ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์...

12
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีท5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558 101 ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิทางการเรียนพลศึกษา สาหรับชั้นประถมศึกษาปีท3 โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ THE EFFECTS OF FOLK PLAY ACTIVITY PACKAGE ON LEARNING ACHIEVEMENT OF PHYSICAL EDUCATION FOR GRADE 3 STUDENTS IN THE DEMONSTRATION SCHOOL OF RAJABHAT UNIVERSITY ถนัด บุญอิสระเสรี 1* , บุญเรือง ศรีเหรัญ 1 และอุษา คงทอง 1 Tanad Boonitsarasaree, Boonreuang Sriharun and Usa Kongthong บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีท3 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท3 ภาคเรียนที2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จานวน 2 ห้องเรียน ที่ได้จากการสุ่ม แบบเฉพาะเจาะจงเพื่อใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จานวน 27 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จานวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดทักษะ ด้านการเคลื่อนไหว มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดเจตคติที่มีต่อพลศึกษา มีความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และแบบวัดคุณธรรม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท3 ที่ใช้ชุดกิจกรรม การละเล่นพื้นบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( t = 3.52) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา พบว่า ความรู้ ทักษะ สมรรถภาพ ด้านการนับจานวนครั้งต่อนาทีในการลุก-นั่ง ด้านการงอตัว ด้านการวิ่งตามระยะทางที่กาหนด เจตคติ และคุณธรรมของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คาสาคัญ: การใช้อานาจ, ประสิทธิผล ____________________________________ 1 หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี * ผู้นิพนธ์ประสานงาน: E-mail: [email protected]

Upload: others

Post on 24-Feb-2020

5 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที ่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558

101

ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนพลศึกษา ส าหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ

THE EFFECTS OF FOLK PLAY ACTIVITY PACKAGE ON LEARNING ACHIEVEMENT OF PHYSICAL EDUCATION FOR GRADE 3 STUDENTS

IN THE DEMONSTRATION SCHOOL OF RAJABHAT UNIVERSITY

ถนัด บุญอิสระเสรี1*, บุญเรือง ศรเีหรัญ1 และอุษา คงทอง1 Tanad Boonitsarasaree, Boonreuang Sriharun and Usa Kongthong

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ านวน 2 ห้องเรียน ที่ได้จากการสุ่ม แบบเฉพาะเจาะจงเพ่ือใช้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จ านวน 27 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จ านวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การละเล่นพ้ืนบ้าน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ มีค่าความเชื่อมั่นทั้ งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดทักษะ ด้านการเคลื่อนไหว มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบวัดเจตคติที่มีต่อพลศึกษา มีความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และแบบวัดคุณธรรม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.52) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา พบว่า ความรู้ ทักษะ สมรรถภาพด้านการนับจ านวนครั้งต่อนาทีในการลุก-นั่ง ด้านการงอตัว ด้านการวิ่งตามระยะทางที่ก าหนด เจตคติ และคุณธรรมของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค าส าคัญ: การใช้อ านาจ, ประสิทธิผล

____________________________________ 1หลักสูตรครศุาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บณัฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี *ผู้นิพนธ์ประสานงาน: E-mail: [email protected]

Page 2: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review Vol. 5 No. 2 July-December 2015

102

ABSTRACT The objective of this research was to compare learning achievements in physical education of grade 3 in the Demonstration School, Rajabhat University after using folk play activity packages and using the traditional teaching method. The sample of this research was a group of 64 grade 3 students, divided into 2 classrooms: 27 students in an experimental group and 37 students in a control group, studying in the second semester the academic year of 2013 in the Valaya Alongkorn Rajabhat University Laboratory School Under The Royal Patronage. They were selected by purposive sampling. The instruments included 2 series of lesson plans: folk play activities and traditional method. The physical education achievement tests consisted of 4 tests: achievement test with the reliability of 0.80, movement skill test with the reliability of 0.80, attitude test with the reliability of 0.90, and ethics test with the reliability of 0.92. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, and t-test (independent). The results were as follows: The learning achievement of physical education of grade 3 students using folk play activity packages was statistically significant higher than the traditional method at the level of .05 (t = 3.52). When considering each aspect, it was found that learning achievements in terms of knowledge, skill, body capacity in sit-up, body bending, running in time, attitude, and ethics of grade 3 students using folk play activity packages were statistically significant higher than those of the traditional method at the level of .05. Keywords: Physical Education, Folk Play Activities บทน า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) (2553) หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความส าคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานให้แก่คณะครูและนักเรียน ณ ศาลาดุสิตดาลัย ในวันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2504 มีความว่า “การศึกษาเป็นปัจจัยในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมของบุคคล สังคม และบ้านเมืองใดให้การศึกษาที่ดีแก่เยาวชน ได้อย่างครบถ้วนพอเหมาะกับทุก ๆ ด้านในสังคม และบ้านเมืองนั้นจะมีพลเมืองที่มีคุณภาพ” (ทิศนา แขมมณี, 2545)

Page 3: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที ่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558

103

การศึกษาเป็นรากฐานส าคัญที่สุดประการหนึ่งในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้คนได้พัฒนาตนเอง ในด้านต่าง ๆ ตลอดช่วงชีวิตจะเห็นได้ว่าประเทศท่ีพัฒนาแล้วประชาชนในชาติมีพ้ืนฐานการศึกษาสูงและสามารถพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทุกชาติจึงมุ่งเน้นพัฒนาการศึกษา ของคนในชาติในรูปแบบต่าง ๆ และการพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นเป็นผู้สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมวัฒนธรรมในการด ารงชีวิต (ปริญญา อรจิราพงศ์, 2545) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้จัดท าขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกว่าช่วงที่ผ่านมาโดยให้ความส าคัญกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555) ลักษณะส าคัญของการมีความอยู่ดีมีสุข คือ สุขภาพ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และทางปัญญา หรือจิตวิญญาณ สุขภาพ หรือสุขภาวะจึงเป็นเรื่องส าคัญเพราะเกี่ยวโยงกับทุกมิติของชีวิต ซึ่งทุกคนควรจะได้เรียนรู้เรื่องสุขภาพ เพ่ือจะได้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีเจตคติ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม รวมทั้งมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพ จนเป็นกิจนิสัย อันจะส่งผลให้สังคมโดยรวมมีคุณภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ดังนั้น ในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีวิธีหนึ่งก็คือ การออกก าลังกายจึงเป็นสิ่งส าคัญที่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองและยังเป็นการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพ่ือสุขภาพที่มีผลต่อข้อต่อและกล้ามเนื้อ ท าให้มี ความคล่องแคล่วว่องไว และจะท าให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ กระฉับกระเฉงคล่องตัวที่ส าคัญคือ ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการท างาน ฉะนั้นกิจกรรมการออกก าลังกายจึงเป็นสิ่งที่ส าคัญของชีวิต ซึ่งควรปลูกฝังตั้งแต่ในวัยเด็กเนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มต้นของชีวิตและเป็นรากฐานที่ส าคัญ ซึ่งสอดคล้องกับ ปานหทัย ทนันไชย (2558) ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการละเล่นของเด็กไทยเป็นค ากลอนไว้ว่า “การละเล่นของเด็กไทยใช่ไร้ค่า เป็นเอกลักษณค์งคุณค่ามาช้านาน บรรพชนสร้างมาเพ่ือลูกหลาน อย่าให้กาลมามลายจนหายไป สอนลูกหลานให้รู้จักเป็น ให้การละเล่นเด็กไทยอยู่คู่ไทย ช่วยน าเหนี่ยวฟ้ืนฟูสู่นิสัย สืบต่อให้เอกลักษณ์เราอยู่เนานาน”

ปานหทัย ทนันไชย (2558)

คุณค่าการละเล่นพ้ืนบ้านเป็นผลดีทางด้านร่างกายการละเล่นพ้ืนบ้านให้คุณค่าส่งเสริมทางด้านร่างกายกับผู้เล่นครบถ้วนทุกคุณค่าเรียงล าดับคุณค่าท่ีได้รับจากมากไปหาน้อยคือได้รับคุณค่าเกี่ยวกับความอ่อนตัวความแม่นย าการทรงตัวที่ดีการประสานงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายความแข็งแรงพลังของกล้ามเนื้อความเร็วความคล่องแคล่วว่องไวและความอดทนของระบบหายใจการฝึกที่มีหลากหลายกิจกรรมสามารถจัดกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการฝึกเพ่ือให้เกิด การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายตามต้องการท าให้เกิดความสนุกสนานตื่นเต้นท้าทายเพลิดเพลิน

Page 4: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review Vol. 5 No. 2 July-December 2015

104

มีเวลาพักขณะฝึกไม่หนักเกินไปส าหรับนักเรียนท าให้เกิดผลดีต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายตามต้องการ (ชัชชัย โกมารทัต, 2549) การละเล่นพ้ืนบ้านเป็นเกมอย่างหนึ่งที่จัดกิจกรรมส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางพลศึกษาของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้นเพราะขณะที่นักเรียนเล่นนั้นนักเรียนได้รู้จักเกิดความรู้ เจตคติที่ดี ทักษะ ในการเคลื่อนไหว สมรรถภาพทางกาย และพัฒนาการทางสังคมได้อย่างเหมาะสมช่วยให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ตอบสนองความใคร่รู้เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกจากนี้การเล่นยังท าให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นอิสระสนุกสนานเพลิดเพลินและพร้อมที่จะกระท ากิจกรรมนั้น ๆ ดังนั้น เพ่ือให้การสอนของครูเป็นที่สนใจและเกิดคุณค่าทางการศึกษายิ่งขึ้นจึงได้น าการจัดประสบการณ์การละเล่นพ้ืนบ้านของไทยซึ่งจะช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านตลอดจนน าไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาของนักเรียนในระดับประถมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป (ชัชชัย โกมารทัต, 2549) ในฐานะผู้วิจัยเป็นผู้สอนและให้รับผิดชอบหมวดสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 เห็นว่า การจัดสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเป็นวิชาบังคับในหลักสูตร ซึ่งทางหลักสูตรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมุ่งพัฒนาบุคลิกภาพ และค้นพบความสามารถ ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ และความถนัดของแต่ละบุคคล ฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนควรจะต้องให้นักเรียนได้พัฒนาตนเอง น าความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตจริงได้ นักเรียนสามารถคิดและฝึกอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนทุกคนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างสนุกสนาน ปลอดภัย ซ่ึงกิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความรู้กับวุฒิภาวะของเด็กในช่วงประถมศึกษาตลอดจนคุณค่าของการละเล่นของเด็กไทย ผู้วิจัยจึงได้น ามาก าหนดเป็นกิจกรรมในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ซึ่งพบว่าการจัดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางพลศึกษาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มากขึ้น นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาของนักเรียนในระดับประถมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจากการชั่งน้ าหนักและวัดส่วนสูงเพ่ือให้ทราบสัดส่วน ซึ่งใน ค่าดรรชนีมวลกายสูงหรือน้ าหนักมากกว่าส่วนสูงและเห็นสุขภาพโดยทั่วไปของเด็กที่ขาด การออกก าลังกายเป็นประจ าจะท าให้อ่อนแอ มีความต้านทานโรคต่ ามีผลการเรียนที่ต่ ากว่าเด็กที่ ออกก าลังกายจึงท าให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาและค้นหาการจัดกิจกรรมมาให้เด็กนักเรียนได้ฝึกและปฏิบัติเพ่ือลดดรรชนีมวลกายลง อีกทั้งยังสร้างเสริมให้นักเรียนมีสมรรถภาพที่ดีขึ้น มีเจตคติที่ดี มีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นตามล าดับ รวมทั้งปฏิบัติตนท ากิจกรรมร่วมกับผู้อ่ืน และเพ่ือใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนในระดับชั้นอ่ืนหรือน าไปพัฒนาโรงเรียนในเครือสาธิ ตมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 10 แห่ง ได้แก่ 1) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 5) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 6) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 7) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 8) สาธิต

Page 5: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที ่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558

