field trip presentation

43
พิพิธภัณฑ์ พระตําหนักดาราภิรมย์

Upload: ggee-anantachina

Post on 19-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


5 download

DESCRIPTION

Dara Phi Rom / Baan San Sai

TRANSCRIPT

Page 1: Field Trip Presentation

พิพิธภัณฑ์พระตําหนักดาราภิรมย์

Page 2: Field Trip Presentation

พระตําหนักดาราภิรมย์สร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงย้ายกลับมาประทับที่เชียงใหม่ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต

ประวัติพระตําหนักดาราภิรมย์

Page 3: Field Trip Presentation

เมื่อป ีพ.ศ. ๒๔๙๐

กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายขยายกิจการอุดมศึกษาสู่ภูมิภาค โดยเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษาสําหรับภาคเหนือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นยังสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอยู่ จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อจัดหาที่ดิน ซึ่งในที่สุดเลือกได้บริเวณ พระตําหนักดารา ภิรมย์และสวนเจ้าสบาย

ในป ีพ.ศ. ๒๔๙๓

กระทรวงมหาดไทยได้ขอยืมใช้พื้นที่ เพื่อเป็นที่ตั้งของกองกํากับการตํารวจตระเวนชายแดน เขต ๕ และเป็นที่ตั้งของกองกํากับการตํารวจตระเวนชายแดน ๓๓

Page 4: Field Trip Presentation

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติเป็นผู้สืบทอดและพิทักษ์รักษา เห็นสมควรที่จะต้องบูรณะพระตําหนักดาราภิรมย์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์งดงามใกล้เคียงกับสภาพ เดิมเมื่อกาลก่อน เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ ์

โดยมีวัตถุประสงค์

ที่จะเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆระหว่างบรรพชนในอดีต กับอนุชนรุ่นหลังเพื่อให้ได้ทราบถึงพระปรีชาสามารถและพระกรุณาธิคุณของพระราชชาบาเจ้าดารารัศมี

Page 5: Field Trip Presentation

๑. บูรณะซ่อมแซมอาคารพระตําหนัก ให้คงสภาพแบบดั้งเดิม

๒. ตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร ให้สอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรม

๓. ปรับปรุงเป็นสถานที่แสดงพระประวัติ และพระกรณียกิจของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เพื่อเชิดชูพระเกียรติของพระองค์ และเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

๔. ดัดแปลงพื้นที่อาคารอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมอื่นที่เหมาะสม

๕. ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบพระตําหนัก และสวน

เจ้าสบาย

Page 6: Field Trip Presentation

พิพิธภัณฑ์พระตําหนักดาราภิรมย์

ในวันพฤหัสบดีที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งตรงกับวันสิ้นพระชนม์ครบรอบปีที่ ๖๖ ของพระราชชายาเจ้าดารารัศม ีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเปิดพิพิธภัณฑ์พระตําหนักดาราภิรมย์

Page 7: Field Trip Presentation

รูปแบบสถาปัตยกรรม

พระตําหนักดาราภิรมย์ เป็นอาคารพักอาศัยขนาดใหญ่ ครึ่งตึกครึ่งไม้สูงสองชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งกั้นเป็นห้องต่างๆเพดานสูง มีช่องลมเป็นไม้ฉลุโดยรอบ

ด้านหน้าอาคารมีซุ้มเทียบรถยนต์ หลังคาซุ้มเป็นดาดฟ้าคอนกรีต

รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นบ้านทรงฝรั่ง แต่ปรับให้เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะคล้ายคลึงกับพระที่นั่งวิมานเมฆ หรือบ้านพักอาศัยในย่านสาธร และสีลม ที่สร้างในยุคสมัยเดียวกัน

Page 8: Field Trip Presentation

ลักษณะอาคารโล่ง สูงโปร่ง เพื่อให้อากาศระบายได้โดยธรรมชาติ โดยเฉพาะเพดานห้องชั้นบนจะยกสูง มีช่องลมไม้ฉลุรูปดาวเหนือผนังให้ลมพัดผ่านได ้

หลังคาทรงสูง มีห้องใต้หลังคา และใต้ถุนชั้นล่างเปิดโล่งทั้งหมด

ดังนั้นผู้ที่เข้าไปในอาคารจะพบว่าพระตําหนักนั้นเย็นสบาย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอาคารบ้านเรือนในปัจจุบัน

Page 9: Field Trip Presentation

ผังพื้นชั้นบน

อดีต

ปัจจุบัน

Page 10: Field Trip Presentation

โถงทางเดิน

จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระปฐมวงศ์ พระประวัติ พระตําหนักที่ประทับในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระตําหนักดาราภิรมย์

Page 11: Field Trip Presentation

ห้องรับแขก

จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเครื่องเรือนร่วมสมัย

Page 12: Field Trip Presentation

ห้องบรรทม

จัดแสดงของถวายอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเครื่องเรือนร่วมสมัย

Page 13: Field Trip Presentation

ห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ

จัดแสดงจานชาม เครื่องเสวย ของใช้ส่วนพระองค์ และเครื่องดนตรี

Page 14: Field Trip Presentation

ห้องจัดแสดงชุดเครื่องทรง ผ้าทอ

ภายในห้องจะแสดงโชว์ชุดเครื่องทรง ผ้าทอที่พระราชชายาฯทรงออกแบบลวดลายและส่งเสริมการทอ ชุดการแสดงที่พระราชชายาฯได้ทรงฟื้นฟูและทรงดัดแปลงศิลปะภาคกลางให้เข้ากับศิลปะภาคเหนือ

Page 15: Field Trip Presentation

ห้องแต่พระองค์

Page 16: Field Trip Presentation

ห้องจัดแสดงพระกรณียกิจ

ด้านการศาสนา ด้านการเกษตร และด้านศิลปะศาสตร์

Page 17: Field Trip Presentation

ช่องลมลายฉลุรูปดาวบริเวณคอสอง

การตกแต่งลายฝ้าเพดาน

Page 18: Field Trip Presentation

ผังพื้นชั้นล่าง

อดีต

ปัจจุบัน

Page 19: Field Trip Presentation

ชั้นล่าง

จัดแสดงเครื่องมือเกษตร ที่ทรงใช้ในการทดลองการเกษตรแผนใหม่ ในสวนเจ้าสบาย นอกจากนั้นยังมีเครื่องทอผ้า ซึ่งใช้ทอผ้าสําหรับพระราชชายาฯโดยเฉพาะ

Page 20: Field Trip Presentation

ชั้นล่าง

จัดแสดงเครื่องมือเกษตร ที่ทรงใช้ในการทดลองการเกษตรแผนใหม่ ในสวนเจ้าสบาย นอกจากนั้นยังมีเครื่องทอผ้า ซึ่งใช้ทอผ้าสําหรับพระราชชายาฯโดยเฉพาะ

Page 21: Field Trip Presentation

สวนเจ้าสบาย

Page 22: Field Trip Presentation

ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา

๑. การประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักพิพิธภัณฑ์ และเห็นคุณค่าของมรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒณธรรมแห่งนี้ โดยผ่านสื่อต่างๆ อย่างเช่นเครือข่ายเน็ดเวิร์คออนไลน์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยเยาวชน

๒. การสร้างกิจกรรมให้กับผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ มากกว่าเดินชมและฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว นําเทคโนโลยีมาใช้ในการนําเสนอข้อมูลบางส่วนที่สามารถปรับใช้ได้ จะสร้างความน่าสนใจให้กับพิพิธภัณฑ์มากขึ้น

๓. เพิ่มเติมลักษณะการให้ข้อมูลสําหรับชาวต่างชาติ อย่างเช่นเครื่องบันทึกข้อมูลที่แปลภาษาแล้ว

๔. ปรับลักษณะทางสัญจร ให้เดินชมพิพิธภัณฑ์ง่ายขึ้น อย่างเช่น ปรับทางเข้า-ออก ให้เป็นคนละทาง ไม่ต้องเดินสวนกัน เนื่องจากพิพิธภัณฑ์มีขนาดเล็ก

Page 23: Field Trip Presentation

ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาสันทราย

Page 24: Field Trip Presentation

ชนิด คุณสมบัติวัสด ุและเทคนิคท้องถิ่น

เครื่องปั้นดินเผาของบ้านสันทราย เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินธรรมดา โดยใช้ดินดําที่มีอยู่แล้ว ในท้องถิ่น

Page 25: Field Trip Presentation

ชนิด คุณสมบัติวัสด ุและเทคนิคท้องถิ่น

เนื้อดินพบได้จากแปลงนา ผสมกับทรายกรองเนื้อละเอียด (ใส่เพื่อเพิ่มความแกร่งให้กับชิ้นงาน เนื่องจากมี ซิลิกา เป็นส่วนผสมหลัก)

