ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ......

55
ระน โรงเยน สาต ลเญคณะกษาศาสต มหาทยายรพา ภาษาไทย ระบนประถมกษา

Upload: others

Post on 06-Nov-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

ระพิน ชูชื่น โรงเรียน สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา

Page 2: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ...

ชนิดของคำ

คำนาม

คำสรรพนาม

คำกริยา

คำวิเศษณ์

คำบุพบท

คำสันธาน

คำอุทาน

แบบฝึกหัด

การอ้างอิง

คำอุทาน

คำบุพบท

คำสันธาน

คำวิเศษณ์

คำสรรพนามคำกริยา

คำนาม

Page 3: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

ชนิดของคำ

คำนาม

เก้าอี้พ่อแม่

ความดี

ผู้อำนวยการ

คำสรรพนาม

ฉัน ผม

ท่าน เธอเขา มัน

คำกริยา

นอน ร้องไห้

คล้าย

จะ

คำวิเศษณ์

ใหญ่ เหนือ

ทั้ง เขียว

เปรี้ยวใกล้คำอุทาน

โอ๊ย พุทโธ่

อนิจจา

วัดวา ลูกเต้า

คำบุพบท

ด้วย และ

ตาม

โดย เพื่อ

คำสันธาน

กับ แต่

แม้ว่า

เพื่อ

คำในภาษาไทย สามารถแบ่งได้ตามความหมายและหน้าที่ได้ ๗ ชนิด ดังนี้๑

Page 4: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำนาม

คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ พืช สถานที่ สิ่งของ สภาพอาการ ลักษณะซึ่งหมายรวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น วิภาดา กวาง ปลา โรงพยาบาล ความสุข มหาสมุทร ฯลฯ

คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิดด้วยกัน๒ คือ

✦ คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ (สามานยนาม)

✦ คำนามที่ชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม)

✦ คำนามที่บอกลักษณะของนาม (ลักษณนาม)

✦ คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม)

✦ คำนามบอกอาการ (อาการนาม)

Page 5: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำนาม

คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ (สามานยนาม) คือ คำนำที่ใช้เรียกชื่อทั่ว ๆ ไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ปากกา แม่น้ำ โรงเรียน เสื้อผ้า สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ครู อาจารย์ ปู่ ย่า นก หนู งู ทะเล ลำคลอง สำนักงาน รถยนต์ ฯลฯ

คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ (สามานยนาม)

✦ พ่อชอบอ่านหนังสือ

✦ แม่กำลังล้างชาม

✦ ผู้ใหญ่บ้านจับช้างได้ ๑ เชือก

✦ อากาศในกรุงเทพฯ กำลังร้อนจัด

✦ เด็ก ๆ กำลังเล่นคอมพิวเตอร์

Page 6: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำนาม

คำนามชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะที่สมมุติตั้งขึ้นสำหรับเรียก คน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เพื่อให้รู้ชัดว่า คนนี้ สัตว์ตัวนี้ ของสิ่งนี้๓ เช่น

คำนามชี้เฉพาะ (วิสามานยนาม)

ชื่อคน สนั่นเป็นคนใจดี

มานะและมานีเป็นเพื่อนกัน

ชื่อสัตว์ เอราวัณเป็นช้างอยู่บนสวรรค์

ชื่อสถานที่ เขาไปสมัครงานที่กระทรวงศึกษาธิการ

ฉันไปเที่ยวกับพ่อที่ประเทศอิตาลี

โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นโรงเรียนที่ฉันกำลังเรียนอยู่

ข้อสังเกต

วิสามานยนามนี้ต้องเป็นคำใช้เป็นชื่อตั้งขึ้น เรียกคนคนเดียว สัตว์ตัวเดียว และของสิ่งเดียว ถึงจะเป็นชื่อหมู่คณะต้องเป็นหมู่เดียว คณะเดียว เช่น

ชาติ ชาติไทย หมายถึงชาติไทยชาติเดียว

โรง เรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา” โรงเรียนเดียว ถึงแม้จะเผชิญมีชื่อซ้ำกันบ้าง ก็หมายถึงเฉพาะคน เฉพาะสิ่ง ไม่ทั่วถึงกัน เป็นต้น

Page 7: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำนาม

คำนามที่บอกลักษณะของนาม (ลักษณนาม) คือ คำนำที่ใช้บอกลักษณะของคำนามข้างหน้า เพื่อให้รู้ลักษณะรูปพรรณสัณฐาน หรือสัดส่วนของนามนั้น ๆ เช่น เชือก ๑ เส้น ปากกา ๑ ด้าม กระเป๋า ๑ ใบ ไม้บรรทัด ๑ อัน คำว่า เส้น ด้าม ใบ อัน เหล่านี้เป็นลักษณนาม

คำนามที่บอกลักษณะของนาม (ลักษณนาม)

