contentsawasdeeactuary.com/document/sawasdee_actuary15.pdf · 002 content hello from editor!...

28

Upload: vuliem

Post on 23-Jul-2018

217 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

002

CONTENT

Hello from Editor!

พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) -- บรรณาธิการ และ SOA Ambassador สาขาประเทศไทย

สวัสดีครับกลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้องกับการปรับปรุงใหม่ที่เพิ่มจำนวนหน้าและจำนวนฉบับที่ตีพิมพ์กันมากขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงแนวคิดและหลักการของการประกันภัยกันอย่างทั่วถึงครับและที่น่ายินดีไปกว่าก็คือการที่แอบทราบมาว่าเมื่อเร็วๆนี้อาชีพแอคชัวรีได้มีการถูกจัดอันดับให้เป็นอาชีพยอดนิยมอันดับที่1ของอเมริกาไปแล้วทำให้มีผู้อ่านเขียนมาถามถึงข้อมูลของอาชีพแอคชัวรีกันเป็นจำนวนมาก เนื้อหาของฉบับนี้ก็เริ่มกันที่เรื่องที่น่าสนใจกับการพัฒนาแบบประกันภัยแบบกว้างๆในมุมมองของแอคชัวรีกันไม่ว่าจะเป็นกระบวนการพัฒนาแบบประกันจนกระทั่งถึงการตั้งราคาสินค้าหรือที่เรียกกันว่าการคิดคำนวณเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมและมุมมองของคำว่า“กำไร”ที่แตกต่างจากธุรกิจอื่นๆซึ่งเชื่อว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตามไม่น้อยเลยสำหรับผู้อ่านทั่วไปที่สนใจอยากจะรับรู้ถึงแนวคิดอันนี้ขอเชิญเปิดไปอ่านกันที่หน้า4กันได้เลยครับ และส่วนที่อยากจะเสริมความรู้ในฉบับนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับ“การประกันภัยต่อ”ที่หลายต่อหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำนี้เราก็เลยหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังในภาษาง่ายๆสไตล์“สวัสดีแอคชัวรี” จากนั้นเราก็มาเก็บตกเหตุการณ์ที่ผ่านมาในไตรมาสที่แล้วว่ามีงานสัมมนาที่น่าสนใจอะไรบ้างแอคชัวรีของเราก็ได้ไปเข้าร่วมกับเค้าเหมือนกันไม่ว่า

จะเป็นงานสัปดาห์ประกันภัยแห่งชาติงานประชุมแอคชัวรีในแถบเอเชียตะวันออกที่จัดขึ้นที่ เกาหลีงานสัมมนาวิชาการของประกันวินาศภัยและสุดท้ายก็คืองานชุมนุมแอคชัวรีไทยประจำปี2552ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่2 และแล้วคราวนี้เราก็มาคลอดคอลัมน์ใหม่ที่ชื่อเป็นไทยว่า“คุยกับแอคชัวรี”ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ส่งคำถามเข้ามาเพราะแอคชัวรีของเราจะพยายามไปควานหาคำตอบมาให้ได้เพื่อเอาใจผู้อ่านทุกระดับกันส่วนการ“สัมภาษณ์แอคชัวรี”ก็ยังมีแถมมาที่ฉบับนี้เหมือนเคย ส่วนที่ขาดไม่ได้ในฉบับนี้ก็คือคอลัมน์BeanActuaryที่รวบรวมข้อมูลของการสอบและเส้นทางสู่การเป็นแอคชัวรี ก่อนที่ เ ราจะปิดฉบับลงด้วยEntertainmentที่มีปัญหาจากแอคชัวรีมาให้ผู้อ่านทั่วไปมาขบคิดกันเช่นเคยครับ ถ้าอ่านดูแล้วจะเห็นได้ว่าเนื้อหาฉบับนี้จะดูสบายๆและอ่านได้ง่ายๆสำหรับคนทั่วไปทางทีมงานจะพยายามเลือกสรรหัวข้อที่น่าสนใจให้นำมาเขียนลงอยู่เรื่อยๆกับผู้อ่าน“สวัสดีแอคชัวรี”และถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำก็สามารถเขียนมาติชมได้เสมอครับ สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่รวบรวมสวัสดีแอคชัวรีตั้งแต่ฉบับแรกได้ที่www.sawasdeeactuary.com

1.บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องราวที่แอคชัวรีคนไทยเขียนขึ้นมาเพื่อเล่าสู่กันฟังไม่ว่าจะเป็นคนที่ทำงานร่วมกับแอคชัวรีผูบ้รหิารหรอืพนกังานในธุรกิจประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย2.คนทีส่นใจหรอืเกีย่วขอ้งกบัแอคชวัรีไมว่า่จะเปน็นกัเรยีนนกัศกึษาอาจารย์หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปที่สนใจในอาชีพแอคชัวรี3.ผู้ที่กำลังสอบหลักสูตรของแอคชัวรีระดับสากลจากSocietyofActuaries(SOA)ของอเมริกา4.แอคชัวรีคนไทยที่ทำงานอยู่ในองค์กรต่างๆ

“สวัสดีแอคชัวรี”เป็นวารสารที่ทำขึ้นมาโดยแอคชัวรีที่เป็นคนไทยเพื่อมุ่งส่งเสริมคนไทยในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแอคชัวรีในแง่มุมต่างๆดังต่อไปนี้ 1.เป็นสื่อที่รวบรวมองค์ความรู้และประสบการณ์ของแอคชัวรีให้กับคนที่สนใจทั่วไปโดยมุ่งเน้นให้กับคนที่ไม่ได้เป็นแอคชัวรีได้อ่านกัน 2.เป็นศูนย์กลางในการรวมกลุ่มติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของคนไทยที่เป็นนักเรียนอาจารย์นักวิชาการตลอดจนคนที่ทำงานในองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแอคชัวรีเข้าด้วยกันทั้งนี้ยังทำเพื่อเป็นแหล่งประชาสัมพันธ์ข่าวให้กับ1)SocietyofActuaries(SOA),2)SocietyofActuariesofThailand(SOAT),และ3)InsurancePremiumRatingBureau(IPRB)อีกด้วย

ทีมงานในฉบับน้ี

กลุ่มคนอ่าน

วัตถุประสงค์

CONTENT ฉบับที่ 15/2553

พิเชฐเจียรมณีทวีสินFSA,FRMสุชินพงษ์พึ่งพิทักษ์FSAสุทีมภัทรมาลัยFSAอิฏฐ์อภิรักษ์ติวงศ์FSAธนิตาอนุสนธิ์อดิสัย,ASAกมลพรรณสุดโททอง

วันวิสามีทองมูลศิริอำไพธรรมวิถีณัฐพลวงศ์รัตนวิจิตรปุณยวีร์นภาลัยอาทิตยานาวาเจริญยลรดีเลิศประเสริฐพันธ์

สุดารัตน์ อาภาศิริกุลธัญลักษณ์ ศรีงามบุษยาศจี พ่วงเงินขวัญทิพย์ นิรุตติรักษ์ทักษพร วีระพัฒนาพัทธนันท์ วณิชปรีชากุล

20 Actuarial Talk 22 Interview an Actuary 23 Exam Update (FAP) 24 Be an Actuary 26 Entertainment

04 Food for Thought : Product Development 09 Basic Knowledge : Reinsurance 12 Insurance Day 14 East Asian Actuarial Conference 16 Non Life Forum 18 Thai Actuarial Gathering 2009

004

หลายคนคงเคยได้ยินกฎของช่างไม้ (ผมชอบใช้คำนี้อยู่ประจำเวลาสอนหนังสือ) ที่กล่าวถึงการทำงานของช่างไม้ว่าเวลาจะตัดไม้ ต้องวัดขนาดไม้ให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาในภายหลัง เพราะโดยปกติแล้วช่างไม้ที่ดจีะ “วัดสองครั้ง ตัดครั้งเดียว” เพราะเมื่อตัดไปแล้วก็คงจะแก้ไขอะไรไม่ได้ง่ายๆ เลย

โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) FSA, FRM

บางมุมมองที่ให้แง่คิดกับการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย (Food for thought of product development)

005

และถ้านำมาเปรียบเทียบกับชีวิตการทำงานจริงแล้วก็เปรียบเสมือนกับการที่บริษัทประกันภัยได้พัฒนาออกแบบอะไรขึ้นมาสักอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำรายงานสถิติประกันภัยการออกแบบประกันภัยจนกระทั่งถึงระบบการจัดการของบริษัทถ้าทำออกมาไม่ถูกต้องหรือไม่สำเร็จตั้งแต่ต้นแล้วการจะมาแก้ปัญหากันในภายหลังนั้นคงจะเป็นเรื่องที่ยากน่าดู ถ้าเช่นนั้นแล้วในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ดีในมุมมองของแอคชัวรีกันดูบ้างครับ เ ริ่ มด้ วยกร ะบวนการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์กันเลย คงต้องขอกล่าวอย่างย่อๆเพื่อให้เห็นภาพกว้างๆกันก่อนซึ่งเมื่อพูดถึงกระบวนการต่างๆก็คงหนีไม่พ้นการออกแบบและระดมความคิดกันเป็นอันดับแรกว่าสินค้าตัวนี้จะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนกับแต่ละไอเดียที่ช่วยระดมความคิดกันออกมา พอมาถึงขั้นนี้แล้วไอเดียที่ได้รับการคัดเลือกว่าเจ๋งแน่ๆก็จะถูกนำมากลั่นกรองและพูดคุยกับทีมงานแอคชัวรีเพื่อช่วยกันออกแบบปรับปรุงเพื่อให้สินค้าออกมาเป็นรูปเป็นร่างที่เหมาะสมในจุดนี้ก็จะต้องมีการตั้ งราคาสินค้าให้ เหมาะสมควบคู่กันไปด้วยซึ่ งก็หมายความว่าสินค้าจะต้องสามารถขายได้แล้วถ้าขายได้แล้วบริษัทจะต้องไม่ขาดทุน(หรือจ่ายเงินคืนให้กับลูกค้าได้ครบถ้วน)

