arunothai feb12 issue

11

Upload: itti-rit

Post on 26-Mar-2016

216 views

Category:

Documents


0 download

DESCRIPTION

Thailand Public Yoga Journal

TRANSCRIPT

โยคะอาสนะเพื่อการบริหาร

และเปิดข้อต่อสะโพก

“ฌาณหรือสมาธิ คือเป้าหมายสูงสุดของโยคีผู้ที่บำเพ็ญ

เพียรฝึกโยคะในอดีตกาล” ดังนั้นท่าโยคะอาสนะที่มีความ

สำคัญและสนับสนุนส่งเสริมให้เราไปถึงเป้าหมายสูงสุด

ของการฝึกโยคะคงจะหนีไม่พ้น “ท่านั่งขัดสมาธิเพชร”

หรือ“ท่านั่งปัทมาอาสนะ” (Padmasana -Lotus Sitting

Pose)

ปัจจัยที่ทำให้ท่านั่งปัทมาอาสนะเป็นเครื่องมือ

สำคัญในการนำพาผู้ฝึกโยคะไปสู่ฌาณสมาธิ ก็คือ การนั่ง

ขาขัดกันในลักษณะดังกล่าวนี้ จะช่วยล็อคกระดูกอุ้งเชิงการ

(กระดูกสะโพก) ของเราให้นิ่งมั่นคง และช่วยทำให้แนว

กระดูกสันหลังส่วนล่างของเราตั้งตรง ซึ่งเมื่อหลังส่วนล่าง

ของเราถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ตั้งตรงถูกต้องตามหลัก

สรีระวิทยาแล้ว ท่าทางดังกล่าวนี้จะช่วยลดแรงกดที่เกิดขึ้น

กับแนวกระดูกสันหลังส่วนล่างอันเนื่องมาจากน้ำหนักของ

ร่างกายส่วนบนผสมกับแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งส่งผลทำ

ให้เราสามารถนั่งทำสมาธิในท่านี้ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน

โดยที่ไม่ปวดเมื่อยหลัง

ในชีวิตการฝึกโยคะของพวกเราทุกๆคน น่าจะมีอยู่

บ้างล่ะครับที่หลายครั้งหลายคราของการฝึกโยคะ ทำให้เรา

มักจะมีคำถามต่างๆ นานาเกิดขึ้นมาอย่างมากมายภายใน

จิตใจของเรา ผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มักจะมีคำถามต่างๆ

ในใจเสมอขณะที่ผมกำลังฝึกโยคะ ซึ่งแน่นอนครับ ณ ตอน

นั้นเป็นช่วงที่ผมเพิ่งจะเริ่มฝึกโยคะได้เพียงไม่นานสัก

เท่าไรนัก

มีอยู่ครั้งหนึ่งในขณะที่ผมกำลังฝึกท่าโยคะอาสนะ

ต่างๆ ตามที่ครูผู้สอนเขานำเสนอในคลาส มาจนกระทั่งถึง

ท่าอาสนะจำพวกที่จะต้องบริหารและเปิดข้อต่อสะโพก ด้วย

ความที่ว่าตอนนั้นผมเองก็เป็นผู้ชายที่มีความยืดหยุ่นของ

กล้ามเนื้อและข้อต่อสะโพกค่อนข้างที่จะน้อยถึงน้อยมากๆ

ผมจึงมีปัญหาพอสมควรกับการทำท่าโยคะอาสนะในกลุ่ม

ดังกล่าว และในเมื่อผมทำไม่ค่อยได้ ก็เลยทำให้ผมเกิด

ความคิดต่อต้านท่าอาสนะในกลุ่มบริหารและเปิดข้อต่อ

สะโพกขึ้นมาจิตใจ และพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ค่อยอยากทำ

ท่าอาสนะในกลุ่มดังกล่าวนี้ในขณะที่ไปเข้าคลาสเรียนโยคะ

หรือแม้นกระทั่งฝึกตามลำพังด้วยตนเองก็ตาม

ช่วงเวลานั้นเอง จึงทำให้ผมเกิดมีคำถามขึ้นมาใน

ใจว่า “ทำไม๊...ทำไม...ผู้ฝึกโยคะอย่างเราๆ จึงมีความจำเป็น

ที่จะต้องทำท่าโยคะอาสนะเพื่อการบริหารและเปิดข้อต่อ

สะโพก” (คิดว่าหลายท่านที่ฝึกโยคะก็น่าจะมีความรู้สึก

สงสัยเกิดขึ้นบ้างในบางช่วงจังหวะเวลาของการฝึกโยคะ

อย่างที่ผมเคยเป็น) จากคำถามในใจดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้

ผมพยายามศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจนพอจะรวบรวมข้อมูล

ต่างๆ ประติดประต่อได้ว่า

หากศึกษาและทราบถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของ

การฝึกโยคะแล้ว ก็คงจะพอทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า

ยุทธนา พลเจริญ (ครูจิมมี่) : เรื่องและภาพ

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 2

ผมต้องขอเรียนให้ทราบก่อนเลยว่า เนื่องจากข้อต่อ

สะโพกของเราเป็นลักษณะของลูกบอลที่อยู่ในเบ้า (Ball

and Socket Joint) ดังนั้นข้อต่อสะโพกจึงสามารถเคลื่อน

ไหวไปได้เกือบจะทุกฟังก์ชันของการเคลื่อนที่เลยครับ

(หมุนไปได้หลายทิศทาง)

บอกได้เลยว่าครอบคลุมท่าฝึกโยคะอาสนะอยู่มาก

มายหลากหลายท่าเลย แต่เนื่องจากผู้ฝึกโยคะแต่ละท่านก็

จะมีข้อจำกัดต่างๆ โครงสร้างร่างกาย รวมจนถึงอาการผิด

ปกติหรืออาการบาดเจ็บในส่วนต่างๆของร่างกายที่แตกต่าง

กันออกไป ดังนั้นผมจึงอยากเรียนแนะนำให้ผู้ฝึกที่มีความ

สนใจในการฝึกโยคะอาสนะเพื่อการบริหารและเปิดข้อต่อ

สะโพก ควรจะฝึกภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญทางด้าน

การฝึกโยคะน่าจะเป็นผลดี และมีประสิทธิภาพในการฝึกที่

ดีกว่า และเมื่อเราเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจนเข้าใจชัดเจน

