หนังสือเรียน -...

10
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีทหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์จิตต์นิภา ศรีไสย์ อาจารย์ประนอม วิบูลย์พันธุอาจารย์อินทร์วุธ เกษตระชนม์ ผู้ตรวจ รองศาสตราจารย์ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา รองศาสตราจารย์อมรา เล็กเริงสินธุผู้ช่วยศาสตราจารย์นุชน้อย สถิรอังกูร วรรณคดี และวรรณกรรม บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์จิตต์นิภา ศรีไสย์

Upload: others

Post on 10-Sep-2019

7 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

ผู้เรียบเรียง

รองศาสตราจารย์จิตต์นิภา ศรีไสย์

อาจารย์ประนอม วิบูลย์พันธุ์

อาจารย์อินทร์วุธ เกษตระชนม์

ผู้ตรวจ

รองศาสตราจารย์ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา

รองศาสตราจารย์อมรา เล็กเริงสินธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นุชน้อย สถิรอังกูร

วรรณคดีและวรรณกรรม

บรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์จิตต์นิภา ศรีไสย์

Page 2: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

สงวนลิขสิทธิ์

สำ�นักพิมพ์ บริษัทพัฒน�คุณภ�พวิช�ก�ร (พว.) จำ�กัด

พ.ศ. ๒๕๕๙

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

๗๐๑ ถนนนครไชยศรี แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐

โทร. ๐-๒๒๔๓-๘๐๐๐ (อัตโนมัติ ๑๕ ส�ย), ๐-๒๒๔๓-๑๘๐๕

แฟกซ์ : ทุกหม�ยเลข, แฟกซ์อัตโนมัติ : ๐-๒๒๔๑-๔๑๓๑, ๐-๒๒๔๓-๗๖๖๖

website : www.iadth.com

คำ�นำ� หนังสือเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เล่มนี้ สถาบันพัฒนาคุณภาพ-

วิชาการ (พว.) จัดทำาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช๒๕๕๑โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้

ศึกษาวรรณคดีที่กำาหนดในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเรื่องวรรณคดีสำาหรับจัดการเรียนการสอน

ภาษาไทย ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าในทางประเทืองปัญญาและมีเนื้อเรื่องชวนศึกษา ซึ่งจะนำาไปสู่

การพัฒนาคุณลักษณะด้านการคิดวิเคราะห์ และการคิดมิติอื่น ๆ เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

การคิดสังเคราะห์การคิดประเมินค่าและการคิดสร้างสรรค์รวมทั้งเกิดความซาบซึ้งและตระหนักรู้คุณค่า

ของวรรณคดีไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ

เนือ้หาในเลม่นอกจากจะประกอบดว้ยวรรณคดทีีก่ำาหนดในประกาศของกระทรวงศกึษาธกิารแลว้

ยังมีหลักการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดในหลักสูตรอีกด้วย เพื่อฝึกทักษะ

การอา่นและการคดิในลกัษณะตา่งๆ นอกจากนี้วรรณคดแีละวรรณกรรมแตล่ะเรือ่งยงัมปีระเดน็สำาคญั

เพื่อให้นักเรียนฝึกกระบวนการคิดและอภิปรายในชั้นเรียนอันจะทำาให้เกิดการขยายมุมมองในมิติต่างๆ

อย่างหลากหลายซึ่งเป็นจุดประสงค์สำาคัญประการหนึ่งในการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรม

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อ

การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช๒๕๕๑ หากมี

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงหนังสือเรียน คณะผู้จัดทำาขอน้อมรับด้วยความขอบคุณและจะนำาไป

พัฒนาคุณภาพของหนังสือเรียนเล่มนี้ต่อไป

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

Page 3: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ๕

หน่วยการเรียนรู้ที่๑ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี ๒๐

หน่วยการเรียนรู้ที่๒ ลิลิตตะเลงพ่าย ๔๕

หน่วยการเรียนรู้ที่๓ บทละครพูดคำาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา ๗๒

หน่วยการเรียนรู้ที่๔ คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ๙๖

หน่วยการเรียนรู้ที่๕ โคลนติดล้อตอนความนิยมเป็นเสมียน ๑๑๒

บทอาขยาน ๑๒๕

บรรณานุกรม ๑๒๗

หน้า

สารบัญ

หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม การพิจารณารูปแบบ

ของวรรณคดีและวรรณกรรม

บ่อเกิดของวรรณคดีและวรรณกรรม

การพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

การประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม

ภูมิปัญญาไทยในวรรณคดีและวรรณกรรม

ภาษาถิ่นในวรรณคดีและวรรณกรรม

การสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

การวิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีและวรรณกรรม

วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น(ท๕.๑ม.๔-๖/๑)

วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต

ของสังคมในอดีต(ท๕.๑ม.๔-๖/๒)

วิเคราะห์และประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์ของวรรณคดีและวรรณกรรมในฐานะที่เป็นมรดก

ทางวัฒนธรรมของชาติ(ท๕.๑ม.๔-๖/๓)

สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

(ท๕.๑ม.๔-๖/๔)

รวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านและอธิบายภูมิปัญญาทางภาษา(ท๕.๑ม.๔-๖/๕)

แผนผังสาระการเรียนรู้

หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

ตัวชี้วัด

Page 4: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

หม่อมหลวงบุญเหลือเทพยสุวรรณ(๒๕๒๙:๗๔-๗๖)เขียนไว้ว่าหนังสือที่ได้รับยกย่องว่าเป็นวรรณคดีมีดังนี้ ๑. เป็นหนังสือที่มีรูปและเนื้อหาเหมาะสมกัน รูป คือ แบบของการประพันธ์ ได้แก่นิราศลิลิตฉันท์ส่วนเนื้อหาคือเนื้อเรื่องลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่องความคิดค�านึงของผู้ประพันธ์บทเจรจาของตัวละคร ๒. เป็นหนังสือที่ได้รับยกย่องว่าใช้ถ้อยค�าที่ได้เลือกเฟ้นอย่างประณีต ๓. ผู้อ่านติดใจอ่านหลายครั้งด้วยความเหมาะสมของเนื้อหาและมีส�านวนภาษาที่ประณีต ๔. มีคุณค่าหลายด้านหลายทางอยากให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกถึงหลาน

โดยสรุปวรรณกรรมหมายถึงงานเขียนทุกชนิดทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองเช่นวรรณกรรมแปลเรื่องเจ้าหญิงน้อยนวนิยายเรื่องข้างหลังภาพข่าวหรือบทความต่างๆ ส่วนวรรณคดี หมายถงึ หนงัสอืทีไ่ด้รบัยกย่องว่าดแีละแต่งดี โดยใช้กาลเวลาเป็นเครือ่งพสิจูน์ว่าดีเป็นอมตะ มีการถ่ายทอดอย่างมีศิลปะ มีวรรณศิลป์และเนื้อหาดีเด่น เนื้อเรื่องต้องไม่ผิดศีลธรรมประเพณีอันดีงามของไทยเช่นอิเหนาพระอภัยมณีสามก๊กเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน

บ่อเกิดของวรรณคดีและวรรณกรรม

การแต่งวรรณคดีและวรรณกรรมมีบ่อเกิดจากสิ่งต่างๆดังนี้ ๑. เรื่องทางศาสนา เช่น มหาเวสสันดรชาดก พระปฐมสมโพธิกถา มหาชาติค�าหลวง กามนิตพระมาลัยค�าหลวงนันโทปนันทสูตรค�าหลวง ๒. อารมณ์ความรู้สึกของกวีเช่นมัทนะพาธาเพลงยาวนิราศต่างๆ ๓. เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เช่นโคลงภาพพระราชพงศาวดารสามกรุงสามก๊ก ราชาธิราช ๔. ความรักชาติเช่นเลือดสุพรรณหัวใจนักรบ ๕. ความต้องการสดุดีหรือยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์เช่นลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตยวนพ่าย

การวิจักษ์วรรณคดีและวรรณกรรม คือ การพิจารณาในแง่ความงามของวรรณคดีและวรรณกรรมว่ามีความดีเด่นหรือไพเราะอย่างไร เพื่อท�าให้เกิดความเข้าใจ ความซาบซึ้ง ตระหนักในคุณค่าและความงามของวรรณคดีและวรรณกรรม ท�าให้เกิดความหวงแหน ต้องการรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ

หลักการวิจักษ์วรรณคดีและวรรณกรรมมีดังนี้ ๑. อ่านช้าๆพินิจพิเคราะห์ท�าความเข้าใจรู้ว่าใครท�าอะไรที่ไหนอย่างไร ๒. ค้นหาว่าสิ่งที่กวีแสดงออกมีอะไรบ้าง เพราะกวีแต่ละท่านจะมีทัศนะเป็นของตนเอง ซึ่งสื่อให้เห็นปรัชญาที่กวียึดถือความรู้ความนึกคิดและค่านิยมต่อสิ่งต่างๆ

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

ความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม

วรรณกรรม มาจากค�าว่า “วรรณ” หมายถึง หนังสือ รวมกับค�าว่า “กรรม” หมายถึง

การกระท�า การงาน ดังนั้น วรรณกรรม จึงหมายถึง งานหนังสือหรืองานเขียนหนังสือทุกชนิด

ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๑๑๐๐) อธิบายไว้ว่า วรรณกรรม

หมายถึงงานหนังสืองานประพันธ์บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรองเช่นวรรณกรรม

สมัยรัตนโกสินทร์วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศวรรณกรรมฝรั่งเศสวรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน

วรรณคดี มาจากค�าว่า วรรณ+คดี ค�าว่า “คดี”หมายถึง เรื่องวรรณคดีจึงหมายถึง เรื่องของ

หนังสือหรือทางแห่งหนังสือ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๑๑๐๐)

อธิบายไว้ว่าวรรณคดีหมายถึงวรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาดเช่น

พระราชพิธีสิบสองเดือนมัทนะพาธาสามก๊กเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน

พระยาอนมุานราชธนอธบิายไว้ในหนงัสอืการศกึษาวรรณคดแีง่วรรณศลิป์(๒๕๑๘:๓)โดยอ้างถงึ

ในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรมีข้อความเบื้องต้นกล่าวถึงพระราชปรารภว่า

“พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะทรงอุดหนุนท�านุบ�ารุง การแต่ง

กาพย์ กลอน และเรื่องความเรียงร้อยแก้วในภาษาให้ดีขึ้น แต่ยังหาทันได้ทรงจัดการใดไม่พระองค์

เสด็จสู่สวรรคาลัยเสียพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชด�าริว่า พระบรมราโชบาย

และพระราชด�าริของสมเด็จพระบรมชนกนาถดังกล่าวมานี้ เป็นการสมควรยิ่งนัก... สมควรจะจัดการ

อย่างใดอย่างหนึ่งอุดหนุนวิชาแต่งหนังสือภาษาไทยให้ดีขึ้นและพ้นจากการเข้าใจผิดทั้งผู้แต่งและผู้อ่าน

ดังกล่าวมาแล้ว ท�านองดั่งที่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงท�านุบ�ารุงการศึกษาโบราณคดีมาแต่ก่อน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น”

ในมาตรา๘ของพระราชกฤษฎีกาก�าหนดไว้ว่า

เรื่องใดเป็นหนังสือดีมีคุณวิเศษบริบูรณ์คือ

๑. เป็นหนังสือดีกล่าวคือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ซึ่งสาธารณชนจะอ่านได้โดยไม่เสียประโยชน์

คือไม่เป็นเรื่องทุภาษิต

๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียบเรียงอย่างใด ๆ ก็ตามแต่ต้องให้เป็นภาษาไทยอันดี

ถูกต้องตามโบราณกาลและในปัตยุบันกาล

ฉะนั้นจะเห็นว่าหนังสือที่วรรณคดีสโมสรยกย่องเป็นหนังสือที่ดีและแต่งดีคือวรรณคดี

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕6 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 7

Page 5: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

บทมหรสพ ใช้แสดงมหรสพต่างๆเช่นบทพากย์โขนบทละครพูด

ละครร้องละครร�า

บทพรรณนา ใช้เป็นบทร�าพันพรรณนาอารมณ์เช่นนิราศต่างๆ

บทพรรณนาส�าหรับร้องเช่นบทเห่กล่อมบทเพลงเขมรไทรโยค

เรื่องเล่า ใช้แต่งเป็นนิทาน เช่น นิทานอีสป นิยายส�าหรับขับเสภา เช่น

ขนุช้าง-ขนุแผนและนยิายส�าหรบัเทศน์เช่นมหาเวสสนัดรชาดก

ตัวอย่างของวรรณคดีและวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี เช่นนิทานเวตาลลิลิตตะเลงพ่าย

มัทนะพาธามหาเวสสันดรชาดกหัวใจชายหนุ่ม

๒. สารคดีหมายถงึเรือ่งทีเ่รยีบเรยีงขึน้จากความจรงิให้ความรู้ความคดิเหน็ทีเ่ป็นประโยชน์

มีสาระ เช่นสารคดีท่องเที่ยวสารคดีชีวประวัติ บทความความเรียงบทร้อยกรองประเภทสารคดี เช่น

คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

การพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

เมื่อพิจารณารูปแบบของวรรณคดีและวรรณกรรมแล้วควรพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีของวรรณคดี

และวรรณกรรมได้แก่เนื้อเรื่องโครงเรื่องตัวละครฉากบทเจรจาและแก่นเรื่องดังนี้

๑. เนื้อเรื่อง ควรพิจารณาเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ การพิจารณาเนื้อเรื่องในวรรณคดี

จะต้องอ่านหลายๆ ครัง้ศกึษาค�าศพัท์และความหมายต่างๆ จบัใจความพนิจิพเิคราะห์ถ้าเป็นวรรณคดี

ที่มีโครงเรื่องจะต้องศึกษาให้รู้ว่า ใคร ท�าอะไร ที่ไหน อย่างไร มีเหตุการณ์ตอนใดน่าสนใจ เนื้อเรื่อง

เหมาะสมกับยุคสมัยหรือไม่เป็นต้น

๒. โครงเรื่อง เป็นการวางกรอบและแนวทางในการสร้างเรื่อง โครงเรื่องเดียวกันอาจสร้าง

เรื่องได้แตกต่างกัน โครงเรื่องมักแสดงความขัดแย้งที่เป็นเหตุของเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ความขัดแย้ง

ระหว่างสุเทษณ์กับมัทนาขุนช้างกับขุนแผน

๓. ตัวละคร ควรพิจารณาลักษณะนิสัยตัวละครว่าใครคือตัวเอกพฤติกรรมตัวละครใดน่ายกย่อง น่าต�าหนิ ลักษณะนิสัยตัวละครสอดคล้องกับการด�าเนินเรื่องหรือไม่ โดยพิจารณาจาก

การกระท�าและค�าพูดของตัวละคร

๔. ฉาก ควรพิจารณาเวลาและสถานที่ของวรรณคดีและวรรณกรรมฉากที่ปรากฏจะต้อง

สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เช่น ฉากในประเทศจีนจากเรื่องสามก๊ก ฉากในป่าจากเรื่องมหาเวสสันดร-

ชาดกกัณฑ์มัทรี

๕. บทเจรจา ควรพิจารณาจากค�าพูดของตัวละครเพื่อให้ทราบลักษณะนิสัยและแรงจูงใจที่

ท�าให้ตัวละครมีพฤติกรรมแบบนั้นๆ

๖. แก่นเรื่อง ควรพิจารณาแนวคิดที่กวีมีเจตนาจะเสนอต่อผู้อ่าน โดยแฝงอยู่ในเนื้อเรื่อง

แก่นเรื่องเป็นสิ่งที่ผู ้แต่งใช้ในการวางโครงเรื่อง ฉาก ตัวละคร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการแต่งเรื่อง

ส่วนผู้อ่านเมื่ออ่านวรรณคดีและวรรณกรรมจบแล้วจึงพิจารณาแก่นเรื่องเป็นล�าดับสุดท้าย

การพิจารณารูปแบบของวรรณคดีและวรรณกรรม

รูปแบบของวรรณคดีและวรรณกรรมถ้าพิจารณาจากลักษณะค�าประพันธ ์ของวรรณคดี

และวรรณกรรมสามารถแบ่งได้๒ประเภทคือ

๑. ร้อยกรองคือค�าประพันธ์หรือถ้อยค�าที่เรียบเรียงให้เป็นไปตามระเบียบของฉันทลักษณ์

ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย เช่น ตะเลงพ่ายมีรูปแบบค�าประพันธ์ประเภทโคลงกับร่าย

มาประพันธ์ร่วมกันเรียกว่าลิลิตมัทนะพาธามีรูปแบบค�าประพันธ์ที่น�าฉันท์กับกาพย์มาประพันธ์ร่วมกัน

เรียกว่าค�าฉันท์ส่วนนิราศภูเขาทองมีรูปแบบค�าประพันธ์เป็นกลอนนิราศ

๒. ร้อยแก้วคือถ้อยค�าที่ดี ไพเราะมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันให้สละสลวยวรรณคดีประเภท

ร้อยแก้วได้แก่พระปฐมสมโพธิกถานิทานเวตาลสามก๊ก

ในการพิจารณารูปแบบร้อยกรอง ควรพิจารณาลักษณะค�าประพันธ์ คุณค่าทางวรรณศิลป์

ความไพเราะเสียงหนักเสียงเบาจังหวะการสรรค�ามาใช้และความถูกต้องตามฉันทลักษณ์

ส่วนวรรณคดีที่มีรูปแบบร้อยแก้วควรพิจารณาถ้อยค�าที่ใช้ภาษาที่สละสลวยการใช้ส�านวนโวหาร

และการด�าเนินเรื่อง

นอกจากนี้อาจพิจารณารูปแบบของวรรณคดีและวรรณกรรมตามจุดมุ่งหมายของเรื่องคือ

๑. บันเทิงคดี หมายถึง เรื่องที่เขียนหรือแต่งโดยมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู ้อ่าน จะเป็น

ร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้รูปแบบของวรรณคดีและวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดีเช่น

การวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม คือ การให้ค�าตัดสินว่าวรรณคดีและวรรณกรรมนั้น

มีคุณค่าหรืือบกพร่องอย่างไรซึ่งการวิจารณ์ควรพิจารณาเนื้อเรื่องว่าเหมาะสมสื่อความและสื่ออารมณ์

ได้ดีเพียงใด มีข้อคิดที่สามารถน�ามาประยุกต์ใช้ได้อย่างไรพฤติกรรมของตัวละครมีความเหมาะสม

หรือไม่หากวิจารณ์ค�าประพันธ์ประเภทร้อยกรองควรพิจารณาเรื่องรูปแบบค�าประพันธ์การใช้ค�าให้เกิด

ความงามด้านเสียงและความหมาย

หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมมีดังนี้

๑. ผู ้วิจารณ์จะต้องมีความรู ้ในเรื่องรูปแบบ ลักษณะค�าประพันธ์และวรรณศิลป์

มีประสบการณ์ในการอ่านมาก

๒. ผู้วิจารณ์จะต้องอธิบายลักษณะของหนังสือว่าเป็นอย่างไร โดยอ่านความเห็นของผู้รู้

ที่น่าเชื่อถือได้ประกอบการวิจารณ์

๓. ผู้วิจารณ์ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีหรือวรรณกรรมเรื่องนั้นว่าชอบ

หรือไม่ชอบดีหรือไม่ดีโดยมีเหตุผลประกอบที่น่าเชื่อถือ

๔. ผู้วิจารณ์จะต้องมีใจเป็นกลางปราศจากอคติและไม่ล�าเอียง

การวิจารณ์จะท�าให้ผู้วิจารณ์เข้าใจวรรณคดีและวรรณกรรมในด้านต่างๆ ทั้งรูปแบบ เนื้อหาและ

วรรณศิลป์ซึ่งจะท�าให้เห็นคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมนั้นอย่างรอบด้าน

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕8 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 9

Page 6: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

. . .แต่แม่ เที่ยวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศทั่วประเทศ

ทุกราวป่า สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบ

ฟังส�าเนียง สุดสุรเสียงที่แม่จะร�่าเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่าง

ลงเหยียบดินก็สุดสิ้นสุดปัญญาสุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด...ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี : เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ไม้เรียกผะกากุพฺ- ชะกะสีอรุณแสง

ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย

มัทนะพาธา : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่ง! ย�่าค�่าระฆังขาน กลอนดอกสร้อยร�าพึงในป่าช้า : พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

การประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม

วรรณคดีและวรรณกรรมมีบทบาทเหมือนงานศิลปะอื่น ๆ คือ การสร้างความบันเทิงใจ และ

จรรโลงใจ ความบันเทิงใจ หมายถึง ความเพลิดเพลิน ความสนุก ความอิ่มใจอิ่มอารมณ์ในการอ่าน

การฟังส่วนจรรโลงใจหมายถึงความชื่นบานเบิกบานการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นประณีตขึ้นมี

จิตใจและอารมณ์ที่ดีงามละเอียดอ่อนวรรณคดีและวรรณกรรมจึงเป็นสิ่งที่กล่อมเกลาจิตใจและอารมณ์

มนุษย์ให้มีความดีความงามและรู้จักความเป็นจริงของชีวิต เข้าใจชีวิตและเข้าใจมนุษย์มากขึ้น เราอาจ

ประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมได้ทั้งด้านวรรณศิลป์ ด้านอารมณ์ ด้านสังคมและวัฒนธรรม

และด้านคุณธรรม

๑. คุณค่าด้านวรรณศิลป์คือการพิจารณาถ้อยค�าส�านวนที่ใช้ว่ามีความงาม

ไพเราะจับใจอย่างไรเช่นการเล่นค�าเล่นเสียงการใช้ภาพพจน์

ตวัอย่าง

การเล่นซ�้าค�า คือ การใช้ค�านั้นซ�้ากันหลายครั้ง เพื่อเน้นความหมายและก่อให้เกิดอารมณ์

สะเทือนใจ

การใช้อุปมาคือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง

การใช้สัทพจน์คือการใช้ค�าเลียนเสียงธรรมชาติ

การวิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีและวรรณกรรม

ค�าว่า“วเิคราะห์”ในพจนานกุรมฉบบัราชบณัฑติยสถานพ.ศ.๒๕๕๔(๒๕๕๖:๑๑๑๕)อธบิายไว้ว่า

วิเคราะห์หมายถึงแยกออกเป็นส่วนๆเพื่อศึกษาให้ถ่องแท้ เช่นวิเคราะห์ปัญหาต่างๆวิเคราะห์ข่าว

การวิ เคราะห ์ คือ การพิจารณาแยกแยะสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป ็นส ่วน ๆ เพื่อท�าความเข ้าใจ

แต่ละส่วนให้แจ่มแจ้งจากนั้นควรพิจารณาว่าแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

การวิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีและวรรณกรรมมีดังนี้

๑. วิเคราะห์เนื้อหา ว่ามีลักษณะอย่างไร กล่าวถึงสิ่งใด องค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องมี

การประสานกันอย่างกลมกลืนหรือไม่ตรงตามข้อเท็จจริงหรือมีความสมจริงหรืือไม่

๒. วิเคราะห์รูปแบบพิจารณาลักษณะค�าประพันธ์ว่าเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เหมาะสม

กับเนื้อหาหรือไม่

๓. วิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์ การใช้ส�านวนโวหารไพเราะสละสลวย มีลักษณะเด่น

ในเชิงประพันธ์หรือไม่ วรรณคดีและวรรณกรรมที่ดีจะต้องมีวรรณศิลป์ คือ มีการใช้ภาพพจน์ เช่น

สัทพจน์อุปมาอุปลักษณ์มีการเล่นเสียงเช่นเสียงสัมผัสมีการเล่นค�าเช่นการซ�้าค�า

๔. วิเคราะห์การแสดงออกอย่างมีศิลปะศิลปะคือการแสดงออกที่ก่อให้เกิดอารมณ์-

สะเทือนใจเมื่ออ่านวรรณคดีและวรรณกรรมแล้วเกิดอารมณ์สุขหรือทุกข์เรียกว่าอารมณ์สะเทือนใจ

๕. วิเคราะห์คุณค่าทางสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนภาพเหตุการณ์

ในอดีตและวิถีชีวิตของคนแต่ละยุคแต่ละสมัยหลักการวิเคราะห์ควรพิจารณาว่าเนื้อหากล่าวถึงวิถีชีวิต

ความเป็นอยู่ในสมัยนั้นอย่างไรมีวัฒนธรรมด้านต่างๆอย่างไร

สังเคราะห์ หมายถึง การน�าความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถมาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใด

สิ่งหนึ่งขึ้น โดยมีจุดมุ ่งหมายที่ชัดเจน เช่น การประพันธ์วรรณคดีและเขียนวรรณกรรมต้องใช้

ความรู้ความสามารถหลายๆ ด้านทั้งความรู้ทั่วไปการใช้ภาษาส�านวนโวหารมาสร้างสิ่งใหม่ขึ้นเป็น

ผลงานวรรณคดีและวรรณกรรม

การสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรมก็เช่นเดียวกันจ�าเป็นต้องอ่านหลาย ๆ ครั้ง

ใช ้ประสบการณ์ ความสามารถทางภาษาในการวิเคราะห์ ตีความ ท�าความเข ้าใจเนื้อหาแล้ว

สังเคราะห์ออกมาเป็นข้อคิดคติเตือนใจเพื่อน�าไปใช้ในชีวิตประจ�าวันเช่น

รามเกียรติ์ลิลิตตะเลงพ่ายให้ข้อคิดเรื่องความรักชาติ

โคลงโลกนิติ สุภาษิตพระร่วง ให้ข้อคิดในเรื่องการด�าเนินชีวิตในสังคมมนุษย์ การใช้จ่าย

การคบเพื่อน

มัทนะพาธาอิเหนาขุนช้าง-ขุนแผนให้ข้อคิดในเรื่องความรักความเจ็บปวดในความรัก

การสังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕10 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 11

Page 7: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

๓. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรมหมายถึงวิถีชีวิตของคนในสังคมเกี่ยวกับ

ความเป็นอยู่ความคิดความเชื่อค่านิยมขนบธรรมเนียมประเพณี

โอ้เอ็นดูมุนีฤๅษีน้อย ให้ละห้อยโหยหาน�้าตาไหล

เข้ากราบเท้าเจ้าตาด้วยอาลัย หลานจะไปกังวลด้วยชนนี

พระอภัยมณี : สุนทรภู่

อุรารานร้าวแยก ยลสยบ

เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น

เหนือคอคชซอนซบ สังเวช

วายชิวาตม์สุดสิ้น สู่ฟ้าเสวยสวรรค์

ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ตวัอย่าง

เจ้าขรัวย่าอ้าปากน�้าหมากพรู เล่าให้รู้แต่ต้นมาจนปลาย

เสภาเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ตอน ก�าเนิดพลายงาม : สุนทรภู่

บ้างรู้แต่ยากวาด เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม)

ฝันว่าร้องไห้จะได้ชม ของรักตกตมจะคืนเข้า

ที่ร้อนโรคโศกสร่างจะบางเบา มิตรเก่าจะประคองวันทองน้อย

เสภาเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ตอน ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างได้นางแก้วกิริยา : สุนทรภู่

การเคารพผู้ใหญ่

การกินหมาก

การกวาดยาเด็กซึ่งเป็นการรักษาด้วยสมุนไพร

ความเชื่อเรื่องฝัน

อารมณ์สะเทือนใจ

๒.คุณค่าด้านอารมณ์ การอ่านหนังสือท�าให้อารมณ์เบิกบาน เพลิดเพลิน สนุกสนาน

วรรณคดีและวรรณกรรมบางเรื่องท�าให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความสุข ความทุกข์ ไปตาม

บทประพันธ์นั้นๆ

เมียจะตายตามผัวกลัวผีหลอก กลัวหายใจไม่ออกเมื่ออาสัญ

...เมื่อสมเด็จพระมัทรีทรงก�าสรดแสนกัมปนาท เพียงพระสันดาน

จะขาดจะดับศูนย ์ ปริ เทวิตฺวา นางเสวยพระอาดูรพูนเทวษในพระอุรา

น�้าพระอัสสุชลนาเธอไหลนองคลองพระเนตร ทรงพระกันแสงแสนเทวษพิไรร�่า

ตั้งแต่ประถมยามค�่าไม่หย่อนหยุดแต่สักโมงยามนางเสด็จไต่เต้าติดตามทุกต�าบล

ละเมาะไม ้ ไพรสณฑ์ศิขริน ทุกห ้วยธารละหานหินเหวหุบห ้องคูหาวาส

ทรงพระพิไรร้องก้องประกาศเกริ่นส�าเนียง พระสุรเสียงเธอเยือกเย็นระย่อ

ทุกอกสัตว ์ พระพายร�าเพยพัดทุกกิ่งก ้าน บุษบงก็เบิกบานผกากร รัศมี

พระจันทรก็มัวหมองเหมือนหนึ่งจะเศร้าโศก แสนวิปโยคเมื่อยามปัจจุสมัย

ทั้งรัศมีพระสุริโยทัยส่องอยู่ราง ๆ ขึ้นเรืองฟ้า เสียงชะนีเหนี่ยวไม้ไห้หาละห้อย

โหยพระก�าลังนางก็อิดโรยพิไรร�่าร้องพระสุรเสียงเธอกู่ก้องกังวานดง... ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี : เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ขุนเสียมสามรรถต้าน ขุนตะเลง

ขุนต่อขุนไป่เยง หย่อนห้าว

ยอหัตถ์เทิดลบองเลบง อังกุศไกวแฮ

งามเร่งงามโทท้าว ท่านสู้ศึกสาร

ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

การใช้ภาพพจน์ คือการใช้ถ้อยค�าให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพหรือเห็นภาพชัดเจนขึ้นในใจ

ตวัอย่าง

อารมณ์ขัน

เสภาเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ตอน นางพิมเปลี่ยนชื่ิอวันทอง :

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

อารมณ์เศร้า

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕12 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 13

Page 8: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

หิริกังละอายบาป อันยุ่งหยาบสิ้นทั้งหลาย

ประหารให้เสื่อมคลาย คือตัดเสียซึ่งกองกรรม คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม)

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล�้าเหลือก�าหนด

ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน�้าใจคน

พระอภัยมณี : สุนทรภู่

ทรลักษณ์อกตัญญุตาเขา เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหน

ให้ทุกข์ร้อนงอนหง่อทรพล พระเวทมนตร์เสื่อมคลายท�าลายยศ

พระอภัยมณี : สุนทรภู่

ภาษาถิ่นในวรรณคดีและวรรณกรรม

สังคมไทยมีภาษากลางเป็นภาษามาตรฐานใช้ทางราชการและการศึกษาทั่วประเทศและยังมีภาษาถิ่น

หลากหลายภาษาถิ่นเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในกลุ่มชนและในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ซึ่งภาษาของคนแต่ละ

ท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม นอกจากภาษาถิ่นจะเป็นเครื่องมือใช้สื่อสารระหว่างมนุษย์

ในท้องถิ่นนั้นแล้วยังใช้สร้างสรรค์วรรณคดีและวรรณกรรมสามารถถ่ายทอดเรื่องราวทางวัฒนธรรม

ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาษาถิ่นจึงเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน

การเรยีนรูภ้าษาถิน่จะท�าให้เข้าใจวฒันธรรมท้องถิน่สามารถเรยีนรูป้ระเพณแีละวรรณกรรมท้องถิน่

ได้ดียิ่งขึ้น เป็นกุญแจไขระบบวิธีคิดของผู้คน เก็บบันทึกองค์ความรู้ และช่วยในการสืบค้นข้อมูลด้าน

ประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

เขานั้นบ่มิต�่าบ่มิสูงบมิพีบมิผอม

“พี”ภาษาถิ่นใต้หมายถึงอ้วนไทยมักใช้คู่กันว่า“อ้วนพี”

ดังลูกวัวแล่นเล่น

“แล่น”ภาษาถิ่นใต้หมายถึงวิ่ง

ตวัอย่าง

ไตรภูมิพระร่วง

ท้าวเธอก็ชื่นบานบริสุทธิ์ด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี : เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

เป็นแพทย์นี้ยากนัก จะรู้จักซึ่งกองกรรม

ตัดเสียซึ่งบาปธรรม สิบสี่ตัวจึ่งเที่ยงตรง

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม)

๔. คุณค่าด้านคุณธรรม วรรณคดีมักจะสะท้อนให้เห็นว่าสังคมที่มีคนดีมีคุณธรรมจะเป็น

สังคมที่มีความสุข และคนที่ท�าความดีจะได ้รับผลดีตอบแทน วรรณคดีจึงอาจช ่วยปลูกฝ ัง

คุณธรรมต่างๆ ทั้งความดี ความละอายต่อบาป ให้แนวคิดที่เหมาะสมในการด�าเนินชีวิต และการอยู่

ร่วมกันในสังคม เช่น โคลงโลกนิติ พระอภัยมณี ไตรภูมิพระร่วง บางครั้งค�าพูดและการกระท�าของ

ตัวละครเป็นคุณธรรมสอนใจที่สามารถน�ามาประยุกต์ใช้ในการด�าเนินชีวิตเช่น

ข้าจะให้ลูกข้าสิบห้าชั่ง ขันหมากมั่งน้อยมากไม่จู้จี้ เสภาเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ตอน พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม :

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

การเรียกค่าสินสอดทองหมั้น

ความเชื่อเรื่องบาปกรรม

พานขันหมากและสินสอดทองหมั้น

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕14 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 15

Page 9: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

การศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมมีหลักการดังนี้

๑. การวิเคราะห์ เป็นการพิจารณาแยกแยะองค์ประกอบของวรรณคดีและวรรณกรรม

เป็นส่วนๆและพิจารณาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น

๒.การสังเคราะห์เป็นการน�าความรู้ความเข้าใจในวรรณคดีและวรรณกรรมมาสร้างสรรค์

แนวทางข้อคิดเพื่อน�าไปใช้ในชีวิตประจ�าวัน

๓.การประเมินคุณค่าเป็นการประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากวรรณคดีได้แก่

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

คุณค่าด้านอารมณ์

คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม

คุณค่าด้านคุณธรรม

๔.การวิจักษ์เป็นความซาบซึ้งจนเข้าใจและรู้คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

๕.การวิจารณ์เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบเนื้อหาและกลวิธีต่างๆ

ในการน�าเสนอของวรรณคดีและวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ

๖. การศึกษาภาษาถิ่นจะท�าให้ได้เรียนรู้วัฒนธรรม สามารถศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นได้

เข้าใจและถูกต้อง

สรุปความรู้

ยอดแห่งวรรณคดี หนังสือที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งวรรณคดีเช่น ๑. ลิลิตพระลอเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิต ๒. สมุทรโฆษค�าฉันท์ของพระมหาราชครูสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทฉันท์ ๓. มหาชาติกลอนเทศน์เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทกาพย์ ๔. เสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผนเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทกลอนสุภาพ ๕. บทละครเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทกลอนบทละคร ๖. พระอภัยมณีของสุนทรภู่เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน ๗. มัทนะพาธาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทบทละครพูดค�าฉันท์ ๘. บทละครเรือ่ง หวัใจนกัรบ พระราชนพินธ์ในพระบาทสมเดจ็พระมงกฎุเกล้าเจ้าอยูห่วัเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทบทละครพูด ๙. สามก๊ก ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทความเรียง-นิทาน ๑๐. พระราชพิธีสิบสองเดือนพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เป็นยอดของวรรณคดีประเภทความเรียงเชิงอธิบาย

ตรึงนายแก้วยะยัน ต้องนายขวัญท่าวทบ

“ท่าว”ภาษาถิ่นเหนือและอีสานหมายถึงหกล้มล้ม

เจ้าไปแล้วเจ้าจัก คืนเมือ ลูกเอย

“เมือ”ภาษาถิ่นเหนือหมายถึงกลับ

ลิลิตพระลอ

การเรียนรู ้ภาษาถิ่นนอกจากจะท�าให้สามารถเรียนรู ้วรรณกรรมท้องถิ่นได้แล้ว ยังท�าให้

ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับคนในท้องถิ่นได้อย่างสะดวกและพูดภาษาถิ่นได้ถูกต้องอีกด้วย

ภูมิปัญญาไทยในวรรณคดีและวรรณกรรม

ค�าว่า “ภูมิปัญญา” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ (๒๕๕๖ :๘๗๒)อธิบาย

ไว้ว่าภูมิปัญญาหมายถึงพื้นความรู้ความสามารถ

คนไทยใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือสื่อสารถ่ายทอดและรวบรวมหลักฐานทางภูมิปัญญา เพื่อให้เป็น

มรดกตกทอดถงึรุน่ลกูรุน่หลานบางครัง้ภมูปัิญญาด้านต่างๆ จะถกูบนัทกึไว้ในวรรณคดแีละวรรณกรรม

หรือในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ดังนั้น คนไทยจึงควรศึกษาวรรณคดี วรรณกรรมปัจจุบัน

และวรรณกรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยที่สะท้อนภาพชีวิตและสังคมท�าให้สามารถเรียนรู้ได้หลายแง่มุม

และมีมุมมองในการบูรณาการกับความรู้ด้านอื่น ๆ เชื่อมโยงกับการด�ารงชีวิต เพื่อการเรียนรู้จะได้

กว้างขวางขึ้น ภูมิปัญญาไทยที่ปรากฏในวรรณคดีและวรรณกรรม เช่น เพลงกล่อมเด็ก ดอกสร้อย-

สุภาษิตประถมกกาบทร้องเล่นนิทานอีสปนิทานชาดก

ศิลาจารึกหลักที่ ๑

เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ดีมีตลาดปสาน

เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎีพิหารปู่ครูอยู่

“เบื้องตีนนอน”ภาษาถิ่นใต้หมายถึงทิศใต้

“เบื้องหัวนอน”ภาษาถิ่นใต้หมายถึงทิศเหนือ

มหาชาติค�าหลวง

สูจุ่งเยียฉนนน้นนแก่ยาจกทงงปวง

“เยีย”ภาษาถิ่นเหนือออกเสียงว่า“เญียะ”หมายถึงท�า

ขอเป็นข้าแม่เพราะงาย

“งาย”ภาษาถิ่นเหนือภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้หมายถึงเวลาเช้า

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕16 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 17

Page 10: หนังสือเรียน - academic.obec.go.thacademic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458626471_example.pdf · หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม

ประเด็นทบทวนและควรคิด

๑. องค์ประกอบของวรรณคดีหรือวรรณกรรมมีอะไรบ้าง ให้นักเรียนศึกษาวรรณคดีหรือ

วรรณกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งและวิเคราะห์ให้เห็นจริง

๒. ให้นักเรียนสังเคราะห์ข้อคิดจากค�าประพันธ์ต่อไปนี้

๒.๑ อุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ย่อมจะอาสัญลงเพราะลูกเป็นแท้เที่ยง

๒.๒ ท้าวเธอก็ชื่นบานบริสุทธิ์ด้วยปิยบุตรมิ่งมกุฎทานอันพิเศษ

๒.๓ ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน

ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด

๒.๔ แก่กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ

แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ

๒.๕ ผู้ใดใครท�าชอบ ตามระบอบพระบาลี

กุศลผลจะมี อเนกนับเบื้องหน้าไป

กิจกรรมเสนอแนะ

๑. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มค้นคว้าวรรณคดีที่ประทับใจมากลุ่มละ ๑ เรื่อง วิเคราะห์ สังเคราะห์

ประเมินค่าและออกมาวิจารณ์หน้าชั้นเรียน

๒. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายในหัวข้อ “การอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมท�าให้เราเข้าใจมนุษย์

จริงหรือ”

๓. ให้นักเรียนจัดมุมศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมในชั้นเรียน เช่น วรรณกรรมพื้นบ้าน

หนังสือนิทานต่างๆ

๔. ให้นักเรียนค้นคว้าเพลงจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมมากลุ่มละ ๑ เพลง วิเคราะห์เนื้อหา

รูปแบบและประเมินคุณค่าของเพลงนั้นๆ

๕. ให้นักเรียนรวบรวมวรรณกรรมพื้นบ้านเป็นหมวดหมู่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน

และภาคกลางพร้อมทั้งอธิบายภูมิปัญญาไทยและภาษาถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรม

วรรณคดีแห่งชาติ

เรื่องที่ ๑ บทละครเรื่อง รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราชพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตเพื่อช่วยกันรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ที่สูญหายไปในสมัยอยุธยาและเรียบเรียงเป็นบทละครในตั้งแต่ปี๒๓๔๐ซึ่งเป็นที่มาของเรื่องรามเกียรติ์ส�านวนอื่นๆของไทยที่แต่งขึ้นในสมัยต่อมา บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ ให้ความรู้เกี่ยวกับสังคมและประเพณีวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อเรื่องพระมหากษัตริย์คือพระนารายณ์อวตารลงมาปราบยคุเขญ็ในโลกมนษุย์เป็นเรือ่งทีใ่ห้ทัง้คตธิรรมและความสนกุสนานเพลดิเพลนิเน้นเรือ่งธรรมะย่อมชนะอธรรมและความประพฤตขิองตวัละครทีถ่กูท�านองคลองธรรม ด้วยเหตุนี้ในปี๒๕๕๘คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติจึงประกาศยกย่องให้บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็น“วรรณคดีแห่งชาติ”

เรื่องที่ ๒ ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วงพระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาที่ ๑ลิไทย เป็นวรรณคดีสมัยสุโขทัยที่เรียบเรียงความรู้ด้านโลกศาสตร์และจักรวาล เป็นความเรียงร้อยแก้ว ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทยที่ยืนยันความรุ่งเรืองด้านอักษรศาสตร์สมัยสุโขทัย โดยบอกเล่าวิถีชีวิตของคนไทยมีปรัชญาทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งสอนจริยธรรมศีลธรรมให้แก่คนในสังคมและโน้มน้าวให้บุคคลท�าแต่ความดีละเว้นความชั่ว ซึ่งเป็นแนวทางน�าไปสู่ความสุขแท้จริง ด้วยเหตนุีใ้นปี๒๕๕๓คณะกรรมการวรรณคดแีห่งชาตจิงึประกาศยกย่องให้ไตรภมูกิถาหรือไตรภูมิพระร่วงเป็น “ยอดวรรณคดีสมัยสุโขทัย” และในปี๒๕๕๕กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องให้ไตรภูมิพระร่วงเป็น“วรรณกรรมอาเซียน”อีกด้วย

เรียบเรียงจาก กรมศิลปากร

http://www.finearts.go.th

การวิจารณ์วรรณคดี

http://www.web.pcctrg.ac.th/thai/m5/r2/p_7.html

วรรณคดีและวรรณกรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕18 หลักการวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม 19