บทที่ 2 การตรวจเอกสาร...

19
บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี 2.1 การตรวจเอกสาร ปนัดดา วัฒโน (2554) ศึกษาเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของ ครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การวิจัยเชิงสารวจ ตัวอย่างคือครู ระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 804 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นแบบแบ่ง ชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และการ วิเคราะห์แบบจาลองสมการโครงสร้าง ( Structural Equation Modeling: SEM) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลโดยรวมเชิงบวกจากความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรง พบว่าการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ อิทธิพลของนโยบายและการ บริหารงาน สุธาสินี แม้นญาติ (2554) ศึกษาเรื่อง แบบจาลองความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะ ผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมและระดับภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจาลองความสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูล เชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นา เชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น จานวน 560 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติ พรรณนา สถิติอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนีภาวะผู้นาเชิง จริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีพฤติกรรมภาวะผู้นาเชิง จริยธรรมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นาเชิงจริยธรรม โดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจาลองความสัมพันธ์ โครงสร้างภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นาเชิงจริยธรรมของ ผู้บริหารสถานศึกษา โดยเรียงลาดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ดังนี1) อิทธิพลทางตรง 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยสถานการณ์ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม ปัจจัยบรรยากาศองค์การทางจริยธรรม

Upload: others

Post on 04-Jun-2020

7 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

บทที่ 2

การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎ ี

2.1 การตรวจเอกสาร

ปนัดดา วัฒโน (2554) ศึกษาเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้การวิจัยเชิงส ารวจ ตัวอย่างคือครูระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ านวน 804 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบจ าลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลโดยรวมเชิงบวกจากความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพมากที่สุด เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางตรง พบว่าการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากความรู้เรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพมากท่ีสุด ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ อิทธิพลของนโยบายและการบริหารงาน

สุธาสินี แม้นญาติ (2554) ศึกษาเรื่อง แบบจ าลองความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมและระดับภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจ าลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จ านวน 560 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา สถิติอ้างอิง โดยวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีพฤติกรรมภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรม โดยภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจ าลองความสัมพันธ์โครงสร้างภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้น าเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเรียงล าดับค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) อิทธิพลทางตรง 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยสถานการณ์ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม ปัจจัยบรรยากาศองค์การทางจริยธรรม

Page 2: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

18

และปัจจัยคุณลักษณะ 2) อิทธิพลทางอ้อม 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยคุณลักษณะที่ส่งผ่านปัจจัยบรรยากาศองค์การทางจริยธรรมและปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม ปัจจัยสถานการณ์ที่ส่งผ่านปัจจัยบรรยากาศองค์การทางจริยธรรมและปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรมที่ส่งผ่านปัจจัยบรรยากาศองค์การทางจริยธรรม 3) อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยสถานการณ์ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่เน้นจริยธรรม ปัจจัยบรรยากาศองค์การทางจริยธรรมและปัจจัยคุณลักษณะ

ฑิตยา ใจม่ัน (2552) ศึกษาเรื่องการรับรู้ และการประยุกต์ใช้แนวทางการท าเกษตรแบบพอเพียงของเกษตรกรในอ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับแนวทางเกษตรพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรในอ าเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน จ านวน 377 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรตาม ได้แก่ การรับรู้และการประยุกต์ใช้แนวทางเกษตรพอเพียง ตัวแปรอิสระ แบ่งเป็น ปัจจั ยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จ านวนสมาชิกในครอบครัว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ในการท าการเกษตร รายได้จากการประกอบอาชีพอ่ืน แหล่งเงินทุนในการท าการเกษตร การมีหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับการท าเกษตรกรรม ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ สถานภาพในชุมชน การได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ ปัจจัยทางการเกษตร ได้แก่ ระยะเวลาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประเภทเกษตรกรรมที่ด าเนินการ จ านวนพ้ืนที่ที่ใช้ในการเกษตร โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และน ามาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปเพ่ือวิจัย ผลการศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับแนวทางเกษตรพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ในระดับมาก ได้แก่ ความรู้เรื่องเกษตรพอเพียงจากนักส่งเสริมการเกษตร จากหน่วยงานของรัฐบาล จากสื่อโทรทัศน์ และวิทยุ และจากเพ่ือน ญาติพ่ีน้อง ได้รับรู้ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความรู้เรื่องเกษตรพอเพียงจากวารสาร หนังสื่อป้ายนิเทศต่างๆ และจากการศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้เกษตรพอเพียงหรือการท าการเกษตรแบบพอเพียง

กฤษณา ผาสุก (2551) ศึกษาเรื่อง การรับรู้ของเกษตรกรที่มีต่อการด าเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ าต าบลธารทอง อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาให้ทราบถึง การรับรู้ของเกษตรกรที่มีต่อการด าเนินงานของศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ าต าบลธารทอง อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากตัวอย่างเกษตรกรที่สุ่มมาจาก 11 หมู่บ้าน ในพ้ืนที่ต าบลธารทอง อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย รวม 88 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาการรับรู้ของเกษตรกรที่มีต่อการด าเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ าต าบลธารทอง อ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย แบ่งเป็น ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเกษตร การฝึกอบรม ลักษณะด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ แหล่งเงินทุน พ้ืนที่ท าการเกษตร แรงงานในการท าการเกษตร ลักษณะด้านสังคม ได้แก่ การเป็นสมาชิกกลุ่ม การรับรู้ข่าวสาร การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ข้อมูลที่ได้น ามาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของเกษตรกรต่อการด าเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจ าต าบลธารทอง ด้านองค์ประกอบของศูนย์บริการฯ เกษตรกรรับรู้ถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์บริการฯ และองค์ประกอบของศูนย์บริการฯ ตลอดจนหน้าที่ และการ

Page 3: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

19

ด าเนินงานของศูนย์บริการฯ ด้านคณะท างานเพ่ือบริการศูนย์บริการฯ พบว่า เกษตรกรมีการรับรู้ในเรื่องของการปฏิบัติงานภายในศูนย์บริการฯ ด้านบทบาทหน้าที่และการด าเนินงาน พบว่า เกษตรกรรับรู้น้อยในเรื่องของบทบาทหน้าที่ของผู้อ านวยการศูนย์บริการฯ หรือเกษตรต าบล

2.2 แนวคิดและทฤษฎี

2.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้ 1) ความหมายการรับรู้ นงลักษณ์ จารุวัฒน์ (2547) กล่าวว่า การรับรู้ (Perception) คือ กระบวนการที่มนุษย์

ติดต่อสื่อสารกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยมนุษย์จะท าการตีความท าความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสได้ แล้วท าการตอบสนองกลับไปอย่างเหมาะสม แต่ละคนอาจจะตีความในสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกันออกไปในทางต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับพ้ืนฐานทางจิตใจและความคิดของแต่ละคน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากมนุษย์จึงเลือกรับรู้เฉพาะข้อมูลที่เขาสนใจ แล้วจึงน าสิ่งที่ตีความหมายได้นี้ไปประยุกต์ใช้กับเรื่องต่าง ๆ ต่อไป การรับรู้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน คนสองคนสามารถมองเหตุการณ์เดียวกันไปในคนละทางได้ 7 ปัจจัยอีกปัจจัยที่มีผลในการรับรู้ข้อมูล นอกจากรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ สภาพแวดล้อม การชักจูง ความเชื่อต่าง ๆ หรือแม้แต่ในด้านกายภาพ ซึ่งท าให้เราเข้าใจสิ่งที่เรารับรู้ผิดไป และคนแต่ละคนจะเข้าใจเหตุการณ์แตกต่างกันไป

