กล่าวโทษแพทยสภา ม.157

5
บ้านเลขทีxxxx หมูxx ตาบล xxxxx อาเภอ xxxx จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐ วันที๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เรื่อง ขอร้องทุกข์กล่าวโทษคณะกรรมการแพทยสภา ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เรียน พนักงานสอบสวน สิ่งที่ส่งมาด้วย พยานเอกสารจานวน ๑๐ ฉบับ ข้าพเจ้า นายไพรัช ดารงกิจถาวร เกิดวันทีxxx กันยายน พ.ศ. xxx อยู่บ้านเลขทีxxxx หมูxx ตาบลxxxx อาเภอ xxxx จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ ๗๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๘ xxxxxxxx อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย ตาแหน่ง อาจารย์ สังกัด มหาวิทยาลัย xxxxxxx ขอกล่าวหา คณะกรรมการแพทยสภา ตั้งอยู่ที่ สานักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร ๖ ชั้น ๗ ตึกสานักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๕๙๐๑๘๘๖ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนีวันที๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นางไข ดารงกิจถาวร อายุ ๕๘ ปี มารดาข้าพเจ้า เกิดอุบัติเหตุล้มก้นกระแทกพื้นปูนและถูกนาตัวส่งโรงพยาบาล xxxxxx จังหวัดนครปฐม แพทย์ตรวจและ วินิจฉัยว่านางไขกระดูกข้อสะโพกหัก วันที่ ๑๖ สิงหาคม เวลา ๒๐.๐๐ น. แพทย์โรงพยาบาล xxxxxxxxx ได้ทาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแก่นางไขและระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (บล็อกหลัง) จนเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. นางไขถูกย้ายกลับมาที่ห้องพักผู้ป่วยในสภาพหลับ ต่อมาเวลาประมาณ ๖.๐๐ น. ของวันที่ ๑๗ สิงหาคม ญาติที่นอนเฝ้าไข้นางไขตื่นขึ้นมาพบว่านางไขนอนมีน้าลายฟูมปากอยู่บนเตียงจึง รีบแจ้งพยาบาลประจาวอร์ด พยาบาลทาการปฐมพยาบาลและรีบนาตัวนางไขไปยังหอผู้ป่วยหนักของ โรงพยาบาล xxxxxxx แพทย์ตรวจและให้ความเห็นว่านางไขมีภาวะสมองขาดเลือดมากและบวม ต้องทาการ ผ่าตัดเพื่อเปิดกะโหลกศีรษะ แต่มีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ ๘๐ ๙๐ แม้หากรอดชีวิตก็จะทุพลภาพตลอดชีวิต หรือเลือกรักษาไปตามอาการซึ่งผู้ป่วยจะเสียชีวิต จะอยู่ได้นานแค่ไหนก็แล้วแต่อายุขัยของผู้ป่วย วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ญาตินางไขทุกคนจึงตัดสินใจเลือกรักษาไปตามอาการและขอย้ายไปรักษาตัวต่อตาม สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่นางไขมีอยู่ที่โรงพยาบาลนครปฐม นางไขนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครปฐม ตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลากลางคืน นางไขก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลนครปฐม แห่งนี

Upload: pairat-dam

Post on 11-Feb-2017

242 views

Category:

Health & Medicine


0 download

TRANSCRIPT

บ้านเลขท่ี xxxx หมู่ xx ต าบล xxxxx

อ าเภอ xxxx จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

เรื่อง ขอร้องทุกข์กล่าวโทษคณะกรรมการแพทยสภา ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต

เรียน พนักงานสอบสวน

สิ่งที่ส่งมาด้วย พยานเอกสารจ านวน ๑๐ ฉบับ

ข้าพเจ้า นายไพรัช ด ารงกิจถาวร เกิดวันที่ xxx กันยายน พ.ศ. xxx อยู่บ้านเลขที่ xxxx หมู่ xx ต าบลxxxx อ าเภอ xxxx จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ ๗๓๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๘ – xxxxxxxx อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย ต าแหน่ง อาจารย์ สังกัด มหาวิทยาลัยxxxxxxx ขอกล่าวหา คณะกรรมการแพทยสภา ตั้งอยู่ที่ ส านักงานเลขาธิการแพทยสภา อาคาร ๖ ชั้น ๗ ตึกส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐๒ – ๕๙๐๑๘๘๖ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นางไข ด ารงกิจถาวร อายุ ๕๘ ปี มารดาข้าพเจ้า เกิดอุบัติเหตุล้มก้นกระแทกพ้ืนปูนและถูกน าตัวส่งโรงพยาบาลxxxxxx จังหวัดนครปฐม แพทย์ตรวจและวินิจฉัยว่านางไขกระดูกข้อสะโพกหัก วันที่ ๑๖ สิงหาคม เวลา ๒๐.๐๐ น. แพทย์โรงพยาบาลxxxxxxxxxได้ท าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแก่นางไขและระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (บล็อกหลัง) จนเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. นางไขถูกย้ายกลับมาที่ห้องพักผู้ป่วยในสภาพหลับ ต่อมาเวลาประมาณ ๖.๐๐ น. ของวันที่ ๑๗ สิงหาคม ญาติที่นอนเฝ้าไข้นางไขตื่นขึ้นมาพบว่านางไขนอนมีน้ าลายฟูมปากอยู่บนเตียงจึงรีบแจ้งพยาบาลประจ าวอร์ด พยาบาลท าการปฐมพยาบาลและรีบน าตัวนางไขไปยังหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลxxxxxxx แพทย์ตรวจและให้ความเห็นว่านางไขมีภาวะสมองขาดเลือดมากและบวม ต้องท าการผ่าตัดเพื่อเปิดกะโหลกศีรษะ แต่มีโอกาสเสียชีวิตร้อยละ ๘๐ – ๙๐ แม้หากรอดชีวิตก็จะทุพลภาพตลอดชีวิต หรือเลือกรักษาไปตามอาการซึ่งผู้ป่วยจะเสียชีวิต จะอยู่ได้นานแค่ไหนก็แล้วแต่อายุขัยของผู้ป่วย วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ญาตินางไขทุกคนจึงตัดสินใจเลือกรักษาไปตามอาการและขอย้ายไปรักษาตัวต่อตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่นางไขมีอยู่ที่โรงพยาบาลนครปฐม นางไขนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครปฐมตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลากลางคืน นางไขก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลนครปฐมแห่งนี้

วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นายสมศักดิ์ ด ารงกิจถาวร บุตรนางไขและน้องชายข้าพเจ้าเป็นตัวแทนญาติไปร้องเรียนต่อกระทรวงสาธารณสุข ต่อมากระทรวงสาธารณสุขโดยส านักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ได้เป็นตัวแทนท าหนังสือร้องเรียนไปยังแพทยสภาเพ่ือให้ด าเนินการพิจารณาเป็นคดีทางจริยธรรม ซึ่งแพทยสภาได้รับเรื่องไว้พิจารณาเป็นหมายเลขคดีด าที่ ๕๒/๒๕๕๓ โดยมีคณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ชุดที่ ๒ ของแพทยสภา เป็นคณะท างานแสวงหาข้อเท็จจริงเพ่ือมีความเห็นว่าแพทย์ที่ถูกร้องเรียนนั้นมีมูลความผิดจริยธรรมหรือไม่อย่างไรเพ่ือเสนอต่อคณะกรรมการแพทยสภามีมติ ในการนี้คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้มีหนังสือถามความเห็นไปยังราชวิทยาลัยแพทย์ ๓ แห่ง ได้แก่ ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย , ราชวิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย , ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้ท าการแสวงหาข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะพิจารณาแล้ว จึงได้มีมติผลการพิจารณาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการแพทยสภา ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๑ หน้าที่ ๑๓ วรรคท้าย ความว่า “โดยสรุป คณะอนุกรรมการจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม ชุดที่สอง มีความเห็นว่ากระบวนการให้การดูแลหลังผ่าตัดในปัญหาความดันโลหิตในผู้ป่วยรายนี้ของผู้ถูกร้องเรียนที่ ๑ ผู้ถูกร้องเรียนที่ ๒ และผู้ถูกร้องเรียนที่ ๓ มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ายังไม่เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ภายใต้ความสามารถและข้อจ ากัด ตามภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ที่มีอยู่ จึงสมควรน าเข้าสู่กระบวนการสอบสวน โดยยังไม่ถือว่าผู้ถูกร้องเรียนมีความผิดด้านจริยธรรม จึงมีมติ คดีมีมูล” ต่อมาคณะกรรมการแพทยสภาได้น าความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ เข้ามาพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ในวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ในที่ประชุมมีการรายงานความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ที่มีความเห็นแย้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ และเห็นว่าควรส่งเรื่องคืนคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ให้พิจารณาความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ที่ประชุมแพทยสภาจึงพิจารณามีมติ ส่งเรื่องคืนคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ชุดที่สอง ให้แสวงหาความเห็นเพ่ิมเติม โดยให้พิจารณาตามความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ในกรณีนี้ รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๒ วรรคท้าย