แล้วจึงค่อยกลับมาฝึกด้วยตัวเราเอง

แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหา อาการบาดเจ็บบริเวณ

ข้อเท้า หัวเข่า สะโพก ควรหลีกเลี่ยงการฝึกทำท่าโยคะ

อาสนะเพื่อการบริหารและเปิดข้อต่อสะโพก รวมจนถึงท่า

นั่งปัทมาอาสนะหรือควรฝึกภายใต้คำแนะนำของแพทย์

หรือผู้เชี่ยวชาญในการฝึกโยคะเท่านั้น

ขอพลังแห่งโยคะจงอยู่กับคุณตลอดไป บุญรักษา

พระคุ้มครอง...นมัสเต

นอกจากนี้แล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกที่จะช่วย

สนับสนุนให้เราสามารถนั่งในท่าปัทมาอาสนะได้อย่างต่อ

เนื่องยาวนาน นั่นก็คือการที่เราจำเป็นจะต้องมีความแข็ง

แรงควบคู่กับความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ

ในร่างกายของเรา เช่น กล้ามเนื้อบริเวณขา ลำตัว ข้อเท้า

หัวเข่า สะโพก และแนวกระดูกสันหลัง ด้วยเหตุนี้เอง

บรรดาโยคีในอดีตกาลทั้งหลายจึงมีแนวคิดในการที่จะค้น

คว้าหาท่วงท่าต่างๆ มาช่วยบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อใน

บริเวณดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการนั่งในท่าปัทมาอาสนะได้

อย่างต่อเนื่องยาวนาน

เป็นที่ยอมรับกันเป็นอย่างดีว่า ชาวเอเชียอย่างเรา

มีพื้นฐานความสามารถของการยืดหยุ่นร่างกายที่ดีกว่าชาว

ทวีปอื่นๆ ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอะไรเลยครับ

หากวันหนึ่งเราพบว่าเพื่อนของเราบางคนสามารถนั่งใน

ท่าปัทมาอาสะได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการ

เตรียมความพร้อมด้วยการอบอุ่นร่างกาย และเพื่อนของเรา

คนนี้ก็อาจจะไม่เคยเรียนโยคะมาก่อนเลยด้วยซ้ำไป ซึ่งตรง

ข้ามกับบางคนที่อาจจะต้องใช้เวลาอย่างยาวนานมากกว่า

จะประสบความสำเร็จในการนั่งท่าปัทมาอาสนะ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจ

สำคัญ ทำให้ผมกลับมาเพียรพยายามฝึกท่าโยคะอาสนะ

เพื่อช่วยในการบริหารและเปิดข้อต่อสะโพกอย่างต่อเนื่อง

มาจนถึงทุกวันนี้ โดยมุ่งหวังเพียงว่าผมจะสามารถนั่งทำ

สมาธิในท่าปัทมาอาสนะได้อย่างต่อเนื่องยาวนานแบบไม่

ต้องมีอาการปวดหลัง ตัวผมเองนั้นก็ไม่ได้หวังว่ามันจะเป็น

การทำให้ผมไปถึงขั้นของการบรรลุสู่ฌาณหรือสมาธิ ซึ่ง

เป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะหรอกนะครับ เพียง

เพราะว่าผมรู้สึกได้ถึงความสุข ความอิ่มเอมใจที่ได้นั่งนิ่ง

สงบผ่อนคลายความคิดจิตใจอยู่ในท่าปัทมาอาสนะนี้ ซึ่ง

แน่นอนครับคุณเองก็สามารถสัมผัสถึงประสบการณ์

ดังกล่าวนี้ได้อย่างไมยากเย็นอะไรนักหากคุณมีความตั้งใจ

จริง...

หากจะถามผมว่า มีท่าโยคะอาสนะพื้นฐานท่าใด

บ้างที่จะช่วยเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความแข็ง

แรงควบคู่ไปกับความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อสะโพก เพื่อที่จะ

นำเราไปสู่การนั่งในท่าปัทมาอาสนะได้อย่างสมบูรณ์แบบ

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 3

The tory of 2

{ ที่ทางเล็กๆ ของคนรักโยคะ }

Souls จุดร่วมของคนสองคนที่ไม่เคยพบหน้าค่าตาหรือรู้จักกันมาก่อน ระหว่าง ปรีณัน นานา (ครูตุ้ม) เจ้าของ

SoulMade Yoga & Tearoom และ สุริชยา หัพนานนท์ (ครูปิ๋ม) เจ้าของ SOUL SPACE yoga studio & art gallery

มิใช่แค่เพียงคำว่า ‘Soul’ หรือ ‘จิตวิญญาณ’ ที่ทั้งสองนำมาใช้ในการตั้งชื่อที่ทางเล็กๆที่เริ่มทำของตัวเองแต่คือความรัก

ความสนใจ ความคิดที่อยากจะแบ่งปันในสิ่งที่รักเหมือนกัน ซึ่งก็คือ “โยคะ”

“อรุโณทัย” ชักชวนเจ้าของกิจการโยคะเล็กๆ สองแห่งมาบอกเล่าแลกเปลี่ยนถึงวิถีและที่ทางสำหรับคนรักโยคะ

ซึ่งทั้งสองบอกตรงกันว่าทำด้วยใจและจิตวิญญาณว่าจะน่าสนใจและพิสูจน์ถึงคำว่า ‘Small is beautiful’ ได้ดีเพียงไร

