ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภา...

4
ความสัมพันธ์ระหว่าง ยีน HLA-B*15:02 กับการแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens - Johnson syndrome จากยากันชัก carbamazepine และ phenytoin ในชาวไทย (Epilepsia, 49(12):2087–2091, 2008) การแพ้ยา SJS/TEN มีอัตราตายสูงตั้งแต่ 5-35% ต้องรักษาใน ICU หรือ Burn unit ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก (Ghislain PD, Roujeau JC, 2002) ทั้งนี้ยังไม่รวมความเสียหายที่ตามมา จากผลกระทบทางจิต สังคมของผู้ป่วย เช่น การสูญเสียการทำงานจากความพิการ ความรู้สึก หวาดระแวงต่อการแพ้ยาไปตลอดชีวิต ประการสำคัญที่สุด อาจนำไปสูการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากระบบสาธารณสุข ซึ่งก่อให้เกิดภาวะ ความเสื่อมความศรัทธาและไม่ไว้วางใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ สาธารณสุขกับผู้ป่วย ความชุกของการแพ้ยา SJS/TEN ในคนไทยสูงถึงประมาณ 17: 10,000 คนที่ได้รับยา (Locharernkul C et al., 2008) ส่วนชาวยุโรป (Caucasian) มีเพียงประมาณ 1- 6 :10,000 คน ซึ่งในชาวเอเซียพบสูงกว่าชาวยุโรปถึงกว่า 10 เท่า (ภาพที่ 2) ภาพที่ 2 ความชุกของ HLA-B*1502allele ในประชากรโลก พบมากที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำคัญและที่มาของการวิจัย การแพ้ยา ในทางการแพทย์ เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำนายไม่ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยได้รับยาหนึ่งยาใดไปแล้ว จึงสุดแต่ว่าผู้ใดจะ “โชคร้าย” เกิดอาการแพ้จากยานั้น โดยแพทย์เองก็ไม่สามารถระบุว่าผู้ใดจะแพ้และ บอกผู้ป่วยได้ล่วงหน้า การแพ้ยามักเกิดในช่วงที่ได้รับยาใหม่ไม่เกิน 2 เดือน จากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากผิดปกติต่อยาที่เป็นสารแปลกปลอม ส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ส่วนมากพบที่ผิวหนัง การแพ้ยาชนิดที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ การแพ้ยา แบบ Stevens-Johnson syndrome (SJS) และ toxic epidermal necrolysis (TEN) ซึ่งมีอาการผื่นผิวหนัง และต่อมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม แล้วหนังกำพร้าลอกออกเป็นตุ่มน้ำ (blister) จนหลุดออกเหลือแต่หนังแทเป็นบริเวณกว้าง (SJS จะมีผื่นลอกน้อยกว่า 10% ของบริเวณผิวหนังของ ร่างกาย, TEN จะมีผื่นลอกมากกว่า 30% ส่วน SJS/TEN intermediate จะอยู่ระหว่าง 10-30%) (Roujeau JC, 1994) การที่ผิวหนังหลุดลอก ทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่ ตลอดจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ยังเกิดการอักเสบของเยื่อบุได้ เช่น ที่เยื่อบุตา อาจนำไปสู่พังผืดและแผลเป็นที่กระจกตา ทำให้ตาบอดอย่าง ถาวร ในช่องปาก ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และอวัยวะเพศ (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 ผื่นแพ้ยารุนแรง ชนิด SJS/TEN จาก ผู้ป่วยของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภาวิจัยแห่งชาติ รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล และคณะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 7/2553 เมื่อวันที20 ธันวาคม 2553 ได้พิจารณาผลงานวิจัยที่เสนอขอรับรางวัล และมีมติอนุมัติให้ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2553 จำนวน 19 ผลงาน ในสาขาวิชาการต่างๆ รวม 8 สาขาวิชาการ ผลงานของ คณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล “ระดับดี” สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1. ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีน HLA-B* 15:02 กับการแพ้ยาแบบ Stevens-Johnson Syndrome จาก ยากันชัก Carbamazepine และ Phenytoin ในชาวไทย” 2. ผลงานวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยร่วมสหสถาบัน “การเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยและการค้นหาปัจจัย เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวทางป้องกันเชิงระบบ” ต่อหน้า 2

