มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว...

10
มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ หมวดที1 ข้อมูลโดยทั่วไป 1. รหัสและชื่อรายวิชา IFM1105 ทักษะการรู้สารสนเทศ Information Literacy Skills 2. จํานวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต (3-0-6) 3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ 4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ วิภาดา เชี่ยวชาญ 5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีท่เรียน ภาคการศึกษาที1 /2557 ชั้นปีท1 6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี ) ไม่มี 7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี ) ไม่มี 8. สถานที่เรียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 9. วันที่จัดทําหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด -

Upload: others

Post on 23-Jan-2020

3 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

มคอ.3

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา

IFM1105 ทักษะการรู้สารสนเทศ Information Literacy Skills

2. จํานวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต (3-0-6)

3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน อาจารย์วิภาดา เชี่ยวชาญ

5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน ภาคการศึกษาที่ 1 /2557 ชั้นปีที่ 1

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี) ไม่มี

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี) ไม่มี

8. สถานที่เรียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

9. วันที่จัดทําหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด -

Page 2: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

2

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค ์ จุดมุ่งหมายของรายวิชา

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการสารสนเทศ 3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์การใช้งานระบบสารสนเทศ

ผลกระทบการใช้งานระบบสารสนเทศต่อบุคคลและสังคม เป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการสารสนเทศ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสําคัญของระบบและกระบวนการสื่อสาร พัฒนาทักษะในการสืบค้นและอ้างอิงข้อมูล การใช้ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ และการจัดการความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีทักษะการนําเสนอข้อมูลสารสนเทศ จรรยาบรรณ ผลกระทบที่มีต่อบุคคลและสังคม นําไปสู่การเป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดําเนินการ 1. คําอธิบายรายวิชา

ความสําคัญของระบบและกระบวนการสื่อสาร พัฒนาทักษะในการสืบค้นและอ้างอิงข้อมูล การใช้ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ และการจัดการความรู้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทักษะการนําเสนอข้อมูลสารสนเทศ จรรยาบรรณ ผลกระทบที่มีต่อบุคคลและสังคม

2. จํานวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสน

าม/การฝึกงาน การศึกษาด้วยตนเอง

บรรยาย 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย

ฝึกปฏิบัติ 12 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา

การศึกษาด้วยตนเอง 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3. จํานวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คําปรึกษาและแนะนําทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล - อาจารย์ประจํารายวิชาตอบข้อสักถามจากนักศึกษาผ่าน e-Mail และเครือข่ายสังคมออนไลน์ และหากข้อคําถามใดที่มีประโยชน์ต่อนักศึกษาท่านอื่น อาจารย์ประจํารายวิชาจะนําขึ้นเว็บไซต์รายวิชานี้ - อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)

Page 3: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

3

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา 1. คุณธรรม จริยธรรม

1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

ให้แนวคิดและสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟต์แวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการจัดการหรือประกาศสารสนเทศอย่างเหมาะสม โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต - มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม - มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม

สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลําดับความสําคัญ - เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ - เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม - สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

1.2 วิธีการสอน

- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศอย่างเหมาะสม ศึกษาผลกระทบของสารสนเทศที่จะเผยแพร่

- มอบหมายงาน และชี้แจงข้อกําหนดในการส่งงาน เพื่อฝึกในเรื่องการตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมในระหว่างการพูดคุยซักถามปัญหา และให้คําปรึกษา 1.3 วิธีการประเมินผล

- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา - มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นํามาทํารายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม

และไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาใส่ในงานของตนเอง - ประเมินผลการนําเสนองานที่มอบหมาย

2. ความรู้ 2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ องค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์และการออกแบบ เพื่อการพัฒนาระบบตามที่ระบุในกรอบมาตรฐาน ได้แก ่ - ความหมาย/ ลักษณะ/องค์ประกอบ ของสารสนเทศและการรู้สารสนเทศ - ห้องสมุดและการบริการห้องสมุด และการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ - การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ และการคัดเลือกแหล่งสารสนเทศ

Page 4: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

4

- กลยุทธ์การค้นและทักษะการค้นสารสนเทศ และประเภทของข้อมูล ที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ - การประเมินคุณค่า วิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ และการเรียบเรียงและการอ้างอิง

การนําเสนอสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ - ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กันในกลุ่มประเทศอาเซียน เชิงเปรียบเทียบ

และแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกันในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน 2.2 วิธีการสอน บรรยาย อภิปราย การทํางานกลุ่ม การนําเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา

และมอบหมายให้ค้นคว้าหางานวิจัยหรือบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนํามาสรุปและนําเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem base learning และ กระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 2.3 วิธีการประเมินผล

- สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี - นําเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง - การมีส่วนร่วมในการเรียนและการเสนอความคิดเห็นในหัวข้อที่คัดสรร

3 ทักษะทางปัญญา 3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา

- พัฒนาความสามารถในการใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการวิเคราะห์ระบบงาน สํารวจความความต้องการ - ความสามารถในการคิด วิเคราะห์และหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ

ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในวิชานี้เพื่อนาไปใช้ในการออกแบบ และเพื่อการแก้ปัญหา 3.2 วิธีการสอน

มอบหมายงานให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวิธีการป้องกันโดยใช้ความรู้ในวิชานี้และวิชาที่เรียนมาแล้วก่อนนี้และนําเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน

3.3 วิธีการประเมินผล สอบกลางภาคและปลายภาค

โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และประยุกต์ความรู้ที่ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา

- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน - พัฒนาความเป็นผู้นําและผู้ตามในการทํางานเป็นทีม - พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกําหนดเวลา - พัฒนาความเข้าใจในบริบทที่แตกต่างกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน

รวมถึงผู้เรียนกับบุคคลภายนอกที่ต้องมีการประสานงานกัน 4.2 วิธีการสอน ให้ทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล

และการนําเสนอรายงาน

Page 5: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

5

4.1 วิธีการประเมินผล - รายงานที่นําเสนอ พฤติกรรมการทํางานเป็นทีม - รายงานการศึกษาด้วยตนเองและสรุปความรู้รวมถึงปัญหาต่างๆ ในการทํางานและการเรียนประจําสัปดาห์

5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา

- ทักษะการคิดคํานวณ เชิงตัวเลข และตรรกศาสตร์ - พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทํารายงาน

และนําเสนอในชั้นเรียน - พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต - ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางระบบ Cloud Computing

การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เช่น Blog การสื่อสารการทํางานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room - ทักษะในการนําเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

5.2 วิธีการสอน - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก เว็บไซต ์สื่อการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)

ศูนย์วิทยบริการของมหาวิทยาลัย และทํารายงาน จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ตอบข้อซักถามและนำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา จัดส่งรายงานทางเทคนิค

- นําเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม - เน้นการสอนที่ใช้ปัญหานําความรู้ที่เกี่ยวข้องตาม และพัฒนาแนวคิดในการออกแบบระบบ

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา 5.3 วิธีการประเมินผล

- การจัดทํารายงาน และนําเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี - มีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย พร้อมทั้งตอบข้อซักถามของอาจารย์

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด จํานวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ผู้สอน

1 - แนะนํารายวิชา - แนวการสอน - การรู้สารสนเทศกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา /บรรยายเชิงอภิปรายกลุ่มระดมพลังสมอง

3 แนะนําแนวการสอน บรรยาย อภิปรายตอบคําถาม ใบงาน สื่อ : คอมพิวเตอร์ , สไลด ์

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

Page 6: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

6 สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด จํานวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ผู้สอน

2 สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ • ความหมายของการรู้สารสนเทศ (information literacy) • ลักษณะของสารสนเทศ • การรู้สารสนเทศ องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

3

การให้ความหมายและการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ • การให้ความหมายและการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ • การกําหนดและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสารสนเทศที่ต้องการ • การกําหนดแนวคิดหลักและคําสําคัญของเรื่องที่ต้องการ

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

4 ห้องสมุดและการบริการห้องสมุด

• ประเภทของห้องสมุด

• ทรัพยากรสารสนเทศ

• การบริการของห้องสมุด

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศกึษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

5

ห้องสมุดและการบริการห้องสมุด (ต่อ)

• การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ

ศึกษาการบริการห้องสมุดและการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ (เข้าห้องสมุด)

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน - ศึกษาเชิงปฏิบัติการ

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

6

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารส

นเทศ

• การจัดการข้อมูล

• แผนภาพกระแสข้อมูล

• การออกแบบระดับกายภาพ

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

7

การคัดเลือกแหล่งสารสนเทศ

• ประเภทของแหล่งสารสนเทศ

• ลักษณะของสารสนเทศ

(information)

