อาหารเสริมสุขภาพ...

5
102 For Quality Vol.14 No.119 Q uality for F ood จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค ได้มีการค้นคว้าและรวบรวม ความรู้เชิงประจักษ์ทางด้านอาหารเพื่อสุขภาพออกมามากขึ้นโดยที่องค์กรมาตรฐานนานาชาติเกี่ยวกับอาหารหรือทีเรียกว่า โคเดกซ์ (CODEX Alimentarius Committee on Food Additives and Contaminants : CCFAC) ได้ ยอมรับอาหารที่มีผลต่อสุขภาพหรือ Functional Foods (ซึ่งหมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหารซึ่ง แสดงคุณสมบัติจำเพาะ (ที่ดี) ออกมาในร่างกาย และมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรค) เป็นกลุ่มอาหารกลุ่มหนึ่งทีได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียนและมีกรรมการเฉพาะทางพิจารณา อย่างไรก็ตามภายใต้อาหารที่มีส่วนหรือเสริมต่อ สุขภาพ มีหลายชนิดที่เป็นทั้งออกฤทธิ์โดยตรง (probiotics) และส่วนส่งเสริมหรือสนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการมี สุขภาพที่ดี (prebiotics) ซึ่งทั้งคู่อาจอยู่ในรูปออกฤทธิ์อิสระหรือในรูปผสมก็ได้โดยที่หากมีการผสมกันระหว่าง Prebiotics และ Probiotics จะเรียกว่า Synbiotics ซึ่งศาสตร์ความรู้ทางด้านนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นนับจากปี ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร >>> ดร.วินัย ปิติยนต์ ฝ่ายวิชาการ ห้องปฏิบัติการกลาง LCFA อาหารเสริมสุขภาพ หรือ

Upload: others

Post on 25-May-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร · 102 For Quality Vol.14 No.119 Quality for Food จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค

102 For Quality Vol.14 No.119

Quality for Food

จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค ได้มีการค้นคว้าและรวบรวม

ความรู้เชิงประจักษ์ทางด้านอาหารเพื่อสุขภาพออกมามากขึ้นโดยที่องค์กรมาตรฐานนานาชาติเกี่ยวกับอาหารหรือที่

เรียกว่า โคเดกซ์ (CODEX Alimentarius Committee on Food Additives and Contaminants : CCFAC) ได้

ยอมรับอาหารที่มีผลต่อสุขภาพหรือ Functional Foods (ซึ่งหมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหารซึ่ง

แสดงคุณสมบัติจำเพาะ (ที่ดี) ออกมาในร่างกาย และมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรค) เป็นกลุ่มอาหารกลุ่มหนึ่งที่

ได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียนและมีกรรมการเฉพาะทางพิจารณา อย่างไรก็ตามภายใต้อาหารที่มีส่วนหรือเสริมต่อ

สุขภาพ มีหลายชนิดที่เป็นทั้งออกฤทธิ์โดยตรง (probiotics) และส่วนส่งเสริมหรือสนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการมี

สุขภาพที่ดี (prebiotics) ซึ่งทั้งคู่อาจอยู่ในรูปออกฤทธิ์อิสระหรือในรูปผสมก็ได้โดยที่หากมีการผสมกันระหว่าง

Prebiotics และ Probiotics จะเรียกว่า Synbiotics ซึ่งศาสตร์ความรู้ทางด้านนี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นนับจากปี

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

>>>ดร.วินัย ปิติยนต์ ฝ่ายวิชาการห้องปฏิบัติการกลางLCFA

อาหารเสริมสุขภาพ หรือ

Page 2: อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร · 102 For Quality Vol.14 No.119 Quality for Food จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค

Quality for Food

For Quality September 2007 103

เกี่ยวกับความสมดุลของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารมาเป็นระยะเวลา

