ÿ îÖ ÿö éÖ - su · 2013. 8. 5. · จ 50205211 : major : historical studies key word :...

111
การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 โดย นายศิวาวุฒม ชัยเชาวรินทร การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2554 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร หอ

Upload: others

Post on 13-Mar-2021

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17

โดย

นายศิวาวุฒม ชัยเชาวรินทร

การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา

ภาควิชาประวัติศาสตร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปการศึกษา 2554

ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนกัหอ

สมุดกลาง

การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17

โดย

นายศิวาวุฒม ชัยเชาวรินทร

การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา

ภาควิชาประวัติศาสตร

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปการศึกษา 2554

ลิขสิทธิข์องบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนกัหอ

สมุดกลาง

THE PORTUGUESE AND THE DUTCH IN MALACCA : MELAKA IN

THE 16 TH - 17 TH CENTURIES

By

Siwawut Chaichaowarin

An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree

MASTER OF ARTS

Department of History

Graduate School

SILPAKORN UNIVERSITY

2011

สำนกัหอ

สมุดกลาง

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใหการคนควาอิสระ เร่ือง “การศึกษา

เปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17” เสนอโดย

นายศิวาวุฒม ชัยเชาวรินทร เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา

……...........................................................

(ผูชวยศาสตราจารย ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ)

คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

วันท่ี..........เดือน.................... พ.ศ...........

อาจารยที่ปรึกษาการคนควาอิสระ

รองศาสตราจารย ดร.ชุลีพร วิรุณหะ

คณะกรรมการตรวจสอบการคนควาอิสระ

.................................................... ประธานกรรมการ

(ผูชวยศาสตราจารย ดร.สุธีรา อภิญญาเวศพร)

............/......................../..............

.................................................... กรรมการ

(อาจารย ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป )

............/......................../..............

.................................................... กรรมการ

(รองศาสตราจารย ดร.ชุลีพร วิรุณหะ)

............/......................../..............

สำนกัหอ

สมุดกลาง

50205211 : สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา

คําสําคัญ : ประวัติศาสตรมะละกา / บทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกา

คริสตศตวรรษท่ี 16 ถึง 17

ศิวาวุฒม ชัยเชาวรินทร : การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาใน

มะละกา คริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 (THE PORTUGUESE AND THE DUTCH IN MALACCA :

MELAKA IN THE 16 TH – 17 TH CENTURIES) อาจารยที่ปรึกษาการคนควาอิสระ : รศ.ดร.

ชุลีพร วิรุณหะ. 110 หนา.

งานคนควาชิ้นนี้มีจุดมุงหมายที่จะศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาใน

มะละกาในคริสตศตวรรษท่ี 16 ถึง 17 เพื่อจะตอบคําถามวาเหตุใดการปกครองของชาติตะวันตกจึง

ไมสามารถสานตอความรุงเรืองของมะละกาในฐานะเมืองทาแลกเปลี่ยนสินคาของเอเชียตะวันออก

เฉียงใตเหมือนเชนตอนที่เปนรัฐสุลตานมลายูมุสลิมในคริสตศตวรรษที่ 15 วิธีการศึกษาจะเปนการ

รวบรวมความรูเกี่ยวกับมะละกาที่ปรากฏอยูในผลงานการศึกษาที่ผานมาและนํามาวิเคราะหในเชิง

เปรียบเทียบ ผลจากการศึกษาพบวา ปจจัยที่ทําใหรัฐสุลตานมะละการุงเรืองในฐานะเมืองทาการคา

ในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 ไมใชปจจัยดานเศรษฐกิจแตอยางเดียว แตรวมถึงบทบาททางการเมือง

และวัฒนธรรมดวย ภายใตการปกครองของผูนํามลายู มะละกาเปนเมืองทาเสรีที่พอคาจากทุกที่

สามารถเขามาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินคาได ทั้งยังเปนศูนยกลางทางการเมืองของชาวมลายูและเปน

ศูนยกลางทางวัฒนธรรมของโลกมลายูมุสลิมพรอมกันไป การเขามาครอบครองมะละกาของ

โปรตุเกสทําใหพื้นฐานการคาที่มั่นคงของมะละกาเปลี่ยนไปเมื่อโปรตุเกสดําเนินนโยบายหา

ผลประโยชนโดยการปดกั้นนานน้ําบริเวณชองแคบมะละกา และสรางความขัดแยงกับรัฐมลายูอื่นๆ

สวนฮอลันดานั้นมีจุดประสงคที่จะครอบครองมะละกาเพื่อปองกันการแทรกแซงของชาติตะวันตก

อื่นๆบนคาบสมุทรมลายูมากกวาที่จะใชประโยชนทางการคา ดวยเหตุนี้ บทบาทในฐานะเมืองทา

แลกเปลี่ยนสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใตของมะละกาจึงเริ่มเสื่อมลงภายใตการปกครองของ

โปรตุเกสและฮอลันดาในคริสตสตวรรษท่ี 16-17

ภาควิชาประวัตศิาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2554

ลายมือชือ่นักศึกษา ........................................

ลายมือชือ่อาจารยทีป่รึกษาการคนควาอิสระ ........................................

สำนกัหอ

สมุดกลาง

50205211 : MAJOR : HISTORICAL STUDIES

KEY WORD : HISTORY OF MALACCA

SIWAWUT CHAICHAOWARIN : THE PORTUGUESE AND THE DUTCH IN

MALACCA : MELAKA IN THE 16 TH – 17 TH CENTURIES. INDEPENDENT STUDY

ADVISOR : ASSO. PROF. CHULEEPORN VIRUNHA ,Ph.D. 110 pp.

This study aims at comparing the roles of Portugal and Holland in Malacca during the

16th to 17th centuries with that of the 15th century Malacca Sultanate , in order to determine why

Malacca under the western administrations was unable to continue function as a great entrepot

center of Southeast Asia. The study is done by gathering existing information about Malacca in

order to make a comparative analysis. The finding indicates that the success of Malacca as a

regional entrepot center during the 15th century did not rest on economic factor alone, but

included political and cultural aspects. Under the Malay Muslim rulers, Malacca was a free port

that welcomed merchants from all over the world who could come and go and traded freely. Also,

Malacca was recognized as a political center of the peninsular Malay and a cultural center of the

Malay Muslim world. The coming of Portugal changed all this. The Portugal disrupted the pattern

of trade by their attempt to impose monopolistic control over trading traffic in the Straits of

Malacca. They were also in conflict with many Malay States during the 16th century. Holland, on

the other hand, took over Malacca from Portugal mainly because they wanted to deny other

western nations commercial and political base in the Malay Peninsula. For these reasons, Malacca

gradually lost its greatness as an entrepot center of Southeast Asia during the 16th and 17th

centuries.

Department of History Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2011

Student's signature ........................................

Independent Study Advisor's signature ........................................

สำนกัหอ

สมุดกลาง

กิตติกรรมประกาศ

การคนควาอิสระฉบับนี้ สําเร็จลุลวงไดดวยความกรุณาของอาจารยที่ปรึกษาการคนควา

อิสระคือ รองศาสตราจารย ดร.ชุลีพร วิรุณหะ ที่ไดสละเวลาใหคําแนะนําเรื่องประเด็น แนวคิด

คอยชวยเหลือดานตางๆ ตลอดจนการอนุเคราะหขอมูล แนะนําเอกสารตางประเทศ ตรวจแกไข

ขอบกพรองตางๆ อีกทั้งคอยถามไถ รับฟงปญหา ตอบปญหา ดวยความอดทนอยางยิ่ง ผูเขียนตอง

กราบขอบพระคุณอาจารยไว ณ ที่นี้ และจะนอมระลึกถึงพระคุณของอาจารยตลอดไป

ขอกราบขอบพระคุณอาจารยทุกทานในภาควิชาประวัติศาสตร ที่ไดชวยประสาทวิชา

ความรูทางประวัติศาสตรอันมีคายิ่งตอการทําการคนควาอิสระฉบับนี้

ขอขอบพระคุณ อาจารย ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป ที่ไดเปนกรรมการในการตรวจการ

คนควาอิสระและแนะนําขอมูลตางๆ ดวยความมุมานะอยางยิ่ง

นอกจากนั้น สิ่งที่ตองกลาวถึงคือ กําลังใจจากพอแม และพี่ชาย รวมทั้งเพื่อนๆ ที่มีให

ตลอดเวลาของการทําการคนควาอิสระจนสําเร็จลุลวงไปได

สำนกัหอ

สมุดกลาง

สารบัญ

หนา

บทคัดยอภาษาไทย .................................................................................................................... ง

บทคัดยอภาษาอังกฤษ ............................................................................................................... จ

กิตติกรรมประกาศ ..................................................................................................................... ฉ

สารบัญ ...................................................................................................................................... ช

สารบัญตาราง ............................................................................................................................ ฌ

สารบัญแผนที่ ............................................................................................................................ ญ

บทที่

1 บทนํา............................................................................................................................. 1

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ................................................................ 1

ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา .......................................... 5

ขอบเขตในการศึกษา .................................................................................... 5

วิธีดาํเนนิการศึกษา .................................................................................... 6

ประโยชนทีค่าดวาจะไดรับ ....................................................................... 6

2 ความรุงเรืองของเมืองทามะละกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตคริสตศตวรรษที ่15......... 8

ปจจัยที่สงผลตอพัฒนาการและความรุงเรอืงของมะละกา......................... 14

ทาํเลที่ตัง้และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ................................. 14

การเติบโตของการคาโลก โดยเฉพาะการคาเครื่องเทศ.................. 16

การสนับสนนุและความสัมพนัธกบัราชสํานักจีน ......................... 18

ความสามารถในการควบคุมดูแลชาวเล (Orang Laut)................... 21

การสถาปนาตนเปนรัฐมลายูมุสลิม ............................................... 22

รูปแบบการคาและเครือขายการคาของมะละกา ....................................... 24

รัฐสุลตานมะละกา.................................................................................... 30

การลมสลายของรัฐสุลตานมะละกา ......................................................... 33

3 บทบาทของโปรตุเกสในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ....................................... 37

โปรตุเกสกับการเขาสูกระบวนการคาของเอเชีย....................................... 38

การยึดครองและการปกครองของโปรตุเกสในมะละกา ........................... 41

มะละกาในฐานะเมืองทาการคาของโปรตุเกส

ในเอเชียตะวนัออกเฉียงใต ....................................................................... 44

สำนกัหอ

สมุดกลาง

สารบัญ (ตอ)

บทที่ หนา

การควบคุมการคาในบริเวณแหลงผลิตของหมูเกาะโมลุกกะ

และชองแคบมะละกา .................................................................... 44

การเติบโตของรัฐพื้นเมืองมลายูหลังจากการยึดครองมะละกา

โดยโปรตุเกส................................................................................. 48

การสถาปนารัฐยะโฮร ....................................................... 49

การขึ้นมามีอาํนาจของรัฐอะเจะห ...................................... 51

บรูไนกับการคาในเอเชียตะวนัออกเฉียงใต ....................... 54

การขาดระบบบริหารที่ซื่อตรงและมีประสิทธิภาพ ...................... 57

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเมืองทามะละกาและชุมชน

ทีอ่ยูภายใตการปกครองของชาวโปรตุเกส ............................................... 59

4 บทบาทของฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 17 ............................................ 65

การเขาสูเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ของบริษัทสหอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ........................................... 66

การยึดครองมะละกาของฮอลันดา ............................................................ 70

มะละกาภายใตการปกครองของฮอลันดา ................................................. 73

ผลจากนโยบายของฮอลันดาในการปกครองมะละกา .............................. 79

5 เมืองทามะละกาจากคริสตศตวรรษที่ 15 ถึง 17 : บทสรุป .................................... 84

บรรณานุกรม ............................................................................................................................. 92

ประวัติการศึกษา........................................................................................................................ 100

สำนกัหอ

สมุดกลาง

สารบัญตาราง

ตารางท่ี หนา

1 การสงบรรณาการไปยังจีนของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ค.ศ. 1369 - 1510...... 20

2 มูลคาการสงออกกานพลูระหวางอินโดนีเซียกับฮอลันดาในตลาดโลก

ชวงคริสตศตวรรษที่ 17 ........................................................................................ 74

3 ราคาพริกไทยในตลาดยุโรปและในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ชวงคริสตศตวรรษที่ 17 ....................................................................................... 83

สำนกัหอ

สมุดกลาง

สารบัญแผนที่ แผนท่ี หนา

1 การคาทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใตคริสตศตวรรษที ่1-6 ......................... 7

2 การกระจายการคาในเอเชีย ค.ศ. 1000-1600.......................................................... 13

3 โลกมลายูกอนสมัยอาณานิคม ......................................................................... 36

4 อาณาบริเวณของอาณาจักรมะละกาประมาณ ค.ศ. 1500 ................................ 39

5 ศนูยกลางเมืองในเอเชียตะวนัออกเฉียงใต ประมาณ ค.ศ. 1600............................ 64

6 เอเชียตะวันออกเฉียงใต ค.ศ. 1680 ....................................................................... 82

สำนกัหอ

สมุดกลาง

1

บทท่ี 1

บทนํา

1.1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา

ตนคริสตศตวรรษที่ 15 ชาวมลายูกลุมหนึ่งอพยพมาจากเกาะสุมาตรามาตั้งเมืองทาใหมขึ้น

ที่มะละกา ซึ่งขณะนั้นเปนเพียงหมูบานชาวประมงเล็กๆ อยูติดกับชองแคบมะละกา ตั้งอยูในเขต

เมืองกลัง (Klang District) ทางฝงตะวันตกของคาบสมุทรมลายู บริเวณที่ตั้งของมะละกานี้เปนจุดที่

เรือซึ่งแลนผานเขามาในชองแคบมะละกาแลนเขาใกลคาบสมุทรมลายูมากที่สุด เพื่อหลีกแนวสัน

ทราย ฉะนั้นเรือตางๆ ที่แลนมาจากสุมาตราและมหาสมุทรอินเดียจึงใชเสนทางแหงนี้แลนเรือเพื่อ

เดินทางไปจีนและชวา และแลวในหน่ึงศตวรรษตอมา มะละกาไดกลายเปนรัฐสุลตานมลายูที่สําคัญ

และเปนเมืองทาการคาที่รุงเรืองที่สุดแหงหน่ึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เพราะเปนที่รวบรวม

สินคาของบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู เกาะอินโดนีเซีย และเปนที่ชุมนุมของพอคาจาก

ตะวันออกกลาง อินเดียและตะวันออกไกล จนทําใหโตเม ปเรส (Tome Pires) นักเดินทางชาว

โปรตุเกสที่มาถึงมะละกาในตอนตนคริสตศตวรรษที่ 16 บันทึกไววา “มะละกาเปนเมืองที่สถาปนา

ขึ้นเพ่ือการคา”1

ความรุงเรืองทางการคาทําใหมะละกาสามารถขยายขอบเขตอิทธิพลออกไปอยางกวางขวาง

โดยในตอนตนคริสตศตวรรษท่ี 16 อิทธิพลของรัฐครอบคลุมบริเวณคาบสมุทรมลายู หมูเกาะรีเอา

และลิงกะทางใตของคาบสมุทรมลายู และบางสวนของสุมาตราตะวันออก นอกจากนั้น ผูปกครอง

ของมะละกายังไดวางรากฐานทางการปกครองโดยใชรูปแบบการบริหารที่สืบทอดมาตั้งแตครั้งที่

อาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะสุมาตรายังรุงเรืองท้ังดานสังคมและวัฒนธรรม มะละกาก็ไดรับการยอมรับ

ในฐานะอูอารยธรรมอิสลาม ทําหนาที่เปนศูนยกลางการเผยแพรศาสนาอิสลาม มีทั้งนักปราชญและ

นักสอนศาสนาชาวมุสลิมจากอินเดียและตะวันออกกลางเขามาในมะละกาเปนจํานวนมาก สิ่ง

เหลานี้บงบอกถึงความเจริญรุงเรืองท้ังทางดานการเมืองและการคาไดเปนอยางดี

1แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 70.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

2

ในบรรดาสินคาที่มะละกาทําหนาที่เปนแหลงรวบรวม สินคาที่สําคัญที่เขามามีบทบาท

สําคัญที่สุดในการคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใตและของมะละกาไดแก เครื่องเทศ (กานพลู และ

จันทรเทศ) จากหมูเกาะโมลุกกะ และพริกไทยซึ่งมีแหลงผลิตสําคัญในคาบสมุทรมลายูและสุมาตรา

เหนือ จากมะละกา เครื่องเทศจากเมืองทามะละกาจะถูกสงไปตามเสนทางการคาสูอินเดีย ผานเขา

ไปในอาวเปอรเซียหรือทะเลแดง และตอไปยังชายฝงทะเลเมดิเตอรเรเนียน ในคริสตศตวรรษที่ 15

เสนทางการคาเครื่องเทศสวนใหญถูกควบคุมโดยพอคามุสลิมและ ทายสุดเครื่องเทศจะถูกผูกขาด

การรับซื้อไปขายยังยุโรปโดยพอคาจากอิตาลี การผูกขาดการคาทําใหเครื่องเทศในยุโรปมีราคาสูง

จึงเปนแรงกระตุนใหชาวยุโรปชาติอ่ืนๆ พยายามเดินทางมายังแหลงผลิตเคร่ืองเทศในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตดวยตนเอง

มะละกาซึ่งเปนเมืองทาการคาที่สําคัญและเปนแหลงรวบรวมเคร่ืองเทศจึงเปนเปาหมาย

สําคัญของชาวยุโรป โปรตุเกสเปนชาวยุโรปชาติแรกที่ประสบความสําเร็จในการเขาครอบครอง

ตลาดเคร่ืองเทศของเอเชียโดยการนํากองเรือโจมตีและควบคุมเมืองทาสําคัญบนเสนทางการคา

เคร่ืองเทศทั้งในบริเวณปากอาวเปอรเชีย อินเดีย และรวมถึงมะละกาซึ่งโปรตุเกสเขาครอบครองได

ในค.ศ. 1511 คริสตศตวรรษที่ 16 จึงเปนชวงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคาโลกอัน

เนื่องมาจากความพยายามท่ีจะผูกขาดการคาเครื่องเทศของโปรตุเกส ฉะนั้นการศึกษาประวัติศาสตร

ของมะละกาในชวงเวลานี้ จึงตองศึกษาบทบาทของโปรตุเกสที่มีความสําคัญตอการเปลี่ยนแปลง

หรือความตอเน่ืองของรัฐและเมืองทาแหงน้ี

แตเรื่องราวของมะละกายังมีความซับซอนมากยิ่งขึ้นเมื่อชาวฮอลันดาเดินทางมายังเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตในตอนตนคริสตศตวรรษที่ 17 และประสบความสําเร็จในการกอตั้งศูนยกลาง

การคาของตนเองที่ปตตาเวียทางตอนเหนือของเกาะชวาในค.ศ.1619 ชาวฮอลันดาไดเขามาแยงชิง

ความเปนใหญเหนือบริเวณคาบสมุทรมลายูจากชาวโปรตุเกสและสามารถขับไลโปรตุเกสออกจาก

มะละกาไดใน ค.ศ.1641จุดประสงคสําคัญของฮอลันดาก็คลายคลึงกับของโปรตุเกส คือ ตองการ

ควบคุมการคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ดวยเหตุที่มะละกาตกอยูภายใตการปกครองของทั้งชาว

มลายู โปรตุเกส และฮอลันดาหรือดัตช การศึกษาประวัติศาสตรมะละกาในคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง

17 จึงมีความนาสนใจเน่ืองจากสามารถนําความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมัยที่โปรตุเกสและ

ฮอลันดาปกครองมะละกา ซึ่งไดจากการศึกษาบทบาทและนโยบายของทั้ง 2 ชาติ แลวจึง

ทําการศึกษาเปรียบเทียบกันได นอกจากน้ียังสามารถนํามาเปรียบเทียบกับมะละกาในสมัยการ

ปกครองแบบสุลตานมลายูในคริสตศตวรรษที่ 15 ไดอีกดวย ทั้งน้ี จะทําใหเห็นถึงความ

เปลี่ยนแปลงหรือความตอเนื่องของประวัติศาสตรมะละกาไดชัดเจนมากยิ่งขึ้น

สำนกัหอ

สมุดกลาง

3

นโยบายแรกของทั้งโปรตุเกสและฮอลันดาที่มีตอมะละกาคือตองการยึดดินแดนแหงนี้เพื่อ

เปนฐานกําลังในการควบคุมสินคาที่สําคัญอันไดแก เครื่องเทศ แตทั้งสองชาติใชประโยชนจากการ

ครอบครองมะละกาแตกตางกัน กลาวคือ โปรตุเกสตองการครอบครองดินแดนเพื่อควบคุมเสนทาง

การคา และเชื่อวาการยึดครองเมืองมะละกาไวไดนั้นจะทําใหชาวโปรตุเกสรับชวงการทําการคา

และควบคุมเสนทางเดินเรือที่เปนหัวใจสําคัญของมะละกาได การดําเนินการเพื่อบรรลุเปาหมาย

ของโปรตุเกสคือใชกองกําลังทหารในการยึดเมืองทามะละกา จากน้ันไดสรางปอมปราการของ

ตนเองขึ้นและใชกองเรือตรวจตรานานน้ํา อยางไรก็ตาม การที่มะละกาถูกชาวโปรตุเกสยึดครอง

ไมไดทําใหบทบาททางการเมืองและการคาของชาวมลายูหมดไป เพราะเมื่อมะละกาตกเปนของ

โปรตุเกส ชาวมลายูในมะละกาก็ไดอพยพไปตั้งถิ่นฐานในรัฐใหมอีกหลายแหง เชน รัฐยะโฮร

ปะหัง และเประ เปนตน นอกจากนี้ ยังเกิดศูนยอํานาจมลายูอื่นๆ ไดแก อะเจะหและบรูไน ซึ่งใน

ที่สุด รัฐมลายูเหลานี้ก็มีความสามารถที่จะคานอํานาจกับชาวโปรตุเกสไดในระดับหนึ่ง

ขณะที่โปรตุเกสเห็นความสําคัญที่จะตองยึดครองและปกครองมะละกาเปนเมืองทาการคา

ของตนเอง ฮอลันดาซึ่งรวมมือกับรัฐยะโฮรแยงชิงมะละกามาจากโปรตุเกสไดใน ค.ศ. 1641 กลับมี

นโยบายตรงกันขาม บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช หรือ VOC ไดตั้งมั่นอยูที่เมืองปตตาเวียบน

เกาะชวามาตั้งแต ค.ศ. 1619 โดยที่ฮอลันดาไมตองการใหมะละกาเปนเมืองทาคูแขงทางการคากับ

ปตตาเวีย จึงทําการควบคุมและใชมะละกาเปนฐานในการติดตอคาขายกับรัฐพื้นเมืองและบริเวณ

ตอนในของคาบสมุทรมลายูมากกวาที่จะสงเสริมบทบาททางการคา ความแตกตางของนโยบาย

และรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นที่มะละกาภายใตฮอลันดาทําใหสถานะเมืองทาของดินแดนแหงนี้

เสื่อมลง ซึ่งจะมีผลตอเนื่องมาอีกยาวนาน

การคนควาอิสระฉบับนี้จึงมีจุดมุงหมายที่จะศึกษาเปรียบเทียบเมืองทามะละกาภายใตการ

ปกครองของสุลตานมลายู (Malacca Sultanate) กับเมืองทามะละกาภายใตการปกครองของ

ชาวตะวันตกในคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 วามีความแตกตางกันอยางไร รวมทั้งยังเปรียบเทียบ

ระหวางความเหมือนและความแตกตางในแนวนโยบายของโปรตุเกสและฮอลันดา และผลกระทบ

ที่มีตอมะละกา ผลงานการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของชาวตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้นมี

อยูเปนจํานวนไมนอย แตสวนใหญจะกลาวถึงในภาพรวมของภูมิภาค เชน หนังสือของ D.G.E.

Hall. ประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนยภาคพิสดาร (1-2). แปลโดย

วรุณยุพา สนิทวงศ ณ อยุธยา และคณะ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและ

มนุษยศาสตร, 2549.) หรือหนังสือของ Anthony Reid. เอเชียตะวันออกเฉียงใตในยุคการคา ค.ศ.

1450-1680 เลม 1 และ 2. แปลโดย พงษศรี เลขะวัฒนะ (เชียงใหม : ซิลคเวอรม, 2548.) หรือผลงาน

การศึกษาที่นาสนใจของ Paul H. Kratoska. South East Asia (Colonial History). (New York,

สำนกัหอ

สมุดกลาง

4

2001), volume 1 ซึ่งกลาวถึงการคาของมะละกาตั้งแตกลางคริสตศตวรรษที่ 15 ถึงประมาณสิ้น

คริสตศตวรรษที่ 17 ผลงานเรื่องดังกลาวนี้ไดใหภาพในชวงการเปลี่ยนแปลงสําคัญที่ครอบคลุม

เร่ืองเกี่ยวกับภูมิภาคทั้งในดานโครงสรางทางกายภาพวัตถุ วัฒนธรรม และสังคม จุดเดนของ

หนังสือเลมนี้คือ การวิเคราะหสภาพชีวิตประจําวันของผูคนในสังคมตางๆ และการเปลี่ยนแปลงที่

นําไปสูการเมืองและการคา รวมทั้งการปรับเปลี่ยนของระบบการปกครองในดินแดนตางๆ ของ

ภูมิภาคนี้ โดยอธิบายถึงในชวงประวัติศาสตรอาณานิคมตะวันตกวาเอเชียตะวันออกเฉียงใตก็ตกอยู

ภายใตอิทธิพลและวัฒนธรรมนั้น ดินแดนนี้กลายเปนทางผานของประเทศทางแถบยุโรปที่ตองการ

พิชิตและแสวงหาผลประโยชนทางการคาจากจีน อินเดีย และญ่ีปุน และผลสุดทายก็ทําใหหลาย

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใตตองตกเปนเมืองขึ้นของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกไมโดย

ทางตรงก็ทางออม และยังไดกลาวถึงอํานาจแวนแควนตางๆ ในแหลมมลายูหลังสิ้นสมัยอาณาจักร

มะละกาเปนตนมา

สําหรับผลงานที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธระหวางชาติตะวันตกกับมะละกาในแบบ

เจาะลึกลงไปนั้นมีอยูบางแตนอยกวา เชน หนังสือของ Barbara Watson Andaya & Leonard Y.

Andaya. A History of Malaysia. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตํารา

สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2549.) งานของ Sanjay Subrahmanyam. The Portuguese Empire

in Asia 1500-1700. (Singapore, 1993) ไดอธิบายถึงการเขามาของโปรตุเกสที่มีอทิธิพลตอการคาใน

ภูมิภาคเอเชียที่สงผลตอการเปลี่ยนแปลงภายในสังคม ซึ่งไดกลาวถึงลักษณะของสังคมที่ชาว

โปรตุเกสอาศัยอยูยอมมีอิทธิพลตอชาวพื้นเมืองดั้งเดิม และหนังสือของ M.A.P. Meilenk-Roelofsz.

Asian Trade and European Influence. (Netherlands, 1962) ซึ่งกลาวถึงโครงสรางของระบบ

การคาในมะละกาไวในบทที่ 3 และ 4 ตั้งแตคริสตศตวรรษที่ 15 เปนตนมา อธิบายถึงการเขามาของ

โปรตุเกสคริสตศตวรรษที่ 16 ในมะละกา และการปะทะกันระหวางโปรตุเกสและฮอลันดาใน

บริเวณคาบสมุทรมลายู เปนตน

ผลงานที่ยกตัวอยางมาขางตนน้ีเปนประโยชนตอการศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของ

โปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 แตการศึกษาเรื่องราวของมะละกา

นอกจากจะชี้ใหเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและบทบาทของโปรตุเกสกับฮอลันดา ณ ที่นั้นแลว

ยังมีความสําคัญตอการศึกษาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใตดวย ดังจะเห็นไดวา ผลงาน

การศึกษาที่กลาวถึงบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาน้ันมีการนําเสนอมุมมองที่

ตางกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการประเมินบทบาทของชาวตะวันตกในมะละกา และเราสามารถมองเห็น

การเปลี่ยนแปลงมุมมองในการศึกษาประวัติศาสตรมะละกาจากการใชยุโรปเปนศูนยกลางมาสู

การศึกษาประวัติศาสตรมะละกาโดยใชเอเชียตะวันออกเฉียงใตเปนศูนยกลาง ยกตัวอยางเชน

สำนกัหอ

สมุดกลาง

5

การศึกษาที่อาศัยหลักฐานของชาวยุโรปในการทําความเขาใจในบทบาทของโปรตุเกสที่เขามาในมะ

ละกา มักจะมุงความสนใจไปที่ เรื่องราวของชาวโปรตุเกส จะเกี่ยวของกับเรื่องสงครามหลายครั้ง

และหลักฐานของชาวโปรตุเกสสะทอนใหเห็นวาสวนใหญต้ังใจที่จะยกยองการกระทําของ

โปรตุเกส2 ขณะที่การศึกษาโดยใชมะละกาเปนศูนยกลางจะชวยใหเขาใจไดวามะละกาเปนดินแดน

เปดที่รับวัฒนธรรมจากภายนอกซึ่งมีการคาเปนตัวเชื่อมโยง ดังนั้น การที่โปรตุเกสเขามาในมะละกา

น้ัน ไมใชเปนการเขามาครอบครองดินแดนโดยสิ้นเชิง แตทําใหเกิดปฏิสัมพันธระหวางชน

พื้นเมืองกับโปรตุเกส เปรียบไดวาชุมชนของชาวตะวันตกที่อยูในมะละกานั้น เปนอีกชุมชนหนึ่งที่

เกิดขึ้นมาใหมในพื้นที่ของมะละกาและตางฝายก็มีผลประโยชนรวมกัน และยอมมีการปะทะกัน

หลายคร้ังเน่ืองมาจากความตองการครอบครองผลประโยชนทางการคา ดังน้ีเปนตน

ดังน้ัน การคนควาอิสระฉบับนี้ จึงเปนความพยายามที่จะศึกษาถึงบทบาทของชาวตะวันตก

ในมะละกาเพือ่เปรียบเทียบใหเห็นถึงความเหมือนและความแตกตางของนโยบายและการปฏิบัติตอ

มะละกาของโปรตุเกสและฮอลันดา อันกอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางดานการเมืองและ

เศรษฐกิจไปจากเดิม และตอบคําถามวาทําไมมะละกาภายใตการปกครองของโปรตุเกสและ

ฮอลันดาจึงไมรุงเรืองในฐานะเมืองทาแลกเปลี่ยนสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใตเทากับที่เคยเปน

ในสมัยที่เปนรัฐสุลตานมลายูในคริสตศตวรรษท่ี 15

1.2 ความมุงหมาย และวัตถุประสงคของการศึกษา

1. ศึกษาภูมิหลังของเมืองทามะละกาในชวงเวลาที่มีความเจริญรุงเรืองสูงสุดทั้งทาง

การเมืองและการคา (ชวงคริสตศตวรรษท่ี 15)

2. ศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16

ถึง 17

3. ศึกษาถึงเปรียบเทียบผลกระทบของการปกครองของชาติตะวันตกที่มีตอมะละกา โดย

เปรียบเทียบกับในสมัยที่มะละการุงเรืองในฐานะรัฐสุลตานมลายูในคริสตศตวรรษที่

15

2บารบารา วัตสัน อันดายา & ลีโอนารด วาย. อันดายา, ประวัติศาสตรมาเลเซีย, แปลโดย พรรณี ฉัตรพล

รักษ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2549), 64.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

6

1.3 ขอบเขตในการศกึษา

ศึกษาบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละการะหวางคริสตศตวรรษที่ 16-17 พรอม

ทั้งนําไปเปรียบเทียบกับมะละกาในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 ซึ่งปกครองโดยผูนําชาวมลายู โดย

ศึกษาเปรียบเทียบการเขามายึดครองและปกครองมะละกาโดยชาวโปรตุเกสและฮอลันดา

จุดมุงหมาย นโยบาย และผลกระทบจากการปกครองของทั้งสองประเทศที่มีตอมะละกา

1.4 วิธีดาํเนนิการศึกษา

การศึกษาและการคนควา ไดยึดแนววิเคราะหตามระเบียบวิธีการวิจัยทางประวัติศาสตรเปน

หลัก และเสนอในรูปแบบของการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยอาศัยการรวบรวม

ขอมูลจากหนังสือ ตํารา วิทยานิพนธ งานวิจัยและบทความทั้งภาษาไทยและภาษาตางประเทศ

รวมถึงเอกสารตางๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใตในภาพรวม และที่ศึกษา

เกี่ยวกับประวัติศาสตรมะละกาและประวัติศาสตรมาเลเซียโดยเฉพาะ โดยเนนวิธีวิจัยทาง

ประวัติศาสตร การวิเคราะหตีความจากเอกสาร หนังสือและ วิทยานิพนธ จากหอสมุดของสถาบัน

ตางๆ รวมไปถึงแหลงขอมูลออนไลน และนําเสนอในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห โดยได

คนควาจากแหลงขอมูลตางๆ

1.5 ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ

1. ทําใหเขาใจภูมิหลังของเมืองทามะละกาท่ีแสดงถึงความเจริญรุงเรืองที่สุด

ในชวงคริสตศตวรรษท่ี 15

2. ทําใหเขาใจบทบาทของโปรตุเกสและฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16

ถึง 17

3. สามารถเปรียบเทียบมะละกาภายใตการปกครองของชาวตะวันตกใน

คริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 กับมะละกาในฐานะรัฐสุลตานมลายูมุสลิมใน

คริสตศตวรรษท่ี 15

สำนกัหอ

สมุดกลาง

7

สำนกัหอ

สมุดกลาง

8

บทท่ี 2

ความรุงเรืองของเมืองทามะละกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต คริสตศตวรรษที่ 15

การทําความเขาใจถึงปจจัยที่ผลักดันใหมะละกากาวขึ้นมามีบทบาทในฐานะเมืองทา

แลกเปลี่ยนสินคา (entrepot) ที่สําคัญที่สุดเมืองหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใตในคริสตศตวรรษที่

15 ขึ้นอยูกับความเขาใจเปนลําดับแรกเกี่ยวกับบริบททางการคาโลกและบทบาทของเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตในขณะนั้น (คริสตศตวรรษที่ 14 – 15) เพราะเปนชวงเวลาที่การคาของซีกโลก

ตะวันออก (จีน อินเดีย อาหรับ) กับซีกโลกตะวันตกเร่ิมมีการเปลี่ยนแปลงเพราะความตองการ

สินคาชนิดใหมน่ันคือ เคร่ืองเทศ (spices)

เอเชียตะวันออกเฉียงใตมีความสําคัญในการเดินเรือติดตอคาขายระหวางจีนกับบริเวณ

มหาสมุทรอินเดียมาต้ังแตคริสตศตวรรษตนๆ ซึ่งในระยะน้ัน เสนทางที่นิยมใชคือเสนทางขาม

คาบสมุทรมลายูบริเวณคอคอดกระ ซึ่งทําใหเกิดชุมชนเมืองทาและรัฐชายฝงที่สําคัญหลายแหง เชน

ฝูหนาน ตามพรลิงค ตะโกละ และลังกาสุกะ เปนตน อยางไรก็ตาม ประมาณคริสตศตวรรษที่ 5 เปน

ตนมาเสนทางการคาระหวางจีนกับอินเดียเริ่มเปลี่ยนจากเสนทางขามคาบสมุทรมาเปนเสนทางผาน

ชองแคบมะละกาและชองแคบซุนดา บันทึกของพระภิกษุฟา เหียน (Fa Hsien) ซึ่งเดินทางไปแสวง

บุญยังศรีลังการะหวาง ค.ศ. 413-414 ชวยยืนยันวามีการเดินเรือติดตอระหวางชองแคบมะละกากับ

จีนผานบอรเนียว1 ความสนใจของจีนตอสินคาของปา-ของทะเลของชวาและคาบสมุทรมลายูและ

สินคาที่มาจากอินเดียทําใหผูปกครองชุมชนชายฝงหลายแหงทําการขยายและกระชับอํานาจจนเกิด

เปนรัฐการคาข้ึน รัฐเหลาน้ีไดทําการติดตอคาขายกับจีนโดยตรง

ภายในคริสตศตวรรษที่ 5 ชายฝงทางตะวันออกเฉียงใตของเกาะสุมาตราไดกลายเปน

“บริเวณพิเศษ” (favored coast) ที่ผูคนในบริเวณคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซียนําสินคา

มาลงไวเพื่อคาขายตอไปยังจีน ในจํานวนนี้ อาณาจักรศรีวิชัยที่มีศูนยกลางอยูที่เมืองปาเล็มบังมี

1Hall R. Kenneth, Maritime Trade and State Development in Early Southeast Asia (Honolulu :

University of Hawaii Press, 1985), 39 – 41.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

9

สถานภาพที่แข็งแกรงที่สุด2 ปจจัยสําคัญที่ชวยสงเสริมสถานะของศรีวิชัยไมไดมาจากการยอมรับ

ของราชสํานักจีนอยางเดียว แตยังเกิดจากการที่ผูนําของอาณาจักรสามารถประนีประนอมกับชาวเล

หรือสลัดทะเลที่เคยคุกคามชองแคบมะละกาและชองแคบซุนดาอยู นานน้ําของศรีวิชัยจึงปลอดภัย

สําหรับการสัญจร ในระยะแรก ศรีวิชัย-ปาเล็มบังมีขอบเขตอํานาจเฉพาะในบริเวณลุมน้ํามูซี (Musi)

บนเกาะสุมาตรา แตเมื่อถึงคริสตศตวรรษที่ 9 รัฐตางๆ ในคาบสมุทรมลายูตอนบนตางเขารวมใน

สมาพันธรัฐการคาที่มีศรีวิชัย-ปาเล็มบังเปนศูนยกลาง จารึกตันชอรของราเชนทรโจฬะที่ 1

(Rajendra Cola I ค.ศ. 1014-1044) กษัตริยผูครองแควนโจฬะในอินเดียใตเปนหลักฐานชิ้นสําคัญที่

ยืนยันอํานาจของศรีวิชัยเหนือคาบสมุทรมลายู พระองคทรงไมพอใจอํานาจการผูกขาดการคาของ

ศรีวิชัย และในค.ศ. 1025 ไดสงกองเรือมาโจมตีปาเล็มบังและเมืองทาสําคัญอื่นๆ ของอาณาจักร

ปรากฏนามของ Tiangasoka (ลังกาสุกะ) Talaittakkolam (ตะโกละ) Madamaligam (ตันหมาหลิง

หรือตามพรลิงค) และ Kadaram (เกดะห)3

รากฐานที่ทําใหอาณาจักรศรีวิชัยกาวขึ้นมาเปนศูนยกลางการคาที่สําคัญที่สุดในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตในชวงคริสตศตวรรษท่ี 9 นั้นไมไดมาจากการเปลี่ยนแปลงเสนทางการคาแตอยาง

เดียว ขอไดเปรียบของเมืองปาเล็มบังมีอยูหลายประการ ที่สําคัญไดแก การที่เมืองนี้ไดรับอนุญาต

จากจักรวรรดิจีนใหเปนผูสงกองเรือบรรณาการไปยังจีนซึ่งหมายความวาทําการคาขายกับจีนได

เมืองทาอื่นที่ตองการคาขายกับจีนจึงตองนําสินคามาสงใหกับปาเล็มบัง นอกจากนั้น เมืองปาเล็มบัง

ยังมีแหลงผลิตตอนในของลุมแมน้ํามูซี (Musi) ที่คอนขางใหญกวาแหลงผลิตตอนในของเมืองทา

อ่ืนๆ ถึงกระนั้น อาหารที่นํามาเลี้ยงคนในเมืองทาก็ยังไมพอเพียงแตปาเล็มบังซึ่งมีที่ตั้งอยูใกลแหลง

ผลิตทางการเกษตรในชวาสามารถคาขายแลกเปลี่ยนกับอาณาจักรมะตะรัมได ผูนําของปาเล็มบัง

สามารถควบคุมชาวเลที่เปนนักเดินเรือผูหาของทะเลมาขายและเปนกองทหารใหกับรัฐ และ

สงเสริมสถานะของตนเองโดยการประกาศใหปาเล็มบังเปนศูนยกลางของพุทธศาสนามหายานซึ่ง

เปนวัฒนธรรมหลักของบริเวณเมืองทาในแถบนั้น ตัวอยางที่ไดจากการเติบโตของปาเล็มบังทําให

สรุปไดวารากฐานทางเศรษฐกิจของรัฐคาขายจะขึ้นอยูกับทําเลที่ตั้งอยูติดทะเลบริเวณที่เปนเสนทาง

การคาสําคัญ สามารถควบคุมเสนทางการคาโดยการใชกําลังทัพเรือหรือสรางพันธมิตรกับรัฐชายฝง

2รายละเอียดเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย-ปาเล็มบังศึกษาไดจาก O. W. Wolters, The Fall of Srivijaya in

Malay History (Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1970).3P. Wheatley, The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of the Malay Peninsula

Before A.D. 1500 (Kuala Lumpur : oxford Univeristy Press, 1961), chapter 6, 61-74.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

10

ทะเลอื่นๆ สามารถสรางพันธมิตรกับคูคาสําคัญ โดยเฉพาะจีนและพอคาอาหรับ-อินเดีย และมี

แหลงผลิตที่สงอาหารและสินคาทองถิ่นสงมายังเมืองทา4

ความเขาใจวาปจจัยใดบางที่สงเสริมสถานะทางการคาของอาณาจักรศรีวิชัย-ปาเล็มบังชวย

ใหเราทําความเขาใจการเติบโตและความรุงเรืองของมะละกาซึ่งถือตัวเองวาเปนทายาทของศรีวิชัย

และนํารูปแบบความสัมพันธทางการเมืองและการคาของศรีวิชยัมาเปนแบบอยาง สําหรับศรีวิชยันั้น

อาณาจักรนี้จะคอยๆ เสื่อมลงตั้งแตประมาณคริสตศตวรรษที่ 11 เปนตนมา สาเหตุสําคัญก็มาจาก

เสนทางการคาและบทบาททางการคาของภูมิภาคนี้จะเริ่มเปลี่ยนไป สงผลตอความเปนไปทางการ

เมือง การเจริญข้ึนและเส่ือมลงของรัฐตางๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

คริสตศตวรรษที่ 9 เปนระยะเวลาที่การคาทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีความ

คึกคักอันเน่ืองมาจากนโยบายสนับสนุนการคาของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศถัง อยางไรก็ตาม

ในชวงศตวรรษตอมา ราชวงศถังของจีนเริ่มเสื่อมอํานาจลง แตการคาทางทะเลของเอเชียตะวันออก

เฉียงใตยังไมถูกกระทบมากนักเนื่องจากราชสํานักฮั่นตอนใต (Southern Han หรือ Nan Han) และ

ราชสํานักมิน (Min) ซึ่งมีศูนยกลางอยูที่เมืองกวางตุงและฟูโจวยังคงดําเนินการคากับทางใตอยาง

สม่ําเสมอ5 อยางไรก็ตาม เมื่อถึงตนคริสตศตวรรษที่ 11 ความเปลี่ยนแปลงหลายประการไดเกิดขึ้น

สงผลตอแบบแผนการคาทางทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ตัวแปรใหมประการแรกคือ เกิดการ

แยงชิงความเปนใหญขึ้นในบริเวณคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซีย มีรัฐการคาใหมใน

บริเวณชวาตะวันออกที่ไมยินดีที่จะทําการคาขายผานระบบสมาพันธรัฐการคาของศรีวิชัย

ขณะเดียวกันก็มีคูแขงที่มาจากภายนอก ไดแก รัฐโจฬะซึ่งเปนชาวทมิฬจากอินเดียตอนใตซึ่งไม

พอใจการผูกขาดการคาของศรีวิชัยเชนกัน6 การแขงขันของรัฐการคาตางๆ เพื่อควบคุมการคาของ

บริเวณทะเลจีนใตและชองแคบมะละกายิ่งเขมขนขึ้นเมื่อราชวงศซอง (Sung ค.ศ. 960-1279) รวม

จักรวรรดิจีนเขาดวยกันไดอีกครั้งหนึ่งและมีนโยบายในการทําการคาทางทะเลอยางจริงจัง

ความขัดแยงระหวางรัฐการคาเหลาน้ีบงบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่มากกวาการแยงชิง

ความเปนใหญเพื่อผลประโยชนทางเศรษฐกิจ ที่มาของความขัดแยงนั้นเกิดจากแบบแผนทางการคา

4สรุปความจาก O. W. Wolters, The Fall of Srivijaya in Malay History (Kuala Lumpur : Oxford

University Press, 1970).5Wang Gungwu, “The Nanhai Trade,” แปลและเรียบเรียงโดยมานพ ถาวรวัฒนสกุล ใน รวมเอกสาร

