หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง...

59
หน่วยที2 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.นิคม ทาแดง รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิศ ภู่ศิริ

Upload: others

Post on 04-Mar-2020

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

หน่วยที่ 2

ระบบการแพรเ่สียงเพื่อการศึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.นิคม ทาแดง รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิศ ภู่ศิริ

Page 2: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

แผนการสอนประจ าหน่วย

ชุดวิชา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา

ตอนที่ 2.1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา 2.2 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง 2.3 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย 2.4 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย 2.5 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

แนวคิด 1. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา เป็นกระบวนการส่ง แจกจ่าย หรือกระจายเนื้อหาสาระทาง

การศึกษาด้วยสัญญาณเสียง มีความส าคัญท าให้ เกิดกระบวนการบันทึกและแพร่เสียง ตอบสนองต่อความจ าเป็นทางการศึกษา สร้างและให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขยายโอกาสทางการศึกษาได้ ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา มี 4 ประเภท ได้แก่ ระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง ระบบการแพร่เสียงตามสาย ระบบการแพร่เสียงไร้สาย และระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

2. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง เป็นระบบแจกจ่ายวัสดุบันทึกเสียงทางการศึกษาประกอบด้วย อุปกรณ์เครื่องเสียง บุคลากรบันทึกและบริการแพร่เสียง สถานที่ในการบันทึกและแพร่เสียง และสิ่งอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหาและป้องกันความล้มเหลว มีขั้นการวางแผนด้วยการก าหนดวัตถุประสงค์ ก าหนดองค์ประกอบ และออกแบบ ขั้นการเตรียมการวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และสถานที่ ขั้นการติดตั้ง เชื่อมโยง และทดลองระบบ และขั้นการตรวจสอบและประเมินระบบเบื้องต้น

3. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย เป็นการส่งกระจายเสียงโดยการเดินสายสัญญาณไปยังจุดรับฟังเป้าหมายโดยตรงประกอบด้วย อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้าอุปกรณ์ กระบวนการแพร่เสียงตามสาย อุปกรณ์กระบวนการรับฟัง เจ้าหน้าที่ระบบเครื่องเสียง เจ้าหน้าที่ระบบแพร่เสียงตามสาย ห้องส่ง ห้องรับฟัง ชุดซ่อมบ ารุง ชุดสื่อสารภายใน คู่สายโทรศัพท์ และชุดล าโพงเสริม มีขั้นวางแผนโดยตัดสินใจเลือกและออกแบบระบบ ก าหนดองค์ประกอบและออกแบบ

Page 3: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ระบบ ขั้นเตรียมการ จัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง เดินสายสัญญาณ และเตรียมสถานที่ ขั้นติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงสายสัญญาณ ทดลองใช้และปรับแต่งสัญญาณ และขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

4. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย เป็นระบบส่งกระจายเสียงโดยคลื่นวิทยุประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องเสียง เครื่องส่ง บุคลากรด้านวิศวกรทางเสียง ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ห้องผลิตและห้องส่งวิทยุกระจายเสียง สิ่งอ านวยความสะดวกทางเครื่องเสียงและการผลิตรายการวิทยุมีขั้นวางแผนออกแบบ เขียนโครงการจัดตั้ง ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง ขั้นติดตั้งทดลอง ปรับแต่งสัญญาณและเชื่อมโยงระบบ และขั้นการตรวจสอบและประเมินระบบ

5. ระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต เป็นระบบส่งข้อมูลเสียงผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องเสียง อุปกรณ์แปลงสัญญาณแอนะล็อกและดิจิทัล อุปกรณ์ ระบบสตรีมมิ่ ง บุคลากรด้านวิศวกรทางเสียง ไฟฟ้า อิ เล็กทรอนิกส์ และทางคอมพิวเตอร์ ห้องผลิตรายการและห้องคอมพิวเตอร์ สิ่งอ านวยความสะดวกระบบเครือข่ายไร้สาย มีขั้นวางแผนออกแบบ เขียนโครงการจัดตั้ง ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง ขั้นติดตั้งทดลอง ปรับแต่งสัญญาณและเชื่อมโยงระบบ และขั้นการตรวจสอบและประเมินระบบ

วัตถุประสงค์

1. หลังจากศึกษา “สามัญทัศน์เกี่ยวกับระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายความหมาย ความส าคัญ และประเภทของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้ถูกต้อง 2. หลังจากศึกษา “ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัดสุบันทึกเสียง” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงได้ถูกต้อง 3. หลังจากศึกษา “ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายให้ถูกต้อง 4. หลังจากศึกษา “ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายได้ถูกต้อง 5. หลังจากศึกษา “ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้อง

กิจกรรมการเรียน 1. ท าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 2 2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 2.1-2.5 3. บันทึกสาระส าคัญและปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน 4. ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง

Page 4: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

5. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์ 6. เข้ารับการสอนเสริมตามวัน เวลา ที่ก าหนด ณ ศูนย์บริการการศึกษา 7. เข้ารับการฝึกอบรมเสริมทักษะ 8. ท าแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 2

สื่อการสอน 1. เอกสารการสอน 2. แบบฝึกปฏิบัติ 3. รายการวิทยุกระจายเสียง 4. รายการวิทยุโทรทัศน์ 5. การสอนเสริม 6. การฝึกอบรมเสริมทักษะ

การประเมินผล 1. ประเมินจากการประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน 2. ประเมินจากการฝึกอบรมเสริมทักษะ 3. ประเมินจากการสอบไล่ประจ าภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท าแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน หน่วยที่ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป

Page 5: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ตอนที่ 2.1 สามัญทัศน์เกี่ยวกับระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง

2.1.1 ความหมายของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา 2.1.2 ความส าคัญของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา 2.1.3 ประเภทของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา

แนวคิด 1. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา เป็นกระบวนการส่ง แจกจ่าย หรือกระจายเนื้อหาสาระ

ทางการศึกษาด้วยสัญญาณเสียงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังผู้ฟังโดยวัสดุบันทึกเสียงส่งตามสาย กระจายทางคลื่นวิทยุ หรือส่งผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์ประกอบหลัก คือ ส่วนสัญญาณเสียงน าเข้า กระบวนการแพร่ และกระบวนการรับฟัง

2. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษามีความส าคัญ ท าให้เกิดกระบวนการเกี่ยวกับการบันทึกและการแพร่เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถตอบสนองต่อความจ าเป็นในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา สามารถสร้างและให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียง และการผสมผสานเครือข่ายการแพร่เสียงเพิ่มประสิทธิภาพการขยายโอกาสทางการศึกษา

3. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา มี 4 ประเภท ได้แก่ ระบบแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง ระบบแพร่เสียงตามสาย ระบบแพร่เสียงไร้สาย และระบบแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ต

Page 6: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

วัตถุประสงค์ 1. หลังจากศึกษาเรื่อง “ความหมายของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา” แล้ว นักศึกษา

สามารถ อธิบายความหมายของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้ถูกต้อง 2. หลังจากศึกษาเรื่อง “ความส าคัญของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา” แล้ว นักศึกษา

สามารถ อธิบายความส าคัญของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้ถูกต้อง 3. หลังจากศึกษาเรื่อง “ประเภทของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา” แล้ว นักศึกษาสามารถ

อธิบายประเภทของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้ถูกต้อง

Page 7: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.1.1 ความหมายของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา การศึกษาเป็นกระบวนการถ่ายทอด สร้างสรรค์และสั่งสมวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ การแพร่เสียงเพื่อการศึกษาในที่นี้จึงเจาะจงลงไปที่กระบวนการกระจายเสียง ส่งเสียงในรูปลักษณะต่างๆ ที่เป็นเนื้อหาสาระเพื่อการศึกษา หรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนั้น ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาจึงมีพัฒนาการตามเครื่องมือสื่อสารและระบบการศึกษาของแต่ละสมัย ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาในยุคต้นที่ระบบการศึกษา เป็นการศึกษาตามธรรมชาติที่เด็กเรียนรู้จากผู้ใหญ่โดยตรงและการสื่อสารก็มีภาษาพูดเป็นหลัก การแพร่เสียงเพื่อการศึกษาก็คือ การพูดด้วยเสียงอันดังตามขีดความสามารถของผู้พูด ซึ่งได้พัฒนามาเป็นระบบการสอนโดยการบรรยายแบบเผชิญหน้า เครื่องมือที่ใช้ในการแพร่เสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก็คือ โทรโข่ง (Megaphone) เพื่อบีบทิศทางของเสียงให้ตรงไปยังหูผู้ฟังและได้ยินชัดขึ้นเพราะคลื่นเสียงโดยตรงไม่สามารถขยายให้มีพลังมากขึ้นได้ แม้เครื่องบันทึกเสียงของเอดิสัน (Thomas Edison) เครื่องบันทึกเสียงเครื่องแรกที่ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2420 และเครื่องบันทึกเสียงแบบของเบอร์ไลเนอร์ (Emile Berliner) ทั้งสองแบบก็ยังเป็นการบันทึกเสียงจากพลังการพูดของคนพูดโดยตรง การแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง คือ กระบอกเสียงและแผ่นเสียงในสมัยนั้นยังไม่แพร่หลาย และยังไม่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แม้ ในยุคต้นที่มีการประดิษฐ์เครื่องโทรศัพท์ขึ้นใช้ก็ยังเป็นการแปลงคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นไฟฟ้าจากพลังของคลื่นเสียงโดยตรงแล้วเปลี่ยนกลับเป็นคลี่นเสียงโดยเครื่องโทรศัพท์ปลายทาง ใช้ในการสื่อสาร เกิดระบบการแพร่เสียงตามสายขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในวงจ ากัดและเกี่ยวข้องกับการศึกษาน้อยมาก ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้เกิดขึ้นจริงจังในยุคหลังการค้นพบหลอดสูญญากาศทางอิเล็กทรอนิกส์ ท าให้สามารถประยุกต์ใช้คลื่นสัญญาณและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ ได้ คลื่นเสียงสามารถแปลงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นสัญญาณเสียงและสามารถขยายให้มีพลังสูงขึ้นโดยวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จึงสามารถขยายเสียงด้วยเครื่องขยายเสียง สามารถบันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียงทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัล แผ่นซีดีเสียง แผ่นเลเซอร์ แผ่นคอมพิวเตอร์ดิสก์ และแผ่นซีดีรอม เป็นต้น การแพร่เสียงตามสายก็ท าได้สะดวกรวดเร็วและทั่วถึงทุกมุมโลกโดยเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายเส้นใยน าแสง เป็นต้น ในด้านการสื่อสารโดยทั่วไปได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียงและระบบการแพร่เสียงตามสายจะพัฒนาอย่างเต็มที่แล้วระบบการแพร่เสียงไร้สายแบบต่างๆ ในรูปของคลื่นวิทยุ เช่น วิทยุสื่อสาร วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ ต่างก็ได้พัฒนาขึ้นมาใช้ในการสื่อสารอย่างเต็มที่ ท าให้มีระบบการแพร่เสียงเพื่อการสื่อสารและเพื่อการศึกษามีความ

Page 8: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

สมบูรณ์ครบทั้ง 4 ประเภท คือ ระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง ระบบการแพร่เสียงตามสาย ระบบการแพร่เสียงไร้สาย และระบบแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ต องค์ประกอบส าคัญของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา นอกจากเนื้อหาสาระที่น าเสนอด้วยเสียงจะเป็นเนื้อหาสาระทางการศึกษาเพื่อการถ่ายทอด สร้างสรรค์ และสั่งสมวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของสังคมแล้ว องค์ประกอบหลักก็คือระบบการแพร่เสียง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาณเสียงน าเข้า (Sound Signal Input) กระบวนการแพร่ (Distribution Process) และกระบวนการรับฟังเสียง (hearing Output) ดังตารางแสดงองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงดังต่อไปนี้

สัญญาณเสียงน าเข้า (Sound Signal Input)

กระบวนการแพร่ (Distribution process)

กระบวนการรับฟัง (Hearing Output)

1. ระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง เครื่องมือผลิต และอุปกรณ์การผลิต แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง แผ่นซีดีเสียง แผ่นเลเซอร์ แผ่นซีดีรอม แผ่นดีวีดี แผ่นบลูเรย์ เอสดีการ์ด แฟลชไดร์ฟ ยูเอสบีฮาร์ดดิสก์

อุปกรณ์ บรรจุภัณฑ์ หีบห่อ การขนส่ง การแจกจ่าย

เครื่องเล่น เครื่องขยายเสียง ล าโพง สถานที่ หรือห้องรับฟัง

2. ระบบการแพร่เสียงตามสาย อุปกรณ์แปลงคลื่นเสียง วัสดุบันทึกเสียง แหล่งจ่าย สัญญาณเสียง

อุปกรณ์ขยายสัญญาณ อุปกรณ์ ป รับแต่ งและแปลสัญญาณ อุปกรณ์ระบบเครือข่าย เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายเส้นใยน าแสง

อุปกรณ์รับ ขยาย และแปลสัญญาณ เครื่องขยายเสียง ล าโพง สถานที่ หรือห้องรับฟัง

3. ระบบการแพร่เสียงไร้สาย อุปกรณ์แปลงคลื่นเสียงเป็นคลื่นสัญญาณ วัสดุบันทึกเสียง อุปกรณ์เครื่องเล่นและแจกจ่าย สัญญาณเสียง

อุปกรณ์เข้ารหัสควบคุม อุปกรณ์ผสมคลื่นสัญญาณ อุปกรณ์ขยายคลื่นสัญญาณ อุปกรณ์แพร่สัญญาณ

เครื่องรับ ขยาย และ ถอดรหัสสัญญาณ เครื่องขยายสัญญาณเสียง เครื่องแปลงสัญญาณเสียง เป็นคลื่นเสียง ล าโพง สถานที่ หรือห้องรับฟัง

4. ระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์แปลงสัญญาณแอนะล็อกเป็นดิจิทัล อุปกรณ์เข้ารหัส

สตรีมมิ่งเทคโนโลย ี

อุปกรณ์ รับสัญญาณ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน

Page 9: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

วัสดุบนัทึกเสียง อุปกรณ์เครื่องเล่นและแจกจา่ย สัญญาณเสียง

แท็บเล็ต อุปกรณ์ถอดรหัส อุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อก

ตารางที่ 2.1 แสดงองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพ่ือการศึกษา จากรายละเอียดข้างบนจะเห็นได้ว่า ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา เป็นกระบวนการส่ง แจกจ่าย หรือกระจายเนื้อหาสาระทางการศึกษาด้วยสัญญาณเสียง ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปยังผู้ฟังโดยวัสดุบันทึกเสียงส่งตามสาย กระจายทางคลื่นวิทยุ หรือทางอินเทอร์เน็ต โดยมีองค์ประกอบหลัก คือ ส่วนสัญญาณเสียงน าเข้า กระบวนการแพร่ และกระบวนการรับฟัง

กิจกรรม 2.1.1 จงอธิบายความหมายของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทั้งสามระบบโดยแยกอธิบาย แต่

ละระบบ แนวตอบกิจกรรม 2.1.1

1. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง เป็นกระบวนการแจกจ่ายเนื้อหาสาระทางการศึกษาด้วยสัญญาณเสียงโดยวัสดุบันทึกเสียง ซึ่งประกอบด้วยส่วนการแปลงสัญญาณและบันทึก ส่วนแจกจ่าย และส่วนเล่นกลับ

2. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย เป็นกระบวนการส่งเนื้อหาสาระทางการศึกษาด้วยสัญญาณเสียงไปยังผู้ฟังตามสายของระบบเครือข่ายต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ส่วนแหล่งสัญญาณเสียงน าเข้า ส่วนระบบเครือข่าย และส่วนรับฟัง

3. ระบบการแพร่เสียงพื่อการศึกษาไร้สาย เป็นกระบวนการกระจายเนื้อหาสาระทางการศึกษาด้วยสัญญาณเสียงทางคลื่นวิทยุระบบต่างๆ หรือเป็นสัญญาณดิจิทัล ไปยังเครื่องรับคลื่นวิทยุหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของผู้รับฟัง ซึ่งประกอบด้วยส่วนแหล่งสัญญาณเสียงน าเข้า ส่วนผสมและส่งกระจายสัญญาณวิทยุ และส่วนรับฟัง

4. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต เป็นกระบวนการกระจายเนื้อหาสาระทา งการศึกษาด้วยสัญญาณดิจิทัลทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปยังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของผู้ฟังที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งประกอบด้วยส่วนแหล่งสัญญาณเสียงน าเข้า ส่วนการแพร่สัญญาณดิจิทัลทางอินเทอร์เน็ต และส่วนรับฟัง

Page 10: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.1.2 ความส าคัญของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับความจ าเป็นและความส าคัญของการแพร่เสียงเพื่อการศึกษามาแล้วจากหน่วยที่ 1 โดยเฉพาะในยุคสังคมข่าวสารอย่างในปัจจุบันว่ามีความจ าเป็นที่จะต้องแพร่เสียงไปยังผู้เรียนจ านวนมากอย่างรวดเร็วทั่วถึง โดยค่าใช้จ่ายจะต้องต่ า ด้วยสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยพัฒนาการทางระบบการแพร่เสียงและการประยุกต์สู่การแพร่เสียงเพื่อการศึกษา ดังนั้น ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาจึงมีความส าคัญต่อการศึกษาในยุคปัจจุบัน คือ ท าให้เกิดกระบวนการเกี่ยวกับการบันทึกและการแพร่เสียงที่เป็นเอกลักษณ์สามารถตอบสนองต่อความจ าเป็นในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้ สามารถสร้างและให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียงได้ และสามารถผสมผสานเครือข่ายการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ระบบการแพร่เสียงท าให้เกิดกระบวนการเก่ียวกับการบันทึกและการแพร่เสียงท่ีเป็น เอกลักษณ์ข้ึน ถ้าพิจารณาตามเส้นทางพัฒนาการในการแพร่เสียงดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 2.1.1 จะเห็นได้ว่าระบบการเก็บรักษา หรือการบันทึกเสียงและการแพร่เสียง ต่างก็พัฒนาขึ้นมาอย่างเอกเทศไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ตั้งแต่การบันทึกคลื่นเสียงทางกลโดยแผ่นเสียง การแพร่เสียงโดยระบบโทรศัพท์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่มีการขยายสัญญาณ จนมาถึงสมัยที่ค้นพบวิธีขยายสัญญาณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงท าให้ระบบการบันทึกและการแพร่เสียงได้มีกระบวนการที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้น กล่าวคือ (1) ขั้นตอนการแปลงคลื่นเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสัญญาณเสียง (2) ขั้นตอนการเพิ่มพลังงาน หรือขยายสัญญาณเสียง (3) ขั้นตอนการบันทึกส่ง หรือกระจายสัญญาณ (4) ขั้นตอนการรับสัญญาณ (5) ขั้นตอนการขยายสัญญาณ และ (6) ขั้นตอนการแปลงสัญญาณเสียงเป็นคลื่นเสียง

2. ระบบการแพร่เสียงท าให้สามารถตอบสนองความจ าเป็นในการแพรเ่สยีงเพ่ือการศกึษา เมื่อระบบการแพร่เสียงมีขั้นตอนของระบบที่เป็นเอกลักษณ์อย่างเดียวกันทุกระบบที่ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังกล่าวมาแล้ว ท าให้ระบบการแพร่เสียงแต่ละประเภทสามารถแพร่เสียงไปได้กว้างขวางอย่างรวดเร็วและประหยัดแล้ว ยังสามารถลัดขั้นตอนน ามาใช้กับระบบประเภทอื่นได้ด้วย เช่น แผ่นซีดีเสียง ซึ่งเป็นระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียงน ามาเล่น แล้วลัดขั้นตอนน าสัญญาณมาเข้าขั้นตอนที่ 3 คือ บันทึกเสียงลงในรูปแบบอื่น เช่น เทปบันทึกเสียง หรือส่งสัญญาณไปตามระบบการแพร่เสียงตามสาย หรือส่งกระจายทางระบบการแพร่เสียงไร้สาย เป็นต้น

3. ระบบการแพร่เสียงสามารถสรา้งและให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียงได ้

Page 11: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

การให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียงที่เป็นสากลมานานก็คือ การบันทึกเสียงด้วยแผ่นเสียงและเทปบันทึกเสียง สามารถน าเสียงจริงในสถานการณ์จริงในประวัติศาสตร์มาให้ผู้ เรียนได้รับฟัง ศึกษาวิเคราะห์และมีอารมณ์ร่วมเหมือนกับได้ย้อนเข้าไปร่วมในสถานการณ์นั้นได้ การที่ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ 6 ขั้นตอนดังกล่าวมาแล้ว ท าให้สามารถสร้างอุปกรณ์ทางเสียงที่มีหลายๆ ระบบอยู่ด้วยกันมีสวิตช์ปิดเปิดและลัดขั้นตอนเข้าหากัน ในรูปแบบต่างๆ ที่ เป็นที่รู้จักกันดี คือ เครื่องผสมเสียง (Sound Mixer) สามารถใช้ผสมเสียงให้เหมือนสถานการณ์จริงต่างๆ ได้ทุกสถานการณ์ เครื่องเสียงระบบสเตอริโอก็เป็นอุปกรณ์ทางเสียงที่สามารถสร้างสถานการณ์ทางเสียงให้มีความรู้สึกเหมือนจริงได้ คือ มีความรู้สึกในมิติเสียง (Sound Dimensions) ความแตกต่างของเสียง (Sound distinction) และต าแหน่งของเสียง (Sound Position) เป็นต้น นอกนั้นยังมีระบบดิจิทัลที่เป็นระบบการประชุมทางไกลด้วยเสียง (Audio Teleconference) ที่สามารถรวมเสียงของบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ห่างไกลเข้ามาให้เกิดความรู้สึกเสมือนนั่งพูดอยู่ในห้องเดียวกัน และระบบเสียงรอบทิศ (Time Division Multiplexer: TDM) ที่สามารถท าให้เสียงเคลื่อนที่ตามตัวแสดงบนจอภาพ เป็นต้น

4. การผสมผสานเครือขา่ยการแพร่เสียงทั้งสี่ประเภทเพ่ิมประสิทธิภาพการขยายโอกาสทาง การศกึษา การผสมผสานเครือข่ายการแพร่เสียงประเภทต่างๆ เช่น การน าวัสดุบันทึกเสียงมาเปิดส่ง ตามสายหรือกระจายเสียงทางวิทยุ หรือแพร่สัญญาณเสียงผ่านทางอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม ท าให้ผู้เรียนที่อยู่ในที่ห่างไกลรับฟังได้ หรือผู้ที่ไม่มีเวลารับฟังโดยตรงก็สามารถบันทึกเสียงไว้เปิดฟังในเวลาที่ว่าง หรือเข้ามารับฟังตามเวลาที่ต้องการ (On demand) ได้ เป็นต้น โดยสรุปแล้ว ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษามีความส าคัญ ท าให้เกิดกระบวนการเกี่ยวกับการบันทึกและการแพร่เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถตอบสนองต่อความจ าเป็นในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา สามารถสร้างและให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียง และการผสมผสานเครือข่ายการแพร่เสียงเพิ่มประสิทธิภาพการขยายโอกาสทางการศึกษา

Page 12: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

กิจกรรม 2.1.2

จงอธิบายส าคัญของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา โดยแยกอธิบายรายละเอียดเป็นข้อๆ แนวตอบกิจกรรม 2.1.2

ให้นักศึกษาแยกอธิบายความส าคัญในฐานะระบบการแพร่เสียง ท าให้ (1) เกิดขั้นตอนการแพร่เสียงที่เป็นเอกลักษณ์ (2) สามารถตอบสนองต่อความจ าเป็นในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา ความจ าเป็นในการแพร่เสียงดูจากหน่วยที่ 1 (3) สามารถสร้างและให้ประสบการณ์เสมือนจริงทางเสียงได้ และ (4) เพิ่มประสิทธิภาพของการขยายโอกาสทางการศึกษา ควรอธิบายการผสมผสานระหว่างระบบเป็นคู่ๆ และการผสมผสานเข้าด้วยกันทุกระบบเป็นระบบเดียวกัน

Page 13: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.1.3 ประเภทของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา การแพร่เสียงเพื่อการศึกษา เป็นการแจกจ่าย ส่งหรือกระจายเนื้อหาสาระทางการศึกษาด้วยเสียงโดยวัสดุบันทึกเสียง ส่งไปตามสายเครือข่ายสื่อสารและโทรคมนาคม หรือกระจายออกอากาศโดยคลื่นวิทยุ ซึ่งการแพร่เสียงแต่ละวิธีต่างก็มีขั้นตอนของระบบ 6 ขั้นตอนเหมือนกัน คือ การแปลงคลื่นเสียง การขยายสัญญาณ การแพร่สัญญาณ การรับสัญญาณ การขยายสัญญาณ และการแปลงสัญญาณ ดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 2.1.1 และ 2.1.2 ดังนั้น ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาจึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทตามระบบการแพร่เสียงในการสื่อสารและโทรคมนาคมโดยทั่วไป คือ (1) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง (2) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย (3) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย และ (4) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงกับระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียงโดยทั่วไปมักจะมีใช้เหมือนๆ กัน ถึงแม้วัสดุบันทึกเสียงในวงการอื่น เช่น ในวงการบันเทิงจะพัฒนาก้าวหน้าไปก่อนเสมอ แต่ก็มักจะถูกน ามาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาได้เสมอ ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงมี 2 ประเภท คือ ระบบแอนะล็อก และระบบดิจิทัล 1.1 ระบบบันทึกเสียงแบบแอนะล็อก เป็นระบบการบันทึกเสียงที่แปลงคลื่นเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นสัญญาณเสียงโดยตรง ขยายคลื่นสัญญาณเสียงที่ได้ให้มีก าลังเหมาะสมกับการบันทึกร่องรอยของคลื่นสัญญาณลงในวัสดุส าหรับบันทึกเสียงซึ่งมี 2 แบบ คือ (1) การบันทึกทางกล ได้แก่ แผ่นเสียง ที่คลื่นสัญญาณเสียงท าให้เข็มบันทึกสั่นสะเทือนและครูดเป็นร่องรอยของคลื่นเสียงไปบนแผ่นเสียง และ (2) การบันทึกร่องรอยของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าลงบนผงเหล็กบนเส้นเทปบันทึกเสียง ได้แก่ เทปบันทึกเสียงแบบม้วนและเทปบันทึกเสียงแบบตลับ 1.2 ระบบบันทึกเสียงแบบดิจิทัล เป็นระบบที่ไม่บันทึกคลื่นสัญญาณเสียงโดยตรงเหมือนระบบแอนะล็อก คลื่นสัญญาณเสียงจะถูกน าไปก าหนดอัตราเวลาสุ่ม (Sample Rate) และแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัลโดยวงจรจัดสัญญาณ (Signal Processor) หรือวงจรจัดเสียง (Voice Processor) การแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัลแบบนี้เรียกว่า พัลส์ โมดูเลชัน (Pulse Modulation) ซึ่งมีหลายแบบ ได้แก่ แบบพี เอ เอม (Pulse-Amplitude Modulation: PAM) แบบพี ดี เอม (Pulse-Duration Modulation: PDM) แบบพีพีเอม (Pulse-Position Modulation: PPM) และแบบพีซีเอม (Pulse-Code Modulation: PCM) ซึ่งแบบพีซีเอมนี้เป็นระบบที่นิยมที่สุด ถ้าพูดถึงเทปบันทึกเสี ยงแบบดิจิทัล (Digital Audio Tape: DAT) ก็หมายถึงระบบพีซีเอมนี้ทั้งนั้น วัสดุบันทึกเสียงแบบดิจิทัลที่น ามาใช้เพื่อการศึกษาส่วนมาก ได้แก่

Page 14: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เทปบันทึกเสียงระบบดิจิทัล (DAT) แผ่นซีดีเสียง (Compact Disk: CD) แผ่นเลเซอร์ (Laser Disk: LD) แผ่นซีดีรอม (CD-Rom) แผ่นดีวีดี (DVD) แผ่นบลูเรย์ (Blu-Ray) เอ็มพี 3 (MP3) เอสดีการ์ด (SD Card) แฟลชไดร์ฟ (Flash drive) และ ยูเอสบีฮาร์ดดิสก์ (USB Hard Disk) เป็นต้น ภาพที่ 2.1 ระบบแพร่เสียงเพ่ือการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง

2. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย เป็นระบบที่ส่งสัญญาณเสียงไปตามเครือข่ายกระจายเสียงตามสาย โดยปลายทางมีเครื่องแปลงสัญญาณเป็นคลื่นเสียง (Speaker) หรือเครื่องขยายเสียง (Amplifier) เพื่อรับฟังเสียงตามต้องการ มี 2 ระบบ คือ ระบบแอนะล็อก และระบบดิจิทัล 2.1 ระบบการแพร่เสียงตามสายแบบแอนะล็อก ที่นิยมใช้แพร่หลายในสถาบันการศึกษาและในชุมชนคือ ระบบกระจายเสียงตามสายที่ใช้เครื่องขยายเสียงที่มีก าลังสูงๆ และต่อเครือข่ายสายสัญญาณไปยังล าโพง ณ จุดต่างๆ ภายในสถาบัน หรือชุมชน ระบบนี้อาจรับเสียงจากไมโครโฟนโดยตรง หรือวัสดุบันทึกเสียง หรือรับสัญญาณจากระบบแพร่เสียงแบบไร้สายได้อีกระบบหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาทางไกลได้ คือ ระบบโทรศัพท์แบบแอนะล็อก ซึ่งปลายทางถ้าผู้รับฟังเป็นกลุ่มจะต้องต่อสัญญาณโทรศัพท์เข้าเครื่องขยายเสียงเพื่อให้รับฟังร่วมกันได้ ระบบโทรศัพท์แบบแอนะล็อกนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันองค์การโทรศัพท์ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมดแล้ว 2.2 ระบบการแพร่เสียงตามสายแบบดิจิทัล ระบบนี้มีลักษณะอย่างเดียวกับระบบการบันทึกเสียงดิจิทัล คือ ส่วนสัญญาณเสียงน าเข้าจะต้องแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าและเข้ารหัสเป็นข้อมูลเสียงดิจิทัล กระบวนการส่งสัญญาณก็ต้องส่งไปตามสายโดยระบบเครือข่ายดิจิทัล ส่วนการรับฟังเสียงก็ต้องรับ

ระบบแพร่เสียงเพ่ือการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง

Page 15: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

โดยอุปกรณ์ระบบดิจิทัล ระบบแพร่เสียงตามสายแบบดิจิทัลที่น ามาใช้ในการศึกษา ได้แก่ ระบบโทรศัพท์ดิจิทัล ระบบไปรษณีย์เสียง (Voice Mail) และการประชุมทางไกลด้วยเสียง (Audio Teleconference)

3. ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย เทคโนโลยีระบบแพร่เสียงไร้สายพัฒนาอย่างมากในปัจจุบันมีใช้ในการสื่อสารรูปแบบต่างๆ มากมายแต่ที่มีความเหมาะสมและได้น ามาใช้ในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษามีไม่มากนัก ได้แก่ ระบบวิทยุสื่อสาร ระบบวิทยุกระจายเสียง ซึ่ งมีระบบเอเอม (Amplitude Modulation: AM) ระบบเอฟเอม (Frequency Modulation: FM) ระบบพีซีเอม (Pulse-Code Modulation: PCM) และระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น

4. ระบบการแพร่เสียงเพ่ือการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “เว็บแคสท์”(Webcast) เป็นทั้งระบบการแพร่เสียงตามสาย และการแพร่เสียงไร้สายรวมอยู่ด้วยกัน และเนื่องจากเป็นระบบที่เป็นที่นิยมและมีความส าคัญต่อการศึกษาในปัจจุบัน จึงจัดออกเป็นอีกหนึ่งประเภทโดยเฉพาะ เว็บแคสท์ เป็นระบบการแพร่เสียงผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่ายการสื่อสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ครอบคลุมผู้ใช้งานไปทั่วโลก อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายตามสายหรือเครือข่ายไร้สาย เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ (LAN, MAN, WAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless computer network) เครือข่ายโทรศัพท์ที่ ใช้สาย และเครือข่ายโทรศัพท์แบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากแนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในทุกหนทุกแห่ง (Ubiquitous learning) การรับฟังก็มักนิยมใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile devices) ในการรับฟัง เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน โดยที่ผู้ใช้จะเชื่อมโยงอุปกรณ์การรับฟังเข้ากับอินเทอร์เน็ตผ่านทางการสื่อสารแบบไร้สาย เช่น WiFi หรือเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile telephone network) เพื่อรับฟัง เป็นต้น โดยสรุปแล้ว ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษามี 4 ประเภท ได้แก่ ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย และระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

Page 16: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

กิจกรรม 2.1.3

จงอธิบายระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา แต่ละประเภทว่ามีระบบใดบ้างที่น ามาใช้เพื่อการศึกษา แนวตอบกิจกรรม 2.1.3

ให้นักศึกษาแยกอธิบายรายละเอียดของแต่ละประเภท คือ (1) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง (2) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย (3) ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาแบบไร้สาย และ (4) ระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

Page 17: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ตอนที ่2.2 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง

2.2.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง 2.2.2 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง

แนวคิด 1. องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงประกอบด้วย (1)

อุปกรณ์เครื่องเสียง (2) บุคลากรเพื่อการบันทึกและบริการแพร่เสียง (3) สถานที่ในการบันทึกเสียง และสถานที่บริการแพร่เสียง และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกในการท างานสิ่งอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสิ่งอ านวยความสะดวกในการป้องกันการล้มเหลวของระบบ

2. ขั้นตอนของระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผนระบบด้วยการก าหนดวัตถุประสงค์ การก าหนดอุปกรณ์และสถานที่ และการออกแบบระบบ (2) ขั้นเตรียมการวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และสถานที่ (3) ขั้นติดตั้งเชื่อมโยง และทดลองระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบว่าเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินและวัตถุประสงค์ของระบบหรือไม่