Page 26: Field Trip Presentation

ชนิด คุณสมบัติวัสด ุและเทคนิคท้องถิ่น

เมื่อเผาแล้วให้สีส้มแดง โดยภาชนะชนิดนี้จะดูซึมน้ําได้มากเมื่อเทียบกับชนิดอื่น *อุณหภูมิพอเหมาะอยู่ที่ ๑๐๘๐องศาเซลเซียส แต่ห้ามเกิน ๒๐๕๐ องศาเซลเซียสเพราะจะทําให้ดินเสื่อมสภาพ

Page 27: Field Trip Presentation

ชนิด คุณสมบัติวัสด ุและเทคนิคท้องถิ่น

การเตรียมดิน ใช้วิธีการแบบดั้งเดิมคือ การนวดด้วยเท้า เพื่อทําให้ดินอัดแน่น และมีความชื้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่เดิม จะนวดบนแผ่นหนังสัตว์ แต่ในปัจจุบัน เปลี่ยนมานวดบนแผ่นพลาสติกแทน

Page 28: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

อุปกรณ์การตีหม้อ ประกอบด้วย หินด ุและ ไม้ลาย (anvil & paddle)

Page 29: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

หินด ุทําหน้าที่รับน้ําหนักจากการตีด้วยไม้ตีจากผิวด้านนอก แต่เดิมใช้ก้อนหิน ที่มีลักษณะกลมมน ขนาดพอจับสะดวกปัจจุบัน หินด ุทําด้วยดินเผา มีลักษณะคล้ายดอกเห็ด มีด้ามถือ

Page 30: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

ไม้ตี/ไม้ลาย ทําหน้าที่ตบผิวด้านนอกภาชนะให้ได้รูปทรง อัดเนื้อดินให้แน่น และเข้าสนิทตามต้องการ นิยมใช้ไม้จริงขนาดกลาง ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร มีด้ามจับ ส่วนที่ใช้ตีมีลักษณะแบน แบ่งเป็นสองด้าน ด้านหนึ่งเรียบอีกด้านหนึ่งขุดไม้เป็นร่องลึก ให้เป็นลวดลาย เป็นที่มาของชื่อ “ไม้ลาย”

Page 31: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

๑)นวดดิน๒)ขึ้นรูปทรงเร่ิมต้นปั้นเป็นทรงกระบอก แล้วใช้มือกดให้เป็นหลุม เพื่อที่จะได้นําไปตีต่อไปเรียกว่า การทํา”ปากหม้อดิน”

Page 32: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

๓)ตีหม้อ นําดินที่ทําทรงปากหม้อดินแล้ว มาวางบนที่ตั้งปั้นหม้อ ใช้ไม้ลายตีโดยรอบเพื่อขยายขนาดก่อนใช้หินกะดุรองด้านใน แล้วใช้ไม้ลายตีขยายนาดอีกรอบเพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ

Page 33: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

๔)เก็บรายละเอียด๕)ผึ่งให้แห้งเมื่อตกแต่งแล้วให้นําไปไว้ในที่ร่มที่ไม่มีลมโกรก แต่อากาศถ่ายเทสะดวก โดยเฉพาะภาชนะที่มีขนาดใหญ่ให้ใช้ผ้าคลุมไว้เพื่อให้น้ําค่อยๆระเหยออก เพราะหากภาชนะโดนลมโกรก หรือแห้งเร็วเกินไป ดินจะหดตัวไม่เท่ากันทําให้ภาขนะเกิดการแตก หรือเสียรูปทรง

Page 34: Field Trip Presentation

กระบวนการผลิต

๖)เผาการเผา มีทั้งแบบใช้เตา และเผาบนพื้นดิน ซึ่งในที่นี้จะกลางถึงเฉพาะการเผาบนพื้นดิน การเผาบนดินเป็นการเผาแบบดั้งเดิม เริ่มจากการเรียงภาชนะที่จะเผา โดยภาชนะขนาดใหญ่จะอยู่ด้านส่าง ขนาดย่อมอยุ่ด้านบนลดหลั่นกันไป จากนั้นนําไม้ฟืนขนาดเล็ก ซุกไว้ระหว่างหม้ออย่างทั่วถึง เอาฟางสุม แล้วเอาแกลบโรยอีกทีหนึ่งยิ่งปิดทึบ อุณหภูมิจะยิ่งสูง โดยแกลบจะทําหน้าที่กันไม่ให้ เปลวไฟและความร้อนกระจายออกมาใช้เวลาประมาณ2-3ชั่วโมง โดยสามารถเผาได้ 200-300 ชิ้นต่อครั้ง

Page 35: Field Trip Presentation

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

เครื่องปั้นดินเผาสันทรายมีการทําสืบต่อกันมาร้อยกว่าป ีถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง ใช้ดินที่มีจากท้องถิ่นซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะที่อย่างหนึ่ง มีการตกแต่งลวดลายแกะสลักพื้นผิวเพื่อความสวยงาม และการทําสีที่มีลักษณะเฉพาะตัวทําให้เป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวอีกทั้งในแต่ละบ้านที่ทํานั้นก็ยังมีรูปแบบและเทคนิคที่ไม่เหมือนกันโดยมาจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาในแต่ละครอบครัวที่ต่างกันไป

อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์- เป็นงานหัตถกรรมแท้ๆ เนื่องจากใช้วิธีปั้นด้วยมือต้องใช้ทักษะฝีมือ- คงรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาในแบบโบราณไว้- ลวดลายแกะสลักที่มีลักษณะเฉพาะตัว- ราคาไม่แพงเนื่องจากหาวัตถุดิบได้ในพื้นที่

Page 36: Field Trip Presentation

ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาสันทรายล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของมนุษย์ทั้งสิ้น อาทิเช่น- ใช้ในชีวิตประจําวัน เช่น คนโท หม้อน้ํา หม้อแกง ฯ- ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง เช่น แจกัน น้ําพุ โคมไฟ ฯ- ใช้เพาะชํา และปลูกต้นไม้ เช่น กระถางดอกไม้ ถาดรอง ฯ

มาตรฐานของผลิตภัณฑ์- มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากกระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2549- ผลิตภัณฑ์ OTOP 3 ดาวระดับภาค ปี 2546 - ผลิตภัณฑ์ OTOP 3 ดาวระดับประเทศ ปี 2547- ผลิตภัณฑ์คัดสรร 2 ดาว ปี 2549- ได้รับรางวัลหมู่บ้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาดีเด่น ของหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ปี 2549

Page 37: Field Trip Presentation

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

รายละเอียดบนพื้นผิวผลิตภัณฑ์

Page 38: Field Trip Presentation

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

ลวดลายการแกะสลักโดยช่างฝีมือท้องถิ่น

Page 39: Field Trip Presentation

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

Page 40: Field Trip Presentation

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ที่มีความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง

Page 41: Field Trip Presentation

ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์

แม้จะใช้รูปทรงและพื้นผิวแบบพื้นฐานแต่ก็มีการฉลุลายซึ่งเป็นฝีมือเฉพาะตัวเข้าไปเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า

Page 42: Field Trip Presentation

ข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบ

- มีการจัดการศึกษางานนอกสถานที่และศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อดูกระแสนิยม แต่ต้องไม่ละทิ้งความเป็นท้องถิ่นดั้งเดิม- หาผู้มีความรู้ด้านการตลาดมาช่วยเหลือ- เพิ่มความหลากหลายของรูปแบบผลิตภัณฑ์ อาจเป็นสินค้าแบบใหม่ไม่จําเป็นต้องเป็นของใช้ประจําบ้าน- ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ เล่าประวัติความเป็นมา ชูจุดเด่นว่าเป็นรูปแบบดั้งเดิมให้เป็นที่รับรู ้เพื่อเพิ่มคุณค่า จะได้ไม่ต้องขายราคาถูกผ่านพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป- พัฒนาเทคนิคเพื่อการควบคุมคุณภาพ เพื่อที่ชิ้นงาน จะได้มีมาตรฐานที่ดี- มีการพัฒนาวัตถุดิบ และวิธีการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยตอนแรกนั้นให้เจ้าหน้าที่รัฐมาช่วย และปลูกฝังความรู้ ให้ทั้งผู้ประกอบการ และรุ่นเด็กๆเพื่อเป็นการปลูกฝัง ความรักในภูมิปัญญาท้องถิ่น และสนใจที่จะศึกษา เพื่อพัฒนาต่อยอด และรักษาให้คงอยู่สืบไป

Page 43: Field Trip Presentation

ดนัทธ์ ประวีณเมธ ID307ปพน ศิริมัย ID315ภัทรสุดา พาตน ID323วาริ ประภาวงศ์ ID331อรณา อนันตชินะ ID339