กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4...

9

Upload: others

Post on 16-Jul-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง
Page 2: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

กลุ่มที่ 4

เศรษฐกิจพอเพียง/เศรษฐกิจชุมชน

Page 3: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง
Page 4: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

267

การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำาปี 2554“การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27-29 มกราคม 2554

ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

(Development Management Model for Well-being of Farmer Families with Sufficiency Economy Philosophy Approach in

Northeast Thailand)

สมนึก ปัญญาสิงห์ เศกสรรค์ ยงวณิชย์ และ พุทธรักษ์ ปราบนอก

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและแนว

ปฏิบัติของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาตัวแบบการจัดการการพัฒนา

เพือ่ความอยูด่มีสีขุของครอบครวัเกษตรกรทีใ่ชห้ลกัปรชัญาเศรษฐกจิ

พอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษาการกำาหนดตัว

ชี้วัดเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาใช้ระเบียบ

วธิวีจิยัเชงิคณุภาพ การคน้ควา้ขอ้มลูทตุยิภมู ิและการเกบ็ขอ้มลูภาค

สนาม ใชแ้บบสมัภาษณก์ึง่โครงสรา้ง (Semi-structure Interview) การ

สมัภาษณแ์บบเจาะลกึ (In-depth Interview) การสงัเกตแบบมสีว่นรว่ม

(Participant Observation) และใช้ครอบครัวเป็นหน่วยศึกษาและ

วิเคราะห์อย่างละเอียด (Intensive Family Study)

ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่

เปน็เกษตรกรรายยอ่ยและทำาการเกษตรเชงิเดีย่วและหลงัจากทำาการ

เกษตรแลว้มหีนีส้นิจำานวนมาก บางครอบครวัจงึหนัไปประกอบอาชพี

รับจ้างทั่วไปในต่างจังหวัด และต่อมาครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

มีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมด้านการเกษตรร่วมกับเครือข่ายปราชญ์

เกษตรชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรได้รับการฝึก

อบรมแนวคดิและแนวปฎบิตัจิากปราชญเ์กษตรชาวบา้น ซึง่เขา้ใจงา่ย

มองเหน็ผลไดจ้รงิ ประกอบกบัประทบัใจ กนิใจกบัคำาคมพอเพยีงของ

ปราชญ์เกษตรชาวบ้านจึงเริ่มให้ความสนใจ เปลี่ยนแปลง หักเหชีวิต

และตัดสินใจทำาการเกษตรผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอ

เพียง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำารงชีวิตและการจัดการ

พืน้ทีก่ารเกษตรทีส่อดคลอ้งกบัหลกัปรชัญาเศรษฐกจิพอเพยีง ทำาให้

สามารถลดหนี้สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขในครอบครัวมาก

ขึน้ โดยเฉพาะทางดา้นจติใจและสขุภาพ ทางดา้นการพฒันาสามารถ

พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้มากขึ้นเช่นกัน การจัดการชีวิตและ

ครอบครัวของเกษตรกรที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียง ทำาให้ค้นพบตัวแบบหรือแบบอย่างการจัดการการพัฒนาของ

เกษตรกร (ตัวแบบของคน) และการจัดการพื้นที่การเกษตร(ตัวแบบ

ของงาน) ของครอบครัวเกษตรกรทั้ง 15 ครอบครัว ซึ่งนำาไปสู่ความ

อยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกร ตามตัวชี้วัดของปราชญ์เกษตร

ชาวบ้าน (นายคำาเดื่อง ภาษี) ได้แก่ หนี้สินต้องลดลงจนหมด (ไม่มี

หนี้สิน) เกษตรกรทำางานเบาลง ดินดีขึ้น เกิดความหลากหลายทาง

ชีวภาพ มีธรรมชาติและระบบนิเวศน์เป็นตัวช่วย มีหลักประกันชีวิต

และสวสัดกิารของตนเองและครอบครวั มผีูร้บัชว่งงานคอื ทายาท เพือ่

ให้เกิดความยั่งยืน และเป็นที่ศรัทธา ลูกหลานกราบไหว้ ระลึกถึงบุญ

คุณก่อเกิดความกตัญญูต่อพ่อแม่และแผ่นดิน นอกจากนี้ได้พิจารณา

ตามตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ของสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์และตีความหมายความ

อยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกร ซึ่งได้แก่ สุขภาพอนามัย (กาย

+จิตใจ) ความรู้/การฝึกอบรม ชีวิตการทำางาน (การประกอบอาชีพ)

รายได้และการกระจายรายได ้สภาพแวดลอ้ม ชวีิตครอบครัวและการ

บริหารจัดการที่ดี

คำาสำาคัญ : ตัวแบบการจัดการการพัฒนา ครอบครัวเกษตรกร หลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความอยู่ดีมีสุข

Abstract The objectives of this research were to study farmer

families’ concept and practice of sufficiency economy philosophy

approach in Northeast Thailand, to study a development

management model for farmer families’ well-being with such

sufficiency economy and, also, to study the design of indicators for

these families’ well-being. This research was of qualitative type

searching secondary-source data, and field data collection was

through semi-structure interview, in-depth interview, participant

observation and intensive family study.

