masnah saree - thaiedresearchbackoffice.thaiedresearch.org/uploads/paper/80d764d20efa...masnah saree...

285
กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Strategic Management Supporting a World-Class Standard Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces มัสนะห์ สารี Masnah Saree วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Doctor of Education Degree in Educational Administration Hatyai University 2561

Upload: others

Post on 06-Feb-2021

4 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

  • กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน

    เอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Strategic Management Supporting a World-Class Standard

    Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces

    มัสนะห ์ สารี Masnah Saree

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

    มหาวิทยาลัยหาดใหญ ่A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for

    the Doctor of Education Degree in Educational Administration Hatyai University

    2561

  • กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน

    เอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Strategic Management Supporting a World-Class Standard

    Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces

    มัสนะห์ สารี Masnah Saree

    วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

    มหาวิทยาลัยหาดใหญ ่A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for

    the Doctor of Education Degree in Educational Administration Hatyai University

    2561 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ Copyright of Hatyai University

  • (2)

    ชื่อปริญญานิพนธ ์ กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต ้ผู้วิจัย นางมัสนะห์ สาร ีสาขา การบริหารการศึกษา

    อาจารย์ท่ีปรึกษาปริญญานิพนธ์หลัก ............................................................. (รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา จรจิตร) อาจารย์ท่ีปรึกษาปริญญานิพนธ์ร่วม ............................................................ (ดร. กิตติพร เนาว์สุวรรณ)

    คณะกรรมการสอบ ...............................................ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย์ ดร.วัน เดชพิชัย) .............................................................กรรมการ (ดร. อิศรัฏฐ์ รินไธสง) .............................................................กรรมการ (รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา จรจิตร) ..............................................................กรรมการ (ดร. กิตติพร เนาวส์ุวรรณ)

    คณะศึกษาศาสตร์และศลิปศาสตร ์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อนุมตัิใหน้ับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็น

    ส่วนหน่ึงของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบณัฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

    ...................................................................

    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง) คณบดีคณะศึกษาศาสตรแ์ละศิลปศาสตร์ วันท่ี เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2561

  • (3)

    ชื่อวิทยานิพนธ์ กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    ผู้วิจัย นางมัสนะห์ สารี สาขาวิชา การบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2561 ค าส าคัญ กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียน โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

    บทคัดย่อ

    การวิ จั ยแบบผสมวิ ธี นี้ มี วั ตถุ ประสงค์ เพ่ื อ 1) ศึ กษาสภาพปั จจุ บั นและสภาพ ที่ พึ งประสงค์ ในการบริหารจั ดการโรงเรี ยนสู่ การเป็ นโรงเรี ยนมาตรฐานสากล ของโรงเรี ยนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจั งหวั ดชายแดนภาคใต้ 2) เพ่ื อก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียน สู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพ่ือตรวจสอบความเหมาะสมในการน ากลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจั งหวัดชายแดนภาคใต้ ไปใช้ ด าเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ านวน 108 โรงเรียน จากผู้ให้ข้อมูล 411 คน เครื่องมือที่ ใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงล าดับความต้องการจ าเป็น ขั้นตอนที่ 2 การก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ (SWOT Analysis และ TOWS Matrix) จากผู้อ านวยการส านักงานการศึกษาเอกชนอ าเภอ ผู้อ านวยการและหัวหน้าวิชาการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ านวน 21 คน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมในการน ากลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช้ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและแบบสอบถาม จ านวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า

    1. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการน าองค์กร รองลงมาด้านผลลัพธ์ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

  • (4)

    ในภาพรวมมีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ด้านที่มีความพึงประสงค์ในการปฏิบัติอยู่ ในระดับมากสูงสุดเท่ากัน มี 2 ด้าน คือ ด้านการน าองค์กรและด้านผลลัพธ์

    2. การก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ก าหนดกลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รอง 4 ประเภท คือกลยุทธ์เชิงรุก เชิงป้องกัน เชิงแก้ไข และเชิงรับได้ทั้งสิ้น 28 กลยุทธ์หลัก 85 กลยุทธ์รอง

    3. การตรวจสอบความเหมาะสมในการน ากลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียน สู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช ้ทุกกลยุทธ์หลักและกลยุทธ์รองที่ก าหนดมีความเหมาะสมที่จะน าไปใช้ ทั้ งนี้มีการปรับแก้และ รวมกลยุทธ์ได้ทั้งสิ้น 4 กลยุทธ์หลัก 27 กลยุทธ์รอง

  • (5)

    Dissertation Title Strategic Management Supporting a World-Class Standard Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces

    Researcher Mrs. Masnah Saree Major Program Educational Administration Academic Year 2018 Key words strategic management, world-class standard, islamic private school, Three Southern Border Provinces.

    ABSTRACT

    The objectives of this mixed study were 1) To study the current and desirable condition of school management supporting a world-class standard of Islamic private schools in three southern border provinces. 2) To formulate the strategies of the management supporting a world-class standard of Islamic private schools in three southern border provinces. 3) To check suitable the strategies of management supporting a world - class standard of Islamic private schools in three southern border provinces that consisted of three steps, First to study the current and the desired condition to manage and supporting a world - class standard to Islamic private schools in three southern provinces. There are 108 schools for collecting information using questionnaire for focusing on Islamic private schools in three southern border provinces, the total for giving information is 411 people, reliability was 0.92 statistical analysis mean, standard deviation and priority needs index were analyzed. Second to formulate the strategies of the management supporting a world - class standard of Islamic private schools in three southern border provinces by workshop in analysis of the strategy (SWOT Analysis and TOWS Matrix). There are 21 people to formulate participants of workshop. And third to check suitable the strategies of management supporting a world - class standard of Islamic private schools in three southern border provinces by focus group and questionnaires with 9 professionals. The study found as follows. 1. The current condition of management desirable supporting a world-class standard of Islamic private schools in three southern border provinces. The overall performance was at a high level. Average is corporate leadership as same as a desirable condition by the leadership and results, desirable in practice at the highest level.

  • (6)

    2. To formulate the strategies of the management supporting a world - class standard of Islamic private schools in three southern border provinces. There were 4 types of main strategy and minor strategy were strategic proactive, corrective, practical, and preventive. So, for the number of main strategies were 28 and 85 for the minor strategy.

    3. To check suitable the strategies of management supporting a world - class standard of Islamic private schools in three southern border provinces. Every main strategies and minor strategies are suitable, but just edit some main strategy to the minor strategy and collect all strategies become 4 main strategies and 27 of minor strategies.

  • (7)

    กิตติกรรมประกาศ

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างสมบูรณ์เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีจากผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่าน ซึ่งได้ให้การสนับสนุนส่งเสริม สละเวลาให้ค าปรึกษา และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา จรจิตร อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และ ดร.กิตติพร เนาว์สุวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม รองศาสตราจารย์ ดร. วัน เดชพิชัย ประธานคณะกรรมการสอบ อาจารย์ ดร.อิศรัฎฐ์ รินไธสง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา เขตหาดใหญ่ และคณาจารย์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ตลอดจนคณาจารย์มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ทุกท่าน ที่ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มีคุณค่ายิ่งแก่ผู้วิจัย ท าให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    ขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบ ให้ค าแนะน าในการพัฒนาเครื่องมือ ขอบพระคุณผู้ให้ข้อมูลและผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในการก าหนดกลยุทธ์และตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ในการน าไปใช้ จนท าให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์และมีคุณค่ายิ่ง

    ขอบพระคุณผู้อ านวยการส านักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด ส านักงานการศึกษาเอกชนอ าเภอ นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี นักวิชาการศึกษาธิการภาค 8 ผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มสาระทุกท่าน

    ประโยชน์ที่พึงได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นความดีแด่มารดา ครูอาจารย์ และผู้มีอุปการคุณทุกท่านที่มีส่วนส าคัญต่อความส าเร็จในครั้งนี้

