เล่าเรื่อง...

Click here to load reader

Upload: others

Post on 06-Sep-2019

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • 28 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

    เล่าเรื่อง การฝึกอบรมนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ครูใหญ่และครูน้อย โรงเรียนชุมพลทหารเรือ

  • คือ คำปฏิญาณตนของน้อง ๆ นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ ในโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre. Voc. Ed.) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้จัดทำขึ้นตามแนวคิดและนโยบายเร่งด่วนของ พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ไ ด้ ม อบหมาย ให้ ส ำนั ก ง านคณะกร รมก า ร การอาชีวศึกษา (สอศ.) เร่งแก้ไขปัญหาความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษาอาชีวศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และนำมาซึ่งการเกิดเป็นโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre. Voc. Ed.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ โดย สอศ. ได้ร่วมมือกับ กองทัพเรือ โดยโรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทกันของนักเรียนและนักศึกษาอาชีวะที่มีมายาวนานจนมีคำเปรียบเปรยว่าเป็น “ปัญหาคลาสสิก”

    ความรุนแรงและเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนและ

    นักศึกษาอาชีวศึกษาด้วยแนวคิดที่ว่าต่อไปก่อนที่นักเรียนซึ่งสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

    หรือม.๓ที่จะเข้าไปศึกษาในสายอาชีพหรือเข้าไปเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาในสถาบันการศึกษาสายอาชีพต่างๆ

    จะเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre. Voc. Ed.) ด้วยเชื่อว่าเมื่อน้อง ๆ

    นักเรียนอาชีวศึกษามีโอกาสได้รู้จักมักคุ้นกันจากการฝึกอบรมตามโครงการฯ ได้รับการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย เสริมสร้างความรู้รักสามัคคี และฝึกทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์จากการฝึกอบรมตาม

    โครงการฯ แล้ว จะทำให้สามารถลดหรือแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทกันของนักเรียนและนักศึกษาอาชีวศึกษาได้อีกทางหนึ่ง

    ความเป็นมาและการจัดทำหลักสูตรเตรียมความพร้อม อาชีวศึกษา (Pre. Voc. Ed.)

    ตามที่ เกริ่นนำแล้วว่าการฝึกนักเรียนอาชีวะ

    สร้างชาติเป็นโครงการนำร่องที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ

    ได้จัดทำขึ้นตามแนวคิดและนโยบายเร่งด่วนของ

    พลเรือเอกณรงค์พิพัฒนาศัยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้มอบหมายให้ สอศ. เร่งแก้ไขปัญหา

    สำหรับแนวความคิดในการจัดทำหลักสูตรการฝึกนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ ของโรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ

    ตามโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา(Pre.Voc.

    Ed.)นั้นเป็นการนำแนวทางการฝึกภาคสาธารณศึกษาของนักเรียนจ่า (ใหม่) ซึ่งเป็นหลักสูตรการฝึกเพื่อ

    ปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นบุคคลพลเรือนของนักเรียนจ่า

    (ใหม่) ให้มีความพร้อมในการเป็นนักเรียนทหาร

    ในระยะเวลา ๑ เดือน มาปรับและประยุกต์ใช้

    เป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรการฝึกนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ แม้ว่าพื้นฐานความเป็นจริงที่มีความแตกต่างกันอย่างยิ่งระหว่างบุคคลพลเรือนที่เข้ามาเป็น

    ” เราคือนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ท้าตีท้าต่อยเราไม่ปรารถนา ท้าประลองวิชาสร้างชาติเราไม่ยอมใคร

    29นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • นักเรียนจ่า (ใหม่) ซึ่งเข้ามาด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและอยากเป็นทหารเรือ ในขณะที่นักเรียนอาชีวศึกษาหรือนักเรียนอาชีวะสร้างชาติไม่ใช่ทั้งในเรื่องความตั้งใจหรือสมัครใจที่จะมาเข้ารับการฝึกอบรม และยังเป็นวัยที่

    เด็กกว่านักเรียนจ่า๓ปี แต่ด้วยความมั่นใจว่าแนวทางการฝึกภาคสาธารณศึกษาของนักเรียนจ่า(ใหม่)ที่เห็นผล