พอรูปร่างหน้าตาสินค้าในกระดาษเสร็จเรี ยบร้อยแล้ ว ก็ จะ เริ่ มขออนุมัติ จ ากฝ่ ายต่ า งๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นความเห็นชอบของสำนักงานใหญ่หรือผู้ถือหุ้นเป็นต้นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสินค้าเป็นแบบประกันภัยแล้วล่ะก็สินค้าเหล่านั้นจะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)เสียก่อนเพราะว่าสินค้าที่ เป็นแบบประกันภัยนั้นเป็นสินค้าที่ซับซ้อนและยากต่อการทำความเข้าใจของผู้บริโภคแถมการประกันภัยยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับทรัพย์สินและคุณภาพความเป็นอยู่ของสังคมอีกต่างหากจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญมากในการจะออกแบบประกันภัยแบบหนึ่งให้ออกมาขายได้(เปรียบเสมือนกับการจะขายผลิตภัณฑ์อาหารและยาก็ต้องได้รับอนุญาตจาก“อย.”ก่อน) และเมื่อทุกอย่างลงตัวหมดแล้วก็ถึงขั้นที่จะเอาข้อมูลทุกอย่างลงระบบและเตรียมเอกสารทุกอย่างเพื่อการขายซึ่งดูเหมือนจะง่ายแต่พอลงมือกันจริงๆก็จะทราบว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลานานพอตัวเลยเพราะแอคชัวรีจะต้องคำนวณและใส่ข้อมูลทั้งหมดไว้ล่วงหน้าจนกว่ากรมธรรม์จะสิ้นสุดอายุซึ่งบางทีก็ใช้เวลากันถึง100ปีทีเดียวเช่นสัญญาความคุ้มครองชีวิตสำหรับเด็กแรกเกิดที่จะคุ้มครองตลอดชีพ

006

“ถ้ามัวแต่แก้ไปแก้มาโดยไม่คิดให้ดีๆ เสียก่อนแล้ว การจะไปให้ถึงจุดหมายอย่างมีประสิทธิภาพและปร ะสิทธิผลนั้ นคง เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง”

ส่วนก่อนที่จะเริ่มขายได้ทางบริษัทก็ต้องตรวจสอบระบบทั้งหมดว่าเรียบร้อยหรือไม่ที่จะดูแลกรมธรรม์ไปตลอดหลายๆสิบปีข้างหน้าจนกว่าจะหมดอายุของกรมธรรม์แล้วสุดท้ายก็ต้องมาคำนึงถึงเรื่องคู่มือการขายเช่นSaleIllustrationของฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายเป็นต้นแล้วยังมีอะไรที่ไม่ควรจะมองข้ามไปบ้าง นอกเหนือจากเรื่ องของแอคชัวรีที่ ต้องคำนวณและหาสมการความเหมาะสมให้ลงตัวกับทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคตัวแทนช่องทางการจัดจำหน่ายหรือแม้กระทั่งผู้ถือหุ้นก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือทักษะในการจัดการตั้งแต่เรื่องการออกแบบกันทีเดียวเพราะถึงแม้ว่าสินค้าอาจจะดูเหมือนกันก็จริงแต่กว่าที่จะออกแบบจนสามารถขายสินค้าเหล่านั้นได้ต่างหากที่จะทำให้เกิดความแตกต่างกันขึ้น “ถ้ ามั วแต่แก้ ไปแก้มา โดยไม่คิดให้ดีๆเ สี ยก่ อนแล้ ว ก า รจะ ไป ให้ ถึ ง จุ ดหมายอย่ า งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นคงเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง” การ“วัดสองครั้งตัดครั้งเดียว”จึงจำเป็นอย่ า งมากในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยเนื่องจากมีมากมายหลายขั้นตอนและในแต่ละขั้นตอน

นั้นมีความซับซ้อนอยู่ในตัวอีกทั้งยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากฝ่ายต่างๆอีกอย่าลืมกันนะครับว่าสินค้าที่กำลังจะออกแบบนั้นมีความยากอยู่ที่“ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลังจากที่ได้ขายสินค้าไปแล้ว“ซึ่งการออกแบบสินค้าทางด้านประกันชีวิตนั้นก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องทำนายอนาคตกันอุตลุตทีเดียวการตั้งราคาสินค้า (เบี้ยประกันภัย) เคยออกแบบและปรับเปลี่ยนเบี้ยประกันภัยมาเป็นร้อยๆพันๆตัวแล้วเลยอยากบอกว่าการตั้งราคาสินค้านั้นเป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์จริงๆที่ว่าเป็นศาสตร์ เพราะต้องคำนวณตามหลักการของคณิตศาสตร์ประกันภัย(ซึ่งถ้าสอบผ่านเป็นเฟลโล่กันมาแล้วก็คงไม่มีปัญหา)แต่ตรงส่วนที่เป็นศิลป์นั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากบริษัทคู่แข่งซึ่งก็คือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันนั่นเอง เพราะเป้าหมายของการตั้งราคาสินค้าไม่ใช่ตั้งไว้ให้ถูกๆเพื่อให้ขายได้เยอะๆหากแต่จะต้องพิจารณาถึงองค์รวมขององค์กรด้วยว่าต้องการขายอะไรขายเพื่อใครขายอย่างไรรวมถึงขายเพื่ออะไรและโดยทั่วไปแล้วสินค้าที่ขายไปนั้นจะต้องไม่ขาดทุน(เพราะถ้า

007

ขาดทุนแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปคืนลูกค้า)ซึ่งก็ต้องมองกันตั้งแต่ต้นทุนการแข่งขันในตลาดสถานภาพทางการเงินของบริษัทผู้บริโภคคณะกำกับดูแลหรือแม้กระทั่งเงินทุนที่ต้องรองรับความเสี่ยงจากการขายสินค้าเหล่านั้น(เรียกว่าต้องมองกันตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยก็ว่าได้)สรุปง่ายๆก็คือหลักการในการกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมนั้นต้องดูที่ต้นทุนของสินค้า มีคนพูดกันอยู่เล่นๆเสมอว่า”กว่าจะรู้ว่าบริษัทจะกำไรหรือขาดทุนกันจริงๆเท่าไรก็ต้องรอกันจนกระทั่งกรมธรรม์สิ้นอายุซึ่งบางทีแอคชัวรีที่ออกแบบประกันหรือผู้บริหารของบริษัทชุดนั้นอาจจะหายตัวไปจากบริษัทหรือจากโลกนี้ไปแล้วก็ได้”ดังนั้นเราจึงจะต้องมีจรรยาบรรณและความเป็นมืออาชีพไว้ค้ำคอความเป็นแอคชัวรีของเราไว้อยู่เสมอและสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่ว่าจะประเทศไหนๆก็ตามก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากทำให้เส้นทางการเป็นแอคชัวรีนั้นต้องผ่านการสอบที่แสนจะยาวและยากมากเพื่อให้ได้คนเก่งและคนดีเข้ามาสู่ความเป็นมืออาชีพในวงการนี้ ต้นทุนของสินค้านั้นไม่ใช่พิจารณาแค่ค่าสินไหมทดแทนค่าใช้จ่ายของช่องทางการจัดจำหน่าย

และของบริษัทเท่านั้นหากแต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนของการถือเงินสำรองและเงินทุนเอาไว้เพราะถ้าถือเอาไว้มากเกินไปก็เท่ากับเสียโอกาสที่จะไปลงทุนอย่างอื่นที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าแต่การจะต้องถือเงินสำรองและเงินทุนเอาไว้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็คงต้องขึ้นกับแบบประกันแต่ละแบบและความเสี่ยงที่บริษัทรับเอาไว้ หลังจากนั้นก็ต้องมาดูว่าราคาสินค้าที่จะตั้งไว้จริงๆนั้นจะต้องสูงกว่าต้นทุนแค่ไหนเพื่อเอาส่วนต่างที่ได้มาเป็นผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทนิยามของคำว่า “กำไร” ตรงนี้เป็นจุดที่น่าสนใจมากๆสำหรับผู้อ่านทั่วไปเพราะสิ่งที่แตกต่างของบริษัทประกันชีวิตที่ไม่เ หมื อนบริ ษั ทผลิ ตสบู่ แ ล ะย าสี ฟั นก็ คื อ บริ ษั ทประกันชีวิตเป็นการทำธุรกิจที่มีพันธะระยะยาว(LongTermObligation)ดังนั้นจึงมีปัญหากันไม่น้อยที่จะนิยามคำว่า“กำไร”จากการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละปีเพราะกำไรในที่นี้อาจจะมีไม่เท่ากันทุกปีขึ้นกับปริมาณเงินสำรองและเงินทุนที่ตั้งไว้ในแต่ละปีตามหลักการของวิชาคณิตศาสตร์ประกันภัยอีกด้วย

008

ดังนั้นข้อกำหนดของการทำรายงานงบการเงินในการตั้งเงินสำรองและเงินทุนในแต่ละแบบก็จะมีผลที่ทำให้มีค่าของ“กำไร”ออกมาคนละแบบด้วยซึ่ งหมายความว่าก่อนที่จะคำนวณกำไรออกมานั้น เราจะต้องทราบถึงวิธีการคำนวณงบการเงินให้ทะลุปรุโปร่งเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่นสินค้าตัวหนึ่งได้ถูกออกแบบมาจากบริษัทAและการคำนวณก็ใช้วิธีการคำนวณแบบระบบบัญชีมาตรฐานสากลของอเมริกา(USGAAP)ซึ่งก็ปรากฎว่าได้ผลการคำนวณกำไรออกมาเป็นที่น่าพอใจแต่เมื่อบริษัทBนำสินค้าแบบเดียวกันมาขายโดยใช้วิธีการคำนวณอีกแบบหนึ่งตามมาตรฐานของยุโรปก็อาจจะให้ผลลัพธ์เป็นขาดทุนก็ได้ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่างของตัวบริษัทBเองไม่ว่าจะเป็นวิธีการลงทุนและความเสี่ยงที่บริษัทBรองรับอยู่ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ไม่ใช่ว่าการคำนวณผลกำไรจะออกมาคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องแต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับแอคชัวรีว่าเข้าใจสถานการณ์ของบริษัทและระบบมาตรฐานบัญชีในแต่ละแบบมากน้อยเพียงใดท้ายที่สุดก็คือต้องเข้าใจลักษณะความเสี่ยงหรือRiskProfileของบริษัทให้ถ่องแท้ก่อนที่จะใส่ลงไปคำนวณในโมเดลของแอคชัวรี