เมื่อคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ชุดที่สอง ได้รับเรื่องจากคณะกรรมการแพทยสภากลับมาพิจารณาอีกครั้ง คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้พิจารณาประเด็นความเห็นของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ตามมติคณะกรรมการแพทยสภาแล้ว จึงมีมติผลการพิจารณาเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการแพทยสภา ลงวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยเป็นเอกฉันท์ให้ยืนยันตามมติเดิมว่า “คดีมีมูล” รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๓ หน้า ๑๔ วรรคท้าย ต่อมาคณะกรรมการแพทยสภาน าความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ที่มีมติ คดีมีมูล เข้าสู่การพิจารณาในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และมีมติคณะกรรมการแพทยสภาต่อกรณีร้องเรียนนี้ว่า คดีไม่มีมูล รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๔ หน้า ๓๘ วรรคท้าย ต่อมาแพทยสภาได้มีค าสั่งตามมาตรา ๓๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ ลงวันที่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ว่าคดีไม่มีมูลและยกข้อกล่าวโทษ

แพทย์ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสามคน รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๕ หน้า ๑๓ วรรคท้าย

คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้ด าเนินกระบวนการเพ่ือแสวงหาข้อเท็จจริงทางการแพทย์ในประเด็นที่อาจจะเป็นต้นเหตุในความเสียหายของผู้ป่วยตามข้อร้องเรียนอย่างละเอียดครบถ้วน โดยเฉพาะความเสียหายที่ผู้ป่วยสมองขาดเลือดภายหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว จึงเป็นกรณีที่น่าจะเกี่ยวเนื่องจากการดูแลผู้ป่วยภายหลังผ่าตัด ซึ่งจะอยู่ในขอบข่ายการพิจารณาทางการแพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์ การที่คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ได้ให้น้ าหนักการฟังความเห็นจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และน ามาเป็นข้อส าคัญเ พ่ือวินิจฉัยชี้ว่า คดีมีมูล นั้นก็ควรจะเหมาะสมแล้ว ทั้ ง แพทยสภายังมีมติให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง แต่ด้วยข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่อยู่ในส านวนของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ มีน้ าหนักมากจนไม่สามารถชี้ไปเป็นอย่างอ่ืนได้ จึงท าให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ มีมติยืนยันตามมติเดิม การที่แพทยสภามีมติไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมฯ ที่ได้ท าการพิจารณาทบทวนอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จนคณะกรรมการแพทยสภามีมติว่าแพทย์ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสามคนปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานแล้วจนแพทยสภามีค าสั่ง คดีไม่มีมูล จึงไม่ถูกต้องตามกระบวนวิธีพิจารณาให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียนกับผู้ถูกร้องเรียนในคดีจริยธรรม ทั้งยังให้ความเห็นในข้อวินิจฉัยทางวิชาการประกอบการยกข้อกล่าวโทษที่เป็นเท็จด้วยเจตนา ดังขอยกประเด็นดังนี้