    เป็นประจักษ์ และได้รับการชื่นชมว่า “โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ สามารถทำการฝึกและปรับเปลี่ยนสภาพความเป็นบุคคลพลเรือนของนักเรียนจ่า (ใหม่) ได้อย่างน่าทึ่ง” น่าจะสามารถนำมาปรับและประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหลักสูตรเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre Voc.Ed.) ได้อย่างเหมาะสมจึงเป็น

    จุดเริ่มต้นในการจัดทำหลักสูตรฯ เพื่อใช้ฝึกอบรมนักเรียนอาชีวะสร้างชาติรุ่นที่ ๑ ซึ่งเป็นการฝึกนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นปีที่ ๑ที่กำลังเปิดการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒ ดังนั้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่จะต้องส่งนักเรียนอาชีวศึกษาเข้ารับการฝึกอบรมในรุ่นแรกซึ่งเป็นรุ่นนำร่อง จึงได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สอศ.และสถานศึกษาที่จะต้องส่งนักเรียนมาเข้ารับการฝึกทั้ง๓สถาบัน

    ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ และวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ จนได้กรอบแนวทาง และวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกัน กล่าวคือ โครงการ เตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre. Voc. Ed.) เป็นโครงการ

    นำร่องฯ เพื่อปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ความอดทนอดกลั้น เพื่อเสริมสร้างทัศนะคติความภาคภูมิใจ และแรงบันดาลใจ ในการเป็นนักเรียนอาชีวศึกษา และเป็นการยกระดับคุณภาพนักเรียนอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของสังคมมากยิ่งขึ้นรวมทั้ ง เพื่อฝึกทักษะชีวิตการอยู่ ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ความรู้รักสามัคคี และการช่วยเหลือพึ่งพา

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการ

    แก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทกันของนักเรียนและ

    นักศึกษาอาชีวศึกษา โดยมีเป้าหมายในเชิงปริมาณ

    คือ ดำเนินการอบรมนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ

    ชั้นปีที่ ๑ ประจำปีการศึกษา๒๕๕๗จำนวน๗๙คน

    โดยมาจากวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ๔๑ คนประกอบด้วย สาขาวิชาช่างยนต์ ๓๐ คน (ชาย ๒๙

    หญิง๑)สาขาวิชาอุตสาหกรรมฟอกหนัง๑๑คน(ชาย

    ๑หญิง๑๐)วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ

    สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ๑๘ คน (ชาย) และวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

    ๒๐ คน (ชาย) โดยเข้ารับการฝึกอบรม ตั้งแต่วันที่ ๑๒

    พฤศจิกายน ถึง วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ รวม

    ๒๕ วัน และมีเป้าหมายในเชิงคุณภาพ คือผู้เข้ารับ

    การอบรม มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ มีระเบียบวินัย

    ตระหนักรู้ในความสมานสามัคคี และเห็นคุณค่าในการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ได้กำหนด

    ความคาดหวังของโครงการฯ ไว้ด้วยว่าการฝึกอบรมนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ รุ่นที่ ๑ นี้จะเป็นแนวทางต้นแบบที่จะนำไปขยายผลเพื่อใช้ฝึกอบรมนักเรียนเตรียมอาชีวศึกษา โดยต่อไปก่อนที่นักเรียนอาชีวศึกษา

    (ใหม่) จะเข้าไปศึกษาในสายอาชีพ หรือเข้าไปเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาในสถาบันการศึกษาสายอาชีพต่างๆ

    จะเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre. Voc. Ed.) เพื่อรับการปลูกฝังระเบียบวินัย ความรู้รักสามัคคี ความรู้จักและเป็นเพื่อนกัน รวมทั้งฝึกทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และที่สำคัญนักเรียนอาชีวศึกษาที่สามารถผ่านการฝึกอบรมฯ จะได้รับใบประกาศนียบัตร รับรองการผ่านการฝึกอบรมฯ จากกระทรวงศึกษาธิการ

    โดย สอศ. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา และการนำไปใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้าของนักเรียนอาชีวศึกษา สำหรับงบประมาณในการฝึกอบรมนั้น

    ได้รับการสนับสนุนจากสอศ.