Page 18: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

วัตถุประสงค์ 1. หลังจากศึกษาเรื่อง “องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุ

บันทึกเสียง” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายรายละเอียดขององค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงได้ถูกต้อง

2. หลังจากศึกษาเรื่อง “ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงได้ถูกต้อง

Page 19: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.2.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงประกอบด้วย (1) อุปกรณ์ (2) สถานที่ (3) บุคลากร และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกในการผลิตและการแพร่เสียง ซึ่งแต่ละชนิดมีองค์ประกอบเหมือนกัน ต่างกันเฉพาะลักษณะพิเศษของอุปกรณ์ที่ใช้เท่านั้น เช่น การบันทึ กแผ่นเสียงด้วยคลื่นพลังงานกลการบันทึกเทปบันทึกเสียงแบบแอนะล็อกด้วยสัญญาณเสียงและการบันทึกเทป หรือซีดีเสียงด้วยสัญญาณดิจิทัล เป็นต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ระบบการแพร่เสียงใดๆ ก็ตามจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนสัญญาณ เสียงน าเข้ า (Sound Signal Input) ประกอบด้ วยขั้นตอนการแปลงคลื่น เสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือสัญญาณเสียง ขั้นตอนการขยายสัญญาณเสียงให้มีพลังสูงขั้น การปรับแต่งและผสมสัญญาณ และการบันทึกในรูปแบบที่ต้องการ ส่วนที่ 2 กระบวนการแพร่ (Distribution Process) ซึ่งได้แก่ กระบวนการแจกจ่าย กระบวนการส่งตามสาย กระบวนการกระจายเสียงออกอากาศ หรือกระบวนการแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ตแล้วแต่กรณี และส่วนที่ 3 กระบวนการรับฟัง (Hearing Output) ได้แก่ กระบวนการรับสัญญาณเสียง การขยายสัญญาณ และการแปลงสัญญาณกลับเป็นคลื่นเสียงด้วยล าโพง หรือระบบล าโพง

1. อุปกรณ์ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง

Page 20: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพที่ 2.2 องค์ประกอบด้านอุปกรณ์ของระบบการแพร่เสียงเพ่ือการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง อุปกรณ์ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงมีมากมาย ในที่นี้จะอธิบายในรายละเอียดเฉพาะที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบม้วน เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบตลับ เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบดิจิทัล เครื่องซีดีเสียง เครื่องผสมเสียง เครื่องขยายเสียง ระบบล าโพง และการบันทึกเสียงดิจิทัลระบบไฟล์เสียง ดังต่อไปนี้ 1.1 ไมโครโฟน ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ส าหรับแปลงคลื่นเสียงให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า สัญญาณเสียง เป็นอุปกรณ์ที่จ าเป็นต้องใช้ระบบการแพร่เสียงทุกระบบ ส าหรับระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง ไมโครโฟนเป็นแหล่งสัญญาณเสียงน าเข้าการพิจารณาเลือกไมโครโฟนมาใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการ เหมาะสมกับงาน และวัตถุประสงค์ในการใช้ของคน จะต้องพิจารณาจากลักษณะทางอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะการรับเสียง ลักษณะทางโครงสร้าง และลักษณะพิเศษของไมโครโฟน ดังต่อไปนี ้ 1.1.1 ลักษณะทางอิเล็กทรอนิกส์ของไมโครโฟน ได้แก่ ช่วงการรับเสียง ความไวในการรับเสียง และอัตราส่วนสัญญาณจริงกับสัญญาณรบกวน 1) ช่วงการรับเสียง ได้แก่ ช่วงความถี่ของเสียงที่ไมโครโฟนสามารถดูดและแปลงเป็นสัญญาณเสียงได้ดี ไมโครโฟนที่ดีจึงควรเป็นไมโครโฟนที่สามารถรับเสียงได้ในช่วงคลื่นเสียงที่หูของคนได้ยิน หรือรับฟังได้คือ ระหว่าง 20 เฮิรตซ์ ถึง 20,000 เฮิรตซ์ ในทางเทคนิคแล้วสามารถท าให้ได้อย่างนี้ได้ยาก โดยทั่วไปแล้ว ไมโครโฟนที่มีช่วงรับเสียงอยู่ระหว่าง 30 หรือ 50 เฮิรตซ์ถึง หรือ 15,000 เฮิรตซ์ ก็ถือว่าดีมากแล้ว ช่วงของการรับเสียงได้ระหว่างคลื่นต่ ากับสูงยิ่งห่างก็ยิ่งถือว่ามีคุณภาพสูง และราคาก็มักสูงตามไปด้วย

Page 21: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

2) ความไวในการรับเสียง บอกค่าความไวเป็นมิลลิโวลด์ (Millivolt: mV.) ค่าความไวยิ่งสูงยิ่งดูดเสียงได้ดี 3) อัตราส่วนระหว่างสัญญาณจริงกับสัญญาณกวน (Source-Noise Ratio หรือ Signal to Noise Ratio: S/N) มีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB) บอกให้ทราบว่าสามารถให้สัญญาณจริงมากกว่าสัญญาณกวนกี่เท่า เช่น S/N 40 dB = 100 เท่า 60 dB = 100 เท่า เป็นต้น ไมโครโฟนที่ดีควรมีค่า S/N ตั้งแต่ 60 dB ขึ้นไป 1.1.2 ลักษณะการรับเสียงของไมโครโฟน ได้แก่ ลักษณะทิศทางและมุมในการรับเสียงที่สามารถรับเสียงได้ดีเป็นพิเศษ โดยแบ่งทิศทางการรับเสียงออกเป็น 4 ทิศ คือ ด้านซ้ายของตัวไมโครโฟนเป็นทิศทาง A ด้านหน้าเป็นทิศทาง B ด้านขวาเป็นทิศทาง C ด้านหลังเป็นทิศทาง D (ดูภาพที่ 2.3) ลักษณะการรับเสียงของไมโครโฟนมี 4 แบบ คือ แบบรอบทิศ แบบสองทาง แบบทางเดียว และแบบมุมแคบ 1) แ บ บ ร อ บ ทิ ศ (None-Direction ห รื อ Omni directional Microphone) เป็ นไมโครโฟนที่สามารถรับเสียงได้ดีเท่ากันหมดทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าเสียงจะมาจากด้าน A B C หรือ D ก็สามารถรับเสียงเหล่านี้ได้เท่าๆ กัน จึงเป็นแบบที่ เหมาะส าหรับใช้บันทึกเสียงบรรยากาศในห้องประชุมหรือสถานการณ์ที่มีแหล่งเสียงอยู่โดยรอบ 2) แบบสองทาง (Two Directions หรือ Bi Directional Microphone) เป็นไมโครโฟนที่มีความสามารถในการรับเสียงได้ดีจากสองทิศทางที่อยู่ตรงกันข้าม คือ ด้านหน้า (B) และด้านหลัง (D) จึงเป็นแบบที่นิยมใช้ในห้องส่งวิทยุกระจายเสียง การพูดคุย หรือการสัมภาษณ์ที่มีคนสองคนนั่งหันหน้าเข้าหากัน 3) แบบทางเดียว (One Direction หรือ Cardioid Microphone) สามารถรับเสียงได้ดีทางด้านหน้าด้านเดียว แต่มีมุมกว้างซึ่งในคู่มือของไมโครโฟนจะบอกลักษณะและมุมของการรับเสียงไว้ด้วย นิยมใช้ในการบันทึกเสียงการแสดงบนเวที หรือเสียงวงดนตรีที่เล่นเป็นคณะใหญ่ เป็นต้น 4) แบบมุมแคบ (Front-Sharp Direction หรือ Hyper Cardioid Microphone) รับเสียงได้ดีทางด้านหน้า และมีมุมแคบมากเหมาะส าหรับใช้ดูดเสียงที่อยู่ไกลและมีทิศทางแน่นอน เช่น บนเวทีละคร ห้องส่งโทรทัศน์ สนามกีฬา เสียงสัตว์ในธรรมชาติ เป็นต้น

Page 22: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพท่ี 2.3 ลักษณะการรับเสียงของไมโครโฟน

1.1.3 ลักษณะตามโครงสร้างของไมโครโฟน มีมากมายหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ไดนามิคไมโครโฟน คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน อิเล็กโทรเลตคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน และพิเอโซอิเล็กทริกซิตีไมโครโฟน 1) ไดนามิคไมโครโฟน (Dynamic Microphone) มีคอยล์ไฟฟ้าติดอยู่กับไดอะแฟรม ครอบอยู่บนแท่งแม่เหล็ก เมื่อคลื่นเสียงกระทบไดอะแฟรมจะท าให้ไดอะแฟรมและคอยล์สั่นจึงเกิดกระแสสัญญาณขึ้นลักษณะพิเศษของไมโครโฟนแบบนี้ คือ มีช่วงคลื่นที่สามารถรับเสียงได้กว้าง ทั้งต่ าและสูง อัตรา S/N สูงใช้ง่าย แต่เกิดเสียงเพี้ยนได้ง่ายจากอิทธิพลของแม่เหล็กไฟฟ้าจากข้างนอก 2) คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser Microphone) เป็นไมโครโฟนที่นิยมใช้มาก เพราะมีขนาดเล็กและเบา คุณภาพเสียงดีโดยเฉพาะคลื่นเสียงสูงๆ 3) อิเล็กโทรเลตคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Electro let Condenser Microphone) มีโครงสร้างเหมือนกับคอนเดนเซอร์ไมโครโฟนทุกประการ แต่แทนที่จะใช้ไฟกระแสตรงตรึงระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสองขั้วก็ใช้สาร “อิเล็กโทรเลต” มาท าเป็นแผ่นไดอะแฟรมแทนไมโครโฟนแบบนี้นอกจากจะกินไฟน้อยกว่าคอนเด็นเซอร์ไมโครโฟนแล้ว คุณภาพของเสียงยังดีกว่า และมีความไวในการรับเสียงสูงมากด้วย 4) พิเอโซอิเล็กทริกซิตีไมโครโฟน (Piezo Electricity Microphone) สร้างจากสารที่มีลักษณะพิเศษเมื่อได้รับแรงกดดัน หรือบีบอัดแล้วจะสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา เช่น ผลึกของแบเรียม เป็นต้น เมื่อท่อไดอะแฟรมของไมโครโฟนสั่นสะเทือนจะท าให้แรงกดดันภายในตัวของไมโครโฟนเปลี่ยนแปลง และเกิดกระแสสัญญาณขึ้น ไมโครโฟนแบบนี้มีโครงสร้างที่ง่ายใช้สะดวก ความไวสูง แต่ในที่มีอุณหภูมิสูง และความชื้นมากๆ ประสิทธิภาพจะด้อยลง

Page 23: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

1.1.4 ลักษณะพิเศษของไมโครโฟน ออกแบบและผลิตมาใช้งานพิเศษเฉพาะอย่าง ได้แก่ กันไมโครโฟน สเตอริโอไมโครโฟน และวายเลสไมโครโฟน 1) กันไมโครโฟน (Gun หรือ Shot Gun Microphone) เป็นไมโครโฟนที่สร้างรูปร่างภายนอกให้มีรูปร่างเหมือนปืนเพื่อความสะดวกในการถือและการเล็งแหล่งเสียง ใช้ในการบันทึกเสียงที่อยู่ห่างไกล เช่น เสียงนกบนต้นไม้เสียงสัตว์ในป่าตามธรรมชาติ เป็นต้น ตัวไมโครโฟนที่บรรจุอยู่ในท่อกระบอกนั้นเป็นไมโครโฟนแบบมุมแคบรอบกระบอกมีฟองน้ าหรือวัสดุดูดเสียงพันรอบไว้ เพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกรอบข้าง ไมโครโฟนอีกแบบหนึ่งที่ใช้แทนกันไมโครโฟนได้ คือ พาราโบล่าไมโครโฟน ใช้จานพาราโบล่ารับและสะท้อนเสียงไปยังไมโครโฟนที่อยู่ตรงกลางของจานพาราโบล่า 2) สเตอริโอไมโครโฟน (Stereo Microphone) เป็นไมโครโฟนที่บรรจุไมโครโฟนไว้ 2 ชุด ในตัวไมโครโฟนตัวเดียวกันส าหรับรับเสียงสองทาง เพื่อการบันทึกเสียงแบบสเตอริโอ สเตอริโอไมโครโฟนมี 2 แบบ (1) ตามวิธีการบรรจุไมโครโฟน คือ สเตอริโอไมโครโฟนแบบแมทริกซ์ เป็นแบบที่บรรจุไมโครโฟนแบบสองทางกับแบบทางเดียวไว้ด้วยกัน ต่อวงจรสัญญาณไปเข้าวงจรแมทริกซ์เพื่อผสมสัญญาณและแยกออกเป็นสัญญาณด้านซ้ายและด้านขวา และ (2) สเตอริโอไมโครโฟนแบบวันพอยนท์ (One Point Stereo Microphone) บรรจุไมโครโฟนแบบทางเดียว 2 ตัวไว้ด้วยกันโดยหันหน้าไปในด้านตรงกันข้าม คือ ด้านซ้ายกับด้านขวา อาจมีกลไกส าหรับปรับมุมของไมโครโฟนทั้งสองตัวนี้ให้หันไปในทิศทางที่ต้องการได้ด้วย 3) วายเลสไมโครโฟน (Wireless Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ไม่ต้องต่อสายสัญญาณจากตัวไมโครโฟนไปยังเครื่องขยายเสียง แต่ใช้การส่งคลื่นวิทยุซึ่งส่วนมากใช้คลื่นวิทยุ เอฟเอม ไปยังจูนเนอร์ หรืออุปกรณ์รับสัญญาณเพื่อต่อเข้ากับเครื่องขยายเสียงที่ต้องการอีกทอดหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้มากเพราะสะดวกไม่รุงรังด้วยสายสัญญาณ และมีคุณภาพของเสียงดี

Page 24: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพท่ี 2.4 ไมโครโฟนแบบต่างๆ (1) กันไมโครโฟน (2) พาราโบล่าไมโครโฟน (3) สเตอริโอไมโครโฟน (4) วายเลสไมโครโฟน

1.2 เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบม้วน (Open Reel Tape Recorder) เป็นเครื่องเทปบันทึกเสียงที่นิยมใช้ในห้องบันทึกเสียงและเตรียมม้วนเทปต้นแบบ (Master Tape) เพราะคุณภาพเสียงมีมาตรฐานสูง และจัดการเกี่ยวกับการบันทึกเสียงได้ง่าย มีหลักการท างาน หัวเทป ม้วนเทป และแถบเสียง ดังต่อไปนี้ 1.2.1 หลักการท างาน เทปบันทึกเสียงที่น ามาใช้ผลิตเทปต้นแบบส่วนมากเป็นเทปที่เตรียมสัญญาณเสียง ให้เป็นสัญญาณน าเข้าของเครื่องขยายเสียงที่จะขยายพลังงานให้เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไป เทปชนิดนี้เรียกว่า “เทปเดกค์” (Tape Deck) วงจรบันทึกเสียงภายในเครื่องเทปเดกค์จะน าสัญญาณจากแหล่งสัญญาณ เช่น ไมโครโฟนมาขยายในวงจรขยายเพิ่มพลังงาน ปรับคุณภาพของสัญญาณโดยวงจรอีคิวบันทึกเสียง (Record EQ) แล้วส่งสัญญาณไปผ่านหัวเทปบันทึกเสียง ทางด้านหัวเล่นเมื่อเส้นเทปวิ่งผ่านจะได้สัญญาณเสียงไปปรับสัญญาณโดยวงจรอีคิวส าหรับเล่น (Replay EQ) แล้วขยายโดยวงจรขยายเพื่อให้ได้สัญญาณมีพลังที่ระดับสัญญาณน าเข้าตามต้องการต่อไป 1.2.2 ชนิดของเทปบันทึกเสียงแบบม้วน จ าแนกตามจ านวนหัวเทป มีสองชนิด คือ เทปแบบสามหัว และเทปแบบสองหัว เทปแบบสามหัวมีหัวเทปเรียงล าดับจากซ้ายไปขวา คือ หัวลบสัญญาณ หัวบันทึกสัญญาณและหัวเล่น ส่วนเทปแบบสองหัวนั้น หัวบันทึกสัญญาณกับหัวเล่นใช้หัวเดียวกันใช้สวิตซ์เปลี่ยนสลับกันระหว่างวงจรบันทึกกับวงจรเล่นเทป ในห้องบันทึกเสียงใช้เทปแบบสามหัวเหมาะสมกว่า เพราะขณะบันทึกเสียงผู้บันทึกเสียงจะได้ยินเสียงที่บันทึกได้จากหัวเล่น แต่เทปแบบสองหัวนั้นขณะบันทึกเสียง ผู้บันทึกเสียงจะได้ยินเสียงจากแหล่งสัญญาณเสียงที่ยังไม่ได้ผ่านวงจรอีคิวบันทึก 1.2.3 ขนาดของม้วนเทป ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเทปบันทึกเสียงแบบม้วนมีขนาดของเส้นเทปกว้าง 6.3 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของม้วนเทปมี 4 ขนาด คือ 10 นิ้ว 7 นิ้ว 5 นิ้ว และ 3 นิ้ว เครื่องเทปขนาดม้วนใหญ่สามารถเล่นม้วนเทปขนาดเล็กได้ แต่จะต้องใช้ม้วนรองรับเทปขนาดเท่ากัน 1.2.4 ประเภทของแถบเสียง (Sound Track) เทปบันทึกเสียงแบบม้วน มีแถบเสียงที่นิยมใช้ 3 ประเภทดังนี้คือ แบบ 2 แถบเสียงระบบโมโน (Monophonic System) แถบบนเป็นแถบเสียงหน้า (A) ด้านล่างเป็นแถบเสียงหน้า (B) แบบ 4 แถบเสียงสเตอริโอ เมื่อนับจากบนลงล่าง แถบที่ 1 คือแถบเสียงหน้า (A) ด้านซ้าย แถบที่ 2 คือแถบเสียงหน้า (B) ด้านซ้าย แถบที่ 3 คือแถบเสียงหน้า (A) ด้านขวา และแถบเสียงที่ 4 คือแถบเสียงหน้า (B) ด้านขวา แบบ 8 แถบเสียงสเตอริโอ เป็นเทปบันทึกเสียงที่ใช้เล่นกลับไปกลับมาแบบต่อเนื่องโดยไม่ต้องกลับข้างม้วนเทป 4 แถบบนเป็นเสียงด้านซ้าย 4 แถบล่างเป็นเสียงด้านขวา โดยมีแถบที่ 1 คู่กับแถบที่ 5 แถบที่ 2 คู่กับแถบที่ 6 แถบที่ 3 คู่กับแถบที่ 7 แถบที่ 4 คู่กับแถบที่ 8