วิภาพร มาพบสุข (2540) ไดใ้ห้ความหมายของ การรับรู้ หมายถึง กระบวนการซึ่งบุคคลแปล หรือตีความหมายของการรู้สึกสัมผัสที่ได้รับจากตาเห็นภาพ จมูกได้กลิ่น หูไดย้ิน เสียง ผิวหนังรับสัมผัสออกมาเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่มีความหมายหรือรู้จักเขา้ใจได้การที่มนุษย์ สามารถจะแปลความหมายจากการรู้สึกสัมผัส และมีปฏิกิริยา 2) องค์ประกอบของการรับรู้

วิภาพร มาพบสุข (2540) ได้กล่าวถึง องค์ประกอบของการรับรู้ ดังนี้ (1) มีสิ่งเร้าที่จะรับรู้ (Stimulus) เช่น รูป รส กลิ่น เสียง (2) ประสาทสัมผัส (Sense Organs) และความรู้สึกสัมผัส เช่น ห ูตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง (3) ประสบการณ์เดิม หรือความรู้เดิมเก่ียวกับสิ่งเร้าที่ได้สัมผัส (4) การแปลความหมายจากสิ่งที่สัมผัส เช่น ขับรถเห็นสัญญาณไฟแดงที่สี่แยก หมายถึง ให้

รถหยุด เป็นต้น 3) ล าดับขั้นตอนของกระบวนการรับรู้ วิภาพร มาพบสุข (2540) ได้กล่าวไว้ว่า การรับรู้จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ

กระบวนการดังนี้ ขั้นที ่1 สิ่งเร้า (Stimulus) มากระทบอวัยวะสัมผัสของอินทรีย์

ขั้นที่ 2 กระแสประสาทสัมผัสวิ่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่สมองเพ่ือสั่งการ ตรงนี้เกิดการรับรู้ (Perception)

Page 4: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

20

ขั้นที่ 3 สมองแปลความหมายออกมาเป็นความรู้ความเข้าใจโดยอาศัย ความรู้เดิมและประสบการณ์เดิม ความจ า เจตคติ ความต้องการ ปทัสถาน บุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญา ท าให้เกิดการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง

4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ การรับรู้ของบุคคลแต่ละคนจะมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับและสิ่งเร้า กันยา สุวรรณแสง (2532) ได้อธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการรับรู้ดังนี้ ลักษณะของผู้รับและสิ่งเร้า คือการที่บุคคลจะเลือกรับรู้สิ่งใดเป็นอันดับแรกหรือหลัง และรับรู้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้รับและสิ่งเร้า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้รับแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านกายภาพ และด้านจิตวิทยา

(1) ด้านกายภาพ หมายถึง อวัยวะรับสัมผัส เช่น หู ตา จมูก และอวัยวะสัมผัสอ่ืน ๆ ปกติหรือไม่ มีความรู้สึกรับสัมผัสสมบูรณ์เพียงใด เช่น หูตึง เป็นหวัด ตาเอียง ตาบอดสี สายตาสั้น สายตายาว ผิวหนังชา ความชรา ถ้าผิดปรกติหรือหย่อนสมรรถภาพก็ย่อมท าให้การรับสัมผัสผิดไป ความสมบูรณ์ของอวัยวะสัมผัส จะท าให้การรับรู้ได้ดี การรับรู้จะ มีคุณภาพดีขึ้นถ้าเราได้สัมผัสหลายทาง เช่น เห็นภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน ให้เราแปลความหมายของสิ่งเร้าได้ถูกต้อง (2) ด้านจิตวิทยา ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาของคน ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้มีหลายประการ ดังนี้

(2.1) ความรู้เดิม หรือประสบการณ์เดิม เรื่องราวหรือความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่บุคคลมีอยู่จะมีมากน้อยหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งใด ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ประสบการณ์เดิมเป็นสิ่งที่บุคคลสะสมกันมา ตั้งแต่เริ่มเกิดสิ่งเหล่านี้บุคคลจะน ามาใช้คาดคะเนหรือเตรียมการเพ่ือการรับรู้ที่ มีความหมายต่อการด ารงชีวิตของบุคคลมากยิ่งข้ึน (2.2) ความต้องการ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเลือกรับรู้ เมื่อบุคคลเกิดภาวะขาดสิ่งต่าง ๆ ที่จะท าให้ร่างกายท างานไม่เป็นปกติ เช่น การขาดสภาพทางด้านร่างกาย ได้แก่ อาหาร อากาศ น้ า ความต้องการทางเพศ การขับถ่ายของเสีย หรือการขาดทางจิตใจและสังคม ได้แก่ ความรัก ความส าเร็จ ความมีอ านาจ ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะมีมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางสิ่งมีความจ าเป็นต่อบุคคลหนึ่ง แต่อาจไม่จ าเป็นกับอีกคนหนึ่ง ความต้องการของบุคคลจึงต่างกัน (2.3) ความตั้งใจ สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรามีมากมายล้วนแต่มีโอกาสก่อให้เกิดการรับรู้ในตัวเองได้ แต่เราไม่ได้รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเราพร้อม ๆ กัน บุคคลจะเลือกรับรู้สิ่งเราที่ตั้งใจจะรับรู ้ (2.4) แรงจูงใจ มีผลต่อการรับรู้ เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการ ซึ่งท าให้บุคคลเกิดการรับรู้ในสิ่งนั้นเป็นอย่างดี แรงจูงใจเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้บุคคลกระท าหรือมีพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย (2.5) ทัศนคติ ที่มีอยู่จะเป็นเครื่องมือที่เลือกรับสิ่งเร้า และเลือกแนวทางตามสิ่งเร้า (2.6) ภาวะทางอารมณ์ บุคคลที่มีอารมณ์ดี มีความสบายใจ มักจะไม่พิจารณารายละเอียด

ของสิ่งเร้ามากมายนัก จะมองไม่เห็นข้อบกพร่อง มองเห็นสิ่งต่าง ๆเหล่านั้นดีไปหมด แต่หากอยู่ในสภาพ

Page 5: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

21

อารมณ์ที่ไม่ดี ก็มักจะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่น่าชอบใจไปหมด ถ้าบุคคลมีอารมณ์เครียดมาก กล้ามเนื้อประสาท

จะมีความต้านทานต่อกระแสประสาทสูงท าให้เกิดการรับรู้ไม่ดี

(2.7) เชาว์ปัญญา คนที่เฉลียวฉลาดจะรับรู้ได้ดี เร็วและถูกต้องกว่าผู้ที่มีสติปัญญาต่ ากว่า

รวมทั้งแปลความหมายได้ดีมีเหตุผล

(2.8) อิทธิพลของสังคม สภาพความเป็นอยู่ของสังคมและลักษณะของวัฒนธรรม จารีต

ประเพณ ีนิยม เป็นเครื่องก าหนดการรับรู้ของคน ท าให้คนแต่ละกลุ่มรับรู้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป

2.2.2 แบบจ าลองสมการโครงสร้างเชิงเส้น

แบบจ าลองลิสเรลเป็นแบบจ าลองที่แสดงความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปร

ทั้งหมดมาจากค าภาษาอังกฤษว่า “Linear Structure RELationship : LISREL Model ” ซึ่งชื่อ “ลิสเรล”

ได้มาจากอักษรภาษาอังกฤษตัวพิพม์ใหญ่ นั่นเอง นอกจากนี้แบบจ าลองลิสเรลยังมีชื่อว่า “ แบบจ าลองสมการ

โครงสร้างเชิงเส้น ” (Linear Structure Equation Modeling) และ“ แบบจ าลองโครงสร้างความแปรปรวน

ร่วม ” (Covariance Structure Model) ผู้ที่พัฒนาโปรแกรมลิสเรล (Linear Structure RELationship :

LISREL Model) คือ K.G. Joreskog และ D. Sorbom ในช่วงปี ค.ศ.1967 – 1979

การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลส าหรับการวิจัยที่มีแบบจ าลองเชิง

