สื่อการเรียนรู้ history

25
Nuttapat M.6.6 No.49 ประศาสตสากล ดโดย นาย ฐทร มวงฒ .6.6 เลข 49 เสนอ เอนใจ ไชยล โรงเยน สาคทยาคม งหด เยงราย ประศาสตสากล นาย ฐทร มวงฒ .6.6 เลข 49

Upload: draftfykung-ucslkam

Post on 08-Jul-2015

622 views

Category:

Education


7 download

DESCRIPTION

sdasd

TRANSCRIPT

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ประวัติศาสตร์สากล

จัดทำโดย

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์

ม.6.6 เลขที่ 49

เสนอ

ครู เตือนใจ ไชยศิลป์

โรงเรียน สามัคคีวิทยาคม จังหวัด เชียงราย

ประวัติศาสตร์สากล

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ประวัติศาสตร์ หมายถึง

- การศึกษาอดีตในช่วงหนึ่งหรือสมัยหนึ่ง

- เรื่องราวเกี่ยวกับสังคมมนุษย์

- มีเหตุผลและถูกต้องตามความจริงโดยปราศจากอคติแล้ว

- ผ่านวิธีการตรวจสอบข้อเท็จจริง

เฮโรโดตัส (Herodotus ชาวกรีก : 484 – 425 ก่อน ค.ศ.)

- บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์

- บัญญัติคำว่า ประวัติศาสตร์ (History) เป็นภาษากรีก : Historiai แปลว่า ไต่สวน สืบสวน

- ผู้วางรากฐานความรู้ทางประวัติศาสตร์ พัฒนาไปสู่ “วิธีการทาง ประวัติศาสตร์”

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ : บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

คุณสมบัติของนักประวัติศาสตร์

1. มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)

2. มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)

3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)

4. มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)

5. มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ(เหตุผล) (Logic)

6. มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)

7. มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)

8. มีจินตนาการ (Historical imagination)

การนับศักราชสากล

ศักราช เริ่มเมื่อ เทียบพ.ศ.

พุทธศักราช (พ.ศ.) พระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพาน (ไทยนับถัดไป 1 ปี)

คริสต์ศักราช (ค.ศ.) พระเยซูประสูติ (B.C. = ปีก่อนพระเยซูประสูติ) - 543

ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.) นบีมูฮัมหมัดอพยพชาวมุสลิมจากเมืองเมกกะไปเมืองเมดินะฮ์ พ.ศ.1165 - 1122

มหาศักราช (ม.ศ.) สมัยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะของอินเดีย ใช้ในสมัยสุโขทัย -621

จุลศักราช (จ.ศ.) ศักราชของพม่า ใช้ในสมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 5 -1181

รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.) สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 – 6 -2324

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

การนับช่วงเวลา

- ทศวรรษ = รอบ 10 ปี [ทศวรรษที่ 2010 = ค.ศ.2010-2019]

- ศตวรรษ = รอบ 100 ปี [พุทธศตวรรษที่ 26 = พ.ศ.2501-2600]

- สหัสวรรษ = รอบ 1,000 ปี [สหัสวรรษที่ 3 = พ.ศ.2001-3000]

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre – Historical Period)

- สมัยก่อนที่มนุษย์จะประดิษฐ์ตัวอักษร

- ช่วงตั้งแต่ 1 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 5,000 ปีก่อน ค.ศ.

- วิทยาการ = มีความรู้เทคโนโลยีระดับต่ำ

+ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับความจำเป็นในชีวิตแบบง่ายๆ

เครื่องมือหยาบๆ ที่ทำด้วยหิน กระดูกสัตว์ และไม้

- การดำเนินชีวิต = เร่ร่อนจับสัตว์และขุดรากไม้กิน

- การศึกษาทางประวัติศาสตร์ = หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางสภาพแวดล้อม เพราะยังไม่รู้จักใช้ตัวอักษร จึงไม่มีเอกสารจดบันทึก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre – Historical Period) แบ่งเป็น 2 ยุค

1.1 ยุคหิน (Stone Age)

ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาการทางวิทยาการ

สังคมล่าสัตว์

- มนุษย์เร่ร่อนตามแหล่งอุดมสมบูรณ์ อาศัยตามถ้ำและเพิงผา

- ล่าสัตว์และหาพืชผลไม้จากป่าเป็นอาหาร

- มีพิธีฝังศพ

- พบภาพวาดตามผนังถ้ำที่ใช้ฝุ่นสี + ยุคหินเก่า

- 2,500,000 – 10,500 ปี

- ใช้เครื่องมือหินกะเทาะหน้าเดียว (ขวานกำปั้น) หรือทำจากกระดูกสัตว์

- รู้จักการใช้ไฟ

+ ยุคหินกลาง

- 10,500 – 10,000 ปี คือ

- ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ประณีตขึ้น และขนาดเล็กลง

- รู้จักการทำเครื่องจักสาน

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

สังคมเกษตรกรรม

- มนุษย์ตั้งถิ่นฐานถาวร (กระท่อมดินเหนียว) รวมกันเป็นหมู่บ้านใกล้แหล่งน้ำ

- มีการประกอบพิธีกรรมบูชาสิ่งเหนือธรรมชาติเพื่อให้พืชเจริญงอกงาม

- สังคมมีความซับซ้อน มีการจัดสถานะทางสังคม การแบ่งงานกันทำ และการติดต่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างชุมชน + ยุคหินใหม่

- 10,000 – 4,000 ปี

- ใช้เครื่องมือหินขัด

- เริ่มมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์

- รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และการทอผ้า

1.2 ยุคโลหะ (Medal Age)

ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาการทางวิทยาการ

สังคมเมือง

- มนุษย์อยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่

- มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นนำไปสู่การพัฒนาเป็นรัฐในเวลาต่อมา + ยุคสำริด

- 4,000 – 2,700 ปี

- เครื่องมือที่ทำจากสำริด = ทองแดง +ดีบุก หล่อเป็นขวาน หอก ภาชนะ และเครื่องประดับ

+ ยุคเหล็ก

- 2,700 – 2,000 ปี คือ

- รู้จักนำเหล็กมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่คงทนกว่าสำริด

- เหล็กนำไปทำอาวุธพัฒนากองทัพมีกำลังทหารเข็มแข็ง ยึดครองสังคมอื่นได้

2. สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period)

- สมัยก่อนที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวในสังคม

- ช่วงตั้งแต่ 2,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นต้นมา

- แต่ละสังคมเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน

ยุคสมัย อารยธรรมตะวันออก อารยธรรมตะวันตก

จีน อินเดีย

แบ่งตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์ แบ่งตามศูนย์กลางอำนาจ แบ่งตามเหตุการณ์สำคัญ

สมัยโบราณ ชาง โจว จิ๋น ฮั่น :

การวางรากฐานสู่การสร้างจักรวรรดิ การสร้างรัฐของชาวอารยัน การสั่งสมอารยธรรมและความเจริญ (เมโสโปเตเมีย /อียิปต์/กรีก/โรมัน) นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

สมัยกลาง สุย ถัง ซ่ง หยวน :

ความรุ่งเรือง จนไปสู่การรุกรานของมองโกล สุลต่านแห่งเดลี (มุสลิม) การครอบงำโดยคริสต์ศาสนาและระบบขุนนาง (ศักดินาสวามิภักดิ์)

สมัยใหม่ หมิง ชิง :

การขับไล่มองโกล อาณานิคมอังกฤษ การปฏิวัติทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

สมัยปัจจุบัน สาธารณรัฐสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เอกราชและการแยกประเทศ สมัยสงครามอุดมการณ์ทางการเมือง (สงครามเย็น)

วิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ความจริงหรือใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยอาศัยการวิเคราะห์จากหลักฐานประเภทต่างๆ

ขั้นตอนและวิธีการทางประวัติศาสตร์

1. กำหนดปัญหา

- ศึกษาอะไร ที่ไหน อย่างไร

- หัวข้อหรือประเด็นศึกษา ไม่กว้างหรือไม่แคบเกินไป

2. รวบรวมหลักฐาน

ค้นคว้าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ให้ครบถ้วนที่สุด

3. การตรวจสอบและประเมินคุณค่าของหลักฐาน(หรือการวิพากษ์) แบ่งได้ 2 ทาง

3.1 การตรวจสอบภายนอก (การวิพากษ์ภายนอก)

- เป็นของจริงหรือของปลอม

- เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือชั้นรอง

3.2 การตรวจสอบภายใน (การวิพากษ์ภายใน)

- หลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่

- ขัดแย้งกับหลักฐานอื่นหรือไม่

4. การตีความหลักฐาน แบ่งได้ 2 ระดับ

4.1 ตีความขั้นต้น

- ตีความตามตัวอักษรหรือรูปภาพ

4.2 ตีความขั้นลึก

- จุดมุ่งหมายของผู้เขียน

การตีความต้องวางใจเป็นกลาง การตีความเรื่องหนึ่งอาจไม่ใช่ข้อยุติ หากพบหลักฐานใหม่ สามารถตีความแตกต่างไปจากเดิมได้

5. การเรียบเรียงและการนำเสนอ

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

- ใช้ภาษาง่ายๆในการเรียบเรียงข้อมูล

- อธิบายอย่างสมเหตุสมผล ต่อเนื่อง

- นำเสนอน่าสนใจ

- อ้างอิงหลักฐาน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Historical source) หมายถึง ร่องรอยจากพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตจากการกระทำ การพูด การเขียน การสร้างสรรค์ การอยู่อาศัย ความคิด โลกทัศน์ ความรู้สึก ประเพณี รวมทั้งสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมมนุษย์

การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

1. หลักฐานแบ่งตามลักษณะการบันทึก

1.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

- จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ เอกสารราชการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย และวรรณกรรม

1.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

- หลักฐานทางโบราณคดี เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก ฯลฯ

2. หลักฐานแบ่งตามแหล่งข้อมูลหรือความสำคัญ

2.1 หลักฐานชั้นต้น (ปฐมภูมิ)

- ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรงได้บันทึก สร้าง หรือจัดทำขึ้น - เช่น บันทึกส่วนตัว กฎหมาย หนังสือพิมพ์ จดหมายโต้ตอบ รวมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ

2.2 หลักฐานชั้นรอง (ทุติยภูมิ)

- จัดทำขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้นๆ ผ่านพ้นไปแล้ว

- ส่วนใหญ่ปรากฏในรูปของงานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นและเพิ่มเติมด้วยความคิดเห็นของผู้เขียน เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือเรียน ต่าง ๆ

