tourism cultural

4
เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Upload: rudeekorn-dechachai

Post on 27-Mar-2016

221 views

Category:

Documents


2 download

DESCRIPTION

cultural for tourim in chiangrai province thailand.

TRANSCRIPT

Page 1: tourism cultural

เ อ ก ลั ก ษ ณ์ ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม เ ชี ย ง ร า ย

Page 2: tourism cultural

เชียงราย “เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง” จากคำขวัญดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่าเชียงรายเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานมีความสัมพันธ์กับแดนดินใกล้เคียงมีความหลากของกลุ่มชาติพันธุ์และมีความงดงามด้วยธรรมชาติศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ความยาวนานย้อนหลังไปในอดีตของกลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงรายยืนยันได้จากหลักฐานของนักโบราณคดีที่พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหินในบริเวณแถบนี้ตลอดจนตำนานและพงศาวดารต่างๆมากมายดร.ฮันส์ เพนธ์(HansPenth)ชี้ว่า ชินกาลมาลีปกรณ์เรียกอาณาจักรของราชวงศ์ลวจังกราชว่า “แคว้นโยนก”มีความเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาแต่สมัย

ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เชียงแสนหลวงสิบสองจุไทสิบสองปันนากระทั่งถึงสมัยเชียงใหม่ ลำพูนลำปาง ฯลฯนับเป็นวัฒนธรรมที่มีสายยาวมากมีประเพณีสืบเนื่องกระทั่งปัจจุบันทำให้เชียงรายได้ชื่อว่า “โยนกนคร”อันเป็นชื่อของกลุ่ม “ไทยวนหรือคนเมือง”สัมพันธ์กับความอุดมสมบูรณ์ภูมิศาสตร์ของเชียงรายซึ่งเรียกว่าเป็นอู่ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ที่ลาบลุ่มที่สำคัญ๔แหล่งคือที่ลุ่มแม่น้ำอิงที่ลุ่มแม่น้ำกกที่ลุ่มแม่น้ำลาวและที่ลาบลุ่มเชียงแสน กลุ่มชาติพันธุ์ละว้าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมนักประวัติศาสตร์นักมานุษยวิทยาและนักวิชาการด้านเกษตรล้วนระบุตรงกันว่าละว้าเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของสยามประเทศตั้งถิ่นฐานอยู่๓แคว้นคือแคว้นโยนกในภาคเหนือแคว้นโคตรบูรณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและแคว้นทวารวดีในภาคกลางก่อนคนไทยจะเคลื่อนย้ายจากเมืองแถนหรือเมืองเทียน(นครคุนหมิง)มาตั้งถิ่นฐานกระทั่งรวมตัวเป็นรัฐชาติ นอกจากนี้ ดร.ฮันส์ เพนธ์ยังได้ข้อสรุปว่าอักษรไทยยุคต้นคงมีใช้ในกลุ่มคนไทยที่มีความสัมพันธ์กับมอญหลังคนไทยตั้งตัวอย่างถาวรใกล้คนมอญและคนเขมรแล้วได้ปรับปรุงอักษรไทยยุคต้นให้เป็นมาตรฐานมีการผสมอักษรสุโขทัยกับอักษรธรรมที่ปัจจุบันเรียกว่า“อักษรฝักขาม”ใช้ในล้านนามาตั้งแต่พ.ศ.๑๙๕๕และแพร่หลายเลยเชียงตุงขึ้นไปถือเป็นอักษรราชการของล้านนาจดหมายของทูตที่ส่งไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนก็เขียนด้วยอักษรฝักขามนอกจากนี้ไทยยวนในล้านนายังใช้อักษรอีกชนิดที่

เรียกว่า“ตัวเมือง”หรือ“ตัวธรรม” ตำนานล้านนาล้วนกล่าวถึงชาวละว้าในดินแดนโยนกเอาไว้ ว่าละว้าตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่หลายแห่ง เช่น

ดอยสามเส้าหรือดอยตายะสะดอยย่าเฒ่าและดอยตุงเป็นถิ่นฐานของละว้ามีปู่เจ้าลาวจกต้นราชวงศ์ลวจักราชเป็นผู้นำต่อมาได้ย้ายลงมาสร้างเมืองเชียงลาวในลุ่มน้ำละว้า (ลุ่มน้ำแม่สาย)และเวียงพางคำชาวโยนกรุ่น

แรกสมัยพญามังรายและสมัยต่อๆมาคงรับวัฒนธรรมละว้า เพราะนับถือผีบรรพบุรุษคล้ายคลึงกันเช่น การนับถือผีปู่ย่ า การใช้ตุงสามหางนำหน้าขบวนศพการปลูกบ้านแล้วทำไม้

ไขว้กันเหนือจั่ว ที่เรียกว่า“กาแล”(ครึแลในภาษาละว้า)

ตอนที่ 1 :ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 3: tourism cultural

ส่วนทะเลสาบเชียงแสนในตำบลเวียงโยนกสันนิษฐานว่าในอดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองโยนกนาคบุรีศรีช้างแสน (โยนกนาคพันธุ์) มีการพบกล้องยาสูบดินเผา (หม้อยา) จำนวนมากกระจายอยู่บริเวณรอบทะเลสาบอีกทั้งในตัวเมืองเก่าเชียงแสนมีพระธาตุเจดีย์และโบราณสถาน รวมทั้งกำแพงเมืองและคูเมือง เช่นเดียวกับเมืองตำมิละ ที่ยังปรากฏซากกำแพงเมืองและคูเมืองอยู่ในพื้นที่ตำบลเวียงอำเภอเชียงของ