สาเหตุ (Causal-Model) มีตัวแปรแฝง (Latent Variables) ที่มีตัวบ่งชี้หลายตัว มีการประมาณค่าความ

คลาดเคลื่อนและความสัมพันธ์ระหว่างเศษเหลือ ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องแม่นย า อีกทั้งแบบจ าลอง

ลิสเรลยังมีคุณลักษณะทั่วไป (Generality) ครอบคลุมวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติข้ันสูง เกือบทุกรูปแบบทั้ง

การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) หรือ ANOVA การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

(Multiple Regression Analysis) การวิ เคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance) หรือ

ANCOVA สถิติ วิ เคราะห์กลุ่มพหุ (Multi-Sample Analysis or Multi Group Analysis) การวิ เคราะห์

องค์ประกอบ (Factor Analysis) การวิเคราะห์อิทธิพล (Path Analysis) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล

(Canonical Correlation Analysis) และการวิเคราะห์อ่ืน ๆ อีกหลายแบบ นักวิจัยที่มีความรู้ความเข้าใจ

เทคนิคการวิเคราะห์แบบจ าลองลิสเรลจะเข้าใจลักษณะร่วมกันของสถิติวิเคราะห์ดังกล่าว

Page 6: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

22

จากการศึกษาการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์

สหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) การวิเคราะห์ตัวแปรร่วม (Commonality Analysis) หรือการ

วิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Canonical Correlation Analysis) ล้วนแต่ชี้ถึงความสัมพันธ์แบบธรรมดา

ระหว่างตัวแปรหรือกลุ่มตัวแปร ไม่ได้ยืนยันหรือสนับสนุนถึงความสัมพันธ์ในรูปที่เป็นสาเหตุและผล การยืนยัน

หรือสนับสนุนในรูปที่เป็นสาเหตุและผล ก็คือ การยืนยันหรือสนับสนุนว่าตัวแปรอิสระ ตัวใดเป็นสาเหตุให้เกิด

ความแปรปรวนหรือความแตกต่างในตัวแปรตาม และสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่เกิดจากตัวแปรอิสระนั้น ๆ

โดยตรง หรือสาเหตุโดยทางอ้อมกล่าวคือ ไปร่วมกับตัวแปรอ่ืนในการท าให้เกิดความแปรปรวนในตัวแปรตาม

หรือเป็นไปทั้งสองทาง ซึ่งการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรลจึงเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มี แบบจ าลองเชิง

สาเหตุ (Causal-Model) ดังกล่าว

การวิเคราะห์แบบจ าลองเชิงสาเหตุเป็นการประยุกต์เพ่ือการศึกษาความสัมพันธ์เชิง

โครงสร้าง (Structural Relation) ระหว่างตัวแปรแฝงโดยการประยุกต์หลักการของ Path Analysis และ

Confirmatory Factor Model

1) ตัวแปรที่ใช้ในแบบจ าลองการวิจัย

ตัวแปรที่ใช้ในแบบจ าลองการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

(1) ตัวแปรภายนอก (Exogenous Variables) หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยไม่สนใจศึกษา

สาเหตุของตัวแปรเหล่านี้ ตัวแปรสาเหตุของตัวแปรภายนอกจึงไม่ปรากฏในแบบจ าลอง

(2) ตัวแปรภายใน (Endogenous Variables) หมายถึง ตัวแปรที่นักวิจัยสนใจศึกษาว่า

ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรใด สาเหตุของตัวแปรภายในจะแสดงไว้ในแบบจ าลองอย่างชัดเจน

เมื่อแบ่งประเภทของตัวแปรในแบบจ าลองการวิจัยตามลักษณะการวัดตัวแปร จะแบ่งได้

เป็ น 2 ประ เภท คื อตั วแป รแฝง (Latent or Unobserved Variables) เป็ นตั วแปรเชิ งสมมติ ฐาน

(Hypothesis Variables ) ที่ไม่สามารถวัดได้โดยตรงแต่มีโครงสร้างตามทฤษฎีแสดงผลออกมาในรูปของ

พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ ตัวแปรแฝงเป็นตัวแปรที่ปลอดจากความคลาดเคลื่อนในการวัด นักวิจัยศึกษาตัว

แปรแฝงโดยการวัดตัวแปรพฤติกรรมที่สังเกตได้แทน และประมาณค่าตัวแปรแฝงได้จากการน ากลุ่มตัวแปร

สังเกตได้ที่ เป็นตัวบ่งชี้ของตัวแปรแฝงนั้นมาวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ตัวแปรสังเกตได้

(Observed or Manifest Variables) เป็นตัวแปรที่สามารถวัดหรือสังเกตได้โดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น

Page 7: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

23

2) แบบจ าลองลิสเรล

ลักษณะของแบบจ าลองลิสเรลประกอบด้วย 2 แบบจ าลอง คือ แบบจ าลองการวัด

(Measurement Model) เป็นแบบจ าลองอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สังเกตได้กับตัวแปรแฝง และ

แบบจ าลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model) เป็นแบบจ าลองอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัว

แปรแฝง ซึ่งความสัมพันธ์ของตัวแปรในแบบจ าลองทั้งหมด สามารถแสดงได้ตามภาพประกอบที่ 2.1 ดังนี้

ภาพที่ 2.1 แสดงแบบจ าลองรวมในโปรแกรมลิสเรล

Page 8: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

24

ตารางที่ 2.1 แสดงสัญลักษณ์ภาษากรีกและตัวย่อภาษาอังกฤษ (นงลักษณ์ วิรัชชัย,2542:27)

ภาษากรีก ค าอ่าน ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย แทน

Ksi K คาย เวคเตอร์ตัวแปรแฝงภายนอก

Eta E อีต้า เวคเตอร์ตัวแปรแฝงภายใน

X Eks X อีส เวคเตอร์ตัวแปรภายนอกที่สังเกตได้ Y Wi Y ไว เวคเตอร์ตัวแปรภายในที่สังเกตได้

Delta d เดลต้า เวคเตอร์ความคลาดเคลื่อน d ในการวัด ตัวแปร X

Epsilon e เอพซะลอน เวคเตอร์ความคลาดเคลื่อน e ในการวัด ตัวแปร Y

Zeta z ซีต้า เวคเตอร์ความคลาดเคลื่อน z ในการวัด

ตัวแปร

X Lambda – X LX แลมด้า-เอ็ก เมตริกซ์สัมประสิทธิ์การถดถอยของ X บน

Y Lambda – Y LY แลมด้า-วาย เมตริกซ์สัมประสิทธิ์การถดถอยของ Y บน

Gamma GA แกมมา เมตริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปร ต่อ

Beta BE เบต้า เมตริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร

Phi PH ฟี เมตริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมระหว่างตัวแปรภายนอกแฝง

Psi PS พาย เมตริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อน z

Theta – Delta

TD ธีต้า-เดลต้า เมตริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อน d

Theta - Epsilon

TE ธีต้า- เอพซะลอน

เมตริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อน e

Page 9: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

25

แบบจ าลองการวัดตามภาพประกอบ มีตัวแปรแฝงที่เป็นตัวแปรภายนอก 2 ตัวแปร และตัวแปรแฝงที่เป็นตัวแปรภายใน 2 ตัวแปร

ความหมายของสมาชิกในรูปภาพมีดังนี้ 1. ตัวแปรแฝง ( Latent Constructs) ในแบบจ าลองสมการโครงสร้าง ตัวแปรที่เป็นกุญแจส าคัญท่ีให้ความสนใจโดยปกติคือ ตัวแปรที่เป็น