ที่ยาวนาน อาหารเสริมสุขภาพเหล่านั้นได้แก่ พวกโยเกิร์ตต่างๆ นม

เปรี้ยวจากอูฐ (kefir) ถั่วเหลืองหมักเทมเป้ (tempeh) เต้าหู้หมักแบบ

ญี่ปุ่น (miso) ผักดองกิมจิของเกาหลี (kim chi) กะหล่ำปลีดอง

(sauerkraut) เป็นต้น ซึ่งมีแบคทีเรีย จำพวก Lactobacilli และ

Bifidobacteria (ตระกูล actinomycetaceae) อาศัยอยู่ จุลินทรีย์

พวกนี้ได้แก่จุลินทรีย์ตามตารางนี ้

จุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดมีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์ตั้งแต่เด็ก

แต่อาจถูกทำลายเมื่อเติบโตขึ้นเนื่องจากไม่มีแหล่งอาหารที่ เป็น

ประโยชน์แก่จุลินทรีย์เหล่านั้น และจำเป็นต้องเติมลงไปเพื่อให้แหล่ง

อาหารที่เป็นประโยชน์แก่จุลินทรีย์เหล่านั้น ซึ่งแหล่งของอาหารดังกล่าว

เราเรียกว่า Prebiotics

● Prebiotics หมายถึง สารที่เป็นแหล่งอาหารของจุลชีพที่ม

ีประโยชน์ เพื่อให้จุลินทรีย์สามารถใช้สารและเจริญเติบโตและไม่ถูก

ย่อยในกระเพาะอาหารแต่จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือส่งเสริม

การทำหน้าที่ของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

สามารถมีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สารอาหารในกลุ่มนี้ ได้แก่ น้ำตาลต่างๆ

เช่น Oligofructose, Fructo-Oligosaccharides: FOS, Inulin,

Polyfructose, Chicory Root Extract น้ำตาลเหล่านี้โดยเฉพาะ FOS

จะไม่ถูกย่อยในลำไส้ตอนบนและผ่านลงไปในระบบการย่อยอาหารไป

ถึงลำไส้ใหญ่ (colon) โดยที่ Bifidobacteria สามารถย่อย FOS ได้

โดยใช้เอนไซม์ Beta-Fructocidase ดังนั้น โดยทั่วไปอาหารเสริมสุขภาพ

ที่เป็น Probiotics จะต้องมีสารอาหาร Prebiotics อยู่ด้วย ซึ่งเราเรียก

ว่า Synbiotics

● Synbiotics หมายถึง อาหารเสริมที่ได้จากการผสมกัน

พ.ศ.2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันทั้งสามชนิดมีการกล่าว

อ้างทางสรรพคุณ (health claim) ค่อนข้างมากทำให้

หน่วยงานควบคุม ได้แก่ สำนักงานอาหารและยาของ

แต่ละประเทศได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากจึงขอ

เสนอบางแง่มุมของ Pre และ Probiotics ในแง่มุมทาง

วิชาการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้บริโภค เพื่อที่

จะเป็นความรู้ในการพิจารณาเลือกซื้ออาหารเสริมสุข

ภาพต่างๆ ต่อไป

● Probiotics มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เพื่อ

ชีวิต” หรือ “For Life” ซึ่ง Lilly and Stillwell (1965)

เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ ซึ่งหมายถึง สารที่ถูกขับออกจาก

จุลชีพชนิดหนึ่งสามารถไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของ

จุลชีพอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะมีความหมายตรงกันข้ามกับ

การต้านจุลชีพ (antibiotic) ต่อมา Parker (1974) เป็น

คนแรกที่นำคำ Probiotics มาใช้ในความหมายของ

ปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง “จุลชีพและสารที่ช่วยให้จุลชีพใน

ลำไส้เกิดความสมดุล” ซึ่งเป็นความหมายที่กว้างต่อมา

มีผู้ให้ความหมายอีกหลายท่าน ได้แก่ Fuller (1989)

ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “จุลชีพที่มีชีวิตที่กินอาหาร

แล้วส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์ที่อยู่อาศัยนั้นโดยการ

ทำให้ความสมดุลของปริมาณจุลชีพในลำไส้ดีขึ้น” หรือ

ในความหมายทั่วไปก็คือ “อาหารที่มีจุลชีพเล็กๆ ที่ยัง

มีชีวิตเป็นองค์ประกอบเมื่อถูกรับประทานเข้าไปแล้ว

ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น” ซึ่งถูกนำมาใช้ป้องกันหรือ

รักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหรือ

กิจกรรมของจุลชีพในร่างกาย ประวัติของการกล่าวอ้าง

ทางสรรพคุณได้ถูกเขียนไว้ในคัมภีร์โบราณของเปอร์เซีย

ที่เรียกว่า Old Testamen (Genesis 18:8) ได้กล่าวว่า

“ความมีอายุยืนของอับราฮัมมาจากการบริโภคนม

เปรี้ยว” และเมื่อ 76 ปีก่อนคริสกาลในยุคของโรมัน

Plinius ได้มีการแนะนำให้ใช้นมเปรี้ยวในการรักษาโรค

กระเพาะอาหาร (gastroenteritis) กล่าวได้ว่ามีการศึกษา

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็น Probioticsotics

ตระกูลแลคโตบาซิลลัส ตระกูลไบฟิโดแบคทีเรี่ยม กลุ่มอื่น ๆ

actobacillus. acidophilus

L. casei (rhamnosus) – LGG

L. reuteri

L. bulgaricus

L. plantarum

L. johnsonii

Bifidobacteriu. bifidum

B. longum

B. breve

B. infantis

B. lactis

B. adolescentis

Bacillus cereus

Escherichia coli

Saccharomyces cerevisiae

Saccharomyces boulardi

Enterococcus faecalis

Streptococcus thermophilus

▼ตารางที่จุลินทรีย์ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Probiotics

Page 3: อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร · 102 For Quality Vol.14 No.119 Quality for Food จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค

Quality for Food

104 For Quality Vol.14 No.119

ระหว่าง Probiotics และ Prebiotics ในสัดส่วนที่เหมาะสมซึ่งทำให้

เกิดการส่งเสริมกันในร่างกายของผู้ที่รับประทานเข้าไปซึ่งจะช่วยส่งเสริม

ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อร่างกายได้อย่างเต็มที่ และทำให้มีสุขภาพดีขึ้น

อย่างไรก็ตามในร่างกายยังมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ที่เรียกว่า

Normal Intestinal Flora ซึ่งช่วยทำให้ร่างกายมีระบบภูมิต้านทานที่

สมดุลและทำหน้าที่ได้อย่างปกติ

● นอกจากนั้น Functional Food ซึ่งอาจเรียกอีกอย่าง

หนึ่งว่า Health Food จึงเป็นสารที่ร่างกายได้รับเข้าไป แล้วช่วย

กระตุ้น ให้ร่างกายสามารถทำหน้าที่ได้เต็มที่ ทำให้มีผลดีต่อสุขภาพ

เป้าหมายที่สำคัญของ Functional Foods จะมุ่งเน้นไปยังหน้าที่ของ

ระบบทางเดินอาหาร โดยจะไปควบคุมให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้เป็นปกติ

ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ของลำไส้สมบูรณ์และทำหน้าที่ทั้งดูดซึม และ

ซ่อมแซมการสึกหรอได้อย่างเหมาะสม ทำให้การขับถ่ายเป็นไปตาม

ธรรมชาติ และช่วยให้จุลชีพต่างๆ ในลำไส้อยู่อย่างปกติ ร่างกายได้

รับสารอาหารเต็มที่และมีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ โดยหลักการ

Probiotics จะเป็นคลื่นลูกแรกของ Functional Food ซึ่งเป็นจุลชีพที่

มีในร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว และต้องยังคงสภาพที่มีชีวิต ซึ่งทนต่อ