    มัสนะห์ สารี

  • (8)

    สารบัญ หน้า บทคัดย่อ ...................................................................................................................................... ..(3) Abstract ...................................................................................................................................... ..(5) กิตติกรรมประกาศ........................................................................................................................ ..(7) สารบัญ ......................................................................................................................................... ..(8) สารบัญตาราง ............................................................................................................................... (11) สารบัญภาพ ................................................................................................................................. (13) บทที่ 1 บทน า .................................................................................................................................... 1 ความเป็นมาของปัญหา ................................................................................................... 1 ค าถามของการวิจัย ......................................................................................................... 6 วัตถุประสงค์ของการวิจัย ................................................................................................ 6 ประโยชน์ของการวิจัย ..................................................................................................... 6 ขอบเขตของการวิจัย ....................................................................................................... 7 ข้อตกลงเบื้องต้น ........................................................................................................... 9 นิยามศัพท์เฉพาะ ............................................................................................................ 9 2 แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................. 11 แนวคิดและทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ .............................................................. 11 ความหมายของกลยุทธ์ ...................................................................................... 11 ทัศนะการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์................................................................... 12 ความส าคัญของการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ................................................... 13 กระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ............................................................... 15 การก าหนดกลยุทธ์ ............................................................................................ 19 กระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษา ........................................ 22 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ............................................................................. 24 การวิเคราะห์ SWOT ........................................................................................ 28 รูปแบบการวางแผนกลยุทธ์ส าหรับโรงเรียนตามแนวคิดของ Fidler .................. 36 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ........................................................................................... 37 แนวคิดการบริหารจัดการโรงเรียน .................................................................................. 38 ความหมายการบริหารจัดการ ........................................................................... 38 ลักษณะกระบวนการบริหารจัดการ .................................................................. 39 การบริหารโรงเรียนและการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชน ............................... 40 บริบทของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ..... 43

  • (9)

    สารบัญ (ต่อ)

    หน้า

    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ............................................................................................ . 44 แนวคิดการพัฒนาโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ......................................... . 46 ความหมายโรงเรียนมาตรฐานสากล ................................................................. . 46 แนวทางการด าเนินการโรงเรียนมาตรฐานสากล ............................................... .. 47 คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล ................................................................ ..47 รูปแบบหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล ......................................................... ..50 คุณภาพของโรงเรียนมาตรฐานสากล...... ......................................................... ..50 การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล...... .................................. ..51 คุณลักษณะการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ...... ...................................... ..53 เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งส านักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน(OBECQA) 57 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .......................................................................................... ..59 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ........................................................................................... .. 63 3 วิธีด าเนินการวิจัย .................................................................................................................. .. 64 การเก็บข้อมูลการวิจัย........................................................................................................ 64 ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พีงประสงค์ในการบริหารจัดการ โรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ................................................. 64 พ้ืนที่ที่ใช้ในการวิจัย .................................................................................... 65 การก าหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ...................................................... 65 เครื่องมือในการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ........................... 66 การเก็บรวบรวมข้อมูล ................................................................................ 68 การวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการทางสถิติที่ใช้ .................................................... 69 ขั้นตอนที่ 2 การก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียน มาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ .......................................................................................... ..71 ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมในการน ากลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียน สู่การเปน็โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช้ .............................................................. 76 4 ผลการวิจัย ............................................................................................................................ 80 ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการ โรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ............................................... 80 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม .................................................. 81

  • (10)

    สารบัญ (ต่อ)

    หน้า ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ...................................... 82 ขั้นตอนที่ 2 ผลการก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียน

    มาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ........................................................................................... 101 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน.......................................................... 101 ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก .................................................... 105

    ผลการก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ด้วยการจับคู่สภาพแวดล้อมภายในกับสภาพแวดล้อม ภายนอก..................................................................................................... 108