ประกอบการสัมมนาทางวิชาการเร่ือง “เอเชียตะวันออกเฉียงใต : คาบสมุทรและกลุมเกาะ (ภาควิชาประวัติศาสตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535) : 28.6O. W. Wolters, The Fall of Srivijaya in Malay History (Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1975), 90.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

11

ที่เปลี่ยนไป ในชวงคริสตศตวรรษที ่5-10 หนาที่หลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใตคือการเปนสถานี

รับสงสินคาระหวางจีนกับอินเดีย โดยมีสินคาพื้นเมืองบางตัว อยางเชนของปา ของทะเลสงเขา

กระบวนการดวย แตในระยะตอไปนี้ ความตองการหลักของตลาดภายนอกจะมุงมาสูสินคาของ

เอเชียตะวันออกเฉียงใตที่ผลิตไดเปนจํานวนมาก โดยเฉพาะเคร่ืองเทศที่คนพบตามหมูเกาะทาง

ตะวันออกของชวา และพริกไทยซึ่งมีแหลงเพาะปลูกหลักอยูที่เกาะสุมาตรา

ความสนใจที่จะควบคุมเสนทางการคาเครื่องเทศซึ่งมีตนกําเนิดอยูที่บริเวณหมูเกาะโมลุก

กะอาจเปนสาเหตุหนึ่งที่ทําใหเกิดการอพยพเคลื่อนยายศูนยกลางอํานาจของอาณาจักรมะตะรัมซึ่ง

เปนรัฐเกษตรกรรมด้ังเดิมบนเกาะชวา โดยเคลื่อนยายจากที่ราบสูงตอนกลางของเกาะไปทาง

ตะวันออก มีศูนยกลางใหมอยูที่เมืองเกดีรี (Kediri) และสิงหสาหรี (Singasari) บนลุมแมน้ําบรัน

ตาส (Brantas) กอนที่รวมตัวกันขึ้นเปนอาณาจักรที่รูจักกันในนาม มัชปาหิต (Majapahit) ราชวงศ

กษัตริยที่สถาปนาตนขึ้นปกครองอาณาจักรมัชปาหิตจะพยายามขยายอํานาจเหนือบริเวณชวา

ตะวันออกและชายฝงทะเลดานเหนือติดกับทะเลชวาเพื่อควบคุมการคาทางทะเล7 ความมุงมั่นของ

อาณาจักรมัชปาหิตที่จะควบคุมการคาทางทะเลทําใหอาณาจักรนี้เขาโจมตีศรีวิชัย-ปาเล็มบังในชวง

คริสตศตวรรษที่ 12 จนกระทั่งเขาควบคุมอํานาจในอาณาจักรนั้นไดในศตวรรษตอมา การขยาย

อิทธิพลของมัชปาหิตบนเกาะสุมาตราในคริสตศตวรรษที่ 13 เกิดขึ้นพรอมกับการโจมตีรัฐตางๆที่

อยูสองขางของชองแคบมะละกาของพวกโจฬะจากอินเดียใต เหตุการณทั้ง 2 เหตุการณนี้ทําให

อาณาจักรศรีวิชัย-ปาเล็มบังแตกสลายลง ผูคนบางสวนอพยพไปตั้งรกรากใหมที่เมืองมลายู-จัมบี

(Melayu-Jambi) ซึ่งอยูบนชายฝงตะวันออกทางตอนกลางของเกาะสุมาตรา แตเมืองทาใหมนี้ก็ไม

สามารถดําเนินบทบาททางการคาไดเทียบเทากับอาณาจักรศรีวิชัย-ปาเล็มบัง ทั้งยังถูกอาณาจักรมัช

ปาหิตและอาณาจักรโจฬะโจมตีอยูเนืองๆ8

เมื่อศูนยกลางการคาของภูมิภาคเคลื่อนตัวจากทางใตของเกาะสุมาตราไปสูบริเวณชายฝง

ตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะชวา ซึ่งอยูบนเสนทางผานของการขนสงสินคาอันไดแกเครื่องเทศ

จากบริเวณแหลงผลิตในหมูเกาะโมลุกกะ ไปยังชองแคบมะละกาเพื่อออกสูมหาสมุทรอินเดีย ศูนย

อํานาจดั้งเดิมบนเกาะสุมาตราและคาบสมุทรมลายูก็เริ่มเสื่อม การขยายอิทธิพลของมัชปาหิตบน

เกาะสุมาตราในคริสตศตวรรษที่ 13 ประกอบกับการโจมตีดินแดนที่ขนาบชองแคบมะละกาของ

พวกโจฬะจากอินเดียในชวงกอนหนานี้ทําใหสมาพันธรัฐการคาศรีวิชัยแตกสลาย รองน้ําของชอง

แคบมะละกาและบริเวณหมูเกาะรีเอา-ลิงกะใตเกาะสิงคโปรกลายเปนถิ่นที่อยูของพวกชาวเลที่ทํา

7Kenneth R. Hall, Maritime Trade and State Development in Early Southeast Asia (Honolulu :

University of Hawaii Press, 1985), 24-25.8Ibid., 102.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

12

การปลนสะดมเรือสินคาที่ผานเขามา เนื่องจากไมมีรัฐและอาณาจักรใดจะควบคุมคนเหลานี้ไดอยาง

ที่ปาเล็มบังเคยทํา9 บริเวณนี้จึงไมปลอดภัยตอการเดินทางคาขายจนกระทั่งจักรพรรดิยุงโล (Yong

Lo หรือ Yongle) แหงราชวงศหมิงของจีนซึ่งมีนโยบายในการสงเสริมการคาทางทะเลของ

จักรวรรดิจีนตองสนับสนุนใหมีศูนยอํานาจและเมืองทาแหงใหมขึ้นมาแทนที่ศรีวิชัย (จักรพรรดิ

องคนี้คือผูสงกองเรือท่ีนําโดยขุนนางเจ้ิงเหอ (Cheng Ho หรือ Zhenghe) มาสํารวจเสนทางการคาใน

ค.ศ.1404-1405) เมืองทานี้คือมะละกาซ่ึงกอกําเนิดขึ้นประมาณตนคริสตศตวรรษท่ี 15

ผูกอตั้งมะละกาคือเจาชายปรเมศวรซึ่งเปนเชื้อสายราชวงศของปาเล็มบังซึ่งตกอยูภายใต

อํานาจของมัชปาหิต ประมาณ ค.ศ.1390 เจาชายปรเมศวรพากลุมชาวมลายูจากปาเล็มบังอพยพมาที่

ตูมาสิก (Tumasik) หรือเกาะสิงคโปร แตตองเผชิญกับอํานาจของอยุธยาซึ่งสงตัวแทนลงมาปกครอง

ตูมาสิกอยูในขณะนั้น เจาชายปรเมศวรจึงอพยพผูคนตอไปยังมะละกาและกอตั้งเมืองทาขึ้น เนื้อหา

ที่ปรากฏใน “Suma Oriental” ซึ่งเปนงานที่โตเม ปเรส ชาวโปรตุเกสเรียบเรียงขึ้นในตอนตน

คริสตศตวรรษท่ี 16 ชี้ใหเห็นวาผูนํามะละกาไดสรางความสัมพันธกับชาวเล และไดแตงตั้งผูนําของ

ชุมชนเปนขุนนางในราชสํานักที่เกิดขึ้นใหม10 ดังน้ัน กําเนิดของมะละกาแสดงใหเห็นความ

คลายคลึงกับเรื่องราวของศรีวิชัยไดแก ความสําคัญของเสนทางการคา ความสัมพันธกับจักรวรรดิ

จีนและความสัมพันธชมุชนชาวเลในทองถิ่น เปนตน ขณะเดียวกัน มะละกาก็มีความแตกตางจากศรี

วิชัย กลาวคือ ประการแรก มะละกาไดขึ้นมาเปนรัฐการคาที่ยิ่งใหญภายใตการดําเนินงานของ

ผูปกครองรัฐเพียงผูเดียว ไมมีการรวมเปนสมาพันธรัฐการคาแตไดดําเนินรูปแบบการเมืองที่

คลายคลึงกับศรีวิชัยคือ การกระจายอํานาจใหเมืองขึ้นตางๆ ปกครองตนเองได แตอยูภายใตการ

ควบคุมของมะละกา ประการตอมา มะละกาเติบโตขึ้นโดยมีจีนสนับสนุนเชนเดียวกับศรีวิชัย แตวา

ศรีวิชัยตองพึ่งพิงจีนตลอดเวลา สําหรับมะละกานั้น จีนมีสวนเริ่มตนในการแนะนําพอคาตางชาติให

เขามาทําการคาในมะละกา และสนับสนุนใหมะละกาเปนเมืองทาการคาเพื่อรักษาความสงบใน

บริเวณนานน้ําทั่วทั้งชองแคบมะละกาจนสามารถดึงดูดพอคาจากฝงตะวันตกไดแก อินเดีย อาหรับ

และชาวตะวันตกใหเขามาคาขายกับพอคาฝงตะวันออกในเมืองทามะละกา จนเปนที่โดงดังใน

ตอนตนคริสตศตวรรษที่ 15 แตอยางไรก็ตาม มะละกาไดใชยุทธวิธีทางการเมืองเพื่อดึงดูดพอคา

ตางชาติใหเขามาทําการคาที่มะละกาโดยไมไดพึ่งพาจีนตลอดเวลา อาจมาจากการที่มะละกาเติบโต

และรุงเรืองกวายุคสมัยของศรีวิชัย เพราะมะละกามีเครือขายทางการคา

9K. R. Hall, “Trade and State Craft in the Western Archipelago at the Dawn of the European Age,”

Journal of Malaysian Branch, Royal Asiatic Society Vol. 54, Part I (1981) : 24.10A. Cortesao, ed., Suma Oriental (London : Hakluyt Society, 1994), 244.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

13

สำนกัหอ

สมุดกลาง

14

เชื่อมตอถึงทะเลเมดิเตอรเรเนียน ซึ่งกลายเปนวามะละกาสามารถยิ่งใหญและมีอิทธิพลตอเสนทาง

การคาเครื่องเทศเปนอยางมาก ฉะนั้นพันธมิตรในเวลาตอมาก็ไมจําเปนตองเปนจีนเพียงชาติเดียว

อาจเปนอินเดีย อาหรับ และชาติตะวันตกเชน พอคาจากเวนิช เปนตน

เพื่อใหเขาใจถึงรากฐานที่ทําใหมะละกากอตั้งขึ้นได และยังเติบโตภายใตการปกครองของ

สุลตานชาวมลายูตลอดคริสตศตวรรษที่ 15 เราจึงควรพิจารณาปจจัยตางๆ ที่ทําใหมะละกามีความ

รุงเรืองทางการคาใหละเอียดยิ่งขึ้น จึงจะทําใหสามารถเปรียบเทียบกับมะละกาที่ตกอยูภายใตการ

ปกครองของโปรตุเกสและฮอลันดาในเวลาตอมา ประเด็นที่จะศึกษาตอไปในบทนี้ ไดแก ปจจัยที่

สงผลตอพัฒนาการและความรุงเรืองของมะละกา รูปแบบและเครือขายทางการคา รูปแบบการ

ปกครองของรัฐสุลตานมลายูในแบบของมะละกา และสาเหตุที่ทําใหมะละกาไมสามารถตานทาน

การโจมตีจากโปรตุเกสได

2.1 ปจจัยที่สงผลตอพัฒนาการและความรุงเรืองของมะละกา

2.1.1 ทาํเลที่ตัง้และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่

มะละกามีทําเลที่ตั้งที่เหมาะสมยิ่งตอการเปนศูนยกลางเมืองทาการคา งานของ Andaya11

ไดเปดประเด็นถึงความสําคัญของสภาพภูมิศาสตรในคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซียวา

เปนพื้นที่ที่ ต้ังอยูระหวางเสนทางการคาทางทะเลที่สําคัญ ทั้งฝงทะเลตะวันตกและฝงทะเล

ตะวันออก (อินเดีย-จีน) และบริเวณคาบสมุทรและกลุมเกาะยังอุดมสมบูรณดวยทรัพยากรธรรมชาติ

งานของ Meilink Roelofsz12 ชี้ใหเห็นถึงความสําคัญของบริเวณคาบสมุทรและกลุมเกาะที่ตั้งบนเขต

เสนทางการคาโลกระหวางเขตการคาที่สําคัญคือ มหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต มีเมืองตางๆ

เกิดขึน้มากมายจากการคาบนเสนทางการคานี้ ซึ่งจะเปนคนพื้นเมืองมลายูสวนใหญ สําหรับงานของ

Hall13ไดอธิบายถึงความสําคัญของคาบสมุทรมลายู (Malay Peninsula) วาตั้งอยูบนเสนทางทะเล

ระหวางจีนกับอินเดีย อาหรับ และโรม ประเทศตะวันตกสามารถเดินทางไปคาขายกับจีนไดโดย

11อานเพิ่มเติมไดใน Barbara Watson Andaya and Leonard Y. Andaya, A History of Malaysia (Hong

Kong : Oxford University Press, 1982).12อานเพิ่มเติมไดใน M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian

Archipelago between 1500 and about 1630 (The Hague : Martinus Nijhoff, 1962). 13อานเพิ่มเติมไดใน D. G. E. Hall, A History of Southeast Asia (London : Mac Millan, 1968).

สำนกัหอ

สมุดกลาง

15

ผานชองแคบมะละกา โดยงานของ Paul Wheatley14 ก็มีความเห็นสอดคลองวา ภูมิศาสตรของ

คาบสมุทรมลายู ต้ังอยูคร่ึงทางระหวางอารยธรรมจีนและอินเดีย เมื่อการคาทางทะเลพัฒนาขึ้น

ชายฝงของคาบสมุทรมลายูก็ไดพัฒนาขึ้นตามไปดวย ทําใหกลาวไดวา ภูมิศาสตรของคาบสมุทรลา

ยูเอื้ออํานวยตอการคาที่มาจากทะเลจีนใตและมหาสมุทรอินเดีย และงานของ Muhammad Yusoff

Hashim15 ไดอธิบายไวอยางชัดเจนวา คาบสมุทรมลายูเปนทําเลที่เหมาะตอการคา และเมืองทาตางๆ

ก็ถูกพัฒนาขึ้นเพราะภูมิศาสตรของที่ต้ังที่เหมาะสมตอการติดตอการคา และเปนเครือขายการ

แลกเปลี่ยนสินคาระหวางตะวันออกและตะวันตกมาตั้งแตโบราณกาล จะเห็นไดวาผลงานของทั้ง 5

ทาน ไดแสดงใหเห็นถึงความสําคัญของบริเวณคาบสมุทรและกลุมเกาะวาเปนทําเลที่เหมาะสมกับ

การทําการคา ทุกทานมีความคิดเห็นสอดคลองกันวา คาบสมุทรมลายูโดยเฉพาะบริเวณชองแคบมะ

ละกามีความสําคัญที่ทําใหการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตพัฒนาขึ้นตามกระแสการคาโลก และมี

ประเด็นรวมกันในเรื่องปจจัยที่ทําใหภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตโดยเฉพาะมะละกาที่สามารถ

พัฒนาดานการคาไดอยางรวดเร็วและรุงโรจนมากที่สุดในคริสตศตวรรษที่ 15 คือ ทําเลที่ตั้งและ

สภาพภูมิศาสตรตามที่กลาวมาแลวขางตน

นอกจากมะละกาจะตั้งอยูบริเวณจุดยุทธศาสตรการคา ลักษณะของพื้นที่ยังเอื้ออํานวยตอ

การเปนเมืองทาเปนอยางมาก เพราะปากแมน้ํามะละกาสามารถใชจอดเรือได หลักฐานจีนและงาน

ของโตเม ปเรสไดกลาวตรงกันวา มะละกาเปนแหลงน้ําลึก ซึ่งเปนทางผานของเรือ เปนตลาดขนาด

ใหญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต16 ทําเลของมะละกาจึงงายตอการพัฒนาเปนศูนยกลางการ

แลกเปลี่ยนสินคา (entrepot center) ไดอยางรวดเร็วหลักจากศรีวิชัยลมสลายในคริสตศตวรรษที่ 14

ลักษณะธรรมชาติของสภาพภูมิอากาศในคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะนั้นจะปรากฏลมมรสุม ซึ่ง

ลมมรสุมก็เปนปจจัยสําคัญอีกประการหนึ่งที่เอื้ออํานวยตอการพัฒนาดานการคาของภูมิภาค ชาว

อาหรับและชาวอินเดียที่อยูตามเมืองทาบริเวณชายฝงทะเลรูจักใชลมมรสุมในการเดินเรือ ทั้งชาว

อาหรับซึ่งเปนพอคาคนกลางทางการคาและชาวอินเดียซึ่งเปนตัวแทนการคา ไดเก็บความลับเรื่อง

การคนพบลมมรสุมนี้ไวเพื่อประโยชนในการแสวงหากําไรจากการดําเนินการคาของตน และใน

เวลาตอมาชาวโรมันก็คนพบการเดินเรือโดยอาศัยลมมรสุมแบบเดียวกับชาวอินเดียและอาหรับ

14อานเพิ่มเติมไดใน Paul Wheatley, Impressions of the Malay Peninsula in Ancient Times (Singapore :

Eastern University Press Ltd., 1964).15อานเพิ่มเติมไดใน Muhammad Yusoff Hashim, The Malay Sultanate of Malacca, translated by D. J.

Muzaffar Tate (Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992).16A. Cortesao, ed., Suma Oriental (London : Hakluyt Society, 1994), 211.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

16

สําหรับคนทางตะวันออกเชน จีนและในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใตก็สามารถใชลมมรสุมให

เปนประโยชนในการเดินทางทางทะเลเพื่อติดตอทําการคาภายในภูมิภาคระหวางเกาะตางๆ17

ทําเลที่ตั้งของมะละกาจึงทําใหมะละกาเติบโตในฐานะเมืองทาการคาไดอยางรวดเร็ว แมรี่

ซี. เทิรนบุลไดใหคําอธิบายไวถึงศรีวิชัยและมะละกาวา ทั้งสองอาณาจักรนี้ตางมีอํานาจรวดเร็วมาก

ในแตละยุคสมัยของแตละอาณาจักรซึ่งไมมีอาณาจักรใดๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่สามารถทํา

ได เพราะทั้งสองอาณาจักรมีความสามารถในการควบคุมชายฝงทะเลของคาบสมุทรมลายู และที่

สําคัญทั้งสองอาณาจักรสามารถควบคุมชองแคบมะละกาซึ่งเปนเสนทางที่ทําใหกลไกการเชื่อมตอ

การคาระหวางทะเลจีนใตกับมหาสมุทรอินเดียไดเปนอยางดี18 และที่นาสนใจคือทั้งสองอาณาจักร

ตางตองการควบคุมนานน้ําในเขตชองแคบมะละกา ทําใหเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นวา ชองแคบมะ

ละกาเปนเขตเสนทางการคาที่สําคัญมากที่สุดเสนทางหนึ่งตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน

2.1.2 การเติบโตของการคาโลก โดยเฉพาะการคาเคร่ืองเทศ

มะละกาเติบโตขึ้นในชวงเวลาที่ประจวบเหมาะกับการคาของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมี

ตัวแปรที่สําคัญจากชนิดสินคาที่ตลาดโลกตองการ ชวงเวลาที่กําเนิดอาณาจักรมะละกาน้ัน

(คริสตศตวรรษท่ี 15) เปนชวงเวลาแหงการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนการคาโลก ทําใหการคาแบบ

ดั้งเดิมระหวางฝงตะวันออกกับฝงตะวันตก (จีน-อินเดีย) เปลี่ยนแปลงไปสูตลาดการคาของโลกที่

กวางขวางมากข้ึน ไมวาจะเปนการปรากฏตัวของพอคาชาวชวา พอคาจากญ่ีปุน พอคาจากอาว

เปอรเซีย ทะเลแดง เปนตน ตางก็พากันเดินทางมายังเมืองทามะละกาเพื่อการคาในคริสตศตวรรษที่

15 ฉะนั้นชวงเวลานี้จึงเปนยุคทองของมะละกา เนื่องจากในคริสตศตวรรษที่ 15 เมืองทามะละกาได

อยูภายใตแบบแผนการคาที่สัมพันธกับสินคาชนิดใหมซึ่งเปนที่ตองการของตลาดโลกคือ เครื่องเทศ

ผลงานการศึกษาของ Antony Reid, Kenneth R. Hall และ Andaya ไดเสนอความคิดคลายคลึงกันวา

ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการคาที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใตในชวงคริสตศตวรรษที่ 14

และ 15 มีสาเหตุมาจากการที่ทิศทางการคาไดเปลี่ยนแปลงไป ตัวแปรสําคัญที่ทําใหทิศทางการคา

เปลี่ยนแปลงไปคือ ตัวสินคาชนิดใหมไดแก เครื่องเทศ ดังนั้นแบบแผนการคาสมัยโบราณของศรี

17สุพัฒน ธัญญวิบูลย, “เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษท่ี 15” (สารนิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539),

14.18แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 81.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

17

วิชัย จึงไดเปลี่ยนแปลงสูแบบแผนการคาสมัยจารีตของมะละกาภายใตความสําคัญของเสนทาง

การคาทางทะเล

งานของ O.W. Wolters19 กลาววา อํานาจทางการเมืองของรัฐที่กระจายอยูริมชายฝงทะเล

นั้นมักจะขึ้นอยูกับความสามารถในการเปนศูนยกลางการคา ชวงกอนคริสตศตวรรษที่ 15 การคา

หลักที่สําคัญ ไดแก การคากับจีน และในคริสตศตวรรษที่ 15 การคาหลักที่สําคัญไดกระจายออกไป

ทั่วโลก เชน การคากับอินเดีย ชาวอาหรับ พอคาจากทะเลเมดิเตอรเรเนียน พอคาชวา เปนตน จะเห็น

ไดวา ทุกกลุมพอคาชาติตางๆ ตองการทําการคากับมะละกาไมเพียงแตชาวจีนเทาน้ัน งานของ

Muhammad Yusoff Hashim20 ไดเนนย้ําถึงบทบาทและแบบแผนการคาของมะละกาวาเปนการสืบ

ทอดลักษณะทางเศรษฐกิจที่มีมากอนในสมัยศรีวิชัย แตปจจัยที่ทําใหมะละกาเติบโตขึ้นอยาง

รวดเร็วก็เน่ืองจากมะละกาไมไดเพียงแตผูกพันกับจีน แตมีพอคาชาวอินเดียและอาหรับเขามามี

บทบาทในมะละกาอีกดวย พอคาเหลานี้มีบทบาทอยางมากในการสงเสริมการคาและสนับสนุนให

เมืองทามะละกาเปนเมืองทาศูนยกลางของชาวมุสลิม สวนงานของ Meilink-Roelofsz21 ไดชี้ใหเห็น

ถึงประเด็นที่ทําใหมะละการุงเรืองในคริสตศตวรรษที่ 15 คลายๆ กันวา มะละกามีพอคานักเดินเรือ

ชาวตางชาติจํานวนมากและมากกวาในสมัยศรีวิชัย ทําใหผลประโยชนที่เกิดขึ้นจากการคาในเมือง

ทามะละกากระจายไปเปนวงกวางท่ัวนานน้ําในเอเชีย

ดังนั้น การคาของเมืองทามะละกาสามารถรองรับความตองการของตลาดโลกได เพราะมะ

ละกาเปนเมืองทาที่มีการรวบรวมสินคาประเภทเคร่ืองเทศเปนจํานวนมากที่สุด ทําใหเกิดเปน

ศูนยกลางการแลกเปลี่ยนสินคาที่สําคัญที่สุดในภูมิภาคน้ี เมืองทามะละกาจึงเปนที่รูจักของนัก

เดินเรือทั่วโลกที่ตองการสินคาจากฝงตะวันออกหรือสินคาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตก็

สามารถหาไดที่เมืองทามะละกาท้ังหมด ฉะน้ันเสนทางการคาที่เปนเสนทางที่เชื่อมตอจากฝง

ตะวันตกสูฝงตะวันออกคือ เสนทางการคาเคร่ืองเทศ (spice route) โดยนักเดินเรือจะตองผานบริเวณ

ชองแคบมะละกาและแวะจอดเรือที่เมืองทามะละกาเปนประจํา ลักษณะดังที่กลาวมาแลวขางตนนี้

ทําใหมะละกาเปนเปาหมายสําคัญของชาติตะวันตกที่ตองการเขามาในคาบสมุทรมลายูเพื่อแสวงหา

19O.W. Wolters, The Fall of Srivijaya in Malay History (Kuala Lumpur: Oxford University Press,

1975), 66.20Muhammad Yusoff Hashim, The Malay Sultanate of Malacca (translated by D. J. Muzaffar Tate)

(Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992), 112.21M.A.P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague: Martinus Nijhoff, 1962), 60 – 62.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

18

ผลประโยชนทางดานการคา และทําใหมะละกาตองตกอยูภายใตอิทธิพลของชาติตะวันตกใน

คริสตศตวรรษท่ี 16

2.1.3 การสนับสนนุและความสัมพันธกบัราชสํานักจีน

แมวานักวิชาการหลายทานจะกลาวถึงความแตกตางระหวางมะละกากับศรีวิชัยวาศรีวิชัย

รุงเรืองเพราะพึ่งพาตลาดการคาของจีนเปนหลักขณะที่ตลาดการคาของมะละกาขยายวงออกไป

กวางกวา แตเราตองยอมรับวาจีนยังคงเปนตัวแปรสําคัญในพัฒนาการของมะละกา โดยเฉพาะ

ในชวงของการกอต้ังรัฐ จีนมีสวนสําคัญในการสงเสริมและผลักดันใหมะละกาเปนเมืองทาที่

สมบูรณและรุงโรจนในคริสตศตวรรษที่ 15 เนื่องจากราชสํานักจีนเปนมหาอํานาจแรกที่เล็งเห็นวา

พื้นที่บริเวณชองแคบมะละกาที่ไมมีรัฐเขมแข็งปกครองจะเกิดปญหามากมายจากการที่มีโจรสลัด

จํานวนมาก กลุมโจรสลัดนี้มีความสําคัญตอประวัติศาสตรมะละกาคือ เปนกลุมโจรสลัดโอรัง ลาอุต

(Orang Laut)22 ไดปลนสะดมเรือสินคาจํานวนมาก ยิ่งการคาเติบโตเทาไรโจรสลัดก็มากขึ้นเรื่อยๆ

ทําใหเกิดความเสียหายและความวุนวายเปนอยางมาก ชวงเวลาที่ศรีวิชัยลมสลายและไมมีผูใดเปน

ตัวแทนที่มีอํานาจในการควบคุมดูแลความสงบเรียบรอย ทําใหมีโจรสลัดในบริเวณชองแคบมะละ

กาจํานวนมากขึ้น มีผลทําใหจํานวนพอคา นักเดินเรือลดลง เนื่องจากเกิดชองวางทางอํานาจในการ

ปกครองบริเวณเสนทางการคาเขตชองแคบมะละกา23

ชองวางทางอํานาจในบริเวณชองแคบมะละกาเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐศรีวิชัยที่มีศูนยกลางอยูที่

ปาเล็มบังทางตอนใตของเกาะสุมาตราถูกโจมตีจากคูแขงทางการคาทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค

ไดแกพวกโจฬะจากอินเดียและชาวชวาจากอาณาจักรมัชปาหิต24 แตหลังจากนั้น เหตุการณเปนไป

ดังที่ Kenneth R. Hall ไดใหขอสังเกตุไววา ชวาไมสามารถควบคุมเสนทางการคาในชองแคบมะละ

กาได เพราะชวามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกตางจากศรีวิชัยเปนอยางมาก และชวาเปนรัฐที่ถือ

22โจรสลัดกลุมนี้เราสามารถนี้วา ชาวเลหรือชาวทะเล เปนกลุมโจรสลัด Orang Laut ที่มีอิทธิพลมาก

ที่สุดในบริเวณชองแคบมะละกา ซึ่งจะอาศัยตามบริเวณเกาะตางๆ และชายฝงทะเลแถบ Riau Lingga, Pulau tujuh

แถบกลุมเกาะ Bentam รวมทั้งบริเวณชายฝงและเกาะแถบสุมาตราตะวันออกและใตคาบสมุทรมลายู โดยกลุมที่มี

อํานาจมักจะอาศัยอยูบริเวณเกาะใหญแถบเสนทางการคา Orang Laut กลุมใหญไดแก Orang Laut – Suku (เผา)

Bentam ซึ่งอยูที่ Bentam Orang Laut – Suku Bulang อยูที่ Bulang นอกจากนี้ยังมี Orang Laut อยูที่บริเวณ

สิงคโปร กลุมชาว Orang Laut จะหากินโดยเปนโจรสลัดและเก็บของทะเลขาย23Muhammad Yusoff Hashim, The Malay Sultanate of Malacca, translated by D. J. Muzaffar Tate

(Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992), 186.24J. Kennedy, A History of Malaya (Hong Kong : Macmillan St. Martin’s Press, 1970), 1 – 3.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

19

กําเนิดไดไมนานรากฐานการเมืองและเศรษฐกิจไมมั่นคง รวมทั้งความสนใจในการคาก็เริ่มตนใน

ราวคริสตศตวรรษที่11 ไมเหมือนกับศรีวิชัยที่มีระยะเวลายาวนานกวาในการกอตัวเปนอาณาจักร

ทางการคา25 ศูนยอํานาจอีกแหงหน่ึงที่นาจะเขามาแทนที่ศรีวิชัยไดคือสยาม แตสยามใน

คริสตศตวรรษที่ 14 ก็เพิ่งเริ่มตั้งอาณาจักรและยังไมสามารถมีอํานาจเพียงพอที่จะควบคุมพื้นที่

ดานลางอาณาจักรอยุธยา (ชองแคบมะละกา) ไดทั้งหมด

ฉะนั้น เมื่อปรเมศวรผูนําชาวมลายูอพยพจากสุมาตรามาตั้งเมืองทามะละกาขึ้นในตอนตน

คริสตศตวรรษที่ 15 จึงไดรับการสนับสนุนจากราชสํานักจีน ภายใตผูนําราชวงศหมิงนามวา

จักรพรรดิหยงเลอ โดยที่ไดพระราชโองการใหเจิ้งเหอ จัดทัพเรือทองทะเลสูตะวันตก โดยแวะเยือน

ที่เมืองมะละกาเพื่อสรางความสัมพันธทางการคาและการทูตขึ้นในระหวางป ค.ศ. 1405 – 1433 จีน

เริ่มแสวงหาผลประโยชนจากการคาทางทะเลและเครื่องราชบรรณาการจากรัฐตางๆ โดยเล็งเห็นวา

มะละกาเปนรัฐสําคัญที่จะสามารถควบคุมโจรสลัดโดยเฉพาะกลุม Orang Laut ได เพื่อใหนานน้ํา

เขตชองแคบมะละกามีความเรียบรอยและสงผลใหเสนทางการคาแหงนี้เติบโตขึ้น จีนเริ่มสนับสนุน

เมืองทามะละกาตั้งแตป ค.ศ. 1403 แตตอมาในป ค.ศ. 1405 มะละกาไดติดตอทางการทูตกับจีน

โดยตรง26 การสนับสนุนของจีนทําใหสยามสยามซึ่งอางวาตนมีสิทธิในบริเวณเขตการคาเสนน้ี

เพราะไดรับเครื่องราชบรรณาการจากเมืองทางตอนเหนือของมะละกาที่มีความเจริญมาอยูกอนเชน

ปตตานี กลันตัน และปะหัง เปนตน สามารถครอบงํามะละกาได เชนเดียวกับอาณาจักรมัชปาหิต

แหงชวาซึ่งอางสิทธิในบริเวณเขตการคาเสนนี้ดวยเชนกันก็ไมปรากฏวาเขามารุกรานมะละกาแต

อยางใด

มะละกาไดมีปฏิสัมพันธกับจีนทางดานการคาและการทูตเพิ่มมากขึ้น (ตารางที่ 1) ตลอด

คริสตศตวรรษที่ 15 เปนตนมา ขอสังเกตสําหรับการที่มะละกาสงเครื่องราชบรรณาการไปจีน จะ

25Kenneth R. Hall, Maritime Trade and State Development in Early Southeast Asia (Honolulu :

University of Hawaii Press, 1985), 97 – 99.26เจิ้งเหอเปนชาวเมืองคุนหยาง มณฑลหยุนหนาน เกิดในป ค.ศ. 1371 สมัยราชวงศหมิง มีพ้ืนเพ

ครอบครัวมุสลิมจากเอเชียกลาง ตอมาถูกกวาดตอนเขาไปรับใชในราชสํานักของเจาชายจูตี้ และถูกตอนเปนขันที

และเมื่อเจาชายจูตี้ปราบดาภิเษกขึ้นเปนจักรพรรดิหยงเลอในป ค.ศ. 1402 พระองคทรงมีพระบรมราชโองการให

เจิ้งเหอเปนผูบัญชาการกองทัพเรือ ออกเดินทางเพื่อสํารวจทะเลตะวันตก เจิ้งเหอไดออกเดินทางทั้งสิ้น 7 ครั้งใน

ระยะเวลา 28 ป (ค.ศ. 1405 – 1433) การเดินเรือครั้งสุดทายในป ค.ศ. 1433 เจิ้งเหอลมปวยและถึงแกอสัญกรรมบน

เรือ นอกชายฝงเมืองทาคาลิคัต (Calicut) ประเทศอินเดีย การออกเดินเรือทุกครั้ง เจิ้งเหอจะแวะพักที่เมืองทามะละ

กา และมีบทบาทสําคัญในการชวยรับรองมะละกาใหเปนรัฐบรรณาการของจีน ทําใหมะละกาปลอดจากการ

คุกคามของอยุธยาและชวา

สำนกัหอ

สมุดกลาง

20

ตารางท่ี 1

การสงบรรณาการไปยังจีนของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ค.ศ. 1369 – 1510 (จํานวนครั้ง)

(ค.ศ.)

ชวา ปาไซ สยาม จัมปา มะละกา

1369 - 1399 11 1 33 25

1400 - 1409 8 3 11 5 3

1410 - 1419 6 7 6 9 8

1420 - 1429 16 5 10 9 5

1430 - 1439 5 3 4 10 3

1440 - 1449 7 3 9 2

1450 - 1459 3 2 3 3

1460 - 1469 3 1 1 4 2

1470 - 1479 4 3 1

1480 - 1489 3 3 3

1490 - 1499 2 3 3

1500 - 1510 1 2 2

ที่มา : Anthony Reid, Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680 : Volume two (USA. :

Yale University Press, 1993), 16.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

21

เห็นวามะละกาไมไดพึ่งพาจีนตลอดเวลาในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 แตทวาก็ไมไดตัดขาดจากการ

ติดตอการคากับจีน เพราะวาในเวลานี้มะละกาเปนพอคาคนกลางที่คอยรวบรวมสินคาจากแหลง

ตางๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตเพื่อขายตอพอคาตางชาติ โดยเฉพาะอยางยิ่งเครื่องเทศเปน

สินคาที่ตองการมากที่สุดในโลก ฉะนั้นการติดตอการคากับจีนในระยะแรกๆ จะมีมากกวาในปลาย

คริสตศตวรรษท่ี 15 เพราะชวงตนคริสตศตวรรษนั้น มะละกาตองพึ่งพาจีนในหลายๆ เรื่อง เพื่อเอื้อ

ประโยชนตออาณาจักรที่กําเนิดใหมภายใตกระแสการคาโลกที่กําลังเปลี่ยนแปลง จึงจําเปนตอง

อาศัยอํานาจบารมีของจีนในการสรางอาณาจักรใหมั่นคงตอไป

การยอมรับบทบาทและอิทธิพลของจีนทําใหมะละกาไดรับผลประโยชน 2 ประการคือ

ประการแรก ดานเศรษฐกิจของมะละกาขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการที่มะละกาไดพันธมิตรที่มี

อิทธิพลตอการคาและเศรษฐกิจของเอเชีย มะละกาไดประโยชนโดยตรงจากผลประโยชนทางการคา

ที่จีนเขามาพักพิงและทําการคาบนดินแดนมะละกา จนทําใหมะละกาเปนรัฐที่เติบโตขึ้นอยาง

รวดเร็วที่สุดในคริสตศตวรรษที่ 15 ประการที่สอง ดานการเมืองของมะละกาในตอนตน

คริสตศตวรรษท่ี 15 มะละกายังไมมีเสถียรภาพทางการเมืองเพราะการรุกรานของสองอาณาจักรทาง

เหนือคือสยาม (อาณาจักรอยุธยา) กับทางใตคือชวา (อาณาจักรมัชปาหิต) ตางก็พยายามอางสิทธิเปน

ผูดูแลดินแดนมะละกา การติดตอทางการทูตกับจีนโดยตรงทําใหสยามและชวาหยุดรุกรานและ

กอกวนมะละกา เพราะอํานาจของจีนเปนที่ยอมรับกันอยางกวางขวางในเอเชียตะวันออกเฉียงใตวา

เปนรัฐมหาอํานาจทางการคาและการเมือง

2.1.4 ความสามารถในการควบคุมดูแลชาวเล (Orang Laut)

Muhammad Yusoff Hashim ไดกลาวไววา มะละกามีพลังอํานาจเหนือกวารัฐพื้นเมืองอื่นๆ

ในคาบสมุทรมลายูในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 แมวาเปนรัฐที่กําเนิดใหม แตก็สามารถมีอํานาจทาง

การเมืองในบริเวณชองแคบมะละกามากกวาที่ใดๆ เพราะมะละกาสามารถควบคุมเหลาโอรัง ลาอุต

(Orang Laut) ความสามารถดังกลาวมสีาเหตุในระยะแรกมาจากการที่ปรเมศวรผูนํามะละกาอางเชื้อ

สายราชวงศสืบเนื่องมากจากผูปกครองศรีวิชัย กลุมโอรัง ลาอุตจึงยินยอมและใหความรวมมือกับมะ

ละกาในการปกปองทะเลในบริเวณชองแคบมะละกา แตความรวมมือของชาวเลหรือโอรัง ลาอุ

ตในระยะยาวนั้นมาจากการที่ผูนําชาวมลายูของมะละกาพยายามดึงผูนําของชาวเลเขามาเปนสวน

หนึ่งของกลุมผูปกครอง โตเม ปเรสไดบันทึกไววามีการแตงงานระหวางผูนํามะละกากับธิดาของ

สำนกัหอ

สมุดกลาง

22

หัวหนาชาวเล และจากพงศาวดารมลายู เราทราบวาชาวเลไดเขามาเปนขุนนางใหกับราชสํานักมะกา

โยเฉพาะในตําแหนงนายทัพเรือ (Laksamana)27

การที่มะละกาสามารถคุมกลุมโอรัง ลาอุตไดเปนชัยชนะอันยิ่งใหญ เพราะโอรัง ลาอุตเปน

กองทัพทางทะเลที่เขมแข็งและเชี่ยวชาญในการเดินเรือในเขตทะเลนี้ ทําใหเปนกองกําลังสําคัญของ

กองทัพเรือของมะละกา กลุมโอรัง ลาอุตจะทําการตอสูกับโจรสลัดกลุมอื่นๆ เพื่อปกปองมะละกา

ตลอดบริเวณชองแคบมะละกาทั้งหมด ซึ่งเปนผลดีตอการคาในเมืองทามะละกาและกลุมพอคาจาก

ดินแดนตางๆ ก็พากันมาดินแดนแหงนี้ดวยความเชื่อมั่นวา มะละกาสามารถคุมโจรสลัดในเขตชอง

แคบมะละกาได และที่สําคัญเมืองทามะละกากลายเปนดินแดนที่สงบ มีระเบียบ ปราศจากการ

ปลนสะดม ปลอดภัยและสะดวกสบายเชนเดียวกับสมัยศรีวิชัย ดังนั้นการปกปองและควบคุมความ

สงบเรียบรอยของนานนํ้ามะละกาจึงเปนหนาที่ของโจรสลัดโอรัง ลาอุต และมะละกาสามารถ

ดําเนินกิจการทางการคาทางทะเลและสรางปฏิสัมพันธกับพอคาตางชาติไดอยางงายดาย เพราะ

สภาพสังคมที่สงบเรียบรอยเหมาะแกการติดตอการคา เครือขายการคาทางทะเลของมะละกาจึงขยาย

เปนวงกวาง พอคาตางชาติตางพากันมาคาขายในมะละกา ลักษณะเชนนี้เปนแรงผลักดันใหเมืองทา

มะละการุงเรืองท่ีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใตชวงคริสตศตวรรษที่ 15

2.1.5 การสถาปนาตนเปนรัฐมลายูมุสลิม

ปจจัยสําคัญอีกประการหนึ่งที่ทําใหมะละกาเติบโตขึ้นอยางรวดเร็ว และยังทําใหชาวมลายู

รวมตัวกันไดอยางเปนปกแผนและมีจํานวนมากในเมืองทามะละกาก็คือ ศาสนาอิสลาม โดยงาน

เขียนของ O.W. Wolters ไดระบุไววาการเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามของกษัตริยมะละกาเกิดขึ้น

ใน ค.ศ. 1436 และเปนกุศโลบายทางการเมืองและการคา ซึ่งเปนผลสืบเนื่องมาจากการที่จีนเร่ิม

เปลี่ยนนโยบายและใหการสนบัสนุนมะละกานอยลง28 สําหรับศาสนาอิสลามไดกลายเปนเครื่องมือ

ชนิดหนึ่งที่ทําใหการคาในมะละกาขับเคลื่อนไดอยางเต็มที่และมั่นคง เพราะการที่กษัตริยมะละกา

เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามมีนัยแฝงทางการเมือง กลาวคือเปนการสรางภาพลักษณรัฐการคา

อิสลามใหเกิดขึ้นเพื่อดึงดูดบรรดาพอคามุสลิมใหเขามาคาขายยังมะละกา และใชศาสนาอิสลามเปน

เครื่องมือสรางพันธมิตรในหมูรัฐอิสลาม เชน อาเจะหและปาไซ (Acheh and Pasai) บนเกาะ

27Muhammad Yusoff Hashim, The Malay Sultanate of Malacca, translated by D. J. Muzaffar Tate

(Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992), 104.28O.W. Wolters, The Fall of Srivijaya in Malay History (Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1975), 160.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

23

สุมาตราซึ่งกําลังเร่ิมมีอิทธิพลทางการคามากขึ้นในขณะนั้น29 ฉะนั้นการเปลี่ยนมานับถือศาสนา

อิสลามของผูนํามะละกาเปนนโยบายทางการทูตที่สําคัญและเปนสิ่งที่แสดงใหเห็นถึงการ

ตอบสนองของผูนํามะละกาตอความสําคัญของปจจัยภายนอกที่มีผลตอศักยภาพทางการคาของมะ

ละกา ทั้ง Suma Oriental และ Sejarah Melayu ไดบันทึกวาผูปกครองมะละกาเปลี่ยนมานับถือ

ศาสนาอิสลาม โดยมีการสรางความสัมพันธกับรัฐตางๆ อยางใกลชิดดวยระบบเครือญาติดวยวิธีการ

แตงงาน30

เมืองทามะละกาไดพัฒนาเปนศูนยกลางของการศึกษาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ประโยชนที่ไดจากศาสนาอิสลามนี้ก็คือ การคาที่มะละกาเพิ่มมากขึ้นเปนลําดับ พอคามุสลิมจากปา

ไซ เบงกอล เปอรเซีย อาหรับ ตางก็เดินทางมาติดตอการคาที่มะละกา ดวยเหตุที่พวกเขายอมรับใน

ความเปนอิสลามดวยกัน (Dar ul Islam) โดยในงานเขียนของ Sir R. Winstedt ไดใหความสําคัญของ

ศาสนาอิสลามไววา ศาสนาอิสลามีสวนผลักดันใหมะละกาไดพัฒนาเปนเมืองทาที่สําคัญ ภายหลังที่

มะละกาไดนับถือศาสนาอิสลามแลวในตอนตนคริสตศตวรรษที่ 15 และไดใชประโยชนจากศาสนา

อิสลามในการสรางเครือขายการคาของตน โดยจะสงคณะผูประกาศศาสนาอิสลามไปพรอมๆ กับ

การติดตอการคายังรัฐตางๆ เพื่อใชศาสนาอิสลามเปนสื่อกลางของความสัมพันธทางการคา และ

หลอหลอมวัฒนธรรมของรัฐตางๆ ในคาบสมุทรมลายูและหมูเกาะอินโดนีเซียใหเปนอันหนึ่งอัน

เดียวกัน รัฐที่หันมานับถือศาสนาอิสลามภายใตอิทธิพลของมะละกา เชน เประ เกดะห ปาหัง กลัน

ตัน และตรังกานูบนคาบสมุทรมลายู ซีอัคและคัมปารบนเกาะสุมาตรา เปนตน31 ดังนั้นเราจะพบวา