สภาพกรดและอยู่ในน้ำดีได้ โดยสามารถยึดเกาะกับเนื้อเยื่อบุผนัง

ลำไส้และให้ประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ โดยไม่ก่อให้

เกิดโทษต่อร่างกาย

● เพื่อความเข้าใจถึงบทบาทของ Pre และ

Probiotic ต้องเข้าใจถึงจุลินทรีย์ที่มีในลำไส้มนุษย์ ซึ่ง

ในคนปกติมีสุขภาพที่ดีจะมีจำนวนแบคที เรียอยู่

ประมาณ 3 ปอนด์ แต่เมื่อผ่านกระบวนการของมนุษย์

เช่น การใช้ยาต้านจุลชีพบางชนิด หรือการลดบริโภค

อาหาร (ลดความอ้วน) จะทำให้อาหารที่เป็นประโยชน์

ลดลงและทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ลดลง

ตามไปด้วย ทำให้ระบบในร่างกายไม่สมดุลและอาจก่อ

ให้เกิดโรคได้ที่เรียกว่า Dysbiosis ซึ่งเป็นอาการที่อาจ

แสดงออกได้หลายๆ ทาง เช่น ระบบการขับถ่ายไม่

ปกติ การเกิดสิวฝ้า การเกิดอาการแพ้ต่างๆ การอ่อน

เพลียแบบเรื้อรัง หรืออาการหดหู่ต่างๆ (depression)

อย่างไรก็ตามการเติมจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายอาจไม่

ได้ผลเนื่องจากหลาย ๆ เหตุผล เช่น สภาพของ

อาหารในกระเพาะ ชนิดของจุลินทรีย์ และสารเสริม

และที่สำคัญมีจำนวน Pre-Probiotics เท่าใดที่สามารถ

Page 4: อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร · 102 For Quality Vol.14 No.119 Quality for Food จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค

Quality for Food

For Quality September 2007 105

เคลื่อนที่ลงไปสู่ระดับลำไส้ใหญ่ได้

● จากการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านจุล-

ชีววิทยาของอังกฤษ ศาสตราจารย์ Jeremy Hamilton-

Miller จาก Royal Free Hospital กรุงลอนดอน ได้

ศึกษาคุณภาพของอาหารเสริมสุขภาพ Probiotics พบว่า

ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีในผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้

เมื่อสุ่มตรวจจำนวน 29 ผลิตภัณฑ์มีเพียง 12 ชนิดที่

เป็นไปตามที่ระบุบนฉลากหรือเพียง 49% เท่านั้น ซึ่ง

ศาสตราจารย์ Jeremy Hamilton-Miller ได้กล่าวว่า เป็น

เรื่องยากที่ผู้บริโภคจะรู้อย่างชัดเจนว่าองค์ประกอบ

เหล่านั้นมีจริงเท่าใด อาจเป็นการแสวงหาผลประโยชน์

ของผู้ผลิต ดังนั้น การจะทำให้เกิดความมั่นใจว่าองค์-

ประกอบของผลิตภัณฑ์เป็นไปตามที่ระบุบนฉลาก การ

ตรวจสอบที่ได้มาตรฐานและการควบคุมคุณภาพโดย

การเก็บไว้ที่อุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนถึงผู้บริโภคเป็น

เรื่องสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนั้นพวกอาหารเสริมที่

ประกอบด้วยวิตามิน เกลือแร่ และ Probiotics ก็เป็น

สิ่งที่น่ากลัวในด้านคุณภาพ

บทบาทการออกฤทธิ์ของ Probiotics แบคทีเรียที่มีการนำมาผลิตเป็น Probiotics ที่

สำคัญ คือ กลุ่ม Lactobacillus เช่น L.rhamnosus

strain GG ซึ่งมีการศึกษาและใช้มากที่สุด และ L.plan-

tarum แต่ชนิดอื่นๆ ก็มีใช้กันมาก เช่น ในกลุ่ม Bifi-

dobacterium การผลิต Probiotics ให้เป็นประโยชน์

ต่อร่างกายในลักษณะของ Functional Food จะต้อง

ให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ได้แก่ สามารถคงสภาพ

สิ่งมีชีวิตที่มีกลิ่นและรสชาติดีหลังการหมัก และคง

สภาพกรดอ่อนๆ ตลอดช่วงการเก็บ ซึ่งต้องจัดเก็บ

อย่างดี และยังคงสภาพเดิมได้แม้แช่แข็งหรือด้วยวิธี

อื่นๆ ที่ทำให้แห้ง และให้ผลตอบสนองตามปริมาณที่

เพิ่มขึ้น Probiotics ออกฤทธิ์ได้หลายรูปแบบในการ

ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันหรือรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น กลุ่ม