✦ ลักษณะทั่วไป (ใช้สามานยนามเป็นลักษณะนาม) เช่น

❖ ห้อง ๒ ห้อง ❖ เตียงนอน ๒ เตียง

❖ น้ำ ๓ แก้ว ❖ แกง ๒ หม้อ

❖ ร่ม ๒ คัน ❖ ธูป ๓ ดอก

❖ เทียน ๒ เล่ม ❖ นาฬิกา ๓ เรือน

❖ ยักษ์ ๑ ตน

✦ ลักษณะทั่วไป (ใช้สามานยนามเป็นลักษณะนาม) เช่น

Page 8: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำนาม

คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม)

✦ คณะสงฆ์กำลังทำวัตร

✦ โขลงช้างกำลังวิ่งเข้าป่า

✦ ฝูงปลากำลังแหวกว่ายธารา

✦ พวกโจรแพ้พวกตำรวจ

✦ มีกองหนังสืออยู่บนโต๊ะ

✦ องค์การข้าวได้ส่งข้าวไปยุโรป

✦ บริษัทขอขอบคุณประชาชน

ข้อสังเกต๑. สมุหนามจะต้องทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมหรือส่วนขยายของประโยคได้เหมือนกัน สมุหนามซึ่งจะนับว่าเป็นสมุหนาม เช่น

✦ โขลงช้างเดินผ่านทุ่ง (สมุหนาม)✦ ช้างโขลงหนึ่งเดินผ่านทุ่ง (ลักษณนาม)

๒. สมุหนามจะต้องเป็นสมมุติบุคคล จึงจะนับว่าเป็นสมุหนาม แต่ถ้าหมายถึงองค์กรตามรูปศัพท์ต้องนับเป็นนามชนิดอื่นตามชนิดของคำ ไม่ใช่สมุหนาม เช่น

✦ บริษัทตั้งอยู่ถนนวิภาวดี (สามานยนาม)✦ บริษัทขอแสดงความขอบคุณประชาชน (สมุหนาม)✦ เลิศลบไปโรงเรียน (สามานยนาม)✦ โรงเรียนออกใบรับรองให้นักเรียน (สมุหนาม)

คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม) คือ คำนามที่ใช้แสดงชื่อหมวดหมู่ มักประกอบหน้าคำนามอื่น ๆ

Page 9: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำนาม

คำนามบอกอาการ (อาการนาม)

ข้อสังเกต

✦ คำว่า “การ” มักใช้นำหน้าคำกริยาที่แสดงความเป็นไปได้ ทางกาย วาจา เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การเรียน

✦ คำว่า “ความ” มักนำหน้าคำวิเศษณ์หรือคำกริยาที่มีความเป็นไปได้ในทางจิตใจ หรือคำที่แสดงความนึกคิดทางนามธรรม เช่น ความชั่ว ความยาก ความเร็ว ความหรูหรา

✦ คำว่า “การ” และ “ความ” ถ้านำหน้าคำชนิดอื่นนอกจากคำกริยาและคำวิเศษณ์ไม่นับว่าเป็นอาการนาม เช่น การไฟฟ้า การประปา การค้า การเมือง การคลัง ความแพ่ง ความอาญา ฯลฯ

คำนามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คำนามที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำนามชนิดนี้มีลักษณะผิดกับคำนามชนิดอื่น๔ เช่น การเดิน การยืน การนอน การวิเคราะห์ การศึกษา ความคิด ความรู้ ความดี ความเชื่อ ความเสื่อม ความเห็นแก่ตัว ความมักใหญ่ ความทุกข์ ฯลฯ

Page 10: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสรรพนาม

คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามหรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว ถ้าต้องการกล่าวข้อความซ้ำกันบ่อย ๆ จะทำให้ขาดความไพเราะ สละสลวย

คำสรรพนามแบ่งออกเป็น ๖ ชนิด ดังนี้๕

✦ บุรุษสรรพนาม

✦ ประพันธสรรพนาม

✦ ปฤจฉาสรรพนาม

✦ วิภาคสรรพนาม

✦ นิยมสรรพนาม

✦ อนิยมสรรพนาม

Page 11: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสรรพนาม

บุรุษสรรพนาม

บุรุษที่ ๑ (แทนผู้พูด)

เช่น ฉัน ข้าพเจ้า กระผม ดิฉัน ข้าพระพุทธเจ้า เกล้ากระหม่อม อาตมา พวกเรา

บุรุษสรรพนาม คือ สรรพนามที่ใช้ในการพูดจากัน จัดออกเป็น ๓ พวก ดังนี้

บุรุษที่ ๓ (แทนผู้ที่กล่าวถึง)

เช่น เขา ท่าน มัน เขาทั้งหลาย พระองค์ พระองค์ท่าน

บุรุษที่ ๒ (แทนผู้ฟัง)

เช่น ท่าน คุณ เธอ ใต้เท้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

Page 12: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสรรพนาม

ประพันธสรรพนาม

คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามหรือแทนคำสรรพนามที่อยู่ติดข้างหน้า ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น

✦ คนที่เป็นทหารต้องมีระเบียบวินัย

✦ บุคคลผู้ไม่ประสงค์ออกนามบริจาคเงินจำนวน ๕,๐๐๐ บาท

✦ เพชรอันมีรอยร้าวย่อมไร้ค่า

✦ การลงโทษคนซึ่งมีความผิดเป็นสิ่งถูกต้อง

ปฤจฉาสรรพนาม

คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในประโยคคำถาม ได้แก่ คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร เช่น