    30 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • แนวทาง ขั้นตอน และวิธีการฝึกอบรม

    ด้วยกลุ่มเป้าหมายที่ เข้ารับการฝึกอบรมที่มี

    ความแตกต่างจากนักเรียนจ่า (ใหม่)ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นผู้เกี่ยวข้องทั้งครูปกครองครูฝึกครูนันทนาการและวิทยากร ซึ่งนอกจากกำลังพลในสังกัดโรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ แล้ว ยังได้รับการสนับสนุนทีมครูฝึกที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรมนันทนาการ

    จากกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการ

    นาวิกโยธิน และกรมก่อสร้างและพัฒนา ฐานทัพเรือสัตหีบ รวมทั้งวิทยากรพิเศษจากกรมแพทย์ทหารเรือ

    นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนจ่า โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ

    อีกจำนวนหนึ่ง ที่มีส่วนร่วมและเป็นส่วนสำคัญในการทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูและพี่เลี้ยงน้อง ๆ นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ ซึ่งผู้ เกี่ยวข้องทั้งหมดนี้จำเป็นต้องมีการ

    ซักซ้อม และทำความเข้าใจ รวมทั้งการปรับทัศนคติและวิถีในการปฏิบัติต่อนักเรียนอาชีวศึกษาที่จะเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้มีความประสานสอดคล้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนต้องตระหนักรู้เสมอว่าน้อง ๆ นักเรียนอาชีวศึกษาที่เข้ารับการฝึก คือเยาวชนที่มีความสำคัญ และเปรียบเสมือนผ้าขาว เรื่องราวหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ เคยได้ยิน

    ได้ฟัง เคยพบเห็น หรือที่เคยคิดว่านักเรียนอาชีวศึกษาเป็นกลุ่มเด็กที่มีปัญหา เกเร เรียนไม่เก่งอะไรต่าง ๆ

    ในด้านที่ไม่ดีนั้น ให้เก็บไว้หรือลืมให้ได้ต้องไม่นำมาคิด

    พูด หรือปฏิบัติต่อนักเรียนที่เข้ารับการฝึก นักเรียนอาชีวศึกษาที่เข้ารับการฝึกนี้ไม่ใช่มาฝึกเพื่อให้เป็นทหาร หากแต่เพื่อรับการปลูกฝังระเบียบวินัย ความรู้รักสามัคคี และฝึกทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ให้ทำความเข้าใจว่าโรงเรียนชุมพล

    ทหารเรือฯ ไม่ใช่ค่ายทหารตามที่บุคคลทั่วไปเข้าใจหรือจินตนาการ หากแต่เป็นโรงเรียนทหารหรือสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกคนต้องมีทัศนคติวิธีคิด และวิถีในการปฏิบัติจากคำนิยมหรือ

    ค่านิยมที่ว่า “อาชีวะสร้างชาติ” เป็นแรงบันดาลใจ

    ในการทำหน้าที่สำคัญนี้ นักเรียนอาชีวศึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรมจะถูกกำหนดให้ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า

    “นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ” แทนคำว่า “นาย หรือ

    นางสาว” และจะถูกปรับเปลี่ยน ปลูกฝัง ฝึกอบรม

    และเสริมสร้างทักษะชีวิตตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรซึ่งต้องให้ความสำคัญตั้งใจและจริงจังในการฝึกด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ตามขั้นตอนภายในระยะเวลา๒๕วันดังนี้

    ขั้นตอนที่ ๑ “การปรับทัศนคติ และสลายพฤติกรรม”เป็นการปรับทัศนคติวิธีคิดการเสริมสร้าง

    31นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • พฤติกรรมที่เป็นมิตร และความรู้จักคุ้นเคยกัน ปลูกฝังทักษะการอยู่ร่วมกันที่สร้างสรรค์ โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และกิจกรรมการละลายพฤติกรรม

    การปรับตัวให้มีระเบียบวินัย โดยการปฏิบัติตน

    ตามตารางและระเบียบปฏิบัติที่กำหนด

    ขั้นตอนที่ ๒ “ปลูกฝังระเบียบวินัย และความรู้รักสามัคคี” เป็นการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย

    เสริมสร้างลักษณะท่าทาง สมรรถนะความอดทนใน

    รูปแบบการฝึกวิชาทหารราบเบื้องต้น การเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง ความสมานสามัคคี การทำงานเป็นทีม การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและการฝึกความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบทั้งเป็นบุคคลและเป็นกลุ่ม

    การทดสอบกำลังใจการฝึกทักษะชีวิตด้วยวิชาการ

    เรือปฏิบัติ เช่น เชือก เงื่อน รอก บอริบันบาระตูรอก

    และการพายเรือกระเชียงเป็นต้น

    32 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • ขั้นตอนที่ ๓ “ฝึกอบรมทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และจิตอาสา” เป็นการปลูกฝัง

    คุณธรรม จริยธรรม ความกตัญญูกตเวทีและจงรักภักดีในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ค่านิยม ๑๒

    ประการ บทบาทและความสำคัญของนักเรียนอาชีวะกับการสร้างชาติฝึกทักษะการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น

    และการทำกิจกรรมจิตอาสา ให้ความรู้ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ เช่น ยาเสพติด โรคเอดส์ เป็นต้น การจัดกิจกรรมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ

    พระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ และจัดให้เข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนจ่า เช่น ชมรมกีฬา และกิจกรรมต่างๆเป็นต้น

    ขั้นตอนที่ ๔ “เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และสร้างแรงบันดาลใจ” เป็นการเสริมสร้างคุณค่า และความภาคภูมิใจ โดยจัดให้มีการศึกษาดูงานในสถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมกับนักเรียนจ่าจัดกิจกรรม

    ทดสอบทักษะชีวิตและแสดงออกถึงศักยภาพของนักเรียนในวันปิดหลักสูตร ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้ว

    เห็นว่าผู้เข้ารับการอบบรมมีความพร้อม อาจจัดให้มีการสวนสนามทางเรือด้วยเรือกระเชียง ซึ่งจะเป็น

    บททดสอบสำคัญว่านักเรียนสามารถผ่าน การปลูกฝังทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างมีคุณภาพทั้งด้านระเบียบวินัย ความอดทน อดกลั้น

    ความรู้รักสามัคคี การทำงานและการแก้ปัญหาเป็น

    หมู่คณะได้เป็นอย่างดี

    ผลการฝึกอบรมนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ในการดำเนินการฝึกอบรมนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ซึ่งเป็น

    วันรับตัวนักเรียนอาชีวศึกษา จำนวน ๗๙ คน จาก

    ๓ สถาบันการศึกษา และจัดพิธีเปิดการฝึกอย่างเป็นทางการขึ้นในวันที่๑๒พฤศจิกายนและปิดการฝึกอบรม

    ในวันที่๖ธันวาคม๒๕๕๗โดยนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ต้องอยู่ประจำและไม่มีการปล่อยกลับบ้านตลอดระยะเวลา

    การฝึกอบรมจำนวน๒๕ วัน สำหรับในการจัดพิธีเปิดและปิดการฝึกอบรมนั้น พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กรุณาให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานในพิธีด้วยตัวท่านเอง โดยในวันปิดการฝึกอบรมฯ นั้น โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ

    ได้จัดให้มีพิธีสวนสนามทางเรือด้วยเรือกระเชียง

    ของนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ ซึ่งสามารถทำได้สวยงามและเป็นไปตามความคาดหวังที่กำหนดไว้ตั้งแต่ก่อนการฝึก

    มีการมอบใบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนอาชีวะสร้างชาติที่ผ่านการฝึกอบรม การมอบโล่รางวัลเกียรติยศแก่ผูท้ี่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการฝึก และผู้ที่มีความประพฤติ

    และมนุษยสัมพันธ์ดีเลิศ และการมอบเกียรติบัตรพร้อมโล่เกียรติคุณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งมีการประชุม

    หารือและรับฟังรายงานผลการฝึกอบรม ในการนี้โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ ได้รายงานผลการฝึกอบรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้เข้ารับฟัง