อารยธรรมตะวันออก

อารยธรรม (Civilization) หมายถึง สิ่งที่สังคมมนุษย์ สั่งสมกันมาเป็นเวลานาน ได้รับการถ่ายทอด และ สืบต่อกันมาจนกลายเป็นสังคม ชุมชนที่มีวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น จนมีความซับซ้อนของสังคมมนุษย์ เช่น ความสามารถในด้านเกษตรกรรม ความสามารถในการจัดสรรแรงงาน หรือการมีประชากรอาศัยในชุมชนมากพอที่จะก่อตั้งเป็นเมือง อารยธรรมอาจใช้รวมความถึงการประสบความสำเร็จของมนุษย์และการขยายถิ่นฐาน

ยุคโบราณ (นับตั้งแต่มีตัวอักษรจนถึงโรมันล่มสลาย /476 AD) –เมโส อียิปต์ กรีก โรมัน

ยุคกลาง ตั้งแต่ 476 AD ถึง โคลัมบัสค้นพบอเมริกา (1492AD) / กรุงคอนสแตนติโนเปิลล่มสลาย (1453AD)

*ยุคแห่งความศรัทธา(ศาสนจักรเฟื่องฟู) / ระบบฟิวดัล-เศรษฐกิจแมนเนอร์ / สงครามครูเสด

-ยุคกลางมี 2 ช่วง ยุคมืด กับ เรเนสซองค์

ยุคมืด –ตั้งแต่โรมันล่มสลาย ถึง คริสตจักร+ฟิวดัล เสื่อม นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

เรเนสซองค์ –กูเทนเบิร์กเริ่มประดิษฐ์แท่นพิมพ์ ท าให้ความรู้ ความคิดแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว จนสิ้นสุด

เมื่อ มีการค้นพบโลกใหม่ จึงเข้าสู่ ยุคใหม่

ยุคใหม่ เริ่มตั้งแต่ค้นพบโลกใหม่ จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1945)

*การส ารวจทางทะเล / ลัทธิพาณิชยนิยม / เกิดแนวคิดปรัชญาการเมือง-ต่อต้านศาสนา / ปฏิรูปศาสนา-

วิทยาศาสตร์-อุตสาหกรรม / ลัทธิจักรวรรดินิยม / สงครามโลก

ยุคปัจจุบัน ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน

ยุคทางเศรษฐกิจ

ปฏิวัติเศรษฐกิจครั้งแรก -> ปฏิวัติเทคโนโลยีครั้งแรก -> เส้นทางสายไหม -> ศก.แบบแมนเนอร์ -> ลัทธิพาณิช

นิยม -> ค้นพบโลกใหม่ การค้าทางทะเลขยายตัว -> ปฏิวัติอุตสาหกรรม -> การค้าแบบเสรีนิยม -> ระบบทุนนิยม

เรียง Century กันดีกว่า

C.4(ตอนปลาย) สถาปนาจักรวรรดิโรมันตะวันออก

C.5-15 ยุคกลาง

C.5-10 ยุคมืด

C.10-18 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

C.11-12 ยุคศรัทธาศาสนา / สงครามศาสนา

C.11-13 สงครามครูเสด

C.11-13 ยุคฟิวดัลเฟื่องฟู

C.14-15 สงคราม 100 ปี (ฝรั่งเศส)

C.14-16 ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

C.15(ตอนกลาง) โรมันตะวันออกล่มสลาย

C.15-20 สมัยใหม่

C.15-16 สมัยแห่งการค้นพบ (ล่าอาณานิคม)

C.15 สงครามดอกกุหลาบ (อังกฤษ)

C.16 ยุคแห่งการส ารวจ

C.16-17 ปฏิวัติทางการค้า

C.17 ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ปฏิรูปศาสนา

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

C.18 สมัยภูมิธรรม

C.18-19 ปฏิวัติอุตสาหกรรม

C.19 ลัทธิจักรวรรดินิยม

C.20 สงครามโลกครั้งที่ 1-2

**** เนื้อหาทั้งหมด สรุปแค่ concept ส่วนที่ต้องหยิบมาจ า อย่าหวังว่าอ่านชีทแล้วจะได้เต็มนะเห้ย คนท ายังไม่รู้

ชะตากรรมตัวเองเลย 55 อ่าหนังสือมาก่อนซักรอบจะดีมากนะ มีข้อผิดพลาดไรก็บอกนะ บางทีก็เบลอบ้างไรบ้าง

ยุคโบราณ (Ancient Age) (เน้นกรีก-โรมัน เพราะตอน FOR ออกน้อย ที่เหลือดูผ่านๆ)

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มน.ไทกริส ยูเฟรติส) อิรักในปัจจุบัน

เมโสโปเตเมีย แปลว่า ดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างสองลุ่มน้ า ถูกขนานนามว่า “ ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวอัน

อุดมสมบูรณ์” พูดอย่างงี้จะเห็นภาพว่าดินแดนทอดยาวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปถึงอ่าวเปอร์เซีย แบบแนวตั้ง

บริเวณเมโสโปเตเมียเป็นบริเวณที่มีอากาศรุนแรง ฤดูร้อน อากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด ฝนตก

น้อย ท าให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขาดความกระตือรือร้น แถมยังตั้งอยู่ในพื้นที่โล่ง ปราศจากก าแพงธรรมชาติที่

จะป้องกันการบุกรุกจากศัตรูภายนอกเมื่อถูกศัตรูที่แข็งแกร่งรุกรานก็หลีกทางให้ เมโสโปเตเมียจึงเป็นบริเวณที่มี

คนหลายชนชาติ หลายภาษาผลัดเปลี่ยนกันเข้ายึดครองตลอดเวลา

เริ่มเลยนะ สุเมเรียน : อักษรลิ่ม(คูนิฟอร์ม) / +-x / มหากาพย์กิลกาเมซ / ซิกกูแรต / K. มีหน้าที่เป็นพระ

อัคคาเดียน : นักรบ / นครรัฐกลายเป็นอาณาจักร / ใช้หอก ธนู แทน ขวาน ดาบ

บาบิโลเนียน (อมอไรท์) : ค านวณสุริยุ-จันทรุ / ประมวลกฎหมายฮัมบูราบี / 1 ปี 12 เดือน 7 วัน

ฮิทไทต์ : หลอมเหล็กเป็นชาติแรก / นักรบบนหลังม้า / เชื่อมต่ออารยธรรมเมโสกับอิยิปต์ / แกะสลักหิน

อัลซีเรียน : แกะสลักภาพนูนต่่า / สร้างหอสมุด / ปกครองแบบจักรรวรรดิอย่างเป็นระบบ

คาลเดียน : สวนลอยบาบิโลน / โหราศาสตร์ / ท านายดาราศาสตร์แม่นย า

ฟินิเชียน : นักเดินเรือ-ค้าขาย / อักษรอัลฟาเบธ / ท าสีย้อมผ้า(ลินิน) / เครื่องแก้ว–เพชร

ฮิบรู : สร้างศาสนายิว มีอิทธิพลต่อ คริสต์ / นครเยรูซาเล็ม / K.โซโลมอน

ลิเดีย : ผลิตเหรียญกษาปณ์ / ใช้ทองค าเป็นสื่อกลาง / ชอบค้าขาย

หลังจากนั้นก็ถูก เปอร์เซียยึดครอง : เริ่มการปกครองส่วนภูมิภาค / ไปรษณีย์ / ประตูวงโค้ง / พรม /

ศาสนาโซโรอัสเตอร์(บูชาไฟ)สรุปประวัติศาสตร์

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

อารยธรรมอียิปต์(ลุ่มน.ไนล์)

ฟาโรห์ วิเซียร์ ดูแลภารกิจต่างๆในเมือง

โนมารค์ ปกครองโนมิส(เมือง) ตามท้องถิ่น

-สตรีได้รับการยกย่องว่าสิทธิมาก

-ด้วยภูมิประเทศท าให้อิยิปต์มีความรู้ทางชลประทาน/วิศวกรรมขั้นสูง

-ระบบตุลาการ 6 ศาล

-ค้นพบเรื่องระบบเลือด (หัวใจ) / มัมมี่

-อักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิค เชียนบนกระดาษปาปิรุส / คัมภีร์ผู้วายชนม์(คัมภีร์มรณะ) / ค่าพาย 3.14

-นับถือเทพหลายองค์ (เร/ราห์ สูงสุด) : หมกมุ่นกับศาสนาไม่สนใจเรื่องปรัชญา

-มหาปิรามิด / สฟิงซ์ / เสาโอบิลิสก์

อารยธรรมกรีก-โรมัน(ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน)

กรีก(คาบสมุทรบอลข่าน)

-ปกครองแบบนครรัฐ (มิประเทศเป็นภูเขา รัฐต่างๆจึงแยกจากกัน)

- ตัวเมืองจะสร้างลักษณะอยู่บนเนินสูง :อะโครโปลิส / ด้านล่างเป็นตลาด-ชุมชน : อะกอรา

-นับถือเทพเจ้าหลายองค์(ซีอุส/ซุส สูงสุด)

-การศึกษาส าคัญ 3 แขนง –อักษรศาสตร์/ศิลปะศาสตร์/พลศึกษา

(เป็นทั้งประมุขสูงสุดและเทพ)

เอเธนส์

*นครรัฐประชาธิปไตยแห่งแรก(ทางตรง)

-ท างานท าการ ค้าขาย ศึกษาหาความรู้

-ชายเอเธนส์เข้าประชุมสภา ถกเถียงแสดง

ความคิดอย่างอิสระ (มีเสรีภาพมาก)

สปาร์ตา

*นครรัฐทหาร(เผด็จการ)

-3 ชั้นชั้น 1.สปาร์ตาน :รบอย่างเดียว

2.เพริเอคส์-ฮิโลลส์ :ชั้นใต้บังคับ ท างาน

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

เกษตร-ค้าขายสรุปประวัติศาสตร์ ม.6 : อารยธรรมตะวันตก

แนวคิด มนุษยนิยม/ปัจเจกชนนิชม/ธรรมชาตินิยม

นักปราชญ์มากมาย ต้นก าเนิดความคิดของโลก (เน้นความคิดเป็นเหตุผลและเสรีภาพ)

-เพลโต : บิดารัฐศาสตร์ เขียน The Republic (รัฐอุดมคติ ปกครองด้วยค.ยุติธรรม)

-โสเครติส : ตั้งค าถามให้เด็กตอบ ให้รู้จักค้นคว้า หาเหตุผล

-อริสโตเติล : บิดาศาสตร์สมัยใหม่

-ต้นก าเนิดโอลิมปิก/มาราธอน

สถาปัตยกรรมสมัยหลังยกย่องว่าเป็นแบบคลาสสิค (บูชาเทพเจ้า)

รูปแบบ –ท าด้วยหินอ่อน โถงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แถวเสาเป็นแนวล้อมโถง หลังคาสามเหลี่ยม หน้าจั่วใต้หลังคา

หัวเสา 3 แบบ ดอริก(ตรง): วิหารพาร์เธนอน ไอโอนิค(ม้วนย้อย): อีเรคเธียม คอริเธียน(ใบไม้หรูหรา): โอลิมเปียม

รูปปั้นคนเปลือย เน้นสรีระ (นักขว้างจักร ไมรอน)/ศิลปะกลมกลืนกับธรรมชาติ /โรงละครกลางแจ้ง

**เฮเลนิก ; กรีกแท้ / เฮเลนิสติก ; ผสมผสานตะวันออก(ศูนย์กลางอยู่อเลกซานเดรีย)

วรรณกรรม :มหากาพย์อิเลียด /โอดิสซี / นิทานอีสป

-ต้นก าเนิดละครสู่โลกตะวันตก : เล่นเพื่อฉลองฤดูใบไม้ผลิ ถวายเทพแห่งเหล้าองุ่น มี 2 แบบ Comedy/Tragedy

โรมัน(คาบสมุทรอิตาลี)

ตอนแรกที่ไล่พวกอิทรัสคันปกครองแบบ นครรัฐ แล้วปกครองแบบ สาธารณรัฐ (อภิสิทธิ์ชน –อภิชนาธิป

ไตย) มี กงสุล 2 + สภาซีเนต 300 ->> มาจาก ชนชั้น พาทริเชียน +สภาราษฎร (พวกพาทริเชียน+พลีเบียน)

ต่อมา พวกพลีเบียนสามารถแต่งตั้ง ทรีบูน ได้เพื่อท าการวีโต้ (ค้านสภาซีเนต) และต่อมาท าให้มี กฎหมายสิบสอง

โต๊ะ เพื่อความเป็นธรรม มีมาตรฐานการตัดสิน และต่อมาชนชั้น พลีเบียน ก็เป็น กงสุลหรือซีเนตได้ เห็นได้ว่า

รูปแบบการปกครองค่อยๆมีความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ขึ้นโดยล าดับ

ต่อมา 26BC ก็เปลี่ยนการปกครองเป็นระบบจักรวรรดิ (สมัยสันติภาพโรมัน) จนเจริญรุ่งเรืองสุดๆและล่ม

สลายลงในปี 476AD

-จักรวรรดิเจริญมาก ภูมิประเทศคับแคบ -> ขยายอาณาเขตไปรอบทะเลเมดิ / มีสมาคมอาชีพ (กิลด์) ต่อมา

จักรวรรดิไม่ให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจ (ค้าขาย เพาะปลูก อุตสาหกรรม) จนจักรวรรดิล่ม

-ชาวโรมันเป็นพวกอนุรักษ์นิยม เคารพระเบียบ ยึดถือจารีตประเพณี ย าเกรงเทพเจ้า

-เก่งเรื่องพัฒนาวัฒนธรรมชาติอื่นเป็นของตน

-ในปี ค.ศ.312 ได้มีการรับเอาศาสนาคริสต์มาเป็นศาสนประจำชาติ

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ศิลปวัฒนธรรม

สถาปัตยกรรม : ใหญ่โตแข็งแรง(แสดงอำนาจ) เน้นประโยชน์ใช้สอย

-วัสดุสำคัญ -> อิฐ+หิน

-วิหารแพนธีออน ซุ้มเป็นวงโค้ง หลังคารูปโดม / โคลอสเซียม / ท่อส่งน้ำ / ประตูชัย

ประติมากรรม : ก๊อปกรีกแต่เน้นปั้นบุคคล (กรีกปั้นเทพ) ประดับตาม ฟอรัม(ที่ชุมชน) วิลลา(บ้านคนชั้นสูง)

จิตรกรรม : วาดภาพด้วยวิธีโมเสก มีระยะใกล้-ไกล เล่นแสง-เงา เหมือนจริงมากขึ้น

วรรณกรรม : พูด-เขียนละติน / ซิเซโร (นักเขียน-ปรัชญาการปกครอง ท าให้เข้าใจแนวคิดแบบโรมัน) / เวอร์จิล

(แต่งเอเนียด-ยอ ออกุสตุส ซีซาร์)

สรุป –ได้รับอิทธิพลกรีก เน้นประโยชน์ใช้สอย โอ่อ่ามั่นคง(แสดงพลังทางทหาร) มีความสามารถด้านวิศวกรรม

โยธา(รองรับประชากรจำนวนมาก)

**สิ้นสุดโรมัน สิ้นสุดยุคโบราณ (คศ.476 โดนบาบาเรียนท าลาย)

แต่ยังมีผู้เก็บรักษาวัฒนธรรมกรีก-โรมัน ส่งต่อให้กับคนตะวันตกในยุคกลาง คือ จักรวรรดิไบเซนไทน์(โรมัน

ตะวันออก)

จบยุคก่อนปวศ.-ยุคโบราณ

ยุคกลาง (Middle Age) 476-1453 AD

-โรมันเริ่มถูกอนารยชนโจมตี เพื่อเพิ่มความมั่นคงของอาณาจักร ในช่วงปี คศ.330 จึงมีการสถาปนาจักรวรรดิโรมัน

ตะวันออกขึ้น มีเมืองหลวงชื่อ คอนสแตนติโนเปิล แต่สุดท้ายทางฝั่งโรมันตะวันตกก็ถูกยึดครองในปี คศ.476

-เกิดความวุ่นวายทางการเมือง ที่พึ่งเดียวคือ ศาสนจักร แต่! ศาสนจักรกลับเข้าครอบง าการด าเนินชีวิตทุกอย่าง

ของคนในยุคกลาง วิทยาการจึงหยุดชะงัก ได้แต่วนเวียนอยู่กับค าสอน+ความเชื่อเก่า เรียกตอนต้นของยุคกลางว่า

“ยุคมืด(ความหยุดนิ่งทางปัญญาเชิงสร้างสรรค์) ยุคเทวนิยม(ทุกอย่างเราอุทิศเพื่อ GOD เพื่อภพหน้า)

-เมื่อจักรวรรดิถูกตีแตก แต่ละหมู่บ้านที่มีขุนนางปกครองจึงต้องหาวิธีป้องกันตัวเอง และแช็งแกร่งขึ้นจนผู้น ามี

อ านาจต่อรองกับกษัตริย์ได้ >> เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (ฟิวดัล)

-เป็น เศรษฐกิจแบบยังชีพ ยังชีพด้วยการเกษตรแบบทุ่งนาเปิด 2/3ทุ่ง+เลี้ยงสัตว์ตามยถากรรม /

อุตสาหกรรมในครัวเรือน (ในหนึ่งแมนเนอร์มีช่างตีเหล็ก ชาวนา เย็บผ้า บลาๆๆครบ) แลกเปลี่ยนของกันในแมน

เนอร์อย่างสมบูรณ์ (จ าได้ป่ะชื่ออะไร... Barter System ไง อิอิ)

-มีชนชั้น 3 ชนชั้น ได้แก่ กษัตริย์+ขุนนาง พระ และ สามัญชน

-การปกครองเป็นแบบกระจายอ านาจ ถ้าจะถามว่าใครมีอ านาจมากที่สุดในสังคม >> POPE! แล้วถ้าใครขัดใจล่ะ

โดน บัพพาชนียกรรม (Excommunication) T T

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

-เค้ามีการเรียนการสอนนะ มหา’ลัยแรกของโลกคือ โบโลญญ่า ที่ อิตาลี* ต่อมาก็เกิด Oxford Cambridge U.of

Paris แต่จริงๆเน้นสอนเรื่องเทวนิยม เชื่อว่าโลกแบน ใครสอนล่ะ พระไง แล้วต้องเชื่อนะ ห้ามเถียง ถามว่ามี

วิทยาศาสตร์มั้ย มีนะแต่มันเกิดจากตรรกะอ้างตั้งแต่อริสโตเติลเชื่อไง มันก็เชื่องั้น ถ้าไม่เชื่อล่ะ (โดนไล่ด้วยค ายากๆ

นั่นแหละ เช่น กาลิเลโอ นี่ก็โดนมาแล้ว)

-พระเอกของยุคนี้คือ สงครามครูเสด (มุสลิมเรียกจีฮัจห์) >>สงครามแย่งชิงนครเยรูซาเล็ม (ครั้งใหญ่ๆ 9 ครั้ง)

เหตุ !! Popeเออร์บันที่ 2 เรียกร้องให้ชาวคริสต์ช่วยกันขับไล่มุสลิมออกไปจากดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์

แต่จริงๆแล้วที่เหล่าคนใหญ่คนโตไปช่วยเค้ามีเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจ คือ 1.ต้องการเส้นทางการค้าใน

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคืน 2.ลดอ านาจคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ 3.ไหนๆขยายดินแดนแถวนี้ยากลองไปตีพวก

ตะวันออกดูมั่งอาจจะได้อะไรติดไม้ติดมือมามั่ง ส่วนชาวบ้านไปเพราะ เค้าจูงไป ไปรบแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ เย่ !!

ผลที่ตามมา

1.มีการเดินทางไปตะวันออกอยู่ตลอดจึงเกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันระหว่า 2 ฟากอย่างกว้างขวางขึ้น (จากจะ

ไปรบกลายเป็นค้าขายกัน)

2.พวกประชาชนที่ไปรบมาจากแมนเนอร์ต่างๆได้ท าความรู้จักรู้ได้เปิดหูเปิดตา แลกเปลี่ยนความซึ่งกันและกัน บาง

กลุ่มริเริ่มอยากจะค้าขายไม่กลับไปแมนเนอร์ของตน >>เกิดชนชั้นพ่อค้า หรือ ชนชั้นกลาง (คอยดูบทบาทให้ดี)

3.แนวคิดในการสั่งสอนของคริสตจักรเริ่มต้องปรับตัว กลายเป็นมนุษยนิยมมากขึ้น

4.ความรู้จากตะวันออกได้หลั่งไหลเข้ามามากมาย เกิดการผสมผสานพัฒนาอย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมกรีก-โรมันเดิม

ได้กลับเข้ามาจากนักปราชญ์ของทางโรมันตะวันออก

ปลายยุคกลางเริ่มมีการค้าขายมากขึ้น สงครามครูเสดท าให้ยุโรปกับเอเชียไมเนอร์ได้พบกันอีกครั้ง เกิด กิลด์ อีก

ครั้ง มีเมืองท่าส าคัญเกิดขึ้น คือ ฟลอเรนซ์ เจนัว เวนิส

ศิลปวัฒนธรรมยุคกลาง**

Byzantine Arts : คริสต์แบบแขก

-เก็บรักษามรดกสมัยคลาสสิคไว้ แล้วผสมผสานกับตะวันออกอย่างดี(ศิลปะกรีกออร์เทอร์ดอกซ์)