บทส่งท้าย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าหน้าที่หลักของแอคชัวรีในการออกแแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และตั้งราคาสินค้านั้นไม่ใช่เป็นแค่การคำนวณอย่างเดียว(หรือที่เรียกกันว่าMechanicalPricingที่ก้มหน้าก้มตาคั้นเอาตัวเลขออกมากันอย่างหน้ามืดตามัว)เนื่องจากสมัยนี้มีเครื่องมือมารองรับการทำงานอย่างมากแอคชัวรีจึงไม่ได้เป็นแค่เครื่องคิดเลขให้กับองค์กรหากแต่เป็นคนสร้างเครื่องคิดเลขและรู้ว่าข้อจำกัดของเครื่องคิดเลขคืออะไรมีโอกาสที่จะให้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนได้หรือไม่และถ้ามีการคลาดเคลื่อนแล้วจะสามารถยอมรับค่านั้นได้หรือไม่อีกทั้งแอคชัวรีที่ดีจะต้องรู้ว่าในสภาวะแบบไหนที่เหมาะสมกับการใช้เครื่องคิดเลขได้ดีที่สุดรวมไปถึงว่าถ้าหยิบเครื่องคิดเลขมาใช้ก็ควรจะใช้แบบไหนดีพอถึงเวลาคำนวณจริงก็แค่กดปุ่ม...แต่ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นก็ต้องนำมาตีความและวิเคราะห์กันต่ออีกที “Riskisnotthebadthingaslongasweunderstandit”,don’tignoreit.ก่อนจากกันในคราวนี้อยากจะขอย้ำอีกครั้งว่าความเสี่ยงนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีที่เราควรหลีกเลี่ยงแค่ขอให้เราทำความเข้าใจกับมันให้ดีและสามารถนำไปประกอบกับการคำนวณต้นทุนของสินค้าได้สุดท้ายนี้ก็ต้องไม่ลืมการสื่อสารลักษณะความเสี่ยงที่มีอยู่ให้กับทีมงานด้วยซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะเห็นได้ว่า“RiskisOpportunity”ครับ

“Risk is not the bad thing as long as we understand it”, don’ t ignore it.

009

คำตอบก็คืออาจจะได้หรืออาจจะไม่ได้เพราะขึ้นกับวิธีการบริหารของบริษัทอยู่เหมือนกันว่าเคยคิดเตรียมพร้อมถึงเหตุการณ์เหล่านี้ไว้หรือเปล่าเพราะถ้าไม่เคยก็รับรองได้ว่าบริษัทประกันภัยคงไม่มีเงินมาจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือเงินเคลมให้กับลูกค้าแน่ๆ ปกติแล้วบริษัทเค้าเตรียมพร้อมเหตุการณ์เหล่านี้ไว้อย่างไรกันล่ะครับคำใบ้ก็คงอยู่ที่หัวข้อที่กำลังจะกล่าวต่อไปนั่นก็คือ สำหรั บคนที่ ไ ม่ เ คย ได้ ยิ นคำนี้ ม า ก่ อนหรือแทบจะเรียกได้ว่าเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่แล้วเพิ่งจะเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรกก็คงต้องขอกล่าวค ว า ม ย า ว ส า ว ค ว า ม ยื ด กั บ ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง”การประกันภัยต่อ”กันก่อนซึ่งการประกันภัยต่อนั้นมีชื่อทางสากลที่เรียกว่าReinsurance

การประกันภัยต่อหรือReinsuranceนั้นหมายถึงการที่บริษัทประกันภัยไปซื้อประกันกับบริษัทประกันภัยต่ออีกทีหนึ่งอาจด้วยเพราะบริษัทประกันภัยนั้นไม่อยากรับความเสี่ยงจากการไปขายกรมธรรม์เพื่อรับผิดชอบคุ้มครองภัยต่างๆในแต่ละกรมธรรม์มากจนเกินไปเลยต้องการกระจายความเสี่ยงออกไปให้กับบริษัทประกันภัยต่ออีกทอดหนึ่งความแตกต่างของบริษัทประกันภัยกับบริษัทประกันภัยต่อ ทั้งๆที่ดูเหมือนว่าจะเหมือนกันแต่จริงๆก็มีความแตกต่างกันในความเหมือนอันนี้ยกตัวอย่างเช่นบริษัทประกันภัยจะติดต่อตรงกับลูกค้าดูแลช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆของตัวเองซึ่งก็หมายความว่าจะต้องมีค่าคอมมิชชั่นให้กับตัวแทนหรือคนขายรวมถึงออกกรมธรรม์แต่ละฉบับให้กับลูกค้ า พิจารณา

มารู้จักการประกันภัยต่อกันเถอะ (Let’ s get to know “reinsurance”)

โดย พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน (ทอมมี่) FSA, FRM

มีบางครั้งที่มีคนสงสัยว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายๆ อย่างใดอย่ า งหนึ่ งซึ่ งทำ ให้ เ กิ ดความเสียหายมากมายมหาศาลแล้วนั้น บริษัทประกันภัยที่รับประกันความคุ้มครองนั้นๆ จะมีปัญญาไปจ่ายเงินเอาประกันนั้นๆ ได้หรือไม่

010

คงมี actuary น้อยรายจะเลือกเขียนเรื่องเกี่ยวกับ reinsurance เนื่องจากเป็นงานที่ actuary ส่วนใหญ่ให้เกรดบี เมื่อสามสี่เดือนที่แล้วผมไปประชุมที่ฮ่องกง ก่อนประชุมเค้าให้ vote งาน actuary หลักๆห้างานว่างานใดสำคัญมากที่สุด ผลปรากฎว่า reinsurance มาอันดับสุดท้ายอย่างไม่มีผลิกโผ แต่เนื่องด้วยผมจัดว่าเป็น actuary เอก valuation โท reinsurance ก็เลยขอเป็นคนส่วนน้อยเขียนเรื่อง reinsurance ลงใน Sawasdee Actuary อีกครั้งหนึ่ง

รับประกันและพิจารณาการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในแต่ละกรณีให้กับลูกค้าด้วย สำหรับบริษัทประกันภัยต่อนั้นจะเป็นบริษัทที่มีลูกค้าเป็นบริษัทประกันภัยนั่นเองหวังว่าผมคงทำให้ไม่งงกันนะครับภาษาอังกฤษวันละคำCedingcompany=insurer=insurancecompany=thecompanypassingorcedingtheriskReinsurer=thecompanyacceptingorassumingtheriskความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า บริษัทประกันภัย และบริษัทประกันภัยต่อ การประกันภัย การประกันภัยต่อลูกค้า<----------------------------------->บริษัทประกันภัย<----------------------------------->บริษัทประกันภัยต่อ

ภาษาประกันต่อวันละคำ โดย สุชิน พงษ์พึ่งพิทักษ์ FSA

สัญญาประกันต่อหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าtreatyเป็นสัญญาที่ทำบนพื้นฐานหลักการที่เรียกว่าสัญญาสุภาพบุรุษหรือgentlemenagreement(ถึงแม้ว่าคู่สัญญาจะเป็นสุภาพสตรีก็ตาม)ระหว่างบริษัทรับประกันโดยตรง(directwritingcompany)และบริษัทรับประกันต่อหลักการสัญญาสุภาพบุรุษมีนัยว่าการตีความสัญญาประกันต่อให้ดูกันที่หลักการและเจตนารมณ์ของคู่สัญญามากกว่ าที่ จะยึดถือลายลักษณ์อักษรคำต่อคำในกรณีที่เกิดมีข้อผิดพลาดโ ด ย ไ ม่ ไ ด้ ตั้ ง ใ จ เ ช่ น ถ้ า เ กิ ด พิ ม พ์ ผิ ด ต กห ล่ นหรือความหมายกำกวมคู่ สัญญาจะไม่ยึดถือข้อผิดพลาดดังกล่าวเป็นสาระสำคัญในการถือเอาประโยชน์จากคู่สัญญา

011

แต่ถึงแม้ว่าเป็นสัญญาสุภาพบุรุษเราก็ไม่ควรประมาทเลินเล่อในการพิจารณาข้อความในสัญญาอย่างรอบคอบเพราะส่วนใหญ่ปัญหาพิพาททางสัญญาจะเกิดในภาวะที่บีบคั้นเข้าตาจนเช่นถ้าเกิดมหันตภัยทำให้เกิดเคลมจำนวนมากมหาศาลทั้งบริษัทเอาประกันต่อและบริษัทรับประกันต่อจะกางสัญญาประกันต่อตีความละเอียดยิบผมเลยจะหยิบยกเอาศัพท์ที่มักพบเห็นในสัญญาประกันต่อมาไขแจ้งแถลงอธิบายกันวันละคำสองคำถ้าจะถามว่าทำไมต้องเขียนทีละคำสองคำก็เพราะว่าถ้าเขียนทีเดียวหมดเดี๋ยวจะหมดมุขไม่มีอะไรให้เขียนต่อเลยกั๊กๆเอาไว้ก่อนแล้วกัน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่าextra-contractualobligationsที่มักจะปรากฎอยู่ในสัญญาประกันต่อกันคำนี้มีความหมายว่าการชดใช้เกินกว่าภาระรับผิดชอบตามเงื่อนไขสัญญาที่บริษัทรับประกันโดยตรงมีต่อลูกค้าสัญญาประกันต่อจะพูดถึงextra-contractualobligationsในแง่การร่วมรับผิดชอบชดใช้ของบริษัทรับประกันต่อเจ้าextra-contractualobligationsนี้มักพบเห็นในสามรูปแบบต่อไปนี้ แบบแรกเรียกว่าEx-gratiaหรือเงินให้โดยเมตตาเช่นกรณีที่บริษัทรับประกันโดยตรงชนะคดีและศาลตัดสินให้ไม่ต้องชดใช้แก่ลูกค้าแต่บริษัทเลือกจะจ่ายเงินก้อนหนึ่งให้แก่ลูกค้าอาจจะเนื่องด้วยเหตุผลทางธุรกิจเจ้าเงินที่จ่ายนี้เรียกว่าex-gratiaส่วนใหญ่แล้วบริษัทรับประกันต่อจะไม่ร่วมชดใช้ex-gratiaเพราะไม่ได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจเหมือนบริษัทรับประกันโดยตรง แบบที่สองCompensatorydamagesเป็นความเสียหายที่บริษัทรับประกันโดยตรงต้องชดใช้ให้กับลูกค้าเพิ่มเติมจากผลประโยชน์ตามสัญญาอันเป็นผลมาจากการบังคับจากศาลเพื่อชดเชยความเสียหายของลูกค้าที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการฟ้องร้องเช่นกรณีที่บริษัทปฏิเสธการจ่ายเคลมทุพพลภาพทำให้ลูกค้าต้องไปฟ้องร้องศาลในระหว่างดำเนินความลูกค้าจำเป็นต้องไปกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อยังชีพถ้าศาลตัดสินให้บริษัทจ่ายชดใช้ตามสัญญาแล้วศาลสามารถที่จะสั่งให้

