อบต.ทับหมัน · web viewตำบลท บหม นอย ห...

308
ปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปปป ปปปปปป ปปปปปปปปปปปปปปปปปปป (ป.ป. ปปปป - ปปปป) ********************* เเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ (เ.เ. เเเเ - เเเเ) เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เ.เ. เเเเ เเเเเ เเเเเเเเเเเเ (เเเเเเเ เ) เ.เ. เเเเ เเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเ เเเ เเ เเเเ.เ/เ เเเเ เเเเเเเเ เเ เเเเเเเ เเเเ เเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ (เ.เ. เเเเ – เเเเ) เเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเ เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเ เเเเเเเ 2 เเเเเ เเเ เ/เเเเ เเเเเเ 13 เเเเเเเเ เ.เ. เเเเ เ เเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเ เเเเเเ เเ เเเเเเเเ เ.เ. เเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเ เ.เ. เเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเ (เเเเเเเ เ) เ.เ. เเเเ เเเ เเ เเเ เเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ

Upload: others

Post on 21-Oct-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

เรื่อง ใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕)

*********************

เนื่องด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ได้ดำเนินการทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕) ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๘๑๐.๓/ว ๒๙๓๑ ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการทบทวนแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๕) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาดังกล่าว ในการประชุมสภา สมัยวิสามัญ สมัยที่ 2 ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมันได้อนุมัติร่างแผนพัฒนาฯ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๘ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒๔ ข้อ ๒๕ องค์การบริหารส่วนตำบล ทับหมัน จึงประกาศใช้แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๕) โดยให้มีผลนับตั้งแต่ ณ วันประกาศเป็นต้นไป ทั้งนี้ สามารถขอดูหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน หมู่ที่ 6 ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ 056-687164

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒

( นายสุวิทย์ โตทุ้ย )

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

-สำเนา-

แผนพัฒนาท้องถิ่น

(พ.ศ.2561-2565)

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

สารบัญ

หน้า

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1.ด้านกายภาพ1

2. ด้านการเมือง/การปกครอง3

3. ประชากร5

4. สภาพทางสังคม6

5. ระบบบริการพื้นฐาน8

6.ระบบเศรษฐกิจ9

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม10

8. ทรัพยากรธรรมชาติ11

9. อื่น ๆ12

ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหาภาค13

2. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น23

3. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น31

ส่วนที่ 3 การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน35

2. บัญชีโครงการพัฒนาท้องถิ่น37

- บัญชีสรุปโครงการพัฒนา (แบบ ผ.01)37

- รายละเอียดโครงการพัฒนา (แบบ ผ.02)40- รายละเอียดโครงการพัฒนา สำหรับโครงการที่เกินศักยภาพฯ (แบบ ผ02/1) 114

- บัญชีครุภัณฑ์ (แบบ ผ.03)128

สารบัญ

หน้า

ส่วนที่ 4 การติดตามและประเมินผล

4.1 การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์129

4.2 การติดตามและประเมินผลโครงการ134

4.3 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่น139

4.4 ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต141

ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน อยู่ในเขตการปกครองอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ปัจจุบันแยกการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน และได้ยกฐานะจากสภาตำบลทับหมันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน เมื่อปีพ.ศ. 2539 ตำบลทับหมัน มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกันท้องถิ่นใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือติดต่อกับตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน

ทิศใต้ติดต่อกับตำบลวัดขวาง อำเภอโพทะเล

ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลคลองคูณ อำเภอตะพานหิน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางลาย อำเภอบึงนาราง

ตำบลทับหมันอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอตะพานหินทางทิศตะวันตก ประมาณ 14.30 กิโลเมตร

เนื้อที่/พื้นที่ ทั้งหมดประมาณ 36.32 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 35,847 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 35,047 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย ประมาณ 800 ไร่ โดยมีหมู่บ้านในพื้นที่ ดังนี้

หมู่ที่1บ้านทับหมัน

หมู่ที่ 2บ้านทับปรู

หมู่ที่ 3บ้านย่านขาด

หมู่ที่ 4บ้านคลองเถาวัลย์เหล็ก

หมู่ที่ 5บ้านบึงประดู่

หมู่ที่6บ้านทับหมันเหนือ

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

(ปัจจุบันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ณ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2539)