• มีความคล้ายคลึงกันของสองคนว่าขึ้นต้นชื่อด้วยคำคำเดียว

กันคือคำว่า Soul และมีที่มาที่ไปอย่างไรถึงได้มาทำที่สำหรับ

ฝึกโยคะของตัวเอง

ครูตุ้ม : ตอนที่ทำตรงนี้คือว่าจริงๆ เป็นคนที่ชอบคำนี้

หมายถึงว่า เวลาที่ใครก็ตามที่ทำอะไรในชีวิตแล้วยิ่งกว่าทำด้ว

ยใจอีก ในแง่นี้ก็คือเราทำด้วยจิตวิญญาณ ทำแบบสุดจิตสุดใจ

ทำด้วย intuition (การหยั่งรู้) ทำตามความรู้สึก ไม่เคยคิดม

าก่อนในชีวิตว่าจะมาเป็นครูสอนโยคะ พอเรียนฝึกไปเรื่อยๆ

ก็มีความรู้สึกว่าอยากจะแชร์ต่อ แล้วตอนแรกก็สอนอยู่ที่บ้าน

ตัวเองที่อยู่ในบริเวณบ้านแม่ คนที่มาเรียนเป็นกลุ่มที่มาต่อจาก

ครูที่ย้ายไปประเทศอื่น จากนั้นกลุ่มก็เริ่มเล็กลงเรื่อยๆ พอดี

การที่สอนในบ้านก็เปิดทำให้เปิดรับใครจากข้างนอกมากไม่ได้

แล้วจริงๆ ก็มีความฝันอยู่หลายอย่าง อย่างหนึ่งคือแบคกราวน์

แต่ก่อนอยู่ในแวดวงศิลปะมาก่อนแล้วก็คิดว่าอยากจะมีที่เล็กๆ

ทำอะไรหลายๆ อย่างที่เราชอบ ร้านน้ำชาที่สอนโยคะเป็นหลัก

ที่เหลือก็กระจุ๊งกระจิ๊ง มีช็อปหรืองานอาร์ตเล็กๆ มาลงมีที่ขาย

น้ำชาและอาหารเบาๆ

อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง : เรื่องและภาพ

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 4

เป็นอาหารแบบอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารมังสวิรัติ พูดง่ายๆ

ว่าเป็นที่ปล่อยฝัน ที่ที่เราทำตามความรู้สึก ที่อยากจะให้คนที่

เข้ามาได้รับความรู้สึกนี้กลับไปผ่านโยคะ หรือว่าผ่านสิ่งอื่นๆ

ที่เราทำในนี้

ครูปิ๋ม : ตอนแรกก็คิดว่าจะเอาชื่ออะไรที่คนจำได้ง่าย

ๆ เพราะว่าชื่อ Soul Space ก็ยาวเหมือนกัน ตอนแรกก่อน

ที่จะมาทำที่นี่ ใฝ่ฝันอยู่แล้วว่าวันหนึ่งจะต้องมีอะไรเป็นของ

ตัวเองโดยเริ่มจากความสุขที่เราได้ให้ ไม่ได้คิดว่าจะมาเป็นครู

สอนโยคะ แต่พอเล่นไปนานๆ เราก็อยากจะเป็นผู้ให้คนอื่น เรา

สอนเขาไปเราก็เหมือนได้ให้เขาด้วย เขากลับไปด้วยความสุข

อารมณ์ดี เราก็รู้สึกแฮปปี้ไปกับเขาด้วย พอได้ที่มาซึ่งเป็นพื้นที่

โล่งๆ เราก็เลยคิดว่าพื้นที่โล่งๆ ว่างๆ ก็น่าจะใช้คำว่า Space

ส่วน Soul ก็มาจากโยคะ คือจิตวิญญาณ รวมกันก็คือเป็น

พื้นที่แห่งจิตวิญญาณ ทำอะไรที่แตกต่าง หมายความว่าถ้าเป็น

แค่โยคะอย่างเดียว หรือเป็นแค่ศิลปะอย่างเดียว ใครๆ ก็ทำได้

เราก็เลยเอาทั้งสองสิ่งนี้มารวมกันก็คือกลายเป็น yoga studio

กับ art gallery รวมกัน

• เพราะอะไรถึงได้ชอบคำว่า Soul

ครูปิ๋ม : สุดท้ายแล้วโยคะก็คือคำว่าจิตวิญญาณที่อยู่

ภายในของเรา คือสมาธิ เราก็เลยคิดว่าคำว่า Soul ก็น่าจะเป็น

สิ่งที่ดีที่เอามาใช้นำหน้า

ครูตุ้ม : มันจะทำให้คนที่ฝึกโยคะรู้สึกว่าพอเขาเริ่ม

เปิด โยคะไม่ได้แค่อยู่ที่ร่างกาย แต่ลงลึกไปมากกว่านั้น ลงไป

ถึงจิตใจ มันไปหลายชั้นมากกว่านั้นก็เลยรู้สึกว่าที่ชอบคำนี้

• เริ่มสตูดิโอของตัวเองขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร

ครูปิ๋ม : เริ่มเปิดธันวาฯ ปี 2553 ก็เพิ่งเปิดได้ไม่นาน

ครูตุ้ม : ของตุ้มเปิดกลางเมษาฯ 2554 ไล่เลี่ยกัน

• คิดไหมว่าคนที่เข้ามาจะได้รับอะไรบ้าง โดยเฉพาะในเชิงของ

ประสบการณ์โยคะ?

ครูตุ้ม : ตอนแรกมีสิ่งที่เป็นความตั้งใจของเรากับสิ่งที่

คนที่เข้ามารู้สึกแล้วเป็นสิ่งเดียวกันกับที่เรารู้สึก คือเราตั้งใจ

รู้สึกว่าเราสองคนเหมือนกันคือ ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำสตูดิโอโยคะ

จริงๆ ส่วนตัวแล้วไม่ชอบคำว่าสตูดิโอเลยเพราะว่ามันให้ความ

รู้สึกที่เป็นกล่องๆ หรือกรอบ เราก็เลยไม่ได้เริ่มต้นจากที่เป็น

ธุรกิจ

ครูปิ๋ม : ใช่ เราคิดว่าจริงๆ เกิดจากความที่เราอยากทำ

ก่อน เราไม่ได้คิดถึงตัวเงินมากนัก ตัวเงินอาจจะมีส่วนเกี่ยว

ข้องในการตกแต่ง แต่ว่าจริงๆ เราไม่ได้คิดว่ามีคนเข้ามาวันนี้

จะต้องได้เท่านี้ต้องชาร์จเขาเท่านี้ เพราะฉะนั้นพอเราคิดแบบนี้

เราก็เลยมีความสุขกับการทำมากขึ้น แล้วก็เหมือนกับว่าตอนที่

ทำ ตั้งใจไว้เลยว่าเราจะเป็นเจ้าของ เราจะทำทุกอย่างเอง จะ

สอนเอง จะจัดการทุกอย่างเอง ตราบใดที่เรายังทำได้อยู่

เหมือนคนที่เขาเป็นเจ้าของร้านอาหารแล้วทำอาหารเองเสิร์ฟ

เอง เราก็เหมือนกันเราก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน

• คนที่เข้ามาได้รับอะไรหรือเขาสะท้อนให้ฟังไหมว่าเขาได้รับ

อะไร

ครูตุ้ม : อยากจะแชร์ความรู้สึกเดียวกับกับที่คุณปิ๋ม

บอกไป เราอยากทำเองให้มากที่สุดเพราะเชื่อว่าคนฝึกโยคะ

ตรงนี้อาจะคุ้นชินกับคำว่าพลังงาน ตุ้มเชื่อว่าเรื่องตรงนี้เป็น

ของจับต้องไม่ได้ แต่มันสำคัญมากเพราะว่าเวลาที่คนเราทำ

อะไรออกมาจากหัวจิตหัวใจ มีความจริงใจ มันไม่ต้องใช้ความ

พยายามมากนัก คนที่เขามาเขาจะสัมผัสได้เอง หนึ่งผ่านทาง

คลาสโยคะ

เขาได้ในเรื่องร่างกายและฝึกใจ ได้ทั้งเรื่องสุขภาพกาย

สุขภาพจิตกลับไปอยู่แล้ว แต่ว่าความรู้สึกที่เขาได้มามันเหมือน

กับรีแลกซ์ ผ่อนคลายเต็มที่เหมือนกับได้ชาร์ตพลังงาน จุดหนึ่ง

ที่สังเกตก็คือว่าเวลาที่เราไปฝึกในที่ที่พร้อมทุกอย่างอยู่กลาง

ธรรมชาติ มัน เราไม่ต้องพยายามเลย ทุกอย่างมันไหลเข้ามา

แบบดีมากๆ แต่ว่าเราอยู่เมือง ซึ่งอันนี้เรารู้สึกได้กับตัวเอง

เหมือนกัน บ้านของเราสองคนเหมือนกันคือบ้านค่อนข้างไกล

จากที่สอน การจราจรทุกอย่าง การที่ผ่านเข้ามาถึงจุดนี้มันผ่าน

อะไรหลายอย่าง เครียด ไม่เครียด มันก็มีความเครียดบางประ

การอยู่ แล้วพลังงานของเมืองมันค่อนข้างจะรบกวน พอเราเข้า

มาตรงนี้แล้ว สำหรับตุ้ม สถานที่มันมีความสำคัญกับการที่เรา

เป็นผู้สอนโยคะ เราจะอยู่ในฐานะที่เราจะถ่ายทอดพลังงานที่ดี

ผ่านการสอนของเรา ซึ่งมันสำคัญมากๆ ถ้าเราไม่มีตรงนี้มา

ก่อนเลย มาถึงก็ตั้งหน้าตั้งตาสอนๆ ก็เหมือนแค่มาสอนโยคะ

สอนท่า สอนหายใจ แล้วก็จบ แต่ว่าอะไรบางอย่างลึกๆ ซึ่งอาจ

จะเป็นคำว่า Soul ก็ได้มันอาจจะหายไป แต่พอเรามาตรงนี้เอง

เราก็รู้สึกว่าเราก็ได้รับพลังตรงนี้ มันก็ชาร์ตพลังให้กับเราก่อนที่

เราจะไปแบ่งปันให้กับคนที่เข้ามาเรียน

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 5

ครูปิ๋ม : จริงๆ ก็คล้ายๆ กัน ก็คือ ได้พลังกลับไป แต่

ว่าเพิ่มเติมอย่างหนึ่งความเป็นส่วนตัว คือปิ๋มเคยไปเล่นที่อื่นๆ

ที่เป็นแบบ 30 - 40 คน ทุกคนก็แย่งกันหายใจ แย่งสเปซ

มือติดกัน ต้องเลื่อน อันนี้คือที่ที่ใหญ่มาก แล้วรู้สึกว่ามันไม่ใช่

ก็เลยพอทำที่นี่ขึ้นมาสิ่งหนึ่งที่ทำขึ้นมารวมกัน ก็คือเอาสิ่งที่

เป็นเนกาทีฟ (ด้านลบ) ทุกที่ที่ปิ๋มไปมาแล้วไม่ชอบ จะไม่ทำที่

Soul Space คือจริงๆ อย่างเวลาสอนในห้องเรียนได้มากกว่า

สิบคน แต่ฉันพอแล้ว เอาแค่นี้ แล้วนักเรียนก็จะได้ความเป็น

ส่วนตัว ความเข้าถึงมากกว่า

• รูปแบบโยคะที่สอนของแต่ละที่เป็นอย่างไร

ครูปิ๋ม : ไม่ได้มีสไตล์อะไรมากนัก ไม่ได้ fix style ลง

ในตาราง ปิ๋มจะดูส่วนมากว่านักเรียนเป็นยังไงแล้วก็เอาตรงนั้น

เข้าไปปรับกับเขาเองในแต่ละครั้ง เพราะฉะนั้นทุกครั้งเขาจะ

ไม่รู้เลยว่าปิ๋มจะสอนอะไรบ้าง เขาเคยถามก็บอกว่ามันเป็น

combination (การรวม) มียืดเหยียด มีหฐ มีโฟลว์ (Flow)

แต่ว่าไม่ได้อยากจำกัดตัวเองที่แบบใดแบบหนึ่ง ด้วยความที่คน

มันน้อยเราก็จะได้ดูได้ว่าเขาต้องการแบบไหนหรือรีเควซอะไร

มา เพราะเราไม่ได้อยากเป็นแบบวันนี้ต้องสอนแบบนี้ๆ

ปรีณัน นานา (ครูตุ้ม)

ครูตุ้ม : จริงๆ ก็ไม่ได้จำกัดไว้แค่เป็นสไตล์คริปาลูที่ไป

เรียนมาเพราะว่ามีครูคนอื่นๆ มาช่วยสอนที่นี่ด้วยก็ไม่ใช่ว่าจะ

ไปเรียนคริปาลูเหมือนกันมาทั้งหมด แต่อย่างน้อยทุกคนมีจุด

ร่วมเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือตุ้มจะไม่ทำอะไรเป็นแพทเทิร์นอยู่

แล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเราไม่เตรียมการสอนหรือว่าไม่รู้เลยว่าจะสอน

อะไรขนาดนั้น แต่ว่าพอเข้าไปสอนก็ต้องดูว่าในแต่ละวันเราเอง

สิ่งที่มันออกมาจากข้างในเราที่มันจะโฟล์วออกมาโดยธรรม

ชาติ ตุ้มค่อนข้างจะเป็นคนที่ให้อะไรมันปล่อยไหลออกมาโดย

ธรรมชาติ แล้วก็ดูการโฟล์วแต่ละคลาสในวันนั้นด้วย คือถ้าวัน

นั้นมีคนที่เพิ่งจะมาฝึกวันนั้นเยอะหน่อย เราจะไปทำอะไร

เยอะๆก็ไม่มีประโยชน์ เราทำที่แบบนี้ในใจเราจะต้องพร้อม

ปรับเสมอว่าในคลาสนั้นเป็นยังไง แล้วก็ว่าเราโฟล์วแต่ละครั้ง

บางทีเราอาจจะมีมูฟเม้นต์คล้ายๆการเต้นเข้ามาบวกกับ

อาสนะ โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นแพทเทิร์นที่ชัดเจนกำหนด

