ผลการน...

13
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ) ปีท6 ฉบับที2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559 41 ผลการนานโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี FACTORS AFFECTING THE NARCOTIC PREVENTION AND SUPPRESSION POLICY IMPLEMENTATION IN THE AREA OF PATHUM THANI PROVINCE ระพีพันธ์ โพนทอง 1* , พรนภา เตียสุธิกุล 1 และภิศักดิ์ กัลยาณมิตร 1 Rapeephun Phonthong, Pornnapa Tiasuthikul and Pisak Klanyanamith บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนานโยบายการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี และ 2) เสนอแนวทางในการปรับปรุงปัจจัย ที่มีผลต่อการนานโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ให้ดี ยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นแบบผสมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตารวจ เจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นาชุมชน จานวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารระดับสูงในสถานีตารวจและหน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จานวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณแบบขั้นตอน สาหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและ การตีความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการนานโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นทีจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ 1) ด้านนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้แก่ มีวัตถุประสงค์ ของนโยบายที่ชัดเจน การนานโยบายไปปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผลได้ 2) ด้านการบริหาร องค์การ ได้แก่ ขั้นตอนในการดาเนินงาน ภาวะผู้นา บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การสื่อสาร และแรงจูงใจ และ 3) ด้านความร่วมมือ ได้แก่ ความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ ความร่วมมือจาก หน่วยงานเอกชน และความร่วมมือจากประชาชน และจาก 3 ด้านนี้ พบว่า ความร่วมมือจากประชาชน ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน ภาวะผู้นา และมีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน มีผลต่อการนา นโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี ____________________________________ 1 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี * ผู้นิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยประสานงาน E-mail: [email protected]

Upload: others

Post on 16-Jul-2020

8 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

41

ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี

FACTORS AFFECTING THE NARCOTIC PREVENTION AND SUPPRESSION POLICY IMPLEMENTATION IN THE AREA OF PATHUM THANI PROVINCE

ระพีพันธ์ โพนทอง1*, พรนภา เตยีสุธิกุล1 และภิศักดิ์ กัลยาณมติร1

Rapeephun Phonthong, Pornnapa Tiasuthikul and Pisak Klanyanamith

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี และ 2) เสนอแนวทางในการปรับปรุงปัจจัย ที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี ให้ดียิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นแบบผสมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ต ารวจ เจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้น าชุมชน จ านวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารระดับสูงในสถานีต ารวจและหน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี จ านวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ส าหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและ การตีความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ 1) ด้านนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้แก่ มีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน การน านโยบายไปปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผลได้ 2) ด้านการบริหารองค์การ ได้แก่ ขั้นตอนในการด าเนินงาน ภาวะผู้น า บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การสื่อสาร และแรงจูงใจ และ 3) ด้านความร่วมมือ ได้แก่ ความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน และความร่วมมือจากประชาชน และจาก 3 ด้านนี้ พบว่า ความร่วมมือจากประชาชน ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน ภาวะผู้น า และมีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี ____________________________________ 1หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑติ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลยัราชภฏัวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี *ผู้นิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยประสานงาน E-mail: [email protected]

Page 2: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

42

2. แนวทางที่เสนอแนะปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย (1) ควรเปิดช่องรับแจ้งเบาะแสข่าวสารแบบไม่เปิดเผยผู้ให้ข่าวได้หลายช่องทาง (2) ควรจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเพ่ือให้เกิดคล่องตัวไม่ติดขัด (3) ควรให้รางวัลแก่ผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร และผู้ปฏิบัติให้เห็นชัดเจนและถึงตัวผู้ปฏิบัติ (4) ควรมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ค าส าคัญ: นโยบายการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด จังหวัดปทุมธานี

ABSTRACT The purposes of this research were: 1) to study the factors affecting the narcotic prevention and suppression policy implementation in the area of Pathum Thani province and 2) to propose guidelines for improving the factors affecting the narcotic prevention and suppression policy implementation in the area of Pathum Thani province. This study was conducted by using a combination of quantitative and qualitative researches. The quantitative research was conducted by studying a sample including policemen in Pathum Thani province, agency officials in the local authority area in Pathum Thani province and the citizens who were involved in the preventing and combating drug trafficking in the area which included 400 village headmen, village leaders and community leaders. The qualitative research was conducted by using an in-depth interview of 10 key informants composed of the experts and the executives of the police stations, the agencies and the local authorities in Pathum Thani province. The tools used in the research were questionnaires and interviews. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Stepwise Regression Analysis. As for the qualitative research, the data were analyzed by using content analysis and interpretation. The findings of this research were as follows: 1. The factors affecting the narcotic prevention and suppression policy implementation in the area of Pathum Thani province consisted of three aspects. First, the narcotic prevention and suppression policy had clear objectives, policy implementation and monitoring and evaluation. Second, the organization management included the steps for implementation, leadership, staff, equipment, budget, communication and motivation. Third, the cooperation included cooperation from government agencies, cooperation from the private sectors and cooperation from the citizen sectors. Concerning the three aspects, it was found that the variable of

Page 3: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

43

cooperation from public cooperation, from private sectors, leadership and clear objectives affected the narcotic prevention and suppression policy implementation in the area of Pathum Thani province. 2. The proposed guidelines for improvement of the factors affecting the narcotic prevention and suppression policy implementation in the area of Pathum Thani province were as follows: (1) there should be channels for receiving information from anonymous persons, (2) the budget should be allocated to meet the flexible implementation, (3) the information providers should be rewarded transparently, and (4) the meeting should be held continuously for sharing the information between government sectors, private sectors and public sectors. Keywords: The Narcotic Prevention and Suppression Policy, Drugs, Pathum Thani บทน า ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ มีทั้งผู้เสพ ผู้จ าหน่าย ผู้ผลิตทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากคดียาเสพติดที่เพ่ิมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับต ารวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และ การคุมประพฤติ น าไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตราก าลัง การขอผลตอบแทนที่เพ่ิมสูงขึ้น และท าให้การด าเนินคดีด้านอ่ืน ๆ เกิดความล่าช้า นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดอาชญากรรม อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอบายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และเอกชนที่ต้องทุ่มเทงบประมาณจ านวนมากเพ่ือใช้ในการป้องกันและปราบปราม บ าบัดรักษา และฟ้ืนฟู แทนที่จะน างบประมาณมาใช้ในด้านอ่ืน ๆ ที่มีความจ าเป็น เช่น การศึกษา การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เกิดปัญหาด้านความม่ันคงของประเทศ รวมทั้งผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ ยาเสพติดมีส่วนท าลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองของเด็กเยาวชนและแรงงานที่จะเป็นพลังของประเทศชาติในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องการความรู้และพลังปัญญา เป็นรากฐานการพัฒนาประเทศ ดังนั้นปัญหายาเสพติดจึงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัยของชาติและสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นอุปสรรคส าคัญในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีมิติแห่งปัญหายาเสพติด 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) เป็นแหล่งผลิตยาเสพติด 2) เป็นพ้ืนที่การค้ายาเสพติด 3) เป็นทางผ่านของยาเสพติด และ 4) มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด (ไชยยา รุจจนเวท และคณะ, 2556) เนื่องจากจังหวัดปทุมธานี มีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมและสะดวกในการเดินทางสัญจร ผ่านไปมา เช่น การผลิต จ าหน่าย และส่งเกี่ยวกับยาเสพติด ประกอบกับการมีสภาพต่าง ๆ ที่เอ้ือต่อ การด าเนินการ เช่น เป็นแหล่งย่านโรงงานอุตสาหกรรมที่มีพนักงานเป็นประชากรแฝงจ านวนมาก ยากต่อการตรวจสอบจากทะเบียนราษฎร์ เป็นแหล่งกระจายสินค้าผลผลิตทางการเกษตรทั้งปลีก และส่งระดับประเทศ เป็นแหล่งที่มีการท างานของชาวต่างชาติเป็นจ านวนมากท่ียากต่อการตรวจสอบ

Page 4: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

44

ยอดจ านวนจริง เป็นแหล่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยว สถานบันเทิงและเป็นแหล่งรวมที่มีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาจ านวนมาก มีเส้นทางการคมนาคมสัญจรไปมาที่สะดวกซึ่งถือเป็นศูนย์กลาง ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก และที่ส าคัญเป็นจังหวัดที่มีทาง เข้า-ออก และผ่านไปมาได้สะดวกหลายทางยากต่อการสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่ จากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ส่งผลต่อปัญหาอาชญากรรม โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดที่พบว่า มีการแพร่ระบาดเพ่ิมมากขึ้น โดยเฉพาะยาบ้า และยาไอซ์ ในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เยาวชน นักศึกษา และนักเรียน เช่น ชุมชนแก้วนิมิตร และชุมชนไผ่เขียว จังหวัดปทุมธานี (ส านักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1, 2557) ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี เพ่ือค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างยั่งยืน และเพ่ือเป็นแนวทางในการก าหนดทิศทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพ่ือศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี 2. เพ่ือเสนอแนวทางในการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานีให้ดียิ่งขึ้น วิธีด าเนินการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ก าหนดกลุ่มประชากรในการวิจัยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มท่ี 1 ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหารระดับสูงในสถานีต ารวจ และหน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี จ านวน 94 คน กลุ่มท่ี 2 เจ้าหน้าที่ต ารวจในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานีและเจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จ านวน 396 คน กลุ่มท่ี 3 ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้น าหมู่บ้าน จ านวน 388 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ก าหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ แยกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิจัยเชิงปริมาณมีการสุ่มตัวอย่างจากประชากรกลุ่มที่ 2 ได้แก่ เจ้าหน้าที่ต ารวจในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานีและเจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่นในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี จ านวน 200 คน จากกลุ่มประชากร จ านวน 396 คน และ จากประชากร กลุ่มที่ 3 ได้แก่ ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้น าหมู่บ้าน จ านวน 200 คน จากกลุ่มประชากร จ านวน 388 คน ได้กลุ่มตัวอย่างรวมจ านวนทั้งสิ้น 400 คน ก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย

Page 5: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

45

ส่วนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหารระดับสูงในสถานีต ารวจ และหน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี โดยเลือกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง จ านวน 10 คน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัยโดยใช้วิธีด าเนินการวิจัย แบบผสานวิธี (Mixed Methods) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 3.1 การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบสอบถาม (Questionnaires) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยน าไปใช้กับกลุ่มที่ 2 และกลุ่มท่ี 3 โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบาย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย ปัจจัย ด้านนโยบายในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปัจจัยด้านการบริหารองค์การ และปัจจัย ด้านความร่วมมือ 3) ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และ 4) ปัญหาหรือข้อเสนอแนะ 3.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ด าเนินการโดยผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเจาะจง จ านวน 10 คน จากผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารระดับสูงในสถานีต ารวจและหน่วยงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม คือ ประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ ยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี นโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สาเหตุของการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี และแนวทางในการน านโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ 4. สถิติใช้ในการวิจัยข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) โดยใช้สถิติร้อยละ และการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติอนุมาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) เพ่ือหาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระ และสถิติวิเคราะห์ การถดถอยแบบขั้นตอน (Stepwise Regression Analysis) ผลการวิจัย 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ 1) ด้านนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประกอบด้วย มีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน การน านโยบายไปปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผลได้ 2) ด้านการบริหารองค์การ ประกอบด้วย ขั้นตอนในการด าเนินงาน ภาวะผู้น า บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ การสื่อสาร และแรงจูงใจ และ 3) ด้านความร่วมมือ ประกอบด้วย ความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน และความร่วมมือจากประชาชน เมื่อจ าแนกเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีผล ต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี ด้านนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้แก่ มีวัตถุประสงค์นโยบายที่ชัดเจน ด้านการบริหารองค์การ ได้แก่ ภาวะผู้น า และด้านความร่วมมือ ได้แก่ ความร่วมมือจากประชาชน และความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน

Page 6: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

46

2. แนวทางในการปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี ดังนี้ 2.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่ ได้แก่ รัฐบาล สถานีต ารวจ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนต าบล และหน่วยชุมชน อาทิ วัด โรงเรียน เป็นต้น ควรก าหนดวัตถุประสงค์ ในการปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่อย่างชัดเจน มีการบูรณาการนโยบาย และแผนการป้องกันปราบปรามยาเสพติดร่วมกัน มีการก าหนดกรอบการน านโยบายไปปฏิบัติ และการติดตามและประเมินผลได้ โดยก าหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรม สื่อสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนถึงแนวนโยบายและแนวทางการปฏิบัติ มีการประเมินผลการด าเนินงานอย่างเป็นระบบ การบริหารองค์การของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่ อันได้แก่ รัฐบาล สถานีต ารวจ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนต าบล และหน่วยชุมชน อาทิ วัด โรงเรียน เป็นต้น ควรบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผล อันได้แก่ มีการก าหนด ขั้นตอนการด าเนินงานอย่างชัดเจน ส่งเสริมให้เกิด ภาวะผู้น าของผู้น าองค์กรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติด ในพ้ืนที่ในทุกระดับ ฝึกอบรมบุคลากรให้เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด ควรพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่โดยส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่เข้ารับ การฝึกอบรมในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง จัดสรรวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณให้เพียงพอกับการด าเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เพ่ิมมากขึ้นควรจัดหางบประมาณให้มากขึ้น มีระบบ การสื่อสารที่ดี เพ่ือให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมมือประสานงานกันในการปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่อย่างสม่ าเสมอต่อเนื่อง และสร้างแรงจูงใจ ในการปราบปรามยาเสพติดกับผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ เป็นต้น 2.2 สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่ เกี่ยวข้องกับ การปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่ ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน และความร่วมมือจากประชาชน อาทิ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่ควรจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดแก่ชุมชนและประชาชนในพ้ืนที่ การจัดกิจกรรมเพ่ือปลูกฝังค่านิยมให้ชาวบ้านห่างไกลยาเสพติด เช่น การออกก าลังกาย เล่นกีฬา สันทนาการ ประกวดค าขวัญ เป็นต้น การใช้สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เอกสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ วีดีโอ เพ่ือการรณรงค์ การติดตามพฤติกรรมของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งอาจจะหลงผิด ถูกชักชวนให้เสพยาเสพติด การประกาศเตือนให้ทราบบทก าหนดลงโทษของกฎหมายให้ประชาชนทราบ การตรวจหาสารเสพติดในร่างกายของผู้ต้องสงสัย เสพยาเสพติด การศึกษาติดตามพฤติกรรมของประชาชนที่เสพยาเสพติด ผู้ที่กระท าความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด เมื่อถูกเจ้าหน้าที่จับกุมได้ลงโทษทัณฑ์ การประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับญาติของผู้เสพยาเสพติดในการร่วมกันแก้ไขยาเสพติดของผู้ติดยาเสพติด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องท าการส่ง ผู้ที่ติดยาเสพติดเพ่ือท าการบ าบัดรักษา การประเมินผลการแก้ไขปัญหาแพร่ระบาดยาเสพติดในเขต