ตั้งอยู่เลขที่ 147 หมู่ 6 ตำบลทับหมัน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

โทรศัพท์. 056-687164

โทรสาร. 056-687164

แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

- พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและที่ดอน

- ฤดูฝน มีฝนตกน้อย ค่อนข้างแห้งแล้ง

- มีแม่น้ำพิจิตรเก่าไหลผ่าน

- มีคลองชลประทานไหลผ่าน 2 สาย

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน จะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จาก

อ่าวเบงกอลและอ่าวไทย พัดผ่านมาในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม นอกจากนี้ยังมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมมีฤดูเกิดฤดู 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อนตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

ฤดูฝนกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม

ฤดูหนาวกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

1.4 ลักษณะของดิน

ลักษณะเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวร้อยละ 45  ดินร่วนร้อยละ 20  ดินเหนียวปนทราย

ร้อยละ 18  ดินร่วนปนทรายร้อยละ 11  ดินทรายร้อยละ 4  ดินทรายดินล่างเหนียวร้อยละ 3

2.ด้านการเมือง/การปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและราชการส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 กล่าวได้ว่าการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นผลผลิตหนึ่งของกระแสของสังคมที่ต้องการจะปฏิรูปการเมือง ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจึงเป็นมิติหนึ่งของความพยายามในการปฏิรูปการเมืองโดยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบล มีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนระดับตำบล หมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย

2.1 เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ได้ปรับขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบลจากขนาดเล็กเป็นขนาดกลาง เมื่อปี พ.ศ. 2554 ประกอบด้วยหมู่บ้าน 6 หมู่บ้านมีพื้นที่อยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านทับหมันผู้ใหญ่บ้านนายประวิตร พุ่มไพจิตร

หมู่ที่ 2 บ้านทับปรูกำนันตำบลทับหมันนายสะอาด กันสุข

หมู่ที่ 3 บ้านย่านขาดผู้ใหญ่บ้านนายพิทยา พูลสวัสดิ์

หมู่ที่ 4 บ้านคลองเถาวัลย์เหล็กผู้ใหญ่บ้านนายสุทัศน์ เกิดมงคล

หมู่ที่ 5 บ้านบึงประดู่ผู้ใหญ่บ้านนายอนันต์ เอมสาร

หมู่ที่ 6 บ้านทับหมันเหนือผู้ใหญ่บ้านนายประเทือง นิ่มสุวรรณ์

2.2 การเลือกตั้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน เป็นรูปแบบการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จำนวน 12 คน และคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 คน ซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเลือกตั้งจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยกำหนดให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน (ตามความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล)

ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน มีจำนวน 12 คน ประกอบด้วย

1. นายชูชีพเนตคำประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

2. นายอดุลย์จันทร์เชื้อรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

3. นายอนุชาติรอดเกิดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

4. นายพิทักษ์พงษ์มัดเป้าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

5. นายณรงค์ สงวนสินสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

6. นายวรพจน์บุญเหลือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

7. นางลำเพยนาคอ่อนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

8. นางจำเรียงแก้วใสสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

9. นายทรงศรีพูลสวัสดิ์สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

10. นายสุทินคุ้ยแคะสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

11. นายศักดิ์ศิริสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

12. นายสมชายภู่กลัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน มีจำนวน 1 คน ประกอบด้วย

1. นางจริยา ยิ้มกล่ำเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน มีจำนวน 4 คน ประกอบด้วย

1. นายสุวิทย์ โตทุ้ยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

2. นายวิชัยสว่างแก้วรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

3. นายอนันต์สิทธิ์ทรัพย์เมฆรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

4. นางอัมพรศิริเลขานุการคณะผู้บริหาร

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน มีจำนวน 1,353 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 4,164 คน

