กล่าวโทษแพทยสภา ม.157

Post on 11-Feb-2017

242 Views

Category:

Health & Medicine

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

บ้านเลขท่ี xxxx หมู่ xx ต าบล xxxxx

อ าเภอ xxxx จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

เรื่อง ขอร้องทุกข์กล่าวโทษคณะกรรมการแพทยสภา ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต

เรียน พนักงานสอบสวน

สิ่งที่ส่งมาด้วย พยานเอกสารจ านวน ๑๐ ฉบับ

ข้าพเจ้า นายไพรัช ด ารงกิจถาวร เกิดวันที่ xxx กันยายน พ.ศ. xxx อยู่บ้านเลขที่ xxxx หมู่ xx ต าบลxxxx อ าเภอ xxxx จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ ๗๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๘ – xxxxxxxx อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย ต าแหน่ง อาจารย์ สังกัด มหาวิทยาลัยxxxxxxx ขอกล่าวหา คณะกรรมการแพทยสภา ตั้งอยู่ที่ ส านักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร ๖ ชั้น ๗ ตึกส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒ – ๕๙๐๑๘๘๖ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นางไข ด ารงกิจถาวร อายุ ๕๘ ปี มารดาข้าพเจ้า เกิดอุบัติเหตุล้มก้นกระแทกพ้ืนปูนและถูกน าตัวส่งโรงพยาบาลxxxxxx จังหวัดนครปฐม แพทย์ตรวจและวินิจฉัยว่านางไขกระดูกข้อสะโพกหัก วันที่ ๑๖ สิงหาคม เวลา ๒๐.๐๐ น. แพทย์โรงพยาบาลxxxxxxxxxได้ท าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแก่นางไขและระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (บล็อกหลัง) จนเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. นางไขถูกย้ายกลับมาที่ห้องพักผู้ป่วยในสภาพหลับ ต่อมาเวลาประมาณ ๖.๐๐ น. ของวันที่ ๑๗ สิงหาคม ญาติที่นอนเฝ้าไข้นางไขตื่นขึ้นมาพบว่านางไขนอนมีน้ าลายฟูมปากอยู่บนเตียงจึงรีบแจ้งพยาบาลประจ าวอร์ด พยาบาลท าการปฐมพยาบาลและรีบน าตัวนางไขไปยังหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลxxxxxxx แพทย์ตรวจและให้ความเห็นว่านางไขมีภาวะสมองขาดเลือดมากและบวม ต้องท าการผ่าตัดเพื่อเปิดกะโหลกศีรษะ แต่มีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ ๘๐ – ๙๐ แม้หากรอดชีวิตก็จะทุพลภาพตลอดชีวิต หรือเลือกรักษาไปตามอาการซึ่งผู้ป่วยจะเสียชีวิต จะอยู่ได้นานแค่ไหนก็แล้วแต่อายุขัยของผู้ป่วย วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ญาตินางไขทุกคนจึงตัดสินใจเลือกรักษาไปตามอาการและขอย้ายไปรักษาตัวต่อตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่นางไขมีอยู่ที่โรงพยาบาลนครปฐม นางไขนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครปฐมตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลากลางคืน นางไขก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลนครปฐมแห่งนี้

วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นายสมศักดิ์ ด ารงกิจถาวร บุตรนางไขและน้องชายข้าพเจ้าเป็นตัวแทนญาติไปร้องเรียนต่อกระทรวงสาธารณสุข ต่อมากระทรวงสาธารณสุขโดยส านักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ได้เป็นตัวแทนท าหนังสือร้องเรียนไปยังแพทยสภาเพ่ือให้ด าเนินการพิจารณาเป็นคดีทางจริยธรรม ซึ่งแพทยสภาได้รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นหมายเลขคดีด าที่ ๕๒/๒๕๕๓ โดยมีคณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ชุดที่ ๒ ของแพทยสภา เป็นคณะท างานแสวงหาข้อเท็จจริงเพ่ือมีความเห็นว่าแพทย์ที่ถูกร้องเรียนนั้นมีมูลความผิดจริยธรรมหรือไม่อย่างไรเพ่ือเสนอต่อคณะกรรมการแพทยสภามีมติ ในการนี้คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้มีหนังสือถามความเห็นไปยังราชวิทยาลัยแพทย์ ๓ แห่ง ได้แก่ ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย , ราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย , ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้ท าการแสวงหาข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาแล้ว จึงได้มีมติผลการพิจารณาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการแพทยสภา ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๑ หน้าที่ ๑๓ วรรคท้าย ความว่า “โดยสรุป คณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ชุดที่สอง มีความเห็นว่ากระบวนการให้การดูแลหลังผ่าตัดในปัญหาความดันโลหิตในผู้ป่วยรายนี้ของผู้ถูกร้องเรียนที่ ๑ ผู้ถูกร้องเรียนที่ ๒ และผู้ถูกร้องเรียนที่ ๓ มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ายังไม่เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ภายใต้ความสามารถและข้อจ ากัด ตามภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่มีอยู่ จึงสมควรน าเข้าสู่กระบวนการสอบสวน โดยยังไม่ถือว่าผู้ถูกร้องเรียนมีความผิดด้านจริยธรรม จึงมีมติ คดีมีมูล” ต่อมาคณะกรรมการแพทยสภาได้น าความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ เข้ามาพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ในที่ประชุมมีการรายงานความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ที่มีความเห็นแย้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ และเห็นว่าควรส่งเรื่องคืนคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ให้พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ที่ประชุมแพทยสภาจึงพิจารณามีมติ ส่งเรื่องคืนคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ชุดที่สอง ให้แสวงหาความเห็นเพ่ิมเติม โดยให้พิจารณาตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ในกรณีนี้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๒ วรรคท้าย

เมื่อคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ชุดที่สอง ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการแพทยสภากลับมาพิจารณาอีกครั้ง คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้พิจารณาประเด็นความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ตามมติคณะกรรมการแพทยสภาแล้ว จึงมีมติผลการพิจารณาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการแพทยสภา ลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเป็นเอกฉันท์ให้ยืนยันตามมติเดิมว่า “คดีมีมูล” รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๓ หน้า ๑๔ วรรคท้าย ต่อมาคณะกรรมการแพทยสภาน าความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ที่มีมติ คดีมีมูล เข้าสู่การพิจารณาในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และมีมติคณะกรรมการแพทยสภาต่อกรณีร้องเรียนนี้ว่า คดีไม่มีมูล รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๔ หน้า ๓๘ วรรคท้าย ต่อมาแพทยสภาได้มีค าสั่งตามมาตรา ๓๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ ลงวันที่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ว่าคดีไม่มีมูลและยกข้อกล่าวโทษ

แพทย์ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสามคน รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๕ หน้า ๑๓ วรรคท้าย

คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้ด าเนินกระบวนการเพ่ือแสวงหาข้อเท็จจริงทางการแพทย์ในประเด็นที่อาจจะเป็นต้นเหตุในความเสียหายของผู้ป่วยตามข้อร้องเรียนอย่างละเอียดครบถ้วน โดยเฉพาะความเสียหายที่ผู้ป่วยสมองขาดเลือดภายหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นกรณีที่น่าจะเกี่ยวเนื่องจากการดูแลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัด ซึ่งจะอยู่ในขอบข่ายการพิจารณาทางการแพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์ การที่คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้ให้น้ าหนักการฟังความเห็นจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และน ามาเป็นข้อส าคัญเ พ่ือวินิจฉัยชี้ว่า คดีมีมูล นั้นก็ควรจะเหมาะสมแล้ว ทั้ ง แพทยสภายังมีมติให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง แต่ด้วยข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่อยู่ในส านวนของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ มีน้ าหนักมากจนไม่สามารถชี้ไปเป็นอย่างอ่ืนได้ จึงท าให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ มีมติยืนยันตามมติเดิม การที่แพทยสภามีมติไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ที่ได้ท าการพิจารณาทบทวนอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จนคณะกรรมการแพทยสภามีมติว่าแพทย์ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสามคนปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานแล้วจนแพทยสภามีค าสั่ง คดีไม่มีมูล จึงไม่ถูกต้องตามกระบวนวิธีพิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียนกับผู้ถูกร้องเรียนในคดีจริยธรรม ทั้งยังให้ความเห็นในข้อวินิจฉัยทางวิชาการประกอบการยกข้อกล่าวโทษที่เป็นเท็จด้วยเจตนา ดังขอยกประเด็นดังนี้

