หกการ&ดดอกเย,ด-ดlaw.crru.ac.th/attachments/article/101/lw4714-3.pdf ·...

Post on 24-Aug-2020

5 Views

Category:

Documents

0 Downloads

Preview:

Click to see full reader

TRANSCRIPT

หลักการคิดดอกเบี้ยผิดนัด

มาตรา 204 ป.ป.พ.

ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้วถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและลูกหนี้มิได้ ชำระหนี้ตามกำหนดไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฏิทินนับแต่วันที่ได้บอกกล่าว

มาตรา 224 ป.ป.พ.

หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น

วิธีคิดดอกเบี้ย 1. ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย ซ่ึงกฎหมายกำหนดให้คิดได้ร้อยละ เจ็ดกึ่ง

(7.5) ต่อปี ซ่ึงดอกเบี้ยตามกฎหมายนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกได้แม้ไม่ได้กำหนดข้อ

ตกลงกันไว้ในสัญญาเลยก็ตาม เช่น ดำให้แดงกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย (ดำใจดี)

แต่เม่ือแดงผิดนัด กฎหมายให้สิทธิดำที่จะเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้ โดยดำสามารถ

เรียกได้นับแต่วันที่แดงผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1272/2501 สัญญากู้ยืมที่มิได้กำหนดดอกเบี้ยไว้ผู้กู้ต้อง

เสีย ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด ถ้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ทวงถาม

เม่ือไรศาลให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

วิธีคิดดอกเบี้ย ในกรณีที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ตกลงกันคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฏหมายกำหนด คือเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ตาม พรบ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา บังคับเฉพาะหนี้เงิน ถ้าไม่ใช่หนี้เงินไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาฎีกาที่ 4056/2528 จำเลยกู้เงินโจทก์สัญญากู้ระบุดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้ ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ มีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดีสัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ฉะนั้น หลังจากที่โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แล้วจำเลยยังคงเพิกเฉย จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลย

วิธีคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เกินอัตราที่กฏหมายกำหนด เป็นโมฆะทั้งหมด แต่เงินต้นสมบูรณ์ จึงเท่ากับดอกเบี้ยตามสัญญาไม่มี หากลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ตามกฎหมายคือ ร้อยละเจ็ดกึ่ง เช่น ดำและแดงตกลงกันคิดดอกเบี้ย ร้อยละยี่สิบต่อปี ซึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ เท่ากับดำไม่ได้คิดดอกเบี้ยแดง เมื่อแดงผิดนัด ดำยังมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้ตามกฎหมายคือ 7.5 ต่อปี ในข้อนี้เองที่นักเรียนกฎหมายเข้าใจผิดกันมาก

วิธีคิดดอกเบี้ย คำพิพากษาฎีกาที่ 4056/2528 จำเลยกู้เงินโจทก์สัญญากู้ระบุดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้ ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ มีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดีสัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ฉะนั้น หลังจากที่โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แล้วจำเลยยังคงเพิกเฉย จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว หลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลย

วิธีคิดดอกเบี้ย 2. ดอกเบี้ยผิดนัดที่คิดตามสัญญา หากมีสัญญากำหนดไว้ให้คิดดอกเบี้ยกันเท่าไหร่ ดอกเบี้ยผิดนัดคงคิดได้ตามสัญญาเช่น สัญญากำหนดให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 10 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยในส่วนนี้ก็สามารถเรียกได้ร้อยละ 10 เช่นเดียวกับดอกเบี้ยในสัญญา ซึ่งเป็นกรณีที่ อาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย คือ ตามข้อกำหนดในสัญญานั่นเอง กล่าวง่ายๆ คือ สัญญากำหนดดอกเบี้ยตามสัญญาไว้อย่างไร เมื่อผิดนัดก็สามารถคิดดอกเบี้ยได้เท่ากับดอกเบี้ยตามสัญญานั่นเอง

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต

ใช้อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ

อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี + อัตราดอกเบี้ยการใช้วงเงินอีกร้อยละ 13 ต่อปี รวมเป็นร้อยละ 28 ต่อปี

หลักการเขียน คำร้อง คำขอ คำแถลง

ในคดีแพ่งคำร้อง เสียค่าฤชาธรรมเนียม ฉบับละ 20 บาท (ปัจจุบัน

ไม่เสียแล้ว) คำขอ เสียค่าฤชาธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท (ปัจจุบัน

ไม่เสียแล้ว) คำแถลง ไม่มีค่าฤชาธรรมเนียม 

ในคดีอาญามีเพียงแบบเดียว คือ คำร้อง

ข้อพิจารณา หากจะทำเป็นคำขอ หรือ คำแถลง ให้ขีดฆ่า คำ

ว่า ร้อง ออก แล้วเติมข้อความที่ต้องการ เป็น คำร้อง หรือเป็น คำร้อง แล้วเซ็นชื่อกำกับไว้ด้านหน้า ขอ แถลง

ควรระบุไว้ด้วย เพื่อความสะดวกของศาลและของทนายความเองในการที่จะตรวจสำนวนคดี เช่น ทำคำแถลงขอส่งสำเนาเอกสาร เราก็ระบุว่า “ คำแถลงขอส่งสำเนาเอกสาร” โดยพิมพ์หรือเขียน ข้อความที่เราจะทำต่อท้ายชื่อแบบพิมพ์นั้นๆ 

เนื้อหาในการเขียนคำร้อง คำขอ คำแถลง

บรรยายว่าขณะนั้นคดีอยู่ระหว่างทำอะไร

บรรยายเหตุ (ข้ออ้าง ) โดยยกข้อเท็จจริงประกอบเหตุที่กฎหมายกำหนดว่า เราต้องการอะไร เขียนไปตามนั้นให้ชัดเจน โดยละเอียด และต้องการให้ศาลสั่งอะไรจบด้วยคำว่า ขอศาลได้โปรดอนุญาต 

ตัวอย่าง การขึ้นต้นและลงท้าย นิยมเป็นสำนวน 

หรือภาษากฎหมาย ดังนี้ 

ข้อ 1. คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาล เมื่อวันที่......... แต่ยังไม่สามารถส่งหมายเรียกและสำนวนคำฟ้องของโจทก์ให้แก่จำเลยได้ รายละเอียดปรากฏตามรายงานการเดินหมายของเจ้าพนักงานแล้วนั้น โจทก์ขอยืนยันว่าโจทก์เคยติดต่อจำเลยได้ตามภูมิลำเนาที่ระบุในคำฟ้อง แต่เพื่อความถูกต้องชัดเจนโจทก์มีความประสงค์ขออนุญาตสืบหาภูมิลำเนาของจำเลยใหม่ ภายใน 10 วัน นับแต่วันนี้ เพื่อเสนอศาล และนำส่งหมายเรียกพร้อมสำเนาคำฟ้องของโจทก์ให้แก่จำเลยอีกครั้งหนึ่ง ขอศาลได้โปรดอนุญาต                                                               ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 

ตัวอย่าง การขึ้นต้นและลงท้าย นิยมเป็นสำนวน 

หรือภาษากฎหมาย ดังนี้ 

ในกรณีที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีแล้ว มีวันนัดพิจารณาคดีแล้ว จะเขียนดังนี้  ข้อ 1 คดีนี้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่...........โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานไว้ต่อศาลแล้ว แต่เนื่องจากยังมีข้อบกพร่องประการ โจทก์มีความประสงค์ขอระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามบัญชีพยานที่แนบมาท้ายคำแถลงนี้แล้ว  เพื่อความสมบูรณ์แห่งคดี ขอศาลได้โปรดอนุญาต                                                              ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด 

top related