ลำดับ

หมู่บ้าน

ประชากร

รวม

จำนวน

ชาย

หญิง

ครัวเรือน

1

บ้านทับหมัน

464

502

966

280

2

บ้านทับปรู

463

563

1,026

344

3

บ้านย่านขาด

265

270

535

186

4

บ้านคลองเถาวัลย์เหล็ก

168

168

336

111

5

บ้านบึงประดู่

339

317

656

227

6

บ้านทับหมันเหนือ

317

328

645

205

รวม

2,016

2,148

4,164

1,353

· หมายเหตุ ข้อมูล จากสำนักทะเบียน กรมการปกครองอำเภอตะพานหิน เดือน พฤษภาคม 2562

ที่

หมู่บ้าน

จำนวนประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

(เปรียบเทียบย้อนหลัง ๔ ปี)

พ.ศ. 2557

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559

พ.ศ. 25๖๐

พ.ศ. 25๖๑

พ.ศ. 25๖๒

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

ชาย

หญิง

1

ทับหมัน

466

495

469

496

467

499

463

505

465

500

464

502

2

ทับปรู

478

563

475

559

472

561

472

557

465

564

463

563

3

ย่านขาด

283

291

267

283

261

274

261

272

262

270

265

270

4

คลองเถาวัลย์เหล็ก

165

170

164

174

163

170

168

170

169

169

168

168

5

บึงประดู่

341

313

332

315

326

319

327

317

336

315

339

317

6

ทับหมันเหนือ

316

318

311

320

313

320

319

326

316

326

317

328

รวม

2,049

2150

2018

2147

2,002

2,143

2,010

2,147

2,013

2,144

2,016

2,148

4,199

4,165

4,145

4,157

4,157

4,164

3.2ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ประชากร

ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน (ปี พ.ศ. ๒๕๖๒)

ประชากร

หญิง

ชาย

ช่วงอายุ

จำนวนประชากรเยาวชน

437

362

อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี

จำนวนประชากร

1,258

1,269

อายุ ๑๘ – ๖๐ ปี

จำนวนประชากรผู้สูงอายุ

145

219

อายุมากกว่า ๖๐ ปี

รวม

2,016

2,147

4,163 คน

4. สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ 15 – 60 ปีเต็ม ร้อยละ 99 อ่าน เขียนภาษาไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ 6 – 14 ปี ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ 99 ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน คือได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ให้กับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน

การศึกษา ข้อมูล ณ ปัจจุบัน

สังกัด

จำนวน

(แห่ง)

ชื่อสถานศึกษา

โรงเรียนสังกัด สพฐ. ในเขตพื้นที่ อบต.

3

1. โรงเรียนวัดทับหมัน

2. โรงเรียนวัดทับปรู

3. โรงเรียนบ้านบึงประดู่

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน

4.2 สาธารณสุข

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีสถิติเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ปัญหาคือ ประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ และประชาชนส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำเนินการเป็นประจำทุกปี

(1) หน่วยงานด้านสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับหมัน จำนวน1 แห่ง

(2) โรคที่ประชาชนในพื้นที่เข้ารับการรักษา

1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

2. โรคความดันโลหิตสูง

3. โรคระบบกระดูกและข้อ

4. โรคเบาหวาน

5. โรคระบบทางเดินอาหาร

6. โรคผิวหนัง

7. โรคตา

8. โรคหู คอ จมูก

9. โรคระบบปมประสาท

10. โรคระบบสูติ – นรีเวช

11. โรคเกี่ยวกับจิตประสาท

4.3 อาชญากรรม

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก

สถานีตำรวจวังหว้า มาปฏิบัติการในพื้นที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) คอยตรวจตราดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

4.4 ยาเสพติด

ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธร

ตะพานหิน ได้แจ้งให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทราบนั้นพบว่า ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมันมีผู้ที่ติดยาเสพติดจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น และยังไม่พบผู้ค้ายาเสพติด เหตุผลก็เนื่องมาจากได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด

4.5 การสังคมสังเคราะห์

องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้

1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์

2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ

4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง

5. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ที่มีฐานะยากจน

5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ของชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน เป็นถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนดินลูกรัง เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด สภาพถนนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลส่วนใหญ่มีสภาพใช้งานได้ดี มีถนนเพียงบางสายที่มีสภาพชำรุด ขนาดแคบและไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขถนนสายต่างๆ ให้เป็นไปตามขนาดมาตรฐานต่อไป ส่วนการคมนาคมในย่านชุมชนมีความสะดวก เนื่องจากมีปริมาณการใช้เส้นทางมาก