ประโยชนจากการที่มะละกานับถือศาสนาอิสลามมี 2 ประการสําคัญคือ ประการแรก มะละกา

สามารถสรางเครือขายการคากับชุมชนมุสลิมตางๆ โดยผานทางศาสนาอิสลามซึ่งเปนที่ยอมรับใน

ความเปนอิสลามดวยกัน และทําใหการคาของชาวมุสลิมขยายตัวออกไปสูดินแดนตางๆ มากขึ้น จน

ทําใหมะละกาสามารถสรางเครือขายการคาของมุสลิมขนาดใหญในเอเชียตะวันออกเฉียงใตได

สําเร็จ ประการที่สอง มะละกาไดนําศาสนาอิสลามมาใชเพื่อรวมตัวกันเปนการคาของชาวมุสลิม

โดยใชวัฒนธรรมเปนเครื่องมือสําหรับสรางธรรมเนียมปฏิบัติของการคาในคาบสมุทรมลายู จนทํา

ใหรัฐตางๆ ในคาบสมุทรมลายูตองการสรางความสัมพันธกับมะละกาดวยการนับถือศาสนาอิสลาม

เพื่อประโยชนทางการคา ทําใหมะละกาไดกลุมพอคามุสลิมจํานวนมากและปริมาณการคาในมะละ

กาก็ไดเพิ่มสูงขึ้นตามลําดับ ทําใหในระหวางคริสตศตวรรษที่ 15 มะละกาไดสรางอาณาจักรมุสลิม

29C.C. Brown, trans., Sejarah Melayu : Malay Annals (Kuala Lumpur : Oxford University. Press,

1983), 44.30A. Cortesao, ed., Suma Oriential (London : Hakluyt Society, 1994), 244.31Richard Winstedt, Malaya and its History (London : Hutchinsor University. Library. 1969), 37.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

24

ทั้งดานคาบสมุทรมลายูและสุมาตรา โดยอาศัยศาสนาอิสลามเปนเคร่ืองมือในการรวมรัฐมุสลิม

ตางๆ ในคาบสมุทรมลายู การกระทําดังกลาวเทากับมะละกาไดสรางเครือขายของรัฐมุสลิมและ

สถาปนาความเปนเอกภาพของศาสนาอิสลามในชองแคบมะละกา นอกจากนี้ผลงานของ Meilink –

Roelofsz ไดใหขอสนับสนุนที่เกี่ยวกับการอธิบายถึงศาสนาอิสลามกับการคาของมะละกาวา มะละ

กาไดนําศาสนาอิสลามเขามาพัวพันกับการคาเพื่อผลประโยชนตอรัฐเมืองทาอยางแทจริง เพราะ

ศาสนาอิสลามสามารถดึงดูดพอคาตางถิ่นและพอคาภายในภูมิภาคโดยเฉพาะบนคาบสมุทรมลายูให

เขามาติดตอการคาในเมืองทามะละกาตลอดคริสตศตวรรษที่ 15 เปนจํานวนมาก ประกอบกับ

ศาสนาอิสลามไดทําใหมะละกาเปนศูนยกลางการคาของชาวมุสลิมในภูมิภาคนี้ พอคาชาวตะวันตก

ที่กําลังแสวงหาสินคาจําพวกเครื่องเทศและพริกไทยตางตองการเขามาติดตอทําการคากับมะละกา

จนทําใหมะละกายิ่งใหญที่สุดในฐานะเมืองทาการคาในชวงเวลานี้32

ปจจัยทั้งหมดที่กลาวมานี้มีสวนสําคัญที่ทําใหมะละกากอตัวขึ้นเปนเมืองทาการคาที่สําคัญ

ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต อยางไรก็ตาม ตลอดชวงคริสตศตวรรษที่ 15 ความสําคัญของมะละกา

ในฐานะเมืองทาการคายังขึ้นอยูกับการรูปแบบทางการคาและการกําหนดโครงสรางทางการเมือง

ของมะละกา รวมถึงการขยายอิทธิพลไปสูรัฐมลายูอื่นๆในบริเวณใกลเคียง สิ่งเหลานี้จําเปนตองทํา

ความเขาใจเปนลําดับตอไป เพื่อใหสามารถเปรียบเทียบกับมะละกาภายใตการดําเนินงานของชาติ

ตะวันตกในเวลาตอมาได

2.2 รูปแบบการคาและเครือขายการคาของมะละกา

เริ่มตนคริสตศตวรรษที่ 15 มะละกาไดพัฒนารัฐของตนเองเปนเมืองทาที่ยิ่งใหญที่สุดใน

เอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยมีการเชื่อมโยงเสนทางการคากับตลาดโลกที่สําคัญ 3 เสนทางคือ มะละ

กากับจีน มะละกากับอินเดีย และมะละกากับการคาภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต เนื่องจาก

การศึกษาเครือขายการคาขางตนทั้ง 3 เครือขายแลว ยังตองศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการคาของมะละกา

ซึ่งจะเกี่ยวของกับทิศทางการคา ผูดําเนินการคาและลักษณะของสินคา เพื่อที่จะอธิบายใหเห็นถึง

บทบาทของมะละกาในฐานะที่เปนศูนยกลางการแลกเปลี่ยนสินคา (entrepot) จากแหลงตางๆ แมวา

มะละกาจะไมเปนผูผลิตสินคาเองก็ตาม

32M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague : Martinus Nijhoff, 1962), 54 – 55.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

25

ในคริสตศตวรรษที่ 15 มะละกาไมสามารถดําเนินธุรกิจการคาโดยลําพังเพียงผูเดียวได แต

มะละกาสามารถสรางเครือขายการคาใหสัมพันธกับการเมืองไดเปนอยางดี จนกระทั่งมะละกา

เติบโตและรุงเรืองดังที่กลาวมาแลวขางตน ดังนั้น มะละกาจําเปนตองมีเครือขายการคาที่ดีในการ

ติดตอการคา ซึ่งมะละกาพยายามพัฒนาศูนยกลางการคาใหยิ่งใหญเสมอเพื่อความไดเปรียบใน

การคาบนเสนทางการคาโลก ฉะนั้นมะละกาจึงเขารวมในระบบการคาโลกภายใตบริบทการคาโลก

ที่กําลังเปลี่ยนแปลง ณ เวลาน้ันเอง มะละกาไดดําเนินกิจการคาอยางแนบชิดกับจีน อินเดีย ซึ่งมี

รายละเอียดดังนี้

เครือขายการคาระหวางมะละกากับจีนน้ัน เน่ืองจากจีนเปนประเทศมหาอํานาจทาง

ตะวันออกที่มีบทบาทสําคัญในการผลักดันใหเกิดการพัฒนาการคาทางทะเลในเอเชียตะวันออก

เฉียงใตมาโดยตลอด33 ดังนั้นในตนคริสตศตวรรษที่ 15 มะละกาจึงตองพัฒนาการคาใหแนบชิดกับ

จีนมากขึ้นอีก เพื่อเปนขอผูกมัดและเปนเคร่ืองรับประกันใหพอคาตางชาติรับรูวา มะละกาจะ

สามารถพัฒนาเมืองทาใหเจริญรุงเรืองได เพราะมีจีนสนับสนุนการคาอยูเสมอ แมวาจีนจะไมไดทํา

การคาดวยตนเองตลอดเวลาก็ตาม แตในตอนตนคริสตศตวรรษที่ 15 น้ัน มะละกาไดจีนเปนคูคาที่

สําคัญที่สุด ตั้งแตจักรพรรดิหยงเลอ (Yung Lo Emperor ค.ศ. 1402 – 1424)34 ที่เดินทางมายังมะละ

กาบอยครั้งที่สุด โดยที่มะละกาไดดําเนินความสัมพันธไมตรีกับจีนอยางดียิ่ง สงผลใหมะละกาได

สินคามากมายจากการติดตอการคากับจีน เชน น้ําหอม เครื่องประดับ ผาไหม กํามะถัน เหล็ก สวน

มะละกาก็ไดนําสินคาในเมืองทาของตนสงตอใหเรือสําเภาจีนนํากลับประเทศ สินคาที่สําคัญไดแก

พริกไทย ฝน เครื่องเทศ ของปาและของทะเล ซึ่งความตองการพริกไทยของจีนนั้น ไดนําประโยชน

สูเมืองทามะละกาเปนอันมาก เพราะมะละกาไดทําหนาที่เปนพอคาคนกลาง รับพริกไทยมาจากที่

ตางๆ โดยเฉพาะปตตานี ปาไซ และปดีร (Pidir)35 โดยที่มะละกาสามารถทํากําไรจากการคา

พริกไทยกับจีนไดอยางเปนกอบเปนกํา

แตในบางเวลา จีนก็หยุดการคากับมะละกา ก็สงผลตอการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตอยู

บาง แตอยางไรก็ตาม ก็ยังมีพอคาจากที่อ่ืนๆ เขามาติดตอการคาในมะละกา เพื่อเปนตัวเชื่อมโยง

เศรษฐกิจระหวางจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยที่จีนอนุญาตใหพอคาริวกิวทําการคากับจีนได

33K. N. Chaudhuri, Trade and Civilisation in the Indian Ocean : Economic History from the Rise of

Islam to 1750 (Great Britain : Cambridge University Press, 1985), 99.34สุพัฒน ธัญญวิบูลย, “ เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 15” (สารนิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539),

30.35Richard Winstedt, A History of Malaya (Singapore : Oxford University Press, 1935), 187.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

26

ที่เมืองทา Fuchou ในมณฑลฟูเจี้ยนเทานั้น ริวกิวจึงไดเริ่มพยายามสงทูตไปยังรัฐตางๆ ในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต เชน มะละกา อยุธยา และชวา โดยที่ริวกิวจะนําสินคาจากมะละกาไปขายยังจีน

และญี่ปุน36 ดังนั้น ริวกิวไดแสดงบทบาทการเปนผูเชื่อมโยงการคาระหวางจีนกับเอเชียตะวันออก

เฉียงใตโดยเฉพาะ มะละกากับจีนจนกระทั่งถึงประมาณคริสตศตวรรษที่ 16 สิ่งเหลานี้สะทอนให

เห็นวา มะละกาไดติดตอการคากับจีน จนกระทั่งมะละกาสามารถยืนหยัดไดดวยตัวเองในฐานะ

เมืองทาที่มีสินคามากมายหลากหลายชนิด ซึ่งเปนที่ตองการของพอคาตางชาติในดินแดนตางๆ

ตลอดคริสตศตวรรษท่ี 15

จีนกับมะละกาก็เปรียบไดกับเปนการเชื่อมโยงการคาทางภาคตะวันออก แตการคาที่

สําหรับอีกที่หนึ่งก็คือการคาภาคตะวันตกไดแก เครือขายการคาระหวางมะละกากับอินเดีย โดยมีมะ

ละกาเปนศูนยกลางการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งพอคาอินเดียกลุมแรกที่คาขายกับมะละกา

คือ พอคาจากชายฝงตะวันออกของอินเดียที่เรียกวา Coromandel Coast ซึ่งมีเมืองทาปูลิกัต (Pulicat)

และเมืองกลิงค (Kalinga) เปนเมืองทาสําคัญ โดยที่พอคาจากฝง Coromandal มักจะมาถึงมะละกา

ในระหวางเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมของทุกป37 สินคาที่นํามาแลกเปลี่ยนที่สําคัญที่สุดคือ ผา

และการแลกเปลี่ยน ไมหอม เพชร พลอย พริกไทย และเคร่ืองเทศ โดยเฉพาะสินคาประเภท

เครื่องเทศนั้น อินเดียจะไมไดซื้อเพื่อนําไปใชเอง แตจะเปนพอคาที่จะนําเครื่องเทศจากมะละกาไป

ขายตอที่ฝงตะวันตกของอินเดียที่เรียกวา ชายฝงมะละบาร (Malabar Coast) เพื่อสงตอไปยังยุโรป

ฉะนั้น เครือขายการคาระหวางมะละกากับอินเดียจึงครอบคลุมไปยังในเครือขายการคาในยุโรปอีก

ทอดหน่ึง

นอกจากนี้ มะละกายังมีตลาดการคากับอินเดียอีกที่หนึ่งที่สําคัญตอการคากันระหวางมะละ

กากับอาวเบงกอล (Bengal Bay) ซึ่งดินแดนในเมืองทาเบงกอลจะมีพอคาตางชาติมากมาย ไดแก

อาหรับ เปอรเซีย ชาวตุรกี และพอคาอินเดียในภาคตะวันตก เชน จากเมืองกัว (Gao) โดยที่พอคา

เหลานี้จะรวมตัวกันเพื่อลงทุนเดินทางมายังมะละกา โตเม ปเรส ไดอธิบายไววา มีเรือขนาดเล็กและ

ใหญแบบเดียวกับเรอืสําเภาจีน ซึง่เดนิทางมาจากทิศตะวันตกและสมารถขนสินคาไดมลูคาประมาณ

80,000 ถึง 90,000 Cruzados38 พอคาจากอาวเบงกอลมีสินคาประเภทผา ขาว น้ําตาล เนื้อแหงและ

อาหารอื่นๆ ซึ่งมะละกาก็ตองการสินคาเหลานี้มาก และสินคาที่ซื้อมาจากมะละกาไดแก พริกไทย

36สุพัฒน ธัญญวิบูลย, “ เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 15” (สารนิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539),

31 – 32.37เรื่องเดียวกัน, 32.38Armando Cortesao, trans., Suma Oriental (London : Hakluyt Society, 1944), 271.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

27

กานพลู สินคาผาไหมและเครื่องเคลือบของจีน ดีบุก ไมหอม ของปาจากหมูเกาะอินโดนีเซีย ความ

ตองการสินคาที่หลากหลายประเภทของพอคาจากอาวเบงกอลที่เขามาในมะละกานั้นเปนเพราะวา

อาวเบงกอลเปนที่ที่มีพอคาหลายหลากชาติที่มีความตองการสินคาตางๆ กัน เมืองทามะละกาจึงเปน

คูคาที่ดีที่สุดเพราะมะละกามีสินคานานาชนิดใหเลือกสรร39

เมืองทาอินเดียมีมากมาย และกลุมพอคาในอินเดียก็มีจํานวนมาก อีกที่ที่ติดตอการคากับมะ

ละกาไดแก พอคาจากแควนกุจราต (Gujarat) ซึ่งมีเมืองทาที่สําคัญไดแก เมืองทาสุรัต (Surat)

และเคมเบย (Cambay) แควนกุจราตนี้มีความสําคัญอยางมากตอเครือขายการคาของมะละกา เพราะ

แควนน้ีเปนจุดเชื่อมตอการคาระหวางตะวันออกกับเครือขายเมืองทาในแถบอารเบีย เชน เอเดน

(Aden) ฮอรมุซ (Hormuz) เมกกะ (Mecca) และเจดดะห (Jeddah) ฉะนั้น การคาระหวางมะละกากับ

แควนกุจราตจึงถือไดวาเปนจุดเชื่อมตอการคาระหวางเอเชียกับยุโรปที่ยิ่งใหญในสมัยนั้น มะละกา

จึงถูกดึงใหเขามาเปนสวนหนึ่งในการคาที่สําคัญนี้ ตามที่โตเม ปเรส ไดกลาวไววา ใครก็ตามที่ได

เปนเจาของมะละกาก็จะไดเปนผูควบคุมเมืองเวนิช40 และ Meilink Roelofsz ก็ยังเนนใหเห็นถึง

ความสําคัญของการคาระหวางมะละกากับแควนกุจราตไววา ทั้งมะละกาและกุจราตไมอาจตัดขาด

จากกันได41 เพราะตางตองพึ่งพาอาศัยการคาซึ่งกันและกัน ซึ่งแสดงใหเห็นวา การคาของมะละกา

กับกุจราตมีความสัมพันธกันทางการคาอยางใกลชิดเพื่อผลประโยชนของทั้งสองฝาย

สําหรับมะละกากับความสัมพันธทางการคาของอินเดียน้ัน สรุปไดวา มะละกามีความ

ตองการสินคามากมายในแถบตะวันตกเพื่อสงตอไปยังตะวันออก (จีน) แตเปนที่นาสังเกตวา มี

สินคาประเภทหนึ่งที่มะละกาตองการเปนจํานวนมากและตองการเปนการภายในของเมืองทามะละ

กาคือ สินคาประเภทผาจากอินเดีย เน่ืองจากสินคาประเภทผาที่มาจากอินเดีย มะละกามีความ

ตองการแลกเปลี่ยนมากที่สุด เพราะผาเปนสินคาที่จําเปนตอการดํารงชีวิตของชาวเอเชียตะวันออก

เฉียงใต ซึ่งรองจากผลิตภัณฑอาหาร แมวาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตจะมีการผลิตผาอยูบาง แตผา

จากอินเดียและจีนมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีกวา จึงทําใหตองนําเขามาจากภายนอก ผาที่ดีที่สุดใน

โลกในชวงเวลาน้ีก็คือ ผาจากอินเดีย ซึ่งเปนแหลงที่ผลิตผาฝาย และจีนจะผลิตผาไหม ทั้งสอง

ประเทศมีผาที่มีสีสันสวยสดงดงาม และทนทาน รูปแบบดี มีคุณภาพสูง จึงเปนที่ตองการของราช

สํานักและคนชนชั้นสูง ดวยเหตุนี้ ความตองการผาชั้นเยี่ยมจากอินเดียของผูคนในเอเชียตะวันออก

เฉียงใตจึงมีปริมาณสูง Anthony Reid ไดกลาวไววา ผาจากอินเดียเปนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

39M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague : Martinus Nijhoff, 1962), 69. 40Armando Cortesao, trans., Suma Oriental (London : Hakluyt Society, 1944), 287. 41M. A. P. Meilink-Roelofsz, 61 – 64.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

28

สินคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตโดยเฉพาะเคร่ืองเทศ ซึ่งผาจากอินเดียเปนที่นิยมของชาวเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต42 แมกระทั่งในเซอจาเราะห เมอลายู ก็ไดบันทึกถึงความสําคัญของผาในมะละกา

ไววา Sultan Mahmud (ค.ศ. 1488 – 1511) ไดสงทูตไปซื้อผาคุณภาพที่ดีและหายากจํานวน 40 ชนิด

จากทางตอนใตของอินเดีย43 นอกจากนี้ สาเหตุที่ทําใหมะละกากับอินเดียทําการคากันอยางมากที่สุด

ก็อาจจะเปนเรื่องของศาสนาอิสลาม เพราะศาสนาอิสลามมีสวนผลักดันใหชาวเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตมีความตองการผาเพิ่มขึ้น วัฒนธรรมอิสลามไดสรางเครื่องแตงกายที่มีรูปแบบเฉพาะเกิดขึ้นทั้ง

ชายและหญิง ซึ่งผูชายจะมีเสื้อคลุมและผาโพก สวนผูหญิงจะมีโสรงและผาพันคอ โดยที่ในสังคม

เอเชียตะวันออกเฉียงใตจะวัดฐานะของบุคคลดวยปริมาณผา คุณภาพผา และการเก็บสะสมผา

เสมือนทรัพยสมบัติ คนชนชั้นสูงจะแตงกายดวยผาคุณภาพดีจากอินเดียทุกวัน ดวยสาเหตุนี้ ผาจึง

เปนสินคานําเขาของมะละกาที่มาจากกุจราต เมืองทาชายฝง Coromandel และอาวเบงกอล จนทําให

มะละกาเปนศูนยรวมผาที่ใหญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ดังที่กลาวมาแลว มะละกามีความสัมพันธกับจีนและอินเดียในดานการแลกเปลี่ยนสินคา

ชนิดตางๆ จนทําใหมะละกาเปนศูนยกลางการคาแบบ entrepot ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่ยิ่งใหญ

ที่สุดผานจากการแลกเปลี่ยนสินคาจากที่ตางๆ จํานวนมากมาย ที่สามารถเลือกและสรรหาไดจากใน

เมืองทามะละกา นอกจากนี้เครือขายการคาของมะละกายังตองครอบคลุมการคาภายในภูมิภาคเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตอีกดวย

มะละกาทําใหที่เปนเมืองทาเชื่อมโยงการคาระหวางภูมิภาคนี้ ในฐานะการเปนศูนยกลาง

การแลกเปลี่ยนสินคา เนื่องจากมะละกาทําหนาที่รับสงสินคาจากเมืองทาตางๆ ภายในภูมิภาค ซึ่ง

บทบาทนี้ทําใหมะละกาสามารถดึงดูดพอคาที่มาจากอินเดียและจีนไดเพื่อเขามาทําการคาในเมืองทา

มะละกาดังที่กลาวมาแลว นอกจากนี้ มะละกายังมีความสัมพันธกับการคาภายในภูมิภาคนี้เสมอมา

เพราะมะละกาตองการเสบียงอาหารจากแหลงเกษตรกรรม เชน สยามและชวา ที่สําคัญที่สุดคือ

สินคาประเภทขาว โดยที่มะละกาตองนําเขามาจากสยามและชวา สําหรับสยามจะนําขาวและ

ผลิตภัณฑอาหารไปยังมะละกา และนําผาของอินเดีย รวมทั้งสินคาจากตะวันตกของอินเดียจากมะ

42Anthony Reid, Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680 : Volume one (USA. : Yale

University Press, 1988), 74.43C. C. Brown, trans., Sejarah Melayu : Malay Annals (Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1970), 140 – 141.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

29

ละกากลับสูสยาม สวนชวาตอนเหนือ เชน ตูบันและเกรสิค44 ตรงมายังมะละกาเพื่อลําเลียง

เคร่ืองเทศ ขาว และสินคาจากหมูเกาะตะวันออกของชวาและหมูเกาะเทศสงไปยังมะละกาเพื่อ

แลกเปลี่ยนผาจากอินเดียในมะละกา เมืองทาทั้งสองนี้ก็เปนเมืองทาที่ควบคุมการสงออกเครื่องเทศ

จากหมูเกาะเครื่องเทศสูตลาดภายนอก ซึ่งเมืองทาเหลานี้อยูภายใตการปกครองของมัชปาหิตโดยมี

วัฒนธรรมแบบฮินดู-ชวา จะเห็นไดวา มะละกาตองสรางสัมพันธไมตรีที่ดีกับเมืองทาเหลานี้ เพราะ

มะละกาตองการขาวและสินคาทางการเกษตรเพื่อปากทอง และยังตองการสินคาประเภทเครื่องเทศ

เพื่อเปนศูนยกลางการสงออกของเคร่ืองเทศสูตลาดอินเดียและจีนตอไป

ในบางครั้ง มะละกาตองเดินทางไปยังหมูเกาะเครื่องเทศและก็สามารถติดตอการคากับหมู

เกาะเครื่องเทศไดดี เพราะ ณ เวลานี้ มะละกาไดรวมมือกับชวาในการสงออกเครื่องเทศ โดยที่มะละ

การับซื้อเคร่ืองเทศจากชวาและสามารถเดินทางไปติดตอซื้อเคร่ืองเทศยังหมูเกาะเคร่ืองเทศได

โดยตรง หมูเกาะเหลานี้ทําหนาที่เปนผูผลิตอยางเดียว จะไมดําเนินการสงออกเครื่องเทศไปยังเมือง

ทาตางๆ เพราะพวกเขาขาดความชํานาญในการเดินเรือและไมมีเรือสินคาขนาดใหญในการขนสง

เครื่องเทศ แหลงผลิตที่สําคัญไดแก Moluccas Amboina Ceram Banda45 เปนตน หมูเกาะเหลานี้จะ

นําเขาอาหารและผาคุณภาพดีเพื่อแลกเปลี่ยนกับเครื่องเทศของตน

นอกจากน้ี เมืองขึ้นของมะละกาและรัฐอิสระทางชายฝงตะวันออกของสุมาตรายังเปน

ดินแดนที่เปนแหลงสนับสนุนสินคาและอาหารแกมะละกา ซึ่งมะละกาจะดําเนินความสัมพันธใน

ระบบเครือญาติ (Kinship) และดวยวัฒนธรรมความเปนอิสลาม (Dur ul Islam) ซึ่งกอใหเกิดความ

เปนอันหนึ่งอันเดียวกันระหวางรัฐมะละกากับรัฐอิสลามในชองแคบมะละกา กิจกรรมการคาใน

บริเวณชองแคบมะละกาจึงขยายตัวอยางกวางขวางทั้งฝงตะวันตกของคาบสมุทรมลายูและฝง

ตะวันออกของสุมาตรา ทําใหมะละกาสามารถผูกขาดการคาในชองแคบมะละกาตลอด

คริสตศตวรรษที่ 15 รัฐในอารักขาของมะละกา เชน อินทรคีรี (Indragiri) คัมปาร (Kampar) โรกัน

(Rokan) ซีอัค (Siak) เปนตน จะตองสงเครื่องบรรณาการ เชนผลผลิตจากทองถิ่นที่เปนที่ตองการ

ของมะละกา และทองคํา46 เปนตน ใหแกมะละกาประจําทุกป เคร่ืองบรรณาการเหลาน้ียังเปน

ประโยชนตอมะละกาที่จะนําไปขายเปนสินคาออกของมะละกาไดอีกดวย

44สุพัฒน ธัญญวิบูลย, “เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 15” (สารนิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539),

38.45เรื่องเดียวกัน, 39.46เรื่องเดียวกัน, 41.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

30

รูปแบบการคาและเครือขายการคาของมะละกานั้น จะเห็นไดวา มะละกาสามารถดําเนิน

กิจกรรมการคาบนเสนทางการคาเครื่องเทศไดอยางลงตัวและเหมาะสม สามารถที่จะเชื่อมโยงเหตุ

และผลไดวา ทาํไมมะละกาจงึรุงเรืองไดอยางไมตองสงสัย การปรากฏตัวของพอคานานาชาติในมะ

ละกาไมวาจะเปน จีน อินเดียและอาหรับ ก็เปนขอยืนยันไดวา มะละกาเปนเมืองทาศูนยกลางการคา

นานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต จนทําใหพอคาตางชาติสามารถหาสินคาอันหลากหลาย

ทั้งจากตะวันออกและตะวันตกได ณ เมืองทามะละกา

2.3 รัฐสุลตานมะละกา: โครงสรางทางการเมืองและความสัมพันธทางบรรณาการกับรัฐมลายูอื่นๆ

ลักษณะเมืองทาการคาแบบ entrepot ของมะละกา ทําใหประเด็นการอธิบายเรื่องรัฐสุลตาน

นี้ จะตองอธิบายควบคูกันไประหวางการเมืองกับเศรษฐกิจของมะละกา เพราะเมืองทามะละกาเปน

รัฐที่มุงเนนการคาเปนหลัก ซึ่งแตกตางจากรัฐอยางเชน พมา สยาม หรืออาณาจักรในชวาที่มี

เศรษฐกิจขึ้นตรงกับเกษตรกรรมและการคาพรอมกันไป ดังนั้น กลุมคนทุกชนชั้นตางก็มีบทบาทใน

กิจกรรมการคาของมะละกาทั้งสิ้น โครงสรางทางการเมืองและตําแหนงขาราชการตางๆ จึงมีความ

เกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการคา ฉะน้ันโครงสรางทางการเมืองของมะละกาจะสามารถแบงเปน

หนาที่ตางๆ ที่ชัดเจน นับไดวา มะละกาสามารถแบงหนาที่การทํางานไดดีเยี่ยมและเหมาะสม ซึ่ง

เปนปจจัยสนับสนุนการคาของมะละกาในฐานะเมืองทาที่รุงเรืองที่สุดในคริสตศตวรรษท่ี 15

กลุมคนที่มีบทบาททางเศรษฐกิจในมะละกาน้ัน แบงออกเปน 2 กลุมหลักไดแก กลุม

ผูปกครอง (Ruling Elite) และกลุมพอคา (Traders and Merchants)

กลุมผูปกครองในโครงสรางทางการเมืองของโลกมลายู ประมุขสูงสุดของรัฐคือ ราชาหรือ

สุลตาน มีอํานาจอันชอบธรรมตามตํานานความเชื่อที่ปรากฏในงานเขียนพื้นเมือง เชน เซอจาเราะห

เมอลายู อํานาจสุลตานนี้ไดถูกแตงเติมเพื่อใหเกิดการยอมรับในหมูประชาชนและรัฐมลายูในบริเวณ

ใกลเคียง47 หลักการทั่วไปเกี่ยวกับหนาที่ของสุลตานก็คือ จะเปนผูดําเนินนโยบายการคาที่จะใช

สรางความสัมพันธกับตางประเทศเพื่อสงเสริมใหมะละกากลายเปนเมืองทาที่สําคัญ สุลตานมะละ

กาจะดําเนินการทางการเมืองและการคาควบคูกันไป โดยมีตําแหนงขาราชการรองลงมาก็คือ

Bendahara โดยที่กษัตริยเปนผูแตงตั้งซึ่งเปนตําแหนงสูงสุด Bendahara จะทําหนาที่ในการบริหาร

ราชการ เปนผูนํากองทัพและเปนผูที่จะอนุญาตใหพอคาตางชาติเขามาคาขายได ยังเปนผูตัดสินคดี

ความตางๆ ระหวางชาวมะละกากับชาวตางชาติและระหวางชาวมะละกาดวยกันเองดวย ดวย

47Barbara Watson Andaya and Leonard Y. Andaya, A History of Malaysia (Hong Kong : Oxford

University Press, 1982), 44 – 46.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

31

ลักษณะงานเชนนี้ Bendahara จึงเปนผูที่มีอํานาจมากในการตัดสินใจเรื่องตางๆ มากกวาสุลตานเสีย

อีก48 ตําแหนงขุนนางรองลงมาไดแก Syahbandars ซึ่งเปนหัวหนานายทาเรือ และเปนผูควบคุม

รายไดของรัฐ ตําแหนงตอมาคือ Temenggung ซึ่งดูแลความเรียบรอยภายในรัฐ และ Laksamana

เปนผูทําหนาที่ดานองครักษของสุลตานและนายทัพเรือ สําหรับนายทาเรือในตําแหนง Syahbandars

จะเปนขุนนางที่เกี่ยวของกับการคาโดยตรงเพราะทําหนาที่เปนนายทา ซึ่งจะมีนายทา 4 คน เพื่อ

สนองตอบความตองการของชุมชนการคาจากประเทศตางๆ นายทาสําหรับพอคากุจราตซึ่งเขามาใน

มะละกามากที่สุด นายทาสําหรับพอคาจากอินเดียใต เบงกอล พมา และปาไซ นายทาสําหรับชวา

และหมูเกาะอินโดนีเซีย และทานายสําหรับจีน จามปา และพอคาจากริวกิว นายทาเหลานี้ดูแลพอคา

ตางชาติที่เขามาคาขาย การขนสินคาจากเรือสินคา และที่สําคัญคือ เปนผูนําพอคาเขาพบ Bendahara

เพื่อรับการอนุญาตใหคาขายไดอยางเสรีในตลาดมะละกาตอไป49 นอกจากนี้ ยังมีกลุมขุนนางอื่นๆ

เชน เจานาย ขุนนางทองถิ่น คหบดี และผูปกครองในอารักขา เรียกรวมๆ วา โอรัง กายา (Orang

kaya) หรือ ผูเปนใหญเปนโต ผูครองแวนแควนที่ขึ้นตรงกับมะละกาเรียกวา Mandulika จะตองสง

บรรณาการใหกบัมะละกาทุก ๆ ป50

ลักษณะความสัมพันธประการสุดทายที่มีผลตอบทบาทในฐานะเมืองทาการคาของมะละกา

ไดแก ความสัมพันธของกลุมผูนําชาวมลายูกับกลุมชนพื้นเมืองโดยเฉพาะโอรัง ลาอุต (Orang Laut)

กลุมชาวเลเหลาน้ีสามารถควบคุมนานน้ําใหสงบเรียบรอยได ชวยควบคุมโจรสลัด สงผลใหเรือ

สินคาตางๆ เดินทางเขามาคาขายในมะละกามากขึ้นเรื่อยๆ และความสําเร็จของมะละกาอยางหนึ่งก็

คือ การใชกลุมชาวเลนี้ในการเปนกองทัพเรือ และเปนแรงงานในการหาของทะเล51 ชาวเลเหลานี้

ชวยใหมะละกาเปนเมืองที่แข็งแกรง ความสัมพันธระหวางผูนําชาวมลายูกับชาวเลจึงเปนหัวใจหลัก

ในสังคมมะละกา

สําหรับกลุมพอคาก็จัดเปนกลุมที่มีบทบาทอยางยิ่งในสังคมมะละกา พอคาตางชาติมากมาย

เขามาพักพิงอยูในมะละกาก็จะมีความสัมพันธกับชาวมะละกาในระบบเครือญาติ ซึ่งอิทธิพลจาก

การคาและความสัมพันธในระบบเครือญาติ ทําใหพอคาตางชาติสามารถสืบเชื้อสายกลายเปนชาว

48Ibid., 47.49สุพัฒน ธัญญวิบูลย, “เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 15” (สารนิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539),

67 - 68.50Richard Winstedt, Malaya and its History (London : Hutchinson University Library, 1969), 76.51M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague : Martinus Nijhoff, 1962), 27.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

32

มะละกา เชน พอคามะละกาเช้ือสายทมิฬ กลิงค และกุจราต เปนตน ตอมาก็จะมีบทบาททาง

การเมืองโดยเปน Bendahara และ Syahbandars เปนตน และจะสงผลรายตอมะละกาในระยะยาว

ตอไป โดยแหลงที่มาของชุมชนการคาในมะละกาจะมาจากประเทศหรือเมืองทาที่เปนตลาดการคา

และคูคาของมะละกานั่นเอง และที่มีมากที่สุดก็ไดแก พอคาจากอินเดีย ทั้งในแควนกุจราต ฝงมะละ

บาร รวมทั้งโคโรเมนเดล และพอคาชาวกลิงค ซึ่งพอคาเหลาน้ีตอไปจะไดเขารับราชการ และ

กลายเปนตนเชื้อสายขุนนางสําคัญๆ ของมะละกาดวย52

สําหรับพอคาจีนและพอคาริวกิว สวนใหญจะเปนพอคาเอกชนทําการติดตอซื้อพริกไทย

และสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต พอคาจากริวกิวเปนพอคาคนกลางติดตอกับมะละกา เพื่อ

เดินเรือนําสินคาไปยังตลาดจีน และอีกกลุมที่มีบทบาทในฐานะพอคาในมะละกาที่สําคัญคือ พอคา

ชวา จะเสนอขายเคร่ืองเทศ ซึ่งทั้ง 3 กลุมจะต้ังถิ่นฐานการคาในมะละกา ทําใหมะละกามีพอคา

จํานวนมากและหลากหลายเชื้อชาติ โดยที่มะละกาก็สามารถจัดระเบียบการตั้งถิ่นฐานการคาของ

พอคาตางชาติไดอยางเปนระเบียบ นอกจากนี้ ก็ยังมีพอคาทองถิ่นเพื่อทําใหมะละกาดําเนินการคาได

อยางครบถวน เชน พอคาประกอบธุรกิจเรือขนาดเรือ พอคาสัตวเลี้ยง เปนตน จะเปนผูเชื่อมโยงการ

แลกเปลี่ยนสินคาในทองถิ่น เชน แลกเปลี่ยนผาจากตลาดมะละกากลับไปยังทองถิ่นของตน โดยที่

พอคาทองถิ่นตองเสียคาธรรมเนียมใหขุนนาง (Orang kaya)53 ที่รับผิดชอบในแตละพื้นที่

กลุมสุดทายสําหรับผูที่มีบทบาททางเศรษฐกิจของมะละกาคือ แรงงานหรือประชาชนสวน

ใหญของมะละกา เชน ชาวเลหรือชาวทะเล (Orang laut) จะเปนกองกําลังในกองเรือของมะละกา

เปนแรงงานประกอบอาชีพทําการประมง แรงงานอีกกลุมคือ แรงงานรับจางที่อพยพมาจากสังคมที่

ยากจนในสุมาตราเขามารับจางในมะละกา นอกจากนี้ มะละกายังไดแรงงานจากมินังกะเบาเขามา

เปนเกษตรกร เพื่อดําเนินดานเพาะปลูกในมะละกา54 แรงงานกลุมสุดทายคือ ทาส โดยที่ทาสจะเปน

สมบัติและเปนแรงงานที่สุลตาน ขุนนางและพอคาในมะละกาใชในกิจการของตน ซึ่งในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตจะมีตลาดทาสและการคาทาสอยูทัว่ไป55

52สุพัฒน ธัญญวิบูลย, “เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 15” (สารนิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539),

69 – 70.53เรื่องเดียวกัน, 73.54Richard Winstedt, Malaya and its History (London : Hutchinson University Library, 1969), 125.55Anthony Reid, Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680 : Volume two (USA. : Yale

University Press, 1993), 49.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

33

เราสามารถวิเคราะหเกี่ยวประชากรในมะละกาไดวา นาจะมีประชากรที่เปนคนเชื้อสายมะ

ละกาแทเพียงเล็กนอย โดยสวนมากจะเปนพอคาตางชาติที่เขามามีบทบาทในการคาของมะละกา ซึ่ง

จะเขามาอาศัยอยูมะละกาและพวงดวยตําแหนงราชการตางๆ ถึงแมวา มะละกาจะมีระบบการจัดการ

เกี่ยวกับตําแหนงผูปกครองที่ชัดเจนจนสามารถดึงดูดพอคาตางชาติและดําเนินกิจกรรมทาง

เศรษฐกิจไดดี แตตําแหนงตางๆ เหลานี้จะเปนของชาวตางชาติเสียสวนใหญ

ลักษณะโครงสรางทางการเมืองในระบอบการปกครองแบบสุลตานนี้ ทําใหทราบไดวา มะ

ละกาเปนเมืองทาการคาที่มุงจะพัฒนาดานเศรษฐกิจมากที่สุด เพราะภาพที่ปรากฏออกมาใน

โครงสรางทางการเมืองของรัฐสุลตานมะละกานี้จะรองรับกับโครงสรางทางการคาทุกดาน นั่นคือ

มะละกาไดสรางระบบการคาที่เปนระบบโดยที่พยายามลดขั้นตอนการติดตอเพื่ออํานวยความ

สะดวกในการคา ซื้อขายงาย รวดเร็ว มีขาราชการรับผิดชอบดานการคาโดยตรง และมะละกายังมี

การติดตอการคากับชาวตางชาติในลักษณะของการสรางปฏิสัมพันธกันโดยไมไดคิดจะครอบครอง

ดินแดน เพียงแตตองการติดตอการคากับพอคาชาติตางๆ เพื่อสรางผลประโยชนในเครือขายการคา

บนเสนทางการคาเครื่องเทศเพียงอยางเดียว ซึ่งตางฝายตางก็มีผลประโยชนรวมกันตลอดมา ทําให

มะละกาเปนเมืองทาที่มีพอคาตางชาติมากที่สุดและเปนเมืองทาที่ รุงเรืองมากที่สุดในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตในคริสตศตวรรษท่ี 15

2.4 การลมสลายของรัฐสุลตานมะละกา

วิกฤตการณสําคัญที่กอใหเกิดการลมสลายของอาณาจักรมะละกานั้นไมไดเกิดจากการ

โจมตีของโปรตุเกสแตอยางเดียว แตเปนผลมาจากปญหาภายในของมะละกาเองดวย ภายใตภาพ

ที่วามะละกาเจริญรุงเรืองมากที่สุดในคริสตศตวรรษที่ 15 แตทวาปทายๆ ของรัฐสุลตานแหงนี้กลับ

มีปญหาความยุงยากหลายอยางเกิดขึ้น ภายใตโครงสรางการเมืองของมะละกาที่รองรับการคาอยางดี

เยี่ยม แตจุดออนที่เกิดขึ้นก็ทําใหมะละกาลมสลายไดอยางรวดเร็ว ลักษณะโครงสรางเฉพาะทาง

การเมืองของมะละกานั้น ไมวาตําแหนงใดๆ ก็ตามที่ไดแตงตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารบานเมือง ผูดํารง

ตําแหนงมักจะเปนชนตางชาติหรือเชื้อสายของชนตางชาติที่ไมใชชาวมลายู มักไมมีคนในทองถิ่น

และไมใชบุคคลขุนนางชั้นสูงชาวมลายู เน่ืองจากผูปกครองชาวมลายูนิยมใชชาวตางชาติเปน

ตัวกลางในการคาและพึ่งพาชาวตางชาติในการจัดการบริหารการคาตางๆ56 แมวาชนชั้นสูงของมะ

ละกาจะรวมลงทุนทําการคากับพอคาตางชาติ แตก็ไมไดดูแลการคาน้ันดวยตนเอง จะเห็นไดจาก

56แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 72.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

34

การที่เรือการคาจํานวนไมนอยมีกะลาสีชาวมลายูเปนลูกเรือ แตปรากฏวาเรือทุกลํามีชาวตางชาติ

เปนเจาของเรือโดยท่ีมะละกาไมไดมีการพัฒนาการตอเรือเดินสมุทรขนาดใหญ

ตลอดคริสตศตวรรษที่ 15 ตําแหนงตางๆ ในมะละกานั้น การควบคุมดูแลความเรียบรอย

และอํานวยความสะดวกตอพอคานักเดินเรือชาวตางชาติ โดยที่จะมีชุมชนชาวตางชาติดูแลเร่ือง

การคาทั่วไป ซึ่งเปนหนาที่ของชาหบันดาห (syahbandar)57 โดยเลือกมาจากชุมชนชาวตางชาติ โดย

ชาหบันดาหที่สําคัญที่สุดจะดูแลพอคาคุชราต58 ตําแหนงนี้มีหนาที่หลักคือ รับผิดชอบเรื่องการคา

และเก็บคาธรรมเนียมการคาใหแกทางราชการ ทั้งนี้แลวระบบราชการของมะละกาเองจะเขามายุง

เกี่ยวกับการคานอยที่สุด เพื่อใหชุมชนตางชาติสามารถดูแลชุมชนดวยกันเอง ระบบนี้จึงเปนจุดออน

ที่สําคัญที่ทําใหพอคาตางชาติครอบงําวีถีการคาในระดับสูงและระดับกลางของเมืองทามะละกา

ทั้งหมด เพราะพอคาตางถิ่นตองติดตอคาขายกับชาหบันดาหทั้งสิ้น ถึงแมวาสุลตานมะละกาจะ

พยายามกระจายอํานาจใหแกผูปกครองตางชาติเพื่อดูแลชุมชนของตนเองโดยที่รัฐจะไมเขามา

แทรกแซง เพื่อความสะดวกตอพอคาตางชาติดวยกันเอง แตกลายเปนจุดออนที่ทําใหมะละกาตอง

ลมทั้งยืน เพราะประชากรชาวมลายูสวนใหญจะไมเกี่ยวของกับการคาระหวางประเทศโดยตรง ทํา

ใหเกิดชองวางในการถูกแทรกแซงทางการเมืองและเปนการปรากฏตัวของชาวตางชาติในฐานะ

พอคานักเดินเรือที่ตองการครอบครองเมืองทามะละกาแทนสุลตานมะละกา

ถึงแมวาศาสนาอิสลามจะทําใหคาบสมุทรมลายูรวมศูนยเปนชุมชนมลายูทั่วทั้งภูมิภาคโดย

มีรัฐมะละกาเปนผูนํา การที่มะละกาเปนผูนําศาสนาและเปนผูที่มีอํานาจสูงสุดทางการเมืองซึ่ง

รวมอยูที่ประมุขของรัฐเพียงองคเดียว ก็เทากับวาเปนการเพิ่มอํานาจและบารมีของสุลตาน แต

ในทางกลับกันสุลตานมะละกาไมสามารถประคองความเปนเจาเหนือหัวเหนือชาวตางชาติที่เขามา

ปกหลักปกฐานจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ ได เพราะชาวตางชาติมิไดเกรงกลัวในอํานาจของสุลตานมะ

ละกา และสุลตานมะละกาก็ไมไดพยายามจะเสริมบารมีหรือสรางอิทธิพลใหมากขึ้นเนื่องจากตาง

ฝายตางก็ตองพึ่งพาทําการคา ซึ่งมีผลประโยชนรวมกันจึงทําใหสุลตานมะละกาไมมีทีทาที่จะตอสู

เพื่ออุดมการณทางศาสนาแตอยางใด มะละกามีฐานะเปนรัฐการคาโดยที่ไมปรารถนาจะเสีย

คาใชจายในการมีกองทัพประจํา59 เพราะมะละกามุงเนนที่ทําการคาเพียงอยางเดียวและพยายามหา

57Luis Filipe Ferreira Reis Thomaz, Southeast Asia in the Early Modern Era (New York : Cornell

University, 1993), 87.58Barbara Watson Andaya and Leonard Y. Andaya, A History of Malaysia (Hong Kong : Oxford

University Press, 1982), 86.59แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 75.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

35

วิธีขยายอิทธิพลบนเสนทางการคา โดยที่ไมไดตองการครอบครองดินแดนใดๆ เปนพิเศษ60 แตที่มี

รัฐอารักขาก็เพื่อเปนการรวมมือกันเพื่อประโยชนในการคาเพียงเทานั้น และมะละกามีกองทัพเรือ

ซึ่งเรียกระดมไดอยางรวดเร็วจากเผาโอรังลาอุต ฉะนั้นมะละกาจึงไมคิดที่จะมีกองทัพประจําการ