๑. ค าสั่งแพทยสภา หน้า ๑๒ บรรทัดที่ ๕ จากท้าย ความว่า “จากความเห็นของ

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นว่า การให้ Nifedipine (๑๐ มิลกรัม) ใต้ลิ้น น่าจะ

เป็นต้นเหตุให้เกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของความดันโลหิต อาจเป็นเหตุให้สมองขาดเลือดได้ คณะกรรมการ

แพทยสภามีความเห็นว่ายังไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ท่ียืนยันในประเด็นดังกล่าว” ข้าพเจ้าขอให้การต่อพนักงาน

สอบสวนว่า ยาลดความดันโลหิต ชื่อ Nifedipine เป็นยาที่คณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี ๒๕๔๗ ได้

มีข้อความเตือนว่าไม่ควรใช้ในการลดความดันโลหิตสูง ดังเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๖ หน้า ๖ ข้อ ๒.๖.๒

และเป็นยาที่ไม่สมเหตุผลในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๗ หน้า ข –

๑๒ ข้อ ๓.๑ นอกจากนั้นส านักงานประสานการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้ท าเอกสารทางวิชาการเรื่อง

หลักเกณฑ์และหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ไว้ด้วย โดยมีข้อมูลทาง

วิชาการที่เกี่ยวข้องกับยาลดความดันโลหิต ชื่อ Nifedipine ไว้ในหน้า ๕-๘ ข้อ ๗.๒ การคัด nifedepine

immediate release cap ออกจากบัญชี ปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๘ เอกสารดังกล่าวนี้มี

ข้อสรุปท้ายว่า “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาคัดยา nifedepine immediate release ออกจากบัญชียา

หลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของยา ตลอดจนการใช้ยาอย่างผิดวิธี และในเนื้อหา

ของบัญชีก็ได้แสดงค าเตือนไว้ในกรอบของหัวข้อของยากลุ่มนี้ว่า ยากลุ่มนี้ชนิดที่เป็น shot-acting

dihydropyridine (เช่น nifedepine immediate release) ไม่เหมาะสมในการใช้รักษา hypertension ,

hypertensive crisis และ angina pectoris เนื่องจากมียาอ่ืนที่ปลอดภัยกว่า” จากเอกสารย่อมชัดเจนว่า

มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิชาการอย่างเพียงพอที่แพทย์จะต้องพิจารณาหลีกเลี่ยงในการใช้ยา Nifedipine

เพ่ือลดความดันโลหิต ไม่ได้ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ดังที่คณะกรรมการแพทยสภาจงใจวินิจฉัยเท็จ

๒. ค าสั่งแพทยสภา หน้า ๑๒ บรรทัดที่สองจากท้าย ความว่า “ทั้งกลไกการออก

ฤทธิ์ของยาท าให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ซึ่งมีผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ มากขึ้น และ

ยา Nifedipine ยังมีข้อบ่งชี้ส าหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหลังผ่าตัดในกรณีนี้ได้” ข้าพเจ้าขอให้การต่อ

พนักงานสอบสวนว่า ยา Nifedipine มีกลไกการออกฤทธิ์ท าให้เกิดการขยายหลอดเลือดแดงขนาดเล็กจริงตาม

ข้อวินิจฉัยของแพทยสภา และเป็นปกติเมื่อหลอดเลือดขยายตัวเพ่ิมขึ้น เซลสมองที่ได้รับเลือดมาเลี้ยงบริเวณ

นั้นๆ ก็ควรได้รับเลือดมาเลี้ยงเพ่ิมขึ้น ไม่ควรขาดเลือด แต่ถ้าพิจารณาจากความเห็นจากราชวิทยาลัยอายุร

แพทย์แห่งประเทศไทย เอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๙ แผ่นที่ ๕ บรรทัดที่ ๓ ความว่า “ความเห็น :

การให้ Nifedipine (๑๐ มิลลิกรัม) ใต้ลิ้น (sublingual) น่าจะเป็นต้นเหตุให้เกิดการลดลงอย่างรวดเร็วของ