    การรายงานผลการฝึกอบรม รวมทั้งคณะสื่อมวลชน

    ที่เข้าร่วมรับฟังอยู่ด้วยจำนวนมาก โดยมีสาระสำคัญ

    ที่น่าสนใจ และสื่อความให้เห็นภาพรวมของการฝึกอบรม ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นการฝึกจึงนำมาโดยมิได้

    ตัดทอนดังนี้

    33นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • ก่อนที่จะนำนักเรียนจาก๓สถาบันมารับการฝึกนั้น

    ได้ไปทำความเข้าใจกับนักเรียนและผู้ปกครองร่วมกับ

    สอศ.และวิทยาลัยทั้ง๓สถาบันด้วยเหตุว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติและคิดว่าการที่ลูกต้องเข้ารับ

    การฝึกอบรมนั้น จะทำให้ลูกเสียประวัติ และเข้าใจว่านักเรียนที่ต้องเข้ารับการฝึกเป็นเด็กเกเรหรือมีปัญหา

    และในส่วน ของนักเรียนเองก็กลัวการฝึก สำหรับในขั้นการดำเนินการฝึกอบรมฯนั้น โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานและตารางการฝึกอบรมที่กำหนดไว้มีสลับและปรับ เปลี่ ยน ให้ เหมาะสมบ้ า งตามความจำ เป็น

    โดยในวันแรกของการรับตัวนักเรียนอาชีวศึกษานั้น

    โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ ได้จัดให้มีการต้อนรับ

    ด้วยความเป็นกันเอง และสร้างความประทับใจให้แก่นักเรียน จัดให้มีการปฐมนิเทศเพื่อแนะนำระเบียบปฏิบัติทำการตรวจร่างกายและทำประวัติสุขภาพเพื่อป้องกันและเตรียมการดูแลในเรื่องสุขภาพ จัดนักเรียนจ่าดูแลเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ และช่วยเหลือ ในเรื่องต่าง ๆ

    เช่น การต้อนรับเข้าที่พักด้วยการช่วยจัดที่นอน และของใช้ส่วนตัว รวมทั้งได้ทำการตัดผมนักเรียนชาย

    ให้เกิดความเรียบร้อย แม้ว่าการตัดผมจะเป็นเรื่องที่สะเทือนใจวัยรุ่นแต่ได้ทำให้นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ดูเป็นเด็กสมวัยซึ่งในเรื่องการตัดผมนี้ได้รับการกล่าวถึงมากทั้งจากผู้บริหารของสอศ.อาจารย์ของสถานศึกษาทั้ง ๓ สถาบัน และผู้ที่มาสังเกตการณ์ฝึกซึ่งเป็น

    อีกกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนมากและหลากหลายมีทั้งที่มาแบบลับๆและที่ขอมาอย่างเป็นทางการอาทิทีมเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาวิจัย ทีมงานติดตามและประเมินผล

    คณะสื่อมวลชน ทีมงานถ่ายทำสารคดี ผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.)

    รวมถึงผู้ปกครองของนักเรียนว่า เมื่อได้เห็นภาพการตัดผม และเห็นทรงผม ของนักเรียนชายที่สั้นเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันแล้ว ต่างทึ่งและชื่นชม

    การฝึกอบรมฯ และการปฏิบัติต่อนักเรียนอาชีวะ

    สร้างชาติทั้งนี้ในระหว่างการฝึกอบรมฯได้มีบุคคลจากภาคส่วนต่าง ๆ และสื่อมวลชนให้ความสนใจ ในการ

    เข้ามาสังเกตการณ์ฝึกเป็นอย่างมาก สำหรับความมุ่งมั่นและตั้งใจในการฝึกอบรมนักเรียนอาชีวะสร้างชาตินั้น

    มีหลายเรื่องที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ ได้พยายามอบรมปลูกฝั ง เพิ่ ม เติ มนอกเหนือจากที่ บรรจุ ไว้