ทั้งทางดานการเมืองที่ปลอยใหชาวตางชาติสามารถปกครองชุมชนของตนเองไดและ

ดําเนินกิจการการคาไดอยางอิสระ ประกอบกับการที่มะละกาไมไดเตรียมพรอมเกี่ยวกับศึกสงคราม

และไมมีกองทัพทหารเปนของตนเอง ทั้ง 2 ประการนี้ เปนจุดออนสําคัญที่ทําใหมะละกาตองเผชิญ

กับการรุกรานของชาติตะวันตก ลักษณะเชนนี้ทําใหเห็นไดวา อาณาจักรมะละกาเปนเมืองทาการคา

แบบ entrepot ที่สมบูรณในการขับเคลื่อนการคาทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคไดดีที่สุดและก็

ลอแหลมที่สุดในเวลาเดียวกัน เพราะความเจริญรุงเรืองทางการคาอยางรวดเร็วของเมืองทามะละกา

นี้เองทําใหเปนเปาหมายของชาวตางชาติที่ตองการจะควบคุมการคาฝงซีกโลกตะวันออก โดยความ

ตองการน้ีจะแสดงออกมาเพื่อตอบสนองความตองการภายใตบริบทของการคาโลกใน

คริสตศตวรรษที่ 15 เปนตนมา ในเวลานี้เอง มะละกาสามารถทําธุรกิจการคาแบบอิสระจนทําให

การคาขยายตัวไดอยางรวดเร็ว มะละกาสามารถพัฒนาเศรษฐกิจไดอยางกาวกระโดดจนกระทั่ง

ชื่อเสียงของเมืองทามะละกาโดงดังไปทั่วโลก แตทางการเมืองของเมืองทามะละกาไมสามารถ

ควบคุมใหการคาของเมืองทามะละกาใหรวมอํานาจอยูที่ศูนยกลางได ดังนั้นมะละกาจึงจําเปนอยาง

ยิ่งที่ตองพึ่งพาขุนนางตางๆ ของแตละชุมชน ซึ่งแตละชุมชนสวนใหญเปนชาวตางชาติ ฉะน้ัน

ชาวตางชาติจึงเปนขุนนางที่ปกครองทองถิ่นของตนใหสงบเรียบรอยภายใตดินแดนมะละกา

ชาวตางชาติเหลานี้ไดรับอํานาจในการปกครองทองถิ่นของตนเอง มะละกาใชวิธีการกระจายอํานาจ

ใหขุนนางตางชาติสามารถดําเนินธุรกิจในทุกๆ แหลงการคาบนคาบสมุทรมายู ฉะนั้นการลมสลาย

ของอาณาจักรมะละกาจึงเปนไปอยางรวดเร็วอยางมากและยังงายดายสําหรับการยึดครองเมืองทามะ

ละกา เน่ืองจากขุนนางตางชาติเหลาน้ีสามารถคดโกงและหักหลังสุลตานมะละกาไดเมื่อโอกาส

มาถึง61 และแลวการสูรบในเมืองทามะละกาก็เกิดข้ึนเมื่อชาวโปรตุเกสมาถึง ซึ่งชาวโปรตุเกสมี

ความพรอมและความสามารถในการสูรบแตมะละกาไมถนัดในการสูรบเลยและยังไมมีกองทัพ

ทหารประจําอีกดวย นี้จึงเปนจุดจบของมะละกาในชวงระยะเวลาประมาณ 100 ปเทานั้น

60Richard Winstedt, Malaya and its History (London : Hutchinson University Library, 1969), 38.61R.W. McRoberts, “An Examination of the Fall of Melaka in 1511,” Journal of Malaysian Branch,

Royal Asiatic Society, Vol. LVII, Pt. 1 (1984) : 30.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

36

62

สำนกัหอ

สมุดกลาง

37

บทท่ี 3

บทบาทของโปรตุเกสในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17

แรงกระตุนที่สําคัญที่สุดที่ทําใหชาติตะวันตกมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใตในระยะแรกคือ

ความตองการมาหาแหลงผลิตเครื่องเทศและควบคุมการคาเครื่องเทศดวยตนเอง สิ่งนี้สะทอนให

เห็นความเปลี่ยนแปลงในแบบแผนและทิศทางการคาของภูมิภาคนี้ดวย เอเชียตะวันออกเฉียงใตมี

ความสําคัญในกระบวนการคาทางทะเลมานานแลวเพราะเปนบริเวณที่สามารถคาขายแลกเปลี่ยน

สินคาของจีนกับสินคาจากฝงมหาสมุทรอินเดียและจากซีกโลกตะวันตก อยางไรก็ตาม ประมาณ

คริสตศตวรรษท่ี 13 เปนตนมา ผลผลิตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ไดแกกานพลูและจันทรเทศจาก

หมูเกาะโมลุกกะและพริกไทยซึ่งมีแหลงเพาะปลูกอยูแถบคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และเกาะ

ชวา ก็เริ่มเปนที่ตองการของตลาดโลกเชนกัน เครื่องเทศเหลานี้เปนที่ตองการของชาวอินเดียและ

อาหรับมานานแลว แตความสัมพันธระหวางชาวอาหรับกับชาวยุโรปที่เกิดขึ้นระหวางการทํา

สงครามครูเสดในชวงคริสตศตวรรษที่ 11-13 ทําใหเครื่องเทศเหลานี้เริ่มเปนที่รูจักในยุโรปและ

กลายเปนสินคาฟุมเฟอยที่ชนชั้นสูงของยุโรปนําไปใชในการถนอมและเพิ่มรสของอาหารรวมทั้ง

ทํายา เอเชียตะวันออกเฉียงใตจึงมีความสําคัญมากขึ้นกวาที่เคยเปนเพียงศูนยกลางแลกเปลี่ยนสินคา

ที่มาจากแหลงผลิตอื่นเพราะจะกลายเปนแหลงที่มาของตัวสินคาเองดวย

สําหรับเสนทางการคาเครื่องเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใตไปสูยุโรปนั้นเริ่มพัฒนาขึ้น

ต้ังแตปลายคริสตศตวรรษที่ 13 โดยขนสงผานเมืองทาชายฝงอินเดียตะวันตกไปยังอาวเปอรเซียหรือ

มิฉะนั้นก็ออมลงใตสูทะเลแดง ทั้งสองทางจะนําสินคาไปสูทะเลเมดิเตอรเรเนียน ซึ่งพอคาชาวเวนิส

และเจนัวของคาบสมุทรอิตาลีจะมาผูกขาดการรับซื้อจากเมืองทาของอียิปต เครื่องเทศจึงมักไปสุด

ทางอยูที่เวนิสหรือเจนัว ในคริสตศตวรรษที่ 14-15 เสนทางเหลานี้ถูกควบคุมโดยรัฐมุสลิมและ

พอคามุสลิมเชน เมืองทามุสลิมทางเหนือของชวาและรัฐมะละกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เมือง

ทาสุรัต (Surat) เคมเบย (Cambay) ฮอรมุส (Hormus) และเอเดน (Aden) ที่อินเดียและอาระเบีย

ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะทําการคากับชาวมุสลิมและเพื่อหลบเลี่ยงการผูกขาดการคาของเมืองทาเว

นิสและเจนัวทางตอนใตของอิตาลี ชาวยุโรปจากคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula) ซึ่งไดแก

โปรตุเกสและเสปนจึงพยายามหาเสนทางการคาทางทะเลที่มาสูอินเดียและหมูเกาะเครื่องเทศของ

เอเชียตะวันออกเฉียงใตไดโดยไมตองผานทะเลเมดิเตอรเรเนียนและเอเชียตะวันตก

สำนกัหอ

สมุดกลาง

38

ชาวโปรตุเกสเริ่มยุคแหงการขยายอาณาเขตของชาวยุโรปเมื่อยึดเมืองซอยตา (Ceuta) บนฝง

ทะเลของทวีปแอฟริกาภาคเหนือจากพวกมัวรไดใน ค.ศ. 1415 จากนั้น กองเรือของโปรตุเกสไดรุก

ลงมาทางฝงทะเลตะวันตกของทวีปแอฟริกา ไดสรางสถานีการคาและหาวิธีเดินเรือออมทวีป

แอฟริกาซึ่งจะนําพวกเขาไปยังมหาสมุทรอินเดีย ชาวโปรตุเกสสามารถแลนเรือออมแหลมกูดโฮป

ไดสําเร็จเมื่อ ค.ศ. 1487 ในปลายคริสตศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสจึงไดเริ่มทําลายอิทธิพลทางการคา

ของชาวเวนิชกับชาวอาหรับ โดยเขามาจัดตั้งเมืองทาของตนเองในดินแดนทางตะวันออกโดยตรง

ชาวโปรตุเกสซึ่งประสานเรื่องการคาเพื่อกําไรกับศรัทธาคริสตศาสนาอยางแรงกลาสามารถทําลาย

ความยิ่งใหญทางการคาในเอเชียของชาวมุสลิมลงไดภายในเวลาเพียง 25 ป และเขามาครอบงํา

การคาสวนใหญของคาบสมุทรอินเดียในตอนกลางคริสตศตวรรษท่ี 16

ตลอดคริสตศตวรรษที่ 15 ซึ่งเปนระยะเวลาที่โปรตุเกสพยายามเขาสูกระบวนการคาทาง

ทะเลของมหาสมุทรอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใตก็ไดเพิ่มบทบาทจากการเปนศูนยกลาง

แลกเปลี่ยนระหวางจีนกับอินเดีย มาเปนสวนหนึ่งของการคาของมหาสมุทรอินเดียเชนกัน ซึ่งก็ตรง

กับชวงเวลาของการเติบโตของเมืองทามะละกา ในชวงคริสตศตวรรษท่ี 15 มะละกาไดกาวขึ้นสูการ

เปนเมืองทาที่ยิ่งใหญในฐานะเมืองทาศูนยกลางแลกเปลี่ยนสินคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยที่

ราคาขายเครื่องเทศในเมืองทามะละกาจะแพงกวาราคาตนทางที่โมลุกกะประมาณ 30 เทา และราคา

ที่เวนิชจะแพงกวาโมลุกกะประมาณ 100 เทา1 การเขามาครอบครองมะละกาจึงเปนขั้นตอนที่สําคัญ

ของการควบคุมการคาเคร่ืองเทศ

ในบทที่ 3 นี้ ผูศึกษาตองการอธิบายปจจัยที่ผลักดันใหโปรตุเกสเขามาในเอเชียตะวันออก

เฉียงใตและเขามายึดครองมะละกา พรอมทั้งประเมินบทบาทของโปรตุเกสตอการเปลี่ยนแปลงทาง

การคาของมะละกาและของเอเชียตะวันออกเฉียงใต พรอมทั้งคนหาสาเหตุที่ทําใหมะละกาภายใต

การปกครองของโปรตุเกส (ค.ศ. 1511-1641) ไมสามารถเติบโตและไมไดทําหนาที่เปนศูนยกลาง

แลกเปลี่ยนสินคาที่คึกคักเทากับในชวงที่เปนรัฐสุลตานมลายูกอนหนานี้

3.1 โปรตุเกสกับการเขาสูกระบวนการคาของเอเชีย

ตลอดคริสตศตวรรษที่ 15 กษัตริยโปรตุเกสเปนผูทรงริเริ่มขยายอิทธิพลทางทะเลดวยการ

แตงตั้งผูบงัคับการเรือและนายทหาร รวมทั้งพระราชทานคําแนะนําอยางละเอียดในเรื่องจุดประสงค

และการดําเนินการของคณะสํารวจทางทะเล พระเจามานูเอลท่ี 1 ซึ่งครองราชยตั้งแต ค.ศ. 1495 ถึง

1Anthony Reid, Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680 : Volume one (USA. : Yale

University Press, 1988), 115.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

39

สำนกัหอ

สมุดกลาง

40

1521 ไดทรงผลักดันใหกิจกรรมของชาวโปรตุเกสประสบผลสําเร็จสูงสุดในซีกโลกตะวันออก

หลังจากที่ไดเดินเรือไปสํารวจแลวหลายครั้ง ชาวโปรตุเกสก็สามารถแลนเรือออมแหลมกูดโฮปได

สําเร็จเมื่อ ค.ศ. 1487 ขณะเดียวกันอุดมคติของโปรตุเกสตามแบบอยางของสงครามครูเสดนั้นได

เปลี่ยนแปลงไป ความตองการที่จะทําสงครามศาสนาไดเปลี่ยนเปนความตองการจะแขงขันทาง

เศรษฐกิจเขามาแทนที่ ดังนั้นความพยายามของโปรตุเกสจึงขึ้นอยูกับวิธีการแสวงหาการคาและ

อาณานิคม โปรตุเกสจึงมีความตองการที่จะแยงชิงการควบคุมการคาโดยเฉพาะอยางยิ่งจากพอคา

อาหรับที่ไดกําไรมหาศาลจากการคาเคร่ืองเทศ ถาหากวากิจกรรมดังกลาวสําเร็จก็เทากับวาได

ประกอบวีรกรรมทางศาสนาและก็ทําใหพวกตนร่ํารวยขึ้นจากการคาอีกดวย 2

ชาวโปรตุเกสรับรูวาการจะแทรกซึมเขามาในวงการคาของเอเชียนั้นจะตองใชกําลังทําลาย

การผูกขาดทางการคาของชาวมุสลิมเสียกอน ซึ่งความไดเปรียบของโปรตุเกสอยูที่ความสามารถใน

การสรางสรรคและผลิตนวัตกรรมการเดินเรือที่ทันสมัยในคริสตศตวรรษที่ 15 และการเรียนรู

เกี่ยวกับทิศทางของลมมรสุม ทําใหโปรตุเกสสามารถเดินเรือสมุทรไดดีกวาชาติอื่นๆ นอกจากนั้น

โปรตุเกสยังมีวิธีการรบและการเดินเรือเหนือกวาและเรือเดินสมุทรของโปรตุเกสก็เปนกองเรือที่มี

อาวุธติดเรือ3 ดังนั้น เมื่อชาวอาหรับ ชาวกุจราตและชาวมุสลิมอื่นๆ ซึ่งผูกขาดการคาโดยวิธีขนสง

ทางเรือตามชายฝงทะเลของอินเดียภาคตะวันตกตางเร่ิมไมพอใจที่ชาวโปรตุเกสเขามายื้อแยง

ผลประโยชน และจึงไดพยายามกอความยุงยากหลายประการเพื่อขัดขวางกองเรือโปรตุเกส จึงเกิด

การปะทะกัน แตวาชาวอาหรับ ชาวกุจราตและชาวมุสลิมอื่นๆ ไมสามารถตานทานโปรตุเกสในการ

รบได

ใน ค.ศ. 1506 ชาวโปรตุเกสไดจัดตั้งสถานีการคาแหงแรกของชาวยุโรปในเอเชียที่เมืองโค

ชิน (Co-Chin)ในประเทศอินเดียภาคตะวันตกเฉียงใต ตอมาใน ค.ศ. 1508 ดอมฟรานซิสโก เดอ อัล

เมดา (Dom Francisco de Almeida) ไดรับการแตงตั้งใหเปนอุปราชชาวโปรตุเกสคนแรกในอินเดีย

และไดเริ่มกอกวนการเดินเรือของชาวมุสลิม ทั้งยังไดสรางปอมตามชายฝงทะเลของทวีปแอฟริกา

ภาคตะวันออกและประเทศอินเดียภาคตะวันตกเพื่อพยายามควบคุมเสนทางทะเล ทําใหกองทัพเรือ

ของอียิปตและกุจราตไดรวมมือกันตอสูกับกองทัพเรือโปรตุเกสแตก็ตองพายแพตอกองเรือ

2Barbara Watson Andaya and Leonard Y. Andaya, A History of Malaysia (Hong Kong : Oxford

University Press, 1982), 56.3นิธิ เอียวศรีวงศ, “โปรตุเกส-การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา,” ใน 500 ป ความสัมพันธสยาม

ประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย 2054 – 2554, เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจําป

2554 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2555), 3.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

41

โปรตุเกสนําโดย อัลเมดาใน ค.ศ. 1509 ชัยชนะคร้ังน้ีทําใหโปรตุเกสเปนมหาอํานาจทางการ

เดินเรือและเปนกองทัพเรือท่ีเขมแข็งท่ีสุดในมหาสมุทรอินเดีย4

ไมกี่เดือนตอมา อะฟอนโซ เดอ อัลบูเกิรก (Afonso de Albuquerque) ไดมารับตําแหนง

อุปราชตอจากอัลเมดา อัลบูเกิรกไดวางรากฐานอํานาจของโปรตุเกสในเอเชียไดภายใน 6 ป สามารถ

สรางชื่อเสียงและไดรับการยกยองวา เปนผูที่เขาใจวิถีของการคาของเอเชีย เพราะวิธีการของอัลบู

เกิรกตางกับของอัลเมดา เนื่องจากเขาคํานึงถึงการคาวามีความสําคัญยิ่งกวาจุดมุงหมายทางการเมือง

หรือทางศาสนา ดวยเหตุที่วาอัลบูเกิรกตระหนักดีเกี่ยวกับการทําลายลางชาวมุสลิมไมไดมี

ประโยชนตอโปรตุเกสและกอใหเกิดความเสียหายตอกองทัพเรือโปรตุเกสมากเกินไป อัลบูเกิรกจึง

ไดยกเลิกการโจมตีกองเรือชาวมุสลิมอยางไมเลือกหนา และพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหนากับ

อียิปตและกุจราตอีกดวย นโยบายของอัลบูเกิรกคือการปองกันมิใหชาวมุสลิมผนึกกําลังกัน พยายาม

แบงแยกชาวมุสลิม และพยายามจํากัดแทนที่จะกําจัดการคาของชาวมุสลิม5

สิ่งสําคัญที่ทําใหอัลบูเกิรกทําไดดีกวาอัลเมดาคือ การไมเขาไปยุงเกี่ยวกับการเมืองทองถิ่น

ของเจาผูครองนครตางๆ ในอินเดีย อัลบูเกิรกปฏิเสธที่จะเขาไปยุงเกี่ยวกับกรณีพิพาทในทองถิ่น

นอกเสียจากวากรณีพิพาทดังกลาวจะเกี่ยวของกับผลประโยชนของโปรตุเกสโดยตรง การบริหาร

กองกําลังของอัลบูเกิรกชี้ใหเห็นวาไมสมควรที่จะกระจายกองกําลังของไปตามชายฝงตางๆ

เนื่องมาจากโปรตุเกสมีกองกําลังอยูจํานวนจํากัดและเปนการเสี่ยงที่จะจัดการกับปญหาที่จะเกิด

ขึ้นกับชาวมุสลิมทุกๆ เรื่อง ฉะนั้นจึงไดสรางฐานทัพที่มีที่ตั้งถูกหลักยุทธศาสตรจํานวนไมมากให

อยูในความควบคุมของโปรตุเกสโดยตรงขึ้นมาแทน6 ใน ค.ศ. 1510 อัลบูเกิรกไดเขายึดเมืองกัวใน

ประเทศอินเดียภาคตะวันตก ซึ่งไดกลายเปนฐานบัญชาการกองกําลังหลักของโปรตุเกสในเอเชีย ใน

ปตอมาอัลบูเกิรกสามารถยึดมะละกาได และใน ค.ศ. 1515 เขาไดนําชาวโปรตุเกสไปตั้งมั่นที่ออร

มุซเพ่ือควบคุมอาวเปอรเซีย

3.2 การยึดครองและการปกครองของโปรตุเกสในมะละกา

ดังที่ไดชี้ใหเห็นแลววาในกระบวนการคาระหวางยุโรปกับเอเชียน้ัน มะละกามีบทบาท

สําคัญในฐานะเมืองทาสงถายสินคาทั้งจากจีนและสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต เมืองทา

4เรื่องเดียวกัน, 3.5แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 80 – 82.6เรื่องเดียวกัน, 85.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

42

มะละกาเติบโตจึงเติบโตขึ้นมาเพื่อตอบสนองกับตลาดโลก ศาสตราจารย ดร. นิธิ เอียวศรีวงศได

กลาวไวในงานของทานวา สินคาสําคัญสามอยางที่ดึงดูดโปรตุเกสมาสูเอเชียคือ เครื่องเทศ ผาไหม

และหินมีคา7 ซึ่งเมืองทามะละกาสามารถรวบรวมสินคาเหลานี้ไวได ดังน้ัน แมวาใน ค.ศ. 1510

โปรตุเกสจะกอต้ังเมืองกัวไวเปนศูนยกลางเพื่อควบคุมการคาในแถบมหาสมุทรอินเดีย แตเรือ

คาขายของพวกมุสลิมก็ยังสามารถมาซื้อขายผลิตผลของเบงกอล พมา สุมาตรา หมูเกาะเครื่องเทศ

สยามและจีนโดยมีศูนยกลางการคาที่มะละกา ผูปกครองชาวโปรตุเกสของเมืองกัวจึงไดเสนอให

ขัดขวางการคาของพวกมุสลิมดวยการเขายึดปากทะเลแดงและเขาโจมตีศูนยกลางการคาของพวก

มุสลิมที่มะละกา8 โดยที่ในขณะนั้นมะละกามีสุลตานมุสลิมปกครองอยูและไดรับการยอมรับให

เปนศูนยกลางของศาสนาอิสลามที่กระจายตัวอยูในแถบคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซีย

อีกดวย9 ฉะนั้นการเขายึดมะละกาจึงเปนแผนการที่สําคัญยิ่ง

ในค.ศ. 1511 โปรตุเกสเปดการสูรบกับรัฐสุลตานมะละกา การบุกโจมตีของโปรตุเกสไดใช

ปนใหญระดมยิงเมืองมะละกาอยางเต็มที่และไดใชเรือลองมาตามแมนํ้าเมื่อตอนนํ้าขึ้นเพื่อยึด

สะพานสําคัญที่เชื่อมตอเมืองไปสูที่ประทับสุลตานกับสวนที่เปนศูนยกลางการคาบนฝงตรงขาม

ของแมน้ํา ในการโจมตีครั้งสุดทายมะละกาก็ตกเปนของโปรตุเกสโดยแทบจะไมมีการตอตาน เมื่อ

เห็นวาการรบครั้งน้ีไมมีทางสูแลว สุลตานมาหมุดพรอมดวยเบนดาฮารา แมทัพนายกอง ขาราช

บริพารและพอคาชาวตางชาติตางก็หนีออกนอกเมืองมะละกา ชัยชนะในการรบของโปรตุเกสเปน

สิ่งที่ไดมาโดยไมยาก ทั้งนี้มะละกาไมไดเผชิญศึกหรือทําสงครามขนาดใหญมาเปนเวลานานแลว

กําลังทหารในเมืองทามะละกามีจํานวนนอย รวมทั้งการขาดผูนําเนื่องจากเบนดาฮาราของมะละกา

ขณะนั้นก็ชราภาพมากเกินไป สวนสลุตานมาหมุดก็ไมไดสนพระทัยเรื่องการสูรบ ตลอดจนกองทัพ

ของมะละกาเปนกองทัพที่ทหารมาจากหลายชุมชนผสมปนเปกันมาก นอกจากชาวมลายูแลว ก็ไมมี

ชุมชนไหนจงรักภักดีตอมะละกาหรือมีผลประโยชนอื่นรวมกัน ยกเวนเสียแตการหารายได กองทัพ

ประเภทนี้ไมสามารถเทียบเทากําลังของโปรตุเกสซึ่งประกอบดวยทหารที่ฝกฝนมาอยางดี มีอาวุธที่

ทันสมัยและทําการสูรบเปนหนวยที่สามัคคีกันโดยมีผูบัญชาการที่มีความสามารถเพียงคนเดียว10

7นิธิ เอียวศรีวงศ, “โปรตุเกส-การเดินเรือ, เครื่องเทศ, และศรัทธา,” ใน 500 ป ความสัมพันธสยาม

ประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย 2054 – 2554, เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจําป

2554 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2555), 3.8K. N. Chaudhuri, Trade and Civilisation in the Indian Ocean (London : Cambridge University Press,

1985), 68.9R. J. Wilkinson, Papers on Malay Subjects (Singapore : Oxford University Press, 1971), 45.10R. W. McRoberts, “An Examination of the Fall of Melaka in 1511,” Journal of Malaysian Branch,

Royal Asiatic Society, Vol. LVII, Pt. 1 (1984) : 31.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

43

การลมสลายอยางปจจุบันทันดวนของมะละกาในขณะที่กําลังมั่งคั่งสูงสุดยังไดเปดเผยใหเห็นความ

ออนแอภายในของรูปแบบการปกครองที่มีผูนาํคนเดียวซึ่งตองอาศัยความเปนผูนําที่เขมแข็งอยางยิ่ง

ทายที่สุด โปรตุเกสสามารถยึดครองและรักษาที่มั่นสําคัญในมะละกาโดยการแยกยานการคาออก

จากยานที่อยูอาศัยของชาวมลายู ซึ่งพอคาที่มาจากดินแดนอ่ืนๆ สวนใหญไดยอมติดตอกับโปรตุเกส

โดยเพื่อนบานของมะละกา ไมวาจะเปนกัมพูชา บรูไน มินดาเบา พะโคและสยามก็เริ่มละทิ้งสุลตาน

ของมะละกาไปทําการคาขายกับโปรตุเกสตอไป

ในเวลาเพียงสามเดือน อัลบูเกิรกไดจัดระเบียบการบริหารและฟนฟูการคาใหกลับคืนสู

สภาพปกติ เขาไดสรางปอมใหญชื่อ อา ฟาโมซา (A Famosa) เมืองเกาของชาวมลายูถูกสรางกําแพง

ลอมรอบใหเปนที่อยูของชาวโปรตุเกส สถานที่ราชการและโบสถคริสต สวนชาวมลายูและชุมชน

ชาวเอเชียอื่นๆ มีที่อยูอาศัยนอกกําแพงเมือง สําหรับพอคาตางดาวไมกี่คนที่หนีไปกับชาวมลายูพา

กันกลับมาในไมชาและชาวโปรตุเกสพยายามสรางไมตรีกับชุมชนธุรกิจโดยผานทางผูนําที่คน

เหลานี้ยอมรับ ชาวจีนและชาวฮินดูปรับตัวเขากับระบอบการปกครองใหมไดอยางรวดเร็ว แตใน

บรรดาพอคามุสลมิยังคงมีความสับสนวุนวายอยูมากในการจะคบคาสมาคมกับโปรตุเกส11

เมื่ออัลบูเกิรกถึงแกกรรมใน ค.ศ. 1515 เขาก็ไดวางรากฐานใหชาวโปรตุเกสควบคุมการคา

จากอาวเปอรเซียถึงมะละกาอยางมั่นคงแลว ชาวโปรตุเกสจึงทําการคาโดยวิธีขนสงทางเรือระหวาง

เอเชียกับยุโรปมากกวาชาติอ่ืนๆ และกรุงลิสบอนไดกาวขึ้นมาเปนตลาดสําคัญในยุโรปสําหรับ

สินคาจากเอเชียแทนเมืองเวนิช12 ชาวโปรตุเกสพยายามที่จะเขาควบคุมการคาทุกชนิดของมะละกา

ไดแก การคาเคร่ืองเทศซึ่งยังคงเปนรากฐานของการคาของมะละกาที่สําคัญที่สุด ฝายและสินคาผาที่

พับเปนมวนถูกสงเขามาจากเมืองกัวเพื่อแลกเปลี่ยนกับเคร่ืองเทศในมะละกา และตอจากน้ัน

เครื่องเทศจากมะละกาจะถูกสงไปยังเมืองกัวเพื่อถายลงเรือพรอมกับเครื่องเทศจากอินเดียและศรี

ลังกาไปยังตลาดกรุงลิสบอน เครื่องเทศยังถูกนํามาแลกเปลี่ยนกับไหมและเครื่องถวยชามของจีนซึ่ง

จากนั้นจะถูกสงลงเรือจากมะละกาตรงไปยังยุโรป

สําหรับ 60 ปแรกท่ีชาวโปรตุเกสปกครองปอมอา ฟาโมซาในมะละกา ผูบังคับการปอมเปน

ประมุขของรัฐบาล แตใน ค.ศ. 1571 มะละกามีผูวาราชการซึ่งรับผิดชอบนิคมชาวโปรตุเกสแหง

อื่นๆ ทางตะวันออกดวย และมีฐานะรองจากอุปราชที่เมืองกัว โดยหลักการ เจาหนาที่ชาวโปรตุเกส

แทบไมมีการติดตอโดยตรงกับพลเมืองชาวเอเชียที่อาศัยอยูโดยรอบปอมอา ฟาโมซา และโปรตุเกส

11ดี. จี. อี. ฮอลล, ประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนยภาคพิสดาร (1-2), แปล

โดย วรุณยุพา สนิทวงศ ณ อยุธยา และคณะ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร,

2549), 247.12เรื่องเดียวกัน, 249.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

44

ไดรักษาระบบการบริหารของรัฐมลายูเดิมไวเปนสวนมาก ไดแกการแตงต้ังหัวหนาหรือกะปตัน

(kapitan) ชาวพ้ืนเมืองใหรกัษากฎระเบียบและความเรียบรอยในบรรดาคนชาติเดียวกับตน มีเบนดา

ฮาราชาวมลายูที่มีอํานาจพิจารณาคดีแพงและคดีอาญาของชุมชนทั้งหลายที่ไมใชชาวโปรตุเกสที่

อาศัยอยูบริเวณชานเมืองนอกเขตกําแพงเมือง มีตํามะหงงชาวมลายูรับผิดชอบชาวมลายูที่อยูตาม

ตําบลชนบท และชาหบันดารมีหนาที่ดูแลพอคาทุกชาติทุกภาษาที่ไมใชชาติโปรตุเกส13

3.3 มะละกาในฐานะเมืองทาการคาของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ในขณะที่โปรตุเกสประสบความสําเร็จในการเขายึดครองมะละกา และการวางรากฐานการ

ปกครองของโปรตุเกสในเมืองทาแหงนั้น แตในระยะยาว จะเห็นไดวาโปรตุเกสไมสามารถรักษา

ความยิ่งใหญของมะละกาในฐานะเมืองทาศูนยกลางแลกเปลี่ยนสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต

และยังไมสามารถรักษาอิทธิพลของตนเองในเสนทางการคาทางทะเลระหวางยุโรปกับเอเชียซึ่งใน

คริสตศตวรรษที่ 17 ดัตชจะเขามาแทนที่ ในที่นี้ ผูศึกษาพยายามมองหาเหตุผลในสวนที่เกี่ยวกับมะ

ละกา โดยศึกษาวานโยบายที่โปรตุเกสนํามาใชในการทําการคาที่มะละกาน้ันเปนอยางไรและมี

ปญหาอุปสรรคใดบาง ดังตอไปน้ี

3.3.1 การควบคุมการคาในบริเวณแหลงผลิตของหมูเกาะโมลุกกะและชองแคบมะละกา

เพื่อคุมครองการคาของโปรตุเกส รัฐบาลโปรตุเกสจําเปนตองควบคุมคูแขงขันทางการคา

ในบริเวณชองแคบมะละกาและทะเลชวา และตองพยายามสรางอิทธิพลเหนือหมูเกาะโมลุกกะซึ่ง

เปนแหลงผลิตเครื่องเทศไวใหมั่น ในเรื่องนี้ผลลัพธที่โปรตุเกสไดนั้นไมเปนไปตามเปาหมายและ

ทําไมสําเร็จ ในประการแรก ความพยายามที่จะยึดการคาเครื่องเทศของหมูเกาะโมลุกกะประสบกับ

แรงตานทานอยางเขมแข็งจากเจาหนาที่มุสลิมในทองถิ่น และยังทําใหโปรตุเกสตองกระทบกระทั่ง

กับประเทศสเปนซึ่งเขามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใตในราวทศวรรษ 1520 โปรตุเกสไดประทวง

สเปนในกรณีที่เรือสเปนแลนผานมาแถบหมูเกาะโมลุกกะวาเปนการละเมิดสนธิสัญญาทอเดซิลลาส

(Tordesillas) ซึ่งทําไวใน ค.ศ. 1494 ระหวางสเปนและโปรตุเกส กลาวคือ ใน ค.ศ. 1493 พระ

สันตะปาปาไดมีโองการประกาศแยกอาณาบริเวณระหวางสเปนและโปรตุเกสในการออกแสวงหา

ดินแดนใหม โดยใชวิธีลากเสนจากขั้วโลกเหนือมายังขั้วโลกใต ใหหางจากหมูเกาะอะซอรสและหมู

เกาะเคปเวอรตไปทางตะวันตกและทางใต 100 ไมล ตอมาก็ปรับปรุงเสนแบงเขตนั้นใหมใหหาง

13เรื่องเดียวกัน, 249 – 250.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

45

จากฝงตะวันตกของหมูเกาะเคปเวอรต 370 ไมล อยางไรก็ดี ไมปรากฏวาไดมีการกําหนดแบงแยก

ทวีปที่คนพบใหมในระหวาง 2 ประเทศน้ัน

ผลของการที่โปรตุเกสประทวงทําใหมีการประชุมขึ้นใน ค.ศ. 1524 แตก็มิไดตกลงในเรื่อง

ที่ตั้งของหมูเกาะโมลุกกะ เพราะตางฝายตางมีความเห็นตางกันในสถานที่ตั้งถึง 46 องศา ดังน้ัน

สเปนจึงสงเรือ 7 ลําไปทางชองแคบแมกเจลแลนเพื่ออางสิทธิในหมูเกาะดังกลาว เรือลําแรกมาถึง

เกาะติดอร (Tidore) ก็ไดรับการตอนรับเปนอยางดี ทําใหชาวโปรตุเกสซึ่งมีไมตรีกับเกาะเทอรเนต

(Tenarte) อยูกอนเกิดการขัดแยงกับชาวสเปนที่มามีไมตรีกับเกาะติดอร แตโชคยังเขาขางโปรตุเกส

อยู เพราะสเปนตองขอความชวยเหลือไปยังสภาปกครองที่เมืองเม็กซิโก แตไมไดรับความชวยเหลือ

ทันทวงทีจึงทําใหสเปนตองยอมตามขอเรียกรองของฝายตรงขาม โปรตุเกสพยายามนําเรื่องนี้เขา

เสนอที่ประชุมในยุโรปอีกใน ค.ศ. 1529 จึงทําสัญญาใหมอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งสเปนยอมตกลงที่จะ

แสวงหาดินแดนเลยไปทางขวาของหมูเกาะโมลุกกะไป 17 องศา แตถึงกระน้ัน ในปลาย

คริสตศตวรรษท่ี 16 สเปนก็สามารถแลนเรือไปถึงหมูเกาะฟลิปปนส และตั้งเมืองมะนิลาขึ้นใน ค.ศ.

157114

แมวาโปรตุเกสจะทําขอตกลงกับสเปนเกี่ยวกับหมูเกาะโมลุกกะได แตการที่โปรตุเกส

เดินทางมาถึงหมูเกาะเครื่องเทศนี้ทําใหเกิดปญหากับศูนยอํานาจบนเกาะชวาขึ้นอีก เสนทางเดินเรือ

ตามปกตินั้นออกจากมะละกาเลียบไปตามชายฝงทิศใตของเกาะบอรเนียว ขามทะเลชวาไปถึงเมือง

เกรสิก (Gresik) ใกลกับสุราบายา (Surabaya) บนเกาะชวา หรือไปทางใตของหมูเกาะเซลีเบสที่เรียก

ตามชื่อดั้งเดิมวาสุลาเวสี (Sulawesi) จนถึงหมูเกาะโมลุกกะ ทั้งเมืองทาทางตอนเหนือของเกาะชวา

และชุมชนที่อยูในหมูเกาะสุลาเวสีเปนชาวมุสลิม จึงไมเปนมิตรกับกองเรือของโปรตุเกสนัก

โปรตุเกสพยายามผูกมิตรกับรัฐที่ผูปกครองเปนรายาที่นับถือศาสนาฮินดู อาทิเชน ใน ค.ศ. 1522 ก็

สงเรือไปยังแควนซุนดากาลาปา (ซึ่งตอมาคือปตตาเวียของฮอลันดา) ณ ที่นั้นรายาฮินดูก็อนุญาตให

สรางปอมขึ้นได แตเมื่อนักเดินเรือโปรตุเกสกลับมายังที่นั้นใหมใน ค.ศ. 1527 ปรากฏวาพวกมุสลิม

แหงแควนบันตัมตีเมืองนั้นไดเสียแลว และเปลี่ยนชื่อใหมวาจายา กราตาร (Jaya Karta)

ดวยการที่ศาสนาอิสลามแพรหลายอยางรวดเร็วในบริเวณดังกลาว ทําใหแผนการของ

โปรตุเกสที่ตองการครอบครองหมูเกาะโมลุกกะชะงักลง เพราะชาวพื้นเมืองไดแก ชาวเกาะบันดา

(Banda)และชาวเกาะอัมบน (Ambon) ของหมูเกาะโมลุกกะมีไมตรีใกลชิดกับบรรดาสุลตานในชวา

ชาวบันดาไมยินยอมใหโปรตุเกสมาสรางปอมบนเกาะ และไมยอมใหผูกขาดการคาลูกจันทนเทศ

ดวย โปรตุเกสพยายามเผยแผศาสนาคาทอลิกเขาไปในหมูชนที่ไมใชมุสลิม ทําใหเกิดขอพิพาท

ระหวางชนพ้ืนเมืองกับชาวโปรตุเกส ซึ่งโปรตุเกสเปนรองกลุมมุสลิมเสมอเนื่องจากชาวเกาะบันดา

14 เรื่องเดียวกัน, 248.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

46

และชาวเกาะอัมบนรวมทั้งสุลตานที่เกาะเทอรเนตตางรวมมือรวมใจในการตอตานชาวโปรตุเกส

และพวกมิชชันนารีคาทอลิกอยางจริงจัง ทั้งในเรื่องการสูรบและการรวมมือทางการคา15

ดังนั้น ในขณะที่มะละกาซึ่งเปนที่ยอมรับในฐานะศูนยกลางของโลกมุสลิมสามารถสาน

สัมพันธทางการคากับพอคาพื้นเมืองที่นับถือศาสนามุสลิมจากที่ตางๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ความสัมพันธของโปรตุเกสกับชาวพื้นเมืองในบริเวณหมูเกาะโมลุกกะกลับเปนไปอยางลอแหลม

ตออันตราย ชาวโปรตุเกสถูกกลุมมุสลิมตอตานอยางรุนแรงจนไมสามารถที่จะครอบครองดินแดน

ในมะละกาและหมูเกาะโมลุกกะไดอยางเบ็ดเสร็จสมบูรณเน่ืองจากศาสนาคริสตยังเปนของนา

รังเกียจสําหรับชาวพ้ืนเมืองที่เปนมุสลิม เพราะศาสนาคริสตเขามาพรอมกับสงคราม ไมไดมาพรอม

กับการคาที่สันติสุข รวมถึงขาวสารความรุนแรงที่ชาวโปรตุเกสปฏิบัติตอชาวมุสลิม ในอินเดีย หมู

เกาะโมลุกกะ ในมะละกา และที่อื่นๆ ทําใหชาวมุสลิมทั่วทั้งภูมิภาคมีความกริ่งเกรงในตัวของชาว

โปรตุเกสและศาสนาคริสต 16

ที่มะละกาเอง หลังจากประสบความสําเร็จในการเขาครอบครองเมืองทาและต้ังมั่นใน

บริเวณ อา ฟาโมซา ไดไมนาน โปรตุเกสก็ตกอยูในสภาวะที่ตองปองกันตนเองจากการโจมตีของ

กองกําลังชาวพื้นเมืองที่มาจากรัฐตางๆ ในบริเวณชองแคบมะละกาและทะเลชวา ทั้งน้ีเพราะ

นโยบายการผูกขาดนานน้ําที่โปรตุเกสนํามาใช แตดั้งเดิม การคาในบริเวณชองแคบมะละกาและ

สวนอื่นๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้น แมจะมีการแขงขันกันสูง แตก็เปนการคาที่แขงขันกันใน

ระบบนานนํ้าเสรี กลาวคือ เรือสินคาสามารถเดินทางเขาไปคาขายกับเมืองทาใดๆ ก็ได แต นโยบาย

ของโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใตในชวงศตวรรษที่ 16 น้ันเนนการควบคุมการคาโดยใช

กําลังทางทหาร ระหวางค.ศ. 1500-1515 โปรตุเกสใชกําลังทางทหารที่มาพรอมกับกองเรือติดอาวุธ

ทําสงครามเพื่อยึดครองเมืองทาชายฝงตามเสนทางการคาต้ังแตอัฟริกาตะวันออก อาวเปอรเซีย

ชายฝงมะละบารของอินเดีย เกาะลังกา และชองแคบมะละกา เมื่อยึดไดจะสรางปอมปราการและใช

เรือคุมนานน้ําเพื่อไมใหผูคาอื่นๆ สงสินคาไปยังทะเลแดงและอาวเปอรเซียโดยไมผานการควบคุม

ของโปรตุเกส

จุดมุงหมายของโปรตุเกสในการดําเนินนโยบายควบคุม “เสนทางการคา” คือการลด

บทบาทของพอคามุสลิมออกไปจากเครือขายการคาของเอเชีย เพื่อผูกขาดการคาเครื่องเทศ และเพื่อ

หารายไดจากการที่พอคาอื่นๆ ตองจายภาษีผานทางเมื่อเดินทางมาถึงเมืองทาที่โปรตุเกสควบคุมอยู

15เรื่องเดียวกัน, 249.16K. N. Chaudhuri, Trade and Civilisation in the Indian Ocean (London : Cambridge University Press,

1985), 75.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

47

(cartazes-naval passes) ความตองการหลักของโปรตุเกสในระยะนั้นคือตองการใหปลายทางของ

การคาเครื่องเทศเปลี่ยนจากเมืองทาอเล็กซานเดรียและเวนิสมาเปนลิสบอนและอันเวิรบ และทําให

ราชสํานักโปรตุเกสกลายเปนผูผูกขาดการคาเคร่ืองเทศในยุโรป ในชวงตนคริสตศตวรรษที่ 16

โปรตุเกสเกือบจะผูกขาดการคาไดตามนโยบายที่วางไวคือบังคับใหพอคาตางๆมาคากับเมืองทาของ

โปรตุเกสหรือมิฉะนั้นก็จายภาษีผานทาง ผูปกครองชาวโปรตุเกสที่ปอม อา ฟาโมซาในมะละกา

พยายามบังคับใหเรือทุกลําแวะที่มะละกาเพื่อรับใบผานทางและจายคาธรรมเนียม แมวาจะไดรับ

ผลดีในตอนแรก แตความพยายามและการบีบบังคับใหมีการผูกขาดรวมทั้งวิธีการที่กาวราวของชาว

โปรตุเกสผลักดันพอคาชาวเอเชียตางๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งพอคามุสลิมหันไปใชเมืองทาอ่ืน เชน

อะเจะห บันตัม บรูไน เมืองทาริมฝงภาคใตเกาะบอรเนียว ซึ่งจะกลายเปนศูนยกลางใหมในการเผย

แผศาสนาอิสลาม และยังทําใหโปรตุเกส-มะละกาเปนเปาหมายของการถูกโจมตีจากกองกําลังของ

แวนแควนตางๆ ที่ตองการจะยกเลิกการผูกขาดนานนํ้าของโปรตุเกส

ใน ค.ศ. 1513 มะละกาถูกกองเรือจากชวาจากเมืองจาปารา (Japara)โจมตีและใน 15 ปแรก

ที่โปรตุเกสครอบครองมะละกาก็ถูกชาวมลายูโจมตีเพื่อยึดมะละกากลับคืนครั้งแลวครั้งเลา คูแขงที่

สําคัญของโปรตุเกสมักจะมาจากรัฐมลายูบนเกาะสุมาตราซึ่งอยูบนชองแคบมะละกาอีกฝงหน่ึง

ขนานกับมะละกาของโปรตุเกส เชน รัฐอารู (Aru) ซึ่งขึ้นชื่อดานการเปนโจรสลัดแหงทองทะเล

และคูแขงที่สําคัญที่สุดคือ รัฐ อะเจะห (Acheh) ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ใน ค.ศ. 1521 ชาว

โปรตุเกสพยายามสรางปอมปราการขึ้นที่ปาไซ (Pasai)บนเกาะสุมาตรา แตเมื่อไมอาจปราบ

รัฐอะเจะหลงได ก็จําเปนตองสละปอมปาไซในเวลาสามปตอมา ตอมาความพยายามที่จะควบคุม

ชองแคบซุนดา (อยูระหวางเกาะสุมาตราและเกาะชวา) ในปลายทศวรรษ 1520 ก็ถูกขัดขวางจาก

ชาวอะเจะหที่คอยรังควานชาวโปรตุเกสเรื่อยมา หลัง ค.ศ. 1526 แควนอะเจะหต้ังตนเปนหัวหนา