The findings:

In the past, most sample single small-scale farmers

were very much in debt after the farming--some turned to

general employment in other provinces. Later, these sample

farmer families attended agricultural training with local scholars

in the Northeast. These farmers went through concept and

practice training from local scholars, easy to understand with

effective view; they were impressed with the scholars’ expertise,

then started taking interest in life distraction and decided to do i

ntegrated farming ,new-theory farming, sufficiency farming including

the change of living pattern and farming area management to

suit sufficiency farming, thus reduction of debt, creating better

life quality with more happiness in family, especially spiritual

and healthful. These farmers could depend on themselves and

on each other -- their life management and family was also

compatible with sufficiency economy theory, enabling them

to find the model for development management (the model of

Page 5: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

268

การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำาปี 2554“การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27-29 มกราคม 2554

person) and farming area management (the model of work),

leading all 15 families to well-being according to the indicators

of the local scholar (Mr.Khamdueng Phasi) in these cases;

debt to be reduced until all paid (no debt); farmers worked

less with better soil; biological diversity resulted with nature

and ecological system as helpers; farmers had life insurance

and welfare for themselves and families; they had someone to

take over farming work---their own heirs for sustainable work;

they became respectful and grateful by their off-spring show-

ing gratitude to them and the nation. Also, the consideration of

well-being indicators was derived from those of the Office of

National Economic and Social Development Board to analyze

and interpret the meaning of “Well-being” which consists of

good health (physical and mental), knowledge/training, work

life (earning a living), income and its distribution, environment,

family life and good management.

Keywords : Development Management Model , Farmer Families ,

Sufficiency Economy Philosophy Approach , Well-being

1.บทนำา ปัจจุบันเป็นที่ตระหนักชัดเจนแล้วว่าการพัฒนาที่ผ่านมา

ได้สะสมปัญหาการพัฒนามากกว่าการแก้ไขและการป้องกันปัญหา

ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและแท้จริง ประกอบกับ

สถานการณ์ของเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองในยุคโลกาภิวัตน์ โดย

เฉพาะอย่างยิ่งวิกฤติเศรษฐกิจโลก (World Economic Crisis) สังคม

ที่เสื่อมถอยและกระตุ้นการบริโภคอย่างรุนแรงภายใต้ระบบทุนนิยม

ที่สุดโต่ง การเมืองที่มีความขัดแย้งทางด้านความคิด ผลประโยชน์

และอำานาจมากขึ้น ทำาให้สังคมไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดย

เฉพาะสงัคมชนบท หรอืสงัคมระดบัรากหญา้ ซึง่เปน็คนสว่นใหญข่อง

ประเทศ และเป็นพื้นฐานทางด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม

และการเมือง แนวคิดการจัดการการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และ

เศรษฐกิจ พร้อมกับกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development

Mechanism) ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติจะทำาให้การจัดการการ

พัฒนาทุนมนุษย์ ทุนทางกายภาพ ทุนทางสังคมวัฒนธรรม ทุนสิ่ง

แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ทุนการเงิน ทุนการเมืองและการ

พัฒนาในท้องถิ่น เป็นไปอย่างสมดุลและยั่งยืน ประกอบกับแนวคิด

และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาที่ลุ่มลึก

กินความมากกว่ามิติเศรษฐกิจหรือการผลิต หากเป็นแนวทางการ

พัฒนาที่เน้นความยั่งยืนของระบบการผลิตที่ส่งผลไปสู่การรู้เท่าทัน

การเปลีย่นแปลง การจดัการความเสีย่ง ตลอดจนการยกระดบัความ

สามารถพึง่ตนเองของครอบครวั ชมุชนและสงัคม เศรษฐกจิพอเพยีง

จึงมีมิติของความมั่นคงผาสุขทางสังคมเป็นเป้าหมายคู่ขนานกับการ

พฒันาทางเศรษฐกจิ นอกจากนีใ้นระยะของแผนพฒันาเศรษฐกจิและ

สังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ประเทศไทยยังคงต้อง

เผชญิกบัการเปลีย่นแปลงทีส่ำาคญัในหลายบรบิททัง้ทีเ่ปน็โอกาสและ

ข้อจำากัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของ

คนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

และแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์และสร้างภูมิคุ้มกัน

ให้กับสังคม โดยเฉพาะหน่วยสังคมระดับครอบครัวตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความอยู่ดีมีสุขและสันติสุข [1-4]