บริษัทชดใช้จ่ายคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแทนลูกค้าก็ได้เพราะถือว่าเงินกู้เป็นความเสียหายสืบเนื่องจากการที่บริษัทปฏิเสธจ่ายเคลมในตอนแรก แบบสุดท้ายPunitivedamagesเป็นความเสียหายที่ศาลตัดสินลงโทษปรับบริษัทรับประกันโดยตรง เพิ่ ม เติ มจากการชดใช้ต ามสัญญาหรื อCompensatorydamagesตัวPunitivedamagesจะต่างกับCompensatorydamagesตรงที่ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงกับความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นกับลูกค้าแต่จะขึ้นกับดุลยพินิจของศาลจุดประสงค์ก็เพื่อให้เกิดการหลาบจำและไม่เป็นเยี่ยงอย่างแก่บริษัทอื่นส่วนมากมักจะเป็นกรณีที่บริษัทปฏิเสธสินไหมโดยไม่มีเหตุอันควร การชดใช้extra-contractualobligationsสองแบบหลังโดยทั่วไปบริษัทรับประกันต่อจะร่วมชดใช้ถ้าการปฏิเสธและต่อสู้คดีได้รับความเห็นชอบจากบริษัทรับประกันต่อ วันนี้ . ..ขอจบภาษาประกันต่อวันละคำแต่เพียงเท่านี้.....สวัสดี

012

เรามาฟังเรื่องเล่าจากบรรยากาศในงานกันดีกว่าและขอขอบคุณFSAทั้งสองท่านที่ช่วยเขียนเรื่องย่อมาลงในครั้งนี้ครับ

สัปดาห์งานประกันภัยแห่งชาติ (Insurance Day) วันที่ 1 – 6 กันยายน 2552

เกริ่นนำจากบรรณาธิการ คนที่อยู่ ในวงการประกันภัยหรือติดตามขา่วสารของวงการนีอ้ยูเ่ปน็ประจำกค็งจะทราบวา่เรามกีารจัดงานสัปดาห์ประกันภัยแห่งชาติขึ้นทุกปีอยู่แล้วถึงแม้เรื่องจะเก่า(มาจากปีที่แล้ว)แต่ขอเอามาเล่ากันหน่อยในสวัสดีแอคชัวรีเพราะปีนี้ก็มีบรรดาแอคชัวรีที่มีคุณวุฒิFSA(FellowofSocietyofActuaries)มารว่มงานกนัในบธูของสมาคมนกัคณติศาสตรป์ระกนัภยักนัดว้ยนบัวา่เป็นโอกาสอันดีที่บรรดาแอคชัวรีได้มีโอกาสมีส่วนร่วมกิจกรรมในครั้งนี้และก็หวังว่างานที่จะจัดขึ้นอีกในปีนี้จะมโีอกาสไดเ้หน็พี่ๆ นอ้งๆมารว่มกจิกรรมกนัอกีครบั

สุทีม ภัทรมาลัย FSA

สำหรับงานวันประกันภัยแห่งชาติปีนี้มีความคึกคักเป็นพิเศษเพราะนอกจากมีการออกบูธของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัยต่างๆแล้วยังมีองค์กรอื่นๆเข้าร่วมอีกด้วยซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทย

ทางสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยนั้นได้จัดบูธที่จะโปรโมทอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในประเทศไทยพร้อมทั้งให้รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องซึ่งผมก็ได้ไปร่วมด้วยช่วยกันดึงท่านผู้สนใจเข้าบูธในวันเสาร์ที่5กันยายน2552บรรยากาศทีแรกก็มีดูเงียบๆเนื่องจากท่านผู้สนใจไม่กล้าเข้ามาในบูธเราก็เลยต้องใช้กลเม็ดเคล็ด(ไม่)ลับออกมาช่วยก็คือการแจกของรางวัลไม่ว่าจะเป็นหมวกกระเป๋าผ้าหรือเสื้อยืดที่ทางสมาคมฯได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับงานนี้โดยเฉพาะโดยการใช้เกมบวกตัวเลขอย่างง่ายๆเพื่อให้เข้าบรรยากาศกับบูธที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์นั่นเองตามด้วยการสัมภาษณ์สดคุณสุชินพงษ์พึ่งพิทักษ์2รอบรอบละประมาณ15-20นาทีโดยเพื่อนคนสนิทข้างกายของผมที่ไปช่วยในงานนี้ด้วย

นอกจากกิจกรรมต่างๆที่บูธของสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยแล้วผมก็ได้เดินชมบรรยากาศรอบๆโดยรวมถือได้ว่าคึกคักดีทีเดียวบางท่านก็ว่าที่ผู้คนมาเยอะเนื่องจากมีงานธงฟ้าและงานสมุนไพรในHallเดียวกันด้วยอันนี้ก็ต่างคนต่างคิดได้ครับสุดท้ายนี้ก็อยากฝากให้มีการจัดงานวันประกันภัยแห่งชาติต่อๆไปเพื่อสนับสนุนการประกันภัยของประเทศไทยเราให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปครับ

บรรยากาศงานวันประกันภัยแห่งชาติ วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552

013

สัปดาห์ประกันภัยจัดขึ้นจากทางค.ป.ภ.ได้เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการประกันภัยและดึงดูดประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการประกันภัยและประกันชีวิตมากขึ้นทางสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยก็เช่นกันที่เราอยากจะให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอาชีพของเราและแนวทางการที่จะก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพนี้สมาคมฯจึงได้มีการจัดตั้งบูธในงานนี้ณImpactArenaเมืองทองธานี ผมได้รับมอบหมายจากพี่สุชินให้ดูแลบูธของสมาคมในวันสุดท้ายของงานนี้ผมคงต้องขอบคุณพี่ชินที่กรุณาจัดผมลงในวันนั้นเพราะในวันนี้เองที่ผมได้พบกับเนื้อคู่ชีวิตของผม“FourMod”มาเป็นคู่เลยนะครับโฟร์มดนักร้องดูโอคู่นี้ก็สามารถสร้างสีสันในงานสัปดาห์ประกันภัยได้มากเลยทีเดียว ขณะที่ผมเดินสำรวจรอบๆงานก็ได้เห็นความคึกคักในบูธของบริษัทประกันหลายๆแห่งบริษัทแต่ละแห่งก็นำเอาสินค้ามานำเสนอชนิดที่เรียกว่าลดแลกแจกแถมกันเลยทีเดียวและเพื่อดึงดูดความสนใจของประชาชนบริษัทก็มีเกมให้ประชาชนเล่นแลกของรางวัลซึ่งบางรางวัลมีมูลค่าถึงหลายพันบาท บูธของเราก็ไม่น้อยหน้าของที่อื่นถึงเราไม่มีPrettyมาเป็นโฆษกของงานแต่เรามีActuaryแทนตัวผมเองและน้องๆพี่ๆจากIPRBก็ช่วยกันเสนอเกมเชาว์ปัญญาให้ประชาชนที่ผ่านไปมาได้ลองเล่นกันของรางวัลของเราก็ไม่น้อยหน้าใครนะครับอาทิเช่นกระเป๋าผ้ากันโลกร้อนหมวกแก็ปเสื้อยืดBeAnActuaryและรางวัลที่1ที่ประชาชนหลายๆท่านอยากได้กันมากแต่ยังไม่มีใครได้ไปคือรางวัลทานอาหารเย็นหนึ่งมื้อกับActuaryซึ่งเสียดายที่ไม่มีใครชนะรางวัลนี้ สรุปแล้วผมว่าความสำเร็จของงานนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่มาบูธของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับรางวัลที่เราแจกแต่หากเราสามารถดึงดูดให้เด็กตัวเล็กๆซักคนหนึ่งที่ชอบเรียนคณิตศาสตร์แต่ไม่รู้ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไรและไม่มีใครที่สามารถชี้นำแนวทางให้เค้าได้ถ้าเราสามารถทำให้เด็กคนนี้1คนเพียง1คนรู้สึกว่าเค้ามีทางเลือกมากขึ้นผมว่าแค่นี้ผมถือว่าเราประสบความสำเร็จแล้วครับ

บรรยากาศงานวันประกันภัยแห่งชาติ วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน 2552 อิฎฐ์ อภิรักษ์ติวงศ์ FSA

014

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่านถือเป็นครั้งแรกที่ได้เขียนบทความลงในวารสารสวัสดีแอคชัวรีและยังเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมงานสัมมนาแอคชัวรีระดับภูมิภาคเอเชีย“EastAsianActuarialConference(EAAC)”ครั้งที่15ณกรุงโซลประเทศเกาหลี(12–15ตุลาคม2552)จากการที่ได้เข้าร่วมงานจึงอยากแบ่งปันประสบการณ์ดีๆและนำเอาบรรยากาศในงานครั้งนี้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ เริ่มต้นด้วยบรรยากาศในงานที่จัดได้อย่างยิ่งใหญ่มากมีผู้ เข้ าร่วมประชุมที่ เป็นqual i f iedactuariesจากหลากหลายประเทศเช่นจีน,ฮ่องกง,แคนาดา,ญี่ปุ่น,ออสเตรเลีย,เยอรมัน,อังกฤษ,อเมริกาฯลฯมากถึง500คนรวมทั้งยังมีคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสนใจเข้าร่วมงานสัมมนาอีกด้วยเจ้าภาพในงานสัมมนาครั้งนี้คือ“TheInstituteofActuariesofKorea(IAK)”และThemeของงานคือ“DynamicChanges&ActuarialOpportunities”ดังนั้นเนื้อหาในงานจึงเข้มข้นและอัดแน่นไปด้วยวิชาการและหลักการใหม่ๆที่ทั่วโลกใช้นำมาแลกเปลี่ยนความรู้กันตารางการสัมมนาในครั้งนี้จะเป็นแบบParallelsessionโดยมี3sessionsซึ่งจัดในเวลาเดียวกันทำให้ผู้ฟังต้องเลือกหัวข้อที่สนใจจริงๆ(โดยส่วนตัวรู้สึกว่ารักพี่เสียดายน้องมากค่ะถ้าเป็นไปได้อยากจะเข้าฟังให้ครบทุกหัวข้อเลย)สำหรับเนื้อหาหลักๆจะแบ่งออกเป็น