✦ ใครมา

✦ อะไรตก

✦ ไหนเป็นบ้านของเธอ

✦ เธอจะรับประทานอะไร

Page 13: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสรรพนาม

วิภาคสรรพนาม

คือ สรรพนามที่ใช้แทนความหมายรวมหรือแยก ของคำนามนั้น ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น

✦ นักเรียนต่างตั้งใจเรียน

✦ เพื่อน ๆ นั่งคุยที่ห้องเรียนบ้างก็คุยบ้างก็ทำการบ้านบ้างก็อ่านหนังสือ

นิยมสรรพนาม

คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำถามหรือข้อความที่กล่าวมาแล้วเพื่อชี้เฉพาะ หรือเพื่อบ่งความชัดเจน ได้แก่คำว่า นี่ นั้น โน้น ฯลฯ เช่น

✦ วันนี้ฝนตก

✦ นั่นคือโรงเรียนของฉัน

✦ เธออย่านั่งตรงนั้นมันอันตราย

✦ โน่นไงเพื่อนเธอมาแล้ว

ถ้านิยมสรรพนามตามหลังคำนามจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น

✦ ขนมชิ้นนี้ของเธอ

Page 14: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสรรพนาม

อนิยมสรรพนาม

คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่ไม่ได้กำหนดแน่นอน มักใช้ประโยคบอกเล่าธรรมดา ได้แก่คำว่า อะไร ใคร ที่ไหน ผู้ใด เช่น

✦ ฉันนึกไม่ออกว่าเขาเหมือนใคร

✦ อะไร ๆ ก็พูดง่ายดายไปหมด

✦ ใด ๆ ล้วนอนิจจัง

✦ ไม่ว่าเธอจะย้ายไปอยู่ไหน ทุกคนยังคิดถึงเธอ

Page 15: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำกริยา

คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคำนามและสรรพนาม เพื่อให้รู้ว่านามหรือสรรพนามนั้น ๆ แสดงอาการหรือความรู้สึกอย่างไร

ชนิดของคำกริยา มี ๔ ชนิด๖ คือ

✦ อกรรมกริยา

✦ สกรรมกริยา

✦ วิกตรรถกริยา

✦ กริยานุเคราะห์

Page 16: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำกริยา

คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับข้างท้ายก็ได้ใจความสมบูรณ์ ได้แก่ นั่ง นอน ไป มา ยืน เดิน เช่น

อกรรมกริยา

✦ เขานอน

✦ ปรีชาหัวเราะ

✦ สะพานชำรุด

✦ วิรภัทร้องเพลงได้ไพเราะ

คำกริยาที่มีความหมายไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ต้องมีกรรมมาช่วยหรือมารับข้างท้าย ได้แก่ ถือ กิน เขียน ตี เห็น เช่น

สกรรมกริยา

✦ ธนพงษ์ถือกระเป๋า

✦ ธนพันธ์เห็นคนร้าย

✦ ในหลวงเสวยพระกระยาหารค่ำ

✦ ชาวนาปลูกข้าว

✦ พ่อค้าขายของ

Page 17: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำกริยา

วิกตรรถกริยา (วิ-กะ-ตัด-ถะ-กริ-ยา) คือ คำกริย า ที่ต้อ ง อ า ศัย ส่ว น เ ติม เ ต็ม คือ ต้องอาศัยคำนาม คำสรรพนาม มาช่วยขยายจึงจะได้ความสมบูรณ์ กริยาพวกนี้ได้แก่คำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่า เ ช่น

วิกตรรถกริยา

✦ ธนวิทย์เหมือนคุณพ่อ

✦ น้ำอ้อยคือคนหนึ่ง

✦ สุทธิวัฒน์เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”

✦ ต้นมะม่วงสูงเท่ากับต้นมะยมของฉัน

✦ ถ้าฉันเป็นเธอจะโกรธเขามาก

กริยานุเคราะห์ คือ กริยาที่ใช้ประกอบหรือช่วยเหลือกริยาสำคัญในประโยค ได้แก่คำว่า คง จึง ทั้ง จง กำลัง ย่อม น่า เคย จะ เช่น

กริยานุเคราะห์

✦ อุศเรนต้องชิงนางสุวรรณมาลีจากสินสมุทร

✦ พระยาเดโชจะจับพระร่วง

✦ เขาต้องไปเชียงใหม่วันพรุ่งนี้

✦ สายธรกำลังเรียนหนังสือ

✦ เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นโจร

Page 18: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อให้มีเนื้อความแปลกออกไป คำวิเศษณ์ ทำหน้าที่ขยายนาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ด้วยกัน

✦ ประกอบนามและสรรพนาม เช่น นกใหญ่เกาะกิ่งไม้ เขาทั้งหลาย

✦ ประกอบกริยา เช่น อ้อยเดินเร็ว นกบินสูง

✦ ประกอบคำวิเศษณ์เอง เช่น แมวกินจุมาก เขาทำงานหนักแทบเป็นลม

Page 19: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

“เด็ก ๆ รู้ไหมว่า คำวิเศษณ์ที่ควรรู้ซึ่งเรียกว่า “ลักษณวิเศษณ์”

มีอะไรบ้าง”

Page 20: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

บอกขนาด ได้แก่ สูง ใหญ่ เล็ก กว้าง ยาว เขื่อง จิ๋ว เช่น

✦ งูใหญ่

✦ เชือกยาว

บอกสัณฐาน ได้แก่ กลม แบน แป้น รี สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทุย ป่อง แฟบ เช่น

✦ โต๊ะกลม

✦ หัวทุย

บอกชนิด ได้แก่ ชั่ว เลว แก่ อ่อน หนุ่มสาว ธรรมดา พิเศษ เช่น

✦ คนชั่ว

✦ วัวดี

✦ หญ้าอ่อน

คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์) แบ่งออกเป็น

Page 21: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

บอกเสียง ได้แก่ ดัง ค่อย เพราะ แปร่ง เครือ แผ่ว แหบ เช่น

✦ เสียงดัง

✦ พูดค่อย

✦ ร้องเพลงเพราะ

บอกกลิ่น ได้แก่ หมอ เหม็น ฉุน เหม็นอับ เหม็นสาบ เช่น

✦ ดอกไม้หอม

✦ ดอกไม้บางชนิดมีกลิ่นฉุน

บอกสี ได้แก่ ขาว ดำ เหลือง แดง เช่น

✦ ผ้าขาว

✦ เสื้อดำ

✦ รองเท้าแดง

คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์) แบ่งออกเป็น

Page 22: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

บอกสัมผัส ได้แก่ ร้อน เย็น นิ่ม ละเอียด บาง หนา ขรุขระ เช่น

✦ กาแฟร้อน

✦ น้ำเย็น

✦ หมอนนิ่ม

บอกอาการ ได้แก่ ช้า เร็ว เฉื่อย ว่องไว เข้มแข็ง ปราดเปรียว เช่น

✦ วิ่งช้า

✦ แล่นเร็ว

✦ เดินเฉื่อย

บอกรส ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม ขื่น ปร่า อร่อย กลมกล่อม เช่น

✦ ส้มเปรี้ยว

✦ ปลาเค็ม

✦ ลูกอมหวาน

คำวิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณวิเศษณ์) แบ่งออกเป็น

Page 23: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์) คือคำที่ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา ปัจจุบัน อดีต อนาคต เช่น ทุกวัน เมื่อคืนนี้ โบราณ เดี๋ยวนี้ แต่ก่อน ในอดีต ปัจจุบัน สมัยก่อน อดีต เช้า สาย เมื่อวาน ก่อน หลัง ฯลฯ

ตัวอย่าง

✦ เขามาโรงเรียนสาย

✦ เราจะไปเดี๋ยวนี้✦ ฉันจะไปพบเธอเวลาเย็น✦ บริษัทจะส่งหนังสือมาภายหลัง

คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์) เป็นคำขยายที่แสดงที่อยู่หรือระยะที่ตั้งอยู่ เช่น เหนือ ใต้ ไกล ใกล้ เป็นต้น

ตัวอย่าง

✦ โรงเรียนอยู่ไกล

✦ ป้าเดินไปทางทิศเหนือ✦ เด็กๆ จะไปบ้านนอก✦ เขาอาศัยอยู่ชั้นล่าง

Page 24: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์บอกเวลาปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์) เป็นคำประกอบบอกจำนวน หรือ จำนวนนับ เช่น มาก น้อย อันดับสิบ หมด ทุก จุ บ้าง อันละ ที่หนึ่ง หนึ่ง สอง ฯลฯ

ตัวอย่าง

✦ เขากินข้าวหมด

✦ คนงามกินจุ✦ นักเรียนจะมาพบห้าคน✦ คนทั้งหลายเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม

คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์) คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะแน่นอน ได้แก่คำว่า นี่ โน่น นั่น นี้ นั้น แน่ เอง ทั้งนี้ ทั้งนั้น อย่างนี้ เป็นต้น

ตัวอย่าง

✦ แก้วนี้ต้องทำความสะอาดอย่างนี้✦ ชายคนนั้นเป็นชาวไทย✦ หล่อนต้องมาหาเราแน่✦ ตึกนี้มีคนขายแล้ว

Page 25: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) เป็นคำประกอบที่แสดงความไม่แน่นอน เช่น อื่น อื่น ๆ ใด ใด ๆ อะไร อะไร ๆ เป็นต้น

ตัวอย่าง

✦ เด็กอะไรซนอย่างนี้✦ วิชาอื่น ๆ ก็สู้วิชานี้ไม่ได้✦ ถึงจะแพงสักเท่าไร ฉันก็จะซื้อ

คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์แสดงคำถาม (ปฤจฉาวิเศษณ์) เป็นคำที่ใช้ถาม เช่น อะไร ใคร ไหน ทำไม แต่คำเหล่านี้จะตามหลังคำนาม สรรพนาม หรือกริยา