ดังนั้น การนำาเสนอแนวคิดและประเด็นการวิจัยเรื่องตัว

แบบการจดัการการพฒันาเพือ่ความอยูด่มีสีขุของครอบครวัเกษตรกร

ที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะ

เปน็การคน้ควา้ และศกึษาตวัแบบการจดัการการพฒันาของครอบครวั

เกษตรกร ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมแบบอยู่ดีมีสุขอย่างไร

โดยจะทำาการคัดเลือกครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพยีงเปน็แนวทางในการดำาเนนิชวีติ ในพืน้ทีภ่าคตะวนัออกเฉยีง

เหนือ การศึกษาดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนา

ครอบครวัของเกษตรกรรายอืน่ๆ โดยมตีวัแบบการจดัการการพฒันา

ทีเ่ปน็รปูธรรมและปฏบิตัไิดจ้รงิ เกดิความนา่เชือ่ถอืมัน่ใจและพรอ้มที่

จะตัดสินใจในการดำาเนินชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัว

เกษตรกรเพื่อความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนต่อไป

2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและแนวปฏิบัติของครอบครัว

เกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียง

เหนือ

2. เพื่อศึกษาตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความ

อยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. เพื่อศึกษาการกำาหนดตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของ

ครอบครัวเกษตรกรที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ

3. แนวคิด ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัย จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แนวคิด

หลักเกณฑ์และวิธีการวัดความอยู่ดีมีสุขของคนไทย แนวคิดและ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกี่ยวกับความสุขมวลรวม

ประชาชาติ (GNH) แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวคิด

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ-ตัวชี้วัดความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

และผลกระทบตอ่สิง่แวดลอ้ม แนวคดิดชันชีีว้ดัทนุทางสงัคมเพือ่การ

พฒันาคณุภาพชวีติ และแนวคดิการสรา้งธรรมาภบิาลในกระบวนการ

พฒันา [5-12] สามารถประมวลองคค์วามรูแ้นวคดิและทฤษฎดีงักลา่ว

เป็นกรอบแนวคิดของโครงการวิจัย (Conceptual Framework) ดังนี้

Page 6: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

269

การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำาปี 2554“การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27-29 มกราคม 2554

4. วิธีดำาเนินงาน 4.1) การคดัเลอืกพืน้ทีแ่ละครอบครวัเกษตรกรตวัอยา่ง

การคัดเลือกพื้นที่ในระดับจังหวัด ได้กำาหนดเกณฑ์ โดย

กระจายตามลักษณะภูมิศาสตร์ (พื้นที่) ได้แก่ อีสานเหนือ 3 จังหวัด

อีสานกลาง 3 จังหวัด และอีสานใต้ 3 จังหวัด รวมเป็น 9 จังหวัด

ตัวอย่าง กระจายตามลักษณะของครอบครัวตัวอย่าง/ครอบครัว

ต้นแบบที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนั้นๆและพิจารณาบริบททางเศรษฐกิจ

สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและการพัฒนาของพื้นที่ ส่วนหลัก

เกณฑ์การคัดเลือกในระดับครอบครัว ทำาการคัดเลือกครอบครัว

เกษตรกรตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำานวน 15

ครอบครัว ซึ่งได้กำาหนดเกณฑ์การคัดเลือก โดยพิจารณาตามขนาด

ของพื้นที่การเกษตร ศักยภาพและฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมและ

สภาพแวดล้อมของครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวขนาดเล็ก (Small

Scale) ครอบครัวขนาดกลาง(Medium Scale) และครอบครัวขนาด

ใหญ ่(Large Scale) ทำาการคดัเลอืกครอบครวัเกษตรกรตวัอยา่งทีม่ผีู้

ศึกษาวิจัยน้อยหรือไม่มีผู้ศึกษาวิจัยเลย ครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

ดำาเนินกิจกรรมการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว โดยใช้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแล้วไม่ตำำ่ำากว่า 5 ปี พิจารณาตัว

แบบ (Model) และความหลากหลายของประเภทและกจิกรรมทางการ

เกษตรของครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง เช่น ทำานา ทำาสวน เลี้ยง

ปลา เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช ผัก ผลไม้และกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการ

การเกษตรของครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างได้รับการยอมรับจาก

ชมุชน หนว่ยงานภาครฐัหรอืภาคเอกชนในพืน้ที ่รวมทัง้บางครอบครวั

เกษตรกรตัวอย่างเป็นศูนย์การเรียนรู้ (Learning Centers) ให้กับ

เกษตรกรรายอื่นๆในพื้นที่ นอกจากนี้ยังใช้เทคนิคและพิจารณาการ

คัดเลือกครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างกับผู้นำาปราชญ์เกษตรชาวบ้าน