    ในหลักสูตร อาทิ การให้รู้จักแยกแยะถูก - ผิด

    การรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตัวเองซึ่งมีอยู่มากมาย

    ความรับผิดชอบและให้รักการทำหน้าที่มากกว่าการทำในสิ่งที่รักที่ชอบการปลูกฝังและเสริมสร้างการตระหนักรู้ในความกตัญญูกตเวทีอันเป็นเครื่องหมายของคนดี

    การเน้นย้ำในเรื่องต่าง ๆ ระหว่างการฝึกอบรมในระยะเวลา ๒๕ วันนั้นเป็นเพียงบททดสอบเล็กน้อยเท่านั้น

    เมื่อเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ที่นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    จะต้องพบเจอในวันหน้า เป็นการฝึกทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ฝึกความอดทนอดกลั้นในสิ่งที่ท้าทายและยากลำบาก การฝึกให้รู้จักระเบียบวินัย

    การปฏิบัติตนตามเวลาที่กำหนด การทำงานร่วมกับ

    ผู้อื่น การช่วยเหลือ พึ่งพาซึ่งกันและกัน การฝึกให้รู้จักมองและคิดอย่างรอบคอบการคิดบวกได้และมองลบเป็น ซึ่งแนวทางขั้นตอน และวิธีการทั้งหลายเหล่านี้หากเป็นนักเรียนจ่าหรือนักเรียนทหารถือเป็นเรื่องปกติธรรมดามาก แต่สำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาหรือ

    เด็กทั่วไปแล้วการฝึกอบรมในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาที่จะได้มีโอกาสผ่านการฝึกอบรมแนะนำหรือลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ ในการปลูกฝังระเบียบวินัยและความรับผิดชอบนั้น ได้ให้นักเรียนอาชีวะสร้างชาตปิฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับการปฏิบัติ ของนักเรียนจ่า มีการอบรมแนะนำและเสริมสร้างมารยาทการรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

    เพื่อปรับทัศนคติและละลายพฤติกรรม ตามแนวทาง

    ในขั้นตอนที่ ๑ ฝึกระเบียบวินัย และเสริมสร้างบุคลิกลักษณะท่าทาง ด้วยการฝึกทหารราบเบื้องต้น

    ตามแนวทางในขั้นตอนที่ ๒ ปลูกฝังระเบียบวินัยและความรับผิดชอบด้วยการมอบหมายหน้าที่และพื้นที่ให้ดูแลรับผิดชอบ และปลูกฝังระเบียบวินัยการตรงต่อเวลา

    ด้วยการให้ถือปฏิบัติตามตารางปฏิบัติประจำวัน

    34 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • ตลอด ๒๕ วัน อย่างเคร่งครัด เสริมสร้างสมรรถนะร่างกายและจิตใจ ด้วยการออกกำลังกายในตอนเช้าและเย็นทุกวัน ฝึกและปลูกฝังระเบียบวินัย ด้วยการเรียนรู้และร่วมปฏิบัติกับนักเรียนจ่าและเมื่อสังเกตเห็นได้ว่านักเรียนอาชีวะสร้างชาติโดยส่วนใหญ่สามารถปรับตัวได้ในระดับเป็นที่น่าพอใจแล้ว ได้เพิ่มระดับการฝึกระเบียบวินัยและภาวะผู้นำ ด้วยการฝึกทดสอบกำลังใจ และการฝึกทักษะชีวิตการทำงานร่วมกัน ด้วยวิชาการเรือปฏิบัติและเพิ่มระดับ การฝึกทักษะชีวิต

    ความอดทนอดกลั้น ระเบียบวินัยและการทำงานร่วมกัน ด้วยการฝึกพายเรือกระเชียงในทะเล ตามแนวทางในขั้นตอนที่ ๓ และจัดมีการเสริมสร้างคุณธรรม

    จริยธรรม และความกตัญญูกตเวที ด้วยการบรรยายพิเศษโดยพระวิทยากรผู้ชำนาญการ ซึ่งได้ทำให้นักเรียนอาชีวะสร้างชาติซาบซึ้งและซึมซับในด้านจิตใจ