Upload: others

Post on 27-Jun-2020

2 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภา ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/03-04.pdf(ibuprofen, diclofenac) ซ งตรงก บรายงานในประเทศอ

ความสัมพันธ์ระหว่าง ยีน HLA-B*15:02 กับการแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens - Johnson syndrome จากยากันชัก carbamazepine และ phenytoin ในชาวไทย (Epilepsia, 49(12):2087–2091, 2008)

การแพ้ยา SJS/TEN มีอัตราตายสูงตั้งแต่ 5-35% ต้องรักษาในICUหรือBurnunitซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก(GhislainPD,RoujeauJC, 2002) ทั้งนี้ยังไม่รวมความเสียหายที่ตามมา จากผลกระทบทางจิตสังคมของผู้ป่วย เช่น การสูญเสียการทำงานจากความพิการ ความรู้สึกหวาดระแวงต่อการแพ้ยาไปตลอดชีวิต ประการสำคัญที่สุด อาจนำไปสู่ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากระบบสาธารณสุข ซึ่งก่อให้เกิดภาวะ ความเสื่อมความศรัทธาและไม่ไว้วางใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขกับผู้ป่วย ความชุกของการแพ้ยา SJS/TEN ในคนไทยสูงถึงประมาณ 17: 10,000 คนที่ ได้รับยา (Locharernkul C et al., 2008) ส่วนชาวยุโรป (Caucasian) มีเพียงประมาณ 1- 6 :10,000 คน ซึ่งในชาวเอเซียพบสูงกว่าชาวยุโรปถึงกว่า10เท่า(ภาพที่2)

ภาพที่ 2 ความชุกของ HLA-B*1502allele ในประชากรโลก พบมากที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ความสำคัญและที่มาของการวิจัย การแพ้ยาในทางการแพทย์เคยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ทำนายไม่ได้ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับยาหนึ่งยาใดไปแล้ว จึงสุดแต่ว่าผู้ ใดจะ “โชคร้าย” เกิดอาการแพ้จากยานั้น โดยแพทย์เองก็ไม่สามารถระบุว่าผู้ใดจะแพ้และบอกผู้ป่วยได้ล่วงหน้าการแพ้ยามักเกิดในช่วงที่ได้รับยาใหม่ไม่เกิน2เดือน จากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากผิดปกติต่อยาที่เป็นสารแปลกปลอม ส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายส่วนมากพบที่ผิวหนัง การแพ้ยาชนิดที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้แก่การแพ้ยาแบบStevens-Johnson syndrome (SJS) และ toxic epidermal necrolysis (TEN) ซึ่งมีอาการผื่นผิวหนัง และต่อมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วหนังกำพร้าลอกออกเป็นตุ่มน้ำ (blister) จนหลุดออกเหลือแต่หนังแท้เป็นบริเวณกว้าง (SJS จะมีผื่นลอกน้อยกว่า 10% ของบริเวณผิวหนังของร่างกาย,TENจะมีผื่นลอกมากกว่า 30%ส่วนSJS/TEN intermediateจะอยู่ระหว่าง 10-30%) (Roujeau JC, 1994) การที่ผิวหนังหลุดลอกทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่ ตลอดจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ยังเกิดการอักเสบของเยื่อบุได้ เช่นที่เยื่อบุตา อาจนำไปสู่พังผืดและแผลเป็นที่กระจกตา ทำให้ตาบอดอย่างถาวรในช่องปากทางเดินหายใจทางเดินอาหารและอวัยวะเพศ(ภาพที่1)

ภาพที่ 1 ผื่นแพ้ยารุนแรง ชนิด SJS/TEN จาก ผู้ป่วยของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภาวิจัยแห่งชาติ

รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล และคณะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติในการประชุมครั้งที่7/2553เมื่อวันที่20 ธันวาคม 2553 ได้พิจารณาผลงานวิจัยที่เสนอขอรับรางวัลและมีมติอนุมัติให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2553 จำนวน19 ผลงานในสาขาวิชาการต่างๆรวม8 สาขาวิชาการ ผลงานของคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล“ระดับดี” สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน2 ผลงาน ได้แก่ 1. ผลงานวิจัยเรื่อง“การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีน HLA-B*15:02 กับการแพ้ยาแบบ Stevens-Johnson Syndrome จาก ยากันชัก Carbamazepine และ Phenytoin ในชาวไทย” 2.ผลงานวิจัยเรื่อง โครงการวิจัยร่วมสหสถาบัน “การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยและการค้นหาปัจจัยเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวทางป้องกันเชิงระบบ”

ต่อหน้า 2

Page 2: ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภา ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/03-04.pdf(ibuprofen, diclofenac) ซ งตรงก บรายงานในประเทศอ

อุบัติการณ์SJS/TENในประเทศไทยจากคดีฟ้องร้องไปยังองค์การอาหารและยา (อย.) มีประมาณ 1,511 ราย ระหว่าง ปี พ.ศ. 2543 -2552 (FoodandDrugAdministrationThailand, 2010) และที่เป็นข่าวในสื่อมวลชน เช่น กรณีนางดอกรัก ตาบอดจากการแพ้ยาแบบ SJS ในปีพ.ศ.2548(ภาพที่3) ภาพที่ 3 ข่าวการฟ้องร้อง คดีนางดอกรัก แพ้ยาแบบ SJS จนตาบอด

(http://consumersouth.org/paper/289) ยาที่พบว่าทำให้แพ้ชนิด SJS/TEN ได้บ่อยในคนไทย ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ (sulfadiazine, co-trimoxazole, amoxicillin) ยากันชักจากการศึกษาหลายรายงานและจากการรายงานของ อย. ประเทศไทย พบว่าcarbamazepine(CBZ)และphenytoin(PHT)เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ยาลดยูริก (allopurinol) และยาแก้ปวดประเภท NSAIDS(ibuprofen,diclofenac)ซึ่งตรงกับรายงานในประเทศอื่น(RoujeauJC,1994) จากการที่ผู้วิจัยดูแลผู้ป่วยโรคลมชักชายอายุ 20 ปี ที่แพ้ยาชนิดSJSจากCBZรายหนึ่งเมื่อวันที่21กุมภาพันธ์พ.ศ.2549ประกอบกับปฏิกิริยาความวิตกกังวลความไม่เข้าใจและความไม่พอใจจากมารดาที่เกิดอาการแพ้ยาชนิดรุนแรงขึ้นกับผู้ป่วย จึงริเริ่มคิดที่จะหาสารบ่งชี้ทางพันธุกรรม (genetic marker) ที่อาจทำนายอาการแพ้ยารุนแรงชนิด SJS/TEN ได้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันการแพ้ในผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องรับยากันชัก แหล่งเงินทุนสนับสนุนในการทำวิจัย มูลนิธิเทียนส่องใจ เพื่อคนไข้โรคลมชัก และ โครงการรักษา ผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร ในพระอุปภัมภ์ฯ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์หลัก - เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง HLA-B กับ การแพ้ยารุนแรงชนิด SJS จาก ยากันชัก carbamazepineและphenytoinในชาวไทยวัตถุประสงค์รอง - เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง HLA-B กับ การแพ้ยาชนิดไม่รุนแรง (MPE) จากยากันชัก carbamazepineและphenytoinในชาวไทย - เพื่อเป็นแนวทางในการหาสารบ่งชี้ (marker) สำหรับตรวจคัดกรองผู้ป่วยก่อนการใช้ยา เพื่อ ป้องกันการแพ้ยาชนิดรุนแรง ระยะเวลาการทำวิจัย พ.ศ. 2549 ถึงพ.ศ. 2550รวม2 ปี

สรุปผลการวิจัย 1. การศึกษานี้ เป็นการรายงานครั้งแรกในโลกที่พบความสัมพันธ์ระหว่างHLA-B*15:02กับPHT-SJS/TENอย่างมีนัยสำคัญ(p=0.005),Odd Ratio(95%CI); 18.5(1.82-188.40) โดยรายงานจากคนไทย และ ไม่พบความสัมพันธ์กับHLA-Bอื่นอีกทั้งยังเป็นรายงานครั้งแรกในคนไทยที่พบความสัมพันธ์ระหว่าง HLA-B*15:02 กับ CBZ- SJS/TEN อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.0005), Odd Ratio(95%CI); 25.5(2.68-242.61)โดยไม่พบความสัมพันธ์กับHLA-Bอื่นความสัมพันธ์ดังกล่าวพบในคนไทยแท้ทั้งจากCBZและPHT ไม่เฉพาะคนไทยผสม (ที่อาจรับพันธุกรรมมาจากคนจีน) 2. การศึกษายังพบว่าผู้ป่วยบางรายที่แพ้ยา SJS/TEN จาก CBZและมียีน HLA-B*15:02 อาจไม่เกิดการแพ้ยา PHTที่เคยใช้มาก่อน และกลับกันคือบางรายที่แพ้ยาSJS/TENจากPHTและมียีนHLA-B*15:02อาจไม่เกิดการแพ้ยา CBZ ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ บ่งบอกถึงกลไกทางภูมิคุ้มกันว่า ยีน HLA-B*15:02 เกี่ยวข้อง (associate) กับการแพ้ยา แต่ยีนนี้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ (insufficient) ที่จะทำให้เกิดการแพ้ยาดังกล่าวและพบว่าHLA-B*15:02ไม่มีความสัมพันธ์กับการแพ้ยาแบบMPEจาก CBZ หรือ PHT แสดงถึงกลไกทางอิมมูโนพยาธิวิทยาที่แตกต่างกันระหว่างผื่นแพ้ยาชนิดSJS/TENกับMPEซึ่งสอดคล้องกับรายงานอื่น 3. ข้อมูลในงานวิจัยนี้ สามารถนำมาคำนวณสถิติของการเกิดSJS/TEN ในคนไทยได้ โดยประมาณพบว่ามีความชุก 3.3: 1,000 ของ ผู้ป่วยโรคลมชัก และมีอุบัติการในผู้ป่วยที่ใช้ยารายใหม่ราว 2.7:1,000 ในศูนย์โรคลมชักระดับตติยภูมิของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

ภาพที่ 4 การตรวจหา HLA ที่ห้องปฏิบัติการอิมมูโนวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในงานวิจัยนี้

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ประโยชน์โดยตรง 1. การค้นพบความสัมพันธ์ของ HLA-B*15:02 กับ PHT-SJS ในงานวิจัยนี้ นำไปสู่การประกาศโดย US-FDA ในปี ค.ศ. 2008 เพื่อ หลีกเลี่ยงการใช้ CBZ และ PHT ในผู้ที่มาจากประเทศหรือสืบเชื้อสาย มาจากเชื้อชาติที่มีความเสี่ยงสูง ที่ตรวจพบยีน HLA-B*15:02 ให้ผลบวก (U.S.FoodandDrugAdministration2008) 2. การค้นพบในงานวิจัยนี้ นำไปสู่การเพิ่มข้อมูลในฉลากยา ของบริษัทยาต้นตำรับผู้ผลิตPHTเพื่อเตือนถึงการหลีกเลี่ยงการใช้ยาPHT ในกรณีที่ตรวจคัดกรองHLA-B*15:02ให้ผลบวก 3. นำไปสู่การประยุกต์ความรู้ทาง pharmacogenetic มาใช้ ให้เกิดผลจริงในเวชปฏิบัติโดยตรวจคัดกรองHLA-B*15:02ก่อนให้ยากันชักเพื่อทำนายว่าผู้ป่วยรายใดมีโอกาสแพ้ยาชนิดรุนแรงได้ อันนำไปสู่การหลีกเลี่ยงการจ่ายยาCBZและPHTในรายที่มีความเสี่ยงสูงทำให้สามารถป้องกันการแพ้ยารุนแรงชนิดSJS/TENได้ 4. นำไปสู่การเปลี่ยนclinicalpracticeguidelineในเวชปฏิบัติโดยเพิ่มการนำ genetic marker มาคัดกรองผู้ป่วยก่อนการจ่ายยา ที่จำเพาะเพื่อป้องกันการแพ้ยาSJS/TEN