ในพื้นที่โดยวิธีการแนะนำาครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง ( Nominee

Technique)

4.2) ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ (Key Informants)

การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล คณะผู้วิจัยพิจารณาและให้ความ

สำาคัญเกษตรกรตัวอย่าง และสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งผู้ที่มีส่วน

เกี่ยวข้องสำาคัญในชุมชนหรือในพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูลสำาคัญ 4 กลุ่มหลัก

ได้แก่ เกษตรกรตัวอย่างกับสมาชิกในครอบครัว ผู้นำาชุมชน สมาชิก

ในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ/เอกชนในพื้นที่

4.3) การประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูล

คณะผูว้จิยัทำาการประมวลผลไปพรอ้มกบัการเกบ็รวบรวม

ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เกิดขึ้นทั้งระหว่างการสัมภาษณ์พูดคุยกับ

ครอบครัวเกษตรกร และหลังจากได้สัมภาษณ์ครอบครัวเกษตร

แล้ว เนื่องจากคำาตอบที่ผู้วิจัยได้รับฟังจากครอบครัวเกษตรกรนั้น

สามารถช่วยทำาให้คณะผู้วิจัยคิดเชื่อมโยงคำาถามที่ลงลึกถึงแก่นของ

ความรู้สึก ความรู้และความจริงของข้อมูลได้โดยลำาดับ โดยเฉพาะ

ในประเด็นหลักในการศึกษาวิเคราะห์คือตัวแบบการจัดการการ

พัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ทำาการศึกษา

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปอย่างเป็นองค์รวม (Holistic

Approach) โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำาแนกชนิด

ข้อมูล (Typological Analysis) ใช้แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอธิบาย

ปรากฎการณ์ พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่ามีความ

สัมพันธ์สอดคล้องกันอย่างไร และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ

เปรียบเทียบ (Constant Comparison) เพื่อหาความเหมือนและ

ความแตกต่างที่มีอยู่ในคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของข้อมูลตั้งแต่ 2

ชุดขึ้นไปอย่างเป็นระบบเพื่อให้สามารถที่จะสร้างข้อสรุปและพิสูจน์

3

2. วัตถุประสงค 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและแนวปฏิบัติของครอบครัวเ กษตรกรที่ ใ ช หลั กปรั ชญา เ ศ รษฐกิ จพอ เพี ย ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. เพื่อศึกษาตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยูดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใชหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. เพื่อศึกษาการกําหนดตัวชี้วัดความอยูดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใชหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 3. แนวคิด ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัย

จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ ไดแก แนวคิดหลักเกณฑและวิธีการวัดความอยูดีมสีุขของคนไทย แนวคิดและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดเกี่ยวกับความสขุมวลรวมประชาชาติ (GNH) แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอยางยั่งยืน แนวคิด ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ-ตัวชี้วดัความสัมพันธดานเศรษฐกิจและผลกระทบตอสิ่งแวดลอม แนวคิดดัชนีชี้วัดทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และแนวคิดการสรางธรรมาภิบาลในกระบวนการพัฒนา [5-12] สามารถประมวลองคความรูแนวคิดและทฤษฎีดังกลาวเปนกรอบแนวคิดของโครงการวิจัย (Conceptual Framework) ดังนี้

บริบทของชุมชน (Community Context)

‐ สภาพสังคม ‐ สภาพเศรษฐกิจ ‐ สภาพการเมืองการปกครองและ

การพัฒนาทองถิ่น ‐ สภาพแวดลอม

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ครอบครัวเกษตรกร

‐ ประวัติครอบครัว ‐ สภาพเศรษฐกิจ สังคมและชีววิถีของ

ครอบครัวในอดีตถึงปจจุบัน ‐ บทเรียน/ประสบการณและการเรียนรู

ของสมาชิกภายในและภายนอกครอบครัว

‐ การจัดการอยางมีสวนรวมทางดานเศรษฐกิจและสังคมภายในครอบครัว

‐ อาชีพ รายได รายจาย การออม ภาระหน้ีสินและความเขมแข็งของครอบครัว

‐ ความสัมพันธระหวางครอบครัว ชุมชนและองคกรภายนอก

ฯลฯ

ตัวแบบการจัดการการพัฒนา - แนวคิด/แนวปฏิบัติ - การจัดการ(วิธีการ/เคร่ืองมือ ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และกระบวนการพัฒนา) - การตัดสินใจดําเนินการ - ผลของการปรับปรุงเปลี่ยน ทางดานเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดลอม และคุณภาพชีวิต ของครอบครัวเกษตรกร

ความอยูดีมีสุข (Well-being) การกําหนดตัวชี้วัดความอยูดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใชหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Page 7: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

