“แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย...

2
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต” ปีท่ ๔ ฉบับที่ ๑๓ วันจันทร์ที่ ๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ทุนนักวิจัยแกนนำ ... 2554 ต่อหน้า 2 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติแก่ ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็น “ทุนนักวิจัย แกนนำ” ประจำปี 2554 ภายใต้ชื่อโครงการ “การศึกษาสภาวะ เหนือพันธุกรรมและจีโนมของมะเร็งและเซลล์แก่เพื่อการ ค้นพบใหม่ การตรวจกรองมะเร็งและพัฒนาการรักษาโรค โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน” จาก สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยได้เข้ารับ เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2555 เวลา 15.00 น. ศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดตั้ง “โครงการ ทุนนักวิจัยแกนนำ” ขึ้น เพื่อสนับสนุนงานวิจัย ภายใต้ 4 สาขาเทคโนโลยีหลักของ สวทช. คือ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยี โลหะและวัสดุ และ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนกลุ่มนักวิจัยที่มีความสามารถในการ วิจัยให้สามารถทุ่มเทเวลาและสติปัญญาในการ วิจัยและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ จนก่อให้เกิดการ สร้างทีมวิจัยที่มีความคล่องตัว และมีการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จะใช้เวลาการศึกษาการวิจัย 5 ปี โดยมี งบประมาณไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับปี 2554 น้ มี อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับทุน 1 คน จากผู้ได้รับทุนทั้งหมด 2 คน ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา มัธยมต้น : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. 2521 มัธยมปลาย : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. 2523 อุดมศึกษา : แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 Doctor of Philosophy Human and Molecular Genetics พ.ศ. 2536 Baylor College of Meedicine, Houston, Texas, USA. ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2540 รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2541 ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชา “กายวิภาคศาสตร์” (ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547) พ.ศ. 2547

Upload: others

Post on 10-Jun-2020

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชน ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year4/04-13.pdf ·

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม”

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “บริการประทับใจ รับใช้ชาวประชา ก้าวหน้าวิชาการ บริหารงานดีเด่น เน้นคุณภาพชีวิต”

ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑๓ วันจันทร์ที่ ๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕

ทุนนักวิจัยแกนนำ ... 2554

ต่อหน้า 2

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติแก่ ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับคัดเลือกให้เป็น “ทุนนักวิจัยแกนนำ” ประจำปี 2554 ภายใต้ชื่อโครงการ “การศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมและจีโนมของมะเร็งและเซลล์แก่เพื่อการ ค้นพบใหม่ การตรวจกรองมะเร็งและพัฒนาการรักษาโรค โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน” จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยได้เข้ารับ เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม 2555 เวลา 15.00 น. ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดตั้ง “โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ” ขึ้น เพื่อสนับสนุนงานวิจัยภายใต้ 4 สาขาเทคโนโลยีหลักของ สวทช. คือ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ และ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกลุ่มนักวิจัยที่มีความสามารถในการวิจัยให้สามารถทุ่มเทเวลาและสติปัญญาในการวิจัยและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ จนก่อให้เกิดการสร้างทีมวิจัยที่มีความคล่องตัว และมีการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จะใช้เวลาการศึกษาการวิจัย 5 ปี โดยมี งบประมาณไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับปี 2554 นี้ มี อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับทุน 1 คน จากผู้ได้รับทุนทั้งหมด 2 คน

ศ.นพ.ดร.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา มัธยมต้น : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. 2521 มัธยมปลาย : โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พ.ศ. 2523 อุดมศึกษา : แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 Doctor of Philosophy Human and Molecular Genetics พ.ศ. 2536 Baylor College of Meedicine, Houston, Texas, USA. ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2540 รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2541 ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชา “กายวิภาคศาสตร์” (ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547) พ.ศ. 2547

Page 2: “แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชน ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year4/04-13.pdf ·

ศูนย์ประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 1873 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected], [email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/prmdcu.pr http://www.twitter.com/prmdcu

รางวัล “ Dr. Rana Parkinson’s Community Service ” ... 2554

“ หัวหน้าภาควิชา ” ... ใหม่

รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับรางวัล “Dr.Rana International Parkinson’s Community Service Award 2011” จาก คณะกรรมการ World Parkinson’s Disease Education ใน วันพาร์กินสันโลก ตรงกับวันที่ 11 เมษายน ของทุกปี ซึ่งจัดโดย World Parkinson’s Education Program ชื่อของรางวัลได้ตั้งตามชื่อของ Dr.Abdul Qayyum Rana ผู้ก่อตั้ง World Parkinson’s Education Program รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ เป็น หนึ่งใน 11 คน ที่ได้รับรางวัล “Dr.Rana International Parkinson’s Community Service Award 2011” จากทั่วโลก ซึ่งได้รับการพิจารณาจากความเป็นผู้นำที่โดดเด่นที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ให้การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันกว่า 3,000 คนจากทั่วประเทศ และเป็น หัวหน้าโครงการลงทะเบียนผู้ป่วยพาร์กินสันในประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพ

ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ หัวหน้าภาควิชา “วิสัญญีวิทยา” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่ อาทิตย์ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

การศึกษา มัธยมต้น : โรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2518 มัธยมปลาย : โรงเรียนเซนต์คาเบรียล พ.ศ. 2520 อุดมศึกษา : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) พ.ศ. 2525 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 34) พ.ศ. 2527 วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2533 สาขาวิสัญญีวิทยา แพทยสภา Fellow in Anesthesiology (Anesthesia for Laparoscopic Surgery พ.ศ. 2535 and Application of Fiberoptic Bronchoscopy) Japanese Council for Medical Training Toranomon Hospital วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2542

ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ พ.ศ. 2531 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2537 รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2541 ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชา “วิสัญญีวิทยา” (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555) พ.ศ. 2551

รางวัล รางวัล “ผลงานวิจัยชนะเลิศ” ปี 2544 เรื่อง Ondansetron for treatment of intrathecal morphine induced pruritus after cesarean delivery ของ ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ แห่งประเทศไทย รางวัล “ผลงานวิจัยชนะเลิศ” ปี 2545 เรื่อง Nalbuphine vs propofol for treatment of intrathecal morphine-induced pruritus after cesarean delivery ของ ราชวิทยาลัย วิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย รางวัล “ผลงานวิจัยดี” ปี 2546 เรื่อง Nalbuphine versus ondansetron for prevention of intrathecal morphine induced pruritus after cesarean delivery ของ กองทุน รัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัล “วิจัยนานาชาติ President Prize” ปี 2546 เรื่อง Ondansetron for treatment of intrathecal morphine induced pruritus after cesarean delivery ของ สมาคมแพทย์ สูตินรีเวชแห่งประเทศญี่ปุ่น รางวัล “วิจัยนานาชาติ Best Poster Award” ปี 2546 เรื่อง Comparison of efficacy between nalbuphine, tramadol, and ondansetron in treatment of postanesthetic shivering after intrathecal morphine for cesarean delivery ของ Asianic-Oceanic Society of Regional Anesthesia and Pain Medicine รางวัล “ผลงานวิจัยดี” ปี 2548 เรื่อง การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทย ของ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัล “เผยแพร่ผลงานวิจัยดีเด่น” กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2549 รางวัล “อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน” สาขา วิทยาศาสตร์สุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัล “วิจัยนานาชาติ Best Poster Award” ปี 2550 เรื่อง The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of Morbidity after Spinal Anesthesia : A Multi-centered Registry of 40,271 Anesthetics จาก Asianic-Oceanic Society of Regional Anesthesia and Pain Medicine รางวัล “ผลงานวิจัยระดับดี” ปี 2553 เรื่อง โครงการวิจัยร่วมสห สถาบัน : การเฝ้าระวังภาวะ แทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยและการค้นหาปัจจัยเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวทางป้องกัน เชิงระบบ ของ สภาวิจัยแห่งชาติ

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อำนวยการ สภากาชาดไทย

ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มเมื่อสามปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาความชุกของโรคพาร์กินสัน จากการศึกษาพบผู้ป่วยพาร์กินสันประมาณ 70,000 รายทั่วประเทศ แม้ว่าส่วนใหญ่โรคพาร์กินสันจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 55 ปีแต่สามารถพบในวัยหนุ่มสาวเช่นกัน โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญเสียของเซลล์สมองที่ผลิตโดปามีน อาการที่สำคัญของพาร์กินสัน ได้แก่ อาการเคลื่อนไหวช้าในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาการสั่นซึ่งมักจะเริ่มที่ ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายในมือ แขนหรือขา ขณะอยู่เฉย อาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปัญหาในการทรงตัว, ปัญหาการเดินติดขัด แม้ว่าโรคพาร์กินสันอาจจะเป็นโรค ที่ซับซ้อน แต่เราสามารถควบคุมอาการพาร์กินสันได้ด้วยการรับประทานยา และปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ มีหลักฐานการศึกษาแสดงว่า การรักษาโรคพาร์กินสันตั้งแต่เริ่มต้นนั้นมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการพาร์กินสันให้ดีขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้น และช่วยให้มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ดังนั้น ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันฯ จึงได้เน้นถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ รวมถึงการส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสันแก่ แพทย์ และ ผู้ป่วย

รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การศึกษา มัธยมต้น : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม พ.ศ. 2527 มัธยมปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พ.ศ. 2530 อุดมศึกษา : แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 43) พ.ศ. 2537 MRCP (UK) Royal Collage of Physicians of London พ.ศ. 2541 MRCPI Royal Collage of Physicians of Ireland พ.ศ. 2541 Diploma in Geriatric Medicine (DGM) Royal Collage พ.ศ. 2541 of Physicians and Surgeons of Glasgow Certified, American Board of Psychiatry and Neurology พ.ศ. 2547 หนังสืออนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการ พ.ศ. 2549 ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาประสาทวิทยา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ พ.ศ. 2548 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พ.ศ. 2548 รองศาสตราจารย์ พ.ศ. 2550