ความดันโลหิตมากถึง ๑๐๐ มิลลิเมตรปรอท systolic ในเวลา ๑ ชั่วโมงหลังได้รับยา อันอาจเป็นเหตุให้ผู้ป่วย

รายนี้เกิด Cerebral infarction ขนาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีรอยโรคในเส้นเลือดสมองที่ไปเลี้ยงบริเวณนั้นอยู่

ก่อนแล้ว ยา Nifedipine sublingual form ในปัจจุบันจึงไม่ปรากฏเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในการลดความดัน

โลหิต ในแนวทางเวชปฏิบัติต่างๆ ของการรักษาความดันโลหิตสูง” การที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่ง

ประเทศไทยให้ความเห็นว่าผู้ป่วยอาจมีรอยโรคในเส้นเลือดสมองที่ไปเลี้ยงบริเวณนั้นอยู่ก่อนแล้วนั้น ผู้ฟ้องคดี

เห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ป่วยมีอายุมาก สภาพหลอดเลือดมักจะมีการสะสมของไขมันและสารอ่ืนๆ

บริเวณผนังหลอดเลือด เมื่อนานๆเข้าก็จะท าให้ผนังหลอดเลือดหนาแข็งขึ้นจนเป็นตะกรัน เมื่อได้รับยาขยาย

หลอดเลือด Nifedipine หลอดเลือดที่มีความยืดหยุ่นดีก็จะขยายตามฤทธิ์ของยา แต่บริเวณที่หลอดเลือดที่

หนาและแข็งนั้นจะไม่ขยายตัวตามฤทธิ์ยา จึงท าให้เลือดไปกองอยู่บริเวณที่หลอดเลือดขยายตัวดีนั้นมากและ

ท าให้บริเวณหลอดเลือดที่หนาแข็งนั้นขาดเลือดเพ่ิมขึ้น จึงท าให้เซลสมองบริเวณนั้นยิ่งขาดเลือดมากขึ้น ซึ่ง

ลักษณะการขาดเลือดนี้มีบทความทางวิชาการของนายแพทย์รังสรรค์ ชัยเสวิกุล ได้เขียนไว้ในสารศิริราช

ตรงกัน ปรากฏตามเอกสารที่ส่งมาด้วย หมายเลข ๑๐ พร้อมค าแปล

๓. ค าสั่งแพทยสภา หน้า ๑๒ บรรทัดสุดท้าย ความว่า “และยา Nifedipine ยัง

มีข้อบ่งชี้ส าหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหลังผ่าตัดในกรณีนี้ได้” ข้าพเจ้าขอให้การว่าในความเห็นของ

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยก็ยังมีความเห็นประเด็นนี้ ในแผ่นที่ ๕ บรรทัดที่ ๘ ความว่า

“Nifedipine sublingual form ในปัจจุบันจึงปรากฏเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในการลดความดันโลหิต ในแนวทาง

เวชปฏิบัติต่างๆ ของการรักษาความดันโลหิตสูง”

จากข้อเท็จจริงที่ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นมากล่าวโทษคณะกรรมการแพทยสภาทั้งปวงนี้ ย่อมแสดง

ให้เห็นถึงเจตนาของคณะกรรมการแพทยสภาอย่างชัดเจนว่ามีความจงใจที่จะพิจารณาวินิจฉัยไม่อยู่ในกรอบ

ของกฎหมายที่ต้องให้ความเป็นธรรมต่อคู่กรณี จงใจปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต

จนท าให้เกิดความเสียหายต่อคู่กรณีโดยไม่ย ากรงต่อกฎหมายอาญา ข้าพเจ้าจึงขอให้พนักงานสอบสวนเรียก

คณะกรรมการแพทยสภาผู้กระท าความผิดมาให้การ แจ้งข้อกล่าวหา และด าเนินการใดๆ ตามกรอบของ

กฎหมายต่อไป

จึงเรียนมาเพ่ือโปรดพิจารณาด าเนินการ

(นายไพรัช ด ารงกิจถาวร) ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