Lacto-bacilli จะสร้างน้ำย่อย β-Galactosidase ช่วยลดปริมาณน้ำ

ตาล แลกโตสในอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของท้องเสียได้ นอกจากนี้

สามารถสร้างสารหลายชนิดที่ช่วยทำหน้าที่เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น

Organic Acids, Free Fatty Acids, Ammonia, Hydrogen Peroxide

และ Bacteriocins ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ปะปนในอาหาร น้ำย่อย

บางชนิดจาก Probiotic จะช่วยยับยั้งสารพิษจากแบคทีเรียโดยไปปิด

กั้นส่วนที่พิษจะเข้าเซลล์ และสามารถแย่งจับตำแหน่งต่างๆ ของ

เนื้อเยื่อในลำไส้ เพื่อไม่ให้แบคทีเรียเข้าเกาะกุมได้ป้องกันไม่ให้

แบคทีเรียขยายตัวในลำไส้ นอกจากนี้สามารถกระตุ้นภูมิต้านทานทั้ง

ในลำไส้และในกระแสเลือดหรือกระตุ้นการทำงานของเซลล์อื่นๆ ไว้

ต่อสู้กับเชื้อโรคและกระตุ้นการสร้างสารป้องกันโรคในร่างกายได้

ข้อบ่งชี้ในการใช้ Probiotics ปัจจุบันมีผู้ผลิต Probiotics เข้าสู่ท้องตลาดมากมายหลาย

ชนิด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและรักษาโรค ทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อ

หรือภาวะอักเสบอื่นๆ ข้อบ่งชี้ในการใช้มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มจากระยะ

เริ่มแรกซึ่งส่วนใหญ่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาท้องเสีย ปัจจุบันนำมาใช้

รักษาโรคภูมิแพ้ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้

และอื่นๆ อีกมากมาย ข้อบ่งชี้บางอย่างเป็นที่ยอมรับในผลประโยชน์ที่

เกิดขึ้น เช่น การแก้ไขภาวะท้องเสีย แต่บางอย่างยังต้องการผลพิสูจน์

ให้แน่ชัด เช่น การป้องกันมะเร็งในที่ต่างๆ บางเรื่องมีข้อมูลจากการ

ศึกษามานานซึ่งมีมากมาย แต่บางเรื่องยังคงมีข้อมูลไม่มากนัก ต้อง

รอข้อมูลใหม่ที่ชัดเจนต่อไป

การป้องกันโรคบางชนิดโดยใช้ Probiotic มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงว่า Probiotics สามารถนำมาใช้

ในการรักษาโรคได้ เช่น

● ป้องกันและรักษาภาวะท้องเสีย

● รกัษาโรคลำไสอ้กัเสบเรือ้รงั Inflammatory Bowel Disease:

IBD

● รักษาโรคลำไส้ขาดเลือดในเด็ก Necrotizing Enteroco-

Page 5: อาหารเสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร · 102 For Quality Vol.14 No.119 Quality for Food จากกระแสของความรู้และความต้องการทางด้านสุขอนามัยที่ดีของผู้บริโภค

Quality for Food

106 For Quality Vol.14 No.119

litis: NEC

● ป้องกันรักษาภาวะท้องเสีย

● การรักษาโรคลำไส้เรื้อรัง

● เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย รักษาโรคภูมิแพ้ มะเร็งลำไส้-

ใหญ่ รักษาเชื้อราในช่องคลอด ลดไขมันในกระแสเลือด เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การใช้ Probiotics มีการใช้ในขอบข่ายที่กว้างขวาง

มากและมีข้อกำหนดจำเพาะที่ต้องการข้อมูลสนับสนุนค่อนข้างมาก

ปัจจุบันมีการผลิตออกมาหลายชนิด เป็นเรื่องยากที่ผู้บริโภคจะวินิจฉัย

เอง ซึ่งอาจต้องขอให้แพทย์มาประเมินหรือสั่งให้ ขณะเดียวกัน

Probiotics และ Prebiotics เหล่านี้มีราคาค่อนข้างสูง การเสี่ยงรับ-

ประทานเพื่อรักษาอาการใดอาการหนึ่งอาจยังไม่คุ้มสำหรับคนทั่วไป

แต่ก็มีแนวโน้มว่ามีการผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดและมีการศึกษาวิจัยกัน

มากขึ้น

จากการวิจัยและศึกษาในปัจจุบันมีข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นใน

ปัจจุบัน สรุปได้ชัดเจนว่า Functional Food ที่เป็น Probiotics ซึ่งเป็น

จุลชีพมีชีวิตจากธรรมชาติจัดเป็นอาหารคุณภาพที่ช่วย ป้องกันและ

รักษา สุขภาพของผู้รับประทานจากโรคต่างๆ ได้มาก โดยเฉพาะใน

เด็กหรือผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ช่วยแก้ไขปัญหาภาวะ

ท้องเสียโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ต่างๆ และป้องกันการเกิด

มะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ และในอนาคตอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพ

ในด้านอื่นๆ โดยมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยและราคาไม่

แพงจนเกินไป Probiotics ที่ใช้มากในปัจจุบัน คือ Lactobacilli และ

Bifidobacteria ปริมาณที่ใช้ในแต่ละโรคจะแตกต่างกันไปตามความ

จำเป็นซึ่งจะต้องศึกษาให้ละเอียดต่อไป โดยเฉพาะขนาดของการใช้

วิธีการ และส่วนประกอบที่ใช้เพื่อรักษาโรคที่แตกต่างกัน สำหรับใน

ประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดโดยตรงแต่มีประกาศกระทรวง-

สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ฉบับได้แก่ ประกาศกระทรวง

สาธารณสุข (ฉบับที่ 289) พ.ศ.2548 เรื่อง นมเปรี้ยว ซึ่งกำหนด

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไว้ว่าต้องมี แบคทีเรีย (ที่ระบุไว้) ไม่น้อยกว่า 10

ล้านโคโลนีต่อกรัม และยีสต์ไม่น้อยกว่า 10,000 โคโลนีต่อกรัม รวมทั้ง

มาตรฐานอื่นๆ และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293)

พ.ศ.2548 เรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประกอบด้วยสารอาหารหรือ

สารอื่น ได้แก่

1. วิตามิน กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุ

และผลิตผลจากพืชหรือสัตว์

2. สารเข้มข้น สารเมตาโบไลท์ ส่วนประกอบ

หรือสารสกัดของสารใน 1

3. สารสังเคราะห์เลียนแบบสารตาม 1 หรือ 2

4. ส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

ของสารใน 1, 2 หรือ 3 และ

5. สารหรือสิ่งอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรม-

การอาหารและยาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบ

ของคณะกรรมการอาหาร ซึ่งจะครอบคลุมการใช้เป็น

อาหาร แต่ไม่รวมไปถึงการเป็นยา

ดังนั้น การใช้ Pre/Probiotics ยังมีความเสี่ยง

ของการใช้ทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและการสูญเสีย

ค่าใช้จ่ายซึ่งอาจไม่ได้ผล ซึ่งผู้บริโภคจะต้องตัดสินใจ

เลือกเองแต่ในอนาคตเมื่อมีข้อมูลมากขึ้น ความเสี่ยง

เหล่านี้ก็คงลดลงและผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

1. อุทัย เก้าเอี้ยน 2549 โปรไบโอทิคส์ ในบทความ

ปริทัศน์ สงขลานครินทร์เวชสาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 4 ก.ค.- ส.ค.

2549 น.315-323

2. Jurgen Schrezenmeir and Michael de Vrese.

2001. Probiotics, prebiotics and synbiotics approaching

definition, American Journal of Clinical Nutrition, Vol. 73,

No. 2 p:361S-364s http://www.whatreallyworks.co.uk