น

2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอดจน

ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมระบบเศรษฐกิจและสังคม

Page 39: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช03074 49

มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต มนุษย์ต้องการอากาศเพื่อหายใจต้องการน้ำไว้ใช้ในการ

อุปโภคบริโภคต้องการอาหารต้องการที่อยู่อาศัยมนุษย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมด้วย

ปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหน้าที่

ของทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบช่วยกันป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นดังนี้

1. ช่วยกันปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้ไว้ให้มากๆ เพราะว่าต้นไม้ช่วยดูดก๊าซพิษในอากาศ ทำให้

อากาศบริสุทธิ์

2.ช่วยกันรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำต่างๆไม่มักง่ายทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลองโรงงานอุตสาหกรรม

ไม่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง

3.ช่วยกันปลูกพืชคลุมดินเช่นต้นไม้หญ้าเป็นต้นเพื่อรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์และใส่ปุ๋ยให้ถูกวิธี

4. ช่วยกันปฏิบัติตามกฎจราจร และใช้รถบริการประจำทางเพื่อลดจำนวนรถยนต์ และความเป็นระเบียบ

ปลอดภัยบนท้องถนน

5.ช่วยกันปลูกพืชสมุนไพรเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

6.ช่วยกันรักษาพืชประจำท้องถิ่นรณรงค์ปลูกข้าวปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน

7.ช่วยกันทำปุ๋ยชีวภาพใช้เพื่ออนุรักษ์รักษาหน้าดินโดยการนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาทำเป็นปุ๋ย

คุณธรรมในการประกอบอาชีพ

คุณธรรม

คุณธรรมคือคุณงามความดีที่เราแสดงออกเช่น

1.ความขยันหมั่นเพียรมีความขยันในการปฏิบัติงาน

2.อดทนการทำงานต้องมีความเข้มแข็งอดทนต่อสภาพที่เกิดขึ้นทุกขณะงานจะหนักจะเบาเราต้องทำ

3.ความซื่อสัตย์มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองต่อหมู่คณะเพื่อนร่วมงานและนายจ้าง

4.สุจริตเป็นคนตรงไม่เอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่นไม่คดโกงถือคติ“ซื้อกินไม่หมดคดกินไม่นาน”

5.ความรับผิดชอบมีความรับผิดชอบงานที่มอบหมายให้ทำจนสำเร็จถูกต้องนายจ้างพอใจ

6.ความเข้าใจตนเองและสังคมคือเป็นคนไว้ใจซึ่งกันและกัน

ปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพ

ปัญหาด้านกระบวนการผลิต จากการสอบถามกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักอินทรีย์ สรุปปัญหาและอุปสรรค

ในการผลิตผักอินทรีย์ได้ดังนี้

(1)ความไม่เพียงพอของแหล่งน้ำที่จะใช้ได้ตลอดทั้งปี

(2)ภัยจากธรรมชาติ

(3)ขาดแคลนแหล่งสินเชื่อ

(4)ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง

(5)ขาดความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านโรคพืชและแมลง

(6)ผลผลิตจะไม่ออกทั้งปีแต่ออกตามฤดูกาลเพราะเกษตรอินทรีย์เป็นการทำการเกษตรที่พึ่งพา

อาศัยธรรมชาติมากกว่าการฝืนธรรมชาติซึ่งจะทำให้ต้องการใช้สารเคมีมากขึ้นตามไปด้วย

Page 40: ตอนที่ 1 - korat.nfe.go.thkorat.nfe.go.th/ebook_farm/chapter/chap1.pdf · การทำเกษตรประยุกต์ อช0307411 หลักการเกษตรอินทรีย์

การทำเกษตรประยุกต์ อช0307450

(7)ราคาผลผลิตจะสูงกว่าเพราะแม้จะใช้ปัจจัยในการผลิตลดลงแต่ต้องใช้แรงงานในการดูแลและ

เอาใจใส่มากขึ้น

ปัญหาด้านการตลาด จากกระแสด้านการบริโภคที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจกับความปลอดภัยในการ

บริโภคอาหารที่ปลอดจากการปนเปื้อนของสารเคมีที่จะทำให้ร่างกายได้รับผลในเรื่องความเจ็บป่วยต่างๆ ประกอบ

ด้วย ความจำเป็นที่จะต้องหันมาให้ความสนใจในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ถูกใช้จนเสื่อมโทรมลง

ทำให้การทำเกษตรอินทรีย์ถูกนำมาพัฒนาใช้ในการผลิตที่จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัยต่อการบริโภคและยังเป็น

ระบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผลผลิตที่ผลิตด้วยระบบเกษตรอินทรีย์จึงมีความ

ต้องการเพิ่มขึ้น ราคาของพืชผักอินทรีย์ทั่วไปจะสูงกว่าพืชผักที่ผลิตแบบใช้สารเคมีเป็นปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 20% -

50% ดังนั้น ปัญหาของปริมาณความต้องการของตลาดยังสามารถขยายการผลิตได้ แต่ปัญหาการตลาดของพืชผัก

อินทรีย์ในขณะนี้สรุปได้ดังนี้

(1) ปัญหาเรื่องการจัดการด้านตลาดที่ต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการด้านการตลาด

ที่มีประสิทธิภาพ

(2)ปัญหาเรื่องห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาและรวบรวมผักเพื่อจำหน่าย

(3) ปัญหาด้านการขนส่งที่จะต้องขนส่งด้วยรถห้องเย็น เนื่องจากพื้นที่ที่ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่

จะอยู่ห่างไกลจากชุมชน

(4) ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงข้อดีของผักอินทรีย์ที่แตกต่างจากผักทั่วไปที่ผลิตโดย

ใช้สารเคมีเป็นปัจจัยการผลิตที่อาจมีสารตกค้างที่มีอันตรายต่อผู้บริโภค

(5) ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการผลิตแบบใช้สารเคมีเป็นปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการ

ตรวจสอบฟาร์มและผลผลิตที่จะได้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าและต้องการการดูแลสูงค่าแรงในการทำการผลิตก็จะสูงไปด้วย