๑. ค าสั่งแพทยสภา หน้า ๑๒ บรรทัดที่ ๕ จากท้าย ความว่า “จากความเห็นของ

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่า การให้ Nifedipine (๑๐ มิลกรัม) ใต้ลิ้น น่าจะ

เป็นต้นเหตุให้เกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของความดันโลหิต อาจเป็นเหตุให้สมองขาดเลือดได้ คณะกรรมการ

แพทยสภามีความเห็นว่ายังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ท่ียืนยันในประเด็นดังกล่าว” ข้าพเจ้าขอให้การต่อพนักงาน

สอบสวนว่า ยาลดความดันโลหิต ชื่อ Nifedipine เป็นยาที่คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี ๒๕๔๗ ได้

มีข้อความเตือนว่าไม่ควรใช้ในการลดความดันโลหิตสูง ดังเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๖ หน้า ๖ ข้อ ๒.๖.๒

และเป็นยาที่ไม่สมเหตุผลในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๗ หน้า ข –

๑๒ ข้อ ๓.๑ นอกจากนั้นส านักงานประสานการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้ท าเอกสารทางวิชาการเรื่อง

หลักเกณฑ์และหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้ด้วย โดยมีข้อมูลทาง

วิชาการที่เกี่ยวข้องกับยาลดความดันโลหิต ชื่อ Nifedipine ไว้ในหน้า ๕-๘ ข้อ ๗.๒ การคัด nifedepine

immediate release cap ออกจากบัญชี ปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๘ เอกสารดังกล่าวนี้มี

ข้อสรุปท้ายว่า “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาคัดยา nifedepine immediate release ออกจากบัญชียา

หลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของยา ตลอดจนการใช้ยาอย่างผิดวิธี และในเนื้อหา

ของบัญชีก็ได้แสดงค าเตือนไว้ในกรอบของหัวข้อของยากลุ่มนี้ว่า ยากลุ่มนี้ชนิดที่เป็น shot-acting

dihydropyridine (เช่น nifedepine immediate release) ไม่เหมาะสมในการใช้รักษา hypertension ,

hypertensive crisis และ angina pectoris เนื่องจากมียาอ่ืนที่ปลอดภัยกว่า” จากเอกสารย่อมชัดเจนว่า

มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิชาการอย่างเพียงพอที่แพทย์จะต้องพิจารณาหลีกเลี่ยงในการใช้ยา Nifedipine

เพ่ือลดความดันโลหิต ไม่ได้ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ดังที่คณะกรรมการแพทยสภาจงใจวินิจฉัยเท็จ

๒. ค าสั่งแพทยสภา หน้า ๑๒ บรรทัดที่สองจากท้าย ความว่า “ทั้งกลไกการออก

ฤทธิ์ของยาท าให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ซึ่งมีผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ มากขึ้น และ

ยา Nifedipine ยังมีข้อบ่งชี้ส าหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหลังผ่าตัดในกรณีนี้ได้” ข้าพเจ้าขอให้การต่อ

พนักงานสอบสวนว่า ยา Nifedipine มีกลไกการออกฤทธิ์ท าให้เกิดการขยายหลอดเลือดแดงขนาดเล็กจริงตาม

ข้อวินิจฉัยของแพทยสภา และเป็นปกติเมื่อหลอดเลือดขยายตัวเพ่ิมขึ้น เซลสมองที่ได้รับเลือดมาเลี้ยงบริเวณ

นั้นๆ ก็ควรได้รับเลือดมาเลี้ยงเพ่ิมขึ้น ไม่ควรขาดเลือด แต่ถ้าพิจารณาจากความเห็นจากราชวิทยาลัยอายุร

แพทย์แห่งประเทศไทย เอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๙ แผ่นที่ ๕ บรรทัดที่ ๓ ความว่า “ความเห็น :