โครงสร้างแฝง มีลักษณะการวัดที่เป็นนามธรรม เช่น เชาว์ปัญญาหรือเจตคติ เราสามารถสังเกตพฤติกรรมของตัวแปรแฝงได้ทางอ้อมและไม่สมบูรณ์ โดยจะต้องศึกษาผ่านอิทธิพลของตัวแปรที่สังเกตได้ (Manifest Variables ) แบบจ าลองสมการโครงสร้างมีตัวแปรแฝง 2 ชนิดคือ ตัวแปรแฝงภายนอกและตัวแปรแฝงภายใน (Exogenous and Endogenous ) ในระบบธรรมเนียมโดยมากให้ตัวแปรแฝงภายนอกแสดงด้วย

ตัวอักษรกรีกว่า “Ksi”() และตัวแปรแฝงภายในแสดงด้วยตัวอักษรกรีกว่า “Eta”() ตัวแปรแฝงภายนอกเป็นตัวแปรอิสระในทุก ๆ สมการที่มันปรากฏ ขณะที่ตัวแปรแฝงภายในเป็นตัวแปรตามในสมการเดียว แม้ว่ามันอาจจะเป็นตัวแปรอิสระในสมการอื่น ๆ แต่ในรูปภาพตัวแปรแฝงภายในแต่ละตัวจะตกเป็นเป้าของหัวลูกศรอย่างน้อย 1 ด้าน ขณะที่ตัวแปรภายนอกเป็นต้นก าเนิดลูกศรทั้ง 2 ด้าน

2. แบบจ าลองโครงสร้าง (Structural Model) ในแบบจ าลองสมการโครงสร้างจะรวมความสัมพันธ์เชิงสหสัมพันธ์และเชิงสาเหตุระหว่างโครงสร้าง

แฝง ในรูปภาพที่ 2.1 ลูกศรหัวเดียวจะน าเสนอความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่หัวลูกศร 2 หัวจะน าเสนอความสัมพันธ์เชิงสหพันธ์ พารามิเตอร์ที่น าเสนอสหสัมพันธ์ของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจะแสดงด้วยอักษร

กรีกว่า “Gamma” () ส าหรับการถดถอยของตัวแปรแฝงภายในบนตัวแปรแฝงภายนอก และอักษรกรีกว่า “Beta” () ส าหรับการถดถอยของตัวแปรแฝงภายในตัวหนึ่ งบนตัวแปรแฝงภายในอีกตัวหนึ่ ง ส่วน

พารามิเตอร์ที่แสดงด้วยอักษรกรีก “Phi” () จะน าเสนอความแปรปรวนร่วมระหว่างตัวแปรแฝงภายนอก ความแปรปรวนร่วมนี้มาจากตัวท านายร่วมกันของตัวแปรภายนอกที่อยู่ภายนอกแบบจ าลองที่พิจารณา

3. ความคลาดเคลื่อนของโครงสร้าง (Structural Error) นักวิจัยที่ใช้แบบจ าลองสมการโครงสร้าง มักจะคาดหวังให้มีความสมบูรณ์ในการท านายตัวแปรตาม

แต่เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ดังนั้นแบบจ าลองจะรวมความคลาดเคลื่อนของโครงสร้างไว้ด้วยอักษรกรีกว่า

“Zeta”() ส่วนพารามิเตอร์ที่แสดงด้วยอักษรกรีกว่า “Psi” () จะน าเสนอความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อน

4. ตัวแปรสังเกต (Manifest Variables) ตัวแปรสังเกตสามารถวัดได้จริงเป็นคะแนน ตัวแปรสังเกตจะถูกสัมพันธ์กับโครงสร้างภายนอก มี

ชื่อว่า X ที่สัมพันธ์กับโครงสร้างภายในที่มีชื่อว่า Y และในการวัดที่มีชื่อว่า X ในแบบจ าลองหนึ่งอาจจะมีชื่อว่า Y ในอีกแบบจ าลองหนึ่ง

Page 10: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

26

5. แบบจ าลองการวัด (Measurement Model) ในสมการโครงสร้าง โครงสร้างแฝงแต่ละตัวโดยปกติจะสัมพันธ์กับการวัดหลายตัว ผู้วิจัยโดยมาก

จะเชื่อมโยงโครงสร้างแฝงที่ต้องการวัดไปยังองค์ประกอบที่จะวิเคราะห์ในแบบจ าลองการวัดนั่นคือ โครงสร้างแฝงแต่ละตัวก็คือองค์ประกอบร่วมภายในที่ถูกสัมพันธ์กับการวัด “ ค่าน้ าหนัก” (loading) เชื่อมโยง

โครงสร้างการวัดมีชื่อเป็นภาษากรีกว่า “lambda”( ) แบบจ าลองสมการโครงสร้างสามารถรวมทั้งสองส่วนที่แยกกันได้ นั่นคือ เมตริกซ์แลมด้า ชุดที่หนึ่งจะอยู่ด้านตัวแปรสังเกต X และอีกชุดหนึ่งจะอยู่ด้านตัวแปรสังเกต Y ในการใช้สมการโครงสร้าง แบบจ าลองการวัดโดยมากเป็นแบบจ าลองการวัดแบบคอนเจนเนอริค เมื่อการวัดแต่ละตัวถูกสัมพันธ์กับโครงสร้างแฝงเพียง 1 ตัว

6. ความคลาดเคลื่อนในการวัด (Measurement Error) ในการวัดใด ๆ ก็ตามย่อมไม่สมบูรณ์ ดังนั้นในแบบจ าลองสมการโครงสร้างก็จะรวมความ

คลาดเคลื่อนในการวัดด้วย ความคลาดเคลื่อนในการวัดที่สัมพันธ์กับการวัด X จะมีชื่อว่า “Delta” ()

ขณะสัมพันธ์กับการวัด Y จะมีชื่อว่า “Epsilon ()

แบบจ าลอง LISREL เต็มรูปแบบสามารถก าหนดได้ดังนี้

พิจารณาเวกเตอร์ ’ = (1,2,...,m) และ ’ = (1,2,…,n) ของตัวแปรแฝงที่เป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ตามล าดับ และเขียนเป็นระบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น

= + +

เมื่อ (m x m) และ (m x n) คือเมตริกซ์สัมประสิทธิ์อิทธิพลและ ’ = (1, 2,…, m)

คือเวกเตอร์ ของส่วนเหลือ (Residual) ในสมการ (ความคลาดเคลื่อนในสมการ) คืออิทธิพลทางตรงของตัว

แปร บนตัว แปร ตัวอ่ืนๆ และ คืออิทธิพลทางตรงของตัวแปร บนตัวแปร และสมมติว่า ไม่

สัมพันธ์กับ และ - เป็น Non-singular

เวกเตอร์ และ ไม่ได้เป็นตัวแปรสังเกต แต่เวกเตอร์ Y’ = (Y1,Y2,…,Yp) และ X’ = (X1,X2,…,Xq ) เป็นตัวแปรสังเกต ดังนั้น

Y = y+

และ X = x +

เมื่อ และ คือ เวกเตอร์ของคลาดเคลื่อนในการวัด ในสมการแสดงการทดถอย พหุคูณ

ของ Y บน และ X บน ส่วน Y และ X ซึ่งเป็นตัวแปรที่สังเกตได้และ และ ตัวแปรแฝงความ

คลาดเคลื่อน และ ถูกสมมติว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันแต่อาจจะสัมพันธ์ในตัวมันเอง ข้อตกลงที่ว่า

ไม่สัมพันธ์กับ สามมารถท่ีจะยึดหยุ่นได้

Page 11: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

27

โดยสรุป แบบจ าลอง LISREL เต็มรูปแบบจะถูกก าหนดโดยสมการ 3 สมการ

แบบจ าลองสมการโครงสร้าง = ++

แบบจ าลองการวัดส าหรับ Y = +

แบบจ าลองการวัดส าหรับ X = + และมีข้อตกลงเบื้องต้นที่ว่า

1. ไม่สัมพันธ์กับ

2. ไม่สัมพันธ์กับ

3. ไม่สัมพันธ์กับ

4. , และ ไม่สัมพันธ์กัน

5. – เป็น non-singular (เมตริกซ์ที่หาอินเวอร์สได้)

ล าดับขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล

ขั้นตอนที่ 1 ก าหนดแบบจ าลองความสัมพันธ์ตามสมมติฐาน (Relation of Specification Model) การก าหนดลักษณะของแบบจ าลองที่จะวิเคราะห์ โดยแบบจ าลองนี้ได้มาจากการศึกษาทฤษฎีที่

เกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ ที่ก าหนดไว้ในแบบจ าลองและน ามาเขียนเป็นแบบจ าลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ แบบจ าลองลิสเรลจะประกอบด้วยแบบจ าลอง 2 แบบจ าลอง ดังนี้ 1. แบบจ าลองการวัด (Measurement Model) เป็นแบบจ าลองแสดงสัมประสิทธิ์ถดถอยระหว่าง

ตัวแปรแฝง (Latent Variables) กับตัวแปรสังเกตได้ (Observed Variables) ประกอบด้วย แบบจ าลองการวัดส าหรับตัวแปรภายนอก และแบบจ าลองการวัดส าหรับตัวแปรภายใน ในแบบจ าลองการวัดนี้มีวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่ส าคัญ 2 วิธี คือ 1.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวแปรแฝงที่ไม่สามารถสังเกตได ้ 1.2 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เป็นการวิเคราะห์ท าให้ได้ค่าสถิติที่ช่วยท าให้ทราบค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริง และค่าตัวแปรที่วัดได้จะบอกค่าความคลาดเคลื่อนของ การวัดในแต่ละตัวแปร

2. แบบจ าลองสมการโครงสร้ าง (Structural Equation Model) เป็ น แบบจ าลองแสดงความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างตัวแปรแฝงด้วยกัน ซึ่งในแบบจ าลองนี้มีวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่ส าคัญ คือการวิเคราะห์เส้นทาง ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายนอกและตัวแปรแฝงภายใน (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542 :78) การวิเคราะห์เส้นทางโดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณจะท าให้ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (Standard Regression Coefficient) หรือค่า Beta ซึ่งเป็นค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) หรือค่าอิทธิพลระหว่างตัวแปร ดังนั้นค่าขนาดอิทธิพลทางตรงของตัวแปรที่เป็นสาเหตุต่อตัวแปรที่เป็นผล ก็คือ ค่า Beta () ที่ปรากฏอยู่ในสมการพยากรณ์

Page 12: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

28

ขั้นตอนที่ 2 การก าหนดข้อมูลจ าเพาะของแบบจ าลอง (Specification of the Model) การวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมลิสเรลนั้น สามารถวิเคราะห์ได้ทั้งแบบจ าลองที่มีตัวแปรแฝงและ

ตัวแปรสังเกตได้ วิเคราะห์ได้ทั้งข้อมูลที่เป็นแบบจ าลองความสัมพันธ์ทางเดียวและความสัมพันธ์ย้อนกลับดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีนี้ จึงต้องก าหนดข้อมูลจ าเพาะของแบบจ าลองความสัมพันธ์ของตัวแปรเพ่ือแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร ซึ่งสามารถก าหนดข้อมูลจ าเพาะได้ 3 รูปแบบ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542 : 30)

1. พารามิเตอร์ก าหนด (Fixed Parameter : FI) หมายถึง พารามิเตอร์ในแบบจ าลองการวิจัยที่ไม่มีเส้นแสดงอิทธิพลระหว่างตัวแปรซึ่งสามารถก าหนดค่าความสัมพันธ์ในเมตริกซ์ด้วยสัญลักษณ์ “0”

2. พารามิเตอร์บังคับ (Constrained Parameter: ST) หมายถึง พารามิเตอร์ในแบบจ าลองการวิจัยที่มีเส้นแสดงอิทธิพลระหว่างตัวแปร และพารามิเตอร์ขนาดอิทธิพลนั้นเป็นค่าที่จะต้องมีการประมาณแต่มีเงื่อนไขก าหนดให้ พารามิเตอร์บางตัวมีค่าเฉพาะคงที่ ซึ่งถ้าบังคับให้เป็น 1 ก็สามารถก าหนดค่าความสัมพันธ์ในเมตริกด้วยสัญลักษณ์ “1”

3. พารามิเตอร์อิสระ (Free Parameter: FR) หมายถึง พารามิเตอร์ในแบบจ าลองการวิจัยที่ต้องการประมาณค่าและไม่ได้บังคับให้มีค่าอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้สัญลักษณ์ “*”

ขั้นตอนที่ 3 การระบุความเป็นได้ค่าเดียวของแบบจ าลอง (Identification of the Model) แบบจ าลองสมการโครงสร้างทุกชนิด เมื่อน ามาวิเคราะห์ประมาณค่าพารามิเตอร์จะต้องมีการระบุ

ความเป็นไปได้ค่าเดียวของพารามิเตอร์ที่จะประมาณค่า การประมาณค่าพารามิเตอร์ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยการแก้สมการ

โครงสร้างเพ่ือหาค่าพารามิเตอร์ ซึ่งเป็นตัวไม่ทราบค่าในสมการ ถ้ามีจ านวนสมการโครงสร้างเท่ากับจ านวนพารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณค่า จะแก้สมการหารากของสมการได้ค่าเดียว

การระบุความเป็นไปได้ค่าเดียวของแบบจ าลอง คือ การระบุว่าแบบจ าลองนั้นสามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ได้เป็นค่าเดียวหรือไม่ ถ้าจ านวนสมการโครงสร้างเท่ากับจ านวนพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าในแบบจ าลอง จะประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ค่าเดียวส าหรับพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าแต่ละตัว เรียกแบบจ าลองนั้นว่า แบบจ าลองระบุความเป็นไปได้ค่าเดียวพอดี หรือแบบจ าลองระบุพอดี (Just Identified Model) ถ้าจ านวนสมการมากกว่าจ านวนพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าในแบบจ าลอง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากนักวิจัยมีเงื่อนไขบังคับ (Constrains) เพ่ิมเติม หรืออาจเนื่องมาจากการที่นักวิจัยปรับแบบจ าลองการวิจัยจากแบบจ าลองเต็มรูปเป็นแบบจ าลองลดรูป อันเป็นการเพ่ิมเงื่อนไขยังคับให้พารามิเตอร์ ซึ่งแทนเส้นอิทธิพลบางตัวมีค่าเป็นศูนย์ กรณีนี้เรียกแบบจ าลองนั้นว่า แบบจ าลองระบุความเป็นได้ค่าเดียวเกินพอดี หรือแบบจ าลองระบุเกินพอดี (Over Identified Model) และถ้าจ านวนสมการน้อยกว่าจ านวนพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่า เรียกแบบจ าลองนั้นว่า แบบจ าลองระบุความเป็นได้ค่าเดียวไม่พอดี (Under Identified Model) และแบบจ าลองประเภทนี้จะไม่สามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ (Pedhazur,1982:615-616)

Page 13: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

29

เงื่อนไขจ าเป็นของการระบุได้พอดี (Necessary Condition) การตรวจสอบเงื่อนไขจ าเป็นของการระบุได้พอดี นั้น จ านวนพารามิเตอร์ที่ไม่ทราบค่าจะต้องน้อย