Page 7: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

47

ชุมชนแต่มีผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ ควรมีการกระตุ้นจูงใจการสร้างกิจกรรมอื่นเพ่ิมมากข้ึน เป็นต้น อภิปรายผลการวิจัย จากผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีประเด็นการอภิปราย ดังนี้ 1. การมีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี เนื่องจาก ถ้าการมีวัตถุประสงค์ของนโยบาย ที่ชัดเจน หน่วยงานหรือองค์การในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการน านโยบายไปปฏิบัติจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการน านโยบายไปปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Follett (1954) ว่าความชัดเจนของนโยบายที่สื่อสารให้ทีมเป็นสิ่งส าคัญในการรวบรวมความสามารถของพนักงานแต่ละคน เพ่ือผลักดันให้องค์การไปสู่เป้าหมาย โดยได้แนะน าว่าองค์การควรจะมีความเสมอภาค คือ ทั้งผู้บริหารและพนักงานร่วมกันท างานแทนการก าหนดให้ผู้บริหารเป็นผู้สั่งงานและพนักงานเป็นผู้รับงาน โดยองค์การควรจะเป็นเสมือนชุมชนที่มีผู้บริหารและผู้ร่วมงานปฏิบัติงานร่วมกัน ข้อขัดแย้งต่าง ๆ ควรให้ผู้บริหารและผู้ร่วมงานแก้ปัญหาร่วมกันเพ่ือให้เกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย หรือที่ เรียกว่า การบูรณาการ (Integration) และกระบวนการท างานควรอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลของพนักงานที่มีความรู้ความสามารถตรงกับงาน ส่วนผู้บริหารเป็นเพียงผู้คอยสนับสนุน และสอดคล้องกับแนวคิดของ Taylor (1911) ซึ่งมองว่าเป้าหมายหลักของการบริหาร คือ การบรรลุผลส าเร็จสูงสุดขององค์การควบคู่กับความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดให้กับพนักงาน และการบรรลุผลส าเร็จขององค์กรต้องเริ่มต้น จากการสื่อสารนโยบายที่ชัดเจนของผู้บริหารส่งต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน สม่ าเสมอ ต่อเนื่องนั้นเอง และสอดคล้องกับการศึกษาของ บุญทัน ดอกไธสง (2541) พบว่า การบริหารที่เป็นกระบวนการจัดการเน้นความสามารถในการเข้าใจและการมองไปข้างหน้า พ้ืนฐานประการแรก คือ การวางแผน (Planning) และพ้ืนฐานอีกประการหนึ่ง คือ กระบวนการรวมกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันทั้งกลุ่มคนและทรัพย์สมบัติที่เป็นวัตถุ ซึ่งเรารู้จักในนาม การจัดองค์การ (Organizing) ผู้จัดการหรือผู้บริหารได้จัดการกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการวางแผนและ จัดองค์การ ซึ่งกระบวนการบริหาร ประกอบด้วย การวางแผน คือ ก าหนดเป้าหมายและภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ การจัดองค์การ คือ การจ าแนกแจกจ่ายงานภายในกลุ่ม และจัดตั้งความสัมพันธ์ให้เป็นที่ยอมรับในองค์การ กระตุ้นให้ปฏิบัติงาน คือ น ากลุ่มให้ท างานด้วยความตั้งใจ และพอใจ และควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ให้เรียบร้อยและส าเร็จไปตามแผน ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่าโพแอ็ก (POAC) รวมทั้งสอดคล้องกับการศึกษาของ สมบัติ ธ ารงธัญวงศ์ (2550) เรื่อง การน านโยบายไปปฏิบัติให้ ประสบความส าเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ แหล่งที่มาของนโยบาย ความชัดเจนของนโยบาย การสนับสนุนนโยบาย ความซับซ้อนในการบริหารงาน สิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัติ และ การจัดสรรทรัพยากร เพ่ือสนับสนุนการน านโยบายไปปฏิบัติให้เหมาะสม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว จะได้รับผลกระทบจากเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ข้อจ ากัดทางกฎหมาย ความจ าเป็น ในการพิจารณาตามหลักเหตุผลของระบบราชการ เป็นต้น และสอดคล้องกับการศึกษา ของ พิชิต พิทักษ์โลหพิตร (2541) เรื่อง การศึกษาเจตคติของผู้บริหารระดับกลางต่อการบริหาร

Page 8: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

48

ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติดให้โทษกรณีศึกษาส านักงานตรวจแห่งชาติ พบว่า ผู้บริหารระดับกลางมีความคิดเห็นด้วยกับการบริหารด้านนโยบายและการวางแผน การควบคุม สั่งการ และบังคับบัญชา ตลอดจนการบริหารทางด้านบุคลากรและฝึกอบรม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี ของ Koontz (1980) ที่มีแนวคิดว่า องค์การเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการที่ผู้บริหารจะต้องจัดท า เพ่ือน าปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การมาเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับการศึกษาของ สุชาญ รอดบน (2547) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติ: ศึกษาเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ต ารวจประจ าศูนย์ต่อสู้เพ่ือเอาชนะยาเสพติด ต ารวจภูธร จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2. ภาวะผู้น า มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากผู้น าจะต้องน าองค์การไปสู่ความส าเร็จ เป็นผู้ตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผน และรับผิดชอบต่อความอยู่รอดหรือองค์การ อีกทั้งเป็นบุคคลที่ท าให้องค์การประสบความก้าวหน้าและบรรลุผลส าเร็จ โดยใช้อิทธิพลจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม การที่จะน านโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลส าเร็จจะต้องมีวิธีการจูงใจและการใช้ภาวะผู้น าที่เหมาะสม และนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของภาวะผู้น าที่มีผลต่อความส าเร็จขององค์การ เช่น Richard & Engle (1986) กล่าวว่า ภาวะผู้น า หมายถึง การจุดประกายวิสัยทัศน์ให้ผู้ อ่ืนมองเห็นพร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยม และสร้างภาวะแวดล้อมที่เอ้ืออ านวยให้สามารถปฏิบัติได้ส าเร็จ Jacobs & Jaques (1987) กล่าวว่า ภาวะผู้น า หมายถึง กระบวนการให้จุดมุ่งหมายหรือทิศทางที่มีความหมายเพ่ือให้เกิดพลังความพยายามและความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามนั้นเพ่ือให้บรรลุเป้าหมาย (กวี วงศ์พุฒ, 2550) กล่าวว่า ภาวะผู้น า หมายถึง เป็นการที่ผู้น าใช้อิทธิพลในความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่าง ๆ เพ่ือปฏิบัติการและอ านวยการโดยใช้กระบวนการติดต่อซึ่งกันและกัน เพ่ือให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Bass & Avolio (1994) โดยพบว่า ภาวะผู้น าของผู้บริหารเป็น สิ่งส าคัญยิ่งที่จะน าองค์กรไปสู่เป้าหมาย ภาวะผู้น าเป็นกระบวนการที่ผู้น ามีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน และผู้ตาม โดยพยายามเปลี่ยนแปลง และพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงาน และผู้ตามให้ไปสู่ระดับสูงขึ้น ท าให้เกิดการตระหนักในภารกิจ และวิสัยทัศน์ของทีม และขององค์การ จูงใจให้ผู้ร่วมงาน และผู้ตาม มองให้ไกลเกินกว่าความสนใจของพวกเขาไปสู่ประโยชน์ของกลุ่ม องค์การหรือสังคม ซึ่งกระบวนการผู้น ามีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน และผู้ตาม โดยผู้น าจะเป็นที่ยกย่อง เคารพนับถือ ศรัทธา ไว้วางใจ และ ท าให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อได้ร่วมงาน ผู้ตามจะพยายามประพฤติปฏิบัติเหมือนกับผู้น า และต้องเลียนแบบผู้น าของเขา สิ่งที่ผู้น าต้องปฏิบัติเพ่ือบรรลุถึงคุณลักษณะนี้คือ ผู้น าจะต้องค านึงถึงความต้องการของผู้อ่ืนเหนือความต้องการของตนเอง ผู้น าจะต้องร่วมเสี่ยงกับผู้ตาม ผู้น าจะต้องมีความสม่ าเสมอมากกว่าการเอาแต่อารมณ์ สามารถควบคุมสติอารมณ์ได้ ในสถานการณ์วิกฤต ผู้น าเป็นผู้ที่ไว้ใจได้ว่าจะท าในสิ่งที่ถูกต้อง ผู้น าจะเป็นผู้ที่มีศีลธรรม และจริยธรรมสูง ผู้น าจะหลีกเลี่ยง ที่จะใช้อ านาจเพ่ือผลประโยชน์ส่วนตน แต่จะประพฤติตนเพ่ือให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ อ่ืน และ เพ่ือประโยชน์ของกลุ่ม ผู้น าจะแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาด ความมีสมรรถภาพ ความตั้งใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความแน่วแน่ในอุดมการณ์ ความเชื่อ และค่านิยมของเขา ผู้น าจะเสริม

Page 9: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

49

ความภาคภูมิใจ ความจงรักภักดี และความมั่นใจของผู้ตาม และท าให้ผู้ตามมีความเป็นพวกเดียวกันกับผู้น าโดยอาศัยวิสัยทัศน์ และมีจุดประสงค์ร่วมกัน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจกับผู้ตาม กระตุ้น จิตวิญญาณของทีม (Team Spirit) ให้มีชีวิตชีวา มีการแสดงออกซึ่งความกระตือรือร้น และการมองโลกในแง่ดี ผู้น าจะสร้าง และสื่อความต้องการที่ผู้น าต้องการอย่างชัดเจน ผู้น าจะแสดงการอุทิศตัวหรือความผูกพันต่อเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ร่วมกัน ผู้น าจะแสดงความเชื่อมั่น และแสดงให้เห็น ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ผู้น าจะช่วยให้ผู้ตามมองข้ามผลประโยชน์ ของตน เพ่ือวิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์การ ผู้น าจะช่วยให้ผู้ตามพัฒนาความผูกพันของตน ต่อเป้าหมายระยะยาว และบ่อยครั้งพบว่า การสร้างแรงบันดาลใจนี้เกิดขึ้นโดยผ่านการค านึงถึง ความเป็นปัจเจกบุคคลและการกระตุ้นทางปัญญา โดยการค านึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ท าให้ ผู้ตามรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และกระตุ้นให้พวกเขาสามารถจัดการกับปัญหาที่ตนเองเผชิญได้ ส่วนการกระตุ้นทางปัญญาช่วยให้ผู้ตามจัดการกับอุปสรรคของตนเอง และเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมทั้งผู้น าสามารถกระตุ้นทางปัญญา กระตุ้นผู้ตามให้ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน ท าให้ผู้ตามมีความต้องการหาแนวทางใหม่ ๆ มาแก้ปัญหาในหน่วยงาน เพ่ือหาข้อสรุปใหม่ที่ดีกว่าเดิม การมองปัญหาและการเผชิญกับสถานการณ์เก่า ๆ ด้วยวิถีทางแบบใหม่ ๆ มีการจูงใจ และสนับสนุนความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ในการพิจารณาปัญหา และการหาค าตอบของปัญหา และผู้น าจะมีการปฏิบัติต่อผู้ตามโดยการให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สร้างบรรยากาศของการให้การสนับสนุน ค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความจ าเป็น และความต้องการ การประพฤติของผู้น าแสดงให้เห็นว่า ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้น ามีการส่งเสริมการสื่อสารสองทาง และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นการส่วนตัว ผู้น าสนใจในความกังวลของแต่ละบุคคล เห็นผู้ตามเป็นบุคคลมากกว่าเป็นพนักงานหรือเป็นเพียงปัจจัยการผลิต ผู้น าจะมีการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) ผู้น าจะมอบงานเพ่ือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ตาม เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้ใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มที่ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายความสามารถ ผู้น าจะดูแลผู้ตามว่าต้องการค าแนะน า การสนับสนุน แลการช่วยให้ก้าวหน้าในการท างาน ที่รับผิดชอบอยู่ โดยผู้ตามจะไม่รู้สึกว่าเขาก าลังถูกตรวจสอบ และสอดคล้องกับการศึกษาของ ทวีศักดิ์ จันทรโชติ (2549) เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา กองก ากับการต ารวจตระเวนชายแดนที่ 43 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ คือ ภาวะผู้น าขององค์กรที่เกี่ยวข้อง การจัดการองค์กรที่ต้องด าเนินงานตามนโยบายที่รัฐบาลก าหนด และประสานงานกันอย่างสม่ าเสมอ 3. ความร่วมมือจากประชาชน และความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนมีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่ จังหวัดปทุมธานี เนื่องจาก การปฏิบัติงานต้องอาศัยการประสานงานและความร่วมมือระหว่างกัน โดยทุกฝ่ายหรือหน่วยงาน ในองค์การ สามารถท างานร่วมกันและปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นความร่วมมือจึงเป็นสิ่งส าคัญที่ท าให้การท างานร่วมกันหรือการท างานเป็นทีมประสบความส าเร็จ และนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของความร่วมมือไว้ เช่น Agranoff (2003) กล่าวว่า ความร่วมมือ หมายถึง กระบวนการกระตุ้นให้องค์การต่างๆ หันมาปฏิบัติงานร่วมกัน เพ่ือแก้ไขปัญหาที่ไม่สามารถท าให้