การให้ Nifedipine (๑๐ มิลลิกรัม) ใต้ลิ้น (sublingual) น่าจะเป็นต้นเหตุให้เกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของ

ความดันโลหิตมากถึง ๑๐๐ มิลลิเมตรปรอท systolic ในเวลา ๑ ชั่วโมงหลังได้รับยา อันอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วย

รายนี้เกิด Cerebral infarction ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีรอยโรคในเส้นเลือดสมองที่ไปเลี้ยงบริเวณนั้นอยู่

ก่อนแล้ว ยา Nifedipine sublingual form ในปัจจุบันจึงไม่ปรากฏเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในการลดความดัน

โลหิต ในแนวทางเวชปฏิบัติต่างๆ ของการรักษาความดันโลหิตสูง” การที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่ง

ประเทศไทยให้ความเห็นว่าผู้ป่วยอาจมีรอยโรคในเส้นเลือดสมองที่ไปเลี้ยงบริเวณนั้นอยู่ก่อนแล้วนั้น ผู้ฟ้องคดี

เห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ป่วยมีอายุมาก สภาพหลอดเลือดมักจะมีการสะสมของไขมันและสารอ่ืนๆ

บริเวณผนังหลอดเลือด เมื่อนานๆเข้าก็จะท าให้ผนังหลอดเลือดหนาแข็งขึ้นจนเป็นตะกรัน เมื่อได้รับยาขยาย

หลอดเลือด Nifedipine หลอดเลือดที่มีความยืดหยุ่นดีก็จะขยายตามฤทธิ์ของยา แต่บริเวณที่หลอดเลือดที่

หนาและแข็งนั้นจะไม่ขยายตัวตามฤทธิ์ยา จึงท าให้เลือดไปกองอยู่บริเวณที่หลอดเลือดขยายตัวดีนั้นมากและ

ท าให้บริเวณหลอดเลือดที่หนาแข็งนั้นขาดเลือดเพ่ิมขึ้น จึงท าให้เซลสมองบริเวณนั้นยิ่งขาดเลือดมากขึ้น ซึ่ง

ลักษณะการขาดเลือดนี้มีบทความทางวิชาการของนายแพทย์รังสรรค์ ชัยเสวิกุล ได้เขียนไว้ในสารศิริราช

ตรงกัน ปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๑๐ พร้อมค าแปล

๓. ค าสั่งแพทยสภา หน้า ๑๒ บรรทัดสุดท้าย ความว่า “และยา Nifedipine ยัง

มีข้อบ่งชี้ส าหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหลังผ่าตัดในกรณีนี้ได้” ข้าพเจ้าขอให้การว่าในความเห็นของ

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยก็ยังมีความเห็นประเด็นนี้ ในแผ่นที่ ๕ บรรทัดที่ ๘ ความว่า

“Nifedipine sublingual form ในปัจจุบันจึงปรากฏเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในการลดความดันโลหิต ในแนวทาง

เวชปฏิบัติต่างๆ ของการรักษาความดันโลหิตสูง”

จากข้อเท็จจริงที่ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นมากล่าวโทษคณะกรรมการแพทยสภาทั้งปวงนี้ ย่อมแสดง

ให้เห็นถึงเจตนาของคณะกรรมการแพทยสภาอย่างชัดเจนว่ามีความจงใจที่จะพิจารณาวินิจฉัยไม่อยู่ในกรอบ

ของกฎหมายที่ต้องให้ความเป็นธรรมต่อคู่กรณี จงใจปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต

จนท าให้เกิดความเสียหายต่อคู่กรณีโดยไม่ย ากรงต่อกฎหมายอาญา ข้าพเจ้าจึงขอให้พนักงานสอบสวนเรียก

คณะกรรมการแพทยสภาผู้กระท าความผิดมาให้การ แจ้งข้อกล่าวหา และด าเนินการใดๆ ตามกรอบของ

กฎหมายต่อไป

จึงเรียนมาเพ่ือโปรดพิจารณาด าเนินการ

(นายไพรัช ด ารงกิจถาวร) ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ

top related