-เด่น! วิหารรูปโดม ภาพเฟรสโก(ปูนเปียก) เทคนิคเทมเปอรา การประดับกระจกสี ประดับโมเสก

สัญลักษณ์ ; วิหาร St.Sofia

Romanesque Arts: คริสต์เรียบง่าย ตายซาก

C.9-12 ; เรียกอีกอย่างว่า ศิลปะนอร์มัน (ทุกอย่างผูกพันกับศาสนามากกก)

-ผังไม้กางเขน ประตูหลังคาเพดานโค้ง ใหญ่แต่ไม่สง่างาม และ หนาทึบ (มีสงครามบ่อยต้องเอาไว้ป้องกันตัวด้วย)

-ประติมากรรมภาพนูนหินสลัก คนสูงชะลูด ตัวบิดๆเบี้ยวๆ -จิตรกรรมแข็งทื่อ ไม่มีชีวิตชีวา

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ลัญลักษณ์ ; ลอนดอนทาวเวอร์ หอเอนปิซา

*Gothic Arts: คริสต์สูงสง่า มีชีวิตชีวาและความรู้สึก

C.mid12-15 (ยังคงรับใช้ศาสนาอย่างแรงกล้า ท าไรเป็น GOD กับ Saint หมด)

-มีพื้นฐานจากโรมาเนสก์ / หลุดพ้นจากวงจรกรีก-โรมัน คล้ายธรรมชาติและเป็นมนุษยนิยม / สเตนกลาส /

-เพดานหลังคา โค้ง ปลายแหลม (Arch ซ้อนหลายๆชั้น)

สัญลักษณ์ ; มหาวิหารนอเตรอดาม(ปารีส) มหาวิหารแห่งเมืองชาร์ตส์ : ฝรั่งเศส

;มหาวิหารแห่งเมืองโคโลญน์ ; เยอรมนี

Renaissance Arts : คริสต์ไม่ครอบง่าแต่ก็อลังการ ผสมผสามกรีก-โรมัน (การเกิดใหม่ของศิลปวิทยาการกรีก-

โรมัน) C.14-17 (เริ่มในปี 1300ต้นๆ Peak 1500 ถึงกลางๆ แล้วค่อยๆจางหาย)

-ร่วมสมัยไปกับการคิด การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นพฐ.ของยุคใหม่

-เกิดในอิตาลี ตอนบน นิยมในหมู่กลุ่มคนชั้นสูง-กลางที่มั่งคั่ง จะคอยอุปถัมภ์ศิลปิน

-แนวการคิด ความรู้แบบกรีกแต่ เชื่อมั่นในตัวมนุษย์ ปัจเจกบุคคล มีระเบียบ แบบโรมัน

-วรรณกรรมแต่งด้วยภาษาท้องถิ่นแทนละติน > กระตุ้นให้เกิดรัฐชาติ เน้นแนวคิด มนุษยนิยม

บุคคลส าคัญ ; โทมัส มอร์ : Uthopia / เชคสเปียร์: Romio-Juliet เวนิสวานิช แฮมเล็ต

-การกลับมาของโดมใหญ่ เสาสูงใหญ่แบบโรมัน / ประติมากรรม เหมือนจริงอ่อนช้อยเน้นสัดส่วน

-สร้างสรรค์ศิลปะเพื่อรับใช้มนุษย์ / จิตรกรรมผสมผสานโกธิคเข้ากับความเชื่อกรีก-โรมัน / ภาพ Perspective

บุคคลส าคัญ ; ไมเคิล แองเจลโล : David , Pieta , Creation of Adam

; ลีโอนาร์โด ดา วินซี : Monalisa , The last Supper

สัญลักษณ์ ; มหาวิหาร St.Peter (วาติกัน) St.Paul (ลอนดอน)

Muslim Arts : คริสต์อิทธิพลอิสลาม

-เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมทั้งเอเชียตะวันออก+ติ่งกรีก / รับมาแบบรวบยอดช่วงสงครามครูเสด

-ลวดลายดอกไม้ เรขาคณิต ตัวอักษร / ใช้พรมตกแต่ง / โดดเด่นเครื่องโลหะ ทองเหลือง ทองเคลือบ

-วรรณกรรม : รุไบยาต อาหรับราตรี

--จบยุคกลางแล้ว เรื่องราวจะค่อนข้างเกยและเชื่อมต่อกันต้องท าความเข้าใจ จะขีดเส้น

แบ่งเอาดื้อๆคงไม่ได้

ยุคใหม่ (Modern Age) แล้วแต่คนเรียกนะ eng อ่ะ

เริ่มนับเมื่อ จักรวรรดิโรมันตะวันออกสิ้นสุดลง (1453 AD)

หรือ โคลัมบสค้นพบทวีปอเมริกา (1492AD)

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ปัจจัยในการเข้าสู่ยุคใหม่

-จากเหตุการณ์ส าคัญ > เกิดการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ และ แนวคิดมนุษยนิยม

-คนเริ่มมีความคิด อยากจะดิ้นรนเปลี่ยนแปลงชีวิต / ค้นพบดินแดนใหม่ๆ ด้วยการส ารวจเส้นทางเดินเรือ

-ฟิวดัลเสื่อม > ชนชั้นกลางสนับสนุนกษัตริย์> รวมอ านาจสู่ศูนย์กลาง

-1450AD กูเตนเบิร์ก ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ > วิทยาการต่างๆแพร่หลายอย่างรวดเร็ว

-จักรวรรดิเก่าๆแตกหมด > เกิดการรวมชาติเป็น ประเทศ > กษัตริย์เข้มแข็ง

หนังสือเค้าจะเล่าแบบแบ่งส่วนแต่เราขอยกมาแบบรวมที่เดียวทั้งประเทศตั้งแต่สิ้นสุดยุคกลางจนสงครามโลกเลย

ละกันตรงนี้อาจจะละเอียดไปแต่หนังสือเล่าไม่เก็ทจริงๆเลยอยากเผื่อคนอยากรู้ ใครไม่ก็ดูไฮไลท์ละกัน)

อังกฤษ ; มีกษัตริย์มานานแล้วตั้งแต่ พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (871 AD) ต่อมามัยราชวงศ์แพลน

ตาเจเนต พระเจ้าจอห์นที่ 5 ได้ลงนาม กฎบัตร Magnar Carta (The Great Paper) แต่เรียกได้ว่า

เป็นชาติจริงๆคือเมื่อราชวงศ์ทิวดอร์ก าเนิดหลังสงครามดอกกุหลาบ (1455-1485) (ตราของราชวงศ์ทั้งสอง

เป็นกุหลาบคนละสี) โดยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 7 หลังจากนั้นอังกฤษก็มีระบบกษัตริย์ที่มั่นคง เป็นศูนย์รวมของชาตื

หลังจากนั้นกษัตริย์ก็เรืองอ านาจมาก ในสมัยสุดฉาว พระเจ้าเฮนรี่ที่8 ได้ท าการสถาปนานิกาย Church of

England เพื่อหย่ากับราชินีแคททอลีน (แม่ควีนแมรี่ที่ 1) เพื่อแต่งงานใหม่กับแอนโบลีน(แม่ควีนอลิธซาเบธที่

1) ขัดแย้งกับขุนนางมาตลอด จนปี 1642-1651 เกิดสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1

กับฝั่งรัฐสภา ฝั่งรัฐสภาได้รับชัยชนะ จะล้มเลิกระบบกษัตริย์ และปกครองแบบเจ้าผู้พิทักษ์โดย โอลิเวอร์ คร

อมเวลล์แต่ต่อมาก็มีการฟื้นฟูระบบกษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้งโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงยอมจ านนอยากปกครอง

ไงบอกแต่ขอเป็นกษัตริย์(? มีงี้ด้วยแหะ) แต่ก็ไม่นานขัดแย้งกับสภา จนถูกโค่นล้ม รัฐสภาเชิญ พระเจ้าวิ

ลเลียมที่ 3 (เป็นเชื้อฝั่งดัชท์) มาปกครองเรียกการกระท าครั้งนี้ว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (1688) และได้ร่าง

พรบ.ว่าด้วยสิทธิ (Bill of Right) ขึ้นในปี 1689 เพื่อคานอ านาจของกษัตริย์ ทั้งเรื่องภาษี และการกระท า

ต่างๆ รัฐสภาต้องเห็นชอบ และต้องนับถือ นิกาย Church of Eng เท่านั้น สิ่งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดการ

ปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย เป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 1707 ก็มีการ

ประกาศ พรบ.สหภาพ เกิดเป็น UK อย่างแท้จริง และเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เมื่อมีการประกาศใช้

พรบ.ปฏิรูปสภา (The Great reform Bill) ในปี 1867

ฝรั่งเศส ; หลังยุคกลางและสงคราม 100 ปี (1337-1453) เป็นการแย่งชิงระหว่างฝั่งฝรั่งเศสเดิม

และฝั่งอังกฤษที่อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ในที่สุดฝรั่งเศสก็เป็นปึกแผ่นภายใต้การปกครองของราชวงศ์วาลัวซ์

และส่งต่อให้ราชวงศ์บูร์บงปกครอง จนเข้าสู่จุดสูงสุดในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789

เนื่องจากความเหลื่อมล้ าทางสังคม ก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 มีการออก “ประกาศสิทธฺมนุษยชนและ

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

พลเมือง” จึงเป็นชาติแรกที่พูดถึงสิทธิมนุษยชน และได้ร่างรธน.ในปี 1791 เกิดอุดมการณ์ “เสรีภาพ เสมอ

ภาค ภราดรภาพ” และกระจายลุกลามไปทั่วยุโรป (จริงๆหลังจากนี้วุ่นวายมาก พอนโปเลียนขึ้น โดนปลด ลูก

หลานบูร์บงกลับมา โดนล้ม นโปเลียนมาอีก กษัตริย์กลับมาทวง หลานนโปเลียนมา และสุดท้าย ก็ปกครอง

แบบประธานาธิบดี ชื่อ “สาธาณรัฐฝรั่งเศสที่ 3” และถูกนาซีเยอรมันยึดใน WWII เป็นอันสิ้นสุดสมัยใหม่

ในภาคฝรั่งเศส)

สเปน ; ก่อหน้านี้มีทั้งเผ่าดั้งเดิมและมุสลิมผลัดกันปกครองจนกระทั่ง เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งอารา

กอนและเจ้าหญิงอิสซาเบลลาแห่งคาสติล 2 แคว้นใหญ่ได้จับมือกันอภิเษกสมรส และสถาปนาราชอาณาจักร

สเปนขึ้นใน ปี 1469 หลังจากนั้นสเปนก็เป็นปึกแผ่น ขยายอ านาจจนเป็นมหาอ านาจ (หลังจากสมัยใหม่

