unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai

Post on 08-Jun-2015

413 Views

Category:

Documents

1 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

พฒันาการทางสงัคมและวฒันธรรมไทย

สมยัก่อนประวตัศิาสตร ์จนถึงสมยัสุโขทยั

วัตถุประสงค์

1. นักศึกษาสามารถอธิบายพัฒนาการของการก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยได้

2. นักศึกษาสามารถบอกปัจจัยที่ส่งผลต่อความเจริญทางสังคมของไทยสมัยสุโขทัยได้

3. นักศึกษาสามารถอธิบายเหตุการณ์ส าคัญหรือภูมิปัญญาสังคมในประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัยได้อย่างน้อย 2 เรื่อง

สมยัก่อนประวตัศิาสตรใ์นประเทศไทย

การขุดค้นทางโบราณคดีท าให้พบหลักฐานส าคัญที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเคยเป็นแหล่งอาศัยของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ยุคหินเก่า และสิ้นสุดลงเมื่อประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว แหล่งโบราณคดีส าคัญได้แก่แหล่งโบราณคดีอ าเภอแม่ทะ จ.ล าปาง แหล่งฯ บ้านเชียง จ.อุดรธานี แหล่งฯ ถ้ าผีแมน จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ณ ดินแดนประเทศไทยปรากฏรัฐที่ต่อมาได้กลายศูนย์กลางความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมขึ้นหลายแห่ง เช่น ทวารวดี (Dvaravati)พุทธศตวรรษที่ 12-16, ลพบุรี ในภาคใต้ ได้แก่ ตามพรลิ งค์ ในภ าค เ หนื อ ไ ด้ แ ก่ ห ริ ภุ ญ ชั ย เป็นต้น

อาณาจกัรโบราณในบริเวณประเทศไทย

การติดต่อทางการค้าทางทะเล กับอู่ของอารยธรรมของโลก ได้แก่ อินเดีย โรมัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 9-10 โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งเป็นตะวันออก เป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้บ้านเมืองใหญ่น้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพัฒนาการทางสังคมอย่างรวดเร็วโดยรับวัฒนธรรมจากแหล่งที่มีความเจริญสูงกว่า

การเติบโตทางการค้าและพัฒนาการของบ้านเมือง

เมื่อวัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมลงอิทธิพลเขมรเข้ามา มีอ านาจมากขึ้นและคงอิทธิพลอยู่จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่18-19 ในช่วงนี้กลุ่มชนที่เรียกตนเองว่า “ไท” (คือชนกลุ่มที่มีการใช้ภาษาตระกูลไทร่วมกัน) เ ริ่ ม รวมกลุ่ มและมี อ านาจเข้มแข็งขึ้น

การปรากฏตวัข้ึนของกลุม่คน “ไท”

พุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไทซึ่งอาจอพยพมาจากถิ่นอื่นนานแล้วและเข้าปะปนกับคนพื้นเมืองเดิม ได้ตั้งถิ่นฐานและขยายตัวเป็นนครรัฐและเข้มแข็งจนสามารถขับไล่อิทธิพลของเขมรออกไปได้ส าเร็จ

การตัง้ถ่ินฐานของกลุม่คน “ไท”

อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่ส่งผลต่อพัฒนาการของการขยายตัวของแว่นแคว้นใน SEA

พุทธศตวรรษที่ 18-19 ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพัฒนาการจากชุมชนและนครรัฐเป็นอาณาจักร โดยรับระบบการปกครองและความเชื่อทางศาสนาจ า กอิ น เ ดี ย ใ น ลั กษณะผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมดั้งเดิม มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและระบบการปกครองท่ีมีเอกภาพร่วมกัน

อิทธิพลวฒันธรรมอินเดียตอ่การขยายตวัของอาณาจกัร

อาณาจักรสุโขทัย

การรวมตัวของกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตะกูล “ไท” ท าให้เกิดความเป็นเอกภาพและความรู้สึกนึกคิดร่วมกัน เกิดวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นของตนเองที่แตกต่างจากวัฒนธรรมอื่นๆ (มอญ-เขมร) ดังนั้นตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นมาจึงมีการเรียกว่า สมัยไท (ย)

การสถาปนาอาณาจักรของคนเชื้อสาย “ไท”

จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 คนเชื้อสายไท ได้รวมตัวเป็นบ้านเมืองที่มั่นคงหลายแห่ง เช่น นครไทย สองแคว ทุ่งยั้ง สุโขทัย ศรีสัชนาลัย หลักฐานทางโบราณคดีท าให้ทราบว่าอาณาเขตของสุโขทัยมีขอบเขตวัฒนธรรมกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางและบางส่วนของภาคอีสาน ของไทยในปัจจุบัน

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าบ ริ เ วณที่ เ ค ย เป็ นอ าณาจั ก รสุโขทัยนั้น มีร่องรอยการอยู่อาศัยข อ ง ชุ ม ช น โ บ ร า ณ ม า ตั้ ง แ ต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว

จนในราว พศต.ที่ 16 - 17เขมรได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยาและมีอ านาจครอบคลุมมาถึงเมืองสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย (Kingdom of Sukhothai)

พุทธศตวรรษที่ 17-18 อาณาจักรต่างๆ เจริญรุ่งเรืองขึ้นจากการค้ากับอินเดีย จีน และเปอร์เซีย ตลอดจนการค้ากับอาณาจักรใกล้เคียง เช่น พุกาม และรัฐในลุ่มน้ าเจ้าพระยา ผลของการติดต่อท าให้เกิดบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าขึ้นหลายแห่ง และยังส่งผลถึงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจและการเมืองของแคว้นสุโขทัยอีกด้วย

ศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนล่างของภาคเหนือหรือตอนบนของที่ราบลุ่มใหญ่ภาคกลาง หัวเมืองส าคัญได้แก่ เมืองก าแพงเพชร ควบคุมเส้นทางแม่น้ าปิง เมืองพิษณุโลก คุมเส้นทางแม่น้ าน่าน และ เมืองศรีสัชนาลัยควบคุมเส้นทางแม่น้ ายม

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย (Sukhothai)

ราว พ.ศ.1792 ผู้น าไท คือ พ่อขุนผาเมือง และพ่อขุนบางกลางหาว ได้ขับไล่อิทธิพลเขมรออกจากลุ่ มน้ า ยม (สุ โ ขทั ย , เชลียง) ได้ส าเร็จ และสถาปนาพ่อขุนบางกลางหาว ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งศรีสัชนาลัยสุโขทัย ท ร ง พ ร ะ น า ม ว่ า พ่ อ ขุ น ศ รีอินทราทิย์ (ต้นราชวงศ์พระร่วง)

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ให้ข้อมูลสมัยพ่อขุนรามค าแหงฯ ว่าสุโขทัยความมีความเป็นปึกแผ่น มีระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน ในลักษณะบิดาปกครองบุตร (แม้ว่าสังคมเป็นแบบแบบเจ้าและไพร่) ราษฎรมีสิทธิและเ ส รี ภ า พ ใ น ก า ร ด า เ นิ น ชี วิ ตพอสมควร มีการใช้กฎหมาย ในการจัดระเบียบทางสังคม

สภาพสังคมและการปกครองอาณาจักรสุโขทัย

พระมหากษตัรยิสุ์โขทยัทรงพิจารณาอรรถคดีทรงพิพากษาและ

ตดัสินคดีความตา่งๆ ดว้ยพระองคเ์อง

สภาพทางเศรษฐกิจสมยัสุโขทยั

สมัยสุโขทัยมีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดังค ากล่าวที่ว่า “ในน้ ามีปลา ในนามีข้าว” ความที่ตั้งของที่ตั้งบริเวณลุ่มแม่น้ ายม และระบบจัดการน้ าที่มีประสิทธิภาพมีแหล่งกักเก็บที่เรียกว่า สรีดภงส์ ราษฎรจึงมีน้ าอุปโภคบริโภคและท าการเกษตรได้ตลอดทั้งปี

ศิลาจารึกให้ข้อมูลพืชผลทางการเกษตรไว้ ดังนี้ “ป่าหมาก ป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลาง ก็หลายในเมืองนี้..ใครสร้างได้ไว้แก่มัน”

สภาพทางเศรษฐกิจสมยัสุโขทยั (ตอ่)

สุโขทัยมีตลาดส าหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เรียกว่าปสาน โดยพระมหากษัตริย์สนับสนุนการค้าขาย คือ การยกเว้นการเก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จังกอบ” (จกอบ) ดังจารึกที่ว่า“เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปเค้าขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าม้า ค้า ใครใคร่ค้าช้าง ค้า”

ประกอบกับความเจริญของเส้นทางการค้าทางบก และการค้าที่ค่อนข้างเสรีจากนโยบายของรัฐท าให้สุโขทัยเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างรัฐทั้งจากอินเดีย จีน และบริเวณใกล้เคียง

สภาพทางเศรษฐกิจสมยัสุโขทยั (ตอ่)

การค้าสมัยสุโขทัยใช้เส้นทางการค้าส าคัญ ทางจากกรุงสุโขทัย ผ่านก าแพงเพชร ตาก ไปยังเมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองท่า เป็นที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับพ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซียและอาหรับและเส้นทางจากสุโขทัยสู่อ่าวไทย โดยล่องเรือผ่านแม่น้ าเจ้าประยา และล าน้ าสาขาต่ างๆ ใช้ติดต่อค้ าขายกับพ่อค้ าจีน มลายู อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

สินค้าส่งออกได้แก่เครื่องสังคโลก ผลิตผลทางการเกษตร ของป่า เช่น ครั่ง ก ายาน ยางรัก หนังสัตว์ ไม้ฝาง ไม้กฤษณา ส่วนสินค้าขาเข้าได้แก่ ผ้าแพร ผ้าไหม เครื่องเหล็ก และอาวุธต่างๆ