ตัวอย่าง

✦ ผลไม้อะไรที่แน็คซื้อมาใช้ฉัน✦ นักร้องคนไหนไม่ชอบร้องเพลง✦ คนไข้มีอาการอย่างไร✦ สุนัขใครน่ารักจัง✦ เธออายุเท่าไร

Page 26: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์แสดงคำขานรับ (ประติชญาวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์แสดงคำขานรับ (ประติชญาวิเศษณ์) เป็นคำขานรับหรือคำประกอบใช้แสดงขานรับ เช่น ค่ะ ครับ จ๊ะ จ๋า ฯลฯ

ตัวอย่าง

✦ คุณครับ รถไฟจะออกแล้ว✦ คุณแม่ขา โทรศัพท์ค่ะ✦ เธอจะไปไหนจ๊ะ

คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ (ประติเษธวิเศษณ์)

คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ (ประติเษธวิเศษณ์) เป็นคำบอกห้าม หรือบอกปฏิเสธ เช่น ไม่ หาไม่ เปล่า อย่า เป็นต้น

ตัวอย่าง

✦ เงินทองไม่ใช่ของหาง่าย✦ นักเรียนไม่ควรนั่งหลับในห้องเรียน✦ เธออย่าเล่าเรื่องนี้ให้เขาฟังนะ

Page 27: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำบุพบท

คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม และคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามในประโยคต่าง ๆ เพื่อบอกตำแหน่งหน้าที่ของคำนั้น เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ เพื่อ

คำบุพบทแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้๗

✦ บุพบทนำหน้าบทบอกลักษณะที่เป็นเครื่องใช้ ผู้รับ หรือมีอาการร่วมกัน เช่น ด้วย โดย กับ แก่ ต่อ ทั้ง ตาม สำหรับ เพื่อ เฉพาะ ฯลฯ

✦ บุพบทนำหน้าบทบอกเวลา เช่น เมื่อ ใน ณ แต่ ตั้งแต่ จน กระทั่ง ฯลฯ

✦ บุพบทนำหน้าบทบอกสถานที่ เช่น ที่ ใน เหนือ ใต้ บน ล่าง ใกล้ ไกล ห่าง ชิด แต่ จาก ถึง สู่ ยัง ฯลฯ

✦ บุพบทนำหน้าบทบอกจำนวน เช่น ประมาณ ราว สัก สิ้น ทั้งสิ้น ตลอด หมด เกือบ ฯลฯ

✦ บุพบทนำหน้าบทที่เป็นเจ้าของ เช่น ของ แห่ง ฯลฯ

ข้อสังเกต คำบุพบทคำเดียวกันอาจจัดเป็นบุพบทชนิดต่าง ๆ ได้หลายชนิด

Page 28: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำบุพบท

คำบุพบทจะใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม และคำที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามในประโยคต่าง ๆ โดยจะปรากฏในตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่ผู้พูดต้องการจะเน้น

ต้นประโยค

ส่วนมากเป็นบุพบทนำหน้าบอกเวลา สถานที่ และบอกลักษณะ เช่น

✦ เมื่อวันก่อนฉันเห็นดาวกลับมาแล้ว

✦ เพื่อเธอฉันทำได้

✦ ใกล้ประตูทางเข้ามีแม่ค้าขายพวงมาลัย

กลางประโยค

ได้แก่บุพบททุกชนิด เช่น

✦ ฉันเห็นดาวกลับมาเมื่อวันก่อน

✦ ฉันทำเพื่อเธอได้

✦ มีแม่ค้าขายพวงมาลัยใกล้ประตูทางเข้า

✦ ใครหยิบปากกาของฉันไป

✦ สมศักดิ์อยู่ที่นี่มาเกือบ ๓ ปี

Page 29: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำบุพบท

ข้อสังเกต

๑. การใช้บุพบทบางคำ๘

✦ แก่ ใช้เมื่อประธานทำกริยาฝ่ายเดียวและแสดงว่านามที่ตามมาเป็นผู้รับมักใช้กับคำกริยาที่มีความหมายเกี่ยวกับการบอกหรือให้ เช่น

✤ อาจารย์ใหญ่มอบรางวัลแก่นักเรียนเรียนดี✤ คุณหญิงบริจาคเงินหนึ่งล้านบาทแก่โรงพยาบาล

✦ แด่ ใช้แทนแก่ในกรณีให้เกียรติยกย่องหรือใช้กับผู้นับถือสูงสุด เช่น✤ เขาอุทิศส่วนกุศลแด่ภรรยาของเขาซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว

✦ กับ ใช้เมื่อประธานและบทขยายกริยาทำกริยาร่วมกัน เช่น✤ พี่ทะเลาะกับน้อง✤ ฤทัยเห็นเหตุการณ์นี้กับตา

✦ ต่อ ใช้แสดงความเกี่ยวข้อง เช่น✤เจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา

Page 30: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำบุพบท

ข้อสังเกต

๒. บุพบทบางคำ ถ้าไม่มีคำนามตามหลังจัดเป็นคำวิเศษณ์ เช่น

✦ โรงเรียนอยู่ใกล้ (ใกล้เป็นคำวิเศษณ์)

✦ เขาอยู่เหนือ (เหนือเป็นคำวิเศษณ์)

✦ ฉันอยู่ใต้ (ใต้เป็นคำวิเศษณ์)

✦ เขาอยู่ไกลมาก (ไกลเป็นคำวิเศษณ์)

Page 31: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสันธาน

คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมข้อความหรือประโยคให้เห็นเป็นข้อความเดียวกันหรือสอดคล้องกัน คำสันธานแบ่งเป็นพวก ๆ ดังนี้๙

๑. เชื่อมความที่คล้อยตามกัน

๑.๑ ประโยคหลายประโยคที่มีประธานมากกว่าหนึ่ง ใช้กริยาและกรรมร่วมกัน ให้ใช้คำสันธาน “และ” “กับ” เชื่อมให้เป็นความเดียวกัน เช่น

✦ แก้วไปโรงเรียน ก้องไปโรงเรียน รวมเป็น แก้วและก้องไปโรงเรียน

✦ เขาเป็นเพื่อนเธอ ฉันเป็นเพื่อนเธอ รวมเป็น เขากับฉันเป็นเพื่อนเธอ

๑.๒ ประโยคหรือข้อความที่คล้อยตามกันเกี่ยวกับเวลา ใช้คำสันธานเหล่านี้เชื่อม “เมื่อ….ก็” “พอ…ก็” “ทั้ง….และ” “ทั้ง….ก็” เช่น

✦ เมื่อฉันทำการบ้านเสร็จก็ไปดูโทรทัศน์

✦ พอสมฤทัยรดน้ำต้นไม้เสร็จก็ไปอาบน้ำ

Page 32: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำสันธาน

๒. เชื่อมประโยคหรือข้อความที่ขัดแย้งกัน

ให้ใช้คำสันธาน “แต่” “แต่ว่า” “ถึง…ก็” “กว่า….ก็” เช่น✦ ละเอียดชอบเรียนภาษาไทยแต่นาครชอบเรียนเลขคณิต

✦ กว่าฝนจะหยุดโรงเรียนก็เลิกแล้ว

๓. เชื่อมความที่ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ให้ใช้คำสันธาน “หรือ” “มิฉะนั้น” “ไม่เช่นนั้น” “ไม่…ก็” เช่น✦ เธอชอบรับประทานบะหมี่หรือข้าว

✦ คุณต้องไปกับฉันมิฉะนั้นฉันจะรายงานหัวหน้า

๔. เชื่อมประโยคหรือข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลโดยใช้คำสันธาน “ฉะนั้น” “จึง” “เหตุนี้” “เพราะ….จึง” “ฉะนั้น….จึง” เช่น

✦ วารีไม่ตั้งใจฟังครูจึงทำการบ้านไม่ได้

✦ เพราะฝนตกหนักเธอจึงไม่ยอมไปซ้อมดนตรี

Page 33: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำอุทาน

คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด คำอุทานส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ มีทั้งที่เป็นคำคำเดียว และกลุ่มคำ

คำอุทานแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ดังนี้๕

✦ คำอุทานที่ใช้ในการพูดจาทั่วไป

✦ คำอุทานที่ใช้ในคำประพันธ์

✦ คำอุทานเสริมบท

Page 34: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำอุทาน

คำอุทานที่ใช้ในการพูดจาทั่วไป

เป็นคำอุทานที่บอกอาการหรือแสดงความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ ของผู้พูด เช่น ร้องเรียก โกรธเคือง ตกใจ ประหลาดใจ สงสาร เข้าใจ เจ็บปวด สงสัย ไต่ถาม ห้าม ทักท้วง เช่น เฮ้ย โว้ย ชะ เอ๊ะ แหม แม่เจ้าโว้ย พุทโธ่ อนิจจา โถ อ้อ เออ อุ๊ย โอ๊ย หือ หา หื้อ ฮ้า ฯลฯ คำอุทานชนิดนี้ต้องมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับ !

Page 35: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำอุทาน

คำอุทานที่ใช้ในคำประพันธ์

เป็นคำอุทานที่แทรกในคำประพันธ์เพื่อให้สละสลวยขึ้น มักจะปรากฏเป็นสร้อยคำ เช่น อา อ้า โอ้ เอย แฮ เฮย แล นา ฯลฯ

Page 36: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

คำอุทาน

คำอุทานเสริมบท

เป็นคำอุทานที่ผู้พูดกล่าวเพิ่มเติมถ้อยคำที่พูดให้ยาวขึ้น เพื่อเน้นความหมายให้ชัดเจน อาจใช้เติมข้างหน้าคำ ข้างหลังคำ หรือกลางคำได้ เช่น ลูกเต้า แขนแมน เสื่อสาด หยูกยา เรือแพ วัดวา มุ้งม่าน บันดงบันได ขนุกขนม ฯลฯ ความหมายของคำจะอยู่ที่คำหลักไม่ใช่คำอุทาน คำอุทานเสริมบทจัดเป็นคำซ้อน บางครั้งคำที่นำมาซ้อนเป็นภาษาถิ่นที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำหลัก เ ช่น เสื่อสาด วัดวา

Page 37: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

มาทบทวนความรู้ด้วย

การทำแบบฝึกหัดกันเถอะ

Page 38: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑ จงวงกลมรอบคำที่เป็นคำนาม

ความงาม ข้า เรียน

โรงเรียน ต้นะม่วง ดินสอ

จิก ตา พิกุล

กัด สำนักงาน ร้องเพลง

จังหวัด อ่อน ฆราวาส

Page 39: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

ตอนที่ ๒ จงนำคำที่กำหนดให้เติมลงในที่ที่กำหนดให้ให้ถูกต้อง

นามทั่วไป นามชี้เฉพาะ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

วิยะดา ประเทศไทย ดวงจันทร์ คนไทย

โรงเรียนสาธิต หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ แม่น้ำเจ้าพระยา

สุนทรภู่ ผู้อำนวยการ หาดบางแสน สวนสนุก

Page 40: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๓ จงนำลักษณนามที่กำหนดให้ใส่ในช่องว่างให้ถูกต้อง

๑) ฉันมีผ้าขนหนูใหม่ ๓ …………………

๒) นราซื้อรองเท้าผ้าใบมา ๑ ……………………

๓) คุณยายมีสวนผักอยู่ ๒ ………………………

๔) ครอบครัวของฉันมีสมาชิกทั้งหมด ๑๐……………..

๕) เมื่อเช้าคุณแม่ใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน ๒๕ ………...….

คู่ คน รูป ผืน แปลง

Page 41: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๔ จงเติมลักษณนามที่เหมาะสมลงในช่องว่าง

๑) แม่ซื้อขลุ่ยให้ฉันหนึ่ง…………………………

๒) ฉันซื้อข้าวหลามมา ๕………………………….

๓) วัดในกรุงเทพฯ มีอยู่มากมายหลาย……………

๔) ถนน……..นี้ มุ่งตรงไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

๕) คุณพ่อบริจาคโทรทัศน์ ๔………..ให้แก่โรงเรียนชนบท

Page 42: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๕ จงเติมสมุหนามของคำนามต่อไปนี้ ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

๑) ………………………หนังสือ

๒) ………………………ลิง

๓) ………………………รัฐมนตรี

๔) ………………………กล้วย

๕) ………………………ทหาร

ตัวอย่าง โขลง ช้าง

Page 43: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๖ จงเขียนชนิดของคำที่ขีดเส้นใต้ลงในช่องว่างท้ายประโยค

๑. คุณลุงมีบุตร ๒ คน ______________

๒. คนในบ้านนี้ล้วนแต่เป็นนักดนตรี ______________

๓. คณะสงฆ์เดินทางไปประเทศอินเดีย ______________

๔. พระสงฆ์ลาวคณะหนึ่งเข้ามาเมืองไทย ______________

๕. นกฝูงหนึ่งกำลังบินกลับรัง ______________

๖. ฝูงนกกำลังบินออกหาเหยื่อ ______________

Page 44: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

ตอนที่ ๗ จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

Check Answer

Question 1 of 10

๑) ข้อใดเป็นสามานยนาม

A. ประเทศจีน

B. ประเทศพม่า

C. ประเทศไทย

D. ประเทศต่าง ๆ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

Page 45: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๘ จงเลือกคำปฤจฉาสรรพนามเติมลงในช่องว่างให้เหมาะสม

๑) เขากำลังพักผ่อนอยู่………………………………?

๒) แมวคาบ………………………………มาจากสวน?

๓) ………………………………เขาจึงไม่ส่งการบ้าน?

๔) ……………………………..จะถึงวันเกิดของพจน์?

๕) ………………………….นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะ?

ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม

Page 46: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๙ จงเติมคำปฤจฉาสรรพนามลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

๑) ……………………..พระองค์จะเสด็จมาทางนี้?

๒) นั่นวิวัฒน์กำลังทำ……………………………?

๓) ………………………กันที่เล่าเรื่องนี้ให้เขาฟัง?

๔) ……………….นายทะเบียนจึงต้องไปที่อำเภอ?

๕) คุณกับอลิสาจะไป……………………………?

Page 47: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

ตอนที่ ๑๐ จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

Check Answer

Question 1 of 10

๑) ข้อใดมีคำสรรพนาม

A. ผมของจุ๋มยาวแล้ว

B. แดงตัดผมสั้น

C. ผ้าคลุมผม

D. ผมดีใจ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

Page 48: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑๑ จงนำอักษรหน้าคำด้านขวามือมาใส่หน้าข้อความทางด้านซ้ายมือที่มีความสัมพันธ์กัน

________ ๑. พระภิกษุสงฆ์ ก. พระองค์ท่าน

________ ๒. เจ้าโตแสนรู้ ข. ท่าน

________ ๓. นายกรัฐมนตรี ค. ท่านทั้งหลาย

________ ๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ง. เธอ

________ ๕. สุนทรภู่ จ. อาตมา

________ ๖. ปิยะรัตน์ ฉ. ฯพณฯ

________ ๗. คุณหญิงโม ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ช. มัน

Page 49: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑๒ จงเติมคำกริยาลงในช่องว่างให้เหมาะสม

๑) นก………………..กิ่งไม้

๒) ฟ้า………………...ครืน ๆ

๓) ลูกเสือ…………….ธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา

๔) จุ๋ม…………………ดอกกุหลาบ

๕) ดวงอาทิตย์…………ทางทิศตะวันตก

๖) ปิดเทอมนี้ฉันจะไป………….คุณยายที่เชียงใหม่

Page 50: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑๓ จงเลือกคำกริยาเติมลงในช่องว่างให้เหมาะสม

๑) นิดาช่วยคุณแม่…………………….ผ้า

๒) พระ………………..ในเวลาเช้า

๓) คุณลุงชอบ……………………หมวก

๔) ชาวต่างประเทศ……………….ผ้าไหมของไทย

๕) คุณพ่อ………………เทนนิสในเวลาเช้า

๖) ปิดเทอมนี้ฉันจะไป………………..คุณยายที่เชียงใหม่

ชอบ สวม สวดมนต์ เยี่ยม รีด เล่น

Page 51: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑๔ จงนำคำกริยาทางขวามือมาใส่ในช่องว่างทางซ้ายมือ ที่มีความสัมพันธ์กัน

________ ๑. แมว ตก________ ๒. ฝน ร้องไห้________ ๓. ลม โค่น

________ ๔. น้ำ พัด

________ ๕. เสือ ล่ม

________ ๖. ใบไม้ ร่วง

________ ๗. ต้นไม้ ไหล

________ ๘. สะพาน คำราม

________ ๙. เรือ ชำรุด

________ ๑๐. น้อง ซน

Page 52: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑๕ จงเลือกคำกริยานุเคราะห์เติมลงในช่องว่างให้ได้ใจความที่สมบูรณ์

๑) ลูกแมว……………กินปลา

๒) ประทุม……………ที่จะบอกให้หัวหน้าทราบก่อน

๓) กวิตถ์………………ไประยองเมื่อปีที่แล้ว

๔) วรุณีตั้งใจเรียนมาก เขา……………สอบได้เต็มหลายวิชา

๕) แก้ว……………รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนหวังดีต่อเขา

เคย จึง จะ น่าจะ คง ควร

Page 53: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

ตอนที่ ๑๖ จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

Check Answer

Question 1 of 10

๑) ข้อใดเป็นคำกริยา

A. กิน

B. งาน

C. สวย

D. อาการ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

Page 54: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

แบบฝึกหัดบทที่ ๗

ตอนที่ ๑๗ จงเติมคำวิเศษณ์ที่เหมาะสมลงในช่องว่างที่เว้นไว้ให้

๑) มานิตย์เป็นคนผิว………….เขาจึงต้องสวมเสื้อผ้าสี

๒) นายแดงกิน………….จึงตัว………….

๓) ส้มผลนี้………….มาก นักเรียนเลยแอบทิ้งในถังขยะ

๔) นก………….กิน………….บิน…………

๕) เมื่อเล่นพละมาใหม่ ๆ นักเรียนมักจะมีเหงื่อออก………….และมีกลิ่น………….

๖) ฉันชอบนอนที่นอน………….ๆ และหมอน………….ๆ

๗) คน………….มักเดิน………….กว่าคน………….

๘) คน………….มักตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

๙) วัว………….ชอบกินหญ้า………….

๑๐) ลมพายุหมุนพัด………….และ………….มาก จนบ้านพังหลายหลัง

Page 55: ภาษาไทย · 2018. 3. 22. · ภาษาไทย ... Fกษณะrปพรรณ¥ณฐาน หอ¥ดfiวนของนามน ๆ เน เ¾อก ๑

บทที่ ๗ ชนิดของคำ

การอ้างอิง

๑ กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. ๒๕๓๗, หน้า ๒๑๔-๒๑๖.

๒ อัชชา แสงอัสนีย์และคณะ. ภาษาไทยชั้น ป.๕. ป.ป.ป., หน้า ๕๖-๔๗.

๓ พระยาอุปกิตศิลปสาร. หลักภาษาไทย. ๒๕๓๕, หน้า ๗๑-๗๒.

๔ กำชัย ทองหล่อ. เล่มเดิม, หน้า ๒๑๘-๒๑๙.

๕ อุปกิตศิลปสาร, พระยา. เล่มเดิม, หน้า ๗๘-๘๒.

๖ แหล่งเดิม, หน้า ๘๔-๘๖.

๗ กำชัย ทองหล่อ. เล่มเดิม, หน้า ๒๗๗-๒๗๘.

๘ เสนีย์ วิลาวรรณ. หลักภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕. ๒๕๑๘, หน้า ๗๐.

๙ กำชัย ทองหล่อ. เล่มเดิม, หน้า ๒๘๑-๒๘๓.

๑๐ แหล่งเดิม, หน้า ๒๘๖-๒๘๗.