1. Life Insurance เน้นเรื่ องของVariableAnnuityซึ่ งมีถึง2บทความจากErnst&

เก็บตกงาน East Asian Actuarial Conference ครั้งที่ 15 โดย ศิริอำไพ ธรรมวิถี (Net)

Young(HK)ที่กล่าวถึงอนาคตของVariableAnnuityในเอเชียและบทความจากBarrie+hibbertที่กล่าวถึงProjectingaMarketConsistentPricingBasisforVariableAnnuities:AnestedStochasticCaseStudyนอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจจากGenReที่นำเสนอผลกระทบต่อบริษัทประกันชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(ClimateChangeanditsimpactonlifeinsurance)

015

2. Health Insuranceมีหัวข้อที่น่าสนใจคือHealthInsuranceProductsinAsia-TowardWholeLifeCoverageจากGenRe(China)เนื้อหาคลอบคลุมตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ประกั นภั ย , ก า รกำหนดราคา , ก า รทดสอบSensitivity,ประเด็นต่างๆจากแง่มุมของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยรวมถึงการยกตัวอย่างHealthinsurancesystemในSingapore3. Risk Managementแต่ละหัวข้อที่บรรยายค่อนข้างใกล้ตัวกับคนไทยมากและสามารถนำมา

ประยุกต์ใช้ได้ตั้งแต่เรื่องSolvencyII,การเปรียบเทียบระหว่างRBCและSolvencyIIโดยมีCasestudyของประเทศสิงคโปร์เป็นตัวอย่าง,ประเด็นต่างๆในการนำเอาIFRS4มาใช้ในตลาดประกันภัยของประเทศเกาหลี,บทความเกี่ยวกับEmbeddedValue(EV)และEnterpriseRiskManagement(ERM)4. Pensionมี2บทความเด่นๆคือRetirementbenefitsinHongKongบรรยายโดยWatsonWyattและChina’sPensionsystemบรรยายโดยStirlingFinanceLimited วิทยากรที่บรรยายในแต่ละsess ionก็จะ เป็นผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทประกันภัยต่อ,บริษัทประกันชีวิตระดับแนวหน้ารวมถึงบริษัทที่ปรึกษาต่างๆเช่นWatsonWyatt,

TowersPerrin,RGA,etc.ในงานครั้งนี้เรายังมีแอคชัวรีจากประเทศไทย“คุณณัฐินีทับจินดา”เข้าร่วมบรรยายผลงานวิจัยในงานสัมมนาระดับนานาชาติครั้งนี้อีกด้วยซึ่งบทความที่บรรยายคือ“EmpiricalStudyonImpliedEquityDurationofSET50IndexThailandStocks”หากเพื่อนๆสนใจรายละเอียดของบทความนี้รวมถึงบทความอื่นๆทั้ งหมดในงานสัมมนาสามารถเข้าไปดาวน์โหลดกันได้ที่ เว็บไซด์www.eaac15th.comค่ะ หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการฟังสัมมนามาแล้วทางเจ้าภาพยังได้จัดเตรียมCityTourครึ่งวันให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาได้พักผ่อนเที่ยวชมพระราชวังสวยๆอย่างพระราชวังชางด๊อกกุงรวมถึงSeoulTowerที่เราสามารถเห็นวิวของกรุงโซลในมุมสูง360องศาสวยงามประทับใจมากค่ะและในวันสุดท้ายเจ้าภาพยังได้จัดงานเลี้ยงอำลารวมถึงมีโชว์การแสดงจากประเทศต่างๆที่เข้าร่วมสัมมนาสำหรับประเทศไทยเราได้เตรียมการแสดงที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมประเพณีของเรานั่นก็คือการแสดงรำวงลอยกระทงมีผู้เข้าร่วมสัมมนาให้ความสนใจและร่วมรำวงไปกับเราอย่างสนุกสนานและเป็นกันเองมากๆและในงานเลี้ยงนี้ยังได้มีการส่งต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งต่อไปให้กับประเทศมาเลเซียซึ่งจะจัดงานในอีก2ปีข้างหน้า และสุดท้ายนี้หวังว่าจะมีแอคชัวรีจากประเทศไทยเข้าร่วมงานสัมมนานี้กันเยอะๆนะคะแล้วพบกันที่ประเทศมาเลเซียในปี2554ค่ะ

016

Non-Life Insurance Forum 2009

กมลพรรณ สุดโททอง (ตูน)

หลังจากปลดตัวเองออกจากคอลัมน์Entertainคาดว่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอยพัฒนาเว็บไซต์ตามที่สัญญาไว้กับผู้อ่านว่าจะปรับปรุงให้สุดแสนอลังการงานสร้างหลังจากได้ฤกษ์(เลิก)ลงมือทำไปได้ซักพักเสียงสวรรค์จากท่านบรรณาธิการก็ตามมาถึงที่หมาย“ไปสัมมนาNonLifeInsuranceForumมานี่เนอะเขียนลงSAให้หน่อยละกัน”ว่าแล้วท่านบรรณาธิการก็เดินจากไปทิ้งผู้อยู่เบื้องหลังให้กรีดร้องตามด้วยเสียงโหยหวนจนเพื่อนร่วมงานหันมามองกันทั้งแผนก เอาเป็นว่ามือใหม่หัดเขียนผู้นี้จะพยายามเต็มที่ในการถ่ายทอดบรรยากาศงานสัมมนาในวันนั้นก็แล้วกันนะเจ้าคะ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา(ณเวลาที่เล่มนี้ตีพิมพ์คงต้องบอกว่าเป็นปีที่แล้ว)ทางSOAT(ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของสวัสดีแอคชัวรีเล่มผ่านๆมาและเล่มต่อๆไป)และIPRBร่วมมือกันจัดสัมมนาหัวข้อNon-LifeInsuranceForum2009–PreparingfortheSeaChangeอ่านชื่อหัวข้อแล้วก็ให้ใจหายเด็กน้อยด้อยประสบการณ์อย่างเราจะไปจมทะเลในสัมมนานี้มั้ยเนี่ย แต่โบราณว่าไว้“ไม่เข้าถ้ำเสือก็ไม่ได้ลูกเสือ”ฉันใด“ริจะเป็นแอคชัวรีแต่ไม่ขวนขวายหาความรู้ก็ย่อมไม่ประสบความสำเร็จ”ฉันท์นั้น(อันหลังโบราณไม่ได้ว่าไว้นะคะอย่าเข้าใจผิด)วันที่19พฤศจิกายนก็เลยมีมือสมัครเล่นเข้าไปนั่งตัวลีบฟังสัมมนาอยู่ณมุมหนึ่งของห้องประชุม

017

บรรยากาศในงานไม่น่ากลัวอย่างที่เราวิตกจริตไปเองเริ่มต้นก็มีการปูพื้นฐานภาพรวมกว้างๆของธุรกิจNon–Lifeในบ้านเราโดยMr.AndrewLeungซึ่งสำหรับคนไม่เคยแตะRBCเลยแม้แต่ปลายก้อยถือเป็นตัวช่วยตัวหนึ่งในการเปิดประตูสู่RBCได้ดีทีเดียวหลังจากที่มองภาพลักษณ์กว้างๆของธุรกิจNon-Lifeกันแล้วก็มาถึงพระเอกหลักของงานRBC แน่นอนว่าหน้าใสวัยละอ่อนอย่างข้าเจ้าไม่เค้ยไม่เคยจะริอาจหาญกล้าไปแตะต้องพระเอกสุดหล่อคนนี้ของงานแม้แต่น้อย...หล่อทะลุแป้งขนาดนั้นน้องขอมองไกลๆดีกว่าเจ้าค่ะแต่พอฟังMr.JeremyWallพูดถึงConceptง่ายๆชิลล์ๆของRBCกับReserveก็ไม่ยากอย่างที่คิดพระเอกที่หล่อทะลุแป้งก็คนธรรมดาๆนี่เองเหมือนกัน หลังจากเข้าใจภาพลักษณ์อันแสนเป็นกันเองของRBCแล้วความง่ายก็ถูกตีกระเจิงด้วยการนำเสนอDifferenceApproachestoEstimateReserveVariabilityจากMr.PangChyeและMs.CathyHwangแน่นอนว่ากว่าจะได้มาซึ่งเครื่องมืออันแสนมีคุณภาพก็ต้องผ่านการคัดกรองมาอย่างเข้มข้นเช่นกันนอกจากนี้แล้ววิธีการแบบเดียวก็ไม่สามารถตอบโจทย์ของธุรกิจNon-Lifeในประเทศไทยได้เช่นกันเนื่องจากข้อจำกัดหลายๆด้านเรียกว่าRBCในบ้านเราแทบจะกลายเป็นมหากาพย์ไตรภาคสุดแสนจะพิสดารไปเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีการมองRBCในมุมอื่นๆทั้งทางด้านReinsuranceจากMr.GeorgeAttardที่ต้องขอบอกว่าได้ฟังแล้วก็เกิดอาการปิ๊ง!!กับงานที่ทำอยู่ เลยทีเดียวแถมด้วยมุมมองของRiskManagementจากMr.RonKozlowskiที่สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายไม่เพียงแค่เฉพาะงานเท่านั้นเรื่องส่วนตัว(อะแฮ่ม)ก็สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน ตบท้ายด้วยบทบาทหน้าที่ของActuaryกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปโดยMr.TonyNewmanและกลยุทธ์ในการเอาตัวรอดภายใต้RBCจากMr.WilliamSongเรียกว่าตลอดทั้งวันที่โดดงานมานั่งฟังได้ความรู้ไปเต็มเปี่ยมเลยทีเดียว งานนี้ต้องขอขอบคุณSOATและIPRBเป็นอย่างสูงที่จัดงานสัมมนาดีๆแบบนี้ขึ้น

018

สำหรับการจัดงานครั้งนี้ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกท่านเช่นเคยเริ่มจากการลงทะเบียนเปิดงานทางทีมงานสวัสดีแอคชัวรีได้จัดทำป้ายชื่อให้ผู้ร่วมงานแต่ละคนเพื่อสร้างความเป็นกันเองในการพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหลังจากนั้นทางทีมงานได้รับรองผู้เข้าร่วมงานที่มาถึงก่อนด้วยอาหารแบบนานาชาติพร้อมทั้งที่นั่งconcept:black&gold เมือ่ทกุทา่นไดม้าพรอ้มกนัแลว้พีท่อมมี่หรือSOAambassadorของพวกเราก็ได้กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการและก็ตามมาด้วยพิธีกรร ะดั บ ASAคู่ ใ หม่ นั่ น ก็ คื อ พี่ อิ๊ ( ธนิ ต าอนุสนธิ์อดิสัย)และพี่ปอ(นิติพงษ์ปรัชญานิมิต)ส่วนหัวข้อในการTAGเริ่มด้วยการเปิดเผยชีวิตจริงไม่อิงนิยายจากพี่ทอมมี่ซึ่งหลังจากที่ได้ฟังแล้ ว ทำ ให้ ทุ กท่ า น ได้ ต ร ะหนั กม ากขึ้ นกั บความหมายและแนวทางการคิดของแอคชัวรีว่า