Page 25: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

1.3 เทปบันทึกเสียงแบบตลับ เทปบันทึกเสียงแบบตลับนิยมใช้มากในทุกวงการ เพราะมีขนาดเล็กกระทัดรัด และคุณภาพของเสียงก็ไม่แตกต่างจากแบบม้วน เทปบันทึกเสียงแบบตลับมีหลักการท างานประเภทตามจ านวนหัวเทป ความยาวของม้วนเทป และแถบบันทึกเสียงดังต่อไปนี้ 1.3.1 หลักการท างาน การท างานของเทปบันทึกเสียงแบบตลับ มีหลักการท างาน และวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์เหมือนกันกับเทปบันทึกเสียงแบบม้วนทุกประการ เพียงแต่ชิ้นส่วนต่างๆ เล็กลง และจัดอัดแน่นในเนื้อที่ที่น้อยเท่านั้น 1.3.2 ชนิดของเทปบันทึกเสียงแบบตลับ ตามจ านวนหัวเทปมี 2 ชนิดเหมือนกับเทปบันทึกเสียงแบบม้วนคือ แบบ 2 หัว และแบบ 3 หัว แต่เทปบันทึกเสียงแบบตลับนิยมใช้แบบ 2 หัว คือ หัวลบสัญญาณกับหัวบันทึกและหัวเล่นใช้ร่วมกัน 1.3.3 ความยาวของม้วนเทป เทปบันทึกเสียงแบบตลับมีตลับเทปขนาดมาตรฐานและขนาดเล็กความยาวของเส้นเทปนิยมเรียกชื่อตามเวลาที่บันทึกเสียง เช่น C-30 หมายถึง ม้วนเทปที่บันทึกเสียงสองหน้ารวมกันได้ 30 นาที เป็นต้น 1.3.4 ประเภทของแถบเสียงของเทปบันทึกเสียงแบบตลับ ที่นิยมใช้ หรือมีจ าหน่ายทั่วไปมีสองแบบคือแบบระบบเสียงโมโนมี 2 แถบ แถบบนเป็นหน้า (A) แถบล่างเป็นหน้า (B) แบบระบบเสียงสเตอริโอ มี 4 แถบ แถบที่ 1 คือหน้า (A) ด้านซ้ายแถบที่ 2 คือ หน้า (A) ด้านขวา แถบที่ 3 คือ หน้า (B) ด้านซ้าย แถบที่ 4 คือ หน้า (B) ด้านขวา จะเห็นได้ว่าเทปบันทึกเสียงแบบม้วนจะไม่สามารถน าม้วนเทปที่บันทึกโดยระบบสเตอริโอไปเล่นโดยเครื่องเทประบบโมโนได้ เพราะเสียงจะปนกันหมดระหว่างหน้า (A) กับ (B) แต่เทปบันทึกเสียงแบบตลับสามารถเล่นด้วยกันได้ เพียงแต่เสียงด้านซ้ายกับด้านขวาจะรวมกันกลายเป็นเสียงโมโนเท่านั้นเอง 1.4 เทปบันทึกเสียงแบบดิจิทัล เป็นเทปบันทึกเสียงที่มีคุณภาพของเสียงดี มีเสียงรบกวนน้อย ต่างจากเทปบันทึกเสียงระบบแอนะล็อกที่จะต้องแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลก่อนจึงขยายเพิ่มพลังงานและบันทึกเป็นสัญญาณดิจิทัล การเล่นเทปก็จัดการเบื้องต้นกับสัญญาณดิจิทัลก่อนแล้วจึงแปลงกลับมาเป็นสัญญาณเสียงแอนะล็อก เพื่อน าเข้าสู่ระบบล าโพงต่อไปดังในภาพที่ 2.5 วงจรเทปบันทึกเสียงแบบดิจิทัล

Page 26: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพท่ี 2.5 วงจรเทปบันทึกเสียงแบบดิจิทัล 1.5 เครื่องผสมเสียง (Sound Mixer) เป็นเครื่องรวบรวมสัญญาณเสียงน าเข้าจากหลายๆ แหล่งมีวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ในการตั้งระดับ เพิ่มหรือลดพลังงานของสัญญาณเสียง และวงจรแมทริกส์ส าหรับผสมสัญญาณเสียงที่ต้องการเข้าด้วยกัน ขนาดของเครื่องผสมเสียงเรียกตามคู่สายของสัญญาณเสียงน าเข้า หรือช่องเสียง เช่น แบบ 3 ช่องเสียง 6 ช่องเสียง 8 ช่องเสียง เป็นต้น (ภาพที่ 2.6 เครื่องผสมเสียง)

ภาพที่ 2.6 เครื่องผสมเสียง

1.6 เครื่องขยายเสียง เป็นเครื่องขยายสัญญาณเสียงให้มีพลังงานสูงพอเพียงส าหรับวงจรปรับแต่งและสามารถขับล าโพงให้มีเสียงดังตามต้องการได้ แบ่งตามขั้นตอนของกระบวนการขยาย มี 3 วงจร คือ อีคิวแอมป์ (EQ Amp.) ส าหรับปรับแต่งสัญญาณเสียงให้เหมาะสมกับการได้ยินของคน ไอเอมแอมป์ (IM Amp.) วงจรขยายสัญญาณเสียงให้มีระดับแรงดันไฟเหมาะสมกับการน าเข้าทางด้านสัญญาณน าเข้าของเมนแอมป์ หรือเพาเวอร์แอมป์และสุดท้าย คือ เมนแอมป์ (Main Amp.) ส าหรับขยายสัญญาณเพื่อไปขับล าโพง

Page 27: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ถ้าแบ่งตามการใช้งานมี 2 ชนิด คือ พรีแอมป์ และพรีเมนแอมป์ ดังในภาพที่ 2.11 ประเภทของเครื่องขยายเสียง เครื่องขยายเสียงโดยทั่วไปจะน ามาใช้ในการรับฟังเสียงจากแหล่งสัญญาณเสียงน าเข้า เช่น ไมโครโฟน เครื่องเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเล่นแผ่นซีดี เป็นต้น (รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องขยายเสียงศึกษาได้จาก หน่วยที่ 7 ระบบเครื่องเสียงชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

ภาพท่ี 2.7 ประเภทของเครื่องขยายเสียง 1.7 ระบบล าโพง ประกอบด้วยล าโพง ตู้ล าโพงและวงจรแยกสัญญาณ ล าโพงแบ่งตามช่วงคลื่นเสียงที่ใช้มี 3 ประเภทคือ ล าโพงเสียงทุ้ม หรือวูเฟอร์ (Woofer) ล าโพงเสียงกลางหรือสควอเกอร์ (Squawker) ล าโพงเสียงแหลม หรือทวิเทอร์ (Tweeter) ตู้ล าโพงมี 4 แบบ คือ แบบปิดมิด (Closed Cabinet) แบบแบสรีเฟลกส์ (Bass-Reflex Cabinet) แบบมุมห้อง (Corner Reflex Cabinet) และแบบฮอร์น (Horn Load Speaker) แบบปิดมิดเหมาะส าหรับปรับปรุงล าโพงเดี่ยวให้มีเสียงสมบูรณ์ขึ้น แบบแบสรีเฟลกส์เหมาะส าหรับความต้องการที่จะเน้นเสียงทุ้ม หรือปรับปรุงล าโพงขนาดเล็กให้มีเสียงทุ้มมากขึ้น แบบมุมห้องเหมาะส าหรับห้องที่มีการสะท้อนเสียงมาก และแบบฮอร์นเหมาะส าหรับการใช้กลางแจ้ง จ านวนผู้ฟังมากๆ โดยหันหน้าล าโพงไปยังกลุ่มผู้ฟัง วงจรแยกสัญญาณ เป็นระบบการแยกคลื่นเสียงเพื่อน าเข้าล าโพงที่เหมาะสมกับความถี่นั้นๆ โดยเฉพาะมี 2 ระบบคือ ระบบโคลสโอเวอร์ (Close-Over Network) และระบบพหุวิถี (Multipath) ดังภาพที่ 2.8 วงจรแยกสัญญาณ

Page 28: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพที่ 2.8 วงจรแยกสัญญาณ (ก) ระบบโคลสโอเวอร์ (ข) ระบบพหุวิถี

1.8 การบันทึกเสียงดิจิทัลระบบไฟล์เสียง ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูง คอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องประกอบกับการ์ดเสียง (sound card) และซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการผลิตเสียงก็สามารถที่จะท าการบันทึกเสียง ผสมเสียง ตัดต่อเสียงและสร้างแฟ้มข้อมูลเสียงที่เป็นดิจิทัล (digital audio file) ได้ภายในเครื่องเดี ยวกัน เราเรียกอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ เหล่ านี้ รวมกันว่า Digital Audio Workstation หรือ DAW ส่วนใหญ่ เรามักจะนึกถึง DAW ในฐานะที่ เป็นซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรม GarageBand, Pro Tools, Logic Pro, Acid, CakeWalk, Cubase, Nuendo, Studio One ห รื อ Audacity แต่โดยแท้จริงแล้ว DAW ไม่ใช่มีเพียงซอฟต์แวร์อย่างเดียวแต่จะรวมถึงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ อีกด้วย DAW มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กๆ ใช้งานส่วนตัวสามารถรับแหล่งเสียงเข้า (input) ได้ 2 ช่อง ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้ในสตูดิโอบันทึกเสียงที่สามารถรองรับแหล่งเสียงเข้าได้จ านวนมากและหลากหลาย เสียงที่ผลิตจาก DAW จะได้เป็นไฟล์ที่ ใช้ เฉพาะในโปรแกรมนั้นๆ โดยเฉพาะ จะน าไปใช้ในโปรแกรมอื่นไม่ได้ ดังนั้นเมื่อจะน าไปใช้งานจึงต้องแปลงไฟล์ดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบ (format) ที่เราต้องการ ซึ่งรูปแบบของไฟล์เสียงแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1) ประเภที่ไม่มีการบีบอัด (2) ประเภทที่มีการบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล และ (3) ประเภทที่มีการบีบอัดแบบสูญเสียข้อมูลบางส่วน 1) ประเภทที่ไม่มีการบีบอัด (Uncompressed audio format) ไฟล์เสียงในรูปแบบนี้เป็นรูปแบบเดียวกันกับไฟล์เสียงที่บันทึกอยู่ในซีดีเสียง จะเป็นไฟล์ที่มีคุณภาพและรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนจึงนิยมใช้เก็บเป็นไฟล์ เสียงต้นฉบับ ไฟล์ประเภทนี้ ได้แก่ ไฟล์ .wav (ใช้ ในระบบปฏิบัติการวินโดว์) ไฟล์ .aiff (ใช้ในระบบปฏิบัติการ OS ของแมคอินทอช) เป็นต้น ไฟล์ประเภทนี้จะเป็นไฟล์ที่ ให้เสียงและรายละเอียดต่างๆ ครบถ้วนเหมือนต้นฉบับจึงท าให้ไฟล์มีมีขนาดใหญ่ (ประมาณ 10 MB ต่อการบันทึกเสียง 1 นาที)

Page 29: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

2) ประเภทที่มีการบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล (Lossless compressed audio format) ไฟล์เสียงประเภทนี้จะมีการบีบอัดข้อมูลเพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง แต่จะไม่มีการลดทอนหรือตัดข้อมูลใดๆ ออกไป ท าให้ไฟล์มีขนาดลดลงประมาณครึ่งหนึ่งของไฟล์ประเภทที่ไม่มีการบีบอัด ไฟล์ประเภทนี้ ได้แก่ไฟล์ .alac, .flac, .mlp, .dst เป็นต้น (ในบางแห่งจัดให้ไฟล์ประเภทที่ไม่มีการบีบอัดไว้ในประเภทที่มีการบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูลเนื่องจากพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของไฟล์เสียงที่มีคุณภาพไม่ต่างกัน) 3) ประเภทที่มีการบีบอัดแบบสูญเสียข้อมูลบางส่วน (Lossy compressed audio format) ไฟล์เสียงประเภทนี้ จะมีการบีบอัดเพื่อลดขนาดของไฟล์ลงอย่างมากโดยการตัดข้อมูลที่ไม่ส าคัญบางส่วนออก และเนื่องจากไฟล์มีขนาดเล็กจึงเป็นรูปแบบของไฟล์เสียงที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากไม่สิ้นเปลืองที่เก็บและสามารถน าไปใช้งานบนอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ไฟล์ประเภทนี้ได้แก่ไฟล์ .mp3, .aac, .wma, m4a เป็นต้น ในการบีบอัดและเล่นกลับ (Play back) ไฟล์ที่ถูกบีบอัด ต้องอาศัยอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “โคเด็ค” (Codec: Coder-Decoder หรือ Compressor-Decompressor) เช่น ไฟล์เสียงดิจิทัลที่ผลิตเสร็จแล้วจะถูกส่งผ่านเข้าไปยัง Codec เพื่อเข้ารหัสให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์ .mp3 เมื่อส่งไปยังผู้รับก็จะถูกส่งผ่านไปยัง Codec ด้านผู้รับเพื่อถอดรหัสแล้วแปลงเป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อรับฟังต่อไป จากรูปแบบของไฟล์เสียงประเภทต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว รูปแบบของไฟล์ที่นิยมใช้ในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตจะเป็นไฟล์ .mp3 เนื่องจากเป็นรูปแบบของไฟล์เสียงที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด มีขนาดเล็ก มีคุณภาพของเสียงที่ดี และผู้ฟังสามารถรับฟังได้ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดในการเปิดรับฟัง

2. บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง บุคลากรในระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ผลิตด้านเนื้อหา กลุ่มผู้ผลิตวัสดุบันทึกเสียง และกลุ่มผู้บริการแพร่เสียงแต่กลุ่มที่เป็นบุคลากรในระบบโดยตรง คือ กลุ่มผู้ผลิตวัสดุบันทึกเสียงและกลุ่มบริการแพร่เสียง ซึ่งประกอบด้วยผู้อ านวยการเทคนิค ช่างผสมเสียง เจ้าหน้าที่ประจ าไมโครโฟน เจ้าหน้าที่ก ากับเสียงพิเศษ (Special Sound Effect Operator) ผู้ประกาศ และเจ้าหน้าที่เครื่องเสียง บุคลากรเหล่านี้จะต้องมีความรู้ความสามารถและวุฒิระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคชั้นสูงขึ้นไป

3. สถานที่ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง สถานที่ส าหรับระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงได้แก่ ห้องบันทึกเสียงซึ่งเป็นห้องอย่างเดียวกันกับห้องผลิตรายการวิทยุ (Radio Production Studio) ที่จะอธิบายรายละเอียดไว้ในระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาแบบไร้สาย และห้องแพร่เสียงหรือห้องรับฟังมี 5 ประเภท คือ ห้องฟังดนตรี ห้องกลุ่มเล็ก ห้องกลุ่มใหญ่ ที่รับฟังกลางแจ้ง และการรับฟังด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่

Page 30: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

3.1 ห้องฟังดนตรี เป็นห้องที่ต้องการคุณภาพของเสียงสูง จึงต้องสร้างขึ้นเป็นพิเศษค านึงถึงขนาดของห้อง ทิศทางของเสียง การสะท้อนของเสียง ชนิดและทิศทางของล าโพงและก าลังของเครื่องขยายเสียง เป็นต้น ส่วนมากจะใช้ห้องประชุมขนาดใหญ่ โรงละครและโรงภาพยนตร์ เป็นต้น 3.2 ห้องกลุ่มเล็ก ส่วนมากจะเป็นห้องในอาคารทั่วไป เช่น ห้องเรียน ห้องประชุม ฯลฯ การใช้ห้องกลุ่มเล็กส าหรับการแพร่เสียง จึงเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ห้องให้เหมาะสม เช่น การเลือกขนาดและก าลังของเครื่องขยายเสียง ที่ตั้งและทิศทางของล าโพง ไม่ให้เกิดการสะท้อนหรือการป้อนกลับของเสียง เป็นต้น 3.3 ห้องกลุ่มใหญ่ ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับห้องฟังดนตรี แต่ไม่พิถีพิถันในเรื่องคุณภาพของเสียงมากนัก จะเน้นการจัดห้องให้รับฟังเสียงได้ชัดเจนโดยทั่วถึงกัน 3.4 ที่รับฟังกลางแจ้ง เช่น ที่กลางสนาม ที่ลานกว้าง ส าหรับกลุ่มคนจ านวนมากจึงเกี่ยวข้องกับการเลือกเครื่องขยายเสียง ชนิด และขนาดของล าโพงเป็นส่วนใหญ่ 3.5 การรับฟังด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ วัสดุบันทึกเสียงที่บันทึกเป็นข้อมูลดิจิทัล เช่น แผ่นซีดีเสียง แผ่นดีวีดี หรือ SD Card สามารถเปิดรับฟั งด้วยอุปกรณ์ เคลื่อนที่ (Mobile devices) เช่น โน๊ตบุ๊ กคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน จึงช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่ในการรับฟังซึ่งไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ได้ตามต้องการ

4. สิ่งอ านวยความสะดวกในระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง สิ่งอ านวยความสะดวกในระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง ได้แก่ สิ่งอ านวยความสะดวกในการท างาน เช่น อุปกรณ์สื่อสารภายใน พัดลม เครื่องปรับอากาศ ห้องพักผ่อน เป็นต้น สิ่งอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น อุปกรณ์สร้างเสียงพิเศษ เครื่องมือวัด และชุดซ่อมบ ารุงทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และสิ่งอ านวยความสะดวกส าหรับป้องกันความล้มเหลวของระบบได้แก่ ชุดส ารองต่างๆ เช่น ไฟส ารอง สายสัญญาณส ารอง เป็นต้น โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงประกอบด้วย (1) อุปกรณ์เครื่องเสียง (2) บุคลากรเพื่อการบันทึกและบริการแพร่เสียง (3) สถานที่ในการบันทึกเสียงและสถานที่บริการแพร่เสียง และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกในการท างาน สิ่งอ านวยความสะดวกในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสิ่งอ านวยความสะดวกในการป้องกันการล้มเหลวของระบบ

กิจกรรม 2.2.1 จงอธิบายรายละเอียดขององค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงทั้ง

4 องค์ประกอบ แนวตอบกิจกรรม 1.1.2

Page 31: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ให้นักศึกษาแยกอธิบายรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบว่าองค์ประกอบนั้นๆ คืออะไร มีกี่อย่าง ท าหน้าที่อะไรบ้าง องค์ประกอบทั้ง 4 ได้แก่ องค์ประกอบ (1) ด้านอุปกรณ์ (2) ด้านบุคลากร (3) ด้านสถานที่ และ (4) ด้านสิ่งอ านวยความสะดวก

Page 32: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.2.2 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงที่สมบูรณ์ คือ ระบบที่ประกอบด้วยระบบย่อยด้านบันทึกเสียง ด้านการผลิตวัสดุบันทึกเสียง และด้านการรับฟังเสียง ระบบที่สถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจัดด าเนินการได้ คือ ระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ส่วนระบบอื่น เช่น แผ่นเสียง แผ่นซีดีเสียงจะสิ้นสุดระบบที่การผลิตวัสดุบันทึกเสียงเพื่อการเผยแพร่จ านวนมากทางการค้าและอุตสาหกรรม ดังนั้นในที่นี้จึงจะอธิบายเฉพาะระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงโดยสมบูรณ์ทั้งระบบ ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง มี 4 ขั้นตอนหลักได้แก่ ขั้นวางแผนระบบ (Planning) ขั้นเตรียมการ (Preparing) ขั้นติดตั้ ง (Installing) และขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ (Testing) ดังต่อไปนี้

1. ขั้นวางแผนระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ขั้นวางแผนระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียงประกอบด้วยการก าหนดวัตถุประสงค์ การก าหนดอุปกรณ์และสถานที่ และการออกแบบระบบดังต่อไปนี้ 1.1 การก าหนดวัตถุประสงค์ จะต้องตัดสินใจว่าต้องการระบบสมบูรณ์ คือ มีทั้งห้องบันทึกเสียง การส าเนาเทป และห้องรับฟังขนาดต่างๆ หรือต้องการระบบที่มีเฉพาะส่วนบันทึกเสียง หรือเฉพาะส่วนรับฟัง ตลอดทั้งเป้าหมายด้านปริมาณของการบริการด้วย ทั้งนี้จะต้องก าหนดให้ชัดเจน เพราะจะมีผลต่อการก าหนดอุปกรณ์ในขั้นต่อไป 1.2 การก าหนดอุปกรณ์และสถานที่ การก าหนดอุปกรณ์และสถานที่จะต้องก าหนดให้สอดคล้องกัน ผู้วางแผนต้องมีความรู้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับขนาด การติดตั้ง และลักษณะการใช้อุปกรณ์ต่างๆ จึงจะสามารถประมาณการขนาดของห้องให้เหมาะสมกันได้ ห้องบันทึกเสียงโดยทั่วไป มี 3 ขนาด คือ ห้องบันทึกเสียงขนาดเล็กส าหรับบันทึกการบรรยาย หรือผู้ให้เสียงไม่เกิน 3 คน ห้องบันทึกเสียงขนาดกลางส าหรับการบันทึกรายการที่มีผู้ให้เสียง 3 คน ถึง 5 คน และห้องบันทึกเสียงขนาดใหญ่ส าหรับการบันทึกรายการที่มีผู้ให้เสียงตั้งแต่ 5 คนขึ้น ส าหรับห้องรับฟังเสียงขนาดต่างๆ นั้นเกี่ยวข้องกับการก าหนดขนาดของเครื่องขยายเสียง ขนาดและจ านวนล าโพง ส าหรับระบบขนาดใหญ่อาจจ าเป็นต้องมีห้องส าเนาเทปแยกต่างหาก และเครื่องส าเนาเทปตลับแบบมาสเตอร์ 1 ม้วนส าเนาออกได้ 30 ม้วน หรือเครื่องส าเนาเทปแบบตัดเส้นเทปอัตโนมัติล้วนใช้เนื้อที่มาก การท างานก็มีการสั่นสะเทือนและมีเสียงดัง

Page 33: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

1.3 การออกแบบระบบ ในขั้นนี้ถ้าก าหนดอุปกรณ์และขนาดของห้องได้เหมาะสมการออกแบบก็ท าได้ง่าย เพราะมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากลสอดคล้องกับชุดของอุปกรณ์แต่ละขนาดอยู่แล้ว ขั้นนี้จะต้องได้แบบจ าลองระบบและพิมพ์เขียวของห้อง

2. ขั้นเตรียมการระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ขั้นเตรียมการระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ในขั้นนี้มี 2 ลักษณะ คือ ถ้าเป็นการสร้างระบบขึ้นมาใหม่ก็หมายถึง การเตรียมการด้านอุปกรณ์ อาคารสถานที่เพื่อการติดตั้งระบบ แต่ถ้าระบบการแพร่เสียงได้ติดตั้ง หรือมีใช้อยู่แล้ว การเตรียมการก็หมายถึง การเตรียมการในการบันทึกเสียงหรือการให้บริการกลุ่มเป้าหมายผู้รับฟัง ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการเตรียมการในลักษณะแรก เพราะการเตรียมการใช้หรือให้บริการนั้น มีรายละเอียดอยู่แล้วในหน่วยที่ว่าด้วยการผลิตรายการวิทยุ การผลิตรายการเทปบันทึกเสียง เป็นต้น การเตรียมการระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษา หมายถึง การจัดหาและเตรียมพร้อมเพื่อการติดตั้งระบบ เช่น ด้านวัสดุและอุปกรณ์ จะต้องเตรียมข้อมูลและรายละเอียดของอุปกรณ์ (Specification) เตรียมรายละเอียดงบประมาณ ด าเนินการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง เตรียมสถานที่จริงตามแบบจ าลองระบบ และแบบผังการติดตั้งที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ให้พร้อมที่จะด าเนินการติดตั้งได้

3. ขั้นติดตั้งระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ขั้นติดตั้งระบบ หมายถึง การติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ การเชื่อมโยงอุปกรณ์เข้าเป็นระบบ และการทดลองการท างานของอุปกรณ์และของระบบโดยรวม 3.1 การติดตั้งอุปกรณ์ เป็นการจัดอุปกรณ์ให้เข้าชุดและติดตั้งตามแบบผังที่ก าหนดไว้แล้วในสถานที่จริง เช่น อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้ามีเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียงเครื่องเล่นแผ่นซีดีเสียง ไมโครโฟน เป็นต้น เครื่องผสมเสียง เทปบันทึกเสียงต้นแบบ (Master Tape Recorder) เครื่องขยายเสียง อุปกรณ์จ่ายสัญญาณ (Sound Signal Distributer) และระบบล าโพงในกรณีที่เป็นระบบห้องฟังเสียงขนาดใหญ่ 3.2 การเชื่อมโยงระบบ หมายถึง การต่อสายไฟฟ้าก าลัง สายสัญญาณเสียงระหว่างส่วนสัญญาณเสียงน าเข้า ภาคผสมและขยายสัญญาณเสียง ภาคแจกจ่ายและแสดงเสียง คือ ชุดล าโพงที่ห้องรับฟังเสียง 3.3 การทดลองการท างานของระบบ หมายถึง การทดลองใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นว่าท างานได้ตามหน้าเกินที่ควรจะเป็นหรือไม่ และการท างานของระบบทั้งระบบว่ามีสภาพอย่างไร นอกจากจะตรวจสอบการท างานตามหน้าที่แล้ว จะต้องตรวจสอบความคล่องตัวและความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วย

Page 34: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

4. ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบเป็นขั้นที่จะต้องก าหนดเกณฑ์ในการวัดก าหนดเครื่องมือวัดทั้งที่เป็นอุปกรณ์และแบบวัดต่างๆ การก าหนดเกณฑ์การประเมินโดยรวม และการทดสอบระบบในสถานการณ์จ าลอง ได้แก่ การทดลองบันทึกเสียงแบบต่างๆ การเปิดเสียง การวัดความดังของเสียง ณ จุดต่างๆ ในห้องฟังเสียง เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนต าแหน่งและทิศทางของล าโพง เป็นต้น โดยสรุปแล้ว ขั้นตอนของระบบแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผนระบบด้วยการก าหนดวัตถุประสงค์ การก าหนดอุปกรณ์และสถานที่ และการออกแบบระบบ (2) ขั้นเตรียมการวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ และสถานที่ (3) ขั้นติดตั้ง เชื่อมโยง และทดลองระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบว่าเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินและวัตถุประสงค์ของระบบหรือไม่

กิจกรรม 2.2.2 จงอธิบายขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยเทปบันทึกเสียง ในฐานะที่เป็นระบบหนึ่ง

ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียง แนวตอบกิจกรรม 2.2.2

ให้นักศึกษาแยกอธิบายรายละเอียดของ 4 ขั้นตอน ว่าแต่ละขั้นตอนท าอะไรบ้างขั้นตอนทั้ง 4 นั้นได้แก่ (1) ขั้นวางแผน (2) ขั้นเตรียมการ (3) ขั้นติดตั้ง และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินผล

Page 35: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ตอนที่ 2.3 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง 2.3.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย 2.3.2 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย

แนวคิด 1. องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายประกอบด้วย (1) อุปกรณ์

สัญญาณเสียงน าเข้า อุปกรณ์กระบวนการแพร่เสียงตามสาย และอุปกรณ์กระบวนการรับฟังเสียง (2) เจ้าหน้าที่ระบบเครื่องเสียง และเจ้าหน้าที่ระบบแพร่เสียงตามสาย (3) ห้องส่งและห้องรับฟัง และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกหลัก ได้แก่ ชุดซ่อมบ ารุง ชุดสื่อสารภายใน คู่สายโทรศัพท์ และชุดล าโพงเสริม

2. ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายประกอบด้วย (1) ขั้นการวางแผนโดยการตัดสินใจเลือกระบบ ก าหนดองค์ประกอบ และออกแบบระบบ (2) ขั้นการเตรียมการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้างเดินสายสัญญาณ และเตรียมสถานที่ (3) ขั้นการติดตั้งระบบโดยการประกอบอุปกรณ์ ติดตั้งเชื่อมโยงสายสัญญาณ ทดลองใช้และปรับแต่สัญญาณ และ (4) ขั้นการตรวจสอบและประเมินระบบตลอดทั้งการปรับแต่งสัญญาณ ณ จุดต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของระบบที่ออกแบบไว้

วัตถุประสงค์ 1. หลังจากศึกษาเรื่อง “องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย” แล้ว

นักศึกษาสามารถอธิบายรายละเอียดขององค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ได้ถูกต้อง

2. หลังจากศึกษาเรื่อง “ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่ อการศึกษาตามสาย” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายได้ถูกต้อง

Page 36: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ
Page 37: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.3.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย มีระบบส่งสัญญาณเสียงแบบแอนะล็อก และแบบดิจิทัล ลักษณะการส่งมี 2 ลักษณะ คือ ส่งสัญญาณเสียงโดยตรง และส่งโดยการผสมสัญญาณเสียงกับคลื่นไฟฟ้า ถึงจะส่งเสียงตามสายด้วยระบบใดก็ตาม องค์ประกอบของระบบก็จะเหมือนกัน แตกต่างก็เฉพาะระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในอุปกรณ์ของแต่ละระบบเท่านั้น องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายประกอบด้วย อุปกรณ์ สถานที่ บุคลากร และสิ่งอ านวยความสะดวกในการแพร่และรับฟังเสียง

1. อุปกรณ์ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย อุปกรณ์ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายด้านสัญญาณเสียงน าเข้า และด้านกระบวนการรับฟังเสียงส่วนมากจะใช้อุปกรณ์ประเภทเดียวกันได้ต่างกันเฉพาะอุปกรณ์ในกระบวนการแพร่ซึ่งจะต้องเป็นไปตามลักษณะเครือข่ายที่ใช้ในการแพร่เสียงแต่ละประเภท ระบบการแพร่เสียงตามสายที่นิยมใช้ในการแพร่เสียงเพื่อการศึกษา ดังได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องที่ 2.1.3 ได้แก่ ระบบเสียงตามสายที่ส่งสัญญาณเสียงโดยตรง ระบบโทรศัพท์ เพื่อการศึกษา ระบบไปรษณีย์เสียง ระบบการประชุมทางไกลด้วยเสียง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย (ภาพที่ 2.9 ประเภทของระบบการแพร่เสียงตามสาย)

ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย

ระบบแอนะล็อก ระบบดิจิทัล เครื่องขยาย–ล าโพง เครื่องขยาย-เครื่องขยาย โทรศัพท์เพื่อการศึกษา

เครื่องขยาย D/A-ล าโพง เครื่องขยาย A/D/เครื่องขยาย D/A โทรศัทพ์เพื่อการศึกษา ระบบไปรษณีย์เสียง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ณะบบ LAN เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ภาพที่ 2.9 ประเภทของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย

Page 38: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

1.1 อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า มีความจ าเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์สัญญาณน าเข้าคล้ายๆ กัน อาจมีมากบ้าง น้อยบ้างตามขนาดของระบบ อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบม้วน เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบตลับ เครื่องเทปบันทึกเสียงแบบดิจิทัล เครื่องขยายเสียง และล าโพงและระบบล าโพง ซึ่งมีรายละเอียดไว้แล้วในเรื่องที่ 2.2.1 ส าหรับระบบเสียงตามสาย และระบบการประชุมทางไกลด้วยเสียงที่ไม่มีความจ าเป็นต้องผสมเสียง ก็อาจจ าเป็นต้องใช้แผงควบคุมสัญญาณน าเข้าแทนเครื่องผสมเสียง หรือการใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม ส าหรับระบบไปรษณีย์เสียง เป็นต้น 1.2 อุปกรณ์กระบวนการแพร่เสียงตามสาย แต่ละระบบมีอุปกรณ์ที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้ 1) ระบบแพร่เสียงตามสายที่ส่งสัญญาณเสียงจากเครื่องขยายสู่ล าโพงโดยตรง อุปกรณ์จ าเป็นก็คือเครื่องขยายเสียงที่มีก าลังขยายสูง ที่เหมาะสมกับความยาวของสายสัญญาณ และจ านวนจุด หรือล าโพงที่จะรับฟัง และที่ช่องสัญญาณส่งออกของเครื่องขยาย จะต้องเป็นประเภทมีหลายขั้วที่มีค่าความต้านทานขาออก (Impedance) ขนาดต่างๆ โดยทั่วไปมีขนาด 4 โอห์ม 8 โอห์ม 16 โอห์ม 250 โอห์ม เป็นต้น เพื่อที่จะได้เลือกต่อให้ตรงกับความต้านทานของล าโพง 2) ระบบแพร่เสียงตามสายที่ส่งสัญญาณเสียงจากระบบเครื่องขยายสู่เครื่องขยายปลายทาง ระบบส่งสัญญาณจากเครื่องขยายไปยังล าโพงโดยตรง ส่งเสียงได้ระยะใกล้ และเครือข่ายก็มีขนาดเล็กเท่านั้น เพราะช่องสัญญาณขาออกจะต้องแปลงแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณให้ต่ าลงก่อนด้วยวงจรทีแอลโอ (Transformer Less Output: TLO) หรือวงจรซีแอลโอ (Condenser Less Output: CLO) ระบบเครื่องขยายสู่เครื่องขยายช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยใช้เครื่องขยายที่ขยายปริมาณกระแสไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณให้สูงมีแรงขับพอที่จะวิ่งไปตามสายสัญญาณได้ไกลๆ แล้วป้อนสัญญาณเข้าที่ เครื่องขยายปลายทาง ซึ่งจะมีวงจรกรองและความต้านทานที่เหมาะสม ระบบนี้นิยมใช้ล าโพงที่มีเครื่องขยายในตัว 3) ระบบโทรศัพท์เพื่อการศึกษา จะต้องมีเครื่องขยายพิเศษที่มีช่องสัญญาณขาออกเท่ากับสัญญาณของโทรศัพท์ มีแผงจ่ายสัญญาณที่มีหัวเสียบสายโทรศัพท์ และแผงควบคุมส าหรับตัดสัญญาณเข้าและออก ส าหรับระบบที่แจกสัญญาณหลายคู่สาย คือ ส่งไปหลายจุดพร้อมกัน 4) ระบบไปรษณีย์เสียง จะต้องมีอุปกรณ์หน่วยจัดเสียง (Voice Processor Unit) หน่วยไฟล์เสียง (Voice File Unit) และหน่วยควบคุมระบบ (Control Unit) 5) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบแลน (Local Area Network: LAN) นอกจากเครือข่ายจะต้องมีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแล้ว เครือข่ายจะต้องมีเครื่องจ่ายสัญญาณ คือ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ด้วย 6) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นอกจากจะต้องมีอุปกรณ์เหมือนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบแลนแล้ว ผู้ใช้จะต้องสามารถเข้าใช้บริการในระบบอินเทอร์เน็ตด้วย จึงจะสามารถแพร่เสียงและรับฟังเสียผ่านเครือข่ายได้ 7) ระบบประชุมทางไกลด้วยเสียง จะต้องมีอุปกรณ์ครบชุดเหมือนกันทุกจุด เพราะเป็นระบบสื่อสารสองทาง 1.3 อุปกรณ์กระบวนการรับฟังเสียง โดยทั่วไปได้แก่ ล าโพงหรือชุดล าโพง เพราะว่าล าโพงเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นคลื่นเสียงตามต้นแบบของเสียงที่ส่งผ่านระบบแพร่เสียงมา โดยเฉพาะระบบเครื่องขยายเสียงสู่ล าโพงหรือชุดล าโพงโดยตรงนั้น จะต้องค านวณค่าความต้านทานให้

Page 39: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เท่ากันด้วย เช่น ถ้าน าล าโพง 8 โอห์ม 2 ตัว มาต่อแบบอนุกรมจะต้องต่อเข้าที่ช่องสัญญาณ 16 โอห์ม หรือถ้าต่อแบบขนานจะต้องต่อกับช่องสัญญาณ 4 โอห์ม เป็นต้น ส่วนระบบเครื่องขยายสู่เครื่องขยายจะต้องต่อแบบขนาน และล าโพงทุกตัวจะต้องมีเครื่องขยาย หรือแผงวงจรขยายสัญญาณอยู่ภายในทุกตัวที่ปลายทางของระบบโทรศัพท์เพื่อการศึกษา แทนที่จะเป็นหูฟังโทรศัพท์ก็จะต้องเป็นเครื่องขยายเสียงครบชุดที่มีพลังเสียงที่เหมาะสมกับจ านวนผู้ฟัง

2. บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายประกอบด้วยบุคลากรด้านรายการ บุคลากรด้านเนื้อหา บุคลากรด้านผู้สอน และบุคลากรด้านเทคนิคระบบแพร่เสียง ซึ่งจะกล่าวถึงเฉพาะด้านหลังนี้เพราะบุคลากรด้านอื่นจะมีกล่าวถึงโดยละเอียดในหน่วยต่อๆ ไป บุคลากรของระบบแพร่เสียงตามสาย ที่เป็นหน่วยเผยแพร่ขนาดเล็กกลุ่มเป้าหมายผู้รับฟังประมาณ 500 ถึง 1,000 คน ควรมีเจ้าหน้าที่ระบบเครื่องเสียง วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพขึ้นไป ถ้าเป็นระบบที่มีกลุ่มผู้ฟังมากกว่า 1,000 คน หรือมีห้องรับฟังตั้งแต่ 3 ห้องขึ้นไป ควรมีเจ้าหน้าที่ระบบเครื่องเสียง 3 ถึง 5 คน ส าหรับระบบไปรษณีย์เสียง ระบบแลน ระบบอินเทอร์เน็ต และระบบประชุมทางไกลด้วยเสียง ควรมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรม หรือมีความรู้ความสามารถในระบบนั้นๆ เพิ่มเข้ามาอีกอย่างน้อย 1 คน

3. สถานที่ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย สถานที่ของระบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายมี 2 ส่วน คือ ห้องส่ง และห้องรับฟัง ห้องส่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ห้องควบคุมและปฏิบัติการแพร่เสียงห้องผู้ประกาศและห้องตรวจสอบและซ่อมบ ารุงวัสดุและอุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า ห้องทั้ง 3 จะต้องอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่สามารถกันเสียงรบกวนแก่กันและกันได้ ส าหรับห้องรับฟังมีลักษณะและอุปกรณ์เหมือนกันกับห้องรับฟังของระบบการแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียงที่กล่าวมาแล้วในตอนที่ 2.2

4. สิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย สิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายที่ส าคัญ ได้แก่ ชุดซ่อมบ ารุง ชุดสื่อสารภายใน คู่สายโทรศัพท์ และชุดล าโพงเสริม 4.1 ชุดซ่อมบ ารุง ได้แก่ ชุดซ่อมบ ารุงอุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า เช่น อุปกรณ์ซ่อมไมโครโฟน ชุดตัดต่อเส้นเทปและตลับเทปบันทึกเสียง อุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณเสียง เป็นต้น จะต้องเตรียมพร้อมไว้ส าหรับซ่อมบ ารุงและแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ป้องกันการแพร่เสียงไม่ให้เกิดการติดขัดขึ้นได้ 4.2 ชุดสื่อสารภายใน หมายถึง การสื่อสารภายในเครือข่ายการแพร่เสียงอาจเป็นโทรศัพท์ภายใน หรือชุดสื่อสารภายใน (Inter-communication Set) ใช้ส าหรับสื่อสารระหว่างผู้รับฟังกับเจ้าหน้าที่ของห้องควบคุมและปฏิบัติการแพร่เสียง เพราะตุขัดข้องต่งๆ ณ จุดรับฟังจะมีเกิดขึ้นเสมอ

Page 40: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

4.3 คู่สายโทรศัพท์ จะต้องเป็นคู่สายโทรศัพท์พิเศษ ที่สามารถเชื่อมโยงสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมและปฏิบัติการแพร่เสียงได้ ทั้งนี้เพื่อใช้ในกรณีที่วิทยากร หรือผู้ประกาศ มีเหตุขัดข้องไม่สามารถมาที่ห้องแพร่เสียงได้ 4.4 ชุดล าโพงเสริม จ าเป็นจะต้องมีไว้ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย เช่น ระบบแพร่เสียงตามสายในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีจุดรับฟังตั้งแต่ 20 จุดขึ้นไปควรมีชุดล าโพงเสริมเตรียมพร้อมไว้อย่างน้อย 5 ชุด โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายประกอบด้วย (1) อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า อุปกรณ์กระบวนการแพร่เสียงตามสาย และอุปกรณ์กระบวนการรับฟังเสียง (2) เจ้าหน้าที่ระเบบเครื่องเสียง และเจ้าหน้าที่ระบบแพร่เสียงตามสาย (3) ห้องส่ง และห้องรับฟัง และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกหลัก ได้แก่ ชุดซ่อมบ ารุง ชุดสื่อสารภายใน คู่สายโทรศัพท์ และชุดล าโพงเสริม

กิจกรรม 2.3.1 จงอธิบายองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย โดยเลือกอธิบายเพียงระบบ

เดียว แนวตอบกิจกรรม 2.3.1

ให้นักศึกษาเลือกอธิบายระบบเดียวจากระบบต่อไปนี้ คือ ระบบเครื่องขยายสู่ล าโพง ระบบเครื่องขยายสู่เคร่ืองขยาย ระบบโทรศัพท์เพื่อการศึกษา ระบบไปรษณีย์เสียง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบแลน เครื่องข่ายระบบอินเทอร์เน็ต และระบบประชุมทางไกลด้วยเสียง

Page 41: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.2.3 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย มีขั้นตอนเหมือนกันกับระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาด้วยวัสดุบันทึกเสียงที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 2.2 ซึ่งประกอบด้วยขั้นวางแผน ขั้นเตรียมการ ขั้นติดตั้ง และขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ แต่ละขั้นตอนก็จะมีความแตกต่างกั นในรายละเอียด โดยเฉพาะระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายมีหลายประเภทบางประเภทก็มีความแตกต่างกันมากในทางเทคนิค เช่น ระบบประชุมทางไกลด้วยเสียง เป็นต้น ดังนั้น ในที่นี้จึงจะกล่าวถึงขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงตามสายที่เป็นรายละเอียดร่วมทั่วไป ดังต่อไปนี้

1. ขั้นวางแผนระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ขั้นวางแผนระบบเป็นขั้นพิจารณาข้อมูล ความจ าเป็น ความต้องการ และวัตถุประสงค์ของระบบ เพื่อตัดสินใจว่าจะใช้ระบบใดจึงจะเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการใช้ เช่น ถ้ากลุ่มผู้ฟังเป้าหมายอยู่ในสถานที่เดียวกัน ระยะทางการเดินสายสัญญาณเสียงไม่เกิน 500 เมตร ควรเลือกระบบเครื่องขยายสู่ล าโพง แต่ถ้าระยะทางเดินสายสัญญาณเสียงยาวกว่านี้ มีผู้ฟังหลายจุดและจ านวนมาก เช่น ในบริเวณโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย ควรเลือกระบบเครื่องขยายสู่เครื่องขยาย เป็นต้น ถ้ามีความประสงค์ที่จะสร้างเครือข่ายแพร่เสียงตามสายแก่กลุ่มผู้ฟังที่อยู่ห่างไกลก็ควรเลือกระบบโทรศัพท์เพื่อการศึกษา ซึ่งการวางแผนจะต้องประสานงานกับหน่วยงานของระบบที่เกี่ยวข้อง คือ ระบบโทรศัพท์ที่จะก าหนดเกี่ยวกับคู่สาย เลขหมายโทรศัพท์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เหมาะสมกับระบบของเขา หรื อถ้าต้องการแพร่เสียงแบบกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็กรายบุคคล หรืออัตโนมัติตามผู้ฟังขอมาก็จะต้องรวมระบบไปรษณีย์เสียงเข้าไปในระบบโทรศัพท์เพื่อการศึกษาด้วย เป็นต้น เมื่อตัดสินใจเลือกระบบแล้ว จึงจะด าเนินการก าหนดองค์ประกอบ ออกแบบระบบ และเขียนแบบจ าลองระบบตามความเหมาะสมของระบบที่เลือกนั้นๆ

2. ขั้นเตรียมการระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย การตัดสินใจต่างๆ ในขั้นวางแผนระบบจะได้รายละเอียดต่างๆ ของระบบ และแบบจ าลองระบบอย่างชัดเจนแล้ว ขั้นเตรียมการระบบเป็นขั้นจัดหา จัดซื้อจัดจ้าง และเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เตรียมบุ คลากร เตรียมสถานที่จริงรวมทั้งการเดินสายสัญญาณ หรือระบบอื่นที่เกี่ยวข้องให้พร้อม

Page 42: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

3. ขั้นติดตั้งระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ขั้นติดตั้งระบบ เป็นขั้นประกอบอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทดลองใช้งานและปรับแต่งให้เป็นไปตามคู่มือของแต่ละเครื่อง ติดตั้งและเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าระบบอุปกรณ์ ทดลองใช้ และปรับปรุงทั้งด้านอุปกรณ์ ต าแหน่งติดตั้ง และสภาพพื้นที่ในการท างาน

4. ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ เป็นขั้นทดลองและทดสอบระบบในสถานการณ์จ าลองโดยทดลองใช้ระบบเต็มรูปแบบ แต่ย่นย่อด้านเนื้อหาและเวลาในการใช้ การวัดสัญญาณน าเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยเครื่องมือและเกณฑ์ที่ก าหนดไว้แล้วในขั้นตอนการวางแผนและออกแบบระบบ การสอบถามความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางปรับปรุงระบบให้เหมาะสมยิ่งขึ้นก็ต้องท าพร้อมกันในขั้นตอนนี้ โดยสรุปแล้ว ข้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสายประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผนโดยการตัดสินใจเลือกระบบ ก าหนดองค์ประกอบ และออกแบบระบบ (2) ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้างเดินสายสัญญาณ และเตรียมสถานที่ (3) ขั้นติดตั้งระบบโดยการประกอบอุปกรณ์ ติดตั้ง เชื่อมโยงสายสัญญาณ ทดลองใช้ และปรับแต่งสัญญาณ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ ตลอดทั้งการปรับแต่งสัญญาณ ณ จุดต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของระบบที่ออกแบบไว้

กิจกรรม 2.3.2 จงอธิบายรายละเอียดของขั้นตอนระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาตามสาย โดยเลือกอธิบายแต่ละ

ขั้นตอน แนวตอบกิจกรรม 2.3.1

ให้นักศึกษาแยกตอบแต่ละขั้นตอน คือ (1) ขั้นวางแผน (2) ขั้นเตรียมการ (3) ขั้นติดตั้งระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ โดยอธิบายตามล าดับกิจกรรมที่จะต้องท าในแต่ละขั้นตอน

Page 43: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ตอนที่ 2.4 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.4 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง

2.4.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย 2.4.2 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย

แนวคิด 1. องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายประกอบด้วย (1) อุปกรณ์

สัญญาณเสียง น าเข้า อุปกรณ์กระบวนการแพร่สัญญาณเสียง และอุปกรณ์กระบวนการรับฟัง (2) บุคลากรด้านวิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรทางเสียง (3) สถานที่ส าคัญได้แก่ ห้องส่ง และห้องผลิตรายการวิทยุ และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกทางเครื่องเสียงและการผลิตรายการวิทยุ

2. ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผน ออกแบบ และเขียนโครงการจัดตั้ง (2) ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ และจัดจ้าง (3) ขั้นติดตั้ง ทดลอง ปรับแต่ง และเชื่อมโยงระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

วัตถุประสงค์ 1. หลังจากศึกษาเรื่อง “องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย” แล้ว

นักศึกษาสามารถอธิบายองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายได้ถูกต้อง

2. หลังจากศึกษาเรื่อง “ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายรายละเอียดขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายได้ถูกต้อง

Page 44: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.4.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย เป็นระบบที่ส่งสัญญาณเสียงในรูปของคลื่น-แม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงเรียกว่า คลื่นวิทยุ (Radio Wave Frequency: RF) องค์ประกอบของระบบส่วนใหญ่ก็จะคล้ายกับระบบแพร่เสียงด้วยวัสดุบันทึกเสียง และระบบแพร่เสียงตามสาย จะแตกต่างจากระบบอื่นก็เฉพาะอุปกรณ์ด้านระบบส่งกระจายเสียง และอุปกรณ์รับคลื่นวิทยุเท่านั้น องค์ประกอบหลักของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายประกอบด้วยองค์ประกอบด้านอุปกรณ์ สถานที่ บุคลากร และสิ่งอ านวยความสะดวก ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงไร้สายประกอบด้วยอุปกรณ์สามส่วนเหมือนกับระบบเครื่องเสียงอื่นๆ คือ ส่วนสัญญาณเสียงน าเข้า ส่วนกระบวนการแพร่เสียงและส่วนรับฟัง 1.1 อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นซีดีเสียง เครื่องเล่นแผ่นเลเซอร์ เครื่องขยายเสียงและเครื่องผสมเสียง ซึ่งได้กล่าวโดยละเอียดมาแล้วในตอนที่ 2.2 และ 2.3 1.2 อุปกรณ์กระบวนการแพร่สัญญาณเสียง ได้แก่ อุปกรณ์ที่เป็นชุดส าหรับการส่งกระจายคลื่นวิทยุซึ่งมีหลายระบบ คือ วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอม (Amplitude Modulation: Am) วิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอม (Frequency Modulation: FM) และระบบส่งกระจายคลื่นพีเอม (Pulse Modulation: PM) 1. วิทยุกระจายเสียงระบบเอเอม เป็นระบบส่งคลื่นวิทยุที่ใช้ส่วนสูงของยอดคลื่นสัญญาณเสียงกับความสูงของยอดคลื่นพาห์ผสมกัน ความสูงของยอดคลื่น คือ “แอมปลิจูด” (Amplitude) เมื่อผสมกันแล้วคลื่นวิทยุก็จะมีความถี่คงที่เท่ากับความถี่ของคลื่นพาห์แต่จะมีความสูงของยอดคลื่นเปลี่ยนแปรไปตามคลื่นสัญญาณเสียง ความถี่ของคลื่นพาห์จึงเป็นความถี่ของคลื่นวิทยุออกอากาศของแต่ละสถานี ความถี่ของคลื่นวิทยุเอเอมนี้ก าหนดไว้เป็นสากล 3 ระดับ คือ วิทยุเอเอมคลื่นยาว (Long Wave: LW หรือ Low Frequency: LF) ความถี่ 3-300 กิโลเฮิรตซ์ วิทยุเอเอมคลื่นขนาดกลาง (Medium Wave: MW หรือ Medium Frequency: MF) ความถี่ 300-3,000 กิโลเฮิรตซ์ วิทยุเอเอมคลื่นสั้น (Short Wave: SW หรือ High Frequency: HF) 3,000-30,000 กิโลเฮิรตซ์

Page 45: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ในการกระจายคลื่นวิทยุเอเอมนี้ ถ้าแต่ละสถานีใช้คลื่นความถี่ที่ใกล้กันมาก โอกาสที่เสียงจะรบกวนกันก็มีมาก จึงต้องมีการก าหนดความต่างระหว่างสถานีไว้เป็นมาตรฐานสากล เรียกว่า ช่องสัญญาณ (Channel) ส าหรับวิทยุเอเอมมีความกว้างของช่องสัญญาณ 10 กิโลเฮิรตซ์ ดังนั้น วิทยุเอเอมคลื่นขนาดกลางในเอเซียและอเมริกาซึ่งใช้ช่วงความถี่ 535-1,605 กิโลเฮิรตซ์ จึงมีสถานีวิทยุเอเอมคลื่นขนาดกลาง (MW) ได้ถึง 100 สถานีในบริเวณเดียว เมื่อมีข้อก าหนดต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก ากับอยู่ อุปกรณ์ เครื่องส่งกระจายเสียงวิทยุเอเอมจึงประกอบด้วย ภาคก าเนิดความถี่วิทยุ (Radio Frequency Current Generator Stage) ภาคผสมคลื่น (Modulator Stage) ภ าค ขยายก าลั ง (Power Amplifier Stage) และภ าค เส าอ าก าศ (Antenna Transmitter Stage) ดังในภาพที่ 2.10 ระบบส่งกระจายคลื่นวิทยุเอเอม

ภาพที่ 2.10 ระบบส่งกระจายคลืน่วิทยเอเอม 2. วิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอม เป็นระบบส่งคลื่นวิทยุที่ใช้ลักษณะของคลื่นสัญญาณเสียงไปผสมและเปลี่ยนแปรความถี่ของคลื่นพาห์ ความถี่ของวิทยุกระจายเสียงเอฟเอม อยู่ระหว่าง 30-300 เมกะเฮิรตซ์ และมีความกว้างของช่องสัญญาณระหว่างสถานี 200 กิโลเฮิรตซ์ ก าหนดไว้กว้างกว่าวิทยุเอเอมมาก เพราะคลื่นพาห์ของวิทยุเอฟเอมจะเปลี่ยนแปรไม่คงที่โดยคลื่นสัญญาณเสียง โอกาสที่จะมีเสียงแทรกสอดกันจึงมีได้มากกว่า วิทยุเอฟเอมในประเทศไทยใช้แถบความถี่อยู่ระหว่าง 88-108 เมกะเฮิรตซ์ จึงสามารถมีสถานีวิทยุเอฟเอมได้ประมาณ 200 สถานีในบริเวณเดียวกัน ดังในภาพที่ 2.11 ระบบส่งกระจายคลื่นเอฟเอม

Page 46: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพที่ 2.11 ระบบส่งกระจายคลืน่วิทยุเอฟเอม

3) ระบบส่งกระจายคลื่นวิทยุพีเอม เป็นระบบแพร่คลื่นที่คลื่นพาห์ถูกแปลงเป็นพัลส์ มีความสูงของยอดพัลส์สูงเท่ากัน มีลักษณะการผสมคลื่นสัญญาณเสียงกับพัลส์หลายแบบ คือ (1) แบบพีเอเอม (Pulse-Amplitude Modulation: PAM) แบบนี้ลักษณะของคลื่นสัญญาณเสียงที่เข้าไปผสมกับพัลส์จะไปเปลี่ยนแปรความสูงของพัลส์ (2) แบบพีดีเอม (Pulse Duration Modulation: PDM หรือ Pulse-Width Modulation: PWM) การผสมคลื่นแบบนี้ คลื่นสัญญาณเสียงจะเปลี่ยนแปรความกว้างของพัลส์ (3) แบบพีพีเอม (Pulse Position Modulation: PAM) แบบนี้คลื่นสัญญาณเสียงจะเปลี่ยนแปรต าแหน่งของแท่งพัลส์ให้ชิดเข้าหรือห่างออกคล้ายกับระบบวิทยุเอฟเอม (ดูภาพที่ 2.12 ระบบพีเอมแบบต่างๆ) และ (4) แบบพีซีเอม (Pulse Code Modulation: PCM) แบบนี้คลื่นสัญญาณเสียงจะถูกสับออกเป็นชิ้นๆ ด้วยความถี่ของพัลส์เป็นการสุ่มตัวอย่างคลื่นสัญญาณเสียง (Sampling) แต่ละตัวอย่างหรือแท่งพัลส์ก็จะเข้ารหัสดิจิทัล (0 หรือ 1) 7 ระดับ นั่นคือการก าหนดพัลส์เป็นคลื่นบันได 7 ขั้น ดังนั้น จึงมีรูปแบบของรหัสดิจิทัล (0101) จ านวน 2 ยกก าลัง 7 เท่ากับ 128 แบบ ในแต่ละตัวอย่าง

Page 47: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพที่ 2.12 ระบบพีเอมแบบต่างๆ

การแพร่คลื่นวิทยุระบบพีเอมนี้แบบพีซีเอมถูกน ามาใช้ในวงการสื่อสารมากที่สุด เช่น ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ การสื่อสารผ่านดาวเทียมโทรศัพท์ระบบดิจิทัล และการสื่อสารผ่านเส้นใยน าแสง เป็นต้น 1.3 อุปกรณ์กระบวนการรับฟัง อุปกรณ์ที่แตกต่างจากระบบอื่นก็คือ อุปกรณ์ปรับรับคลื่นวิทยุ หรือ จูนเนอร์ (Tuner) หรือเครื่องรับวิทยุ (Receiver) นอกนั้นก็จะต้องมีเครื่องขยายล าโพง หรือระบบล าโพงเหมือนกับระบบการแพร่เสียงระบบอื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว

2. บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ก็คือ บุคลากรของสถานีวิทยุกระจายเสียงนั้นเองจะต้องมีผู้ช านาญการหลายๆ ด้าน มีจ านวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาด หรือกิจกรรมของสถานี นอกจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการ และบุคลากรด้านเนื้อหาแล้ว จะต้องมีวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรวิทยุกระจายเสียง และวิศวกรทางเสียง เป็นต้น

Page 48: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

3. สถานที่ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ปัจจุบันนี้การออกอากาศวิทยุกระจายเสียงนิยมผลิตรายการและบันทึกเสียงไว้ก่อน แล้วจึงน ามาออกอากาศภายหลัง สถานที่หลักจึงมี 2 ประเภท คือ ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง (Broadcast Studio) กับห้องผลิตรายการวิทยุ (Sound Studio) แต่ห้องทั้งสองประเภทนี้มีโครงสร้างอย่างเดียวกัน จะต่างก็เฉพาะห้องส่งวิทยุกระจายเสียงมีเครื่องส่งวิทยุ (Radio Transmitter) ที่ เชื่อมโยงสายสัญญาณกับเสาอากาศ (Antenna) เท่านั้น ห้องผลิตรายการวิทยุ (Sound Studio) เป็นห้องปฏิบัติการให้เสียง สร้างและบันทึกเสียงรายการวิทยุ โดยมีหลักการพื้นฐานว่าจะต้องป้องกันการแทรกสอดและรบกวนของเสียงจากภายนอกได้ ไม่มีเสียงก้องและเสียงสะท้อนภายใน ตามเกณฑ์มาตรฐานสากลอนุโลมให้มีเสียงสะท้อนได้ไม่เกินร้อยละ 0.5 ดังนั้น ห้องผลิตรายการวิทยุจึงต้องมีโครงสร้างพิเศษ ดังต่อไปนี้ 1) ห้องควบคุมและอ านวยการผลิต (Control Room) เป็นห้องชั้นนอกที่ประกอบด้วยอุปกรณ์แหล่งก าเนิดสัญญาณเสียงเสริม เช่น เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเทปบันทึกเสียง เป็นต้น แผงควบคุมเสียงและเครื่องผสมเสียง ล าโพงเฝ้าตรวจเสียง (Monitor Speaker) เครื่องบันทึกเสียงหลัก (Master Tape Recorder) ถ้าเป็นห้องส่ง เครื่องส่งวิทยุก็จะอยู่ใกล้และเชื่อมโยงกับห้องนี้ 2) ห้องปฏิบัติการให้เสียง (Main Studio) เป็นห้องที่มีโครงสร้างพิเศษตามหลักวิทยาศาสตร์ทางเสียง (Acoustic) ฝาห้องต้องบุด้วยวัสดุดูดซับเสียง (Acoustic Board) อีกชั้นหนึ่ง พื้นห้องยกพื้นด้วยวัสดุยืดหยุ่นจากพื้นอาคาร (Floating Floor) เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน มีหน้าต่างกระจก 2 ชั้น มองทะลุห้องควบคุม ประตูทางเข้าสองชั้นกันเสียง ภายในห้องมีโต๊ะเก้าอี้ ไมโครโฟน อุปกรณ์สื่อสารภายใน เป็นต้น ห้องปฏิบัติการให้เสียงนี้มีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กดังได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 2.2.1 (ดูภาพที่ 2.13 ตัวอย่างและแผนผังห้องผลิตรายการวิทยุ)

ภาพที่ 2.13 ตัวอย่างและแผนผังห้องผลิตรายการวิทยุ

Page 49: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

4. สิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย สิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายมีอุปกรณ์ วัสดุ และสิ่งของ วัตถุประสงค์ของการมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในท านองเดียวกับสิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงระบบอื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น ห้องผู้ประกาศ ห้องพักผ่อน ห้องตัดต่อรายการ ห้องเก็บวัสดุ และเครื่องเสียง อุปกรณ์สร้างเสียงพิเศษ (Sound Special Effect) เป็นต้น

โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายประกอบด้วย (1) อุปกรณ์สัญญาณเสียง น าเข้า อุปกรณ์กระบวนการแพร่สัญญาณเสียง และอุปกรณ์กระบวนการรับฟัง (2) บุคลากรด้านวิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรทางเสียง (3) สถานที่ส าคัญ คือ ห้องส่งและห้องผลิตรายการวิทยุ และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกทางเครื่องเสียงและการผลิตรายการวิทยุ

กิจกรรม 2.4.1 จงอธิบายองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายโดยอธิบายบทบาทหน้าที่ของ

องค์ประกอบแต่ละอย่างด้วย แนวตอบกิจกรรม 2.4.1

ให้นักศึกษาแยกบอกชื่อและอธิบายบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบแต่ละประเภทคือ (1) อุปกรณ์ (2) บุคลากร (3) สถานที่ และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวก

เรื่องที่ 2.4.2

Page 50: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายมีขั้นตอนของระบบเหมือนกับระบบการแพร่เสียงระบบอื่นที่กล่าวมาแล้ว จะต่างกันก็เฉพาะรายละเอียดและปริมาณของงานที่ด าเนินการแต่ละขั้ นตอน ซึ่งได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นเตรียมการ ขั้นติดตั้ง และขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

1. ขั้นวางแผนระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย เป็นระบบสื่อสารมวลชนที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับฟังได้ทั้งรายบุคคล กลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่ จ านวนมาก เช่น ระบบวิทยุกระจายเสียง ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น การวางแผนระบบ นอกจากจะต้องด าเนินการตามหลักการจัดและออกแบบระบบแล้วจะต้องเขียนโครงการจัดตั้งที่มีเนื้อหาและข้อมูลครบถ้วนด้วย คือ หลักการ (Mission Statement) ว่าด้วยปรัชญา นโยบาย และเป้าหมายของโครงการ ส่วนแบบจ าลองระบบ ส่วนรายละเอียดอุปกรณ์และงบประมาณ ส่วนขั้นตอนการด าเนินงาน (Phasing) และภาคผนวกเกี่ยวกับรายละเอียดอุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากร เป็นต้น

2. ขั้นเตรียมการระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ขั้นเตรียมการระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายเป็นขั้นด าเนินการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง อุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ ของระบบ เหมือนกับระบบการแพร่เสียงระบบอื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่จะต้องด าเนินการตามโครงการจัดตั้งที่วางแผนไว้แล้ว

3. ขั้นติดตั้งระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ขั้นติดตั้งระบบ เป็นการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะต้องท างานร่วมกันของวิศวกรและเจ้าหน้าที่ระบบหลายๆ ด้าน ในการทดลอง ปรับแต่ งและเชื่อมโยงระบบให้เป็นไปตามเกณฑ์ และแบบจ าลองระบบที่ได้ออกแบบไว้แล้ว

4. ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ขั้นการตรวจสอบและประเมินระบบนี้ เป็นขั้นทดลองใช้ระบบ ถ้าเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงก็เป็นการทดลองผลิตรายการในห้องผลิตรายการ บันทึกเสียงจนถึงการส่งกระจายเสียงออกอากาศ การทดสอบการรับฟังและตรวจวัดสัญญาณ ณ จุดต่างๆ ตามขอบเขตของการกระจายเสียงที่ก าหนดไว้ แม้การทดลองใช้จะด าเนินการในเวลาอันสั้น แต่การวัดและประเมินระบบจะต้องครบทุกระบบย่อยที่มี ตลอดทั้งการประเมินผลลัพธ์รวมของระบบด้วย

Page 51: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

โดยสรุปแล้ว ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผน ออกแบบ และเขียนโครงการจัดตั้ง (2) ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ และจัดจ้าง (3) ขั้นติดตั้ง ทดลอง ปรับแต่ง และเชื่อมโยงระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

กิจกรรม 2.4.2 จงอธิบายรายละเอียดของขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สายทุกข้ันตอน

แนวตอบกิจกรรม 2.4.2

1. ขั้นวางแผน ให้อธิบายวิธีการจัดและออกแบบระบบ และแนวการเขียนโครงการจัดตั้ง 2. ขั้นเตรียมการ ให้อธิบายการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง ว่าจะต้องจัดซื้ออะไรบ้าง อย่างไร การจัดจ้างว่า

จะต้องเตรียมการด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์อะไรบ้าง 3. ขั้นติดตั้ง ให้อธิบายการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องผลิตรายการวิทยุ เกณฑ์ในการทดสอบ และ

ปรับแต่งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การสะท้อนของเสียง เวลาในการท างาน เป็นต้น 4. ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ ให้อธิบายการเตรียมเครื่องมือส าหรับการวัด และประเมินระบบ

ว่าจะต้องเตรียมการและเน้นการวัดและประเมินจุดใดบ้าง

Page 52: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ตอนที่ 2.5 ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 2.5 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง

2.5.1 องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต 2.5.2 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต

แนวคิด 1. องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย (1)

อุปกรณ์สัญญาณเสียง น าเข้า อุปกรณ์กระบวนการแพร่สัญญาณเสียง และอุปกรณ์กระบวนการรับฟัง (2) บุคลากรด้านวิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรทางเสียง และวิศวกรคอมพิวเตอร์ (3) สถานที่ส าคัญได้แก่ ห้องผลิตรายการวิทยุ ห้องคอมพิวเตอร์ และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกการผลิตรายการวิทยุและ ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

2. ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผน ออกแบบ และเขียนโครงการจัดตั้ง (2) ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ และจัดจ้าง (3) ขั้นติดตั้ง ทดลอง ปรับแต่ง และเชื่อมโยงระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

วัตถุประสงค์ 1. หลังจากศึกษาเรื่อง “องค์ประกอบของระบบการแพร่ เสียงเพื่ อการศึกษาทาง

อินเทอร์เน็ต” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้อง

2. หลังจากศึกษาเรื่อง “ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต” แล้ว นักศึกษาสามารถอธิบายรายละเอียดขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตได้ถูกต้อง

เรื่องที่ 2.5.1

Page 53: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตหรือที่นิยมเรียกกันว่า “เว็บแคสท์” (webcast) เป็นระบบที่ส่งสัญญาณเสียงในรูปแบบของสัญญาณดิจิทัลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยอื่นๆ เข้าด้วยกัน เช่น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer network) อันได้แก่ LAN, MAN, WAN เครือข่ายโทรศัพท์แบบใช้สาย เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile telephone network) และเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless computer network) เป็นต้น องค์ประกอบหลักของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต ก็จะคล้ายๆ กับระบบการแพร่เสียงทางด้านอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนที่ 2.2-2.4 คือจะประกอบด้วยองค์ประกอบด้านอุปกรณ์ ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร และด้านสิ่งอ านวยความสะดวก ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต แม้จะเป็นระบบที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงแต่ก็ยังคงประกอบด้วยอุปกรณ์ 3 ส่วนเหมือนกับระบบเครื่องเสียงอื่นๆ คือ ส่วนสัญญาณเสียงน าเข้า ส่วนกระบวนการแพร่เสียง และส่วนรับฟัง 1.1 อุปกรณ์สัญญาณเสียงน าเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน เครื่องเล่นและบันทึกซีดีเสียง ดีวีดี เครื่องเล่น MP3 เครื่องขยายเสียงและเครื่องผสมเสียง ซึ่งได้กล่าวโดยละเอียดมาแล้วในตอนที่ 2.2-2.4 ข้อแตกต่างของระบบนี้จากระบบอื่นๆ คือ ระบบนี้เป็นระบบที่แพร่สัญญาณเสียงที่เป็นดิจิทัล ดังนั้นอุปกรณ์ที่ส าคัญและจ าเป็นคืออุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Analog to Digital Converter) ซึ่งมักเรียกย่อยๆ ว่า ADC, A/D หรือ A to D เช่นใช้ในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากเครื่องผสมเสียงหรือเครื่องขยายเสียงซึ่งเป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิทัลเพื่อน าไปใช้งานในระบบต่อไป และอปุกรณ์อีกชิ้นหนึ่งคืออุปกรณ์โคเด็ค (Codec) ใช้เพื่อเข้ารหัสและบีบอัดไฟล์เสียงให้มีขนาดเล็กลง 1.2 อุปกรณ์กระบวนการแพร่สัญญาณเสียง ในการแพร่สัญญาณรายการวิทยุที่เป็นดิจิทัลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต้องอาศัยเทคโนโลยีในการส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่ เรียกว่า “สตรีมมิ่ ง” (streaming technology) โดยกระบวนการสตรีมมิ่งจะประกอบด้วยสองส่วน คือ ซอฟต์แวร์ที่ท าหน้าที่ในการจัดการส่งข้อมูลไปยังผู้รับ และสตรีมมิ่งเซิร์ฟเวอร์ (streaming server) ที่ท าหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและส่งออกข้อมูล ทั้งนี้เนื่องจากในการรับส่งไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตนั้น โดยปกติแล้วไฟล์ที่จะรับส่งกันนั้นจะต้องเป็นไฟล์ที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นการแพร่เสียงรายการสดทางอินเทอร์เน็ตจึงท าไม่ได้ด้วยวิธีการรับส่งไฟล์ธรรมดา เพราะต้องรอให้ท ารายการจนเสร็จเสียก่อนแล้วจึงเก็บบันทึกไว้เป็นไฟล์ส่งให้ผู้ฟัง แต่ด้วยเทคโนโลยีสตรีมมิ่งช่วยให้เราสามารถรับฟังรายการสดที่แพร่ทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยแทนที่จะส่งไฟล์ทั้งไฟล์ไปให้ผู้ฟัง กระบวนการสตรีมมิ่งจะท าการแบ่งไฟล์นั้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ (packet) แล้วส่งตามกันไปอย่าง

Page 54: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ต่อเนื่องไปยังผู้รับ ดังนั้นเมื่อเริ่มแพร่รายการสดไฟล์จะถูกส่งออกไปเป็นชิ้นเล็กๆ อย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ฟังได้รับชิ้นส่วนแรกก็สามารถเริ่มฟังได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้เป็นไฟล์เสียงที่สมบูรณ์ทั้งรายการ

ภาพท่ี 2.14 เทคโนโลยีสตรีมมิ่ง

ด้วยเทคโนโลยีสตรีมมิ่งจึงท าให้การแพร่เสียงเพื่อการศึกษาท าได้ใน 2 ลักษณะคือ แพร่เสียงในลักษณะที่เป็นรายการสด (Live) และแพร่เสียงในลักษณะที่เป็นไปตามความต้องการ (On demand) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนรับฟังรายการได้ทันทีที่ เลือกไฟล์ที่ต้องการจะฟัง (เช่นเดียวกับการเลือกชมรายการวีดิทัศน์จากยูทูป) โดยไม่จ าเป็นต้องเสียเวลาดาวน์โหลดไฟล์จนเสร็จแล้วถึงจะสามารถเปิดฟังได้ 1.3 อุปกรณ์กระบวนการรับฟัง อุปกรณ์การรับฟังของระบบนี้จะแตกต่างจากอุปกรณ์รับฟังของระบบอื่นๆ คือ อุปกรณ์ในการรับฟังของระบบนี้จะต้องสามารถเชื่ อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ อุปกรณ์ดังกล่าวได้แก่คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือที่เรียกกันว่า PC อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาชนิดต่างๆ เช่น โน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เมื่อต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตและได้รับสัญญาณเสียงดิจิทัลที่เข้ารหัสมาแล้ว ก็จะท าการถอดรหัสโดยอุปกรณ์โคเด็ค แล้วแปลงข้อมูลหรือสัญญาณดิจิทัลที่ได้รับให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกโดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า DAC, D to A, หรือ D/A (Digital to Analog Converter) แล้วจึงส่งเข้าล าโพงหรือหูฟังเพื่อแปลงสัญญาณแอนะล็อกหรือสัญญาณไฟฟ้าที่ได้ให้เป็นสัญญาณเสียงให้ผู้ฟังรับฟังต่อไป

Page 55: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ภาพท่ี 2.15 กระบวนการแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ต

2. บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต บุคลากรของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยบุคลากรเหมือนๆ กับบุคลากรของสถานีวิทยุกระจายเสียงในระบบอื่นๆ คือ ประกอบด้วยบุคลากรด้านรายการ บุคลากรด้านเนื้อหา บุคลากรด้านผู้สอน และบุคลากรด้านเทคนิค ส่วนที่แตกต่างกันคือบุคลากรด้านเทคนิคเพราะบุคลากรด้านเทคนิคนอกจากจะประกอบด้วยบุคลากรที่เป็นวิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรทางเสียงแล้ว ยังต้องมีวิศวกรคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นมาอีกด้วยเพื่อท าหน้าที่ในการบริหาร จัดการ และดูแลคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ที่จะใช้ในการผลิตรายการและการแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ต ในกรณีที่สถานีวิทยุเป็นสถานีขององค์การ หน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษาที่มีศูนย์หรือส านักคอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานหนึ่งอยู่แล้ว สถานีวิทยุก็อาจไม่จ าเป็นที่จะต้องมีบุคลากรเพื่อดูแลเรื่องระบบเครือข่าย เนื่องจากศูนย์หรือส านักคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะท าหน้าที่ให้บริการและดูแลในส่วนนี้อยู่แล้ว แต่ก็ยังจะต้องมีบุคลากรที่ท าหน้าที่ ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่ ใช้ในการผลิตรายการ (ระบบ DAW) และระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท าสตรีมมิ่งรายการอยู่ด้วย

3. สถานที่ของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต การแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตท าได้สองวิธีคือ การออกอากาศสด (Streaming radio, Web radio หรือ Internet radio) เหมือนรายการวิทยุกระจายเสียงปกติ และการให้ผู้ฟังเลือกรับฟังรายการตามความต้องการ (Radio on-demand) สถานที่ที่ใช้จึงมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นห้องผลิตรายการวิทยุ (Sound Studio) และส่วนที่เป็นห้องคอมพิวเตอร์ (Computer Room)

Page 56: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

ห้องผลิตรายการวิทยุ (Sound Studio) เป็นห้องปฏิบัติการให้เสียง สร้างและบันทึกเสียงรายการวิทยุ ประกอบด้วย (1) ห้องควบคุมและอ านวยการผลิต (Control Room) และ (2) ห้องปฏิบัติการให้เสียง (Main Studio) มีรายละเอียดดังที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องที่ 2.4.1 ต่างกันตรงที่อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเสียง ผสมเสียง และบันทึกเสียงในห้องควบคุมและอ านวยการผลิต แทนที่จะเป็นอุปกรณ์แอนะล็อกเหมือนในระบบอื่น จะเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ในระบบดิจิทัล คือเป็นคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ในระบบการผลิตรายการวิทยุที่เรียกว่า DAW (Digatal Audio Workstation) ห้องคอมพิวเตอร์ (Computer Room) เป็นห้องที่ติดตั้งเครื่องบริการสตรีมมิ่งหรือสตรีมมิ่งเซิร์ฟเวอร์ (Streaming Server) ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่จะส่งเข้าไปในอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ก็จะมีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดรายการและควบคุมการออกอากาศ และระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ในสถานีเข้าด้วยกัน และเชื่อมต่อเครือข่ายของสถานีเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ในกรณีที่เป็นสถานีวิทยุขนาดเล็ก ห้องคอมพิวเตอร์ก็อาจจะจัดรวมอยู่ในห้องเดียวกับห้องควบคุมและอ านวยการผลิต เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงแต่มีขนาดเล็ก จึงสามารถน ามาจัดรวมกันไว้ในห้องเดียวกันได้

4. สิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต สิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต มีวัสดุ อุปกรณ์ท านองเดียวกับสิ่งอ านวยความสะดวกของระบบการแพร่เสียงระบบอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วใน 3 ตอนที่ผ่านมา แต่ที่ส าคัญส าหรับระบบนี้คือการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless computer network) เช่นระบบ WiFi ที่ควรจะต้องมีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของผู้ปฏิบัติงานที่สามารถจะท างานที่ไหนก็ได้ผ่านทางอุปกรณ์พกพา เช่น โน๊ตบุ๊กคอมพิวเตอร์

โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย (1) อุปกรณ์สัญญาณเสียง น าเข้า อุปกรณ์กระบวนการแพร่สัญญาณเสียง และอุปกรณ์กระบวนการรับฟัง (2) บุคลากรที่เป็นวิศวกรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรทางเสียง และวิศวกรคอมพิวเตอร์ (3) สถานที่ส าคัญ คือ ห้องผลิตรายการวิทยุ และห้องคอมพิวเตอร์ และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวกทางเครื่องเสียงการผลิตรายการวิทยุ และการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย

กิจกรรม 2.4.1 จงอธิบายองค์ประกอบของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตโดยอธิบายบทบาท

หน้าที่ขององค์ประกอบแต่ละอย่างด้วย แนวตอบกิจกรรม 2.4.1

ให้นักศึกษาแยกบอกชื่อและอธิบายบทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบแต่ละประเภทคือ (1) อุปกรณ์ (2) บุคลากร (3) สถานที่ และ (4) สิ่งอ านวยความสะดวก

Page 57: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

เรื่องที่ 2.5.2 ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอนของระบบ 4 ขั้นตอน เหมือนกับระบบการแพร่เสียงระบบอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งได้แก่ (1) ขั้นวางแผนระบบ (2) ขั้นเตรียมการระบบ (3) ขั้นติดต้ังระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

1. ขั้นวางแผนระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต ระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต เป็นระบบสื่อสารมวลชนที่สามารถใช้แพร่เสียงให้กับผู้รับฟังได้ทั่วโลก ดังนั้นจึงต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และความต้องการใช้งานของผู้ฟัง เพื่อน ามาใช้ในการจัดและออกแบบระบบ เขียนโครงการจัดตั้ง และที่ต่างจากระบบอื่น คือ การน ามาใช้เพื่อออกแบบเว็บไซต์ของสถานี เนื่องจากการรับฟังรายการวิทยุทางอินเทอร์เน็ตผู้ฟังต้องเข้ามาฟังผ่านทางเว็บไซต์ของทางสถานี เช่น จะต้องพิจารณาว่าใครบ้างที่สามารถเข้ามาฟังรายการได้ จะฟังได้เฉพาะผู้เรียนที่มี login และ password เท่านั้น หรือจะอนุญาตให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามเข้ามาฟังได้ จะต้องก าหนดว่าในหน้าแรกของเว็บไซต์ที่เป็นหน้าบ้าน (home page) จะประกอบด้วยอะไรบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากการแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ตนั้น นอกจากผู้ฟังจะสามารถฟังรายการวิทยุได้แล้ว ยังสามารถอ่านข้อความ ดูรูปภาพทั้งที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว และสามารถจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้จัดรายการหรือผู้สอนผ่านทางช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น อีเมล เว็บบอร์ด หรือช่องทางอื่นๆ ที่เราจะต้องวางแผนจัดไว้ให้ได้อีกด้วย นอกจากการวางแผนออกแบบเว็บไซต์ส าหรับผู้ที่จะเข้ามาใช้งานแล้ว ยังต้องวางแผนออกแบบเว็บไซต์ส าหรับการใช้อุปกรณ์ในการรับฟังที่ต่างกันอีกด้วย เช่น ถ้ารับฟังผ่านทางคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ก หรือแท็บเล็ตซึ่งมีหน้าจอขนาดใหญ่ ก็สามารถออกแบบให้มีการใช้งานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย แต่หากอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับฟังเป็นสมาร์โฟนซึ่งมีหน้าจอขนาดเล็ก ก็ต้องวางแผนออกแบบให้มีเฉพาะสื่อหรือ

Page 58: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

กิจกรรมที่จ าเป็นเท่านั้น นอกจากนั้นยังต้องวางแผนในการออกแบบระบบเพื่อรองรับปริมาณของผู้ที่จะเข้ามาใช้งานอีกด้วย มิฉะนั้นหากมีผู้เข้ามาใช้บริการเป็นจ านวนมากเกินความสามารถของระบบที่จะรองรับได้ ก็จะท าให้ระบบล่มไม่สามารถเข้าใช้งานได้

2. ขั้นเตรียมการระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ในขั้นนี้เป็นขั้นด าเนินการจัดท าเว็บไซต์ของสถานี จัดหา จัดจ้าง จัดซื้อ อุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ ของระบบ เหมือนกับระบบการแพร่เสียงระบบอื่นที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยจะเป็นการด าเนินการตามโครงการจัดตั้งที่จัดท าไว้แล้ว

3. ขั้นติดตั้งระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ต เป็นขั้นตอนในการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้งซอร์ฟแวร์และเชื่อมต่อระบบต่างๆ รวมทั้งเชื่อต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นการท างานร่วมกันของวิศวกรและเจ้าหน้าที่ระบบหลายๆ ด้าน ในการทดลอง ปรับแต่งและเชื่อมโยงระบบให้เป็นไปตามแบบที่ได้ออกไว้แล้ว

4. ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาไร้สาย ขั้นนี้เป็นขั้นทดลองใช้ระบบตั้งแต่การบันทึกเสียงในห้องผลิตรายการไปจนถึงการแพร่เสียงทางอินเทอร์เน็ต การทดลองรับฟังรายการผ่านทางเว็บไซต์ของสถานี การตรวจสอบและประเมินระบบสามารถท าได้เลยผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่จ าเป็นต้องไปตรวจสอบตามจุดต่างๆ เหมือนในระบบอื่น ปัญหาในการรับฟังส่วนใหญ่จะเกิดจากทางด้านผู้รับฟัง เช่น ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตที่ใช้มีความเร็วต่ า ซอร์ฟแวร์ที่จะใช้ในการรับฟังไม่ได้ติดตั้งไว้หรือติดตั้งไว้ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น โดยสรุปแล้ว ขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย (1) ขั้นวางแผน ออกแบบ และเขียนโครงการจัดตั้ง (2) ขั้นเตรียมการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดท าเว็บไซต์ (3) ขั้นติดตั้ง ทดลอง ปรับแต่ง และเชื่อมโยงระบบ และ (4) ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ

กิจกรรม 2.5.2 จงอธิบายรายละเอียดของขั้นตอนของระบบการแพร่เสียงเพื่อการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตทุกขั้นตอน

แนวตอบกิจกรรม 2.5.2

1. ขั้นวางแผน ให้อธิบายวิธีการจัดและออกแบบระบบ และแนวการเขียนโครงการจัดตั้ง

Page 59: หน่วยที่ 2 ระบบการแพร่เสียง ...edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/27104-2.pdfหน วยท 2 ระบบการแพร เส ยงเพ

2. ขั้นเตรียมการ ให้อธิบายการจัดหา จัดซื้อ จัดจ้าง ว่าจะต้องจัดซื้ออะไรบ้าง อย่างไร การจัดจ้างว่าจะต้องเตรียมการด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์อะไรบ้าง

3. ขั้นติดตั้ง ให้อธิบายการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องผลิตรายการวิทยุ เกณฑ์ในการทดสอบ และปรับแต่งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การสะท้อนของเสียง เวลาในการท างาน เป็นต้น

4. ขั้นตรวจสอบและประเมินระบบ ให้อธิบายการเตรียมเครื่องมือส าหรับการวัด และประเมินระบบว่าจะต้องเตรียมการและเน้นการวัดและประเมินจุดใดบ้าง