และทรัพยากรสารสนเทศ

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

Page 7: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

7 สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด จํานวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ผู้สอน

(information resources)

• การคัดเลือกแหล่งสารสนเทศที่สัม

พันธ์กับความต้องการสารสนเทศ

8 สอบกลางภาค 3 9

กลยุทธ์การค้นและทักษะการค้นสารสนเทศ (กรณีศึกษาเว็บไซต์ Search Engine : www.google.co.th) • กลยุทธ์และเทคนิคการค้นสารสนเทศ • เครื่องมือค้นสารสนเทศประเภทต่างๆ

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

10 ประเภทของข้อมูล

ที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ

• Serial Number

• International Standard Book

Number :ISBN

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

11

ประเภทของข้อมูล

ที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ (ต่อ)

• MARC

• Metadata

• Database

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

12

การประเมินคุณค่า

วิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ

• หลักการอ่านและประเมินคุณค่าสา

รสนเทศ

• การวิเคราะห์สารสนเทศ

(บรรยายเชิงปฏิบัติการ)

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

13

การประเมินคุณค่า

วิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ

(ต่อ)

• การสังเคราะห์สารสนเทศให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมและนําไปใช้ปร

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

Page 8: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

8 สัปดาห์ที่

หัวข้อ/รายละเอียด จํานวนชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)

ผู้สอน

ะโยชน์ได้ตามที่ต้องการ (บรรยายเชิงปฏิบัติการ)

14

การเรียบเรียงและการอ้างอิง

การนําเสนอสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ

• การเรียบเรียงสารสนเทศเป็นเอกส

ารทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ

เช่น รายงาน บทความ

• การอ้างอิงเอกสาร

3 - บรรยาย - นําเสนอด้วย PowerPoint - ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอน

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

15 นําเสนองาน 3 - นําเสนอด้วย PowerPoint และเอกสารประกอบการนําเสนอ

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

16 นําเสนองาน 3 - นําเสนอด้วย PowerPoint และเอกสารประกอบการนําเสนอ

อ.วิภาดา เชี่ยวชาญ

17 สอบปลายภาค 3 2 แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ที่ ผลการเรียนรู้* วิธีการประเมิน สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล

1 1.1, 1.2, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.2, 5.3

สอบกลางภาค สอบปลายภาค

8 16

30% 30%

2 1.1, 1.2, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.2, 5.3

การทํางานและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย

ตลอดภาคการศึกษา

30%

3 1.1, 1.2, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 3.1, 3.2, 4.2, 5.3

การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน

ตลอดภาคการศึกษา 10%

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. เอกสารและตําราหลัก คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ:ทักษะการรู้สารสนเทศ.พิมพ์ครั้งแรก.กรุงเทพฯ,2548 ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสําหรับ:การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุค

Page 9: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

9 เศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสําหรับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2550.

American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology. Information Literacy Standards for Student Learning. (Online). Available from http://www.ala/aasl/aaslproftools/informationpower/InformationLiteracyStandards final.pdf(9/12/2004)

SUNY Council of Library Directors Information Literacy Initiative. (Online). Available from http://www.sunyconnectsunny edu/ili/final.htm, 2003.

Technology Applications (Computer Literacy) Grades 6-8. Texas Education Agency. (Online). Available from http://www.tea.state.tx.us/rules/tac/ch126.htm#s12612 (9/12/2004)

Database, International Standard Book Number, MAchine-Readable Cataloging, Metadata , Serial Number. (Online). Available from http://www.wikipedia.org,2013.

2. เอกสารและข้อมูลสําคัญ

ไม่มี 3. เอกสารและข้อมูลแนะนํา

เว็บไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น wikipedia คําอธิบายศัพท์

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดําเนินการของรายวิชา

1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทําโดยนักศึกษา

ได้จัดกิจกรรมในการนําแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน - การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา - ขอเสนอแนะผ่านเวบบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา

2. กลยุทธ์การประเมินการสอน ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ - การสังเกตการณเ์รียนในชั้นของผู้เรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ - ผลการสอบ - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

Page 10: มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา คณะ ......5 4.1 ว ธ การประเม นผล - รายงานท น าเสนอ

10 3. การปรับปรุงการสอน

หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร

- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม

5. การดําเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน

และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4