ตอนกลางสเปนก็สับสนเรื่องรางวงศ์มากจนหมดลงไปกลายเป็นแบบเผด็จการและกลับมาใหม่เมื่อเร็วๆนี้เอง)

กลับสู่ภาพรวมต้นยุคใหม่นะ การเมืองเข้าสู่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์> กษัตริย์ระดมทุนออกไปยึดดินแดน

อื่นกันดีกว่า โดยในตอนต้นมีผู้น าคือ โปรตุเกส ต่อมา สเปนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากจึงต้องร่าง สนธิสัญญา

ทอร์เดสซิลลาส (Treaty of Tordesillas) โดยมี Pope เป็นคนกลาง โดยแบ่งโลกด้วยมหาสมุทร

แอตแลนติก โปรตุเกสได้ฝั่งตะวันออก ซึ่งก็คือแอฟริกา และเอเชีย (+บราซิล) ฝั่งสเปนเกือบถอดใจแต่ดันไป

พบอาณาจักรอินคา (เปรู) แอซแตค (เม็กซิโก) ขนทองกลับมาอิ่มเลยทีเดียว หลังจากนั้น ฮอลแลนด์ ก็เอา

บ้างค้นพบ นิวฮอลแลนด์ (ออสเตรเลีย) สิ่งที่พวกตะวันตกหวังคือ เงิน ทองค า และ เครื่องเทศ ตลอดจน

สถานีการค้า

การเดินเรือเนื่องจากฝั่งยุโรปตะวันตกเบื่ออิตาลีที่ผูกขาดท าให้การค้าขายไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง

อิตาลี หรือ อาหรับ ได้ก าไรเต็มๆ (ปฏิวัติทางการค้า) ผลจากการเดินเรือคือ >> อารยธรรมตะวันตกแพร่

ขยายไปพร้อมกับศาสนาคริสต์ มีการใช้เงินตรา ทองค าอย่างแพร่หลาย (จนเงินเฟ้อไปพักใหญ่)

-ลิทธิล่าอาณานิคม ลัทธิพาณิชย์นิยม (กษัตริย์เข้ามาควบคุมการสร้างความมั่งคั่ง)คือ ช่วงนี้แหละ C.16

ในช่วงนั้นเองก็เกิดการปฏิรูปศาสนา ในปี 1517 (C.16 เหมือนกัน) โดย มาร์ติน ลูเธอร์

เนื่องจาก Pope C.15-16 ให้ความส าคัญในภารกิจทางศาสนาน้อยมาก มีการหมกมุ่นในทางโลกและละเลย

หน้าที่ มีการขายใบฎีกาไถ่บาป (Sale of Indulgence) เพื่อสร้างวิหารใหม่ บูชาอัฐิของนักบุญอย่างงม

งาย มีการซื้อขายต าแหน่งพระสมณศักดิ์ ปี 1517 ลูเธอร์ได้น าประกาศที่เรียกว่า “วิทยานิพนธ์ 95 เรื่อง”

(The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเตนเบิร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบไถ่บาปของ

สันตะปาปา และการกระท าที่เหลวแหลกอื่นๆ ปี1520 ลูเทอร์ได้รับหมายบัพพาชนียกรรม จึงออกมาตั้ง

นิกายลูเธอรัน ขึ้น จนในที่สุดก็มีการสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ผลจากการปฏิรูปคือการ

แยกตัวจากนิกายคาทอลิกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ ส่วนฝ่ายคาทอลิคเองก็มีการสังคยนาใหม่ทั้งหมดท าให้

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ได้รับความศรัทธาอีกครั้งจนปัจจุบัน

หลังจากนั้นระบบ พาณิชย์นิยมเริ่มเกิดปัญหา อาดัม สมิธ จึงชี้ให้เห็นถึงความส าคัญของอุปสงค์-

อุปทาน และการลงทุนอย่างเสรี และเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม.. แต่ก่อนอื่น ต้องมีการ ปฏิรูป

วิทยาศาสตร์และเกษตรกรรมก่อน จึงเป็นผลให้ต้องขับเคลื่อนระบบสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรม

ปฏิวัติวิยาศาสตร์ ; เกิดการสงสัยในค าสอนเดิมและพยายามค้นคว้าหาวิทยาการความรู้ใหม่ๆ

ปฏิวัติเกษตร ; (ปฏิวัติเขียว) เกิดขึ้นที่อังกฤษเป็นที่แรก มีการท านาแบบปิด ปลูกพืชหมุนเวียน และ

น าเครื่องจักรมาใช้ในการเกษตร ตลอดจนเริ่มการคิดค้นผสมพันธุ์สัตว์

และในช่วงนี้เองประเทศน้องใหม่อเมริกาของเราก็ ท าการ ประท้วงปาร์ตี้น้ าชาที่บอสตัน มีฝรั่งเศสแอบ

หนุนหลัง มี จอร์จ วอชิงตันเป็นผู้น าไปสู่การประกาศอิสรภาพ 4 ก.ค. 1776 ที่ ฟิลาเดฟีย อ้าวเกิดขึ้นได้

ยังไง ท าไมถึงเหิมเกริมมาดูกัน >> ได้แนวคิด สิทธิ เสรีภาพจาก จอห์น ลอค / อังกฤษบ้าบอจากลัทธิ

พาณิชย์นิยม เอาเปรียบทางภาษี แก้กฎหมายก็ไม่ถามกัน ชาวอาณานิคม 13 รัฐ เลยเคือง ทนไม่ไหว

หลังจากนั้นก็ร่างรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลกในปี 1783 ตามแนวคิดของ จอห์นลอค และ

มองเตสกิเออร์ ในรูปปแบบ สาธารณรัฐประชาธิปไตย มีการแบ่งอ านาจ 3 ฝ่าย (นิติ ตุลาการ บริหาร)

หลังจากนี้ก็เข้าสู่ C.18 แบบเต็มตัวซึ่งสิ่งส าคัญที่สุดในยุคนี้คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม รากฐาน

เศรษฐกิจโลกจนถึงปัจจุบัน **(หนังสืออธิบายได้ดีแล้ว ขอผ่านรวมถึงเรื่องนักคิดด้วย)

ศิลปวัฒนธรรมยุค Modern

ศิลปะบาโรค Baroque Arts : คริสต์หรูหราฟู่ฟ่า เรียกร้องความสนใจ (1600-1750)

-เนื่องจากลัทธิพาณิชย์นิยม ราชส านักจึงมีความมั่งคั่งมาก จึงระบายออกมาในเชิงศิลปะ ส่วนศริสตจักรก็

อยากจะเรียกศรัทธาจึงสร้างสิ่งดึงดูด

-บรรเลงแบบ คอนแชร์โต วงแบบ ออเคสตรา เกิดโอเปรา / นักดนตรีส าคัญ บาค, วิวัลดิ

สัญลักษณ์ ; พระราชวังแวร์ซายน์

ศิลปะนีโอ-คลาสสิค : กรีก-โรมัน(เต็มไปด้วยระเบียบ) ที่หลุดพ้นจากศาสนา (1750-1820)

-เป็นศิลปะที่แสดงออกให้เห็นว่าคนในยุคนี้หลุดพ้นจากความเชื่อเก่าๆ และเปลี่ยนแปลงความคิดอย่างสิ้นเชิง

-สถาปัตยกรรมสร้างแบบกรีก-โรมัน ค านึงถึงสัดส่วนสมดุลตาม ธรรมชาติ

วรรณกรรม แสดงความเชื่อมั่นในเหตุผล / ดนตรีจะเน้น Solo แสดงความสามารถส่วนตัว เกิดวง

Symphony ; Mozart

ศิลปะโรแมนติค (จินตนิยม) : เด็กมีปัญหา เบื่อเหตุผลแล้ว ขอติสต์บ้างได้ป่ะ (1820-1900)

-เครียดจากนีโอคลาสสิค ผิดหวังกับวิทยาศาสตร์(ไม่ช่วยให้สังคมดีขึ้น)

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

-เน้นอารมณ์ จินตนาการ ความรัก ชาตินิยม

-สถาปัตยกรรมหันไปสร้างแบบ โกธิค ;พระราชวังเวสต์มินสเตอร์(Eng) ปราสาทนอยชวานชไตน์ (Ger)

สัญลักษณ์ ; หอไอเฟล ประตูชัย (Paris)

ภาพเด่นๆ : เรือกลไฟท่ามกลางพายุหิมะ

วรรณกรรม เน้นความสวยงามของธรรมชาติ กล่าวถึงสังคมบ้าง ความดีงามมาก ; เกอเธ่ (Ger) > Faust

นักเขียนดัง ; ลอร์ด ไบรอน , วิกเตอร์ ฮูโก

ละคร : ละทิ้งแบบแผนเดิม > ละครเมโลดรามา (ผสมดนตรีเข้าไปในละครเพื่อกระตุ้นอารมณ์)

*ดนตรี : Beethoven (ท าลายรูปแบบอันจ ากัดของคลาสสิค) , Chopin (ถ่ายทอดอารมณ์แรง)

ศิลปะสัจนิยม : หยุดเพ้อ รับความจริงให้ได้ ถ่ายทอดโลกแห่งความเป็นจริง

-แสดงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม ; นักคิดนักปรัชญาถกเถียงกัน >>เกิด Natural Selection โดย

ชาร์ล ดาร์วิน / คาร์ล มากซ์ ; ล้มล้างระบบทุนนิยม อย่างเข้าสู่คอมมิวนิสต์

-ประติมากรรม นักคิด ; โรแดง สาวน้อยเริงระบ า ; เดอกาส์

-จิตรกรรม : แสดงชีวิตคนจน คนธรรมดา > คนทุบหิน การฝังศพที่ออร์นองส์ ; คูร์เบส์

-วรรณกรรม เพื่อต้องการปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น โอลิเวอร์ ทวิสต์ (ดิกเคนส์) สงครามและสันติภาพ (ตอล

สตอย) แม่ (กอร์กี)

-ดนตรี :พยายามท าลายแบบแผนแบบคลาสสิค และอิสระและจินตนาการ > ไชคอฟสกี้ ; เจ้าหญิงนิทรา

สวอนเลค นัทแครกเกอร์

ศิลปะ Impressionist : แสดงประสารทสัมผัส ความรู้สึก (เลอะ)

-ลงสีโดยไม่วาด สีสดใส ให้ความส าคัญกับแสง ; เรอนัวส์ , คนกินมันฝรั่ง (แวนโก๊ะ)

อารยธรรมจีน

การสั่งสมอารยธรรมจีน

จีนเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แหล่งกำเนิดอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห ซึ่งมักประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอ จนมีชื่อเรียกว่า “แม่น้ำวิปโยค”

ปัจจัยที่ส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมจีน

1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห มีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากเต็มไปด้วยตะกอนสีเหลือง ที่เรียกว่า “ดินเลอส” (Loess) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเกษตร

2. ที่ราบสูงระหว่างภูเขาจนถึงที่ราบชายฝั่งทะเล ซึ่งล้อมรอบดินแดนจีนเปรียบเสมือน “ปราการธรรมชาติ” ส่งผลดีต่อการตั้งถิ่นฐานและการปกครอง เนื่องจากยากต่อการถูกรุกรานจากกลุ่มคนภายนอก

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

วัฒนธรรมจีน

จีนยุคจักรวรรดิ์หรือสมัยราชวงศ์

ช่วงเวลา 476 ถึง 221 ปีก่อนค.ศ. นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ยุคจ้านกว๋อ หรือเลียดก๊ก เป็นยุคแห่งความแตกแยก แคว้นต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ มีรัฐใหญ่ 7 รัฐ คือ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐเจ้า รัฐหาน รัฐเว่ย รัฐฉิน ในที่สุดอิ๋งเจิ้งแห่งรัฐฉินมีชัยชนะ

ราชวงศ์ฉิน หรือจิ๋น (221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

อิ๋งเจิ้ง สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฉิน หรือหวงตี้ (ฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ฉิน และบังคับให้ประชาชนเรียกตนเองว่า ชาวฉินหรือจิ๋น ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าชาวจีน สมัยนี้มีการปฏิรูประบบตัวอักษรระบบชั่ง ตวง วัด กำหนดให้มีเพลารถ ล้อรถขนาดเดียวกันทั้งอาณาจักร แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด อำเภอ มีการรวมอำนาจสู่ส่วนกลางที่เมืองหลวง เป็นรัฐที่ปกครองด้วยระบบรัฐทหาร ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของลัทธิขงจื้อ นักประวัติศาสตร์พบว่ามีการสั่งเผาตำราและประหารบัณฑิตของสำนักขงจื้อ ด้วยการเผาหรือฝังทั้งเป็น มีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ถนน ขุดคลอง มหาสุสาน ด้วยการเกณฑ์แรงงานชาวจีน หลังจากพระเจ้าฉิน หรือฉินสือหวงตี้ป่วยหนักและสิ้นพระชนม์ โอรสชื่อ ฝูโซว เป็นผู้สืบราชบัลลังก์ แต่ถูกหูไห้ โอรสอีกองค์หนึ่งร่วมมือกับขันที และอัครเสนาบดีแย่งอำนาจตั้งเป็นกษัตริย์นามว่า ฉินเอ้อซื่อ (พระเจ้าฉินที่สอง) พระองค์เป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม และไร้ความสามารถ ชาวจีนที่ไม่พอใจเริ่มก่อกบฏหลายกลุ่ม กบฏกลุ่มของหลิวปังสามารถรวบรวมกบฎกลุ่มอื่น ยึดอำนาจจากราชวงศ์ฉินได้สำเร็จ และสถาปนาราชวงศ์ฮั่น

ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง ค.ศ.220)

หลิวปัง สถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ฮั่น นามว่า ฮั่นเกาจู มีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง - ฉางอาน ในยุคของฮั่นเกาจู เป็นยุคฟื้นฟูบ้านเมือง ส่งเสริมการเกษตร และเก็บภาษีเพียง 1 ใน 30 ส่วน ต่อมาในสมัยของกษัตริย์ (ฮ่องเต้) องค์ที่ 5 คือ พระเจ้าฮั่นอู่ตี้ มีการบุกเบิกเส้นทางสายไหม (Silk Road) ค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ทางตะวันตกของจีน เช่น อินเดีย อาหรับ โรมัน ในสมัยนี้มีนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของจีนชื่อ “ซือหม่าเซียน” ซึ่งเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ชื่อว่า “สื่อจี้” มีการฟื้นฟูลัทธิขงจื้อ ใช้เป็นหลักในการปกครอง มีการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการเรียกว่า สอบจอหงวน นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานี้ว่า “ฮั่นตะวันตก” (206 ปีก่อนค.ศ. – ค.ศ.9)

ความอ่อนแอของราชสำนักในช่วงกลางราชวงศ์ฮั่น มีเสนาบดีชื่อ หวางมั่ง ชิงบัลลังก์ตั้ง “ราชวงศ์ซิน” (ค.ศ.9 – ค.ศ.23) ขึ้นมาระยะหนึ่งแต่ไม่มีผู้สืบทอดอำนาจ และถูกหลิวซิ่ว เชื้อพระวงศ์ฮั่นยึดอำนาจกลับคืนตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นใหม่ ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองลั่วหยาง สถาปนาตนเป็นกษัตริย์ชื่อ ฮั่นกวงอู่ตี้ นักประวัติศาสตร์เรียกสมัยนี้ว่า ราชวงศ์ “ฮั่นตะวันออก” (ค.ศ.23 – ค.ศ.220) แต่ตอนปลายราชวงศ์กษัตริย์อ่อนแอมาก ในปีค.ศ. 184 เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง แต่หลิวเป้ย จาเฟย และกวนตี่ ร่วมกันปราบกบฏได้สำเร็จ แต่ขณะเดียวกันในราชสำนักเกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มของฮองเฮา ขันที และเสนาบดี ทำให้จีนก้าวเข้าสู่ยุคขุนศึก มีอาณาจักรสามแห่งแย่งชิงอำนาจกัน เรียกว่า ยุคสามก๊ก และที่เป็นมาของวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก

ยุคสามก๊ก (ค.ศ.220 – ค.ศ.280)

เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแบ่งออกเป็น 3 แคว้น(ก๊ก) แคว้นทางเหนือมีเฉาเชา (โจโฉ) ผู้สถาปนาแคว้นเว่ย หลิวเป้ย(เล่าปี่) ตั้งราชวงศ์ชู่ฮั่นอยู่ทางตะวันตก และซุนเฉวียน (ซุนกวน) ตั้งราชวงศ์วู อยู่ทางตอนใต้

ค.ศ.263 แคว้นชู่ฮั่นของเล่าปี่ล่มสลาย ค.ศ.265 แคว้นเว่ยของโจโฉ ถูกเสนาบดีชื่อ ซือหม่าเอี๋ยน

ยึดอำนาจและก่อตั้งราชวงศ์จิ้นครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น สำหรับแคว้นวู (อู๋) ในสมัยฮ่องเต้ซุนเฮ่า ทำตัวเป็นทรราช ราชวงศ์จิ้นจึงยกกองทัพมาทำสงคราม ซุ่นเฮ่ายอมแพ้ แคว้นวูจึงล่มสลายไป

ราชวงศ์จิ้น (ค.ศ.265 – ค.ศ.420)

ซือมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ตั้งราชวงศ์จิ้น ในค.ศ.265 รวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น

นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265 – ค.ศ.317) ฮ่องเต้องค์ต่อมามีความอ่อนแอ มีความฟุ้งเฟ้อ ความขัดแย้งภายในราชสำนัก เกิดกบฏในราชสำนัก กบฏชาวนา และถูกโจมตีจากชนกลุ่มน้อยเผ่าซงหนู และจับตัวฮ่องเต้องค์ที่ 4 (ซือ หม่าเยี่ย)

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ค.ศ.317 ซือหม่าวุ่ย ครองราชย์ต่อและย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเจี้ยนคัง แต่ไม่ได้รวมอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่น นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317 – ค.ศ.420) การปกครองสมัยนี้อ่อนแอจึงถูกกลุ่มที่เคยให้การสนับสนุนเข้ายึดอำนาจ และเกิดอาณาจักรเล็ก ๆ ของชนกลุ่มน้อยกระจายอยู่ทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของจีน

ยุคราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ.420 – ค.ศ.581)

ในยุคนี้ทางตอนเหนือของจีนมีชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มตั้งเป็นอาณาจักรต่าง ๆ เช่น เว่ยเหนือ เว่ยตะวันออก ฉีเหนือ เว่ยตะวันตก โจวเหนือ ทางตอนใต้ของจีนมีอาณาจักรต่าง ๆ เช่น จิ้น ซ่ง ฉี เหลียง เฉิน ยุคนี้มีพระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) จาริกจากอินเดียมาเผยแพร่พุทธศาสนานิกายสุขาวดี (ฌาน หรือเซ็น)

ราชวงศ์สุย (ค.ศ.581 – ค.ศ.618)

หยางเจียน ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีของราชวงศ์โจวเหนือ รวบรวมอาณาจักรต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ สถาปนาเป็นพระเจ้าสุยเหวินตี้ ปกครองจีนต่อมา หลังจากสิ้นพระชนม์ โอรสชื่อ หยางกว่าง ขึ้นครองราชย์ ชื่อพระเจ้าสุยหยางตี้ ปกครองบ้านเมืองด้วยความเหี้ยมโหด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกณฑ์แรงงานชาวจีนก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ และขุดคลองยาวประมาณสองพันกิโลเมตรเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านคมนาคม ประชาชนจึงก่อกบฏ และลูกพี่ลูกน้องของสุยหยางตี้ ชื่อ หลี่หยวน ก็ก่อกบฏด้วย พระเจ้าสุยหยางตี้ถูกปลงพระชนม์ จากนั้นหลี่หยวนปราบกบฏกลุ่มต่าง ๆ ได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ถังขึ้

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 – ค.ศ.906)

หลี่หยวน สถาปนาตนเองเป็น “ถังเกาจูฮ่องเต้” รวบรวมอาณาจักรเป็นปึกแผ่น แต่ในสมัยของพระองค์มีการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาท ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ ซึ่ง - หลี่ซื่อหมิน สามารถสังหารพี่น้องทั้งสององค์ และให้ถังเกาจูตั้งเป็นรัชทายาท พระเจ้าถังเกาจูสละราชบัลลังก์ ตั้งตนเป็นสมเด็จพระราชบิดา (ไท่ซ่างหวาง) หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์เป็น “ถังไท่จงฮ่องเต้” และแต่งตั้งให้คนสนิทของหลี่เจี้ยนเฉิง ชื่อเว่ยเจิง เป็นที่ปรึกษา และพระองค์ให้ความนับถืออย่างมาก

ในยุคถังไท่จงฮ่องเต้ แผ่นดินจีนรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม การก่อสร้าง การทหาร มีการติดต่อกับต่างชาติเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ การปรับปรุงกำแพงเมืองจีน ใช้วิธีการจ้าง ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่มากขึ้น มีเมืองหลวงคือเมืองฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ในยุคนี้มีพระเสวียนจั้ง (ถังซำจั๋ง) จาริกไปศึกษาและอัญเชิญพระไตรปิฎกพุทธศาสนา (มหายาน) จากวัดนาลันทา ประเทศอินเดีย นำมาเผยแพร่ (เป็นที่มาของตำนานไซอิ๋ว)

หลังจากพระเจ้าถังไท่จงสิ้นพระชนม์ รัชทายาทชื่อหลี่จื้อ เป็นผู้ครองราชย์ต่อมานามว่า “ถังเกาจงฮ่องเต้” พระองค์ได้นางอิเหม่ยเหนียง อดีตสนมของพระบิดามาเป็นสนมเอก ซึ่งสนมเอกคนนี้ใส่ความมเหสีจนมเหสีถูกถอดบรรดาศักดิ์ลงเป็นไพร่ แล้วถังเกาจงแต่งตั้งสนมเอกเป็นมเหสีแทน และพระนางแทรกแซงการบริหารบ้านเมืองของ ถังเกาจงโดยตลอด กระทั่งพระเจ้าถังเกาจงสิ้นพระชนม์ พระนางได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์โจว แล้วตั้งตนเป็น “อู่เจ๋อเทียน” (บูเช็คเทียน) พระนางกำจัดศัตรูทางการเมืองและปกครองราชวงศ์โจวกระทั่งเสียชีวิตด้วยวัยชรา

จากนั้น หลี่หลงจี๋ ครองราชย์เป็นถังเสวียนจงฮ่องเต้ ปกครองบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองกว่ายุคของถังไท่จงฮ่องเต้ ยุคสมัยนี้มีกวีสำคัญคือ หลี่ไป๋ และตู้ฝู้ ปลายสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง มีการกบฏ หลังจากนั้นราชวงศ์ถังก็อ่อนแอลง ทำให้ขันทีมีอำนาจมากขึ้น มีกบฏหลายครั้ง แม่ทัพชื่อจูเวิน สังหารขันที และปลงพระชนม์ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ คือ ถังอ้ายจงฮ่องเต้ และตั้งราชวงศ์เหลียงขึ้นมา อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์เรียกสมัยราชวงศ์ถังว่าเป็น “ยุคทองของศิลปวัฒนธรรมจีน”

ยุคห้าราชวงศ์ (ค.ศ.907 – ค.ศ.960)

ในยุคนี้มีราชวงศ์ต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจเป็นระยะเวลาสั้น ๆ รวม 5 ราชวงศ์ ได้แก่ เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น โจว ปกครองอยู่บริเวณลุ่มน้ำฮวงโห และยังมีแคว้นเล็ก ๆ อีก 10 แคว้น แบ่งแยกกันปกครองอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง ชีวิตของชาวจีนยุคสมัยนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก จากภัยสงครามและภัย -ธรรมชาติ ต่อมาแม่ทัพของราชวงศ์โจว ชื่อ เจ้าควงอิ้น ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจว สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าซ่งไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) และรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่นได้สำเร็จ

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) (ค.ศ.960 – ค.ศ.1279)

พระเจ้าซ่งไท่จู่ รวบรวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองไคฟง (มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก มีความเจริญรุ่งเรืองด้านศิลปวัฒนธรรม มีการจัดระเบียบขันที ทำให้ลดปัญหาจากกลุ่มขันทีลงไป มีความก้าวหน้าในการเดินเรือสำเภา รู้จักการใช้เข็มทิศ มีการประดิษฐ์ลูกคิด แท่นพิมพ์หนังสือ มีการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม นักประวัติศาสตร์เรียกยุคแรกของราชวงศ์ว่า “ยุคซ่งเหนือ” กษัตริย์ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าซ่งไท่จู่ เป็นต้นมาเป็นระยะเวลาที่ราชวงศ์อ่อนแอ และมี เปาเจิ้ง (เปาบุ้นจิ้น) เป็นขุนนางในยุคนี้

จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าซีเซี่ย (บริเวณทิเบต) และพวกซีตาน (เมืองเหลียว) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือ จนต้องยอมทำสัญญาสงบศึก ต้องส่งเครื่องบรรณาการให้ ต่อมามีชนเผ่าจินบุกเข้าเมืองหลวง - (ค.ศ.1127) จับฮ่องเต้เป็นเชลยถึง 2 พระองค์ ต่อมามีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งชื่อ “เจ้าโก้ว” ตั้งตนเป็นกษัตริย์ชื่อ “ซ่งเกาจงฮ่องเต้” ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองหลินอาน (หางโจว) นักประวัติศาสตร์เรียกยุคนี้ว่า “ยุคซ่งใต้” แต่ยังถูกเผ่าจินเข้ารุกรานตลอดเวลา

ราชวงศ์ซ่งจึงร่วมมือกับพวกมองโกล เข้าปราบปรามเผ่าจิน เผ่าซี่เซี่ย และเผ่าซีตาน แต่หลังจากนั้น กองทัพมองโกลกลับหันเข้ามาตีจีนถึงกรุงปักกิ่ง หลังจากผู้นำมองโกล (เจงกิสข่าน) เสียชีวิต หลานปู่ชื่อ ฮูปิเล่ เป็นข่านคนต่อมาชื่อว่า “กุบไล่ข่าน” ยกกองทัพมองโกลเข้ายึดครองราชวงศ์ซ่งใต้ ด้วยความร่วมมือของขุนนางและทหารบางกลุ่มของราชวงศ์ซ่งใต้ กุบไล่ข่านจึงสถาปนาราชวงศ์หยวน ปกครองจีนต่อมา

ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1280 – ค.ศ.1368)

กุ๊บไลข่าน ปกครองแผ่นดินจีนมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองต้าตู (ปักกิ่ง) ปกครองจีนด้วย ความสุขุมรอบคอบ เอาใจใส่ประชาชน จึงเป็นฮ่องเต้ที่ชาวจีนยอมรับนับถือ พระองค์ขยายอาณาเขตไปยังดินแดนอันนัม (เวียดนาม) ยกกองทัพเรือไปโจมตีญี่ปุ่น แต่เรือถูกมรสุมจึงครอบครองญี่ปุ่นไม่สำเร็จ พระองค์มีความสนใจด้านอักษรศาสตร์ และวรรณกรรม มีการพิมพ์ธนบัตรใช้ มีการประดิษฐ์ปืนใหญ่ ใช้ในการรบ มีการติดต่อกับต่างประเทศ มีพ่อค้าตะวันตกเข้ามาค้าขายและติดต่อกับราชสำนัก คือมาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเวนิส อิตาลี

หลังจากกุ๊บไลข่าน สิ้นพระชนม์ ฮ่องเต้ชาวมองโกลองค์ต่อ ๆ มา ปกคองด้วยการกดขี่ชาวจีน มีการแย่งชิงอำนาจในราชวงศ์ จึงเกิดกบฏขึ้นทั่วไป ช่วงปลายราชวงศ์มีผู้นำกบฏชื่อ “จูหยวนจาง” ปราบปรามกบฏกลุ่มต่าง ๆและเข้ายึดกรุงปักกิ่งโค่นล้มราชวงศ์หยวนได้สำเร็จ สถาปนาราชวงศ์หมิง ปกครองจีนต่อมา

ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 – ค.ศ.1644)

จูหยวนจาง สถาปนาเป็น “หมิงไท่จู่ฮ่องเต้” ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมจีนเป็นอย่างดี และปกครองราษฎรด้วยความผ่อนปรน แต่ในทางการเมืองการปกครองพระองค์ใช้ความเด็ดขาด ปราบปรามผู้ต่อต้าน และผู้รังแกราษฎรอย่างเข้มงวด

พระองค์มีรัชทายาทชื่อ จูเปียว แต่สิ้นพระชนม์ จึงแต่งตั้งลูกของรัชทายาทจูเปียว เป็นรัชทายาท ทำให้โอรสองค์อื่น ๆ ไม่พอใจ หลังจากพระเจ้าหมิงไท่จู่สิ้นพระชนม์รัชทายาทได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ชื่อ “เจี้ยน เหวิน ฮ่องเต้” ต่อมาโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้าหมิงไท่จู่ ชื่อเจ้าเอี้ยนหวาง ผู้เป็นอาของพระเจ้าเจี้ยนเหวิน ก่อกบฏยึดเมืองหนานจิงซึ่งเป็นเมืองหลวง และพระเจ้าเจี้ยน เหวิน สูญหายไป

เจ้าเอี้ยงหวาง ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชื่อ “หย่งเล่อฮ่องเต้” พระองค์ได้สร้างพระราชวังปักกิ่ง (พระราชวังต้องห้าม) ค้าขายกับต่างประเทศ และให้ขันทีคนสนิทชื่อเจิ้งเหอ เดินทางด้วยกองเรือของจีนไปยังดินแดนต่าง ๆ ถึง 7 ครั้ง

หลังจากสมัยของพระเจ้าหย่ง เล่อฮ่องเต้ กลุ่มขันทีในราชวงศ์หมิงเข้ามามีบทบาทในการเมือง การปกครองหลายสมัย สมัยกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชื่อ ฉงเจินฮ่องเต้ บ้านเมืองวุ่นวาย มีภัยพิบัติข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง มีชนเผ่าแมนจู จากทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้ารุกราน และยึดครองกรุงปักกิ่งได้ด้วยความช่วยเหลือของผู้บัญชาการทหารของราชวงศ์หมิงชื่อ อู่ซานกุ้ย ชนเผ่าแมนจูจึงสถาปนาราชวงศ์ชิง ปกครองแผ่นดินจีนได้สำเร็จ

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644 – ค.ศ.1911)

กษัตริย์ของราชวงศ์ชิง ได้แก่ “ซุ่นจื้อฮ่องเต้” ซึ่งมีพระชนมายุยังน้อย มีผู้สำเร็จราชการชื่อ ตั้วเออร์กุน พยายามทำตัวมีบทบาทเหนือพระเจ้าซุ่นจื้อ แต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา

พระเจ้าซุ่นจื้อ บริหารบ้านเมืองอย่างเป็นธรรม ให้ความสำคัญกับชาวจีน ยกย่องศิลปวัฒนธรรมชองจีน ในด้านการทหารราชวงศ์ชิงจัดให้มีการบังคับบัญชาด้วยระบบกองธงต่าง ๆ พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ โอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อมามีพระนามว่า “คังซี”

พระเจ้าคังซี เป็นฮ่องเต้ขณะมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ทำให้พระนางเสี้ยวจองฮองเฮา เป็นผู้คอยดูแลว่าราชการแทน พอเติบโตขึ้นพระองค์สร้างความเจริญให้แก่จีนอย่างมาก เช่นแก้ไขปัญหาชนชั้นกับชาวจีน จัดทำแผนที่ จัดทำหนังสือวิทยาการต่างๆ และทำสงครามกับรัสเซียจนได้ชัยชนะ

ราชวงศ์ชิงตั้งแต่สมัยของ “เต้ากวงฮ่องเต้” เป็นต้นมา ประสบกับปัญหาการค้าขายกับชาติตะวันตก แพ้สงครามฝิ่นให้แก่ประเทศอังกฤษ เกิดกบฏไท่ผิง และต้องยอมทำสัญญาเสียเปรียบกับชาติตะวันตกและญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากจีนอย่างเต็มที่ จีนจึงรับมือจากภัยชาติตะวันตกโดยการเลียนแบบตะวันตก โดยการส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น

ในสมัยของ “เสียนฟงฮ่องเต้” ซึ่งเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้าเต้ากวง มีมเหสีฝ่ายซ้ายชื่อ “ฉือซีไท่โฮ่ว” (ซูสีไทเฮา) เข้ามามีบทบาทในราชสำนัก และหลังจากพระเจ้าเสียนฟงสิ้นพระชนม์ มเหสีฝ่ายซ้ายได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน “ถ่งจื้อฮ่องเต้” ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าเสียนฟง และครองราชย์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่อมาได้สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ

พระนางฉือซีไท่โฮ่ว จึงตั้งพระนัดดาเป็นฮ่องเต้องค์ต่อมาชื่อ “กวงสูฮ่องเต้” พระเจ้ากวงสูพยายามปฏิรูปประเทศจีนในด้านต่าง ๆ แก้ไขกฎหมายสำคัญๆ ตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง แต่การปฏิรูปต่าง ๆ ทำได้เพียงร้อยกว่าวันก็ล้มเหลว (เรียกว่าปฏิรูป 100 วัน) ปีค.ศ.1900 เกิดกบฏนักมวยต่อต้านชาติตะวันตกและญี่ปุ่น แต่ถูกต่างชาติรวมตัวกันปราบกบฏได้สำเร็จ ในปีค.ศ.1908 พระเจ้ากวงสู ถูกวางยาพิษสิ้นพระชนม์

พระนางฉือซีไท่โฮ่ว จึงแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์อายุเพียง 3 ขวบ ชื่อ “อ้ายซินเจวี๋ยหลัวผู่อี้” เป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของพระนาง และเป็นฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิงและของประเทศจีน เมื่อประเทศจีนถูกปฏิวัติเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ

อารยธรรมอินเดีย

อารยธรรมอินเดียเป็นแม่ของวัฒนธรรม เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา และ ประเทศในเอเชียอาคเนย์

1.ปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์อารยธรรมจีน

1. ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (West) - คงคา (East) กว้างใหญ่ มีหลายสาขา

à แหล่งน้ำเพื่อการบริโภคและการเกษตร

2. กลุ่มเทือกเขาหินใหม่ (Himalaya/Vindhya/Western Ghat/Eastern Ghat) อยู่ล้อมรอบที่ราบสูงเดคข่าน (ที่ราบสูงระหว่างภูเขา)

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

ปราการธรรมชาติ

การติดต่อคมนาคมลำบาก

3. อิทธิพลลมสินค้า (พัดเข้าทิศตะวันออกของทวีปที่ละติจูด 0-30oN/S)

- อินเดียด้านตะวันออก (ลมค้าพัดจากทะเลเข้าแผ่นดิน) ชุ่มชื้น

- อินเดียตอนใน (ลมค้าพัดจากแผ่นดินออกทะเล/เทือกเขากั้นลม) à แห้งแล้ง

4. แหล่งแร่โลหะ เช่น ทอง คำ

2.อารยธรรมโบราณลุ่มแม่น้ำสินธุ

- พบที่เมืองฮารัปปา และโมเฮนโจ ดาโร ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในประเทศปากีสถาน

- เป็นเมืองโบราณ มีจุดเด่นคือมีการก่อสร้างและวางผังเมือง ถนน ท่อระบายน้ำ สถานที่อาบน้ำสาธารณะ

- พบจารึกลายลักษณ์อักษร แต่ยังไม่มีใครอ่านออก (จึงถือว่าเป็นอารยธรรมสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์)

3. อารยธรรมสมัยที่พวกอารยันเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้ว

3.1 สมัยพระเวท

1) ชาวอารยันซึ่งมีเชื้อสายอินโด-ยูโรเปียน อพยพเข้ามาในอินเดียและขับไล่พวกฑราวิทให้ถอยร่นไปทางใต้

-อารยันเป็นเผ่าเร่รอนมาก่อน ไม่สร้างงานศิลปกรรม

2) สมัยพระเวทได้เกิดวรรณกรรมสำคัญ คือ

1) คัมภีร์พระเวท

2) มหากาพย์รามายณะ และ มหากาพย์มหาภารตะ

3.2 สมัยพุทธกาล

- เป็นสมัยที่เกิดศาสนาพุทธและศาสนาเชน

3.3 สมัยจักรวรรดิเมารยะ

1) อินเดียถูกเปอร์เซีย (พระเจ้าดาริอุส) และกรีก (พระเจ้าอเล็กซานเดอร์) รุกราน

2) ต่อมาพระเจ้าจันทรคุปต์ สามารถรวบรวมอินเดียเป็นจักรวรรดิได้สำเร็จ

3) กษัตริย์สำคัญสมัยนี้ คือ พระเจ้าอโศกมาหาราช ซึ่งทรงเป็นองค์สำคัญในการอุปถัมภ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนา และพระอง์ทรงใช้หลักธรรมในการปกครอง(ธรรมศาสตร์)

3.4 สมัยราชวงศ์กุศาณะ - ราชวงศ์อันธาระ

1) เมื่อจักรวรรดิเมารยะเสื่อม อินเดียถูกปกครองโดยสองราชวงศ์

2) กุษาณะเข้าปกครองดินแดนอินเดียทางเหนือ

-กษัตริย์องค์สำคัญคือ พระเจ้ากนิษกะ ที่ศรัทธาและโปรดให้เผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานไปยังจีนและทิเบต นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

3) อันธาระเข้าปกครองดินแดนอินเดียทางใต้ **มีเมืองสำคัญคือ 'อมราวดี'

- เกิดการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดีย และกรีก เรียกว่า ศิลปะแบบคันธาระ

3.5 สมัยจักรวรรดิคุปตะ

1) อินเดียสามารถรวบเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งโดยพระเจ้าจันทรคุปต์ที่1 ต้นราชวงศ์คุปตะ

2) สมัยคุปตะถือเป็น ยุคทองของอินเดีย มีความเจริญทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครองศาสนา ปรัชญา ตลอดจนการค้า เช่น

- ความเจริญด้านการศึกษา

- ความเจริญด้านวิทยาการ

- ความเจริญด้านการการแพทย์

3.6 ยุคกลางของอินเดีย

1)จักรวรรดิคุปตะถูกพวกฮั่นขาวรุกรานและทำลาย จักวรรดิแยกอีกครั้ง

2)เกิดราชวงศ์ต่างๆขึ้นปกครองอินเดีย

บริเวณ ราชวงศ์ที่ปกครอง

เหนือ หรรษา(พระเจ้าหรรษวรรธนะ)

แคว้นเบงกอล ปาละและเสนะ

แคว้นคุชราต คุชาร์

ปัญจาบ ราชปุต

อินเดียกลาง อาณาจักรชาลุกยะ

ตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรปัลลวะ

ใต้สุด อาณาจักรโจฬะ (ทมิฬ)

3.7 สมัยสุลต่านแห่งเดลฮีหรืออาณาจักรเดลฮี

-อินเดียถูกปกครองโดยพวกมุสลิม มีศูนย์กลางการปกครองที่ “เดลฮี”

-พวกเตอร์กทำลายศาสนาสถานของศาสนาพุทธและฮินดูในอินเดีย และบังคับให้คนอินเดียนับถือศาสนาอิสลาม

สุลต่านแห่งเดลฮี - ประกาศให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำอาณาจักร

- นโยบาย

1. ทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนา à พระพุทธศาสนาเริ่มเลือนหายไปจากอินเดีย

2. ทำลายศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

3. เก็บภาษีคนนอกศาสนา = ภาษีจิซยา (Jizya) นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

- คนอินเดียส่วนมากยังนับถือศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

ปัจจัยที่ทำให้ชาวอินเดียหันมานับถือศาสนาอิสลาม

1. ศาสนาอิสลามไม่มีการแบ่งวรรณะ

2. ชาวอินเดียบางส่วนต้องการหลีกเลี่ยงภาษีจิซยา

3. ความก้าวหน้าในราชการ

3.8สมัยจักรวรรดิโมกุล

1) พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลขึ้นมา ทรงจัดตั้งจักรวรรดิโมกุลเป็นจักรวรรดิอิสลาม

2) จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ ได้แก่

-อักบาร์มหาราช (Akbar the great)

-ชาห์ เยฮัน (Shah Jahan) ผู้สร้างทัชมาฮาล

3) ต่อมาสมัยพระเจ้าออรังเซป มีนโยบายกดขี่ทางศาสนา ทำให้ชาวฮินดูก่อนการกบฎหลายครั้งทำให้จักรวรรดิโมกุล(สมัยราชวงค์มุคัล)เสื่อมอำนาจลงอินเดียจึงและตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

4.1 ครอบครัวอินเดีย

- เป็นครอบครัวร่วม มีเครือญาติอาศัยร่วมกันในบ้านเดียวกัน

- เป็นครอบครัวที่มีความผูกพันกัน หัวหน้าครอบครัวร่วมคือผู้ชายที่มีอายุมากที่สุด

- พ่อแม่เป็นผู้จัดการเลือกคู่และแต่งงานแก่ลูกสาว เมื่อแต่งงานหญิงจะอยู่ในความดูแลของสามี

- ในสมัยโบราณอินเดียมี “พิธีสติ” คือ พิธีกรรมที่ภรรยาฆ่าตัวตายตามสามี

4.2 สิ่งที่ผลต่อสังคมอินเดีย

ความสำคัญของระบบวรรณะ

1.) ระบบวรรณะ ซึ่งมีด้วยกัน 4 วรรณะ คือ

- พราหมณ์ : นักบวช

- กษัตริย์ : ผู้ปกครอง นักรบ

- แพศย์ : พ่อค้า ชาวนา ช่างฝีมือ

- ศูทร : กรรมกร

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49

Nutta

pat M

.6.6

No.

49

บรรณานุกรม

http://www.mediafire.com/?x4ijvhs3whdy2xw

https://sites.google.com/site/kruchitraphonbua/history_4

http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-4/chinese_history_of_modern_empires/01.html

นาย ณัฐภัทร ลิ้มวงค์พิพัฒน์ ม.6.6 เลขที่ 49