ไว้ ก็รู้สึกว่ามันลื่นๆไหลไปตามธรรมชาติแล้วคนก็อาจจะรู้สึก

ถึงตรงนี้ได้ แล้วสไตล์ที่สอนก็คือจะไม่บังคับ มีการกระตุ้นนิด

หน่อย แต่ว่าไม่ใช่ต้องทำแบบนี้ให้ได้เป๊ะๆ เดี๋ยวบาดเจ็บขึ้นมา

• คิดว่าการเปิดที่ทางเล็กๆ สำกรับโยคะของแต่ละคนจะต้องมี

ความพร้อมความลงตัวด้านไหนมาก่อน

ครูปิ๋ม : ก่อนหน้าที่จะไปเรียนครูโยคะที่สถาบันฟิต

ได้เรียนกับลูกศิษย์ของอาจารย์สุธีร์คนหนึ่งแต่ว่าเขาค่อนข้าง

จะเก็บตัว เรียนเป็นคอร์สสั้นๆ เรียนตามสวนลุมฯ สวนเบญฯ

สุริชยา หัพนานนท์ (ครูปิ๋ม)

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 6

เรียนตัวต่อตัวก็รู้สึกดีมาก นั่นคือการเตรียมความพร้อม แต่ก็

ก่อนหน้านั้นที่จะมีที่ทางเป็นของตัวเองปิ๋มก็วิ่งสอนตามบ้าน

อยู่แล้วประมาณสองปีก่อนหน้านั้น แล้วจนสุดท้ายก็บอกตัว

เองว่าเราพร้อมแล้ว เราต้องการที่ทางเป็นของตัวเองก็เลยทำ

ตรงนี้ขึ้นมา ประจวบเหมาะกับคุณแม่มีกำลัง จะปรับปรุงตึกที่

สีลมก็เลยขอคุณแม่หนึ่งล็อตหนึ่งชั้นลองดู คุณแม่ก็ค่อนข้าง

ตกใจเพราะว่าปิ๋มเอาดีไม่ค่อยได้ (หัวเราะ) ทำงานก็เปลี่ยน

ทุกปี คือไม่ค่อยจะไปโลดเท่าไร แต่กับโยคะนี่จะกะทำเป็นห้อง

ทำเหมือนซึ่งมันเรื่องใหญ่นะ แต่ทุกคนก็คิดว่าน่าจะทำได้คือว่า

ด้วยความสนับสนุนของทุกคน ความพร้อมก็มาจากตรงนี้ด้วย

แล้วก็เรื่องการทำตกแต่งภายในมีก็มีเพื่อนสนิททำให้แล้วก็

ความคิดเรื่องศิลปะ ทุกอย่างก็เหมือนกับโฟล์วเข้ามาในช่วง

เวลาเดียวกันพอดีเลย

ครูตุ้ม : ความพร้อมก็หลายเรื่อง ก่อนจะมา

ทำเกี่ยวกับโยคะ ก็เป็นมนุษย์นะมันก็มีความตั้งใจที่จะทำโน่น

ทำนี่ทำนั่น ก็มีการวางแผนการที่พอไม่ได้ทำตอนแรกก็เป็นโปร

เจ็คท์อื่นๆ จะทำอะไรมาก่อนที่เราจะมามีชีวิตกับโยคะ ที่บ้าน

คุณแม่ก็มีที่เล็กๆ อยู่ที่น่าจะทำแต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแล้วจากการ

ฝึกโยคะ เราก็รู้ว่ามันอาจจะไม่ใช่เวลาของมัน เราอยู่ในโลกที่

มันถูกกำหนดว่าจะต้องเรียน จะต้องทำงาน จะต้องสร้างสรรค์

พอไม่ได้ทำก็เหมือนกับเรายอมแพ้หรือเปล่า แต่ไม่ใช่ใจเรารู้ดี

ว่าพอถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกว่าคงได้ทำ มันเป็นความรู้สึกอะไรบาง

อย่างที่บอกไม่ถูก มันก็ยังอยู่ในใจเรา เป็นความฝัน เป็นอะไรที่

อยากทำ

ตอนนั้นกลังจากการไปทริปที่ฤาษีเกษ (อินเดีย) ไป

เวทานตะรีทรีตกลับมาด้วยใจที่ฟูบาน เปิดโล่งมากๆ ก็ได้กลับ

มาสองวันมาเยี่ยมเพื่อนสนิท ซึ่งทำให้เราได้รู้จักครูโยคะที่เรา

รักและเพื่อนก็ทำให้เราได้รู้ว่ามีที่ตรงนี้ประกาศขายอยู่นะ ตอน

นั้นเราก็คิดว่าคงไม่สามารถแน่เลย แต่ก็ลองโทรถามเล่นๆ ก็

พบว่า โอเค พอไหวอยู่ ถ้าถามว่าความพร้อมอย่างหนึ่ง ก็คือ

ว่าเงินที่เราทำงานสะสมมาทั้งชีวิตประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์

ก็ได้กลับกลายมาเป็นตรงนี้ ก็ไม่ได้อะไรมาก เราทำงานมา ก็มี

เงินเก็บอยู่ก้อนหนึ่งโดยที่ไม่ต้องไปกวนอะไรใคร ก็แบบนำมา

โครมใส่ตรงนี้ ซึ่งเราก็มีความสุขที่ได้ทำ

สำหรับเราอะไรมันก็กลับไปหาเรื่องของใจ ก็คือว่า

ตอนอื่นถ้าเราไม่พร้อมเราอาจจะมัวไปพะวงเรื่องอื่นก้ได้ แต่

ตอนนี้ทุกอย่างมันควรจะเปิดโฟล์ว ควรจะเปิดโลกด้วยความ

โฟล์ว เราไม่ต้องไปคิดอะไรกับมันมาก เราก็ตั้งใจว่าจะสอนเอง

คลาสก็ไม่ได้เยอะ แต่ตอนหลังมีคนถามเยอะ มีที่อยู่ก็ชวน

เพื่อนๆพรรคพวกมาสอนมันก็เริ่มขยายขึ้นไป เพราะว่าคนที่

ไม่ได้เจอกันนานๆ เขาถามเราว่าตอนนี้ทำอะไร พอเราบอกว่า

ทำเป็นที่สอนโยคะ เขาก็ชอบถามว่า สอนเองหรือเปล่า จริงๆ

เราไม่ได้คิดว่าจะทำกิจการโยคะโดยที่หาครูมาสอน ถ้าเราไม่

อยากสอนเองก็คงไม่มาเปิดตรงนี้ เพียงแต่ว่าเราก็ยังชอบสอน

กลุ่มเล็กๆ อยู่ เพียงแต่ที่บ้านมันเปิดรับคนโน้นคนนี้ไม่ได้ก็เลย

มีที่ตรงนี้ขึ้นมาแล้วเราก็ได้สอนโยคะ ทำร้านชา แล้วก็ทำกิจ

กรรมอื่นๆ อาจจะเป็นทำเวิร์คช็อป ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ

การเติมเต็มจิตใจข้างในหรือจิตวิญญาณ เป็นที่ที่เรารู้สึกว่าเรา

ทำแล้วเราก็ได้รับด้วยแล้วเราก็ได้แบ่งปันไปด้วย

ครูปิ๋ม : จริงๆ ที่ที่ทำอยู่เป็นตึกเก่าที่เป็นมรดกของ

คุณตาคุณยายตรงสีลมซอย 19 สมัยก่อนคือ 40 ปีที่แล้ว เป็น

ตึกเก่ามากๆ ให้คนเช่าเมื่อก่อนตั้งแต่สมัยคุณตาคุณยาย พอ

หมดจากท่านคุณแม่ก็อยากจะรีโนเวทใหม่ อยากทำให้ตรงนี้

เป็นแหล่งสำหรับชุมชน รองรับคนแถวนั้นตอนแรกคิดว่าจะทำ

เป็นคล้ายๆ โรงแรมเล็กๆ ที่จะให้แบ็กแพ็กเกอร์ แต่แถวนั้นมัน

ก็เยอะแล้ว และก็จะต้องลงเต็มที่กว่านี้ ก็เลยคิดว่าน่าจะแบ่ง

เป็นห้องให้เช่า ก็เลยขอคุณแม่ชั้นหนึ่ง ขอทำเพราะจริงๆ

มีความฝันอยู่แล้วว่าอยากมีห้อง มีที่ทางเป็นของตัวเอง คุณแม่

ก็ให้เพราะเขาก็เห็นว่าเราจริงจังกับตรงนี้ เป็นชั้นสามซึ่งก็ไม่ได้

สูงมากก็เลยอยู่แบบไม่ได้เสียค่าเช่า

• ทำเสร็จแล้วเหมือนที่คิดไว้แค่ไหน

ครูปิ๋ม : จริงๆ ทำแล้วมันก็เหมือนเป็นบ้านอีกหลัง

หนึ่งของเรา การตกแต่งหรือการที่เราจะเพิ่มเติมสิ่งต่างๆ ต้อง

ซื้อนู่นซื้อนี่ จะต้องอยู่ในบ้านที่สมบูรณ์ มันไม่จำเป็นที่ทุกอย่าง

จะต้องตกแต่งให้เสร็จในวันนี้ แต่อยู่ๆ ไปก็จะรู้สึกเองว่าจะต้อง

มีอันนั้นมีอันนี้อันนั้น อันไหนไม่จำเป็นก็จะต้องลดทอน มีแล้ว

ก็รัก ก็อยากให้อยู่กับเราไปนานๆ

ครูตุ้ม : ใช่เลย เห็นด้วย เป็นคุณสมบัติของสาวSouls

(หัวเราะ) คนเข้ามาบอกว่ารู้สึกเหมือนบ้านแล้วตอนที่เราเริ่ม

ทำตรงนี้ก็ทำด้วยความรู้สึกว่าเราทำบ้าน ไม่ได้ทำด้วยความ

รู้สึกว่าทำโรงเรียนโยคะหรือทำร้านชา เป็นที่ที่เหมือนคุณปิ๋ม

บอกเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง ใช้เวลาอยู่ตรงนี้เผลอๆ อาจจะ

มากกว่าอยู่บ้านหรือเปล่าก็ไม่รู้ แล้วทุกอย่างมันสัมพันธ์กัน

หมด พอเราทำตรงนี้ เหมือนที่วาดไว้ไหม เป็นคนที่ไม่ได้เห็น

ภาพอะไรล่วงหน้า ทำไปตามความรู้สึก เช่นบ้านก็ไม่ได้มีแพลน

มันไปเรื่อยๆ อาจจะไม่เสร็จ คือคิดไว้ประมาณหนึ่ง แต่ว่าไม่ได้

เป็นคน fix อะไร fix ไม่ได้รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 7

SOUL SPACE yoga studio & art gallery

SoulMade Yoga & Tearoom

คนที่เข้ามาก็เหมือนอยู่บ้าน อาหารที่ทำ

เราก็กำหนดไว้ประมาณหนึ่ง แต่อาจจะ

มีอะไรเปลี่ยนแปลง เหมือนถ้าเพื่อนเรา

มาบ้าน ด้วยความรู้สึกที่ว่าเราก็ทำ

อย่างที่เราทำกิน เราไม่ได้ประหยัดนู่น

นี่นั่น เป็นอารมณ์แบบนี้ จริงๆ เราสนใจ

เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับการบำบัดอยู่แล้ว

โดยเฉพาะเรื่องของจิตใจ แล้วโยคะก็

บำบัดกายบำบัดใจอยู่แล้ว คนที่เข้ามา

ก็รู้สึกได้ หรือแม้แต่ตัวเราเองเราก็รู้สึก

ว่าสถานที่ก็ช่วยบำบัดเรา คนที่เข้ามาก็

ได้พลังตรงนี้เพิ่มไป

• มองบรรยกาศของการมีที่ทางเล็กๆ

สำหรับโยคะในบ้านเราตอนนี้ว่าเป็น

อย่างไร และอยากให้เป็นอย่างไร

ครูปิ๋ม : อยากให้ที่มีเล็กๆ

แบบนี้มากขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของกรุง

เทพหรือต่างจังหวัด การรวมไม่ว่าจะ

การรวมกับห้องอ่านหนังสือ ศิลปะ ทีรูม

กับโยคะหรือกับอะไรก็ตาม ให้มันมาก

ขึ้น มีความรู้สึกว่าพอไปสตูดิโอโยคะ

ใหญ่ๆ หรือฟิตเนสเหมือนว่าจะต้องไป

แย่งกันไปใช้ แย่งกันหลายใจ แย่งกัน

ทุกๆ อย่างเข้าห้องน้ำหรือไปต่อคิว

อาบน้ำ ก็เลยอยากให้มีที่ทางเล็กๆ

แบบนี้มากขึ้น

ครูตุ้ม : คำตอบนี้ตอบยากนะ

เพราะว่าเราก็ทำในสิ่งที่เราอยากทำแล้ว

เราก็ไม่ได้คิดว่า อย่างที่บอกว่ามันอาจ

จะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับคน

ซึ่งถ้าถามว่าอยากให้มีตัวเลือกแบบนี้

เพิ่มขึ้นได้อีกไหม ก็อยากให้มีแน่นอน

(หัวเราะ) แต่เราก็พูดไม่ได้ว่าแบบนี้มัน

ดีกว่าแบบนั้น

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 8

• พอทำเป็นที่ทางของแต่ละคนขึ้นมาแล้วก็จะต้องมีเรื่อง

ค่าใช้จ่ายหรือการบริหารจัดการเพื่อให้อยู่ได้ มองเรื่อง

การทำให้เป็นธุรกิจมากน้อยแค่ไหน

ครูปิ๋ม : ไม่มองเป็นธุรกิจเลย (ย้ำ) พูดตรงๆ

เพราะว่าถ้าเรามองที่ตัวเงินแล้วเราจะต้องคิดว่า หนึ่ง

โชคดีที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าตรงนี้ อาจจะเสียนิดหน่อยใน

เรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ นานา แต่เรายังโชคดีกว่าคนอื่นที่เรา

ไม่ต้องมาคิดว่า เดือนหนึ่งต้องสอนได้เท่านี้ๆ จะได้เอา

ไปทบกับค่าเช่า การที่มองเป็นธุรกิจเราก็จะเครียดและ

ทำอย่างไม่มีความสุข ถามว่าจริงๆแรกๆ เครียดไหมก็

เครียด เพราะว่าไม่มีคนมาเรียนเลย (หัวเราะ) แต่เราก็คิด

ว่าเราไม่ต้องเสียอะไร ค่าเช่าเราก็ไม่ต้องเสีย เพื่อนก็บอก

ว่าเราจะเครียดไปทำไม มองว่าตัวเราโชคดีแค่ไหน แต่

การที่ไม่มองเป็นธุรกิจก็ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น แต่

เงินที่ใช้มาลงทุนก็เป็นเงินเก็บของตัวเองที่มีอยู่แล้ว แต่ก็

ไม่ได้ลงทุนไปเป็นล้านๆ เราก็แต่งแต่พองาม ทำเท่าที่เรา

ทำได้

ครูตุ้ม : ตอนแรกก็มีเครียดเหมือนกันเพราะเรา

ไม่ได้เอาธุรกิจเป็นที่ตั้งเลย จนถึงทุกวันนี้ก็ไม่ได้เอาธุรกิจ

เป็นที่ตั้งถามว่าพอมาทำกิจการเล็กๆ ของตัวเองมันก็ต้อง

เป็นประเด็นที่จะต้องคิดถึง แต่ว่าถ้าเราเริ่มทำแบบนี้เรา

คงไปทำที่อื่นหรือสอนที่อื่นไปเรื่อยๆ แต่เราอยากจะมีที่

เอาไว้ทำตรงนี้เป็นที่แบ่งปัน อยากจะมีที่ตรงนี้อย่าง ถ้า

เป็นงานศิลปะก็อยากจะ Curate (การนำเสนอ) เอง

(หัวเราะ) แต่ก็ต้องคิดบ้าง แต่ถามว่าเครียดไหม ตอนนี้ก็

ไม่ได้เครียด ถามว่าจะได้รายได้เป็นกอบเป็นกำร่ำรวย

จากตรงนี้ไหม ไม่มีทาง (หัวเราะ) ตอนนี้ก็ยังไม่เท่าไร ก็

เหมือนกับว่าเริ่มอยู่ตัวเริ่มดีขึ้น ขอแค่ว่าในแต่ละเดือนคัพ

เวอร์ค่าใช้จ่ายประจำไปเพื่อที่ให้ตรงนี้รันต่อไปได้

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน เน้นการเผยแพร่

ทางสื่อออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อมีนาคม 2554

Facebook Page: อรุโณทัย

ผลิตโดย ลิตเติลซันไชน์โยคะ [email protected]

โทร. 085 072 5552

บรรณาธิการและผู้เขียน : อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง

[email protected]

ศิลปกรรมและจัดรูปเล่ม : อรปวีณ์ รุจิเทศ

[email protected]

ข้อเขียนหรือความคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏใน

เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนข้อเขียนนั้นๆเอง

ทางผู้ผลิตไม่จำเป็น จะต้องคิดเห็นเช่นเดียวกันหรือคิด

เหมือนกัน หากต้องการนำข้อความหรือเนื้อหาของอรุโณทัย

ไปเผยแพร่ต่อ โปรดระบุด้วยว่า นำมาจาก

“อรุโณทัย - สื่อโยคะทางเลือก”

SoulMade Yoga & Tearoom 40 เอกมัยซอย 12 (ซอยเจริญใจ) กรุงเทพฯ 10110

โทร. 02 – 381 4645

อีเมล [email protected]

SOUL SPACE yoga studio & art gallery 2 อาคาร Westlane ชั้น 3 สีลมซอย19 กรุงเทพฯ 10500

โทร. 02 - 635 2329 , 087- 816 5338

อีเมล [email protected]

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 9

โยคะสมาธิกับท่านสวามี เวทะ ภารตี

สัมผัสกับความรักและปัญญาญาณของหิมาลายัน

Pim : เรื่องและภาพ

เมื่อตอนไปเข้าเวิร์คช็อปครูเล็ก (เอกชัย สถาพรธนพัฒน์) ที่สถาบันฟิตช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมาได้ทราบรายละเอียด

เกี่ยวกับงานนี้ ตอนนั้นมีความรู้สึกว่าอยากไป ทำไมไม่รู้ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ชอบนั่งสมาธิเท่าไร เหมือนความรู้สึกพาไป บอกไม่ถูก

หลังจากนั้นเมื่อครูเล็กก็ บอกว่า ไปเถอะ …ดีนะ! ในที่สุดก็ตัดสินใจไป ซึ่งเป็นการไปโยคะสมาธิครั้งแรกในชีวิตจริงๆ ไปคนเดียว

แต่กะว่าไปเจอเพื่อนใหม่ๆ พอไปถึงกลับได้เจอทั้งเพื่อนที่เป็นครูโยคะด้วยกันที่จบจากสถาบันฟิต และบรรดาครูโยคะไม่ว่าจะ

เป็นอาจารย์กวี คงภักดีพงษ์ ครูเล็ก ครูสุธรรม (สุธรรม สอนเฒ่า) ครูเก๋ (รสสุคนธ์ ซันจวน) รวมทั้งนักเรียนโยคะที่ไม่ได้คาดคิด

ว่าจะเจอ เพราะหายหน้าหายตากันไปได้พักนึงแล้ว แอบนึกในใจว่า…ดีจัง มีเพื่อนแล้ว!

การเดินทางเริ่มขึ้นตอนเช้าของวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์และสิ้นสุดลงในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โดยงานจัดขึ้นที่สวนสามพราน Rose Garden Riverside จ.นครปฐม บรรยากาศสบายๆ เป็นกันเองมากๆ กิจกรรมมีความ

หลากหลายทั้งการฝึกนั่งสมาธิและหายใจที่ถูกวิธีสำหรับการนั่งปฏิบัติสมาธิ ธรรมสมาธิกับท่านอาชูโชส ชาร์มา ซึ่งเป็นหนึ่งในลูก

ศิษย์ของท่านสวามีเวทะ ภารตี การปฏิบัติสมาธิกับท่านสวามีเวทะ ภารตี ซึ่งเป็นความท้าทายใหม่กับตัวเองมากๆ เพราะไม่เคย

ปฏิบัติธรรมมาก่อนเลย

ท่านสวามีมีคำสอนมากมาย และหนึ่งในคำสอนที่จำได้และนำกลับมาปฏิบัติคือ

“หากคุณมีบ้านสักหนึ่งหลัง บ้านหลังนั้นมีทะเลสาบที่สวยงามและสงบมาก ทุกๆ วันที่ริมหน้าต่าง

คุณคงมีเวลาที่จะนั่งมองมันได้ทั้งวัน เพราะมันคือทะเลสาบแห่งความสงบ”

“คุณมีทะเลสาบอยู่ในใจกันทุกคน”

”Lake inside your heart”

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 10

“ หากคุณมีบ้านสักหนึ่งหลัง บ้านหลังนั้นมีทะเลสาบที่สวยงามและสงบ

มาก ทุกๆ วันที่ริมหน้าต่าง คุณคงมีเวลาที่จะนั่งมองมันได้ทั้งวัน

เพราะมันคือทะเลสาบแห่งความสงบ ” นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าที่ดูเหมือนจะฟังแล้วยากที่จะ

เข้าใจ แต่ท่านสวามีก็ได้ถ่ายทอด ออกมาอย่างสนุกสนาน

เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ และในบางครั้งท่านก็สร้างเสียงหัวเราะให้

กับทุกคน

ท่านสวามีเวทะ ภารตีกล่าวเสมอว่า

“ความสำเร็จของชีวิตทางโลก และชีวิตภายในจะเกิดขึ้นไม่ได้

หากปราศจากความเงียบสงบภายในจิตใจ ดังนั้นขอให้ทุกท่าน

กรุณาทิ้งความวิตกกังวล ความเครียด และความกลัวเอาไว้

ชั่วคราว ในขณะที่ใช้เวลาอยู่ที่นี่”

กิจกรรมอื่นๆ นั้รมีทั้งการฝึกโยคะในช่วงเช้าตอน

06.00 - 08.30 เป็นการฝึกหฐโยคะกับท่านอาชูโทช ชาร์มา

แบบง่ายๆ แต่เน้นไปที่ลมหายใจมากกว่าอาสนะ การฝึกหายใจ

ย่อยอาหารกับคุณโสภา ธมโชติพงศ์ ช่วงกลางคืนได้ผ่อน

คลายกับการบรรเลงกีรตันและการขับร้องเพลงสรรเสริญเพื่อ

ยกระดับของจิตใจในการฝึกโยคะโดยครูเล็ก การบำบัด

เยียวยาผ่านคลื่นเสียงของ คริสตัล ซิงกิ้ง โบวล์ โดยครูนาท

(กัมปนาท บัวฮมบุรา) ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีบำบัด Crystal

Bowl แห่งบ้านทอฝัน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โยคะเด็ก

และครอบครัวเพื่อสร้างสรรค์พื้นฐานที่สมบูรณ์แก่คนรุ่นใหม่

กับครูเก๋ และสุดท้ายการปฏิบัติสมาธิด้วย มันตราและความสัม

พันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ รวมถึงการรับฟังเกี่ยวกับมิติลึกลํ้าของ

ปรัชญาโยคะอาสนะและความสำคัญของการมีสติรับรู้ที่ลมหา

ยใจกับ ดร.สตีเฟน พาร์คเกอร์ ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านสวามีเวทะ

ภารตี

ท่านสวามีเวทะ ภารตี ได้เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับ

โยคะว่า “ในเบื้องต้นหฐโยคะค่อยๆ ทำลายความเคยชินของ

ร่างกายอย่างนุ่มนวล ในเบื้องกลางหฐโยคะคือพยานที่คอย

เฝ้าสังเกตสัมพันธภาพระหว่างกายและจิต และในเบื้องปลาย

หฐโยคะพยานช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับสภาวะแห่งการรู้

แจ้ง หลุดพ้น” ที่อยากจะฝากทุกคนเอาไว้ และนี่เป็นประสบ

การณ์อันยิ่งใหญ่ที่จะจดจำตลอดไปและจะนำคำสอนของท่าน

สวามีฯ มาถ่ายทอดในการสอนโยคะทุกๆ ครั้งเช่นกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหิมาลายันโยคะสมาธิและท่าน

สวามี เวทะ ภารตีเข้าไปที่ www.ahymsin.org และ www.

swamiveda.ord อีเมล์ [email protected]

ติดต่อผ่านหิมาลายันโยคะสมาธิประเทศไทย

[email protected] หรือ

www.facebook.com/ahymsintailand

อรุโณทัย สื่อโยคะที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 | 11