    จนมีน้ำตาไหลนองหลายคน ได้มีการเสริมสร้างความภาคภูมิใจและแรงบันดาลใจด้วยการไปทัศนศึกษาและดูการปฏิบัติงานณ กรมโรงงานฐานทัพเรือสัตหีบ และการบรรยายพิเศษของรุ่นพี่ อาชีวะต้นแบบจากวิทยาลัยทั้ง๓สถาบันการออกไปทัศนศึกษาและพักผ่อนในวันหยุด มีการอบรมแนะนำและฝึกทักษะชีวิตให้รู้จักคิดเชิงบวกการสร้างความตระหนักรู้ในความกตัญญูกตเวที

    และความจงรักภักดี ตลอดจนการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะ สำหรับการสวนสนามทางเรือด้วยเรือกระเชียง และการได้รับมอบใบประกาศนียบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ รุ่นที่ ๑

    เป็นอย่างยิ่งซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญ หนึ่งในการดำเนินการตามแนวทางในขั้นตอนที่๔

    35นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • สำหรับผลการประเมินตนเองของหน่วยฝึกอบรมนั้น

    โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินตนเองเป็นการภายในไว้ว่า ถ้าระหว่างการฝึกอบรมฯ

    ตลอด๒๕ วันไม่มีหรือไม่เกิดเหตุ ๓ ไม่ จะให้คะแนนตนเอง๑๐๐คะแนนเต็มกล่าวคือไม่มีนักเรียนอาชีวะสร้างชาติบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ไม่เกิดการก่อเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างการฝึก และไม่หนีหายไประหว่างการฝึกนอกจากนี้ยังได้กำหนดเป้าหมายและความท้าทาย

    ร่วมกับนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ รุ่นที่ ๑ ไว้ว่า ถ้าหากในวันปิดหลักสูตรการฝึกอบรมฯนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    สามารถแสดงออกได้ด้วยการสวนสนามทางเรือด้วย

    เรือกระเชียง ซึ่งได้กำหนดให้เป็นกิจกรรมเฉพาะที่จะใช้เป็นบททดสอบหรือกิจกรรมชี้วัดสำคัญสำหรับนักเรียนอาชีวะสร้างชาติ รุ่นที่ ๑ ว่าเป็นผู้ที่มีผ่านการฝึก

    และปลูกฝังทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดีทั้งด้านระเบียบวินัย ความอดทน อดกลั้น

    ความรู้รักสามัคคี การทำงานและการแก้ปัญหาเป็น

    หมู่คณะ จะให้คะแนนตนเอง ๑๒๐ คะแนนแต่ด้วย

    ในวันปิดการฝึกอบรมฯ นักเรียนอาชีวะสร้างชาติ

    ไม่สามารถเข้าร่วมการสวนสนามทางเรือด้วยเรือกระเชียง

    ได้ทั้ง ๗๙ คน ด้วยบางคนป่วย เมาคลื่น บางคน

    ก็ออกอาการหลีกเลี่ยงถอดใจหรืออู้ซึม ซึ่งรวมแล้ว

    มีจำนวน๑๓คน(ชาย๑๑หญิง๒)จึงให้คะแนนการประเมินตนเองไว้ที่ ๑๑๐ คะแนน อย่างไรก็ตาม

    โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ ยังยืนยันผลการฝึกที่เห็นเป็นประจักษ์ชัดเจนว่านักเรียนอาชีวะสร้างชาติ ทั้ง

    ๗๙คนมีความเปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น ทุกคนได้ผ่านการเรียนรู้ ได้รับการปลูกฝังและเสริมสร้างทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกัน อย่างสร้างสรรค์

    ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และด้วยเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากภาคส่วน ทีมงาน และบุคคลต่าง ๆ

    อย่างมากมาย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องให้ข้อมูลและตอบคำถามในแง่มุมที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม

    คำถามที่มักจะถูกถามอยู่เสมอคือ“มั่นใจเชื่อมั่นหรือกล้าที่จะรับรองได้หรือไม่ว่า นักเรียนอาชีวะที่ได้เข้ามา

    รับการฝึกอบรมนี้จะไม่ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท”

    คำตอบที่ได้เตรียมการและพยายามเรียบเรียงเพื่อให้สละสลวยที่สุดหนึ่งคือนักเรียนอาชีวะที่ได้เข้ามารับการฝึกอบรมในโครงการฯครั้งนี้ มีจำนวน๗๙คนมีทั้งผู้ที่ไม่เคยและไม่คิดที่จะทำ กับผู้ที่เคยทำและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะทำซึ่งหากจะเทียบเคียงกับจำนวนนักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มเสี่ยงที่จะไปก่อเหตุ หรือจำนวนที่อยู่ในสถานศึกษาแล้วคงเทียบเคียงไม่ได้หนึ่งคือหากการรับศีลห้าของผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยเทียบเคียงได้กับการรับการฝึกอบรมของเด็กนักเรียนอาชีวะสร้างชาติถ้ามั่นใจได้ว่า

    ผู้ใหญ่ที่รับศีลห้าด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ จะไม่ทำผิด

    ศีลห้าอีกก็กล้าที่จะรับรองด้วยเช่นกันหนึ่งคือ เท่าที่มีความรู้และเคยทราบมาว่าความเสื่อมจะไม่เกิดขึ้นกับผู้ที่ ได้หรือบรรลุธรรมในขั้นโสดาบันขึ้นไป หนึ่งคือ

    การเปรียบเปรย ปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาว่าเป็น “ปัญหาคลาสสิก” ทำให้มองเห็นภาพได้อย่างลึกซึ้งและสื่อความได้ถึงแนวทางหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหานั้นคงไม่สามารถสำเร็จและบรรลุผลได้ด้วยแนวทางหรือวิธีการเพียง ๑ หรือ

    ๒ วิธี และบทสรุปส่วนหนึ่งในสุดท้ายของการเล่าเรื่อง

    คงเป็นคำตอบของคำถามยอดนิยมข้างต้นนั้นได้บ้าง

    แม้จะเป็นคำตอบที่ไม่ตรงไปตรงมาก็เชื่อว่าผู้ที่มีคำถามนี้

    คงคิดได้ไม่มากก็น้อย

    36 นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

  • สุดท้ายของการเล่าเรื่อง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ไม่น้อยไปกว่าการได้ใช้ศักยภาพของกองทัพเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ โรงเรียนชุมพลทหารเรือฯ และบุคลากรของกองทัพเรือในการเสริมสร้างคุณภาพคนให้แก่สังคมและประเทศชาติ คือ

    การได้เรียนรู้และมีความเข้าใจ“วัยรุ่น” (วัยที่หลายท่าน

    คงผ่านล่วงเลยมาหลายขวบปีแล้ว) คำกล่าวที่มักได้ยินว่า

    “วัยรุ่นใจร้อน” ยังใช้อธิบายหรือสื่อความถึงการเป็น

    วัยรุ่นได้เสมอ“วัยรุ่น” เป็นวัยที่มีพลังงานมากช่างเพ้อฝัน

    และจินตนาการ พร้อมที่จะเรียนรู้และลงมือทำในสิ่ง

    ที่ท้าทายทั้งเรื่องดีและไม่ดี อยากมีความเป็นตัว

    ของตัวเองแต่ก็กลัวการถูกโดดเดี่ยวจึงทำให้วัยรุ่นต้องแสวงหาการยอมรับจากเพื่อนด้วยวิธีการและรูปแบบต่าง ๆ มีความหลงและทะนงในความเป็นตัวของตัวเอง

    มีความอดทนอดกลั้นและยับยั้งชั่งใจน้อยกว่าผู้ใหญ่หรือผู้สูงวัยมาก พร้อมที่จะนำไปสู่การทะเลาะวิวาท

    ได้ง่ายอย่างไรก็ตามยังเห็นว่าน้องๆนักเรียนอาชีวศึกษา

    คือ เยาวชนคนที่จะสร้างชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า

    เพื่อให้พี่ ๆ ทหารหาญดูแลรักษาให้มีความมั่นคง

    สืบต่อไป

    ที่มา :หลักสูตรเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา (Pre.Voc.ED) โดย สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ร่วมกับ กองทัพเรือ

    37นาวิกศาสตร์  ปีที่ ๙๘ เล่มที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