ดร.ผกาพันธ์ ภูมิจิตร...

407
วารสารร่มพฤกษ์ ปีท่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554 ฉบับการสื่อสารและการมีส่วนร่วม (Communication and Participation) ที่ปรึกษาด้านภาษา ดร.ผกาพันธ์ ภูมิจิตร บรรณาธิการ ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ อาจารย์ปรีชา ปิยจันทร์ อาจารย์พัสรินณ์ พันธุ์แน่น กองบรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ รองศาสตราจารย์ ดร.จำาลอง โพธิ์บุญ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี บัวเล็ก รองศาสตราจารย์ ดร.วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประคอง สุคนธจิตต์ ดร.จิรายุ อัครวิบูลย์กิจ อาจารย์สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง อาจารย์สุจิตรา สามัคคีธรรม กำาหนดออก ปีละ 3 ฉบับ ตุลาคม – มกราคม กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มิถุนายน – กันยายน เจ้าของ ศูนย์ส่งเสริมวิจัยและผลิตตำารา มหาวิทยาลัยเกริก เลขที่ 3 ซอยรามอินทรา 1 เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์/โทรสาร : 0-2552-3500-9,0-2970-5820 ต่อ 402 Email : [email protected] วัตถุประสงค์ (1) เพื่อเผยแพร่ศิลปะ วิทยาการ และความรู้ใหม่ๆ ในสาขาวิชาที่เปิด การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย (2) เพื่อส่งเสริมอาจารย์ ผู้สอนในสาขาวิชาต่างๆ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ ในการนำาเสนอผลงานทางวิชาการ (3) เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

Upload: others

Post on 20-Jan-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • วารส

    ารร่ม

    พฤกษ

    ์ปีท

    ี่ 29

    ฉบับท

    ี่ 3

    มิถุนา

    ยน - ก

    ันยายน

    2554

    ฉบ

    ับการสื่อ

    สารแ

    ละการม

    ีส่วนร

    ่วม (Co

    mmun

    ication

    and

    Participation)

    ที่ปรึกษาด้านภาษา ดร.ผกาพันธ์ภูมิจิตร

    บรรณาธิการ ดร.บุญอยู่ขอพรประเสริฐ

    อาจารย์ปรีชาปิยจันทร์

    อาจารย์พัสรินณ์พันธุ์แน่น

    กองบรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ดร.วิทยา  สุจริตธนารักษ์

    รองศาสตราจารย์ดร.ธงชัยวงศ์ชัยสุวรรณ

    รองศาสตราจารย์ดร.จำาลองโพธิ์บุญ

    รองศาสตราจารย์ดร.พรรณีบัวเล็ก

    รองศาสตราจารย์ดร.วิไลลักษณ์รัตนเพียรธัมมะ

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประคองสุคนธจิตต์

    ดร.จิรายุอัครวิบูลย์กิจ

    อาจารย์สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง

    อาจารย์สุจิตราสามัคคีธรรม

    กำาหนดออก ปีละ 3 ฉบับ ตุลาคม–มกราคม

    กุมภาพันธ์–พฤษภาคม

    มิถุนายน–กันยายน

    เจ้าของ ศูนย์ส่งเสริมวิจัยและผลิตตำารามหาวิทยาลัยเกริก

    เลขที่3ซอยรามอินทรา1เขตบางเขนกรุงเทพฯ10220

    โทรศัพท์/โทรสาร:0-2552-3500-9,0-2970-5820ต่อ402

    Email:[email protected]

    วัตถุประสงค์ (1) เพื่อเผยแพร่ศิลปะวิทยาการและความรู้ใหม่ๆ ในสาขาวิชาที่เปิด

    การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

    (2) เพือ่สง่เสรมิอาจารย์ผูส้อนในสาขาวชิาตา่งๆตลอดจนผูท้รงคณุวฒุิ

    ในการนำาเสนอผลงานทางวิชาการ

    (3) เพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

  • ระเบียบการนำาเสนอบทความ 1.ผู้เขียนจะต้องส่งต้นฉบับเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์(โปรแกรมMicrosoft

    Word)แล้วพิมพ์ลงในกระดาษA4จำานวน1ชุดส่งถึงบรรณาธิการล่วงหน้า

    2เดือนก่อนกำาหนดออกวารสารแต่ละฉบับโดยส่งที่

    กองบรรณาธิการวารสารร่มพฤกษ์

    ศูนย์ส่งเสริมวิจัยและผลิตตำารามหาวิทยาลัยเกริก

    เลขที่3ซอยรามอินทรา1เขตบางเขนกรุงเทพมหานคร10220

    โทรศัพท์/โทรสาร0-2552-3500-9,0-2970-5820ต่อ402

    2. หากผู้เขียนใช้นามแฝง กรุณาแจ้งนามจริงด้วยพร้อมทั้งที่อยู่ที่สามารถ

    ติดต่อได้

    3. สำาหรับงานแปล หรือเรียบเรียง การวิจารณ์หนังสือ และแนะนำาหนังสือ

    ผู้เขียนจะต้องแจ้งแหล่งที่มาโดยละเอียด

    4. บทความท่ีได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสารเป็นอภินันทนาการ

    จำานวน3เล่มพร้อมกับค่าตอบแทนตามสมควร

    บทความทุกเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารร่มพฤกษ์ฉบับนี้ เป็นทัศนะและข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น  มิใช่ทัศนะของมหาวิทยาลัยเกริกหรือกองบรรณาธิการ การนำาบทความส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปตีพิมพ์เผยแพร่ต้องได้รับอนุญาต

  • บทบรรณาธิการ การสื่อสารเป็นการเชื่อมโยงความคิดและกิจกรรมทำาให้มีการติดต่อทำาความเข้าใจบอก ในสิ่งที่ตนเองต้องการหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันซึ่งอาจเป็นการสื่อสารระหว่างสัตว์กับสัตว์สัตว์กับมนุษย์หรือมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันเองอาทิมนุษย์สามารถควบคุมโลมาไดด้้วยการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ มนุษย์มีการสื่อสารโดยการพูดคุยหรือเปิดเพลงให้ลูกฟังตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การพบปะเจรจา หรือสื่อสารผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์ใช้วิธีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ เนื่องจากมนุษย์สามารถคิดค้นและผลิตเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารได้ โดยเฉพาะในยุค IT(Information Technology) ทำาให้โลกไร้พรมแดน มนุษย์สามารถพูดคุยกันข้ามประเทศได้อย่างไรก็ดีการสื่อสารนับว่าเป็นความสามารถหรือทักษะที่ทุกคนมีมาตั้งแต่เกิดจะแตกต่างกันไปบ้างขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ฝึกฝนเช่นการพูดการอ่านการเขียนและการฟังซึ่งจะทำาให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างราบรื่น โดยการสื่อสารสามารถทำาให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการทำากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งด้วยกัน ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงและการพัฒนา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองและสิ่งแวดล้อม วารสารร่มพฤกษ์ก็เป็นสื่อหนึ่งที่นำาบทความวิชาการไปสู่ผู้อ่านดังนั้นในวารสารร่มพฤกษ์ปีที่29ฉบับที่3(มิถุนายน-กันยายน2554)จึงได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับ“การสื่อสารและการมีส่วนร่วม” ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการจากหลากหลายสถาบันขึ้น เพื่อนำาเสนอให้เห็นกระบวนการสื่อสารระหว่างมนุษย์ทั้งรูปแบบของศาสตร์และศิลป์ โดยวารสารเล่มนี้ประกอบไปด้วยบทความวิชาการทั้งหมด7บทความและบทความวิจารณ์หนังสือ1เรื่องดังนี้ บทความที่1 “การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:ศึกษากรณีโครงการคลองสวยน้ำาใส”โดยสุทธบทซื่อมากซึ่งบทความนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายใต้กระบวนการทางการเมืองและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมศึกษาจากกรณีคลองสวยนำ้าใสของเทศบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีจากผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมนั้นไม่ยั่งยืนเนื่องจากประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยมีภาครัฐเป็นผู้สั่งการในทุกกระบวนการ มีการรับผลประโยชน์ของผู้บริหารอย่างขาดหลักธรรมาภิบาล ตลอดจนนักการเมืองท้องถิ่นขาดอุดมการณ์ที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งบทความนี้จะทำาให้ผู้อ่านนำาไปพิจารณาถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องของการมีส่วนร่วมที่ไม่ยั่งยืนเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาการมีส่วนร่วมให้เกิดความยั่งยืนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลโปร่งใสไร้ผลประโยชน์แอบแฝง บทความที่2 “ภาพลักษณ์และการสื่อสารแบบปากต่อปากของสถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา”โดยเปมิกาสิริธนานุวัตร์และนิศารัตน์เอี่ยมกิจบทความนี้กล่าวถึงการสื่อสารแบบปากต่อปาก เป็นการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบของการบอกต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยาทั้งในด้านการดำาเนินงานความน่าเชื่อถือและการยอมรับ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการสื่อสารแบบปากต่อปาก ได้แก่ การเผยแพร่ข้อมูลสถาบันการพูดถึงสถาบันเชิงบวกและการจูงใจให้คนอื่นๆเข้ามาเรียนในสถาบันเป็นต้น

  • บทความที่3 “การสร้างความเป็นจริงเรื่องประชาธิปไตยผ่านสื่อวิทยุชุมชนของกลุ่มรักเชียงใหม่’51” โดย ภัทมัย อินทจักร บทความนี้เป็นบทความที่มุ่งวิเคราะห์ให้เห็นถึงความเป็นจริงหรือกรอบจินตนาการสร้างสรรค์ความเป็นจริงเร่ืองประชาธิปไตยที่กลุ่มคนรักเชียงใหม่’51 ได้สร้างขึ้นมาผ่านการจัดรายการวิทยุชุมชน และสื่อหนังสือพิมพ์ เฉพาะกิจ ที่ทำาหน้าที่เป็น “สื่อทางการเมือง” ได้เป็นอย่างดีอย่างไร โดยกลุ่มนิยมการเมืองที่เรียกตัวเองว่า“กลุ่มรักเชียงใหม่’51” ได้พยายามสื่อให้ประชาชนเห็นถึงความแตกต่างของระบอบประชาธิปไตยกับระบอบอำามาตยาธิปไตย ซึ่งผู้เขียนได้วิเคราะห์ เนื้อหารายการวิทยุและข้อเขียนในหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในรูปแบบของการปลูกฝังแนวคิดหรือชุดความคิดทางการเมืองโดยเฉพาะเรื่องประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนที่รักความถูกต้องเสมอภาคและรักประชาธิปไตยซึ่งเป็นอีกหนึ่งมุมมองของการเมืองไทย บทความที่4 “ดิจิทัลแมกกาซีน:ย้อนอดีตมองปัจจุบันและเส้นทางสู่โลกอนาคต”โดย ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์ บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบนิตยสารตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต โดยบทความได้อธิบายถึงบทบาทของนิตยสารที่มีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล นิตยสารได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นดิจิทัลแมกกาซีน ที่มีการพัฒนาเนื้อหาการเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆที่เป็นอุปกรณ์ในการอ่านระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เป็นช่องทางในการนำาข้อมูลข่าวสารสู่ผู้อ่าน ซึ่งส่งผลต่อการผลิตนิตยสารที่ต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ให้กับผู้อ่านนิตยสารนักท่องอินเทอร์เน็ตและวงการอุตสาหกรรมนิตยสารต่อไป บทความที่5 “ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน”โดยวัฒนาสุนทรธัยเป็นบทความวิจัยที่ศึกษาถึงพฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของของนักศึกษาชั้นปีที่ 1คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยกรุงเทพซึ่งพบว่าการสื่อสารทางบวกของอาจารย์ผูส้อนจะทำาให้นักศึกษามีกำาลังใจในการเรียนตลอดจนการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต(Facebook)เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา และนักศึกษากับอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ บทความที่6 “โคลงภาพพระราชพงศาวดารศิลปะและวรรณกรรม ภายใต้ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์” โดย บาหยัน อิ่มสำาราญ เป็นบทความที่น่าสนใจมากบทความหนึ่งเพราะเป็นการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การอธิบายในเชิงวรรณกรรม ตลอดจนการแสดงถึงความศิวิไลซ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านจิตรกรรมชุดโคลงภาพพระราชพงศาวดารที่เขียนขึ้นโดยจิตรกรที่ผ่านการเรียนรู้จิตรกรรมไทยแบบประเพณี แล้วนำามาเขียนภาพผสมผสานกับจิตกรรมแบบตะวันตกในบทความได้บรรยายถึงการจัดสร้างจัดทำาทุกขั้นตอนเทคนิควิธี และการเปิดตัวต่อสาธารณชน โดยโคลงภาพพระราชพงศาวดารนี้ ได้นำามาจัดแสดงในรูปแบบที่เป็นนวัตกรรมของยุคสมัย ในลักษณะของนิทรรศการเคลื่อนที่ โคลงต่าง ๆ จะถูกนำามาเขียนแล้วใส่กรอบกระจกประดับเข้าคู่กับจิตกรรมประจำาภาพ ซึ่งแตกต่างจากวรรณกรรมเดิมที่

  • ส่วนใหญ่จะเขียนลงสมุดไทย สมุดข่อย ใบลาน หรือจารึกลงบนหิน อย่างไรก็ตาม การแสดงโคลงภาพนอกจากจะเป็นการแสดงศิลปะและวรรณกรรมที่มีเนื้อหาประวัติศาสตร์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนแล้วยังแสดงให้เห็นถึงการประกาศจุดยืนแห่งความเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของราชสำานักไทยในสมัยรัชกาลที่5ที่ออกมาในรูปศิลปะที่สง่างามอีกด้วย บทความที่7 “คิวบิสม์ในฐานะท่ีเป็นจุดเปลี่ยนจากศิลปะเหมือนจริงมาสู่นามธรรมเรขาคณิตในศิลปะสมัยใหม่”โดยสรรเสริญสันติวงศ์เป็นอีกบทความหนึ่งที่กล่าวถึงศิลปะแต่เป็นศิลปะสมัยใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบจากศิลปะเหมือนจริงไปสู่นามธรรมแบบเรขาคณิต ด้วยปัจจัยของสังคม เทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่ทำาให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดทฤษฏีค่านิยมและมุมมองใหม่ๆทางด้านศิลปะคิวบิสม์จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่เชื่อมโยงจากลักษณะเหมือนจริงไปสู่นามธรรมแบบเรขาคณิตที่ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้า สังเคราะห์ และวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงศิลปะในทุกยุคทุกสมัยที่มีการเปลี่ยนผ่าน บทความสุดท้าย เป็นบทวิจารณ์หนังสือเรื่อง “วิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหาร :กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปากบุ่งและชุมชนใกล้เคียงในตำาบลคันไร่ อำาเภอสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี”เป็นผลงานวิจัยโดยปราณีโนนจันทร์และคณะวิจารณ์โดยพรรณีบัวเล็กซ่ึงได้ชี้ให้เห็นว่าหนังสือเล่มนี้ซึ่งเรียบเรียงมาจากงานวิจัยมีความน่าสนใจเพราะคณะผู้วิจัยเป็นชาวบ้านธรรมดา ที่เริ่มดำาเนินการวิจัยโดยไม่มีความรู้ทั้งในเรื่องกระบวนการวิจัยและแนวคิดเชิงวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงทำาให้พบปัญหาอุปสรรคมากมาย แต่ก็สามารถดำาเนินการต่อได้ด้วยความอดทนและตั้งใจจริง ที่สำาคัญเนื้อหาที่นำาเสนอมาจากประสบการณ์จริงของคณะผู้วิจัยที่สามารถเล่าถึงเหตุการณ์โดยเรียงลำาดับตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับอาหารของท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรในป่าสาธารณะที่สัมพันธ์กับอาหารความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าในสังคมวัฒนธรรมความเชื่อเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังเป็นการค้นหาความรู้ ภูมิปัญญา ประเพณี ที่สัมพันธ์กับอาหารท้องถิ่นดั้งเดิม และการปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับปัจจุบัน ตลอดจนการค้นหาแนวทางในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าสาธารณะของท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งหาวิธีการสร้างความมั่นคงของอาหารธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไปโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กองบรรณาธิการขอขอบคุณเจ้าของบทความผู้ประเมินและผู้วิจารณ์ที่ทำาให้มีบทความทางวิชาการดี ๆบรรจุลงในวารสารเล่มนี้ และขอขอบคุณผู้อ่านที่ได้ติดตามผลงานทางวิชาการผ่านวารสารร่มพฤกษ์ด้วยดีเสมอมา กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความเหล่านี้จะเป็นหนึ่งในความรู้ที่ถูกหยิบยกไปเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยและประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำาวันได้

    กองบรรณาธิการ

  • สารบัญบทบรรณาธิการ

    บทที่ 1การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนำ้าใสสุทธบถ ซื่อมาก

    1บทที่ 2

    ภาพลักษณ์และการสื่อสารแบบปากต่อปากของสถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยาเปมิกา สิริธนานุวัตร และ นิศารัตน์ เอี่ยมกิจ

    27บทที่ 3

    การสร้างความเป็นจริงเรื่องประชาธิปไตยผ่านสื่อวิทยุชุมชนของกลุ่มรักเชียงใหม่’51

    ภัทมัย อินทจักร59

    บทที่ 4ดิจิทัล แมกกาซีน : ย้อนอดีต มองปัจจุบัน และเส้นทางสู่โลกอนาคต

    ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์85

    บทที่ 5ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียน

    วัฒนา สุนทรธัย105

    บทที่ 6โคลงภาพพระราชพงศาวดารศิลปะและวรรณกรรม

    ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์บาหยัน อิ่มสำาราญ

    121บทที่ 7

    คิวบิสม์ในฐานะที่เป็นจุดเปลี่ยนจากศิลปะเหมือนจริงมาสู่นามธรรมเรขาคณิตในศิลปะสมัยใหม่

    สรรเสริญ สันติวงศ์157

    บทที่ 8วิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหาร : กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านปากบุ่ง

    และชุมชนใกล้เคียงในตำาบลคันไร่ อำาเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีพรรณี บัวเล็ก –ผู้วิจารณ์

    185

  • การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส

    Politics of Participation in Local Authority’s EnvironmentalManagement : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project

    1บทที่สุทธบถ ซื่อมาก

    Suttabot Suemark

  • ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก

    บทที่

    1

    2

    บทคัดย่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นประเด็นสำาคัญอย่างยิ่งในการจัดการ

    สิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในโครงการคลองสวยนำ้าใสของเทศบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี เพื่ออธิบายลักษณะของการมีส่วนร่วมกระบวนการทางการเมืองและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม และเพื่อวิเคราะห์ความยั่งยืนของการจัดการสิ่งแวดล้อมของโครงการผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดำาเนินโครงการคลองสวยนำ้าใสเป็นเพียงรูปแบบและการคาดหวังผลประโยชน์ทางการเมือง ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการอย่างจำากัดในระดับการให้ข้อมูลความคิดเห็นแต่มีบทบาทในขั้นตอนอื่นๆ น้อยมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นจากการสั่งการโดยภาครัฐและการดำาเนินการของเทศบาลเป็นสำาคัญตั้งแต่กระบวนการ การมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วม และเทคนิคที่ใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วม

    ในด้านกระบวนการการเมืองนั้น พบว่า นักการเมืองท้องถิ่นยังขาดอุดมการณ์ที่จะสร้างประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง การแสดงภาวะผู้นำาทางการเมืองไม่ชัดเจน และการปฏิบัติงานยังไม่ได้นำาหลักธรรมาภิบาลมาใช้อย่างครอบคลุม โดย พบว่า คณะผู้บริหารได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมหลายประการในการดำาเนินโครงการ และพบว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมในโครงการคลองสวยนำ้าใสยังไม่เหมาะสม และไม่

    ยั่งยืนเนื่องจากมีจุดอ่อนด้านการบริหารโครงการที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

    1นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จำาลอง โพธิ์บุญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม

    ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใสPolitics of Participation in Local Authority’s Environmental

    Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project1บทที่สุทธบถ ซื่อมาก1

    Suttabot Suemark

  • บทที่ 1

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส(Politics of Participation in Local Authority’s Environmental Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project)

    3

    คำ�สำ�คัญ : การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การเมืองของการมีส่วนร่วม

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    AbstractPeople’s participation is a very important issue in environmental management.

    This study examined people’s participation in environmental management of a municipality’s Khlong Suay Nam Sai project, in Nonthaburi Province in order to explain characteristics of the participation, to explain political process and benefits concerning the participation; and to analyze the sustainability of the environmental management in the project. Data were collected through in-depth interviews, focus groups discussions and observations. The data were analyzed and interpreted by means of qualitative approach. The research found that the participation was only the political pattern and interests. The public were able to present their ideas, but the participation process, participation level and techniques were directed by government sector, especially the municipality’s administrators.

    In terms of political process it was found that: 1) the local politicians did

    not have a strong will to contribute the benefits to the public; 2) the administrators

    could not fully perform their political leaderships; and 3) the performances of

    the administrators did not adhere to good governance principle as the administrators

    had conflicts of interest in the project. The research also revealed that the project

    could not solve the environmental problems in a sustainable way because the

    management of the project did not conform to the good governance principle.

    Key words : people’s participation, politics of participation, local authority

  • ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก

    บทที่

    1

    4

    บทนำ�การมีส่วนร่วมเป็นส่ิงท่ีสำาคัญและจำาเป็นต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

    และสิ่งแวดล้อม เป็นอย่างยิ่งเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาในลักษณะที่มี

    ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งสาเหตุและผลกระทบของปัญหา การตัดสินใจของ

    เจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมก่อให้เกิดข้อผิดพลาด

    และสุดท้ายผลกระทบจะตกแก่ประชาชน เพราะฉะนั้นจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้

    หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปฏิบัติงาน เพราะประชาชนในท้องถิ่นคือ ผู้ที่รู้

    ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นตนเองดีกว่าผู้อื่นและเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ

    โดยตรง (อรทัย ก๊กผล, 2552:15) ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจึง

    เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับว่าน่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ

    ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ถวิลวดี บุรีกุล, 2548:4-6)

    ปัจจุบันการมีส่วนร่วมเป็นหลักการที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายและ

    เป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน (สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง และ

    วรากร น้อยพันธ์, 2552: 3-7) นอกจากนั้นการมีส่วนร่วมได้มีการพัฒนารูปแบบ

    ในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้นอย่างหลากหลาย ที่ประกอบไป

    ด้วยเทคนิควิธีการของการมีส่วนร่วม อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการภาคประชาชน

    การประชุมกลุ่ม การสำารวจความคิดเห็น และการทำาประชาพิจารณ์ (สำานักงาน

    นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2553: 155-166) และใน

    ขั้นตอนการมีส่วนร่วมต่างๆกัน ได้แก่ มีส่วนร่วมในการระบุปัญหาและสาเหตุ มี

    ส่วนร่วมในการวางแผน มีส่วนร่วมในการดำาเนินการ มีส่วนร่วมในการติดตามและ

    ประเมินผล (คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, 2545: 3) แต่ละรูปแบบมีนัยของการกระจาย

    อำานาจของภาครัฐต่อระดับการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่แตกต่างกัน

    แม้ว่าในทางทฤษฎี การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนจะมีความหลากหลายทั้ง

    ในเทคนิควิธีการและในขั้นตอนการมีส่วนร่วมแต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า

    โครงการโดยส่วนใหญ่ที่มีความคล้ายคลึงกันมักจะมีเทคนิคในการเสริมสร้างการมี

    ส่วนร่วมและมีขั้นตอนการมีส่วนร่วมที่เหมือนกัน อาทิ โครงการจัดการขยะมูลฝอย

    ส่วนมากใช้เทคนิคการให้ข้อมูลข่าวสารในการสร้างการมีส่วนร่วมและประชาชนมี

  • บทที่ 1

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส(Politics of Participation in Local Authority’s Environmental Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project)

    5

    ส่วนร่วมอยู่ในระดับขั้นรับทราบข้อมูลข่าวสาร ตัวอย่างเช่น โครงการรณรงค์นำา

    มูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ เทศบาลเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (เทศบาลเมือง

    ปทุมธานี, 2551) โครงการจัดการขยะมูลฝอย จังหวัดพิษณุโลก (สมาคมสันนิบาต

    เทศบาลแห่งประเทศไทย, 2540) ในด้านของโครงการจัดการมลพิษทางนำ้าส่วน

    มากมักใช้เทคนิคการให้ข้อมูลข่าวสารในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและสร้าง

    จิตสำานึกให้ประชาชนอนุรักษ์แม่นำ้าลำาคลอง ตัวอย่างเช่น โครงการฟื้นฟูคุณภาพ

    นำ้าคลองพร้อมศรี 2 โครงการคลองสวยนำ้าใสคลองบ้านป่า โครงการคลองสวยนำ้า

    ใสคลองเจ้าเจ็ด-บางยี่หน (กรมควบคุมมลพิษ, 2553)

    ในบางกรณีพบว่า การมีส่วนร่วมเกิดขึ้นจากหน่วยงานรัฐเป็นผู้ดำาเนินการเกือบ

    ทั้งหมด โอกาสช่องทางต่างๆ ยังไม่เปิดกว้างสำาหรับประชาชนทั่วไป ยกเว้นชนชั้น

    ผู้นำาที่สามารถใช้ประโยชน์จากการหาช่องว่างของกฎระเบียบ และอำานาจที่มีพร้อม

    ระบบอุปถัมภ์เข้าหาผลประโยชน์บนความทุกข์ของประชาชน และประเทศชาติ จาก

    การที่ประชาชนไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบายของรัฐด้วย

    อุปสรรคต่างๆ มีมากมายที่ทำาให้ไม่เอื้อต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

    ให้ดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ (ถวิลวดี บุรีกุล,

    2552) การมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นจึงเป็นการมีส่วนร่วมเทียมที่ไม่สามารถสะท้อนความ

    ต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

    จากตัวอย่างที่กล่าวมา การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ

    และบริบทของการมีส่วนร่วมอาจไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน กล่าวคือการตัดสินใจ

    ของหน่วยงานภาครัฐต่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับ

    นัยของการกระจายอำานาจเพียงอย่างเดียว การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี

    ส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐอาจเป็นไปตามปัจจัยแวดล้อม ทาง

    เศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง หรือกลไกเชิงสถาบันอื่นในบริบทของการมีส่วนร่วม

    การศึกษาในครั้งนี้ได้ศึกษาวิจัยถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เกิดขึ้น

    ในบริบทเฉพาะของการจัดการสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ การมีส่วนร่วมของประชาชน

    ในโครงการคลองสวยนำ้าใส ในเทศบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ที่ดำาเนินการใน

    ช่วงปีงบประมาณ 2553 ผู้วิจัยสนใจศึกษาโครงการดังกล่าวเนื่องจากเป็นโครงการ

  • ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก

    บทที่

    1

    6

    ทางด้านสิ่งแวดล้อมท่ีเทศบาลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในบาง

    กิจกรรมของโครงการและสามารถดำาเนินโครงการจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำาหนด

    ไว้ และดำาเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาพอสมควร อย่างไรก็ตามการ

    บรรลุเป้าหมายของโครงการดังกล่าวนี้อาจเนื่องมาจากการมีส่วนร่วมของภาค

    ประชาชนที่เหมาะสมหรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ก็เป็นได้

    นอกจากนี้พ้ืนที่ในการดำาเนินโครงการมีความน่าสนใจคือเป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ติด

    กับกรุงเทพมหานครและได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของชุมชนเมืองส่งผลให้

    ในพื้นที่มีจำานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลกระทบจากประชากรที่เพิ่มขึ้น

    ก่อให้เกิดของเสีย มลภาวะ อันเนื่องจากการอุปโภคบริโภคที่ขาดจิตสำานึกและวินัย

    ในการดำาเนินชีวิตเช่น นำ้าในคลองเน่าเสียทั้งจากนำ้าทิ้ง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

    ทำาให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลอง ซึ่งในปัจจุบันมี

    เทศบาลอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเทศบาลแห่งนี้และประสบปัญหาในลักษณะ

    เดียวกันเพิ่มขึ้น และเหตุที่เลือกศึกษาในโครงการคลองสวยนำ้าใสเนื่องจากโครงการ

    ดังกล่าวเป็นโครงการที่เทศบาลทั่วประเทศกำาลังดำาเนินการอยู่ในพื้นที่ของตนเอง

    และเป็นโครงการที่สามารถส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยไม่มีความ

    ซับซ้อนมาก

    การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะและระดับการมีส่วน

    ร่วมของประชาชนและอธิบายมูลเหตุต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม

    ของโครงการคลองสวยนำ้าใสของเทศบาล โดยเฉพาะปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งจะนำา

    ไปสู่การพัฒนาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมสำาหรับการจัดการ

    สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การปกครอง

    ส่วนท้องถิ่น โดยมีโจทย์ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด

    กระบวนการทางการเมืองมีผลต่อการมีส่วนร่วมหรือไม่อย่างไร ผลการจัดการ

    สิ่งแวดล้อมโครงการคลองสวยนำ้าใสจะยั่งยืนหรือไม่อย่างไร

    วิธีก�รศึกษ�การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การเก็บ

  • บทที่ 1

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส(Politics of Participation in Local Authority’s Environmental Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project)

    7

    รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ ภาคสนามรวมทั้งการทดสอบแบบสามเส้า (Triangulation) ซึ่งเป็นการหาข้อมูลจากแหล่งที่มาหลายแหล่ง (Data Triangulation) โดยใช้วิธีวิจัยหลายวิธี (Method-ological Triangulation) เพื่อให้ได้คำาอธิบายหลายๆ สภาพการหลายๆ ช่วงเวลาและมิติต่างๆ กันจากผู้สืบสวนหลายๆ คนหลายๆ กลุ่ม (Investigation Triangulation) (Denzen, 1987) ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ ศึกษาจากเอกสารรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำาเนินงาน และผลการดำาเนินงานของโครงการคลองสวยนำ้าใส นอกจากนี้ได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลจากเอกสาร งานวิชาการ งานวิจัย บทความ วารสาร สิ่งพิมพ์ และสื่ออื่นๆที่มีการนำาเสนอข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

    ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ภาคการเมือง ภาคข้าราชการและภาคประชาชน ภาคการเมืองได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่นทั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล จำานวน 5 ราย ภาคข้าราชการประจำา ได้แก่ ปลัดเทศบาล ผู้อำานวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้อำานวยการกองช่างและเจ้าหน้าที่จำานวน 4 ราย ภาคประชาชน ได้แก่ ประชาชนผู้มีส่วนร่วมในโครงการ และผู้ไม่มีส่วนร่วมในโครงการ จำานวน 5 ราย สำาหรับการสนทนากลุ่มประกอบด้วยประชาชนที่มีส่วนร่วมในโครงการจำานวน 5 ราย

    สำาหรับการศึกษาครั้งนี้มีแนวคิดแสดงได้ดังแผนภาพนี้

    การสังเกตการณภาคสนามสัมภาษณเชิงลึกเกี่ยวกับการเมืองและการมีสวนรวม

    ของประชาชนในโครงการคลองสวยน้ำใส

    สนทนากลุมชาวบานเกี่ยวกับการเมืองและการมีสวนรวมของประชาชนในโครงการคลองสวย

    น้ำใส

    การมีสวนรวมในการจัดการสิ่งแวดลอมโครงการคลองสวยน้ำใส ในพื้นที่เทศบาลแหงหนึ่งใน

    จังหวัดนนทบุรี

    • กระบวนการการเมืองเกี่ยวกับการมีสวนรวมในการจัดการสิ่งแวดลอม โครงการคลองสวยน้ำใส

    • ผลประโยชนที่เกี่ยวของกับการมีสวนรวม• ความยั่งยืนของการจัดการสิ่งแวดลอมของโครงการคลองสวยน้ำใส

    แผนภ�พที่ 1 แนวคิดในการศึกษา

  • ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก

    บทที่

    1

    8

    ก�รมีส่วนร่วมของภ�คประช�ชนโครงการที่ศึกษาคือโครงการคลองสวยนำ้าใสมีที่มาจากหลายสาเหตุประกอบ

    กันได้แก่ เป็นนโยบายจากกระทรวงมหาดไทยผ่านทางกรมส่งเสริมการปกครอง

    ท้องถิ่นสั่งการมาที่จังหวัดนนทบุรีให้เทศบาลทุกเทศบาลคิดและจัดทำาโครงการ

    โดยกำาหนดให้มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ประกอบกับในพื้นที่เทศบาล

    ประสบปัญหานำ้าเน่าเสีย ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองได้รับผลกระทบ ชาวบ้านจึง

    ร้องเรียนให้เทศบาลช่วยแก้ไขปัญหาทางเทศบาลจึงเห็นสมควรจัดทำาโครงการ

    และเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในทางการเมืองต่อคณะผู้บริหาร

    เทศบาลทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆเหล่านี้จึงทำาให้โครงการ

    คลองสวยนำ้าใสเกิดขึ้น

    โครงการคลองสวยนำ้าใสมีกิจกรรมในโครงการได้แก่ เทศบาลสำารวจคลองใน

    พื้นที่เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ กองช่างประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงภูมิทัศน์ เช่น

    การตัดหญ้า ตัดกิ่งไม้ เก็บขยะมูลฝอย และกำาจัดวัชพืช หลังจากนั้นจัดพิธีเปิด

    โครงการคลองสวยนำ้าใส และเชิญชวนประชาชน ครู นักเรียน เข้าร่วมเปิดโครงการ

    พร้อมทั้งเทนำ้าจุลินทรีย์ชีวภาพ โยนก้อนจุลินทรีย์ (ดังโงะ) ปรับปรุงภูมิทัศน์ ลอก

    วัชพืช ตัดกิ่งไม้ เก็บขยะในคลอง และติดตั้งป้ายรณรงค์การรักษาคลอง และ

    กิจกรรมสุดท้ายคือ ติดตามผลโครงการ เทนำ้าหมักจุลิทรีย์ชีวภาพ โยนก้อนจุลินทรีย์

    (ดังโงะ) เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ตรวจวัดค่าปริมาณออกซิเจนที่ละลายในนำ้าเพื่อ

    ประเมินคุณภาพนำ้า (ค่า DO)

    โครงการคลองสวยนำ้าใสมีผู้เกี่ยวข้องในโครงการหลายฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ

    ภาคประชาชน และภาคสถาบันการศึกษา ภาครัฐประกอบด้วย กรมส่งเสริมการ

    ปกครองท้องถิ่น คณะผู้บริหารเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล ผู้อำานวยการกอง และ

    พนักงานเทศบาล ซึ่งมีบทบาทสำาคัญในฐานะผู้คิดริเริ่มโครงการ และดำาเนิน

    โครงการภาคประชาชน ประกอบด้วย ประชาชนในหลายภาคส่วนได้แก่ กำานัน

    ผู้ใหญ่บ้านผู้นำาชุมชนคณะกรรมการชุมชน กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มสตรี กลุ่ม

    สวัสดิการชุมชน และประชาชน ซึ่งมีบทบาทสำาคัญในการเข้าร่วมโครงการ ภาค

    สถาบันการศึกษา กลุ่มเยาวชนในเขตพื้นที่เทศบาลได้แก่ นักเรียนจากโรงเรียนใน

  • บทที่ 1

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส(Politics of Participation in Local Authority’s Environmental Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project)

    9

    ระดับประถมศึกษา 2 แห่งในเขตเทศบาลซึ่งมีบทบาทในการปลูกฝังจิตสำานึกสาธารณะ

    และค่านิยมร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ

    อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

    ในโครงการแต่ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการคลองสวยนำ้าใสเข้ามาโดยวิธี

    การที่ทางเทศบาลขอความร่วมมือให้หน่วยงานต่างๆ และกลุ่มต่างๆ นำาคนของ

    ตนเองเข้ามาร่วมโครงการถึงแม้จะไม่ได้เป็นการบังคับให้เข้าร่วมแต่ประชาชนก็ไม่

    ได้มีความต้องการที่จะเข้าร่วมด้วยตนเองอย่างแท้จริง

    การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการคลองสวยน้ำาใสสามารถแบ่งได้เป็น 3

    ขั้นตอนได้แก่ ในระยะแรกของการดำาเนินโครงการประชาชนมีส่วนร่วมในการนำา

    เสนอปัญหาและความต้องการ ในระยะที่สองคือ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประชาชน

    เข้ามามีส่วนร่วมในพิธีเปิดโครงการในกิจกรรมร่วมเทนำ้าหมัก จุลินทรีย์ชีวภาพ และ

    โยนก้อนจุลินทรีย์ (ดังโงะ) และปรับปรุงภูมิทัศน์ และการมีส่วนร่วมในการได้รับ

    ผลประโยชน์ กล่าวคือ เมื่อดำาเนินโครงการเสร็จสิ้นสภาพน้ำาในลำาคลองดีขึ้นส่งผล

    ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

    ชาวบ้านที่มีส่วนร่วมทุกคนมีส่วนร่วมโดยความสมัครใจไม่มีใครถูกบังคับ

    หรือจ้างให้เข้าร่วม ชาวบ้านทุกๆ คนมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน อย่างไรก็ตามทั้ง

    สามข้ันตอนนี้ประชาชนไม่ใช่ผู้ที่มีบทบาทหลักในการดำาเนินโครงการแต่เป็นภาค

    รัฐที่เป็นฝ่ายกำาหนดกรอบของการมีส่วนร่วมให้แก่ประชาชนทั้งหมดทุกขั้นตอน

    และเทศบาลเป็นผู้ขอความร่วมมือให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ

    ในด้านเทคนิควิธีการในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมพบว่าเทศบาลใช้เทคนิค

    การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนที่หลากหลายเทคนิค และแตกต่างกันใน

    แต่ละขั้นตอนกล่าวคือ ในขั้นตอนการริเริ่มโครงการเทศบาลใช้เทคนิคการประชุม

    ประชาคมโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมาเสนอความต้องการและปัญหาต่อ

    เทศบาลเพื่อที่เทศบาลจะนำาปัญหาและความต้องการของประชาชนไปคิดและ

    วางแผนให้ออกมาในรูปของโครงการแต่การจัดประชุมประชาคมถึงแม้จะได้รับ

    ทราบปัญหาและความต้องการโดยตรงจากชาวบ้านแต่ชาวบ้านที่เข้าไปมีส่วนร่วม

    ในขั้นตอนนี้มีจำานวนน้อยมากไม่ครอบคลุมชาวบ้านทั้งหมด

  • ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก

    บทที่

    1

    10

    ในขั้นตอนของการรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนเข้ามาร่วมปฏิบัติงานใน

    โครงการคลองสวยนำ้าใสเทศบาลใช้เทคนิคในการประชาสัมพันธ์โครงการโดยส่ง

    นักการเมืองท้องถิ่นลงพื้นที่และใช้เทคนิคการพบปะแบบไม่เป็นทางการ เทศบาล

    จัดทำาเอกสารจดหมายข่าวโดยให้เจ้าหน้าที่เทศบาลแจกจ่ายประชาชนที่อยู่อาศัย

    ริมคลอง ใช้รถโฆษณาติดวิทยุกระจายเสียง หอกระจายข่าว ป้ายโฆษณาโครงการ

    แต่ช่องทางหลักที่มีประสิทธิภาพมากท่ีสุดประหยัดงบประมาณและใช้เวลาน้อย

    ที่สุดคือ ทางเทศบาลจัดทำาหนังสือเชิญประธานชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ซึ่งมีด้วยกัน

    ทั้งหมด 6 ชุมชนและประธานกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มสตรี กลุ่ม

    สวัสดิการชุมชน สถานศึกษาในชุมชน ให้มาเข้าร่วมประชุมโครงการและมอบหมาย

    ให้ผู้นำาชุมชนแต่ละชุมชนและประธานแต่ละกลุ่มไปชี้แจงกระจายข่าวต่อคณะ

    กรรมการชุมชน สมาชิกในแต่ละกลุ่ม และชาวบ้านในชุมชนของตน

    ในขั้นตอนการปฏิบัติงานทางเทศบาลได้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยการจัด

    กิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการให้เข้ามาร่วมในพิธีเปิดโครงการ

    ได้แก่ จัดวีดีทัศน์บรรยายความสำาคัญของโครงการ ร่วมเก็บขยะวัชพืชและเทนำ้า

    สกัดชีวภาพลงในลำาคลอง ซึ่งในพิธีเปิดโครงการมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมใน

    โครงการมากพอสมควร และยังมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่เทศบาล

    ตลอดจนเจ้าหน้าที่เทศบาลเข้าร่วมพิธีเปิดด้วยแต่หลังจากพิธีเปิดแล้วประชาชน

    และภาคส่วนต่างๆ ก็แทบไม่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในโครงการอีกเลย

    กระบวนก�รท�งก�รเมืองกับโครงก�รในด้านการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ปัจจัยสำาคัญที่มีอิทธิพลมากต่อการได้รับ

    ชัยชนะในการเลือกตั้งคือทุน ดังนั้นเมื่อนักการเมืองท้องถิ่นได้เข้าดำารงตำาแหน่ง

    ทางการเมืองจึงจำาเป็นต้องแสวงหาผลประโยชน์เพื่อใช้เป็นทุนในการเลือกตั้งครั้ง

    ต่อไป ผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นโดยเฉพาะคณะผู้บริหาร

    เทศบาลที่ได้จากการดำาเนินโครงการคลองสวยนำ้าโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้า

    มามีส่วนร่วมในโครงการนั้นจึงไม่ใช่ผลประโยชน์ทางตรงจากโครงการแต่เป็นผล

    ประโยชน์ทางอ้อมเน่ืองจากโครงการดังกล่าวเป็นช่องทางในการจัดสรรงบ

  • บทที่ 1

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส(Politics of Participation in Local Authority’s Environmental Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project)

    11

    ประมาณ และใช้งบประมาณ เพื่อให้ได้รับคะแนนเสียงโดยการแบ่งงานให้หัวคะแนน

    มารับงานจากทางเทศบาลและใช้งบประมาณในการดำาเนินงานตำ่ากว่างบประมาณ

    ที่ทางเทศบาลตั้งไว้ เงินส่วนที่เหลือจะให้แก่หัวคะแนนที่เป็นผู้รับเหมา นอกจาก

    น้ันคณะผู้บริหารเทศบาลจะได้ภาพลักษณ์ท่ีดีโดยอธิบายให้ประชาชนเข้าใจว่า

    เทศบาลไม่ได้เพิกเฉยปัญหานำ้าเน่าเสีย และยังเป็นช่องทางในการหลบหลีกการ

    เอาผิดกับเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหานำ้าเน่าเสีย

    ในพื้นที่เนื่องจากคณะผู้บริหารมีความสนิทสนมและมีผลประโยชน์ร่วมกัน

    คณะผู้บริหารเทศบาลจะมีแนวโน้มในการใช้กระบวนการทางการเมืองต่างๆ

    เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใช้กระบวนการทางการเมือง

    เพื่อแสวงหาเงิน การจัดทำาโครงการคลองสวยน้ำาใสเป็นช่องทางในการใช้งบประมาณ

    ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายกเทศมนตรีและคณะ

    ผู้บริหารเทศบาลกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของ

    หมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะต่างตอบแทน

    นอกจากนั้นยังใช้กระบวนการทางการเมืองในการแต่งตั้งบุคคลใกล้ชิด เครือญาติ

    และเพื่อนฝูงเข้ามาดำารงตำาแหน่งต่างๆ ในเทศบาล มีทั้งในระดับล่างถึงระดับสูง

    รวมทั้งในสภาเทศบาล ซึ่งจะส่งผลต่อโครงการต่างๆ ที่ฝ่ายผู้บริหารต้องการจัดทำา

    ขึ้น โดยเมื่อนำาโครงการเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติงบประมาณในสภาเทศบาลก็จะได้

    รับการเห็นชอบโดยง่าย และข้าราชการจะทำางานตอบสนองอย่างรวดเร็ว นอกจาก

    นี้คณะผู้บริหารเทศบาลใช้กระบวนการทางการเมืองในการสร้างคะแนนเสียงกับ

    ชาวบ้านในพื้นที่ โดยใช้เวลาราชการไปร่วมงาน เช่น งานแต่ง งานบวช งานขึ้นบ้าน

    ใหม่ของชาวบ้านในพื้นที่ นอกจากนั้นยังนำาเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ จากทางเทศบาล

    ไปช่วยอำานวยความสะดวก และให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือในงานต่างๆ ของประชาชน

    และยังมีนโยบายในการจ้างงานคนในพื้นที่ เช่นการขุดลอกคลอง ตัดต้นไม้ ในกรณี

    โครงการคลองสวยนำ้าใสและจ้างบุตรหลานของชาวบ้านเข้ามาทำางานในเทศบาล

    ช่วงปิดภาคเรียน

    ในส่วนของสมาชิกสภาเทศบาลในการจัดทำาโครงการมีบทบาทเป็นผู้ให้ความ

    ร่วมมือกับคณะผู้บริหารในการสนับสนุนโครงการเท่านั้น ด้านผลประโยชน์ทางการ

  • ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 มิถุนายน - กันยายน 2554วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก

    บทที่

    1

    12

    เมืองต่อสมาชิกสภาเทศบาลมีผลประโยชน์น้อยเน่ืองจากเป็นผลงานของคณะ

    ผู้บริหารไม่เกี่ยวข้องกับสมาชิกสภาเทศบาลโดยตรง

    ภ�คข้�ร�ชก�รกับโครงก�รในด้านข้าราชการพบว่าโครงการคลองสวยนำ้าใสนั้นเป็นโครงการด้าน

    สิ่งแวดล้อมโดยตรง ดังนั้น ผู้อำานวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาล

    และเจ้าหน้าที่ในกองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในทุกขั้นตอนของการดำาเนินโครงการ

    ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ผู้อำานวยการกองช่างเป็นผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลืองานตาม

    คำาขอจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการ

    ดำาเนินโครงการ ผู้ที่มีอำานาจสั่งการและมอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้อำานวย

    การกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมคือ ปลัดเทศบาล แต่ผู้มีอำานาจสั่งการทั้งหมด

    ทุกเรื่องคือ นายกเทศมนตรีส่วนเจ้าหน้าที่เทศบาลรับคำาสั่งโดยตรงจากผู้อำานวยการกอง

    ที่ตนสังกัดอยู่

    ผลประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ข้าราชการจำานวนหนึ่ง

    ให้ความเห็นว่า ได้ความภูมิใจที่สามารถทำางานได้สำาเร็จและผลของงานเป็นประโยชน์

    ต่อประชาชน แต่ผลตอบแทนส่วนตัวในเรื่องความดีความชอบจากการจัดทำาโครงการ

    ดังกล่าวผู้อำานวยการกองสาธารณสุขและส่ิงแวดล้อมและเจ้าหน้าที่เทศบาลกอง

    สาธารณสุขและส่ิงแวดล้อมจะได้รับประโยชน์มากท่ีสุดเนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบ

    โครงการโดยตรง หากโครงการประสบผลสำาเร็จจะส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจ

    จากผู้ใหญ่ให้ดำาเนินการในโครงการอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากสามารถทำาให้เห็นว่ามี

    ศักยภาพในการทำางาน แต่ในส่วนของผู้อำานวยการกองการช่างและข้าราชการ

    ท่านอื่นๆ นั้นไม่ได้รับผลประโยชน์ในเรื่องความดีความชอบเพราะไม่ใช่โครงการ

    ในความรับผิดชอบของตน

    ประช�ชนกับก�รเมืองและโครงก�รการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการคลองสวยนำ้าใสส่งผลต่อการ

    ตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในเชิงบวกทั้งชาวบ้านที่มีส่วน

  • บทที่ 1

    การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีโครงการคลองสวยนํ้าใส(Politics of Participation in Local Authority’s Environmental Management : A Case Study of Khlong Suay Nam Sai Project)

    13

    ร่วมและไม่มีส่วนร่วม เนื่องจากทำาให้ประชาชนที่มีส่วนร่วมจดจำาผลงานของคณะ

    ผู้บริหารได้ว่าดำาเนินโครงการอะไรบ้างและเป็นประโยชน์มากน้อยเพียงใดโดย

    เฉพา