105

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 10) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือโรงเรียนต่าง ๆ ที่สนใจต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพ่ือศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการสอนแบบปกติ 2. เพ่ือเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการสอนแบบปกติ กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัยครั้งนี้จะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านกับการสอนแบบปกติ โดยการละเล่นพ้ืนบ้านผู้วิจัยใช้แนวการจัดกิจกรรมของ ชัชชัย โกมารทัต (2549) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด การพัฒนาทักษะปฏิบัติของ Simpson (1972) และรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของ Davies (1971) และศึกษาผลการจัดกิจกรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ เจตคติ และคุณธรรม

สมมติฐานทางการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ในโรงเรียนสังกัดในกลุ่มราชภัฎ จ านวน 10 โรงเรียน 20 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น

ตัวแปรอิสระ

ตัวแปรตาม

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา 1. ความรู้ 2. ทักษะ 3. สมรรถภาพทางกายเพ่ือสุขภาพ 4. เจตคต ิ5. คุณธรรม

วิธีการสอน 1. วิธีสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่น

พ้ืนบ้าน 2. วิธีสอนโดยการสอนพลศึกษา

แบบปกติ

Page 6: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review Vol. 5 No. 2 July-December 2015

106

913 คน ซึ่งอยู่ในกลุ่มราชภัฏที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาสาธิตสัมพันธ์มีโดยมีโรงเรียนสาธิตดังต่อไปนี้ 1) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 5) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 6) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 7) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 8) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 9) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และ 10) สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ านวน 2 ห้องเรียน รวม 64 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มทดลอง จ านวน 1 ห้องเรียน 27 คน และกลุ่มควบคุม จ านวน 1 ห้องเรียน 37 คน 2. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทดลองสอนด้วยตนเองทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 50 นาที ในวันอังคารคาบวิชาพลศึกษาโดยกลุ่มควบคุมเวลา 12.40-13.30 น. และ กลุ่มทดลองเวลา 13.30-14.20 น. 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้น าเนื้อหาการละเล่นพ้ืนบ้านมาเพ่ือวิจัยซึ่งมีกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านดังต่อไปนี้ 1) เสือข้ามห้วย 2) แย้ลงรู 3) น้ าขึ้นน้ าลง 4) ลากทางหมาก 5) สะบ้าทอย 6) โยกเยก 7) วิ่งเปี้ยว 8) ตีกรรเชียง 9) ชักเย่อ 10) ลิงชิงหลัก 11) ลิงชิงบอล 12) เรือบกหรรษา 13) กระโดดกบ 14) กระโดดเชือกเดี่ยว 15) เดินกะลา และ 16) วิ่งกระสอบ 4. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ 4.1 ตัวแปรอิสระ คือ วิธีสอน มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านและวิธีการสอนแบบปกติ 4.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ สมรรถภาพทางกาย เจตคติ และคุณธรรม 4.3 การสอนแบบปกติ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดท าขึ้นอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการจัดองค์ประกอบและงานที่เกี่ยวกับการสอน อย่างมีจุดหมายที่เฉพาะเจาะจงที่จะให้ผู้เรียนบรรลุผลส าเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้หลักสูตรการเรียนรู้กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก าลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทยและกีฬาสากล ดังนี้ การเคลื่อนไหวร่างกายพ้ืนฐาน เล่นเกมสนุกสร้างสุขทางใจ การออกก าลังกาย เป็นสื่อการสอน 5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 5.1 แผนการจัดการเรียนรู้การละเล่นพ้ืนบ้าน 5.2 แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกต ิ

Page 7: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที ่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558