ตอตานโปรตุเกส สุลตานอะเจะหมีอํานาจมากขึ้นเพราะขณะนั้นพริกไทยเปนสินคาที่คนตองการ

มากขึ้น ระหวาง ค.ศ. 1529 – ค.ศ. 1587 อะเจะหพยายามเขายึดมะละกาหลายครั้ง โดยเฉพาะใน

ค.ศ. 1558 นํากองทัพเรือ 300 ลํา พรอมดวยทหาร 15,000 คน และทหารปนใหญจากตุรกีอีก 400

คน ลอมมะละกาอยูรวมเดือน ระหวาง ค.ศ. 1570 – ค.ศ. 1575 เปนระยะวุนวายอยางยิ่งสําหรับ

โปรตุเกสที่มะละกา เพราะนอกจากอะเจะหจะบุกถึง 3 ครั้งแลว กองทัพชวาจากแควนจาปารายังมา

บุกใน ค.ศ. 1574 อีก เผอิญมีกําลังหนุนซึ่งโปรตุเกสไดจากเมืองกัวมาชวยไวทัน17

ทายที่สุด ชาวมลายูบนคาบสมุทรมลายูก็เปนอุปสรรคสําคัญที่ทําใหโปรตุเกสที่มะละกาไม

สามารถมีอิทธิพลเหนือชองแคบมะละกา เมื่อมะละกาตกเปนของโปรตุเกส สุลตานมาหมุดของมะ

ละกาก็หนีไปอยูเกาะบินตัน (Bintan) ตรงชองแคบสิงคโปร และพยายามขัดขวางมิใหมะละกา

17Ibid., 73.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

48

ติดตอคาขายกับรัฐพื้นเมืองอ่ืนๆ ใน ค.ศ. 1517 สุลตานมาหหมุดเริ่มบุกเขามาแถบลุมแมน้ํามูอา

จนกระทั่ง ค.ศ. 1520 จึงลาถอยไป แตปตอมาก็ไดกําลังชวยเหลือจากสุลตานแหงอะเจะห ซึ่ง

กําลังขยายอํานาจมาแถบสุมาตราเหนือ ทําใหกลับมามีอํานาจอีกคร้ัง โปรตุเกสโจมตีที่มั่นของ

สุลตานเปนเวลา 12 วันติดตอกัน และใน ค.ศ. 1526 โปรตุเกสก็ยึดเมืองหลวงที่เกาะบินตันไดสําเร็จ

แตทายาทสุลตานหนีไปตั้งที่มั่นใหมทางตอนใตสุดของแหลมมลายู ไดแก รัฐยะโฮรและโจมตีการ

เดินเรือของโปรตุเกสตอไป ความไมปลอดภัยของมะละกาและการทําสงครามกับรัฐตางๆ ใน

บริเวณใกลเคียงทําใหพอคาตางๆ เลี่ยงไปหาศูนยกลางใหมที่บรูไน เกาะบอรเนียว เปนตน การที่

โปรตุเกสตองเปนฝายตั้งรับอยูเสมอจึงเปนการตอกย้ําวาโปรตุเกสตองเผชิญกับปญหาและความ

ยุงยากตอการปกครองและการดูแลกิจการภายในของมะละกาซึ่งโปรตุเกสไมสามารถที่จะควบคุม

ใหสงบเรียบรอยได

อาจกลาวไดวา ความพยายามของโปรตุเกสที่จะควบคุมการคาในบริเวณชองแคบมะละกา

ตลอดไปจนถึงหมูเกาะโมลุกกะไมประสบผลสําเร็จ นอกจากน้ีตลอดเวลา 130 ปที่โปรตุเกส

ครอบครองมะละกาก็ตองเผชิญกับศัตรูรอบดาน ถึงแมวาจะมีปอมปราการที่มิอาจทําลายได แตการ

ที่ตองพึ่งพาอาศัยการคาและอาหารที่ตองสั่งเขามาทําใหชาวโปรตุเกสในมะละกาออนแอและเพลี่ยง

พล้ําไดงายเมื่อถูกลอมเมืองหรือถูกปดลอมทางทะเล อยางไรก็ตาม ตราบเทาที่ชาวโปรตุเกสควบคุม

เสนทางทะเลไวได พวกเขาก็จะไดรับกําลังหนุนจากเมืองกัว แตสิ่งที่ชวยคุมครองชาวโปรตุเกสใน

มะละกาไดดีที่สุดกลับเปนความแตกแยกของกลุมที่เปนศัตรู โดยเฉพาะชาวอะเจะหกับชาวมลายูที่

อพยพจากมะละกาตั้งหลักแหลงใหมที่ยะโฮร (Johor) ที่มีความบาดหมางกันเกือบตลอดเวลา

3.3.2 การเติบโตของรัฐพ้ืนเมืองมลายูหลังจากการยึดครองมะละกาโดยโปรตุเกส

การที่มะละกาถูกโปรตุเกสยึดครองไมไดหมายความวาอํานาจของชาวมลายูถูกทําลายไป

เสียทั้งหมด เมื่อมะละกาถูกโปรตุเกสยึดครอง ศูนยอํานาจของชาวมลายูก็ปรากฏขึ้นใหมในสวนอื่น

ของคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซีย ที่สําคัญและมีความเกี่ยวของกับโปรตุเกส-มะละกา

ไดแก รัฐยะโฮร รัฐอะเจะหและรัฐบรูไน ทั้งสามรัฐกลายเปนรัฐสําคัญในคริสตศตวรรษที่ 16 และ

ไดรับเอารูปแบบของรัฐการคาทางทะเลกลุมมลายูมุสลิมมาปฏิบัติ18 และทั้งสามรัฐมีความสามารถที่

จะคานอํานาจกับชาวโปรตุเกสไดในระดับหน่ึง

เน้ือหาในสวนน้ีเปนการอธิบายถึงรัฐพื้นเมืองชาวมลายูที่มีความสัมพันธใกลชิดและมี

อิทธิพลตอการดําเนินงานของโปรตุเกสที่มะละกา อันไดแก กลุมอํานาจเดิมในมะละกา คือสุลตาน

18C. R. Boxer, Portuguese Conquest and Commerce in Southren Asia, 1500 – 1750 (Newcastle :

Variorum. 1985), 120.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

49

มาหมุดและผูคนที่อพยพมตั้งหลักแหลงใหม ไดแก รัฐยะโฮร รัฐการคาที่กําลังรุงเรืองอยางรวดเร็ว

ในคริสตศตวรรษท่ี 16 ในแถบสุมาตรา คือ รัฐอะเจะห และบรูไนซึ่งเปนศูนยกลางการคาที่มั่งคั่งอยู

แลวต้ังแตคริสตศตวรรษที่ 15 เพราะบรูไนไดทําการคากับประเทศจีนเปนหลัก จึงเปนรัฐที่

สอดแทรกและไดรับผลกําไรจากการคาเปนอยางมากจากการที่โปรตุเกสปกครองมะละกา และมี

สวนชวยในการคานอํานาจของโปรตุเกสในมะละกาตลอดคริสตศตวรรษที่ 16 เนื้อหาในสวนนี้มี

จุดประสงคที่จะอธิบายถึงความตอเนื่องทางประวัติศาสตรมะละกาในคริสตศตวรรษที่ 16 วาอํานาจ

ของชาวมลายูยังคงอยูแมวามะละกาจะถูกชาวโปรตุเกสยึดครองก็ตาม และเปนการนําเสนอการ

เปลี่ยนแปลงทั้งทางดานการเมืองและเศรษฐกิจที่สําคัญของชาวมลายูในชวงเวลาดังกลาวจาก

มุมมองภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ก. การสถาปนารัฐยะโฮร

หลังจากที่มะละกาถูกยึดครองโดยโปรตุเกสในค.ศ. 1511 สุลตานมาหมุดแหงมะละกาก็ได

อพยพไปยังเมืองมูอาร (Muar) และเดินบกตอไปที่ปะหัง สุลตานมาหมุดไดพยายามติดตอสงคํา

วิงวอนไปยังประเทศจีนแตไรผล จึงไดยายที่มั่นไปยังบริเวณปลายแหลมมลายูและทายที่สุดใน ค.ศ.

1513 ไดเดินทางไปยังเกาะบินตัน เมื่อไปถึงที่นั่นแลว สุลตานมาหมุดทรงสั่งใหสังหารโอรสของ

ทานที่เปนเจาเมืองบินตัน เพราะบริหารบานเมืองไมได จากนั้นก็ขึ้นครองราชยและยึดอํานาจแทน

โดยทรงต้ังราชสํานักขึ้นใหมบนเกาะแหงน้ี สถานที่ใหมของราชสํานักน้ีจะเปนที่ที่ไดรับการ

สนับสนุนจากพวกโอรัง ลาอุต19 จุดประสงคสําคัญของสุลตานมาหมุดคือการยึดมะละกาคืนมา

เพื่อใหบรรลุจุดประสงคดังกลาวชาวมลายูไดยกทัพไปตีมะละกาครั้งแลวครั้งเลาใน ค.ศ. 1512 ถึง

ค.ศ. 1524 กองทัพเรือของโปรตุเกสไดโจมตีกลับคืนหลายครั้ง ครั้งที่สําคัญที่สุดไดทําลายเมือง

หลวงของสุลตานมาหมุดที่เกาะบินตันใน ค.ศ. 152620

19เผาโอรัง ลาอุต (Orang Laut) เปนกลุมชาวมลายูที่มีอิทธิพลในการคานอํานาจของชาวโปรตุเกสอยาง

ยิ่ง เพราะชนเผานี้ยึดถืออยูในวิถีการดําเนินชีวิตของตนที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันตั้งแตสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เผานี้

เปนกลุมซองสุมโจรสลัดซ่ึงอยูใกลชองแคบมะละกา พวกโอรัง ลาอุตเปนกองรบที่นาเกรงขามและมีความ

เชี่ยวชาญในการเดินเรือซึ่งทําใหเปนกําลังสําคัญของกองทัพเรือยะโฮร ฉะนั้นพวกโอรัง ลาอุตจึงเปนพันธมิตรที่

ใหความสําคัญในการปกปองและดูแลการคาของเจานาย เดิมทเีจานายของชนเผาน้ีก็คือชาวมะละกา ดังน้ันสุลตาน

มาหมุดจึงตองการชนเผานี้เปนพรรคพวกในการสูรบกับชาวโปรตุเกส โดยชนเผาโอรัง ลาอุตเปนชนเผาที่ชํานาญ

การสูรบและคอยไลลาพอคาในนานน้ําจนเปนที่เกรงกลัวของพอคาโดยท่ัวไป20แมร่ี ซี เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 96 – 97.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

50

จากน้ัน สุลตานมาหมุดไดหนีไปยังกัมปารและสิ้นพระชนมที่นั่น ตอมาตวนฟาติมะหชายา

หมายของพระองคทรงเกลี้ยกลอมขาราชการชั้นผูใหญใหเลือกโอรสของนางคือ อาลาอุดดิน รีอายัต

ชาห เปนผูสืบราชสมบัติแทนมุซัฟฟารโอรสองคใหญของสุลตานมาหมุด และใหมุซัฟฟารไปดํารง

ตําแหนงสุลตานองคแรกของเประ ประวัติศาสตรมะละกาชวงเวลาน้ีจึงกลายเปนเร่ืองราวของ

สุลตานมุซัฟฟารและสุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาหเพราะทัง้สององคนี้ตางไดสรางเมืองหลวงใหม

และทรงรักษาระบบสุลตานใหคงอยูโดยนํามาใชกับเศรษฐกิจและสังคมของชาวมุสลิม ตัวอยางเชน

สุลตานมุซัฟฟารทรงสรางเมืองหลวงที่ชวงกลางของแมน้ําเประเมื่อประมาณ ค.ศ. 1529 และทรง

นําเอาระบบการปกครองของมะละกามาใช21 แสดงใหเห็นวาสุลตานมุซัฟฟารตองการฟนฟูจารีต

ประเพณีดั้งเดิมของมะละกาซึ่งเปนรากฐานของเศรษฐกิจของมลายูอีกชวงสมัยหนึ่ง สวนสุลตานอา

ลาอุดดิน รีอายัต ชาหซึ่งปกครองรัฐยะโฮรตอมาก็ไดสรางเมืองหลวงใหมริมฝงแมน้ํายะโฮร เมือง

หลวงใหมนี้ไมใชทําเลการคาที่ดีนักแตมีเสนทางที่ใชหนีภัยไดเมื่อยามวิกฤติ จากศูนยกลางแหงนี้

ชาวมลายูไดออกรังควานการเดินเรือของชาวโปรตุเกสและแอบวางแผนทําการจลาจลในมะละกา

เพื่อใหโปรตุเกสทําการคาไดไมสะดวก ดังนั้นโปรตุเกสจึงพยายามยุติปญหาดวยการทําลายยะโฮร

ใน ค.ศ. 1535 ชาวโปรตุเกสไดเผาเมืองยะโฮรจนเรียบเปนหนากอง แตชาวเมืองยะโฮรไดหนีขึ้นไป

ทางเหนือและสรางเมืองใหมขึ้น แตปตอมากองทหารโปรตุเกสก็ไดบุกทําลายอีกครั้ง แตถึงอยางไร

ชาวมลายูก็รวบรวมกันไดอีกครั้งในทศวรรษ 1540 ชาวมลายูไดสรางเมืองหลวงที่ยะโฮรลามา

(Johor Lama) หางจากปากแมน้ํายะโฮรไป 15 กิโลเมตร ดังนั้นความตอเนื่องของประวัติศาสตรมะ

ละกาในชวงเวลานี้จึงสามารถศึกษาไดจากการสถาปนารัฐยะโฮรของสุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต

ชาหและการสถาปนารัฐเประของสุลตานมุซัฟฟารที่แสดงถึงระบบการเมืองและการคาเชนเดียวกับ

มะละกาในสมัยสุลตานมาหมุดแหงมะละกา

สรุปไดวาแมการสูญเสียมะละกาจะทําใหอํานาจทางเศรษฐกิจของมลายูไดรับความ

กระทบกระเทือนแตการสูญเสียดังกลาวก็มิไดทําลายฐานะและบทบาททางการเมืองของมลายูใน

ภูมิภาคน้ี22 ดังที่เห็นไดจากการพยายามรวบรวมกําลังคนในการสรางเมืองและการสูรบกับชาว

โปรตุเกสมีอํานาจตอรองสูง และเปนปญหาที่ทําใหโปรตุเกสครอบครองอํานาจไมไดสมบูรณ

แบบ23 เพราะการรวมตัวของชาวมลายูในภูมิภาคน้ีแข็งแกรงและยังมีผูสืบทอดทางสายเลือดที่

21เร่ืองเดียวกัน, 98.22M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague Martinus Nijhoff: Netherlands, 1962), 67.23C. R. Boxer, Portuguese Conquest and Commerce in Southren Asia, 1500 – 1750 (Newcastle :

Variorum, 1985), 128.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

51

หลงเหลือมาจากราชสํานักมะละกากอนการครอบครองของโปรตุเกส กลุมคนเหลานี้เปนผูที่ทําให

การปกครองระบบสุลตานกลับมามีอํานาจอีกคร้ังหน่ึงภายใตดินแดนยะโฮรและเประอีกดวย

เหตุการณเหลาน้ีเปนขอพิสูจนไดชัดเจนวา อํานาจของสุลตานมีผลตอสังคมมุสลิมเปนอยางมาก

ในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอยางยิ่งสุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาหในยะโฮรซึ่งเปน

สุลตานที่มีความสามารถ ทรงทําใหรัฐมลายูอ่ืนๆ ยอมรับอํานาจของยะโฮร เชน กัมปาร ลิงกา

อินทรคีรี เซียะ และปะหังก็หันมาสามิภักดิ์ดวย อํานาจของยะโฮรเติบโตขึ้นเรื่อยมาตั้งแตทศวรรษ

1540 เปนตนมา นอกจากน้ีการหาพันธมิตรดวยการอภิเษกสมรสยิ่งย้ําใหฐานการปกครองมลายู

เขมแข็งมากข้ึน เพราะการสรางพันธมิตรกับรัฐที่เปนเมืองขึ้นเปนการสรางฐานอันมั่นคงสําหรับการ

สรางอาณาจักรขึ้นมาใหม สุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาห ทรงเปนตัวอยางในเรื่องของการแสดง

ความเคารพที่ถูกแบบแผนและการแสดงความสัมพันธระหวางข ากับเจา โดยเนนเ ร่ือง

ขนบธรรมเนียมและเรื่องผูสืบทอดตําแหนงตางๆ ตามแบบแผนของการปกครองระบบสุลตานมะ

ละกาอีกดวย สงผลใหยะโฮรมีความเขมแข็งทั้งทางดานการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจภายใต

ผูนํามุสลิม24

ยอมเปนที่เขาใจไดวาชาวโปรตุเกสที่มะละกาจําเปนตองเปดศึกสงครามกับยะโฮรเพราะ

ผูนํายะโฮรเปนกลุมคนกลุมเดียวกันในมะละกาเดิมและรัฐยะโฮรกําลังขยายฐานอํานาจทางการ

ปกครอง ซึ่งกระทบกระเทือนตอระบบเศรษฐกิจและการคาของโปรตุเกส รวมทั้งยังกอกวนและ

สรางปญหาตอการปกครองในมะละกาของโปรตุเกสดวย แตทวาการเปนปฏิปกษกับยะโฮรยังไมได

สรางความหนักใจใหกับโปรตุเกสมากเทากับการเติบโตของรัฐอะเจะหที่กําลังรุงเรืองขึ้นบนเกาะสุ

มาตรา โดยรัฐนี้มคีวามตองการที่จะสืบทอดมรดกทางเศรษฐกิจและการเมอืงแบบมะละกาแทนที่มะ

ละกาและชวงชงิความเปนใหญทัง้กับโปรตุเกสที่มะละกาและกับรัฐยะโฮร

ข. การข้ึนมามีอํานาจของรัฐอะเจะหและความขัดแยงสามฝายระหวาง

โปรตุเกส-มะละกา รัฐยะโฮรและรัฐอะเจะหในคริสตศตวรรษท่ี 16

อะเจะหมีชื่อเสียงโดงดังข้ึนอยางรวดเร็วเม่ือตนคริสตศตวรรษท่ี 16 รัฐเล็กๆ นี้สามารถผลิต

พริกไทยไดบาง แตสวนใหญดํารงชีวิตดวยการเปนโจรสลัด การลมสลายของมะละกาเปนการ

กระตุนใหผูปกครองอะเจะหที่เปนมุสลิมทําตนเปนผูนําในการตอตานชาวโปรตุเกสผูรุกราน โดย

การนําของสุลตานอาลี มูคายัต ชาหแหงอะเจะห ทรงนํารัฐใกลเคียงขับไลชาวโปรตุเกสจากเปดีร

และปาไซใน ค.ศ. 1524 หลังจากนั้นอาณาจักรเล็กๆ ทางตอนเหนือของสุมาตราไดรวมกันเปน

24แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 99.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

52

อาณาจักรอะเจะหเบซาร (Aceh Besar) หรืออะเจะหใหญ ทําใหพอคามุสลิมเปนจํานวนมากถูกชัก

จูงใหไปทําการคากับเมืองทาตางๆ ของอะเจะห ทําใหอะเจะหมั่งคั่งยิ่งขึ้นและมีประชากรมากขึ้น

เมืองหลวงที่บันดารอะเจะหเปนที่ที่มีทําเลเหมาะสมสําหรับแลนเรือและเทียบเรือเจาจอดเลียบฝง

ทะเลตะวันตกของสุมาตราไปยังชองแคบซุนดา โดยที่อะเจะหไดพัฒนาเสนทางนี้ขึ้นมาเพื่อเลี่ยงมะ

ละกาของโปรตุเกส ในปลายทศวรรษ 1520 อะเจะหไดขัดขวางความพยายามของชาวโปรตุเกสที่จะ

ควบคุมชองแคบซุนดาและสถาปนาความสัมพันธกับบันตัมในชวาตะวันตกเพื่อใหสามารถ

ครอบครองเสนทางการคาที่กําลังทวีความสําคัญเรื่อยๆ นอกจากนี้อะเจะหยังไดรวมมือกับรัฐจาปา

ราและรัฐสุลตานของชวาทางเหนือเพื่อหาผลประโยชนจากการคาของหมูเกาะโมลุกกะ

ในสมัยของสุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาห อัล-กาฮารแหงอะเจะหไดครองราชยบังลังกอัน

ยาวนานตั้งแต ค.ศ. 1537 ถึง ค.ศ. 1571 พระองคเปนผูกลาหาญ เขมแข็งและกาวราว ทรงไดขยาย

อํานาจของรัฐอะเจะหลงไปทางตอนใตของสุมาตรา พระองคไดทรงนําความรูสึกเปนปรปกษกับ

โปรตุเกสไปสูมะละกาและไดทําการสูรบกับโปรตุเกสตลอดรัชสมัยของทาน ความหวัง

ของอะเจะหคือตองการทําลายอํานาจของชาวโปรตุเกสและความเปนไปไดที่จะทําลายอํานาจของ

ชาวโปรตุเกสไดน้ันคือตองรวมมือกันระหวางอะเจะหกับยะโฮรในการตอตานโปรตุเกส แต

ความหวังนี้ไรผลเพราะความทะเยอทะยานของอะเจะหที่ทําใหรัฐมุสลิมทั้งสองนี้ตองขัดแยงกันเอง

รัฐอะเจะหมีความตองการที่จะเขามาแทนที่ยะโฮรโดยพยายามจะสืบทอดรูปแบบการคา

แบบมะละกาในกลุมมุสลิม ทําการจัดตั้งกลุมขาราชการตําแหนงตางๆ และวางระเบียบแบบแผนใน

สังคมมลายูเฉกเชนเดียวกับมะละกาในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 อะเจะหมีความทะเยอทะยานที่จะ

ควบคุมการคาและเศรษฐกิจในกลุมมุสลิมใหขึน้ตรงกับอะเจะห จึงพยายามขยายอาณาเขตและขยาย

อํานาจลงไปทางใตของเกาะสุมาตรา ซึ่งรัฐในบริเวณนั้นถือวาเปนประเทศราชของยะโฮร ความ

ขัดแยงในกลุมมุสลิมดวยกันและเปนชองวางที่ทําใหโปรตุเกสรอดพนจากการคุกคามของกลุม

มุสลิมในขณะที่กําลังปกครองมะละกาในชวงที่กําลังเสียทาแตกลับยืนหยัดไดใหมทุกครั้งเพราะรัฐ

มุสลิมทั้งสองมาขัดแยงกันเอง25

เหตุการณของความขัดแยงเร่ิมตนจากกองเรือของอะเจะหไดยกไปตีอารู ลมรัฐบาลและ

สังหารผูปกครองเสีย ราชินีหมายของผูปกครองอารูไดขอความชวยเหลือจากยะโฮร สุลตานอาลา

อุดดิน รีอายัต ชาหแหงยะโฮรไดทรงอภิเษกสมรสกับราชินีหมายองคนี้ และไดทรงสงกองเรือไป

25Sunjay Subrahmanyam, “Commerce and Conflict: Two Views of Portuguese Melaka in the 1620s,”

Journal of Southeast Asian Studies, Vol. XIX, No. 1 (1988) : 68.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

53

รบชนะชาวอะเจะหที่ปากแมน้ําปาไซโดยไดรับการสนับสนุนจากซียัก26ซึ่งเปนเมืองขึ้นของยะโฮร

ตอจากนั้นไดสถาปนาราชวงศเดิมขึ้นปกครองอารูอีกครั้งหนึ่ง เหตุการณครั้งนี้เปนจุดเริ่มตนของ

ความขัดแยงระหวางรัฐอะเจะหกับยะโฮรซึ่งกินระยะเวลานานหนึ่งศตวรรษ โดยที่อาณาจักรฝายใต

ของยะโฮรตกเปนฝายต้ังรับโดยตลอดในขณะท่ีอะเจะหมีอํานาจและความทะเยอทะยานทาง

การเมืองมากขึ้น

เนื่องจากสุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาห อัล-กาฮารแหงอะเจะหทรงเปนผูนําในการทํา

สงครามศาสนาอิสลามอันศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเปนผูนําในการชักจูงชาวมินังกะเบาแหงสุมาตรากลาง

ซึ่งนับถือผีสางเทวดาเทานั้นมานับถือศาสนาอิสลามได พระองคจึงทรงอางอํานาจเหนือเมืองทาคา

พริกไทยของสุมาตราเหนือและชุมชนชาวมินังกะเบาที่มีการผลิตทองคํา ในชวงกลางคริสตศตวรรษ

ที่ 16 อะเจะหเปนศูนยกลางการคาสําหรับพอคาชาวอินเดียและชาวอาหรับที่เปนมุสลิมดวยกัน

อะเจะหยังเปนศูนยกลางที่เขมแข็งที่สุดของศาสนาอิสลามในกลุมเกาะนี้ และเพื่อเนนความสําคัญ

ดังกลาวสุลตานแหงอะเจะหไดทรงยอมรับอํานาจของออตโตมัน รวมทั้งจางทหารรับจางมาจาก

ประเทศตุรกีเพื่อใชในการโจมตีมะละกา

ถึงแมวายะโฮรเกลียดชังและแคนเคืองชาวโปรตุเกสก็ตามที แตก็ยังกลัวความทะเยอทะยาน

ของชาวอะเจะหมากกวา และความขัดแยงพื้นฐานในเร่ืองผลประโยชนมีนํ้าหนักมากกวาการมี

ความรูสึกรวมกันในทางเชื้อชาติและศาสนา ในการโจมตียะโฮรครั้งแรกของชาวอะเจะหไดทําลาย

ยะโฮรลามาและเชิญเชื้อพระวงศทั้งหมดไปประทับที่อะเจะห สุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาห

สิ้นพระชนมลง ณ ที่นั้น อะเจะหไดสงโอรสของสุลตานอาลาอุดดิน รีอายัต ชาหซึ่งมีพระนามวา

สุลตานมุซัฟฟาร ชาหมาปกครองยะโฮร แตผูปกครององคใหมนี้ไดทรงสลัดอํานาจของอะเจะหเสีย

ในทันที ใน ค.ศ. 1567 ไดทรงสงคนไปชวยมะละกาในการตอตานการโจมตีของอะเจะห อีกครั้ง

หนึ่งที่กําลังรบอะเจะหจํานวนกวา 20,000 คน ไมสามารถทําลายปอมที่มะละกาได ชาวอะเจะห

เหลาน้ีจึงไดหันมาโจมตียะโฮรเปนการลางแคนที่สุลตานมุซัฟฟารเอาใจออกหาง ใน ค.ศ. 1570

กองทัพของอะเจะหเผาทําลายถิ่นฐานบานเรือนของชาวมลายูตลอดฝงแมน้ํายะโฮร ทําใหสุลตานมุ

ซัฟฟารตองทรงหลบหนีไปยังเมืองเซอลูยุตที่อยูทางตนน้ํา27

26ดี. จี. อี. ฮอลล, ประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต : สุวรรณภูมิ-อุษาคเนยภาคพิสดาร (1-2), แปล

โดย วรุณยุพา สนิทวงศ ณ อยุธยา และคณะ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร,

2549), 262.27Sunjay Subrahmanyam, “Commerce and Conflict: Two Views of Portuguese Melaka in the 1620s,”

Journal of Southeast Asian Studies, Vol. XIX, No. 1 (1988) : 70.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

54

ยะโฮรมีเวลาฟนตัวเล็กนอยเม่ืออะเจะหหันไปทําสงครามกับชาวโปรตุเกสอีกครั้งหนึ่ง ใน

ค.ศ. 1571 ผูบัญชาการชาวโปรตุเกสที่มะละกาไดรับเลื่อนฐานะขึ้นเปนผูวาราชการ และเมืองกัวได

สงกําลังเสริมพรอมดวยคําสั่งใหกําจัดอันตรายจากอะเจะห แตสงครามก็ยือเยื้อตอไปอีกถึง 20 ป

โดยที่อะเจะหเปนฝายรุกรานเกือบตลอดเวลาถึงแมจะไมสามารถทําลายปอม อา ฟาโมซาได การ

คุกคามของชาวอะเจะหในสุมาตราและคาบสมุทรมลายูไดชวยใหชาวโปรตุเกสกับชาวมลายูรวมกัน

ไดชั่วระยะเวลาหนึ่ง ใน ค.ศ. 1582 ชาวโปรตุเกสไดชวยยะโฮรขัดขวางการโจมตีจากอะเจะห และ

สุลตานอับดุล จาลลิ รีอายัต ชาหแหงยะโฮรไดเสด็จเยือนมะละกาเพื่อขอบคุณชาวโปรตุเกส นับเปน

สมาชิกองคแรกแหงราชวงศมลายูดั้งเดิมที่ไดทรงเหยียบแผนดินมะละกา แตมิตรภาพครั้งนี้ก็รวง

โรยไปอยางรวดเร็ว ใน ค.ศ. 1587 ยะโฮรไดยกทัพบกและทัพเรือเปนทัพใหญไปโจมตีชาว

โปรตุเกส มะละการอดพนจากอันตรายมาไดอีกครั้งหนึ่งก็เพราะมีกําลังเสริมมาจากเมืองกัว และ

เพื่อเปนการตอบโตชาวโปรตุเกสไดใชกองทัพจากเมืองกัวนี้เองไปทําลายยะโฮรลามา เมืองยะโฮร

ลามาถูกปลนสะดมและถูกเผาจนราบเปนหนากลอง ประชาชนตองหนีขึ้นเหนือไปยังเมืองบาตูซา

วาร และตองใชเวลาหลายปกวายะโฮรจะฟนขึ้นมาจากหายนะในครั้งนั้น28

แมวายะโฮรกับรัฐอะเจะหจะมีความขัดแยงซึ่งเกิดจากการแยงชิงความเปนใหญในหมูชาว

มุสลิม แตความเจริญเติบโตของรัฐพื้นเมืองทั้งสองรัฐก็ทําใหวัฒนธรรมมลายูมุสลิมสามารถแผ

ขยายออกไปไดอยางกวางขวาง ในบริเวณเมืองทาบนสองฝงชองแคบมะละกาและที่ไกลออกไป ยะ

โฮรพยายามอางสิทธิอํานาจเหนือรัฐมลายูอ่ืนๆ โดยนัยที่เปนผูสืบทอดเชื้อสายราชวงศของรัฐ

สุลตานมะละกาที่ลมสลายไปแลว 29 สวนอะเจะหก็สามารถคานอํานาจกับโปรตุเกสไดดีในระดับ

หนึ่งดวยการสงเสริมศาสนาอิสลามอยางจริงจังจนทําใหรัฐตางๆ ในคาบสมุทรมลายูหันมานับถือ

ศาสนาอิสลามและพูดภาษามลายูเพื่อทําการคา และตอตานคริสตศาสนาอยางรุนแรงในชวง

คริสตศตวรรษท่ี 16 นี้ที่เดนกวาเพ่ือนในภูมิภาคน้ี30

ค. บรูไนกับการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตในคริสตศตวรรษท่ี 16

ในคริสตศตวรรษที่ 16 ที่กําลังสับสนและวุนวายที่เกิดจากการขัดแยงในคาบสมุทรมลายู

แตการยึดครองมะละกาของชาวโปรตุเกสก็ไดเปดโอกาสใหมๆ มาใหแกบริเวณชายฝงทะเลอื่นๆ

28Ibid., 71.29บารบารา วัตสัน อันดายา & ลีโอนารด วาย. อันดายา, ประวัติศาสตรมาเลเซีย, แปลโดย พรรณี ฉัตรพล

รักษ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2549), 99.30K. N. Chaudhuri, Trade and Civilisation in the Indian Ocean (London : Cambridge University Press,

1985), 75.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

55

ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ความตองการของชาวโปรตุเกสที่จะผูกขาดการคาบางอยางของเอเชีย

ไมบรรลุผล แตการที่ชาวโปรตุเกสเขามาอยูในดินแดนน้ีก็นํามาซึ่งการขยายกิจกรรมทางการคา

โดยทั่วไป การกระจายสวนแบงทางการคาซึ่งมะละกาเคยผูกขาดมากอน ทําใหประโยชนตกเปน

ของอะเจะหและบรูไน ปตตานีและรัฐสุลตานแหงบันตัมในชวาภาคเหนือที่เปนมุสลิม เชน เดมะก

และจาปารา

บรูไนซึ่งตั้งอยูบนเสนทางการคาหลักระหวางประเทศจีนกับภาคตะวันตกของกลุมเกาะ ได

สถาปนาการคาที่เฟองฟูกับจีนมาเปนระยะเวลาหลายศตวรรษและไดมาตกอยูในอิทธิพลของศรีวิชัย

และมัชปาหิตในเวลาตอมา ชาวจีนไดเอยนาม โป-นี หรือบรูไนมาตั้งแตคริสตศตวรรษที่ 9 และมี

ชุมชนจีนขนาดใหญต้ังอยูที่บรูไนแลวในสมัยที่กองเรือของเจ็งโหยกมาเยือนเมืองบรูไนเมื่อตน

คริสตศตวรรษที่ 15 อองซัมปงพอคาที่มากับคณะสํารวจเหลาน้ีไดสมรสกับธิดาของผูปกครอง

บรูไน เมืองทาแหงนี้เปนศูนยกลางสําคัญในการรวบรวมสินคาตางประเทศ เชน รังนก ซึ่งชาวจีน

นิยมมาก

เมื่อประมาณกลางคริสตศตวรรษที่ 15 อาหวัง อาละก เบอร ตาบาร รายาแหงบรูไน ได

อภิเษกสมรสกับเจาหญิงมุสลิมจากมะละกาและทรงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม บรูไนทําการคา

กับมะละกามาก โดยสงการบูร ขาว ทองคําและสาคูไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งทอของอินเดีย ศาสนา

อิสลามยังคงนับถือกันอยูเฉพาะในบรรดาราชวงศเปนเวลาหลายปจนกระทั่งชารีฟ อาลี ชาวอาหรับ

จากเมืองตาลิฟ ซึ่งสมรสกับหลานสาวของรายาอาหวัง อาละก เบอร ตาบาร กลายเปนผูครองบรูไน

นามวาสุลตานเบอรกัต พระองคไดทรงใหประชาชนชาวบรูไนนับถือศาสนาอิสลาม ทรงสราง

มัสยิดหลายแหงและไดพัฒนาการปกครองที่ไดแบบอยางมาจากมะละกา บรูไนซึ่งเปนศูนยกลาง

การคาที่มั่งคั่งอยูแลว ยิ่งรุงเรืองขึ้นไปอีกหลังจากที่มะละกาเสียแกชาวโปรตุเกส พอคามุสลิม

จํานวนมากชักจูงบรูไนใหปฏิบัติตามธรรมเนียมของตน แตรัฐสุลตานแหงน้ีปฏิบัติตามประเพณี

ของมะละกาที่ยอมใหประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่น ดวยเหตุนี้ทําใหบรูไนเปนที่ที่มี

ประชากรหลากหลายเชื้อชาติและเปนดินแดนที่มีอิสรภาพในการดําเนินชีวิตมากกวาที่อื่นๆ เพราะ

บรูไนไดเนนในเรื่องการคาเปนสําคัญไมไดสนใจในเรื่องการขยายอํานาจและเขตแดน แตมีการ

รักษาธรรมเนียมปฏิบัติด้ังเดิมไวเพื่อเปนการชักชวนพอคามุสลิมจากที่ตางๆ ใหเขามาคาขายกับ

บรูไนมากขึ้นในชวงที่ศูนยกลางที่อื่นๆ เชน ยะโฮรหรืออะเจะหที่กําลังวุนวาย

การที่บรูไนใหอิสระในการนับถือศาสนาจึงเปนผลดีมากกวาผลเสียแมวาบรูไนจะไม

สามารถรวบรวมรัฐตางๆ ใหเขามาเปนพรรคพวกเดียวกันได แตมีผลดีตอการทําการคายิ่งนักใน

สถานการณเชนนี้ เพราะชาวพื้นเมืองในบางทองที่ไมไดตองการนับถือศาสนาอิสลามก็สามารถเขา

มาในอาณาจักรบรูไนได พอคาตางชาติตางก็เล็งเห็นวาบรูไนเปนสถานที่ที่สามารถทําการตอรอง

สำนกัหอ

สมุดกลาง

56

และทํามาคาขายไดดีที่หน่ึงในภูมิภาคน้ี ประเทศจีนก็ใหการสนับสนุนบรูไนเปนอยางดี ทําให

อาณาจักรบรูไนเพียบพรอมในทุกๆ ดานที่มีความสําคัญตอการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต บรูไน

ตางกับอะเจะหในแงที่วายังเปนมิตรกับโปรตุเกส ทําใหชาวตางชาติตางก็พรอมใจกันมาที่นี้เพราะ

บรูไนไมเคยมีการสูรบเพื่อผลประโยชนทางการคาโดยเฉพาะกับพอคาชาวตางชาติ โดยที่บรูไนมี

ผลประโยชนรวมกับโปรตุเกสในการสงเสริมการคากับจีนซึ่งบรูไนจะไมเขาไปยุงเกี่ยวกับการตอสู

เพื่อความเปนใหญในคาบสมุทรมลายูและชองแคบมะละกา

ใน ค.ศ. 1526 บรูไนและโปรตุเกสไดทําความตกลงกันเรื่องการคา และโปรตุเกสไดสราง

สถานีการคาขึ้นที่บรูไนหลังจากที่การคาระหวางโปรตุเกสกับจีนและญี่ปุนแผขยายออกไป บรูไนก็

กลายเปนเมืองทาที่เรือสินคาแวะพักเพื่อเดินทางระหวางมะละกากับมาเกา ชาวจีนที่มาตั้งถิ่นฐานที่

บรูไนเพื่อประกอบการคากับจีนภาคใตและปตตานีจึงมีจํานวนมากขึ้นทุกที ทั้งน้ีบรูไนยังมี

ความสําคัญตอการคาของหมูลุกกะดวย ทั้งนี้เพราะความไมเปนมิตรของจาราปาและเดมะกบังคับ

ใหชาวโปรตุเกสตองหลีกเลี่ยงเสนทางเดินเรือปกติที่ผานทะเลชวามาใชเสนทางสายเหนือที่ยาวกวา

ซึ่งผานซูลูและทะเลสุลาเวสีแทน31 ในชวงเวลานี้ชุมชนชายฝงทะเลของเกาะบอรเนียวเปนจํานวน

มากไดยอมรับนับถือศาสนาอิสลามตามบรูไน และคนพื้นเมืองดั้งเดิมสวนใหญในบรูไนกลายเปน

มุสลิม แตนอกเหนือไปจากถิ่นฐานชายฝงทะเลแลว ศาสนาอิสลามยังไมมีใครนับถือกันนัก และชน

เผากึ่งเรรอนที่อาศัยอยูตอนในยังนับถือผีสางเทวดาอยู จะสังเกตไดวาศาสนาอิสลามปรากฏอยูใน

กลุมผูที่ทําการคาริมฝงทะเลเกาะบอรเนียวในที่เปนเมืองทาตางๆ มากกวากลุมคนที่อาศัยอยูตอนใน

ของเกาะบอรเนียว ขอสังเกตอีกประการของบรูไนที่แสดงใหเห็นวาอาณาจักรบรูไนมีความ

เจริญรุงเรืองจากการคาคือ สัญลักษณของการกินดีอยูดีและมีสถานที่พักผอนหยอนใจจํานวนมาก

เพื่อใหนักเดินทางไดแวะพักผอนกอนออกเดินทางอีกครั้ง บรูไนมีความพรอมที่จะใหบริการการคา

ระหวางประเทศเชนเดียวกับมะละกา วังของสุลตานก็ประดับประดาอยางสวยงามและหรูหรา

ฟุมเฟอย บานเรือนของราษฎรสวนใหญมีขนาดใหญและทําการคาเรียงรายตลอดริมฝงเมืองทาของ

บรูไน ใน ค.ศ. 1579 มีบานเรือนประมาณ 20,000 หลัง มีประชากรประมาณ 130,000 คน นี่คือสวน

หนึ่งตามบันทึกของมาเจลแลน32 แสดงใหเห็นบรูไนมีผลประโยชนในทางการคากับโปรตุเกสเปน

อยางมาก ทําใหอาณาจักรบรูไนขยายตัวดานการคา ประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังเปนอีกสถานที่หนึ่ง

ที่มีบทบาทตอเสนทางการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตในคริสตศตวรรษที่ 16 จนเปนที่ประจักษ

31แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 115 – 116.32แอนโทนี รีด, เอเชียตะวันออกเฉียงใตในยุคการคา ค.ศ. 1450-1680 : เลม 1 ดินแดนใตลม, แปลโดย

พงษศรี เลขะวัฒนะ (เชียงใหม : ซิลคเวอรม, 2548), 75.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

57

ตอสายตาผูคนภายนอกภูมิภาคจนกระทั่งบรูไนขัดแยงกับสเปนซึ่งพยายามจะสถาปนาการปกครอง

ขึ้นในฟลิปปนส33ในตอนปลายคริสตศตวรรษที่ 16 ใน ค.ศ. 1577 ชาวสเปนไดเขามายึดครองบรูไน

ชั่วคราวและเขามาปลนสะดมอีกใน ค.ศ. 1588 และ ค.ศ. 1645 เมื่อประเทศโปรตุเกสตกอยูใน

อํานาจของสเปนใน ค.ศ. 1580 บรูไนก็ขาดพันธมิตรชาวยุโรปไป

ฉะนั้น หาสิบปแรกของคริสตศตวรรษที่ 16 เปนยุคทองของบรูไนเมื่อบรูไนอางอํานาจ

เหนือชุมชนริมแมน้ําตามชายฝงทะเลของบอรเนียวภาคตะวันตกและภาคเหนือ กลุมเกาะซูลูและ

เกาะมินดาเนา ทัง้ไดบงัคับมะนิลาใหสงเครือ่งราชบรรณาการ ดวยวิธีนีบ้รูไนจึงครอบครองเสนทาง

การคาตามแนวฝงทะเลของเกาะบอรเนียวและในหมูเกาะทางทิศเหนือไวได34 อยางไรก็ตาม ในชวง

หาสิบปหลังของคริสตศตวรรษที่ 16 บรูไนตองประสบปญหาตางๆ ที่เกี่ยวของกับโปรตุเกสเพราะ

การคาและเศรษฐกิจของบรูไนขึ้นตรงกับการคาของโปรตุเกสดวย ดังน้ันหากโปรตุเกสกําลัง

ออนแอลง บรูไนก็ออนแอลงดวยเชนกันเพราะเสนทางการคานี้เปรียบไดวาเปนเสนทางการคาที่

เชื่อมโยงระหวางโปรตุเกส บรูไน และจีน แตแลวโปรตุเกสก็ตกอยูในอํานาจของสเปน ทําใหบรูไน

ตองอยูอยางโดดเดี่ยวเพราะเสนทางการคาก็ถูกเปลี่ยนตามไปดวยในครสิตศตวรรษท่ี 17

3.3.3 การขาดระบบบริหารที่ซื่อตรงและมีประสิทธิภาพ

ในตอนแรกของการบริหารจัดการของโปรตุเกสในมะละกานั้นเปนไปอยางมีระเบียบ และ

ความเปนระเบียบนี้เองก็นําไปสูการสรางระบบการคาในเมืองกัวที่เปนกําลังสนับสนุนใหโปรตุเกส

ทํากําไรไดมากจากการคาอยางเปนทางการ แตการขยายการคาอยางรวดเร็วก็นําปญหาสําคัญมาสู

ประเทศเล็กๆ อยางโปรตุเกส และโดยเฉพาะอยางยิ่งกับองคพระมหากษัตริย หลังจากที่พระเจามานู

เอลที่ 1 สิ้นพระชนมใน ค.ศ. 1521 อํานาจของกษัตริยเริ่มเสื่อมลง ในทางทฤษฎีพระมหากษัตริย

ทรงควบคุมการบริหารและการคาโพนทะเลทั้งหมด ตลอดคริสตศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสไมอาจ

เดินทางไปทางตะวันออกไดถาไมไดรับพระราชานุญาต และนักเดินทางกับผูยายถิ่นออกนอก

ประเทศเกือบทุกคนจะออกไปเพื่อปฏิบัติราชกิจหรือศาสนกิจเทาน้ัน ชาวโปรตุเกสหรือชาว

ตางประเทศจะไมไดรับอนุญาตใหคาพริกไทย กานพลู ลูกจันทนเทศ ดอกจันทนเทศ หรือผาไหมซึ่ง

เปนสินคาผูกขาดของพระมหากษัตริย ขาราชการก็ไมไดรับอนุญาตใหคาขายเปนการสวนตัว

ผูปกครองของโปรตุเกสตามเมืองทาตางๆ ของโปรตุเกสในเอเชียรวมทั้งมะละกาพยายาม

นํากฎเกณฑเหลาน้ีมาใชบังคับ แตในทางปฏิบัติจริง กฎเกณฑเหลาน้ีถูกละเมิดอยูเปนประจํา

33ฟลิปปนสในเวลานั้นเปนเมืองขึ้นของบรูไนที่ตองสงเครื่องราชบรรณาการใหแกสุลตานบรูไน34แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 116.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

58

พระมหากษัตริยเองก็ไมทรงมีอํานาจที่จะควบคุมขาราชการโพนทะเลได ทหารและขาราชการพล

เรือนไมไดรับเงินเดือนสม่ําเสมอ จึงมีแรงจูงใจหลายประการที่จะเสริมเงินเดือนอันนอยนิดของตน

ดวยการค าขาย เสีย เอง การบริหารจึงไมมีประสิทธิภาพและมีการฉอราษฎรบั งหลวง

พระมหากษัตริยทรงแตงตั้งขาราชการโดยคํานึงถึงความพอพระทัยเฉพาะบุคคล มักจะไดตําแหนง

เปนบําเหน็จความดีความชอบที่พวกเขาปฏิบัติในประเทศโปรตุเกส ไมมีอัตราขาราชการพลเรือนที่

แนนอน ไมมีระบบการเล่ือนช้ันเล่ือนตําแหนง จึงมีการอิจฉาริษยากันเกิดขึ้นมาก

ต้ังแตปลายทศวรรษ 1520 เปนตนมา รัฐบาลโปรตุเกสไดเผชิญกับความยุงยากและสงคราม

ในอินเดียมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุการณเหลานี้ทาํใหพระมหากษัตริยตองเสียคาใชจายเปนจํานวนมากเพื่อ

สงกองทหารมารบจนตองเปนหนี้สินมากมาย พระมหากษัตริยตองทรงแบกความรับผิดชอบและ

แบกภาระเร่ืองคาใชจายในขณะที่ผลกําไรตกอยูแกขาราชการโปรตุเกสบางคน เพราะถึงแมในระดับ

รัฐ มะละกาจะมีเร่ืองยุงยากและอันตรายมากมายกอน ค.ศ. 1587 แตในสวนของเอกชน ชาว

โปรตุเกสที่อาศัยอยูที่มะละกาสามารถดําเนินกิจกรรมการคาและทํากําไรจากการคาได การแกไข

ปญหาเรื่องงบประมาณที่ใชในการทําศึกสงครามของโปรตุเกสในการควบคุมความเรียบรอยในมะ

ละกานั้น ยังคงดําเนินตอเนื่องตั้งแตทศวรรษที่ 1520 จนกระทั่ง ใน ค.ศ. 1570 พระมหากษัตริย

จําเปนตองเลิกผูกขาดการคาพริกไทยและเครื่องเทศชนิดอื่น โดยการเปดใหพอคาชาวตางชาติเขามา

ทํา อยางไรก็ตาม กษัตริยโปรตุเกสยังสามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชนจากภาษีการคาชนิดนี้อยู

กลาวไดวา ในชวงที่โปรตุเกสปกครองมะละกานั้น โปรตุเกสพยายามที่จะผูกขาดการคาทั้งหมด แต

ก็ไดตระหนักถึงภัยที่จะเขามาถาหากทําการผูกขาดการคา โปรตุเกสเองก็จะไดรับผลกระทบ

โดยตรงจากชาติตางๆ ที่เปนคูคาอยูเดิมของมะละกาที่ไมตองการใหโปรตุเกสควบคุมการคาทั้งหมด

ของมะละกา รวมทั้งดินแดนขางเคียงก็ไมตองการใหโปรตุเกสผูกขาดการคา ซึ่งสะทอนออกมาใน

เร่ืองของการทําศึกสงครามกันบอยคร้ังในดินแดนมะละกาและอินเดียที่โปรตุเกสครอบครอง

ฉะนั้นการที่โปรตุเกสไดมะละกาไวในอํานาจนําความผิดหวังมาสูพระมหากษัตริยของโปรตุเกส

ชวง 50 ปหลังของคริสตศตวรรษ มีการยักยอกและการทุจริตในบรรดาขาราชการเปนเรื่อง

อึกทึกครึกโครมจนรัฐบาลโปรตุเกสตองประกาศหามขนถายเครื่องเทศที่มะละกา แตเมืองทานี้ก็

ไดรับผลประโยชนจากการที่ชาวโปรตุเกสเปดการคาขายขึ้นในจีนและญ่ีปุน35 และจากการคาที่

กําลังเฟองฟูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งเปนสวนที่พระมหากษัตริยมิไดทรงเกี่ยวของดวย

ในขณะที่เมืองทาหลายแหงเติบโตขึ้นเปนคูแขงของมะละกา เมืองทาเหลานั้นไดชวยกระตุนใหมี

การคาเกิดขึ้นในกลุมเกาะ ซึ่งชวยนําผลประโยชนมาสูมะละกาโดยทางออมดวย

35Philip D. Curtin, Cross- Cultural Trade in World History (London : Cambridge University Press.