กว่าหรือเท่ากับจ านวนสมาชิกในเมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของกลุ่มตัวอย่าง เงื่อนไขข้อนี้เรียกว่า กฎที (t-Rule) เป็นเงื่อนไขที่จ าเป็นแต่ไม่พอเพียงที่จะระบุความเป็นไปได้ค่าเดียวของแบบจ าลอง การตรวจสอบเงื่อนไขข้อนี้ท าได้โดยสะดวก เมื่อใช้โปรแกรมลิสเรลเพราะผลการวิเคราะห์จะให้จ านวนพารามิเตอร์ที่ต้องการประมาณค่า (t) และจ านวนตัวแปรสังเกตได้ (N1) ซึ่งน ามาค านวณจ านวนสมาชิกในเมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมได้ กฎทีกล่าวว่า แบบจ าลองระบุค่าได้พอดีเมื่อ

t < (1/2) (N1) (N1 + 1) (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542: 46)

ขั้นตอนที่ 4 การประมาณค่าพารามิเตอร์จากแบบจ าลอง (Parameter Estimation from the Model)

หลักการส าคัญในการวิเคราะห์แบบจ าลองลิสเรล คือ การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างแบบจ าลองลิสเรลที่เป็นสมมติฐานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การเปรียบเทียบใช้ เมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมเป็นตัวเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ โดยน า เมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมที่ค านวณได้จากกลุ่มตัวอย่างอันเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ (แทนเมตริกซ์ด้วยสัญลักษณ์ S) มาเปรียบเทียบกับเมตริกซ์ความแปรปรวนร่วมที่ถูกสร้างขึ้นจากพารามิเตอร์ที่ประมาณค่าได้จากแบบจ าลอง ลิสเรลที่เป็นสมมติฐานการวิจัย (แทนเมตริกซ์ด้วยสัญลักษณ์ Sigma) ถ้าเมตริกซ์ทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกัน หมายความว่า แบบจ าลองลิสเรลที่เป็นสมมติฐานวิจัยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

การประมาณค่าพารามิเตอร์จากแบบจ าลอง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยการแก้สมการโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพ่ือหาค่าพารามิเตอร์ ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ทราบค่าในสมการ ซึ่งการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมลิสเรลสามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ 7 วิธี

1. วิธีตัวแปรอินสตรูเม็นทัล (Instrumental Variables: IV) 2. วิธีก าลังสองน้อยที่สุดสองขั้นตอน (Two-Stage Least Squares: TSLS) 3. วิธีก าลังสองน้อยที่สุดไม่ถ่วงน้ าหนัก (Unweighted Least Squares: ULS) 4. วิธีก าลังสองน้อยที่สุดวางนัยทั่วไป (Generalized Least Squares: GLS) 5. วิธีไลค์ลิฮูดสูงสุด (Maximum Likelihood: ML) 6. วิธีก าลังสองน้อยที่สุดถ่วงน้ าหนักทั่วไป (Generally Weighted Least Squares: WLS) 7. วิธีก าลังสองน้อยที่สุดถ่วงน้ าหนักแนวทแยง (Diagonally Weighted Least Square: DWLS) วิธีการทั้ง 7 ชนิดนี้จะให้ความสอดคล้องในการประมาณค่าพารามิเตอร์ หมายความว่า เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลชุดเดียวกันด้วยวิธีการทั้ง 7 วิธี จะประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ใกล้เคียงกันข้อแตกต่าง ในแต่ละวิธีมีดังนี ้

- TSLS และ IV จะเป็นวิธีการทีไม่มีการท าซ้ า (Iterative) และวิเคราะห์ได้เร็วมาก เป็นการประมาณค่าพ้ืนฐานของตัวแปรอ้างอิง ซึ่งตัวแปรอ้างอิงของตัวแปรแฝงก็คือ ตัวแปรสังเกต - ULS จะใช้ได้ดีเมื่อตัวแปรทั้งหมดท่ีถูกวัดอยู่ในหน่วยเดียวกัน

Page 14: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

30

- GLS อาจจะใช้ค านวณการประมาณค่าพารามิเตอร์เสมอถ้าการแจกแจงของตัวแปรสังเกตเบี่ยงเบนไปจากความเป็นปกติ - ML เป็นวิธีที่มาจากหลักการ Maximum Likelihood บนพ้ืนฐานข้อตกลงเบื้องต้นว่า ตัวแปรสังเกตมีการแจกแจงเป็นปกติ - WLS เป็นวิธีการที่ควรจะใช้เมื่อสหสัมพันธ์ Polychoric ถูกใช้เป็นข้อมูลน าเข้าวิเคราะห์ - DWLS พัฒนามาจากวิธี WLS โดยพยายามลดเวลาคอมพิวเตอร์ในการค านวณ กล่าวคือ แทนที่จะค านวณจากทุกสมาชิกในเมตริกซ์ ก็ค านวณเฉพาะสมาชิกในแนวทแยงของเมตริกซ์ - ULS, GLS และML จะแสดงความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในพารามิเตอร์แต่ละตัวที่ถูกประมาณค่า - IV และ TSLS จะไม่แสดงความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน วิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ที่นิยมกันมาก คือ วิธีความเป็นไปได้สูงสุด (Maximum Likelihood : ML) หรือวิธีไลค์ลิฮูดสูงสุด การประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธี ML เป็นวิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบจ าลอง ลิสเรลที่แพร่หลายมากที่สุด วิธีนี้ใช้ฟังก์ชั่นความกลมกลืนที่ไม่ใช่ฟังก์ชั่นแบบเส้นตรง แต่ก็เป็นฟังก์ชั่นที่บอกความแตกต่างระหว่างเมตริกซ์ S กับ Sigma ได้ ถ้าเมตริกซ์ทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกัน เทอมแรกของฟังชันก์จะมีค่าเท่ากับเทอมที่สามในขณะที่เทอมกลางมีค่าเป็นศูนย์ นอกจากนี้การประมาณค่าด้วยวิธี ML นี้มีความคงเส้นคงวา มีประสิทธิภาพและเป็นอิสระจากมาตรวัด การแจกแจงสุ่มของค่าประมาณพารามิเตอร์ที่ ได้จากวิธี ML เป็นแบบปกติและความแกร่งของค่าประมาณขึ้นอยู่กับขนาดของค่าพารามิเตอร์ (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2542)

ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบความกลมกลืนหรือความสอดคล้อง (Goodness of Fit Test) การทดสอบความสอดคล้อง (Goodness of Fit Test) ระหว่างข้อมูลจากกกลุ่มตัวอย่างหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ กับแบบจ าลองสมมติฐานการวิจัย เป็นการเปรียบเทียบเมตริกซ์ที่ได้จากแบบจ าลองสมมติฐานการวิจัย (สัญลักษณ์ ∑ ) กับเมตริกซ์ที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ (สัญลักษณ์ S) เพ่ือตรวจสอบความตรงของแบบจ าลอง (Model Validation ) สมมติฐานที่ใช้ในการทดสอบ คือ Ho : ∑ = S ค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของแบบจ าลอง เป็นค่าสถิติที่ใช้วัดระดับความกลมกลืนเพ่ือทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้ (Joreskog and Sorbom, 1973 :122-125)

1. ค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi –Square Statistics : 2) เป็นค่าสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานทางสถิติว่าแบบจ าลองสมมติฐานไม่แตกต่างจากข้อมูลใช่หรือไม่ ถ้าค่าสถิติไค-สแควร์ มีค่าต่ ามากหรือยิ่งเข้าใกล้ศูนย์มากเท่าไรแสดงว่าแบบจ าลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การใช้ค่าไค-สแควร์ เป็นค่าสถิติทดสอบความสอดคล้องหรือความไม่สอดคล้องนั้น ถ้าหากมีค่ามากจนมีนัยส าคัญทางสถิติ นั่นคือ รูปแบบไม่สอดคล้อง (Bad Fit) และถ้าหากมีค่าน้อยมากจนไม่มีนัยส าคัญทางสถิติ แสดงว่า รูปแบบสอดคล้อง (good fit) ค่า df เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการตัดสินค่าไค-สแควร์ ว่า มีค่ามากหรือน้อย