107

5.3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน 2) แบบสอบถามวัดทักษะทางด้านกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน 3) แบบสอบถามวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาพลศึกษา และ 4) แบบสอบถามวัดคุณธรรม 6. การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 6.1 สร้างแผนการสอนโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน 6.2 สร้างแผนการสอนแบบปกติ 6.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษามีดังต่อไปนี้ 1) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมการละเล่นโดยใช้ข้อสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านทั้งหมด 20 ข้อโดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันสอบท้ังก่อนเรียนและหลังเรียน 2) แบบสอบถามวัดทักษะทางด้านกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านโดยใช้แบบข้อสอบวัดทักษะ 16 ข้อถามได้ทักษะอะไรจากการเรียนกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านทั้งหมดตอบก่อนและ หลังเรียน 3) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพ่ือสุขภาพเป็นแบบทดสอบสมรรถภาพ ทางกายเพ่ือสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของ AAHPERD (Health-Related Physical Fitness Test) ประกอบด้วยรายการทดสอบด้านองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 4 รายการ คือ 3.1) การวัดองค์ประกอบของร่างกาย (Body Mass Index: BMI) ด้วยวิธีหา ค่าดรรชนีมวลกาย 3.2) นั่งก้มตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach) เป็นการทดสอบความอ่อนตัว 3.3) ลุก-นั่ง 1 นาที (Modified Sit-Ups) เป็นการทดสอบความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ 3.4) วิ่งหรือเดิน 1 ไมล์ (1-Mile Run/Walk) เป็นการทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและหลอดเลือด 4) แบบสอบถามวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาพลศึกษาโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพ่ือสอบถามความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อวิชาพลศึกษาทั้งหมด 10 ค าถาม 5) แบบสอบถามด้านสังคม โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพ่ือสอบถามการอยู่ร่วมกันในสังคมชั้นเรียนทั้งหมด 10 ค าถาม 7. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์สถิติต่อไปนี้ 7.1 สถิติเกี่ยวกับคุณภาพของแบบวัดผลสัมฤทธิ์ใช้วิเคราะห์สัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 7.2 สถิติพรรณนาใช้เพ่ือการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.3 สถิติ อ้างอิงใช้ เ พ่ือการทอสอบสมมุติฐานของการวิจัย ได้แก่ t-test แบบ Independent Sample t-test และ t-test แบบ Paired Sample t-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย แต่ละรายการของ การทดสอบสมรรถภาพทางกายเพ่ือสุขภาพของกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ t- test แบบ Dependent t-test (บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, 2526)

Page 8: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review Vol. 5 No. 2 July-December 2015

108

ผลการวิจัย การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.52) แสดงดังตารางที่ 1 ตารางท่ี 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง

ตัวแปร กลุ่มที่ศึกษา จ านวน ค่าเฉลี่ย ค่า S.D. ค่า t Sig. ความรู้

(คะแนน) กลุ่มควบคุม 37 12.00 2.38

-6.18* 0.00 กลุ่มทดลอง 27 15.07 1.17

ทักษะ (คะแนน)

กลุ่มควบคุม 37 6.63 1.45 -17.88* 0.00

กลุ่มทดลอง 27 13.51 1.62 สมรรถภาพทางกาย

น้ าหนัก (กิโลกรัม)

กลุ่มควบคุม 37 37.00 13.06 -0.97 0.33

กลุ่มทดลอง 27 37.11 13.09 ส่วนสูง

(เซนติเมตร) กลุ่มควบคุม 37 135.92 5.62

-0.97 0.33 กลุ่มทดลอง 27 137.18 4.41

การลุก-นั่ง (ครั้ง/นาที)

กลุ่มควบคุม 37 24.13 7.38 -2.80 * 0.01

กลุ่มทดลอง 27 29.03 6.29 การงอตัว

(เซนติเมตร) กลุ่มควบคุม 37 -1.02 6.14

-4.17* 0.00 กลุ่มทดลอง 27 4.81 4.62

การวิ่งจับเวลา (วินาที)

กลุ่มควบคุม 37 14.25 3.03 2.68* 0.01

กลุ่มทดลอง 27 12.57 1.27 เจตคต ิ

ที่มีต่อพลศึกษา (คะแนน)

กลุ่มควบคุม 37 42.58 4.17 6.64* 0.00

กลุ่มทดลอง 27 47.33 0.83

คุณธรรม (คะแนน)

กลุ่มควบคุม 37 43.61 3.54 6.26* 0.00

กลุ่มทดลอง 27 47.33 0.83

Page 9: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที ่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558

109

เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า 1. ความรู้ พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 15.07, S.D. = 1.17) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ( X = 12.00, S.D. = 2.38) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 2. ทักษะ พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 13.51, S.D. = 1.62) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกต ิ( X = 6.63, S.D. = 1.45) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สมรรถภาพทางกายเพ่ือสุขภาพ 5 ด้าน พบว่า 3.1 ด้านน้ าหนักเฉลี่ยของนักเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 37.11, S.D. = 13.09) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ( X = 37.00, S.D. = 13.06) อย่างไม่มีนัยส าคัญ 3.2 ด้านส่วนสูงเฉลี่ยของนักเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 137.18, S.D. = 4.41) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ( X = 135.92, S.D. = 5.62) อย่างไม่มีนัยส าคัญ 3.3 ด้านจ านวนครั้งต่อนาทีในการลุก-นั่งเฉลี่ยของนักเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 29.03, S.D. = 6.29) มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (X = 24.13, S.D. = 7.38) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 3.4 ด้านการงอตัวเฉลี่ยของนักเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ( X = 4.81, S.D. = 4.62) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ( X = -1.02, S.D. = 6.14) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.5 ด้านเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการวิ่งตามระยะทางที่ก าหนดของนักเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน (X = 12.57, S.D. = 1.27) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (X = 14.25, S.D. = 3.03) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 4. เจตคติ พบว่า พบว่า นักเรียนกลุ่มท่ีได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 47.33, S.D. = 0.83) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกต ิ( X = 42.58, S.D. = 4.17) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. คุณธรรม พบว่า พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ( X = 47.33, S.D. = 0.83) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติ ( X = 43.61, S.D. = 0.83) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อภิปรายผลการวิจัย การศึกษาพบว่า นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านความรู้ ทักษะการเคลื่อนไหว สมรรถภาพทางกาย เจตคติที่มีต่อพลศึกษา และคุณธรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม ยกเว้นสมรรถภาพ ทางกายด้านน้ าหนักและส่วนสูงที่ไม่มีความแตกต่างกัน แสดงว่า กิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านที่ผู้วิจัย

Page 10: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review Vol. 5 No. 2 July-December 2015

110

น ามาใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาทั้ง 5 ด้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาได้จริง ทั้งนี้เนื่องมาจากกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านท าให้นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายแข็งแรง ท าให้สภาวะทางร่างกาย ที่อยู่ในสภาพที่ดีเพ่ือที่จะช่วยให้บุคคลสามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนักเรียนสามารถสร้างสมรรถภาพทางกายด้วยแบบฝึกการละเล่นพื้นบ้านด้วยตัวเอง ดังนั้น การมีสุขภาพดีเป็นรากฐานของการมีสมรรถภาพทางกายดี สมรรถภาพจึงเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถของร่างกาย ในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ส าหรับกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านทั้ง 16 กิจกรรม ได้แก่ 1) เสือข้ามห้วย 2) แย้ลงรู 3) น้ าขึ้นน้ าลง 4) ลากทางหมาก 5) สะบ้าทอย 6) โยกเยก 7) วิ่งเปี้ยว 8) ตีกรรเชียง 9) ชักเย่อ 10) ลิงชิงหลัก 11) ลิงชิงบอล 12) เรือบกหรรษา 13) กระโดดกบ 14) กระโดดเชือกเดี่ยว 15) เดินกะลา และ 16) วิ่งกระสอบ ซึ่งสมรรถภาพของนักเรียนที่ได้รับกิจกรรมการวิ่งเปรี้ยวใช้เวลาในกิจกรรม 20 นาที จึงท าให้เกิดสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา กิจกรรมเสือข้ามห้วยเมื่อได้รับกิจกรรมใช้เวลา 20 นาที จึงท าให้เกิดสมรรถภาพทางกาย ด้านพลังของกล้ามเนื้อขา แย้ลงรูเมื่อได้รับกิจกรรมใช้เวลา 20 นาที จึงท าให้เกิดสมรรถภาพ ทางกาย ด้านความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลัง น้ าขึ้นน้ าลง เมื่อได้รับกิจกรรมใช้เวลา 20 นาท ีจึงท าให้เกิดสมรรถภาพทางกาย ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อท้องและหลัง ลากทางหมากเมื่อได้รับกิจกรรม ใช้เวลา 20 นาที จึงท าให้เกิดสมรรถภาพทางกายด้านระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ภูมินทร์ มีขันหมาก (2552) ได้ท าการศึกษาผลการจัดกิจกรรมนันทนาการที่เน้นการละเล่นของเด็กไทยที่มีต่อคุณค่าทางวัฒนธรรมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมนันทนาการที่เน้นการละเล่นของเด็กไทยที่ส่งผลต่อคุณค่าทางวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน วัดดอน กรุงเทพมหานคร กล่าวคือ นักเรียนมีระดับคุณค่าทางวัฒนธรรมหลังการจัดกิจกรรมสูงขึ้น อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับ สุพิตร สมาหิโต และคณะ (2549) กล่าวว่า สมรรถภาพทางกาย หมายถึง สภาวะของร่างกายที่อยู่ในสภาพที่ดีเพ่ือที่จะช่วยให้บุคคลสามารถท างานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายดี ก็จะสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจ าวัน การออกก าลังกาย การเล่นกีฬา และแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สรุปผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.52) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา พบว่า ความรู้ (t = -6.18) ทักษะ (t = -17.88) สมรรถภาพทางกาย ด้านการจ านวนครั้งต่อนาทีในการลุก-นั่ง (t = -2.80) ด้านการงอตัว (t = -417) ด้านการวิ่งตามระยะทางที่ก าหนด (t = 2.68) เจตคติ (t = 6.64) และคุณธรรม (t = 6.26) โดยใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติท่ีระดับ .05

Page 11: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

วารสารวไลยอลงกรณ์ปรทิัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที ่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558

111

ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ และการศึกษาค้นคว้าต่อไป ข้อเสนอแนะท่ัวไป 1. ผู้สอนต้องท าความเข้าใจขั้นตอนแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างดี มีการอดทนในการรอฟังความคิดเห็นต่าง ๆ จากผู้เรียน ใส่ใจและให้ค าชี้แนะอย่างทั่วถึง ไม่ล าเอียงหรืออคติสร้างความรู้สึกเป็นกันเองระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 2. การจัดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้าน ผู้สอนควรให้ก าลังใจเมื่อผู้เรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมผ่านและมีความสนุกสนาน และท าได้ถูกต้องตามกติกาการเล่นการละเล่นพ้ืนบ้าน เช่น การปรบมือ ชม การให้คะแนน เพ่ือผู้เรียนจะรู้สึกภูมิใจ เกิดความม่ันใจกล้าแสดงออก ข้อเสนอแนะในการท าวิจัยครั้งต่อไป 1. น าชุดการจัดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านไปใช้ในสถานศึกษาที่มิใช่โรงเรียนสาธิต หรือระดับมัธยมศึกษา 2. ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการละเล่นพ้ืนบ้านในตัวแปรอ่ืน โดยการเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว. ชัชชัย โกมารทัต. (2549). กีฬาพืน้เมืองไทยภาคกลาง. กรุงเทพฯ: เยลโล.่ ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ:

ด่านสุทธาการพิมพ์. บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2526). การทดสอบแบบอิงเกณฑ์: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ:

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร. ปริญญา อรจิราพงศ์. (2545). การปฏิรูปการศึกษาไทย: เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและ

ความเสมอภาคทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก. ปานหทัย ทนันไชย. (2558). การละเล่นของเด็กภาคกลาง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก:

http://student.nu.ac.th/sowanee/ (2558, 8 ตุลาคม). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3). (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา.

เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3. ภูมินทร์ มีขันหมาก. (2552). ผลการจัดกิจกรรมนันทนาการที่เน้นการละเล่นของเด็กไทยที่มีต่อ

คุณค่าทางวัฒนธรรม ของนักเรียนประถมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรียนวัดดอน กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนันทนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Page 12: ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการ ...acad.vru.ac.th/Journal/journal

Valaya Alongkorn Review Vol. 5 No. 2 July-December 2015

112

ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2549). รายงานวิจัย เรื่อง การสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพส าหรับเด็กไทย อายุ 7-18 ปี. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการส่งเสริมกีฬาและการออกก าลังกายเพื่อสุขภาพ ในสถาบันการศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้ ส านักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ.

Davies, H. (1971). The Management of Learning. London: McGraw-Hill. Simpson, E. (1972). The Classification of Educational Objectives in the

Psychomotor Domain: The Psychomotor Domain. (3rd ed). Washington, DC.: Gryphon House.