ถนนของท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน จำนวน 116 กิโลเมตร

สภาพถนน คอนกรีตจำนวน 31สาย ระยะทาง 47.139 กิโลเมตร

ลาดยางจำนวน 7สาย ระยะทาง 19.24 กิโลเมตร

ลูกรังจำนวน 26สาย ระยะทาง 34.38 กิโลเมตร

5.2 การไฟฟ้า

การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 99 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างรายทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ที่มีความต้องการให้ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างนั้นยังไม่เป็นที่สาธารณะ องค์การบริหารส่วนตำบลจึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ การแก้ปัญหาคือ ประสานความร่วมมือกันในหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะที่จะทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และหาวิธีการที่จะดำเนินการแก้ไขต่อไปทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลได้ตั้งงบประมาณในส่วนนี้ไว้แล้วโดยอุดหนุนให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอตะพานหินเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไฟฟ้าภายในพื้นที่ตำบลทับหมัน ปัจจุบันในเขตเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้

· จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า1,300 แห่ง

5.3 การประปา

องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน มีแหล่งน้ำประปา คือ

· ประปาหมู่บ้าน จำนวน 7แห่ง

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ใช้น้ำประปาในการอุปโภคบริโภค คิดเป็นร้อยละ 100โดยทั่วไปปริมาณน้ำประปาที่แจกจ่ายให้กับประชาชนเพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชน

5.4 โทรศัพท์

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือ) ใช้ประมาณ 99 % และสามารถรับฟังข่าวสารจากสื่อต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์รวมทั้งมีบริการให้การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางระบบอินเตอร์เน็ต และบริการ WIFI ฟรี ที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน และมีหอกระจายข่าว/เสียงไร้สายในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 99 ของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

พื้นที่ตำบลทับหมันมีบุรุษไปรษณีย์ ให้บริการในวันจันทร์ – เสาร์ (วันเสาร์ครึ่งวัน)หยุดอาทิตย์และบริษัทขนส่งเอกชนให้บริการในพื้นที่อย่างทั่วถึง

6.ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร

ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว และประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างทั่วไป รับราชการ ประมาณ ร้อยละ 20

6.2 การประมง

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมันไม่มีการประมง เป็นการจับปลาตามธรรมชาติในบริโภคในครัวเรือนตามฤดูกาลเท่านั้น

6.3 การปศุสัตว์

การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด แพะ เพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน

6.4 การบริการ

โรงแรม-แห่ง

ร้านอาหาร5แห่ง

โรงภาพยนตร์-แห่ง

สถานีขนส่ง-แห่ง

ร้านเกมส์-แห่ง

6.5 การท่องเที่ยว

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ เป็นต้น

6.6 อุตสาหกรรม

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับหมันไม่มีอุตสาหกรรม แต่มีการประกอบโรงสีขนาดกลาง จำนวน 1 แห่ง และโรงสีขนาดเล็ก จำนวน 1 แห่ง

6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

การพาณิชย์

ธุรกิจการค้าในเขตองค์การบริการส่วนตำบล ส่วนใหญ่เป็นประเภทของชำ ดังนี้

- ร้านค้าขายของชำจำนวน10แห่ง

- ปั๊มน้ำมันหัวจ่ายจำนวน 5แห่ง

- ปั๊มหลอดขายน้ำมันจำนวน 3แห่ง

- โรงสีจำนวน 2แห่ง

- อู่ซ่อมรถจำนวน 4แห่ง

กลุ่มอาชีพ

มีกลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มทำปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพ ตั้งอยู่ที่ บ้านบ้านบึงประดู่ หมู่ที่ 5

6.8 แรงงาน

จากการสำรวจข้อมูลพื้นที่พบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 – 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ95 โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วนไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชาชนต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

7.1 การนับถือศาสนา

- ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

จำนวน 3 แห่ง มีดังนี้

1. วัดทับหมัน ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 6 บ้านทับหมัน ตำบลทับหมัน

2. วัดทับปรู ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 2 บ้านทับปรู ตำบลทับหมัน

3. วัดบึงประดู่ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 5 บ้านบึงประดู่ตำบลทับหมัน

7.2 ประเพณีและงานประจำปี

- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ประมาณเดือนมกราคม

- ประเพณีวันสงกรานต์ประมาณเดือนเมษายน

- ประเพณีทำบุญกลางบ้านประมาณเดือนพฤษภาคม

- ประเพณีลอยกระทงประมาณเดือนพฤศจิกายน

- ประเพณีวันเข้าพรรษา / ออกพรรษาประมาณเดือนกรกฎาคม ตุลาคม

7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน การผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือน การทำไม้กวาดจากทางมะพร้าว การจับปลาโดยวิธีธรรมชาติ เป็นต้น

ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 90 พูดภาษากลาง

7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้ผลิตของกินของใช้พื้นเมืองไว้ใช้อุปโภคบริโภคภายในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ กระปุกออมสิน กระเป๋าผ้า เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่ ไม้กวาดที่ทำจากทางมะพร้าว รวมทั้งขนมไทยชนิดต่างๆ เช่น ขนมเทียน ขนมชั้น ขนมสอดไส้ เป็นต้น

8. ทรัพยากรธรรมชาติ

8.1 น้ำ

สำหรับน้ำที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้คลองธรรมชาติ และน้ำใต้ดินที่เกิดจากการขุดเจาะซึ่งจะต้องนำผ่านกระบวนการของระบบประปา แต่ในบางครั้งยังประสบปัญหาเรื่องน้ำที่ผลิตได้ไม่สะอาดไม่สามารถนำมาดื่มกินได้ ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลจะหาวิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป ส่วนแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรรวมทั้งใช้ในการอุปโภค-บริโภค มีดังนี้

ลำห้วย-แห่งสระน้ำ-แห่ง

หนองน้ำ5แห่งบ่อน้ำตื้น-แห่ง

ลำคลอง6แห่งบ่อบาดาล8แห่ง

บึง12แห่งอ่างเก็บน้ำ-แห่ง

แม่น้ำ1แห่งฝาย2แห่ง

อื่นๆ (ระบุ)-แห่งเหมือง-แห่ง

8.2 ป่าไม้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีป่าไม้

8.3 ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีภูเขา

8.4 คุณภาพของทรัพย์กรธรรมชาติ

ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพราะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า

สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ น้ำในการทำการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาด้านขยะ เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นปัญหาขยะก็มากขึ้น การแก้ไขปัญหาคือ องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนภาคต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนส่วนได้ร่วมมือแก้ไขปัญหา เช่น โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะ โครงการประกวดบ้านน่าอยู่หน้าบ้านน่ามอง รวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของตำบลให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นตำบลน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมการจัดหาถังขยะรถบรรทุกขยะ และสถานที่ทิ้งขยะไว้บริการประชาชน คาดว่าจะได้ดำเนินการในเร็วๆนี้

9. อื่นๆ

การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ตำบลทับหมัน

1) ส่งเสริมการประกอบอาชีพต่างๆ ให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ แก้ไขปัญหาความยากจน

ในตำบล

2) สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นอำเภอ สถานีตำรวจโรงพยาบาล สาธารณสุข ผู้นำชุมชน ให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองทางสังคม คอยรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างทันท่วงที

3) ความสะดวก ประสานงาน ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน

4) ร่วมมือกับอำเภอ เกษตรอำเภอ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการใช้ประโยชน์จากดินและน้ำให้เหมาะสมกับพื้นที่ของชุมชน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

5) ส่งเสริม สนับสนุน เปิดโอกาสให้เด็กได้รับการศึกษา จัดกิจกรรมให้ความรู้ต่างๆ

6) ส่งเสริมให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว

**************************************************

ส่วนที่ 2

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1 ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค

1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) ที่จะใช้เป็นรอบแนวทางการพัฒนา ในระยะ ๒๐ ปี ต่อจากนี้ไป ประกอบด้วย วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

วิสัยทัศน์

“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

ยุทธศาสตร์ชาติ

๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง มีเป้าหมายทั้งในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศ และช่วยลดและป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอาเซียน และประชาคมโลกที่มีต่อประเทศไทย โดยมีกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

- การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

- การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง ขจัดคอร์รัปชั่น สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม - การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบ เรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการ ความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล

- การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ และรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ความมั่นคงรูปแบบใหม่

- การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกำลังป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อย ภายในประเทศ สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ

- การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

– การปรับกระบวนการทำงานของกลไก ที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสูงแนวระนาบมากขึ้น

๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนา ไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งจำเป็นต้องยกระดับผลิตภาพการผลิตและการใช้นวัตกรรมในการเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในสาขาอุตสาหกรรม เกษตรและบริการ การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้าน การเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าและการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งการพัฒนาฐานเศรษฐกิจแห่งอนาคต ทั้งนี้ ภายใต้กรอบการปฏิรูปและพัฒนาปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ ทุกด้านได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การพัฒนา ทุนมนุษย์ และการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน โดยมีกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

- การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ

- การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ บนฐานของการพัฒนานวัตกรรมและมีความเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ในภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ

- การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจ ชุมชน พัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ยกระดับผลิต ภาพแรงงาน และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่สากล และพัฒนา วิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร

- การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และพัฒนา ระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญ จัดระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพ

- การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร และการวิจัยและพัฒนา

- การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก สร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับนานาประเทศ

๓) ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทย ให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ มีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา มีความเป็นสากล มีทักษะการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรมจริยธรรม รู้คุณค่าความเป็นไทย มีครอบครัวที่มั่นคง โดยมีกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

- การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ

- การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง

- การปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค1านิยมที่พึงประสงค์

- การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี

- การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัว ในการบ่มเพาะจิตใจให้เข้มแข็ง

๔) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเทาเทียมกันทางสังคม เพื่อเร่ง กระจายโอกาสการพัฒนาและ สร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม โดยมีกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

- การสร้างความมั่นคงและการลดความ เหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

- การพัฒนาระบบบริการและระบบบริหาร จัดการสุขภาพ

- การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่ เอื้อต่อการดำรงชีวิตในสังคมสูงวัย

- การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็ง ของชุมชน

- การพัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกใน การสนับสนุนการพัฒนา

5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ และมีความมั่นคงด้านน้ำ รวมทั้งมี ความสามารถในการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ และพัฒนามุ่งสู่การเป็นสังคม สีเขียว โดยมีกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

- การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

- การวางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง ๒๕ ลุ่มน้ำ เน้นการปรับระบบ การบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ

- การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม

- การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

- การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

- การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม

๖) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มีสมรรถนะสูง มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล กระจายบทบาทภารกิจไปสู1ท(องถิ่นอย่างเหมาะสม มีธรรมมาภิบาล โดยมีกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ

- การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม

- การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ

- การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

- การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

- การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัย เป็นธรรมและเป็นสากล – การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของ หน่วยงานภาครัฐ

- การปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และ รายจ่ายของภาครัฐ

1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการเชื่อมต่อ กับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ในลักษณะการแปลงยุทธศาสตร์ระยะยาวสู1การปฏิบัติ โดยในแต่ละยุทธศาสตร์ ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ได้กำหนดประเด็นการพัฒนา พร้อมทั้งแผนงาน/โครงการสำคัญที่ต้องดำเนินการ ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง ๕ ปี แรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันยังได้กำหนดแนวคิดและกลไกการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลที่ชัดเจน เพื่อกำกับให้การพัฒนา เป็นไปอย่างมีทิศทางและเกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย

วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ประกอบด้วย

(๑) เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี ตลอดจนเป็นคนเก่ง ที่มีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

(๒) เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงทาง เศรษฐกิจและสังคม ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้

(๓) เพื่อให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง แข่งขันได้มีเสถียรภาพ และมีความยั่งยืน

(๔) เพื่อรักษาและฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ

(๕) เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีการทำงานเชิงบูรณาการ

(๖) เพื่อให้มีการกระจายความเจริญไปสู1ภูมิภาค

(๗) เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับ ประเทศต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายรวม ประกอบด้วย

(๑) คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์

(๒) ความ เหลื่อมล้ำรายได(และความยากจนลดลง

(๓) ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้

(๔) ทุนทาง ธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(๕) มีความมั่นคง ในเอกราชและอธิปไตยและเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย

(๖) มีระบบบริหารจัดการ ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ กระจายอำนาจ และมีส่วนร่วมจากประชาชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ มี ๑๐ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ ที่ ๑ : การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

ยุทธศาสตร์ ที่ ๒ : การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ยุทธศาสตร์ ที่ ๓ : การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได(อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ ที่ ๔ : การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ ที่ ๕ : การเสริมสร้างความมั่นคงแหงชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ ที่ ๖ : การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และ

ธรรมาภิบาลในสังคมไทย

ยุทธศาสตร์ ที่ ๗ : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์ ที่ ๘ : การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

ยุทธศาสตร์ ที่ ๙ : การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ ที่ ๑๐ : ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

1.3 แผนพัฒนาภาค/ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดพิจิตร/ แผนพัฒนาจังหวัดพิจิตร

1.3.1แผนพัฒนาภาคเหนือ

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. ปรับโครงสร้างการผลิตสู่การพึ่งตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปรับระบบการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสมดุล เพื่อคงความเป็นฐานเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์การเกษตร

2. ยกระดับการค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสตลาดเน้นการพัฒนาบุคลากรโครงสร้างพื้นฐาน และอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ระบบโลจิสติกส์เพื่อสนับสนุนการค้า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

3. พัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญและเมืองชายแดนเพื่อรองรับการเชื่อมโยงในระดับนานาชาติ

4. พัฒนาคนและสังคมให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีความมั่นคงและอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา แรงงาน ฯลฯ

5. พัฒนาศักยภาพของสถาบันครอบครัวและชุมชนให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาที่นำไปสู่การพึ่งตนเอง มีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

6. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เน้นการอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และเตรียมการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ

ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด ให้มีความเชื่อมโยงกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 – 2554 และแผนพัฒนาฉบับที่ 11 รวมทั้งแผนพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้

1. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มีทิศทางการพัฒนาด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาบริการพื้นฐานของเมืองและสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงข่ายคมนาคม และสร้างมูลค่าเพิ่มทางภาคการผลิตและการบริการบนพื้นฐานของความรู้และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน มุ่งพัฒนาให้เป็นประตูการค้า การลงทุน พัฒนาเกษตรอินทรีย์ พัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนและการท่องเที่ยวอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมล้านนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเร่งฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

3. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก เน้นการสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และน้ำ สร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศาสนา การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้า บริการ การขนส่งและการกระจายสินค้า

4. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี เน้นพัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปการเกษตรอย่างครบวงจร สร้างมูลค่าเพิ่มจากการผลิตและวัสดุทางการเกษตร พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้า พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนแล้ง

โครงการสำคัญ

1. โครงการพัฒนามูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

2. โครงการยกระดับสินค้าหัตถกรรมและการท่องเที่ยวล้านนาสู่สากล

3. โครงการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน รองรับการเป็นศูนย์กลางความเจริญที่เชื่อมโยงกับนานาชาติ และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน

4. โครงการสืบสานพัฒนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาและศิลปะ วัฒนธรรมล้านนา

5. โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน

. โครงการเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการน้ำต้นทุน

1.3.2 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ( พ.ศ.2561 – 2564 )

จังหวัดพิจิตรอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างอันประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร อุทัยธานี และพิจิตร สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๒ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔) โดยกำหนดวิสัยทัศน์/ เป้าประสงค์และประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

“ เป็นศูนย์กลางธุรกิจข้าว สินค้าเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวธรรมชาติ

และวัฒนธรรมล้ำค่าระดับประเทศ”

เป้าประสงค์ (Goal)

๑. ผลผลิตข้าวและสินค(าเกษตรที่ปลอดภัย มีคุณภาพตามมาตรฐาน

๒. ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวและสินค(าเกษตรที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม ผ่านกระบวนการผลิต ที่ได้มาตรฐานและสร้างมูลค่าเพิ่ม

๓. ธุรกิจข่าวและสินค้าเกษตรปลอดภัยมีช่องทางและการตลาดเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๔. การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมการท1องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นที่รู้จักและยอมรับของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)

๑.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการผลิตข้าว และสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเท