แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020....

44
แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2568 ฉบับทีpersonnel technology management stakeholder Leader innovation

Upload: others

Post on 31-Jul-2021

1 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์

สถาบันพระปกเกล้าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2568

ฉบับที่

personnel

technology

management

stakeholder

Leader

innovation

Page 2: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –
Page 3: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

คำนำ

สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะสถาบันทางวิชาการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานรัฐสภา

มีอำนาจหน้าตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติ

สถาบันพระปกเกล้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเมือง การปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยไปสู่ประชาชน รวมทั้งการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ

ด้านการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

ประมุขมีความเป็นปึกแผ่นและยั่งยืน โดยสถาบันมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ

ในการกำหนดกรอบและทิศทางการดำเนินงานของสถาบันฉบับแรกในปี พ.ศ. 2543 จนกระทั่งถึง

ฉบับที่ 6 ในปัจจุบัน ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2564 – 2568

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 ได้ให้ความสำคัญกับทุกกระบวนงาน

ทั้งงานตามภารกิจของสถาบัน และงานสนับสนุนภายใน อันเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนสถาบัน

ไปสู่เป้าหมายภายใต้วิสัยทัศน์ “สถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และ

สันติวิธี เพื่อประโยชน์ส่วนรวม” โดยได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 7 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้

1) การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

2) การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล

และสันติวิธี

3) การพัฒนาและสร้างความเป็นพลเมือง

4) การส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

5) การสงเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑฯ ใหเปนแหลงเรียนรูดานพระปกเกลาศึกษา และพัฒนาการ

ประชาธิปไตย

6) การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล

7) การพัฒนานวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

ในการนี้ สถาบันพระปกเกล้า มุ่งหวังเพื่อเผยแพร่ และสื่อสาร สร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากร

ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องให้ทราบ และเข้าใจได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ

ให้สำเร็จตามภารกิจขององค์กรต่อไป

สถาบันพระปกเกล้า

เมษายน 2563

Page 4: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

สารบัญ

เรื่อง หน้า

ความเป็นมาและความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า 7

ขั้นตอนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า 9

ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factors) 25

วิสัยทัศน์ (Vision) 27

พันธกิจ (Missions) 27

ค่านิยมร่วม (Shared values) 28

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategies) 29

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล 30

และสันติวิธี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริม 32

ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและสร้างความเป็นพลเมือง 33

35 ประเด็นยุทธศาสตรท่ี 4 การสงเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

ประเด็นยุทธศาสตรท่ี 5 การสงเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑฯ ใหเปนแหลงเรียนรู 37

ด้านพระปกเกล้าศึกษา และพัฒนาการประชาธิปไตย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล 39

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย 41

ภาคผนวก 43

Page 5: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

สารบัญแผนภาพ

แผนภาพ หน้า

แผนภาพที่ 1 ภาพแสดงขัน้ตอนและผูท้ีเ่กีย่วขอ้งในการจดัทำแผนยทุธศาสตรส์ถาบนัพระปกเกลา้ 10

แผนภาพที ่2 ภาพแสดงปัจจัยความสำเร็จ 26

แผนภาพที่ 3 ภาพแสดงวิสัยทัศน์ 27

แผนภาพที่ 4 ภาพแสดงพันธกิจ 27

แผนภาพที่ 5 ภาพแสดงค่านิยมร่วม 28

แผนภาพที่ 6 ภาพแสดงประเด็นยุทธศาสตร์ 29

Page 6: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

สารบัญตาราง

ตาราง หน้า

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 30

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 32

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 33

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 35

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 37

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 39

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 41

Page 7: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

ความเป็นมาและความสำคัญของ แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันพระปกเกล้า เป็นสถาบันทางวิชาการที่อยู่ภายใต้การกำกับ

ดูแลของประธานรัฐสภา มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ด้านการเมือง การปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยไปสู่ประชาชน รวมทั้งการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ

เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความเป็นปึกแผ่นและยั่ งยืน

ซึ่งการขับเคลื่อนองค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการบริหารจัดการทั้งภายใน

และภายนอก ส่งผลให้เกิดการจัดทำแผนกลยุทธ์ ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2543

– 2547 ให้ความสำคัญกับการเป็นศูนย์ข้อมูลในการกำหนดนโยบาย

สาธารณะที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ สามารถเป็นแหล่งอ้างอิง

การติดตามตรวจวัดระดับประชาธิปไตย และธรรมาภิบาลของประเทศ

รวมไปถึงการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือเครือข่ายพัฒนาประชาธิปไตย

ต่อมา แผนกลยุทธ์ ฉบับที่ 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 – 2551 เน้นในเรื่อง

อุดมการณ์ประชาธิปไตย การมีเสรีทางความคิด การคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ยึดถือธรรมาภิบาล และเป็น

แหล่งเรียนรู้ด้านประชาธิปไตยอย่างเป็นกลาง ต่อมา แผนกลยุทธ์ ฉบับที่ 3

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2555 เน้นในเรื่อง การสร้างและนำองค์ความรู้

การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และธรรมาภิบาลไปเป็น

แหล่งอ้างอิง และเป็นแนวทางในการพัฒนาประชาธิปไตย ขยายองค์ความรู้

ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเมือง การปกครอง

เศรษฐกิจ และสังคม จนกลายเป็นพลังพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

มีส่วนร่วมทางการเมือง สร้างศูนย์กลางความร่วมมือเครือข่ายการเมือง

การปกครอง และสนับสนุนงานพระปกเกล้าศึกษา แผนกลยุทธ์ ฉบับที่ 4

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2558 เน้นการวิจัยสร้างองค์ความรู้ บริการทาง

วิชาการ อบรม ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สนับสนุนงานรัฐสภา

สนับสนุนงานหน้าที่พลเมือง สนับสนุนงานพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพัฒนาองค์ความรู้พระปกเกล้าศึกษา ต่อมา

ผูบ้รหิารไดเ้หน็สมควรใหเ้ปลีย่นการใชช้ือ่แผนของสถาบนั จาก “แผนกลยทุธ ์

สถาบันพระปกเกล้า” เปลี่ยนเป็น “แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า”

Page 8: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

เพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อนกับคำว่ากลยุทธ์ (Tactic) โดยเริ่มตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า

ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2563 เป็นต้นไป โดยแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 5 เน้นในเรื่องการสร้าง

องค์ความรู้ด้านงานวิจัยเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี การพัฒนาผู้นำทางความคิด

และการทำงานเพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี การพัฒนาสร้างความเป็นพลเมือง

สนับสนุนงานวิชาการรัฐสภา ส่งเสริมงานพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพัฒนา

แหล่งเรียนรู้พระปกเกล้าศึกษา และพัฒนาสมรรถนะองค์กรสู่สากล โดยแผนดังกล่าวจะหมดอายุลง

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ตามห้วงระยะเวลา

ที่กำหนด

ดังนั้น เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของสถาบันเป็นไปอย่างมีทิศทาง และ

เป้าหมายที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ และแผนในระดับต่าง ๆ ทั้งแผนยุทธศาสตร์ของ

สถาบัน และแผนยุทธศาสตร์ชาติ สถาบันจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 6 ขึ้น สำหรับแผนยุทธศาสตร์

สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568) ได้คำนึงถึงกระบวนการต่าง ๆ

ที่จะทำให้ภารกิจของสถาบันประสบผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้

การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและการทำงานเพื่อเผยแพร่การพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล

และสันติวิธี การสร้างพลเมืองประชาธิปไตย การส่งเสริมงานวิชาการรัฐสภา การส่งเสริมและสนับสนุน

งานพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้พระปกเกล้าศึกษา

การสนับสนุนสมรรถนะบุคลากรให้สามารถขับเคลื่อนงานสถาบันได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้

แผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 6 ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่จนก่อให้เกิดแนวคิด

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยด้วย

สถาบันพระปกเกล้า จึงจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 ขึ้น (ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 – 2568) เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทาง และแนวทางในการดำเนินงานของสถาบันพระปกเกล้า

รวมทั้งเป็นกรอบการจัดทำโครงการ และแผนปฏิบัติการของสถาบัน เพื่อให้เกิดผลในการขับเคลื่อนตาม

พันธกิจของสถาบันต่อไป

Page 9: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

ขั้นตอนในการจัดทำ แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า

สถาบันพระปกเกล้า ได้เริ่มจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 ในเดือนมีนาคม

2562 โดยได้มีการสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เกี่ยวกับ

ทิศทางการดำเนินงานของสถาบัน ต่อมา เพื่อเป็นการทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์

สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 5 จึงมีการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนัก/วิทยาลัย/พิพิธภัณฑ์ฯ ในฐานะ

หัวหน้าประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ โดยเป็นการสัมภาษณ์ในเรื่องความสำเร็จ ปัญหา/

อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน รวมไปถึงการนำผลการประเมินจากคณะกรรมการติดตาม

และประเมินผลการปฏิบัติงานของสถาบันพระปกเกล้ามาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน

ในปีต่อ ๆ ไป นอกจากนี้ สถาบันได้มีการสำรวจสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ความคาดหวังจาก

การสนับสนุนงานวิชาการรัฐสภา และนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป้าหมายการพัฒนา

ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) และสำรวจสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับ

ความคาดหวังของบุคลากรสถาบัน ซึ่งสถาบันได้มีการจัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์

สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568) ประกอบด้วย ผู้บริหาร และพนักงาน

สถาบันทุกสำนัก/วิทยาลัย/พิพิธภัณฑ์ฯ โดยมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการร่วมจัดทำ

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568) อันจะนำไปสู่

ความสำเร็จตามเป้าหมายที่สถาบันกำหนดไว้ ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวได้ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 เมื่อวันที่ 12 – 13 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรม

รอยัลฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก จากนั้นจึงได้ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า

ฉบับที่ 6 และได้มีการนำร่างแผนดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบัน

พระปกเกล้า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 เพื่อรับฟังความเห็นและนำมาปรับให้สมบูรณ์ต่อไป

ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น มีรายละเอียด ดังนี้

Page 10: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

10

ขั้นตอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6

1. สำรวจความเห็นผู้บริหารสถาบันเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานของสถาบัน

2. ทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 5 และภาพรวมผลการประเมินจากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ

3. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบัน/สำนัก/วิทยาลัย ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ได้แก่

- ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) - เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) - ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน - การสำรวจความคาดหวังของบุคลากรภายในสถาบัน

4. ผู้บริหารและพนักงานของสถาบันประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นต่อสภาพแวดล้อม และร่วมพิจารณา แนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์

5. คณะกรรมการบริหารสถาบันพระปกเกล้า พิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สถาบัน ฉบับที่ 6

6. สภาสถาบันพระปกเกล้า พิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สถาบัน ฉบับที่ 6

7. สำนัก/วิทยาลัย จัดทำ (ร่าง) โครงการขึ้นเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ (ร่าง) แผน ยุทธศาสตร์สถาบัน ฉบับที่ 6

8. ผู้บริหารเห็นชอบและอนุมัติใช้แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 และแผนปฏิบัติการภายใต้แผนดังกล่าว

แผนปฏิบัติการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6

(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า

ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 – 2568)

แผนภาพที่ 1 : ภาพแสดงขั้นตอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า

Page 11: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

11

1.1 สำรวจความเห็นผู้บริหารสถาบัน เกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานของสถาบัน

จากการสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 ในเรื่องการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมา

และทิศทางการดำเนินงานในอนาคต พบว่า การดำเนินงานที่ผ่านมามีความโดดเด่น

ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาและสร้างความเป็นพลเมือง

ซึ่งเป็นการดำเนินงานผ่านเครือข่ายในพื้นที่ เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด จะเห็นได้ว่าประชาชน

มีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น จึงต้องมีการสนับสนุนงานการสร้างความเป็นพลเมือง

โดยเน้นการสร้างเครือข่าย และขยายผลออกไปในอีกหลาย ๆ พื้นที่

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่มีความโดดเด่นอีกประเด็นหนึ่ง คือ การส่งเสริมและพัฒนา

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษา

สถาบันได้มีการส่งผู้แทนจากงานพิพิธภัณฑ์ฯ เข้าร่วมศึกษาดูงานนิทรรศการ “ของขวัญ

แห่งมิตรภาพ ราชอาณาจักรไทย และสหรัฐอเมริกา” (Great and Good Friends

Historic Gifts between the Kingdom of Thailand and the United State of

America 1818-2018) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างพิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

และพิพิธภัณฑ์ ในประเทศไทย ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติ งาน

ด้านพิพิธภัณฑ์ได้มีโอกาสศึกษาบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพผู้ที่ปฏิบัติงาน

ด้านพิพิธภัณฑ์อันจะเป็นประโยชน์ในการทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ในอนาคต และได้นำ

แนวคิดกลับมาพัฒนางานพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อไป ซึ่งงาน

ดังกล่าวคงต้องมีการสร้างสรรค์ พัฒนาให้มีความทันสมัย และน่าสนใจอยู่เสมอ

สำหรับประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและการทำงาน

เพื่อเผยแพร่การพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี มีการพัฒนารูปแบบ

การเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย และเหมาะกับผู้เรียน เช่น Executive talk and

Role-play การพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน การเคร่งครัดต่อการเข้าร่วม

กิจกรรม ทำให้สถาบันเป็นองค์กรชั้นนำในการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง และขึ้นชื่อในเรื่อง

การเรียนการสอนหลักสูตรต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคม แต่ปัจจุบันการแข่งขันค่อนข้างสูง

หน่วยงานต่าง ๆ มีการจัดการเรียนการสอนคล้าย ๆ กับสถาบัน ดังนั้น สถาบันเองก็จะ

ต้องมีการพัฒนาหลักสูตรให้มีความน่าสนใจมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ภายในระยะเวลา 3 ปี

(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565) สถาบันได้ตั้งเป้าหมายท้าทาย (Challenge)

ในเรื่องการขับเคลื่อนและสร้างสายพันธุกรรมผู้นำประชาธิปไตย (KPI-DNA)

ให้ครอบคลุมนักศึกษาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง และหลักสูตรระดับ

ประกาศนียบัตรทุกหลักสูตร เพื่อการพัฒนา/ยกระดับองค์กร และเกิดอัตลักษณ์ของ

การเป็นนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า

Page 12: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

12

อีกประเด็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีความท้าทาย คือ การพัฒนาองค์กรสู่สมรรถนะและสากล สถาบัน

มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย หากต้องการให้องค์กรไปสู่สมรรถนะตามเป้าหมายจึงต้อง

สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนัก/วิทยาลัย

เพื่อให้การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ในเรื่องเครือข่ายต่างประเทศ ที่ผ่านมา

สถาบันได้มีการจัดทำ MOU กับหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศ และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันบ้าง

ในหลาย ๆ หนว่ยงาน ซึง่ในอนาคตกค็งตอ้งขบัเคลือ่นกจิกรรมรว่มกบัหนว่ยงานเหลา่นีต้อ่ไป ความคาดหวงั

ในอนาคต 2 ประการ ประการแรก บคุลากรควรจะตอ้งมคีวามรูท้างภาษา เพือ่รว่มกนัขบัเคลือ่นงานไปสู ่

ระดบัสากล ประการที ่2 การพฒันาสถาบนัไปสู ่องคก์รดจิทิลั (Digital Organization) พฒันา/ปรบัปรงุ

และนำระบบเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในทุกมิติของการดำเนินงาน ทั้งด้านการดำเนินงานตามภารกิจ

หลักของสถาบัน และการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยสถาบันจะจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

สถาบันไปสู่องค์กรดิจิทัล เพื่อวางแนวทางการพัฒนาระบบดิจิทัลขององค์กร โดยแผนดังกล่าวจะวางกรอบ

การพัฒนา/ปรับปรุงระบบเพื่อรองรับงานตามภารกิจหลัก และงานบริหารจัดการภายในองค์กร ตลอดจน

วางแผนการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อพัฒนาสถาบันไปสู่องค์กรดิจิทัลในอนาคตต่อไป

สำหรับภาพอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สถาบันเองจะต้องดำรงสถานะ

สถาบนัทางวชิาการทีม่คีวามเปน็กลางทางการเมอืง สามารถเปน็หนว่ยงานวชิาการทีม่คีวามเชีย่วชาญ

ด้านประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี รวมไปถึงการส่งเสริมให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อสร้าง

ความเป็นพลเมืองท่ามกลางความหลากหลายทางความคิดของกลุ่มต่าง ๆ ต่อไป

1.2 ทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 5 และภาพรวมผลการประเมินจากคณะกรรมการติดตามและประเมินผล

จากการทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 5 โดยการ

สัมภาษณ์ผู้อำนวยการสำนัก/วิทยาลัย/พิพิธภัณฑ์ฯ และวิเคราะห์ผลการประเมินจากคณะกรรมการ

ติดตามและประเมินผลฯ พบว่า

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และ

สันติวิธี มีความสำเร็จตามตัวชี้วัดของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ ในเรื่องการนำผลงานวิจัย

ไปอ้างอิง/อ้างถึง มีการนำงานวิจัยไปใช้ในพื้นที่ แต่สถาบันยังคงต้องสร้างงานวิจัยที่ส่งผลกระทบต่อ

สังคมให้มากขึ้น การสื่อสารประชาสัมพันธ์งานวิจัยก็มีความสำคัญเช่นกัน ผู้วิจัยจะต้องสื่อสารกับ

ทีมประชาสัมพันธ์ และสร้างสรรค์วิธีการนำเสนองานวิจัยให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย ตรงตามแก่นงานวิจัย

นั้น ๆ จึงจะสื่อสารได้ตรงวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนถูกต้อง ทิศทางการกำหนด

งานวิจัยแต่ละปีควรมีการบูรณาการร่วมกันทั้งสถาบันเพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัย หรืออาจจะเป็น

การต่อยอดจากงานวิจัยที่เคยทำไปแล้วเพื่อให้ผลงานไม่มีความหลากหลายมากเกินไป ความท้าทาย

ในการขับเคลื่อนงานวิจัยต่อไป คือ ทำอย่างไรจึงจะมีการวางธีมงานวิจัยในแต่ละปีร่วมกันทั้งสถาบัน

เพื่อให้ภาพรวมเป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งอาจใช้กรอบการของบประมาณการวิจัยจากหน่วยต่าง ๆ

เพื่อนำมาจัดประเภทงานวิจัยให้เป็นหมวดหมู่ได้ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย

Page 13: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

และนวัตกรรม (สกสว.) หรือสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นต้น นอกจากนี้สถาบันจะต้องมี

การบูรณาการงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนงานไปสู่การปฏิบัติ งานวิจัยสร้าง

องค์ความรู้จะต้องเป็นงานวิจัยที่นำไปสู่ทิศทางในอนาคต งานวิจัยต้องดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว

ทันต่อเหตุการณ์สังคม สถานการณ์โลก และนำไปใช้จริงได้จึงจะประสบความสำเร็จ ขับเคลื่อนสังคม

ทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและการทำงานเพื่อเผยแพร่

การพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี พบว่า จากการประเมินภายหลังการเข้ารับอบรม

หลักสูตรของสถาบันนักศึกษาบางคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นักศึกษาปัจจุบัน และ

ศิษย์เก่าได้รวมตัวกันทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ให้กับสังคมได้หลาย ๆ กิจกรรม เช่น กิจกรรมแพทย์

อาสา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กิจกรรมเปลี่ยนต้อกระจกตา เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันยังได้

จดัทำการเรยีนการสอนผา่นระบบ e-Learning ใหก้บัประชาชนทัว่ไป ซึง่คงตอ้งปรบัและนำไปใชใ้หต้รงกบั

กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสำเร็จที่ชัดเจนขึ้น การดำเนินงานที่ต้องสานต่อไปนั้น คือ การส่งเสริม

ให้บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานฝึกอบรมเข้าใจแนวทางการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนผ่านแนวคิด

Wise-leadership และ KPI-DNA ซึ่งควรจะต้องมีการพัฒนาต่อยอดและนำไปใช้กับทุกหลักสูตรของ

สถาบันต่อไป

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและสร้างความเป็นพลเมือง พบว่า การสร้างสำนึกพลเมือง

เป็นเรื่องที่ได้รับความสำคัญมากในสังคม จึงทำให้สถาบันสามารถทำงานด้านพลเมืองได้อย่างเต็มที่

การดำเนินงานการสร้างความเป็นพลเมืองในจังหวัดร้อยเอ็ดที่เป็นพื้นที่ต้นแบบมีความสำเร็จที่ชัดเจน

ประชาชนมีความรู้ และมีเจตคติที่ดีต่อการเมืองมากขึ้น แต่การสร้างความเป็นพลเมืองไม่สามารถทำได้

อย่างทั่วถึง เพราะประเทศไทยมีจำนวนประชากรจำนวนมาก จึงต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และ

ควรจะได้รับการสนับสนุนต่อไปทั้งในด้านงบประมาณ และอัตรากำลัง บุคลากรที่ลงพื้นที่สร้างความรู้

พลเมืองจะต้องหมั่นเพิ่มความรู้ เรียนรู้จากประสบการณ์ และสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

สำหรับการประเมินผลความสำเร็จของการสร้างความเป็นพลเมืองเป็นเรื่องที่เป็นรูปธรรม หากจะวัด

ความสำเร็จจะต้องกำหนดเป้าหมายที่เข้าใจตรงกันว่าอะไรคือสิ่งที่คาดหวังจากการดำเนินงานนั้น ทั้งนี้

โครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์สถาบัน ฉบับที่ 6 จึงมีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนขึ้น

และมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการสื่อสาร และติดตามการดำเนินงานให้มี

ความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณ และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา พบว่า ความสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจน

จะเป็นงานประจำ เช่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับการร้องขอความร่วมมือ และการจัดการเรียน

การสอนหลักสูตรต่าง ๆ ให้กับบุคลากรวงงานรัฐสภา เป็นต้น รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับ

เครือข่าย เช่น ประเทศภูฏาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เป็นต้น แต่เนื่องจากช่องทางการสื่อสารยังไม่ชัดเจน

จึงทำให้การเข้าถึงความต้องการของ สส. สว. หรือ สนช. เป็นเรื่องยาก และการเข้าไม่ถึงข้อมูลทำให้

การสนับสนุนไม่ตรงกับความต้องการ การสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ จะต้องแข่งกับเวลาภายใต้อัตรากำลังของ

Page 14: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

สำนกัทีม่จีำกดั และมคีวามถนดัเฉพาะทาง ดงันัน้ งานสง่เสรมิงานวชิาการรฐัสภาควรทำความรว่มมอืกบั

2 สภา (สำนักงานเลขาวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงาน

ให้เกิดความครอบคลุม และตรงกับความต้องการที่แท้จริง ซึ่งการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สถาบนั

ฉบับที ่6 ทางสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภาจะมีการวางแผนในเชิงรุกมากขึ้น รวมไปถึงการดำเนินงาน/

กิจกรรมร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือให้มีความต่อเนื่องเพื่อที่จะได้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และนำมา

พัฒนางานส่งเสริมวิชาการรัฐสภาต่อไป

ประเด็นยุทธศาสตร์ที ่5 การส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พบว่า ที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้จึงทำให้พิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งมีการปรับตัว ส่งผลให้

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับความสนใจมากขึ้น อีกทั้งผู้เยี่ยมชมมีความชื่นชอบ

เพราะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีโบราณวัตถุให้เยี่ยมชมจริง ๆ ที่ผ่านมาพิพิธภัณฑ์ฯ ได้มีการสร้างสรรค์รูปแบบ

การนำเสนอต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ ไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด การจัดงานธีมต่าง ๆ

ตามวันสำคัญของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ส่งผลให้

ประชาชนมคีวามรู ้และสนใจในเรือ่งพระปกเกลา้ศกึษามากขึน้ อกีทัง้ สถาบนัมคีวามพยายามในการสือ่สาร

และประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนในปี 2017 – 2019 พิพิธภัณฑ์ฯ ได้รับรางวัล

Museum Thailand Popular Vote ซึ่งมาจากคะแนนความนิยมของประชาชนผู้เข้าใช้บริการในเว็บไซต์

มิวเซียมไทย ในปี 2017 ได้รับรางวัลการจัดการข้อมูลและให้บริการข้อมูลยอดเยี่ยม และในปี 2019

ได้รางวัลดีเด่นด้านการจัดแสดงนิทรรศการในประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม

จากงาน Museum Thailand Awards จัดโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ แต่อย่างไรก็ตาม

ข้อจำกัดของการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมีจำนวนมาก และมีการแข่งขันสูง

จึงทำให้การบริหารจัดการต้องดำเนินงานบนพื้นฐานงบประมาณที่จำกัดหากเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ เช่น

งบประมาณสำหรับการประชาสัมพันธ์/การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ความท้าทายนอกจากนี้คือ

การพัฒนาองค์ความรู้/สื่อสารประชาสัมพันธ์ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้

แห่งใหม่ให้เป็นที่รู้จัก โดยจะสร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นสมรรถนะและสากล พบว่า ในภาพรวม

มีความสำเร็จตามตัวชี้วัดในเรื่องการขับเคลื่อนงานเครือข่ายความร่วมมือ สถาบันมีการจัดกิจกรรมร่วมกับ

องค์กรเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับการพัฒนาบุคลากรตามแผนพัฒนาบุคลากร

รายบุคคลนั้น สถาบันได้จัดให้บุคลากรทุกคนได้รับการอบรมตามแผนที่วางไว้ และมีการให้ทุนสนับสนุน

บุคลากรให้ได้รับการอบรมจากภายนอก รวมไปถึงการให้ทุนสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยด้วย นอกจากนี้

สถาบนัไดม้กีารนำเทคโนโลยแีละสารสนเทศตา่ง ๆ เขา้มาเพือ่การจดัการภายในองคก์ร และการพฒันา

เพื่อการอบรม เช่น การนำไอแพดเข้ามาใช้แทนการใช้กระดาษ (Paperless) ในการประชุม การใช้ระบบ

ลาออนไลน์ การปรับปรุงห้องเรียน/ห้องประชุมให้มีความทันสมัย สะดวก และเหมาะสมต่อการใช้งาน

เป็นต้น ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์สถาบัน ฉบับที่ 6 สถาบันได้มีแผนที่จะสานต่อในเรื่องนี้เพื่อให้องค์กร

ก้าวเข้าสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลต่อไป

Page 15: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ สถาบัน/สำนัก/วิทยาลัย ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ได้แก่

< ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์

จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการกำหนดนโยบายและแผนต่าง ๆ

สำหรับการพัฒนาประเทศไทย โดยได้ขอความร่วมมือให้ส่วนราชการร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของ

ส่วนราชการ 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์หลักของยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี คือ “มั่นคง

มั่งคั่ง ยั่งยืน” เป็นแนวนโยบายการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลง

ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาเป็น

ส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในสถาบันชาติ ศาสนา และ

พระมหากษัตริย์ให้สังคมเกิดความปรองดอง สามัคคี สามารถผนึกกำลัง เพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน

ให้มีความเข้มแข็ง มีรายได้ที่มั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่ งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่ งยืน ทั้ งนี้

สำนักงบประมาณได้จัดให้สถาบันพระปกเกล้ามีความเกี่ยวข้องกับ 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน บนพื้นฐานของการพัฒนาและ

ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ซึ่งหนึ่งในพันธกิจหลักของสถาบัน คือ

การผลิตงานวิจัยทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้และเสนอแนะการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนา

การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ แนวทางการดำเนินงานจึงต้องบูรณาการ

การดำเนินงานและการบริหารจัดการด้านการวิจัย และนวัตกรรมให้มีเอกภาพสอดคล้องกับทิศทาง

การพัฒนาประเทศ และประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ

ภาครัฐ ประกอบด้วย การวางระบบบริหารงานภาครัฐแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเชื่อมโยง

กันตั้งแต่ยุทธศาสตร์ชาติลงไปจนถึงระดับพื้นที่การจัดสรรงบประมาณให้มีลักษณะยึดโยงกับยุทธศาสตร์

ในทุกระดับและมีเป้าหมายร่วมเป็นหลัก รวมทั้งมีระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานทั้งในระดับ

ยุทธศาสตร์ตามภารกิจและพื้นที่ ซึ่งสถาบันจะต้องบูรณาการงบประมาณในการบริหารจัดการองค์กรให้มี

ประสิทธิภาพ โปร่งใส และรับผิดชอบต่อสังคม ให้เป็นไปตามความมุ่งหวังของประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าว

<เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) เกิดจากกระแส

การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทำให้เกิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นแนวทาง

การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จำนวน 17 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน

เป้าหมายที่ 2 ขจัดความหิวโหย เกษตรยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4

การศึกษาเท่าเทียมและทั่วถึง เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่ 6 การจัดการน้ำและ

สุขาภิบาล เป้าหมายที่ 7 การเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย เป้าหมายที่ 8 การเติบโตเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 9 พัฒนาอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ

เป้าหมายที่ 11 เมืองปลอดภัย เป้าหมายที่ 12 การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13 ต่อสู่กับ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เป้าหมายที่ 15 การจัดการ

ระบบนิเวศทางบก เป้าหมายที่ 16 สังคมเป็นสุข และเป้าหมายที่ 17 สร้างความเข้มแข็งในระดับสากล

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการพัฒนาที่ทุกประเทศจะต้องดำเนินการร่วมกันให้ได้ในระยะเวลา 15 ปี

Page 16: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

(พ.ศ. 2558 - 2573) สำหรับประเทศไทยได้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ เน้นการลด

ความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคมเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของเป้าหมายอย่างยั่งยืน

โดยสถาบันได้ให้ความสำคัญกับเป้าหมายดังกล่าว และนำมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรการอบรม/

การวิจัย เช่น โครงการวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development

Goals: SDGs) ของสำนักวิจัยและพัฒนา ที่ดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 เพื่อให้เกิด

การศึกษา ค้นคว้า และเกิดข้อเสนอแนะอันนำไปสู่การขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวในสังคม

<ภัยคุกคามภายนอกจากสภาพแวดล้อม สังคม และการเมือง ในช่วงที่ผ่านมาสถาบันเคยได้รับ

ผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการปิดอาคารจากการชุมนุม หรือการเกิดโรคระบาด (โควิด-19)

ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้งานบางส่วนเกิดความล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดฝึกอบรมหลักสูตร

ต่าง ๆ สถาบันจึงได้มีการวางแผนรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วยการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ

เพื่อให้บุคลากรสามารถทำงาน/ประชุมที่บ้าน (Work From home) ได้ นอกจากนี้ ในเรื่องการฝึกอบรม

สถาบันได้มีการวางแผนที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนผ่านระบบออนไลน์เพื่อไม่ให้กระทบกับช่วงเวลาของ

การเรียนการสอนในหลักสูตรนั้น ๆ

<ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน การสำรวจข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ของสถาบันจะหมายถึง สมาชิกรัฐสภา และบุคลากรในวงงานรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้รับบริการจากสถาบันตาม

พันธกิจการส่งเสริมวิชาการรัฐสภา โดยจากการสำรวจความต้องการทางวิชาการของสมาชิกรัฐสภา

(อ้างอิงจาก รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง โครงการสำรวจความต้องการทางวิชาการของสมาชิกรัฐสภา

โดย ศาสตราจารย์ ดร.อัมพร ธำรงลักษณ์, กรกฎาคม 2560) พบว่า สมาชิกรัฐสภามีความต้องการใช้

บริการของสถาบัน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การบริการด้านงานวิจัย ให้เน้นการวิจัยที่พัฒนาระบบราชการให้ได้

ผลลัพธ์การให้บริการประชาชน ในเรื่องของกระบวนการ นำไปปฏิบัติได้ มีการติดตามประเมินผล

ให้เหมาะสมกับกาลเวลา อาทิ ศึกษาการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น ทั้งโครงสร้าง รูปแบบและภารกิจ

ที่ เหมาะสมกับประเทศไทย ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน

กับมหาอำนาจ (จีน/รัสเซีย/สหรัฐอเมริกา/ยุโรป) 2) การบริการด้านการศึกษาอบรม ให้จัดหลักสูตร

ที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ในกระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารับการศึกษาต้องเน้นผู้ที่ต้องการมาอบรมเอาความรู้

มากกว่าการสร้างเครือข่ายทางสังคม ไม่ควรจำกัดอายุผู้เข้ารับการศึกษาไว้ที่ 55 ปี ที่สำคัญวิทยากร

ที่เชิญมาบรรยายจะต้องมีความเป็นกลางในการแสดงความคิดเห็น 3) การบริการด้านการสัมมนา ควรจัด

สัมมนาภูมิภาคให้มากขึ้นเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเป็นประชาชนที่เข้มแข็ง ในหัวข้อ

“การเมืองภาคประชาชน” ให้กับชุมชนทั่วประเทศ แต่อยู่ในพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในเงื่อนไขคุณธรรม

และความรู้ 4) การบริการด้านการเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน และการจัดนิทรรศการ การเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์

ทุกฉบับในรูปแบบ e-book และเผยแพร่ผลงานหรือสิ่งพิมพ์ไปสู่ระดับชุมชนเมืองและท้องถิ่นมากขึ้น และ

5) การบริการด้านการวิเคราะห์กฎหมาย สถาบันควรพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญด้านประมวล

วิเคราะห์กฎหมาย ดำเนินการให้ทันกับสถานการณ์และความต้องการในปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ก่อให้เกิด

การทำความเข้าใจแก่ประชาชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ เมื่อกฎหมายได้มีผลบังคับให้ในทางปฏิบัติ

Page 17: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

<การสำรวจความคาดหวังของบุคลากรภายในสถาบัน พบว่า บุคลากรมีความคาดหวังว่า

ในอนาคตระบบต่าง ๆ จะมีความชัดเจนขึ้น ทั้งในเรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงาน และแผน

ความก้าวหน้าในสายงาน โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนได้รับโอกาสอย่างทั่วถึง รวมไปถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่ควร

เพิ่มขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน และครอบคลุมจำนวนบุคลากรที่มากขึ้น ในเรื่องระบบเทคโนโลยี

บุคลากรมีความคาดหวังว่าสถาบันจะสามารถพัฒนาอุปกรณ์/เครื่องมือการดำเนินงานให้มีความทันสมัย

และมีความรวดเร็วมากขึ้น

1.4 ผู้บริหารและพนักงานของสถาบันประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อ สภาพแวดล้อม และร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์

คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร

ผู้อำนวยการสำนัก/วิทยาลัย/พิพิธภัณฑ์ฯ และบุคลากรสถาบันพระปกเกล้า เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 เมื่อวันที่ 12 – 13 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรม

รอยัลฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑามาส แก้วพิจิตร

ผู้อำนวยการหลักสูตรภาวะผู้นำ การจัดการ และนวัตกรรม คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์ เป็นวิทยากรกระบวนการระดมความคิดเห็น ซึ่งจากการประชุมในวันดังกล่าว ได้มี

การระดมความคิดเห็นเพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2564 - 2568) ผ่านกระบวนการ Framing the Future โดยการกำหนด Common Goals/

Common Ground และทิศทางขององค์กรร่วมกัน และการวิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรผ่าน

กระบวนการ Scenario Analysis โดยใช้ Cynefin Model โดยเป็นการแบ่งตามประเด็นยุทธศาสตร์

ที่แต่ละส่วนงานรับผิดชอบเพื่อระดมความเห็นทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด

เพื่อสรุปเป็นแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 ที่สมบูรณ์ และครอบคลุมทุกกระบวน

Page 18: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

1.5 คณะกรรมการบริหารสถาบัน ได้ให้ความเห็นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 ดังนี้

= ด้านบุคลากร สถาบันจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องระบบบริหารแผนสืบทอดตำแหน่งงาน

(Succession Plan Management System) เพื่อให้บุคลากรมีแผนความก้าวหน้าในสายงาน และ

จะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรทำงานด้วยหัวใจเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

การบรหิารงานภายในบคุลากรทกุคนจะตอ้งทราบวา่สถาบนักำลงัดำเนนิงานเรือ่งใดอยูส่ามารถตอบคำถาม

ในภาพรวมได้ คำนึงถึงภาพรวมองค์กรไม่ใช่เพียงสำนัก/วิทยาลัยที่ตนอยู่ อาจเป็นการเปิดระดมสมอง

คุยกันปีละ 1 ครั้ง ว่าใครทำอะไรบ้าง และจะทำอย่างไรเพื่อสร้าง impact ขององค์กรไปสู่สังคม

= ด้านการส่งเสริมงานวิชาการรัฐสภา สถาบันจะต้องส่งเสริมให้บุคลากรที่สนับสนุนงานวิชาการ

รัฐสภาเข้าใจระบบของรัฐสภาอย่างถ่องแท้ รู้ในเชิงลึกว่ามีกระบวนการการทำงานอย่างไร อาจไปศึกษา

ดูงานรัฐสภาต้นแบบจริง ๆ เป้าหมายของการทำงานในเรื่องนี้คือ ทำอย่างไรให้ทางรัฐสภาเชื่อถือบุคลากร

ของสถาบัน และทำอย่างไรหากรัฐสภามีเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาล สันติวิธี และธรรมาภิบาล

จะต้องนึกถึงสถาบันพระปกเกล้าเป็นลำดับแรก

= ด้านพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อยากให้พิพิธภัณฑ์ฯ ใช้ Interactive

เข้ามาเป็นสื่อในการนำชมเพื่อให้ประชาชนสนใจมากยิ่งขึ้น ในเรื่องเนื้อหาสาระเรื่องพระปกเกล้าศึกษา

จะต้องตอบเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาให้ได้ หาจุดที่น่าสนใจและสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้เกิด

การขยายผลต่อไป

สำหรับภาพรวมของสถาบัน สถาบันควรพิจารณาว่าภารกิจของสถาบันเรื่องใดควรมาก่อน-หลัง

Key identity ขององค์กรต้องชัดเจน นำเสนอสิ่งที่สถาบันทำออกมาเป็นรูปธรรม และทำให้สังคมทราบว่า

กำลังทำอย่างไร/เป็นอย่างไร ในการจัดทำแผนหรือโครงการจะต้องคำนึงถึงแผนระดับชาติด้วย โดยเฉพาะ

อย่างยิ่ง แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จัดทำตัวชี้วัดให้ชัดเจนวัดผลได้จริงทั้งใช้เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

พร้อมทั้งจัดทำ action plan ให้เห็นกรอบระยะเวลาด้วยจะได้รู้ว่าเรื่องใดต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการ

เท่าใดจึงจะสำเร็จ ต่อยอดจากสิ่งที่สถาบันทำแล้ว ต้องประเมินว่าสิ่งที่มีอยู่สำเร็จเพียงใด และส่วนสำคัญ

ที่ควรจะต้องต่อยอดไปอีกคือส่วนใด และขอให้สถาบันให้ความสำคัญกับภาคประชาสังคมมากขึ้น รวมทั้ง

ให้ความสำคัญกับเรื่องสันติวิธีด้วย

Page 19: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

1�

1.6 สภาสถาบันพระปกเกล้า ได้ให้ความเห็นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562

หลังจากที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6

โดยกรรมการมีความเห็นและข้อเสนอแนะในประเด็นภาพรวมการทำงานร่วมกับสถาบัน พบว่า สถาบัน

สามารถดำเนินงานได้โดยปราศจากการแทรกแซงจากบุคคล/หน่วยงานใด และได้ทำหน้าที่พัฒนา

งานวิชาการได้ดีมาตลอด สำหรับแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 ในเรื่องของกระบวนการ

จัดทำนั้น ได้ผ่านขั้นตอนการสำรวจความคิดเห็นของทุกฝ่าย รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร

มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โอกาส บริบทภายใน และภายนอก และมีการทำ workshop ร่วมกัน

ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีการนำบริบทที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ด้านมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดแผนที่สมบูรณ์

ซึ่งการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ให้สำเร็จได้นั้น ปัจจัยสำคัญหนึ่ง คือ เรื่องงบประมาณ เนื่องจาก

แผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น สถาบัน

จึงต้องเตรียมความพร้อม ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถดำเนินงานตามแผนดังกล่าวได้ นอกจากนี้ กรรมการ

มีความเห็นว่า ขอให้สถาบันปรับแนวทางการดำเนินงาน/ตัวชี้วัดบางตัวให้เป็นไปในเชิงคุณภาพ

ที่จะสามารถตอบโจทย์เป้าหมายของประเด็นยุทธศาสตร์ได้

ทั้งนี้ กรรมการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 สรุปได้

ดังนี้

ในเรื่องวิสัยทัศน์ “สถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และ

สันติวิธี มุ่งนำความรู้สู่สังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม”

วิสัยทัศน์ในแผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 จะเน้นย้ำในเรื่องการนำองค์ความรู้ไปสู่

การปฏิบัติจริง ทั้งในระดับพื้นที่ หน่วยงาน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสังคมนั้นสามารถ

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ สังคมเมือง และสังคมชนบท โดยสังคมเมืองในเรื่องการรับรู้สิทธิหน้าที่

จะดีกว่าสังคมชนบท จึงขอให้สถาบันเน้นเรื่องการนำความรู้ลงสู่พื้นที่ชนบทให้มาก เพราะถือเป็นรากหญ้า

ส่วนที่สำคัญของประเทศเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตย และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

Page 20: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

20

01

04

02

05

03

06

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู ้ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมงานวิชาการ ของรัฐสภา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและมีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษาและพัฒนาการประชาธิปไตย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและ สร้างความเป็นพลเมือง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล

07 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนานวัตกรรม เพื่อประชาธิปไตย

Page 21: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

21

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธ ี

ภาพรวมการดำเนินงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้

เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี เป็นการดำเนินงานด้าน

การวิจัยของสถาบัน โดยปัญหา/อุปสรรคใหญ่ที่พบ คือ การได้รับจัดสรรงบประมาณ

ด้านงานวิจัยน้อยลงในแต่ละปี เนื่องจากนโยบายใหม่ที่มอบการบริหารจัดการ

ไปยงักระทรวงการอดุมศกึษา วทิยาศาสตร ์วจิยัและนวตักรรม ซึง่ไดม้กีารปรบัเปลีย่น

วิธีการจัดหมวดหมู่งบประมาณงานวิจัยโดยเชื่อมโยงกับประเด็นการพัฒนาโครงสร้าง

พื้นฐาน ซึ่งงานวิจัยของสถาบันส่วนใหญ่จะเป็นเชิงหลักการ และปรัชญาพื้นฐาน

จึงไม่สามารถจับเข้ากลุ่มประเภทงานวิจัยที่กำหนดไว้ได้ ส่งผลให้ได้รับการพิจารณา

จดัสรรงบประมาณลดลง แตถ่อืเปน็โอกาสทีด่ขีองสถาบนัในการปรบั/ขยายองคค์วามรู ้

และเสนอของบประมาณในโปรแกรมที่น่าสนใจทั้งในส่วนของ สสกว. และ วช. เช่น

ประเภทกลุ่มงานเรื่องการสร้างคน หากสถาบันมีการติดตามพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย

ที่เปลี่ยนแปลงได้จริง คาดว่าสถาบันคงจะได้งบประมาณเพิ่มอีกจำนวนมาก และ

กลุ่มงานประเภทชุมชนสังคม สถาบันสามารถเชื่อมโยงประเด็นงานวิจัยในเรื่อง

ความเหลื่อมล้ำได้ และสถาบันยังมีศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ซึ่งถือเป็นโอกาส

ที่ดีในการขับเคลื่อนงานในเรื่องดังกล่าว

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

การดำเนินงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำ

ทางความคิดและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

จะเป็นเรื่องการพัฒนาผู้นำผ่านกระบวนการการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ของสถาบัน

ซึ่งภาพรวมของประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 จะเป็นไปในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรให้มี

ความทันสมัยและทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี นอกจากนี้ยังมี

การวัดประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้วยเครื่องมือ Wise-leadership และ KPI-DNA

ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวได้นำมาใช้จริงกับหลักสูตรเป้าหมายในปีที่ผ่านมา และจะขยาย

นำไปใช้ในหลักสูตรอื่น ๆ ต่อไป

Page 22: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

22

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและสร้างความเป็นพลเมือง

การดำเนินงานภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและสร้างความเป็น

พลเมือง เป็นการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับประชาชน ซึ่งประชาชนทั้งประเทศ

มีจำนวนมาก งานนี้จึงไม่ง่ายนัก ภาพรวมของประเด็นยุทธศาสตร์นี้จึงเน้นในเรื่อง

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และการสร้างตัวคูณ สำหรับแนวทางการ

ดำเนินงานการเพิ่มความเป็นพลเมืองให้กับกลุ่มเป้าหมาย จะต้องเทียบให้เห็นว่า

เดิมกลุ่มเป้าหมายมีความเป็นพลเมืองในระดับใด และเมื่อดำเนินการแล้วเพิ่มขึ้น

ระดับใด เพื่อความชัดเจน และไม่ซ้ำซ้อน การสร้างความเป็นพลเมือง เป็นสิ่งสำคัญ

ต้องเข้าถึงวิถีชีวิตและแนวความคิด โดยเฉพาะการสร้างพื้นฐานให้ตั้งแต่เด็ก ๆ และ

เห็นว่าในแผนยุทธศาสตร์มีการระบุถึงการสร้างต้นแบบ/แบบอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ

ขอให้วางแนวทางเหล่านี้ให้ชัดเจนว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร/วิธีใด อาจใช้

วิธีการประสานกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขับเคลื่อนงานเสริมสร้างความเป็น

พลเมืองให้กับเยาวชน ซึ่งหากมีความร่วมมือกันในการขับเคลื่อนงานจะเป็นไป

ได้รวดเร็วขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มทหารเกณฑ์ หากสถาบัน

สามารถสรุปองค์ความรู้เป็นคู่มือแบบอ่านง่าย ๆ ให้ทหารเกณฑ์ได้ศึกษาได้เรียนรู้

หรือมีการอบรมระยะสั้น คาดว่าจะสร้างประโยชน์ไม่น้อย เพราะแต่ละปีมีชายไทย

เกณฑ์ทหารจำนวนมาก นอกจากนี้ ขอให้สถาบันคิดแนวทางการให้หน่วยงานรัฐ

ยอมรับให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น การทำคู่มือ/เครื่องมือให้หน่วยงานรัฐ

อาทิเช่น ในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การจัดทำร่างกฎหมายให้กับ

ประชาชน เป็นต้น

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา เป็นพันธกิจ

ที่สำคัญประการหนึ่งของสถาบัน แม้ว่ารัฐสภาเองจะมีสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในการทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงาน

อยู่แล้ว แต่หากสถาบันทำความร่วมมือกับทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าว และขับเคลื่อน

งานไปด้วยกันก็จะส่งผลดีต่อกระบวนการนิติบัญญัติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการดำเนินงาน

ที่ผ่านมาสถาบันได้มีช่องทางต่าง ๆ ในการขอรับบริการทางวิชาการให้กับสมาชิก

รัฐสภา แต่ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

Page 23: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

2�

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษา และพัฒนาการประชาธิปไตย

สำหรับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็น

แหล่งเรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษาและพัฒนาการประชาธิปไตย ในประเด็น

ยุทธศาสตร์นี้นอกจากจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระปกเกล้าศึกษาแล้ว ในปีนี้จะมี

การเปิดศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตยด้วย ดังนั้น จึงขอให้สถาบันใช้ศูนย์การเรียนรู้

ประชาธิปไตยเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เรื่องการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งถือเป็น

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนควรตระหนัก โดยอาจทำ

ความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง เช่น สำนักงานคณะกรรมการ

การเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อประสานข้อมูลและทำกิจกรรมร่วมกัน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล

จะเป็นการเน้นย้ำเรื่องการพัฒนาบุคลากร ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และถือเป็นหัวใจของ

องค์กร จึงขอให้สถาบันให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ หากบุคลากรมีคุณภาพ ได้รับ

การพัฒนาเต็มขีดความสามารถ ผลลัพธ์ของงานออกมาก็จะมีคุณภาพ บรรลุ

เป้าหมายองค์กรเช่นกัน

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 5 เน้นการสร้าง

นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยนำมาใช้เพื่อการพัฒนาวิธีการและรูปแบบในการ

เผยแพร่ประชาธิปไตยทั้งในองค์กร และในสังคม ซึ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับการรับฟัง

ความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 77 เป็นสิ่งที่สังคมต้องการ สถาบัน

ควรออกแบบกระบวนการหรือแนวทางการดำเนินงานว่าการรับฟังความคิดเห็นของ

แต่ละกลุ่มเป้าหมายนั้นมีรูปแบบใดบ้างที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีหน่วยงานใด

ดำเนินการ จึงเป็นโอกาสที่ดีของสถาบันในการเข้ามาดำเนินการในส่วนนี้

Page 24: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

2�

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว และขอให้นำข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์สถาบัน

พระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2568) ไปปรับปรุงแก้ไข/เป็นแนวทางการดำเนินงาน

ตามแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป

Page 25: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

ปัจจัยแห่งความสำเร ็จ Key SucceSS FactorS

Page 26: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

2�

Leader

personnel

tech

nologyin

novation

m

anagement

st

akeholder

แผนภาพที่ 2 : ภาพแสดงปัจจัยความสำเร็จ

ผู้นำ: ฝ่ายบริหารต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และสามารถถ่ายทอดมายังผู้อำนวยการสำนัก/วิทยาลัย/พิพิธภัณฑ์ฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถถ่ายทอดไปยังบุคลากรให้ได้รับทราบโดยทั่วกันเพื่อนำไปสู่การปฎิบัต ิ

บุคลากร: บุคลากรของสถาบันต้องมีค ว ามรอบรู้ มี ค ว ามคิ ด ส ร้ า ง ส ร รค์ สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมืออาชีพ และได้ รั บการพัฒนาความสามารถตามสมรรถนะอย่างเหมาะสม และต่อเนื่อง เพือ่พรอ้มดำเนนิงานตามแผนยทุธศาสตรฯ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีสารสนเทศ: เทคโนโลยี สารสน เทศ เป็น เครื่ อ งมื อสำคัญต่ อ การพัฒนางานด้านต่าง ๆ ของสถาบัน จึงต้องมีการสำรวจ ทบทวน รวมถึง การจัดหาให้เพียงพอ พร้อมบำรุงรักษา และพฒันาใหม้คีวามทนัสมยั และเหมาะสม ต่อการใช้งาน

นวั ตกรรม : สำรวจ ออกแบบ และ ส ร้ า ง น วั ต ก ร รมต่ า ง ๆ เ พื่ อ พั ฒน าประชาธิปไตย ทั้งในด้านการสนับสนุน งานภายในของสถาบัน เช่น งานวิจัย ฝึกอบรม และกิจกรรมวิชาการต่างๆ ของสถาบัน รวมไปถึงการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนสังคม

ระบบบริหารจัดการภายใน: สถ าบั นมี ก า รทบทวนและ ว า งแนวทางในการจัดระบบการบริหารงานภ า ย ใ น ใ ห้ ส า ม า ร ถ ต อ บ ส น อ ง ต่ อ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและส นั บ ส นุ น ก า ร ด ำ เ นิ น ง า น ใ ห้ เ กิ ดประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ให้สามารถสอบทาน เพื่ อ ให้ เ กิ ด ค ว าม โปร่ ง ใ ส ตรวจสอบได้ ในทุกระบบ เช่น ระบบ การบริหาร ใน เชิ ง โครงสร้ า ง ระบบ การบริหารงานบุคคล ระบบด้านการเงินงบประมาณ เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกับผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียภายนอก: ถือเป็นปัจจัยภ า ย น อ ก ที่ ส ำ คั ญ ที่ จ ะ ส นั บ ส นุ น ให้สถาบันสามารถมุ่งสู่วิสัยทัศน์ โดยการสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ เพื่อให้ เ กิ ดความร่ วมมื อ และสนับสนุน ให้ การดำเนินงานของสถาบันสำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้

Page 27: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

2�

วิสัยทัศน์ “สถาบันวิชาการชั้นนำด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี มุ่งนำความรู้สู่สังคม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม”

พันธกิจ (Missions)

1. ศึกษาวิจัยทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้และเสนอแนะ

การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองการปกครอง

ในระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ

2. ให้บริการทางวิชาการทั้งในรูปของการศึกษาอบรมทางวิชาการ

ให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และบริการข้อมูล

ข่าวสารเกี่ยวกับความรู้ทางการเมืองการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยธรรมาภิบาล และสันติวิธี

3. ส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

4. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนความรู้ความเข้าใจ

และการใช้สิทธิหน้าที่ของพลเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย

5. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การทั้ งในและต่างประเทศ

เพื่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย

ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

6. ส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

เจ้าอยู่หัวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษา

7. บริหารงานกองทุนเพื่อการพัฒนาและเผยแพร่ประชาธิปไตย

แผนภาพที่ 4 : ภาพแสดงพันธกิจ

แผนภาพที่ 3 : ภาพแสดงวิสัยทัศน์

Page 28: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

2�

ค่านิยมร่วม (Shared values) KPI-D

แผนภาพที่ 5 : ภาพแสดงค่านิยมร่วม

Knowledge บุคลากรที่มีความรู้และความรอบรู้

ปฏิบัติงานบนพื้นฐานข้อเท็จจริง ให้ความสำคัญกับ

การจัดการความรู้และมุ่งผลิตผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ K

P Professionalism บุคลากรที่เป็นมืออาชีพ ปฏิบัติงานโดยยึดหลักวิชา

พัฒนาตนเองตลอดเวลา ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล

ความซื่อตรง และการตรงต่อเวลา

I Innovation

บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้วยแนวคิดสร้างสรรค์

และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

D Democratic governance บุคลากรที่ยึดหลักการทำงานอย่างเสมอภาค

เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย

Page 29: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

2�

ประเด็นยุทธศาสตร์

01

04

02

05

03

06

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู ้ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธ ี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมงานวิชาการ ของรัฐสภา

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำ ทางความคิดและมีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษาและพัฒนาการประชาธิปไตย

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและ สร้างความเป็นพลเมือง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล

07 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนานวัตกรรม เพื่อประชาธิปไตย แผนภาพที่ 6 :

ภาพแสดงประเด็นยุทธศาสตร ์

Page 30: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

�0

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธ ี

คำนิยาม

มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยต่อยอดองค์ความรู้ผ่าน

งานวิจัยเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี สามารถนำเสนอทิศทางของ

สถานการณ์ หรือประเด็นสาธารณะที่สำคัญ และแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของสังคมได้อย่างทันการณ์ ตลอดจน

เผยแพร่ผลงานวิจัยไปสู่สังคมทั้งในระดับชาติ/นานาชาติ และสามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนในระดับพื้นที่

ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สถาบันเป็นหลักทางวิชาการด้านการเมืองการปกครองของประเทศ

และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1

กลยุทธ์ที่ 1.1 สร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และ สันติวิธ ี

กลยุทธ์ที่ 1.2 ขยายหรือต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัยสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์ที่ 1.3 พัฒนางานวิจัยร่วมกับเครือข่าย การวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อให้สถาบันมีองค์ความรู้

เรื่องประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

ที่ทันสมัย และทันต่อ การเปลี่ยนแปลง

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 จำนวนผลงานวิจัยที่เป็นองค์ความรู้ใหม่

ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 จำนวนผลงานวิจัยที่ขยายหรือต่อยอด องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม

ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 จำนวนผลงานวิจัยที่ร่วมมือกับ เครือข่ายใน หรือต่างประเทศ

Page 31: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

�1

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อให้ผลงานวิจัยของสถาบัน

เป็นที่ยอมรับ และสามารถนำไปใช้ ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน

ในการตอบสนองความต้องการ ของสังคมได้จริง

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อให้สถาบันมีผลงานวิจัย เพื่อที่นำเสนอทิศทางของสถานการณ์ หรือประเด็น

สาธารณะที่สำคัญ

กลยุทธ์ที่ 2.1 สำรวจ/วิจัยเกี่ยวกับทิศทาง สถานการณ์เพื่อวัดระดับอุณหภูมิสังคม และการเมืองที่สำคัญ รวมไปถึงการติดตามผล

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 จำนวนผลงานวิจัยที่สำรวจ/วิจัย เกี่ยวกับทิศทางสถานการณ์เพื่อ วัดระดับอุณหภูมิสังคม และการเมือง ที่สำคัญ

กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนางานวิจัยให้กับหน่วยงาน ที่ขอรับบริการทางวิชาการจากสถาบัน

กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนางานวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ การวิจัยถอดบทเรียนเพื่อให้เกิด การนำไปประยุกต์ใช้ในระดับพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 3.3 สนับสนุนผลักดันเพื่อให้ผลงานของสถาบันได้รับการยอมรับ/การรับรองจากหน่วยงานภายนอก

กลยุทธ์ที่ 3.4 พัฒนารูปแบบ/ช่องทาง และวิธีการ เผยแพร่งานวิจัยไปสู่สาธารณะ ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ

ตัวชี้วัดที่ 3.1.1 ร้อยละความพึงพอใจของหน่วยงาน ที่ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป

ตัวชี้วัดที่ 3.2.1 จำนวนผลงานวิจัยของสถาบัน ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้จริงในระดับหน่วยงาน/พื้นที่

ตัวชี้วัดที่ 3.3.1 จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล หรือการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ (รวมไปถึงการได้รับการยกย่อง/ตีพิมพ์/นำเสนอในเวทีประชุมวิชาการต่างประเทศ)

ตัวชี้วัดที่ 3.3.2 จำนวนครั้งการอ้างอิง/อ้างถึงผลงานวิจัย

ตัวชี้วัดที่ 3.4.1 จำนวนรูปแบบการเผยแพร่/วิธีการ นำเสนอใหม่ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

ตัวชี้วัดที่ 3.4.2 ร้อยละของงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ด้วย วิธีการที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

Page 32: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

�2

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาผู้นำให้เป็นผู้นำทางความคิดและมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

คำนิยาม

มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เป็นผู้นำทางความคิด และมีพฤติกรรม

ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี อันประกอบด้วย เป็นผู้มีความรอบรู้ มีคุณธรรม

รับผิดชอบต่อส่วนรวม ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล และสันติวิธี โดยการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นผู้เรียน

เป็นศูนย์กลาง และการลงมือปฏิบัติจริง ตลอดจนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้

รวมไปถึงการบริการทางวิชาการต่าง ๆ ของสถาบัน

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อให้เกิดผู้นำทางความคิด และ มีพฤติกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย

ธรรมาภิบาล และสันติวิธี

กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาหลักสูตรเพื่อให้เกิดผู้นำทางความคิด และมีพฤติกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธี ด้วยการฝึกอบรม/จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการพัฒนาในทิศทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และสันติวิธ ี

กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่องให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์สังคม

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้ารับ การศึกษาอบรม

ตัวชี้วัดที่ 1.1.2 ร้อยละของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ที่มีความรู้เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 1.1.3 ร้อยละของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ตัวชี้วัดที่ 1.1.4 ร้อยละของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 ร้อยละของหลักสูตรเป้าหมายที่มีการปรับปรุงเนื้อหา ให้มีความทันสมัย/ตอบโจทย์สังคม

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาเนื้อหา/รูปแบบ

การเรียนการสอนและการเรียนรู้ ที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการ

และการเปลี่ยนแปลง ของสังคม ตัวชี้วัดที่ 2.1.2

ร้อยละของหลักสูตรเป้าหมายที่มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบ/สื่อการเรียนการสอน รวมถึงการนำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ในกระบวนการจัดหลักสูตร

Page 33: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและสร้างความเป็นพลเมือง

คำนิยาม

มุ่งหวังที่จะพัฒนาและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข เพื่อให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ค่านิยมประชาธิปไตยและพฤติกรรมของ

ความเป็นพลเมืองที่สามารถเป็นต้นแบบ หรือขยายผลสู่สาธารณะ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม

โดยประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อให้เกิดพลเมืองที่มีความรู้

ความตระหนักในค่านิยม ประชาธิปไตย

(Concerned citizen)

กลยุทธ์ที่ 1.1 ส่งเสริม และเผยแพร่องค์ความรู ้ เกี่ยวกับค่านิยมประชาธิปไตย และ การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ใหก้บักลุม่เปา้หมาย ในสถานศึกษาและชุมชน

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีความรู้เกี่ยวกับพลเมือง เพิ่มขึ้น

Page 34: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อสร้างพลเมืองที่มี

ความกระตือรือร้น และมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาสาธารณะเพื่อ

ประโยชน์ส่วนรวม (Active citizen) ตลอดจนพัฒนาให้เกิดผู้นำ การเปลี่ยนแปลงในค่านิยม ประชาธิปไตยที่พึงปรารถนา

กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาและสนับสนุนศูนย์พัฒนา การเมืองภาคพลเมืองให้มีศักยภาพ ในการป้องกันหรือจัดการแก้ไขปัญหาของพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนาและเสริมสร้างกลุ่มเป้าหมายอาทิ เยาวชน นักเรียน ครู อาจารย์ ผู้นำชุมชน ประชาชน ให้มีพฤติกรรมของความเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นเพื่อประโยชน์ ส่วนรวม

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 ร้อยละของศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมืองที่ดำเนินกิจกรรม การป้องกันหรือการแก้ไขปัญหา ของพื้นที่ หรือมีการนำเสนอ ในระดับนโยบาย

ตัวชี้วัดที่ 2.1.2 จำนวนความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาโดยศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมืองที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ (Local Solution)

ตัวชี้วัดที่ 2.2.1 ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมความเป็นพลเมือง เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 2.2.2 จำนวนความสำเร็จของการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยกลุ่มเป้าหมาย (Local Solution)

กลยุทธ์ที่ 2.3 ค้นหาและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือวิทยากรตัวคูณ อาทิ กรรมการ ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ผู้นำชุมชน ครู และผู้นำเยาวชน ให้ดำเนินกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในค่านิยมประชาธิปไตยตลอดจน เปน็ตน้แบบพลเมอืงในระบอบประชาธปิไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตัวชี้วัดที่ 2.3.1 จำนวนพลเมืองต้นแบบ ที่ดำเนินกิจกรรมเผยแพร่หรือ ขยายผลการสร้างความเป็นพลเมือง สู่กลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อพัฒนานวัตกรรม และ

สร้างเครื่องมือในการส่งเสริม ความเป็นพลเมืองให้กับ

กลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ที่ 3.1 พัฒนาเครื่องมือ รูปแบบ หรือวิธีการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ เผยแพร่และเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ให้มีค่านิยมประชาธิปไตยที่พึงปรารถนา

ตัวชี้วัดที่ 3.1.1 จำนวนเครื่องมือ/รูปแบบ/วิธีการ เพื่อเผยแพร่และเสริมสร้างความเป็นพลเมือง

Page 35: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมงานวิชาการของรัฐสภา

คำนิยาม

มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการ

วุฒิสภา และหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนงานวิชาการรัฐสภา ในการผลิต และ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งเชิงรับและเชิงรุก รวมไปถึงการพัฒนา

องค์ความรู้แก่สมาชิกรัฐสภา และบุคลากรในวงงานรัฐสภา ผ่านนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมไปถึงการจัดทำ

สื่อความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภา และบุคลากรในวงงานรัฐสภาผ่าน

ช่องทางที่ เหมาะสม เช่น ระบบ e-Learning ตลอดจนจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นตอบสนองต่อ

ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่

กระบวนการนิติบัญญัติที่มีประสิทธิภาพ

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ

สนับสนุนงานวิชาการรัฐสภา ตามที่ได้รับการร้องขอ ผ่านนวัตกรรมใหม่ ๆ

กลยุทธ์ที่ 1.1 จัดทำรายงานวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ที่มีเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย รวดเร็ว นำไปใช้ได้ทันที

กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาช่องทาง/รูปแบบ/นวัตกรรม ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่าง ฝ่ายนิติบัญญัติและบุคลากรในวงงานนิติบัญญัติที่เข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการ

กลยุทธ์ที่ 1.3 สนับสนุนและพัฒนาองค์ความรู้/ ประเมินการทำงานของรัฐสภาไทย

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 จำนวนรายงานการศึกษาวิเคราะห์ ร่างกฎหมาย/วิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมาย ที่มีผลบังคับใช้อยู่/ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

ตัวชี้วัดที่ 1.1.2 จำนวนผลงานวิชาการที่เกี่ยวกับกฎหมาย/ การให้บริการทางวิชาการ

ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 จำนวนรูปแบบ/นวัตกรรมที่ใช้ใน การสื่อสารฯ

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการข้อมูล สารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานด้านวิชาการของรัฐสภา

ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 จำนวนงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพ การทำงาน/ประเมินที่เป็นเรื่องการพัฒนา การดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติ

ตัวชี้วัดที่ 1.3.2 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อ การให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่ คณะกรรมาธิการ/อนุกรรมการของ ฝ่ายนิติบัญญัต ิ

Page 36: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรที่มีความรู้เพิ่มขึ้น (หลักสูตรผู้ช่วยและ ผู้ปฏิบัติงานของสมาชิกรัฐสภา และหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกรัฐสภา)

ตัวชี้วัดที่ 2.1.2 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของสมาชิกรัฐสภา/บุคลากรในแวดวงรัฐสภา ที่เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ/เข้ารับการศึกษาอบรม

ตัวชี้วัดที่ 2.2.1 จำนวนทุนอุดหนุนแก่สมาชิกรัฐสภา ในการเข้ารับการศึกษาอบรมในหลักสูตร

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ และ

พัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ของสมาชิกรัฐสภา และบุคลากร

ในวงงานรัฐสภา กลยุทธ์ที่ 2.1 จัดการศึกษาอบรม/กิจกรรมทาง วิชาการให้กับสมาชิกรัฐสภา และบุคลากรในวงงานรัฐสภา

กลยุทธ์ที่ 2.2 สนับสนุนทุนเพื่อเข้ารับการศึกษาอบรมให้กับสมาชิกรัฐสภา

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อส่งเสริม และสนับสนุน การทำงานร่วมกับเครือข่าย ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ

งานรัฐสภาทั้งใน และต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 3.1 จัดกิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อขับเคลื่อนงานวิชาการรัฐสภา ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการ กับหน่วยงานเครือข่ายทั้งในและ ต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา องค์ความรู้ในวงงานรัฐสภา

ตัวชี้วัดที่ 3.1.1 จำนวนครั้งการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความร่วมมือกับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา/สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ตัวชี้วัดที่ 3.2.1 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรทั้งในและ ต่างประเทศที่จัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในวงงานรัฐสภา

Page 37: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ฯ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษา และพัฒนาการประชาธิปไตย

คำนิยาม

มุ่งเน้นการส่งเสริมพัฒนาและเผยแพร่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็น

แหล่งเรียนรู้ด้านพระปกเกล้าศึกษา และพัฒนาการประชาธิปไตยไทยอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึง

ทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการสร้างผลงานวิชาการด้านพระปกเกล้าศึกษาให้มีความหลากหลายและ

พัฒนาฐานข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาให้เข้าถึงง่าย

พระปกเกล้าศึกษา หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ

ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7

ประวัติศาสตร์ในรัชสมัย บริบททางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ค่านิยม วัฒนธรรม

วรรณกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และอื่น ๆ รวมถึงการศึกษาที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า

เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ ในปัจจุบัน

พัฒนาการประชาธิปไตยไทย หมายถึง ค้นคว้า วิเคราะห์ เกี่ยวกับความเป็นมาของประชาธิปไตย

ในบริบทสังคมไทยและบริบทโลก เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจต่อพัฒนาการทางการเมืองไทย

และเกิดจิตสำนึกที่สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตในระบอบประชาธิปไตย

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5

กลยุทธ์ที่ 1.3 จัดหาโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ และสิ่งของร่วมรัชสมัย

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 จำนวนองค์ความรู้ พระปกเกล้าศึกษา ที่เพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ที่ 1.1 รวบรวม ค้นคว้า ศึกษาวิจัยหรือต่อยอดองค์ความรู้พระปกเกล้าศึกษา

กลยุทธ์ที่ 1.2 พัฒนาฐานข้อมูลพระปกเกล้าศึกษาเพื่อให้สะดวกต่อการให้บริการ

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ด้านพระปกเกล้าศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 จำนวนเรื่องในฐานข้อมูลพระปกเกล้าศึกษา ที่เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้บริการฐานข้อมูล พระปกเกล้าศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 1.3.1 จำนวนโบราณวัตถุที่เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 1.3.2 จำนวนองค์ความรู้จากการขยายความโบราณวัตถุ

Page 38: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 จำนวนรูปแบบ/วิธีการ/สื่อการเรียนรู้ ที่ถูกพัฒนา หรอืปรบัปรงุขึน้ใหมข่องกจิกรรมเพือ่เผยแพรค่วามรู ้

ตัวชี้วัดที ่2.1.2 จำนวนครั้งการจัดกิจกรรมภายในพิพิธภัณฑ์ฯ

ตัวชี้วัดที่ 2.1.3 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ

ตัวชี้วัดที่ 2.1.4 จำนวนผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ และศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อเผยแพร่และพัฒนา

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ใหเ้ปน็แหลง่เรยีนรูท้ีม่ ี

ความหลากหลาย ง่ายต่อการเข้าถึง

กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนารูปแบบ/วิธีการ/สื่อการเรียนรู้ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ที่ 2.2 จัดนิทรรศการเคลื่อนที่นอกสถานที่ เพื่อเผยแพร่ความรู้พระปกเกล้าศึกษา

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ประชาธิปไตย เพื่อให้เป็น แหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

และเข้าถึงง่าย

ตัวชี้วัดที่ 3.1.1 จำนวนองค์ความรู้เรื่องพัฒนาการ ประชาธิปไตยไทย

ตัวชี้วัดที่ 3.2.1 จำนวนรูปแบบ/วิธีการ/สื่อการเรียนรู้/ กิจกรรมที่ได้พัฒนา หรือปรับปรุง ในศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

ตัวชี้วัดที่ 3.2.2 ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตย

กลยุทธ์ที่ 2.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ สถานศึกษา/เครือข่ายพิพิธภัณฑ์/ แหล่งเรียนรู้/หน่วยงานอื่น ๆ

ตัวชี้วัดที่ 2.2.1 จำนวนครั้งที่จัดนิทรรศการเคลื่อนที่

ตัวชี้วัดที่ 2.2.2 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจผู้เข้าชมนิทรรศการเคลื่อนที่

ตัวชี้วัดที่ 2.2.3 จำนวนผู้เข้าชมนิทรรศการเคลื่อนที่

ตัวชี้วัดที่ 2.3.1 จำนวนกิจกรรมที่ร่วมกับสถานศึกษา/เครือข่ายพิพิธภัณฑ์/แหล่งเรียนรู้/หน่วยงานอื่น ๆ

กลยุทธ์ที่ 3.2 พัฒนารูปแบบ/วิธีการ/สื่อการเรียนรู้หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการประชาธิปไตยไทย ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

กลยุทธ์ที่ 3.1 รวบรวม ค้นคว้า ศึกษาวิจัยหรือต่อยอดองค์ความรู้เรื่องพัฒนาการประชาธิปไตยไทย

Page 39: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาองค์กรไปสู่สมรรถนะสูงและสากล

คำนิยาม

มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะองค์กร โดยพัฒนาระบบการทำงานภายในองค์กร (Internal process)

ผ่านการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่น และ

เกิดความผูกพันต่อองค์กร รวมไปถึงการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้องค์กรเป็นที่รู้จักของสังคมอย่าง

แพร่หลาย และพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางวิชาการร่วมกัน

อันนำไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High performance) และมีความเป็นสากล

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาระบบการทำงาน

ภายในองค์กร (Internal process) ไปสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง

(High performance)

กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เพียงพอ และเหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมายเพื่อสนับสนุน การดำเนินงานของสถาบัน

กลยุทธ์ที่ 1.2 ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงาน ตามแผนการพัฒนาปรับปรุงระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 จำนวนกระบวนงานที่ได้รับ การปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาระบบบริหาร

ทรัพยากรมนุษย์ให้บุคลากร เกิดความมุ่งมั่น และ เกิดความผูกพันต่อ

องค์กร

กลยุทธ์ที่ 2.1 สนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรมตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) และการบริหารจัดการหรือสนับสนุนคนเก่งในองค์กร (Talent management)

กลยุทธ์ที่ 2.2 สร้างวัฒนธรรมองค์กรตามค่านิยมร่วม KPI-D ให้เป็นรูปธรรม

กลยุทธ์ที่ 2.3 การพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กร แห่งความสุข (Happy work place) โดยการเสริมสร้างบรรยากาศให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) (พิจารณาตัวชี้วัดจากร้อยละขององค์ความรู้ที่จัดการอบรมและร้อยละของจำนวนบุคลากรที่ได้รับการอบรมตามแผนพัฒนาบุคลากร รายบุคคล)

ตัวชี้วัดที่ 2.1.2 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผน การบริหารจัดการหรือสนับสนุนคนเก่งในองค์กร (Talent management)

ตัวชี้วัดที่ 2.2.1 ร้อยละของบุคลากรที่มีการปฏิบัติตามค่านิยม KPI-D

ตัวชี้วัดที่ 2.3.1 จำนวนกิจกรรมที่เสริมสร้างบรรยากาศให้เกิดความสัมพันธ์ ที่ดีในการทำงาน และนำองค์กรไปสู่องค์กรแห่ง ความสุข (Happy Workplace)

Page 40: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

�0

เป้าประสงค์ที่ 4 เพื่อพัฒนาความร่วมมือ

กับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทาง

วิชาการร่วมกัน

กลยุทธ์ที่ 4.1 พัฒนาความร่วมมือกับองค์กร เครือข่ายใหม่ ๆ ทั้งในและ ต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 4.2 พัฒนารูปแบบ/กิจกรรมร่วมกับองค์กรเครือข่ายทั้งภายในและ ต่างประเทศ ให้มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดที่ 4.1.1 จำนวนเครือข่ายใหม่ทั้งในและ ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดที่ 4.2.1 ร้อยละของเครือข่ายเป้าหมาย ทั้งในและต่างประเทศที่จัดกิจกรรม ทางวิชาการร่วมกับสถาบัน

กลยุทธ์ที่ 3.1 นำเสนอสถาบัน/ผลงานของสถาบันผ่านรูปแบบช่องทาง/สื่อต่าง ๆ ที่หลากหลายทันสมัย

กลยุทธ์ที่ 3.2 สื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และผลงานที่สอดรับกับสถานการณ์ และเป็นที่สนใจของสังคม

กลยุทธ์ที่ 3.3 ส่งเสริมให้บุคลากร และผลงานของสถาบันได้รับการเผยแพร่ไปสู่สาธารณะ

ตัวชี้วัดที่ 3.1.1 จำนวนผลงานของสถาบันที่ถูกนำไป เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

ตัวชี้วัดที่ 3.1.2 จำนวนผลงานของสถาบันที่ถูกนำไป เผยแพร่ผ่านช่องทางสื่ออื่น ๆ

ตัวชี้วัดที่ 3.3.1 จำนวนครั้งการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม ให้บุคลากร/ผลงานของสถาบันได้รับ การเผยแพร่ไปสู่สาธารณะ

ตัวชี้วัดที่ 3.2.1 จำนวนครั้งของการอ้างอิง/อ้างถึง ผลงานของสถาบันผ่านสื่อเผยแพร ่ ต่าง ๆ

ตัวชี้วัดที่ 3.2.2 จำนวนผู้เข้าใช้สารสนเทศของสถาบัน

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อให้สถาบันเป็นที่รู้จัก ของสังคมอย่างแพร่หลาย

Page 41: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

�1

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

คำนิยาม

มุ่งเน้นสำรวจ และติดตามพลวัตประชาธิปไตย รวมถึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ

การดำเนินงานของสถาบัน เพื่อถอดบทเรียนจนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่จะนำมาสนับสนุนงานวิจัย

งานฝึกอบรม และกิจกรรมวิชาการของสถาบันได้อย่างทันสมัย รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมเชิงความรู้

เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ และยั่งยืน

รายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาสถาบันให้เกิด องค์ความรู้ที่เท่าทันต่อ พลวัตประชาธิปไตย

เพื่อขับเคลื่อนงานของ สถาบันให้สอดคล้องกับ

สถานการณ์

กลยุทธ์ที่ 1.1 สร้างนวัตกรรม/สำรวจ/ติดตาม/ วิเคราะห์ และถอดบทเรียน พลวัตประชาธิปไตย หรือประเด็น ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของสถาบัน

กลยุทธ์ที่ 1.2 สร้างนวัตกรรมทางความคิด (Sandbox) เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย สู่สาธารณะ

ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 จำนวนผลการศึกษาเกี่ยวกับ พลวัตประชาธิปไตย

ตัวชี้วัดที่ 1.2.1 จำนวนผลงานวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตประชาธิปไตย ที่ถูกนำไปใช้ในการพัฒนางานตามภารกิจของสถาบัน

ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 จำนวนผลงานวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตประชาธิปไตย ที่ถูกนำไปใช้ขับเคลื่อนสังคม

Page 42: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

�2

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาให้สถาบัน

เป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ

รัฐธรรมนูญ

กลยุทธ์ที่ 3.1 สร้างเครื่องมือ/รูปแบบ/ช่องทาง/ วิธีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในกระบวนการจัดทำกฎหมาย

ตัวชี้วัดที่ 3.1.1 จำนวนเครื่องมือ/รูปแบบ/ช่องทาง/ วิธีการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการการจัดทำกฎหมาย

กลยุทธ์ที่ 2.1 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์รัฐธรรมนูญศึกษา (Center for constitution studies) เพื่อศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลง ของรัฐธรรมนูญอย่างรอบด้าน และ เป็นระบบ

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาให้สถาบัน

เป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ

รัฐธรรมนูญ

เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม ของประชาชนในกระบวนการ

จัดทำกฎหมาย

ตัวชี้วัดที่ 2.1.1 จำนวนผลงานวิชาการ ที่จัดทำโดย ศูนย์รัฐธรรมนูญศึกษา (Center for Constitution studies)

กลยุทธ์ที่ 4.1 พัฒนาหลักสูตร e-Learning ให้เข้าถึงง่าย และมีความเหมาะสม ตามกลุ่มเป้าหมาย

เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาให้สถาบัน

เป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ

รัฐธรรมนูญ

เป้าประสงค์ที่ 4 เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้

ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างครอบคลุม

ตัวชี้วัดที่ 4.1.1 จำนวนผู้เข้าเรียนในหลักสูตร e-Learning

Page 43: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

ภาคผนวก

Page 44: แผนยุทธศาสตร์ สถาบันพระปกเกล้า · 2020. 10. 1. · ฉบับที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 –

แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระปกเกล้า ฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568)

��