270

การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำาปี 2554“การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27-29 มกราคม 2554

ข้อสรุปได้โดยเข้าใจ ให้ความหมาย อธิบายความสัมพันธ์ความหลาก

หลายของปรากฎการณ์ พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงได้อย่าง

ชัดเจนถูกต้อง และอยู่ในบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและ

สภาพแวดล้อมของชุมชน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์

และทางด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้องมาอธิบายข้อมูลสนามที่ได้รับ

ตลอดจนขอ้มลูทีไ่ดจ้ากการวเิคราะห ์จะนำาเสนอในลกัษณะพรรณนา

เชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) พร้อมทั้งตัวแบบการจัดการ

การพัฒนา (Development Management) เพื่อความอยู่ดีมีสุขของ

ครอบครัวเกษตรกรและตัวชี้วัด (Indicators) สำาหรับความอยู่ดีมีสุข

(Well-being) ในรูปของตารางและแผนผังแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ตามลำาดับเวลา( Timeline) ของชีวิตเกษตรกร

5. ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า บริบทของชุมชนโดยทั่วไปส่วนใหญ่

เป็นชุมชนชนบทที่มีความผูกพันและพึ่งพากันตามวัฒนธรรมและ

ประเพณีท้องถิ่นอีสาน ปัญหาสุขภาพชาวบ้านที่สูงอายุมักป่วยเป็น

โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไข้หวัดและการศึกษาของ

ชาวบ้านที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จบการศึกษาภาคบังคับ นิยมส่งลูก

เรยีนหนงัสอืแตย่งัคงมปีญัหาเรือ่งคา่ใชจ้า่ยและหนีส้นิของครอบครวั

เศรษฐกิจของชุมชนส่วนใหญ่ พออยู่ พอกิน การถือครองที่ดินลดลง

มรีายไดจ้ากการเกษตร ทำานา ทำาไร ่การปลกูพชืเชงิเดีย่ว และรบัจา้ง

นอกฤดูกาลเกษตร พึ่งพาภายนอกมากขึ้น การลงทุนการเกษตร

เพิ่มขึ้น การเอารัดเอาเปรียบราคาผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง การ

บริโภคนิยมมากขึ้น การพึ่งตนเองน้อยลง ชาวบ้านพยายามรวมกลุ่ม

กันเพื่อแก้ปัญหารายได้ รายจ่าย หนี้สิน และการส่งเสริมการออมใน

ชุมชนแต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับชุมชน (หมู่บ้าน) หรือ

แม้แต่ระดับครอบครัว การบริหารจัดการกลุ่ม ความรู้ความเข้าใจ

อุดมการณ์ของสมาชิกกลุ่มในชุมชน และความตั้งใจจริงใจของเจ้า

หน้าที่ภาครัฐ/รัฐบาล ต้องเพิ่มศักยภาพการพัฒนาและการสนับสนุน

ให้กลุ่มเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ สภาพการเมืองการปกครอง

และการพัฒนาท้องถิ่น พบว่าให้ความสำาคัญกับการพัฒนาทางด้าน

วตัถแุละการปรบัปรงุกอ่สรา้งโดยพจิารณาจากนโยบายและการใชง้บ

ประมาณขององคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่ ปจัจบุนัสภาพแวดลอ้มทาง

กายภาพของชุมชนเปลี่ยนไปเนื่องจากการตัดไม้ทำาลายป่าและการ

ทำาการเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่และการใช้ปุ๋ยสารเคมีมาก

ขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน นำำำ้ำา ป่าไม้ ลดลง บางพื้นที่เกิดภัยแล้ง

นำำำ้ำาท่วมซำำำ้ำาซาก เป็นต้น

จากการศึกษาประวัติครอบครัวเกษตรกรแบบเจาะจง

จำานวน 15 ครอบครัว และศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการ

ตดัสนิใจ จดุเปลีย่นและจดุหกัเหของชวีติครอบครวัเกษตร (Timeline)

พบว่าส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขนาดเล็กและเป็นครอบครัวที่ผู้นำา