    ผลการก าหนดกลยุทธ์หลัก และกลยุทธ์รองการบริหารจัดการโรงเรียนสู่ การเปน็โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้..................................................................... 155 ขั้นตอนที่ 3 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมในการน ากลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียน สู่การเปน็โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปใช้ .............................................................. 166 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ...................................................................... 171 สรุปผลการวิจัย .............................................................................................................. 172 อภิปรายผลการวิจัย ........................................................................................................ 177 ข้อเสนอแนะ .................................................................................................................. 183 ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ ........................................................ 183 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ................................................................ 184 บรรณานุกรม......... ....................................................................................................................... 185 ภาคผนวก......... ............................................................................................................................ 190 ภาคผนวก ก หนังสือขอความอนุเคราะห์ ......................................................... 191 ภาคผนวก ข รายนามผู้เชี่ยวชาญ .................................................................... 202 ภาคผนวก ค เครื่องมือในการวิจัย ................................................................... 206 ภาคผนวก ง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ................................................................. 249 ประวัติผู้วิจัย......... ........................................................................................................................ 271

  • (11)

    สารบัญตาราง ตารางท่ี หน้า 1 แสดงการวิเคราะห์ปัจจัจภายในสถานศึกษด้วยหลัก 7Ss Mckinsey .............................. 30 2 แสดงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษาด้วยหลัก C-PEST ...................... 32 3 การขยายความส าคัญของ Deming ต่อความเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ............................ 55 4 จ านวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง .................................................................................. 65 5 แสดงสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลสถานศึกษา ...................................... 81 6 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในภาพรวม .......................................... 82 7 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการน าองค์กร .............................. 84 8 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ................ 86 9 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียนและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ........................................................................................................... 89 10 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการวัด การวิเคราะห์และ การจัดการความรู้ ........................................................................................................... 92 11 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร...................... 94 12 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการจัดกระบวนการ ..................... 96 13 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ใน การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านผลลัพธ์ ........................................ 98

  • (12)

    สารบัญตาราง (ต่อ) ตารางท่ี หน้า 14 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็น โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ............................................................................................................... 99 15 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็น โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ............................................................................................................... 109 16 การจับคู่ SWOT Matrix ส าหรับกลยุทธ์ SO .................................................................. 116 17 การจับคู่ SWOT Matrix ส าหรับกลยุทธ์ ST ................................................................... 128 18 การจับคู่ SWOT Matrix ส าหรับกลยุทธ์ WO ................................................................. 135 19 การจับคู่ SWOT Matrix ส าหรับกลยุทธ์ WT ................................................................. 147 20 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รองการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเภทกลยุทธ์ เชิงรุก ............................................................................................................................. 155 21 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รองการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลของ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเภทกลยุทธ์ ป้องกัน ........................................................................................................................... 158 22 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รองการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเภทกลยุทธ์ เชิงแก้ไข .......................................................................................................................... 159 23 กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รองการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเภทกลยุทธ์ เชิงรับ .............................................................................................................................. 161 24 แสดงผลการสรุปภาพรวมกลยุทธ์หลักการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียน มาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ..... 164 25 แสดงผลการสรุปภาพรวมกลยุทธ์หลักการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียน มาตรฐานสากลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ......... 173

  • (13)

    สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 ความส าคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ ............................................................................ 13 2 กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ ....................................................................................... 18 3 รูปแบบการวิเคราะห์คุณลักษณะ 7 ประการของ Mc Kinsey ........................................ 26 4 หน้าที่พื้นฐานทางการบริหารในลักษณะวัฏจักรและพลวัต .............................................. 40 5 รูปแบบหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล ........................................................................ 50 6 กรอบความคิดของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งส านักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพ้ืนฐาน (OBECQA) ................................................................................................... 57 7 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ........................................................................................... 63 8 ขั้นตอนการศึกษาสภาพปัจจุบนัและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารจดัการโรงเรียนสู่ การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ด้วยการสอบถาม ......................................................... 70 9 การก าหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ............ 75 10 ขัน้ตอนการศึกษาแนวทางการก าหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็น โรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ .... 79

  • 1

    บทที่ 1

    บทน า

    ความเป็นมาของปัญหา ยุค โลกาภิ วั ตน์ (Globalization) เป็ นยุ คที่ ก ระแส โลก มีการเปลี่ ยนแปลง อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านจากยุคอุตสาหกรรมสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ เป็นเครื่องมือท าให้โลกมีความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร ด้วยเหตุนี้โลกาภิวัตน์จึงมีผลท าให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย ทั้ งระบบเศรษฐกิจ ฐานความรู้ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถปิดตัวอยู่โดยล าพัง ต้องพ่ึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความร่วมมือในการปฏิบัติภารกิจและแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกันมากขึ้น สังคมโลกเกิดการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น ดังนั้นคนยุคใหม่ต้องมีทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ และมีความรวดเร็ว ในการตัดสินใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพ่ือให้ทันกับเหตุการณ์ในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนและมีการแข่งขันมากข้ึน ด้วยเหตุดังกล่าวท าให้หลายประเทศต้องปฏิรูปการศึกษา เพื่อเตรียมคนยุคใหม่ที่มีทักษะและความสามารถในการปรับตัวให้มีคุณลักษณะส าคัญ ในการด ารงชีวิตในโลกยุคใหม่ได้ อย่างรู้เท่าทัน ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงต้องเน้นทางด้านคุณภาพ และเป็นตัวบ่งชี้ที่ส าคัญอันแสดงถึงศักยภาพ ในการแข่งขันของแต่ละประเทศด้วย (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน, 2553)

    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 48 ก าหนดให้สถานศึกษา ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพ่ือที่จะพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับ อันจะน าสู่ความมีมาตรฐานทางด้านการศึกษาและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อีกทั้งมุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระดับคุณภาพการศึกษาเพ่ือเป็นการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 มาตรา 48 ได้ก าหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องด าเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดท ารายงานประจ าปีเสนอต่อหน่วยงานตันสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน อีกทั้งจะต้องรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นองค์กร นิติบุคคลที่ พัฒนามาตรฐาน และตัวชี้วัด เพ่ือประเมินสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งที่บริหารงานโดยภาครัฐและภาคเอกชน จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย เป็นกระจกเงาที่ สะท้อนในเวที โลก จากรายงานของ The Global Competitiveness Report 2013-2014 : World Economic Forum (WEF) (ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา , 2557) เป็นการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผลการประเมินนักเรียนนานาชาติภ าย ใต้ โค ร งก าร Programme for International Student Assessment ห รื อ PISA โด ย มีสารสนเทศเชิงประจักษ์เรื่องคุณภาพการศึกษาของคนไทย ที่มีผลการประเมินต่ าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย

  • 2

    และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2559, น. 4-17) สรุปผลการประเมิน PISA ปี ค.ศ.2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ที่ด าเนินร่วมกับองค์การเพ่ือความร่วมมือทางเศ รษ ฐกิ จและการ พั ฒ นา ห รื อ OECD (Organization for Economic Co-orparation and Development) ที่มีประเทศเข้าร่วมการประเมินผลนักเรียน จ านวน 72 ประเทศ โดยสรุปผล การประเมินของประเทศไทยแนวโน้มจากการประเมิน PISA ปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ. 2015 พบว่าทั้งสามด้าน (วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์) มีผลแนวโน้มลดลง ถึงแม้ว่าช่วง PISA ปี ค.ศ.2009 ถึง PISA ปี ค.ศ.2012 ผลการประเมินด้านวิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์สูงขึ้น แต่ใน PISA ปีค.ศ.2015 ทั้งสามด้านกลับมีคะแนนลดลง โดยการอ่านเป็นด้านที่มีคะแนนลดลงมากที่สุด (ลดลง 32 คะแนน) รองลงมาวิทยาศาสตร์ (ลดลง 23 คะแนน) และคณิตศาสตร์ (ลดลง11 คะแนน) ส่วนผลการประเมินโดยรวม มีผลต่ ากว่าค่าเฉลี่ย OECD อย่างมีนัยส าคัญ คือ คะแนนเฉลี่ยด้านวิทยาศาสตร์ 421 ด้านการอ่าน 409 และด้านคณิตศาสตร์ 415 ทั้งนี้มีความสอดคล้องกับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (Ordinary National Education Testing หรือ O-NET) ที่พบว่าโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน มีผลการประเมินระดับประเทศ คะแนนเฉลี่ยไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ท่ีก าหนด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ ากว่าร้อยละ 50 ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน คือ ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดังที่ข้อมูลสารสนเทศของศึกษาธิการภาค 8 (2558, น.18-52) ได้สรุปว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมระดับประเทศ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพ้ืนฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2558 ในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 44.98 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 37.81 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 34.81 ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความส าคัญ อาทิเช่น ปี 2557 ได้ออกประกาศว่า “ปี พ.ศ. 2557 เป็นปีแห่งการรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา” และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2557) ได้รายงานการส ารวจคุณภาพของระบบการศึกษา (Quality of The Education System) ว่า ประเทศไทยมีคะแนนคุณภาพดีขึ้นจากร้อยละ 3.5 เป็นร้อยละ 3.6 แต่ เมื่อเทียบในระดับโลกยังคงอยู่ในล าดับเท่าเดิม คือ 78 ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชา คือล าดับที่ 76 และมีอันดับเหนือกว่าประเทศเวียดนาม คือล าดับ 95 และเป็นอันดับ 8 ของกลุ่มประเทศอาเซียน จากผลการประเมินดังกล่าวและสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องคุณภาพการศึกษานั้น ท าให้ต้นสังกัดที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพยายามเพ่ิมขีดความสามารถในการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยโครงการ กิจกรรมที่สู่เวที การแข่งขัน และการเทียบเคียงมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น ในการพัฒนาหรือยกระดับโรงเรียนสู่มาตรฐานสากลนั้น มิใช่การปรับตัวสู่ความหรูหรา แต่เป็นการยกระดับการท างานขององค์กรให้เทียบเท่าระดับสากล ทั้งนี้ฝ่ายบริหารชั้นสูง ต้องเป็นผู้น าในการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายบริหารชั้นกลาง ต้องช่วยผลักดัน และฝ่ายปฏิบัติการทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการด าเนินการกิจกรรม และเมื่อทุกฝ่าย มีความเห็นพร้อมกัน และร่วมกันปรับปรุงองค์กรเพ่ือมุ่งสู่มาตรฐานสากล ด้วยหลากหลายรูปแบบ ก็สามารถกระท าได้

    กระทรวงศึกษาธิการโดยส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน และมีนโยบายการพัฒนาโรงเรียนให้มี การเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนต่อยอดจากหลักสูตร

  • 3

    แกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐานสู่การเป็นพลโลก มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ เป็นเยาวชนไทยรุ่นใหม่ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถสื่อสารได้สองภาษา ล้ าหน้าในทางความคิด สามารถผลิตงานได้อย่างสร้างสรรค์และมีจิตร่วมรับผิดชอบต่อสังคมโลก พัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงเรียนด้วยระบบคุณภาพ อันเป็นกลไกส าคัญในการผลักดัน“บริหารเยี่ยม ผลลัพธ์ยอด”ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (OBECQA) ที่ อิงแนวทาง การด าเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award-TQA) อันเป็นเกณฑ์ ที่มีต้นแบบการพัฒนามาจากรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศอเมริกา ที่เรียกว่า The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่ งมีการพัฒนา ปรับปรุงมาตลอด และได้รับ การยอมรับว่าเป็นระบบที่พัฒนาองค์กรให้มีผลการด าเนินการที่เป็นเลิศ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการด าเนินการประเมิน คือ สถาบันเพ่ิมผลผลิตแห่งชาติ พัฒนายกระดับการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นทางด้านภาษาเพ่ือการสื่อสาร เสริมสร้างทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

    นโยบายเรื่องการพัฒนายกระดับโรงเรียนให้เทียบเคียงมาตรฐานสากลนั้นไม่ใช่เฉพาะการพัฒนาโรงเรียนของรัฐเท่านั้น แต่รวมถึงการจัดการศึกษาในส่วนโรงเรียนที่บริหารงาน โดยเอกชนด้วย โรงเรียนเอกชนได้เข้ามามีบทบาทที่ส าคัญในการให้บริการด้านการศึกษา เพ่ือแบ่งเบาภาระของรัฐมาโดยตลอด โดยเฉพาะในส่วนที่ รัฐไม่สามารถจัดการศึกษาได้หรือจัดการศึกษาได้ แต่ไม่เพียงพอ อันเนื่องมาจากข้อจ ากัดด้านทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัด ภายใต้การดูแลของส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก าหนดให้รัฐสนับสนุนเอกชนในการจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม และค านึงถึง การมีส่วนร่วมของเอกชน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพ่ิมเติม (พ.ศ. 2545) มาตรา 43 บัญญัติ ให้ รัฐสนับสนุนเอกชน ให้ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยให้ ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือการยกเว้นภาษีและสิทธิประโยชน์ ทางการศึกษาแก่สถานศึกษาเอกชนรวม อีกทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการ เพ่ือให้สถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐานและสามารถพึงตนเองได้

    ส าหรับการจัดการศึกษาในพ้ืนที่พิเศษสามจังหวัดชายแดนใต้ คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพ้ืนที่ที่มีลักษณะพิเศษทั้งในแง่ของความเป็นมา ทางประวัติศาสตร์ การเป็นดินแดนที่เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอิสลามที่ส าคัญและเป็นที่รู้จัก และ เป็นพ้ืนที่ที่มีประชากรหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวไทย เชื้อสายมลายูซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2552, น. ฆ) ได้ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ความเชื่อ ค่านิยมตามวิถีชีวิตของมุสลิมในการเล่าเรียนศาสนา มีอิทธิพลต่อการด าเนินชีวิตของประชาชนในทุก ๆ ด้าน รวมถึงด้านการศึกษา ซึ่งในทัศนะของอิสลามนั้น มุสลิมที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่ยึดมั่นกับหลักค าสอนของอิสลาม เป็นวิถีในการด าเนินชีวิตที่ถูกต้อง และการรู้จักศาสนาควรจะต้องผ่านกระบวนการศึกษา ซึ่งต้องเป็นการศึกษาด้านอิสลามท่ีมีความเข้มข้น มีคุณภาพและเป็นการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถด ารงชีวิตตามวิถีทางศาสนาได้อย่างเคร่งครัด ประกอบกับความเชื่อของผู้ปกครองที่ว่า เป็นการไม่สมควรหากส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนของรัฐ ซึ่งมี

  • 4

    การจัดการเรียนการสอนรวมกันระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีการจัดกิจกรรมที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธ ไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นมุสลิม จะกระทบต่อความเชื่อของศาสนาอิสลาม จึงนิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

    โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เป็นสถาบันการศึกษาที่วิวัฒนาการมาจากปอเนาะดั้งเดิม ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีการวัดผลและประเมินผล ไม่มีชั้นเรียนและถูกมอง ในแง่ลบ จึงก่อให้เกิดความพยายามจากหน่วยงานภาครัฐและจดทะเบียนเปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม โดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ท าให้ มีการเพ่ิมหลักสูตรวิชาสามัญศึกษา ต่อมาได้เปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม มาจนถึงปัจจุบัน (ชมพูนุช นิยมแย้ม, 2547, น. 6) ภายใต้การดูแลของส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสามารถจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ในหลักสูตรเน้นการศึกษาควบคู่วิชาสามัญกับวิชาอิสลามศึกษา ภายใต้พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 แก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ในการจัดการศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพ มีการเปลี่ยนแปลงจากการจัดการศึกษาที่เรียบง่าย เน้นการศึกษาศาสนามาเป็นการจัดการศึกษาสมัยใหม่ที่ถูกก าหนดโดยมาตรฐานและตัวชี้วัดต่างๆ ที่ใช้เป็นกลไกควบคุมคุณภาพ (นิเลาะ แวอุเซ็งและคณะ, 2552, น. 743) ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของการศึกษาขั้นพ้ืนฐานและมาตรฐานคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ ขณะเดียวกันส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (2556, น.56) ได้จัดท าแผนยุทธศาสตร์เพ่ือก าหนดกรอบแนวทางการส่งเสริมการศึกษาเอกชนระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2556 -2560) ซึ่งก าหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “การศึกษาเอกชนมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล” ซึ่งส่งผลต่อโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ต้องมีการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่ก าหนด ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาให้มีทักษะที่ส าคัญในศตวรรษท่ี 21 การเทียบเคียงการบริหารจัดการโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ทั้งนี้ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนก็ไม่ได้มีโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนายกระดับคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล ประกอบกับไม่มีศึกษานิเทศก์ให้ความช่วยเหลือในการด าเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงมาตรฐานสากล ดังนั้นด้วยบริบทของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จึงต้องท าการพัฒนาตนเอง และการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีการจัดการศึกษาที่เน้นภาษาต่างประเทศ 3 ภาษา คือ 1) ภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษาวิชาอิสลามศึกษาและนักเรียนส่วนหนึ่งที่จบการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ติดตามผู้ปกครองไปประกอบอาชีพรับจ้างในประเทศมาเลเซีย 2) ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเรียนรู้ศาสตร์อิสลามศึกษาจากคัมภีร์อัลกุรอาน และเป็นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในประเทศตะวันออกกลาง และ 3) ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่สองที่ก าหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการให้มี การจัดการศึกษาตามหลักสูตรที่ก าหนด ส่วนด้านการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามกรอบโรงเรียนมาตรฐานสากลนั้นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ได้ด าเนินการ ทั้งนี้ภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนของส านักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดและส านักงานการศึกษาเอกชนอ าเภอในพ้ืนที่

  • 5

    ส าหรับสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การดูแลของส านักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด ส านักงานการศึกษาเอกชนอ าเภอ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่ได้จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 9 ปี นับว่าหน่วยงานราชการใหม่ มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาเอกชนในเขตพ้ืนที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกรอบแนวทางการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาเอกชนของส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส านักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก าหนดกรอบแนวทางการพัฒนาการศึกษาเอกชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพ่ือส่งผลต่อวิสัยทัศน์ที่ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนได้ก าหนด ได้ปฏิบัติภารกิจในการประเมินคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ตลอดจนมีความประสงค์ที่จะส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพ่ือเทียบเคียงมาตรฐานสากล ทั้งนี้ข้อมูลสารสนเทศส านักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี (2559) ซึ่งมีภารกิจในการจัดท าข้อมูลสารสนเทศของการศึกษาเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ านวนทั้งสิ้น 158 โรง ดังนี้ จังหวัดปัตตานี จ านวน 65 โรง จังหวัดยะลา จ านวน 41 โรง และจังหวัดนราธิวาส จ านวน 52 โรง อย่างไรก็ตามโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เป็นโรงเรียนนิติบุคคล บริการการศึกษาที่เป็นทางเลือกตาม อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ที่สถานศึกษาก าหนด อีกทั ้งต้องคิดพัฒนาอย่างต่อเนื ่องเพื่อเพิ่ม การยอมรับและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพเทียบเคียงมาตรฐานสากล

    จากความส าคัญของการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสกล ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้กลยุทธ์ทางการบริหารการศึกษา เพ่ือยกระดับโรงเรียนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ด้วยการบริหารจัดการโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศแบบก้าวกระโดด มีการเทียบเคียงส