2

Page 3: ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภา ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/03-04.pdf(ibuprofen, diclofenac) ซ งตรงก บรายงานในประเทศอ

5. นำไปสู่การศึกษากลไกทางอิมมูโนวิทยาที่เกี่ยวข้อง ระหว่างHLA-B*15:02กับการแพ้ยารุนแรงชนิดSJS/TENจากยากันชักและกลไกที่ต่างกันระหว่างผื่นแพ้ยาแบบMPEกับSJS/TEN 6. นำไปอธิบายอุบัติการณ์การเกิด SJS/TEN ที่พบบ่อยในคนเอเซีย มากกว่าคนยุโรปถึงกว่า10เท่า 7. นำไปสู่การพัฒนาชุดทดสอบ HLA-B*15:02 ทางอิมมูโนวิทยาสำหรับตรวจคัดกรองผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัยก่อนการใช้ยา ให้สามารถตรวจยีนนี้ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว ในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ของประเทศ ประโยชน์ที่ได้รับตามมา 1. เกิดความตื่นตัว ในวงการแพทย์/วิทยาศาสตร์ ในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับ pharmacogenetic ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยที่HLA-B*15:02เป็นสารชี้วัดตัวหนึ่งที่มีความชัดเจนมากในการนำไปใช้คัดกรองเพื่อป้องกันอาการ ข้างเคียงจากยาในเวชปฏิบัติสมัยใหม่ 2. บุกเบิกความก้าวหน้าในการจ่ายยาแบบ personalizedmedicine ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ ที่กำลังเพิ่มขึ้นในเวชปฏิบัติ (ยีนที่ใช้จริงแล้วขณะนี้ ได้แก่ ยีน HLA-B*57:01 ป้องกันการแพ้ชนิดMPE/HSS จากยาต้านไวรัสเอดส์ abacavir, ยีน HLA-B*35:05 ป้องกันการแพ้จากยาต้านไวรัสเอดส์ nevirapine, ยีนHLA-B*58:01 ป้องกันการแพ้ชนิด SJS/TENจากยารักษาโรคเก๊าallopurinolเป็นต้น 3. ช่วยลดการฟ้องร้องของผู้ป่วยจากกรณีแพ้ยาชนิดรุนแรงเพราะสามารถตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันก่อนจ่ายยาได้ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง 4. กระตุ้นการวิจัยต่างๆอาทิความคุ้มค่าในการคัดกรองHLA-B*15:02, การใช้ marker นี้เพื่อลดอัตรา SJS/TEN ในประเทศไทย และ การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการคัดกรองก่อนใช้ยาอย่างเป็นระบบ(ภาพที่5)

ภาพที่ 5 การศึกษาความคุ้มค่าของ การคัดกรอง HLA-B*15:02 โดยศูนย์โรคลมชัก ในปี ค.ศ. 2009

5. เกิดความตื่นตัวในการวิจัย pharmacogenetic จาก ผลงานการค้นพบในคนไทยร่วมกับผลงานของกลุ่มวิจัยอื่นในโลกในระดับชาติและนานาชาติในประเทศไทย เกิดการประชุมร่วมกันของหลาย หน่วยงานหลายวาระอาทิ ศูนย์โรคลมชัก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์,สวทช, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์,HITAP,สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและของกระทรวงสาธาณสุข และเกิดการวิจัยเพิ่มเติมในหลายประเทศเช่นอินเดียจีนในบางภูมิภาค 6. แนวทางการวิจัยนี้และการนำผลไปใช้ในเวชปฏิบัติ เป็นตัวอย่างสำหรับประเทศในภูมิภาค เอเซียตะวัยออกเฉียงใต้ ที่มีความชุกของ HLA-B*15:02 สูง เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บางส่วนของอินเดียซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา

7. นำไปสู่นโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองจากระบบประกันสุขภาพในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยจาก การใช้ยาบางชนิดที่จำเพาะดังที่เริ่มทำแล้วในจีนไต้หวัน ศักยภาพในการพัฒนาไปสู่ภาคอุตสาหกรรม 1. นำไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตชุดทดสอบ HLA-B*15:02 โดย คนไทยเพื่อใช้ในประเทศไทยและเป็นการพึ่งตนเองตรงกับความต้องการในประเทศไทย และประหยัดเศรษฐกิจจากการนำเข้าชุดทดสอบต่างชาติซึ่งอาจมีความแม่นยำไม่เท่ากับชุดที่ผลิตเองสำหรับคนไทย และชุดทดสอบที่ผลิตโดยคนไทย สามารถแพร่หลายไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน ในภูมิภาคเดียวกัน 2. การพัฒนาชุดทดสอบขนาดเล็กให้เป็นชุดทดสอบที่ทำได้สะดวกและรวดเร็วเป็นการแก้ปัญหาการตรวจHLA-B*15:02ที่ยังมีไม่แพร่หลายแก้ปัญหาการทดสอบ HLA ที่ยุ่งยาก ต้องทำในโรงพยาบาลใหญ่ และ ต้องมีเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการอิมมูโนที่ชำนาญ ได้แก่ การพัฒนาการใช้sequence specific primer ที่จำเพาะ การลดการใช้ PCR ฯลฯ เหมาะสำหรับโรงพยาบาลระดับเล็กที่สามารถจะตรวจได้เอง และผู้ป่วย ไม่ต้องเสียเวลารอผลนานก่อนแพทย์จะเริ่มให้ยา 3. เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตยาที่จะต้องปรับปรุงสลากยาที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะยาเลียนแบบที่ผลิตในประเทศไทย ให้ครอบคลุมข้อมูลการแพ้ยาแบบ SJS/TEN และการตรวจคัดกรอง HLA-B ที่จำเพาะเพื่อป้องกันการแพ้ยา หมายเหตุ บทความนี้ ถูกอ้างอิงจำนวน 38 ครั้ง โดย Google Scholar and Epilepsia. บทความนี้ถูกอ้างอิง เผยแพร่ และขยายความรู้ผ่าน Website ทางการแพทย์และเภสัช ทั้งไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนประมาณกว่า 5,000 รายการ(searchterm:LocharernkulHLA-B*1502)

3

คณะผู้วิจัย 1. รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล ภาควิชาอายุรศาสตร์ 2. นพ.จักริน ลบล้ำเลิศ ภาควิชาอายุรศาสตร์ 3. นพ.ชูศักดิ์ ลิโมทัย ภาควิชาอายุรศาสตร์ 4. รศ.นพ.วิวัฒน์ ก่อกิจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ 5. ผศ.นพ.ทายาท ดีสุดจิต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 6. น.ส.ศิรประภา ทองกอบเพชร ภาควิชาจุลชีววิทยา 7. น.ส.อรทัย กังวาลชิรธาดา ภาควิชาจุลชีววิทยา 8. รศ.ดร.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ ภาควิชาจุลชีววิทยา 9. ผศ.พญ.กัญญา ศุภปีติพร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ 10.ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์

รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

Page 4: ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภา ...pr.md.chula.ac.th/spotlight/year3/03-04.pdf(ibuprofen, diclofenac) ซ งตรงก บรายงานในประเทศอ

หน่วยประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตึกอานันทมหิดล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร. (02) 256 4183, 256 4462 โทรสาร (02) 252 5959 E-mail: [email protected],[email protected]

ติดตามอ่าน “สารสัมพันธ์” ฉบับ “Spotlight” ได้ที่ http://www.md.chula.ac.th/thai http://www.md.chula.ac.th http://www.facebook.com/prmdcu http://www.twitter.com/prmdcu

โครงการวิจัยร่วมสหสถาบัน “การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทย และการค้นหาปัจจัยเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแนวทางป้องกันเชิงระบบ”

ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ และคณะ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

คณะผู้วิจัย 1. ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. รศ.นพ.ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. ศ.พญ.สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 4. รศ.พญ.มะลิ รุ่งเรืองวานิช โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 5. ศ.นพ.สมบูรณ์ เทียนทอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6. รศ.นพ.ธวัช ชาญชญานนท์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 7. นพ.สุรศักดิ์ ถนัดศีลธรรม วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ผลงานวิจัย “ ระดับดี ” 2553 : สภาวิจัยแห่งชาติ

จากการเก็บข้อมูลการให้ยาระงับความรู้สึกประมาณ 200,000 รายในโรงพยาบาลขนาดต่างๆ 20 โรงพยาบาลในช่วงเวลา 18 เดือน ในลักษณะทะเบียนโรคพบอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นใน 24 ชั่วโมง (31:10,000) เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง(28:10,000) ภาวะระดับออกซิเจนต่ำ (32:10,000) ภาวะสำลักเข้าปอด (2.7:10,000) การใส่ท่อหายใจเข้าหลอดอาหาร (4:10,000) การใส่ท่อหายใจซ้ำ(20:10,000)การใส่ท่อหายใจยาก(22:10,000)การใส่ท่อหายใจไม่ได้(3:10,000)ภาวะรู้ตัวระหว่างผ่าตัด(3.8:10,000)ภาวะไม่รู้สึกตัว/ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง/ชัก (4.8:10,000) การบาดเจ็บต่อเส้นประสาท (2:10,000) การให้เลือดผิดหมู่(0.2:10,000) สงสัยภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย (2.7:10,000) ภาวะแพ้ยาแบบอนาไฟแลกตอยด์/อนาไฟแลกซิส(2.1:10,000) ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางวิสัญญี (3.4:10,000) การเกิดอุบัติเหตุต่อบุคลากร (1.5:10,000) การเข้าพักในโรงพยาบาล โดยไม่ได้คาดหมาย (1:10,000) การเข้าหออภิบาลผู้ป่วยหนักโดยไม่ได้คาดหมาย (7.2:10,000) ฯลฯ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ภาวะระดับออกซิเจนต่ำ ภาวะหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง อุบัติการณ์ที่พบบ่อยซึ่งอาจป้องกันได้ ที่เกี่ยวข้องกับวิสัญญีได้แก่อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบหายใจภาวะmalignanthyperthermiaพบได้1:15,000ซึ่งไม่แตกต่างจากประเทศอื่น สำหรับปัญหาภาวะหัวใจหยุดเต้นหลังการฉีดยาชาเข้าน้ำไขสันหลังพบอุบัติการณ์ 2.7:10,000 ซึ่งไม่แตกต่างจากประเทศทางตะวันตก พบบ่อยในผู้ป่วยผ่าท้องคลอด และการผ่าตัดขาหรือสะโพก อย่างไรก็ตามอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้ค่อนข้างสูงทำให้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางเวชปฏิบัติตลอดจนนโยบายการเพิ่มจำนวนวิสัญญีแพทย์และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการฟื้นชีพ โดยสรุปชุดโครงการนี้มีลักษณะเป็นทะเบียนโรค (Registry) ขนาดใหญ่ทำให้ทราบอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนชนิดต่างๆในประเทศไทยและปัจจัยเกี่ยวข้องตลอดจนแนวทางป้องกันเชิงระบบของภาวะแทรกซ้อนต่างๆซึ่งรวมอยู่ในนิพนธ์ต้นฉบับ32 เรื่อง เป็นผลงานร่วมกันระหว่าง วิสัญญีแพทย์ ของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (โรงพยาบาลศิริราช และ โรงพยาบาลรามาธิบดี)มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข