application of wish technique in improving working condition … · 2015-07-07 ·...

13
ปีท่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 45 Application of WISH Technique in Improving Working condition Safety and Health of Informal Workers in Muang District, Surin Province Abstract Jarucha Kaphuthin, B.Sc. M.Ed.* Informal work sector shares a significant economy production of the country, However, workers in this sector usually work in high risk working conditions. The Work Improvement for Safe Home (WISH) technique has been developed to provide the workers with practical ways to improve their working conditions and work behaviors. This participatory action research aimed to compare the results before and after the use of WISH technique among informal workers groups form 3 sub-districts in Maung district, Surin province. There were 110 workers participated in this study. Data were collected using WISH checklist that comprised 37 items which were categorized into 5 topics:material storage and handling, work stations, machine safety, physical environment, and welfare facilities and work organization. The reliability of the tool is 0.87, using Cronbach’s alpha. The data were analyzed using percentage, means, standard deviation and paired t-test. The study was conducted during March-September, 2007. Ninety-five workers, which were 86.36% of all participants, completed the process. Results showed that 78.78% of them properly improved their working conditions. The difference of scores before and after the implementation of the WISH technique was statistically significant (p=0.01). In conclusion, the informal workers have learned through the participatory oriented process in enhancing their working condition, safety, and health. These findings suggested the benefits in extending this process to other informal worker groups in order to promote their workplace safety and good work practice. Keywords : WISH Technique, work improvement, informal workers, Surin province *Department of Occupational Medicine, Surin hospital, Surin province. 005-������ �������-��������������������.indd 45 7/7/2011 12:08:18 PM

Upload: others

Post on 27-Jul-2020

0 views

Category:

Documents


0 download

TRANSCRIPT

Page 1: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 45

Application of WISH Technique in Improving Working condition Safety and Health of Informal Workers in Muang District,

Surin Province

Abstract Jarucha Kaphuthin, B.Sc. M.Ed.*

Informal work sector shares a significant economy production of the country, However, workers in th is sector usual ly work in h igh r isk working condi t ions. The Work Improvement for Safe Home (WISH) technique has been developed to provide the workers with practical ways to improve their working conditions and work behaviors. This participatory action research aimed to compare the results before and after the use of WISH technique among informal workers groups form 3 sub-districts in Maung district, Surin province. There were 110 workers participated in this study. Data were col lected using WISH checkl ist that comprised 37 i tems which were categorized into 5 topics:material storage and handling, work stations, machine safety, physical environment, and welfare faci l i t ies and work organization. The reliability of the tool is 0.87, using Cronbach’s alpha. The data were analyzed using percentage, means, standard deviation and paired t-test. The study was conducted during March-September, 2007. Ninety-f ive workers, which were 86.36% of al l participants, completed the process. Results showed that 78.78% of them properly improved their working conditions. The difference of scores before and after the implementation of the WISH technique was statistically significant (p=0.01). In conclusion, the informal workers have learned through the participatory oriented process in enhancing their working condition, safety, and health. These findings suggested the benefits in extending this process to other informal worker groups in order to promote their workplace safety and good work practice. Keywords : WISH Technique, work improvement, informal workers, Surin province

*Department of Occupational Medicine, Surin hospital, Surin province.

005-������ �������-��������������������.indd 45 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 2: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย46

* พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

สำนักงานสถิ ติแห่งชาติใน พ.ศ.2550 พบว่า มีผู้มีงานทำ 37.1 ล้านคน จำแนกเป็นแรงงาน นอกระบบ 23.3 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 62.7 เ มื่ อ เ ป รี ย บ เ ที ย บ กั บ พ . ศ . 2 5 4 8 มี แ ร ง ง า น

บทนำ แรงงานนอกระบบมีบทบาทสำคัญในภาค ก า ร ผ ลิ ต ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ แ ล ะ ถื อ เ ป็ น แ ร ง ง า น ส่ วนใหญ่ของปร ะ เท ศ จ ากการ สำร วจของ

การประยุกต์ใช้เทคนิค WISH ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสุขอนามัยของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

ภาคการผลิต ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ จารุชา กะภูทิน, วท.บ. ศษ.ม.*

แรงงานนอกระบบมีบทบาทสำคัญในภาคการผลิตของประเทศ แต่มักประสบกับปัญหา สภาพการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน เครื่องมือแบบ สำรวจความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้ทำงานที่บ้าน (WISH:Work Improvement for Safe Home) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้กลุ่มแรงงานมีความรู้ ความเข้าใจ และนำไปปรับปรุง สภาพการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้อง ปลอดภัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้เทคนิค WISH ในกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบ ภาคการผลิตจาก 3 ตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 110 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบ เจาะจง ตามความพร้อมและความสมัครใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจซึ่งพัฒนาจากแบบ สำรวจความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้ทำงานที่บ้าน (WISH) มีทั้งหมด 37 รายการ ประกอบด้วย หัวข้อ “การจัดเก็บและการขนย้ายวัสดุสิ่งของ” “บริเวณที่ทำงานหรือจุดที่ปฏิบัติงาน” “ความปลอดภัย ในการทำงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์” “สิ่งแวดล้อมและสถานที่ทำงาน” “ความสะดวกสบายและ การสร้างเสริมสุขภาพในการทำงานและการจัดรูปงาน” ค่าความเชื่อมั่นของแบบสำรวจเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และการทดสอบค่า ที (paired t-test) ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน มีนาคม-กันยายน พ.ศ.2550 ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่เข้าร่วมจนครบกระบวนการมีทั้งหมด 95 คน (ร้อยละ 86.36) มีการ ปรับปรุงสภาพการทำงานได้ถูกต้อง เหมาะสมโดยเฉลี่ย ร้อยละ 78.78 คะแนนการปรับปรุงสภาพ การทำงานหลังการใช้เทคนิค WISH เทียบกับก่อนใช้ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กลุ่มตัวอย่างเกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ และ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วยตนเอง ผลสำเร็จที่ได้ควรนำไปขยายผลการดำเนินงาน ยังกลุ่มแรงงานนอกระบบอื่นต่อไป เพื่อส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนมีพฤติกรรมการทำงานที่ถูกต้องและเหมาะสมคำสำคัญ : เทคนิค WISH, การปรับปรุงสภาพการทำงาน, แรงงานนอกระบบ, จังหวัดสุรินทร์

005-������ �������-��������������������.indd 46 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 3: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 47

น อ ก ร ะ บ บ จ ำ น ว น 2 2 . 5 ล้ า น ค น คิ ด เ ป็ น ร้อยละ 62.1 โดยพบว่ามีแรงงานนอกระบบ เพิ่มขึ้น 7 แสนคนในระยะเวลาสองปี (1-5) แต่ แรงงานนอกระบบเหลา่นีม้กัประสบกบัปญัหาสภาพ การทำงานที่ เสี่ยงต่อการสัมผัสปัจจัยอันตราย และมีปัญหาสุขภาพที่ เกี่ ยว เนื่ องมาจากการ ทำงาน โดยเฉพาะปัญหาด้านการยศาสตร์ การทำงานอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ ไม่ เป็น ไปตามมาตรฐาน รวมถึงอุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นจาก เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการทำงาน(6-8) จาก รายงานการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2548- 2550 ของสำนักงานสถิติแห่ งชาติ เกี่ ยวกับ ปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงานและความ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน พบว่าผู้มีงานทำที่อยู่ ในแรงงานนอกระบบ จำนวน 23.3 ล้านคน มี ปัญหา ร้อยละ 12.9 และ 8.8 ตามลำดับ โดยหาก เป็นปัญหาด้านสภาพแวดล้อม พบมีปัญหา เ รื่ อ ง อิ ริ ย า บ ถ ใ น ก า ร ท ำ ง า น ร้ อ ย ล ะ 3 6 . 5 แสงสว่ างไม่ เพียงพอ ร้ อยละ 21 .8 ปัญหา ด้านฝุ่นละออง ควัน กลิ่น ร้อยละ 19.5 ส่วน ปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยจากการทำงาน พบ ปัญหาการได้รับสารเคมีเป็นพิษมากที่สุด ร้อยละ 58.3 รองลงมาเป็นการทำงานกับเครื่องจักรหรือ เครื่องมือที่ เป็นอันตราย ร้อยละ 19.0(3,5) จาก การวิจัยของกาญจนา นาถะพินธุและคณะ(9) พบว่าสภาพการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมในครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความไม่ เหมาะสมในการจัดการด้านสภาพ แวดล้อมหลายด้ าน เป็นส่ วนใหญ่ ซึ่ งส่ งผล กระทบต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ ได้แก่ ความซ้ำซากของงาน และอิริยาบถของผู้ทำงาน ขณะปฏิบัติงาน มีการก้มหลังและคอ และมี การใช้กล้ามเนื้อบางส่วนที่มากเกิน(9) อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีแรงงานนอกระบบภาคการผลิต

จำนวนมากที่ต้องทำงานในภาวะที่เสี่ยงต่อการ เกิดปัญหาสุขภาพ และความไม่ปลอดภัยในการ ทำงาน เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ/หรือสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสม รวมทั้ง ขาดความรู้ในการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน ใ ห้ มี ค ว า ม เ ห ม า ะ ส ม แ ล ะ ป ล อ ด ภั ย ทั้ ง ต่ อ ตนเอง ครอบครัว และชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับ การศึกษาปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ ในจั งหวัดภู เก็ต ที่ พบว่ าแรงงานนอกระบบ ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา ด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการ ทำงาน รวมทั้งขาดโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการ ในการให้บริการด้านสุขภาพของรัฐ(6,7) อีกทั้งยัง ไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานและ จากภาครัฐโดยเฉพาะด้านสุขภาพและความ ปลอดภัยในการทำงาน กลุ่มแรงงานดังกล่าว จึงควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ในการปรับปรุง สภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย และมีพฤติกรรมการทำงานที่ถูกต้อง เหมาะสม การใช้ เทคนิคการปรับปรุ งสภาพการทำงาน สำหรับผู้ทำงานที่บ้าน (Work Improvement for Safe Home, WISH) ที่อาศัยกระบวนการมี ส่ วนร่ วมตั้ งแต่การค้นหาและประเมินปัจจัย เสี่ยงในการทำงาน สภาพการทำงาน มีการ วางแผน และแก้ไขปรับปรุงสภาพการทำงาน ช่ วยให้ผู้ ทำงานที่บ้ านมีส่ วนร่ วมในการดูแล จัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงานได้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้เทคนิค WISH ในกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบภาคการผลิต จาก 3 ตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