การวัด 2 จะถูกใช้ในการทดสอบทางสถิติเป็นการทดสอบแบบจ าลองโดยมี Degree of

Freedom ของ 2 ดังนี้ df = (p + q) (p + q + 1) – t

Page 15: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

31

เมื่อ p + q คือจ านวนของตัวแปรสังเกตที่ถูกวิเคราะห์ และ t คือจ านวนของพารามิเตอร์ที่ถูกประมาณค่าอิสระ ค่า p – value จะถูกรายงานโดยโปรแกรมเป็นระดับความน่าจะเป็น นั่น

คือ ความน่าจะเป็นของค่า 2 มีมากจนไม่มีนัยส าคัญทางสถิติแสดงว่าแบบจ าลองนั้นสอดคล้องกับข้อมูล โดยจะ ค านวณค่า Chi-Square ดังนี้

2 = (n-1) FML โดย FML คือ Minimum Fit Function Value มีสมมติฐาน คือ H0: แบบจ าลองมีความสอดคล้องดี H1: แบบจ าลองยังไม่สอดคล้อง เมื่อ S แทนเมตริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์ ∑ แทนเมตริกซ์ความแปรปรวน – ความแปรปรวนร่วมของตัวแปรสังเกตได้ที่ประมาณจาก

แบบจ าลอง ถ้าค่าไค-สแควร์มีนัยส าคัญแสดงว่า แบบจ าลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ไม่สอดคล้องกลมกลืนกัน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าไค-สแควร์ คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง และการฝ่าฝืนการแจกแจงของข้อมูลแบบปกติพหุ (Joreskog & Sorbom, 1988) ดังนั้น การใช้เพียงค่าสถิติไค-สแควร์สรุปความสอดคล้องระหว่างแบบจ าลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จึงเป็นการพิจารณาอย่างคร่าวๆ เท่านั้น (Bollen & Long,1993)

2. ดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (Goodness of Fit Index: GFI) เป็นดัชนีที่ใช้ในการเปรียบเทียบระดับความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของแบบจ าลอง หรอืกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดัชนี GFI เป็นดัชนีที่วัดการผันแปรและการผันแปรร่วมที่แบบจ าลองสามารถอธิบายได้ ค่า GFI มีค่าอยู่ระหว่าง 0 และ 1 หากมีค่ามากกว่า 0.90 แสดงว่า แบบจ าลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่า GFI จะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มตัวอย่าง) GFI มีสมการดังนี้

s แทนสมาชิกในแนวทแยงและใต้แนวทแยงของเมตริกซ์ S แทนสมาชิกในแนวทแยงและใต้แนวทแยงของเมตริกซ์

W แทนเมตริกซ์ใช้ถ่วงน้ าหนัก 3. ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI) ซึ่งน า

GFI มาปรับแก้ด้วยอัตราความเป็นอิสระของแบบจ าลอง และค านึงถึงขนาดของตัวแปรและกลุ่มตัวอย่าง ค่านี้ใช้เช่นเดียวกับ GFI ค่า GFI และAGFI ที่เข้าใกล้ 1 แสดงว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

AGFI มีสมการ ดังนี้ (d คือ Degree of Freedom)

Page 16: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

32

AGFI 1 - (1 – GFI)

4. ค่าดัชนีความพอเหมาะพอดีของแบบจ าลองประหยัด (The parsimonious goodness of fit index (PGFI) ที่ปรับแก้จาก GFI ค านวณได้จาก

PGFI = 1-

เมื่อ P คือ จ านวนของพารามิเตอร์ที่ถูกประมาณค่าในแบบจ าลอง และ N คือ จ านวนชุดข้อมูล PGFI จะมีพิสัยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ซึ่งถ้าค่ายิ่งสูงบ่งบอกถึงความประหยัดมาก ค่าสูงในที่นี้ไม่มี

เกณฑ์ก าหนดว่าเท่าไร่ 5. ค่า RMSEA (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA) เป็นค่าที่บ่ งบอกถึง

ความไม่สอดคล้องของตัวแบบที่สร้างข้ึนกับเมตริกซ์ความแปรปรวนร่วมของประชากร ค่า RMSEA ที่ใช้ได้และถือว่าตัวแบบที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับตัวแบบไม่ควรเกิน 0.08

RMSEA มีสมการ ดังนี้

= ค่าไค-สแควร์ของแบบจ าลองที่ปรับแก้แล้ว

n = ขนาดตัวอย่าง df = ค่าองศาอิสระของแบบจ าลองที่ปรับแก้แล้ว

6. ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยก าลังสองของส่วนเหลือ (Root Mean Square Residual: RMR) เป็นดัชนีที่ใช้เปรียบเทียบระดับความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของแบบจ าลองสองแบบจ าลอง เฉพาะกรณีที่เป็นการเปรียบเทียบโดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน ดัชนี RMR บอกขนาดของส่วนที่เหลือโดยเฉลี่ยจากการเปรียบเทียบระดับความกลมกลืนของแบบจ าลองสองแบบจ าลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และจะใช้ได้ดีต่อเมื่อตัวแปรภายนอกและตัวแปรสังเกตได้เป็นตัวแปรมาตรฐาน ค่าดัชนี RMR ยิ่งเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่า แบบจ าลองมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ RMR มีสมการดังนี้

RMR มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 ถ้าหากมีค่าต่ ากว่า 0.05 แปลได้ว่าแบบจ าลองสอดคล้องกับข้อมูล ค่า Standardized RMR (SRMR) เป็นค่าส่วนเหลือที่ปรับเป็นค่ามาตรฐาน (ค่าส่วนเหลือหารด้วยค่าผิดพลาด

Page 17: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

33

มาตรฐานที่ประมาณได้) ค่าของ Standardized RMR ควรมีค่าน้อยกว่า 0.05 จึงจะสรุปได้ว่าแบบจ าลองสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

7. ดัชนีการตรวจสอบความถูกต้องไขว้ที่คาดหวัง (Expected Cross Validation Index : ECVI) เป็นการทดสอบภาพรวมของความคลาดเคลื่อนระหว่างเมตริกซ์ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์ กับเมตริกซ์ความแปรปรวนร่วมของตัวแปรสังเกตได้ที่ประมาณจากโมเดล มีสมการ ดังนี้

เมื่อ t คือ จ านวนของพารามิเตอร์ และ n คือ จ านวนกลุ่ม

ตารางที ่ 2.2 ค่าสถิติตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของแบบจ าลอง

สถิติที่ตรวจสอบ

เกณฑ์การตรวจสอบ

ค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) ที ่df = ไม่มีนัยส าคัญ ระดับความน่าจะเป็น (Probability level) >.05 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ≥.90 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) ≥.90 ค่าดัชนีความพอเหมาะพอดีของแบบจ าลองประหยัด (PGFI) ≥.50 ค่ามาตรฐานดัชนีรากของค่าเฉลี่ยก าลังสองส่วนที่เหลือ (SRMR) ≤.08 ค่าดัชนีรากก าลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) ≤.08

การปรับแบบจ าลอง (Model Adjustment) ถ้าผลการเปรียบเทียบตัวแบบเบื้องต้นและตัวแบบสุดท้ายแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

แสดงว่า แบบจ าลองสมมติฐานการวิจัยไม่สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับทฤษฎี ต้องมีการปรับแก้แบบจ าลองสมมติฐานตามค าแนะน าของโปรแกรม และน ามาด าเนินการวิเคราะห์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนกว่าผลการเปรียบเทียบไม่มีความแตกต่างกัน