Thai Actuarial Gathering 2009 อาทิตยา นาวาเจริญ (Cin)

สวัสดีค่ะชาวแอคชัวรี ทุ ก ท่ า น สำ ห รั บ หั ว ข้ อ นี้ ขอต้อนรับเข้าสู่งานชุมนุมเหล่าพวกเราชาวแอคชัวรี ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 2 7 พฤศจิ ก า ยน 2552 ที่ผ่านมานี้

ในชีวิตจริงนั้นควรเป็นอย่างไรซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นต้องfindwhatyouwanttodofirstandthendoittothebestofyourabil ityต่อมาเราก็ได้มีการคั่นรายการด้วยการจับรางวัลอันตระการตาด้วยของรางวัลดังต่อไปนี้ดินสอrotring,หมวกและเสื้อจากสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแห่งประเทศไทยและพร้อมกับการมอบรางวัลแก่ผู้ที่สอบผ่านโดยพี่ชิน(คุณสุชินพงษ์พึ่งพิทักษ์)ซึ่งของรางวัลในปีนี้คือปากกาparker(wow….) หัวข้อต่อมาพี่ชินขึ้นมาพูดในหัวข้อคุณคิดถูกไหมในการมาเป็นแอคชัวรีโดยให้ผู้ร่วมงานทำแบบทดสอบ10ข้อเพื่อดูว่าคุณมีบุคลิกแบบไหนเหมาะกับการมาเป็นแอคชัวรีหรือไม่(งานนี้คงทำให้พวกเราหลายคนตื่นตัวว่าเรากำลังเห็นดอกบัวเป็นกงจักรไปตามๆกัน...ฮา...)

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณสมาคมประกันวินาศภัยพี่ทีมและพี่ทอมมี่ที่ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆในการจัดงานครั้งนี้รวมไปถึงทีมงานสวัสดีแอคชัวรีที่ให้การสนับสนุนที่ดีเสมอมาตั้งแต่การเตรียมงานตลอดจนปิดงานได้อย่างสมบูรณ์ สำ ห รั บ ภ า พ บ ร ร ย า ก า ศ ใ น ง า น แ ล ะพิ ธี รั บ ร า งวั ล ส ามารถดู ได้ ที่ เ ว็ บ ไซต์ ขอ ง เ ร าที่www.sawasdeeactuary.com แล้วพบกันใหม่ในงาน Thai Actuarial Gatheringครั้งหน้านะคะ สามารถติชมเพิ่มเติมเพื่อให้การจัดงานครั้ งต่อไปให้ดียิ่ งขึ้นได้ที่ [email protected]

Thai Actuarial Gathering 2009

Thai Actuarial Gathering

2009 019

020

เห็นว่าสวัสดีแอคชัวรีได้มีไอเดียอยากจะให้วารสารสวัสดีแอคชัวรีได้มีโอกาสให้ผู้อ่านได้เขียนจดหมายตอบโต้กันบ้างผมจึงอยากเขียนหัวข้อเพิ่มเติมในสวัสดีแอคชัวรีซึ่งก็เลยถือโอกาสมาเขียนเรื่องเล่าสู่กันฟังโดยทางทีมงานอยากจะได้คำถามจากผู้อ่านทั้งในวารสารที่ตีพิมพ์จริงหรือจากในเว็บไซต์ของเราที่ถามเรื่องอะไรก็ได้ไม่เกี่ยงว่าจะมีสาระมากหรือน้อยหรือน้อยที่สุดเพื่อที่จะให้แอคชัวรีตอบคำถามในมุมมองของแอคชัวรีกันดู

คุยกับแอคชัวรี - ทำไมถึงเกลียดเลข

5 4.826

3/824

324

021

ในมหาวิทยาลัยนั้นภาควิชาคณิตศาสตร์นั้นจะอยู่ ใ นคณะวิ ทย าศาสตร์ เพร า ะว่ า เค้ า ถื อ ว่ าคณิตศาสตร์นั้นคือภาษาสำหรับวิทยาศาสตร์ทั้งปวงนั่นเองอย่างโลกยุคดิจิตอลหรือในหนังเรื่องMatrixทั้งสามภาคนั้นก็ล้วนแต่มีเลข0หรือ1กันทั้งนั้นหรือจริงๆแล้วโลกที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ก็คือ0กับ1อยู่นั่นเอง คณิตศาสตร์นั้นไม่ต้องสร้างผ่านกระบวนการทดลองด้วยมันเป็นภาษาของมันอยู่เพื่อมีไว้ใช้สื่อสารในตัวของมันเองมันเป็นภาษาที่อธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติได้อีกด้วยอย่างบางคนเห็นนกเดินๆอยู่ดีๆก็อยากจะสร้างสมการ“การเดินของนก”ขึ้นมาก็ได้ซึ่งรับรองว่ามันต้องมีสูตรสมการแบบจำลองการเดินของนกอยู่แน่นอน(แต่จะทำไปทำไมกันล่ะคนทำคงอยากรู้อยากเห็นจริงๆ) การเรียนคณิตศาสตร์นั้นก็คงเป็นเหมือนภาษาอีกภาษาหนึ่งที่ต้องเรียนซึ่งคงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาษาอังกฤษภาษาจีนหรือภาษาไทยซึ่งภาษาอื่นๆนั้นต้องฝึกฝนทั้งฟังพูดอ่านเขียนแต่ภาษาคณิตศาสตร์นั้นแค่ฝึกฝนให้เขัาใจถึงหลักการและ เหตุ ผลก็ พอ เค้ า ว่ า กั น ว่ า ถ้ า ฝึ กภ าษ าขอ งวิทยาศาสตร์อันนี้มากกว่า5ปีติดต่อกันแล้วจะทำให้สมองได้รับการพัฒนาขึ้นคิดเป็นเหตุเป็นผลได้เร็วและแม่นยำขึ้นหรือเอาเป็นว่ามีหยักสมองที่มากขึ้นก็แล้วกันครับ ฟั ง ดู แ ล้ ว รู้ สึ ก เ ห มื อ น จ ะ ง่ า ย ขึ้ น ดีคณิตศาสตร์นั้นยิ่งเรียนจึงยิ่งฉลาดและเป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์ที่ เหลืออีกต่อไปแถมยังอาจเป็นพื้นฐานของภาษาอื่นๆได้อีกด้วยที่เหลือก็แค่หัดฝึกฝนทำแบบฝึกหัดเยอะๆให้ภาษานี้ซึมซับเข้าไปไว้ในสายเลือดแต่อย่าทำจนถึงกับกระอักเลือดออกมานะครับเราควรจะเดินทางสายกลางกันไว้ดีกว่าขอให้จิตใจเรามีความสุขไปกับมันแล้วมันจะชอบคุณเอง “คุณชอบวิชาคณิตศาสตร์ขึ้นมาหรือยังครับ”

คุยกับแอคชัวรี - ทำไมถึงเกลียดเลข บางคำถามก็มีที่เกี่ยวกับการเคลมของประกันหรือการซื้อประกันและก็มีอีกหลายคำถามที่เกี่ยวกับการอยากจะเป็นแอคชัวรีแต่คราวนี้อยากจะหักมุมมาขอเริ่มประเด็นที่ผู้อ่านบางคนมีคำถามค้างคาใจอยู่ตั้งแต่สมัยเด็ก สำหรับคนที่ไม่ชอบวิชาเลขหรือเวลาเห็นตัวเลขทีไรก็จะปวดหัวมึนตึ้บรู้สึกเหมือนมีอาถรรพ์อะไรมาเข้าสิงถ้าเป็นเช่นนี้แล้วเคยถามตัวเองมั๊ยครับว่าทำไมถึงเกลียดเลขทำไมต้องมีคณิตศาสตร์ให้เรียนคณิตศาสตร์คืออะไรทำยังไงถึงจะทำเลขเก่งขึ้นผมเองก็เคยประสบกับปัญหาเหล่านี้ เมื่อตอนที่เป็นเด็กอยู่เหมือนกัน โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าการจะชอบอะไรสักอย่างหนึ่งมันขึ้นอยู่กับว่าเรามีความสุขอยู่กับสิ่งที่กำลังจะทำอยู่หรือไม่การจะทำอะไรหรือเรียนวิชาใดๆให้ดีนั้นคงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องมีความรู้สึกชอบสิ่งนั้นๆหรือวิชานั้นๆก่อนแล้วการที่คนเรียนจะไปชอบวิชาไหนๆนั้นก็มีส่วนขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรวมถึงพี่เลี้ยงเจ้านายหรือครูคนที่สอนวิชานั้นๆอยู่ด้วยยกตัวอย่างเช่นบางคนบอกว่าไม่ชอบครูสอนเลขแต่ก็ชอบวิชาเลขอยู่อันนี้ก็มีให้เห็นถมไป การที่เราจะชอบสิ่งนั้นๆวิชานั้นๆหรือคนๆนั้นหรือไม่ส่วนหนึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับใจของเราอยู่เหมือนกันและก็แน่นอนว่าเราคงจะไปบังคับจิตใจของเราเองจากเกลียดให้กลายเป็นชอบนั้นก็คงจะเป็นไปไม่ได้ในชั่วค่ำคืนแต่เราคงจะแย้งว่าได้ว่าไม่มีมิตรหรือศัตรูที่อยู่ถาวรในโลกแห่งความเป็นจริงเดือนนี้เกลียดแต่เดือนหน้าอาจจะชอบก็ได้หรือบางคนยิ่งเกลียดยิ่งรักก็มีแต่ยังไงก็ตามการเปลี่ยนใจจากไม่ชอบให้เป็นชอบนั้นมันไม่ง่ายเลยเว้นเสียแต่ว่าเราจะสามารถหาเหตุผลมาเปลี่ยนใจของเราเองได้แต่ถ้ายังไม่ได้ก็คงต้องหาเหตุผลอย่างอื่นมาทำใจกันจะอย่างไรซะทำสิ่งนั้นๆด้วยความสุขใจก็เป็นพอและการจะชอบหรือเกลียดนั้นก็ขึ้นกับสภาวะของจิตใจเรา(Stateofmind) เราลองมาดูเหตุผลเกี่ยวกับความสนุกหรือความสำคัญของคณิตศาสตร์กันเถอะครับเผื่อว่าจะเปลี่ยนทัศนคติกันได้และผมก็เคยเปลี่ยนจากเกลียดเป็นชอบได้ด้วยเหตุผลเหล่านี้ครับ

5.203 310/5.47

x(12.5)+x2=8.471

2000

x

022

SOATได้บรรลุวัตถุประสงค์เบื้องต้นแล้วดังต่อไปนี้ 1.เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสมาชิกระดับFellowให้มีมาตรฐานโดยผ่านการสอบตามหลักสูตรของสมาคมนักคณิตศาสตร์ที่ เป็นสมาชิกของIAAซึ่งปัจจุบันSOATยอมรับสมาคมคณิตศาสตร์ต่างๆเพื่อการสอบดังต่อไปนี้ a.SocietyofActuaries,NorthAmerica b.CasualtyActuarialSociety,North America c.CanadianInstituteofActuaries d.InstituteofActuaries,UK e.FacultyofActuaries,Scotland f.InstituteofActuaries,Australia

FellowของSOATสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติตามกฎระเบียบเก่านั้นจะต้องทำตามกฎระเบียบใหม่ก่อนปี2016ซึ่งกฎระเบียบของSOATที่ออกมาในปี2008ไม่ได้รับการคัดค้านจากทางOIC 2.แนะนำวิธีการจัดการที่ดีและกระบวนการตามระเบียบขั้นตอน 3.เป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ของIAA 4.จัดการประชุมและแสดงมุมมองความคิดเห็นต่อองค์กรที่ควบคุมดูแลและธุรกิจประกันในแต่ละการประชุมซึ่งเป็นการใช้จุดแข็งของอาชีพและเป็นประโยชน์ในการโปรโมตActuaryในประเทศของสมาคมซึ่งทำให้มีความต้องการทั้งในทางตรงและทางอ้อมที่จะให้Actuaryเข้าเป็นสมาชิกของSOATมากขึ้นและในปี2008OICได้ยอมรับFellowของSOATเป็น“Responsibleactuary”ซึ่งสามารถรับรองในส่วนของLiabilitiesได้ทั้งนี้การตอบสนองโดยตรงของกฎระเบียบนี้ทำให้เพิ่มการเข้าร่วมของActuaryที่มีความเชี่ยวชาญมากขึ้นซึ่งขณะนี้เรามีสมาชิกของSOATระดับFellowมากกว่า10คน 5.จัดการประชุมเพื่อการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในเรื่องNon-lifelossreserving,RBC,SolvencyII,RBSและอื่นๆ 6.จัดการสัมมนาให้มีการแลกเปลี่ยนพูดคุยในระดับอุดมศึกษาโดยมีจุดประสงค์คือการโปรโมตวิชาชีพนี้นอกจากนี้ยังเป็นสปอนเซอร์ให้นิตยสารรายไตรมาส“SawasdeeActuary”ซึ่งจะมีการจัดพิมพ์2,000ฉบับและแจกจ่ายเผยแพร่ให้กับนักเรียนและผู้ที่มีความสนใจในอาชีพActuaryซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการทำให้เข้ า ใจในวิ ชาชีพนี้ ดี ขึ้ น ใน เรื่ อ งของความท้ าทายผลตอบแทน คุณสมบั ติ ร วมทั้ ง เ รื่ อ ง ร า วขอ งคณิตศาสตร์ประกันภัยในปัจจุบัน 7.เข้าไปร่วมทำงานกับOICในเรื่องของRBC,ERM,OperationalRiskและอื่นๆในการร่างActuarialguidelines

Interview an Actuary

ธัญลักษณ์ ศรีงาม (แนน)

คราวนี้คงเป็นบทสัมภาษณ์ตอนสุดท้ายของนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์

คนปัจจุบันของเรา ขอขอบคุณ คุณอมรทิพย์ จันทร์ศรีชวาลา ณ ที่นี้อีกครั้งค่ะ

Overview of Fundamental Actuarial Practice (FAP)

023

สวัสดีครับเพื่อนๆชาวSawasdeeActuary

หวังว่าคงจุใจกับฉบับที่แล้วกับTipsต่างๆในการเตรียมตัวสอบPrelimExamนะครับฉบับนี้จะพูดถึงปราการด่านสุดท้ายก่อนที่จะถึงเป้าหมายASAของเรานั่นคือFundamentalActuarialPracticeครับ FundamentalActuarialPractice(FAP)มักจะนิยมทำหลังจากที่ผ่านPrelimExamแล้วแต่ความจริงก็คือไม่จำเป็นครับจะเริ่มFAPตอนไหนก็ได้เลยเพียงแต่ว่าตัวPrelimExamจะเป็นตัวช่วยให้เราอ่านFAPได้สบายขึ้นเนื่องจากเราจะเจอศัพท์พวกPremium,Reserveหรือศัพท์เฉพาะทางActuarialต่างๆหยิบมาใช้เป็นว่าเล่นเลยในFAP

จากประสบการณ์ของพี่ๆหลายคนที่เคยทำFAPมาจะตอบเป็นเสียงเดียวกันคือไม่ยากแต่เยอะส่วนจะว่าเยอะขนาดไหนก่อนอื่นต้องอธิบายรายละเอียดของFAPนิดนึงก่อนครับ

FAPพึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี2006เป็นหลักสูตรที่SOAพัฒนาเพื่อมาแทนที่Course5(ApplicationofBasicActuar ia l Pr inc ip les ) , Course6 (F inanceandInvestment),Course7(AppliedActuarialModeling)ซึ่งเมื่อก่อนจะเป็นหนังสือให้เรามาอ่านแล้วก็เข้าสอบคล้ายๆPrelimอ่ะครับหลังจากนั้นSOAก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานของจริงของActuaryในFAPจะมีตัวอย่างเหตุการณ์ระดับโลกต่างๆที่สอดคล้องกับวิชาชีพเราให้เยอะเช่นSavingandLoanCrisisก็เกี่ยวข้องกับAssetandLiabilityManagementนอกจากนี้ยังมีCaseStudyที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันที่เราอาจจะเคยเจอบ้างแล้วเช่นให้คำนวณPremium,คำนวณReserveเป็นต้น

FAPนั้นประกอบด้วย8Modulesแต่ละModuleจะมีSectionsมากบ้างน้อยบ้างตามบทไปในแต่ละModuleจะมีสามส่วนประกอบหลักๆคือ

-ตัวบท:ทางFAPจะให้รายชื่อหนังสือมาให้อ่านและจะมีเนื้อหาหลัก,บทความจากหนังสือหรือJournalที่เกี่ยว

กับเนื้อหาหลัก,บทสัมภาษณ์Actuaryผู้มีประสบการณ์,ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับงานด้านActuarial(เช่นข้างต้น)และมีแบบฝึกปฏิบัติให้เราทดลองทำจริงได้แก่casestudyเป็นต้น

-แบบทดสอบท้ายบท:ทดสอบสิ่งที่เราได้เรียนไปในตัวบทมีทั้งหมด~10–20ข้อโดยเราจะทำซ้ำกี่ครั้งก็ได้รูปแบบจะเป็นตัวเลือก5ตัวเลือกซึ่งเราจะทำกี่ครั้งก็ได้ถ้าเราทำถูกก็จะขึ้นว่าถูกถ้าเราทำผิดก็จะขึ้นว่าผิดแต่ไม่มีรายละเอียดว่าถูกหรือผิดยังไง

-แบบฝึกหัดท้ายบท:จะเป็นCaseStudyมาให้เราทำซึ่งเราต้องส่งการบ้านนี้ด้วย(ส่งOnline)และจะมีการสุ่มตรวจการและจะมีการแจ้งผลในประมาณ7สัปดาห์แต่ว่าทันทีที่เราส่งการบ้านนั้นเราก็สามารถเริ่มต้นmoduleถัดไปได้เลย

ทั้งนี้จะมีอยู่2Modulesที่ไม่มีแบบฝึกหัดท้ายบทนั่นคือModules5จะมีInterimAssessmentมาแทนและModules8จะมีFinalAssessmentมาแทนครับการผ่านหลักสูตรFAPคือ

-การที่แบบฝึกหัดท้ายบท1,2,3,4,6และ7ผ่านและ

-InterimAssessmentผ่านและ-FinalAssessmentผ่าน

โดยทั่วไปแล้วเวลาในการทำแต่ละModuleนั้นจะมากบ้างน้อยบ้างแต่ว่าโดยเฉลี่ยถ้าทำอย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นModuleละเดือนนั่นคือใช้เวลาประมาณ8เดือนในการศึกษาFAPจนจบหลักสูตร ลำดับการเรียนของFAPอาจจะสามารถสรุปได้ดังนี้ครับ

ณัฐพล วงศ์รัตนวิจิตร (ณัฐ) ปุณยวีร์ นภาลัย (วีร์)

ในคราวหน้าเราจะมาพูดถึงวิธีการสมัครสอบรายละเอียดในแต่ละModuleรวมถึงInterimassessmentและFinalassessmentครับ

Mod 1 Mod 2 Mod 3 Mod 4 Mod 5 Mod 6 Mod 7 Mod 8 Introduction Core Risk in Actuarials Designing Model Selection Monitoring / Role of the External Actuarials Solutions and IA Selection of Initial Results FA Professional Forces Problems Pricing an and Assumptions Actuary Actuarials Solution Solution Design

? ?

? ?

?

024

นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้ตั้งราคาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตบางครั้งพวกเขาถูกเรียกว่านักวิศวกรการเงินหรือนักคณิตศาสตร์เพื่อสังคมเพราะความสามารถทางธุรกิจและความสามารถทางการวิเคราะห์อันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางธุรกิจและสังคมที่นับวันจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ นักคณิตศาสตร์ประกันภัยทำให้เหตุการณ์ในอนาคตเป็นเหตุเป็นผลในรูปของการเงินโดยการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจและการเงินจะให้ละเอียดกว่านั้นก็คือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตัดสินใจทางการเงินได้ดีขึ้นด้วยการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาประเมินสถานการณ์ทางธุรกิจโดยคิดถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ถ้าหากว่าคุณไม่เคยเห็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องแปลกเพราะว่าจำนวนของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยในตอนนี้มีเพียง35,000คนทั่วโลกอย่าให้ตัวเลขที่น้อยนิดนี้ทำให้คุณเข้าใจผิดว่านักคณิตศาสตร์ประกันภัยไม่มีความจำเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยใช้ทักษะการแก้ปัญหาที่พิเศษกับงานในหลากหลายธุรกิจและงานของพวกเขามีอิทธิพลต่อชีวิตคนจำนวนมากมานับศตวรรษแล้ว การคำนวณและการประมาณการณ์เป็นเรื่องสำคัญในธุรกิจประกันภัยและการบริการทางการเงินงานทางคณิตศาสตร์ประกันภัยเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างมากแต่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยยังคงต้องทันต่อประเด็นและทิศทางของธุรกิจ,เรื่องราวทางสังคม,กฎหมายและรวมถึงเศรษฐศาสตร์อีกนัยหนึ่งคือนักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องรอบรู้และใช้สิ่งเหล่านั้นในการแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยและพวกเข้าต้องเป็นผู้สื่อสารที่ดีเพื่อที่จะอธิบายงานของเขาให้ผู้อื่นเข้าใจนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นผู้เล่นคนสำคัญในทีมบริหารงานของบริษัทพวกเขาได้รับผลตอบแทนที่ดีและพวกเขาก็ชอบงานที่เลี้ยงชีพของพวกเขาด้วย

วิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary) คือใคร ?

025

นักคณิตศาสตร์ประกันภัยทำอะไร ? นักคณิตศาสตร์ประกันภัยสามารถที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีตประเมินความเสี่ยงในปัจจุบันและสร้างโมเดลคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอาจจะพยากรณ์ออกไปในระยะยาวเพื่อที่จะประเมินสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดและโอกาสของสิ่งที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดของเหตุการณ์

ที่ทำงานของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอยู่ไหน ? นักคณิตศาสตร์ประกันภัยเป็นที่ต้องการในองค์กรที่แตกต่างกันโดยมีองค์กรหลักๆดังนี้บริษัทประกันชีวิต (Life Insurance Company) บริษัทเหล่านี้ให้บริการทางการประกันชีวิต,การออมเงิน,เงินบำนาญและบริการทางการเงินอื่นๆเพื่อที่จะให้ลูกค้ามีภูมิคุ้มกันและความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวบริการเหล่านี้รวมถึงการรักษาระดับรายได้ภายหลังเกษียณหรือการจ่ายให้กับลูกหลานหากผู้เลี้ยงดูเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรนักคณิตศาสตร์ประกันภัยออกแบบ,ตั้งราคาและประเมินค่าสินค้าเหล่านั้นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยสำคัญยิ่งสำหรับการจัดการทางการเงินและการพัฒนากลยุทธ์ที่จะทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเขาได้ทำสัญญาที่ยุติธรรมบริษัทให้คำปรึกษา (Actuarial Consultancy) ในที่นี้หมายรวมถึงองค์กรที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบการคำนวณเงินสมทบและการพัฒนากลยุทธ์ทางการลงทุนเพื่อที่จะสามารถจ่ายคืนเงินบำนาญได้ตามที่สัญญาไว้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยในบริษัทประเภทนี้ยังต้องอธิบายเรื่องราวที่ซับซ้อนเหล่านี้ให้ชัดเจนอีกด้วยนอกจากนี้ที่ปรึกษาทางคณิตศาสตร์ประกันภัยยังต้องแนะนำบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในทุกแง่มุมและโดยเฉพาะเวลาที่มีการควบรวมกิจการบริษัทประกันวินาศภัย (General Insurance) รูปแบบประกันของบริษัทประกันวินาศภัยในทุกวันนี้คืออัคคีภัย,ประกันอุบัติเหตุ,ประกันจักรยานยนต์,ประกันรายได้ธุรกิจเหล่านี้มีความต้องการแรงจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยมากยิ่งขึ้นทักษะในการวิเคราะห์และสถิติทำให้นักคณิตศาสตร์ประกันภัยสามารถประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรทางการเงินของสินค้าทางด้านประกันวินาศภัยและเงินสำรองที่จะต้องถือไว้สำหรับค่าสินไหมในอนาคตบริษัททางการเงินอื่นๆ (Investment-Financial Services-Risk Management-Health Insurance Business) นอกจากงานหลักๆข้างต้นมีความต้องการเรื่องการบริการทางคณิตศาสตร์ประกันภัยมากขึ้นในธุรกิจประกันสุขภาพ,การจัดการความเสี่ยงและอุตสาหกรรมการให้บริการทางการเงินเช่นธนาคารเป็นต้นโอกาสของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยได้เปิดกว้างขึ้นในหลากหลายส่วนงานเช่นทางการศึกษา,สิ่งแวดล้อมและclimatechange,ธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต,Publicinfrastructure,พันธุกรรมรัฐบาลฮ่องกงจ้างนักคณิตศาสตร์ประกันภัยเพื่อที่จะตรวจสอบดูแลอุตสาหกรรมการเงินของประเทศในขณะที่โลกของเราเชื่อมต่อกันมากขึ้นหน้าที่ที่หลากหลายก็เปิดกว้างขึ้นสำหรับวิชาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย

Source: www.beanactuary.com

026

Entertainment หลงัจากทีช่าวสวสัดแีอคชวัรไีดต้ดิตามซรีีส่ ์

ทั้ง 4 ตอนของเกมส์ “Queen Camellia’s Tragedy” ซึ่งได้จบลงไปใน SA ฉบับที่แล้ว ฉบับนี้ทางทีมงาน SA เลยหาเกมส์ใหม่ๆ ที่อาจจะไม่ใหม่สำหรับหลายๆ คนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของเกมส์ Sudoku และไหนๆ จะเล่น Sudoku กันทั้งที ชาวสวัสดีแอคชัวรีอย่างเราๆท่านๆ จะเล่นตารางเดียวได้ยังไง จัดไปเลย 3 ตารางซ้อนเพื่อความสะใจกันไป

สุดารัตน์ อาภาศิริกุล (มิ้ว)

แน่นอนที่สุดจะให้ชาวสวัสดีแอคชัวรีเล่นสนุกเพียงอย่างเดียวได้ยังไงกันสำหรับ5ท่านแรกที่ทำถูกต้องและส่งเข้ามาให้กับทางทีมงานของเราจะได้รับรางวัลจากทางเราไปเลยโดยส่งคำตอบของเกมส์Sudokuมาได้ที่[email protected]และติดตามรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลในสวัสดีแอคชัวรีฉบับหน้าค่ะเมื่อพร้อมแล้วจะรอช้าอยู่ใยไปสนุกกันเลยดีกว่าลุย!!

027

แหมะ!!! โจทย์เขาสั่งให้หา X ก็วงกลม

ล้อมรอบแล้วมีการเขียนบอกว่า“อยู่นี่ไง”อีกต่างหาก

อันนี้ถ้าเรียนแคลคูลัสแล้วจะช่วยให้ฮายิ่ง

ขึ้นก็คืออาจารย์คนนี้สอนเด็กว่าถ้าลิมิตเข้าใกล้a

ของแล้วคำตอบมันจะได้เท่ากับอินฟินิตี้

แล้วอาจารย์ก็ยกตัวอย่างกรณีa=8ปรากฏว่า

เครื่องหมายอินฟินิตี้ดันไปเหมือนกับเลข8ตะแคงข้าง

เด็กก็เลยเข้าใจว่าคำตอบของโจทย์ทำนองนี้ ก็คือ

ให้เอาตัวเลขไปตะแคงข้างพอลิมิตเข้าใกล้5ปุ๊บก็เลย

ตอบเป็นเลข5ตะแคงข้างทันทีเอาเข้าไป

Source : www.funnyexamanswer.com

อันดับ 2 : ลิมิตตะแคงข้างอันดับ 1 : Find X

อันดับ 3 :

อันนี้ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆให้ลึกซึ้งคนแก้

สมการตัดตัวเลขมันมือไปหน่อยยังไงไม่ทราบดันไปตัด

1กับตัวnของคำว่าsinแล้วเผอิญมันกลายเป็น

คำว่าsixก็เลยตอบ6ไปซะดื้อๆฮ่วย!!!

เฮฮา!!! นอกกรอบ

ชาว SA หลายๆท่านอาจจะเคยเจอปัญหาในการทำข้อสอบสมัยตอนเด็กๆ เรา

ลองมาดูกันซิว่าเวลาเจอปัญหาในการทำข้อสอบของเด็กสมัยนี้เค้าจะแก้ปัญหายังไงกัน

x-a1

1n

028

ข่าวดีสำหรับคนที่กำลังตัดสินใจในการเลือกสายอาชีพเป็น แอคชัวรี เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการจัดอันดับให้เป็นอาชีพอับดับที่ 1 ของอเมริกาประจำปี 2553

จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันที่7มกราคม2553 จากสำนักข่าวรอยเตอร์วันที่5มกราคม2553

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.careercast.com/jobs

Study figures best job in 2010 is ... actuaryEllen Wulfhorst

NEW YORKTue Jan 5, 2010 6:11pm EST

NEW YORK (Reuters) - Being an actuary, calculating statistics to determine probability and risk, is the best job to have in 2010, while working on an oil rig as a roustabout is the worst, according to a study released on Tuesday.

An actuary earns about $85,000 a year and has few physical demands, little stress, a good work environment and a positive outlook for employment and income growth, said CareerCast.com, a job search site that analyzed 200 jobs in North America.

The second-best job is software engineer, followed by computer systems analyst, biologist and historian, said CareerCast.com, which rated jobs in terms of stress, working environment, physical demands, income and hiring outlook.

Being a roustabout was rated the worst, followed by lumberjack, ironworker, dairy farmer and welder, it said.

A roustabout is a dangerous job that typically pays about $31,000 a year, with high unemployment and a negative outlook for growth, the study said.

Switching to many of the best jobs would mean returning to school, said Tony Lee, publisher of CareerCast.com’s 2010 Jobs Rated Report. This is its 12th annual study.

The worst jobs are “fairly miserable,” Lee said. They tend to require working outdoors regardless of the weather, have elements of physical danger and do not pay very well, he said.

“On top of that, the job opportunities are not very good so if you really want one of these jobs, you may even have difficulty finding one despite the fact that they’re dangerous, in bad conditions and don’t pay very well,” he said.

Last year, actuary placed second and mathematician first, while lumberjack ranked as the worst job.