005-������ �������-��������������������.indd 47 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 4: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย48

ภาคการผลิต และเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ที่รับผิดชอบหมู่บ้านดังกล่าวมีความพร้อมและ สมัครใจเข้าร่วมดำเนินการวิจัย ร่วมกันกำหนด วิธีการ และแผนการดำเนินงานวิจัย 2) การเตรียม ชุมชน โดยประสานผู้นำชุมชนและอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป้าหมาย ชี้แจง รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน วิจัย เพื่อร่วมกำหนดวัน เวลา สถานที่ สำหรับ จัดประชุมชี้แจงกลุ่มแรงงานนอกระบบภาค การผลิต 3) การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดย ประสานแรงงานนอกระบบภาคการผลิตใน หมู่บ้านเป้าหมายเข้าร่วมประชุม เพื่อชี้แจง วัตถุประสงค์ ขั้ นตอนการดำเนินงาน และ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้กลุ่มแรงงานนอกระบบใช้ เป็นข้อมูล ประกอบการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการตามความ พร้อม และความสมัครใจ ขั้นที่ 2 ขั้นตอนการสร้างความรู้ และ วิ เคราะห์ปัจจัย เสี่ ยงจากสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสุขอนามัย แล้วหาวิธีแก้ไข โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม สนับสนุนให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง และการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ใช้กระบวนการ กลุ่มผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางบวก กระตุ้น ให้เชื่อในประโยชน์ของการปรับปรุงสภาพการ ทำงาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ทำงาน สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม เพื่อ เพิ่มทักษะและเสริมสร้างศักยภาพของตนเอง ให้สามารถดูแลจัดการด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยจดัอบรมเชงิปฏบิติัการใหก้บัแรงงานนอกระบบ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มๆ ละ 2 วัน รายละเอียด กิจกรรมประกอบด้วย 1) ชี้แจงวัตถุประสงค์ ของโครงการวิจัย 2) อธิบาย แนะนำกิจกรรม

วัสดุและวิธีการ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) ประชากรทีศ่กึษา คอื แรงงานนอกระบบภาคการผลติ อ.เมอืง จ.สรุนิทร ์จำนวน 20 ตำบล กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง ตามความพร้อมและความสมัครใจ ได้ผู้ประกอบอาชีพทอผ้าไหมจาก 2 ตำบล จำนวน 80 คน และผู้ประกอบอาชีพทำเครื่องจักสานจาก 1 ตำบล จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 110 คน ซึ่งมีผู้ร่วมทำการศึกษา คือ คณะวิจัย เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ ซึ่งพัฒนาจากแบบสำรวจความปลอดภัยในการ ทำงานสำหรับผู้ทำงานที่บ้าน โดยความร่วมมือ ของเครือข่ายผู้รับงานไปทำที่บ้าน(10) เครือข่าย ผู้หญิงอีสาน ฝ่ายการยศาสตร์และศูนย์ความ ปลอดภัยในการทำงาน นครราชสีมา และคณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จาก ข้อคำถาม 48 รายการ เหลือ 37 รายการ แบบสำรวจมีค่ าความเชื่ อมั่ น เท่ ากับ 0 .87 ลักษณะคำถามในแต่ละข้อคำถามเป็นคำถาม แบบผสม ซึ่งมีทั้งคำถามปลายปิด และปลาย เปิดอยู่ ในข้อเดียวกัน โดยมีคำตอบให้ เลือก ตอบเชิงบวกหรือลบ กรณีที่ เลือกตอบเชิงลบให้ผู้ตอบเขียนรายละเอียดที่ต้องปรับปรุงให้ถูกต้อง เหมาะสมตามประเด็นของข้อคำถาม แบบสำรวจแบ่งเป็น 5 หมวด การแปลผลคะแนน ใช้วิธี 0-1 (Zero-one method) ขั้นตอนการดำเนินงาน แบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ได้แก่ 1) การเตรียม ผู้วิจัย โดยประชุมชี้แจงเพื่อร่วมกำหนดหมู่บ้าน เป้าหมาย โดยเลือกหมู่บ้านที่มีแรงงานนอกระบบ

005-������ �������-��������������������.indd 48 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 5: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 49

ตัวอย่างจัดทำแผนและนำเสนอแผนการปรับปรุงสภาพการทำงาน สิ่งแวดล้อมและสถานที่ทำงาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน สุขอนามัย และการสร้างเสริมสุขภาพ ขั้นที่ 4 ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน โดย ให้กลุ่มตัวอย่างดำเนินการปรับปรุงสภาพการ ทำงาน สิ่งแวดล้อม และสถานที่ทำงาน ภายใต้ การดูแลช่วยเหลือซึ่ งกันและกันของสมาชิก ภายในกลุ่ม ใช้ระยะเวลาดำเนินการปรับปรุง 3 เดือน และในระหว่างที่กลุ่มตัวอย่างดำเนินการ ป รั บ ป รุ ง ส ภ า พ ก า ร ท ำ ง า น นี้ ค ณ ะ วิ จั ย ไ ด้ด ำ เ นิ น ก า ร ต ร ว จ ส ม ร ร ถ ภ า พ ก า ร ม อ ง เ ห็ น ตรวจวัดความดันลูกตา และตรวจวัดระดับความ เข้มของแสงสว่าง ณ จุดปฏิบัติงานให้กับกลุ่ม ตัวอย่าง แจ้งผลการตรวจ และให้อาชีวสุขศึกษา เกี่ยวกับการจัดสภาพแสงสว่างให้เหมาะสมกับ สภาพการทำงาน และท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง เป็นต้น ขั้นที่ 5 ขั้นตอนการสำรวจซ้ำหลังการ ปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างดำเนินการสำรวจโดยใช้ แบบสำรวจทำการสำรวจซ้ำหลังการปรับปรุง ขั้นที่ 6 ขั้นติดตามประเมินผล คณะวิจัย เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เยี่ยมติดตามการ ปรับปรุงสภาพการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ภายหลังการสำรวจซ้ำ และถ่ายภาพภายหลังการ ปรับปรุง ให้คำชื่นชม และให้กำลังใจในการพัฒนาศักยภาพที่ยังขาด ขัน้ที ่7 ขัน้สรปุและนำเสนอผลการดำเนนิงาน ใช้รูปแบบการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อ นำเสนอผลการปรับปรุงสภาพการทำงาน นำเสนอ ภาพก่อนและหลังการปรับปรุง ภาพตัวอย่างดีๆ ที่สมาชิกกลุ่มนำมาใช้ในการปรับปรุง เปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างได้นำเสนอผลการปรับปรุงสภาพ

แนะนำแบบสำรวจ 3) นำเสนอเนื้อหา หลักการ และยกตัวอย่างประกอบเกี่ยวกับการจัดเก็บและ การขนย้ายวัสดุสิ่งของ บริเวณที่ทำงานหรือจุด ที่ปฏิบัติงาน ความปลอดภัยในการทำงานกับ เครื่องจักรและอุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและสถานที่ ทำงาน ความสะดวกสบายและการสร้างเสริมสุขภาพในการทำงาน โดยเน้นให้กลุ่มตัวอย่าง เกิดการรับรู้และตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงจาก กระบวนการทำงาน และสภาพการทำงานของตน เพื่ อ ให้มี เ จตคติที่ ถู กต้ อง และนำไปสู่ การ ปรับปรุ งสภาพการทำงาน ความปลอดภัย สุขอนามัย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ทำงาน 4) แบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นกลุ่มย่อย จัดให้แต่ละกลุ่มลงดูสถานที่จริง เพื่อสำรวจ สถานที่ทำงาน/จุดที่ปฏิบัติงาน โดยใช้แบบสำรวจ เป็นเครื่องมือในการสำรวจ แต่ละกลุ่มจะมี คณะวิจัย เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้ านเป็น ผู้ประสานและสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ 5) กลับมาประชุมกลุ่มย่อย และให้ แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมแบบสำรวจในแต่ละ หัวข้อที่ได้ไปพบมา โดยให้นำเสนอใน 3 ข้อที่ดี และ 3 ข้อที่ต้องปรับปรุงในแต่ละหมวด นำเสนอ ภาพกิจกรรมขณะสำรวจ และภาพสถานที่ ทำงานหรือจุดปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม ใน ขั้นตอนนี้คณะวิจัยได้กระตุ้นให้ทุกคนได้แสดง ความคิดเห็น ใช้กระบวนการกลุ่มสนับสนุนให้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นตอนการสร้างแนวทางพัฒนา และการวางแผนปฏิบัติการ เพื่ อหาวิธีการ และทางเลือกในการปรับปรุงสภาพการทำงาน ตลอดจนการจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไข และปรับปรุง มีการสนับสนุนภายในกลุ่มเพื่อ พัฒนาศักยภาพในส่ วนที่ ขาด โดยให้กลุ่ ม

005-������ �������-��������������������.indd 49 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 6: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย50

ผลการศึกษา การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ครั้งนี้ ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน พ.ศ.2550 กลุ่มตัวอย่างเข้าอบรม 110 คน เยี่ยมติดตามการปรับปรุงได้ 95 คน (ร้อยละ 86.36) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 96.8) อายุเฉลี่ย 44.37 ปี (SD.=11.25) อายุต่ำสุด 18 ปี สูงสุด 68 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 78.90 ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 20.00 และระดับอนุปริญญา ร้อยละ 1.10 ผลสำรวจการปรบัปรงุสภาพการทำงานของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมตลอดโครงการ พบว่า - คะแนนการปรับปรุงสภาพการทำงาน ของกลุ่มตัวอย่างหลังการใช้ เทคนิค WISH สูงกว่าก่อนใช้เทคนิค WISH อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 - ห ลั ง ก า ร ใ ช้ เ ท ค นิ ค W I S H ก ลุ่ ม ตัวอย่างมีการปรับปรุงสภาพการทำงาน ความ ปลอดภัย และสุขอนามัย ได้ถูกต้อง เหมาะสม ร้อยละ 78.78 รายละเอียดการปรับปรุงสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสุขอนามัยของกลุ่มตัวอย่าง ก่อน และหลังการใช้เทคนิค WISH จำแนกตาม หมวด และรายข้อคำถาม ดังภาพแสดงก่อน และหลังการปรับปรุง และตาม ตาราง 1

การทำงาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ความภาคภูมิใจจากการร่วมกิจกรรม ตลอดจน ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ ์และเรียนรู้ จากตัวอย่างที่ดี ให้แต่ละคนได้ เรียนรู้ความสำเร็จ อุปสรรค ได้เห็นแนวทางแก้ไข ปรับปรุงสภาพการทำงาน มีการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการทำงานให้ถูกต้องเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ คะแนนก่อนและหลังการใช้เทคนิค WISH โดย ใช้การทดสอบค่า ที (paired t-test)

นิยามศัพท์ เทคนิค WISH:เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ทำงาน ที่ บ้ า น มี ส่ ว น ร่ ว ม ใ น ก า ร ดู แ ล จั ด ก า ร ด้ า น อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ได้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสำรวจความปลอดภัย ในการทำงานสำหรับผู้ทำงานที่บ้าน (WISH: Work Improvement for Safe Home) เป็น เครื่องมือสำหรับค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ จากกระบวนการทำงาน สภาพการทำงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แล้ววางแผนการ ปรับปรุงสภาพการทำงาน และลงมือแก้ไข ปรับปรุงด้วยตนเอง

005-������ �������-��������������������.indd 50 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 7: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 51

ภาพ ก่อน-หลัง การปรับปรุง

ก่อน หลัง

มีและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมและเพียงพอ

มีการเก็บสี และสารเคมีอันตรายไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ปลอดภัย พ้นมือเด็ก

ก่อน หลัง

005-������ �������-��������������������.indd 51 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 8: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย52

ตาราง 1 เปรียบเทียบผลการปรับปรุงสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสุขอนามัยของกลุ่มตัวอย่าง ก่อน และหลังการใช้เทคนิค WISH

รายการคะแนนการปรับปรุง

ก่อน (%) หลัง (%)

หมวด “การจัดเก็บและการขนย้ายวัสดุสิ่งของ”1. มีการนำของทุกอย่างที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำออกจากบริเวณที่ทำงาน2. มีชั้นวางของที่สะดวก เพียงพอ และเป็นสัดส่วนสำหรับเก็บ เครื่องมือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนต่างๆ และผลผลิต3. ใช้รถเข็น กระบะ ล้อเลื่อนหรือกลไกอื่นๆ เพื่อช่วยขนย้ายของหนัก4. มีทางเดินโล่งเตียน กว้าง และเรียบ เหมาะสำหรับขนย้ายหมวด “บริเวณที่ทำงานหรือจุดที่ปฏิบัติงาน”5. ใช้คีม ปากคีบ ตัวหนีบ หรืออุปกรณ์อื่นเพื่อยึดจับชิ้นงานขณะ ทำงาน6. ความสูงของเครื่องจักร อุปกรณ์ และจุดที่ปฏิบัติงานต่างๆ อยู่ใน ระดับที่เหมาะสมกับการทำงาน ทำให้ไม่ต้องงอตัว ยกแขนสูง หรือคุกเข่า7. คนทำงานสามารถเปลี่ยนท่าทาง ยืนและนั่งสลับกันในขณะทำงาน8. จัดให้มีเก้าอี้ ม้านั่งที่มีความสูงพอเหมาะ และมีพนักพิงที่แข็งแรงหมวด “ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์”9. ใช้อุปกรณ์ผลัก ดัน ตัก หรือโกยชิ้นงานเข้าเครื่องจักรเพื่อหลีกเลี่ยง อันตราย10. มีการตรวจเช็ค และบำรุงรักษาก่อนใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และ ซ่อมแซมชิ้นส่วนที่ชำรุดเป็นประจำหมวด “สิ่งแวดล้อม และสถานที่ทำงาน”11. รู้ถึงวิธีการใช้ วิธีจัดเก็บ และการป้องกันอันตรายจากสารเคมี ที่ใช้อยู่ 12. มีการใช้สารเคมีที่มีอันตรายน้อยแทนสารเคมีที่มีอันตรายมาก13. มีการเก็บสี กาว และสารเคมีอันตราย เช่น ทินเนอร์ เบนซิน ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ปลอดภัย พ้นมือเด็ก14. จัดให้มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษ การป้องกันอันตรายจาก สารเคมี พร้อมกับวิธีการปฐมพยาบาล สำหรับผู้ที่ใช้และเกี่ยวข้อง กับสารเคมี

95.889.5

90.598.9

83.2

87.4

98.983.2

42.1

88.4

66.3

58.961.1

50.5

75.874.7

83.289.5

83.2

76.8

90.570.5

37.9

88.4

52.6

52.646.3

27.4

005-������ �������-��������������������.indd 52 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 9: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 53

ตาราง 1 เปรียบเทียบผลการปรับปรุงสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสุขอนามัยของกลุ่มตัวอย่าง ก่อน และหลังการใช้เทคนิค WISH (ต่อ)

รายการคะแนนการปรับปรุง

ก่อน (%) หลัง (%)

15. มีการเขียนชื่อสารเคมีติดที่ขวดหรือภาชนะบรรจุ16. คนทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตรายต่างๆ ได้ล้างมือ ฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ ตลอดจนอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าหลังเสร็จงานทุกครั้ง 17. มีเสื้อผ้าชุดทำงานโดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องทำงานสัมผัสกับ สารเคมีอันตราย และมีการแยกซักจากเสื้อผ้าอื่นๆ18. มีและใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ เหมาะสมและ เพียงพอ เช่น แว่นตานิรภัย หน้ากากป้องกันสารพิษ รองเท้า และถุงมือ19. รู้วิธีการใช้ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อย่างถูกวิธี20. มีการตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเป็นประจำ21. มีการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติอย่างเต็มที่22. จัดให้มีดวงไฟเฉพาะที่ หรือ ดวงไฟปรับได้ เพื่อให้มีแสงสว่าง เพียงพอ และเหมาะสมกับงาน23. มีการทำความสะอาด ดูแลรักษาอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง และ เปลี่ยนดวงไฟเป็นประจำ24. มีฝ้าเพดาน และฉนวนเพื่อป้องกันความร้อนที่หลังคา และฝาบ้าน25. มีการเพิ่มช่องระบายอากาศที่หลังคา ฝาบ้าน และเพิ่มหน้าต่าง หรือประตู เพื่อระบายอากาศที่เหมาะสม26. มีการย้ายแหล่งกำเนิดความร้อน เสียง ควัน ไอของสารเคมี ออกจากจุดปฏิบัติงานและที่พักอาศัย หรือมีฉากกั้นที่เหมาะสม27. มีทางออก เช่น ประตู หน้าต่าง ที่ไม่มีสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 2 ทาง28. มีการตรวจเช็คดูแลสายไฟ ปลั๊กไฟของเต้าเสียบให้อยู่ในสภาพ ที่เหมาะสม และปลอดภัยอยู่เสมอ29. การพ่วง เชื่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้มีการคำนึงถึงขนาดการใช้งาน

56.862.1

37.9

22.1

51.6

48.489.585.3

51.6

54.780.0

46.3

94.783.2

85.3

58.965.3

61.1

51.6

63.2

61.197.988.4

82.1

55.891.6

52.6

94.794.7

91.6

005-������ �������-��������������������.indd 53 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 10: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย54

หมวด “ความสะดวกสบายและการสรา้งเสรมิสขุภาพในการทำงาน และการจัดรูปงาน”30. มีชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม มีช่วงเวลาพักระหว่างการทำงาน และมีการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อลดความเมื่อยล้า31. มีน้ำดื่มที่สะอาดในสถานที่ทำงานอย่างเพียงพอ32. มีห้องน้ำ ห้องสุขาที่สะอาด33. มีที่รับประทานอาหารที่สะอาด สะดวก แยกเป็นสัดส่วนจาก จุดปฏิบัติงาน34. มียาสามัญประจำบ้าน อุปกรณ์ปฐมพยาบาล35. มีการสำรองวัตถุดิบ เพื่อให้การทำงานต่อเนื่องสม่ำเสมอ ไม่ขาดตอน36. มีการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกันตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุง การผลิต37. มีการจัดลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อช่วยให้การทำงานต่อเนื่อง รวดเร็วขึ้น

ตาราง 1 เปรียบเทียบผลการปรับปรุงสภาพการทำงาน ความปลอดภัย และสุขอนามัยของกลุ่มตัวอย่าง ก่อน และหลังการใช้เทคนิค WISH (ต่อ)

รายการคะแนนการปรับปรุง

ก่อน (%) หลัง (%)

94.7

60.097.987.4

45.374.7

61.1

91.6

98.9

89.597.994.7

85.393.7

61.1

94.7

วิจารณ์ หลังการใช้เทคนิค WISH พบว่าในภาพ รวมกลุ่ มตั วอย่ างมีการปรับปรุ งสภาพการ ทำงาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ตลอดจนมีสุขอนามัยดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่าง ได้รับรู้สภาพปัญหาของตนเอง เกิดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่จะค้นหา ปัจจัยอันตรายต่อสุขภาพ เกิดความตระหนัก ที่จะลงมือแก้ไข และปรับปรุงสภาพการทำงาน ให้ปลอดภัย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ทำงานให้ถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเอง ภายใต้ การดแูลชว่ยเหลอืซึง่กนัและกนัของสมาชกิภายใน

หลังการใช้เทคนิค WISH กลุ่มตัวอย่าง มีการปรับปรุงในหมวด “การจัดเก็บและการ ขนย้ายวัสดุสิ่งของ” หมวด “บริเวณที่ทำงาน หรือจุดที่ปฏิบัติงาน” หมวด “ความปลอดภัย ในการทำงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์” หมวด “สิ่งแวดล้อมและสถานที่ทำงาน” หมวด “ความ สะดวกสบายและการสร้างเสริมสุขภาพในการ ทำงานและการจัดรูปงาน” ได้ถูกต้องเหมาะสม เฉลี่ย ร้อยละ 93.7, 88.2, 65.3, 70.9 และ 89.5 ตามลำดับ

005-������ �������-��������������������.indd 54 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 11: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 55

เกี่ยวกับปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มแรงงานนอก ระบบในจังหวัดภูเก็ตที่พบว่าแรงงานนอกระบบ เคยได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 11.4 แต่เป็นอุบั ติ เหตุเล็กน้อยไม่ ต้องเข้ารักษาใน สถานบริการ(6) ประกอบกับกลุ่มตัวอย่างมีความ เคยชินกับวิธีปฏิบัติแบบเดิม จึ งทำให้กลุ่ม ตัวอย่างไม่ได้ดำเนินการปรับปรุงในด้านนี้ ข้อที่ คะแนนไม่ เพิ่มขึ้นหลังการใช้ เทคนิค WISH ได้แก่ 1) มีการใช้คีม ปากคีบ ตัวหนีบ หรือ อุ ป ก ร ณ์ อื่ น เ พื่ อ ยึ ด จั บ ชิ้ น ง า น ข ณ ะ ท ำ ง า น 2) มกีารตรวจเชค็ และบำรงุรกัษากอ่นใชเ้ครือ่งจกัร อุปกรณ์ และซ่อมแซมชิ้นส่วนที่ชำรุดเป็นประจำ 3) มีทางออก เช่น ประตู หน้าต่าง ที่ไม่มีสิ่ง กีดขวางอย่างน้อย 2 ทาง 4) มีห้องน้ำ ห้องสุขา ที่สะอาด และ 5) มีการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อ ช่วยกันตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงการผลิต แม้ว่าในข้อดังกล่าวมีคะแนนเท่ากับก่อนใช้ เทคนิค WISH แต่คะแนนอยู่ในระดับสูง คือ มากกว่า ร้อยละ 83.0 ยกเว้นการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยกันตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงการ ผลิตซึ่งมีเพียง ร้อยละ 61.1 ทั้งนี้สามารถกล่าว ได้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสภาพการทำงาน และสุขอนามัย ที่เหมาะสม หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ดี และยังคงสภาพเดิมไว้ได้ ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ที่ ไ ม่ มี ก า ร ป รั บ ป รุ ง เ กิ ด จ า ก ข้ อ จ ำ กั ด ด้ า น โครงสร้าง ภาระงานในวิถีชีวิตประจำวัน ส่วน ในประเด็นของการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อช่วยกัน ตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงการผลิต กลุ่ม ตั วอย่างส่วนใหญ่ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้ ง เป็นศูนย์การผลิตและจำหน่าย มีการพัฒนา กระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความ สวยงาม มีเอกลักษณ์ และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ได้เป็นอย่างดี สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่ได้

กลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวช่วยเพิ่มทักษะและ เสริมสร้างศักยภาพให้กลุ่มตัวอย่างสามารถดูแล จัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงานได้ด้วยตนเอง หากพิจารณาผล การปรับปรุงเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีการปรับปรุง สภาพการทำงานได้สูงที่สุดถึง ร้อยละ 98.9 ได้แก่ 1) การปรับปรุงให้มีทางเดินโล่งเตียน กว้าง และเรียบเหมาะสำหรับขนย้ายวัตถุดิบหรือ สินค้า 2) คนทำงานสามารถเปลี่ยนท่าทาง ยืน และนั่งสลับกันในขณะทำงาน และ 3) มีชั่วโมง การทำงานที่เหมาะสม มีช่วงเวลาพักระหว่าง การทำงาน และมีการเปลี่ ยนอิ ริยาบถเพื่ อ ลดความเมื่อยล้า น่าจะเป็นผลจากการที่กลุ่ม ตัวอย่างได้รับรู้ประโยชน์ และเห็นความสำคัญ ที่จะปรับปรุงสภาพการทำงานให้ เหมาะสม ปลอดภัย โดยทั้ ง 3 ข้อนี้ เป็นข้อที่สามารถ ปรับปรุงได้ง่าย ไม่ต้องใช้งบประมาณในการ ปรับปรุง ลักษณะการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง สามารถยืดหยุ่นได้ สามารถดำเนินชีวิตประจำวัน และทำงานตามความต้องการของตนเอง บน ความพึงพอใจของตนเองเป็นสำคัญ ไม่ถูกจำกัด ด้วยข้อกำหนดของนายจ้าง นอกจากนี้การ ปรับปรุงแก้ไขเป็นการปรับที่พฤติกรรมการทำงาน ซึ่งหากกลุ่มตัวอย่างเกิดความตระหนักและเห็น ความสำคัญก็จะส่งผลต่อการมีพฤติกรรมการ ทำงานที่ถูกต้องเหมาะสมได้ ส่วนข้อที่มีคะแนน ต่ำที่สุดเพียง ร้อยละ 42.1 ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ ผลัก ดัน ตัก หรือโกยชิ้นงานเข้าเครื่องจักรเพื่อ หลีกเลี่ยงอันตราย ซึ่ ง เครื่องจักรที่ ใช้ในการ ทำงานของกลุ่มตัวอย่างเป็นเครื่องจักรขนาดเล็ก ไม่มีความซับซ้อนในการควบคุมการทำงาน ทำให้การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ซึ่งสอดคล้อง กับการศึกษาของอนิรุจน์ มะโนธรรม ที่ศึกษา

005-������ �������-��������������������.indd 55 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 12: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554 วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย56

ในชุมชน ที่ขาดความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ในการทำงาน(7) ทำให้กลุ่มแรงงานดังกล่าวมี ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทำให้รับรู้ถึงปัจจัยอันตราย ที่ส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยในการ ทำงาน แต่เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างความรู้ และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงจากสภาพการทำงาน จนถึงขั้นสรุปและนำเสนอผลการดำเนินงาน สมาชิกกลุ่มทุกคนได้เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ หา แนวทางแก้ไข วางแผนการแก้ไข ดำเนินการ แก้ไข ตลอดจนมีการประเมินผลร่วมกัน จนถือ ได้ว่าทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ และได้ ร่วมกันวิจัยเรื่องของตนเองในทุกขั้นตอน

ข้อเสนอแนะ ควรศึกษาติดตามความคงอยู่ของความรู้ สภาพการทำงาน พฤติกรรมการทำงาน สุขอนามัย ของกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนศึกษาผลกระทบต่อ สุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง หลังการใช้ เทคนิค WISH

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณผู้ อำนวยการโรงพยาบาล สุรินทร์ กลุ่มทอผ้าไหมตำบลสวายและตำบล นาบัว กลุ่มทำเครื่องจักสานตำบลเมืองที อาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลสวาย ตำบลนาบัว และตำบลเมืองที เจ้าหน้าที่ศูนย์ สุขภาพชุมชนตำบลสวาย ตำบลเมืองที และ เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านนาบัว

เข้ารวมกลุ่มเนื่องจากมีความสะดวกที่จะผลิต และจำหน่ายด้วยตนเอง ตามความพร้อมและ ศักยภาพของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา ของปฐมรินทร์ นิมิตรวรพงษ์ ที่พบว่าแรงงาน นอกระบบส่วนใหญ่ไม่ชอบการรวมกลุ่มหรือมี กิจกรรมทางสังคมร่วมกัน(11) ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้าง พลังอำนาจที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการ ดูแลจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงานได้ด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัจจัยเสี่ยงจาก กระบวนการทำงาน และปรบัปรงุสภาพการทำงาน การเยี่ยมติดตามการปรับปรุงสภาพการทำงาน ภายหลังการสำรวจซ้ำ การจัดเวทีนำเสนอ ผลการปรับปรุงที่สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ เรียนรู้ความสำเร็จ อุปสรรค แนวทางแก้ไข การให้คำชื่นชม และให้กำลังใจ ต่อการพัฒนาศักยภาพที่ยังขาด ตามแนวคิด ของกิบสัน (Gibson) ที่กล่าวถึงการเสริมสร้าง พลังอำนาจว่าเป็นแนวคิดที่อธิบายกระบวนการ ทางสังคม การแสดงถึงการยอมรับและชื่นชม การส่งเสริม การพัฒนาและเสริมสร้างความ สามารถของบุคคลในการตอบสนองความ ต้องการของตนเอง และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่จำเป็น ในการดำรงชีวิต เพื่อให้เกิดความรู้สึกเชื่อมั่นใน ตนเอง และรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจสามารถควบคุมความเป็นอยู่หรือวิถีชีวิตของตนเองได้(12)

กระบวนการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัย ครั้ งนี้ อาจจำเป็นต้องเริ่มต้นจากคณะวิจัย เนื่องจากข้อจำกัดของกลุ่มแรงงานนอกระบบ

005-������ �������-��������������������.indd 56 7/7/2011 12:08:18 PM

Page 13: Application of WISH Technique in Improving Working condition … · 2015-07-07 · วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย45

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2554วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 57

บรรณานุกรม1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สรุปผลการสำรวจ แรงงานนอกระบบ พ.ศ.2548 [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL:http:// www. service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/present_workout48.pdf2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สรุปผลการสำรวจ แรงงานนอกระบบ พ.ศ.2549 [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL:http:// www. service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/labor_out_49.pdf3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สรุปผลการสำรวจ แรงงานนอกระบบ พ.ศ.2550 [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL:http:// www. service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/survey/labour_ext50.pdf4. สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของแรงงานนอกระบบ [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL:http://www.nationalhealth.or.th/post_ photo/img_7beeba71d8eeee123d465c39ffbc8034.pdf5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสาธารณสุขไทย “สาระสุขภาพเรื่องเด่นประจำสัปดาห์” [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL: http://www.moph.go.th/ops/thp/6. อนิรุจน์ มะโนธรรม. การศึกษาปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มแรง งานนอกระบบในจังหวัดภูเก็ต. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข;2548.7. NPC Safety And Environmental Service Co.Ltd. แรงงานนอกระบบ วิถีชีวิตวิถีชุมชน และ ความปลอดภัยในการทำงาน [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL:http:// www.npc-se.co.th/news_safety/m_news_details.asp?news_id=1871-39k8. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นักวิชาการหนุนแรงงานนอกระบบมีสุขภาพ สวัสดิการ สิทธิ [online] 2551 [สืบค้นเมื่อ 5 พ.ย.2551];แหล่งข้อมูล:URL:http://www.hsri.or.th/th/whatnews/detail. php?id=48&key=article9. กาญจนา นาถะพินธุ, สมชาย นาถะพินธุ, กิ่งแก้ว เกษโกวิท, ภาณี ฤทธิ์มาก, เฟื่องฟ้า กาญจโนภาส, จริยา อินทรรัศมี. รายงานวิจัยการศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานอุตสาหกรรมในครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย;2545.10. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น;2543.11. ปฐมรินทร์ นิมิตรวรพจน์. การศึกษาสถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยของแรงงานนอกระบบ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกริก;2548.12. Gibson, C. H. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing 1991;16: 354-61.

005-������ �������-��������������������.indd 57 7/7/2011 12:08:18 PM