ในการปรับแบบจ าลองนี้ ผู้วิจัยสามารถผ่อนคลายข้อตกลงเบื้องต้นให้มีความสัมพันธ์ระหว่างความคลาดเคลื่อน d และ e โดยการเพ่ิมเมตริกซ์ พารามิเตอร์ TH (Theta-Delta-Epsilon) ซึ่งเป็นเมตริกซ์ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อน d และ e ในทางปฏิบัติจะลากเส้นความแปรปรวนร่วมระหว่าง d กับ e ได้ในค าสั่ง MO ต้องระบุ เมตริกซ์ TH ก่อน ส่วนใหญ่ก าหนด TH = FU,FI แล้วจึงก าหนดเป็นพารามิเตอร์อิสระ (FR) ในคู่ที่ต้องการประมาณค่าความแปรปรวนร่วม การปรับแบบจ าลองสามารถท าได้โดยใช้ค่าดัชนีการปรับแบบจ าลอง (Model Modification Indices)

ค่าดัชนีการปรับแบบจ าลอง เป็นค่าที่บ่งชี้ว่า แบบจ าลองที่ก าหนดหรือตั้งตามทฤษฎีนั้นสามารถท าการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับความเป็นจริงได้อีกหรือไม่ โดยค่าดัชนีการปรับแบบจ าลองต้องมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แต่ถ้าค่าที่ได้มากกว่าหรือน้อยกว่าศูนย์ก็อาจต้องท าการปรับแบบจ าลองของการวิจัยที่ตั้งไว้ โดยการพิจารณาเส้นทางของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งอาจจะเพ่ิมหรือลดเส้นทางก็ได้ แล้วท าการวิเคราะห์

Page 18: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

34

เส้นทางตั้งแต่แรกอีกครั้ง ท าเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าดัชนีการปรับแบบจ าลองมีค่าเป็นศูนย์หรือเข้าใกล้ศูนย์ จึงจะสามารถน าค่าประมาณขนาดอิทธิพลไปใช้ในการอธิบายแบบจ าลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลได้

การปรับเส้นทางโดยการพิจารณาจากค่าดัชนีการปรับแบบจ าลอง (Model Modification Indices)

จะท าควบคู่ไปกับการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี โปรแกรมจะไม่แนะน าให้มีการปรับเส้นทางในสมการโครงสร้างระหว่างตัวแปรแฝงภายนอกและตัวแปรแฝงภายใน จะมีการปรับเส้นทางในเมตริกซ์ LX, LY, TE, TD และ TH ซึ่งเป็นตัวแปรสังเกตได้ การเพ่ิมเส้นทางตามค าแนะน าของโปรแกรมจะเพ่ิมในเส้นทางที่มีค่าดัชนีการปรับแบบจ าลองมากที่สุด และยังไม่ตัดเส้นทางที่ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติออกก่อน เนื่องจากผู้วิจัย พบว่า เมื่อท าการเพ่ิมเส้นทางตามค าแนะน าของค่าดัชนีการปรับแบบจ าลอง จะท าให้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางและค่านัยส าคัญทางสถิติของแต่ละเส้นทางจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย การพิจารณาว่าค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างตัวแปร มีนัยส าคัญทางสถิติหรือไม่ สามารถตรวจสอบค่า Beta > SE 2 เท่า แสดงว่า มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหาก ค่า Beta > SE 3 เท่า แสดงว่า มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การตัดเส้นทางจะด าเนินการเมื่อโปรแกรมไม่แนะน าให้เพ่ิมเส้นทางอีก จึงท าการตัดเส้นทางที่ไม่มีนัยส าคัญทางสถิติออก แล้วเพ่ิมเส้นทางใหม่ตามค าแนะน าของโปรแกรม ซึ่งจะท าให้ค่า ไค -สแควร์และค่าองศาอิสระลดลง ผู้วิจัยด าเนินการในลักษณะนี้ควบคู่ไปกับการตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางให้มีนัยส าคัญทางสถิติทุกเส้นทาง

เมื่อปรับแบบจ าลองสมมติฐานการวิจัยจนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์แล้วจึงแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการจ าแนกค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม

ขั้นตอนที่ 6 การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Translation of Result Analysis) การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Translation of Result Analysis) หมายถึง การน าค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางที่ได้จากการค านวณน ามาใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางที่มีนัยส าคัญทางสถิติมาแทนค่าในแบบจ าลอง ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางจะบอกขนาดอิทธิพลและทิศทางของตัวแปรเหตุต่อตัวแปรผล โดยทิศทางของความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลนั้นมี 2 ประเภท คือ อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อม

ตารางท่ี 2.3 สรุปล าดับขั้นตอนการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมลิสเรล

ขัน้ตอน

วิธีด าเนินการ

ขั้นตอนที่ 1

ก าหนดแบบจ าลองความสัมพันธ์ ตามสมมติฐาน

การเขียนเป็นแบบจ าลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประกอบด้วยแบบจ าลอง 2 แบบจ าลอง คือ 1. แบบจ าลองการวัด ( Measurement Model) 2. แบบจ าลองสมการโครงสร้าง (Structure Model)

ขั้นตอนที่ 2 การก าหนดข้อมูลจ าเพาะของ

แบบจ าลอง

ก าหนดข้อมูลจ าเพาะของแบบจ าลองความสัมพันธ์ของตัวแปรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปร - พารามิเตอร์ก าหนด (Fixed Parameter : FI) สัญลักษณ์ “O”

Page 19: บทที่ 2 การตรวจเอกสาร แนวคิดและทฤษฎี · บทที่ 2 ... อิทธิพลรวม 4 ปัจจัย คือ

35

(Specification of the Model)

- พารามิเตอร์อิสระ (Free Parameter : FR )สัญลักษณ์ “*” รูปแบบเมตริกซ์ ใช้เมตริกซ์เต็มรูป (Full Matrix = FU ) หมายถึง เมตริกซ์ที่มีสมาชิกทุกแถว (Row) และทุกหลัก (Column)

ตารางท่ี 2.3 (ต่อ)

ขั้นตอน

วิธีด าเนินการ

ขั้นตอนที่ 3 การระบุความเป็นไปได้ค่าเดียว

ของแบบจ าลอง (Identification of the Model)

แบบจ าลองระบุความเป็นไปได้ค่าเดียวพอดีหรือแบบจ าลองระบุพอดี (Just Identified Model) การระบุความเป็นไปได้ค่าเดียวช่วยท าให้ทราบล่วงหน้าว่าแบบจ าลองนั้นประมาณค่าพารามิเตอร์ได้หรือไม่

ขั้นตอนที่ 4

การประมาณค่าพารามิเตอร์จากแบบจ าลอง (Parameter Estimation

from the Model)

คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยอาศัยการแก้สมการโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพ่ือหาค่าพารามิเตอร์ ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ทราบค่าในสมการ ซึ่งการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมลิสเรลสามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ได้ 6 วิธ ี

ขั้นตอนที่ 5

การทดสอบเทียบความกลมกลืน หรือความสอดคล้อง

(Goodness of Fit Test)

การทดสอบความสอดคล้องของแบบจ าลองที่เป็นสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์(ข้อมูลที่ไปเก็บรวบรวมมาจริง) การปรับแบบจ าลอง (Model Adjustment) พิจารณาจาก 1. การมีนัยส าคัญทางสถิติ ของคา่สัมประสิทธิ์เส้นทาง () 2. ค่าดัชนีดัดแปรงแบบจ าลอง ( Modification Indices)

ขั้นตอนที่ 6

การแปลความหมาย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

การน าค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางที่ได้จากการค านวณท่ีน ามาใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางท่ีมีนยัส าคัญทางสถิติมาแทนค่าในแบบจ าลอง ค่า ฯจะบอกขนาดอิทธิพลและทิศทางของตัวแปรเหตุต่อตัวแปรผล โดยทิศทางของความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลนั้นมี 2 ประเภทคือ อิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อม