วัฒนธรรมสุโขทัย ต้นก าเนิดวัฒนธรรมไทย สั งคมสุ โขทัยได้สร้ างแบบแผนการด า เนินชีวิตและ

วัฒนธรรมไว้มากมาย ทั้งการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย วรรณกรรม ประเพณี ดนตรี จิตรกรรมประติมากรรมและ สถาปัตยกรรม ดังนี้ ตัวอักษรไทย ศิลาจารึกหลักที่ 1 ให้ข้อมูลสมัยพ่อขุนรามค าแหงตอนหนึ่งว่า “ …1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามค าแหง หาใคร่ใจในแลใส่ลายสือไทยนี้ จึ่งมีเพื่อขุนผุ้นั่นใส่ไว้…” จึงเป็นที่เชื่อกันว่าพ่อขุนรามค าแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทย พ.ศ. 1826 เป็นอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในประเทศไทยและใช้มาจวบจนปัจจุบัน

วัฒนธรรมสุโขทัย ต้นก าเนิดวัฒนธรรมไทย (ต่อ)

วรรณกรรมสุโขทัยนับเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยสุโขทัยและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ศิลาจารึก (ให้ข้อมูลทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอื่น ๆ), ไตรภูมิพระร่วง (เป็นวรรณกรรมทางศาสนาสั่งสอนเกี่ยวกับความดีความชั่ว), สุภาษิตพระร่วง (คติธรรมสอนเรื่องการด าเนินชีวิต), ต ารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (ขนบธรรมเนียมประเพณีของราชส านัก และกิริยามารยาทของฝ่ายใน) เป็นต้น

วัฒนธรรมสุโขทัย ต้นก าเนิดวัฒนธรรมไทย (ต่อ)

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีและการฟ้อนร าที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยการร้องร าท าเพลง และการแสดงฟ้อนร าว่า “…เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานดมบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์เสียงพินเสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น ใครจักมักหัว ใครจักมักเลื่อนเลื่อน…” เชื่อกันว่าในสมัยสุโขทัยมีทั้งการร้องและการขับ ซึ่งเพลงที่น่าจะเป็นเพลงสมัยสุ โขทัย คือ เพลงเทพ เพลงเทพทอง (นักศึกษาสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก VDO ประกอบค าบรรยาย)

วัฒนธรรมสุโขทัย ต้นก าเนิดวัฒนธรรมไทย (ต่อ) สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย ที่โดดเด่น ได้แก่ เจดีย์ทรง

ดอกบัวตูมแบบวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นแบบเจดีย์ทรงดอกบัวแบบสุโขทัยแท้ ตั้งอยู่บนฐานเขียง เหนือฐานบัวลูกแก้วเป็นแท่นแว่นฟ้าย่อเหลี่ยม แท่นแว่นฟ้ารับเรือนธาตุ ต่อจากเรือนธาตุเป็นยอดที่เป็นดอกบัวตูม

ศาสนาและความเชื่อสมัยดั้ ง เดิมชาวสุ โขทัย มี

ความเชื่อเกี่ยวกับผีและวิญญาณบรรพบุรุษ ต่อมารับลัทธิพราหมณ์ และนับถือ พระพุทธศาสนา ควบคู่ไปกับความเชื่อเดิม

แม้ว่ากาลต่อมาจะได้รับคติทางพระพุทธศาสนาแล้ว แต่สังคมสุโขทัยยังคงนับถือผี และเทพยดาประจ าเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงต้องจัดให้มีพิธีการสังเวยบูชาเป็นประจ า

สรุป กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็น

เวลาราว 200 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1780 – พ.ศ. 1981 จนถึง พ.ศ. 1983 กลุ่มคนไทบริเวณลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยาได้รวมตัวกันสถาปนาอาณาจักรใหม่มีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง และมีผู้น าที่เข้มแข็งท าให้สามารถยึดครองสุโขทัยได้ในปี พ.ศ.1981 แม้ว่าอ านาจทางการเมืองของสุโขทัยจะสิ้นสุดลง หากแต่ความเจริญทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมก็ได้ถูกส่งผ่านจากอดีต เป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนเชื้อสายไทตลอดมาไม่ขาดสาย

ค าถามท้ายบท1. เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาเรื่องนี้แล้ว เห็นถึงพัฒนาการของกลุ่ม

คนในดินแดนไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงการรวบรวมอาณาจักรอย่างไร จงอธิบาย

2. บทเรียนนี้นักศึกษาได้เรียนรู้วัฒนธรรมความเจริญของอาณาจักรสุโขทัยในหลายด้าน ให้นักศึกษายกตัวอย่างความวัฒนธรรมและภูมิปัญญาด้านต่างๆของคนในสมัยสุโขทัย ที่ยังคงเห็นได้ในปัจจุบัน และน ามาซึ่งความภาคภูมิใจในฐานะคนไทยอย่างไร

top related