ครอบครัว (สามี/ภรรยา)ได้ผ่านประสบการณ์ชีวิตการทำาการเกษตร

แบบผลิตเพื่อมุ่งขายตามความต้องการของตลาดและนายทุน ราย

จา่ยของครอบครวัเกษตรกรมากกวา่รายได ้เกษตรกรขาดทนุ เปน็หนี ้

ยากจน ลำาบาก รู้สึกตำำำ่ำาต้อยไม่มีศักดิ์ศรี ไม่มีความมั่นคงในชีวิต เกิด

ความเครียดและวิกฤติในครอบครัว เกษตรกรบางรายเคยคิดฆ่าตัว

ตายหรอืมปีญัหาเกีย่วกบัสขุภาพจติ เกษตรกรทีเ่คยไปทำางานรบัจา้ง

ต่างจังหวัด และคนที่เคยทำางานต่างจังหวัดมาก่อน หันมาทำาการ

เกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลัง

จากไดร้บัการอบรมหลายครัง้จากปราชญเ์กษตรชาวบา้นทีม่ชีือ่เสยีง

ในทอ้งถิน่ ไดแ้ก ่ ศนูยก์ารเรยีนรูช้มุชนกลุม่อโีตน้อ้ย (นายผาย สรอ้ย

สระกลาง) สถาบันฟื้นฟูภูมิปัญญาไท (นายคำาเดื่อง ภาษี) ศูนย์ฝึก

อบรมเกษตรผสมผสานบ้านโนนรัง-บูรพา (นายจันทร์ที ประทุมภา)

เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติฟ้าห่วน-คนลือ (นางประยูร กาญจนารี)

ศนูยก์สกิรรมธรรมชาตจิงัหวดัยโสธร (พระพรมมา สภุทัโท) เครอืขา่ย

ปราชญ์ชาวบ้าน (นางพิมพ์ โถตันคำา) มหาวิทยาลัยชุมชนตามแนว

พระราชดำาริเศรษฐกิจพอเพียง (นายชำานาญ พิทักษ์) มูลนิธิพัฒนา

ชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีจังหวัดขอนแก่น (นพ.อภิสิทธ์

ธำารงวรางกูร) ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ (พระมหาสุภาพ

พุทธวิริโย) ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านดงบัง (นายบุญเต็ม ชัยลา) ศูนย์

เกษตรทฤษฎีใหม่เราสร้างก่อ (นายมานะ ซอสูงเนิน) และเครือข่าย

กสิกรรมธรรมชาติ (นายวิวัฒน์ ศัลยกำาธร) เป็นต้น จุดเปลี่ยนแปลง

และการตัดสินใจของครอบครัวเกษตรกรเกิดจากการเรียนรู้และการ

วิเคราะห์ปัญหาของครอบครัวเกษตรกรในอดีตและปัจจุบันเกี่ยว

กับการทำาเกษตรเชีงเดี่ยว และปัญหาการใช้ชีวิตของเกษตรกรเอง

เช่น การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว การทำาบัญชีครัวเรือน

บางครอบครัวมีค่าใช้จ่าย บุหรี่ สุรา หวยใต้ดิน หลายพันบาท

ตอ่เดอืน หลงัจากตระหนกัถงึปญัหาดงักลา่วครอบครวัเกษตรกร เริม่

จัดการชีวิตตนเองและครอบครัว การจัดการพื้นที่การเกษตรใหม่ ไม่

คิดเอาเงินและตลาดเป็นตัวตั้ง แต่มุ่งการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง

ผลผลิตที่เหลือจะแบ่งปัน แลกเปลี่ยนและขายภายในชุมชนหรือ

ตลาดใกล้เคียงกับชุมชน การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

การทำาเกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียง ทำาให้ครอบครัวเกษตรกรเริ่มมีหนี้สินลดลง มีความสุข ความ

อบอุ่น มีสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากลดการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง หันมา

พึง่วถิธีรรมชาต ิเหน็การเปลีย่นแปลงของครอบครวัเกษตรกรกอ่นและ

หลังการทำาเกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง โดยพิจารณาเปรียบเทียบด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว

ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการจัดการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้าน

เศรษฐกิจ (รายได้-รายจ่าย) รายได้จากการขายผลผลิตทางการ

เกษตร เช่น รายวัน ได้จากผลผลิตประเภทพืชผักสวนครัว คะน้า

กวางตุ้ง พริก มะเขือเทศ มะละกอ มะเขือ ถั่วฝักยาว รายเดือนได้

จากผลผลิตประเภท ปลา กบ และรายปีได้จากผลผลิตประเภท ข้าว

ส้มโอ มะม่วง กะท้อน มะพร้าว มันเทศ งา ถั่วเขียว ถั่วลิสง และกล้วย

เป็นต้น สำาหรับตัวแบบการจัดการการพัฒนาเกษตรกร (ตัวแบบของ

คน) วิเคราะห์และตีความหมายจากบุคลิกภาพและคุณลักษณะของ

เกษตรกร การตัดสินใจ จุดเปลี่ยนและจุดหักเหของชีวิต แนวคิด

หลักการ ประสบการณ์และแนวปฏิบัติ การจัดการก่อนและหลัง

การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวเกษตรกร และผลของการปรับปรุง

เปลี่ยนแปลง ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่วน

ตัวแบบการจัดการพื้นที่การเกษตร (ตัวแบบของงาน) ประกอบด้วย

การเตรียมหรือการจัดหาพันธุ์พืชและสัตว์เลี้ยง การเตรียมพื้นที่และ

จำานวนพื้นที่ที่ใช้ (ดิน/นำำำำ้ำา) ระยะเวลาที่ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ต้นทุน

การผลิตต่อครั้ง การจัดการผลผลิต (การบริโภค การแบ่งปัน การ

Page 8: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

271

การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำาปี 2554“การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27-29 มกราคม 2554

แปรรูปและการจำาหน่าย) แหล่งรับซื้อ (ตลาด) ผลประโยชน์ที่ได้รับ

กำาไรหรอืขาดทนุ และการสรปุรายไดข้องครอบครวัเกษตรกร จากการ

วิเคราะห์ตัวแบบของคนและตัวแบบของงานของครอบครัวเกษตรกร

ตวัอยา่งสรปุไดว้า่ หลงัจากครอบครวัเกษตรกรประสบปญัหาชวีติและ

การประกอบอาชีพทางการเกษตรจนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ครอบครัวขาด

ความอบอุ่น ได้หันมาพิจารณาครอบครัวตนเอง ซึ่งบางครอบครัวได้

เริ่มปฏิบัติตนเองและจัดการพื้นที่การเกษตรที่มีความสอดคล้องกับ

หลกัปรชัญาเศรษฐกจิพอเพยีงมากอ่นแลว้ ประกอบกบัไดร้บัการฝกึ

อบรมและเรยีนรูก้ารจดัการเกษตรแบบผสมผสานทฤษฎใีหมต่ามหลกั

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับเครือข่ายปราชญ์เกษตรกรชาวบ้านใน

พื้นที่ ทำาให้เกิดความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตรมากขึ้น

ทำาให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและหนี้สินลดลง

ความอยูด่มีสีขุพจิารณาจากแนวคดิและตวัชีว้ดัของพอ่คำา

เดื่อง ภาษี ปราชญ์เกษตรชาวบ้าน ได้แก่ หนี้สินลดลง จนไม่มีหนี้สิน

เกษตรกรการทำางานเบาลง ดนิดขีึน้ เกดิความหลากหลายทางชวีภาพ

มีธรรมชาติ/ระบบนิเวศเป็นตัวช่วย มีหลักประกันชีวิตและสวัสดิการ

ของตนเองและครอบครัว ทายาทรับช่วงงานเพื่อความยั่งยืน เป็นที่

ศรทัธา ลกูหลานกราบไหว ้ระลกึถงึบญุคณุ/ความกตญัญ ูและนอกจาก

นีย้งัพจิารณาจากตวัชีว้ดัความอยูด่มีสีขุของสำานกังานคณะกรรมการ

พฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาต ิไดแ้ก ่สขุภาพอนามยัทัง้กายและ

จิตใจมีความรู้/การฝึกอบรม ชีวิตการทำางาน/การประกอบอาชีพ มี

รายได้และการกระจายรายได้ สภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัว และ

การบริหารจัดการที่ดี พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตาม

ตัวชี้วัดดังกล่าว

การกำาหนดตวัชีว้ดัความอยูด่มีสีขุของครอบครวัเกษตรกร

ตวัอยา่งสรปุไดด้งันี ้ มแีหลง่อาหารทีส่มบรูณ ์มคีวามรกั ความผกูพนั

และความอบอุน่ในครอบครวั มสีิง่แวดลอ้มทีด่ ีมเีพือ่นบา้นทีด่ ีหนีส้นิ

ลดลงจนหมด มเีงนิออม มทีีด่นิเปน็ของตนเอง (แมธ่รณ)ี มสีระนำำำ้ำาเปน็

ของตนเอง(แม่คงคา) มีต้นไม้ที่หลากหลาย พืชพรรณธัญญาหารเป็น

ของตนเอง (แม่โพสพ) มีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ให้กับครอบครัว

ลดหรือไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง หันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติ

บริโภคอาหารปลอดสารพิษ สุขภาพจิตดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง

ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คนในชุมชนอยู่ร่วม

กันอย่างสันติสุข พึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง ไม่ทะเยอทะยานไม่

ดิ้นรนมากจนเกินไป พอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่พึ่งพาปัจจัยภายนอกมาก

เกินไป มีความพอเพียงในการใช้ชีวิต มีคนสนใจเข้ามาเรียนรู้กับ

เกษตรกรและได้ถ่ายทอดความรู้การทำาเกษตรผสมผสานให้กับผู้อื่น

นำาไปปฏิบัติให้อยู่ดีมีสุข

6. สรุปและข้อเสนอแนะ การทำาเกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำาไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว

เกษตรกรได้ จากการวิเคราะห์ตัวแบบการจัดการการพัฒนา 2

ประการคือตัวแบบของครอบครัวเกษตรกร (ตัวแบบของคน) และ

ตัวแบบการจัดการพื้นที่การเกษตร การจัดการพืช/สัตว์เลี้ยง และ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ตัวแบบของงาน) และหัวใจสำาคัญที่

เกี่ยวข้องกับตัวแบบการจัดการการพัฒนาดังกล่าว คือ การวิเคราะห์

ปญัหา (ทกุข)์ การสรปุบทเรยีน การมโีอกาสเขา้รว่มอบรมการเกษตร

กับเครือข่ายปราชญ์เกษตรชาวบ้าน การมีส่วนร่วมของสมาชิกใน

ครอบครัว การทำาบัญชีครัวเรือน และการเรียนรู้การจัดการ นอกจาก

นี้ภาครัฐควรส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายปราชญ์เกษตรชาวบ้านให้

มีบทบาทและมีส่วนร่วมพัฒนาครอบครัวเกษตรกรให้พึ่งตนเองและ

พึ่งพากันเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

7. กิตติกรรมประกาศ คณะผูว้จิยัขอขอบคณุคณะมนษุยศาสตรแ์ละสงัคมศาสตร ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้และขอ

ขอบพระคุณปราชญ์เกษตรชาวบ้าน ได้แก่ พ่อผาย สร้อยสระกลาง,

พ่อคำาเดื่อง ภาษี, พ่อจันทร์ที ประทุมภา, พ่อบุญเต็ม ชัยลา และ

พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย นอกจากนี้ขอขอบคุณครอบครัวเกษตรกร

ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นำาชุมชนและชาวบ้านทุกท่านที่มีส่วน

ร่วมให้ความอนุเคราะห์ข้อมูล

8. เอกสารอ้างอิง[1] จรัญ จันทลักขณา.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับความสุข

มวลรวมและการเกษตรยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์

เสริมมิตร;2549.

[2] ประเวศ วะสี.พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่.พิมพ์ครั้งที่2.

กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ พิมพ์ดี จำากัด;2549.

[3] เกษม จนัทรแ์กว้.การจดัการสิง่แวดลอ้มแบบผสมผสาน.พมิพ์

ครั้งที่2.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;2547.

[4] สมพร เทพสิทธา.การเดินตามรอยพระยุคลบาทเศรษฐกิจ

พอเพียงช่วยแก้ปัญหาความยากจนและการทุจริต.

กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ศรีเมืองการพิมพ์;2546.

[5] กนกศกัดิ ์ แกว้เทพ.กาญจนา แกว้เทพ.การพึง่ตนเองศกัยภาพ

ในการพัฒนาของชนบท.กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยเ

กษตรศาสตร์;2530.

[6] กระทรวงทรพัยากรธรรมชาตแิละสิง่แวดลอ้ม.คูม่อืการมสีว่นรว่ม

ของประชาชน(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).กรุงเทพมหานคร:

บริษัทประชุมช่าง จำากัด;2552.

[7] ศิลปะ สุวรรณศักดิ์(บรรณาธิการ).เศรษฐกิจพอเพียงอนาคต

ของชาติ.กรุงเทพมหานคร:จำาปาทอง พริ้นติ้ง;2551.

[8] สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คู่มือวิทยากร

ชมุชนการสรา้งและพฒันาตวัชีว้ดัคณุภาพและพฒันาสงัคม

โดยชุมชนมีส่วนร่วม :[ม.ป.ท];2547.

[9] สำานกังานกองทนุสนบัสนนุการวจิยั.ธรรมาภบิาลการมสีว่นรว่ม

ของประชาชนและกระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อม.

กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์เดือนตุลา;2544.

[10] สำานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่อง

มาจากพระราชดำาริ (สำานักงาน กปร.).อันเนื่องมาจาก

พระราชดำาร.ิกรงุเทพมหานคร:โรงพมิพ ์รุง่ศลิปก์ารพมิพ ์จำากดั;

2545.

Page 9: กลุ่มที่ 4 - cscd.kku.ac.th · กลุ่มที่ 4 เศรษฐกิจพอเพียง/ ... 4.1) การคัดเลือกพื้นที่และครอบครัวเกษตรกรตัวอย่าง

272

การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำาปี 2554“การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” 27-29 มกราคม 2554

[11] ไพเราะ เลิศวิราม(บรรณาธิการ). เศรษฐกิจพอเพียง.

กรุงเทพมหานคร:บริษัทไทยเดย์ ด็อท คอม จำากัด;2550

[12] หอการค้าไทยและสภาการค้าไทย.A New Philosophy in the

Global World SUFFICIENCY ECONOMY 100 Interviews

with Business Professionals.กรุ ง เทพมหานคร:

บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนอ์พับลิชชิ่ง จำากัด ;2550.