1984), 148.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

59

จากการศึกษาถึงสาเหตุที่ทําใหมะละกาภายใตการปกครองของโปรตุเกสไมไดสานตอ

ความเปนเมืองทาศูนยกลางแลกเปลี่ยนสินคา (entrepot center) อยางที่เคยเปนในคริสตศตวรรษที่

15 สามารถสรุปไดวา แมวาโปรตุเกสจะประสบความสําเร็จในการเขาครอบครองและปกครองมะ

ละกา และทําหนาที่เปนผูนําสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใตไปสูตลาดยุโรปไดตามที่หวังไว แต

โปรตุเกสก็ไมสามารถใชมะละกาเปนฐานที่มั่นในการผูกขาดการคาของภูมิภาคน้ีได โดยไม

สามารถควบคุมนานน้ําและแหลงผลิตเครื่องเทศ และไมสามารถกําจัดคูแขงทางการคาไดแกพอคา

มุสลิมออกไปจากบริเวณนี้ได ในทางตรงกันขาม การครอบครองมะละกาของโปรตุเกสกลับกระตุน

ใหเกิดการแตกตัวและขยายตัวของรัฐและเมืองทาพื้นเมือง ซึ่งกลายมาเปนคูแขงและเปนปญหา

สําคัญของโปรตุเกสที่ตองปองกันมะละกาจากการโจมตีของรัฐพื้นเมืองเหลานี้ ความสําเร็จของ

โปรตุเกสจึงถูกจํากัดดวยจุดออนสําคัญที่ทาํใหโปรตุเกสผูกขาดเสนทางการคาไมได และกลับสงผล

ตอการขยายตัวทางการคาของรัฐพ้ืนเมือง ในที่สุด บทบาทของโปรตุเกสเริ่มเปลี่ยนไปในตอนกลาง

คริสตศตวรรษท่ี 16 หลังค.ศ. 1560 การผูกขาดเสนทางของโปรตุเกสลดลงเนื่องจากความสนใจของ

โปรตุเกสเร่ิมเบี่ยงเบนเมื่อเขาไปมีบทบาทในการคาระหวางจีนกับญ่ีปุนจากฐานที่มาเกา ทั้งน้ี

เนื่องจากจีนกับญีปุนขัดแยงกันเรือโจรสลัด แตตางฝายตางตองการสินคาซึ่งกันและกัน จีนตองการ

เงิน ญี่ปุนตองการไหม จึงใชโปรตุเกสเปนตัวกลาง เมื่อสิ้นศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสจะเริ่มเปลี่ยน

สภาพจากกองทัพเรือยุโรปมาเปนหนวยการเมืองที่กลืนเขากับสภาพทางการเมือง-การคาในเอเชีย

ผูสําเร็จราชการที่เมืองกัวหรือขาหลวงที่มะละกาจะเริ่มทําหนาที่อยางเดียวกับผูปกครองเมืองทาเสรี

ของเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใตทํา นั่นคือ พยายามดึงดูดการคา มีการทําความรวมมือกับคน

พื้นเมืองมากขึ้น มีการตั้งชุมชน มีการแตงงานขามเผาพันธุ และลดการเผยแพรศาสนา จึงอาจกลาว

ไดวา การเขามาของโปรตุเกสกอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สงผลกระทบตอวิธีการคาเสรีใน

มหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใตก็จริงแตเปนการเปลี่ยนแปลงที่ไมถาวร

3.4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเมืองมะละกาและชุมชนทีอ่ยูภายใตการปกครองของชาวโปรตุเกส

สําหรับในหัวขอนี้ ผูศึกษาเล็งเห็นถึงความสําคัญตอการวิเคราะหผลที่เกิดขึ้นจากรูปแบบ

การปกครองของโปรตุเกสในมะละกาต้ังแตความพยายามที่จะผูกขาดการคาจนกระทั่งผอนปรน

ภาษีและในที่สุดก็มีการคาอยางเสรีเพิ่มมากขึ้น โดยจะอธิบายผลที่เกิดขึ้นโดยแบงแยกประเด็นที่

เกิดขึ้นในมะละกาชวงที่โปรตุเกสปกครองมะละกาออกเปน 3 ประการคือ

ประการที่หนึ่ง รูปแบบของการปกครองของโปรตุเกสในมะละกาน้ันต้ังอยูบนพื้นฐาน

ความตองการทางดานผลกําไรทางการคาและผลประโยชนในดานตางๆ ที่เกิดขึ้นจากการคามากกวา

สำนกัหอ

สมุดกลาง

60

การครอบครองดินแดนหรือในสวนที่เปนผืนแผนดิน แมจะมีการทําสงครามกับรัฐตางๆในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต แตสงครามเหลาน้ันไมใชสงครามที่ตองการจะขยายเขตแดน เปนสงครามที่

เกิดขึ้นจากความพยายามจะกําจัดคูแขงทางการคา ปกปองเมืองทามะละกาและเสนทางการคาของ

โปรตุเกส หากเปรียบเทียบความทันสมัยทางดานอาวุธยุทโธปกรณและความยิ่งใหญทางกองกําลัง

ทหาร โปรตุเกสยอมมีศักยภาพเหนือกวาดินแดนในบริเวณมะละกาทั้งปวง ดังนั้นหากตองการเขา

ยึดดินแดนตางๆ ใหเปนของตนยอมทําไดงายดาย แตโปรตุเกสไมไดมีทีทาเชนนั้น เพราะโปรตุเกส

เขาใจดีวาดินแดนในคาบสมุทรมลายูและกลุมหมูอินโดนีเซียมีระบบการคาที่สัมพันธกันอยูแตเดิม

ตั้งแตโบราณกาลประกอบกับความสัมพันธกันอยางแนนแฟนในระบบเครือญาติ รวมทั้งศาสนาที่มี

ผลตอระบบการคาในมะละกาและนานนํ้ามลายู โดยเปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไปวา ดินแดนใน

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตเปนดินแดนที่เปดรับวัฒนธรรม อารยธรรมตางๆ แตตองไมขัดแยง

กับระบบการคา การเมืองและพื้นฐานการดําเนินชีวิตของผูคน โปรตุเกสจึงไมมีความตองการ

ดินแดนในที่ตางๆ เพียงแคตองการทําการคาเพื่อผลประโยชนของตน36 ฉะนั้นเราสามารถสังเกตได

จากการสูรบของโปรตุเกสกับมะละกาวามีการโจมตีอยางรุนแรงแคครั้งแรกเพียงครั้งเดียวในการเขา

ยึดที่มั่นในมะละกาในป ค.ศ. 1511 และโปรตุเกสยังเรงรีบในการฟนฟูมะละกาใหกลับมาเปนเมือง

ทาทางการคาอยางรวดเร็วอีกดวย แตหลังจากนั้นก็มีลักษณะกระทบกระทั่งกับชนกลุมมุสลิมเดิม

และกลุมที่เกี่ยวของกับการคาและผลประโยชนทางการผลิตเครื่องเทศในภูมิภาคนี้เปนระยะๆ แตก็

ไมรุนแรงเพราะสวนมากโปรตุเกสจะเปนฝายตั้งรับเสียสวนใหญและใหกองกําลังจากเมืองกัวมา

ชวยรบอีกสวนหนึ่งดวย37 อยางไรก็ตาม ศึกสงครามก็ไมไดสรางปญหาและอุปสรรคตอการคาของ

โปรตุเกสกับเครือขายการคาทั่วโลก เพราะโปรตุเกสยังคงไดรับผลกําไรอยางเต็มเม็ดเต็มหนวย

ตลอดคริสตศตวรรษที่ 16 ดังน้ันมะละกาจึงเปรียบเสมือนดินแดนหลักของโปรตุเกสที่ตอง

ครอบครองดูแลเปนอยางดี โดยที่โปรตุเกสไมเคยพยายามขยายอิทธิพลออกไปจากเมืองมะละกา

พวกเขาสนใจแตเรื่องการคาไมสนใจเรื่องดินแดน และเชื่อวาในการยึดเมืองมะละกาไวไดนั้น พวก

เขาจะไดรับชวงในการคาและการควบคุมเสนทางเดินเรือที่เปนหัวใจสําคัญมาโดยอัตโนมัติ

ถึงแมวาชาวโปรตุเกสจะเห็นวามะละกาเปนกุญแจของการคาทางตะวันออก พวกเขาก็ไมแสวงหา

ผลประโยชนไดอยางเต็มที่ สวนหนึ่งเปนเพราะโปรตุเกสเปนประเทศเล็ก ยังขาดกําลังทางเรือที่จะ

36นิธิ เอียวศรีวงศ, “โปรตุเกส-การเดินเรือ, เคร่ืองเทศ, และศรัทธา,” ใน 500 ป ความสัมพันธสยาม

ประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย 2054 – 2554, เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจําป

2554 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2555), 4.37K. N. Chaudhuri, Trade and Civilisation in the Indian Ocean (London : Cambridge University Press,

1985), 68 – 69.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

61

ตรวจตราการเดินเรือของเอเชีย ไมอาจปราบปรามการลับลอบนําสินคาเขาออกโดยผิดกฎหมาย

หรือปราบปรามโจรสลัดได ฉะน้ันรูปแบบการปกครองของโปรตุเกสในมะละกาจึงมีลักษณะ

หลวมๆ คอยทีคอยอาศัย อนุญาตใหมีการปกครองกันเองได โดยตางฝายตางก็มีผลประโยชน

รวมกันอยูทั้งทางตรงและทางออม

การเขามาของโปรตุเกสสูเอเชียตะวันออกเฉียงใตจึงเปนการเขามาเพื่อควบคุมการคาใน

ลักษณะของพอคาคนหนึ่งในการทําการคากับดินแดนแหงนี้ ไมใชเปนการครอบครองดินแดนใน

แบบอาณานิคม แตเพื่อการคาในเมืองทาการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตที่จะไดมีกําไรจากการทํา

การแลกเปลี่ยนและจะไดนําสินคาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใตสูยุโรป เพื่อหากําไรอีกทอดหนึ่ง ชาว

โปรตุเกสจึงตองการครอบครองนานน้ําเพื่อรักษาผลประโยชนบนเสนทางการคาเครื่องเทศ แตการ

ครอบครองนานน้ํานี้ยังแสดงถึงอํานาจของโปรตุเกสที่ควบคุมนานน้ําแบบหลวมๆ เพื่อใหการคา

ดําเนินตอไปเชนเดิม ไมไดตองการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จ เพียงแคตองการใหกองกําลังทหารเรือของ

ตนไดทําการรักษาความปลอดภัยเพื่อคุมครองการคาของโปรตุเกสในเอเชียเปนอันดับแรก

ตัวอยางเชน การเขายึดครองเมืองทาและสรางปอมปราการในพื้นที่ยุทธศาสตรที่เหมาะสม มี

จุดประสงคเพื่อตองการต้ังกองกําลังทหารเรือเพื่อรักษาความปลอดภัยใหกับเรือเดินสมุทรและ

ตองการสรางความเปนระเบียบบนเสนทางการคาเคร่ืองเทศ อันจะเปนการอํานวยความสะดวก

ใหกับพอคาทั่วไปในการเขามาทําการคาในเมืองทาการคาเพื่อนําไปสูการคาที่สามารถเชื่อมโยงตอ

กันไดทั่วโลกจากตะวันออกสูตะวันตก38

ประการที่สอง การขยายตัวของชุมชนเมืองในมะละกาน้ันสืบเนืองมาจากผลของการ

ครอบครองมะละกาโดยโปรตุเกส ทําใหมะละกาในคริสตศตวรรษท่ี 16 เปนที่รวมของชนชาติตางๆ

ประชากรสวนใหญเปนชาวมลายู โดยมีชาวโปรตุเกสเปนชนชั้นปกครอง และกิจกรรมทางการคา

รวมอยูในมือของชาวโปรตุเกสและชาวจีน ยังมีทาสแอฟริกันเปนจํานวนมากที่ชาวโปรตุเกสสงเขา

มาจากมอมบาซาและโมซัมบีกเพื่อขายใหพวกต้ังถิ่นฐานหรือใชเปนกองทัพ39 ชาวจีนกลายเปน

ชุมชนชาวตางประเทศท่ีสําคัญที่สุดในมะละกาหลังจากที่พอคามุสลิมจํานวนมากยายไปอยูตาม

เมืองทาอ่ืนๆ แลว ชาวจีนไมคอยมีอิทธิพลทางการเมืองหรือสังคมตอชุมชนชั้นปกครองชาว

โปรตุเกสแตมักเขารวมธุรกิจกับเอกชนชาวโปรตุเกส นับจากทศวรรษ 1520 ถึง 1560 โดยประมาณ

38500 ป ความสัมพันธสยามประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตกในอุษาคเนย 2054 – 2554,

เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการประจําป 2554 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร,

2555), 6 – 7.39แมร่ี ซี. เทิรนบุล, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ :

ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 116.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

62

จักพรรดิแหงราชวงศหมิงไดทรงออกกฎเกณฑเขมงวดหามชาวจีนคาขายในนานยาง แตกฎเกณฑ

เหลาน้ีผอนคลายลงใน ค.ศ. 1566 หลังจากน้ันชาวจีนจากฟูเกียนและกวางตุงก็ไดสรางเครือขาย

การคาทั่วทุกเมืองทาของกลุมเกาะนี้ พอคาตางชาติมีความสําคัญมากในเมืองทาทุกแหงในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต และยังมีปฏิสัมพันธกับชาวพื้นเมืองระดับกลางที่ทําการคาเอง เชนที่เมลิงก-

รูลอฟสซ40 (M.A.P. Meilenk-Roelofsz) และนักวิชาการอื่นๆ เคยสรุป สินคาเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตสวนใหญบรรทุกโดยเรือของเอเชียตะวันออกเฉียงใตดวยเงินทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ประชากรในอัตราสวนที่สูงหาเลี้ยงชีพดวยการคาขาย เปนผูสงสินคา ลูกเรือ และผูซื้อขายพืช

เศรษฐกิจ41และผาตางประเทศ42 ซึ่ง “ความเปนตางชาติ” เปนขอไดเปรียบในเร่ืองการคาอยาง

แนนอน โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับการติดตอระหวางประเทศ และทําใหดินแดนมะละกาเต็มไปดวย

ผูคนหลากหลายเชื้อชาติ พอคาตางชาติเหลานี้ตางมีความสัมพันธใกลชิดกับผูครองเมือง และเลน

เกมการเมืองอยางระมัดระวัง มิฉะนั้นแลวก็คงไมสามารถอยูในธุรกิจได43

ในการประเมินบทบาทของชาวยุโรปในยุคการคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีคําถาม

หลัก 2 คําถามคือชาติตะวันตกควบคุมการคาไดจริงหรือไม และชาติตะวันตกสงผลตอโครงสราง

อํานาจของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใตอยางไร ในบทที่ 3 ผูศึกษาตองการอธิบายปจจัยที่ผลักดัน

ใหโปรตุเกสเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ซึ่งมีอิทธิพลตอการเปลี่ยนแปลงระบบการคาโลกใน

ฐานะเปนชาติตะวันตกชาติแรกท่ีเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

จากการศึกษาพบวา การเขามาของชาวโปรตุเกสในเอเชีย ซึ่ง เปนจุดเ ร่ิมตนของ

ชาวตะวันตกในฐานะผูที่บุกเบิกการทําการคากับเอเชีย และการเขาครอบครองมะละกาใน ค.ศ.

1511 เปนปรากฏการณใหมบนเสนทางการคาเคร่ืองเทศ ทําใหโปรตุเกสสามารถทําหนาที่เปนผู

เชื่อมโยงซีกโลกตะวันตกกับตะวันออก โปรตุเกสเลือกมะละกาเปนฐานที่มั่นในการประกอบธุรกิจ

และพยายามควบคุมการคาทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เพื่อผลกําไรในฐานะพอคาคนกลางที่

สงสินคาออกไปสูตะวันตก แตชาวโปรตุเกสยังไมสามารถสรางระบบการคาและการปกครองมะละ

กาไดอยางมีประสิทธิภาพ ทั้งยังไมสามารถผูกขาดเสนทางการคาหรือสรางอิทธิพลทางการเมือง

40M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague Martinus Nijhoff : Netherlands, 1962), 65.41พืชเศรษฐกิจหมายถึงเครื่องเทศ42แอนโทนี รีด, เอเชียตะวันออกเฉียงใตในยุคการคา ค.ศ. 1450-1680 : เลม 1 ดินแดนใตลม, แปลโดย

พงษศรี เลขะวัฒนะ (เชียงใหม : ซิลคเวอรม, 2548), 112.43Sunjay Subrahmanyam, “Commerce and Conflict: Two Views of Portuguese Melaka in the 1620s,”

Journal of Southeast Asian Studies, Vol. XIX, No. 1 (1988) : 63.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

63

นอกเหนือไปจากบริเวณฐานที่ตั้งในมะละกา แมการยึดครองของโปรตุเกสจะทําใหรัฐสุลตานมะละ

กาลมสลายไป แตบทบาททางการเมืองและการคาของรัฐพื้นเมืองในบริเวณคาบสมุทรมลายูและ

กลุมเกาะอินโดนีเซียก็ยังเติบโตอยางตอเน่ือง

ทายที่สุด โปรตุเกสจึงเปนชนอีกเชื้อชาติหน่ึงที่เขารวมในกระบวนการคาของเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต โปรตุเกสทําการคาตามระบบระเบียบที่มีอยูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต และยังได

จายคาธรรมเนียมใหแกผูนําพื้นเมืองเชนเดียวกับชาติอื่นๆ และยังใหการเคารพตอวัฒนธรรมของคน

พื้นเมือง เราสามารถกลาวไดวา ชาวโปรตุเกสเปนพอคากลุมหนึ่งที่เขามาในมะละกาเพื่อทําการคา

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต และไมไดครอบครองดินแดนในมะละกาอยางสมบูรณ เพียงแคสราง

สถานีการคาในที่ตางๆ เพื่อควบคุมการคาเครื่องเทศบนเสนทางการคา44 สิ่งที่โปรตุเกสไดทําขึ้นก็

คือ ปองกันการเดินเรือเดินสมุทรของตนเอง และบังคับใหพอคาชาติตางๆ จายคาเดินทางบน

เสนทางการคาเครื่องเทศ เหมือนกับเปนคาคุมครองในการเดินทางบนเสนทางเพื่อความปลอดภัยใน

การเดินเรือ ซ่ึงไมเคยเกิดข้ึนมากอนบนเสนทางการเดินเรือในนํ้านานเสรี

44R. J. Wilkinson, Papers on Malay Subjects (Singapore : Oxford University Press, 1971), 44.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

64

สำนกัหอ

สมุดกลาง

65

บทท่ี 4

บทบาทของฮอลันดาในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 17

“เราไดเรียนรูวาในการที่จะควบคุมมหาสมุทรสีฟา ผูคนจะตองประกอบการคา

และพาณิชย แมวาบานเมืองของพวกเขาจะกันดาร... ผืนแผนดินทั้งหมดในทองทะเลรวมตัว

กันเปนหนึ่ง และเลี้ยงดูสิ่งมีชีวิตทั้งมวลดวยความรัก ในรุนกอนๆ ชีวิตไมเคยอุดมสมบูรณ

เชนในทกุวันนี้”1

ความตองการสินคาและผลผลิตของเอเชียตะวันออกเฉียงใตเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วโดยเฉพาะ

ผลผลิตเครื่องเทศของหมูเกาะโมลุกกะ ทําใหชวงคริสตศตวรรษที่ 16 เปนตนไปเขาสูระยะเวลาที่

แอนโทนี รีด ใหนิยามไววาเปน “ยุคการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต” การคามีความสําคัญตอ

เอเชียตะวันออกเฉียงใตเน่ืองดวยชัยภูมิพิเศษที่เอ้ือตอการสัญจรทางทะเลและควบคุมเสนทาง

เดินเรือทะเลระหวางจีนซึ่งเปนตลาดการคาสากลที่ใหญที่สุดแหงหนึ่งของโลกกับศูนยกลางการคา

ที่อินเดีย ตะวันออกกลาง และยุโรป เมื่อผลประโยชนที่ไดรับจากการคาทางทะเลเปนที่ประจักษตอ

สายตาชาวยุโรป ก็ทําใหผูคนจากซีกโลกตะวันตกเริ่มใหความสนใจที่จะเดินทางมายังภูมิภาคนี้เปน

จํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด เมืองทามะละกาของชาวมลายูซึ่งเปนศูนยกลางการคาที่สําคัญ

ทางทะเลในคริสตศตวรรษที่ 15 ก็มีอันตองสูญเสียบทบาททางการคาแกชาวยุโรปชาติแรกที่เขามา

ยึดครอง ไดแก โปรตุเกสใน ค.ศ. 1511 (ดังที่กลาวไปแลวในบทที่ 3) ในระยะเวลาตอมา ชนชาติ

ยุโรปชาติอื่นๆ ก็ไดเขามาตั้งหลักแหลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ไดแกสเปนซึ่งตั้งศูนยกลางการ

ปกครองบริเวณหมูเกาะฟลิปปนสอยูที่เมืองมะนิลาใน ค.ศ. 1571 และที่สําคัญคือฮอลันดาซึ่งเขามา

ในตอนตนคริสตศตวรรษที่ 17 โดยเริ่มจัดตั้งเมืองทาปตตาเวียบนเกาะชวา ใน ค.ศ. 1619 ฮอลันดา

จะเขามาเปนผูปกครองมะละกาแทนโปรตุเกสในค.ศ. 1614

ในบทนี้ผูศึกษาตองการอธิบายถึงการปรากฏตัวของชาวฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตมีความหมายตอประวัติศาสตรมะละกาอยางไร เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการและความตอเนื่องทาง

ประวัติศาสตรมะละกาในคริสตศตวรรษที่ 17 ผานการศึกษานโยบายและรูปแบบการปกครองที่

1แอนโทนี รีด, เอเชียตะวันออกเฉียงใตในยุคการคา ค.ศ. 1450-1680 : เลม 2, แปลโดย พงษศรี เลขะ

วัฒนะ (เชียงใหม : ซิลคเวอรม, 2548), 11.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

66

เกิดขึ้นในเมืองทามะละกาภายใตการปกครองฮอลันดา ซึ่งในการศึกษารวบรวมขอมูลเหลานี้จะ

นําไปสูบทที่ 5 ในหัวขอเรื่องการประเมินบทบาทของชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาในมะละกา

คริสตศตวรรษท่ี 16 ถึง 17 ตอไป

ปจจัยพื้นฐานของการเขามาของชาวตางชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้นก็คือ การมุงเขา

แสวงหาความมั่งคั่งจากดินแดนแถบนี้ แตทวานโยบายของชาวโปรตุเกสและฮอลันดาแตกตางกัน

เนื่องจากบริบททางการคาในเวลานั้นตางวาระกัน ทําใหการดําเนินนโยบายของทั้ง 2 ประเทศ

แตกตางกัน ในชวงเวลาน้ี คาบสมุทรมลายูมีความสําคัญตอตลาดโลกในดานเศรษฐกิจที่บรรดา

พอคาทั้งชาวเอเชียและชาวตะวันตกตางเขามาแสวงหาผลประโยชน โดยเฉพาะสินคาเครื่องเทศ

อบเชย และพริกไทยเปนที่ตองการมาก ทําใหชาวตะวันตกที่ตองการสินคาในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 17 แตทําไมเมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 17 น้ี

จึงหมดความสําคัญลงในฐานะเมืองทาการคาที่รุงเรืองที่สุดในคริสตศตวรรษที่ 15 เปนตนมา ซึ่ง

สามารถศึกษาไดจากบทบาทของฮอลันดาในมะละกาวาไดดําเนินนโยบายในการปกครองมะละกา

อยางไร

4.1 การเขาสูเอเชียตะวันออกเฉียงใตของบริษัทสหอินเดียตะวันออกของฮอลันดา

ความสนใจของฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้นเกิดจากความตองการที่จะติดตอกับ

พอคาทองถิ่นในบริเวณชองแคบมะละกาและทะเลชวาดวยตนเอง ฮอลันดาเร่ิมตนเดินทางออม

แหลมกูดโฮปใน ค.ศ. 1595 เพื่อตรงไปยังชองแคบซุนดาและเมืองทาบันเต็น (Banten)ของชวาภาค

ตะวันตก ในระยะแรก ลักษณะการดําเนินการคาของฮอลันดาจะมีการแขงขันกันเองเน่ืองจาก

รัฐบาลของฮอลันดาอนุญาตใหบริษัทเอกชนทั้งหลายดําเนินธุรกิจโดยเสรี แตกตางจากราชสํานัก

โปรตุเกสที่มีการควบคุมการคาของโปรตุเกสในตางประเทศมากกวา ดังนั้น เมื่อเสนทางการคาที่จะ

มาดินแดนแหงนี้ไมเปนความลับอีกตอไปการเขามาของชาวฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมี

การขยายตัวสูงขึ้น2 ชาวฮอลันดาประสบความสําเร็จในการเดินเรือไปคาขายในภาคตะวันออก

บริเวณทะเลชวา ดวยความพรอมของฮอลันดาที่มีเงินทุนไปลงในธุรกิจใหมๆ นอกจากนี้ ฮอลันดา

สามารถนําเทคโนโลยีสมัยใหมมาใชกับเรือเดินสมุทรเพื่อแสวงหาผลประโยชนในนานน้ํา ซึ่งพวก

เขาทําไดดีกวาเรือลาสมัยของชาติตะวันตกอื่นๆ ทําใหชาวฮอลันดามีสวนเกี่ยวของกับการคาโลกที่

เพิม่มากขึน้เปนลําดับ และรัฐบาลฮอลันดาใหการสนับสนนุการเดนิเรือเสรีอยางเต็มที ่ทําใหดนิแดน

2

Leonard Y. Andaya, The Kingdom of Johor, 1641-1728 (Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1975), 26.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

67

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีพอคาฮอลันดาหลากหลายกลุม และยังทําการแขงขันกันเองในธุรกิจ

การคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เกิดการตัดราคากันและการแขงขันทางการคาเชนนี้อาจสงผลทํา

ใหธุรกิจของฮอลันดาในเอเชียพังทลายได ดังนั้น เพื่อยุติการตัดราคาในบรรดาพอคาดวยกันเอง ใน

ที่สุดบริษัทตางๆ ที่เดินเรือเสรีของชาวฮอลันดาก็ไดรับการชักจูงใหรวมตัวกันเขาเปนบริษัทอินเดีย

ตะวันออกของฮอลันดา (United East India Company) ในค.ศ. 1602 และมักเรียกวาบริษัท VOC

ตามช่ือยอของภาษาดัตช

บริษัท VOC สรางความยิ่งใหญโดยการรวมตัวของพอคาชาวฮอลันดา บริษัทนี้ผลักดัน

รัฐสภาและรัฐบาลฮอลันดาออกกฎหมายรองรับการเปนบริษัทแหงชาติอยางเปนทางการเพื่อทําการ

สนับสนุนการผูกขาดการคาเครื่องเทศในภาคตะวันออกบริเวณทะเลชวา ดวยเหตุผลที่วา ผลกําไร

ของการคาเคร่ืองเทศในชวงเวลาน้ันสรางความมั่งคั่งแกประเทศเกิดใหมไดดีกวาการคาสินคา

ประเภทอ่ืนๆ3

นโยบายของบริษัท VOC ซึ่งตามกฎบัตรของบริษัท VOC ถูกกําหนดใหมีอํานาจอธิปไตย

อยางกวางขวาง เชน มีสิทธิที่จะเขารวมทําสัญญาและทําสัญญาเปนพันธมิตร ทําสงคราม เกณฑ

ทหาร สรางปอมปราการ และแตงตั้งผูวาราชการรวมทั้งเจาหนาที่พิจารณาคดีตามกฎหมาย อํานาจ

เหลานี้ควบคูกับเงินทุนในการดําเนินการจํานวนมาก และไดการสนับสนุนจากผูนําระดับสูงในคณะ

รัฐบาลฮอลันดา สวนมากเปนผูอํานวยการบริษัทอีกตําแหนงหนึ่งดวย ทําให VOC เปนองคกรที่มี

ความนาเกรงขามในเอเชีย4 และโครงสรางตามกฎบัตรของบริษัท อนุญาตใหพอคาคนใดที่ตองการ

คาเคร่ืองเทศนําเรือเขามาสมทบกับบริษัทไดตามสะดวก โดยมีเงื่อนไขวารายไดจากการขาย

เครื่องเทศจะตองแบงใหกับบริษัทตามที่ตกลงกัน ซึ่งสวนแบงนี้บริษัทจะนําไปใชจายทางการทหาร

สรางปอมปราการและโรงงานตามเมืองทาตางๆ ตั้งแตแอฟริกาจนถึงหมูเกาะโมลุกกะ จํานวนถึง 76

เมือง โดยที่แตละเมืองทาจะมีสภาการคาคอยทําหนาที่พิจารณาตัดสินความขัดแยงและจัดการกับ

ผลประโยชนของบริษัท โดยมีคณะกรรมการที่บริษัทแมในกรุงอัมสเตอรดัม มีอํานาจตัดสินเด็ดขาด

ในเรื่องนโยบายและทิศทางโดยรวมของบริษัท5 คณะกรรมการที่ไดมานั้นมาจากบริษัทใหญๆ ที่มี

เงินทุนจํานวนมากเขามาบริหารใน VOC ซึ่งเรียกวา เฮียเรน 17 (Heeren XVII) หรือสุภาพบุรุษ 17

3David Bulbeck et al., Southeast Asian Exports since the 14th Century : Clovers, Pepper, Coffee, and

Sugar (The Netherlands : KITLV Press, 1998), 64.4Philip D. Curtin, Cross-cultural Trade in World History (London : Cambridge University Press,

1984), 152.5M. C. Ricklefs, A History of Modern Indonesia since c. 1200, 3rd ed. (Great Britain : palgrave,

2001), 32.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

68

คน เปนผูแทนจากเมืองสําคัญๆ ในฮอลันดา ดังนั้นฮอลันดาจึงเปนชาติตะวันตกชาติแรกที่สามารถ

จัดการการคาบนเสนทางเดินเรือสมุทรในแบบเอกชนที่มีบริษัทสาขาตางๆ กระจายทั่วนานน้ําบน

เสนทางการคาเครื่องเทศ การคาทางทะเลยุคน้ันเปนกิจการที่ใชทุนสูงมาก แตฮอลันดาก็สามารถ

ดําเนินธุรกิจอยางเต็มรูปแบบในฐานะเปนบริษัทขามชาติไดสําเร็จ ซึ่งดําเนินธุรกิจไดอยางมีระเบียบ

แบบแผนมากที่สุด มีบริษัทแมในยุโรปอยูที่อัมสเตอรดัม ในเวลาตอมา ฮอลันดาก็สรางบริษัท

ศูนยกลางการคาของเอเชีย ซึ่งเปนจุดเริ่มตนที่ฮอลันดาเขามาสูดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใตใน

บริเวณทะเลชวาและหมูเกาะเครื่องเทศโดยเลือกเมืองทาปตตาเวียเปนศูนยกลางการคาของเอเชีย

กอนหนาที่ฮอลันดาจะครอบครองเมืองปตตาเวียนั้น ชาวฮอลันดาพยายามหลีกเลี่ยงความ

ขัดแยงและการทําสงครามกับชาวพื้นเมืองในทะเลชวาและชาวโปรตุเกสดวยวิธีการหลีกเลี่ยง

เสนทางเดินเรือในชองแคบมะละกา อยางไรก็ตาม ฮอลันดาก็ไดเริ่มโจมตีดินแดนที่โปรตุเกสมี

อิทธิพลหรือครอบครองเพื่อที่ฮอลันดาจะไดครอบครองดินแดนที่เปนแหลงผลิตเครื่องเทศเสียเอง

เริ่มตนจากการยึดครองอัมบน (Ambon) ซึ่งเคยเปนที่มั่นของโปรตุเกสในหมูเกาะโมลุกกะ ตอดวย

การใชกองเรือที่มีประสิทธิภาพขับไลพวกโปรตุเกสออกไปจากรัฐเตอนาเต (Ternate) ในป ค.ศ.

1605 และขับไลกองทัพเรือสเปนที่เขามาชวยเหลือพวกพอคาโปรตุเกสใหออกไปจากเกาะตีโดเร

(Tidore) ซึ่งตางก็เปนดินแดนในหมูเกาะเครื่องเทศ6 การกระทําเหลานี้ของฮอลันดาเปนการแสดง

ใหเห็นถึงความตองการครอบครองดินแดนที่โปรตุเกสครอบครองหรือมีอิทธิพลอยูเพื่อที่ฮอลันดา

จะไดเปนผูผูกขาดการคาเคร่ืองเทศเสียเอง แตในเวลานั้นฮอลันดายังไมมีเมืองทาหลักเพราะเมืองทา

ตางๆ ในทะเลชวากลับไมตอนรับพอคาชาวฮอลันดาเทาที่ควร บริษัท VOC ซึ่งแตเดิมตั้งถิ่นฐานอยู

ที่บันเต็นทางชวาตะวันตกมาตั้งแต ค.ศ. 1603 จึงไดขยับขยายที่มั่นไปสูบริเวณตอนเหนือของเกาะ

ชวา ไดแกเมืองจารยา กราตา เดิม (Jarya Karta) ซึ่งฮอลันดาเรียกชื่อใหมวา “ปตตาเวีย” ขาหลวง

ใหญคูนเอ็น (Coen) ซึ่งเปนผูนํากองเรือของฮอลันดาตองเขาโจมตียึดครองปตตาเวียในป ค.ศ.1619

เพื่อสถาปนานครแหงนี้เพื่อเปนสํานักงานใหญของ VOC ในเอเชียและกลายเปนเมืองศูนยกลางของ

กิจกรรมตางๆ ของชาวฮอลันดาในเขตตะวันออก7 เมืองปตตาเวียภายใตการปกครองของฮอลันดาดู

จะเจริญล้ําหนามะละกาของโปรตุเกสอยางรวดเร็ว เพราะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตรที่ดีมาก เรือสามารถ

แลนตรงจากแหลมกูดโฮปถึงปตตาเวียโดยผานชองแคบซุนดา โดยไมตองเยี่ยมเยือนมะละกาของ

โปรตุเกสเลย ซึ่งบริเวณนี้เองที่เรือสามารถใชลมสินคาที่มีตลอดปและไมจําเปนตองรอลมมรสุม

6บทที่ 3 การเขามาของดัตชและการกําหนดนโยบาย [Online], accessed 14 พฤษภาคม 2555. Available

from http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Walalak_Sinlapaviloj/Chapter3.pdf 7Nicholas Tarling, The Cambridge History of Southeast Asia Volume Two from c. 1500 to c. 1800

(UK. : Cambridge University Press, 1999), 97.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

69

ทั้งนี้การใชชองแคบซุนดายังยนระยะทางไปเมืองจีนและญี่ปุนอีกดวย8 ฉะนั้นเมื่อขาหลวงใหญคูน

เอ็นสถาปนาเมืองปตตาเวียแลว งานแรกก็คือ การสรางเมืองปตตาเวียใหเปนตลาดกลางสําหรับ

การคาระหวางประเทศในเอเชียดวยกัน และใหเปนศูนยกลางการรวบรวมสินคาสงออกไปยังยุโรป

นโยบายที่เกิดขึ้นในชวงนี้ก็คือ ปกครองเมืองปตตาเวียใหเขมแข็งที่สุด ดําเนินการผูกขาดอํานาจ

การคาในเมืองทาปตตาเวีย และในเวลาตอมา หลังจากที่ฮอลันดาสรางศูนยกลางการคาในเอเชีย

มั่นคงแลว ฮอลันดาก็ตองการครอบครองดินแดนท่ีอ่ืนๆ เพ่ิมเติม

ในเวลาเดียวกันนี้ ชาวฮอลันดาก็เริ่มบดขยี้อังกฤษซึ่งเปนคูแขง บริษัทอินเดียตะวันออกของ

อังกฤษที่จัดตั้งขึ้นในค.ศ. 1600 ซึ่งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษไมมีเงินหนุนหลังและไมมี

การจัดระเบียบโดยรวมอํานาจไวที่ศูนยกลาง การเดินเรือในระยะแรกๆ น้ันบริษัทของอังกฤษได

แลนเรือมายังอะเจะห จัมบีและบันเต็น มีจุดประสงคสําคัญคือแสวงหาพริกไทย แตเมื่อเห็นวาชาว

ฮอลันดาตั้งมั่นอยูในดินแดนนี้แลว พอคาชาวอังกฤษก็พยายามละเมิดการผูกขาดของชาวฮอลันดา

โดยตั้งสถานีการคาขึ้นมาแขงขัน จนในป ค.ศ. 1615 พอคาอังกฤษกับพอคาฮอลันดาก็กอสงคราม

อยางเปดเผย ในป ค.ศ. 1623 ก็ยุติลงดวยการที่ชาวฮอลันดาประหารชีวิตพอคาอังกฤษที่พํานักอยูบน

เกาะอัมบน 10 คนดวยความผิดฐานกบฏ9 ฮอลันดาตองตอสูกับอังกฤษเพราะผลกําไรอันมหาศาลที่

ไดรับจากการคาเครื่องเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้นมีสูงมาก จนกระทั่งประเทศฮอลันดาไม

สนใจในธุรกิจดานอื่นๆ นอกจากการคาเครื่องเทศ ซึ่งฮอลันดาตองการผูกขาดการคาแตเพียงผูเดียว

ตัวอยางเชน ในการลงทุนคร้ังแรกของพอคาจํานวน 6.5 ลานกิลเดอร (guilder) บริษัท VOC

สามารถจายเงินปนผลในระยะเริ่มกอตั้งทุกปๆ โดยเฉลี่ยสูงกวา 10 เทาของราคาหุนเสมอ และจาก

เรือสินคาจํานวน 15 ลํา ไดเพิ่มขึ้นเปน 38 ลําในเวลาเพียง 3 เดือน10 สิ่งเหลานี้ยอมสะทอนใหเห็น

ถึงความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นจากการคาเครื่องเทศวามีมากนอยเพียงใดและทําไมถึงตองขจัดพอคาคูแขง

รายอื่นๆ ออกไปจากธุรกิจการคาเครื่องเทศ ซึ่งความมั่งคั่งจากการคาเครื่องเทศของบริษัท VOC ทํา

ใหเมืองอัมสเตอรดัมกลายเปนศูนยกลางการคาและการเงินของยุโรปและของโลกในคริสตศตวรรษ

ที่ 17 อยางปราศจากของกังขา

ฉะนั้น ในชวงเวลาน้ีฐานะทางเศรษฐกิจของฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีความ

มั่นคงขึ้นมากและมีอํานาจตอรองกับชนพื้นเมืองทั่วๆ ไปในฝงของทะเลชวา เน่ืองจากรัฐบาล

8Ibid., 98. 9M. C. Ricklefs, A History of Modern Indonesia since c. 1200, 3rd ed. (Great Britain : palgrave,

2001), 33.10เอ. อาร. ไอ. พี., ความเจริญและเสื่อมของ VOC [Online], accessed 14 มิถุนายน 2545. Available from

http://arip.co.th/businessnewa.php?id=403091

สำนกัหอ

สมุดกลาง

70

ฮอลันดาไดสงเสริมการคาทางทะเลและใหงบประมาณบริษัททําเรือสินคาเปนเรือรบที่พรอมทําลาย

เมือง ปอมปราการของศัตรูชาติตางๆ จนสามารถสรางอํานาจผูกขาดการคาเครื่องเทศเหนือคูแขงขัน

ไดอยางงายดาย จนในที่สุดก็ถึงคราวที่ฮอลันดาจะโจมตีเมืองทามะละกาที่โปรตุเกสครอบครองอยู

ตอไป

4.2 การยึดครองมะละกาของฮอลันดา

ฮอลันดาจัดไดวาเปนประเทศที่ร่ํารวยมากที่สุดประเทศหนึ่งในเวลานั้น เรือที่เดินทางแลน

เขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้นมีจํานวนมากมายแตเรือของฮอลันดายิ่งใหญกวาชาติใดๆ ดวย

ความเจริญมั่นคงดังที่กลาวมาแลวในเมืองทาปตตาเวียของฮอลันดา ในเวลานี้ การคาในมะละกาก็

เสื่อมลงเรื่อยๆ เพราะชาวฮอลันดาไดดึงพอคาชาติตางๆ เขาสูเมืองทาแหงใหมในทะเลชวาภายใต

การปกครองของฮอลันดา โดยที่โปรตุเกสมีพันธมิตรทีส่ามารถไววางใจไดเพียงเล็กนอย ความเสื่อม

ของมะละกาเปนสิง่ทีห่ลีกเลี่ยงไมได เพราะทันทีที่ฮอลันดาแสดงความเปนเจาทะเล เชน ยึดเรือของ

โปรตุเกสไดที่ปากนํ้ายะโฮรใน ค.ศ. 160311 ชัยชนะเหลาน้ีเปนเคร่ืองยืนยันไดวาฮอลันดามี

ศักยภาพที่เหนือกวาโปรตุเกส รัฐมลายูทั้งหลายก็ไมชวยเหลือโปรตุเกสแตกลับชื่นชมการกระทํา

ของฮอลันดาเพราะรัฐมลายูตางก็เจ็บแคนการกระทําของโปรตุเกสอยู แมวาในระยะแรกที่ฮอลันดา

มาตั้งมั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ฮอลันดาอาจจะไมมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะยึดครองมะละกา แต

การกระทําของโปรตุเกสหลายๆ ครั้งมักจะคุกคามตอการผูกขาดของฮอลันดา ดังนั้น ตราบเทาที่มะ

ละกายังเปนของโปรตุเกส การผูกขาดการคาของฮอลันดาในภูมิภาคน้ีก็จะไมมั่นคงและสมบูรณ

การโจมตีเมืองทามะละกาจึงเปนสิ่งที่จะตองเกิดขึ้นไมชาก็เร็ว

ในทศวรรษ 1630 โปรตุเกสตองเผชิญหนากับความขัดแยงในอินเดีย และการแขงขันจาก

เรือเอกชนท่ีติดอาวุธของอังกฤษและฮอลันดา12 ชวงเวลานี้ จึงเปนโอกาสอันดีที่ฮอลันดาจะรวมมือ

กับยะโฮรและอะเจะหเขายึดครองมะละกา แตฮอลันดาไมเลือกที่จะเปนพันธมิตรกับอะเจะห เพราะ

อาจจะทําใหอะเจะหมีความเขมแข็งทางการทหารมากเกินไป รวมทั้งเห็นวาเปนการเสี่ยงตอการทํา

ใหพริกไทยมีราคาสูงขึ้นมาก ดวยเหตุนี้ชาวฮอลันดาจึงอยากเปนพันธมิตรกับยะโฮรมากกวา ในป

ค.ศ. 1639 ฮอลันดาทําสัญญากับสุลตานแหงรัฐยะโฮร (The Sultan of Johore) เพื่อรวมโจมตีมะละ

11

Peter Borschberg, The Singapore and Melaka Straits: violence, security and diplomacy in the 17th

century (Singapore : NUS Press, 2010), 118.12Lewis, Dianne, Jan Compagnie in the Straits of Malacca 1641-1795 (Ohio : Ohio University Press,

1995), 15.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

71

กา13 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1640 กองทัพฮอลันดายกทัพขึ้นบกและผลักดันโปรตุเกสใหถอยเขาไป

ตั้งมั่นอยูในปอม กองทัพมลายูจากยะโฮรก็ลอมเมืองไว ปองกันไมใหคนภายนอกสงเสบียงอาหาร

เขาไปในเมือง ยะโฮรก็ใหการสนับสนุนฮอลันดามากในการโจมตีครั้งสุดทาย ในเดือนมกราคม

ค.ศ. 1641 ฮอลันดามีทหารสมบูรณไมถึง 700 คน แตทําใหโปรตุเกสพายแพได เพราะการรวมมือ

กันระหวางยะโฮรกับฮอลันดา โปรตุเกสตองสละมะละกาในเดือนมกราคม ในเวลาเดียวกันน้ัน

สุลตานอะเจะหองคสุดทายทายก็ไดสิ้นพระชนมลงเชนกันในเดือนกุมภาพันธ ค.ศ. 1641 และผูที่

ปกครองอะเจะหตอมาเปนสตรีซึ่งไมมีความเขมแข็งเทาสุลตานองคที่ผานมา14 หมายความวายะ

โฮรไดรอดพนจากศัตรูทั้งสองคือ อะเจะหและโปรตุเกส ที่คุกคามยะโฮรมามากกวาศตวรรษหนึ่ง

ฉะนั้นในชวงกลางคริสตศตวรรษที่ 17 บริเวณคาบสมุทรมลายูและชองแคบมะละกาจึงเปนบริเวณ

ที่ยะโฮรสามารถขยายอํานาจได ยะโฮรจึงกาวขึ้นมาทําหนาที่รัฐสุลตานมลายูและเมืองทาการคาของ

ชาวมลายูแทนที่มะละกา และสืบสานแนวคิดทางการเมืองของชาวมลายู ความสําคัญของศาสนา

อิสลามและการจัดระเบียบทางการเมืองและสังคมของชาวมลายูในโลกมุสลิมในเวลาตอๆ มา15

เหตุผลสําคัญที่ฮอลันดาตองเขายึดมะละกาท้ังที่จริงฮอลันดายึดมะละกาไวก็ไมไดใช

ประโยชน สามารถอธิบายได 3 ประการคือ

ประการแรก ฮอลันดาตองการยึดมะละกาเพื่อควบคุมผลประโยชนทางการคาและรองรับ

เสนทางการคาเสนทางใหมภายใตบริบทการคาโลก กลาวคือเสนทางที่ผานชองแคบซุนดาตรงเขาสู

เมืองทาปตตาเวีย พอคาตางชาติก็สามารถเดินทางไดดีอยูแลว แตอยางไรก็ตามเสนทางการคา

เครื่องเทศที่ตองผานชองแคบมะละกายอมจําเปนตอการเดินเรือทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นเมื่อโปรตุเกส

ครอบครองมะละกาแตกลับทําใหชองแคบมะละกาเสื่อมลงและจํานวนพอคาลดนอยลง แตพอคา

บางรายยังไมกลาทีจ่ะเดินเรือมายังปตตาเวียโดยใชเสนทางอื่นๆ ทําใหจํานวนพอคาที่มายังปตตาเวีย

ยังไมมากเทาที่ควร ฉะนั้นถาเปดเสนทางเดินเรือผานชองแคบมะละกาอีกครั้งมุงสูปตตาเวียก็จะทํา

ใหจํานวนพอคานักเดินเรือมีมากขึ้น กลาวคือฮอลันดาจะใชแตเสนทางเดินเรือในชองแคบมะละกา

แตดินแดนบนเมืองทามะละกาจะไมใชประโยชน เพราะฉะนั้น จะไมมีการคาขายบนดินแดนมะละ

กาปลอยใหเปนแคดินแดนวางเปลาเพื่อปองกันไมใหชาติใดๆ กอต้ังบริษัทการคาแขงขันกับ

ปตตาเวียของฮอลันดา ดังนั้น ฮอลันดาจึงตองยึดมะละกาจากโปรตุเกสเพื่อรองรับการคาที่เมืองทา

ปตตาเวีย และตองทําจัดการนานน้ําในชองแคบมะละกาเรียบรอยเชนเดียวกับสมัยสุลตานมะละกา

13เทิรนบุล, ซี. แมร่ี, ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน, แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน (กรุงเทพฯ

: ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540), 110.14เร่ืองเดียวกัน, 111.15เร่ืองเดียวกัน, 114.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

72

ทําใหฮอลันดาตองอาศัยการเปนพันธมิตรกับชาวมลายู โดยที่ฮอลันดาเลือกยะโฮรเปนพันธมิตรที่

คอยดูแลนานน้ํามะละกาและดินแดนในมะละกาใหเรียบรอย ซึ่งฮอลันดาไดทําสนธิสัญญากับยะ

โฮรเพื่อรวมมือกันปกปองมะละกาไมใหตกไปเปนของคนอื่น

ประการท่ีสอง คือ ฮอลันดาตองการควบคุมนานน้ําทั้งหมดในคาบสมุทรมลายูใหเปนหนึ่ง

เดียว เพราะการคาที่ฮอลันดาดําเนินอยูนั้น จะอยูในรูปแบบบริษัทการคาที่เต็มรูปแบบและยิ่งใหญ

กวาในสมัยโปรตุเกส ดังน้ันการดําเนินธุรกิจการคาของฮอลันดาจึงตองมีรูปแบบที่เปนที่ยอมรับ

ของพอคาทุกชนชาติ ฉะนั้นฮอลันดาจึงเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตเพื่อยุงเกี่ยวกับการคาเพียง

เร่ืองเดียวแตจะไมยุงเกี่ยวกับการเมือง สังคม และวัฒนธรรมทองถิ่น โดยเฉพาะดินแดนตอนใน

คาบสมุทรเพราะถายุงเกี่ยวกับดินแดนเหลานั้นจะเกิดความยุงยากทั้งดานการปกครองและการทํา

การคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ทําใหฮอลันดาตองการควบคุมนานน้ําในคาบสมุทรมลายูใหเปน

หนึ่งเดียว มะละกาที่ฮอลันดายึดมาจากโปรตุเกสนั้น ฮอลันดาก็จะยึดครองเมืองทามะละกาไวเพื่อ

ปกปองการรุกรานของคนทองถิ่นและชาวตางชาติในบริเวณนั้น เพื่อไมใหคนทองถิ่นโดยเฉพาะ

ชาวมุสลิมเติบโตขึ้นหลังจากโปรตุเกสออกไป ทั้งน้ีเพราะวาชาวมุสลิมสามารถพัฒนาทองถิ่น

ตนเองและรวมกลุมไดอยางรวดเร็วเพื่อรองรับการคาหากโปรตุเกสออกไปแลว ฉะน้ันเพื่อ

ผลประโยชนทางการคาและการปกครองในคาบสมุทรมลายูที่เปนที่ตองการของชาวฮอลันดา

บริษัท VOC จึงตองเขาควบคุมเมืองทามะละกาเพื่อปองกันเสนทางการเดินเรือที่สําคัญที่สุดใน

ภูมิภาคนี้ เนื่องจากผลประโยชนทางการคาอันมหาศาลของฮอลันดา ทําใหฮอลันดาตองเรงพัฒนา

เสนทางการเดินเรือในชองแคบมะละกาท่ีเสื่อมโทรมหลังจากที่ตกอยูภายใตการปกครองของ

โปรตุเกสเพื่อรองรับการเปนผูที่มีบทบาทในการคาระดับโลก ในที่สุดฮอลันดาจึงเขาโจมตีมะละกา

ของโปรตุเกส

ประการสุดทาย ในขณะที่แบบแผนการคาโลกกําลังเปลี่ยนแปลงจากความตองการ

เครื่องเทศมาสูความตองการพริกไทยที่สามารถหาไดจากหมูเกาะตางๆ ทั่วทั้งคาบสมุทรมลายู ทําให

รัฐมุสลิมตางๆ ในเวลานี้เติบโตขึ้นไดอีกครั้ง เนื่องจากอํานาจของสุลตานของรัฐตางๆ ยังคงกระจาย

อยูในพื้นที่ตางๆ กันในคาบสมุทรมลายู ทําใหยากตอการปกครองในรูปแบบการรวมอํานาจเพื่อ

ควบคุมการคาเครื่องเทศและพริกไทย ฉะนั้นเพื่อเสริมสรางอํานาจของฮอลันดาในเวลานี้จําเปนตอง

ควบคุมทั้งสองฝงคือ ทั้งตะวันตก (บริเวณชองแคบมะละกา) และตะวันออก (บริเวณทะเลชวา)

ฮอลันดาจึงใชวิธีการดําเนินนโยบายเพื่อทําใหธุรกิจทั้งสองฝงสนับสนุนเกื้อกูลกัน อาจกลาวไดวา

ฮอลันดาไมตองการใหเกิดศัตรูใหมๆ ในอาณาบริเวณคาบสมุทรมลายู ดังนั้นบริษัท VOC จึงตอง

เขายึดครองมะละกาเพื่อควบคุมอํานาจสุลตานที่ยังคงมีอํานาจในดินแดนตางๆ ไมใหเขามายุงเกี่ยว

ในบริเวณชองแคบมะละกา เพราะในระยะหลังที่โปรตุเกสปกครองมะละกาและไรซึ่งอํานาจ รัฐ

สำนกัหอ

สมุดกลาง

73

สุลตานมลายูก็เร่ิมขยับตัวเพราะวาเร่ิมไมเกรงกลัวอํานาจโปรตุเกส อยางไรก็ตามฮอลันดาก็ไม

สามารถปกครองมะละกาไดดวยตนเองเพราะฮอลันดาตองการปกครองปตตาเวียมากกวา เนื่องจาก

ชวงเวลานี้ปตตาเวียรุงเรืองมาก และไมตองเสียเวลามาพัฒนาเมืองทามะละกาที่ไรชื่อเสียง จึงได

จัดทําสนธิสัญญากับยะโฮรเพื่อใหอํานาจแกยะโฮรดําเนินการปกครองดินแดนตางๆ ในฝง

ตะวันออกทั่วทั้งบริเวณชองแคบมะละกาไดอยางสะดวก แมวาอาจทําใหยะโฮรเติบโตขึ้นเพราะยะ

โฮรมีอํานาจเต็มที่ แตอยางนอยการที่ฮอลันดามีพันธมิตรเปนชาวมุสลิมลายูและอนุญาตใหยะโฮร

ปกครองดินแดนในชองแคบมะละกาไดน้ัน ก็เปนผลดีตอการคาและการดําเนินนโยบายการ

ปกครองหมูเกาะเครื่องเทศเพราะอยางนอยยะโฮรก็ชวยใหฮอลันดาปลอดภัยจากการคุกคามของชาว

มุสลิมและชาวเลทางฝงตะวันออก ทําใหงายและสะดวกตอการดําเนินธุรกิจการคาในเมืองทา

ปตตาเวียที่เปนศูนยกลางการคาในคริสตศตวรรษที่ 17 ซึ่งฮอลันดามักยุงอยูกับการคาในบริเวณ

ทะเลชวาเพียงอยางเดียว ยอมสอดคลองกับความตองการของฮอลันดาที่ตองการซื้อเครื่องเทศที่หา

ไดในหมูเกาะทะเลชวาในราคาท่ีถูกที่สุดเพื่อนําไปขายตอในราคาที่แพง

ฉะน้ัน บริษัท VOC ในฐานะบริษัทตะวันตกที่มาพรอมกับเรือติดอาวุธ ผูบริหารบริษัท

VOC รุนแรกจึงไดประกาศนโยบายวา ไมมีทางที่จะทําการคาไดโดยไมตองทําสงคราม หรือถาหาก

ไมทําสงครามก็ไมมีทางไดทําการคา16 ดังนั้น บริษัท VOC จึงสามารถเขายึดปตตาเวียในป ค.ศ.

1619 ยึดครองมะละกา ในป ค.ศ. 1641 รวมทั้งบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ศรีลังกา นอกจากการยึด

ครองพื้นที่การคาแลว บริษัท VOC ยังพรอมจะใชความรุนแรงเขาจัดการกับคูแขงและคนพื้นเมือง

เสมอมา

4.3 มะละกาภายใตการปกครองของฮอลันดา

อาจกลาวไดวา นโยบายการทําสงครามพรอมการคาเปนองคประกอบสําคัญที่ทําใหบริษัท

VOC ประสบความสําเร็จอยางรวดเร็วตลอดทศวรรษ 1650 บริษัท VOC สามารถผูกขาดการคา

เครื่องเทศ ทั้งกานพลู ลูกจันทรเทศ ดอกจันทรเทศ ซึ่งเปนสินคาที่ไดกําไรสูงมากตามนโยบายซื้อ

ถูกขายแพง (ตารางที่ 2) รวมทั้งเปนตัวกลางในการคาภายในภูมิภาคเอเชีย ต้ังแตเคร่ืองเงินและ

ทองแดงของญี่ปุน สิ่งทอของอินเดีย เครื่องทองและไหมของจีน รวมทั้งการคากับอยุธยา สิ่งเหลานี้

แสดงใหเห็นถึงอํานาจและความสําเร็จของบริษัท VOC ของฮอลันดา นอกจากน้ีกิจการของบริษัท

16

บทที่ 3 การเขามาของดัตชและการกําหนดนโยบาย [Online], accessed 14 พฤษภาคม 2555.

Available from http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Walalak_Sinlapaviloj/Chapter3.pdf

สำนกัหอ

สมุดกลาง

74

ตารางท่ี 2

มูลคาการสงออกกานพลูระหวางอินโดนีเซียกับฮอลันดาในตลาดโลกชวงคริสตศตวรรษที่ 17

(ค.ศ.)

จํานวนการ

สงออกของ

อินโดนีเซีย

(Tons)

ราคาในเอเชีย

ตะวันออก

เฉียงใต

(Dollar/Ton)

มูลคารวม

(Dollars)

ราคากานพลู

ในกรุง

อัมสเตอรดัม

(Dollar/Ton)

มูลคารวมใน

ตลาดโลก

(Dollars)

1600 – 1609 300 700 210,000 6,220 1,866,000

1610 – 1619 300 600 180,000 2,890 867,000

1620 – 1629 450 800 360,000 2,960 1,332,000

1630 – 1639 400 1,000 400,000 2,990 1,196,000

1640 – 1649 308 1,000 308,000 2,330 717,640

1650 – 1659 300 300 90,000 2,850 855,000

1660 – 1669 160 206 32,960 5,140 822,400

1670 – 1679 136 206 28,016 2,980 405,280

1680 – 1689 134 206 27,604 2,900 388,600

1690 – 1699 176 206 36,256 2,870 505,120

ที่มา : David Bulbeck et al., comp., Southeast Asian Exports since the 14th Century : Clovers,

Pepper, Coffee, and Sugar (The Netherlands : KITLV Press, 1998), 58.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

75

VOC ยังไดเปลี่ยนเสนทางประวัติศาสตรของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต เพราะเกิดผลกระทบที่

สงผลตอการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตรภายใตบริบทการคาโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

นับตั้งแตที่ฮอลันดาเริ่มปกครองมะละกาใน ค.ศ. 1641 เปนตนมา เปาหมายของฮอลันดา

ยังคงอยูที่เมืองทาปตตาเวีย และไดทําสนธิสัญญากับยะโฮรในการรวมมือปกปองอาณาบริเวณชอง

แคบมะละกา โดยใหยะโฮรเปนผูดําเนินการปกครองดินแดนตางๆ ได ก็เปรียบไดกับการสรางหุน

เชิดเพื่อดําเนินการปกครอง ใหยะโฮรเปนตัวแทนในการปกครองมะละกาภายใตอิทธิพลของ

ฮอลันดา รัฐสุลตานตางๆ ก็ไมกลายุงเกี่ยวกับยะโฮรมาก เพราะเขาใจดีวายะโฮรมีฮอลันดาหนุนหลัง

อยูเสมอ ฮอลันดาก็ไดผลประโยชนตอบแทนคือ เกิดความเรียบรอยในบริเวณชองแคบมะละกา และ

ชวยประหยัดคาใชจายในการสงกองเรือเขาไปดูแลในบริเวณนานนํ้ามะละกาเพราะยะโฮรใน

ชวงเวลานี้มีความสามารถในการปกครองและรักษาความสงบเรียบรอยไดเปนอยางดี จุดมุงหมาย

ของฮอลันดาในเวลานี้มีเพียงแตเรื่องการคาซึ่งตองสรางผลประโยชนแกบริษัท VOC สถานีการคา

ของฮอลันดาที่มีอยูทั่วภูมิภาคเอเชียจะเกี่ยวของกับเรื่องราวทางเศรษฐกิจ และทํารายงานที่เกี่ยวของ

กับการเมืองทองถิ่นเขามายังปตตาเวียสม่ําเสมอ ดวยเหตุนี้ การตัดสินใจที่สําคัญๆ ทางดานการคา

จึงมีพื้นฐานอยูที่การวิเคราะหขาวกรองดานเศรษฐกิจและการเมืองที่ไดรับมาจากทั่วอาณาบริเวณที่

กวางไกลตั้งแตยุโรปจนถึงเอเชีย สิ่งเหลานี้แสดงใหเห็นวา ฮอลันดามีอํานาจกวางไกลและเปนผูนํา

ในการคาทางทะเลในคริสตศตวรรษที่ 17 เปนตนมา

ดังที่กลาวมาแลววา ฮอลันดาไมไดใชประโยชนอะไรจากมะละกา แลวมะละกาที่ฮอลันดา

ปกครองอยูนั้นจะมีไวเพื่ออะไร Arun Das Gupta ไดกลาวไววา ภายหลังที่ฮอลันดายึดมะละกาจาก

โปรตุเกสไดแลว ฮอลันดาก็แทบจะไมเหลียวหลังและไมสนใจมะละกาเลย เพราะธุรกิจการคา

พริกไทยในชวงเวลานี้กําลังสรางผลกําไรใหกับบริษัท VOC ของฮอลันดาเปนจํานวนมาก และ

ฮอลันดาพยายามผูกขาดการคาพริกไทยแตเพียงผูเดียว17 แตก็มีปญหามากมายกับรัฐมุสลิมตางๆ ใน

แถบทะเลชวา ทําใหไมไดเวลาที่จะสนใจมะละกา และในเวลาน้ียะโฮรก็เปนผูดูแลมะละกา

ฮอลันดายอมทําตามสนธิสัญญาที่ทําไวกับยะโฮรเพื่อจะไดไมตองกระทบกระทั่งกับมุสลิมกลุม

อื่นๆ อีก สําหรับ M. A. P. Meilink-Roelofsz และ C. R. Boxer ก็ไดอธิบายไววา แมวามะละกาใน

คริสตศตวรรษที่ 17 จะไมมีความสําคัญเหมือนที่เคยเปนมาในคริสตศตวรรษที่ 15 และ 16 แตก็

ไมใชวามะละกาจะหมดความสําคัญไปในทันที ฮอลันดายังคงใชมะละกาเปนตัวเชื่อมในการ

ปกครองเพื่อไวเชื่อมโยงการครอบครองดินแดนของฮอลันดาเทาน้ัน และก็ไมไดเปนเคร่ือง

17Paul H. Kratoska, South East Asia, colonial history (USA. : Routledge, 2001), 106 – 108.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

76

เชื่อมโยงที่มีคามากที่สุด18 ปตตาเวียเปนเมืองที่มีความสําคัญเปนอันดับแรก เพราะต้ังอยูใน

ศูนยกลางของหมูเกาะใกลกับแหลงเครื่องเทศมากกวามะละกา ชาวฮอลันดาใชชองแคบซุนดาเพียง

เพื่อเนนใหเห็นระยะทางระหวางมะละกากับศูนยกลางการคาของตนกับคาบสมุทรมลายูและสุ

มาตรา โดยเปรียบไดกับวา มะละกาเปนเสมือนหนึ่งดานชายแดนดานการปกครองในชองแคบมะ

ละกาเพือ่สงเสริมความสาํคัญในการผูกขาดการคาของฮอลันดา

ผลการคาของฮอลันดาจากการดําเนินนโยบายการคาที่วาซื้อถูกขายแพง มาจากการที่

ฮอลันดากีดกันคูแขงทั้งหมดออกไปจากการคาเครื่องเทศเพื่อที่วาตนเองจะไดจําหนายเครื่องเทศใน

ยุโรปแตเพียงผูเดียว19 ผลก็คือฮอลันดาตองดําเนินการผูกขาดการคาเครื่องเทศ เมื่อฮอลันดาเปนผู

ซื้อเครื่องเทศในภาคตะวันออกเพียงผูเดียวเชนนี้ ฮอลันดาจึงสามารถเสนอราคาซื้อต่ํา เพราะตอนนี้

ไมมีผูใดซื้อเครื่องเทศนอกจากฮอลันดาเทานั้น เนื่องจากฮอลันดากําจัดคูแขงการคาเสียหมด ฉะนั้น

ฮอลันดาจึงสามารถต้ังราคาตามใจชอบ ดวยวิธีการนี้ฮอลันดาจึงมีกําไรมหาศาล และคริสตศตวรรษ

ที่ 17 จึงเปนยุคทองของฮอลันดา

เพราะฉะนั้น มะละกาจึงเปนกองรักษาดานที่ฮอลันดาเอาไวใชควบคุมพวกพอคาที่ผานเขา

มาทางชองแคบมะละกา อาจกลาวไดวาเปนกองอํานวยการฝายปองกันของฮอลันดา ซึ่งทําหนาที่

ปองกันการคาของรัฐมลายูมิใหเปนคูแขงกับฮอลันดา ฉะนั้น ผลประโยชนของฮอลันดาในรัฐตางๆ

บนดินแดนของคาบสมุทรมลายูจึงมีเพียงเล็กนอย สินคาที่สําคัญที่สุดบนดินแดนเหลานี้ก็คือ ดีบุก

และแมวาผูสงสินคาออกที่สําคัญที่สุดก็คือ เประ แตก็ยังไมสําคัญเทากับการซื้อขายเครื่องเทศของ

ฮอลันดา

ในระยะสี่สิบปแรกของคริสตศตวรรษที่ 17 เประอยูใตการปกครองของอะเจะห และ

ชาวอะเจะหเปนผูรับรองการสงดีบุกออกนอกเมืองเกือบทั้งหมด ใน ค.ศ. 1639 ฮอลันดาไดทํา

สัญญากับอะเจะหวาจะรับซื้อดีบุกที่เประผลิตไดทั้งหมด แตหลังจากนั้นไมนานอํานาจของอะเจะห

เริ่มเสื่อมลง สัญญาจึงใชบังคับเประไมได และยอมเปนเรื่องธรรมดาอยูแลวที่ขายดีบุกใหกับตลาด

เปดดีกวาจะขายใหแกฮอลันดาผูเดียว เพราะถาขายใหตลาดทั่วไปแลวก็จะไดราคาสูงกวา ดังที่ปาก

แมน้ําเประก็ยังมีการขายดีบุกใหกับผูซื้อรายอ่ืนๆ ดวย20

18M. A. P. Meilink-Roelofsz, Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630 (The Hague : Martinus Nijhoff, 1962), 191 – 192.19Ibid., 195.20บารบารา วัตสัน อันดายา & ลีโอนารด วาย. อันดายา, ประวัติศาสตรมาเลเซีย, แปลโดย พรรณี ฉัตร

พลรักษ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2549), 61 – 62.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

77

ในคริสตศตวรรษที่ 17 จะไดเห็นความพยายามของฮอลันดาหลายครั้งหลายหนที่จะเปนผู

ผูกขาดการสงดีบุกของเประพอๆ กับความพยายามของเประที่จะหาลูกคาอื่นๆ จากอะเจะหและจาก

อินเดีย ใน ค.ศ. 1650 ฮอลันดาไดเปดสถานีการคาขึ้นอีกแหงหนึ่งที่ปากแมน้ําเประ แตในปตอมาถูก

พวกโจรชาวเประเขาโจมตีและผูที่อยูในสถานีการคาถูกฆา ฮอลันดาจึงตองทําสนธิสัญญากับเประ

และสรางสถานีการคาขึ้นอีกซึ่งในคราวนี้ตั้งอยูไดนานถึง ค.ศ. 1663 อยางไรก็ตาม ฮอลันดาก็ยังไม

สามารถผูกขาดการคาไดอยางมั่นคง ดังน้ันฮอลันดาไมสามารถนําการคาของเประเขามาอยูใต

อํานาจการควบคุมของตนไดโดยเด็ดขาดตลอดคริสตศตวรรษที่ 1721 และในเวลาน้ีความ

เจริญรุงเรืองของมะละกาก็หยุดลง ซึ่ง ณ เวลาน้ี มะละกาไดตกไปอยูในมือของฮอลันดาผู

ครอบครองปตตาเวีย ฉะนั้น ฮอลันดายอมไมยอมใหมะละกาเปนคูแขงขันของปตตาเวีย อันที่จริง

ฮอลันดายึดมะละกาไว ไมใชจะใชประโยชนเอง แตเพื่อปองกันไมใหผูอื่นไดใชประโยชน22 เมื่อ

ฮอลันดาไดครอบครองเมืองมะละกาแลว มะละกายอมหมดความสําคัญไป ดังนั้นแมฮอลันดาจะยึด

มะละกาไวไดนานกวาศตวรรษครึ่งก็ตาม อิทธิพลที่ฮอลันดามีตอประชากรในคาบสมุทรมลายูก็

นอยกวาอิทธิพลของโปรตุเกส กลาวไดวา เมื่อฮอลันดายึดเมืองทามะละกาไดแลว ฮอลันดาได

ประโยชนจากการคาขายดีบุกเพียงเล็กนอย แตโดยสรุปแลวคือ ฮอลันดาไมไดใชมะละกาใหเปน

ประโยชนในดานการคาและเศรษฐกิจ แลวทําไมบริษัท VOC ยึดครองมะละกาแลวแตกลับไมไดใช

ประโยชนหรือสรางมะละกาใหเปนเมืองทาการคาดังที่เคยปรากฏในคริสตศตวรรษที่ 15 และ 16

สามารถวิเคราะหได 3 ประการดังน้ี

ประการที่หนึ่ง ฮอลันดาสามารถใชอํานาจของตนผูกขาดการคาได และยังมีอํานาจในการ

คุมนานน้ําในคาบสมุทรมลายู แตทวาฮอลันดาไมยอมใชอํานาจทั้งหมดจัดการบนดินแดนในบริเวณ

ชองแคบมะละกา เพราะฮอลันดาไมตองการขัดแยงกับสุลตานยะโฮร ฉะนั้นการที่ฮอลันดาไมนํา

การคาดีบุกของเประเขามาอยูใตอํานาจการควบคุมของตนก็เปนเพราะฮอลันดาเคารพในสัญญาที่ทํา

กับยะโฮร เพื่อที่ยะโฮรจะไดปกครองพื้นแผนดินมะละกาและจะไดไมตองขัดแยงกันเร่ือง

ผลประโยชนในบริเวณชองแคบมะละกา ยะโฮรไดดูแลรักษาดินแดนในภาคตะวันตก สวนฮอลันดา

จะดูแลดินแดนในภาคตะวันออก ทั้งสองฝายตางรวมมือกันเปนอยางดี แมวาจะไมอยากทําสัญญา

รวมมือกันก็ตาม แตทั้งยะโฮรและฮอลันดาในเวลาน้ันตางก็ไมมีทางเลือกจึงตกลงกันเพื่อ

ผลประโยชนทั้งสองฝาย ตามที่ Peter Borschberg ไดกลาวไววา การทําสัญญาระหวางฮอลันดากับ

ยะโฮรนั้น มีขึ้นเพื่อเปนการสรางเครือขายทางการคาระหวางคาบสมุทรสุมาตรากับทะเลชวา แสดง

21เร่ืองเดียวกัน, 63.22Lewis, Dianne, Jan Compagnie in the Straits of Malacca 1641-1795 (Ohio : Ohio University Press,

1995), 25.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

78

ถึงความสัมพันธที่เกิดขึ้นในสองดินแดนคือมะละกากับปตตาเวีย และเพื่อควบคุมนานนํ้าอยางมี

ประสิทธิภาพ23 ฮอลันดาจึงควบคุมชองแคบมะละกาเพื่อใหการเดินเรือมุงสูเมืองทาปตตาเวีย ซึ่งทํา

ใหการคาในมะละกาตองยายเขาสูเมืองทาปตตานีของฮอลันดา ดังนั้นการผูกขาดการคาดีบุกของเป

ระนั้น ไมใชเรื่องยากสําหรับฮอลันดาที่จะทําการผูกขาดการคาดีบุก เพียงแตในเวลานี้ บริษัท VOC

สนใจเร่ืองการผูกขาดการคาพริกไทยมากกวาการผูกขาดการคาดีบุก อยางไรก็ตาม ยิ่งฮอลันดา

ผูกขาดการคามากเทาไรก็ยอมมีศัตรูมากขึ้นเทาน้ัน ฉะน้ันฮอลันดาจึงมุงสูการคาในทะเลชวา

มากกวาในชองแคบมะละกา กลาวไดวาแทบไมยุงเกี่ยวกับดินแดนในบริเวณชองแคบมะละกา

เพราะฮอลันดาไมตองการขัดแยงทางการเมืองและเศรษฐกิจกับรัฐสุลตานพื้นเมืองบนคาบสมุทร

มลายู

ประการที่สอง ฮอลันดาครอบครองมะละกาเพียงแคไวใชปองกันชาวตะวันตกชาติอื่นๆ ที่

จะเขามาจัดตั้งบริษัทการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต Dianne Lewis ไดกลาวไวในหนังสือ Jan

Compagnie ซึ่งอธิบายไววา บริษัท VOC หลังจากที่ยึดมะละกาไดแลวก็ไมไดพัฒนาชองแคบมะละ

กาและเมืองทามะละกาเลย มีเพียงแตทําสัญญากับยะโฮรวาจะรวมมือคุมครองนานน้ําในชองแคบ

มะละกา เพื่อมิใหใครเขามาจัดตั้งบริษัทการคาในดินแดนแหงนี้ การคาของฮอลันดาหัวใจหลักจึงอยู

ที่ทะเลชวาเพื่อควบคุมหมูเกาะเครื่องเทศ ซึ่งสรางผลกําไรใหกับทางบริษัทจํานวนมาก24 ดังนั้นจึงมี

ชาวยุโรปกลุมอื่นๆ พยายามเขามาในดินแดนแหงนี้เพื่อทําการคาในแบบเดียวกับฮอลันดา ฉะนั้น

บริษัท VOC จึงตองสรางกองกําลังทหารจํานวนมากขึ้นเพื่อทําการคาในลักษณะของการผูกขาด

การคาในที่ตางๆ เพื่อใหไดสินคาและสามารถตอรองราคาไดตามที่บริษัทตองการ ดังน้ันการที่

ฮอลันดาจะขยายอํานาจออกไปยังชองแคบมะละกาจึงทําใหสิ้นเปลืองเงินทอง ตองมีกองทัพเรือเพื่อ

ดูแลนานน้ํา แตถายะโฮรปกครองดินแดนมะละกาและปลอยใหยะโฮรดําเนินกิจการที่เกี่ยวของกับ

การปกครองดินแดนตางๆ ไดนั้น ยอมสงผลใหฮอลันดาประหยัดเรื่องกองทัพเรือ และยังคงใชเมือง

ทามะละกาเปนกองหนาดานตรวจตรา ควบคุมการเขามาของพอคาชาติตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ

เพราะถาหากตองการเดินทางมายังโมลุกกะก็จะตองผานเมืองทามะละกาที่ยะโฮรดูแลภายใตการ

ปกครองของฮอลันดา อยางนอยที่สุดการครอบครองมะละกาของฮอลันดาก็มีผลตอการคาและ

23Peter Borschberg, The Singapore and Melaka Straits: violence, security and diplomacy in the 17th

century (Singapore : NUS Press, 2010), 175.24

Dianne Lewis, Jan Compagnie in the Straits of Malacca 1641-1795 (Ohio : Ohio University Press,

1995), 20.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

79

เศรษฐกิจในปตตาเวียของฮอลันดา เพราะฮอลันดาไดกีดกันพอคาตางชาติมิใหจัดตั้งบริษัทการคา

ขึ้นมาแขงขันกับฮอลันดาน่ันเอง

ประการสุดทาย ฮอลันดาใชปตตาเวียเปนศูนยกลางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ดวยเหตุผลงายๆ คือ เมืองทาปตตาเวียอยูใกลกับหมูเกาะเคร่ืองเทศมากกวาเมืองทามะละกา

ภูมิศาสตรที่ตั้งของเมืองทาปตตาเวียก็ตั้งในพิกัดที่ดีกวา และเมืองทาปตตาเวียเปนเมืองทาที่ฮอลันดา

ยึดไดกอนที่จะยึดมะละกา และปตตาเวียของฮอลันดาเจริญรุงเรืองกวามะละกาของโปรตุเกสใน

ทศวรรษท่ี 1620 เปนตนมา ดังน้ัน บริษัท VOC จึงไมไดตองการครอบครองมะละกา และเหตุผลอีก

ประการหน่ึงคือ มะละกาภายใตการปกครองของโปรตุเกสตนคริสตศตวรรษที่ 17 เริ่มแสดงใหเห็น

ถึงความเสื่อมถอยและไรวี่แววในการจะฟนคืนสถานะเมืองทาการคาดังที่เคยเปนในคริสตศตวรรษ

ที่ 15 ซึ่งภายใตบริบทการคาโลกในคริสตศตวรรษที่ 17 นี้ก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะดวยการ

พัฒนาการเดินเรือ การสํารวจเสนทางการเดินเรือ การคนพบดินแดนใหมๆ สิ่งเหลาน้ีทําใหนัก

แสวงหาและพอคาตางชาติเดินทางเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตจํานวนมากขึ้น25 บริษัท VOC

จึงตองมีศูนยกลางการคาเอเชียที่ใกลกับแหลงผลิตใหไดมากที่สุด เพื่อที่จะไดทําการผูกขาดการคา

และดําเนินธุรกิจไดอยางรวดเร็วและเพียงพอตอความตองการของตลาดในยุโรป โดยที่ Holden

Furber ไดกลาวไวในหนังสือ South East Asia, colonial history วา ประวัติศาสตรของบริษัท VOC

ตั้งแตเริ่มจนจบก็จะอธิบายถึงความย่ิงใหญของบริษัท VOC ในฐานะเปนองคกรธุรกิจระดับโลก ซึ่ง

ลักษณะเศรษฐกิจในโครงสรางของบริษัทการคาและการดําเนินงานแบบธุรกิจยังไมเคยปรากฏมา

กอนในประวัติศาสตร26 จนกระทั่งฮอลันดาเขามาทําการคาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ความ

ยิ่งใหญที่ปรากฏใหเห็นนั้น ทําใหผูคนในดินแดนนี้หวาดกลัว แตวาดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตเปนดินแดนที่เปดรับอารยธรรมมาต้ังแตอดีตกาล ทําใหการเขามาของชาวฮอลันดาเปนเร่ือง

ธรรมดา เพียงแคมีความรุนแรงกวาสมัยที่โปรตุเกสเขามาในมะละกา อยางไรก็ตามอํานาจของ

ฮอลันดาก็ยังอยูในวงจํากัดเทาน้ัน เพราะฮอลันดาไดใชปตตาเวียเปนเมืองทาการคาเทาน้ัน

นอกจากนี้ บริษัท VOC ก็เนนย้ําในเรื่องของการคาเพียงอยางเดียว

4.4 ผลจากนโยบายของฮอลันดาในการปกครองมะละกา

25

Peter Borschberg, The Singapore and Melaka Straits: violence, security and diplomacy in the 17th

century (Singapore : NUS Press, 2010), 157.26

Paul H. Kratoska, South East Asia, colonial history (USA. : Routledge, 2001), 270.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

80

ตลอดคริสตศตวรรษที่ 17 บริษัท VOC เติบโตขึ้นอยางรวดเร็วและสามารถดําเนินธุรกิจ

การคาไดอยางเปนระบบในฐานะบริษัทการคาขามชาติรายแรกของโลก ฮอลันดาสามารถเขายึดมะ

ละกาไดในป ค.ศ. 1641 นั้น สามารถกลาวไดวา เมืองทามะละกาไมมีทางที่จะกลับมารุงเรืองไดอีก

ครั้ง เพราะฮอลันดาไมไดใชมะละกาเปนศูนยกลางการขยายอํานาจ แตกลับใชปตตาเวียบนเกาะชวา

ซึ่งในอดีตเคยเปนสวนหน่ึงของอาณาจักรมะละกาเปนศูนยกลางแทน โดยการพัฒนาเมืองทา

ปตตาเวียนั้น ฮอลันดาใชปตตาเวียเปนเมืองทาการคาและศูนยกลางทางทหาร เพื่อปองกันไมใหรัฐ

ใดรัฐหนึ่งครอบงํารัฐเล็กรัฐนอยแลวรวมเขาเปนรัฐใหญจนเหนือกวารัฐอื่นๆ ดวยเหตุนี้ จึงทําให

กองเรือและกําลังคนของบริษัทอินเดียตะวันออก (VOC) สวนใหญไมไดตั้งไวที่เมืองมะละกา แตตั้ง

ไวที่เมืองปตตาเวียแทบทั้งหมด27

งานสําคัญของฮอลันดาคือ การทําลายอํานาจในการควบคุมการคาในเอเชียตะวันออกเฉียง

ใตที่สเปนและโปรตุเกสกําลังดําเนินการอยู ในป ค.ศ. 1602 รัฐบาลฮอลันดาสนับสนุนใหจัดต้ัง

บริษัท VOC นับจากนั้นมา เมืองทามะละกาที่โดงดังในอดีตก็ตองพบจุดจบ เมื่อฮอลันดาเขายึดมะ

ละกาใน ค.ศ. 1641 มะละกาไมเคยปรากฏชื่อเสียงดานการคาอีกเลย และฐานะของมะละกาไดตกอยู

ในสถานภาพเมืองหนาดานที่คอยควบคุมดูแลความสงบเรียบรอยบนเกาะสุมาตรา และสงมอบ

หนาที่เมืองทาทางการคาสูเมืองทาปตตาเวียของฮอลันดาในฐานะผูผกูขาดการคาในคาบสมุทรมลายู

โดยที่บริษัท VOC สามารถผูกขาดการคาทั้งหมดในหมูเกาะอินโดนีเซียกับโลกตะวันตกไวไดอยาง

มั่นคงในคริสตศตวรรษท่ี 17 เร่ือยมา

ความสําเร็จของฮอลันดาที่สามารถทําลายอํานาจเรือของสเปนและโปรตุเกสที่หมูเกาะ

เคร่ืองเทศ จนกระทั่งทําใหฮอลันดาเปนผูที่มีอิทธิพลทางการทหารมากที่สุด ณ เวลาน้ี ฮอลันดา

สามารถจัดตั้งศูนยกลางทางการคาของตนไดอยางกวางขวาง เชน ปตตาเวียบนเกาะชวา ที่มากัสซาร

บนเกาะเซลิเบส แตเปนที่นาสังเกตวา ฮอลันดาไมยุงเกี่ยวกับฝงตะวันตกโดยเฉพาะมะละกา เพราะ

เมืองทาแหงนี้ สุลตานแหงรัฐยะโฮรไดสิทธิ์ปกครองตามสัญญาที่ทํากับฮอลันดา ซึ่งเมืองทามะละ

กาไมไดมีความสาํคัญตอการคาของฮอลันดา จึงทําใหฮอลันดาอนุญาตใหยะโฮรปกครองดินแดนใน

มะละกาได และพรอมกันน้ีพอคาตางชาติก็เดินเรือสูปตตาเวียโดยที่ไมไดแวะมะละกาอีกตอไป

เนื่องจากฮอลันดาพัฒนาเมืองทาปตตาเวียจนกลายเปนศูนยกลางการคาทางทะเลอันยิ่งใหญในเอเชีย

การบริหารจัดการทั้งการเมืองและการทหารที่ดี ยอมสะทอนถึงการคาและเศรษฐกิจที่เอื้ออํานวยตอ

การคาทางทะเล จนทําใหบริษัท VOC ประสบความสําเร็จในฐานะผูคาเครื่องเทศหนึ่งเดียวในโลก

27

บทที่ 3 การเขามาของดัตชและการกําหนดนโยบาย [Online], accessed 14 พฤษภาคม 2555.

Available from http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Walalak_Sinlapaviloj/Chapter3.pdf

สำนกัหอ

สมุดกลาง

81

สงผลใหปตตาเวียเติบโตขึ้นอยางรวดเร็ว และประเทศฮอลันดาก็ร่ํารวยจากกําไรมหาศาลที่ไดจาก

การคาเคร่ืองเทศในยุโรป

เมื่อการคาเครื่องเทศของบริษัท VOC ดําเนินกิจการไดดวยดี เมืองทาปตตาเวียก็รุงเรือง แต

มะละกากลับเสื่อมและหมดบทบาทในฐานะเมืองทา เพราะทิศทางการคาในบริบทการคาโลก

เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงนโยบายของชาวฮอลันดาในการปกครองมะละกาสะทอนใหเห็นวา เมืองทา

มะละกาไมไดอยูในความตองการที่แทจริงของฮอลันดา เพียงแตครอบครองมะละกาไวเพื่อกีดกัน

พอคาตางชาติ โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่กําลังรุกรานธุรกิจของบริษัท VOC

สำนกัหอ

สมุดกลาง

82

สำนกัหอ

สมุดกลาง

83

ตารางท่ี 3

ราคาพริกไทยในตลาดยุโรปและในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใตชวงคริสตศตวรรษที่ 17

(ค.ศ.)