ปัจจุบันที่ เชียงรายมีชาวละว้า กลุ่มที่ เรียกตนเองว่า “ลัวะ” “ว้า” และ “ปลัง” ตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในพื้นที่ ๙ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงรายพาน เวียงแก่น เชียงแสน เวียงป่าเป้าแม่ลาวแม่จันแม่ฟ้าหลวงและแม่สายชาวละว้าเหล่านี้คงสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา รักษาวัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อดั้งเดิม เช่นเดียวกับละว้าในเชียงใหม่ที่ก่อนเข้าพรรษาแต่ละปี จะ

ประกอบพิธีไหว้ดงหรือไหว้ผียักษ์ และมีการผสมกลมกลืนทางภาษาและวัฒนธรรมกับคนไทยที่เข้ามาอยู่ใหม่

โดยต่างยอมรับในวัฒนธรรมของอีกฝ่ายพร้อมทั้งปรับตัวเข้าหากันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในด้านการเกษตรชาวละว้าทำนาข้าวไร่หรือ “นาน้ำฟ้า” ใช้น้ำฝนเป็นหลักส่วนชาวไทยทำ“นาน้ำเหมือง” ใช้น้ำจากฝายหรือชลประทานราษฎร์ดังมีคำกล่าวว่า“ลัวะเยี้ยไฮ่บ่หื้อตายคาไทใส่นาบ่หื้อตายแดด” กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเชียงรายมีข้อสันนิษฐานว่า เคลื่อนย้ายลงมาจากพื้นที่แนวขนานแม่น้ำสามสายคือแม่น้ำโขงแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำแยงซีในมณฑลยูนนานลงมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่ราบลุ่มเชียงแสนซึ่งเป็นที่ราบลุ่มที่สำคัญและกระจายตัวไปในแหล่งต่างๆโดยเฉพาะในที่ราบเชิงเขา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไตกะไดเช่นไตลื้อไตยองไตใหญ่ไตขืน (ไตเขิน) เคลื่อนย้ายลงมาตั้งถิ่นฐานในเชียงรายและภาคเหนือตอนบนหลายวาระ ส่วนหนึ่งได้อพยพโยกย้ายในสมัยกรุงธนบุรีและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตามนโยบายเจ้ากาวิละอันเป็นช่วงที่เริ่มก่อร่างสร้างเมืองใหม่หรือ “ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง”หลังเป็นอิสระจากอำนาจของพม่าที่เข้ามาปกครองในล้านนา หลังคณะมิชชันนารีอเมริกันนำโดยWilliamCliftonDoddหรือ“หมอดอดด์” เดินทางขึ้นไปเผยแพร่คริสต์ศาสนาในยูนนานซึ่งประชากรส่วนหนึ่งเป็นชาวไตหย่า ชาวบ้านได้รับรู้ว่าดินแดนไทยอุดมสมบูรณ์ เปี่ยมด้วยสันติสุขจึงพากันรอนแรมลงมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอแม่สายพร้อมทั้งเลิกนับถือผีซึ่งมีพ่อมด/ย่ามดเป็นตัวกลางในการติดต่อกับผีต่างๆแล้วหันมานับถือคริสต์ศาสนา

การกระจายตัวของกลุ่มภาษาไตกะได

ตอนที่ 1 :ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย

Page 4: tourism cultural

พิธีไหว้ผีดอยตองของชาวเชียงราย

ดอยตุงในอดีต

กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงรายรวมทั้งในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวินอาจจำแนกตามกลุ่มภาษาเป็น๓กลุ่มใหญ่คือ ๑)ตระกูลจีน –ธิเบต (Sino - Tibetan)แบ่งเป็นสาขาธิเบต - พม่า คือ ลิซู (ลีซอ) ลาหู่ และอาข่า สาขาคะเร็น คือกะเหรี่ยงและสาขาม้ง–เย้าคือม้งและเย้า(อิ้วเมี่ยน) ๒)ตระกูลออสโตร–เอเชียติค(Austro-Asiatic)สาขามอญ – เขมร ได้แก่ ละว้า (ละเวือะ) ลัวะ (มัล) ลัวะ (ไปร) ขมุ(กำหมุ)มาบรี (ผีตองเหลือง)ปะหล่อง (ดาระอั้ง / เตออั้ง)ชาวสักส่วยโซ่กุยเซมัง–ซานอยซาไกฯลฯ ๓)ตระกูลมาลายู – โพลิเนเซียน (Malayu -Polinesian)สาขามาเลย์ได้แก่ชาวเลหรืออูลังลาโอต วิธีที่สองด้านมานุษยวิทยา จำแนกเป็น๒กลุ่มใหญ่ๆ ยึดวัฒนธรรมเป็นหลักได้แก่ ๑)กลุ่มวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับจีนหรือตระกูลจีน –ธิเบต(Sino–TibetanStock)ได้แก่ม้งและเย้า ๒)กลุ่มวัฒนธรรมที่สืบเชื้อสายธิเบต–พม่า (Burmese–Tibetan Stock) ได้แก่ ลาหู่ ลีซู อาข่า และกะเหรี่ยง นอกจากวิธีจำแนกดังกล่าวยังมีกลุ่มภาษาไตกะได ที่มีกลุ่มชนเข้าตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจำนวนมากได้แก่ไทลื้อไทยองไทเขินและไทยโยนก

ตอนที่ 1 :ชาวเชียงราย...........ใช่ว่าจะไร้ราก

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเชียงราย