ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส...

20
แผนเสริมสรางสมรรถภาพดานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก ทําไมทานจึงควรทราบเกี ่ยวกับ…

Upload: others

Post on 06-Mar-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

แผนเสริมสรางสมรรถภาพดานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชขององคการการคาโลก

ทําไมทานจึงควรทราบเก่ียวกับ…

Page 2: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

คําประกาศหนังสือเลมนี้จัดพิมพขึ้นเพื่อเปนการแนะนําโดยสังเขปเก่ียวกับความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มีเปาหมายสําหรับใชเปนแนวทาง เพื่อใหตระหนักถึงเรื่องสําคัญๆ บางเรื่องซึ่งประเทศทั้งหลายควรพิจารณาในการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อยางไรก็ตาม นับเปนเรื่องสําคัญมากที่ประเทศทั้งหลายควรหาขอมูลจากแหลงอ่ืนๆ เพิ่มเติมกอนการตัดสินใจดําเนินการ แมวาผูเขียนจะไดใชความพยายามอยางมาก เพื ่อใหมั่นใจวาขอความในหนังสือเลมนี้มีความถูกตองที่สุด แตก็ไมสามารถถือไดวาเปนการแปลความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอยางเปนทางการ ผูอานควรตระหนักวาขอความในหนังสือเลมนี้ ไมเปนทั้งนโยบายของรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลีย และการกระทําในนามของรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียที่มีตอรัฐบาลของประเทศอื่นหรือกลุมอื่นๆ

Page 3: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

33

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

หนังสือเลมน้ีใหขอมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับแนวคิดเบื้องตนของ “ความตกลงวาดวยการบังคับใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช” (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) เรียกกันทั่วไปโดยยอวา “ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช” (SPS Agreement) ช่ึงเปนความตกลงภายใต “องคการการคาโลก” (World Trade Organisation, WTO) ทุกประเทศที่เปนสมาชิกองคการการคาโลกตองปฏิบัติตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

หนังสือเลมนี้ยังใหขอมูลวาเพราะเหตุใดความรูเกี่ยวกับความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จึงมีความสําคัญสําหรับผูที่สนใจทําการคาระหวางประเทศเกี่ยวกับสินคาเกษตร

ในหนังสือเลมนี้มีการกลาวถึงความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชไวโดยสังเขป เทานั้น ถาตองการทราบขอมูลความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชโดยละเอียดทั้งหมด ทานจําเปนตองคนควาจากหนังสือหรือแหลงขอมูลอื่นๆ ซึ่งรายชื่อหนังสือเหลานี้บางเลมจะปรากฏอยูในหนาสุดทายของหนังสือเลมนี้ และจะอางอิงถึงหนังสือเลมดังกลาวในเนื้อเรื่องโดยระบุเปนตัวเลขไวในวงเล็บ [ ]

สุขภาพ และ การคาระหวางประเทศ ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เปนเรื่องสําคัญมาก เกี่ยวกับส ุขภาพและการค าระหวางประเทศ ในชวง 50 ป ท่ีผานมา การคาและการเดินทางระหวางประเทศขยายตัวอยางมาก ทําใหมีการเคลื่อนยายสินคาเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะสงผลใหเกิดความเสี่ยงหลายๆ อยางตอสุขภาพ ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ไมเพียงแตยอมรับถึงความจําเปนที่ประเทศสมาชิกองคการการคาโลกจะคุมครองประเทศของเขาทั้งหลายจากความเสี่ยงจากการเขามาของศัตรูและโรค แตยังหาทางลดผลกระทบจากมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชซึ่งเปนผลเสียตอการคาใหเหลือนอยที่สุดเทาท่ีจะทําได

คําวา สุขภาพ ตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มีความหมายโดยทั่วไปวา สมาชิกองคการการคาโลกสามารถคุมครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย สัตว หรือ พืช ไดโดยการบังคับใชมาตรการตางๆ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงทั้งหลายท่ีเก่ียวพันกับสินคานําเขา ซึ่งมาตรการตางๆ เหลานี้โดยท่ัวไปจะใชในรูปแบบของขอกําหนดตางๆ ดานกักกัน หรือ ความปลอดภัยของอาหาร

มาตรการทั้งหลายที่สมาชิกองคการการคาโลกนํามาใชนั้นสามารถแบงออกไดเปนดานสุขอนามัย (เกี่ยวของกับชีวิตหรอืสุขภาพของมนุษยหรือสัตว) หรือ ดานสุขอนามัยพืช (เกี่ยวของกับชีวิตหรือสุขภาพของพืช) ซึ่งมาตรการเหลานี้รูจักกันโดยทั่วไปวา มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

คําวา การคาระหวางประเทศ ตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มีความหมายโดยทั่วไปวา ในการหามาตรการเพื่อคุมครองสุขภาพ สมาชิกองคการการคาโลกตองไมใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชซึ่งไมมีความจําเปน ไมอยูบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร เลือกปฏิบัติโดยอําเภอใจ หรือใชมาตรการในลักษณะที่เปนการจํากัดการคาระหวางประเทศโดยแอบแฝง

หนังสือเลมนี้จะเนนเรื่องการคาที่เกี่ยวกับสินคาเกษตร และโดยเฉพาะอยางยิ่ง เรื่องที่เกี่ยวของกับสุขภาพของสัตวและพืช และจะกลาวถึงเพียงเล็กนอยเรื่องสุขภาพของมนุษย

Page 4: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

4

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชกลาวถึงเร่ือง อะไรบาง ? ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชมีบทบัญญัติท้ังหมด 14 มาตรา กลาวถึงสิทธิและพันธกรณีทั้งหลายที่สมาชิกองคการการคาโลกไดตกลงรวมกันไว ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มี 3 ภาคผนวก ซึ่งใหคํานิยามของคําศัพทและรายละเอียดเกี่ยวกับพันธกรณีบางเรื่องเปนพิเศษ ตามที่ปรากฏในเนื้อหาของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

หนังสือเลมนี้จะเนนคําศัพทตอไปนี้ — การปรับใหกลมกลืน (harmonisation), ความเทียบเทา (equivalence), ระดับที่เหมาะสมของการคุมครอง (appropriate level of protection), การประเมินความเสี่ยง (risk assessment), สภาพของภูมิภาค (regional conditions) และ ความโปรงใส (transparency) คําศัพทเหลานี้เปนตัวแทนของหลักการที่สําคัญในความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

หนังสือเลมนี้ไมไดกลาวถึงบทบัญญัติของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชในรายละเอียด ทานสามารถอานบทบัญญัติทั้งหมดของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช [1] ไดจากเว็บไซดขององคการการคาโลก ที่เว็บไชดนี้ยังมีสิ่งตีพิมพขององคการการคาโลก [2] ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับความตกลงสุขอนามัยและสุขนามัยพืชไวอยางละเอียด รวมถึงอธิบายความแตกตางระหวาง มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และอุปสรรคทางเทคนิคตอการคา นอกจากนี้ทานยังสามารถคนหารายละเอียดเพิ่มเติมและพัฒนาการในปจจุบันโดยเขาไปที่หัวขอเรื่อง มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช [3] ที่เว็บไซดขององคการการคาโลก

การขยายตัวเพิ่มขึ้นของการคาระหวางประเทศหมายความถึงวา กระบวนการกักกันทั้งหลายตองสามารถที่จะจัดการไดกับสินคาในรูปแบบตางๆ และภาชนะบรรจุ การคมนาคมขนสงท่ีหลากหลาย และความเปนไปไดของชองทางที่เกี่ยวของกับการเขามาสําหรับศัตรูและโรค

Page 5: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

55

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรา 2 – สิทธิพื้นฐานและพันธกรณี

1. สมาชิกมีสิทธิที่จะใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่จําเปนเพื่อคุมครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย สัตวหรือพืช หากวามาตรการเหลานั้นสอดคลองกับบทบัญญัติของความตกลงนี้

2. สมาชิกตองประกันวาจะใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเพียงเทาที่จําเปน เพื่อคุมครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย สัตว หรือ พืช บนพื้นฐานของหลักการทางวิทยาศาสตร และจะไมคงมาตรการโดยปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตรที่เพียงพอ เวนแตที่อนุญาตไวในวรรค 7 ของมาตรา 5

3. สมาชิกตองประกันวามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของตนจะไมเปนมาตรการที่ใชตามอําเภอใจ หรือเปนการเลือกปฏิบัติท่ีไมสามารถอธิบายไดอยางมีเหตุผลกับสมาชิกอื่นซึ่งมีสภาพเหมือนกัน หรือคลายคลงึกัน ท้ังนี้รวมถึงในระหวางอาณาเขตของตนและอาณาเขตของสมาชิกอื่น จะตองไมนํามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชไปใชในลักษณะซึ่งกอใหเกิดการจํากัดการคาระหวางประเทศโดยแอบแฝง

4. ใหถือวามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งเปนไปตามบทบัญญัติที่เกี่ยวของของความตกลงนี้เปนไปตามพันธกรณีของสมาชิกภายใตบทบัญญัติ “ความตกลงทั่วไปวาดวยภาษีศุลกากรและการคา” ฉบับป พ.ศ. 2537 (General Agreement on Tariffs and Trade, GATT) ซึ่งเกี่ยวของกับการใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยเฉพาะอยางยิ่งบทบัญญัติของมาตรา XX (บี)

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชในบทบัญญัติ มาตรา 2 กลาวถึง สิทธิพื้นฐานและพันธกรณีของสมาชิกองคการการคาโลก ซึ่งรายละเอียดของบทบัญญัติมาตรานี้ปรากฏอยูในกรอบสี่เหลี่ยมและในสวนตางๆ ของหนังสือเลานี้จะมีการอางอิงถึงบทบัญญัติในมาตราอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องที่นํามากลาวถึง

ใครเปนผูบริหารความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ? ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชบริหารโดย “คณะกรรมการวาดวยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช” (Committee on Sanitary and Phytosanitary Measures, SPS Committee) ซี่งสมาชิกขององคการการคาโลกทั้งหมดสามารถเขามามีสวนรวม คณะกรรมการวาดวยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเปนเวทีสําหรับการปรึกษาหารือ ซึ่งสมาชิกองคการการคาโลกจะมาประชุมรวมกันเปนประจํา เพื่อถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และผลกระทบของมาตรการดังกลาวตอการคา ดูแลการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และหาวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงขอพิพาทที่มีโอกาสเกิดขึ้น

Page 6: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

6

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

ความเสี่ยงและสินคา มาตรการทั้งหลายที่สมาชิกองคการการคาโลกนํามาใชตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อคุมครองชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย สัตวหรือพืช ภายในอาณาเขตของตนจากความเสี่ยงบางอยาง อาจมีผลกระทบตอการคาระหวางประเทศ ความเสี่ยงตอชีวิตหรือสุขภาพของสัตวมาจาก:

การเขามา การตั้งรกราก หรือการแพรกระจายของศัตรู (รวมถึง วัชพืช) โรค สิ่งมีชีวิตที่เปนพาหะนําโรค หรือสิ่งมีชีวิตที่เปนสาเหตุของโรค หรือ สารปรุงแตง สิ่งปนเปอน (รวมถึง สารพิษตกคางจากสารปองกันกําจัดศัตรูและยารักษาโรคสัตว และสิ่งเจือปนจากภายนอก), สารพิษ หรือสิ่งมีชีวิตที่เปนสาเหตุของโรคในอาหารสัตว

ความเสี่ยงตอชีวิตหรือสุขภาพของพืชอาจมาจาก:

การเขามา การตั้งรกราก และแพรกระจายของศัตรู (รวมถึงวัชพืช) โรค สิ่งมีชีวิตท่ีเปนพาหะนําโรค หรือสิ่งมีชีวิตที่เปนสาเหตุของโรค

ความเสี่ยงตอชีวิตหรือสุขภาพของมนุษยมาจากสารปรุงแตง สิ่งปนเปอน สารพิษ หรือสิ่งมีชีวิตท่ีเปนสาเหตุโรคในอาหารหรือเครื่องดื่ม สัตว พืช หรือผลิตผลพืชที่เปนพาหะนําโรค หรือการเขามาตั้งรกรากหรือการแพรกระจายของศัตรู ดังนั้น การนําเขาอาหาร พืช (รวมทั้งผลิตผลพืช) และสัตว (รวมทั้งผลิตภัณฑสัตว) ทั้งหลาย จึงเปน 3 เสนทางหลักของความเสี่ยง — แตความเสี่ยงมิไดจํากัดอยูเฉพาะกับอาหารและสินคาเกษตรเทานั้น

สมาชิกองคการการคาโลกไดรับประโยชนจากการมีสวนรวมอยางจริงจังในคณะกรรมการวาดวยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มีการดําเนินกิจกรรมตางๆ หลากหลายที่ชวยใหสมาชิกดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยทานสามารถหาขอมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการวาดวยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช [4] ไดจากเวบไซดขององคการการคาโลก

ขาพเจาสงออกเครื่องจักร ซ่ึงไมใชสินคาเกษตร ทําไมขาพเจาจึงจําเปนตองเรียนรูขอกําหนดเกี่ยวกับความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ?

ถึงแมวาสินคาสงออกเหลานี้อาจจะไมเปนตัวแทนของความเสี่ยง แตเครื่องจักรเหลานี้อาจมีการปนเปอนจากดินหรือเศษซากพืชที่ตกคาง หรืออาจขนสงโดยใชวัสดุบรรจุภัณฑ เชน ชั้นวางที่ทําจากไม หรือ ฟาง ดังนั้น มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จึงเกี่ยวของกับผูนําเขาและผูสงออกทั้งหมด

Page 7: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

77

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

ทรัพยากรที่จําเปนในการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพชื ภาระหนาที่ในการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยทั่วไปจะเปนของหนวยงานทางราชการ และหนวยงานระดับประเทศ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีขอมูลที่เกี่ยวของกับสุขภาพของพืชและสัตว รวมทั้งเรื่องความปลอดภัยดานอาหาร หนวยงานท่ีดําเนินการโดยปกติจะรวมถึง “องคการอารักขาพืชแหงชาติ” (National Plant Protection Organization, NPPO) และ องคการที่มีหนาที่รับผิดชอบ เรื่อง สุขภาพสัตวและความปลอดภัยดานอาหาร

การรวบรวมศัตรูและโรคเพื่อใชเปนตัวอยางอางอิง เปนเครื่องมือท่ีมีความสําคัญมากในการกําหนดและแสดงถึงสถานะภาพทางสุขอนามัยพืช

Page 8: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

8

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

การวางกรอบกฎระเบียบควบคุมภายในประเทศซึ่งครอบคลุมการทํางาน ภาระหนาที่ และอํานาจ ของหนวยงานเหลาน้ีเปนสิ่งจําเปน รวมไปถึงระบบที่จะใชบังคับใหปฏิบัติตามระเบียบ สิ่งนี้จะชวยเสริมสรางความเชื่อมั่นในการประเมิ นและความเชื่อมั่นในใบรับรองซึ่งออกไปในสวนที่เกี่ยวของกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพชื การกําหนดสถานะภาพทางสุขภาพพืชหรือสัตว และการพัฒนามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชท่ีเหมาะสม จะเก่ียวของกับการรวบรวมขอมูลที่หลากหลายจากแหลงตางๆ ซึ่งขอมูลเหลานี้จะมีคุณคาตลอดไป และจะมีความสําคัญมากเมื่อขอมูลไดรับการจัดระเบียบ จัดหมวดหมู และเก็บไวในลักษณะซึ่งสามารถเรียกขอมูลกลับมาใชไดโดยงาย

การจําแนกความเสี่ยงตางๆ และการวิจัย พัฒนา และการดําเนินมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตรนั้น สมาชิกองคการการคาโลกมีความจําเปนตองพัฒนาบุคลากรโดยใหไดรับการอบรมใหมีความเชี่ยวชาญในดานตางๆ อยางเหมาะสม

การพัฒนาใหมีความเชี่ยวชาญในดานการตรวจหาและการตรวจวินิฉัยศัตรูและโรคตางๆ ของพืชและสัตว นับวามีความจําเปนอยางยิ่งในการสนับสนุนการคาสินคาเกษตร นอกจากนี้ ยังรวมถึงทักษะความชํานาญในดานกีฏวิทยา โรคพืชวิทยา พยาธิวิทยาทางสัตวแพทย ระบาดวิทยา และอนุกรมวิธาน เจาหนาท่ีตรวจและกักกันทั้งหลายซ่ึงไดรับการฝกอบรมเทคนิคตางๆ ดาน การเก็บตัวอยางและการตรวจหามีความจําเปนอยางยิ่ง ณ จุดที่มีการนําเขาและสงออก

การรวบรวมตัวอยาง ท้ังตัวอยางแมลงและพืชสําหรับใชในการอางอิง และการเตรียมหองปฏิบัติการใหมีอุปกรณและเครื่องมือพรอมสําหรับการตรวจวินิจฉัยเปนสิ่งที่มีความสําคัญอยางยิ่ง

การดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชในประเทศของขาพเจาจะตองเสียคาใชจายเปนจํานวนมาก และประเทศของขาพเจามีงบประมาณจํากัด จึงไมแนใจวาจะคุมคาหรือไม ?

การศึกษาของธนาคารโลกเมื่อเร็วๆ นี้ [5] พบวา ในการปฏิบัติตามมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ มีคาใชจายนอยกวาท่ีคาดไวและผลประโยชนท่ีไดรับอาจจะถูกประเมินคาไวตํ่าเกินไป เนื่องจากในการประเมินคาของผลประโยชนนั้นวัดไดยากกวาคาใชจาย นอกจากนี้ รายงานดังกลาวยังไดตั้งขอสังเกตอีกดวยวาประเทศกําลังพัฒนาซึ่งยอมรับมาตรฐานระหวางประเทศ สามารถรักษาตลาดหรือเพิ่มการเขาสูตลาดสินคาเกษตรไดมากยิ่งขึ้น และสามารถคงอยูในตําแหนงที่ดีไดอยางตอเนื่อง ผูเชี่ยวชาญเฉพาะดานการใหความชวยเหลือทางวิชาการกลาวในการสัมมนาขององคการการคาโลกเมื่อเร็วๆ น้ี (หาอานรายละเอียดไดจาก [3]) ไดช้ีใหเห็นวา ในบางครั้ง หลายประเทศอาจประเมินทรัพยากรที่มีอยูในการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชต่ํากวาความเปนจริง ตัวอยางเชน ประเทศเหลานั้นอาจมีบุคลากรจํานวนมากที่มีความเช่ียวชาญตามที่ตองการ แตจําเปนตองนําบุคคลกรเหลานั้นใหมาทํางานรวมกันในหนวยงานเดียวกัน

Page 9: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

99

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

หลักการสําคัญของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชมีมาตราเฉพาะที่กลาวถึงหลักการสําคัญของ การปรับใหกลมกลืน

(harmonisation) ความเทียบเทา (equivalence) ระดับที่เหมาะสมของการคุมครอง (appropriate level of protection, ALOP) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) สภาพของภูมิภาค (regional conditions) และ ความโปรงใส

(transparency)

การปรับใหกลมกลืน1

สมาชิกองคการการคาโลกมีสิทธิท่ีจะกําหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของตนเองได ตามบทบัญญัติของ

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช แตอยางไรก็ตาม ภายใตหลักการการปรับใหกลมกลืน สมาชิกองคการการคา

โลกจะไดรับการสนับสนุนใหกําหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่สอดคลองกับมาตรฐานระหวางประเทศ

แนวทางปฏิบัติ และขอเสนอแนะที่มีอยู และคณะกรรมการวาดวยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช จะสนับสนุนและ

ติดตามสังเกตการณการปรับใหกลมกลืนกันระหวางประเทศ

ภายใตความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ไดระบุไวอยางเฉพาะเจาะจงถึง สามองคการท่ีรับผิดชอบเก่ียวกับการ

กําหนดมาตรฐานระหวางประเทศ ซึ่งองคการเหลานี้จะถูกกลาวถึงเสมอๆ วาเปน องคการ “สามพี่นอง” (Three Sisters) (ดูในกรอบสี่เหลี่ยมหนาถัดไป)

อนุสัญญาวาดวยการอารักพืชระหวางประเทศ (International Plant Protection Convention: IPPC) เกี่ยวของกับ

สุขภาพของพชื องคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศ (World Organisation for Animal Health: OIE) เกี่ยวของกับสุขภาพของ

สัตว

คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ (Codex Alimentarius Commission: Codex) เกี่ยวของกับ

ความปลอดภัยของอาหาร

สมาชิกองคการการคาโลกไดรับการสนับสนุนใหเขาไปมีสวนรวมอยางจริงจังกับทั้งสามองคการนี้ ซึ่งจะเปนอีกเวทีหนึ่ ง

สําหรับการใหความชวยเหลือทางวิชาการ

ประเทศสมาชิกท้ังหลายสามารถขอรับความชวยเหลือในการฝกอบรมบุคลากรเพื่อใหสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามพืชไดหรือไม ?

สวนหนึ่งของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชกําหนดวา สมาชิกองคการการคาโลกจะไดรับการสงเสรมิในการใหชวยเหลือทางดานวิชาการแกสมาชิกองคการการคาโลกซึ่งเปนประเทศทีก่ําลังพัฒนา ตัวอยาง เชน รัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียใหความชวยเหลือผานทาง “หนวยงานออสเตรเลียสําหรับการพัฒนาระหวางประเทศ” (The Australian Agency for International Development, AusAID) และ กระทรวงการเกษตร ประมง และปาไม (Department of Agriculture, Fisheries and Forestry, DAFF) กําลังดําเนินการตาม แผนเสริมสรางความสามารถดานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ใหกับกลุมประเทศอาเซียน

1 ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรา 3

Page 10: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

10

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

ความเทียบเทา2 ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช กําหนดใหสมาชิกองคการการคาโลกที่เปนประเทศผูนําเขาตองยอมรับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่กําหนดโดยสมาชิกองคการการคาโลกที่เปนประเทศผูสงออกวามีความเทียบเทา ตราบใดที่ประเทศผูสงออกสามารถแสดงใหเห็นไดวามาตรการดังกลาวนั้นสามารถใหผลการคุมครองในระดับที่เหมาะสมของประเทศผูนําเขาเชนเดียวกัน โดยทั่วไป การยอมรับความเทียบเทาจะบรรลุผลไดโดยการเจรจาทวิภาคีและการแลกเปลี่ยนขอมูลทางวิชาการ

องคการสามพี่นอง - กําหนดมาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศ อนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศ เปนสนธิสัญญาระหวางประเทศดานอารักขาพืชซึ่งมีขอผูกผันทางกฎหมาย บริหารจัดการโดย “องคการอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติ” (Food and Agriculture Organization, FAO) แตดําเนินการโดยความรวมมือระหวางรัฐบาลของประเทศสมาชิกและองคการอารักขาพืชสวนภูมิภาค

เปาหมายของอนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศ คือ การรวมมือกันดําเนินงานเพื่อปองกันการแพรกระจายและการเขามาของศัตรูของพืชและผลิตผลพืช และสงเสริมใหมีการใชมาตรการตางๆ ท่ีเหมาะสมในการควบคุมศัตรูเหลานั้นโดยขัดขวางตอการคาใหนอยที่สุด

อนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศไดพัฒนา “มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช” (International Standard for Phytosanitary Measures, ISPMs) จนถึงปจจุบันไดตีพิมพ มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืชแลวมากกวา 25 มาตรฐาน รวมถึงมาตรฐานระหวางประเทศฉบับที่ 1 ซึ่งกลาวถึงหลักการในการอารักขาพืชและการใชมาตรการสุขอนามัยพืชในทางการคาระหวางประเทศ และ มาตรฐานระหวางประเทศฉบับท่ี 5 เปนคํานิยามของคําศัพทท่ีเก่ียวกับสุขอนามัยพืช โดยรายชื่อของมาตรฐานทั้งหมดจะปรากฏอยูที่ International Phytosanitary Portal [6] ซึ่งเปนเวทีสําหรับการรายงานและการแลกเปล ี่ยนขอมูลโดยรัฐบาลของประเทศตางๆ

....ตอหนาถัดไป

องคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศองคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศ [7] กอตั้งขึ้นจากความตกลงระหวางประเทศในป พ.ศ. 2467 โดยสมาชกิจาก 28 ประเทศ และปจจุบันองคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศมีสมาชิกทั้งหมด 167 ประเทศ

2 มาตรา 4

Page 11: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

1111

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

องคการสามพี่นอง... ตอ

จุดมุงหมายขององคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศคือ การสรางความเชื่อมั่นในความโปรงใสเก่ียวกับ

สถานะการณของโรคสัตวและโรคสัตวที่สามารถติดตอสูมนุษย โดยการตีพิมพมาตรฐานตางๆ ทางดานสุขภาพ

สําหรับการคาสัตวและผลิตภัณฑสัตว สงเสริมทักษะดานตางๆ ทางสัตวแพทย ยกระดับความปลอดภัยของอาหาร

ที่มาจากสัตว และสงเสริมความเปนอยูที่ดีของสัตวตามหลักการทางวิทยาศาสตร มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ และขอเสนอแนะของ องคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศ มีปรากฏอยูใน

หลักเกณฑดานสุขภาพสัตวบก (the Terrestrial Animal Health Code), คูมือการตรวจวินิจฉัยโรคและการทําวัคซีนในสัตวบก (the Manual of Diagnostic Tests and Vaccines for Terrestrial Animals), หลักเกณฑดานสุขภาพสัตวน้ํา

(the Aquatic Animal Health Code) และ คูมือการตรวจวินิจฉัยโรคสัตวน้ํา (the Manual of Diagnostic Tests for Aquatic Animals)

คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ

คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ (the ‘food code’) เปนองคกรภายใตโครงการจัดทํามาตรฐาน

อาหารระหวางองคการอาหารและเกษตรแหงสหประชาชาติ และองคการอนามัยโลก (World Health Organization,

WHO)

คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ [8] พัฒนาและสนับสนุนใหมีการดําเนินการตามมาตรฐาน

จรรยาบันในการปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ และขอเสนอแนะ ซึ่งครอบคลุมทุกแงทุกมุมของความปลอดภัยดานอาหาร

รวมถึงการจัดการและการขนสง ในการกําหนดมาตรฐานระหวางประเทศสําหรับอาหารนั้น คณะกรรมาธิการ

มาตรฐานอาหารระหวางประเทศมีภาระหนาท่ีสองประการ คือ คุมครองสุขภาพของผูบริโภคและใหเกิดความเปน

ธรรมในการคาที่เกี่ยวกับอาหารระหวางประเทศ คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศไดพัฒนามาตรฐานเฉพาะเรื่องไวอยางหลากหลาย ครอบคลุม

ประเด็นตางๆ ดาน ความปลอดภัยและคุณภาพดานอาหาร ซึ ่งขอมูลเหลานี้สามารถคนหาอานไดจากเว็บไซดของ

คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ [8]

ขาพเจาเปนผูสงออกผลิตผลเกษตร ขาพเจาจะเชื่อมั่นไดอยางไรวา มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชทั้งหลายที่ขาพเจาไดดําเนินการไปกับสินคาเหลานี้จะเปนไปตามขอกําหนดของประเทศผูนําเขา ?

สิ่งสําคัญที่ทานควรปฏิบัติ คือ การติดตอกับองคกรที่มีอํานาจหนาที่ที่เกี่ยวของในประเทศผูนําเขา ซึ่งองคกรเหลานี้อยูในสถานะที่ดีทีสุดที่จะใหขอมูลทานเกี่ยวกับขอกําหนดดานกักกันพืชสําหรับการนําเขาสินคาเกษตร การปฏิบัติใหเปนไปตามมาตรฐานระหวางประเทศที่เกี่ยวของขององคการสามพี่นองจะเปนจุดเริ่มตนที่ดีเสมอ

Page 12: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

12

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

ระดับที่เหมาะสมของการคุมครอง3 ระดับที่เหมาะสมของการคุมครอง ตามที่กําหนดไวในความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หมายถึง ระดับการคุมครองที่สมาชิกองคการการคาโลกเห็นวาเหมาะสมที่จะคุมครองชีวิต หรือสุขภาพของมนุษย สัตว หรือ พืชในอาณาเขตประเทศของตน

มีความสําคัญมากที่จะตองแยกความแตกตางออกจากกันใหชัดเจน ระหวางระดับที่เหมาะสมของการคุมครอง ที่กําหนดโดยสมาชิกองคการการคาโลก และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพชื โดยที่ระดับที่เหมาะสมสําหรับการคุมครองมีวัตถุประสงคท่ีคอนขางกวาง ในขณะที่มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชนั้นถูกกําหนดขึ้นเพื่อใหบรรลุผลตามวัตถุประสงคน้ันๆ ซ่ึงโดยหลักการ การกําหนดระดับท่ีเหมาะสมของการคุมครองควรมากอนการกําหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สมาชิกองคการการคาโลกแตละประเทศมีสิทธิในการกําหนดระดับที่เหมาะสมของการคุมครองของตนเอง แตอยางไรก็ตาม การกําหนดระดับที่เหมาะสมของการคุมครองนั้น สมาชิกองคการการคาโลกควรคํานึงถึงวัตถุประสงคในสวนที่จะกอใหเกิดผลกระทบทางการคาใหนอยที่สุด นอกจากนี้ สมาชิกองคการการคาโลกจําเปนตองใช แนวความคิดของระดับท่ีเหมาะสมของการคุมครองที่สอดคลองกัน นั่นคือ สมาชิกองคการการคาโลกตอง ‘หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติตามอําเภอใจ หรือ เปนการปฏบิัติที่แตกตางกันโดยที่ไมสามารถอธิบายไดอยางมีเหตุผล’ ซึ่ง ‘กอใหเกิดการเลือกปฏิบัติหรือขอจํากัดตอการคาระหวางประเทศโดยแอบแฝง’

การพัฒนาความสามารถในการดําเนินการตามมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สามารถอํานวยประโยชนกับอุตสาหกรรมการเกษตรภายในประเทศ

3 มาตรา 5

Page 13: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

1313

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

การประเมินความเส่ียง3

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชตองการใหสมาชิกองคการการคาโลก กําหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของประเทศตนบนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยงตามความเหมาะสมตอสถานการณ ในการดําเนินการประเมินความเสี่ยง สมาชิกองคการการคาโลก ควรคํานึงถึงเทคนิคตางๆ ท่ีใชในการประเมินความเสี่ยงซึ่งพัฒนาโดยองคการระหวางประเทศที่เกี่ยวของ

สําหรับเหตุผลที่สมาชิกองคการการคาโลกตองทําการประเมินความเสี่ยง คือ เพื่อกําหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่จะนํามาใชกับสินคานําเขาทั้งนี้เพื่อใหบรรลุระดับที่เหมาะสมของการคุมครองของสมาชิก แตอยางไรก็ตาม มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชซึ่งสมาชิกองคการการคาโลกประเทศใดประเทศหนึ่งใช ตองไมเปนการจํากัดการคามากเกินกวาที่จําเปน เพื่อใหบรรลุถึงระดับที่เหมาะสมของการคุมครอง โดยคํานึงถึงความเปนไปไดทางดานวิชาการและเศรษฐกิจ

ความหมายของ การประเมินความเส่ียง ที่กําหนดไว ในความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช คือ

การประเมินความเปนไปไดของการเขามา การต้ังรกราก หรือการแพรกระจายของศัตรูหรือโรคชนิดใดชนิดหนึ่งภายในอาณาเขตของสมาชิกองคการการคาโลกประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเปนผูนําเขา โดยใหเปนไปตามมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชซึ่งอาจจะถูกนํามาใช และการประเมินศักยภาพของผลที่ตามมาทางดานชีววิทยาและเศรษฐกิจ

หรือ

การประเมินศักยภาพของผลกระทบเชิงลบท่ีอาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของมนุษย หรือ สัตว จากการมีสารปรุงแตง สิ่งปนเปอน สารพิษ หรือสิ่งมีชีวิตที่เปนสาเหตุของโรคในอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารสัตว

ไดแก ศัตรูหรือโรคชนิดนี้มีอยูในประเทศของทานหรือไม? ศัตรูหรือโรคเหลานี้มีการควบคุมแลวใชหรือไม? ศัตรูหรือโรคเหลานี้พบจํากัดอยูเฉพาะบางสวนของประเทศใชหรือไม? ประสิทธิภาพของกระบวนการที่ใชเพื่อใหมั่นใจวาสินคาสงออกปราศจากศัตรู โรค และสิ่งปนเปอนอื่นๆ เปนอยางไร?

ในทางปฏิบัติ การประเมินความเสี่ยง เปนกระบวนการรวบรวมหลักฐานทางวิทยาศาสตรและปจจัยทางเศรษฐกิจท่ีเก่ียวของกับความเสี่ยงซึ่งสัมพันธกับการอนุญาตนําสินคาอยางใดอยางหนึ่งเขามาในประเทศ ซึ่งสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเปนผู นําเขาควรหาขอมูลในเรื่องตางๆ เชน ศัตรู หรือโรคที่อาจเกี่ยวของกับสินคาที่ขออนุญาตนําเขา และศัตรูหรือโรคเหลานั้นพบในประเทศที่สงออกสินคาหรือไม รูปแบบของคําถามซึ่งประเทศผูนําเขาอาจสอบถาม

3 มาตรา 5

Page 14: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

14

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

สมาชิกองคการการคาโลกอาจบังคับใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเปนการช่ัวคราวได ในกรณีที่ขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตรท่ีจําเปน ทําใหดําเนินการประเมินความเสี่ยงไมสําเร็จ แตอยางไรก็ตาม ในสถานะการณดังกลาวนี้ สมาชิกองคการการคาโลกตองหาขอมูลเพ่ิมเติมซึ่งจําเปนเพ่ือวัตถุประสงคในการประเมินความเสี่ยงภายในชวงกําหนดเวลาท่ีเหมาะสม

รัฐบาลของเราไมมีขีดความสามารถในการรวบรวมขอมูลสําหรับการประเมินความเสี่ยงและไมมีการดําเนินโครงการเฝาระวังอยางตอเนื่อง ทําไมเราจึงตองใสใจกับขบวนการดังกลาวนี้ ในเมื่อการรมพืชผลหรือสินคาสงออกดวยแกสในประเทศของเรามีคาใชจายที่ถูกกวา ? การดําเนินการในลักษณะนี้ในระยะยาวอาจไมเปนการประหยัด และ ถาสารเคมีตกคางเปนปญหาที่สําคัญ อาจมีผลกระทบกับการคา ซึ่งทานอาจตองใหการรับรองประสิทธิภาพของวิธีการที่ทานปฏิบัติแกผูนําเขา ซึ่งรวมถึงการใหขอมูลเก่ียวกับศัตรูและโรคซึ่งอาจพบบนสินคา – รายชื่อศัตรูและโรค ซึ่งการที่มีความสามารถจัดทําขอมูลดังกลาวนี้จะทําใหทานมีความรูความเขาใจถึงสถานะภาพของศัตรูและโรคในอุตสาหกรรมการเกษตรของทาน ซึ่งจะนําไปสูการลดการพึ่งพาการกําจัดศัตรูพืชโดยวิธีรมดวยแกส หรือมาตรการอื่นที่คลายคลึงกัน และเปนการบร ิหารจัดการความเส่ียงจากศัตรูและโรคท่ีประหยัดมากกวา

มาตรฐานระหวางประเทศสําหรับการประเมินความเสี่ยง

องคการสามพี่นองไดพัฒนาเทคนิคในการประเมินความเสี่ยงไวหลายรูปแบบ ทานสามารถหาขอมูลเพิ่มเติมไดจากเว็บไซดขององคการทั้งสาม ซึ่งสามารถกลาวโดยสรุปไดดังนี้

ภายใตอนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศ ไดออกมาตรฐาน 3 ฉบับ ซึ่งเกี่ยวของกับการวิเคราะหความเสี่ยงโดยเฉพาะ ไดแก

มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับท่ี 2 เรื่อง แนวทางปฏิบัติสําหรับการวิเคราะหความเสี่ยงศัตรูพืช

มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 11 เรื่อง การวิเคราะหความเสี่ยงศัตรูพืชสําหรับศัตรูพืชกักกัน รวมถึงการวิเคราะหความเสี่ยงตอสภาพแวดลอม

มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 21 เร่ือง การวิเคราะหความเสี่ยงศัตรูพชืสําหรับศัตรูพืชควบคุมที่ไมใชศัตรูพืชกักกนั

องคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศไดเรียบเรียงขอมูลเกี่ยวกับการวิเคราะหความเสี่ยงไวใน คูมือการวิเคราะหความเสี่ยงการนําเขาสําหรับสัตวและผลิตภัณฑสัตว (Handbook on import risk analysis for animals and animal products) และ หลักเกณฑดานสุขภาพสัตวบกและสัตวน้ํา (terrestrial and aquatic animal health codes) คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศไดตีพิมพ หลักการและแนวทางปฎิบัติสําหรับการดําเนินการประเมินความเสี่ยงทางดานจุลชีววิทยา (Principles and guidelines for the conduct of microbiological risk assessment) และ หลักการสําหรับการวิเคราะหความเสี่ยงของอาหารที่มาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม (Principles for the risk analysis of foods derived from modern biotechnology).

Page 15: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

1515

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

สภาพของภูมิภาค4 ลักษณะเฉพาะดานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของเขตภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง — อาจเปนพื้นที่ทั้งประเทศ หรือบางสวนของประเทศ หรือพื้นที่ทั้งหมดหรือพื้นที่บางสวนของหลายประเทศ — ไดกลาวอางถึงไวในความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชวาเปน สภาพของภูมิภาค ซึ่งสามารถกอใหเกิดความเสี่ยงตอชีวิตหรือสุขภาพของมนุษย สัตว หรือพืช

ตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชกําหนดใหสมาชิกองคการการคาโลกตองปรับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชตามสภาพของภูมิภาคซึ่งเปนจุดกําเนิดของสินคาและจุดหมายปลายทางของสินคา โดยเฉพาะอยางยิ่ง สมาชิกองคการการคาโลก ตองยอมรับหลักการของพื้นที่ปลอดศัตรู/โรค และพื้นที่ที่พบศัตรู/โรคในระดับต่ํา

สมาชิกองคการการคาโลกที่เปนประเทศผูสงออกซึ่งกลาวอางวามีพื้นที่ปลอดศัตรู/โรค หรือพืชที่ที่พบศัตรู/โรคในระดบัต่ํา ตองแสดงใหสมาชิกองคการการคาโลกที่เปนประเทศผูนําเขาเห็นวา พื้นที่ดังกลาวนั้นเปน และมีความเปนไปไดที่จะคงสภาพเปนพ้ืนท่ีปลอดศัตรู/โรค และพ้ืนท่ีท่ีพบศัตรู/โรคในระดับตํ่าตลอดไป

การจัดตั้งพื้นที่ปลอดศัตรู องคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศและสํานักเลขาธิการของอนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศไดพัฒนามาตรฐานสําหรับพื้นที่ปลอดศัตรู สํานักเลขาธิการของอนุสัญญาวาดวยการอารักขาพืชระหวางประเทศไดตีพิมพมาตรฐานซึ่งใหขอมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติสําหรับการจัดตั้งพื้นที่ปลอดศัตรูสําหรับศัตรูพชื

มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับท่ี 2 และฉบับท่ี 4 ไดใหแนวทางปฏิบัติในการสํารวจที่เฉพาะเจาะจงเพื่อตรวจหาศัตรูชนิดใดชนิดหนึ่งหรือทําแผนที่ขอบเขตการปรากฏของศัตรู

มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับที่ 6 ไดใหแนวทางปฏิบัติสําหรับการเฝาระวัง

มาตรฐานระหวางประเทศวาดวยมาตรการสุขอนามัยพืช ฉบับท่ี 8 ไดใหรายระเอียดเก่ียวกับขบวนการกําหนดสถานภาพของศัตรูในพ้ืนท่ีโดยใชบันทึกศัตรูพืช

เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของเครือรัฐออสเตรเลียไดตีพิมพเอกสารเปนรายละเอียด เร่ือง แนวทางปฏิบัติสําหรับการเฝาระวังสําหรับศัตรูพืชในเอเซียและแปซิฟก (Guidelines for surveillance for plant pests in Asia and the Pacific) [9].

4 มาตรา 6

Page 16: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

16

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

ความโปรงใส5 หลักการของความโปรงใสในความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช กําหนดใหสมาชิกองคการการคาโลกตองแสดงขอมูลเกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และตองแจงการเปล่ียนแปลงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของตน นอกจากนั้นแลว ยังกําหนดใหสมาชิกองคการการคาโลกตองตีพิมพกฎระเบียบหรือคําสั่งดานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งขอกําหนดท่ีเก่ียวกับการแจงขอมูลตองดําเนินการโดยสงผานหนวยงานรับผิดชอบการแจงระดับประเทศ โดยสมาชิกองคการการคาโลกแตละประเทศตองกําหนดจุดสอบถามระดับประเทศ เพื่อตอบขอซักถามท่ีเก่ียวกับสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชจากสมาชิกองคการการคาโลกอื่นๆ และหนวยงานเดียวกันอาจจะทําหนาที่รับผิดชอบท้ังการแจงขอมูลและการตอบขอซักถาม

คูมือภาคปฏิบัติ เรื่อง วิธีการนําบทบัญญัติความโปรงใสของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยมาใชไดอยางไร ซึ่งสามารถคนหาไดจากเวปไซดขององคการการคาโลกที่เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพชื [3]

ความชํานาญในการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและโรคพืชมีความสําคัญอยางยิ่งสําหรับสมาชิกองคการการคาโลกในการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

5 มาตรา 7

Page 17: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

1717

ความ

ตกลง

สุขอน

ามัยแ

ละสุข

อนาม

ัยพืชข

ององ

คการก

ารคาโล

ความชวยเหลือดานวิชาการและการปฏิบัติเปนพิเศษ องคการการคาโลกยอมรับถึงความสามารถทางดานวิชาการในการดําเนินการตามความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช วาจะมีความแตกตางกันระหวางสมาชิกองคการการคาโลก โดยเฉพาะอยางยิ่ง สมาชิกประเทศกําลังพัฒนาอาจพบวาการดําเนินการดังกลาวนี้เปนเรื่องยากและทาทาย เน่ืองจากการขาดแคลนทรัพยากร รวมถึงมีความรูความเชี่ยวชาญท่ีจํากัด

และเพื่อแกไขปญหาเหลานี้ ไดมีการกําหนดกลไกตางๆไวในความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

โดยสมาชิกองคการการคาโลกเห็นชอบท่ีจะสนับสนุนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับความชวยเหลือดานวิชาการแกสมาชิกอื่นๆ โดยเฉพาะอยางยิ่ง ประเทศกําลังพัฒนา ท้ังแบบทวีภาคี หรือผานทางองคการระหวางประเทศ เชน องคการสามพี่นอง สําหรับรูปแบบของการใหความชวยเหลือดานวิชาการและวิธีการใหความชวยเหลืออยางไรนั้นไดถูกกําหนดไวอยางกวางๆ6

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ยังมีการกําหนดสําหรับการปฏิบัติเปนพิเศษและแตกตาง7 ไวดวยเชนเดียวกัน ตัวอยางเชน ในการใชมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สมาชิกองคการการคาโลกควรคํานึงถึงความจําเปนเปนพิเศษของสมาชิกประเทศกําลังพัฒนา โดยเฉพาะอยางย่ิง สมาชิกประเทศพัฒนานอยท่ีสุด

สมาชิกองคการการคาโลกที่เปนประเทศกําลังพัฒนาทั้งหลายไดรับประโยชนโดยกําหนดมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชตามมาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ และขอเสนอแนะระหวางประเทศซึ่งออกโดยองคการสามพี่นอง

ใครไดรับประโยชน? ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสนับสนุนวาระขององคการการคาโลกสําหรับการสงเสริมการคาเสรีทั่วโลก และทําใหเกิดประโยชนอยางแทจริงกับสมาชิกองคการการคาโลกทั้งหมด ไมวาจะเปนประเทศที่พัฒนาแลวหรือกําลังพัฒนา

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชยอมรับถึงสิทธิตางๆ ของสมาชิกองคการการคาโลกในการคุมครองชีวิต หรอืสุขภาพของมนุษย สัตว หรือพืช ตราบใดที่สมาชิกปฏิบัติตามบทบัญญัติตางๆ ที่กําหนดไว ซึ่งขอกําหนดที่สําคัญ คือ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชตองอยูบนพื้นฐานของหลักการทางวิทยาศาสตร ตองไมจํากัดทางการคาเกินความจําเปน ตองไมเปนการเลือกปฏิบัติโดยอําเภอใจ หรือไมสามารถอธิบายไดอยางมีเหตุผล และตองไมเปนการจํากัดซึ่งจุดมุงหมายโดยรวม คือ การคาอยางเสรีและเปนธรรม

6 มาตรา 9 7 มาตรา 10

Page 18: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

18

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ขององคการการคาโลก

ท้ังผูสงออกและผูนําเขาสินคาเกษตรในกลุมประเทศสมาชิกองคการการคาโลกทั้งหมด ไดรับประโยชนรวมกันจากกฎเกณฑซึ่งกําหนดโดยความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ในฐานะที่เปนสวนหนึ่งของระบบการคาโลกบนพื้นฐานของกฎระเบียบขององคการการคาโลก ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชทําใหเชื่อมั่นไดวา การคาขายสินคาเกษตรจะดําเนินไปอยางราบรื่น สามารถคาดการณได และเปนไปอยางอิสระเทาที่จะเปนไปได โดยเฉพาะอยางยิ่ง ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชมีวัตถุประสงคพื้นฐานสําหรับการประเมินวามาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชใดจํากัดการคาโดยไมมีเหตุผล นอกจากนี้ ผูบริโภคยังไดรับประโยชนจากการไดบริโภคสินคาเกษตรและอาหารที่ปลอดภัย และมีราคาเปนธรรม

ประเทศกําลังพัฒนาไดรับประโยชนจากความชวยเหลือดานวิชาการเพื่อปรับปรุงระบบกักกันและความปลอดภัยดา นอาหาร รวมถึง การยกระดับความสามารถในการตรวจวินิจฉัย การวิเคราะห การตรวจสอบ การรับรอง การบริหารขอมูล และการรายงาน ซึ่งความสามารถทางสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่ดีขึ้นนี้อาจเปนการเปดตลาดระหวางประเทศเพิ่มขึ้นสําหรับผูสงออกของประเทศกําลังพัฒนา นอกจากนี้ ยังชวยสนับสนุนการบริหารจัดการอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งกอใหเกิดประโยชนโดยทั่วไปกับผูผลิตและผูบริโภคภายในประเทศ

ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสนับสนุนบทบัญญัติความชวยเหลือดานวิชาการแกประเทศกําลังพัฒนา

Page 19: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค

IPPC Secretariat

Plant Production and Protection DivisionFood and Agriculture Organization of the United NationsViale delle Terme di Caracalla00100 Rome, Italy

World Organisation for Animal Health

12, rue de Prony75017 Paris, France

Codex Alimentarius Commission

Food and Agriculture Organization of the United NationsViale delle Terme di Caracalla00100 Rome, Italy

Prod

uctio

n by

Cla

rus D

esig

n

แหลงขอมูลที่ทานสามารถหาขอมูลเพิ่มเติม … [1] ความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชฉบับเต็ม ที่ :

<http://www.wto.org/English/tratop_e/sps_e/spsagr_e.htm>. [2] เอกสารในชุดของความตกลงขององคการการคาโลกซึ่งครอบคุมเรื่องมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

เอกสารนี้จะอธิบายความตกลงรวมถึงความแตกตางระหวางมาตรการสุขอนามัยและ อุปสรรคทางเทคนิคตอการคา และตอบบางคําถามที่มีการถามเปนประจํา ที่ : <http://www.wto.org/english/res_e/booksp_e/agrmntseries4_e.pdf>.

[3] ประตูสูมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชขององคการการคาโลก จะใหขอมูลเกี่ยวกับความตกลงและการพัฒนาและกิจกรรมดานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชทั่วโลก ที่ : <http://www.wto.org/english/tratop_e/sps_e/sps_e.htm>.

[4] ขอมูลเกี่ยวกับหนาที่และกิจกรรมของคณะกรรมาธิการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ที่ : <http://www.wto.org/english/tratop_e/sps_e/sps_agreement_cbt_e/c4s1p1_e.htm>.

[5] ‘Food safety and agricultural health standards: challenges and opportunities for developing country exports’, รายงานของธนาคารโลก เลขที่ 31207 ที่ : <http://www.worldbank.org/trade/standards>, then search for ‘food safety’.

[6] The International Phytosanitary Portal (IPP) ท่ี <http://www.ippc.int> ซึ่งจะเปนเวทีสําหรับการรายงานและการแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางผูที่ประกอบอาชีพดานสุขอนามัยพืชและดานการคา

[7] ขอมูลเกี่ยวกับกิจกรรมชององคการโรคระบาดสัตวระหวางประเทศ ที่ : <http://www.oie.int>. [8] ท่ีอยูของเว็บไซดของคณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหวางประเทศ ที่ : <http://www.codexalimentarius.net>. [9] เมี่อเร็วๆ รัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียไดพิมพเอกสาร เรื่อง “แนวทางปฎิบัติสําหรับการเฝาระวังสําหรับศัตรูพืชใน

ภูมิภาคเอเซียและแปซิฟก” สามารถหาขอมูลไดที่ : <http://www.aciar.gov.au/web.nsf/doc/ACIA-6HZ3TK> ที่อยูทางไปรษณีขององคการสามพี่นอง …

Page 20: ความตกลงสุขอนามัยและ ......3 ความตกลงส ขอนาม ยและส ขอนาม ยพ ช ขององค การการค