ราคาในตลาดยุโรป

(Dollar/Ton)

ราคาในตลาดเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต

(Dollar/Ton)

ผลตางของราคา

(Dollars)

1600 – 1609 150

1610 – 1619 91

1620 – 1629 579 145 434

1630 – 1639 527 121 406

1640 – 1649 514 158 356

1650 – 1659 427 104 323

1660 – 1669 466 72 394

1670 – 1679 296 64 232

1680 – 1689 328 83 245

1690 – 1699 392 83 309

ที่มา : David Bulbeck et al., comp., Southeast Asian Exports since the 14th Century : Clovers,

Pepper, Coffee, and Sugar (The Netherlands : KITLV Press, 1998), 84.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

84

บทท่ี 5

เมืองทามะละกาจากคริสตศตวรรษที่ 15 ถึง 17 : บทสรุป

พื้นฐานของเมืองทาในบริเวณชองแคบมะละกาในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 ถึง 17 เปน

สังคมการคาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณการคาโลก ลักษณะการคาในเมืองทามะละกามี

ลักษณะเปดซึ่งพอคาตางชาติสามารถเดินทางเขามาคาขายในเมืองทาไดตลอดเวลา ฉะนั้น การสราง

ความสัมพันธการคาระหวางซีกโลกตะวันออกกับซีกโลกตะวันตกและการเขามาของชาวตะวันตก

ในเมืองทามะละกาจึงเปนเร่ืองที่เกิดขึ้นไดในที่สุด แตการที่มะละกาเปนที่หมายปองของชาติ

ตะวันตก และมีชาติตะวันตกถึง 2 ชาติไดเขามาครอบครองในที่สุดกลับไมไดสานตอความรุงเรือง

ของมะละกาในฐานะเมืองทาแลกเปลี่ยนสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ดังนั้น ในบทที่ 5 น้ี จึง

เปนบทสรุปวิเคราะหเชิงเปรียบเทียบบทบาทของชาติตะวันตกทั้งสองคือ โปรตุเกสและฮอลันดาใน

มะละกาพรอมทั้งเปรียบเทียบมะละกาภายใตการปกครองของชาติตะวันตกกับมะละกาในระบบ

การปกครองแบบรัฐสุลตานมลายูในคริสตศตวรรษที่ 15 ซึ่งจะใหภาพของความเปลี่ยนแปลงและ

ความสืบเนื่องที่เกิดขึ้นกับมะละกาได

การเขามาในคาบสมุทรมลายูและการปกครองเมืองทามะละกาของโปรตุเกสและฮอลันดา

นั้น มีความคลายคลึงกันในเรื่องของวัตถุประสงคในการเขาครอบครองเมืองทาเพื่อผลประโยชน

ทางการคา แตวาวิธีการดําเนินงานและบทบาทของชาติตะวันตกทั้ง 2 ชาตินี้ในฐานะพอคาตะวันตก

มีความแตกตางกันไปซึ่งขึ้นอยูกับทั้งบริบทการคาโลกและความเปนไปของทั้งสองชาติในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต

โปรตุเกสและฮอลันดาตางก็มีความตองการควบคุมและผูกขาดการคาของเอเชียตะวันออก

เฉียงใต เน่ืองจากสินคาที่ผลิตไดในบริเวณน้ี โดยเฉพาะ เคร่ืองเทศจากหมูเกาะโมลุกกะ และ

พริกไทยจากบริเวณคาบสมุทรมลายู-เกาะสุมาตราเปนที่ตองการในตลาดของยุโรปเปนอันมาก การ

ควบคุมการคาบริเวณชองแคบมะละกาถือเปนยุทธศาสตรสําคัญที่จะนําไปสูเปาหมายดังกลาว

เพราะเสนทางเดินเรือในบริเวณชองแคบมะละกาและคาบสมุทรมลายนูั้นเปนจุดเชื่อมตอของการคา

โลกระหวางตะวันออกกับตะวันตกมาตั้งแตโบราณกาล ดังที่ Muhammad Yusoff Hashimไดอธิบาย

ไววา ชาติตะวันตกและพอคาทั่วโลกตองการที่จะแลนเรือผานคาบสมุทรมลายูเพื่อทําการคากับจีน

และคาบสมุทรมลายูกลายเปนจุดเชื่อมโยงเสนทางการคาขนาดใหญที่มีเรือบรรทุกสินคาแลนเขามา

สำนกัหอ

สมุดกลาง

85

ดินแดนแหงนี้มากที่สุดในโลก จนกระทั่งกลายเปนเสนทางการคาโลกที่เชื่อมโยงโลกตะวันออกกับ

โลกตะวันตก1 ดังนั้น ตั้งแตยุครุงเรืองของอาณาจักรศรีวิชัยในราวคริสตศตวรรษที่ 9 ตอมาจนถึง

การดํารงอยูของรัฐสุลตานมลายู มะละกาและยะโฮรในคริสตศตวรรษที่ 15-17 การดูแลรักษาชอง

แคบมะละกา ควบคุมเมืองทาตางๆ ในบริเวณน้ันและการจัดการระบบการคาใหสอดคลองกับ

ทิศทางการคาของโลกเปนกลจักรสําคัญในการหาผลประโยชนทางการคาของใครก็ตามที่เขามามี

อิทธิพลในบริเวณนี้ ฉะนั้น การที่โปรตุเกสเขามาโจมตีและครอบครองมะละกาในค.ศ. 1511 และ

การที่ฮอลันดามาชวงชิงมะละกาไปจากโปรตุเกสในค.ศ.1641 เปนผลมาจากความตองการที่จะ

ควบคุมการคาในบริเวณชองแคบมะละกา

อยางไรก็ตาม การดําเนินงานของทั้งสองชาติมีความแตกตางกัน วิธีที่โปรตุเกสใชในการ

ผูกขาดการคาเครื่องเทศที่ปลายทางในยุโรปคือการควบคุมเสนทางการคาเคร่ืองเทศทั้งในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตและมหาสมุทรอินเดีย และพยายามกําจัดหรือจํากัดคูแขงซึ่งสวนใหญเปนพอคา

มุสลิมทั้งชาวอาหรับและอินเดีย ความศรัทธาในการเผยแพรคริสตศาสนาก็เปนเหตุผลเสริมที่ทําให

โปรตุเกสพยายามที่จะลดบทบาทของพอคามุสลิมในการคาเครื่องเทศ วิธีการที่โปรตุเกสใชในการ

ควบคุมเสนทางการคาและหาผลประโยชนในเวลาเดียวกันคือการใชกองเรือติดอาวุธที่มี

ประสิทธิภาพคุมตรวจตรานานน้ําในบริเวณเมืองทาที่โปรตุเกสไปตั้งมั่นอยู เพื่อบังคับใหเรือสินคา

ที่ผานไปมาเขามาคาขายที่เมืองทาน้ันหรือมิฉะน้ันก็ตองเสียคาธรรมเนียมหรือบัตรผานทาง ที่

เรียกวา cartazes สําหรับที่มะละกานั้น หลังจากโปรตุเกสเขาครอบครองไดก็จะสรางปอมปราการที่

เรียกวา อา ฟาโมซา (A Famosa) ภายในปอมคือบริเวณที่อยูของชาวโปรตุเกสและเปนที่บัญชาการ

ในการควบคุมนานน้ําบริเวณชองแคบมะละกา ในทางนโยบายจริงๆ กิจการตางๆ ในเมืองทามะละ

กาของโปรตุเกสเปนกิจการที่กษัตริยของโปรตุเกสเปนผู อุปถัมภ รัฐบาลของโปรตุเกสเปน

ผูดําเนินการเกี่ยวกับการติดตอการคาและนโยบายในการดําเนินงานในเมืองทามะละกา ดังน้ัน

พอคาเอกชนไมนาจะมีบทบาทสําคัญในการดําเนินการคา แตในทางปฏิบัติ ผูสําเร็จราชการของ

โปรตุเกสที่มะละกาก็ไมสามารถปองกันใหขาราชการและเอกชนชาวโปรตุเกสที่อยูในมะละกา

ติดตอทําการคากับดินแดนอ่ืนๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต

สําหรับฮอลันดาน้ัน มีความแตกตางจากโปรตุเกสทั้งในแงขององคกรที่เขามายังเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต และในแงวิธีการผูกขาดการคาของภูมิภาคนี้ ซึ่งสงผลตอการดําเนินการในมะละ

กาที่แตกตางไปจากของโปรตุเกส ประการแรก ชาวฮอลันดาที่เขามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต

ไมไดเปนขาราชการของรัฐบาลหรือของราชสํานักฮอลันดา แตเปนบริษัทการคาเอกชนที่ไดรับ

1อานเพิ่มเติมไดใน Muhammad Yusoff Hashim, The Malay Sultanate of Malacca, translated by D. J.

Muzaffar Tate (Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992).

สำนกัหอ

สมุดกลาง

86

สัมปทานอํานาจจากราชสํานักและรัฐบาลของฮอลันดาอีกทอดหน่ึง บริษัท VOC เกิดจากการ

รวมตัวของพอคาชาวฮอลันดา บริษัทนี้ผลักดันรัฐสภาและรัฐบาลฮอลันดาออกกฎหมายรองรับการ

เปนบริษัทแหงชาติอยางเปนทางการเพื่อทําการสนับสนุนการผูกขาดการคาเคร่ืองเทศในภาค

ตะวันออกบริเวณทะเลชวา ซึ่งกฎบัตรของบริษัทจะกําหนดใหมีอํานาจอยางกวางขวาง เชน มีสิทธิที่

จะเขารวมทําสัญญาและทําสัญญาเปนพันธมิตร ทําสงคราม เกณฑทหาร สรางปอมปราการ และ

แตงตั้งผูวาราชการรวมทั้งเจาหนาที่พิจารณาคดีตามกฎหมาย อํานาจเหลานี้เมื่อควบคูกับเงินทุนใน

การดําเนินการจํานวนมาก และไดการสนับสนุนจากผูนําระดับสูงในคณะรัฐบาลฮอลันดาซึ่ง

สวนมากเปนผูอํานวยการบริษัทอีกตําแหนงหน่ึงดวย ทําให VOC เปนองคกรที่มีพลังมากกวา

กองทัพเรือของโปรตุเกส

ฮอลันดาจึงเปนชาติตะวันตกชาติแรกที่สามารถจัดการการคาบนเสนทางเดินเรือสมุทรใน

แบบเอกชนที่มีบริษัทสาขาตางๆ กระจายทั่วนานน้ําบนเสนทางการคาเครื่องเทศ การคาทางทะเลยุค

น้ันเปนกิจการที่ใชทุนสูงมาก แตฮอลันดาก็สามารถดําเนินธุรกิจอยางเต็มรูปได ศูนยกลางการ

ดําเนินการคาของฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตอยูที่ปตตาเวียบนเกาะชวา ซึ่งก็เปนทําเลที่ตั้งที่

เหมาะสมเพราะสามารถควบคุมการคาในบริเวณชองแคบซุนดา ในบริเวณหมูเคร่ืองเทศหรือหมู

เกาะโมลุกกะ และยังสามารถติดตอกับรัฐบนพื้นทวีป เชนสยามไดอยางสะดวก ดวยเหตุนี้ ฮอลันดา

จึงไมมีความจําเปนที่จะตองลงทุนเพื่อกอตั้งเมืองทาที่สองในบริเวณชองแคบมะละกา แตมีความ

จําเปนอยางยิ่งที่จะตองปองกันมิใชชาติตะวันตกอื่นๆ เขามาตั้งเมืองทาคูแขงในบริเวณนั้น ดวยเหตุ

น้ีการยึดครองมะละกาจากโปรตุเกสจึงเปนสิ่งจําเปน แตการใชมะละกาเปนเมืองทาหลักของ

ฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตไมใชความจําเปนสูงสุด ประกอบกับฮอลันดาสามารถสราง

ความสัมพันธกับยะโฮรซึ่งเปนรัฐมลายูที่อยูปลายคาบสมุทร ยะโฮรสามารถรักษาความสงบ

เรียบรอยใหเกิดขึ้นในบริเวณชองแคบมะละกาได ฮอลันดาจึงไมมีความจําเปนตองลงทุนในมะละ

กาอีกตอไป

เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทําใหฮอลันดาไมใชประโยชนจากมะละกาเทาที่ควรเปนเพราะ

ความสนใจดานการคาของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดามีกวางขวางกวาของโปรตุเกส ใน

ความเปนจริง ฮอลันดาประสบความสําเร็จในการผูกขาดการคาเครื่องเทศมากกวาโปรตุเกสเพราะ

ฮอลันดาสามารถไปควบคุมบริเวณที่เปนแหลงผลิตได ทั้งที่อัมบน ตอรนาเต บันดา และยังมี

อิทธิพลบนเกาะชวาและสุลาเวสีซึง่เปนเสนทางทีก่ารคาเครื่องเทศผาน ฮอลันดาไมรงัเกยีจที่จะสราง

ความสัมพันธกับชาวมุสลิมในการทําการคา ซึ่งความสัมพันธกับผูปกครองพื้นเมืองทั้งที่เปนชาว

มุสลิมและไมไดเปนจะเกิดขึ้นจากการทําสนธิสัญญากับผูปกครองทองถิ่นนั้นๆ ในบริเวณตอน

เหนือขึ้นไปของคาบสมุทรมลายูและบนพื้นทวีป ฮอลันดาก็ดําเนินการทางการทูตเพื่อติดตอขอทํา

สำนกัหอ

สมุดกลาง

87

สัญญาการคาและผูกขาดสินคาบางอยางกับสยามและปตตานี ขอบขายการคาในสมัยฮอลันดาที่

ปกครองมะละกาคริสตศตวรรษที่ 17 จึงมีความซับซอนมากกวาโปรตุเกสในคริสตศตวรรษที่ 16 ใน

การดําเนินงานของบริษัท VOC ทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต มะละกาเปนองคประกอบเล็กๆ

ตางจากโปรตุเกสที่มีฐานที่มั่นอยูที่นั้น นโยบายของฮอลันดาในการปกครองมะละกาสะทอนให

เห็นวา เมืองทามะละกาไมไดอยูในความตองการที่แทจริงของฮอลันดา เพียงแตครอบครองมะละกา

ไวเพื่อกีดกันพอคาตางชาติ ทั้งชาวโปรตุเกสที่มีบทบาทมากอน และชาติตะวันตกอื่นๆ ที่กําลังเขา

มาสูเอเชียตะวันออกเฉียงใต โดยเฉพาะชาวอังกฤษ

การเขามาครอบครองมะละกาของโปรตุเกสและฮอลันดาเปลี่ยนบทบาทหนาที่ของมะละ

กาที่เคยมีในสมัยที่เปนรัฐสุลตานมลายูและเมืองทาแลกเปลี่ยนสินคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใตใน

คริสตศตวรรษที่ 15 รูปแบบการปกครองแบบรัฐสุลตานมลายูในมะละกาชวงคริสตศตวรรษที่ 15

มุงเนนใหมะละกาเปนเมืองทาการคาที่ อํานวยความสะดวกใหกับพอคาทั่วทุกสารทิศ การ

ดําเนินงานแลกเปลี่ยนสินคาในเมืองทามะละกาจะอยูในมือของพอคาตางชาติเปนผูควบคุมดูแล ซึ่ง

ทําใหมะละกาเปนเมืองทาการคาที่ถือไดวาพอคาจากทุกแหลงเขามาทําการคาไดโดยเสรีตราบเทาที่

ยอมรับอํานาจการปกครองของผูนํารัฐชาวมลายูและยอมเสียภาษีอากรรวมทั้งของขวัญตางๆ ใหแก

กษัตริยและขุนนางของมะละกา ซึ่งในสวนของภาษีอากรนั้นมีการกําหนดจํานวนไวคอนขางชัดเจน

และเปนการเก็บภาษีการคาที่ไมสูงมาก แตรัฐสุลตานมะละกายังมีเหตุผลปจจัยทางดานพื้นฐานการ

ปกครองอีกบางประการที่ทําใหเปนที่นิยมของกลุมพอคา ในสวนตอไปนี้ ผูศึกษาจะเปรียบเทียบ

ระหวางการปกครองแบบสุลตานและการปกครองของชาติตะวันตกในเมืองทามะละกาไปพรอมๆ

กัน เริ่มตนจากการอธิบายพืน้ฐานการปกครองระบบรัฐสุลตานในเมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษ

ที่ 15 ที่ทําใหเมืองทามะละกาเติบโตอยางรวดเร็ว 3 ประการ และนํามาเปรียบเทียบกับมะละกา

ภายใตการปกครองของชาติตะวันตกในเร่ืองเดียวกัน ดังตอไปน้ี

ประการแรก สังคมเมืองทามะละกาเปนสังคมที่เกิดจากการรวมกลุมของชาวมลายูกับชาวเล

ฉะน้ันจึงเปรียบไดวาสังคมมะละกาเปนการรวมกลุมของชาวพื้นเมืองทองนํ้าที่เขมแข็งที่สุดใน

นานน้ําเอเชียตะวันออกเฉียงใต เพราะการที่มะละกาสามารถรวมกลุมโอรังลาอุตไดเปนปกแผน

ยอมเกิดผลดีตามมาสองขอคือ 1. มะละกาสามารถจัดระบบระเบียบนานน้ําไดโดยอาศัยกลุมโอรัง

ลาอุตซึ่งเปนชาวเลและเปนโจรสลัด ตรวจตราความสงบของการเดินเรือเขาออกชองแคบมะละกา

ทําใหพอคาตางชาติพึงพอใจเพราะการปลนสะดมก็ลดนอยลงเนื่องจากกลุมชาวเลเหลานี้ไดใหการ

สนับสนุนผูปกครองมะละกา 2. การคาในชองแคบมะละกาเติบโตอยางรวดเร็วโดยเฉพาะเมืองทา

มะละกา เพราะพอคาตางถิ่นสามารถคาขายไดอยางไรกังวลเนื่องจากชาวโอรังลาอุตอํานวยความ

สะดวกสบายและความปลอดภัย จนทําใหเมืองทามะละกาเปนที่ดึงดูดความสนใจจากชาวตางชาติ

สำนกัหอ

สมุดกลาง

88

เปนอยางมาก สําหรับการศึกษาในเรื่องผลกระทบของการรวมกลุมชาวเลในมะละกาน้ัน ชุลีพร

วิรุณหะ2 ไดกลาวไววา ชาวเลที่เรียกวา “โอรังลาอุต” มีความใกลชิดและเปนสัญลักษณของ

ประวัติศาสตรมาเลเซียคริสตศตวรรษที่ 15 ที่เกี่ยวของกับระบบการปกครองแบบรัฐสุลตานโดยการ

สนับสนุนผูปกครองมะละกาใหยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติเชนเดียวกับอาณาจักรศรีวิชัย และดวย

จํานวนของชนเผาโอรังลาอุตที่มีจํานวนมากที่สุดในทองทะเลของคาบสมุทรมลายูจนทําใหเสนทาง

การคาทางทะเลเสนทางหลักคือเสนทางที่ผานชองแคบมะละกาเต็มไปดวยชาวเลที่ทําการควบคุม

เรือสินคาตางๆ ในทองทะเล เพราะพวกเขามีความสามารถในการเปนเดินเรือที่ดีเยี่ยมและเปนนักสู

ที่แข็งแกรงบนทองทะเล ชาวโอรังลาอุตจึงเปนสวนหนึ่งในการผลักดันใหมะละการุงเรืองในระบบ

การปกครองแบบรัฐสุลตาน

สําหรับในชวงการปกครองของชาวโปรตุเกส และฮอลันดา เราทราบเรื่องราวของชาวเลไม

มากนัก แตเชื่อวาชาวเลยังคงดําเนินชีวิตอยูในนานนํ้าของมะละกา Meilink-Roelofszไดกลาววา

ชาวตะวันตกยังใชประโยชนจากกลุมชาวเลซึ่งเปนกลุมคนทองถิ่นยอมมีประโยชนตอการทําการคา

ในมะละกา เชนในการติดตอกับพอคามุสลิม เปนตน3 อยางไรก็ตาม ในขณะที่รัฐสุลตานมะละกา

ดูแลชาวเลโดยการนําเขามาเปนสวนหนึ่งของโครงสรางการปกครอง ไดแก มาเปนขุนนางและไพร

พลของรัฐ ชาวตะวันตกจะไมมีความสัมพันธกับชาวเลในลักษณะเชนน้ี เนื่องจากทั้งโปรตุเกสและ

ฮอลันดาตางมีกองทัพเรือของตนเอง ดงันั้น ในแงของฐานกําลังคนที่เคยมีผลตอความรุงเรืองของมะ

ละกาในสวนนี้มคีวามเปลี่ยนแปลงไป

ประการที่สอง รัฐสุลตานมะละกาสามารถสรางระบบการคาใหสอดคลองกับความ

ตองการของตลาดโลกโดยการดึงดูดพอคานานาชาติใหเขามาแลกเปลี่ยนสินคาในมะละกา เมืองทา

มะละกากอตัวขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 15 จากปจจัยแวดลอมของกระบวนการคาโลกที่เชื่อมโยง

ระหวางมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต จุดมุงหมายของผูที่เดินทางมาจากตะวันตกคือ ตองการ

เดินทางไปติดตอการคากับประเทศจีนและหมูเกาะเครื่องเทศจึงจําเปนตองผานเสนทางการเดินเรือ

ในบริเวณชองแคบมะละกา จะเห็นไดวามะละกาไดรับการสนับสนุนจากราชสํานักสงผลใหมะละ

กาสามารถปกครองตนเองและพรอมเปนเมืองทาที่สมบูรณในคริสตศตวรรษที่ 15 จีนยังมีสวน

ผลักดันใหมะละกาเปนเมืองทาการคาแบบ entreport center และยังเปนจุดศูนยรวมของสินคานานา

2Sunait Chutintaranond and Chris Baker, Recalling Local Pasts Autonomous History in Southeast

Asia (Chiangmai : Silkworm Books, 2002), 143-145.3อานเพิ่มเติมไดใน Muhammad Yusoff Hashim, The Malay Sultanate of Malacca, translated by D. J.

Muzaffar Tate (Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992).

สำนกัหอ

สมุดกลาง

89

ชนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต4 การที่มะละกามีเครือขายการคาที่กวางขวางทั้งจากซีกโลก

ตะวันตกและตะวันออกทําใหเมืองทาแหงนี้ไดรับประโยชน จากการเปนที่หยุดพักพํานักเรือ มีการ

แลกเปลี่ยนสินคา มีบริการในเรื่องการเดินเรือและสิ่งอํานวยความสะดวก อูซอมเรือ เสบียงอาหาร

นอกจากน้ี แมวารัฐสุลตานมะละกาจะประกาศตัวเปนศูนยกลางของชาวมลายูและมองดินแดนอื่นๆ

ที่อยูใกลเคียงทั้งบนคาบสมุทรมลายูและทางฝงตะวันออกของเกาะสุมาตราวาอยูภายใตอํานาจของ

มะละกา แตในความเปนจริง มะละกาไมสามารถจะควบคุมอํานาจและรวบอํานาจไวที่ศูนยกลาง

เพียงแหงเดียวได เพราะลักษณะสังคมของชาวมุสลิมมลายูจะเปนการรวมตัวกันมากกวาการผูกมัด

อาทิเชน มีสัมพันธทางการแตงงานหรือยอมเปนเมืองขึ้นที่ยังสามารถปกครองตนเองได เปนตน

การพิจารณาระบบการคาและความสัมพันธทางการเมืองของมะละกาทําใหเราเขาใจไดวา การคาใน

เมืองทามะละกาจะเปนการคาที่เรียกไดวา เมืองทาการคาเสรีเพราะมาจากการที่นานน้ําในบริเวณ

ชองแคบมะละกาเปนนานน้ําเสรี ตอนรับผูคนที่มาจากทุกที่

ความรุงเรืองในเมืองทามะละกาลักษณะดังกลาวนี้เปลี่ยนไปเมื่อโปรตุเกสและฮอลันดาเขา

มาปกครองมะละกาในคริสตศตวรรษที่ 16 และ 17 ดังที่กลาวแลววา นโยบายหลักของโปรตุเกสคือ

การบังคับใหเรือสินคาที่ผานเขามายังชองแคบมะละกาตองเขามาคาขายที่เมืองทาหรือมิฉะนั้นก็ตอง

เสียคาภาษีคาธรรมเนียมผานทาง มะละกาภายใตการปกครองของโปรตุเกสจึงไมใชนานน้ําเสรี

เชนเดียวกับสมัยรัฐสุลตานมะละกา ผลก็คือ พอคาตางๆโดยเฉพาะพอคาชาวมุสลิมพยายามคนหา

เสนทางการคาใหมเพื่อหลีกเลี่ยงเสนทางการคาที่ตองผานชองแคบมะละกาที่ชาวโปรตุเกสปกครอง

อยู สําหรับชาวฮอลันดาน้ัน เมืองทาหลักที่ฮอลันดาปกครองอยูที่ปตตาเวียไมใชมะละกา เพียง

ตองการใหมะละกาอยูภายใตการควบคุมของฮอลันดาเทาน้ัน ทําใหมะละกาไมสามารถกลับมา

คึกคักไดอีกครั้ง

ประการที่สาม แมวาการปกครองในระบบรัฐสุลตานมลายูจะมีการใชอํานาจเบ็ดเสร็จแต

ขณะเดียวกันก็มีการกระจายอํานาจการปกครองดวย รัฐสุลตานมะละกามีแบบแผนการปกครองที่

ชัดเจนภายในเมืองทามะละกามีขุนนางตําแหนงตางๆ ที่เหมาะสมในการเปนเมืองทาการคา และ

สามารถดําเนินการคาไดโดยที่สุลตานแหงมะละกาจะไมเขาไปยุงเกี่ยวจัดการมากนัก หากไมมีทาที

แสดงความกระดางกระเดื่อง ในกรณีของเมืองที่มะละกาถือวาเปนเมืองขึ้นก็เชนกัน ตางก็มีสิทธิ์ใน

การปกครองตนเอง เพื่อเปนการกระจายอํานาจออกไปสูเมืองตางๆ ที่จะปอนสินคาและรองรับความ

ยิ่งใหญของอาณาจักรมะละกา สําหรับผูปกครองเมืองขึ้นตางๆ ก็ยินดีพรอมที่จะเปนเมืองขึ้นของมะ

ละกาเพราะวาตางฝายตางไดประโยชนจากการคา การปกครองเชนน้ีมีผลทําใหเมืองทามะละกา

4Charles A. Fisher, South-East Asia a Social, Economic and Political Geography (London : Methuen

& CO. LTD, 1952), 118.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

90

เติบโตไดอยางรวดเร็ว ทั้งน้ีก็เพราะการรวมมือของชาวมุสลิมมลายูดวยกันเองที่ยอมรับในการ

ปกครองมะละกาสงผลใหเมืองทามะละการุงเรืองเปนอยางมาก รวมทั้งรูปแบบวิธีการปกครองของ

สุลตานมะละกาที่สามารถสรางพันธมิตรกับชาวมุสลิมดวยกันเองและยังเปดโอกาสใหชาวตางชาติ

ปกครองหมูบานของตนเองไดดวย สิ่งเหลาน้ีทําใหมองเห็นไดวา สุลตานมะละกาเปนผูนําที่

มองเห็นถึงผลประโยชนทางการคาเปนหลัก

การปกครองของชาติตะวันตกในมะละกาคริสตศตวรรษที่ 16 ถึง 17 นั้น มีความแตกตาง

กับการปกครองในสมัยสุลตานมะละกาในเรื่องของการสรางความสัมพันธทางการเมืองกับรัฐและ

เมืองทาการคาอ่ืนๆ ในบริเวณใกลเคียง แทนที่จะมีการทํางานแบบถอยทีถอยอาศัยดังที่ปรากฏ

ในชวงสมัยของการปกครองแบบสุลตาน การปรากฏตัวของโปรตุเกสในมะละกากลับทําให

เกิดปฏิกิริยาในทางตรงขาม กลาวคือ เกิดการแตกตัวของรัฐและเมืองทาพื้นเมือง เนื่องจากพอคาที่

ทําการคาอยูเดิมไมตองการทําการคากับโปรตุเกส มะละกาของโปรตุเกสจึงมีคูแขงทางการคา

เพิ่มขึ้น ที่เห็นไดชัดเจนไดแก ยะโฮร อะเจะห และบรูไน ชวงระยะเวลาระหวางค.ศ. 1511 ถึง 1641

ที่โปรตุเกสปกครองมะละกาอยูจึงเปนระยะที่โปรตุเกสตองทําสงครามกับรัฐพื้นเมืองเกือบ

ตลอดเวลาแทนที่จะทําการคาอยางสันติและมั่นคงอยางที่หวังไว ในกรณีของฮอลันดาจะตางออกไป

เนื่องจากฮอลันดาไมไดใชมะละกาเปนศูนยกลางการคาและการเมือง แตกลับรวมมือกับยะโฮรใน

การดูแลบริเวณชองแคบมะละกา แตสัมพันธภาพระหวางฮอลันดากับยะโฮรก็ไมมั่นคง เนื่องจาก

ยะโฮรมักจะละเมิดสัญญาที่ใหไวตอฮอลันดาอยูเนืองๆ ในตอนตนคริสตศตวรรษที่ 18 บริษัท VOC

ตองทําสงครามกับยะโฮรที่ตั้งมั่นอยูที่เกาะเรียว (Riau) หลายครั้ง

ในการประเมินบทบาทของชาวยุโรปในยุคการคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีคําถาม

หลัก 2 คําถามคือชาติตะวันตกควบคุมการคาไดจริงหรือไม และชาติตะวันตกสงผลตอโครงสราง

อํานาจของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใตอยางไร จากการศึกษาพบวา การเขามาของชาวโปรตุเกส

ในเอเชีย ซึ่งเปนจุดเริ่มตนของชาวตะวันตกในฐานะผูที่บุกเบิกการทําการคากับเอเชีย และการเขา

ครอบครองมะละกาใน ค.ศ. 1511 เปนปรากฏการณใหมบนเสนทางการคาเคร่ืองเทศ โปรตุเกส

เลือกมะละกาเปนฐานที่มั่นในการประกอบธุรกิจและพยายามควบคุมการคาทั้งหมดในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต เพื่อผลกําไรในฐานะพอคาคนกลางที่สงสินคาออกไปสูตะวันตก แตชาว

โปรตุเกสยังไมสามารถสรางระบบการคาและการปกครองมะละกาไดอยางมีประสิทธิภาพ ทั้งยัง

ไมสามารถผูกขาดเสนทางการคาหรือสรางอิทธิพลทางการเมืองนอกเหนือไปจากบริเวณฐานที่ตั้ง

ในมะละกา แมการยึดครองของโปรตุเกสจะทําใหรัฐสุลตานมะละกาลมสลายไป แตบทบาททาง

การเมืองและการคาของรัฐพื้นเมืองในบริเวณคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซียก็ยังเติบโต

อยางตอเนื่อง ทายที่สุด โปรตุเกสจึงเปนชนอีกเชื้อชาติหนึ่งที่เขารวมในกระบวนการคาของเอเชีย

สำนกัหอ

สมุดกลาง

91

ตะวันออกเฉียงใต สําหรับฮอลันดานั้น นโยบายของชาวฮอลันดาในการปกครองมะละกาสะทอน

ใหเห็นวา เมืองทามะละกาไมไดอยูในความตองการที่แทจริงของฮอลันดา เพียงแตครอบครองมะละ

กาไวเพื่อกีดกันพอคาตางชาติ โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่กําลังคืบคลานเขามารุกรานธุรกิจของบริษัท

VOC ในภาพรวม ฮอลันดาเปนชาติที่ประสบความสําเร็จในการตั้งอาณาจักรทางการคาในเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใตมากกวาโปรตุเกส สามารถผูกขาดการคาเครื่องเทศจากหมูเกาะโมลุกกะได และมี

การติดตอคาขายกับรัฐพื้นเมืองทั้งในบริเวณภาคพื้นทวีป และในกลุมเกาะ แตศูนยกลางทาง

การเมืองและเศรษฐกิจของฮอลันดาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้นอยูที่ปตตาเวียบนเกาะชวา ดังนั้น

อํานาจทางเศรษฐกิจของฮอลันดาจึงไมมีผลกระทบโดยตรงและในทางบวกตอมะละกา

การศึกษาความตอเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของมะละกาภายใตการปกครองของชนชาติ

ถึง 3 ชาติ ภายใน 3 ศตวรรษ ไดแก ชาวมลายู ชาวโปรตุเกส และชาวฮอลันดาตามลําดับชี้ใหเห็นวา

ปจจัยที่ทําใหมะละการุงเรืองในฐานะเมืองทาการคาไมใชปจจัยดานเศรษฐกิจแตอยางเดียว แต

รวมถึงบทบาททางการเมืองและวัฒนธรรมดวย เกียรติยศของมะละกาในฐานะรัฐสุลตานมลายู

มุสลิมในคริสตศตวรรษที่ 15 เกิดจากความสามารถในการเปนศูนยกลางแลกเปลี่ยนสินคาที่มีการ

ดําเนินการคาอยางเสรี ตอนรับพอคาที่มาจากทุกที่ นอกจากน้ันยังเกิดจากการเปนศูนยกลางทาง

การเมืองของชาวมลายูและเปนศูนยกลางทางวัฒนธรรมของโลกมลายูมุสลิมพรอมกันไป ความ

เชื่อมโยงทั้งสามประการน้ีคอยๆ สลายไปเมื่อมะละกาตกอยูภายใตการปกครองของชาติตะวันตก

สำนกัหอ

สมุดกลาง

92

บรรณานุกรม

เอกสารภาษาไทย

1. ประเภทบทความ

ชุลีพร พงศสุพัฒน. “ขอสังเกตบางประการเกี่ยวกับแนวทางการศึกษาพัฒนาการของการผลิตเพื่อ

สงออกในคาบสมุทรมลายูและกลุมเกาะอินโดนีเซีย.” เอกสารประกอบสัมมนาเร่ือง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต: คาบสมุทรและกลุมเกาะ, ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัย

ศิลปากร, 2535.

_________. “Sejarah Melayu (เซอจาเราะห เมอลายู) กับขอคิดเกี่ยวกับความตอเนื่องของรัฐและ

เชื้อสายราชวงศกษัตริยในคาบสมุทรมลายู.” รวมบทความประวัติศาสตร, ฉบับที่ 16,

2537.

ดี. จี. อี. ฮอลล. “ชาวโปรตุเกสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต.” เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ

ประจําป 2554 : 500 ป ความสัมพันธสยามประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตก

ในอุษาคเนย 2054-2554, มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2555.

นิธิ เอียวศรีวงศ. “โปรตุเกส-การเดินเรือ, เคร่ืองเทศ, และศรัทธา.” เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ

ประจําป 2554 : 500 ป ความสัมพันธสยามประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตก

ในอุษาคเนย 2054-2554, มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2555.

ยงยุทธ ชูแวน. “การเกิดเมืองทาในบริเวณชายฝงทะเลของเอเชียตะวันออกเฉียงใตตั้งแตศตวรรษที่

2 กอนคริสตกาลถึงคริสตศตวรรษที่ 17.” วารสารอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร,

ฉบับที ่14, 2535.

_________. “การขยายตัวทางดานการคากับลักษณะพัฒนาการของรัฐชายฝงทะเลในคาบสมุทร

มลายูและหมูเกาะอินโดนีเซียต้ังแตคริสตศตวรรษที่ 15 ถึงคริสตศตวรรษที่ 17.”

สำนกัหอ

สมุดกลาง

93

เอกสารประกอบสัมมนาเร่ืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต: คาบสมุทรและกลุมเกาะ,

ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535.

รายงานเสวนาวิชาการ. “การเดินเรือ เคร่ืองเทศ และศรัทธา.” เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ

ประจําป 2554 : 500 ป ความสัมพันธสยามประเทศไทยกับโปรตุเกสและชาติตะวันตก

ในอุษาคเนย 2054-2554, มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2555.

2. ประเภทหนังสือและวิทยานิพนธ

กรุณา กาญจนประภากูล. “วิวัฒนาการของความคิดเกี่ยวกับคําวา “เมอลายู” ในประวัติศาสตร

มลายู.” สารนิพนธปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต บัณฑิตวทิยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2537.

ดี. จี. อี. ฮอลล. ประวัติศาสตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต: สุวรรณภูมิ-อุษาคเนยภาคพิสดาร (1-2).

แปลโดย วรุณยุพา สนิทวงศ ณ อยุธยาและคณะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตํารา

สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2549.

บารบารา วัตสัน อันดายา & ลีโอนารด วาย. อันดายา. ประวัติศาสตรมาเลเซีย. แปลโดย พรรณี

ฉัตรพลรักษ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2549.

ไพลดา ชัยศร. “ผลกระทบของระบบการปกครองของอังกฤษตอความคิดทางการเมืองของชาว

มาเลยในรัฐมลายูที่เปนสหพันธ ค.ศ. 1896-1941.” วิทยานิพนธปริญญาอักษรศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2547.

แมร่ี ซี. เทิรนบุล. ประวัติศาสตรมาเลเซีย สิงคโปรและบรูไน. แปลโดย ทองสุก เกตุโรจน.

กรุงเทพฯ : ศูนยพัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2540.

สุพัฒน ธัญญวิบูลย. “เมืองทามะละกาในคริสตศตวรรษที่ 15.” สารนิพนธปริญญาอักษรศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร เอเชียตะวันออกเฉียงใต บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

94

เอน. เจ. ไรอัล. การสรางชาติมาเลเซียและสิงคโปร. แปลโดย ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข.

กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, 2526.

แอนโทนี รีด. เอเชียตะวันออกเฉียงใตในยุคการคา ค.ศ. 1450-1680: เลม 1 ดินแดนใตลม. แปลโดย

พงษศรี เลขะวัฒนะ. เชียงใหม : ซิลคเวอรม, 2548.

_________. เอเชียตะวันออกเฉียงใตในยุคการคา ค.ศ. 1450-1680: เลม 2 การขยายตัวและ

วิกฤติการณ. แปลโดย พงษศรี เลขะวัฒนะ. เชียงใหม : ซิลคเวอรม, 2548.

3. สื่ออิเล็กทรอนิกส

เอ. อาร. ไอ. พี.. ความเจริญและเสื่อมของ VOC [Online]. Accessed 14 มิถุนายน 2545.

Available from http://arip.co.th/businessnews.php?id=403091

บทที่ 3 การเขามาของดัตชและการกําหนดนโยบาย [Online]. Accessed 14 พฤษภาคม 2555.

Available from http://thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/

เอกสารภาษาอังกฤษ

1. ประเภทบทความ

Cho, George and Ward, Marion W.. “The Port of Melaka.” Melaka: The Transformation of A

Malay Capital C. 1400-1980. Institute of Southeast Asian Studies. Singapore :

Oxford University Press, (Volume 1) 1983.

Hall, Kenneth R.. “The Opening of the Malay World to European Trade in the Sixteenth

Century.” Journal of Malaysian Branch, Royal Asiatic Society. Vol. LVIII, Pt. 2,

1985b.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

95

Hall, K. R.. “Trade and State Craft in the Western Archipelago at the Dawn of the European

Age.” Journal of Malaysian Branch, Royal Asiatic Society. Vol. 54, Pt. I, 1981.

Mc Roberts, Robert W.. “A Study in Growth: An Economic History of Melaka 1400-1510.”

Journal of Malaysian Branch, Royal Asiatic Society. Vol. LXIV, Pt. 2, 1991.

_________. “An Examination of the Fall of Melaka in 1511.” Journal of Malaysian Branch,

Royal Asiatic Society. Vol. LVII, Pt. 1, 1984.

Subrahmanyam, Sunjay. “Commerce and Conflict: Two Views of Portuguese Melaka in the

1620s.” Journal of Southeast Asian Studies. Vol. XIX, No. 1, 1988.

2. ประเภทหนังสือ

Albert, Hyma. The Dutch in the Far East: a History of the Dutch Commercial and Colonial

Empire. Mich : Gerge Wahr, 1942.

Allen, Richard. Malaysia Prospect and Retrospect; The impact and aftermath of colonial rule.

London : Oxford University Press Ltd., 1968.

Andaya, Barbara Watson and Leonard Y.. A History of Malaysia. Hong Kong : Oxford

University Press, 1982.

Andaya, Yuzon Leonard. The Kingdom of Johor 1641-1728. Kuala Lumpur : Oxford University

Press, 1975.

Bastin, John. Malaysia, Selected Historical Readings. Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1966.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

96

Bastin, John and Roolvink, R., ed. Malayan and Indonesian Studies. Britain : Oxford at the

Clarendon Press, 1964.

Borschberg, Peter. The Singapore and Melaka Straits: violence, security and diplomacy in the

17th century. Singapore : NUS Press, 2010.

Boxer, C. R. Four Centuries of Portuguese Expansion 1415-1825. USA. : University of

California Press, 1972.

_________. Francisco Vieira De Figueiredo, a Portuguese merchant – adventurer in South East

Asia, 1624 – 1667. The Hague : Martinus Nijhoff, 1967.

_________. Portuguese Conquest and Commerce in Southern Asia 1500-1750. Great Britain :

Variorum, Gower Publishing Group, 1990.

_________. The Portuguese Seaborne Empire 1415-1825. England : Penguin Book Ltd., 1973.

Brown, C. C., trans. Sejarah Melayu: Malay Annals. Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1970.

Bulbeck, David et al., comp. Southeast Asian Exports since the 14th Century: Clovers, Pepper,

Coffee, and Sugar. The Netherlands : KITLV Press, 1998.

Chaudhuri, K. N.. Trade and Civilisation in the Indian Ocean: Economic History from the Rise

of Islam to 1750. Great Britain : Cambridge University Press, 1985.

Cortesao, Armando, trans. Suma Oriental. London : Hakluyt Society, 1944.

Curtin, Philip D.. Cross-Cultural Trade in World History. Cambridge : Cambridge University

Press, 1984.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

97

Fisher, C. A.. Southeast Asia: Society, Economic and Regional Geography. Britain : Hazell

Watson and Viney Ltd., 1964.

_________. South-East Asia: A Social, Economic and Political Geography. London : Methuen

& Co. Ltd., 1952.

Gullick, J. M.. Malaysia. New York : Frederick A Praeger Inc., 1969.

Hall, D. G. E. A History of Southeast Asia. London : Mac Millan, 1968.

Hall, Kenneth R.. Maritime Trade and State Development in Early Southeast Asia. Honolulu :

University of Hawaii Press, 1985 a.

Hashim, Muhammad Yusoff. The Malay Sultanate of Malacca. translated by D. J. Muzaffar

Tate. Kuala Lumpur : Dewan Bahasa dan Pustaka, 1992.

Hoyt, Sarnia Hayes. Old Malacca. Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1996.

Israel, Jonathan I.. Dutch Primacy in World Trade 1585-1740. Oxford : Clarendon Press, 1989.

Jandhu, Wheatley A., ed. Melaka. Selangor : Oxford University Press, 1983.

Kennedy, J. A History of Malaya. Hong Kong : Macmillan St. Martin’s Press, 1970.

Kernial Singh Sandhu and Wheatley, P., eds. Melaka, The Transformation of a Malay Capital

c.1400-1980. Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1983.

Kratoska H. Paul. South East Asia, colonial history. USA. : Routledge, 2001.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

98

Kwa Chong Guan. Port Cities and Trade in Western Southeast Asia. Bangkok : Chulalongkorn

University, 1998.

Lewis, D.. Jan Compagnie in the Straits of Malacca 1641-1795. Ohio : Ohio University Press,

1995.

Luis Filipe Ferreira Reis Thomas. The Malay Sultanate of Melaka. edited by Reid, Anthony.

Ithaca : Cornell University Press, 1993.

Meilink-Roelofsz, M. A. P. Asian Trade and European Influence in the Indonesian Archipelago

between 1500 and about 1630. The Hague : Martinus Nijhoff, 1962.

Osborne, Milton E.. Southeast Asia: an introductory history. Australia : National Library of

Australia, 2004.

Reid, Anthony. Charting the Shape of Early Modern Southeast Asia. Chiang Mai : Silkworm

Books, 1999.

__________. Southeast Asia in the Age of Commerce 1450-1680. USA. : Yale University

Press, (Vol. one) 1988 and (Vol. two) 1993.

Subrahmanyam, Sanjay. The Portuguese Empire in Asia 1500-1700. USA. : Longman Group

UK Limited, 1993.

Wheatley, Paul. Impressions of the Malay Peninsula in Ancient Times. Singapore : Eastern

University Press Ltd., 1964.

__________. The Golden Khersonese: Studies in Historical Geography of the Malay Peninsula

before A.D. 1500. Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1961.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

99

Wilkinson, R. J., ed. Papers on Malay Subjects. Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1971.

Winstedt, Richard. Malaya and its History. London : Hutchinson University Library, 1969.

__________. A History of Johore. Kuala Lumpur : The Malaysian Branch Royal Asiatic

Society, 1992.

__________. A History of Malaya. Singapore : Oxford University Press, 1935.

Wolters, O. W. Early Indonesian Commerce : A study of the origins of Srivijaya. USA. :

Cornell University Press, 1967.

__________. The Fall of Srivijaya in Malay History. Kuala Lumpur : Oxford University Press,

1975.

สำนกัหอ

สมุดกลาง

100

ประวัติการศึกษา

นายศิวาวุฒม ชัยเชาวรินทร สําเร็จการศึกษาปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ปรัชญา ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปการศึกษา 2549 และเขา

ศึกษาตอระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศึกษา ที่คณะอักษรศาสตร ภาควิชา

ประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปการศึกษา 2550

สำนกัหอ

สมุดกลาง