Page 10: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

50

ส าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยศักยภาพขององค์การเพียงองค์การเดียว หรือถ้าสามารถท าได้ก็อาจประสบผลส าเร็จได้ยาก McGuire (2003) กล่าวว่า ความร่วมมือ หมายถึง การเข้ามามีบทบาทของผู้เล่น ที่หลากหลาย ในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันโดยภายใต้บริบทความร่วมมือต้องมีการสร้างความเรียนรู้ร่วมกัน ตลอดจนร่วมกันหาข้อตกลง (Reacting Agreement) มากกว่าเป็นแค่การด าเนินการตัดสินใจ (Dicision) เพียงอย่างเดียว ซึ่งการพยายามหาข้อตกลงร่วมกันนั้น ควรวางอยู่บนฐานของการพยายามที่จะสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นและที่ส าคัญที่สุดบทบาทของผู้เล่นแต่ละคน หรือองค์การ แต่ละองค์การล้วนเป็นไปในลักษณะของพันธมิตรไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ธีรภัทร แก้วจุนันท์ (2543) กล่าวว่า ความร่วมมือ หมายถึง พฤติกรรมตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ทั้งนี้พฤติกรรมความร่วมมือมีความสัมพันธ์ต่างกันความต้องการพ้ืนฐานของบุคคล ไม่ว่าร่างการและจิตใจ พฤติกรรมความร่วมมือเกิดจากความต้องการประสบความส าเร็จร่วมกัน โดยทุกคนไม่จ าเป็นต้องด าเนินการให้บรรลุจุดหมายเหมือนกัน แต่การที่ต่างคนต่างด าเนินการไปสู่จุดหมายจะมีผลให้ทุกคนที่อยู่ในขบวนการนั้นได้มีผลงานพอใจและสามารถบรรลุจุดเป้าหมายของ แต่ละคนได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ส านักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (2553) ได้ศึกษาเรื่อง ความรู้ และแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พบว่า การด าเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจ าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป โดยการด าเนินการแบบบูรณาการมาตรการต่าง ๆ เข้าด้วยกันคือ มาตรการป้องกันมาตรการปราบปรามและมาตรการบ าบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยใช้มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นมาตรการปราบปรามยาเสพติด เพราะเป็นการแก้ปัญหา ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง ทั้งนี้วิธีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเละสารเสพติดอย่างถูกต้อง จึงเป็นวิธีการที่ส าคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้กลุ่มประชาชนและเยาวชนไม่ตกเป็นทาสของยาเสพติดเนื่องจากชนิดของยาและสารเสพติด ตลอดจนปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดและยาเสพติดจึงไม่ควรหยุดนิ่ง หนังสือเล่มนี้จึงได้รวบรวมเนื้อหาสาระและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและ สารเสพติดและผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาค้นคว้าเพ่ือเพ่ิมพูนความรู้ในเรื่องดังกล่าว และสอดคล้องกับการศึกษาของ บรรพต สุขัง (2553) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ต ารวจสถานีต ารวจภูธรเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนั้น พบว่า ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต ารวจเห็นด้วยต่อปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของสถานีต ารวจภูธรเมืองบุรีรัมย์ ควรประกอบด้วยการกระตุ้นเสริมสร้างจิตส านึกให้ประชาชน รู้ พิษภัยยาเสพติดด้านป้องกันปราบปรามเพ่ือให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมมือประสานงานในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่ ล าดับต่อมาคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และการบริหารจัดการองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล

Page 11: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

51

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการน าผลการวิจัยไปใช้ จากผลการศึกษา พบว่า ความร่วมมือจากประชาชน ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน ภาวะผู้น า และการมีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี ดังนี้ 1) ด้านความร่วมมือจากประชาชน ควรมีการประสานงานกันทุกฝ่ายในหน่วยงานของราชการ โดยเริ่มจากหัวหน้าหน่วย สั่งการ ยังผู้ใต้บังคับบัญชาตามล าดับชั้นให้เข้าหาประชาชน สอดส่องดูแลและให้บริการปับประชาชนเสมือนญาติของตนเอง พร้อมลงมือปฏิบัติทันที 2) ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน หัวหน้าหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ควรมีการประสานงานกันอย่างทั่วถึงในการยื่นความประสงค์ช่วยเหลือและ ร่วมกิจกรรมงานต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานเอกชน ออกหน่วยเคลื่อนที่ในการให้บริการแก่ภาคเอกชน ยังสถานที่ของภาคเอกชนโดยเน้นเรื่องงานบริการเป็นหลักและผู้บังคับบัญชาที่สั่งการต้องร่วมด าเนินการในส่วนนี้ด้วย 3) ภาวะผู้น า ควรมีการสร้างความเข้มแข้งให้แก่ทุกภาคส่งตลอดจน กลุ่มประชาชน เสริมสร้างการฝึกอบรม ทบทวน แนวทางการปฏิบัติ และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ เพ่ือให้เกิดความช านาญ ความพร้อม และความมั่นใจในการช่วยเหลือตนเอง ชุมชน ตลอดจนสังคม ให้ดียิ่งขึ้น และ 4) การมีวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ชัดเจน เป็นส่วนที่ต้องน ามาปฏิบัติทุกภาคส่วนและหน่วยงาน โดยผู้น าหน่วยงานต่าง ๆ ต้องประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทุกคนทราบว่าวัตถุประสงค์ ในการด าเนินงานไปในทิศทางใดที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ผู้ปฏิบัติจะได้สามารถปฏิบัติได้อย่างมั่นใจ งานที่ด าเนินการออกมาจะได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เกิดความส าเร็จทั้งผู้ปฏิบัติและผู้รับบริการ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติในเขตพ้ืนที่อ่ืน ๆ นอกเหนือจากจังหวัดปทุมธานี 2. ควรศึกษาแนวทางการพัฒนาการพัฒนาภาวะผู้น าของผู้น าองค์กรในทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐที่เก่ียวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี 3. ควรศึกษาแนวทางการพัฒนาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชน และความร่วมมือจากประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม ยาเสพติดในพ้ืนที่จังหวัดปทุมธานี เอกสารอ้างอิง กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้น า. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพ. ไชยยา รุจจนเวท และคณะ. (2556). การพัฒนากระบวนการสกัดกั้นการลักลอบล าเลียง

ยาเสพติดของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. ทวีศักดิ์ จันทรโชติ. (2549). ปัจจัยท่ีมีผลต่อความส าเร็จในการน านโยบายการป้องกันและ

ปราบปรามยาเสพติดสู่การปฏิบัติ: กรณีศึกษา กองก ากับการต ารวจตระเวนชายแดน ที่ 43. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

Page 12: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science) Vol. 6 No. 2 May-August 2016

52

ธีรภัทร แก้วจุนันท์. (2543). ความร่วมมือของเกษตรกรต่อการด าเนินการจัดรูปท่ีดินในรูปแบบประชาอาสาของจังหวัดสิงห์บุรี. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสังเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญทัน ดอกไธสง. (2541). การจัดองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. บรรพต สุขัง. (2553). ปัจจัยท่ีมีผลต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ต ารวจ

สถานีต ารวจภูธรเมืองบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พิชิต พิทักษ์โลหพิตร. (2541). การศึกษาเจตคติของผู้บริหารระดับกลางต่อการบริหาร ด้านการป้องกันปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรณีศึกษาส านักงานตรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามค าแหง.

สมบัติ ธ ารงธัญวงศ์. (2550). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ส านักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 1. (2557). แก้วนิมิตสดใส ชุมชนน่าอยู่ และปลอดภัย ลูกหลานห่างไกลยาเสพติด. วารสารส านักงาน ป.ป.ส. 31(2), 44-48.

ส านักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (2553). ความรู้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด.

สุชาญ รอดบน. (2547). ปัจจัยท่ีมีผลต่อการน านโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติ: ศึกษาเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ต ารวจประจ าศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ต ารวจภูธร จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสังเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Agranoff, R. (2003). Inside collaborative networks: The lessons for public managers. Public Administration Review. Special Issue, 66(1).

McGuire, M. (2003). Collaborative public management: New strategies for local government. Washington, DC: Georgetown University Press.

Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Transformation Leadership and Organization Culture. Public Administration Quarterly.

Follett, M. P. (1954). The illusion of final authority: Authority must be functional and functional authority carries with it functional responsibility. Washington: U.S. Bureau of Public Assistance.

Page 13: ผลการน านโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ไปปฏิบัติใน ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ (มนุษยศาสตรแ์ละสังคมศาสตร)์ ปีที่ 6 ฉบับที ่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2559

53

Jacobs, T.O. & Jaques, E. (1987). “Leadership in Complex Systems.” In J. Zeidner. (Ed.), HumanProductivity Enhancment: Organization, Personnel, and Decision Making Vol. 2.

Koontz, H. (1980). Management. New York: McGraw–Hill. Richards, D. & Engle, S. (1986). “After the Vision: Suggestions to Corporate

Visionaries and Vision Champions.” In J.D. Adams. (Ed). Transforming Leadership, Alexandria, VA: miles River Press.

Taylor, F. W. (1911). The Principles of Scientific Management. New York: Harper & Brothers.